RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311322
ทั่วไป:13282543
ทั้งหมด:13593865
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 60, 61, 62 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2012 5:31 pm    Post subject: Reply with quote

สส.พท.กทม.ตะวันออก บี้ปูทำรถไฟฟ้าสายสีชมพู ข้องใจการเมืองมาเอี่ยว หลังพบ...ราคาที่ดินพุ่งสูง
Thai insider
วันพฤหัสบดีที่ 04 ตุลาคม 2012 เวลา 12:56 น.
พท.จี้ สนข. เปลี่ยนเส้นทางสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู
ข่าวการเมือง ไทยรัฐออนไลน์
วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2555, 14:23 น.

“ทีมส.ส.กทม.พท.โซนตอ.” ลุยยื่นหนังสือ “นายกฯ” ขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพูไปสุวินทวงศ์ รองรับคนโซนตะวันออก “จิรายุ” สงสัยปมการเมืองเอี่ยว หลังราคาที่ดินพุ่ง เกาะติด “ดีเอสไอ” จ่อรับคดีกทม. ต่อสัญญาจ้างบีทีเอส 13 ปีเป็นคดีพิเศษ 10 ต.ค.นี้

วันที่ 4 ต.ค. 2555 ที่รัฐสภา นายวิชาญ มีนชัยนันท์ พร้อมด้วยนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงเรียกร้องให้รัฐบาลรับฟังความเห็นจากประชาชนในโซนตะวันออกของกทม. เกี่ยวกับการสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูว่า ที่ผ่านมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกทม. ได้ใช้ผลการสำรวจออกแบบการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2547 โดยกำหนดให้รถไฟฟ้าสายสีชมพูมีสถานีจอดอยู่ที่ตลาดมีนบุรี ซึ่งปัจจุบันนี้สภาพความเป็นอยู่ของคนกทม.ในโซนตะวันออกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว มีการกระจายตัวออกไปอยู่ย่านสุวินทวงศ์ คลองสามวา หนองจอก ซึ่งหากยังคงแผนการก่อสร้างเดิมจะทำให้ไม่สามารถรองรับประชาชนในบริเวณดังกล่าวได้ พวกตนจึงทำหนังสือถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมว.คมนาคม สนข. และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อขอให้รับฟังความเห็นของประชาชนที่เดือดร้อน ซึ่งต้องการให้มีการขยายเส้นทางไปจนถึงถนนสุวินทวงศ์ เพื่อรองรับประชาชนในโซนตะวันออกมากขึ้น ทั้งนี้พวกตนไม่มีจุดประสงค์ในการขัดขวางทำให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าสีชมพูล่าช้าลง แต่อยากให้โครงการเป็นไปตามความต้องการของประชาชน

ด้านนายจิรายุ กล่าวว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่ามีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือใม่ เพราะการออกแบบครั้งนี้มีการพิจารณาก่อนที่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเข้ามาบริหารประเทศ และสนข. ยังมั่วนิ่ม ใช้แผนผลการสำรวจออกแบบที่ทำมาตั้งแต่ปี 2547 มาดำเนินการ ทั้งที่ผ่านไปหลายปีแล้ว และสภาพเมืองโซนตะวันอกก็เปลี่ยนไปมากแล้ว อยากถามว่ามีผลประโยชน์ใดแอบแฝงหรือไม่ เนื่องจากพบว่าราคาที่ดินในย่านที่รถไฟฟ้าสายสีชมพูผ่านมีราคาสูงขึ้น

นายจิรายุ กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 10 ต.ค.นี้ คณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จะมีการประชุมกัน โดยมีวาระพิเศษที่สำคัญคือ พิจารณาว่าจะรับคดีการขยายสิทธิการบริหารรถไฟฟ้าบีทีเอส 13 ปี ให้กับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นคดีพิเศษหรือไม่ ซึ่งตนจะติดตามผลการประชุมครั้งนี้ โดยหลังจากนั้นตนจะเข้ายื่นหนังสือต่อดีเอสไอ เพื่อให้เอาผิดผู้ว่ากทม และนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.เพิ่มเติมด้วย

//-------------------------------------------------

จะเบียดเบียนราษฎรไปถึงไหน - ไม่ยอม ให้ เข้าตลาดมีนบุรี แต่ไปออกสาย 304 แทนเพราะ ตนได้ซื้อที่เก็งกำไรไว้ที่ สาย 304 (สุวินทวงศ์) แน่แท้เลยเทียวถึงได้มีความเห็นอันน่ารังเกียจเช่นนี้ออกมา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44776
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/10/2012 8:06 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ลุยงานระบบรางลดต้นทุนโลจิสติกส์ไทย
โพสต์ทูเดย์ Monday, 08 October 2012 05:24
วงศ์สุภัทร์ คงสวัสดิ์

ระบบโครงสร้างพื้นฐานเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญมากที่สุด ก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จำเป็นต้องพิจารณาโดยจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข.หัวเรือใหญ่ฝ่ายแผนคมนาคม จึงต้องเร่งจัดลำดับความสำคัญที่จะช่วยพัฒนาระบบรางให้เดินหน้า เพื่อลดต้นทุนและรองรับการแข่งขันในอนาคต ซึ่งโพสต์ทูเดย์ มีโอกาสได้สัมภาษณ์พิเศษ ถึงแนวทางการบริหารงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

- โครงการรถไฟฟ้า 10 สายทาง มีอะไรน่าเป็นห่วง หรือไม่อย่างไร?

ในส่วนงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า10 สายทาง ทางเจ้าของโปรเจกต์ ทั้งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) รับไปประกวดราคาแล้ว ถือว่างานของ สนข.หมดไป แต่ยังคงมีงานต่อเนื่องที่ต้องทำ คือ เช็กว่าการก่อสร้างแต่ละสายนั้นเดินไปตามแผนงานที่คาดไว้หรือไม่เพราะหากงานบางส่วนไม่มีความคืบหน้าจะกระทบต่องานในส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

"สนข.จะต้องติดตามงานที่ระบุไว้ในแผนแม่บทรถไฟฟ้า 10 สาย และประเมินผลงาน แต่ในส่วนของระบบรถไฟ นอกจากโครงการรถไฟฟ้าแล้ว จะต้องทำโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งต้องแจกแจงหรือทำให้ตกผลึกให้ได้ว่าหน่วยงานใดจะทำอะไร ซึ่งเป็นงานปั้น งานบุกเบิกที่ต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะมีต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และเป็นงานที่หนักกว่าระบบการขนส่งมวลชนในอนาคต เพราะรถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องที่เพิ่งเริ่มไม่ใช่ตอนจบ"

- ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง

ขณะนี้ต้องว่าจ้างที่ปรึกษา สำหรับรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางกรุงเทพฯนครราชสีมา กรุงเทพฯ-พิษณุโลก กรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่งคาดว่าสองเส้นทางแรกจะเสร็จก่อน โดยแต่ละเส้นทางต้องศึกษารายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อมาถึงจุดนี้จะเห็นว่าสนข.ไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ แต่เริ่มที่ 20% แล้วเนื่องจากมีผลการศึกษาของจีนและญี่ปุ่นซึ่งกระทรวงคมนาคมและ สนข.สามารถนำมาปรับใช้ได้ และคาดว่าในช่วงปลายปี2555 จะทราบคร่าวๆ ว่าแผนการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นอย่างไร และมีแนวเส้นทางคร่าวๆ ว่าจะผ่านในส่วนใดบ้าง

"โครงการจริงๆ ต้องใช้เวลาเป็นปี แต่เวลาที่เหลือคือการนำมาใช้เพื่อเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมมากกว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงถือว่าไม่ยากมาก โดยเฉพาะการออกแบบแนวเส้นทาง แต่ที่จะยากคือการรับฟังความคิดเห็นและการทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะรถไฟความเร็วสูงส่วนหนึ่งต้องกั้นรั้วและมีสะพานบางแห่งที่ต้องย้ายสถานีรถไฟเดิมไปอยู่ที่อื่นซึ่งประชาชนจะชอบหรือไม่ จะต้องรับฟังข้อมูลด้วย และจะต้องใช้เวลาพอสมควร"

- รูปแบบการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง

ระบบรถไฟความเร็วสูง ส่วนใหญ่รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เอกชนเข้ามาเป็นผู้เดินรถ แต่เอกชนจะเข้ามาในรูปแบบใดคงต้องหารือกันอีกครั้ง เพราะเอกชนคงไม่สามารถลงลึกในโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้วงเงินลงทุนสูง อีกทั้งจะต้องมีรายละเอียดเรื่องแนวเส้นทางต่างๆที่ต้องตัดเป็นทางตรงหรือเจาะอุโมงค์ ทำทางโค้ง เป็นต้น - นอกเหนือจากโครงการรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงแล้ว สนข.มีแผนเร่งด่วนอื่นหรือไม่

ขณะนี้ กระทรวงคมนาคมจำเป็นต้องพัฒนาระบบรถไฟเดิมของ ร.ฟ.ท.ด้วยเพราะระบบรถไฟจะต้องอยู่ต่อไป ขณะที่มีเน็ตเวิร์ก 4,000 กว่ากิโลเมตรทั่วประเทศซึ่งปัจจุบันมีแผนทำทางคู่และพัฒนาระบบอื่นๆเพื่อให้ร.ฟ.ท.ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประเด็นที่สำคัญต้องมาดูเรื่องการจัดตั้งกระทรวงรถไฟหรือกรมรถไฟซึ่งจำเป็นต้องนำมาศึกษาให้ตกผลึกเช่นกัน

ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของการจัดการระบบรถไฟให้เกี่ยวข้องสอดคล้องกับการพัฒนาโครงข่ายระบบทางบก น้ำ และทางอากาศ ซึ่งปัจจุบันระบบรถไฟของประเทศไทย ผู้รับผิดชอบคือ ร.ฟ.ท.เท่านั้น ทำให้ร.ฟ.ท.มีหนี้จำนวนมาก เพราะเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้วยตัวเอง ซึ่งรัฐต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาหนี้ให้หมดไปด้านนโยบายก็ต้องมาตัดสินใจด้วยว่าต่อไปควรมีกรมรถไฟเช่นเดียวกับกรมเจ้าท่าและกรมการบินพลเรือน ซึ่งมี 2 บทบาทในหน่วยงานเดียว คือ ทำท่าเรือและสนามบิน ส่วนอีกบทบาทต้องดูแลเรื่องตลาดและการอนุญาตประกอบการ

หากรัฐต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เปิดให้ผู้ใช้ได้ทั่วไป โดยนำเอกชนมาเดินรถเปิดการแข่งขันให้เช่าทาง ประชาชนจึงจะเข้ามาใช้บริการรถไฟ ดังนั้นบทบาทของกรมรถไฟคือ มาดูเรื่องตลาดซึ่ง สนข.จะต้องประสานงานกับ ร.ฟ.ท.ในการตัดสินใจเรื่องนี้ให้ชัดเจนว่ากรมรถไฟจะมีแนวทางพัฒนาไปในทิศทางใดด้วย เพราะถือเป็นการพลิกประวัติศาสตร์ของ ร.ฟ.ท.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44776
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/10/2012 8:42 pm    Post subject: Reply with quote

'กิตติรัตน์'แจงหนี้สาธารณะปี56แตะ47.5%ต่อจีดีพี
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 9 ตุลาคม 2555 20:04

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (9 ต.ค.) มีมติเห็นชอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2556 ตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะนำเสนอ โดยเมื่อเทียบหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ปี 56 จะอยู่ที่ 47.5% ต่อจีดีพี จากกรอบวินัยทางการคลัง 60% ต่อจีดีพี ขณะที่ภาระหนี้สาธารณะต่องบประมาณปี 2556 - 2560 ก็จะอยู่ที่ 11.6 - 11.7% จากกรอบวินัยทางการคลังที่หนี้สาธารณะต้องไม่เป็นภาระต่องบประมาณเกิน 15% ขณะที่บัญชีเงินคงคลังในบัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทยยังสูงถึง 4.44 ล้านล้านบาท ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวสามารถที่จะไม่ต้องกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ อย่างไรก็ตามการมีเงินคงคลังในจำนวนมากเพื่อเป็นหลักประกันในภาวะที่เศรษฐกิจผันผวนนับว่ามีความจำเป็น

นายกิตติรัตน์ ระบุว่าแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2556 ประกอบไปด้วย 4 แผนงาน ได้แก่
1.แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 959,391.87 ล้านบาท
2.แผนการปรับโครงสร้างหนี้ 737,602.9 ล้านบาท
3.แผนการบริหารความเสี่ยง 223,138.38 ล้านบาท และ
4.แผนการบริหารจัดการหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติ ครม.127,885.21 ล้านบาท

โดยทั้ง 4 แผนมีรายละเอียดดังนี้

1.แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 959,391.87 ล้านบาท แบ่งเป็นการก่อหนี้ในประเทศรวม 943,936.10 ล้านบาท โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 717,714.22 ล้านบาท ประกอบไปด้วย การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2556 จำนวน 3 แสนล้านบาท การกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ 3.4 แสนล้านบาท (จากวงเงินทั้งหมด 3.5 แสนล้านบาท) การกู้เงินเพื่อใช้ในกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ 4.95 หมื่นล้านบาท (จากวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท) และอีกส่วนหนึ่งเป็นการกู้เงินจำนวน 28,441 ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่รัฐบาลกู้มาให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ เพื่อลดต้นทุนดอกเบี้ย แบ่งเป็นวงเงิน 16,217 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าของการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค,บางซื่อ - บางพระ และรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ ที่เหลือเป็นเงินกู้เพื่อดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และงานปรับปรุงทางรถไฟ และรถไฟรางคู่คลอง 19 ฉะเชิงเทรา แก่งคอย

สำหรับการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิวาสหกิจ 241,650 ล้านบาท เป็นการกู้เพื่อลงทุนในปี 2556 ของรัฐวิสาหกิจ 8 แห่งจำนวน 50 โครงการ รวมวงเงินลงทุนทั้งหมด 57,156 ล้านบาท และเป็นการกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องของรัฐวิสาหกิจ และเตรียมความพร้อมในการขยายตัวของรัฐวิสาหกิจเป็นวงเงิน 179,038 ล้านบาท ทั้งนี้แผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจในปี 56 ยังคงมีวงเงิน 15,455.77 ล้านบาทที่เป็นเงินกู้จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นการลงทุนสำหรับ รฟม.และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

2. แผนการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐ 737,602.9 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการออกพันธบัตรใหม่แทนที่พันธบัตรที่หมดอายุ ทั้งนี้เป็นส่วนของรัฐบาล 527,576.18 ล้านบาท และเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐวิสาหกิจ 175,818.32 ล้านบาท โดยการปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐมาจากหนี้รวมเดิมของรัฐบาล หรือชดเชยงบประมาณการขาดดุลในอดีต ซึ่งมียอดคงค้างอยู่ประมาณ 4.9 ล้านล้านบาท และในแผนการปรับโครงสร้างหนี้ยังได้รวมการรีไฟแนนซ์หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 223,542 ล้านบาท เพื่อลดยอดหนี้เดิมลง

ในส่วนของการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐที่เป็นหนี้ต่างประเทศ 34,208.40 ล้านบาท เป็นหนี้ที่เกิดจากการที่กระทรวงการคลังค้ำประกันหนี้ให้รัฐวิวาหกิจจำนวน 5 แห่งเป็นเงินสกุลต่างประเทศ ได้แก่ รฟท,รฟม. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ส่วนแผนการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐวิสาหกิจวงเงินประมาณ 1.75 แสนล้านบาทมาจากการ Roll Over หนี้พันธบัตรของรัฐวิสาหกิจจำนวน 9 แห่ง ทั้งนี้การประหยัดดอกเบี้ยจากแผนการปรับโครงสร้างหนี้หากจะทำให้ภาระดอกเบี้ยจากหนี้สาธารณะทั้งหมดลดลงกว่า 5 หมื่นล้านบาท

3.แผนบริหารความเสี่ยง นายกิตติรัตน์กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลมีหนี้สินที่เป็นหนี้สกุลเงินต่างประเทศเพียง 79,600.60 ล้านบาท ซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับหนี้สาธารณะทั้งหมดโดยหนี้ประมาณ 50% เป็นหนี้สกุลเงินเย็นซึ่งมีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้น ซึ่งอีก 50% เป็นหนี้ในสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯซึ่งมีแนมโน้มที่จะอ่อนค่าลง การบริหารหนี้ทั้งสองส่วนจึงใช้แนวทางที่แตกต่างกัน ซึ่งแม้จะได้รับการอนุมัติแผนบริหารความเสี่ยงและสามารถเปลี่ยนหนี้จากสกุลเงินต่างประเทศมาเป็นหนี้ในสุกลเงินบาทได้ แต่ก็ต้องทำอย่างระมัดระวัง และการคงหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศต่อไปก็ไม่เกิดผลเสียนัก เนื่องจากมีสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับหนี้สาธารณะทั้งหมด

สำหรับแผนการบริหารความเสี่ยงที่รวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 143,537.78 ล้านบาท โดยเป็นหนี้ในประเทศ 47,100 ล้านบาท และหนี้ต่างประเทศจำนวน 96,437.78 ล้านบาท ในส่วนของหนี้ต่างประเทศประกอบไปด้วย หนี้ของ รฟม. ประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ส่วนอีก 6,000 ล้านบาทเป็นของรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ในสกุลเงินเยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และเป็นโอกาสในการบริหารจัดการให้หนี้ลดลงได้ โดยอาจเป็นการรีไฟแนนซ์ให้หนี้ต่างประเทศกลับมาเป็นเงินสกุลบาท แต่ต้องคำนึงถึงภาระดอกเบี้ยเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศด้วย

"การกู้เงินต่างประเทศอาจเป็นผลดีเมื่อ 20 ปีก่อน แต่ในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องกู้จากต่างประเทศมากนัก เพราะเรามีสภาพคล่องเพียงพอ อย่างไรก็ตามเงินกู้ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ในอดีตก็คงไว้เพราะมีการตกลงกันมาก่อนหน้านี้ ปัจจุบันแม้การกู้เงินจากต่างประเทศอาจจะมีดอกเบี้ยต่ำกว่า"

4.แผนการบริหารจัดการหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติ ครม. วงเงิน 127,885.21 ล้านบาท เนื่องจากในการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจบางแห่งมีความเข้มแข็ง เช่น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทยจำกัด (มหาชน) สามารถบริหารจัดการหนี้ของตัวเองได้ โดยที่กระทรวงการคลังไม่ต้องเป็นผู้ค้ำประกัน โดยเป็นหนี้ในประเทศจำนวน 69,402 ล้านบาท และหนี้ต่างประเทศจำนวน 58,483.21 ล้านบาท

นายกิตติรัตน์ กล่าวด้วยว่าในการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาลสำหรับโครงการแก้ไขปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ รวมทั้งโครวการจำนำข้าวจะถูกจัดอยู่ในวงเงินขอค้ำประกัน/กู้ต่อ ในแผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจวเงิน 199,770.32 ล้านบาท ซึ่งจะใช้ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเพียง 1.5 แสนล้านบาท ส่วนเงินในโครงการจำนำข้าวจะเป็นการใช้เงินหมุนเวียนตามที่รัฐมนตรีพาณิชย์รายงานแล้วว่ามีเงินจากการระบายข้าวหมุนเวียนกลับเข้ามาเรื่อยๆ

ขณะที่การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนายกิตติรัตน์กล่าวว่าอยู่ในระหว่างดำเนินการ โดยจะสามามารถนำเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้ในการเปิดสมัยประชุมต่อไปในปี 2556 ทั้งนี้รายละเอียด ของ ร่าง พ.ร.บ.จะเป็นการลงทุนวงเงิน 2 ล้านล้านบาท โดยลงทุนเฉพาะโครงข่ายคมนาคมขนส่งทั้งทางบก อากาศ น้ำ และการลงทุนระบบราง รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงจุดเชื่อมต่อพรมแดน

"พ.ร.บ.ฉบับที่ผมจะเสนอจะใช้เวลาในการลงทุนทั้งหมด 7 ปี หรือเฉลี่ยเป็นการลงทุนปีละ 3 แสนล้านบาท ครอบคลุม การลงทุนระบบรางทั้งรถไฟความเร็วสูง และปรับปรุงรถไฟระบบเดิม และรถทางหลวง ท่าเรือ สนามบิน และต้องปรับปรุงจุดผ่านแดน ส่วนโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ทั้งประปา ไฟฟ้า จะไม่อยู่ในแผนการลงทุนนี้ โดยให้เป็นหน้าที่ของแต่ละรัฐวิสาหกิจวางแผนการลงทุน ซึ่งการวางแผนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆนี้จะมีความสำคัญต่อการลดต้นทุนโลจิสติกส์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในอนาคต"นายกิตติรัตน์ กล่าว

ในส่วนของวินัยทางการคลังหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ไม่ได้สูงขึ้นมาก ยังไม่เข้าใกล้ 60% ต่อจีดีพีที่เป็นกรอบการก่อหนี้ของไทย ทั้งนี้หากรวมการออก พ.ร.บ.โครงสร้างพื้นฐานที่ต้องกู้เงินอีก 2.2 ล้านล้านบาทหนี้สาธารณะจะอยู่ที่ 50% ของจีดีพี อย่างไรก็ตามการกู้เงินจำนวนนี้จะไม่ได้เป็นการกู้ทั้งหมดแต่จะทยอยลงทุนในระยะเวลา 7 ปี ดั้งนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่จีดีพีของประเทศก็จะเติบโตขึ้นด้วย ทั้งนี้การพิจารณาแต่ละโครงการที่จะลงทุนก็ยังต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และต้องผ่านการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมทุกโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44776
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/10/2012 7:48 am    Post subject: Reply with quote

แพลนนิ่งรถไฟฟ้าไม่เคยนิ่ง สนข.ขอลดจาก 12 เหลือ 10 สาย-"เฉลิม" นั่งประธาน คจร.
ไทยรัฐออนไลน์ 12 ตุลาคม 2555, 05:30 น.

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 17 ต.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีวาระการประชุม 2 เรื่องหลักๆ คือ เรื่องรายงานความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล พร้อมกับมีการเสนอลดโครงการรถไฟฟ้าในแผนแม่บท จากที่มีการอนุมัติไว้คราวที่แล้ว 12 สาย เป็น 10 สาย โดยมีการรวบรวมเส้นทางที่อยู่ใกล้เคียงกันมาเป็นเส้นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้ คจร.อนุมัติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการจราจรเร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานคร ตามที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ลงมาแก้ปัญหาเรื่องการจราจรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเสนอให้ คจร.อนุมัติมาตรการสลับเวลาการทำงานของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อแก้ปัญหาจราจรในช่วงเช้าและเย็น

ด้าน พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รอง ผบช.น.เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เมื่อวันที่ 11 ต.ค. ว่า ที่ประชุมวันนี้ได้มีการพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบริเวณห้าแยกลาดพร้าว ถนนพหลโยธิน ฝั่งขาเข้า หน้าธนาคาร ทหารไทย สำนักงานใหญ่ เนื่องจากจุดดังกล่าวมีปัญหากายภาพเป็นคอขวด เป็นจุดจอดรถโดยสารประจำทาง รถตู้ ปริมาณรถที่จะมุ่งหน้าไปสะพานควาย ตกเฉลี่ยประมาณ 3,000 คัน ต่อ ชม. ปริมาณรถอีกส่วนแยกไปทาง อ.ต.ก. จึงเกิดการตัดกระแสจราจรระหว่างถนนคู่ขนานกับช่องทางด่วน ส่งผลกระทบทำให้การจราจรบนถนนลาดพร้าวสะดุด มีปัญหาติดขัด และบริเวณใต้ทางด่วนดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิตขาเข้า มีปัญหาคอขวดเช่นกัน และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงแยกสุทธิสาร ลาดพร้าว อีกจุดบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว ลักษณะปัญหาคล้ายกัน สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาเห็นว่าควรจะต้องแก้คอขวดโดยรื้อเกาะกลาง ขยายผิวจราจรเพิ่มและให้กว้างขึ้น เนื่องจากแต่ละพื้นที่อยู่ในความรับผิดชอบหลายหน่วยงาน จะต้องเชิญ กทม. กรมทางหลวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมหารือ จึงต้องขอความเห็นชอบจากเจ้าของพื้นที่ก่อน โดยจะเร่งรัดให้ได้ข้อยุติภายในสัปดาห์หน้า.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44776
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/10/2012 5:14 pm    Post subject: Reply with quote

เฉลิม ประชุมคจร.ตีกลับมาตรการสลับเวลาทำงาน
เดลินิวส์ วันพุธที่ 17 ตุลาคม 2555 เวลา 15:24 น.

“เฉลิม”ตีกลับมาตรการสลับเวลาทำงาน จี้ดึงเอกชน-โรงเรียนร่วมโครงการด้วยช่วยแก้รถติด อนุมัติตั้งอนุกรรมการแก้จราจรเมืองกรุงมี รมว.คมนาคมเป็นประธาน

วันนี้ (17 ต.ค.) ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ซึ่งนายชัชชาติ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการจราจรเร่งด่วน ในเขตกรุงเทพมหานคร มี รมว.คมนาคมเป็นประธานอนุกรรมการ รมช.คมนาคม ปลัดคมนาคม ผบ.ตร.เป็นรองประธานอนุกรรมการ โดยอนุกรรมการประกอบด้วย รองปลัดคมนาคม ผบช.น. ผบก.จร. หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดคมนาคมทั้งหมด เพื่อทำหน้าที่บูรณาการประสานงาน อำนวยการ และสั่งการแก้ปัญหาการจราจรเร่งด่วนและในภาวะวิกฤติ รวมถึงทำแผนยุทธศาสตร์แก้ปัญหาจราจร โดยสามารถเสนอเรื่องขออนุมัติการทำงานต่อ ครม.ได้โดยไม่ต้องผ่าน คจร.ก่อน ทั้งนี้ให้มีหน่วยปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการจราจรเร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) มีรอง ผบช.น.เป็นหัวหน้าหน่วย มีอำนาจสั่งการแก้ไขการจราจรได้ หลังจากนี้ให้ สนข.ไปร่างหนังสือแต่งตั้งอนุกรรมการฯ เมื่อ ร.ต.อ.เฉลิม ลงนามจะเรียกประชุมการทำงานทันที

นายชัชชาติ กล่าวว่า สำหรับมาตรการแก้ปัญหาการจราจรด้วยมาตรการสลับเวลาการทำงานนั้น ร.ต.อ.เฉลิม สั่งการให้ สนข.ไปพิจารณารายละเอียดใหม่ โดยให้ดึงภาคเอกชน และโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ จึงจะแก้ปัญหาได้อย่างจริงจัง ซึ่งหากจะให้นักเรียนมีการสลับเวลาเข้าเรียน ก็ต้องคำนึงถึงผู้ปกครองต้องมีเวลาเข้างานที่สอดคล้องกันด้วย จึงให้ไปทำรายละเอียดมาใหม่ ทั้งนี้ให้นำเรื่องเข้าเสนอในที่ประชุม คจร.ครั้งต่อไป ส่วนหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ สามารถใช้มาตรการสลับเวลานี้ได้ก่อน เพราะเคยมีมติ ครม.ออกมาแล้ว

นายจุฬา เปิดเผยว่า ในส่วนของระบบรางกำหนดแผนเดินหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้าเน้น 10 สายตามแผนแม่บท ประกอบด้วย
1.รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม (ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-มหาชัย) 8.08 กม.
2.รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก) 54 กม.
3.แอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ (สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ) 50.3 กม.
4.รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-บางปู) 66.5 กม.
5.สีเขียวอ่อน ยศเส-บางหว้า 15.5 กม.
6.สีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4) 55 กม.
7.สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) 42.8 กม.
8.สีส้ม (จรัญสนิทวงศ์-มีนบุรี) 32.5 กม.
9.สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 36 กม. และ
10.สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) 30.4 กม.

จะทยอยประกวดราคาจนครบ 10 สาย ภายในปี 2557 โดยจะเปิดให้บริการครบทั้ง 10 สายได้ภายในปี 2562 รวมระยะทางทั้งสิ้น 464 กม. ซึ่งจะสร้างโครงการในเมืองถึงช่วงแถวคูคต สมุทรปราการ ศาลายาก่อน โดยหลังปี 2562 จะขยายออกนอกเมืองมากขึ้นไปถึงบางปู มหาชัย ส่วน 2 สาย ที่เคยมีการอนุมัติในการประชุม คจร.ครั้งที่ผ่านมาเมื่อปี 2553 ได้แก่ สายสีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) 26 กม. และสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) 9.5 กม. ยังไม่เน้นในขณะนี้ เพราะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อของ กทม. ซึ่ง กทม.จะหยิบไปทำก่อนก็ได้

ขณะนี้มีรถไฟฟ้าอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 5 โครงการ ระยะทาง 83 กม. ได้แก่
1.สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15 กม. เปิดบริการปี 2555
2.สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ 23 กม. เปิดบริการปี 2558
3.สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ 13 กม. หัวลำโพง-บางแค 14 กม. เปิดบริการปี 2559
4.สีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 12.8 กม. เปิดบริการ 2560 และ
5.สายสีเขียวอ่อน ช่วงตากสิน-บางหว้า 5.3 กม. เปิดบริการปี 2555

มีโครงการที่อยู่ระหว่างประกวดราคา 1 โครงการ คือ สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต 26 กม.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2012 1:43 am    Post subject: Reply with quote

ได้นั่งรถไฟฟ้า10สายปี62 ตัดสายสีเทา-ฟ้าออก
ข่าวทั่วไทย
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2555 เวลา 07:45 น.

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ว่าในส่วนของระบบรางกำหนดแผนเดินหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้าเน้น 10 สายตามแผนแม่บท ประกอบด้วย

1.รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม (ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-มหาชัย)
2.รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก)
3.แอร์พอร์ตเรลลิงก์ (สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ)
4.รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-บางปู)
5.สีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า)
6.สีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4)
7.สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ)
8.สีส้ม (จรัญสนิทวงศ์-มีนบุรี)
9.สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และ
10. สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)

จะทยอยประกวดราคาจนครบ 10 สาย ภายในปี 2557 โดยจะเปิดให้บริการครบทั้ง 10 สายได้ภายในปี 2562 รวมระยะทางทั้งสิ้น 464 กม. ซึ่งจะสร้างโครงการในเมือง ช่วงแถวคูคต สมุทรปราการ ศาลายาก่อน โดยหลังปี 2562 จะขยายออกนอกเมืองมากขึ้นไปถึงบางปู มหาชัย

ส่วน 2 สาย ที่เคยมีการอนุมัติในการประชุม คจร.ครั้งที่ผ่านมาเมื่อปี 2553 ได้แก่ 1. สายสีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) และ
2. สายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร)

ยังไม่เน้นในขณะนี้ เพราะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อของ กทม. ซึ่ง กทม.จะหยิบไปทำก่อนก็ได้

ขณะนี้มีรถไฟฟ้าอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 5 โครงการ ระยะทาง 83 กม. ได้แก่

1.สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เปิดบริการปี 2555
2.สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ เปิดบริการปี 2558
3.สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และ หัวลำโพง-บางแค เปิดบริการปี 2559 4.สีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 12.8 กม. เปิดบริการ ปี 2560 และ
5.สายสีเขียวอ่อน ช่วงตากสิน-บางหว้า 5.3 กม. เปิดบริการปี 2555

มีโครงการที่อยู่ระหว่างประกวดราคา 1 โครงการ คือ สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต 26 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2012 12:28 pm    Post subject: Reply with quote

มีนบุรี จุดนัดพบกับรถไฟฟ้า 2 สาย(1)
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
อสังหา REAL ESTATE - คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2012 เวลา 10:55 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,785 วันที่ 21-24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มีนบุรีในอดีต อาจไม่หวือหวา แต่อนาคตอาจเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการมาถึงของรถไฟฟ้า 2 สายมีนบุรีในอดีตและปัจจุบันอาจเป็นทำเลที่ไม่เด่นดังนักเมื่อเปรียบเทียบกับย่านทำเลในเมือง

เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตชั้นนอกของเมือง ใกล้กับแนวฟลัดเวย์(Floodway) มีกฎผังเมืองรวมกำหนดให้เป็นพื้นที่เขียวลาย (อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม)ที่จำกัดการพัฒนาสูง แถมบางส่วนยังได้ผลกระทบจากเสียงเครื่องบิน จึงมีประชากรอาศัยไม่หนาแน่นนัก การใช้ที่ดินของพื้นที่ย่านนี้ในปัจจุบันเป็นการผสมผสานกันระหว่างที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรมหรือพื้นที่สีเขียวในฝั่งตะวันออกของตลาดมีนบุรี ย่านถนนนิมิตใหม่ ถนนสุวินทวงศ์
แต่ในอนาคตอันใกล้ทำเลย่านนี้อาจกลับมาคึกคักมากขึ้น (ได้มากน้อยเพียงใด) เนื่องจากการมาของรถไฟฟ้า 2 สาย คือ รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี) เรามาพิจารณาดูกันครับ
ความคืบหน้าล่าสุดของรถไฟฟ้า 2 สาย รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) เป็นสายล่าสุดที่กำลังจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในเดือนพฤศจิกายนนี้ และคาดว่าจะมีการเปิดประมูลในช่วงต้นปี 2556 (ตามแผนจะแล้วเสร็จได้ใช้งานในปี 2560) โดยล่าสุดได้ผ่านการประชาพิจารณ์ และสำรวจผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไปแล้ว
โดยรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีแนวเส้นทางเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) บริเวณศูนย์ราชการนนทบุรี วิ่งผ่านถนนติวานนท์ ถนนแจ้งวัฒนะ เมืองทองธานี ไปตัดกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ที่หลักสี่ จากนั้นจะวิ่งข้ามถนนวิภาวดีฯ ไปตัดกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่ และวิ่งต่อไปตามถนนรามอินทราตลอดสาย ผ่านวัชรพล กม.8 แฟชั่นไอส์แลนด์ ถึงปลายทางที่ตลาดมีนบุรี (แนวเดิม) เชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี) รูปแบบโครงการเป็นโมโนเรลหรือรถไฟฟ้ารางเดี่ยวโครงสร้างยกระดับสูงจากพื้น 15 เมตรตลอดเส้นทาง วิ่งไปตามเกาะกลางถนน โดยมีระยะทางรวม 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี (เดิม 24 สถานี) มีวัตถุประสงค์ในการรองรับการเดินทางไปยังศูนย์ราชการถนนแจ้งวัฒนะ ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี เชื่อมย่านมีนบุรี รามอินทรา รองรับการเจริญเติบโตของเมืองทางด้านทิศเหนือของกรุงเทพฯ รวมทั้งการเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้าเข้าเมืองดังกล่าว

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) การก่อสร้างออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ
ระยะที่ 2 บางกะปิ-มีนบุรี และ
ระยะที่ 3 ศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน (บางขุนนนท์)

ระยะทาง 37.5 กม. 27 สถานี เป็นระบบขนส่งมวลชนหลักในแนวตะวันตก-ตะวันออก ตามแนวถนนรามคำแหง ราชปรารภ เพชรบุรี หลานหลวง และราชดำเนิน ผ่านสถานที่สำคัญซึ่งเป็นแหล่งชุมชมขนาดใหญ่ ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช สนามหลวง ประตูน้ำ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครแห่งที่ 2 บริเวณดินแดง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง หอการค้าไทย นิด้า และเอแบค รวมทั้งผ่านสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถานและหัวหมาก

ล่าสุด รฟม.มีแผนจะนำร่องก่อนช่วง ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 20 กิโลเมตร โดยล่าสุดบริษัทที่ปรึกษากำลังทบทวนแบบรายละเอียดมีกำหนดเสร็จในต้นปี 2556 จากนั้นจะเปิดประมูลทันทีพร้อมกับสายสีชมพูที่จะมาเชื่อมต่อกันปลายทางที่สถานีมีนบุรี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 23/10/2012 9:59 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เจอปัญหาสมองไหล เหตุเงินเดือนต่ำ วิศวกรแห่ลาออก หวั่นกระทบรถไฟฟ้า 10 สาย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 ตุลาคม 2555 20:25 น.




พนักงาน รฟม.แต่งดำยื่นบอร์ดปรับโครงสร้างเงินเดือน เผยวิศวกรแห่ลาออกไม่แก้ปัญหาหวั่นกระทบรถไฟฟ้า 10 สายแนjนอน ด้าน สนข.เสนอเพิ่มเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเป็น 2 ช่วง หลัง ส.ส.เพื่อไทยร้องขยายไปสุวินทวงศ์แทนมีนบุรี

แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 55 พนักงาน รฟม.ได้พร้อมใจกันแต่งชุดดำเข้ายื่นหนังสือต่อนางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. เพื่อขอให้พิจารณาปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานใหม่เนื่องจากโครงสร้างปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ารัฐวิสาหกิจอื่น ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลให้มีพนักงานเริ่มลาออกโดยเฉพาะฝ่ายวิศวกรและเริ่มส่งผลกระทบต่อการทำงานเพราะด้านเอนจิเนียมีความสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย และในปี 56 จะเริ่มก่อสร้างเพิ่มอีก 3 สาย

ด้านตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟม.กล่าวว่า รฟม.มีพนักงานทั้งหมดเกือบ700 คน ช่วงที่ผ่านมามีพนักงานลาออกไปแล้ว 30 คนถือเป็นสัดส่วนที่สูง และเป็นฝ่ายวิศวะประมาณ 10 คนเพราะไม่สามารถรับภาวะเงินเดือนที่ต่ำได้ สหภาพฯ เห็นว่าหากปล่อยให้ภาวะสมองไหลมากขึ้นต่อไปจะกระทบต่อการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สายของรัฐบาลแน่ โดยขณะนี้ฝ่ายวิศวะที่มีจะต้องดูแลสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สีน้ำเงิน และสีเขียว รวมกว่า 13 สัญญาแล้ว

จึงได้ยื่นขอให้ที่ประชุมบอร์ดพิจารณาปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกินอื่น แต่ปรากฏว่าบอร์ดจะเสนอเรื่องไปกระทรวงการคลัง โดยระบุว่าเป็นข้อบังคับตาม พ.ร.บ.รฟม. ในขณะที่ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2547 และปี 2550 มีการปรับโครงสร้างเงินเดือนโดยไม่ต้องเสนอไปที่คลัง และ รฟม.เป็น 1 ใน 13 รัฐวิสาหกิจที่สามารถปรับค่าจ้างได้เองตามมติ ครม.ปี 2546 พนักงานจึงเรียกร้องให้บอร์ดทบทวนและจะแต่งชุดดำทุกวันพฤหัสบดีด้วยเพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์จนกว่าจะได้ข้อยุติ

ไม่ปรับแบบสีชมพู เล็งเพิ่มเส้นทางไปสุวินทวงศ์แทน

ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวถึงกรณีที่มี ส.ส.ในพื้นที่ต้องการให้เปลี่ยนสถานีปลายทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ามวลเบา (โมโนเรล) ระยะทาง 34.5 กิโลเมตรวงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท จากมีนบุรีเป็นสุวินทวงศ์อีกประมาณ 3-4 กิโลเมตรนั้น สนข.ได้เตรียมเสนอเป็นแผนเพิ่มเติม โดยก่อสร้างแยกจากแนวเส้นทางเดิม โดยพิจารณาจุดเชื่อมต่อที่อยู่ใกล้กับสุวินทวงศ์มากที่สุด โดยกำหนดให้มีสถานีร่วมเพื่อให้ผู้โดยสารเปลี่ยนเส้นทางเหมือนสถานีสยามฯ ของรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งจะทำให้ใช้งบประมาณไม่มากและเปิดให้บริการได้พร้อมกับสายสีชมพูที่เป็นแนวเส้นทางเดิม

“เส้นทางเดิมไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ต้องก่อสร้างเพิ่มอีกเส้นทางแยกออกไปแทนเพราะหากเปลี่ยนเส้นทางจะต้องศึกษาใหม่ทำให้โครงการล่าช้า เพราะขณะนี้โครงการพร้อมนำเสนอเพื่อขออนุมัติประกวดราคาแล้ว โดย สนข.จะเร่งศึกษาเส้นทางเพิ่มควบคู่ไปซึ่งคาดว่าจะเสร็จพร้อมกัน” นายจุฬากล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44776
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/10/2012 11:48 am    Post subject: Reply with quote

สนข.เล็งขยายเส้นทางรถไฟสีชมพู ชาวบ้านรวมตัวเรียกร้อง เพิ่มปลายทางสุวินทวงศ์
นสพ.บ้านเมือง วันที่ 24/10/2555 เวลา 11:06 น.

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนข.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอให้เพิ่มเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู จากเดิมที่มีแผนกำหนดให้ดำเนินการในเส้นทางระหว่างแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้จะเสนอให้มีการขยายเส้นทางเพิ่มอีกเส้นทางหนึ่งในระยะทางประมาณ 3-4 กิโลเมตร ภายหลังมีประชาชนต้องการให้สร้างสถานีปลายทางเป็นสถานีสุวินทวงศ์แทนสถานีมีนบุรี เนื่องจากมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นกว่า และจะส่งผลดีต่อประชาชนผู้ใช้บริการมากกว่าด้วย

อย่างไรก็ตาม เส้นทางที่ สนข.จะเสนอให้ดำเนินการเพิ่มเติมดังกล่าว จะก่อสร้างแยกออกมาจากแนวเส้นทางเดิม โดยจะพิจารณาจุดเชื่อมต่อที่อยู่ใกล้กับสถานีสุวินทวงศ์ให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้มีระยะทางไกลเกินไป โดยการให้บริการจะเป็นในลักษณะเดียวกันกับรถไฟฟ้าบีทีเอส คาดว่าจะใช้งบประมาณเพิ่มเติมไม่มาก และสามารถเปิดให้บริการได้พร้อมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูในช่วงปกติ

“ขณะนี้ สนข.มีแผนที่จะนำเสนอเพื่อสร้างเพิ่มอีก 1 เส้นทาง เพราะไม่สามารถปรับเปลี่ยนสถานีปลายทางจากมีนบุรีไปเป็นสุวินทวงศ์ได้ หากปรับเปลี่ยนจะต้องเริ่มศึกษาโครงการใหม่ทั้งหมด จะต้องใช้ระยะเวลานานในการศึกษา กว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ก็อีกนานหลายปี จากปัจจุบันที่โครงการดังกล่าวจะเริ่มประกวดราคาได้แล้ว” นายจุฬา กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ สนข.จะต้องศึกษาการเพิ่มเส้นทางดังกล่าวควบคู่กันไปกับการประกวดราคา และก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีบุรี โดยภายหลังศึกษาแล้วเสร็จจะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ คาดว่าจะสามารถก่อสร้างได้แล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้พร้อมกัน เนื่องจากเส้นทางที่ก่อสร้างเพิ่มเติมมีระยะทางสั้นกว่า ระยะเวลาการก่อสร้างก็ใช้น้อยกว่าด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44776
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/10/2012 7:57 am    Post subject: Reply with quote

ทำแพลนนิ่งรถไฟฟ้าให้นิ่ง
ไทยรัฐออนไลน์ 29 ตุลาคม 2555, 05:00 น.

“รายงานวันจันทร์”-เปลี่ยนรัฐบาลเปลี่ยนแผนรถไฟฟ้า!?!

หลังจากที่ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 17 ต.ค.2555 ที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ในฐานะประธาน คจร. มีมติเห็นชอบแผนเร่งรัดโครงการระบบขนส่งมวลชน หรือแผนแม่บทรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง จากที่รัฐบาลก่อนหน้าเคยอนุมัติไว้ 12 เส้นทาง

กรณีนี้ทำให้หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า แผนแม่บทรถไฟฟ้าของประเทศไทยจะถูกปรับเปลี่ยนทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนรัฐบาล ทำให้โครงการต่างๆย่ำอยู่กับที่ไม่คืบหน้า...เรื่องนี้ ดร.จุฬา สุขมานพ ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะมาชี้แจงให้ทราบ ผ่าน “รายงานวันจันทร์” ในวันนี้

ถาม-การปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้า จะทำให้โครงการล่าช้าออกไปหรือไม่

ผอ.สนข.-แผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนยังเหมือนเดิม เพียงแต่รัฐบาลชุดปัจจุบันมีนโยบายให้เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้า 10 เส้นทางให้เร็วขึ้น โดยตั้งเป้าเปิดประกวดราคาภายในปี 2557 และต้องแล้วเสร็จภายในปี 2562 รวมระยะทาง 464 กม. ได้แก่
1.สายสีแดงเข้ม รังสิต-มหาชัย แบ่งเป็น 2 ช่วง
ช่วงแรก หัวลำโพง-บางซื่อ-รังสิต
ช่วง 2 หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย
2.สายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ มี 2 ช่วง
ช่วงแรก ยมราช-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ
ช่วง 2 บางซื่อ-ตลิ่งชัน
3.สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ
4.สายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ มี 2 ช่วง
ช่วง แรก บางใหญ่-บางซื่อ
ช่วง 2 บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ
5.สายสีส้ม บางกะปิ-บางบำหรุ
6.สายสีเขียวอ่อน พรานนก-สมุทรปราการ
7.สายสีเขียวเข้ม สะพานใหม่-หมอชิต
8.สายสีเหลือง
ช่วงแรกสายสีเหลืองอ่อน รัชดา-ลาดพร้าว-พัฒนาการ
ช่วง 2 สีเหลืองเข้ม วงแหวนพัฒนาการ-สำโรง 17.8 กม.
9.สายสีน้ำตาล บางกะปิ-มีนบุรี และ
10.สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี

ทั้งนี้ในจำนวน 10 เส้นทางที่เป็นโครงการส่วนต่อขยายจากเส้นทางหลัก จะเริ่มประกวดราคาหลังปี 2562

ทั้งนี้ 2 เส้นทางที่ตัดออกอยู่ในความรับผิดชอบของ กทม. ได้แก่
สายสีเทา วัชรพล-สะพานพระราม 8 และ
สายสีฟ้า ดินแดง-สาทร

ถาม...การก่อสร้างจะเดินหน้าตามแผนเดิมหรือไม่อย่างไร

ผอ.สนข.-จะยึดตามแผนแม่บท โดยโครงการที่จะประกวดราคาภายในปี 2555 ได้แก่ สายสีแดง ช่วงพญาไท-บางซื่อ และตลิ่งชัน-ศาลายา สายสีเขียว หมอชิต-คูคต ปี 2556 สายสีแดง บางซื่อ-รังสิต และแอร์พอร์ตลิงค์ จากบางซื่อ-ดอนเมือง สายสีเขียว สมุทรปราการ-บางปู สายสีชมพู สายสีส้ม และปี 2557 สายสีม่วง บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ และ สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในปี 62

ถาม...การตัด 2 โครงการของ กทม.ออก จะถูกมองว่ามาจากความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับ กทม.หรือไม่

ผอ.สนข.-เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการเมืองหรือการขัดแย้ง เพียงแต่รัฐบาลต้องการเร่งรัดโครงการของหน่วยงานภายใต้การดูแลของรัฐบาลโดยตรง เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามมติ ครม.เดิม

ถาม-ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงเส้นทางอีกหรือไม่ เพราะเปลี่ยนรัฐบาลทีก็ปรับกันที

ผอ.สนข.-ขณะนี้แผนงานโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ได้เสนอเข้าบรรจุใน พ.ร.บ.เงินกู้ด้านโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นวงเงินค่าก่อสร้างรถไฟฟ้า 1.9 ล้านล้านบาท เมื่อเป็นกฎหมายหากจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจะต้องชี้แจงต่อสภาผู้แทนฯ ทำให้โครงการนิ่งและเดินหน้าตามแผนงานที่วางได้

ผิดจากที่เดิมอาศัยมติ ครม.อนุมัติโครง-การ พอเปลี่ยนรัฐบาล โครงการที่อนุมัติแล้วมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงตามนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่!!!!!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 60, 61, 62 ... 278, 279, 280  Next
Page 61 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©