RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273992
ทั้งหมด:13585288
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 276, 277, 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2024 10:52 am    Post subject: Reply with quote

คนกรุงเทพ-คนปริมณฑลรอลุ้นสร้างรถไฟฟ้าอีก 45 เส้นทาง มี 4 เส้นทางจำเป็นและพร้อมสร้างทันที ลงทุนทั้งรถรางไฟฟ้ารางเดี่ยว และรางคู่ไฟฟ้า
BY WHATSUP
วันอังคาร ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2567

กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region : M–Map) จนแล้วเสร็จไปหลากหลายสายทาง ในปัจจุบัน กรมการขนส่งทางรางอยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M–Map 2)
.
กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ดำเนินการศึกษาโครงการเสร็จแล้วเมื่อ ธ.ค. 2566 ต่อไปจะรายงานผลการศึกษาถึงกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลผลการศึกษาไปบูรณาการต่อไป
.
สำหรับผลการศึกษาในเบื้องต้นได้จัดลำดับความสำคัญแผนการพัฒนา M–Map 2 แบ่งเป็น 4 กลุ่ม 45 เส้นทาง ประกอบด้วย
.
1. เส้นทางที่มีความจำเป็น / มีความพร้อม (สามารถดำเนินการได้ทันที) จำนวน 4 เส้นทาง ดังนี้
1.1 รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงรังสิต – ธรรมศาสตร์ (Commuter)
1.2 รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา (Commuter)
1.3 รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช (Commuter)
1.4 รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – บึงกุ่ม (Light Rail Transit/Monorail/Automated Guideway Transit)
.
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ปัจจุบัน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแหก่งประเทศไทย (รฟม.) ศึกษารูปแบบการลงทุนแล้วเสร็จ ควรจะต้องตรวจสอบว่าการดำเนินโครงการจะมีผลกระทบต่อโครงการอื่นๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะนำไปสู่การฟ้องร้องของเอกชนคู่สัญญาในอนาคตต่อไป
.
2. เส้นทางที่มีความจำเป็น แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน โดยคาดว่าดำเนินการภายใน ปี พ.ศ. 2572 จำนวน 6 เส้นทาง ดังนี้
2.1 รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ –หัวลำโพง (Commuter) ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างเสนอปรับตำแหน่งสถานี จึงต้องออกแบบและศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)อีกครั้ง เนื่องจากรูปแบบโครงการดำเนินการเป็นใต้ดิน เพราะหากดำเนินการ open trench จะเกิดปัญหาจราจรในช่วงก่อสร้าง โดยจะใช้หัวรถจักรไฟฟ้า ซึ่งทำเป็นใต้ดินได้ และไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำท่วม ซึ่งรฟท. อยู่ระหว่างทบทวนการออกแบบและศึกษาความเหมาะสม
2.2 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส (Heavy Rail) เป็นรถไฟฟ้าที่ต้องดำเนินการพร้อมกับรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ – พญาไท – หัวลำโพง ซึ่งยังไม่มีการศึกษาแต่อย่างใด
2.3 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงบางหว้า – ตลิ่งชัน (Heavy Rail) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขออนุมัติรายงาน EIA
2.4 รถไฟฟ้าสายสีเทาวัชรพล – ทองหล่อ (Light Rail Transit/Monorail/ Automated Guideway Transit) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขออนุมัติ EIA
2.5 รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงวงเวียนใหญ่ – บางบอน อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบแนวเส้นทางใหม่ หลังจากเขตทางเดิมตามแนวที่ทำไว้ ไม่เพียงพอจนไม่อาจก่อสร้างได้ และ 2.6รถไฟฟ้าสายสีเงินช่วงบางนา – สนามบินสุวรรรณภูมิ อยู่ระหว่างรอ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) พิจารณาตำแหน่งที่ตั้งอาคารผู้โดยสาร (Terminal) ด้านใต้ของสนามบิน และอยู่ระหว่างขออนุมัติรายงาน EIA
.
3. เส้นทางที่มีศักยภาพ เนื่องจากผ่านการศึกษาความคุ้มค่าในโครงการ M-Map 1 หรือเป็นเส้นทางใหม่ที่มีปริมาณผู้โดยสารถึงเกณฑ์ทีจะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าได้ จำนวน 9 เส้นทาง ดังนี้
3.1 รถไฟฟ้าสายสีฟ้า สาธร – ดินแดง (Light Rail Transit/Monorail/Automated guideway transit)
3.2 รถไฟฟ้าสายสีเขียว คูคต – วงแหวนรอบนอก (Heavy Rail)
3.3 รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล – ลำลูกกา (Light Rail Transit/Monorail/Automated guideway transit)
3.4 รถไฟฟ้าสายสีเทา พระโขนง – ท่าพระ (Light Rail Transit/Monorail/Automated guideway transit)0
3.5 รถไฟชานเมืองสายสีแดง หัวลำโพง – วงเวียนใหญ่ (Commuter) ควรออกแบบเป็นอุโมงค์ เพื่อลดผลกระทบเวนคืนที่ดิน ซึ่งผ่านบริเวณที่ชุมชนหนาแน่น โดย รฟท. อยู่ระหว่างทบทวนการออกแบบและศึกษาความเหมาะสม
3.6 รถไฟชานเมืองสายสีแดง บางบอน – มหาชัย – ปากท่อ (Commuter) ออกแบบตามแนวเส้นทางใหม่ เนื่องจากเขตทางเดิมไม่เพียงพอไม่สามารถก่อสร้างได้ โดย รฟท. อยู่ระหว่างทบทวนการออกแบบและศึกษาความเหมาะสม
3.7 รถไฟฟ้าสายสีเขียว สมุทรปราการ – บางปู (Heavy Rail)
3.8 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางแค – พุทธมณฑล (Heavy Rail) อยู่ระหว่างการขออนุมัติ EIA 9. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลิ่งชัน – รัตนาธิเบศร์ (Heavy Rail)
.
4. เส้นทางเชื่อมต่อ (Feeder) แผนงานจะพัฒนาเป็นระบบ Feeder เช่น Bimodal Tram ล้อยาง รถเมล์ไฟฟ้า จำนวน 26 เส้นทาง ดังนี้
4.1 ลาดพร้าว – รัชโยธิน – ท่าน้ำนนท์
4.2 ดอนเมือง – ศรีสมาน
4.3 ศาลายา – มหาชัย
4.4 ศรีนครินทร์ – บางบ่อ
4.5 คลอง 6 – องครักษ์
4.6 รัตนาธิเบศร์ – แยกปากเกร็ด
4.7 คลองสาน-ศิริราช
4.8 บางซื่อ – พระรามที่ 3
4.9 ราชพฤกษ์ – แคราย
4.10 พระโขนง – กิ่งแก้ว
4.11 บางซื่อ – ปทุมธานี
4.12 เมืองทอง – ปทุมธานี
4.13 บางแค – สำโรง
4.14 แพรกษา – ตำหรุ
4.15 ธรรมศาสตร์ – นวนคร
4.16 บางนา – ช่องนนทรี
4.17 สุวรรณภูมิ – บางบ่อ
4.18 บรมราชชนนี - ดินแดง – หลักสี่
4.19 ธัญบุรี – ธรรมศาสตร์
4.20 คลอง 3 – คูคต
4.21 มีนบุรี - สุวรรณภูมิ – แพรกษา-สุขุมวิท
4.22 เทพารักษ์ – สมุทรปราการ
4.23 บางใหญ่ – บางบัวทอง
4.24 บางปู – จักรีนฤบดินทร์
4.25 ครุใน – สมุทรปราการ
4.26 ปทุมธานี – ธัญบุรี
.
อ่านเพิ่มเติม คลิก 👉https://bit.ly/47nbaVk
https://www.facebook.com/btimesch3/posts/919615869528857
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44650
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/01/2024 3:52 pm    Post subject: Reply with quote

มาแน่! รถไฟฟ้า 4 สาย กางแผนรถไฟสายใหม่จ่อสร้างปีนี้ | TNN ข่าวเที่ยง | 4-1-66
TNN Online
Jan 4, 2024

ปี 2567 กระทรวงคมนาคมตั้งเป้าเพิ่มปริมาณการขนส่งทางราง ทั้งด้านการโดยสาร การท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้า ลดความแออัดบนถนน ทั้งรถไฟทางคู่และรถไฟฟ้า รวม 14 โครงการที่เตรียมประมูล และก่อสร้างในปีนี้ ภายใต้วงเงินลงทุน 5.7 แสนล้านบาท ลิซาพาไปดูรายละเอียดกันค่ะ


https://www.youtube.com/watch?v=NbjlQBvOcw0
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2024 11:00 am    Post subject: Reply with quote

เปิดคืบหน้าก่อสร้างส่วนต่อขยายสีชมพู-ม่วง ลุยรถไฟฟ้าเชียงใหม่ เปิดพีพีพี พร้อมหารูปแบบเหมาะสม
เศรษฐกิจ
วันที่ 8 มกราคม 2567 เวลา 17:45 น.

เปิดคืบหน้าก่อสร้างส่วนต่อขยายสีชมพู-ม่วง ลุยรถไฟฟ้าเชียงใหม่ เปิดพีพีพี พร้อมหารูปแบบเหมาะสม

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รายงานความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 ดังนี้


1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ความก้าวหน้างานโยธา 47.87% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 28.75% ความก้าวหน้าโดยรวม 41.44%

2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.63 กิโลเมตร ความก้าวหน้างานโยธา 24.60%

Advertisement

ในวันเดียวกันนี้ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นางสาวณภัทรา กมลรักษา ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก และนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะทางราง ทางถนน และทางอากาศ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) รฟม. และคณะผู้บริหาร รฟม.ร่วมลงพื้นที่

โดยคณะได้ลงพื้นที่สำรวจแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคตของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณสถานีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถานีศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมเกี่ยวกับโครงการ

นายสุรพงษ์กล่าวว่า การลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้เป็นการติดตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งระบบขนส่งทางราง ทางถนน และทางอากาศ ซึ่งนับเป็นการบูรณาการภารกิจด้านการคมนาคมขนส่งภายใต้กำกับของกระทรวงในทุกมิติอย่างครอบคลุม เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เข้าด้วยกัน อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่และรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในอนาคต

โดยได้มอบนโยบายให้ รฟม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาการพัฒนาโครงข่ายและแนวเส้นทางโครงการให้ครอบคลุมพื้นที่ที่สำคัญ เช่น หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่ย่านธุรกิจต่างๆ รวมทั้งการจัดการจราจรในพื้นที่เขตเมือง ที่จะช่วยลดปัญหาการจราจรทั้งในระยะการก่อสร้างโครงการและระยะเปิดให้บริการ โดยคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยของประชาชน รวมถึงความคุ้มค่าด้านงบประมาณเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ให้ รฟม.พิจารณาจัดทำแผนงานโครงการที่เหมาะสมและเร่งรัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานต่อไป

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ โดยมีระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit : LRT) เป็นระบบหลัก ประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี สายสีน้ำเงิน ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่-แยกศรีบัวเงินพัฒนา และสายสีเขียว ช่วงแยกรวมโชคมีชัย-ท่าอากาศยานเชียงใหม่

โดยที่ผ่านมา รฟม.ได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มอบหมายให้ รฟม.ดำเนินโครงการในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership หรือ PPP) โดยดำเนินการในส่วนของสายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี เป็นลำดับแรก ตามลำดับความสำคัญ

ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานของโครงการร่วมกันของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อหาเทคโนโลยีและรูปแบบที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44650
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2024 6:59 pm    Post subject: Reply with quote

5 อันดับ ‘รถไฟฟ้า’ ยอดฮิต สะท้อนดีมานด์ขนส่งสาธารณะ
กรุงเทพธุรกิจ 13 ม.ค. 2567 เวลา 6:12 น.

“กรมการขนส่งทางราง” เปิดสถิติผู้ใช้บริการรถไฟโดยสารปี 2566 พุ่งสูงมากกว่า 488 ล้านคนเที่ยว โชว์ 5 อันดับ “รถไฟฟ้า” ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด สะท้อนเทรนด์ประชาชนปรับพฤติกรรมนิยมเดินทางระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น

กรมการขนส่งทางราง รวบรวมข้อมูลปริมาณผู้ใช้บริการรถไฟโดยสารประเทศไทย ประจำปี 2566 โดยพบว่ามีปริมาณการเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ มีผู้ใช้รวมทั้งหมด 488,735,151 คน-เที่ยว ปรับตัวสูงมากกว่า 40% หากเทียบกับปี 2565 ที่มีผู้ใช้รวมทั้งหมด 337,389,095 คน-เที่ยว

ซึ่งปัจจัยบวกเกิดจากโครงข่ายระบบรางเปิดให้บริการเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และรถไฟระหว่างเมือง ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี รวมไปถึงรถไฟชานเมืองสายสีแดง ที่เชื่อมต่อการเดินทางจากระหว่างตลิ่งชัน - บางซื่อ - รังสิต สร้างความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่เมืองชั้นในได้มากขึ้น

อย่างไรก็ดีในปี 2566 กรมการขนส่งทางรางยัง รวมรวมสถิติปริมาณผู้ใช้บริการรถไฟโดยสารประเทศไทย แบ่งแยกตามโครงข่ายที่ให้บริการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล พบว่ามี


5 อันดับโครงข่ายรถไฟที่ประชาชนนิยมเดินทางสูงสุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระบบรถไฟฟ้า ได้แก่

1. สายสีเขียว 264,066,131 คน-เที่ยว คิดเป็น 54.03% ของการเดินทางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

2. สายสีน้ำเงิน 137,336,127 คน-เที่ยว คิดเป็น 28.1% ของการเดินทางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

3. แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 22,495,300 คน-เที่ยว คิดเป็น 4.6% ของการเดินทางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

4. สายสีม่วง 18,398,106 คน-เที่ยว คิดเป็น 3.76% ของการเดินทางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

5. สายสีเหลือง 8,296,347 คน-เที่ยว คิดเป็น 1.7% ของการเดินทางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

ทั้งนี้ สถิติการปริมาณผู้ใช้บริการระบบรถไฟที่เกิดขึ้นนั้น สะท้อนให้เห็นว่าปัจจุบันประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลตอบรับต่อการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่สามารถสร้างความสะดวกสบายในการเดินทางให้แก่ประชาชน ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้น และยิ่งเห็นสัญญาณบวกใช้บริการเพิ่มขึ้นจากนโยบายรัฐบาลผลักดัน “รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย”

5 อันดับ ‘รถไฟฟ้า’ ยอดฮิต สะท้อนดีมานด์ขนส่งสาธารณะ

อ้างอิงจากผลการให้บริการตาม นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ของระบบรถไฟชานเมือง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ เมื่อวันที่ 16 ต.ค.2566 ซึ่งเป็นวันแรกของการให้บริการ หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ พบว่ามีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย รวมทั้งหมด 94,446 คน-เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้นทันทีจากวันที่ 15 ต.ค. 2566 ที่มีผู้โดยสารจำนวน 50,564 คน-เที่ยวต่อวัน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการผลักดันให้ประชาชนปรับพฤติกรรมมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะระบบขนส่งทางรางเพื่อการเดินทางเป็นหลัก แน่นอนว่านอกจากการให้บริการที่สะดวกสบายและจัดทำโปรโมชันจูงใจในการเดินทางแล้ว การพัฒนาโครงข่ายให้สามารถเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น จะสร้างโอกาสในการปรับพฤติกรรมเดินทางของประชาชนในวงกว้าง และยังขยายเมืองสู่พื้นที่ชั้นนอก

“พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์” อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า กรมฯ ได้จัดทำแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางสอบถามความต้องการการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ได้ข้อสรุปออกมาเป็นแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่ประชาชนต้องการให้พัฒนารวม 33 เส้นทาง และจะถูกบรรจุไว้ในแผนแม่บทรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ฉบับใหม่ หรือ M-MAP 2

โดยผลการศึกษาเบื้องต้น ได้จัดลำดับความสำคัญแผนการพัฒนา M-MAP 2 แบ่งเป็น 4 กลุ่ม พบว่ากลุ่ม A1 ถือเป็นเส้นทางที่มีความจำเป็น มีความพร้อมในผลการศึกษาต่างๆ และ สามารถดำเนินการทันที รวมจำนวน 4 เส้นทาง วงเงินลงทุนรวมกว่า 63,474 ล้านบาท ได้แก่

1.รถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต – ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 6,468 ล้านบาท

2. รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 10,670 ล้านบาท

3. รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 4,616 ล้านบาท

4.รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – บึงกุ่ม ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 41,720 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44650
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/01/2024 1:12 pm    Post subject: Reply with quote

ผังเมืองกทม. ขีดแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่บูมทำเลทอง
ฐานเศรษฐกิจ
17 มกราคม 2567

ขณะการวิเคราะห์ของ “พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ” บริษัทวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ระบุว่า ในร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4) มีประเด็นที่น่าสนใจ คือเรื่องของโครงการคมนาคม และการขนส่งที่มีแผนผังแสดงแนวเส้นทางชัดเจนในแผนผังฉบับนี้จะมีการแสดงให้เห็นถึงแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เป็นแผนการพัฒนาในอนาคตและถนนเส้นทางต่างๆ

ที่อยู่ในแผนการพัฒนาของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นๆ หรือที่มักจะเรียกกันในแรกๆ ว่าถนนผังเมืองซึ่งเรื่องของเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ในแผนการพัฒนานั้น มีทั้งส่วนต่อขยาย และเส้นทางใหม่ที่ยังไม่เริ่มการก่อสร้างโดยเส้นทางที่น่าสนใจ คือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (หัวลำโพง- ปากท่อ) หรือเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้มเพราะเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่ล่าสุดเปลี่ยนแนวเส้นทางไปจากเดิม

โดยเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มเป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่และมีการเปลี่ยนแนวเส้นทางจากเดิมจะใช้เส้นทางรถไฟปัจจุบันที่วิ่งจากสถานีวงเวียนใหญ่ไปยังสถานีมหาชัย แต่แนวในร่างผังเมืองรวม เปลี่ยนไปใช้แนวถนนอินทรพิทักษ์ และถนนเทอดไท จากนั้นเข้าถนนวุฒากาศ แล้วใช้ถนนเอกชัยยาวไปถึงสถานีปลายทาง โดยเส้นทางช่วงตั้งแต่หัวลำโพงมาถึงก่อนที่จะเข้าถนนเอกชัยเป็นโครงสร้างใต้ดินตลอดเส้นทางซึ่งถือว่าดีเพราะถนนเทอดไทมีขนาดเขตทางค่อยข้างแคบซึ่งนึกภาพไม่ออกว่าถ้าสร้างรถไฟฟ้าแบบโครงสร้างบนดินจะทำได้อย่างไร

เช่นเดียวกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง - สาทร) เชื่อว่าบางคนอาจจะไม่เคยได้ยินหรือรับรู้มาก่อนถึงเส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางนี้เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าระยะทางสั้นๆ รวมแล้วประมาณ 9.5 กิโลเมตร และมีสถานีทั้งหมด 9 สถานีเท่านั้น

โดยเส้นทางนี้เริ่มต้นจากสถานีประชาสงเคราะห์ ซึ่งเป็นสถานีร่วมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม และแนวเส้นทางลงมาทางทิศใต้ตามแนวถนนประชาสงเคราะห์ ผ่านเคหะชุมชนดินแดง แยกประชาสงเคราะห์ จุดตัดถนนดินแดงจากนั้นยกระดับข้ามทางพิเศษศรีรัชบริเวณบึงมักกะสัน เข้าสู่พื้นที่ของศูนย์คมนาคมมักกะสัน โดยวิ่งไปทางทิศตะวันออกตามแนวเขตทางที่เตรียมไว้สำหรับระบบรางเดี่ยวภายในศูนย์คมนาคมมักกะสัน ผ่านสถานีมักกะสัน

จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนอโศก-ดินแดง และเลี้ยวขวาอีกครั้งที่แยกอโศก-เพชรบุรี เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี ผ่านแยกมิตรสัมพันธ์ จุดตัดถนนนิคมมักกะสัน และซอยนานาเหนือ ยกระดับข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณทางขึ้น-ลงทางด่วนเพชรบุรี เลี้ยวซ้ายที่แยกวิทยุ-เพชรบุรีเข้าสู่แนวถนนวิทยุลงมาทางทิศใต้ ผ่านแยกเพลินจิต แยกถนนพระรามที่ 4 เข้าสู่ถนนสาทรไปสิ้นสุดที่แยกช่องนนทรีใกล้สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี เป็นเส้นทางสั้นๆ แต่ผ่านจุดสำคัญ และสามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นๆ หลายเส้นทาง

ทั้งสายสีส้มที่สถานีประชาสงเคราะห์ สายสีนํ้าเงิน แอร์พอร์ตเรลลิงก์ และสายสีแดงอ่อนที่สถานีมักกะสัน สายสีเขียว (สุขุมวิท) ที่สถานีเพลินจิต สายสีนํ้าเงินที่สถานีลุมพินี และสายสีเขียว (สายสีลม) ที่สถานีช่องนนทรี จากข้อมูลล่าสุดอยู่ในระหว่างการยื่นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ถ้าสามารถทำได้ตามที่วางแผนไว้คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี2572

เส้นทางรถไฟฟ้าอีกหนึ่งเส้นทางที่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่แนวเส้นทางใหม่มาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่ชัดเจน ซึ่งเมื่อแนวเส้นทางเข้าไปอยู่ในแผนผังแสดงโครงการคมนาคม และการขนส่ง ในร่างผังเมืองรวมซึ่งเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-ท่าพระ)จะเปลี่ยนจากแนวเส้นทางเดิมที่จากถนนพระรามที่ 4 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาทร และเลี้ยวซ้ายอีกครั้งเพื่อเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์ มาจนถึงถนนพระรามที่ 3 โดยเปลี่ยนแนวเส้นทางจากถนนพระรามที่ 4 แล้วเลี้ยวซ้ายมาทางห้าแยก ณ ระนองเข้าสู่ถนนพระรามที่ 3 ทันที

โดยไม่ไปถนนพระรามที่ 4 ถนนสาทร และถนนนราธิวาสราชนครินทร์ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเกิดคำถามว่าเปลี่ยนแนวเส้นทางเพื่อเหตุผลใด ทั้งที่หลายคนมองว่า เส้นทางถนนพระรามที่ 4 ถนนสาทร และถนนนราธิวาสราชนครินทรนั้นดีอยู่แล้วแต่ถนนสาทรช่วงตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 ถึงแยกช่องนนทรี ปัจจุบันอาจจะยังไม่มีเส้นทางรถไฟฟ้า

สำหรับแนวเส้นทางเดิมอยู่ในความดูแลของกทม.มีรูปแบบเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยวแนวเส้นทางจะแบ่งออกเป็นสองช่วงแยกขาดจากกัน ช่วงแรกมีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า สายสีชมพู ที่สถานีวัชรพล จากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรมเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่สถานีลาดพร้าว 83 เชื่อมต่อกับ สายสีส้มที่สถานีวัดพระราม 9 จากนั้นข้ามเส้นทาง รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วง Missing Link บางซื่อ-หัวหมาก เพื่อเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเพชรบุรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าซอยสุขุมวิท 55 (ซอยทองหล่อ) เพื่อสิ้นสุดเส้นทางช่วงแรกที่ สถานีทองหล่อ

อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท และช่วงที่สองมีจุดเริ่มต้นที่รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีพระโขนงจากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนพระราม4 เชื่อมต่อกับ MRT ใต้ดิน สีนํ้าเงิน ที่ สถานีศูนย์ การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีคลองเตย และ สถานีลุมพินี แล้วเบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสาทรไปเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีช่องนนทรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายวิ่งตามแนวของรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ ที่จะยกเลิกโครงการเมื่อมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาไปจนถึงปลายทางสถานีราชพฤกษ์

อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมอีกจุดหนึ่งที่ สถานีตลาดพลู แล้วมุ่งหน้าขึ้นทางเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษกไปสิ้นสุดที่ สถานีท่าพระอันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีก 1 จุดระยะทางรวมประมาณ 40 กิโลเมตร

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มตามแนวผังเมืองรวมกทม.(ปรับปรุงครั้งที่4)สายสีเทา สายสีฟ้า

การวางและจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่4) เดิมมีเป้าหมายปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนสิ้นสุดภายใน วันที่22 มกราคม2567 แต่เนื่องจากมีประชาชน และองค์กรหลายภาคส่วน ออกมาคัดค้าน ในหลายประเด็น และท้วงติงว่าการเปิดรับฟังความเห็นประชาชนสั้นเกินไป และอาจเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม ได้มากขึ้นโดยเฉพาะในซอยแคบ สะท้อนจากการกำหนดแนวถนนตามผังเมืองรวม และอาจนำมาซึ่งการเวนคืนขยายเขตทางในอนาคต ซึ่งเกรงว่าชุมชนจะได้รับผลกระทบ

ดังนั้น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) มีนโยบายขยายเวลาการรับฟังความคิดเห็นประชาชนออกไปจนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ นี้ เพื่อรวบรวมเสียงสะท้อนที่ได้นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้ผังเมืองรวมที่ดีที่สุดต่อไป และคาดว่าจะเร่งประกาศใช้ได้ประมาณกลางปีหรือปลายปี 2568

สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การพัฒนาที่เพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ของร่างผังเมืองรวมฉบับใหม่ เกิดจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน มีรถไฟฟ้าเกิดขึ้นในหลายเส้นทางทั้งเปิดให้บริการแล้วและอยู่ระหว่างก่อสร้าง ยังไม่รวมแผนในอนาคตที่มีเป้าหมายให้กทม.เป็นมหานครระบบราง มีเป้าหมายให้ประชาชน อยู่อาศัยและเดินทางโดยรถไฟฟ้าเข้าถึงแหล่งงาน เพื่อแก้ปัญหารถติด และมลพิษทางอากาศ

นายอิสระ บุญยัง ประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ออกแบบและก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ต้องยอมรับว่าร่างผังเมืองรวมฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งเป็นบวกต่อภาคเอกชน และต้องเห็นใจประชาชนที่มีความกังวลว่าอาจเกิดผลกระทบหากมีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นในซอยหรือ บริเวณชุมชน แต่ตามข้อเท็จจริงโดยส่วนตัวมองว่า ผังเมืองรวม ที่ใช้มาถึงปัจจุบัน คือปี 2556 ไม่มีการปรับปรุงมาเป็นเวลา11ปี ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเมืองจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โครงข่ายถนน รถไฟฟ้า ที่รัฐใช้งบลงทุนค่อนข้างสูง

ดังนั้น การปรับผังเมืองจึงมุ่งเน้น ให้ประชาชนอยู่อาศัยและเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนสาธารณะให้สมกับงบประมาณที่รัฐลงทุนไปเพื่อดึงคนจำนวนมากเข้าสู่ระบบราง และเห็นด้วยกับการพัฒนาคอนโดมิเนียมในซอย ที่สามารถเดินออกมาแล้วเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแต่ต้องเป็นขนาดเขตทางที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

เช่นเดียวกับนายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินราคาที่ดินและวิเคราะห์การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่มองว่าผังเมืองรวมใหม่ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เนื่องจากปัจจุบันมีรถไฟฟ้าเกิดขึ้น ทำให้เกิดทำเลทองใหม่หลายพื้นที่ และผลักดันให้ราคาที่ดินขยับขึ้นในหลายทำเลทั้งนี้หากผังเมืองรวมประกาศใช้ และตลาดอสังหาริมทรัพย์อยู่ในช่วงขาขึ้น ประเมินว่าราคาที่ดินจะขยับขึ้นหลายเท่าตัวโดยเฉพาะโซนที่มีการปรับเปลี่ยนสีผัง

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44650
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/01/2024 9:59 pm    Post subject: Reply with quote

ส่องแนวโน้มธุรกิจบริการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ปี 67-69
ฐานเศรษฐกิจ
21 มกราคม 2567

วิจัยกรุงศรี เปิดแนวโน้มธุรกิจบริการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในปี 2567-2569 โดยมีทั้งปัจจัยสนับสนุนเเละปัจจัยที่ท้าทายธุรกิจ

วิจัยกรุงศรี เปิดเเนวโน้ม "ธุรกิจบริการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน" โดยระบุว่า มีแนวโน้มเติบโตในเกณฑ์ดีต่อเนื่องในปี 2567-2569 แม้จะมีเเนวโน้มที่ดีเนื่องจากปัจจัยข้างต้นสนับสนุน เเต่จะมีแรงกดดันจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางกำลังซื้อที่ยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง จึงอาจฉุดรั้งผลประกอบการชะลอลงเล็กน้อย

ปี 2567-2569 รายได้มีแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่อง

ตามจำนวนผู้ใช้บริการที่สามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนทางรางได้มากขึ้น ผลจากการมีโครงข่ายรถไฟฟ้าที่เชื่อมโยงกันรวม 192 สถานี ทั้งรถไฟฟ้าสายหลักและส่วนต่อขยาย ทำให้มีการรับรู้รายได้ตามระยะทางและจำนวนสถานีที่เพิ่มขึ้น โดยในปี 2567 จะเป็นปีแรกที่มีการรับรู้รายได้จากการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีชมพูเต็มปี

นอกจากนี้ ธุรกิจยังมีรายได้จากการให้บริการเดินรถ ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และการให้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้งบนรถไฟฟ้าและบริเวณโดยรอบ ซึ่งถือเป็นรายได้ที่จะได้รับอย่างสม่ำเสมอและมีความต่อเนื่องในระยะยาว

ปัจจัยสนับสนุน

กำลังซื้อผู้บริโภคมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

สอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่ระดับเฉลี่ย 3.0-4.0% ต่อปี ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผนวกกับภาคท่องเที่ยวจะได้แรงหนุนจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะกลับสู่ระดับก่อน COVID (40 ล้านคน) ภายในปี 2568 จะเป็นปัจจัยบวกโดยตรงต่อจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า


การเพิ่มเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายใหม่

ทำให้ภาคเอกชนขยายการลงทุนพัฒนาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าและบริเวณใกล้เคียง ทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชนใหม่ โดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัย และเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งกระจายออกไปบริเวณชานเมืองมากขึ้น โดยวิจัยกรุงศรีคาดว่าปี 2567-2569 การเปิดตัวที่อยู่อาศัยโครงการใหม่จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9.6 หมื่นยูนิตต่อปี

ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ยังปรับเพิ่มพื้นที่สีส้ม คือ ที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และสีแดง คือ ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม ในเส้นทางที่มีรถไฟฟ้าสายใหม่เกิดขึ้น อาทิ ถนนรามคำแหง (รถไฟฟ้าสายสีส้ม) ถนนลาดพร้าว (สายสีเหลือง) และมีนบุรี (สถานีร่วมของรถไฟฟ้าสีชมพูและสีส้ม) ทำให้ผู้พัฒนาโครงการสามารถขยายการลงทุนในพื้นที่ใหม่หรือสร้างอาคารสูงเกิน 23 เมตรได้ ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเส้นทางต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามมา

การเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ของรถไฟฟ้าสายใหม่

สายสีชมพูในปี 2567 และส่วนต่อขยาย (ศรีรัช-เมืองทองธานี) ปี 2568 รวมถึงสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี) ปี 2569) จะเพิ่มโอกาสการเดินทางจากกรุงเทพฯ ชั้นนอกสู่กรุงเทพฯ ชั้นใน และทำให้มีการส่งต่อผู้โดยสารจากพื้นที่ปริมณฑลสู่รถไฟฟ้าสายสีเขียว สีม่วง สีแดง และสีเหลือง ทำให้จำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามเส้นทางที่วิ่งผ่านชุมชนและสถานที่สำคัญ เช่น ศูนย์ราชการ (แจ้งวัฒนะและนนทบุรี) และเมืองทองธานี

ปี 2567 จะเป็นปีแรกที่ผู้ให้บริการรถไฟฟ้ารับรู้รายได้เต็มปีของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีชมพู ซึ่งรวมถึงรายได้จากการให้บริการเชิงพาณิชย์ อาทิ พื้นที่เช่าสำหรับร้านค้า และสื่อโฆษณาบริเวณสถานีโดยรอบ

ผู้บริโภคมีแนวโน้มปรับพฤติกรรมมาใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น

ชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อซึ่งต้องการความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางและมีความแน่นอนด้านเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัด โดย TOMTOM Traffic Index ปี 2565 ระบุว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีการจราจรติดขัดอันดับที่ 57 จาก 390 เมืองใหญ่ทั่วโลกจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณรถยนต์ ซึ่งสอดคล้องกับยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในประเทศปี 2565 ที่ 849,388 คัน เพิ่มขึ้น 11.9% จากปี 2564 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.0-4.0% ต่อปีในปี 2567-2569 เมื่อผนวกกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้มทรงตัวสูงต่อเนื่อง (คาดราคาน้ำมันดิบดูไบจะเฉลี่ยที่ 80-90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) ทำให้การใช้รถไฟฟ้าสาธารณะที่มีเส้นทางครอบคลุมจะเป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจมากขึ้น

ภาครัฐมีแผนจัดระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้าได้สะดวก

เช่น เรือโดยสาร รถโดยสารประจำทาง ชัตเติลบัส และรถจักรยานยนต์รับจ้าง รวมถึงการใช้ระบบตั๋วร่วม (Common Ticket) และการให้ส่วนลดเมื่อมีการเปลี่ยนระบบ อาทิ การลดภาระค่าโดยสารด้วยการเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียวสำหรับการเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าในกำกับรัฐ (รถไฟฟ้ามหานครกับรถไฟฟ้าชานเมืองเริ่มทยอยให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2566 กรณีใช้บริการสายสีแดงเชื่อมต่อสายสีม่วง

และกรณีชำระเงินผ่านบัตร EMV Contactless จะลดค่าแรกเข้าเที่ยวละ 20 บาท หรือ 40 บาทต่อวันทั้งขาไปและกลับ หรือ 800 บาทต่อเดือน คาดให้บริการปี 2567 ซึ่งจะจูงใจให้มีผู้ใช้บริการข้ามเส้นทางมากขึ้น

ปัจจัยท้าทาย

กำลังซื้อของผู้บริโภคยังมีความเปราะบางจากภาระหนี้สินจึงอาจลดทอนความสามารถในการใช้จ่าย
อุปสงค์การเดินทางของนักท่องเที่ยวอาจถูกกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า
ต้นทุนการดำเนินงาน (ได้แก่ค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน และค่าไฟฟ้า) มีความผันผวนในทิศทางปรับสูงขึ้น จึงอาจกดดันอัตรากำไรของธุรกิจเป็นระยะ

ที่มาข้อมูล
แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2567-2569: ธุรกิจบริการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2024 5:44 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดซีรีย์ใหม่ “UPDATE สถานะรถไฟฟ้าความคืบหน้า!! รถไฟฟ้าสายต่างๆ ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล“ 😇
ห่างหายไปสักพักใหญ่ที่เราไม่ได้มาอัปเดตกัน เพราะช่วงหลังหลายโครงการค่อนข้างเงียบ แต่ไหนๆ ช่วงนี้มีขยับคืบหน้ากันหลายสาย เลยคิดว่าเป็นจังหวะดีที่เราจะได้มาอัปเดตความคืบหน้ากันวันละสาย วันละสีครับ
DAY 1️⃣ #รถไฟฟ้าสายสีเขียว (สุขุมวิท)
ประเดิมวันแรก กับรถไฟฟ้าสายแรกของ กทม. “BTS สายสุขุมวิท” นั่นเอง สำหรับสายนี้จะมีโครงการส่วนต่อขยายอยู่ 2 ท่อนด้วยกันครับ
-- ส่วนต่อขยาย คูคต - ลำลูกกา --
เป็นส่วนต่อขยายระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร มีสถานีเพิ่มจากเดิม 4 สถานี คือ สถานีคลองสาม (N25) สถานีคลองสี่ (N26) สถานีคลองห้า (N27) และสถานีวงแหวนลำลูกกา (N28)
#ความคืบหน้า: โครงการมีการศึกษาความเหมาะสมและจัดทำ EIA เสร็จเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2556 แต่ปัจจุบันทาง รฟม. ยังไม่มีกำหนดการเริ่มก่อสร้าง
-- ส่วนต่อขยาย สมุทรปราการ - บางปู --
เป็นส่วนต่อขยายระยะทางประมาณ 9.2 กิโลเมตร มีสถานีเพิ่มจากเดิม 5 สถานี คือ สถานีสวางคนิวาส (E24) สถานีเมืองโบราณ (E25) สถานีศรีจันทร์ประดิษฐ์ (E26) สถานีบางปู (E27) และตำหรุ (E28)
#ความคืบหน้า: โครงการมีการศึกษาความเหมาะสมและจัดทำ EIA เสร็จเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2556 แต่ปัจจุบันทาง รฟม. ยังไม่มีกำหนดการเริ่มก่อสร้างเช่นเดียวกัน
----------
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/980002320153509
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2024 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) 20 สถานี ยกระดับการเดินทาง
หวังว่าจะเริ่มได้ปี 2568 และ เปิดปี 2571
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44650
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/01/2024 8:22 pm    Post subject: Reply with quote

อีกปีครึ่งได้ใช้แน่! รถไฟฟ้า 20 บาททุกสาย
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
Tuesday, January 30, 2024 17:31
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (30 ม.ค. 67)

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม กล่าวถึงการขยายเส้นทางค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายเพิ่มเติม จากปัจจุบันให้บริการเพียง 2 สาย คือ สายสีม่วง และสายสีแดงว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการทำพระราชบัญญัติตั๋วร่วม คาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี ตอนนี้ผ่านไปแล้วครึ่งปี ก็เหลือเวลาอีกประมาณ 1 ปีครึ่ง ก็จะได้ใช้ตั๋วร่วม 20 บาทตลอดสายในทุกสาย

โดย ฐานิสร์ ทองนอก/ปภัสสร องค์พิเชฐเมธา/รัชดา คงขุนเทียน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44650
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/02/2024 3:34 pm    Post subject: Reply with quote

'สุริยะ' กางโรดแมพรถไฟฟ้า 20 บาททุกสายภายใน 2 ปี
กรุงเทพธุรกิจ 01 ก.พ. 2567 เวลา 10:39 น.

“สุริยะ” กางโรดแมพผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครอบคลุมทุกเส้นทางภายใน 2 ปี ชี้ปัจจัยสำคัญต้องเดินหน้า พ.ร.บ.ตั๋วร่วม และจัดตั้งกองทุน เร่งหาเงินอุดหนุนเอกชน 8 พันล้านบาท

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงแผนผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย โdดยระบุว่า หลังจากรัฐบาลได้ประกาศนโยบายลดค่าครองชีพในการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้า และนำร่องปรับราคาค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสาย สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงและรถไฟชานเมืองสายสีแดง พบว่ามีปริมาณผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการระบบรถไฟฟ้ามากขึ้น และล่าสุดในส่วนของรถไฟชานเมืองสายสีแดงยังสามารถทำสถิติผู้ใช้บริการสูงสุด (New High)

อย่างไรก็ดี แผนการดำเนินงานหลังจากนี้ กระทรวงฯ ตั้งเป้าจะผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายให้เกิดขึ้นครอบคลุมระบบรถไฟฟ้าทั้งหมดภายใน 2 ปี ซึ่งขณะนี้เวลาผ่านไปแล้วครึ่งปี จะพยายามดำเนินการให้ออกมาให้เป็นรูปธรรมให้ได้ หากร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ผ่านการพิจารณา เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในกลางปีนี้

“การผลักดันรถไฟฟ้า 20 บาทให้ครอบคลุมทุกเส้นทาง แน่นอนว่าปัจจุบันมีรถไฟฟ้าหลายสายที่บริหารโดยเอกชนที่มีคู่สัญญากับภาครัฐ แนวทางดำเนินงานคือกระทรวงฯ จะไม่ให้กระทบกับสัญญาสัมปทาน ดังนั้นจำเป็นต้องมี พ.ร.บ.ตั๋วร่วม และผลักดันการจัดตั้งกองทุนตั๋วร่วมให้แล้วเสร็จ เพื่อนำเงินในกองทุนดังกล่าวมาชดเชยรายได้ให้แก่เอกชน ไม่ให้ผิดสัญญาสัมปทาน”

ขณะที่ผลการศึกษาในปัจจุบัน กรมการขนส่งทางรางได้มีการประเมินว่าหากใช้นโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย จะต้องใช้เงินชดเชยจำนวนประมาณ 8 พันล้านบาท โดยการจัดหาเงินชดเชยดังกล่าวจึงมองว่าจะต้องมีการจัดตั้งกองทุน และระดมเงินมาจากหลายส่วน อาทิ ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล และส่วนแบ่งรายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่เดิมต้องนำส่งกระทรวงการคลัง เป็นต้น

ดังนั้นในปี 2567 กระทรวงฯ ยอมรับว่าจะยังไม่มีรถไฟฟ้าสายใดที่สามารถเข้าร่วมนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทได้เพิ่มเติม เนื่องจากมีความจำเป็นต้องรอให้มีการพิจารณา พ.ร.บ.ตั๋วร่วม และจัดตั้งกองทุนตั๋วร่วมให้แล้วเสร็จก่อน โดยกรอบการดำเนินงานที่ประเมินไว้ในขณะนี้ คาดว่า พ.ร.บ.ตั๋วร่วมจะสามารถเสนอคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบได้ประมาณเดือน มี.ค. - พ.ค.2567 เนื่องจากสถานะปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนศึกษารายละเอียด รวมถึงข้อกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ

หลังจากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาประมาณเดือน มิ.ย. - พ.ย. 2567 และเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในเดือน ธ.ค. 2567 - ส.ค.2568 เบื้องต้นจึงประเมินว่า พ.ร.บ.ตั๋วร่วม พ.ศ. .... จะสามารถออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ประมาณเดือน ก.ย.-พ.ย.2568 ซึ่งอยู่ในเป้าหมายของกระทรวงฯ ที่จะผลักดันค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสายตามนโยบายสูงสุด 20 บาท

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 276, 277, 278, 279, 280  Next
Page 277 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©