Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311371
ทั่วไป:13301501
ทั้งหมด:13612872
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 266, 267, 268 ... 279, 280, 281  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42813
Location: NECTEC

PostPosted: 25/07/2023 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

Note: รายการความน่าผิดหวังจากแผนนี่:
A2-1) รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ – หัวลำโพง (Commuter) จะงดทำทางไปสายหัวหมากใช้ไหมครับ? แต่มาดูแผนที่อีกที ก็ดีใจที่ว่ายังทำแต่ออกจะล่าช้าเรื่องราชวิถี จริงๆ ก็น่าให้สถานียมราชทำหน้าที่ interchange แทนได้นิ
B-2) รถไฟฟ้าสายสีฟ้า สาทร – ดินแดง (Light Rail) => เออ เส้นนี้ไปจากถนนประชาสงเคราะห์ที่ดินแดงไปตามทางถนนจตุรทิศ ข้าง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตดินแดง เข้าย่านมักกะสัน ก่อน ออก ถนนวิทยุ ไปตามถนนสาทรไปถึงช่องนนทรี เส้นนี้น่ากลัวจะต้องมุดดินเด็ดขาด เผลอๆ จะไม่ได้สร้างเพราะถ้าท่านทูตโดยเฉพาะทูตอเมริกันไม่ยอมเพราะกลัวมีปัญหาระบบความปลอดภัยแล้วก็ต้องเบี่ยงออกเส้นทางรถไฟสายแม่น้ำจึงจะไม่มีปัญหากับท่านทูตครับ
C-1) เส้นทาง ลาดพร้าว – รัชโยธิน – ท่าน้ำนนท์ => ขอทีเถอะครับ เป็นการลดชั้น จากส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลืองแบบนี่ถือว่าเป็นการดูถูกความต้องการชาวกรุงเป็นอย่างยิ่งครับ
C-7) เส้นทาง คลองสาน - ศิริราช จะไม่ให้ต่อขยายสายสายสีทองใช่ไหมครับ?
C-8) เส้นทาง บางซื่อ – พระราม 3 นี่วิ่งตามทางด่วน หรือทางรถไฟสายแม่น้ำครับ ถ้าเป็นทางรถไฟสายแม่น้ำก็เท่ากับว่าเป็นการเบียดเบียนโอกาสในการพัฒนาที่ดินรถไฟที่สถานีแม่น้ำและ ที่ดินท่าเรือคลองเตย ไม่ต่างจากการลดชั้นรถไฟฟ้าสายสีเงินส่วนต่อขยายจากบางนาไปช่องนนทรีครับ
C-18) เส้นทาง บรมราชชนนี - ดินแดง – หลักสี่ เออ ไม่เป็นการเบียดเบียนไม่ให้ MRTA ทำทางรถไฟฟ้า ไปที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิก่อนต่อไปบางบำหรุเหรอครับ หรือ เพราะ ว่าไม่มีสวนสัตว์ดุสิตแล้ว ก็หมดความสำคัญลงไป ส่วนทางจากดินแดงไปหลักสี่นี่ก้ไปตามเส้นวิภาวดีรังสิตนี่ครับ ก็ว่ากันไป ทางสายสีส้มที่ราชปรารถ เดินไกลเอาการนา แต่ถ้ารวมกันได้กับยส่วนต่อขยายสายสีเงินไป สนามบินก็จะดีมาก

Mongwin wrote:
ไฟล์ PDF เส้นทางรถไฟฟ้า M-MAP2

https://drive.google.com/file/d/1Z4_wB4fjoqOgTRgmKdmfCiNTz_al36TM/view
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45022
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/07/2023 9:00 am    Post subject: Reply with quote

แผน ‘คมนาคม’ เสนอรัฐบาลใหม่ ปรับพฤติกรรมใช้ขนส่งสาธารณะ
กรุงเทพธุรกิจ 28 ก.ค. 2566 เวลา 8:33 น.

“คมนาคม” ตั้งเป้าภายในปี 2575 เปิดบริการรถไฟฟ้า 14 เส้นทาง ครอบคลุม 554 กิโลเมตร พร้อมดันแผน M-Map2 เสนอ ครม.ชุดใหม่ นำร่องขยายเพิ่ม 5 เส้นทาง หนุนประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ขณะที่ “สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์” จ่อขึ้นแท่นฮับเดินทางและชอปปิ้งแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถา “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย” ภายในงานสัมมนา “โจทย์ใหญ่ฟื้นอสังหาริมทรัพย์” เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2566 โดยระบุว่า เป้าหมายของกระทรวงคมนาคม คือ การขนส่งสินค้าหรือคนจากต้นทางถึงปลายทางให้สะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล และมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รายได้ประเทศทั้งการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม

ทั้งนี้ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้ศึกษาถึงปัญหาของการคมนาคม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย

1.การคมนาคมขนส่งในเมือง

2.การคมนาคมขนส่งระหว่างเมือง

รวมทั้งเบื้องต้นพบว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น คือ การจราจรติดขัด เกิดเป็นปัญหาฝุ่นมลภาวะ เนื่องจากการขนส่งหลักยังคงเป็นระบบขนส่งทางบก อีกทั้งยังทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนการขนส่งสูง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวสืบเนื่องจากระบบขนส่งสาธารณะที่ยังไม่สะดวก รวมทั้งรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) มีไม่เพียงพอและไม่ตรงต่อเวลา ขณะที่การขนส่งระหว่างเมืองยังเน้นขนส่งด้วยรถบรรทุก เพราะปัญหาระบบรางที่ไม่เพียงพอ

แผน ‘คมนาคม’ เสนอรัฐบาลใหม่ ปรับพฤติกรรมใช้ขนส่งสาธารณะ


อย่างไรก็ดี กระทรวงคมนาคมมีเป้าหมายแก้ไขปัญหาการคมนาคมดังกล่าว ด้วยยุทธศาสตร์ 3 ส่วน คือ

1.ขนส่งที่มีประสิทธิภาพ

2.ขนส่งเป็นมิตร

3.ขนส่งที่ทุกคนเข้าถึงได้

สำหรับการดำเนินการจะแบ่งแนวทางแก้ไขปัญหาออกเป็น การคมนาคมในเมือง เป้าหมายจะเปลี่ยนคนเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลสู่การขนส่งสาธารณะที่เป็นระบบขนส่งทางรางเป็นหลัก ขณะที่การคมนาคมระหว่างเมือง เป้าหมายจะเปลี่ยนการขนส่งทางรถบรรทุก เป็นการขนส่งทางรางและทางน้ำที่มีต้นทุนขนส่งถูกกว่า

ส่วนแนวคิดที่จะนำไปสู่เป้าหมาย ได้แบ่งออกเป็น การพัฒนาระบบขนส่งในเมืองอย่างยั่งยืน จะปรับพฤติกรรมของประชาชนให้เน้นเดินทางด้วยระบบราง เชื่อมต่อการเดินทางด้วยการขับรถส่วนบุคคลไปยังจุดหมายปลายทาง ให้ปรับเป็นการนำรถส่วนบุคคลเดินทางเพื่อมายังสถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้ที่สุด และเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางด้วยระบบรถไฟฟ้า

แผน ‘คมนาคม’ เสนอรัฐบาลใหม่ ปรับพฤติกรรมใช้ขนส่งสาธารณะ

รวมทั้งจะพัฒนาระบบขนส่งรอง (ฟีดเดอร์) เพื่อขนผู้โดยสารจากบ้านมายังระบบขนส่งหลัก ซึ่งจะเน้นเป็นยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ รถโดยสารอีวี

นอกจากนี้ การผลักดันเป้าหมายปรับพฤติกรรมประชาชนให้หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะในเมืองนั้น กระทรวงคมนาคมมีแผนทำงานผ่านการเร่งรัดพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าภายใต้แผน M-Map1 ให้แล้วเสร็จจำนวน 14 สาย รวมระยะทาง 554 กิโลเมตร ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปี 2575 โดยปัจจุบันโครงการภายใต้แผน M-Map1 นั้นทยอยเปิดให้บริการแล้ว โดยกระทรวงฯ มีเป้าหมายว่าภายในปี 2572 จะแล้วเสร็จเปิดให้บริการคิดเป็น 80% ของแผนทั้งหมด

“หากโครงการรถไฟฟ้า M-Map1 เปิดให้บริการครบตามแผน จะทำให้ประชาชนเดินไม่เกินครึ่งกิโลเมตรและเจอสถานีรถไฟฟ้า เป็นเหมือนกรุงโตเกียว ลอนดอน และนิวยอร์ก ที่การเดินทางระบบขนส่งทางรางเป็นหลัก โดยปัจจุบันรถไฟฟ้าในเมืองก็เปิดให้บริการครอบคลุมระยะทางแล้ว 241 กิโลเมตร ทั้งสายสีเขียว สายสีม่วง และสายสีแดง รวมไปถึงสายสีชมพู และเหลือง เป็นใยแมงมุมโครงข่ายรถไฟฟ้าที่สนับสนุนการเดินทางสะดวกขึ้น”

นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง อาทิ โมโนเรลสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ซึ่งจะเป็นฟีดเดอร์เชื่อมทางทิศตะวันตกและตะวันออกของกรุงเทพฯ ใช้ขนส่งคนเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าหลักอย่างรถไฟฟ้าสายสีเขียว

รวมไปถึงรถไฟฟ้าสายสีส้มที่จะเป็นรถไฟฟ้าสายหลักเชื่อมตะวันออกและตะวันตก ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแกนหลักอื่นๆ อย่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน อีกทั้งปัจจุบันยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่กำลังก่อสร้าง ซึ่งจะขยายแนวเส้นทางมาทิศใต้สิ้นสุดที่ราษฎร์บูรณะ รวมถึงสายสีแดงที่จะขยายเหนือและใต้ของกรุงเทพฯ

ขณะเดียวกันกระทรวงคมนาคม ยังมีโครงการที่มีความพร้อมพัฒนาเตรียมเสนอคณะรัฐมมนตรี (ครม.) ชุดใหม่อนุมัติ จำนวน 5 โครงการ อาทิ

สายสีแดงรังสิต-ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร วงเงิน 6,468 ล้านบาท
สายสีแดงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร วงเงิน 10,670 ล้านบาท
สายสีแดงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงิน 4,616 ล้านบาท
รวมไปถึงแผนแม่บทรถไฟฟ้า M-Map2 ที่จะขยายการเดินทางรอบนอกกรุงเทพฯ ให้สะดวกมากขึ้น อาทิ เส้นทางต่อขยายจากสถานีบางหว้า-ราชพฤกษ์-บางบำหรุ เป็นต้น

นายชยธรรม์ กล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาความเหมาะสมของการพัฒนาฟีดเดอร์เพื่อสนับสนุนการเดินทางสู่ระบบรถไฟฟ้า ซึ่งเบื้องต้นทราบว่าความเหมาะสมของการพัฒนารถโดยสารประจำทางเพื่อขนถ่ายผู้โดยสารมีเป้าหมายพัฒนา 81 เส้นทางต่อ 1 โครงการรถไฟฟ้า รวมไปถึงเส้นทางเรือโดยสารเพื่อผลักดันเป้าหมายการเดินทางล้อ-ราง-เรือ

ส่วนการพัฒนาระบบขนส่งระหว่างเมือง จากปัญหาที่พบว่าการขนส่งส่วนใหญ่ยังเป็นการเดินทางด้วยขนส่งทางบก ผู้ประกอบการยังคงใช้รถบรรทุกขนส่งสินค้าเป็นหลักทำให้ต้นทุนสูง เป้าหมายของกระทรวงฯ คือ การพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ และจำกัดรถบรรทุกให้วิ่งเข้าหาศูนย์กลางต่างๆ ที่กำหนด ในรูปแบบของท่าเรือบก และใช้ระบบรถไฟทางคู่เป็นหลักในการขนส่ง โดยเป้าหมายขณะนี้กระทรวงฯ จะเร่งรัดเปิดให้บริการรถไฟทางคู่ในรัศมี 250 กิโลเมตรโดยรอบกรุงเทพฯ ภายในปลายปี 2566 เช่น รถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม จะแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนในเส้นทางระหว่างเมือง ผ่านการขยายโครงข่ายทางพิเศษที่จะทยอยเปิดให้บริการระหว่างปี 2567-2568 อาทิ

สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร
สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร
สายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว ระยะทาง 25 กิโลเมตร
นายชยธรรม์ ยังกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า เมื่อสร้างโครงข่ายรถไฟฟ้าและรถไฟให้เป็นระบบขนส่งหลักของประเทศ ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางของประชาชนสะดวก รวดเร็ว และสามารถกำหนดเวลาเดินทางได้

อีกทั้งผู้ประกอบการภาคขนส่งยังสามารถลดต้นทุนจากการขนส่งแล้ว สิ่งสำคัญที่จะทำให้การขนส่งสาธารณะสมบูรณ์ คือการพัฒนา TOD พื้นที่รอบบริเวณสถานีต่างๆ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะดึงผู้ใช้บริการ ซึ่งขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังทำแผนพัฒนาสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ให้เป็นศูนย์กลางการเดินทางและชอปปิ้งแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45022
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/07/2023 3:08 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.สั่งรับเหมาเคลียร์พื้นที่ ซ่อมคืนผิวจราจร ตลอดแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า รับเดินทางช่วงหยุดยาว
ผู้จัดการออนไลน์ 28 ก.ค. 2566 14:05

รฟม. สั่งคุมเข้มมาตรการความปลอดภัยตลอดเส้นทางก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทุกสายอำนวยความสะดวกแก่ผู้สัญจรทางถนนในช่วงวันหยุดยาว 28 ก.ค. – 2 ส.ค. 2566 นี้
ตามที่ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2566 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะทำให้มีวันหยุดราชการติดต่อกันรวม 6 วัน ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม ถึง วันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566 นั้น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ได้สั่งการให้โครงการรถไฟฟ้าทุกสายในความรับผิดชอบของ รฟม. เตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกและปลอดภัยในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ถึง 2 สิงหาคม 2566

โดยปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ได้ดำเนินงานก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ 100% ซึ่ง รฟม. ได้กำชับให้ผู้รับเหมาทั้งสองโครงการเร่งดำเนินงานซ่อมแซมผิวจราจร เพื่อคืนสภาพผิวจราจรถาวรแก่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนโดยเร็ว

ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้างงานโยธา ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสาย สีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) นั้น รฟม. ได้สั่งการให้ผู้รับเหมาปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในงานก่อสร้างอย่างเคร่งครัด หมั่นตรวจสอบและจัดสภาพหน้างานให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เช่น การปิดกั้นพื้นที่ก่อสร้างและช่องเปิดต่างๆ การจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรให้เรียบร้อยและปลอดภัย ไม่กีดขวางการจราจร การจัดแนวแบริเออร์ให้เป็นระเบียบ ติดตั้งป้ายเตือน ป้ายทางเบี่ยง ทางเลี่ยง และปิดกั้นแนวรั้วคอนกรีตบริเวณจุดที่เป็นอันตรายให้เรียบร้อย รวมถึงการติดตั้งไฟส่องสว่างให้ชัดเจน การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า และการจัดเก็บวัตถุไวไฟหรือสารไวไฟให้ปลอดภัย

นอกจากนี้ ยังจัดให้มีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและจัดเตรียมอุปกรณ์ด้านจราจร เพื่อเตรียมพร้อมให้การช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45022
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/08/2023 6:32 am    Post subject: Reply with quote

"เมืองนนท์-ปากน้ำ"คึก รถไฟฟ้าดันเศรษฐกิจบูม
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, August 09, 2023 05:41

สภาพัฒน์ ชงงบลงทุน 3.4 แสนล.

"เมืองนนท์" คึกรับโครงข่ายรถไฟฟ้า ดันราคาที่ดินพุ่ง คอนโดฯ-บ้านจัดสรรผุดเพิ่ม 150% "สมุทรปราการ" ลุ้นส่วนต่อขยาย ดูดเม็ดเงินท่องเที่ยวเพิ่ม ขณะ M-MAP2 รอรัฐบาลใหม่ตัดสินใจ ด้านสภาพัฒน์ เตรียมชงบอร์ดงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 3.2 แสนล้านเคลื่อนเศรษฐกิจ

จากที่กระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนาระบบรถไฟฟ้า 14 สาย รวมระยะทาง 554 กิโลเมตร (กม.) เป้าหมายจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2575 โดยเวลานี้ได้วิ่งให้บริการแล้วเป็นระยะทาง 241 กม. เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีแดง สายสีเหลือง สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และสายสีทอง ครอบคลุมพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ส่งผลให้ภาคธุรกิจต่าง ๆ ตามแนวรถไฟฟ้า และพื้นที่โดยรอบได้รับอานิสงส์ชัดเจน

นายปรีชา กุลไพศาลธรรม นายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์นนทบุรี เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" จากที่เวลานี้มีรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) วิ่งผ่าน ส่งผลให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ของนนทบุรี ได้ประโยชน์ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในแนวสูง ในรูปแบบคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นมากมาย เพื่อตอบรับกลุ่มเป้าหมายใช้รถไฟฟ้าเป็นทางเลือกของการเดินทาง รวมถึงอสังหาฯแนวราบรอบแนวรถไฟฟ้าก็ได้รับประโยชน์

คอนโดฯ-บ้านผุดเพม 100%

ขณะเดียวกันส่งผลให้ราคาที่ดินในพื้นที่รอบแนวรถไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น จากก่อนหน้าที่ยังไม่มีรถไฟฟ้าฯ ราคาที่ดินอยู่ที่ประมาณ5 หมื่นบาท ถึง 1.5 แสนบาทต่อตารางวา ปัจจุบันราคาที่ดินในรัศมี 100 เมตรรอบสถานีรถไฟฟ้า อยู่ที่ 1.5- 3 แสนบาทต่อตารางวา หรือปรับขึ้นมา 100-150%

"ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาหลังมีรถไฟฟ้าสายสีม่วง มีโครงการคอนโดฯที่มีความสูงในแนวรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนคอนโดฯ 8 ชั้นขึ้นไปเพิ่มขึ้น 50-100% ขณะที่โครงการหมู่บ้านจัดสรรเพิ่มขึ้น 20-30% ทั้งนี้หากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล(แคราย-ลำสาลี เป้าเปิดให้บริการปี 2571) คาดคอนโดฯ และอสังหาฯแนวรถไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว เพราะเป็นเส้นทางวิ่งเข้าเมืองและตัดแนวรถไฟฟ้าหลายสาย"
"ปากน้ำ" รอครบลูปดันท่องเที่ยว
ด้านนายชาญศิลป์ ปานแก้ว เลขาธิการหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า ปัจจุบันมีรถไฟฟ้า 2 สายเชื่อมต่อมายังสมุทรปราการ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าวสำโรง) ซึ่งในส่วนของสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการยังไม่ฟูลสเกล หรือครบลูป โดยยังวิ่งถึงแค่เคหะสมุทรปราการ ส่วนขยายไปถึงสถานตากอากาศบางปูยังมีความล่าช้า

อย่างไรก็ดีโครงข่ายรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อไปยังจังหวัดสมุทรปราการเป็นประโยชน์ในการเดินทางของคนในพื้นที่ ซึ่งโครงข่ายรถไฟฟ้าเป็นการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ มีความสะดวกรวดเร็ว ช่วยลดปัญหาการจราจร เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และที่พักอาศัยตามแนวรถไฟฟ้าที่เปลี่ยนเป็นแนวสูงมากขึ้น รวมถึงห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีกในพื้นที่ และหากครบลูปทุกสถานีจะช่วยให้ภาคการท่องเที่ยวในพื้นที่ อาทิ บางปู เมืองโบราณ และอื่น ๆ จะมีความคึกคักมากขึ้น ช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด(GPP)เพิ่มมากขึ้น

M-MAP2 รอรัฐตัดสินใจ

ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง)ระยะที่ 2 หรือ M-MAP2 จะใช้งบอย่างไรนั้น ไม่ว่าจะเป็นการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) หรือรัฐบาลเป็นผู้ลงทุนเอง เป็นเรื่องที่กระทรวงคมนาคมจะเสนอให้รัฐบาลพิจารณา และกรมขนส่งทางรางจะต้องเป็นผู้ไปวางแผนว่ารถไฟฟ้าแต่ละสายจะเป็นอย่างไรบ้าง

ส่วนในแต่ละโครงการกระทรวงคมนาคมอาจจะมีนโยบายใหญ่ เช่น เป็นรูปแบบการร่วมลงทุน แต่ ณ วันที่จะทำแต่ละโครงการกระทรวงต้นสังกัดก็จะเสนอมาให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ว่าจะทำรูปแบบการลงทุนอย่างไร เช่น ทำการร่วมลงทุน PPP และจะต้องดูว่าเป็นการทำ PPP รูปแบบใด หรือรัฐจะลงทุนเอง

"คมนาคมจะต้องเป็นผู้เตรียมโครงการสำหรับ M-MAP2 ส่วนเรื่องการเตรียมงบของกระทรวงการคลังนั้น จะต้องมาหารือร่วมกันอีกครั้ง หากถึงเวลาจะทำจริงก็ต้องมาดูว่ารัฐตัดสินใจอย่างไร เช่น รัฐอาจจะทำเอง หรือให้เอกชนเป็นผู้จัดทำ ส่วนจะทำรูปแบบไหนก็เป็นรายละเอียดของโครงการรถไฟฟ้าแต่ละสาย"
ทั้งนี้ การใช้งบประมาณสำหรับโครงการ M-MAP2 ในการจัดทำรถไฟฟ้าแต่ละสายนั้น จะต้องรอติดตามด้วยว่าวันที่จะเริ่มจัดทำโครงการ การเงินการคลังของประเทศเป็นอย่างไร ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจรูปแบบการใช้งบลงทุนด้วย เช่น โครงการรถไฟฟ้าแต่ละสายมีการใช้รูปแบบการลงทุน PPP ทั้งหมด แต่รูปแบบ PPP แตกต่างกัน อย่างบีทีเอสสายสีเขียวตอนต้น เริ่มต้นกทม.ก็เป็นผู้จัดทำ โดยให้เอกชนลงทุนทั้งหมด

ส่วนสายสีน้ำเงิน รัฐเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ ส่วนเอกชนเป็นผู้ลงทุนระบบและเดินรถ ด้านโครงสร้างพื้นฐานก็ขึ้นอยู่กับว่ารัฐจะกู้เท่าใด และมีเงินงบประมาณเท่าไร ขณะที่สายสีเหลืองและสีชมพู รัฐบาลเป็นผู้หาที่ให้อย่างเดียว เอกชนเป็นผู้ลงทุนสร้างทางรถไฟฟ้า และรัฐจะจ่ายเงินคืนค่าโครงสร้างพื้นฐานให้ ซึ่งรูปแบบการลงทุนสามารถทำได้หลากหลาย

สศช.ชงงบ 3.4 แสนล้าน

ด้าน นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สศช.ได้พยายามหาทางขับเคลื่อนการใช้จ่ายงบประมาณที่มีอยู่ในขณะนี้ เพื่อช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการใช้จ่ายงบประมาณลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เบื้องต้นในช่วงปลายปีนี้ น่าจะมีวงเงินลงไปยังเศรษฐกิจได้อย่างน้อย 3.42 แสนล้านบาท ส่วนแรกมาจากงบลงทุนที่มีอยู่ของรัฐวิสาหกิจ ที่จะลงไปในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ปี 2566 วงเงิน 1.42 แสนล้านบาท และอีกส่วนเป็นงบลงทุนที่เป็นงบผูกพันของรัฐวิสาหกิจที่ตั้งงบตามปีงบประมาณอีก 2 แสนล้านบาท ซึ่งจะเสนอให้ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) สศช. ที่มีนายสนิท อักษรแก้ว เป็นประธานในสัปดาห์หน้าเพื่อพิจารณา

สำหรับการใช้กลไกของรัฐวิสาหกิจเข้าไปดำเนินการในครั้งนี้ สศช. มองว่า จะเป็นหนึ่งตัวช่วยของการประคองเศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปี 2566 ต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2567โดยเฉพาะในช่วงที่การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ยังไม่สามารถประกาศใช้ได้ทันในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ทำให้ไม่มีโครงการลงทุนใหม่ลงไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ทัน ดังนั้นจึงต้องใช้กลไกของงบประมาณจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเข้าไปดำเนินการแทน

"ตอนนี้ต้องไปหารือกันในบอร์ด สศช. ก่อนว่าจะเป็นอย่างไร เพราะโครงการที่เป็นงบผูกพันก็อยู่ในแผนดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจต่างๆ แล้ว ซึ่งขั้นตอนจากนี้หากได้ข้อสรุปจากบอร์ด แล้ว สศช. จะรวบรวมรายละเอียดทั้งหมด เสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณารับทราบมติบอร์ดเป็นขั้นตอนต่อไป"
ปตท.ลงทุนสูงสุด 9.2 หมื่นล.

สำหรับงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ตั้งงบตามปีปฎิทิน 142,731 ล้านบาท ที่จะลงทุนสุงในลำดับต้น ๆ ได้แก่ กลุ่มบริษัทมหาชน รวม 97,545 ล้านบาท ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) 92,289 ล้านบาท บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)หรือ NT 5,172 ล้านบาท บริษัท อสมท. จำกัด(มหาชน) 82 ล้านบาท และกลุ่มรัฐวิสาหกิจทั่วไป 45,186 ล้านบาท ประกอบด้วย รัฐวิสาหกิจสังกัด กระทรวงพลังงาน รวม 13,468 ล้านบาท ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 12,597 ล้านบาท บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (E-inter) 587 ล้านบาท บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด (dcap) 284 ล้านบาท เป็นต้น

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 10 - 12 ส.ค. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45022
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/08/2023 11:57 am    Post subject: Reply with quote

ทีดีอาร์ไอประเมินผลงาน ‘ประยุทธ์ 2’ และข้อเสนอแนะทางนโยบายต่อรัฐบาลใหม่
ThaiPublica > เกาะกระแส
11 สิงหาคม 2023

คณะผู้ประเมินจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินผลงานของรัฐบาลประยุทธ์ 2 และข้อเสนอแนะทางนโยบายต่อรัฐบาลใหม่

1. บทนำ
ท่ามกลางสถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาลในขณะนี้ที่ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ มีสิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ รัฐบาลใหม่ที่จะตั้งขึ้นมามีโจทย์ท้าทายมากมายที่รออยู่ ด้วยเหตุนี้ทีดีอาร์ไอจึงได้ประเมินผลงานของรัฐบาลประยุทธ์ 2 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการระบุโจทย์ท้าทาย และเพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะทางนโยบายต่อรัฐบาลใหม่

รัฐบาลประยุทธ์ 2 จัดตั้งขึ้นหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562 ต่อเนื่องจากรัฐบาลประยุทธ์ 1 โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่งจากการให้ความเห็นชอบของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และวุฒิสภาซึ่งมีอำนาจในการให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรีจากบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยรัฐบาลประยุทธ์ 2 ยังคงบริหารประเทศภายใต้วิสัยทัศน์ที่มุ่งสร้างความ “มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน” เช่นเดียวกับรัฐบาลประยุทธ์ 1

ในช่วง 4 ปีของรัฐบาลประยุทธ์ 2 เกิดเหตุการณ์สำคัญคือ การระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นวิกฤติสุขภาพและวิกฤติด้านเศรษฐกิจ มีผลทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 79.9 ในช่วงต้นของรัฐบาลเป็นร้อยละ 86.9 เมื่อสิ้นปี 2565 (ก่อนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้คำจำกัดความใหม่) และทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้นจากร้อยละ 41 ในช่วงต้นของรัฐบาลเป็นร้อยละ 61.6 ของ GDP เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่รัฐบาลมีโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤติโควิด-19 อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หลายโครงการและการดำเนินนโยบายอื่นๆ ของรัฐบาล

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรีย์ “ข้อสังเกตนโยบายช่วงเลือกตั้งและประเมินผลงานรัฐบาล-ผู้ว่าฯ” ที่คณะผู้วิจัยจาก ทีดีอาร์ไอ ได้นำเสนอต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การประเมินผลงาน 5 ปี รัฐบาลประยุทธ์ 1 (เผยแพร่เมื่อกรกฎาคม 2562) การประเมินผลงานกลางเทอมรัฐบาลประยุทธ์ 2: การควบคุมการระบาดของโควิด-19 และการบริหารจัดการวัคซีน (เผยแพร่เมื่อกรกฎาคม 2564) ตลอดจนการประเมินผลงานผู้ว่าฯ อัศวินและข้อเสนอแนะสำหรับผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ (เผยแพร่เมื่อเมษายน 2565) โดยรายงานนี้มุ่งประเมินผลงานของรัฐบาลประยุทธ์ในด้าน “มั่งคั่งและยั่งยืน” แต่ไม่รวมด้านความ “มั่นคง” ซึ่งคณะผู้ประเมินไม่มีความถนัด

ทั้งนี้ การประเมินให้ความสำคัญต่อสิ่งที่ผู้ประเมินเห็นว่าเป็นนโยบายหลัก (Flagship) ของรัฐบาล ทั้งในด้านความมั่งคั่ง ซึ่งรวมถึง เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาภาคเกษตร การปฏิรูปการศึกษา และการแก้ปัญหาแรงงาน ตลอดจนในด้านความยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการคุ้มครองทางสังคม การต่อต้านคอร์รัปชัน และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดด้านเวลาและความถนัดของทีมผู้ประเมินทำให้ไม่สามารถประเมินผลการดำเนินงานของรัฐบาลในอีกหลายประเด็นที่มีความสำคัญ ซึ่งองค์กรอื่นๆ และภาคสังคมควรร่วมกันประเมินต่อไป

การประเมินผลงานนี้มุ่งหวังเพื่อเสนอให้รัฐบาลใหม่ รัฐสภา พรรคการเมือง องค์กรต่างๆ และประชาชนให้การสนับสนุนในการสานต่อนโยบายที่เราเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ริเริ่มนโยบายที่สมควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ และยกเลิกนโยบายที่ดำเนินการอยู่ที่ก่อให้เกิดปัญหา



2. ผลงานของรัฐบาลด้านความ “มั่งคั่ง”

การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นนโยบายหลักของรัฐบาลประยุทธ์ 2 ในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve industries) ต่อเนื่องจากร้ฐบาลประยุทธ์ 1 โดยโครงการที่มีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญมีหลายโครงการ เช่น การพัฒนากำลังคนระดับสูงเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์แม่นยำ ตลอดจนการดึงดูดการลงทุนมายังพื้นที่ EEC โดยรวม ในขณะที่หลายโครงการยังไม่มีความคืบหน้านัก เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve)

ในส่วนของการพัฒนากำลังคนระดับสูง สำนักงาน EEC ได้สนับสนุนการพัฒนากำลังคนที่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ โดยส่วนที่ปรากฏว่ามีความก้าวหน้ามากคือ หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น (Type B) ซึ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมขั้นสูง โดยสถานประกอบการได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไม่เกินร้อยละ 50 และสามารถนำค่าใช้จ่ายในส่วนของตนไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 2.5 เท่า ทั้งนี้จนถึงเดือนกรกฎาคม 2565 มีบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมกว่า 9.6 พันคน

ในส่วนของการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์แม่นยำ สำนักงาน EEC ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และกิจการร่วมค้าไทยโอมิกส์ในการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม (Whole Genome Sequencing) คนไทยจำนวน 5 หมื่นคนเพื่อสร้างฐานข้อมูลทางพันธุกรรมของคนไทยเพื่อการศึกษาวิจัยและสนับสนุนการพัฒนาแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยจนถึงเดือนมีนาคม 2566 มีการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมไปแล้วกว่า 1 หมื่นตัวอย่าง

อย่างไรก็ตาม มีหลายโครงการที่ยังไม่มีความคืบหน้านัก ทั้งที่มีความสำคัญสูงในระดับเป็น “เรือธง” เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (Flagship project) เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางขนส่งทางบกและทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งมีความล่าช้ากว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้มาก

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินระหว่างสนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิและอู่ตะเภา ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนแล้วเมื่อเดือนตุลาคม 2562 และเดิมคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2567 ต่อมาเลื่อนการเปิดเป็นปี 2569 และล่าสุดเลื่อนการเปิดไปอีกถึงปี 2571 โดยยังไม่ได้เริ่มการก่อสร้างเลย ซึ่งช้ากว่ากำหนดเดิมไปอย่างน้อย 4 ปี และช้ากว่าการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงจีน-ลาว ซึ่งได้เริ่มการก่อสร้างเมื่อปี 2559 และสามารถเปิดให้บริการได้ตั้งแต่ปลายปี 2564 แล้ว แม้ช่วงเวลาในการก่อสร้างมีปัญหาการระบาดของโควิด-19 ก็ตาม
เช่นเดียวกันกับโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งเดิมตั้งเป้าหมายเปิดให้บริการเฟสแรกได้ในปี 2567 ก็เลื่อนออกมาเป็นปี 2570 ในขณะที่โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F ก็ก่อสร้างล่าช้าจนไม่น่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ตามกำหนดในปี 2568 อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว และคาดว่าน่าจะเปิดท่าเรือก๊าซ (ส่วนที่ 1) ได้ภายในปี 2570 ตามที่กำหนด

ในด้านการดึงดูดการลงทุน โดยภาพรวมพื้นที่ EEC สามารถดึงดูดการลงทุนได้มากจนอาจเกิดการกระจุกตัวของการลงทุนในพื้นที่เมื่อเทียบกับการลงทุนทั้งประเทศ โดยในช่วงปี 2562-2565 มีมูลค่าการลงทุนของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ EEC รวม 8.7 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 45 ของการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมทั้งหมดของบีโอไอในช่วงเวลาดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ยังเกิดขึ้นไม่มากนัก โดยในช่วงปี 2562-2565 ประเทศไทยมีมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งในและนอกพื้นที่ EEC 1.2 ล้านล้านบาท (ร้อยละ 61ของการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมทั้งหมดของบีโอไอ) อย่างไรก็ตามการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายกว่าร้อยละ 80 ยังเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม (Existing S-Curve) ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 24) ยานยนต์และชิ้นส่วน (ร้อยละ 22) ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 15) การเกษตรและแปรรูปอาหาร (ร้อยละ15) ขณะที่การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ยังมีสัดส่วนต่ำมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (ร้อยละ 0.3) และอุตสาหกรรมอากาศยาน (ร้อยละ 0.8) เราจึงอาจกล่าวได้ว่า EEC ช่วยต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ให้แก่ประเทศไทย

รัฐบาลใหม่ควรสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ EEC ไปต่อเนื่อง แต่ควรทบทวนอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ให้เหมาะสม ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ โดยหากจะมีการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ก็ควรเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศโดยดำเนินการอย่างโปร่งใส รัฐบาลยังควรยกระดับการพัฒนากำลังคนทักษะสูง โดยให้เงินอุดหนุนบางส่วนในการฝึกอบรมแก่สถานประกอบการ และกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐในพื้นที่ร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรในสาขาที่หลากหลายมากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรส่วนใหญ่ในปัจจุบันกระจุกตัวในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต

นอกจากนี้ รัฐบาลใหม่ควรเร่งแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ EEC อย่างจริงจัง เพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุนอย่างรับผิดชอบและสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้ฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องจนเกิดประสิทธิผล

ที่สำคัญ รัฐบาลควรใช้การพัฒนาพื้นที่ EEC เป็นต้นแบบในการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบในการออกใบอนุญาตต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน และขยายผลไปสู่การปฏิรูปกฎระเบียบในการประกอบธุรกิจของประเทศในวงกว้าง




การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม

รัฐบาลประยุทธ์ 2 ได้มีลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมต่อเนื่องจากรัฐบาลประยุทธ์ 1 ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออกและภูมิภาคอื่นๆ แม้ว่าสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 จะทำให้การดำเนินโครงการมีความล่าช้า ทั้งการอนุมัติโครงการและการก่อสร้าง แต่รัฐบาลก็สามารถผลักดันโครงการบางส่วนให้เกิดความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งรวมถึงโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เริ่มเปิดให้บริการทั้งสายสีแดงและสายสีเหลือง รวมถึงสายสีชมพูที่กำลังจะเปิดให้บริการในอนาคตอันใกล้ และการอนุมัติเส้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทางได้แก่เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย และบ้านไผ่-นครพนม

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่สามารถผลักดันโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่สำคัญอีกอย่างน้อย 4 โครงการดังต่อไปนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้

1.การก่อสร้างรถไฟทางคู่ ซึ่งเกิดความล่าช้ามากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อสร้างทางช่วงมาบกระเบา-จิระ ซึ่งทำให้เส้นทางรถไฟทางคู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เสร็จสิ้นไปมากแล้วไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ
2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งเกิดความล่าช้าในการประมูล นอกจากนี้การดำเนินงานให้เกิดตั๋วร่วมและค่าโดยสารร่วมของระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑลยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร ทำให้ประชาชนต้องแบกรับค่าโดยสารราคาแพง และระบบขนส่งมวลชนที่ลงทุนไปไม่ได้ถูกใช้อย่างคุ้มค่า
3.โครงการระบบขนส่งมวลชนในส่วนภูมิภาค ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น รวมทั้งโครงการรถรางในจังหวัดขอนแก่นที่ภาคธุรกิจและเทศบาลหลายแห่งได้พยายามผลักดันมานาน เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในส่วนของงบลงทุน
4.โครงการระบบขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน ที่ยังไม่มีการเริ่มต้นก่อสร้างเลย ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
รัฐบาลใหม่ควรดำเนินการดังต่อไปนี้ ประการแรก ควรเร่งรัดการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เร่งรัดการจัดซื้อหัวรถจักรและขบวนรถเพื่อให้บริการรถไฟสำหรับขนส่งผู้โดยสารและสินค้า และเร่งรัดการออกกฎหมายการขนส่งทางราง เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมให้บริการเดินรถไฟได้

ประการที่สอง ควรเร่งแก้ไขปัญหาการประมูลสัญญาสัมปทานสายสีส้ม และเร่งรัดให้เกิดค่าโดยสารร่วมทั้งระบบรถไฟฟ้าและรถโดยสารประจำทาง เพื่อให้ประชาชนมีค่าใช้จ่ายน้อยลงในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ประการที่สาม ควรเร่งแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค กระจายอำนาจและสนับสนุนด้านการเงินให้ท้องถิ่นสามารถให้บริการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ของตนได้




การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

รัฐบาลประยุทธ์ 2 ได้ประกาศให้ความสำคัญต่อการพัฒนา “เศรษฐกิจดิจิทัล” และ “บริการรัฐบาลดิจิทัล” ทั้งนี้เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ ปฏิรูปการบริหารจัดการของภาครัฐ และยกระดับทักษะของคนไทย ผลงานที่สำคัญของรัฐบาลประกอบไปด้วยการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับคือ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 และพ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ตลอดจนกฎหมายลำดับรองต่างๆ ซึ่งรวมถึง พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 และพ.ร.ฎ. จัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2566

การปรับปรุงกฎระเบียบดังกล่าวอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ช่วยให้อันดับ E-government Development Index (EDGI) ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอันดับที่ 73 ในปี 2561 เป็นอันดับที่ 57 ในปี 2563 และอันดับที่ 55 ในปี 2565 อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ที่ออกมาในสมัยรัฐบาลประยุทธ์ 2 ยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรมนัก อาทิ

การบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งออกมาในสมัยรัฐบาลประยุทธ์ 1 เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนได้ถูกเลื่อนออกไป 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี ทำให้สามารถบังคับใช้อย่างเต็มที่เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 จากเดิมที่ควรจะสามารถใช้ได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 ส่วนหนึ่งเพราะรัฐบาลตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นมาล่าช้า ทำให้การออกกฎหมายลำดับรองล่าช้าและสร้างความไม่ชัดเจนในการปฏิบัติตามกฎหมาย อีกส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่พร้อมปฏิบัติตามกฎหมายของหน่วยงานรัฐเอง นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดทำ (ร่าง) พ.ร.ฎ. กำหนดลักษณะกิจการหรือหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562 บางส่วนมาใช้บังคับ ซึ่งหากประกาศใช้ จะกระทบต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งในภาครัฐและเอกชน
การบังคับใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานรัฐต้องรับคำขอและการติดต่อที่ประชาชนส่งมาทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนแจ้งผลการพิจารณา ออกใบอนุญาตหรือออกเอกสารอื่นๆ ให้ประชาชนทางอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีผลจำกัดอยู่มาก เนื่องจากมีหน่วยงานรัฐขนาดเล็กจำนวนมากที่ยังไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎหมาย
พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 น่าจะไม่มีประสิทธิผลมากนักในการกำกับธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ก่อปัญหาผูกขาดและเอาเปรียบผู้ประกอบการรายย่อย เนื่องจากมีข้อกำหนดเพียงบางประเด็น เช่น ให้แพลตฟอร์มดิจิทัลต้องแจ้งการประกอบธุรกิจให้หน่วยงานรัฐทราบ ตลอดจนแจ้งข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ เป็นต้น ในขณะที่การกำกับดูแลอย่างเต็มรูปแบบต้องใช้ร่าง พ.ร.บ. เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาของคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน
นอกจากนี้ในช่วงของรัฐบาลประยุทธ์ 2 ยังเกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการประชุมและการทำงานออนไลน์ในวงกว้าง ตลอดจนมีการใช้แอปพลิเคชันและบริการต่างๆ โดยเฉพาะ “พร้อมเพย์” ที่ได้พัฒนาขึ้นก่อนหน้าอย่างก้าวกระโดด นอกจากนี้รัฐบาลยังได้จัดให้มีแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” และ “เป๋าตัง” เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในช่วงที่โควิด-19 ระบาด

อย่างไรก็ตาม บริการรัฐบาลดิจิทัลของรัฐบาลประยุทธ์ 2 ประสบปัญหาที่หน่วยงานรัฐแต่ละแห่งต่างพัฒนาบริการของตนโดยไม่เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น จึงไม่มีลักษณะของ One-stop service อย่างแท้จริง แม้จะมีความพยายามพัฒนาแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” สำหรับประชาชนทั่วไป และ “Bizportal” สำหรับธุรกิจขึ้นเป็นแกนกลาง แต่ก็ยังไม่สามารถบูรณาการบริการต่างๆ ของหน่วยงานรัฐทั้งหลายได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาจากการมีแอปพลิเคชันของภาครัฐจำนวนมากที่ใช้งานไม่ได้ หรือให้บริการซ้ำซ้อนกัน ซึ่งทำให้เกิดความสับสนของประชาชน การสำรวจเบื้องต้นพบว่า หน่วยงานภาครัฐได้พัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ ขึ้นมาถึงประมาณ 300 แอปพลิเคชัน ยิ่งไปกว่านั้นแอปพลิเคชันของหน่วยงานรัฐแห่งเดียวก็ยังให้ประชาชนลงทะเบียนซ้ำหลายรอบ ซึ่งทำให้เกิดภาระที่ไม่จำเป็น

รัฐบาลใหม่ควรดำเนินการดังต่อไปนี้ หนึ่ง พัฒนาบริการรัฐบาลดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ด้วยการบูรณาการบริการของหน่วยงานรัฐทั้งหลายเข้าด้วยกัน โดยยึดประชาชนผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง สอง เร่งออก พ.ร.บ. เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม เพื่อให้สามารถกำกับดูแลธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างเต็มที่โดยเร็ว สาม เร่งพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงานรัฐให้สามารถให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ประชาชน และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนตามที่กฎหมายกำหนด




การพัฒนาภาคเกษตร

รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลประยุทธ์ 2 ปีที่ 1-3 (พ.ศ. 2562-2565) ระบุว่าการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรมเป็นหนึ่งใน 12 เรื่องเร่งด่วนของรัฐบาล เช่นเดียวกับรัฐบาลอื่นๆ ที่ผ่านมารัฐบาลประยุทธ์ 2 ให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรมากกว่าการพัฒนานวัตกรรมและเพิ่มผลิตภาพของภาคเกษตร

โครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การช่วยเหลือเกษตรกร 6 โครงการ ได้แก่ โครงการประกันรายได้เกษตรกรที่ปลูกพืช 5 ชนิด (ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยางพารา และปาล์ม) และสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการทำนา ซึ่งใช้เงินงบประมาณรวม 158,626 ล้านบาท ในปี 2565-2566 (สูงกว่างบประมาณกระทรวงเกษตรฯ 111,185 ล้านบาท) จุดแข็งของโครงการดังกล่าวคือ เกษตรกรที่ลงทะเบียนได้รับเงินอุดหนุนโดยตรงเข้าบัญชีที่ธกส. ทำให้มีการรั่วไหลน้อย และน่าจะมีทุจริตน้อยกว่าโครงการจำนำข้าวทุกเม็ด เนื่องจากรัฐไม่ได้เข้าแทรกแซงการค้าสินค้าเกษตร นอกจากนี้เมื่อราคาตลาดสูงกว่าราคาประกัน รัฐก็ไม่ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือในโครงการประกันรายได้ เช่น ในปี 2563/64 ไม่มีการจ่ายเงินชดเชยให้ชาวสวนปาล์ม ส่วนปี 2564/65 และ 2565/66 ก็ไม่มีการชดเชยให้เกษตรกรสวนปาล์ม มันสำปะหลังและข้าวโพด

อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวมีจุดอ่อนคือ ประการแรก มีเกษตรกรบางส่วนจดทะเบียนเกินโควตาที่รัฐบาลกำหนด เช่น โครงการประกันรายได้ชาวนาจะให้เงินชดเชยไม่เกิน 14-30 ไร่ต่อรายขึ้นกับประเภทข้าวที่ปลูก ในขณะที่โครงการสนับสนุนค่าบริการและพัฒนาคุณภาพข้าวจะให้เงินช่วยเหลือไม่เกิน 20 ไร่ เกษตรกรบางรายซึ่งมีที่ดินเกิน 20 ไร่จึงแตกครอบครัวเพื่อให้ได้การอุดหนุนเพิ่มขึ้น และมีบางคนนำที่ดินที่ใช้เพื่อการอื่นมาจดทะเบียน ทั้งนี้เพราะหน่วยงานรัฐไม่ได้ตรวจสอบอย่างจริงจัง ประเด็นนี้ถูกหยิบยกมาอภิปรายในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน แต่ไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจัง จึงมีครัวเรือนเกษตรกรที่ได้รับการอุดหนุนมากเกินไป

ประการที่สอง มีการอุดหนุนชาวนา 2 โครงการที่ซ้ำซ้อนกันคือ โครงการประกันรายได้และโครงการสนับสนุนค่าบริหารและพัฒนาคุณภาพผลผลิต โดยการกำหนดราคาประกันของโครงการแรกรวมต้นทุนการผลิตและบวกกำไรให้ส่วนหนึ่งไปแล้ว แต่โครงการที่สองกลับเพิ่มเงินช่วยเหลือต้นทุนอีกไร่ละ 1,000 บาท ซึ่งเกิดจากพรรคประชาธิปัตย์และพรรคพลังประชารัฐต่างหาเสียงด้วยนโยบายที่ต่างกัน เมื่อมาเป็นรัฐบาลร่วมกัน จึงดำเนินการทั้งสองนโยบายตามที่หาเสียงโดยไม่ได้บูรณาการกัน ทำให้เกิดภาระการคลังสูงเกินความจำเป็น

ประการที่สาม เงินอุดหนุนเกษตรกรที่ปลูกพืช 5 ชนิดไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินแต่ใช้เงินนอกงบประมาณขนาดใหญ่ ซึ่งจะกลายเป็นภาระของประชาชนในอนาคต โดยรัฐบาลให้ ธกส. จ่ายไปก่อนเพื่อไม่ให้ปรากฏในตัวเลขหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นการผิดวินัยทางการคลัง
ประการสุดท้าย หากเงินอุดหนุนดังกล่าวทำให้เกษตรกรปรับปรุงผลิตภาพการผลิต ทั้งเกษตรกรและประเทศก็จะได้ประโยชน์ แต่ผลการวิจัยของทีดีอาร์ไอชี้ว่า การอุดหนุนเกษตรกรโดย “ไม่มีเงื่อนไข” ทำให้เกษตรกรขาดแรงจูงใจในการปรับตัว ดังนั้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผลผลิตข้าวต่อไร่ของไทยจึงไม่เพิ่มขึ้นและยังต่ำกว่าของกัมพูชา บังคลาเทศ ปากีสถาน เนปาล และอินเดีย

รัฐบาลประยุทธ์ มีนโยบายที่อาจช่วยพัฒนาผลิตภาพของภาคเกษตร 4 นโยบายคือ (ก) การฝึกอบรมพัฒนาการเรียนรู้และสร้างเครือข่าย young smart farmers ไม่ต่ำกว่า 18,215 ราย ซึ่งยังไม่เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน (ข) การส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่จำนวน 2,313 แปลง โดยสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายเล็ก ซึ่งอาจทำให้เกิดการประหยัดของขนาด (economies of scale) แต่มีข้อเสียที่เกษตรกรบางกลุ่มไม่ได้นำเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ได้รับแจกไปใช้ประโยชน์ (ค) การจัดทำระบบแผนที่เกษตร (agri-map) เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัล ซึ่งยังไม่ประสบความสำเร็จ โดยมียอดการเข้าดูเพียง 767,698 ครั้งนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการในปี 2562 (ง) การพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นนุ่มและส่งเสริมให้ชาวนาปลูกข้าวพันธุ์พื้นนุ่ม ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ เพราะชาวนาเขตลุ่มเจ้าพระยาจำนวนมากหันไปใช้พันธุ์ข้าวที่ลักลอบนำเข้าจากเวียดนาม ซึ่งให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าและเป็นพันธุ์อายุสั้น 90 วัน เหมาะกับการทำนาปรังในพื้นที่ที่เสี่ยงน้ำท่วม

รัฐบาลใหม่ควรให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นต่อการยกผลิตภาพของภาคเกษตร ซึ่งเป็นแนวทางเดียวในการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยการนำเทคโนโลยีที่ช่วยลดแรงงาน เพิ่มผลผลิตและลดการใช้น้ำและทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดผลสำเร็จจริง โดยวิเคราะห์จุดอ่อนของโครงการต่างๆ ที่ดำเนินมาและแก้ไขจุดอ่อนเหล่านั้น แทนการริเริ่มโครงการใหม่โดยไม่ได้ถอดบทเรียนที่ผ่านมา นอกจากนี้การให้การอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐบาลควรใช้เงินงบประมาณอย่างโปร่งใส หลีกเลี่ยงการใช้เงินนอกงบประมาณ และกำหนดเงื่อนไขความช่วยเหลือของภาครัฐให้เกษตรกรต้องปรับปรุงผลิตภาพในการผลิต ใช้น้ำชลประทานอย่างประหยัด ลดการใช้สารเคมีและการเผาเศษวัสดุการเกษตรในไร่นา




การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การประเมินผลนโยบายด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐบาลประยุทธ์ 2 จะพิจารณาจาก 2 เป้าหมายหลักคือ การยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยวิเคราะห์จากรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล และการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในระหว่างปี 2562-2566

การยกระดับคุณภาพการศึกษาควรเริ่มจากการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางให้ทันสมัยมากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางในปัจจุบันถูกใช้มาตั้งแต่ปี 2551 หรือผ่านมาแล้วเกือบ 15 ปี จึงค่อนข้างล้าสมัยและไม่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยควรปรับไปสู่หลักสูตรอิงสมรรถนะ (Competency-based Curriculum) ทั้งนี้ในช่วงแรก รัฐบาลประยุทธ์ 2 ได้พยายามพัฒนาหลักสูตรในลักษณะดังกล่าว แต่ดำเนินการได้อย่างล่าช้า และภายหลังเมื่อมีการพัฒนากรอบหลักสูตรบางส่วนขึ้นมา ฝ่ายการเมืองกลับห้ามนำหลักสูตรไปใช้ ซึ่งทำให้ประเทศเสียโอกาสในการปรับหลักสูตรการศึกษาให้ทันสมัย

ในด้านทรัพยากรทางการศึกษา รัฐบาลประยุทธ์ 2 ได้ปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรบางส่วนแต่ยังไม่รอบด้าน โดยในด้านบุคลากร คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้ปรับเกณฑ์อัตรากำลังครูให้อิงกับภาระงานสอนมากขึ้น และปรับเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะที่เอื้อให้รับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนมากขึ้น แต่ยังไม่ได้พัฒนาครูให้สามารถตอบโจทย์การสอนเพื่อสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มากนัก ส่วนในด้านงบประมาณ รัฐบาลได้ปรับอัตราเงินอุดหนุนรายหัวให้สอดคล้องกับต้นทุนการจัดการศึกษาที่เพิ่มขึ้น เช่น ปรับค่าไฟฟ้าและค่าครองชีพ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีหลังจากที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาตลอด 13 ปี อย่างไรก็ตาม การจัดสรรเงินอุดหนุนยังไม่สะท้อนต้นทุนการจัดการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่สูงกว่าทั่วไป เช่น นักเรียนพิการเรียนรวม และเด็กด้อยโอกาส เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐบาลยังไม่มีนโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่ชัดเจน ซึ่งทำให้การจัดการศึกษามีต้นทุนสูง แต่มีปัญหาด้านคุณภาพ

รัฐบาลประยุทธ์ 2 ยังได้สานต่อนโยบาย “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” ที่ริเริ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลประยุทธ์ 1 โดยผ่อนคลายกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการศึกษา ซึ่งช่วยกระจายอำนาจให้โรงเรียนมีอิสระในการจัดการศึกษาและใช้นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การดำเนินงานตลอด 4 ปีที่ผ่านมาเริ่มเห็นสัญญาณบวกในบางด้าน เช่น ครูเห็นความสำคัญของการพัฒนาวิชาชีพมากขึ้น นักเรียนมีความสุขในการเรียนมากขึ้นและนักเรียนกลุ่มเรียนอ่อนเข้าใจในการเรียนมากขึ้น แม้ผลในการยกระดับผลสัมฤทธิ์โดยรวมจะยังไม่ชัดเจนนัก

ในด้านการป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพของนักเรียน แม้กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศห้ามลงโทษนักเรียนด้วยความรุนแรงและยกเลิกระเบียบทรงผมนักเรียน แต่ยังมีเหตุการณ์ครูกล้อนผมนักเรียนเพราะผมยาว หรือด่าทอนักเรียนด้วยถ้อยคำรุนแรงดังปรากฏเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง

สำหรับนโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รัฐบาลประยุทธ์ 2 ได้สนับสนุนให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดสรรเงินทุนเพิ่มเติมแก่นักเรียนกลุ่มยากจนพิเศษ 3,000 บาทต่อคนต่อปี เพื่อลดการออกกลางคันของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถกู้เงินเพื่อเรียนรู้ทักษะในสาขาวิชาที่ขาดแคลน และยกระดับทักษะของตนผ่านหลักสูตรระยะสั้นได้ อย่างไรก็ตามการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวโดยผ่อนปรนเงื่อนไขการกู้ยืมจะทำให้เกิดปัญหาความยั่งยืนของกองทุนในอนาคต ทำให้รัฐบาลอาจต้องเพิ่มเงินให้แก่กองทุนในอีก 5 ปีข้างหน้า

รัฐบาลใหม่ควรดำเนินการดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง เร่งปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้อิงกับสมรรถนะโดยเร็ว โดยอาจขยายผลการทดลองนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและถอดบทเรียนเพื่อนำไปใช้ทั่วประเทศ ประการที่สอง ปรับระบบการบริหารทรัพยากรด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่ชัดเจน ประการที่สาม ประกาศนโยบายป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพของนักเรียนและไม่ยอมรับความรุนแรงในสถานศึกษา ตลอดจนวางกลไกป้องกันการฝ่าฝืนเช่น จัดระบบรับเรื่องร้องเรียน ประการที่สี่ ปรับปรุงการบริหาร กยศ. ให้มีความยั่งยืนทางการเงินมากขึ้น เช่น ใช้มาตรการสะกิดพฤติกรรม (behavioral nudge) ให้ผู้กู้เงินชำระเงินคืนโดยเร็ว เป็นต้น



3. ผลงานของรัฐบาลด้านความ “ยั่งยืน”

การแก้ปัญหาคอร์รัปชัน

รัฐบาลประยุทธ์ 2 กำหนดให้การต่อต้านทุจริตเป็นวาระแห่งชาติตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้วยงบประมาณด้านต่อต้านทุจริตรวม 1.5 หมื่นล้านบาทในปี 2563–2566 ในขณะที่อันดับภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (CPI) ของไทยกลับลดลงจากที่ 96 จาก 180 ประเทศในปี 2560 อยู่ที่อันดับ 101 ในปี 2565 จึงกล่าวได้ว่า งบประมาณที่ใช้จ่ายไปไม่สามารถลดการทุจริตอย่างได้ผล

รัฐบาลประยุทธ์ 2 มีผลงานแก้คอร์รัปชันเป็นรูปธรรม 2 เรื่อง ได้แก่ การปฏิรูปจัดซื้อจัดจ้างให้โปร่งใส และการ “กิโยตินกฎระเบียบ” (Regulatory Guillotine) ซึ่งเป็นการปฏิรูปกฎระเบียบครั้งใหญ่เพื่อลดดุลพินิจของเจ้าหน้าที่อันเป็นต้นตอสำคัญของคอร์รัปชัน
ในด้านหนึ่งรัฐบาลประยุทธ์ 2 ได้ดำเนินการปฏิรูปการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้โปร่งใส โดยร่วมมือกับองค์กรภาคสังคมและภาคธุรกิจขยายการใช้มาตรการ “ข้อตกลงคุณธรรม” (Integrity Pact) เพื่อตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐที่มีมูลค่าสูงเพิ่มเติมจากรัฐบาลประยุทธ์ 1 เพิ่มอีก 66 โครงการ รวมมูลค่างบประมาณ 4.16 แสนล้านบาท การศึกษาของทีดีอาร์ไอพบว่า โครงการก่อสร้างของรัฐมูลค่าสูงโดยทั่วไปมีส่วนต่างของราคากลางและราคาที่ผู้ชนะการประมูลเสนอเพียงร้อยละ 0.5 แต่โครงการก่อสร้างที่มีลักษณะคล้ายกันแต่เข้าร่วมในข้อตกลงคุณธรรม ซึ่งมีผู้สังเกตการณ์เข้ามาตรวจสอบร่าง TOR และการเสนอราคามีส่วนต่างดังกล่าวร้อยละ 7.5

นอกจากนี้รัฐบาลประยุทธ์ 2 ยังสานต่องานกิโยตินกฎระเบียบของรัฐบาลประยุทธ์ 1 ซึ่งจะช่วยลดดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐในการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างๆ และช่วยลดการคอร์รัปชันได้ (ดูรายละเอียดในหัวข้อการกิโยตินกฎระเบียบ)

อย่างไรก็ตามรัฐบาลประยุทธ์ 2 ไม่ได้แสดงถึงความพยายามในการปฏิรูปตำรวจและกองทัพซึ่งถูกตั้งคำถามด้านความโปร่งใสอยู่บ่อยครั้งเมื่อเกิดข่าวอื้อฉาว ทั้งที่การปฏิรูปตำรวจเป็นวาระสำคัญตั้งแต่รัฐบาลประยุทธ์ 1 ซึ่งได้เสนอร่าง พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติเพื่อกำจัดการซื้อขายตำแหน่ง และร่าง พ.ร.บ. การสอบสวนคดีอาญาเพื่อให้งานสอบสวนและการทำสำนวนคดีเป็นอิสระจากกัน รัฐบาลประยุทธ์ 2 ใช้เวลาเกือบ 2 ปีทบทวนร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับอีกครั้งกว่าจะเสนอต่อรัฐสภาได้ในกลางปี 2565 สุดท้ายแล้วมีเพียงร่าง พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติผ่านรัฐสภาได้ในปลายปี 2565 การดำเนินการในรัฐบาลประยุทธ์ 2 จึงยังไม่ได้นำไปสู่การปฏิรูปตำรวจอย่างแท้จริงเนื่องจากขาดการปฏิรูปกระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีการถ่วงดุลอำนาจและตรวจสอบได้ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นรัฐบาลปล่อยให้เกิดกรณีทุจริตที่มีนายตำรวจพัวพันหลายกรณี อาทิ กรณี “ตั๋วช้าง” ส่วยรถบรรทุก และกรณีเครือข่ายเว็บพนันออนไลน์

ในทำนองเดียวกัน รัฐบาลประยุทธ์ 2 ยังไม่แสดงถึงความพยายามที่จะปฏิรูปกองทัพให้มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ เช่น กองทัพขอผ่อนผันไม่เข้าร่วมข้อตกลงคุณธรรมในโครงการจัดซื้ออาวุธ และเกิดข่าวการยักยอกเบี้ยเลี้ยงกำลังพล และการคุกคามทหารผู้เปิดโปงทุจริต

รัฐบาลใหม่ควรขยายผลข้อตกลงคุณธรรมให้ครอบคลุมโครงการจัดซื้อจัดจ้างในวงกว้างขึ้น โดยเฉพาะโครงการที่มีมูลค่าสูง มีความเสี่ยงทุจริตสูงหรือต้องจัดซื้อจัดจ้างอย่างเจาะจง อาทิ งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การจัดซื้ออาวุธและการจัดซื้อยาเวชภัณฑ์ นอกจากนี้รัฐบาลใหม่ควรเร่งปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับการขออนุญาตจากหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะการขออนุญาตก่อสร้าง

ประการสุดท้าย รัฐบาลใหม่ควรเร่งสะสางปัญหาที่ค้างคาจากรัฐบาลประยุทธ์ 2 โดยเร่งปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่น ร่าง พ.ร.บ. การสอบสวนคดีอาญา และออกกฎหมายลูกของ พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่ เพื่อทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจโปร่งใสขึ้น และควรเร่งปฏิรูปการใช้งบประมาณของกองทัพให้สามารถตรวจสอบได้




การคุ้มครองทางสังคม

ผลงานที่เด่นชัดที่สุดด้านการคุ้มครองทางสังคม (social protection) ของรัฐบาลประยุทธ์ 2 คือการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ประสบปัญหาจากการระบาดของโควิด-19 โดยสามารถลดผลกระทบทางลบต่อประชาชนจำนวนมากได้ ดังเห็นได้จากสัดส่วนคนจนร้อยละ 6.8 ในปี 2563 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.3 ในปี 2562 ไม่มากนัก ทั้งที่เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้การจ้างงานและรายได้ของประชาชนลดลงอย่างมาก โดยรัฐบาลใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งความช่วยเหลือและกระจายเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพกว่าในอดีต

อย่างไรก็ตามหากประเมินจากการริเริ่มนโยบายการให้ความคุ้มครองทางสังคมในระดับโครงสร้างแล้ว อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลประยุทธ 2 ไม่มีความโดดเด่นแต่อย่างใด โดยความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นเล็กน้อยน่าจะเป็นผลงานของหน่วยราชการที่ดำเนินการตามแผนที่มีอยู่แล้วมากกว่าการผลักดันจากฝ่ายการเมือง เช่นการเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันสังคมโดยเพิ่มเงินทดแทนกรณีขาดรายได้จากการทุพพลภาพ และการเพิ่มการจ่ายเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร เป็นต้น

การขาดนโยบายความคุ้มครองทางสังคมเชิงรุกยังเห็นได้จากความล่าช้าของการขยายความครอบคลุม (coverage) และความเพียงพอ (adequacy) ของสวัสดิการต่างๆ ซึ่งจะมีผลทำให้ประชาชนไม่สามารถรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ในอนาคต รวมทั้งการที่ประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว โดยน่าจะมาจาก 2 สาเหตุ คือประการแรก รัฐบาลอาจกังวลต่อภาระงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้นจากการให้สวัสดิการประชาชน แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ไม่ได้พยายามจัดเก็บรายได้ให้มากขึ้น ประการที่สอง รัฐบาลเน้นแนวคิดในการให้สวัสดิการแบบเจาะจงเฉพาะกลุ่ม เช่นผู้มีรายได้น้อยและคนจน กลุ่มเกษตรกร แรงงานนอกระบบบางกลุ่ม (คล้ายกับการเน้นแนวทางแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า) โดยใช้เครื่องมือหลักคือ “โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” รวมทั้งการไม่ขยายโครงการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ซึ่งริเริ่มในรัฐบาลประยุทธ์ 1 ให้เป็นสวัสดิการแบบถ้วนหน้า ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาพื้นฐานของการให้สวัสดิการแบบเจาะจงคือ การตกหล่นคนจน (exclusion errors) ซึ่งมีสูงถึงร้อยละ 51% ในโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และร้อยละ 30 ในโครงการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ทั้งที่ประสบการณ์ทั่วโลกชี้ให้เห็นว่านโยบายแบบเจาะจงจะมีปัญหาการตกหล่นคนจนในสัดส่วนสูงเกือบทั้งหมด

รัฐบาลใหม่ควรดำเนินการดังต่อไปนี้ ประการแรก ควรจัดสวัสดิการที่ผสมผสานอย่างเหมาะสมระหว่างสวัสดิการเฉพาะกลุ่มและสวัสดิการถ้วนหน้า โดยสวัสดิการที่สำคัญต่อการดูแลประชาชนและสามารถพัฒนาคนในอนาคตควรเป็นสวัสดิการถ้วนหน้า เพราะประเทศไม่สามารถแบกรับค่าเสียโอกาส (opportunity cost) จากปัญหาการตกหล่นที่เรื้อรัง เช่นการพัฒนาเด็กปฐมวัย การเพิ่มศักยภาพของแรงงานนอกระบบ และการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ส่วนสวัสดิการที่สำคัญน้อยกว่าอาจสามารถช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มได้เพื่อประหยัดงบประมาณ หรือใช้ทั้งสองแนวทางร่วมกันในบางสวัสดิการ ดังข้อเสนอล่าสุดของธนาคารโลกที่ให้เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็น 2,000 บาทเฉพาะผู้สูงอายุที่จนที่สุดร้อยละ 20 แล้วปรับลดลงตามระดับรายได้ที่สูงขึ้น โดยทุกคนยังได้เบี้ยยังชีพนี้อย่างถ้วนหน้าแต่ได้ไม่เท่ากันขึ้นกับฐานะทางเศรษฐกิจ

ประการสอง รัฐบาลใหม่ควรเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ปัญหาความยากจนและให้สวัสดิการแบบมุ่งเป้า โดยอาจเรียนรู้แนวทางของประเทศจีนที่ใช้ฐานข้อมูลคนจนหรือผู้สมควรได้รับสวัสดิการระดับพื้นที่ที่ถูกต้องตามหลักสถิติ ซึ่งแม่นยำกว่าการใช้แนวทางให้คนจนมาแจ้งว่าตัวเองจน โดยใช้ข้อมูลชุดนี้ในการจัดสรรงบประมาณกระจายตามพื้นที่ (เช่นระดับจังหวัด ระดับอำเภอหรือตำบล) แล้วใช้กลไกรัฐบาลท้องถิ่นหรือชุมชนในการกระจายงบประมาณไปสู่คนจนหรือผู้สมควรได้รับสวัสดิการต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจากการให้คนจนมาจดทะเบียนซึ่งมีความคลาดเคลื่อนมากจากปัญหา “คนจนไม่จด คนจดไม่จน” ทั้งนี้รัฐบาลอาจพัฒนา “แผนที่ความยากจน” ต่อยอดจากที่สำนักงานสถิติแห่งชาติเคยจัดทำมาเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการกระจายงบประมาณดังที่กล่าวข้างต้น

ประการสาม รัฐบาลใหม่ควรหลีกเลี่ยงนโยบายที่อาจก่อให้เกิดผลเสียระยะยาวต่อระบบความคุ้มครองทางสังคม เช่น นโยบาย “ขอเลือก ขอคืน และขอกู้” ของรัฐบาลประยุทธ 2 ที่ให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมสามารถนำเงินกรณีชราภาพออกมาใช้ก่อนบางส่วน ซึ่งผิดหลักการประกันสังคมและจะทำให้ประชาชนสูงอายุไม่มีเงินบำนาญเพียงพอในอนาคต



การแก้ปัญหาแรงงาน

การประเมินนโยบายด้านแรงงานของรัฐบาลประยุทธ์ 2 จะเน้น 3 ด้านที่สำคัญคือ ค่าจ้างแรงงาน สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงาน และนโยบายแรงงานข้ามชาติในกลุ่มทักษะสูงและกลุ่มทักษะปานกลาง-ต่ำ ซึ่งผลของการดำเนินนโยบายโดยรวมยังไม่ประจักษ์ชัด ทำให้ทั้งศักยภาพและคุณภาพชีวิตของแรงงานไม่แตกต่างจากก่อนที่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศ

ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งปี 2562 พรรคพลังประชารัฐซึ่งเป็นแกนนำของรัฐบาลเสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท และสูงสุดเป็น 425 บาทต่อวัน ในช่วงที่บริหารประเทศ รัฐบาลประยุทธ์ 2 ได้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2 ครั้งในปี 2562 และ 2565 ซึ่งทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำถูกปรับขึ้นเป็น 328-354 บาทในแต่ละพื้นที่ หรือเพิ่มโดยรวมประมาณร้อยละ 2.6 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อปีในช่วงเดียวกันและต่ำกว่าที่หาเสียงไว้มาก ทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันไม่สามารถช่วยให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีลูกจ้างอีกจำนวนมากที่ได้รับค่าจ้างที่แท้จริงต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่กำหนด เนื่องจากนายจ้างเอาค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มารวมอยู่ในค่าจ้างขั้นต่ำด้วย

นอกจากนี้ การดูแลสวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานของรัฐบาลก็เป็นไปในเชิงรับ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการระบาดของโควิด-19 โดยมาตรการที่ออกมาส่วนใหญ่มุ่งลดผลกระทบโดยเฉพาะจากการว่างงานในภาคบริการ เช่น การจ่ายสิทธิประโยชน์จากการไม่สามารถทำงานในกรณีต่าง ๆ โดยจนถึงเดือนเมษายน 2566 สำนักงานประกันสังคมได้จ่ายเงินดังกล่าวไปแล้วกว่า 18 ล้านครั้งคิดเป็นเงินประมาณ 42,000 ล้านบาท แม้การดำเนินงานดังกล่าวถือว่าเป็นผลงานของสำนักงานประกันสังคม แต่ก็ควรให้เครดิตแก่รัฐบาลด้วยในฐานะที่เป็นผู้อนุมัติ นอกจากมาตรการดังกล่าวแล้ว โครงการส่วนใหญ่ของรัฐบาลในด้านสวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานก็เน้นการฝึกอบรมทักษะแรงงาน ซึ่งยังไม่เห็นผลสำเร็จที่ชัดเจน และยังไม่เห็นนโยบายในเชิงรุกของรัฐบาลในการนำแรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบเพื่อให้ได้รับสวัสดิการและการคุ้มครองตามกฎหมาย

รัฐบาลประยุทธ์ 2 มีนโยบายแรงงานข้ามชาติซึ่งสามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่มตามทักษะคือกลุ่มทักษะสูงและกลุ่มทักษะปานกลาง-ต่ำ การเกิดโรคระบาดโควิด-19 เป็นโอกาสที่ทำให้แรงงานกลุ่มทักษะสูงสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัล โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้บีโอไอออกวีซ่าผู้พำนักระยะยาว (LTR) อายุ 10 ปีแก่ 4 กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้มีความมั่งคั่งสูง ผู้เกษียณอายุ ผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทยและผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ โดยลดภาระในการรายงานตัวจากทุก 90 วันเหลือเพียงรายงานปีละครั้งและอำนวยความสะดวกต่างๆ จนถึงเดือนมิถุนายน 2566 มีแรงงานทักษะสูง (ผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทยและผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ) สนใจสมัครขอวีซ่าดังกล่าวมากว่า 1,600 คน นโยบายดังกล่าวถือเป็นความริเริ่มที่ดีแม้จะยังห่างไกลจากเป้าหมายในการดึงดูดคนต่างชาติทั้ง 4 กลุ่มให้ได้ 1 ล้านคนใน 5 ปี และจำนวนแรงงานต่างชาติทักษะสูงโดยรวมยังอยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 คือประมาณ 47,000 คน

ส่วนนโยบายแรงงานต่างชาติกลุ่มทักษะปานกลาง-ต่ำซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านนั้น รัฐบาลยังไม่ได้บริหารจัดการให้ดีขึ้น โดยยังไม่มีนโยบายระยะยาวที่ชัดเจน แต่ใช้แนวทางการผ่อนผันการใช้แรงงานต่างชาติต่อเนื่องไปเมื่อครบกำหนดแต่ละครั้ง นอกจากนี้ การบริหารจัดการแรงงานต่างชาติในช่วงโควิด-19 ก็เป็นไปอย่างโกลาหล ทำให้ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถนำแรงงานกลุ่มนี้กลับมาสู่ระดับก่อนหน้าได้

รัฐบาลใหม่ควรดำเนินนโยบายดังต่อไปนี้ ประการแรก รัฐบาลควรกำหนดกรอบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป้าหมายที่ต้องการโดยให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อและผลิตภาพแรงงาน และปรับขึ้นอย่างเป็นระยะเช่น ทุกปี หรือทุก 2 ปี เพื่อสร้างหลักประกันว่าแรงงานจะได้รับค่าจ้างในระดับที่เหมาะสม และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบการบังคับใช้ค่าจ้างขั้นต่ำในสถานประกอบการต่าง ๆ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่มีการจ้างงานอย่างไม่เป็นทางการ ตลอดจนอาจพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นรายชั่วโมงเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ลูกจ้าง

ประการที่สอง รัฐบาลใหม่ควรดำเนินนโยบายในเชิงรุกในการนำแรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบเพื่อให้ได้รับสวัสดิการและการคุ้มครองตามกฎหมาย ประการที่สาม รัฐบาลใหม่ควรสานต่อนโยบายการดึงดูดแรงงานต่างชาติทักษะสูงและเร่งรัดให้เกิดผลสำเร็จ ควบคู่ไปกับการกำหนดนโยบายแรงงานต่างชาติทักษะปานกลาง-ต่ำในระยะยาวให้ชัดเจน โดยมุ่งให้ประเทศไทยพึ่งพาแรงงานกลุ่มนี้ลดลงในอนาคต จากการยกระดับภาคการผลิตของไทยให้ใช้เครื่องจักรและระบบอัตโนมัติมากขึ้น




นโยบายด้านสุขภาพ

นโยบายสุขภาพของรัฐบาลประยุทธ์ 2 ส่วนใหญ่เป็นนโยบายที่ต่อเนื่องจากรัฐบาลก่อนๆ รวมรัฐบาลประยุทธ์ 1 และมีนโยบายบางส่วนที่เสนอและดำเนินการโดยหน่วยงานที่มีหน้าที่เฉพาะ เช่น สปสช. ที่เพิ่มบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และให้ผู้ป่วยบางโรคสามารถไปรับยาที่ร้านขายยา และเพิ่มทางเลือกในการใช้เครื่องล้างไตทางช่องท้องอัตโนมัติ (APD) ที่บ้าน นอกจากนี้รัฐบาลยังคงสนับสนุนนโยบาย medical hub ให้โรงพยาบาลเอกชนรับคนไข้ต่างชาติเข้ามารักษาในประเทศไทย ส่วนนโยบายใหม่ที่เป็นของรัฐบาลนี้เองคือนโยบายกัญชา ที่เริ่มจากการใช้กัญชาทางการแพทย์ทั่วประเทศในปี 2562 และนำไปสู่การเปิดเสรีกัญชาเมื่อกลางปี 2565 จากภาวะสุญญากาศด้านกฎหมาย จนต้องกลับมากำหนดให้ช่อดอกกัญชาให้เป็นสมุนไพรควบคุมเมื่อปลายปี 2565

ตั้งแต่ต้นปี 2563 เวลาส่วนใหญ่ของรัฐบาลประยุทธ์ 2 ใช้ไปกับการรับมือกับการระบาดของโควิด-19 โดยรัฐบาลใช้แนวทางการควบคุมการระบาดแบบรวมศูนย์โดยการตั้ง ศบค. ซึ่งมีฝ่ายความมั่นคงกำหนดทิศทางและมีอำนาจมาก แต่การรับมือส่วนใหญ่เป็นแบบตั้งรับ และไม่ได้เน้นการบริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะในการจัดหาวัคซีน ซึ่งหลังจากที่เห็นว่าไทยควบคุมการระบาดได้ดีในปีแรก ก็เลือกที่จะไม่จองซื้อวัคซีนจาก COVAX ในปี 2563 โดยมีแนวคิดที่จะจองซื้อวัคซีนที่ไทยรับจ้างผลิตจำนวนหนึ่งที่จะเริ่มออกมากลางปี 2564 แล้วรอซื้อวัคซีนที่คาดว่าราคาจะถูกลงมากหลังจากนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันช้ามกับประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ที่แย่งกันจองซื้อวัคซีนเกินจำนวนที่ต้องใช้เพราะเห็นว่าการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุดเป็นยุทธศาสตร์หลักที่คุ้มค่า เพราะจะช่วยให้ประเทศพ้นจากการระบาดของโควิด-19 และสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้เร็วที่สุด

ไทยประสบความสำเร็จตามเป้าหมายในการรับจ้างผลิตวัคซีนไวรัลเวคเตอร์ออกมาได้ในกลางปี 2564 แต่ก็ยังจองซื้อวัคซีนในปริมาณที่น้อย ทำให้ฉีดวัคซีนได้ช้ากว่าประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ และในจำนวนที่ไม่เพียงพอกับความต้องการในครึ่งปีหลังของปี 2564 และก่อนหน้านั้นก็ต้องซื้อวัคซีนเชื้อตายจากจีนที่มีประสิทธิภาพต่ำในราคาสูง ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบในด้านลบมากดังที่ “รายงานการประเมินผลงานกลางเทอมรัฐบาลประยุทธ์ 2: การควบคุมการระบาดของโควิด-19 และการบริหารจัดการวัคซีน” ได้เคยตั้งข้อสังเกตเอาไว้

ผลลัพธ์ของการรับมือโควิด-19 ของไทยตั้งแต่ปลายปี 2563 เป็นต้นมาไม่ได้แตกต่างจากประเทศอื่นมากนัก โดยมีการระบาดต่อเนื่องแล้วรุนแรงขึ้นมากในช่วงกลางปี 2564 จากสายพันธุ์เดลต้า และเกิดการระบาดรวดเร็วมากในช่วงต้นปี 2565 จากสายพันธุ์โอมิครอน หลังจากนั้นไทยก็ลดระดับการรับมือโควิด-19 ให้เป็นโรคประจำถิ่นตั้งแต่กลางปี 2565 แต่โดยรวมแล้วประเทศไทยรับมือกับโควิด-19 ในภาพรวมได้ไม่ดีนัก ทำให้มีผลกระทบทางอ้อมที่รุนแรง ทั้งนี้เมื่อเทียบยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 จากรายงานในช่วง 3 ปี (2563-2565) ที่ประมาณ 34,000 คน กับยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 5 ปีก่อนหน้า ประเทศไทยมียอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นมาในช่วง 2563-2565 สูงถึง 2.3 แสนคน (หรือเกือบ 7 เท่าของยอดรายงานผู้เสียชีวิตจากโควิด-19)

ในช่วงท้ายรัฐบาลของรัฐบาลประยุทธ 2 มีข่าวแพทย์ลาออกจากภาครัฐจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนปัญหาการขาดแคลนบุคลากรเรื้อรังในระบบสุขภาพของรัฐ ความขาดแคลนนี้ยังถูกซ้ำเติมจากนโยบายส่งเสริมการรับผู้ป่วยต่างประเทศเข้ามารักษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลประยุทธ 2 ดำเนินต่อเนื่องจากหลายรัฐบาลก่อนหน้า ในที่ขณะที่ยังไม่สามารถเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านสุขภาพในภาครัฐให้เพียงพอกับความต้องการได้

รัฐบาลใหม่ควรทบทวนนโยบายกัญชาโดยสร้างกลไกควบคุมที่รัดกุมและโปร่งใส เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายต่อเยาวชน สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุและผู้ขับขี่ยานพาหนะ ไม่ให้ได้รับกัญชาจากอาหารโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้รัฐบาลใหม่ควรลดการส่งเสริมการนำเข้าผู้ป่วยจากต่างประเทศให้มารักษาพยาบาลในประเทศไทย หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาระงานของบุคลากรด้านสุขภาพในภาครัฐให้ลุล่วงไปได้

ที่สำคัญ รัฐบาลใหม่ควรยกระดับศักยภาพของระบบสุขภาพของประเทศในระยะยาว ให้สามารถรับมือกับโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และอุบัติภัยต่างๆ โดยพัฒนาหน่วยงานหลักที่ติดตามปัญหาเหล่านี้อย่างต่อเนื่องและสั่งสมความรู้ทั้งด้านวิชาการและนโยบาย เพื่อให้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น หน่วยงานดังกล่าวจะสามารถยกระดับขึ้นมาเป็นฝ่าย “เสนาธิการ” ให้แก่ฝ่ายนโยบายได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องตั้งโครงสร้างชั่วคราวที่ขาดความพร้อมในการรับมือปัญหาในเชิงรุกอย่างที่ผ่านมา




การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

การประเมินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลประยุทธ์ 2 จะพิจารณาจาก 2 เรื่องหลักคือ นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5

รัฐบาลประยุทธ์ 2 ได้ให้คำมั่นของประเทศไทยในที่ประชุม COP26 เมื่อปี ค.ศ. 2021 โดยประกาศเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2065 และจะเร่งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (Nationally Determined Contribution: NDC) จากการลดการปล่อยลงร้อยละ 20-25 เป็นร้อยละ 30-40 เมื่อเทียบกับแนวโน้มการปล่อยตามปกติภายในปี ค.ศ. 2030

นอกจากนี้รัฐบาลยังได้จัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (LT-LEDS) ซึ่งวางเส้นทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้มาตรการต่าง ๆ โดยในทางปฏิบัติ รัฐบาลได้ดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจผ่านกลไก T-VER นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังได้เห็นชอบร่างพ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อสนับสนุนให้ภาคส่วนต่าง ๆ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

อย่างไรก็ดี เป้าหมายและยุทธศาสตร์ด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของรัฐบาลยังขาดความชัดเจนมาก ทั้งในด้านการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อจูงใจให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการแก้ไขปัญหากฎระเบียบด้านการซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด และการสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในราคาเหมาะสม

ในส่วนของการปรับตัวเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังเน้นการสร้างความตระหนักรู้และสนับสนุนการปรับตัวในระดับพื้นที่นำร่องเท่านั้น โดยยังขาดการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบสูงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น แรงงานที่ทำงานกลางแจ้ง และกลุ่มที่ผลกระทบจากนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น แรงงานในอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง และผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีรายได้น้อย

รัฐบาลใหม่ควรมีนโยบายดังต่อไปนี้ ประการแรก ควรเร่งนำกลไกราคาคาร์บอนมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นภาษีคาร์บอนหรือตลาดคาร์บอนภาคบังคับ ประการที่สอง ควรเร่งปลดล็อคกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะการเปิดให้เกิดการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดแบบ peer-to-peer ประการที่สาม ควรสนับสนุนการเข้าถึงเงินทุนและเทคโนโลยีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในราคาที่เหมาะสม ประการที่สี่ ควรปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เข้มข้นมากขึ้น ทั้งในส่วนของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการสนับสนุนการปรับตัวของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ประการที่ห้า ควรเร่งสร้างความตระหนักรู้ต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในส่วนของปัญหา PM2.5 รัฐบาลประยุทธ์ 2 ได้กำหนดให้การจัดการปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ และได้จัดทําแผนปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหามาตั้งแต่ปี 2562 นอกจากนี้รัฐบาลยังตั้งคณะทำงานวิชาการเฉพาะกิจเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการไฟป่าและการเผาในที่โล่งเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยใช้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ทราบอย่างชัดเจนว่าการเผาฟางและตอซังข้าวเป็นต้นเหตุอันดับสำคัญ รองลงมาคือข้าวโพด ส่วนอ้อยมีสัดส่วนที่น้อยกว่าที่เข้าใจ

คณะทำงานดังกล่าวได้เสนอแนะนโยบายที่เป็นรูปธรรมในมิติต่างๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าว โดยรวมแล้ว รัฐบาลยังเน้นจัดการปัญหาเฉพาะหน้าในแต่ละปี โดยไม่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในส่วนของเมืองใหญ่เช่นกรุงเทพมหานคร รัฐบาลมีมาตรการเฉพาะหน้าต่างๆ เช่น ห้ามรถบรรทุกเข้าเขตเมืองในชั่วโมงเร่งด่วน กวดขันและตรวจจับควันดำ ล้างถนนและฉีดละอองน้ำบนยอดตึกซึ่งไม่ใช่มาตรการที่ได้ผล ส่วนในพื้นที่ชนบท รัฐบาลมีมาตรการห้ามเผาป่าและเศษวัสดุทางการเกษตรในบางช่วง

จุดอ่อนสำคัญของการแก้ไขปัญหานี้คือรัฐบาลไม่มีนโยบายแก้ไขปัญหาในระยะกลางและระยะยาวอย่างจริงจัง ทั้งการจัดการกับรถยนต์เก่าโดยเฉพาะรถบรรทุกและรถโดยสารประจำทางที่ปล่อยไอเสียเกินมาตรฐานยูโร 3 และการให้เกษตรกรเลิกเผาเศษวัสดุทางการเกษตร โดยสนับสนุนการใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวหรือจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร นอกจากนี้ รัฐบาลยังไม่ได้บัญญัติกฎหมายที่สามารถเอาผิดกับผู้ที่ก่อมลพิษข้ามพรมแดนในลักษณะของกฎหมาย Transboundary Haze Pollution Act ของสิงคโปร์

รัฐบาลใหม่ควรดำเนินนโยบายที่มีประสิทธิผลมากขึ้นในการแก้ไขปัญหา PM2.5 โดยดำเนินการดังนี้ ประการแรก ควรเร่งจัดการกับรถยนต์เก่าโดยเฉพาะรถบรรทุก รถโดยสารประจำทางโดยเฉพาะรถโดยสารของ ขสมก. โดยสนับสนุนให้เจ้าของรถปรับเปลี่ยนมาใช้รถที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถที่มีมาตรฐานการระบายไอเสียระดับยูโร 5 หรือยูโร 6 ขึ้นไป โดยให้มาตรการจูงใจเช่นสิทธิในการลดหย่อนภาษี

ประการที่สอง ควรสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเครื่องจักรทางการเกษตรหรืออุปกรณ์ในการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดการเผา รวมถึงสร้างอาชีพทางเลือกแก่ผู้ที่เผาป่าเพื่อทำการเกษตรหรือเก็บของป่า

ประการที่สาม ควรกำหนดให้ผู้ประกอบการขนาดใหญ่เปิดเผยข้อมูลการผลิตฝุ่น PM2.5 ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสร้างแรงกดดันทางสังคมให้ลดการก่อมลพิษ และควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อลดการผลิตฝุ่น PM2.5 ที่มาจากแหล่งกำเนิดในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน

4. บทส่งท้าย
ตลอดระยะเวลา 4 ปี รัฐบาลประยุทธ์ 2 ได้สร้างผลงานที่สำเร็จออกมาเป็นรูปธรรมไว้หลายด้าน และดำเนินโครงการจำนวนหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อประเทศ ซึ่งสมควรได้รับการสานต่อ ในทางกลับกัน รัฐบาลก็ดำเนินนโยบายอีกหลายด้านที่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือแม้กระทั่งก่อให้เกิดปัญหา ซึ่งเกิดขึ้นจากทั้งความเข้าใจผิด การกำหนดนโยบายโดยไม่ผ่านการปรึกษาหารืออย่างรอบด้าน การรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางแทนที่จะกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น การใช้กลไกของระบบราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นหลักในการขับเคลื่อนนโยบายทั้งที่มีประสิทธิภาพต่ำ ตลอดจนการที่นโยบายของรัฐบาลได้รับอิทธิพลจากกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม นโยบายเหล่านี้สมควรได้รับการทบทวนและปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งยกเลิกไปโดยรัฐบาลใหม่

คณะผู้ประเมิน
คณะผู้ประเมินประกอบไปด้วยบุคคลซึ่งเรียงรายชื่อตามตัวอักษรดังต่อไปนี้คือ กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์, กัญจน์ จิระวุฒิพงศ์, กิรติพงศ์ แนวมาลี, ชาริกา ชาญนันทพิพัฒน์, ณัฐนันท์ วิจิตรอักษร, ธิปไตร แสละวงศ์, นิพนธ์ พัวพงศกร, พงศ์ทัศ วนิชานันท์, วิโรจน์ ณ ระนอง, สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, สมชัย จิตสุชน, สุเมธ องกิตติกุล และเสาวรัจ รัตนคำฟู

หมายเหตุ
นักวิจัยในคณะผู้ประเมินบางคนมีส่วนร่วมในการนำเสนอ หรือให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายบางอย่าง ซึ่งภายหลังนำไปสู่การนำไปปฏิบัติของรัฐบาล นโยบายดังกล่าวรวมถึงนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การทำ “กิโยตินกฎระเบียบ” (Regulatory Guillotine) การจัดทำการศึกษาเพื่อยกร่าง พ.ร.บ. กฎหมายเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม และการร่วมยกร่าง พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45022
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/08/2023 5:16 pm    Post subject: Reply with quote

สร้างแทรม 4 สาย 7.1 หมื่นล้าน ส่อสะดุดรัฐบาลใหม่
ฐานเศรษฐกิจ 11 สิงหาคม 2566

เปิดแผนคืบหน้าสร้าง "รถไฟฟ้าแทรม" 4 สาย วงเงิน 7.1 หมื่นล้านบาท ลุ้นชงรัฐบาลใหม่ไฟเขียว หลังคมนาคมสั่งปรับรูปแบบการก่อสร้าง ลดต้นทุนโครงการ
ที่ผ่านมา “การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” เร่งผลักดันโครงการระบบขนส่งมวลชนในภูมิภาค (แทรม) แต่ปัจจุบันพบว่ายังไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากติดปัญหาในอุปสรรคในหลายเรื่อง ทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูง รูปแบบรถที่ให้บริการไม่สอดรับกับพื้นที่ที่จะให้บริการ รวมทั้งการเวนคืนที่ดินที่อาจจะกระทบต่อประชาชนในพื้นที่

ถึงแม้ว่ารฟม.จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นทั้งภาคประชาชนและเอกชนหลายครั้ง แต่ขณะนี้กลับยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด โดยเฉพาะเรื่องที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้รฟม.ไปศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมอีกครั้ง เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้าง ซึ่งเป็นที่หน้าจับตาว่าโครงการรถไฟฟ้าแทรมในภูมิภาคจะเริ่มดำเนินการได้เมื่อไร

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากแผนเดิม รฟม.มีแนวคิดศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนในภูมิภาค (แทรม) ทั้ง 4 จังหวัด ประกอบด้วย 1.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะ สมานสามัคคี โดยใช้รูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) 2.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ โดยใช้รูปแบบระบบรถรางไฟฟ้าแบบล้อยาง (Rubber-Tyred Tram)

3. โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง โดยใช้รูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) 4.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-เซ็นทรัลพลาซ่า โดยเป็นระบบขนส่งรูปแบบรถรางล้อยาง (Auto Tram)

ในปัจจุบันทั้ง 3 โครงการ “รฟม.” ได้มีการทบทวนการเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม พบว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะ สมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กิโล เมตร (กม.) วงเงินลงทุน 25,736 ล้านบาท จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นรถไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) เบื้องต้นรฟม.จะพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566-มิถุนายน 2567 หลังจากนั้นจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาภายในเดือนมิถุนายน 2567 โดยจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ภายในเดือนพฤศจิกายน 2567-สิงหาคม 2568 ระหว่างนี้จะสำรวจพื้นที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินภายในเดือนกรกฎาคม 2568 ด้วย และเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกันยายน 2568 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2571

ด้านโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 7,218 ล้านบาท จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นรถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ (E-BRT) ทั้งนี้รฟม.จะพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566-มิถุนายน 2567 และเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาภายในเดือนมิถุนายน 2567 โดยจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ภายในเดือนพฤศจิกายน 2567-สิงหาคม 2568 หลังจากนั้นจะสำรวจพื้นที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินภายในเดือนกรกฎาคม 2568 ด้วย และเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกันยายน 2568 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2571

ขณะที่โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 35,344 ล้านบาท จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นระบบรถไฟฟ้า ART (Automated Rapid Transit) ขณะนี้รฟม.จะพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566-เมษายน 2567 ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่เห็นชอบภายในเดือนเมษายน 2567 โดยจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ภายในเดือนตุลาคม 2567-มิถุนายน 2568 ควบคู่กับการสำรวจพื้นที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินภายในเดือนพฤษภาคม 2568 และดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกรกฎาคม 2568 พร้อมเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2570

ส่วนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-เซ็นทรัลเซ็นทรัลพลาซ่า ระยะทาง 12.6 กม. จำนวน 15 สถานี วงเงินลงทุน 3,440 ล้านบาท ปัจจุบันยังไม่ได้มีการศึกษาทบทวนรูปแบบของโครงการฯ

ทั้งนี้ตามแผนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก คาดว่าจะพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถภายในเดือนมีนาคม 2568-มีนาคม 2569 หลังจากนั้นจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่เห็นชอบภายในเดือนมีนาคม 2569 และเปิดคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ภายในเดือนตุลาคม 2569-ตุลาคม 2570 โดยระหว่างนี้จะดำเนินการสำรวจพื้นที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินภายในเดือนเมษายน 2570-พฤษภาคม 2573 และดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนพฤศจิกายน 2570 พร้อมเปิดให้บริการได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2574

หลังจากนี้คงต้องจับตาว่ารถไฟฟ้าแทรมทั้ง 4 โครงการของรฟม.จะเป็นเพียงโครงการที่ขายฝันให้ชาวบ้านในต่างจังหวัดต้องรอเก้อหรือไม่ และรัฐบาลใหม่จะสามารถเดินหน้า “โครงการรถไฟฟ้าแทรมในภูมิภาค” ต่อไปอย่างไร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45022
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/08/2023 7:10 pm    Post subject: Reply with quote

ปูพรมรถไฟฟ้า-รื้อผังเมือง พลิกโฉม"ปากนํ้า" เมืองสุขภาพ ดันราคาที่ดินพุ่ง
ฐานเศรษฐกิจ
20 สิงหาคม 2566

รถไฟฟ้า 3 สาย บูมสมุทรปราการ ปรับผังเมืองถอดแบบกทม. นายก อบจ.ตู่-นันทิดา ศึกษารถไฟฟ้ารางเบา โมโนเรลเชื่อมสายสีเขียว-สุวรรณภูมิลากBRTไปบางบ่อ ดันราคาที่ดินพุ่งพลิกโฉมเมืองฉันทนา สู่คอนโด-ศูนย์การแพทย์ ผู้สูงอายุ หอการค้า -อสังหาขานรับ บูมเศรษฐกิจเชื่อมอีอีซี
สมุทรปราการ หนึ่งในจังหวัดปริมณฑล รองรับความเจริญจากการขยายตัวของกรุงเทพมหานคร ตามการลงทุนโครงข่ายรถไฟฟ้า สายสีเขียว วิ่งมาจากคูคต จังหวัดปทุมธานี ผ่านใจกลางกรุงเทพมหานคร เข้าแบริ่ง สำโรง ปลายทางเคหะสมุทรปราการ ย่านบางปู เกิดทำเลศักยภาพโครงการคอนมิเนียมขนาดใหญ่ ของ บิ๊กแบรนด์ รอบสถานีสำคัญมากกว่าหมื่นหน่วย

ส่งผลให้ คนทำงานในกทม.ขยับซื้อที่อยู่อาศัยไปยังเมืองปากนํ้ากันมากขึ้นเนื่องจากราคาที่ดินถูกกว่าเขตกทม. แต่เดินทางเข้าสู่ใจกลางเมือง สีสม สาทร สุขุมวิท ด้วยรถไฟฟ้าอย่างสะดวกรวดเร็ว นอกจากโครงข่ายถนน-ทางพิเศษ (ทางด่วน) และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง

รถไฟฟ้าบูมเมืองปากนํ้า

นอกจากรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวแล้ว ที่เปิดให้บริการเดินรถไม่นานคือรถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลือง (โมโนเรล) ลาดพร้าว-สำโรง เชื่อมเข้าสู่พื้นที่สมุทรปราการตัดกับสถานีสำโรงสถานีสายสีเขียว เพิ่มศักยภาพการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันนอกจากมีคอนโดมิเนียมแล้วยังมี มิกซ์ยูส เมืองอยู่อาศัยและธุรกิจโรงพยาบาล สุขภาพ ที่มีดีเวลลอปเปอร์ เข้าไปลงทุนหลายค่าย

รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างเชื่อมการเดินทางจากสายสีม่วงเหนือจังหวัดนนทบุรี ที่เปิดให้บริการปัจจุบัน ตัดกันที่สถานีเตาปูน เป็น จุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางขนาดใหญ่ วิ่งผ่านไปยัง ย่านราษฎร์บูรณะ พระประแดง ครุใน จังหวัดสมุทรปราการ สถานีปลายทางที่มีผู้ประกอบการเข้าไปปักหมุดโครงการคอนโดมิเนียม บ้านแนวราบ พื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ ศูนย์การค้าเป็นจำนวนมาก อนาคตจะมีรถไฟฟ้ารางเบา หรือโมโนเรลเชื่อมต่อจากบางนา บริเวณรถไฟฟ้าสายสีเขียว วิ่งเข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิ ผ่านบนเส้นทางของถนนบางนา-ตราด

การตบเท้าเข้าสู่ สมุทรปราการตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าส่งผลให้ เกิดโครงการแนวสูงเข้ามาแทนที่กลุ่มฉันทนา แรงงานโรงงานอุตสาหกรรมเก่า ที่เคยอยู่บ้านเช่าราคาถูกถูกผลักออกไปนอกเมืองและทยอยย้ายออกไปยังพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมแห่งใหม่ อย่าง เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี (EEC) เพราะราคาที่ดินขยับสูงจากราคา ไม่เกิน 5 หมื่นบาทต่อตารางวา ย่านแบริ่ง-สำโรง ขยับสูงถึง 3 แสนบาทต่อตารางวา เช่นเดียวกับ

ราคาขายห้องชุดต่อหน่วย 1ล้านบาทปลายๆ ไปจนถึงกว่า 2 ล้านบาทต่อหน่วย ทำให้เกิดคนต่างถิ่นที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่คนทำงานเข้ามาแทนที่ ขณะการจราจรพื้นราบมีความคับคั่งแม้ว่า มีรถไฟฟ้าเนื่องจากเป็นทางเลือกในการเดินทาง

ลุย BRT-โมโนเรล เชื่อมสายสีเขียว

จากการเชื่อมโครงข่ายระบบรางในพื้นที่ ที่มองว่ายังไม่เชื่อมต่อ เป็นวงรอบ ประชาชนยังสัญจรไม่สะดวก นางสาวนันทิดาแก้วบัวสาย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ (อบจ.) มีแผนลงทุน ฟีดเดอร์ รูปแบบบีอาร์ทีล้อยางแบบ กทม. รับส่งผลโดยสาร เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว จาก สถานีปลายทาง เคหะสมุทรปราการ ไปยังโรงพยาบาลรามา สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ บริเวณถนนเลียบคลองส่งนํ้าสุวรรณภูมิ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี

บริเวณนี้จะเป็นศูนย์ทางการแพทย์และศูนย์สุขภาพดูแลผู้สุงอายุขนาดใหญ่ และโครงการเฟสที่สอง จากโรงพยาบาลรามา ไปยังอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ รอยต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา รองรับคนอยู่อาศัยในย่านดังกล่าว รวมถึงยังจัดสรรงบ 140 ล้านบาท ศึกษา โครงการโมโนเรล รูปแบบรถไฟฟ้า สายสีเหลืองจากแยกแพรกษา บริเวณที่มีการจราจรติดขัดสาหัสแนวเส้นทาง วิ่งผ่านถนนบางนา-ตราดกิโลเมตรที่ 9 เข้าถนนกิ่งแก้ว เชื่อมเข้าสนามบินสุวรรณภูมิระยะทาง 30 กิโลเมตร ใช้วิธีประมูลรูปแบบ เอกชนร่วมลงทุนรัฐ หรือPPP ซึ่งงบประมาณอยู่ระหว่างคำนวณว่าเป็นเท่าใด

วางผังเมืองเชื่อมกทม.ไร้รอยต่อ

ขณะเดียวกันอบจ. ได้วางผังเมืองเพื่อลดความแออัดคับคั่งของเมืองปัจจุบันอยู่ระหว่าง การจัดทำร่างผังเมืองรวมและอยู่ขั้นตอนที่ 3 ปิดประกาศรับฟังความเห็น 15 วัน จากทั้งหมด 8 ขั้นตอน และคาดว่าจะประกาศใช้ ปลายปี2567 สาระสำคัญเพิ่มความเข้มข้นการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยใช้ FAR (Floor Area Ratio) อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน ถอดแบบมาจาก การวางผังเมืองรวมกทม. เพื่อไม่ให้เกิดการลักลั่น โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อระหว่างเขตจังหวัด รวมถึงมาตรการวางผังพัฒนาโครงการขนาดใหญ่( PUD) จากผังเมืองรวมเดิม พัฒนาสูงสุด 10:1 หรือ 10เท่าของแปลงที่ดิน ทำให้ ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการสามารถสร้างอาคารสูงอาคารขนาดใหญ่พิเศษได้ พื้นที่ 1-2 ไร่ สร้างห้องชุดขายมา1,000-2,000 หน่วย

หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้อาจมีผลทำให้เกิดซัพพลายที่เพิ่มขึ้นล้นตลาดรวมถึงการใช้ พื้นที่เปอร์เซ็นโค้วต้าได้ทุกพื้นที่เช่นพื้นที่สีเขียวกิจกรรมหลักเป็นเกษตรกรรมแต่กิจกรรมรองสามารถยื่นขอพัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์ ได้เช่น ไม่เกิน 10% ของพื้นที่ สีเขียวในย่านดังกล่าว เป็นต้น ขณะการกำหนด FAR จะกำหนดสัดส่วนการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกันกัน โดยพื้นที่ ไข่แดง สมุทรปราการที่ส่งเสริมการพัฒนาเป็นแนวสูงจะเป็นแนวรถไฟฟ้าแต่การพัฒนาอาจลดลงครึ่งหนึ่ง เช่นพื้นที่สีส้ม (ที่อยู่อาศัย FAR 5-6 สร้างได้ 5-6เท่า จากพื้นที่ดิน เดิมสร้างได้10เท่า เป็นต้นขณะราคาที่ดินค่อนข้างสูง แต่การพัฒนาความถี่ของจำนวนห้องชุดที่จะขายอาจลดลงจำนวนมากหรือกว่า 50%ทำให้พื้นที่มีความโล่งโปร่งสบาย ไม่แออัดสำหรับผู้บริโภค แต่ ผู้ประกอบการอาจไม่คุ้มทุนแน่นอนว่าราคาขายต่อหน่วยต้องเพิ่มขึ้น

บางนา -บางพลี ทำเลบิ๊กโปรเจ็กต์

รายงานข่าวจากจังหวัดสมทรปราการ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการมาของรถไฟฟ้าหลายสายสร้างความเจริญให้กับพื้นที่ และฝั่ง ถนนบางนา-ตราด เป็นถนนสายที่ทอดยาว เชื่อมไปยังเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี (EEC) เมืองอุตสาหกรรมระดับโลกตามนโยบายรัฐบาล”ประยุทธ์” และเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีสนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ในพื้นที่บางพลี แอร์พอร์ตลิงค์เชื่อมการเดินทางอนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ผ่านพื้นที่เขตปกครองสมุทรปราการ ทำให้ ถนนบางนา-ตราด บางพลี บางบ่อ มีโครงการขนาดใหญ่ของเอกชนเกิดขึ้น อย่าง ฟอเรสเทียส์ โครงการ มิกซ์ยูส พร้อมสวนป่าขนาดใหญ่ ใกล้ เมกาบางนา ภายใต้การพัฒนา ของ "MQDC" รองรับผู้สูงอายุแห่งแรกของภาคเอกชน รวมถึงย่านช็อปปิ้งอย่างเซ็นทรัลวิลเลจ ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นต้น

บ้านจัดสรรบูม -ประตูสู่อีอีซี

นายธำรงปัญญาสกุลวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมอาคารชุดไทย ระบุว่า ราคาที่ดิน แนวรถไฟฟ้าขยับสูง ติดสถานีสำโรง ราคา 3 แสนบาทต่อตารางวา ขณะบางนา -ตราด ติดถนนไม่ตํ่ากว่า15ล้านบาทและในซอย วัดศรีวารีน้อย ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ ย่านบางพลี บางบ่อ ราคา ไร่ละ 8 ล้านบาท ต่อตารางวา ย่านดังกล่าวเป็นทำเลศักยภาพมีบิ๊กเนมเข้ามาพัฒนาบ้านจัดสรรกันมากรองรับกลุ่มคนทำงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก อีอีซี( EEC)

ระดับหัวหน้างาน นักธุรกิจฯลฯ ขณะการเปลี่ยนแปลงผังเมืองรวมสมุทรปราการ โดยใช้รูปแบบเดียว กับกทม. มองว่าไม่เห็นด้วยและกระทบกับผู้ประกอบการ สร้างอาคารได้ลดลง สวนทางกับราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้นจากความเจริญที่มาจากโครงข่ายรถไฟฟ้าและถนน อย่างไรก็ตามถนนบางนา-ตราดเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ สำคัญและเป็นประตูสู่ EECที่น่าจับตายิ่ง

หอฯปากนํ้าชี้ช่วยบูมเศรษฐกิจ

นายชาญศิลป์ ปานแก้ว เลขาธิการหอการค้าค้าจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า โครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ที่วิ่งถึงสำโรง และสายสีเขียว (คูคต-สมุทรปราการ) ที่วิ่งมาถึงเคหะสมุทรปราการ โดยสายสีเขียวหากเต็มลูปจะวิ่งถึงสถานตากอากาศบางปู อย่างไรก็ดีโครงข่ายรถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในจังหวัด ณ เวลานี้ ช่วยให้ระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดดีขึ้น และช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลลงได้ส่วนหนึ่ง

นอกจากนี้ส่งผลให้การใช้ที่ดินในจังหวัดเปลี่ยนไป เฉพาะอย่างยิ่งที่ดินรอบแนวรถไฟฟ้าถูกใช้ประโยชน์ในการสร้างที่อยู่อาศัยแนวสูง ประเภทคอนโดมิเนียม เพื่อรองรับการเดินทางที่สะดวกมากขึ้น และจากที่สมุทรปราการเป็นปริมณฑลของกรุงเทพฯ และมีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ EEC และสมุทรปราการส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมใกล้กรุงเทพฯ มีนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ เช่นนิคมอุตสาหกรรมบางปู,นิคมฯบางพลี และนิคมฯเอเชีย(สุวรรณภูมิ) ที่สามารถเชื่อมต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปยังEECได้

จากโครงข่ายคมนาคมที่สะดวกมากขึ้น ส่งผลให้เวลานี้มีผู้ประกอบการเข้าไปตั้งคลังสินค้า และขนส่งสินค้าเพื่อส่งออกผ่านท่าเรือมาบตาพุด รวมถึงการทำการค้าชายแดน และผ่านแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เช่น ไปกัมพูชา จีน เวียดนาม ช่วยเพิ่มยอดการค้าของประเทศ ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวและบริการเป็นอีกภาคส่วนที่สำคัญที่จะได้รับอานิสงส์หากโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีเขียววิ่งครบลูป เพราะจะผ่านสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดหลายแห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ หอชมเมืองสมุทรราการ สถานตากอากาศบางปู เมืองโบราณ ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ และวัดวาอารามต่างๆ ในพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในจังหวัดได้อีกมาก

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45022
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/08/2023 8:39 am    Post subject: Reply with quote

รัฐเจียดหมื่นล้าน/ปีทำได้!ค่ารถไฟฟ้า20บาทคุ้มค่าเศรษฐกิจ-สิ่งแวดล้อม
เดลินิวส์ 22 สิงหาคม 2566 8:00 น.
Special Report

ผู้บริหารบีทีเอสเผยนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทของพรรคเพื่อไทยทำได้! ภายใน 1 ปีด้วยการเปิดเจรจากับเอกชน 3 ราย ทำ "ตั๋วร่วม" เป็นระบบจริงจัง รวมทั้งรัฐต้องอุดหนุนเงินปีละหมื่นล้านบาทกับผู้โดยสาร 2 ล้านคน/วัน แต่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ-คุณภาพชีวิต-สิ่งแวดล้อม

ปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่งของคนกรุงเทพฯและปริมณฑลในปัจจุบัน คือ ภาระค่าเดินทางแพง! จากปัญหาค่าน้ำมัน-แก๊สแพง! และระบบการคมนาคมต่างๆไม่เชื่อมต่อกัน จึงต้องเสียค่าเดินทางหลายต่อ แต่เมื่อมีพรรคการเมืองใหญ่ออกมาชูนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาท คนเดินทางส่วนใหญ่จึงตั้งตารอกันว่าทำได้ ทำไม่ได้ และเมื่อไหร่ หรือเป็นแค่ราคาคุย!

วันนี้ทีมข่าว Special Report สนทนากับผู้เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าง นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ผู้อำนวยการใหญ่สายธุรกิจ MOVE และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีทีเอสซี” ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส

ค่ารถไฟฟ้า20บาทขาดทุน!-แต่ทำได้ถ้ารัฐอุดหนุนเงิน

นายสุรพงษ์กล่าวว่าก่อนอื่นต้องพูดเรื่องจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าบนดิน และรถไฟฟ้าใต้ดิน ถ้าสร้างเสร็จครบ 12 สาย ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งขณะนี้ยังเหลือรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล รถไฟฟ้าสายสีส้ม และรถไฟฟ้าสายสีแดงยังสร้างไม่เสร็จ

รวมทั้งสายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะ-รามอินทรา-มีนบุรี) ในสัญญากับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ต้องเปิดเดินรถตลอดเส้นทางในเดือนมิ.ย.67 ซึ่งตรงนี้ตนมั่นใจว่าเปิดให้บริการทันตามกำหนดสัญญาอย่างแน่นอน

ถ้าสร้างเสร็จครบทุกสายสี คาดว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการวันละประมาณ 2 ล้านคน เฉพาะรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งระบบ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการวันละประมาณ 9 แสนเที่ยว (จำนวนตั๋วโดยสาร) โดยช่วงก่อนโควิด-19 เคยขึ้นไปถึง 1.3 ล้านเที่ยว/วัน โดยตัวเลข 1.3 ล้านเที่ยว/วัน สามารถขยับเพิ่มขึ้นจากนี้ได้อีก ถ้าแต่ละขบวนสามารถพ่วงไปได้ถึง 6 ตู้ ทิ้งช่วงห่างขบวนละ 2 นาที ในเส้นทางสายหลัก (คูคต-หมอชิต-สุขุมวิท-สมุทรปราการ) ส่วนในเส้นทางสะพานตากสินซึ่งเป็นรางเดี่ยว แต่ละขบวนจึงห่างกันประมาณ 4 นาที

“เมื่อเห็นตัวเลขผู้โดยสารในปัจจุบัน และอนาคตที่ 2 ล้านคน กับค่าโดยสาร 20 บาท แต่ยังไม่รู้ในรายละเอียดว่าถ้ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะทำตามนโยบายหาเสียง จะเป็น 20 บาทตลอดสาย หรือ 20 บาท/สาย ทำได้แน่นอนแต่ขาดทุน และค่าโดยสาร 20 บาททำได้! ถ้ารัฐบาลเอาเงินเข้ามาสนับสนุน ในส่วนภาคเอกชนคงไม่มีปัญหาอะไร”

ผู้โดยสารน้อย!สายสีแดง-สีม่วงขาดทุน

นายสุรพงษ์กล่าวต่อไปว่ารถไฟฟ้าทั่วโลกขาดทุนทั้งหมด ถ้ามีรายได้เพียงค่าโดยสาร ในสิงคโปร์-มาเลเซียเก็บค่าโดยสารได้ถูกเพราะรถไฟฟ้าเป็นของรัฐ รถไฟฟ้าในฮ่องกงอยู่ได้สบาย เพราะมีการเวนคืนพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าไว้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีการสร้างตึกให้เช่า แต่บ้านเราทำแบบนั้นไม่ได้ เนื่องจากผิดวัตถุประสงค์การเวนคืนที่ดินไว้สำหรับทำทางขึ้น-ลงรถไฟฟ้าได้อย่างเดียว

ส่วนรถไฟฟ้าในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีรายได้จากทางอื่นด้วย คือมีการเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่าปกติจากอาคารพาณิชย์ที่ตั้งอยู่โดยรอบตัวสถานีรถไฟฟ้าในรัศมี 500 เมตร เพราะถือว่าอาคารพาณิชย์เหล่านี้ได้ผลประโยชน์จากรถไฟฟ้า และเจ้าของอาคารก็ยอมจ่ายภาษีตรงนี้ ทำให้รถไฟฟ้านิวยอร์กได้เงินภาษีดังกล่าวมากพอสมควร

สำหรับรถไฟฟ้าในประเทศไทย ถ้าจะผลักดันค่าโดยสาร 20 บาท ทำได้! แต่รัฐต้องเอาเงินมาสนับสนุน วันนี้รถสายสีแดง สายสีม่วงเก็บค่าโดยสาร 30 บาท ขาดทุนอยู่แล้วเห็นๆ เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารน้อย รัฐต้องสนับสนุนกันอยู่

ส่วนสายสีเขียว (บีทีเอส) ค่าโดยสายเฉลี่ยก็อยู่ที่ 30 บาทเหมือนกัน สมมุติถ้ารถไฟฟ้าทุกสาย (ทุกสี) มีผู้โดยสารวันละ 2 ล้านคน ค่าโดยสารเฉลี่ย 30 บาท แต่รัฐบาลจะทำโครงการค่าโดยสาร 20 บาท ก็ต้องทำ “ตั๋วร่วม” ให้เป็นระบบอย่างจริงจัง เป็นเรื่องเป็นราว
การเก็บค่าโดยสารถูกลง เหลือ 20 บาท ไม่ได้ทำให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมากนัก ไม่เหมือนกับสินค้าบริโภคที่ปรับราคาลดลงแล้วคนแห่ซื้อสินค้าจำนวนมากเพราะต้องกิน ส่วนราคาตั๋วรถไฟฟ้าถูกลง แต่คนที่ไม่จำเป็นต้องเดินทาง เขาก็ไม่จำเป็นต้องไปขึ้นรถไฟฟ้า

รัฐอุดหนุนหมื่นล้าน/ปี “ค่าโดยสาร20บาท” แต่คุ้มค่า!

ดังนั้นถ้าค่ารถไฟฟ้าเหลือ 20 บาท จำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้น แต่ไม่มากนัก ถ้าวันละ 2 ล้านคน ค่าโดยสารเฉลี่ย 30 บาท แต่จะเก็บแค่ 20 บาท ก็ต้องทำเป็นระบบทอนเงินกลับไปให้ 10 บาท คูณด้วย 2 ล้านคน นั่นแสดงว่ารัฐต้องใส่เงินอุดหนุนวันละ 20 ล้านบาท หรือเดือนละ 600 ล้านบาท ถ้า 1 ปี คือ 7,200 ล้านบาท บวกค่าใช้จ่ายโน่นนี่เข้าไปอีก ค่าซ่อมบำรุงรักษา เมื่อผู้โดยสารเยอะ การใช้ไฟฟ้าก็ต้องเยอะตามไปด้วย ซึ่งตัวเลขที่รัฐอุดหนุนอาจจะขึ้นไปถึง 1 หมื่นล้านบาท/ปี

ตัวเลข 1 หมื่นล้านบาท/ปี ที่รัฐบาลต้องใส่เข้ามาอุดหนุนค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท เพื่อให้ผู้โดยสารมาใช้บริการ 2 ล้านคน/วัน จะทำให้ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ผู้คนใช้รถใช้ถนนน้อยลง ไม่ต้องเสียเงินซ่อมรถ แถมยังประหยัดเวลาการเดินทาง ลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ และแก้ปัญหามลพิษ (PM2.5) แลกกับเงิน 1 หมื่นล้านบาทที่รัฐบาลต้องจ่าย โดยส่วนตัวมองว่าคุ้มเกินคุ้ม

“ถ้าจะทำค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องเรียกภาคเอกชน 3 ราย ที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ คือ บีทีเอส-ซีพี-BEM มาเจรจาหารือในรายละเอียด เรียกว่าทุกขั้นตอนสามารถทำแบบคู่ขนานกันไป ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีสำเร็จแน่นอน ค่ารถไฟฟ้า 20 บาททำได้” นายสุรพงษ์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45022
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/08/2023 4:18 pm    Post subject: Reply with quote

รายการทั่วฟ้าคมนาคมไทย
22 ส.ค. 66 16:14 น.

https://www.facebook.com/Tuafakamanakom/posts/745948397542903

“รฟม.” ครบรอบ 31 ปี เผยผลงานโครงการรถไฟฟ้า เร่งสร้างสาย“ชมพู-ม่วงใต้-ส้ม-น้ำตาล” ปีหน้าทยอยเปิดให้บริการ

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ได้จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันก่อตั้ง รฟม. ครบรอบ 31 ปี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 โดย รฟม. ยังคงมุ่งมั่นดำเนินงานตามแผนงานภายใต้นโยบายรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม เพื่อให้สามารถส่งมอบการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ด้วยระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพให้ประชาชน และสานต่อการดำเนินงานในอีกหลากหลายมิติที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อต่อยอดสู่การเจริญเติบโตขององค์กร
โดยปี 2566 รฟม. สามารถเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าเพิ่มเติมได้อีก 1 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง (MRT สายสีเหลือง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร (กม.) 23 สถานี ช่วยเติมเต็มโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าในเขตเมือง ทำให้ประชาชนเดินทางเชื่อมต่อเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวก

พร้อมกันนี้ยังเร่งรัดการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ให้มีความก้าวหน้าต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. 30 สถานี ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในเดือน มิ.ย. 67, โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กม. 2 สถานี ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 68, โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม. 17 สถานี ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 71

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กม. 28 สถานี แบ่งโครงการออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก (ช่วงสถานีบางขุนนนท์-สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออก (ช่วงสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-สถานีสุวินทวงศ์) ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดให้บริการทั้งเส้นทางภายในปี 72 รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ซึ่งเป็นโครงการรถไฟฟ้าที่ รฟม. เตรียมดำเนินการต่อไปในอนาคต มีระยะทาง 22.1 กม. 20 สถานี ซึ่งเมื่อโครงการฯ แล้วเสร็จ และเปิดให้บริการ จะช่วยเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ รฟม. ยังพร้อมขับเคลื่อนโครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาคอีก 4 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง) ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก เพื่อเป็นการรองรับแผนพัฒนาระบบขนส่ง และระบบโลจิสติกส์อื่นๆ ของกระทรวงคมนาคม ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจองค์รวมของประเทศไทยไปจนถึงระดับภูมิภาคอาเซียน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42813
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2023 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เผยคืบหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้า กางแผนลงทุนเมืองภูมิภาค 4 โครงการ
21 สิงหาคม 2566 เวลา 15:30 น.

รฟม.เผยคืบหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้า ตั้งเป้าเปิดบริการสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี ภายในเดือน มิ.ย.2567 พร้อมกางแผนขับเคลื่อนโครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาคอีก 4 โครงการ
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยในโอกาสครบรอบ 31 ปี รฟม. โดยระบุว่า ตลอดระยะเวลา 31 ปี รฟม. ยังคงมุ่งมั่นดำเนินงานตามแผนงานภายใต้นโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม เพื่อให้สามารถส่งมอบการเดินทางที่ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ด้วยระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชน และสานต่อการดำเนินงานในอีกหลากหลายมิติที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อต่อยอดไปสู่การเจริญเติบโตขององค์กร

โดยในปี 2566 รฟม. สามารถเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าเพิ่มเติมได้อีก 1 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง (MRT สายสีเหลือง) มีระยะทางรวมประมาณ 30.4 กิโลเมตร จำนวน 23 สถานี ช่วยเติมเต็มโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าในเขตเมือง ทำให้ประชาชนสามารถเดินทางเชื่อมต่อเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครโดยสะดวก

รฟม.เผยคืบหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้า กางแผนลงทุนเมืองภูมิภาค 4 โครงการ

พร้อมกันนี้ รฟม. ยังเร่งรัดการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี มีระยะทางรวมประมาณ 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในเดือนมิถุนายน 2567 ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี มีระยะทางรวมประมาณ 3 กิโลเมตร จำนวน 2 สถานี ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2568

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มีระยะทางรวมประมาณ 23.6 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2571

และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 35.9 กิโลเมตร จำนวน 28 สถานี ซึ่งแบ่งโครงการออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก (ช่วงสถานีบางขุนนนท์ - สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออก (ช่วงสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - สถานีสุวินทวงศ์) ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดให้บริการทั้งเส้นทางภายในปี 2572

รฟม.เผยคืบหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้า กางแผนลงทุนเมืองภูมิภาค 4 โครงการ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
'ทองคำ' จ่อพุ่ง! หลังปิดฉากดอกเบี้ยขาขึ้น
'ทองคำ' จ่อพุ่ง! หลังปิดฉากดอกเบี้ยขาขึ้น
25 ส.ค. 2566 | 14:05
66
ส่งออก 'ทรุด' 10 เดือนต่อเนื่อง ก.ค. 66 -6.2%
ส่งออก 'ทรุด' 10 เดือนต่อเนื่อง ก.ค. 66 -6.2%
25 ส.ค. 2566 | 13:42
66
ททท.ดึง 'ฮ่องกง' เข้าไทยล้านคน รุกตลาดคู่รัก
ททท.ดึง 'ฮ่องกง' เข้าไทยล้านคน รุกตลาดคู่รัก
25 ส.ค. 2566 | 13:38
41
นอกจากนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) ซึ่งเป็นโครงการรถไฟฟ้าที่ รฟม. เตรียมจะดำเนินการต่อไปในอนาคต โดยมีระยะทางรวมประมาณ 22.1 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี ซึ่งเมื่อโครงการฯ แล้วเสร็จและเปิดให้บริการในอนาคต จะช่วยเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ รฟม. ยังพร้อมที่จะขับเคลื่อนโครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาคอีกจำนวน 4 โครงการ เพื่อเป็นการรองรับแผนพัฒนาระบบขนส่งและระบบโลจิสติกส์อื่นๆ ของกระทรวงคมนาคม ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจองค์รวมของประเทศไทยไปจนถึงระดับภูมิภาคอาเซียน ได้แก่

1.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง

2.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี

3.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

4.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง) ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก - ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 266, 267, 268 ... 279, 280, 281  Next
Page 267 of 281

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©