Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311393
ทั่วไป:13306848
ทั้งหมด:13618241
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 274, 275, 276 ... 279, 280, 281  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45102
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/11/2023 11:49 am    Post subject: Reply with quote

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ต่ำสุด 3 บาท ?
ฐานเศรษฐกิจ
03 พฤศจิกายน 2566
    "สามารถ ราชพลสิทธิ์" ย้ำ นโยบาย รถไฟฟ้า 20บาท ทำค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ต่ำสุด แค่ 3 บาท บางสายค่าโดยสารถูกกว่ารถเมล์
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566ว่า หลายคนคงไม่เชื่อว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ต่ำสุด แค่เพียง 3 บาทเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบจากการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงเหลือ 20 บาทตลอดสาย ทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายหนึ่งมีราคาสูงสุดเพียง 6 บาทเท่านั้น ถูกกว่าค่าโดยสารรถเมล์ !

1. ทำความเข้าใจนโยบาย 20 บาทตลอดสาย

นโยบาย 20 บาทตลอดสาย สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงนั้นไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องจ่าย 20 บาท แต่หมายความว่าค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท นั่นคือก่อนมีนโยบายนี้ผู้โดยสารที่เคยจ่ายค่าโดยสารต่ำกว่า 20 บาท ก็ยังคงจ่ายราคาเดิมหลังจากมีนโยบายนี้แล้ว เช่น เคยจ่าย 17 บาท ก็จ่าย 17 บาทเท่าเดิมต่อไป

2. รถไฟฟ้าสายไหนมีค่าโดยสารต่ำสุด 3 บาท ?

การเดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินไปยังสายสีม่วง จะทำให้รถไฟฟ้าสายสีม่วงมีค่าโดยสารต่ำสุดเพียง 3 บาทเท่านั้น !

ในปัจจุบันค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 17-43 บาท และค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง 14-20 บาท (ไม่ใช่ 20 บาทตลอดสาย)ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 17-43 บาท หมายถึงค่าโดยสารต่ำสุด 17 บาท สูงสุด 43 บาท ในส่วนของค่าโดยสารต่ำสุด 17 บาทนั้น ประกอบด้วย “ค่าแรกเข้าระบบรถไฟฟ้า” 14 บาท ซึ่งเป็นค่าเข้าสู่ชานชาลารถไฟฟ้าที่สถานีแรก ยังไม่ได้ขึ้นรถไฟฟ้า และค่านั่งรถไฟฟ้าจากสถานีแรกไปสู่สถานีที่ 2 ราคา 3 บาท

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง 14-20 บาท หมายถึงค่าโดยสารต่ำสุด 14 บาท สูงสุด 20 บาท ในส่วนของค่าโดยสารต่ำสุด 14 บาทนั้น คิดเฉพาะ “ค่าแรกเข้าระบบรถไฟฟ้า” เท่านั้น ซึ่งหมายถึงค่าเข้าสู่ชานชาลารถไฟฟ้าที่สถานีแรก ยังไม่ได้ขึ้นรถไฟฟ้า เมื่อขึ้นรถไฟฟ้าแล้วค่าโดยสารจะเพิ่มเป็น 17 บาท ไปจนถึงสถานีที่ 2 ดังนั้น อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ถูกต้องคือ 17-20 บาท


ยกตัวอย่างการเดินทางจากสถานีบางอ้อไปสู่สถานีบางซ่อน จะต้องนั่งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจากสถานีบางอ้อไปสู่สถานีเตาปูน ค่าโดยสาร 19 บาท แล้วเปลี่ยนไปนั่งรถไฟฟ้าสายสีม่วงจากสถานีเตาปูนไปสู่สถานีบางซ่อน ค่าโดยสาร 17 บาท แต่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลดค่าโดยสารบนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงให้ 14 บาท (ซึ่งเป็นค่าแรกเข้าระบบรถไฟฟ้า) เหลือ 3 บาท (17-14) นั่นหมายความว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงบนเส้นทางนี้ถูกมากคือแค่เพียง 3 บาทเท่านั้น ทำให้ค่าโดยสารรวมตลอดเส้นทางจากสถานีบางอ้อไปถึงสถานีบางซ่อนเท่ากับ 22 บาท (19+3)

3. ทำไม รฟม. จึงลดค่าโดยสารให้ 14 บาท สำหรับการเดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินไปสู่สายสีม่วง ?14 บาท เป็น “ค่าแรกเข้าระบบรถไฟฟ้า” ซึ่งหมายถึงค่าเข้าสู่ชานชาลารถไฟฟ้าที่สถานีแรก ยังไม่ได้ขึ้นรถไฟฟ้า เมื่อขึ้นรถไฟฟ้าแล้วค่าโดยสารจะเพิ่มเป็น 17 บาท และจะเพิ่มขึ้นต่อไปตามจำนวนสถานีแต่ไม่เกินค่าโดยสารสูงสุด

เหตุที่ รฟม. ลดค่าแรกเข้าให้ก็เพราะว่าได้เก็บค่าแรกเข้าที่สถานีแรกบนสายสีน้ำเงินแล้ว ไม่ต้องการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนบนสายสีม่วงอีก กรณีเดินทางจากสถานีบางอ้อไปสู่สถานีบางซ่อน รฟม. ได้เก็บค่าแรกเข้าที่สถานีบางอ้อแล้ว จึงไม่ต้องการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำอีกครั้งที่สถานีเตาปูนเมื่อผู้โดยสารเปลี่ยนจากสายสีน้ำเงินไปสู่สายสีม่วงที่สถานีเตาปูน

4. นโยบาย 20 บาทตลอดสาย ทำให้รถไฟฟ้าสายสีม่วงมีค่าโดยสารสูงสุดเพียง 6 บาทเท่านั้น สำหรับการเดินทางจากสายสีน้ำเงินไปสู่สายสีม่วง

ยกตัวอย่างการเดินทางจากสถานีบางอ้อไปสู่สถานีตลาดบางใหญ่ จะต้องนั่งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจากสถานีบางอ้อไปสู่สถานีเตาปูน ค่าโดยสาร 19 บาท แล้วเปลี่ยนไปนั่งรถไฟฟ้าสายสีม่วงจากสถานีเตาปูนไปสู่สถานีตลาดบางใหญ่ ค่าโดยสาร 20 บาท ซึ่งเป็นค่าโดยสารสูงสุดของสายสีม่วง แต่ รฟม. ลดค่าโดยสารบนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงให้ 14 บาท เหลือ 6 บาท (20-14) นั่นหมายความว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงสูงสุดบนเส้นทางนี้เท่ากับ 6 บาทเท่านั้น ทำให้ค่าโดยสารรวมตลอดเส้นทางจากสถานีบางอ้อไปถึงสถานีตลาดบางใหญ่เท่ากับ 25 บาท (19+6)

5. สรุป

การเดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินไปสู่สายสีม่วง (ขอย้ำว่าเป็นการเดินทางตามเงื่อนไขนี้คือจากสายสีน้ำเงินไปสู่สายสีม่วงเท่านั้น) ส่งผลให้ค่าโดยสารบนสายสีม่วงต่ำสุด 3 บาท สูงสุด 6 บาท ถูกกว่าค่าโดยสารรถเมล์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้รถไฟฟ้าสายสีม่วงขาดทุนบักโกรกไปอีกนานแสนนาน

https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/902293427930094
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42828
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2023 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
รวมเครือข่ายในอนาคตรถไฟฟ้ามหานคร
https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/clare/en/component/content/article/14-research/bangkok-metro-enhancement/104-bangkok-mass-trasit.html?Itemid=141&fbclid=IwAR2hFYoD_MWmmVBQHN2XSjXsNP6O1KfyvpVqu7zh563INedXBTgV2zJ-YDY
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45102
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/11/2023 5:15 am    Post subject: Reply with quote

20ตลอดสายภาระหนักมาก
Source - เดลินิวส์
Thursday, November 23, 2023 04:48

แนะเก็บเป็นโซน20-30บาท เปิดเพดานค่ารถไฟ-รถไฟฟ้า

เมื่อวันที่ 22 พ.ย. ที่โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวเปิดสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตรา ค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบรางว่า การศึกษาจะแล้วเสร็จเดือน ก.พ.67 เพื่อนำไปใช้กำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นค่าโดยสาร รวมถึงมาตรการกำกับค่าโดยสาร ร่างข้อกำหนดกฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมาตรการส่งเสริมการเดินทางด้วยขนส่งมวลชนทางราง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนทางรางได้อย่างเท่าเทียม สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว เมื่อร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ....มีผลบังคับใช้ต่อไป

นายอธิภู กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ได้ขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลเรื่องนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายเร่งด่วน (Quick Win) โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.66 นำร่องในรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และสายสีม่วง ช่วงสถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน กว่า 1 เดือนที่ผ่านมาได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน ปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงในวันจันทร์-ศุกร์ เพิ่มขึ้นประมาณ 11% ขณะที่วันเสาร์-อาทิตย์ เพิ่มขึ้นประมาณ 25% ขณะที่สายสีม่วง วันจันทร์-ศุกร์ เพิ่มขึ้นประมาณ 5% และวันเสาร์-อาทิตย์เพิ่มขึ้นประมาณ 15%

ด้าน รศ.ดร.อำพล การุณสุนทวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งทางราง กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้ข้อสรุปว่า ค่าแรกเข้า และค่าโดยสารรถไฟฟ้า ที่จะใช้กำหนดเป็นเพดานอัตรา

ค่าโดยสารสำหรับรถไฟฟ้าสายใหม่ หรือต่อสัญญาใหม่นั้น จะใช้ค่าที่กำหนดโดย MRT Standardize ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน และ

ปรับขึ้นตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) โดยรถไฟฟ้าประเภท Heavy Rail เหมือนสายสีเขียว น้ำเงิน และม่วง ค่าแรกเข้าอยู่ที่ 14-17 บาท/คน, รถไฟฟ้าโมโนเรล ค่าแรกเข้า 14-15 บาท และรถไฟฟ้าชานเมือง ค่าแรกเข้า 12 บาท และมีค่าโดยสาร 2-3 บาท/คน/กม. ส่วนในภูมิภาค ART ค่าแรกเข้า 14 บาท/คน, แทรมรถไฟฟ้ารางเบา-โมโนเรล ค่าแรกเข้า 13-15 บาท/คน และมี ค่าโดยสาร 2-3 บาท/คน/กม. โดยอัตราค่าโดยสารขั้นสูงจะอยู่ที่ประมาณ 42-45 บาท

ขณะที่รถไฟระหว่างเมืองจากการวิเคราะห์ต้นทุน พบว่า เมื่อปี 62 มีต้นทุนเดินรถ 9,325 ล้านบาท ต้นทุนผู้โดยสารอยู่ที่

1.85 บาท/คน/กม. หากเก็บค่าโดยสารอัตรานี้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) จะไม่ขาดทุน แต่ค่าโดยสารจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 100% เมื่อเทียบกับค่าโดยสารรถไฟที่ปัจจุบันเก็บในอัตรา 0.39-1.48 บาท/คน/กม. ทีมที่ปรึกษาจึงใช้การคำนวณเป็นต้นทุนต่อที่นั่ง พบว่าอยู่ที่ 1.41 บาท/ที่นั่ง/กม. ซึ่งจะเป็นข้อเสนอให้ รฟท. ปรับปรุงค่าโดยสารในส่วนของรถไฟระหว่างเมืองเชิงพาณิชย์ต่อไป ส่วนรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) พบว่า ค่าแรกเข้าควรอยู่ที่ประมาณ 95 บาท และอัตราค่าโดยสารควรอยู่ที่ 1.73 บาท/คน/กม. ในส่วนนี้จะยังไม่รวมกับค่าธรรมเนียมบริการ เพราะรถไฟ และรถไฟความเร็วสูง จะมีที่นั่งแยกเป็นแต่ละชั้น ซึ่งค่าธรรมเนียมจะมีอัตราไม่เท่ากัน

รศ.ดร.อำพล กล่าวอีกว่า ในส่วนของนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น หากดำเนินการในระยะยาว และมีเพดานขั้นสูงที่ 20 บาท จะเป็นภาระงบประมาณของรัฐสูงมาก จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรจะจัดเก็บอัตราค่าโดยสารตามพื้นที่ (Zonal fare) อาทิ โซน 1 เก็บ 20 บาท โซน 2 เก็บ 25 บาท และโซน 3 เก็บ 30 บาท เป็นต้น ซึ่งจะสะท้อนค่าใช้จ่ายจริง และหากให้ภาครัฐชดเชยตลอดไป อาจจะเป็นไปไม่ได้

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับปริมาณผู้โดยสารในระบบขนส่งทางรางทุกระบบ เมื่อวันที่ 21 พ.ย.66 มีผู้ใช้บริการระบบรางรวมทุกระบบ 1,631,599 คน เรียงตามลำดับสูงสุด ดังนี้ รถไฟฟ้า สายสีเขียว 830,138 คน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 474,708 คน รถไฟฟ้าสายสีม่วง 76,960 คน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 70,377 คน รถไฟระหว่างเมือง 64,368 คน รถไฟฟ้าสายสีชมพู 50,910 คน (เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 21 พ.ย.66 เป็นวันแรกเวลาประมาณ 15.00-20.00 น.) รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 35,667 คน และรถไฟฟ้าสายสีแดง 28,471 คน.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 พ.ย. 2566 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42828
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2023 9:21 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
20ตลอดสายภาระหนักมาก
Source - เดลินิวส์
Thursday, November 23, 2023 04:48

แนะเก็บเป็นโซน20-30บาท เปิดเพดานค่ารถไฟ-รถไฟฟ้า
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 พ.ย. 2566 (กรอบบ่าย)


ลิงก์มาแล้ว
“20 บาทตลอดสาย”สร้างภาระงบประมาณหนักมาก
*กรมรางฯรื้อโครงสร้างค่าโดยสารระบบรางใหม่
*รถไฟฟ้าเก็บ 3 โซน20-25-30 บาทสะท้อนจริง
*รถไฟ1.41บาท/กม.-ไฮสปีดเริ่ม95+1.73บาท/กม.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/891534489090453

“20 บาทตลอดสาย” ภาระหนัก! แนะรัฐเก็บค่าโดยสาร 3 โซนพื้นที่แทน
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 19:08 น.


“กรมราง” เปิดเพดานค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าสายใหม่ 12-17 บาท ค่าโดยสาร 2-3 บาท/กม. เพดานขั้นสูงไม่เกิน 45 บาท ขณะที่รถไฟ ชงปรับขึ้นค่าโดยสาร 1.41 บาท/กม. ด้านรถไฟไฮสปีด ค่าแรกเข้า 95 บาท ค่าโดยสาร 1.73 บาท/กม. ปรับขึ้นตามดัชนีราคาผู้บริโภค แนะรัฐเก็บค่ารถไฟฟ้าเป็นโซนแทน 20 บาทตลอดสาย หวั่นระยะยาวเป็นภาระรัฐมากเกิน ขณะที่ผู้โดยสารรางไม่แผ่ว 1.63 ล้านคนแล้ว สายสีชมพูน้องใหม่ เปิด 5 ชั่วโมงใช้บริการเกินครึ่งแสน



“กรมราง” เปิดผลศึกษาแนะภาครัฐลงทุนรถไฟฟ้า คุมค่าโดยสารราคาถูก

ฐานเศรษฐกิจ
22 พฤศจิกายน 2566

กรมรางรับลูก รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ศึกษาเกณฑ์แบ่งพื้นที่ ยึดสูตรข้ามสายโซนเดียวกันค่าโดยสารถูก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 17:50 น.
ปรับปรุง: 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 22:47 น.


กรมรางศึกษาอัตราค่าโดยสารระบบรางขั้นสูง ค่าแรกเข้า และเกณฑ์ขึ้นราคา สนองนโยบาย 20 บาทตลอดสาย กำหนดพื้นที่ ข้ามสายแต่โซนเดียวกันจ่ายถูก "สีชมพู" ปังตามคาด เปิดทดลองฟรีวันแรก แค่ 5 ชม.ยอดกว่า 4 หมื่นคน

วันที่ 22 พ.ย. 2566 นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง ว่า ในการศึกษาจะรวบรวมข้อมูลโครงสร้างต้นทุนของระบบขนส่งมวลชนทางรางในปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสรุปรูปแบบการกำหนดอัตราค่าโดยสารระบบขนส่งทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมืองภูมิภาค และการเดินทางระหว่างจังหวัด กำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกแรกเข้า โครงสร้างอัตราค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนทางรางที่เหมาะสม รวมถึงกำหนดมาตรการด้านการกำกับอัตราค่าโดยสาร การบูรณาการ มาตรการเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งทางรางที่เหมาะสม และมาตรการชดเชยรายได้จากการจัดเก็บค่าโดยสาร


นอกจากนี้ ยังมีหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง เบื้องต้นหลักเกณฑ์จะพิจารณาจากโครงการ อัตราค่าโดยสารขั้นสูง ราคาค่าโดยสารที่ผู้โดยสารสามารถจ่ายได้ และการลงทุนของเอกชน เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ กำหนดราคาค่าโดยสารต่อเอกชนในอนาคต

ขณะที่จากการวิเคราะห์การปรับค่าแรกเข้าและอัตราค่าโดยสาร เบื้องต้นมองว่ารูปแบบที่เหมาะสมในการกำหนดอัตราค่าโดยสารควรให้ภาครัฐลงทุน และให้เอกชนรับจ้างเดินรถแบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง ทำให้รัฐกำหนดค่าโดยสารได้ สำหรับรถไฟฟ้าในเมือง ค่าแรกเข้าอยู่ที่ 14 บาท และคิดอัตราค่าโดยสาร 2 บาทต่อกิโลเมตร ส่วนรถไฟความเร็วสูง ค่าแรกเข้าจะอยู่ที่ 95 บาท และอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 1.73 บาทต่อกิโลเมตร



ส่วนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ที่ต้องการปรับลดอัตราค่าโดยสาร สูงสุด 20 บาทตลอดสาย ในรถไฟฟ้า 2 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้า MRTสายสีม่วง และสายสีแดง ส่งผลทำให้ จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสายสีแดง วันเสาร์-อาทิตย์ ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 25% ขณะที่ วันจันทร์-ศุกร์ เพิ่มขึ้น 15% ส่วนสายสีม่วงหากเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 5% ส่วน วันจันทร์-ศุกร์ เพิ่มขึ้น 15% และมองว่าหลังจากนี้รูปแบบที่เหมาะสม ยังเป็นการให้ภาครัฐเป็นเจ้าของสัมปทานและจ้างเอกชนบริหารการเดินรถ

ขณะที่ในการศึกษา ยังมีแนวคิด กำหนดอัตราค่าโดยสารตามพื้นที่ (Zone fare) กรณีที่ 1 เดินทาง ต้นทาง ปลายทาง โซนเดียวกัน คิดค่าโดยสาร 20 บาท อาทิ โซนของสายสีน้ำเงินในปัจจุบันที่มีคนเดินทาง 70% ของคนกรุงเทพฯ 2. กรณีต้นทาง ปลายทาง เดินทางข้าม 1 โซน คิดอัตราค่าโดยสาร 25 บาท 3. กรณีเดินทางข้ามสาย แต่ต้นทาง ปลายทาง อยู่โซนเดียวกัน คิดอัตราค่าโดยสาร 20 บาท เช่น น้ำเงิน-ม่วง ( หลักสอง- คลองบางไผ่), เขียว-ม่วง (เคหะ-คลองบางไผ่)



4. กรณีข้ามสาย และต้นทาง ปลายทาง ต่างโซน คิดอัตราค่าโดยสาร 30 บาท เช่น เขียว-ม่วง (สยาม-คลองบางไผ่) น้ำเงิน-เขียว (สนามไชย-เคหะ)

โดยคาดว่าจะสามารถจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เพื่อเสนอต่อรัฐบาลต่อไป

รองอธิบดีกรมรางกล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการกรมการขนส่งทางราง ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นหนึ่งในหมวดของร่างพระราชบัญญัติขนส่งทางราง พ.ศ. … ที่ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเสนอของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทำให้ยังไม่สามารถที่จะพิจารณาเรื่องดังกล่าวได้


@สีชมพู ปังตามคาด เปิดทดลองฟรี วันแรก แค่ 5 ชม.ยอดกว่า 4 หมื่นคน

ขณะที่ภาพรวมของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ที่เพิ่งเปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา ช่วงเวลา 15.00-20.00 น. พบว่ามีผู้โดยสารมาใช้บริการประมาณ 40,000 คน โดยสายสีชมพูสามารถเชื่อมต่อกับ MRT สายสีม่วง รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีเขียว เชื่อว่าในอนาคตการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีม่วงและสายสีแดงจะไม่มีปัญหาค่าแรกเข้า เหมือนกับสายสีเหลืองกับสายสีน้ำเงิน ซึ่งต้องรอหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เจรจากับเอกชนต่อไป


Last edited by Wisarut on 23/11/2023 7:11 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42828
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2023 7:08 pm    Post subject: Reply with quote

อึ้ง 30 วัน รถไฟฟ้าสายสีแดง-สายสีม่วง 20 บาทตลอดสาย ขาดทุนวันละ 7.4 ล้าน

ฐานเศรษฐกิจ
23 พฤศจิกายน 2566


เจ๊งวันละ 7.4 ล้านบาท! รถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วง 20 บาทตลอดสาย
23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13:04 น.

สามารถแฉรถไฟฟ้าสีแดง-ม่วง 20 บาทตลอดสายครบ 30 วัน แล้ว ผงะ! ขาดทุนวันละ 7.4 ล้านบาท ถามไปต่อหรือพอแค่นี้ ที่สำคัญอย่าลืมทุกสายต้อง 20 บาทเพราะหาเสียงไว้

23 พ.ย.2566 - ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ไปต่อหรือพอแค่นี้? อึ้ง 30 วัน 20 บาทตลอดสาย ขาดทุนวันละ 7.4 ล้าน!” ระบุว่า น่าแปลกใจที่ รมว.คมนาคม ไม่แถลงข่าวการใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงหลังจากที่ใช้ครบ 30 วัน หรือ 1 เดือนแล้ว ซึ่งพอจะประเมินได้แล้วว่าผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจหรือไม่ ? ต่างกับวันเปิดใช้นโยบายนี้ในวันแรกเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2566 ที่ รมว.คมนาคมแถลงข่าวใหญ่โตด้วยการชูธนบัตร 20 บาท พร้อมยิ้มกว้างต่อหน้านักข่าวมากมาย

1. ประเมินนโยบาย 20 บาทตลอดสาย ในช่วง 30 วัน เป็นการเปรียบเทียบผลก่อนใช้นโยบายนี้ 30 วัน ในช่วงระหว่างวันที่ 16 ก.ย. 2566 ถึงวันที่ 15 ต.ค. 2566 กับหลังใช้นโยบายนี้ 30 วัน ในช่วงระหว่างวันที่ 16 ต.ค 2566 ถึงวันที่ 14 พ.ย. 2566 โดยไม่รวมวันหยุดนักขัตฤกษ์

2. รายได้ลดลงวันละ 5 แสน ขาดทุนวันละ 7.4 ล้าน หลังใช้นโยบาย 20 บาทตลอดสาย เป็นเวลา 30 วัน พบว่ารถไฟฟ้า 2 สายนี้ มีรายได้เฉลี่ยวันละ 1.3 ล้านบาท ประกอบด้วยรายได้สายสีแดง 5 แสนบาท สายสีม่วง 8 แสนบาท ลดลงจากเดิมวันละ 5 แสนบาท คิดเป็น 28% ในขณะที่มีรายจ่ายค่าจ้างเดินรถทั้ง 2 สาย เฉลี่ยวันละ 8.7 ล้านบาท ทำให้ขาดทุนวันละ 7.4 ล้านบาท

ในส่วนของปริมาณผู้โดยสาร พบว่ารถไฟฟ้า 2 สายนี้ มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 91,450 เที่ยว หากผู้โดยสารเดินทางวันละ 2 เที่ยว/คน ก็จะคิดเป็นจำนวนคนได้วันละ 45,725 คน ประกอบด้วยผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง 13,064 คน สายสีม่วง 32,661 คน เพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 10,893 เที่ยว หรือวันละ 5,446 คน คิดเป็น 13%

3. ไปต่อหรือพอแค่นี้ ? เป็นหน้าที่ของ รมว. คมนาคม ที่จะต้องพิจารณาว่า รายได้ที่ลดลงคุ้มกับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ ? และที่สำคัญ จะต้องหาทางทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญให้ได้

ผมขอแนะนำให้ รมว. คมนาคม แอบลงพื้นที่ไปสังเกตการณ์การใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงตามสถานีต่างๆ โดยไม่ต้องเชิญนักข่าวไปด้วย จะได้ข้อเท็จจริงว่าเหตุใดผู้โดยสารจึงเพิ่มขึ้นไม่มากตามที่ตั้งเป้าไว้ แล้วหาทางแก้ไขเพื่อทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างมากให้ได้ ซึ่งจะช่วยลดการขาดทุนลงได้

ช่วงนี้เป็นโอกาสดีที่จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากมีการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีชมพู ซึ่งมีสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง ทำให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพูเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ส่งผลให้รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม รมว. คมนาคม จะต้องเร่งใช้นโยบาย 20 บาทตลอดสาย สำหรับรถไฟฟ้าทุกสายทุกสี โดยจ่าย 20 บาทครั้งเดียว ใช้สายไหน สีไหนก็ได้ ไม่เฉพาะแต่รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงเท่านั้น ตามที่ได้หาเสียงไว้


Last edited by Wisarut on 23/11/2023 11:18 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42828
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2023 11:11 pm    Post subject: Reply with quote

สภาองค์กรผู้บริโภคเสนอ ครม.ล็อกค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพูไม่เกิน 20 บาท
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ เศรษฐกิจ
21 พฤศจิกายน 2566


สภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอ ครม. คิดค่าโดยสาร “รถไฟฟ้าสายสีชมพู” ไม่เกิน 20 บาท เท่ากับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงให้ทุกคนขึ้นได้ ขออย่าซ้ำรอยสายสีเหลืองที่คิดแพงเกินจริง
ตามที่กระทรวงคมนาคมกำหนดเปิดให้รถไฟฟ้าสายสีชมพูทดลองนั่งฟรีเริ่มวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 จากนั้นจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบเชิงพาณิชย์ (เก็บค่าโดยสาร) ในวันที่ 18 ธันวาคม 2566 โดยคาดว่าภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ กระทรวงคมนาคม จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ เพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท นั้น

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค หรือ สภาผู้บริโภค เห็นว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพูในราคาเริ่มต้นที่ 15 - 45 บาทต่อเที่ยวนั้น เป็นราคาที่สูงเกินไปสำหรับผู้บริโภค ท่ามกลางปัญหาค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นในปัจจุบัน เช่นเดียวกับเมื่อครั้งเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่มีเสียงสะท้อนของประชาชนจำนวน ถึงราคาค่าโดยสารที่แพงเกินกว่าที่ผู้บริโภคจะแบกรับได้เช่นกัน

นอกจากนี้ จากผลการศึกษาของนักวิชาการ สภาผู้บริโภค ชี้ชัดเจนว่า ค่าใช้จ่ายเดินรถต่อคนต่อเที่ยวของผู้บริโภคระหว่างปี 2557–2562 มีต้นทุนเฉลี่ยต่อคนต่อเที่ยวโดยสารระหว่าง 10.10– 16.30 บาท ขึ้นกับจำนวนผู้โดยสารและค่าใช้จ่ายในแต่ละปี รวมถึงผลการศึกษาของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันที่ยืนยันว่า ค่าบริการเดินรถประมาณ 11-13 บาทต่อคนต่อเที่ยว

สอดคล้องกับข้อมูลโครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบรางของกรมการขนส่งทางรางที่ระบุว่า ค่าเฉลี่ยต้นทุนงานระบบรถไฟฟ้าต่อผู้โดยสาร (30 ปี) ถ้าเป็น Heavy rail จะอยู่ที่ 14.31 บาท หรือ LRT หรือ Monorail จะอยู่ที่ 11.67 บาท เท่านั้น


จากข้อมูลดังกล่าว สภาผู้บริโภคเห็นว่า การกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพูสูงสุดตลอดสายไม่เกิน 20 บาท เหมือนรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีม่วงนั้น เพียงพอกับค่าบริหารจัดการเดินรถของเอกชน โดยที่รัฐบาลไม่ต้องสมทบและไม่ขาดทุน เพราะสายสีชมพูมีเส้นทางวิ่งผ่านจุดเศรษฐกิจสำคัญ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล แหล่งชุมชนต่าง ๆ

ขณะที่กระทรวงคมนาคมคาดการณ์ว่า เมื่อเปิดทดลองให้นั่งฟรีจะมีผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูมากกว่า 1 แสนคนต่อวัน และเมื่อเก็บค่าโดยสารแล้ว คาดว่าผู้โดยสารจะอยู่ที่ 5-6 หมื่นคนต่อวัน

ทั้งนี้ เพื่อให้รถไฟฟ้าสีชมพู เป็นบริการขนส่งมวลชนที่ทุกคนขึ้นได้ทุกวันจริง สภาผู้บริโภคจึงเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณากำหนดค่าโดยสารสายสีชมพูในราคาสูงสุดไม่เกิน 20 บาทเช่นเดียวกับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงและรถไฟฟ้าสายสายสีม่วง

อย่างไรก็ดี ข้อมูลกระทรวงคมนาคมพบว่า ตลอดเวลา 1 เดือนของการทำนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท มีค่าเฉลี่ยของปริมาณผู้โดยสารระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงในช่วงวันทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.47 และช่วงวันหยุดมีผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.84 และมีผู้โดยสารสูงสุดในวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ที่เพิ่มขึ้นถึง 34,018 คน

ขณะที่ค่าเฉลี่ยของปริมาณผู้โดยสารระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงวันทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.72 และช่วงวันหยุดมีผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.88 และมีผู้โดยสารสูงสุดในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นสูงสุด 76,926 คน

นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท มีผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์ และมีผู้โดยสารมาใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น จะลดค่าเดินทางด้วยรถยนต์ ประเมินมูลค่าการเงินทางด้านเศรษฐศาสตร์ และเวลาในการเดินทาง ค่าความสุข และการลดความสูญเสียทางถนน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งสิ้น 79.35 ล้านบาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 952.23 ล้านบาทต่อปี ถือเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมที่คุ้มค่ามาก

นอกจากนี้ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคและภาคประชาสังคม ได้รณรงค์ให้ “ขนส่งมวลชนทุกคนขึ้นได้ทุกวัน” โดยให้รัฐตั้งเป้าหมายสนับสนุนให้ประชาชนเดินออกจากบ้าน 500 เมตร เจอบริการขนส่งสาธารณะเพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในเทศกาลต่างๆ การจราจรที่ติดขัด และปัญหาสุขภาพจากฝุ่น PM 2.5 ปัญหาโลกร้อนที่ยังไม่สามารถจัดการได้ และคนใช้รถยนต์อาจจะต้องจ่ายเงินเพื่อรับผิดชอบต่อการปล่อยมลพิษเพิ่มขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45102
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/11/2023 5:23 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
อึ้ง 30 วัน รถไฟฟ้าสายสีแดง-สายสีม่วง 20 บาทตลอดสาย ขาดทุนวันละ 7.4 ล้าน

ฐานเศรษฐกิจ
23 พฤศจิกายน 2566

รถไฟฟ้า 20 บาท'เบาไม่ได้'
Source - เดลินิวส์
Friday, November 24, 2023 04:13

นโยบายรัฐบาล-เพื่อไทย เจรจาสีชมพูฟรีถึงปีใหม่

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ "ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์" ว่า การดำเนินนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาล มาเป็นเวลากว่า 1 เดือน ซึ่งนำร่องในรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน พบว่า ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีแดง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และคาดว่าหลังจากนี้จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป ขณะนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งจัดรถโดยสารประจำทาง หรือระบบขนส่งสาธารณะประเภทต่าง ๆ เพื่อเป็นขนส่งสาธารณะรอง (ฟีดเดอร์) อำนวยความสะดวกการเดินทางมาใช้บริการรถไฟฟ้าให้แก่ประชาชน คาดว่าจะช่วยดึงดูดประชาชน ใช้บริการมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสายสีม่วง

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคม วิเคราะห์ตัวเลขรายได้ของรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีม่วงที่จะลดลงไว้อยู่แล้ว และยังคงอยู่ในกรอบงบประมาณที่กระทรวงคมนาคมตั้งไว้ ยืนยันว่ากระทรวงคมนาคม จะเดินหน้านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายต่อไป เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาล และพรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้ในการเลือกตั้งด้วย ยังไม่มีนโยบายที่จะจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นโซนพื้นที่ตามผลการศึกษาของกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ที่ระบุว่าเป็นภาระของงบประมาณชดเชย โดยภายใน 2 ปีหลังจากนี้ จะพยายามดำเนินการในรถไฟฟ้าสายสีอื่น ๆ ให้ได้ กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อเจรจากับเอกชนผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ

นายสุริยะ กล่าวอีกว่า นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย มีวัตถุประสงค์หลักที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาภาวะมลพิษ รวมถึงลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ประหยัดต้นทุนด้าน สิ่งแวดล้อม และยังช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประหยัดเวลาในการเดินทางบนถนน นอกจากนี้ยังช่วยให้การเดินทางโดยรถยนต์ลดลง ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และยังส่งเสริมให้ประชาชนมาใช้ระบบรางมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากคำนวณเป็นมูลค่า จะคุ้มค่ามากกว่าการที่รถไฟฟ้าทั้ง 2 สายรายได้ลดลง

นายสุริยะ กล่าวด้วยว่า กระทรวงคมนาคม เตรียมเจรจากับผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. ที่กำลังทดลองเปิดให้ประชาชนใช้บริการโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (ฟรี) รวม 26 วัน ถึงวันที่ 17 ธ.ค. 66 เพื่อขอให้ขยายเวลาบริการฟรีไปจนถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ประชาชนตามข้อสั่งการของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ด้วย ได้รับรายงานเบื้องต้นว่าหลังจากเปิดบริการฟรีมาตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 พ.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45102
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/11/2023 5:51 am    Post subject: Reply with quote

ส่องโมเดลค่ารถไฟฟ้า 20 บาททำได้จริง? | BUSINESS WATCH | 23-11-66
TNN Online
Nov 23, 2023

นโยบายรถไฟฟ้าตลอดสาย 20 บาทของรัฐบาลที่เริ่มเห็นนำร่องในสายสีแดงและสายสีม่วงแล้วนั้นพบว่า 1 เดือนทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างมาก ล่าสุดทากรมการขนส่งทางรางเร่งศึกษาโมเดลอัตราการจัดเก็บค่าโดยสาร 20บาททุกสายสามารถทำได้จริงหรือไม่อย่างไร

ส่องโมเดลรถไฟฟ้าตลอดสาย 20 บาทของกรมการขนส่งทางราง ทุกสายทำได้จริงหรือไม่ หลังรัฐบาลนำร่องสายสีแดง-สายสีม่วง 1 เดือน พบผู้โดยสารใช้บริการพุ่งสูงขึ้น ล่าสุดคนกรุงได้ใช้สายสีชมพูฟรี ลุ้นยาวถึงต้นปีหน้า ส่วนสายสีเขียวส่วนต่อขยายเตรียมควักจ่ายเริ่มม.ค.นี้


https://www.youtube.com/watch?v=0BoSXA70Esc

เทียบฟอร์มรถไฟฟ้าเมืองใหญ่ในอาเซียน #BUSINESSWORLD | BUSINESS WATCH | 23-11-66
TNN Online
Nov 23, 2023

ไปดูระบบขนส่งมวลชนในเมืองขนาดใหญ่อย่าง กรุงเทพฯ-จากาต้า-กัวลาลัมเปอร์-มะนิลาและ สิงคโปร์ซิตี้ว่าใครเป็นอย่างไร

ส่องโมเดลรถไฟฟ้าตลอดสาย 20 บาทของกรมการขนส่งทางราง ทุกสายทำได้จริงหรือไม่ หลังรัฐบาลนำร่องสายสีแดง-สายสีม่วง 1 เดือน พบผู้โดยสารใช้บริการพุ่งสูงขึ้น ล่าสุดคนกรุงได้ใช้สายสีชมพูฟรี ลุ้นยาวถึงต้นปีหน้า ส่วนสายสีเขียวส่วนต่อขยายเตรียมควักจ่ายเริ่มม.ค.นี้


https://www.youtube.com/watch?v=gYd65w5TD9Y
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45102
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/11/2023 6:58 am    Post subject: Reply with quote

20บาทสีแดงขาดทุนเพิ่มวันละแสน
Source - เดลินิวส์
Monday, November 27, 2023 05:42

น้อยกว่าที่คาดไว้มาใช้เยอะ ปลายปีจะพุ่งขึ้น4หมื่นคน

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) เปิดเผยว่า ภาพรวมปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2.9 หมื่นคนต่อวัน เพิ่มขึ้นประมาณ 16% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ที่ยังไม่มีนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาล รวมถึงการเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (ฟรี) ซึ่งเชื่อมต่อกับสายสีแดงที่สถานีหลักสี่ คาดว่าหลังจากนี้ปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งเป้าหมายว่าปลายเดือน ธ.ค. 66 หรือประมาณต้นปี 67 จะถึง 4 หมื่นคนต่อวัน

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า ตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย. 66 ที่เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู พบว่า สถานีหลักสี่ มีความคึกคักอย่างมาก ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 50% จากปกติผู้โดยสารสถานีหลักสี่ อยู่ที่ประมาณ 2,000 คนต่อวัน เพิ่ม ขึ้นเป็นกว่า 3,000 คนต่อวัน โดยขึ้นมาใกล้เคียงกับสถานีรังสิต แล้ว ปัจจุบันสถานีรังสิต เป็นสถานีที่มีผู้โดยสารสูงสุดเป็นอันดับ 3 จากทั้งหมด 13 สถานี มีผู้ใช้บริการอยู่ที่ประมาณ 3,600 คนต่อวัน

ขณะที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ยังครองตำแหน่งผู้ใช้บริการสูงสุดกว่า 8,000 คนต่อวัน และอันดับ 2 สถานีดอนเมือง ประมาณ 4,200 คนต่อวัน

นายสุเทพ กล่าวอีกว่า ในส่วนของรายได้รถไฟฟ้าสายสีแดง ยอมรับว่าลดลง แต่ถือว่าดีกว่าที่คาดการณ์ไว้โดยก่อนหน้านี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประมาณการขอรับเงินชดเชยจากรัฐบาลตามรายได้ที่ลดลงจริง จากนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ประมาณ 77 ล้านบาทต่อปี ขณะนั้นตั้งเป้าหมายว่าผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้น 20% จากการประเมินเบื้องต้นพบว่านโยบายนี้เพียง 1 เดือน ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาแล้วประมาณ 16% ดังนั้นหากครบ 1 ปี คาดว่าผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% และรายได้ที่รัฐต้องชดเชยให้ รฟท. อาจไม่ถึง 77 ล้านบาท โดยจะขอรอสรุปเมื่อครบ 1 ปีอีกครั้ง โดยก่อนหน้านี้ไม่มีนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย รายได้สายสีแดงอยู่ที่ประมาณวันละ 6 แสนบาท ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณวันละ 5 แสนบาท

นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า แม้ปริมาณผู้โดยสารจะยังไม่เป็นไปตามผลการศึกษาที่คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ประมาณ 8.4 หมื่นคนต่อวัน แต่ถือว่าผู้โดยสารเป็นไปตามเป้าหมายใหม่ที่วางไว้แล้วว่า จะเพิ่มขึ้น 10% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งปี 65 ผู้โดยสารอยู่ที่ 1.6 หมื่นคนต่อวัน ทั้งนี้ปัจจุบัน รฟฟท. ได้พยายามเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในทุกสถานี อาทิ ที่นั่งพักคอย และป้ายบอกทาง รวมถึงเร่งปรับปรุงลิฟต์ และบันไดเลื่อน เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง โดยในส่วนของสถานีหลักสี่ มีทางเดินเชื่อมต่อแบบหลังคาคลุมทั้งหมดไปยังรถไฟฟ้าสายสีชมพูได้เลย ไม่ต้องกลัวร้อนแดด หรือกลัวเปียกฝน นอกจากนี้ประมาณเดือน ธ.ค.นี้เตรียมเปิดทางเดินลอยฟ้า (Sky Walk) เชื่อมต่อกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ด้วย

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทสายสีแดง มีรายได้ประมาณ 6 แสนบาทต่อวัน รายจ่ายประมาณ 1.2 ล้านบาท ขาดทุนประมาณ 6 แสนบาทต่อวัน นโยบาย 20 บาทตลอดสาย รายได้ 5 แสนบาทต่อวัน ทำให้ขาดทุนประมาณ 7 แสนบาทต่อวัน (ขาดทุนเพิ่ม 1 แสนบาทต่อวัน) อย่างไรก็ตามการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ โดยปกติจะเริ่มทำกำไรได้ประมาณช่วงปีที่ 9-10 เป็นต้นไป สายสีแดงเปิดบริการมาแล้วประมาณ 2 ปี.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 28 พ.ย. 2566 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42828
Location: NECTEC

PostPosted: 01/12/2023 5:49 am    Post subject: Reply with quote

‘สามารถ’ฟันธง ค่าโดยสาร‘รถไฟฟ้า’ทั้งวันทุกสายไม่อั้นเป็นไปได้ แต่ราคาต้องสมเหตุสมผล-รัฐจ่ายชดเชย
วันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 21.04 น.



วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวในรายการ “แนวหน้าTalk” ทางช่องยูทูบ “แนวหน้าออนไลน์” ซึ่งมี นายจิตกร บุษบา เป็นพิธีกร ในประเด็นนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ที่มีข่าวว่าทำให้เกิดปัญหาการขาดทุนวันละ 7.4 ล้านบาท ว่า ตนเห็นด้วยกับการทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง แต่ต้องอยู่บนความสมเหตุสมผลและความเป็นไปได้

โดยหากย้อนไปในปี 2547 สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสมัยนั้นคือนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งก็เป็นคนเดียวกับ รมว.คมนาคมคนปัจจุบัน ก็เคยพยายามจะทำให้อยู่ที่ 15 บาทตลอดสาย แต่ก็ทำไม่สำเร็จเพราะรัฐก็ต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อซื้อสัมปทานคืน ต่อมาในปี 2554 รัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็ต้องการทำให้ค่าโดยสารอยู่ที่ 20 บาทตลอดสายอีก แต่สุดก็ทำไมได้เช่นกัน ในเวลานั้นตนตั้งกระทุ้ถามแล้วก็ได้รับคำตอบว่า ต้องรอให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าแล้วเสร็จครบ 10 สายเสียก่อน ซึ่งก็ไม่มีทางเป็นไปได้ภายใน 4 ปี



แต่การเลือกตั้งในปี 2562 และปี 2566 พรรคเพื่อไทยก็ยังคงหาเสียงเรื่องนี้เช่นเดิม ซึ่งตนก็เสนอแนะว่ารัฐบาลสามารถทำได้หากยินดีชดเชยการขาดทุน และไม่จำเป็นต้องรอถึงปีใหม่ อย่างสายสีแดงและสีม่วง สามารถทำได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 และสุดท้ายก็เริ่มทำในวันที่ 16 ต.ค. ปีเดียวกัน แน่นอนว่าผลที่ออกมาคือขาดทุน ซึ่งจริงๆ หากจะพูดให้เป็นธรรมคือของเดิมก็ขาดทุนกันมาก่อนอยู่แล้ว แต่วิธีการที่ดีคือต้องทำให้ขาดทุนน้อยลง วันละ 7.4 ล้านบาทไม่ใช่เงินจำนวนน้อยๆ หากคิดเป็นปีหนึ่งก็กว่า 2 พันล้านบาท


“ทำไม 20 บาท? ผมไม่ทราบ คงคิดว่าคนส่วนใหญ่สามารถจ่ายได้ แต่เอาเข้าจริงเรื่องค่าโดยสาร 20 บาทต่อสายไม่ดึงดูดให้คนมาใช้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีปัจจัยอื่นอีก เช่น การเดินทางเข้า-ออกสถานีรถไฟฟ้า ในบางสถานีนั้นเราหาสถานีแทบไม่เจอ หายากมากโดยเฉพาะสายสีแดงจากบางซื่อไปตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร หาสถานียากจริงๆ ตรงนี้ต้องมีป้ายบอกเส้นทาง มีที่จอดรถ ระบบอาคารจอดแล้วจรต้องทำเอื้อประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการด้วยถึงจะทำให้คนมีเพิ่มขึ้น” นายสามารถ กล่าว

นายสามารถ กล่าวต่อไปว่า ตนอยากให้โครงการนี้สำเร็จ คือค่าโดยสารถูกลง แต่ก็ต้องลดการขาดทุนลงให้ได้ด้วย โดยหากเป็นตนจะใช้นโยบาย 50 บาท นั่งได้ทุกสายทั้งวัน หากใช้ 2 เที่ยวต่อวัน อยู่ที่เที่ยวละ 25 บาท หรือ 4 เที่ยวจ่อวันจะอยู่ที่เที่ยวละ 12.50 บาท เชื่อว่าจะทำให้คนมาใช้บริการมากขึ้น และเอาจริงๆ ที่เริ่มทำจากสายสีแดงกับสีม่วงก็ไม่ตรงตามที่หาเสียงไว้ แต่ที่เลือกทำเพราะทั้ง 2 สายเป็นของรัฐโดยตรง และสำหรับสายสีม่วงก็เป็น 20 บาทตลอดสายมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้ว เพียงแต่อาจมีการประชาสัมพันธ์น้อย


แต่หากจะทำให้ได้กับรถไฟฟ้าทุกสาย อย่างแรกต้องเริ่มจากการเจรจากับผู้รับสัมปทาน โดยเจ้าที่มีส่วนแบ่งรายได้มากที่สุดคือ BTS รองลงมาคือ BEM โดยเฉพาะการเจรจากับ BTS หากทำได้สำเร็จตนเชื่อว่า BEM ก็จะยอมเช่นกัน ซึ่งสาระสำคัญของการเจรจาคือรัฐจะชดเชยรายได้ที่น้อยลงอย่างไร ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ได้รับความร่วมมือเพราะเขาทำสัญญาสัมปทานกับรัฐมาว่าต้องเก็บค่าโดยสารอัตราหนึ่ง เช่น สายสีเขียว 17-47 บาท หากเก็บ 20 บาทตลอดสายย่อมมีรายได้ลดลง อย่างไรก็ต้องไม่ยอม

“รัฐต้องชดเชยให้เขาปีหนึ่งประมาณ 1.2 - 1.3 หมื่นล้านบาท ถือว่าไม่น้อย แต่ถ้าใช้นโยบายของผม 50 บาททั้งวันตลอดสายไม่อั้นทุกสายทุกสีได้หมด อันนี้ชดเชยประมาณ 7.5 พันล้านบาท คือคนใช้บริการมากกว่า รัฐควักกระเป๋าน้อยกว่า คือรถไฟฟ้าบางสายผู้โดยสารน้อยมากจริงๆ สร้างแล้วไม่คุ้มค่า สร้างแล้วปล่อยว่างปล่อยโล่งไว้ ควรจะมีคนใช้บริการมาก เพื่อว่าเราลดการสูญเสียพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง มลภาวะมี PM2.5 น้อยลง เอาประโยชน์ทางนั้นประโยชน์ทางอ้อมมา” นายสามารถ ระบุ

นายสามารถ ยังกล่าวอีกว่า ส่วนคำถามเรื่องรัฐบาลจะทำนโยบาย 20 บาทตลอดสายต่อไปหรือไม่ ตนเชื่อว่าต่อไปจะมีการทำ 20 บาทตลอดสาย ในรถไฟฟ้าทุกสาย ซึ่งก็ต้องไปเจรจากับทั้ง BTS และ BEM ให้ได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเสนอของตนจะอยู่ที่ 50 บาทตลอดสาย แม้จะสูงกว่าแต่เป็นไปได้มากกว่า เพราะการซื้อบัตร 50 บาท ไปที่ไหนก็ได้ทั้งวัน เชื่อว่าจะดึงดูดให้คนมาใช้บริการมากขึ้น


ขณะที่ระบบตั๋วร่วมที่พูดกันมานานกว่า 20 ปี อาจจะมีผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งไม่ยอม เพราะทำให้เสียค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว ซึ่งในปัจจุบัน เช่น เมื่อจะใช้บริการสายสีเขียว ผู้โดยสารก็ต้องเสียค่าแรกเข้า หมายถึงค่าเข้าจากสถานีไปชานชาลา จำนวน 14 บาท จากนั้นเมื่อจะไปต่อสายสีน้ำเงินก็ต้องเสียค่าแรกเข้าอีก 14 บาท แต่หากเป็นตั๋วร่วมใบเดียวจะทำให้การเสียแบบนี้หายไป

อย่างปัจจุบันหากนั่งสายสีม่วงจากบางใหญ่มาถึงเตาปูนแล้วไปต่อสายสีน้ำเงิน 14 บาทที่เป็นค่าแรกเข้า รฟม. ยกเว้นให้ผู้โดยสาร แต่ รฟม. ชดเชยให้ BEM ที่เป็นผู้รับสัมปทาน เพราะ 14 บาทนั้น BEM ไม่ยอมลดให้ ซึ่งก็เป็นธรรมดาเพราะการลดหมายถึงเสียรายได้ แต่เมื่อมีการชดเชยก็เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ ตนหวังให้ข้อเสนอของตนถูกนำไปใช้และทำให้เรื่องทุกอย่างจบลงได้ในรัฐบาลชุดนี้ เพราะจะเป็นประโยชน์กับประชาชน ตนไม่สงวนลิขสิทธิ์ สามารถนำไปใช้ได้เลย เชื่อว่าจะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ได้ผลมากกว่า 20 บาทตลอดสายแน่นอน และเป็นภาระของรัฐน้อยลงด้วย

“จาก 1.2 – 1.3 หมื่นล้าน อาจลดลงเหลือ 7 – 7.5 พันล้าน และต่อไปจะลดลงเรื่อยๆ เพราะคนจะมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ เงินชดเชยจะต่ำลงเรื่อยๆ จนไม่ต้องชดเชย ถ้าทำวิธีนี้กับทุกคนไม่ว่าคนไทย-คนต่างชาติ 50 บาทตลอดสาย คนต่างชาติผมว่าเขายินดี ไม่ต้องเก็บแพง เพราะเขาต้องมาช่วยซื้อสินค้าของเราแถวถนนสุขุมวิท แถวถนนพหลโยธิน ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว ผมว่าเป็นไปได้แน่” อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. กล่าว
https://www.youtube.com/watch?v=Wee9IoOFQuQ
Wisarut wrote:
อึ้ง 30 วัน รถไฟฟ้าสายสีแดง-สายสีม่วง 20 บาทตลอดสาย ขาดทุนวันละ 7.4 ล้าน

ฐานเศรษฐกิจ
23 พฤศจิกายน 2566


เจ๊งวันละ 7.4 ล้านบาท! รถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วง 20 บาทตลอดสาย
23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13:04 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 274, 275, 276 ... 279, 280, 281  Next
Page 275 of 281

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©