Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273957
ทั้งหมด:13585253
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 277, 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44649
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/02/2024 3:58 pm    Post subject: Reply with quote

1 ก.ย. 68 รถไฟฟ้าทุกสาย 20 บ.
Source - เดลินิวส์
Thursday, February 01, 2024 05:08

'สุริยะ'ประกาศย้ำผมทำได้

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ยืนยันว่านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ยังเป็นโครงการสำคัญที่กระทรวงคมนาคมจะเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมกับรถไฟฟ้าทุกสายภายใน 2 ปี หรือภายในปี 68 หลังเข้ารับตำแหน่งวันที่ 1 ก.ย. 66 เวลานี้ผ่านไปเกือบครึ่งปีแล้ว กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการเรื่องร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อขับเคลื่อนนโยบายโดยเฉพาะการจัดตั้งกองทุนตั๋วร่วมที่จะนำเงินจากส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้จ่ายชดเชยส่วนต่างค่ารถไฟฟ้าให้เอกชนผู้รับสัมปทาน ซึ่งกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ประเมินเบื้องต้นพบว่า ต้องใช้เงินชดเชยฯ ประมาณ 8 พันล้านบาทต่อปี อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะนำเงินจากส่วนใดเข้ากองทุนฯ เบื้องต้นกระทรวงคมนาคมมองไว้หลายแนวทาง อาทิ นำรายได้ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จากการเดินรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ซึ่งปกติต้องนำส่งรายได้ส่วนหนึ่งให้กระทรวงการคลังมาใส่ไว้ในกองทุนฯ, ใช้งบประมาณของรัฐ และใช้เงินจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน กำลังเร่งศึกษารายละเอียด รวมถึงข้อกฎหมาย และกฎระเบียบต่าง ๆ ให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุด ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบได้ประมาณเดือน มี.ค.-พ.ค. 67

จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาประมาณเดือน มิ.ย.-พ.ย. 67 และรัฐสภาพิจารณาเดือน ธ.ค. 67-ส.ค. 68 คาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ประมาณเดือน ก.ย.-พ.ย. 68 ปัจจุบันการบังคับให้เอกชนผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าลดค่าโดยสารเหลือไม่เกิน 20 บาทตลอดสายเป็นเรื่องยาก เพราะติดสัญญาสัมปทานเอกชนและรัฐต้องปฏิบัติตาม ทำได้เพียงแจ้งให้ทราบว่ากระทรวงคมนาคมมีนโยบายนี้ และต้องหาเงินมาชดเชยส่วนต่างค่ารถไฟฟ้าให้เอกชน รวมทั้งต้องเจรจากับเอกชนด้วยว่าแม้รัฐจะชดเชยส่วนต่างให้ แต่หากดำเนินนโยบายนี้แล้ว มีผู้โดยสารรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทางเอกชนต้องช่วยสนับสนุนเงินเข้ากองทุนฯ ด้วยได้หรือไม่ คาดว่าในปี 67 จะยังไม่สามารถดำเนินโครงการนี้ในรถไฟฟ้าสายอื่นเพิ่มเติม นอกจากรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ แต่ยืนยันว่าภายในเวลา 1 ปีครึ่งที่เหลือที่ได้เคยประกาศไว้ว่าค่าโดยสารไม่เกิน 20 บาทตลอดสายจะทำได้แน่นอน

สำหรับนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ของสายสีแดง และสายสีม่วง ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 66 ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยสายสีแดงภาพรวมเฉลี่ยวันละ 3 หมื่นคน วันจันทร์ศุกร์ เพิ่มขึ้น 11.01% วันเสาร์-อาทิตย์ เพิ่มขึ้น 25% ขณะที่ สายสีม่วงภาพรวมเฉลี่ยวันละ 7-8 หมื่นคน วันจันทร์-ศุกร์ เพิ่ม ขึ้น 4% และวันเสาร์-อาทิตย์ เพิ่มขึ้น 13.41% ถือว่าสูงกว่าที่ คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้รายได้ที่จะสูญเสียไปลดลง 25% จากที่คาดการณ์ไว้รวม 2 สายจะสูญเสียรายได้ประมาณ 300 ล้านบาท ต่อปี ทั้งนี้ปัจจุบันรถไฟฟ้าให้บริการเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลรวม 8 สายสีเขียว สีน้ำเงิน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ สีทอง สีแดง สีม่วง สีชมพูและสีเหลือง.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 ก.พ. 2567 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2024 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
1 ก.ย. 68 รถไฟฟ้าทุกสาย 20 บ.
Source - เดลินิวส์
Thursday, February 01, 2024 05:08

'สุริยะ'ประกาศย้ำผมทำได้


ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 ก.พ. 2567 (กรอบบ่าย)


ลิงก์มาแล้วครับ:

ติ๊กปฎิทินไว้ 1 ก.ย.68 นั่งรถไฟฟ้าทุกสายเก็บ 20 บาท
*“สุริยะ”ประกาศยืนยันผมทำได้รอใช้บริการได้เลย
*เร่งตั๋วร่วมหาเงินเข้ากองทุนชดเชยเอกชน8พันล./ปี
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/930461828531052
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 03/02/2024 2:10 am    Post subject: Reply with quote

“สุริยะ”อยากสร้างสีเขียวส่วนขยาย“ตากสิน-บางหว้า”
*ไร้เดียงสาไม่ทราบว่าผว.ชัชชาติชงสภากทม.แล้ว
*ยันปีนี้คมนาคมตอกเข็มสายสีแดงต่อขยาย 3 เส้น
*รับโอน“รถไฟฟ้าสายสีเงิน-สีเทา”รอกทม.มาหารือ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/931135708463664
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44649
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/02/2024 9:22 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“สุริยะ”อยากสร้างสีเขียวส่วนขยาย“ตากสิน-บางหว้า”
*ไร้เดียงสาไม่ทราบว่าผว.ชัชชาติชงสภากทม.แล้ว
*ยันปีนี้คมนาคมตอกเข็มสายสีแดงต่อขยาย 3 เส้น
*รับโอน“รถไฟฟ้าสายสีเงิน-สีเทา”รอกทม.มาหารือ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/931135708463664

'สุริยะ' ปลุกแผน M-MAP 2 ดัน 'ต่อขยายสายสีเขียว' บางหว้า-ตลิ่งชัน 1.4 หมื่นล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, February 03, 2024 05:44

สุริยะดันแผน M-MAP2 เตรียมนำร่องรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว บางหว้า-ตลิ่งชัน 1.4 หมื่นล้านบาท หลังพบเส้นทางมีชุมชนหนาแน่น มั่นใจประชาชนได้ประโยชน์ เล็งเชื่อมส่วนต่อ ขยายรถไฟฟ้าสายสีม่วง แนะกทม.หารือร่วม ก่อนชงคจร.ไฟเขียว

ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดแผน M-MAP 1 ซึ่งเป็นแผนโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพ มหานครและปริมณฑลที่จะช่วยให้ประชาชนเชื่อมต่อการเดินทางได้สะดวกมากขึ้น ขณะนี้ยังมีแผนเดินหน้า M-MAP 2 ที่จะเปิดเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่เพิ่มขึ้นอีกหลายเส้นทาง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2" หรือ M-MAP 2 ปัจจุบันกระทรวงมีแผนเร่งรัดโครงการฯนี้ เบื้องต้นจากการสัมมนาของกระทรวงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำร่องในเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท ก่อน เพราะเป็น เส้นทางที่มีความพร้อมและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

นายชยธรรม์ พรหมศรปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีสถานีปลายทางอยู่ที่บางหว้า ซึ่งสถานีนี้เป็นสถานีต้น ทางไปถึงถนนราชพฤกษ์ เนื่องจากพบว่าเป็นเส้นทางที่มีหมู่บ้านเป็นจำนวนมากตลอดทั้งเส้นทาง ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเริ่มดำเนินการ โดยในระยะถัดไปกระทรวงยังมีแผนเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟฟ้าสายดังกล่าวกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ นอกจากนี้ยังมีรถไฟฟ้าช่วงบางนา-สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นเส้นทางที่กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้นำโครงการฯนี้เข้าไปอยู่ในแผน M-MAP 2 ด้วยเช่นกัน

"ส่วนกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) จะรับโครงการรถไฟฟ้าส่วน ต่อขยายสายสีเขียว ช่วงบางหว้า- ตลิ่งชัน ไปดำเนินการเองถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะตรงกับนโยบายของกระทรวงคมนาคม อีกทั้งโครงการฯ เป็นส่วนหนึ่งของแผน M-MAP 2 ขณะนี้พบว่ารถ ไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวมีกทม.เป็นผู้รับผิดชอบ หากจะนำรถไฟฟ้าเส้นทางนี้ขึ้นมาดำเนินการต้องเสนอต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อขออนุมัติ ซึ่งกทม.จะต้องหารือร่วมกับกระทรวงในโครงการฯนี้ด้วย"
ทั้งนี้รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน มีแนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นบริเวณจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายสายสีลม ตากสินเพชรเกษม ที่สถานีบางหว้าจากนั้นไปตามแนวเกาะกลางถนนราชพฤกษ์ ผ่านทางแยกตัดถนนบางแวก (ซอยจรัญฯ 13) แยกตัด ถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4

นายชยธรรม์ กล่าวต่อว่า ในกรณีที่กทม.มีแผนจะโอนกลับคืนให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการ ในโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพลทองหล่อ ระยะทาง 16.3 กิโลเมตร (กม.) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน ช่วงบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 19.7 กิโลเมตร (กม.) นั้น ปัจจุบันกทม.ยังไม่ได้มีการหารือร่วมกับกระทรวงในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ

ที่ผ่านมาโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2" หรือ M-MAP 2 โดยดำเนินการศึกษาแนวเส้นทางโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งจากการทบทวนแผน M-MAP 1 และแผน M-MAP 2 Blueprint

นอกจากนี้แผน M-MAP 2 ทางองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) เคยศึกษาไว้ร่วมกับข้อเสนอแนะจากหน่วยงานและประชาชนในเขตจังหวัดปริมณฑลที่เปิดรับฟังความคิดเห็นและที่ปรึกษาได้นำเสนอเพิ่มเติมเพื่อตอบโจทย์นโยบายการพัฒนา ทำให้ได้แนวเส้นทางระบบรางที่เป็นไปได้ทั้งหมด(Project Long List) โดยนำมาคัดกรอง ทั้งด้านกายภาพและจำนวนผู้โดยสาร เพื่อให้ได้แนวเส้นทางระบบรางที่เลือก (Project Short List) นำมาจัดลำดับความสำคัญและทำแผนการพัฒนาต่อไป

สำหรับแนวเส้นทางระบบรางที่เป็นไปได้ทั้งหมด (Project Long List) ของแผน M-MAP 2 พบว่ามี เส้นทางใหม่ จำนวน 13 เส้นทาง (N) ประกอบด้วย N1 รถ ไฟฟ้าสายสีเงิน บางนา-สุวรรณภูมิ, N2 รถไฟฟ้าสายสายบางบ้าหรุ- ดินแดง-หลักสี่, N3 รถไฟฟ้าสายรังสิต-ธัญบุรี-คลอง6-ธรรมศาสตร์, N4 รถไฟฟ้าสายรังสิต-ปทุมธานี, N5 รถไฟฟ้าสายคลอง 3-คูคต, N6 รถไฟฟ้าสายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท, N7 รถไฟฟ้าสายดอนเมืองศรีสมาน, N8 รถไฟฟ้าสาย พระโขนง-ศรีนครินทร์, N9 รถ ไฟฟ้าสายเทพารักษ์-ราษบูรณะ, N10 รถไฟฟ้าสายศาลายามหาชัย, N11 รถไฟฟ้าสายเลียบ คลองประปา (บางซื่อ-ปทุมธานี), N12 รถไฟฟ้าสายศรีนครินทร์บางบ่อ และ N13 รถไฟฟ้าสายคลอง 6-องค์รักษ์

อย่างไรก็ตามยังมีแนวเส้นทางระบบรางที่เป็นไปได้ทั้งหมดในเส้นทางส่วนต่อขยาย จำนวน8 เส้นทาง (E) ประกอบด้วย E1 รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (สีลม) บางหว้า-รัตนาธิเบศร์แยกปากเกร็ด, E2 รถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย มีนบุรี-ลาดกระบัง, E3 รถไฟฟ้าสายสี ชมพูส่วนต่อขยาย เมืองทองปทุมธานี, E4 รถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยาย บางใหญ่-บางบัวทอง, E5 รถไฟฟ้าสีทองส่วนต่อขยาย (คลองสาน-ศิริราช), E6 รถไฟฟ้าสายสีเงินส่วนต่อขยายสุวรรณภูมิ-บางบ่อ, E7 รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดง บางซื่อ-พระราม 3 และ E8 รถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ลาดพร้าว-รัชโยธินบางอ้อ-ท่าน้ำนนท์

บรรยายใต้ภาพ
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 4 - 7 ก.พ. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2024 11:28 am    Post subject: Reply with quote

🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนมกราคม 2567🔛 ดังนี้
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 51.76% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 30.35% ความก้าวหน้าโดยรวม 44.56%
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 26.26%
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/70794172819072
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2024 6:50 pm    Post subject: Reply with quote

“UPDATE สถานะความคืบหน้า!! รถไฟฟ้าสายต่างๆ ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล“
DAY 1️⃣4️⃣ วันนี้มาปิดท้ายซีรีส์กันกับ #รถไฟฟ้าสายสีฟ้า 🩵 สายที่อยู่ยงคงกระพันสุด รายละเอียดน้อยสุด และมีความเป็นไปได้น้อยสุดครับ
รถไฟฟ้าสายนี้ปรากฎขึ้นมาครั้งแรกในปี 2552 ในแผนแม่บทระบบราง M-MAP 1 โดยเป็น “รถไฟฟ้าโมโนเรลแบบยกระดับ” เริ่มจากบริเวณศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) วิ่งลงมาตามถนนประชาสงเคราะห์จนถึงแยกโบสถ์แม่พระ
แนวเส้นทางจากโบสถ์แม่พระค่อนข้างไม่ชัดเจน จากช่วงเวลาที่ผ่านมาเคยเห็นมีภาพตัวอย่างปรากฎอยู่ในแผน mega project ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมักกะสันคอมเพล็กซ์ หรือโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน หรือมีแนวเส้นทางปรากฏในผังเมืองรวม กทม. แบ่งออกได้เป็น 3 แนวหลักๆ ประมาณนี้ครับ
1. จากแยกโบสถ์แม่พระ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนอโศก-ดินแดง ถึงแยกพระราม 9 แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนอโศก-ดินแดง ซ้อนไปบนเส้นทางเดียวกับ MRT สายสีน้ำเงิน เลี้ยวขวาที่แยกอโศก-เพชรบุรี วิ่งไปตามถนนเพชรบุรี เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิทยุ ตรงมาถึงแยกวิทยุ แล้วซ้อนทับกับเส้นทาง #รถไฟฟ้าสายสีเทา ไปสุดที่แยกสาทร-นราธิวาส
2. จากแยกโบสถ์แม่พระ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนอโศก-ดินแดงประมาณ 750 เมตร แล้วตัดแนวใหม่เลี้ยวเข้าไปทะลุผ่ากลางทุ่งร้างมักกะสัน ด้านข้างฝั่งตะวันตกของสถานี ARL จากนั้นตัดเข้าถนนเพชรบุรีแล้วไปตามเส้นทางข้อ 1.
3. จากแยกโบสถ์แม่พระ ตรงไปตามถนนที่เชื่อมกับถนนจตุรทิศ แล้วข้ามทางด่วนวิ่งตรงไปเข้าทุ่งร้างมักกะสัน เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายหลักในย่านสถานี ARL มักกะสัน ไปเลี้ยวซ้ายออกถนนอโศก-ดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเพชรบุรีแล้วไปตามเส้นทางข้อ 1.
ซึ่งจากในภาพแผนที่ที่เราทำมา เรายึดตามข้อ 1. ซึ่งเป็นเส้นทางที่ระบุอยู่ในร่างผังเมืองรวมฉบับล่าสุดครับ
#ความคืบหน้า: ทาง กทม. ไม่มีการเอ่ยถึงเส้นทางนี้มานานแล้ว และยังไม่มีเคยมีรายงานการศึกษารายละเอียดโครงการ แต่ล่าสุดได้มีการบรรจุเส้นทางนี้เข้าไปในแผนแม่บทระบบรางฉบับใหม่ (M-MAP 2) ด้วยครับ ก็คงจะได้ไปต่อในอนาคตอันไกลครับ 🙈

Note: หลังจากวิเคราะห์จากแผนที่ ผมพบว่า ทางเริ่มมาแต่ สถานีประชาสงเคราะห์ ก่อนเลี้ยวซ้ายตรงหัวถนนมิตรไมตรี ใกล้โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง ก่อนไปตามถนนประชาสงเคราะห์ ผ่านแยกโบสถ์แม่พระ ไปตามถนนดินแดง ก่อนเลี้ยวเข้าถนนอโศก - ดินแดงที่แยกพระรามเก้า ไป intercange ที่สถานีรถใต้ดินเพชรบุรี พร้อมทำทางเชื่อมกะ makkasan central ก่อนหักเลี้ยวไปตามถนนเพชรบุรีตัดใหม่ผ่านแยกมิตรสัมพันธ์ ไป แยก เพชรบุรี - วิทยุ ใกล้อาคารวานิช 2 เข้าไปถนนวิทยุที่ถึงอย่างไงก็ต้องใต้ดิน เพราะ สถานเอกอัคราชทูตท่านไม่ยอมให้ตัดต้นไม้เด็ดขาด โดยมี interchange ที่เพลินจิต กะที่ ลุมพินี ก่อนไปตามคลองสาทร ไปทำสถานีสวนพลู เพื่อให้คนย่านสาทนขึ้นรถได้สะดวกก่อนหมดระยะที่สถานีช่องนนทรีแถว แยกสาทร-นราธิวาส งานนี้ สายสีเทาอาจโดนเปลี่ยนทางก็ได้ และ เส้นทาง BRT อาจโดนรวบก็ได้
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/988572355963172
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2024 7:15 pm    Post subject: Reply with quote

“UPDATE สถานะความคืบหน้า!! รถไฟฟ้าสายต่างๆ ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล“
หายไป 1 วัน กลับมาวันนี้มาอัปเดตสายที่ 1️⃣3️⃣ กันครับ วันนี้เราจะว่าด้วย #รถไฟฟ้าสายสีเงิน หรือชื่อทางการคือ "โครงการระบบรถไฟรางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ"
----------
สำหรับโครงการนี้เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของ กทม. ที่ทาง กทม.วางเส้นทางและศึกษาออกแบบเอง ไม่ได้อยู่ในแผนแม่บทรถไฟฟ้า (M-MAP 1) ครับ ถ้าใครเปิดดูแผนที่รถไฟฟ้าของกรมราง จะเห็นว่าไม่มีสายนี้อยู่ในระบบ โดยทาง กทม. ได้ศึกษาออกแบบรายละเอียดเบื้องต้น กำหนดแนวเส้นทางและตำแหน่งสถานีเอาไว้ตั้งแต่ปี 2556 ที่ผ่านมา โดยในสมัยนั้นยังไม่ได้มีการกำหนดสีของสายนี้เอาไว้เลย
หลังจากนั้นโครงการก็ค่อนข้างจะเงียบๆ ไป จนมาในปี 2564-2565 ที่ กทม. ได้มีการจ้างที่ปรึกษาให้ศึกษาทบทวนโครงการ และวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนร่วมกับเอกชน ว่าจะให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานในรูปแบบไหนดี และชื่อสาย "สีเงิน" ก็เพิ่งจะมากำหนดในการศึกษารอบนี้เอง
ซึ่งหลังจากสรุปผลการศึกษาแล้ว ก็ยังไม่ได้มีการดำเนินการอะไรต่อครับ
----------
อ้อ! ถึงแม้ว่าสายนี้จะไม่ได้อยู่ในแผนแม่บท M-MAP 1 อย่างที่เราบอกไป แต่ในการศึกษาวางแผน M-MAP 2 ที่กำลังรอให้ ครม. เคาะเร็วๆ นี้ ได้บรรจุเส้นทางสายนี้เข้าไปในแผนที่เรียบร้อยครับ ... แต่เขาไม่ได้ใช้เส้นสีเงินนะ ไปใช้เส้นสีน้ำเงินเข้มแทน
----------
สำหรับข้อมูลและภาพตัวอย่างของรถไฟฟ้าสายสีเงิน เราเคยเขียนเอาไว้ที่ http://www.livingpop.com/10-facts-light-rail-bangna... ซึ่งถ้าจะเอามาสรุปสั้นๆ ไว้ตรงนี้ด้วย ก็จะมีประมาณนี้ฮะ
💿 แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเงินจะอยู่บนถนนเทพรัตน (บางนา-ตราด) เริ่มตั้งแต่หัวถนนตรงแยกบางนา ยาวไปจนถึงทางเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ แล้วเลี้ยวเข้าสนามบินไปสิ้นสุดที่ตำแหน่งที่ตั้งของอาคารผู้โดยสารทิศใต้
💿 มีระยะทางรวมโดยประมาณ 19.7 กิโลเมตร มีสถานี 14 สถานี โดยจะมีศูนย์ซ่อมบำรุงเนื้อที่ประมาณ 29 ไร่ อยู่บริเวณด้านหน้าโครงการธนาซิตี้ ใกล้กับทางเข้าสนามบิน
💿 ตามแผนเดิมจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ คือ ส่วนที่อยู่บนถนนบางนา-ตราด จะสร้างก่อน และส่วนที่เลี้ยวเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ จะสร้างเมื่อมีการขยาย Terminal สนามบินมาทางฝั่งทิศใต้
💿 ออกแบบระบบรถไฟเบื้องต้นเอาไว้ให้เป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา หรือ Light Rail หน้าตาคล้าย BTS/MRT แต่ขนาดเล็กกว่านิดหน่อย
💿 แนวเส้นทางหลักๆ จะปักเสาอยู่บนร่องคูน้ำที่กั้นทางหลักกับทางขนาน "ฝั่งขาออก" ของถนนบางนา-ตราด โดยจะมีบางช่วงที่จะหลบไปอยู่ชิดฝั่งทางเท้า เช่น ช่วงที่มีด่านเก็บเงินหรือทางขึ้นลงทางด่วน
💿 ระดับความสูงของรางรถไฟ จะอยู่สูงกว่าพื้นถนนของทางด่วนบูรพาวิถีประมาณ 1-2 เมตร
----------
#ความคืบหน้า: เช่นเดียวกับสายสีเทา ก็คือปัจจุบันทาง กทม. มีนโยบายที่จะไม่สร้างโครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ และต้องการโอนความรับผิดชอบในการก่อสร้างและบริหารงานรถไฟฟ้าสายนี้ไปให้ รฟม. ดำเนินการแทน โดยตอนนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการประสานงานกันครับ 😀
Note: ก็ดูกันไป อาจมีขอร้องให้ลากยาว ตามคุ้งแม่้ำเจ้าพระยา ก็ได้ เพื่อจะได้เชื่อมกะ ย่านพรราม 3 ได้ แต่รอให้ Southern terminal เป็นรูปเป็นร่างก่อนดีกว่า
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/987964809357260
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44649
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/02/2024 7:50 pm    Post subject: Reply with quote

สภาผู้บริโภคหนุนรถไฟฟ้า 20 บาท ช่วยคนเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะ
Source - เว็บไซต์แนวหน้า
Sunday, February 11, 2024 17:07

สภาผู้บริโภคจัดเวทีแลกเปลี่ยนบทเรียนค่าโดยสารรถไฟฟ้าในต่างประเทศเปรียบเทียบกับไทย ดันค่าโดยสาร 20 บาททุกสายทำให้ขนส่งมวลชนทุกคนต้องเข้าถึงได้ ด้าน "สุรพงษ์ ปิยะโชติ" ลั่นปี 2572 ยุทธศาสตร์บูรณาการ รถไฟฟ้ารางคู่ รถไฟฟ้าความเร็วสูง จุดเปลี่ยนขนส่งมวลชนประเทศเชื่อมโยงทุกระบบเพื่อยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิต ขณะที่ผู้แทนจากมาเลเซีย - เกาหลีใต้ ชี้ความสำเร็จยกระดับขนส่งมวลชนต้องเริ่มจากเจตจำนงการเมืองและการสนับสนุนของรัฐบาล

11 ก.พ.67 สภาผู้บริโภคและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกันจัดเสวนา "บทเรียนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะทุกคนขึ้นได้ของไทยและต่างประเทศ" เพื่อสรุปบทเรียนในต่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทย โดยนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ทิศทางการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะทุกคนขึ้นได้ทุกวัน" ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพฤติกรรมการเดินทางของประชาชน โดยดำเนินนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายใน 2 สายหลักคือสายสีม่วงและสายสีแดง ซึ่งเป็นโครงการที่ลดค่าใช้จ่ายของประชาชน ส่วนจะเดินหน้านโยบาย 20 บาทตลอดสายกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ หรือไม่นั้นอยู่ระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้รัฐบาลยังได้พัฒนาระบบตั๋วร่วมซึ่งร่างพระราชบัญญัติตั๋วร่วม พ.ศ. …. จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏรในเดือนมีนาคม 2567 รวมถึงยังมีการปรับปรุงระบบการจองตั๋วรถไฟผ่านระบบ D - Ticket โดยประชาชนสามารถขยายเวลาจองตั๋วรถไฟล่วงหน้าได้ จากเดิม 30 วัน เพิ่มสูงสุดเป็น 90 วัน และจัดเสริมขบวนรถ/พ่วงตู้ ให้เพียงพอต่อการให้บริการประชาชน

ส่วนภาพรวมของการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะนั้นเชื่อว่าในปี 2572 จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ชัดเจนของประเทศไทยเนื่องจาก การขนส่งสาธารณะ ขนส่งสินค้า ถูกยกระดับให้สามารถบูรณาการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันทั้งในไทย รวมถึงเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและลาวทำให้ระบบขนส่งทางรางเป็นระบบขนส่งหลักของประเทศผ่าน 60 จังหวัด ส่วนที่เหลือจะเป็นระบบล้อโดยรูปแบบบริษัท ขนส่ง จำกัดหรือ บขส.ต้องไม่วิ่งแข่งขันระยะไกล แต่เปลี่ยนเป็นระบบฟีดเดอร์บริการขนส่งระยะใกล้เพื่อส่งคนเข้าระบบรางที่เป็นขนส่งหลักของประเทศ

"อนาคตระบบขนส่งทางรางจะเป็นขนส่งหลักของประเทศ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการรถไฟทางคู่ที่มีรางขนาด 1 เมตร ความเร็วสูงสุดประมาณ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงกับรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วประมาณ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขนาดราง 1.43 เมตร ทำให้ร่นเวลาในการเดินทางและการขนส่งลง ทำให้รถบรรทุกหายไปจากท้องถนนและลดมลพิษ PM 2.5 ด้วย เพราะเมื่อรถไฟทางคู่เสร็จแล้วจะมีทางรถไฟมากกว่า 8,000 กิโลเมตร ให้บริการประชาชนได้ 61 จังหวัด ทำให้การเดินทางสะดวกสบายมากขึ้น" นายสุรพงษ์กล่าวและว่า หัวใจสำคัญที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของขนส่งมวลชนสาธารณะอีกประเด็นคือการกระจายอำนาจในการจัดการระบบขนส่งมวลชนให้กับท้องถิ่นในการจัดการตัวเอง โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้แก้กฎกระทรวงให้ท้องถิ่นสามารถบริการจัดการเดินรถของตัวเองได้ทำให้เกิดการกระจายขนส่งสาธารณะได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น

ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาผู้บริโภค กล่าวว่า จุดยืนของสภาผู้บริโภคคือต้องการบริการขนส่งมวลชนที่ทั่วถึง เช่น เดินออกจากบ้านไปเพียง 500 เมตรต้องเจอป้ายรถสองแถว ป้ายรถเมล์หรือแม้แต่รถไฟฟ้า แต่ปัจจุบันมีอุปสรรคอยู่มากมายโดยเฉพาะปัญหาค่าใช้จ่ายเรื่องการเดินทางแพง ทั้งนี้ ค่าเดินทางควรอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 ของค่าแรงขั้นต่ำเพราะจะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการขนส่งได้ ไม่ใช่เฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น

"สภาผู้บริโภคได้ขับเคลื่อนการเข้าถึงขนส่งมวลชนสาธารณะเพื่อให้ผู้บริโภคเดินทางสะดวกปลอดภัย และราคาเป็นธรรม โดยสนับสนุนนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท และเชื่อว่าสามารถทำได้จริง โดยสามารถหารายได้จากแหล่งอื่น อย่างเช่น ค่าโฆษณา การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพราะฉะนั้นเราจะทำอย่างไรให้ทุกคนเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะด้วยกันไม่ใช่เฉพาะกรุงเทพมหานคร ซึ่งเราเชื่อว่าบริการขนส่งมวลชนเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ประชาชนจ่ายร้อยเปอร์เซนต์" นางสาวสารี กล่าว

นางสาวสารี กล่าวด้วยว่า การทำให้ราคารถไฟฟ้าถูกลงยังช่วยประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยจากฝุ่น PM 2.5 ซึ่งหากดูตัวเลขจากกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุว่าตั้งแต่ 1 มกราคม - 1 มีนาคม 2566 ประเทศไทยมีผู้ป่วยจาก PM 2.5 มากถึง 1,730,976 ราย และโรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายสำหรับแผนกผู้ป่วยนอกที่มารักษาพยาบาลด้วยโรคระบบทางเดินหายใจอย่างน้อย 700 บาทต่อคน รวมค่าใช้จ่ายมากกว่า 12,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีค่าเดินทางต้องหยุดงานและขาดรายได้ ซึ่งประเมินเป็นมูลค่ามากกว่า 3,000 ล้านบาท รวมตัวเลขทั้งสองส่วนนี้ก็มากถึง 4-5 พันล้านบาท

สภาผู้บริโภคเห็นว่าองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการจัดบริการขนส่งสาธารณะโดยล่าสุดคณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) สามารถจัดบริการขนส่งมวลชนได้นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากที่ทำให้เกิดการกระจายอำนาจและทำให้การบริการสอดคล้องกับคนในพื้นที่มากขึ้น ซึ่งท้องถิ่นนับว่าเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้ทั่วถึง ปัจจุบันจากความร่วมมือของสภาผู้บริโภคและ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งทำงานในพื้นที่ 33 จังหวัดก็พบว่ามีเพียง 7 จังหวัดเท่านั้นที่ทำเรื่องบริการขนส่งสาธารณะ

ขณะที่ นายอธิภู จิตรนุเคราะห์ รองอธิบดีกรมขนส่งทางราง กล่าวว่า การปรับพฤติกรรมให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลลงมาต้องใช้เวลาเกิน 5 ปีขึ้นไป โดยที่ผ่านมา คนไทยใช้รถยนต์ส่วนบุคคลจำนวนมากแต่เริ่มปรับพฤติกรรมมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลได้มีนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ในรถไฟฟ้าสายสีแดง ทำให้รถไฟฟ้าสายสีแดงมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 23 ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงผู้โดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ซึ่งเฉลี่ยทั้งสองสายมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะไม่ใช่เพียงเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเดียว แต่เรื่องของนโยบายทางการเมืองที่มีเจตจำนงชัดเจนในการยกระดับและเชื่อมต่อกันก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะนโยบายค่าโดยสารและนโยบายที่รัฐต้องสนับสนุนเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการเดินทางมากขึ้น

ด้าน รศ.ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน์ จากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่จะสามารถดำเนินการได้ มีประเด็นที่สำคัญคือเรื่องของเจตจำนงทางการเมืองซึ่งเป็นความมุ่งมั่นที่เกิดจากภาคการเมืองและความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยที่ผ่านมาระบบขนส่งสาธารณะต้องมีความสะดวก ความปลอดภัยและประหยัด โดยทุกหน่วยงานต้องทำงานบูรณาการร่วมกัน ไม่ใช่เพียงแค่กระทรวงคมนาคมอย่างเดียวแต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน

ขณะที่บทเรียนจากต่างประเทศ นายอาจิต โจห์ล รองเลขาธิการสหพันธ์สมาคมผู้บริโภคและประธานสมาคมผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะ ประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า การพัฒนาระบบขนส่งในประเทศมาเลเซียให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำต้องมีเจตจำนงทางการเมืองที่แน่วแน่และทิศทางการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่ชัดเจน เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศมาเลเซียได้ให้การอุดหนุนราคาน้ำมันกับผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมากถึง 15,000 ล้านริงกิตมาเลเซียต่อปีจนทำให้มีรถยนต์บนท้องถนนจำนวนมาก ขณะที่ผู้บริโภคส่วนหนึ่งยังต้องการใช้บริการขนส่งสาธารณะรวมทั้งรถไฟฟ้าหรือรถสาธารณะปรับอากาศ ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้จากผู้ใช้บริการ นอกจากนี้การปล่อยกู้จากธนาคารก็มีข้อจำกัดในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งสาธารณะด้วยเช่นกัน เนื่องจากปล่อยให้กู้ในเวลาเพียง 25 ปี ขณะที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต้องใช้เวลามากกว่า 25 ปีถึงจะคืนทุน ดังนั้นหากรัฐบาลต้องการให้ประชาชนหันมาใช้ขนส่งสาธารณะมากขึ้นก็ต้องลงทุนในระบบขนส่งมวลชน ที่สำคัญต้องมีเจตจำนงทางการเมืองที่ชัดเจน

ขณะที่ผู้แทนจากสถานทูตเกาหลีใต้ได้ให้ความเห็นว่า การใช้บริการขนส่งสาธารณะในประเทศเกาหลีเป็นเรื่องสะดวกสบายมาก เนื่องจากใช้บัตรเครดิตเพียงใบเดียวก็สามารถใช้บริการขนส่งสาธารณะได้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าหรือแม้แต่รถบัส นอกจากนี้ยังได้ส่วนลดและสิทธิพิเศษต่าง ๆ จากการใช้บริการบัตรเครดิต ประกอบกับคุณภาพและความสะดวกในการใช้บริการ เป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44649
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/02/2024 5:07 am    Post subject: Reply with quote

ทำไม! "ฝั่งพระนคร" ขึ้นชั้นซีบีดี เจริญแซงหน้า"ฝั่งธนบุรี"
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Wednesday, February 14, 2024 21:04

คงไม่มีใครจะปฏิเสธ หรือ เถียงได้ว่า ฝั่งพระนคร ซึ่งหมายถึง กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย คือ ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ

ขณะที่ ฝั่งธนบุรี ซึ่งหมายถึง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด ก็ใช่ว่า จะไม่มีความ ‘เจริญรุ่งเรือง’

แต่เพื่อให้เห็นภาพ อิงข้อมูล (ไม่ดรามา) ก็ต้อง “วัดด้วยขนาด”ร่องรอยประวัติศาสตร์ความเจริญที่เกิดขึ้นมา ถึงจะพอเทียบเคียง เทียบชั้นได้ว่า ฝั่งพระนคร หรือ ฝั่งธนบุรี พื้นที่ไหน มีศักยภาพที่จะเติบโตต่อไปยิ่งๆขึ้น เริ่มจาก…

• ฝั่งธนบุรี มีการพัฒนามากในช่วงที่เป็นกรุงธนบุรีแต่สั้นมากเพียง 15 ปี (พ.ศ. 2310–2325)

• ฝั่งพระนคร เป็นพื้นที่เมืองชั้นในมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325 จนถึงปัจจุบัน)

• ฝั่งพระนคร เป็นย่านการค้าแห่งแรกของรัตนโกสินทร์ โดยเริ่มจากแถวสามเพ็ง เยาวราช (แหล่งการค้าที่สำคัญจนถึงปัจจุบัน)

• จากย่านการค้า จึงพัฒนามาเป็นย่านศูนย์กลางธุรกิจ ( CBD ) ของกรุงเทพมหานครจนถึงปัจจุบัน

• ส่วนฝั่งธนบุรี กลายเป็นย่านที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์

• สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามีน้อยมาก ทำให้การเปลี่ยนแปลงในฝั่งธนบุรีเกิดขึ้นเพียงบางทำเลเท่านั้น

• ถนนเส้นทางหลักของกรุงเทพมหานคร ที่เชื่อมด้านเหนือ-ใต้ และ ตะวันออก-ตะวันตกอยู่ในฝั่งพระนคร เช่น ถนนวิภาวดี-รังสิต ถนนพหลโยธิน และมีถนนที่เชื่อมต่อกับถนนเหล่านี้ เช่น ถนนพระรามที่ 4 สุขุมวิท รัชดาภิเษก ลาดพร้าว รามอินทรา ทำให้การกระจายความเจริญเกิดขึ้นในฝั่งพระนครแบบต่อเนื่อง และใหญ่ขึ้นมาก มีผลให้ที่ดินถูกนำมาพัฒนาและมีราคาสูงขึ้นอย่างมากอย่างที่กล่าวไว้

• ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เปิดให้บริการในฝั่งธนบุรี เซ็นทรัล วงเวียนใหญ่ เปิดบริการพ.ศ.2524 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นโรบินสัน และแพลตฟอร์มในปัจจุบัน

• ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เปิดให้บริการในฝั่งพระนคร หลังจากฝั่งธนบุรี คือ เดอะมอลล์ รามคำแหง 1 – 2 เปิดบริการพ.ศ.2526 และ 2529 ตามลำดับ

• ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เปิดบริการในฝั่งพระนครก่อน เซ็นทรัล ลาดพร้าว เปิดบริการปีพ.ศ.2525 (เป็นห้างดังจนถึงปัจจุบัน) ต่อมาเป็น เซ็นทรัลเวิลด์ พ.ศ.2532 ที่นักท่องเที่ยวมาชอปปิ้ง, เซ็นทรัล รามอินทรา พ.ศ.2536, เซ็นทรัล บางนา พ.ศ.2536, ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ พ.ศ.2537

• ศูนย์การค้าในฝั่งธนบุรีมีแห่งแรก คือ เดอะมอลล์ ธนบุรี เปิดบริการปีพ.ศ.2532, ฟิวเจอร์พาร์ค บางแค พ.ศ.2536, เดอะมอลล์ บางแค พ.ศ.2537, เซ็นทรัลปิ่นเกล้า พ.ศ.2538 (ไม่พูดถึง พาต้า ที่ปัจจุบันปิดให้บริการ)


• วกมามาเชิงพาณิชย์ จะพบว่า อาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ที่เป็นอาคารสำหรับการทำงานรูปแบบใหม่ เกิดขึ้นที่ฝั่งพระนครในเขต CBD ก่อนที่จะขยายไปตามถนนเส้นทางหลักที่เชื่อมกับ CBD เช่น พระรามที่ 4 สุขุมวิท พญาไท และพหลโยธิน รวมไปถึงรัชดาภิเษก

• พื้นที่อาคารสำนักงานในฝั่งพระนคร จึงมีขนาดพื้นที่มากกว่าฝั่งธนบุรีมาก แบบเทียบกันไม่ได้

• อาคารสำนักงานที่จะเปิดบริการในอนาคตกว่า 2 ล้านตารางเมตรทั้งหมด100%อยู่ในฝั่งพระนคร (มีโครงการคอนโดมิเนียม คอนโดฯราคาแพง บ้าน โรงแรม อพาร์ตเมนต์ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากมาย)

• หรือแม้แต่ เรื่องระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ เช่น เส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางแรกของกรุงเทพมหานคร เกิดขึ้นในฝั่งพระนคร เปิดบริการปีพ.ศ.2542

• ทางรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) เส้นทางแรกของกรุงเทพมหานคร เกิดขึ้นในฝั่งพระนครเปิดบริการปีพ.ศ.2547

• สถานีรถไฟฟ้าสถานีแรกของฝั่งธนบุรีเปิดบริการปีพ.ศ.2552 (ตามหลังมา 5 ปี)

• ปีพ.ศ.2552 ฝั่งธนบุรีมีสถานีแรก (สถานีกรุงธนบุรี) ในขณะที่ปีพ.ศ.2552 ฝั่งพระนครมีสถานีรถไฟฟ้าจำนวน 33 สถานี (BTS + MRT)

• ปัจจุบัน จำนวนสถานีรถไฟฟ้าในฝั่งธนบุรียังน้อยกว่าฝั่งพระนครมาก (เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง)

• เส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคตก็ยังอยู่ในฝั่งพระนครมากกว่า

• ทางขึ้น-ลงทางพิเศษในฝั่งธนบุรียังน้อยกว่า

• ศักยภาพของที่ดิน ตามข้อกำหนดในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ก่อนหน้านี้มากกว่า 20 ปี พื้นที่ฝั่งพระนครก็สูงกว่าฝั่งธนบุรี

• ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร กำหนดข้อกำหนดต่างๆ ตามศักยภาพของพื้นที่ตามความเป็นจริง

• ข้อกำหนดในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ยิ่งส่งเสริมให้เกิดความแตกต่างมาต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 – 30 ปี

• ราคาที่ดินในฝั่งพระนคร จึงสูงกว่า เพราะศักยภาพที่ดินมากกว่า ทั้งในความเป็นจริง และตามข้อกำหนดในผังเมืองรวม


• การเปลี่ยนแปลงของทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานคร จึงเป็นไปในทิศทางที่แตกต่างกัน

• แต่การเปลี่ยนแปลงในฝั่งธนบุรี มีความเป็นไปได้ที่จะมากขึ้นในอนาคต

• ทำให้ ศักยภาพโดยรวมของฝั่งธนบุรี ก็ยังคงน้อยกว่าฝั่งพระนคร ที่จังหวัดปริมณฑลที่เชื่อมต่อยังมีศักยภาพมากกว่าฝั่งธนบุรี

• ศูนย์กลางการเดินทางรูปแบบต่างๆ ยังอยู่ในฝั่งพระนครมากกว่าทั้ง สถานีขนส่ง สถานีรถไฟทางไกล สถานีรถไฟความเร็วสูงในอนาคต สนามบิน ท่าเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่

• เส้นทางรถไฟความเร็วสูงอยู่ในฝั่งพระนครมากกว่าฝั่งธนบุรี

จะว่าไปแล้ว ฝั่งพระนคร รวมศูนย์ความเจริญทั้งหมด แต่ ก็ไม่ใช่ว่า ฝั่งธนบุรี จะไม่ถูกพัฒนาในอนาคต (อันนี้ไม่ได้ให้เกิดเรื่อง ดรามา) เพราะมีความพยายามจากกรุงเทพฯที่จะยกระดับให้ย่านธนบุรี กลายเป็นมินิซีบีดี เพราะมีโครงการใหญ่ ห้างดังระดับโลก อย่าง “ไอคอน สยาม“ แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของไทย, มีโรงแรมหรู, โครงการคอนโดมิเนียม และรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่มาเติมเต็มเรื่องของการเดินทาง

แต่ยังมีคำถามว่า ในเส้นเจริญนคร มีการก่อสร้างกระทรวงมหาดไทย แห่งใหม่ แม้จะจุดพลุ เรื่องดีมานด์ในการจับจ่ายใช้สอย เรื่องการมีที่อยู่อาศัย แต่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนรองรับ!!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44649
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/02/2024 4:31 pm    Post subject: Reply with quote

5 โครงข่ายรถไฟฟ้าสายใหม่ 'คมนาคม' ดันตอกเสาเข็มปีนี้
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Sunday, February 25, 2024 06:01

เปิดแอคชันแพลน “คมนาคม” ปี 2567 ดันตอกเสาเข็มโครงข่ายระบบขนส่งทางราง 5 เส้นทางใหม่ รวมเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.78 แสนล้านบาท จ่อเสนอส่วนต่อขยายสายสีแดง พร้อมปิดจ็อบมหากาพย์ “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”

แผนปฏิบัติการหรือ Action Plan กระทรวงคมนาคมขับเคลื่อนในปี 2567 – 2568 พบว่าเตรียมผลักดันนโยบาย Quick Win ปี 2567 และ 2568 ด้วยโครงการสำคัญ 72 โครงการ วงเงินลงทุนมากกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งตั้งเป้าให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมภายในรัฐบาลนี้ โดยโครงการดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย

1. โครงการที่มีความสำคัญเชิงพื้นที่จำนวน 13 โครงการ

2. ด้านคมนาคมขนส่งทางบกจำนวน 29 โครงการ

3. ด้านคมนาคมขนส่งทางราง จำนวน 22 โครงการ

4. ด้านคมนาคมขนส่งทางอากาศ จำนวน 4 โครงการ

5. ด้านคมนาคมขนส่งทางน้ำจำนวน 4 โครงการ

ขณะที่โครงการลงทุนด้านระบบราง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงตั้งโจทย์สำคัญว่า ภายใน 5 – 6 ปีนี้ จะต้องผลักดันการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้เทียบเท่ากับสากล โดยจะต้องอยู่ในระดับ 9.5 – 9.8% ซึ่งปัจจัยสำคัญ คือการเร่งลงทุนระบบรางให้มากขึ้น ผ่านโครงการลงทุนระบบรางรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 รวมไปถึงการผลักดันรถไฟฟ้าให้ถึงเป้าหมาย 554 กิโลเมตร

อย่างไรก็ดี ภายใต้แผน Quick Win ปี 2567 มีการกำหนดเป้าหมายเริ่มก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่จำนวน 5 เส้นทาง เพื่อสร้างโครงข่ายการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้ามากขึ้น โดยคาดการณ์วงเงินลงทุนรวม178,772.83 ล้านบาท ประกอบด้วย

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วงเงินลงทุน 122,067.27 ล้านบาท
รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - มธ. ศูนย์รังสิต วงเงินลงทุน 6,468.69 ล้านบาท
รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา วงเงินลงทุน 10,670.27 ล้านบาท
รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช วงเงินลงทุน 4,616.00 ล้านบาท
รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ - พญาไท - มักกะสัน – หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง (Missing Link) วงเงินลงทุน 34,950.60 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานะโครงการ ณ ปัจจุบันการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ดำเนินการจัดหาเอกชนร่วมลงทุน และได้ตัวผู้ยื่นข้อเสนอดีที่สุดแล้ว แต่ยังไม่สามารถลงนามสัญญาร่วมลงทุนได้ เนื่องจากโครงการนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด กรณีที่มีเอกชนยื่นฟ้องเกี่ยวกับข้อกำหนดหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชน ส่งผลให้โครงการดังกล่าวยังไม่สามารถดำเนินการต่อได้

อย่างไรก็ดี กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด พร้อมตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถตอกเสาเข็มเริ่มโครงการได้ภายในปีนี้ โดยคาดว่าหลังจากได้ตัวเอกชนแล้ว จะเร่งวางระบบรถไฟฟ้าแล้วเสร็จภายใน 2 ปี เพื่อเปิดบริการช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรีก่อน เพราะขณะนี้ภาพรวมโครงการถือว่าล่าช้าจากแผนกว่า 3 ปี

ขณะที่โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม และแดงอ่อน สถานะโครงการในส่วนของช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ผ่านการพิจารณาจากทบทวนวงเงินจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา เตรียมเสนอกระทรวงคมนาคม และเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มขั้นตอนเปิดประกวดราคาทันที

หลังจากนั้นจะเร่งรัดเสนอช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช ส่วนสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ - พญาไท - มักกะสัน – หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง (Missing Link) อยู่ระหว่างปรับแบบสถานีราชวิถี และย้ายตำแหน่งสถานีใหม่ เพื่อให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปพร้อมผลักดันเริ่มก่อสร้างตามเป้าหมายที่วางไว้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 277, 278, 279, 280  Next
Page 278 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©