Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273801
ทั้งหมด:13585097
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 255, 256, 257 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2022 3:26 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ของบอีก 1,640 ล้านศึกษาเกี่ยวกับระบบตั๋วร่วม
*ผลาญเงินกันไปแล้วถึง 674 ล้านแต่งานล้มเหลว
*คมนาคมดันกฎหมาย”พ.ร.บ.ตั๋วร่วม”ชงเข้าครม.
*ให้ความหวังใหม่ปี70ใช้บัตรใบเดียวขึ้นรถไฟฟ้า
*จ่ายแรกเข้าแค่1ครั้งเริ่ม14บ.ข้ามสายไม่เกิน65บ.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/675374930706411
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2022 3:50 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รายงานความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้า ประจำเดือนตุลาคม 2565

🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2565 🔛 ดังนี้
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 98.31%
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 97.36% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 97.38% ความก้าวหน้าโดยรวม 97.37%
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 93.29% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 92.66% ความก้าวหน้าโดยรวม 92.98%
4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 8.08% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 3.62% ความก้าวหน้าโดยรวม 6.59%
5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 3.75% *ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจโบราณคดีและสาธารณูปโภค

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/674631097447461
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/440437574941141



รฟม. รายงานความคืบหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้า จับตา Interchange 5 จุด
ในประเทศ
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 - 12:06 น.

รฟม.รายงานความคืบหน้ารถไฟฟ้าในเมือง 5 เส้นทาง จับตาสายสีเหลือง-ชมพู เกิด Interchange ใหม่ 5 จุด

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรายงานความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2565 ดังนี้

Click on the image for full size
1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ความก้าวหน้างานโยธา 98.31% วงเงินก่อสร้างงานโยธา 113,279 ล้านบาท

Click on the image for full size
2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ความก้าวหน้างานโยธา 97.36% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 97.38% ความก้าวหน้าโดยรวม 97.37% วงเงินลงทุน 51,810 ล้านบาท

Click on the image for full size
3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ความก้าวหน้างานโยธา 93.29% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 92.66% ความก้าวหน้าโดยรวม 92.98% วงเงินลงทุน 53,490 ล้านบาท

4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ความก้าวหน้างานโยธา 8.08% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 3.62% ความก้าวหน้าโดยรวม 6.59% วงเงินลงทุน 4,200 ล้านบาท

Click on the image for full size
5.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ความก้าวหน้างานโยธา 3.75% *ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจโบราณคดีและสาธารณูปโภค วงเงินค่าก่อสร้างงานโยธา 124,791 ล้านบาท

ซึ่งนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู ครั้งที่ 2/2565 ว่า รถไฟฟ้าทั้งสองเส้นทางนั้นมีแผนเปิดใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2566

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการเปิดใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ จะเกิดจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าหรือ Interchange ขึ้น 5 จุด คือ


จุดที่ 1 จุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสีม่วงและสีชมพูที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี

จุดที่ 2 จุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มและสีชมพูที่สถานีหลักสี่

จุดที่ 3 จุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสีชมพูที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

จุดที่ 4 จุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีเหลืองที่สถานีลาดพร้าว

จุดที่ 5 จุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และสีเหลืองที่สถานีหัวหมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/11/2022 12:46 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สนข.ของบอีก 1,640 ล้านศึกษาเกี่ยวกับระบบตั๋วร่วม
*ผลาญเงินกันไปแล้วถึง 674 ล้านแต่งานล้มเหลว
*คมนาคมดันกฎหมาย”พ.ร.บ.ตั๋วร่วม”ชงเข้าครม.
*ให้ความหวังใหม่ปี70ใช้บัตรใบเดียวขึ้นรถไฟฟ้า
*จ่ายแรกเข้าแค่1ครั้งเริ่ม14บ.ข้ามสายไม่เกิน65บ.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/675374930706411

ดัน พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ ชง "คมนาคม" ม.ค. 66 สนข.เร่งทำ CCH ศูนย์รายได้กลาง ปี 70 บัตรใบเดียวใช้ขนส่งมวลชนได้ทุกระบบ
เผยแพร่: 9 พ.ย. 2565 16:55
ปรับปรุง: 9 พ.ย. 2565 16:55
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

สนข.ชง "คมนาคม" เคาะร่าง พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ ม.ค. 66 เร่งประกาศใช้ช่วงปลายปี เตรียมของบปี 67 อีกราว 1,600 ล้านบาท จ้างที่ปรึกษา ทำงานระบบ CCH คาดตั้งศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางเสร็จปี 70 ใช้อัตราค่าโดยสารร่วมมาตรฐานเดียว แจ้งเกิดระบบตั๋วร่วมบัตรใบเดียว ลดค่าโดยสารข้ามระบบ

นางสาวกรุณา เนียมเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.ได้จัดสัมมนา “โครงการศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม” ครั้งที่ 3 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำกับดูแลการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมให้สมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่ปรึกษาได้นำเสนอผลการศึกษาแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา และร่วมกันเสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้การกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมมีประสิทธิผลและสามารถขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติได้จริง และจะสรุปแผนกำกับนำเสนอคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานเห็นชอบต่อไป

โดยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมมีองค์ประกอบหลายส่วน ได้แก่ พระราชบัญญัติการบริหารจัดการตั๋วร่วม พ.ศ…. , กองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม, เทคโนโลยีในการบริหารระบบ และศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง หรือ CCH โดยปัจจุบัน สนข.อยู่ระหว่างจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการตั๋วร่วม พ.ศ…. ซึ่งคาดว่าจะเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาได้ในเดือน ม.ค. 2566 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าจะประกาศใช้ พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ ประมาณปลายปี 2566

ในขณะเดียวกัน สนข.จะเสนอรายละเอียดกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม หารือกับกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาในเรื่องแหล่งเงินทุน โดยคาดว่าทุนตั้งต้นประมาณ 1,300-1,500 ล้านบาทต่อปี โดยจะมีทั้งจากงบประมาณ, ส่วนแบ่งรายได้ จากหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจด้านการขนส่ง, ส่วนแบ่งรายได้จากผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้ารายใหม่ หรือรายเดิมที่สามารถเจรจาส่วนแบ่งกันได้ เพื่อมาชดเชยรายได้ของผู้ประกอบการ จากการลดค่าแรกเข้าและลดค่าโดยสารให้ประชาชนกรณีใช้บริการข้ามระบบ

จากนั้นปลายปี 2567 จะประกาศโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมและค่าธรรมเนียมทางการเงิน ซึ่งจะต้องเจรจากับผู้ให้บริการทั้งหมดเพื่อตกลงอัตราร่วมกัน, ปี 2568 จัดตั้งบริษัทบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม, ปี 2569 จัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม, ปี 2570 ศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง หรือ CCH สมบูรณ์ ประกาศใช้อัตราราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยใช้งานระบบตั๋วร่วมในรูปแบบการผูกกับบัญชีที่ระบุตัวตนผู้โดยสาร หรือ Account-Based Ticketing (ABT) กับระบบรถไฟฟ้าและระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ และรูปแบบการชำระเงินประเภท Open-loop System และการรองรับระบบ EMV ในการชำระค่าโดยสาร รวมถึงการใช้งานและชำระเงินกับบริการอื่นๆ นอกภาคขนส่ง (Non-Transit)

ในปี 2566 สนข.ได้รับงบประมาณ 40 ล้านบาทในการจัดจ้างที่ปรึกษาศึกษารูปแบบธุรกิจ ให้คำแนะนำแนวทางต่างๆ และการเจรจาต่อรองต่างๆ มีระยะเวลา 3 ปี (2566-2568) และในปี 2567 จะเสนอของบประมาณ 1,700 ล้านบาท เพื่อจัดจ้างเพื่อจัดทำงานระบบ CCH วงเงินประมาณ 1,300 ล้านบาท และจัดจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานระบบ CCH วงเงินกว่า 300 ล้านบาท (ระยะเวลาดำเนินการ 2567-2570)

นายสมพงษ์ ปักษาสวรรค์ ผู้จัดการโครงการศึกษาฯ กล่าวว่า ในการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม/อัตราค่าโดยสารเดียว สำหรับระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในปี 2565 กำหนดค่าแรกเข้า 14 บาท บวกค่าโดยสาร 2.15 บาท/กม. ปี 2570 ค่าแรกเข้า 14.73 บาท บวกค่าโดยสาร 2.26 บาท/กม. ปี 2575 ค่าแรกเข้า 15.50 บาท บวกค่าโดยสาร 2.37 บาท/กม. ปี 2580 ค่าแรกเข้า 16.30 บาท บวกค่าโดยสาร 2.50 บาท/กม.

โดยเสนออัตราค่าโดยสารแบบมีเพดานสูงสุด 2 ขั้น คือ ค่าแรกเข้า 14 บาท เดินทาง 25 กม.แรก เพดานสูงสุด 42 บาท เดินทางมากกว่า 25 กม. เพดานสูงสุด 65 บาท, ข้อเสนอส่วนลดค่าโดยสารการเดินทางข้ามระบบ ระหว่างรถไฟฟ้าในเมืองกับรถไฟชานเมือง ส่วนลดไม่เกินมูลค่าแรกเข้า, ระหว่างรถไฟฟ้าในเมืองกับรถเมล์ ส่วนลดไม่เกิน 10 บาท, รถไฟฟ้าในเมืองกับเรือโดยสาร ส่วนลดไม่เกิน 10 บาท

สำหรับข้อเสนออัตราค่าธรรมเนียมทางการเงิน (Transaction Fee) ในระบบตั๋วร่วม สำหรับบัตรโดยสาร ABT/Card-Centric ระบบขนส่ง อัตรา 1%, บัตรเดบิตในประเทศ อัตรา 0.55%, บัตรเครดิตในประเทศ อัตรา 0.8%

ในการศึกษา พบว่าปัจจุบันผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใช้เงินสด หรือใช้ตั๋วเที่ยวเดียวประมาณ 30% ดังนั้นเมื่อมีค่าโดยสารร่วม จะเชื่อว่าจะจูงใจให้มีผู้ใช้บริการระบบรางและขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ หลักการจะไม่บังคับผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชน เป็นการขอความร่วมมือในการเข้าระบบตั๋วร่วมและค่าโดยสารร่วม โดยผู้ประกอบการต้องมาเชื่อมต่อเป็นระบบเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเชื่อมข้อมูลเข้า CCH ในการบริหารจัดการและแบ่งรายได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/11/2022 1:34 pm    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ ขี่พายุ ทะลุฟ้า: พอกันที!รถไฟสารพัดสี
Source - ข่าวหุ้น
Friday, November 11, 2022 05:29

ในรอบ 3 ทศวรรษมานี้ ผมว่า แผนการลงทุนระบบขนส่งมวลชนทั้งรถไฟฟ้ายกระดับและใต้ดิน ประสบกับความล้มเหลวมากกว่าผลสำเร็จ

ทั้งลงทุนสูง แต่ประสิทธิภาพต่ำ และก่อปัญหาทัศนียภาพอันเลวร้าย โดยเฉพาะรถไฟฟ้ายกระดับ

อาทิเช่น รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน มูลค่าเงินลงทุนในราว 1.2 แสนล้านบาท เดิมทำแผนศึกษาความเป็นไปได้หรือฟีซสิบิลิตี้ว่าจะขนผู้โดยสาร 50,000 คน/ทิศทาง/ชั่วโมง เดินรถวันหนึ่ง 12 ชั่วโมง ก็จะสามารถขนคนได้ถึงวันละ 6 แสนคน

แต่เอาเข้าจริง กว่าจะเป็นวันนี้ในอัตราขนคนโดยเฉลี่ยได้ 300,000 คน/วัน ก็เลือดตาแทบกระเด็น มันเป็นการวางแผนที่เว่อร์เอามาก ๆ “ลงทุนสูง แต่ประสิทธิภาพต่ำ”

ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาการเดินทางสัญจรในชีวิตประจำวันของประชาชนได้มากมายนัก และก็ไม่ได้มีส่วนบรรเทาความคับคั่งการจราจรทางถนนอย่างมีนัยอะไรเลย

สายสีเขียวบีทีเอส ค่อยยังชั่วหน่อย โดยเฉพาะการต่อขยายเส้นทางไปยังปริมณฑลทั้งสมุทรปราการและลำลูกกา เคยขนผู้โดยสารวันละ 8-9 แสนคนมาแล้ว

แต่ข้อเสียสาหัสสากรรจ์ก็คือ การทำลายทัศนียภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง “ฮวงจุ้ย” ที่ร้านรวงขนาดเล็ก ทำมาหากินไม่ได้เลย

ต่อไปนี้ ไม่ควรจะมีรถไฟฟ้าสีอะไร ที่เป็นการลงทุนแบบ “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” เพิ่มเติมอีกแล้ว ควรหันมาใช้ “รถรางไฟฟ้า” พ่วง 3-4 ตู้ แบบยุโรป ก็จะเป็นการลงทุนต่ำที่คุ้มค่า สามารถประหยัดงบประมาณได้มหาศาล และไม่เป็นการทำลายทัศนียภาพสิ่งแวดล้อมแต่ประการใดเลย

คนบ้านเราอาจไม่คุ้นชิน การใช้รางและถนนร่วมเหมือนเมืองนอก แต่ถนนบ้านเราก็ค่อนข้างใหญ่โตและกว้างขวางกว่า สามารถใช้เกาะกลางเป็นทางรถรางไปกลับได้สบาย

แถมถนนบางแห่งที่มี 6-8 เลน ยังสามารถปลูกต้นไม้หรืออาจจะเผื่อทางวิ่งจ๊อกกิ้งได้สบาย ๆ ด้วยซ้ำ

ถนนที่มีระยะทางระหว่าง 10-20 กม.อย่างเช่น แจ้งวัฒนะ, รามอินทรา, ลาดพร้าว, รามคำแหงไปยันมีนบุรี, ศรีนครินทร์ และเพชรบุรีตัดใหม่ ฯลฯ สามารถจะทำเป็นเส้นทางรถรางได้หมดล่ะครับ

รถรางในยุโรปสามารถแก้ปัญหาระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างดีเป็นอันมาก ถึงแม้จะขนคนได้ไม่มากเท่าระบบขนส่งมวลชน แต่เมื่อเพิ่มความถี่ในการปล่อยรถเป็น 2-3-4 นาทีต่อขบวน ก็สามารถจะทดแทนกันได้

ประการสำคัญที่สุดก็คือประหยัดงบประมาณลงทุนได้เป็นอันมาก

รถไฟฟ้าเส้นทางหนึ่งหรือสีหนึ่งใช้งบสร้างกันตั้งแต่ 7 หมื่น-1 แสนกว่าล้านบาทเพราะต้องใช้โครงสร้างใหญ่ และขบวนรถและการเดินรถที่แพง ผิดกับรถรางที่ใช้โครงสร้างระดับพื้นดิน ขบวนรถและระบบเดินรถไม่ได้แพงมากมายอะไร

แต่ใช้งานคุ้มค่ากว่ากันมากไม่เหมือนการลงทุนรถไฟฟ้าสารพัดสี ซึ่งลงทุนมาก เหมือน “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” แต่ได้ผลไม่คุ้มค่า อาทิ รถไฟฟ้าสายสีม่วงที่วาดโครงการจะขนคนได้เป็นแสน/วัน แต่ตอนนี้ วันละ 3 หมื่นคนยังหืดจับอยู่เลย

ยิ่งมีโครงการรถไฟ สารพัดสี เยอะเท่าไหร่กรุงเทพฯ ก็ยิ่งอัปลักษณ์น่าเกลียดมากขึ้นเท่านั้น เหมือนกับมี “กำแพงเมืองจีน” เป็นหย่อม ๆ เมื่อมองจากข้างบนเลยทีเดียว

บางโครงการก็มีการแฉโพยกันเองว่าออกทีโออาร์ “ฮั้ว” ให้บางเจ้า และปล่อยให้มีการประมูลราคาสูงกว่าราคาปกติถึง 7 หมื่นล้านบาทเพื่อจะมี “เงินทอน” ไปให้นักการเมือง

มันก็อาจจะจริงเพราะธรรมเนียมปฏิบัติบ้านเรา หน่วยงานราชการมักจะหาเรื่องทำโครงการเพื่อจะมีช่องทำมาหากินกันได้ ยิ่งโปรเจกต์ราคาสูงยิ่งดี ยิ่งจะได้มีเงินทอนสูงมากขึ้น

การที่รถรางยุคใหม่ไม่สามารถแจ้งเกิด มีแค่แจ้งเกิดรถไฟฟ้าสารพัดสีได้ก็เพราะเหตุจูงใจเรื่อง “เงินทอน” เช่นนี้ด้วยหรือเปล่า ก็ไม่รู้สินะ

กทม. ควรหยุดโครงการรถไฟฟ้าสารพัดสีได้แล้ว หัวเมืองเอกทั้งหลาย ก็อย่าได้นำบทเรียนที่ผิดพลาดของกทม.ไปใช้เลย

รื้อฟื้นระบบรถรางสมัยใหม่ขึ้นมาใช้งานแทนรถไฟฟ้าสารพัดสีกันเถอะ!

ชาญชัย สงวนวงศ์


ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 11 พ.ย. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2022 2:16 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
สนข.ของบอีก 1,640 ล้านศึกษาเกี่ยวกับระบบตั๋วร่วม
*ผลาญเงินกันไปแล้วถึง 674 ล้านแต่งานล้มเหลว
*คมนาคมดันกฎหมาย”พ.ร.บ.ตั๋วร่วม”ชงเข้าครม.
*ให้ความหวังใหม่ปี70ใช้บัตรใบเดียวขึ้นรถไฟฟ้า
*จ่ายแรกเข้าแค่1ครั้งเริ่ม14บ.ข้ามสายไม่เกิน65บ.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/675374930706411

ดัน พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ ชง "คมนาคม" ม.ค. 66 สนข.เร่งทำ CCH ศูนย์รายได้กลาง ปี 70 บัตรใบเดียวใช้ขนส่งมวลชนได้ทุกระบบ
เผยแพร่: 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16:55 น.
ปรับปรุง: 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16:55 น.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เป้าใหม่ 'สนข.' เร่งประชาชนได้ใช้ระบบตั๋วร่วมในปี 70
10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 9:54 น.

สนข.เตรียมเสนอคมนาคมดัน พรบ.ตั๋วร่วมภายในปี66 กำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามาตรฐานเดียวกันเว้นจัดเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน พร้อมจัดตั้งกองทุนฯ เยียวยาเอกชน ปีละ 1,500 ล้านบาท

10 พ.ย. 2565 – นางสาวกรุณา เนียมเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงโครงการศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม โดยระบุว่า ขณะนี้ สนข.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการตั๋วร่วม พ.ศ…. ไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณาภายในเดือน ม.ค.2566 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยคาดว่าตามกระบวนการจะแล้วเสร็จเพื่อประกาศใช้ พรบ.ตั๋วร่วมดังกล่าวภายในปลายปี 2566 พร้อมเริ่มต้นการประกาศใช้อัตราราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

“หลัง พรบ.ตั๋วร่วมมีผลบังคับใช้ ก็จะนำไปสู่การจัดตั้งบริษัทบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม ซี่งส่วนนี้จะนำมาสนับสนุนรายได้ค่าโดยสารของเอกชนที่จะขาดหายไปจากการกำหนดอัตราตั๋วร่วมในมาตรฐานเดียวกัน และจากการบังคับใช้ส่วนลดค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าข้ามสายที่จะเกิดขึ้น เพื่อทำให้สัญญาสัมปทานที่มีเอกชนไม่ได้รับผลกระทบ แต่ขณะที่ประชาชนได้ประโยชน์จากการจัดเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว ค่าโดยสารถูกลง”นางสาวกรุณา กล่าว

อย่างไรก็ดี สนข.จะจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม โดยนำเอารายได้จากหลายส่วน อาทิ การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ ส่วนแบ่งรายได้หรือผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ให้บริการขนส่งรายใหม่เมื่อสัญญาสัมปทานมีข้อสัญญาให้ต้องส่งเงินเข้ากองทุน ส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการตั๋วร่วม และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่กองทุนเป็นต้น โดยเบื้องต้น สนข.ประเมินว่าจะต้องใช้เงินจากกองทุนดังกล่าว เพื่อสนับสนุนรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรถไฟฟ้าที่มีรายได้ลดลงเฉลี่ยรวมปีละ 1,300 – 1,500 ล้านบาท

ทั้งนี้ สนข.ประเมินว่าภายในปี 2570 ประชาชนจะสามารถใช้ระบบตั๋วร่วมที่กำหนดอัตราค่าโดยสารเป็นมาตรฐานเดียวกัน สำหรับระบบรถไฟฟ้าจะเป็นโครงข่ายขนส่งสาธารณะหลักที่กำหนดให้มีการจัดเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว โดยสนข.จะเจรจากับเอกชนผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ขอความร่วมมือเข้าร่วมระบบ CCH เพื่อเป็นประโยชน์ให้การคำนวณการชดเชยรายได้ของเอกชน และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการถือบัตรรถไฟฟ้าเพียงใบเดียว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/11/2022 7:53 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เปิด 4 โปรเจครางภูมิภาค ลุยตอกเสาเข็มปี 67 รับเมืองขยายตัว
กรุงเทพธุรกิจ 13 พ.ย. 2565 เวลา 6:09 น.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเตรียมทุ่มงบกว่า 5 หมื่นล้านบาท เดินหน้า 4 โครงการระบบขนส่งทางรางในภูมิภาครับการขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ตั้งเป้าทยอยตอกเสาเข็มภายในปี 2567

ในปลายปีนี้พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีโครงข่ายระบบรางเชื่อมต่อการเดินทางเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 2 โครงการ คือ รถไฟฟ้ารางเบา (โมโนเรล) สายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ซึ่งจะส่งผลให้โครงข่ายระบบรางในหัวเมืองหลักอย่างกรุงเทพฯ สมบูรณ์แบบมากขึ้น

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมเดินหน้าขยายโครงข่ายระบบรางไปยังหัวเมืองภูมิภาคต่างๆ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ผลักดันการขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว โดยตามเป้าหมายขณะนี้มี 4 โครงการลงทุนที่อยู่ระหว่างศึกษา ในวงเงินลงทุนรวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต

ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง

วงเงินลงทุน 35,201 ล้านบาท

ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร 21 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นจะมีการนำเสนอโครงการตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.2562 ภายในเดือน พ.ค.- เม.ย.2567 คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในเดือน พ.ค.2567-มิ.ย.2568 ก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถ ในเดือน ก.ค.2568-พ.ย.2570 และเปิดให้บริการภายในเดือน ธ.ค.2570 เพื่อให้ทันการจัดงาน Specialised Expo 2028 ที่จังหวัดภูเก็ตอยู่ระหว่างการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ


โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว)

ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

วงเงินลงทุน 2,300 ล้านบาท

ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร 21 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าโครงการจะเริ่มงานก่อสร้างในปี 2568 และเปิดให้บริการได้ในปี 2571 โดยจากการวิเคราะห์ด้านวิศวกรรมและจราจรด้านการลงทุนและผลตอบแทนและด้านสิ่งแวดล้อม และเปิดรับฟังข้อคิดเห็นจากชาวโคราช พบว่าระบบรถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ เป็นระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมมากที่สุด

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง)

ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี

วงเงินลงทุน 10,024 ล้านบาท

ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร 16 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าการจัดทำรายงานศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น รายงานรายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานศึกษารูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (PPP) จะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.2565 หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถ ก่อนเสนอโครงการไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในช่วงเดือน ม.ค.2567 และเริ่มคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในเดือน ส.ค.2567 โดยมีกำหนดเริ่มงานก่อสร้างในเดือน ก.ย.2568 แล้วเสร็จเปิดให้บริการในเดือน ธ.ค.2571

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง)

ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก – ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก

วงเงินลงทุน 3,440 ล้านบาท

ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร 15 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าจะประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนได้ในเดือน ก.ย. 2565-ต.ค. 2566 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2567 คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569 โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารตามแผนระยะที่ 1 มีผู้โดยสารประมาณ 5,700 คน-เที่ยววัน ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มเป็น 13,700 คน-เที่ยวต่อวันในปี 2574
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2022 3:49 pm    Post subject: Reply with quote

BEM โกยกำไรไตรมาส 3 แตะ 863 ล. ลุ้นเซ็นสัญญาสายสีส้ม ปั้นรายได้สัมปทานรถไฟฟ้า
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 13:58 น.

BEM โชว์กำไรไตรมาส 3 ทำ นิวไฮนับตั้งแต่เผชิญโควิด
วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 9:34 น.

“บีอีเอ็ม” โชว์ผลประกอบการไตรมาส 3 ทำกำไรนิวไฮ 863 ล้าน เพิ่มขึ้น 699%
เศรษฐกิจ-ยานยนต์.
วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 10:45 น.

“บีอีเอ็ม” โชว์ผลประกอบการไตรมาส 3 ทำกำไรนิวไฮ 863 ล้าน เพิ่มขึ้น 699% รายได้ 3,739 ล้าน เพิ่มขึ้น 73% อานิสงส์เปิดประเทศผู้โดยสารรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ทะลุ 3.1 แสนคนต่อวัน ผู้ใช้ทางด่วน 1 ล้านคันต่อวัน ชงประชุมถือหุ้นเตรียมทำสัญญารถไฟฟ้าสีส้ม มั่นใจเปิดให้บริการ “ศูนย์วัฒนธรรมฯ-สุวินทวงศ์” ใน 3 ปีครึ่ง


“BEM” กวาดกำไรไตรมาส 3 พุ่ง 863 ล้านบาท รับอานิสงส์ปัจจัยบวกหลังเปิดประเทศ ดันปริมาณรถบนทางด่วน-ผู้โดยสารรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ลุ้นลงนามสัญญาสายสีส้ม ดันรายได้สัมปทานรถไฟฟ้า

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการทางพิเศษและรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง โชว์ผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 3/2565 โดยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท จำนวน 863 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จำนวน 755 ล้านบาทหรือร้อยละ 699 มีรายได้จากการดำเนินงาน จำนวน 3,739 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1,585 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.6 โดยรายได้ค่าผ่านทางเพิ่มขึ้น จำนวน 868 ล้านบาท รายได้ค่าโดยสารและรับจ้างเดินรถเพิ่มขึ้น จำนวน 651 ล้านบาท และรายได้พัฒนาเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น จำนวน 66 ล้านบาท


BEM โกยกำไรไตรมาส 3 แตะ 863 ล. ลุ้นเซ็นสัญญาสายสีส้ม ปั้นรายได้สัมปทานรถไฟฟ้า

ทั้งนี้มาจากปัจจัยบวกหลังการเปิดประเทศที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณรถที่ใช้ทางด่วนและผู้โดยสารรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการกลับมาทำงานของภาคธุรกิจ การกลับมาเรียน on site ของสถาบันการศึกษา และยอดนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตัวเลขกำไร 863 ล้านบาทในไตรมาส 3 ปีนี้เป็นตัวเลข New High นับตั้งแต่ปี 2563 ที่มีการระบาดของโควิด



ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลให้ปริมาณรถที่ใช้ทางด่วนและผู้โดยสารรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยปริมาณรถที่ใช้ทางด่วนในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 1,069,102 เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 59.7 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินปริมาณผู้โดยสารในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 312,663 เที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 292.4 โดยมั่นใจว่าการฟื้นตัวครั้งนี้เป็นแบบ V Shape แน่นอน



นายสมบัติ กล่าวต่อว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติกำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2565 ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เพื่อพิจารณาเข้าทำสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และพิจารณาการเข้าทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บริหารและก่อสร้างงานโยธา (ช่วงตะวันตก) และผู้ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง ทดสอบอุปกรณ์งานระบบ และทดลองเดินทางรถไฟฟ้า (ช่วงตะวันออกและตะวันตก) ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)


"หลังจากลงนามสัญญา มั่นใจว่าจะเปิดให้บริการส่วนตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-สุวินทวงศ์) ได้ภายใน 3 ปีครึ่ง และส่วนตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์) ได้ภายใน 6 ปี ตามแผนงานของ รฟม. ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจุดเด่นของ BEM ที่ทำงานทุกโครงการประสบความสำเร็จ เปิดบริการได้ตามสัญญาเป็นไปตามแผนหรือก่อนแผนเสมอ"



นอกจากนี้การลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม จะทำให้บริษัทเพิ่มความสามารถในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และขยายโครงการเครือข่ายของระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าที่บริษัทบริหารอยู่ในปัจจุบันให้ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการที่มากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มจำนวนผู้โดยสารและรายได้ของโครงการรถไฟฟ้าภายใต้สัมปทานของบริษัท BEM มีความพร้อมที่จะเข้าดำเนินงานได้ทันที
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/11/2022 8:10 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ขึ้นแท่นอันดับ 2 เบิกจ่ายงบปี 65 สูงสุดทะลุเป้า 1.8 แสนล้าน
เดลินิวส์ 15 พฤศจิกายน 2565 18:25 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“คมนาคม” ขึ้นแท่นอันดับ 2 เบิกจ่ายงบปี 65 สูงสุด 1.86 แสนล้าน “ศักดิ์สยาม” เร่งทุกหน่วยเบิกจ่ายงบปี 66 กว่า 2.2 แสนล้าน จี้ลงนามสัญญาปีเดียวให้ครบ ม.ค. 66 ส่วนผูกพันใหม่ต้องจบ มี.ค. 66 ขีดเส้นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต้องเบิกให้ได้ 95% ก.ย. ปีหน้า

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณปี 66 และติดตามการดำเนินงาน การลงนามในสัญญา ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ให้สามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามเป้าหมายรัฐบาล ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีผลการเบิกจ่าย ดังนี้ ปีงบประมาณ 65 กระทรวงคมนาคม เบิกจ่ายได้ 186,034 ล้านบาท (89.15%) ซึ่งในส่วนของรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้ 160,540 ล้านบาท (87.89%) สูงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด (75%) และหากจำแนกเป็นรายกระทรวง กระทรวงคมนาคม อยู่ในอันดับ 2 ที่มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า สำหรับปีงบประมาณ 66 กระทรวงคมนาคมได้รับจัดสรรงบฯ (8 ส่วนราชการ 5 รัฐวิสาหกิจ) ในภาพรวม 228,930.28 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 27,419.32 ล้านบาท (11.98%) และรายจ่ายลงทุน 201,510.96 ล้านบาท (88.02%) ปัจจุบันรายจ่ายลงทุนอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยรายการปีเดียว วงเงิน 80,245.04 ล้านบาท จะได้ตัวผู้รับจ้างในเดือน ธ.ค. 65 และจะลงนามในสัญญาครบทุกรายการภายในเดือน ม.ค. 66 สำหรับรายการผูกพันใหม่ วงเงิน 10,386.22 ล้านบาท คาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ครบภายในเดือน มี.ค. 66

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ส่วนงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ปี 66 (11 รัฐวิสาหกิจ) วงเงินเบิกจ่ายรวม 108,924.41 ล้านบาท ประกอบด้วย ทางราง (การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA)) วงเงิน 63,525.06 ล้านบาท  ทางบก (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.), องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)) วงเงิน 11,334.87 ล้านบาท ทางน้ำ (การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)) วงเงิน 1,915.76 ล้านบาท และทางอากาศ (สถาบันการบินพลเรือ (สบพ.), บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท., บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) และบริษัท โรงแรมท่าอากาศยายสุวรรณภูมิ จำกัด (รทส.)) วงเงิน 32,148.72 ล้านบาท

ทั้งนี้มีโครงการสำคัญขนาดใหญ่ที่จะเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 66 อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ, โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-ชุมพร, โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา), โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ, โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี, โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก, โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต, โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3  และโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นต้น

นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า ได้กำชับให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ปี 66 ลงนามในสัญญาให้ครบทุกรายการโดยเร็ว และเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล และในส่วนของงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ขอให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เร่งรัดเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล 95% ภายในเดือน ก.ย. 66.... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1686755/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/11/2022 11:51 am    Post subject: Reply with quote

‘ศักดิ์สยาม’เร่งหน่วยงานคมนาคมเบิกจ่ายงบปี 66 มูลค่า 2.28 แสนล้าน
ไทยโพสต์ 16 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10:54 น.

‘คมนาคม’เร่งเบิกจ่ายงบปี 66 มูลค่า 2.28 แสนล้านให้ได้ตามเป้าหมายรัฐ จี้ลงนามสัญญาปีเดียวให้ครบ ม.ค. 66 ส่วนผูกพันใหม่ต้องจบ มี.ค. 66 ขีดเส้นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต้องเบิกให้ได้ 95% ก.ย. ปีหน้า

16 พ.ย.2565-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมเร่งรัดติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2566 ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2565 และติดตามการดำเนินงาน การลงนามในสัญญา เพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2566 ของหน่วยงานในสังกัดให้สามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามเป้าหมายของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม มีผลการเบิกจ่าย ดังนี้ โดยเบิกจ่ายงบประมาณปี 2565 ได้ 186,034 ล้านบาท หรือ 89.15% ในส่วนของรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้ 160,540 ล้านบาท หรือ 87.89% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดอยู่ที่ 75% และหากจำแนกเป็นรายกระทรวง กระทรวงคมนาคมจะอยู่ในอันดับที่ 2 ที่มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า กระทรวงคมนาคมได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินปี 2566 (8 ส่วนราชการ 5 รัฐวิสาหกิจ) ในภาพรวม จำนวน 228,930.28 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 27,419.32 ล้านบาท หรือ 11.98% และรายจ่ายลงทุน 201,510.96 ล้านบาท หรือ 88.02%

อย่างไรก็ตามโดยปัจจุบันรายจ่ายลงทุนอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ รายการปีเดียว วงเงิน 80,245.04 ล้านบาท จะได้ตัวผู้รับจ้างใน ธ.ค. 2565 และจะลงนามในสัญญาครบทุกรายการภายใน ม.ค. 2566 สำหรับรายการผูกพันใหม่ วงเงิน 10,386.22 ล้านบาท คาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ครบภายใน มี.ค. 2566

ขณะที่ งบลงทุนรัฐวิสาหกิจปี 2566 (11 รัฐวิสาหกิจ) วงเงินเบิกจ่ายรวม 108,924.41 ล้านบาท ประกอบด้วย ทางราง คือ การรถไฟแห่ประเทศไทย (รฟท.), การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท รถไฟฟ้า รฟฟท. จำกัด (SRTA) วงเงิน 63,525.06 ล้านบาท ส่วนทางบก คือ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.), องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) วงเงิน 11,334.87 ล้านบาท

ทางน้ำ คือ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) วงเงิน 1,915.76 ล้านบาท และทางอากาศ คือ สถาบันการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (สบพ.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท., บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) และโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (รทส.) วงเงิน 32,148.72 ล้านบาท

ทั้งนี้ มีโครงการสำคัญขนาดใหญ่ที่จะเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2566 อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ, โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-ชุมพร, โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) อีกทั้ง โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก รวมทั้ง โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นต้น

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ได้กำชับให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินปี 2566 ลงนามในสัญญาให้ครบทุกรายการโดยเร็ว และเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล ในส่วนของงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ขอให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเร่งรัดเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล 95% ภายใน ก.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 16/11/2022 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
‘ศักดิ์สยาม’เร่งหน่วยงานคมนาคมเบิกจ่ายงบปี 66 มูลค่า 2.28 แสนล้าน
ไทยโพสต์ 16 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10:54 น.


“ศักดิ์สยาม” เร่งแผนงานปี 66 ตั้งเป้าเบิกจ่ายงบประมาณกว่า 3 แสนล้านบาทไม่น้อยกว่า 95%
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 15 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19:02 น.
ปรับปรุง: 15 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19:02 น.

“ศักดิ์สยาม” ถกเร่งแผนปี 66 ตั้งเป้าเบิกจ่ายงบกว่า 3 แสนล้านบาท 95% โดยงบรายจ่าย 2.28 แสนล้านบาทประมูลลงนามครบทุกสัญญาใน มี.ค. 66 งบลงทุนกว่า 1.08 แสนล้านบาท ลุยสร้างรถไฟทางคู่ ทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง, รถไฟฟ้าสีม่วง, สีส้ม, ทลฉ.เฟส 3 และรันเวย์ 3 สุวรรณภูมิ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมเร่งรัดติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2566 ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมว่า ที่ประชุมรับทราบรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2565 และติดตามการดำเนินงาน การลงนามในสัญญา เพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2566 ของหน่วยงานในสังกัดให้สามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามเป้าหมายของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีผลการเบิกจ่าย ดังนี้

กระทรวงคมนาคมเบิกจ่ายงบประมาณปี 2565 ได้ 186,034 ล้านบาท (ร้อยละ 89.15) ในส่วนของรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้ 160,540 ล้านบาท (ร้อยละ 87.89) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด (ร้อยละ 75) และหากจำแนกเป็นรายกระทรวง กระทรวงคมนาคมจะอยู่ในอันดับที่ 2 ที่มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด

กระทรวงคมนาคมได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินปี 2566 (8 ส่วนราชการ 5 รัฐวิสาหกิจ) ในภาพรวม จำนวน 228,930.28 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 27,419.32 ล้านบาท (ร้อยละ 11.98) และรายจ่ายลงทุน 201,510.96 ล้านบาท (ร้อยละ 88.02)

ปัจจุบันรายจ่ายลงทุนอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยรายการปีเดียว วงเงิน 80,245.04 ล้านบาท จะได้ตัวผู้รับจ้างในเดือนธันวาคม 2565 และจะลงนามในสัญญาครบทุกรายการภายในเดือนมกราคม 2566 สำหรับรายการผูกพันใหม่ วงเงิน 10,386.22 ล้านบาท คาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ครบภายในเดือนมีนาคม 2566

งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ปี 2566 (11 รัฐวิสาหกิจ) วงเงินเบิกจ่ายรวม 108,924.41 ล้านบาท ประกอบด้วย ทางราง (รฟท. รฟม. และ SRTA) วงเงิน 63,525.06 ล้านบาท ทางบก (กทพ. ขสมก. และ บขส.) วงเงิน 11,334.87 ล้านบาท ทางน้ำ (กทท.) วงเงิน 1,915.76 ล้านบาท และทางอากาศ (สบพ. ทอท. บวท. และ รทส.) วงเงิน 32,148.72 ล้านบาท

ทั้งนี้ มีโครงการสำคัญขนาดใหญ่ที่จะเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2566 เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-ชุมพร โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นต้น

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้กำชับให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินปี 2566 ลงนามในสัญญาให้ครบทุกรายการโดยเร็ว และเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล และในส่วนของงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ขอให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเร่งรัดเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล ร้อยละ 95 ภายในเดือนกันยายน 2566
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 255, 256, 257 ... 278, 279, 280  Next
Page 256 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©