Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311322
ทั่วไป:13283674
ทั้งหมด:13594996
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 64, 65, 66 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/11/2012 8:07 am    Post subject: Reply with quote

กทม.ได้แค่ทำโมโนเรล หลังปิดฉากหมดโอกาสทำรถไฟฟ้า สนข.แนะสายเทา-ฟ้าเดินหน้าได้เลย
เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2555 เวลา 07:29 น.

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า จากที่ขณะนี้รัฐบาล โดยที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการขนส่งและจราจรทางบก (คจร.) ได้เร่งรัดแผนดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 10 สาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ 3 หน่วยงาน คือ กทม.ดูแลรถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งมีบริษัทระบบขนส่งมวชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นผู้ให้บริการ ส่วนที่เหลืออยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)โดยจะเปิดให้บริการครบทั้ง 10 สายได้ภายในปี 2562 รวมระยะทางทั้งสิ้น 464 กิโลเมตร ทั้งนี้ในส่วนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) นั้น ที่ผ่านมาทราบว่า กทม.ได้ศึกษาความเหมาะสมโครงการระบบขนส่งมวลชน 4 สายซึ่งมีทั้งโมโนเรลและไลท์เรล ทั้งที่ กทม.มีความพร้อมทั้งในเรื่องของแบบการก่อสร้างและงบประมาณที่จะดำเนินการอยู่แล้ว แต่ยังไม่สามารถก่อสร้างได้ โดยโมโนเรลสายแรกที่ กทม.เสนอก่อสร้างสายสยาม-สามย่านนั้นอยู่ในขั้นตอนเพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นการก่อสร้างโครงการในพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ ซึ่งการรอขั้นตอนที่เกี่ยวข้องทำให้ กทม.ไม่สามารถเดินหน้าโครงการฯ ดังกล่าวต่อไปได้ในขณะนี้

นายจุฬา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามหาก กทม.ต้องการทำโครงการระบบขนส่งฯ ให้เกิดขึ้นได้เร็ว น่าจะพิจารณาดำเนินการในส่วน สายสีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) และสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) ที่ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการจัดระบบการขนส่งและจราจรทางบก (คจร.) เมื่อปี 2553 เรียบร้อยแล้ว เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กทม.และแนวเส้นทางและการศึกษาความเหมาะสม สนข.ก็มีการศึกษาเบื้องต้นไว้แล้ว ซึ่งหาก กทม.มีความพร้อมในเรื่องงบประมาณที่จะดำเนินการ ก็สามารถประสานขอแบบเบื้องต้นจาก สนข.นำไปดำเนินการออกแบบรายละเอียดและประกวดราคาก่อสร้างได้เลย จะทำให้ผลักดันให้เกิดระบบขนส่งมวลชนสายใหม่รองรับการเดินทางของประชาชนได้รวดเร็วขึ้น หาก กทม.จะศึกษาทำในเส้นทางอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในแผนแม่บทขนส่งมวลชนที่ สนข.ได้พิจารณาไว้ กทม.ก็ต้องเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาตามลำดับต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่าที่ผ่านมา กทม.จะมุ่งเน้นทำส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว แต่ถูกรัฐบาลตัดตอนไปให้ รฟม.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องระบบขนส่งมวลชนโดยตรงดำเนินการ จะต่อขยายออกไปถึงสมุทรปราการและลำลูกกา ฉะนั้นถือว่าหมดโอกาสที่จะทำรถไฟฟ้าต่อ แต่ทั้งนี้ กทม.ยังมีโอกาสทำรถไฟฟ้าสายรองหรือโมโนเรล เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางหลักได้.

----

เซ็นทรัล-บิ๊กซีรุมจีบรฟม.ขอเชื่อมพื้นที่กับสถานีรถไฟฟ้า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤศจิกายน 2555 19:52 น.

รฟม.เผยเซ็นทรัลเสนอขอเชื่อมพื้นที่เข้าสถานี รถไฟฟ้าสีม่วงและน้ำเงินรวม 5 จุด. ส่วนบิ๊กซี่สนใจใช้ที่จอดรถผุดซุปเปอร์มาร์เก็ต(เอ็กเพรส) "ยงสิทธิ์"ชี้ต้องเร่งวางแผนเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ตามแนวเส้นทาง เน้นเปิดพื้นที่ใหม่เจรจาเจ้าของร่วมพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่ม

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเอกชนแสดงความสนใจให้รฟม.ต่อเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าเข้าไปในกับพื้นที่เช่น กลุ่มเซ็นทรัล เสนอขอเชื่อมสถานีรถไฟฟ้ากับพื้นที่ของตัวเองรวม 5 จุด โดยอยู่ในแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) 2 จุด และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ) 3 จุด ซึ่งบางจุดยังเป็นพื้นที่ว่างที่คาดว่าทางเซ็นทรัลจะมีการพัฒนาในอนาคต โดยจะเป็นรูปแบบเดียวกับสถานีพระราม9 ของรถไฟฟ้าใต้ดินที่เชื่อมกับเซ็นทรัลพระราม9 ทำให้ห้างมีคนเข้าไปใช้บริการจาก 2 หมื่นคนต่อวันเป็น 4 หมื่นคนต่อวัน นอกจากนี้ทางบิ๊กซี่ ยังแสดงความสนใจพื้นที่ในส่วนจอดรถหลังสถานี (Park&Ride) เพื่อตั้งบิ๊กซี่เอ็กเพรส เป็นต้น

"หลังจากนี้ การประสานหรือเจรจากับเจ้าของอาคารหรือที่ดินที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าจะต้องทำก่อนเพื่อให้สามารถวางแผนในการเตรียมพื้นที่และออกแบบเผื่อพื้นที่เชิงพาณิชย์ไว้ได้อย่างเหมาะสม ต้องปรับแนวคิดจากเดิมที่รถไฟฟ้าวิ่งหาพื้นที่ที่มีความหนาแน่น ซึ่งเจ้าของที่ดินได้ประโยชน์ที่ดินมีราคาแพง มาเป็นการวิ่งหาที่ว่างหรือหนาแน่นน้อย เพราะเมื่อมีรถไฟฟ้าและมีสิ่งอำนวยความสะดวก คนจะมาหา ช่วยลดต้นทุนโครงการลงด้วย"นายยงสิทธิ์กล่าว

ทั้งนี้ต้องยอมรับว่ารถไฟฟ้า 6 สายของรฟม.ได้ออกแบบไว้แล้วเป็นส่วนใหญ่จะมีที่ยังสามารถวางแผนตามแนวคิดดังกล่าวได้ คือ สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี-) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ที่ยังมีพื้นที่บางจุดหนาแน่นน้อย

นายยงสิทธิ์กล่าวว่า แนวคิดในการพัฒนารฟม.อย่างยั่งยืน นอกจากการเพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผนแล้วจะต้องเพิ่มรายได้โดยเพิ่มความสะดวกในการเข้าใช้บริการ เพิ่มรายได้จากร้านค้า โฆษณา พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วย ซึ่งรฟม.มีพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงจะมีการจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงแผนพัฒนาใหม่

นอกจากนี้จะต้องลดต้นทุน,ให้เอกชนร่วมลงทุนหรือให้สัมปทานPPP,โอนหนี้สินกว่าแสนล้านบาทในส่วนโครงสร้างพื้นฐานงานโยธา ซึ่งไม่คืนทุนและค่าเสื่อมราคาเพื่อให้มีกำไร,จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการ 5 เรื่อง คือ บริษัทพัฒนาธุรกิจ (เช่าพื้นที่,โฆษณา) บริษัทเดินรถ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทวิศวกรรมที่ปรึกษาและบริษัทบริหารการเชื่อมต่อและที่จอดรถ

ปัจจุบันรฟม.มีรายได้จากค่าเช่าพื้นที่และโฆษณาประมาณ 135 ล้านบาทต่อปี ส่วนบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอลมีรายได้ประมาณ100 กว่าล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยเพราะการเริ่มต้นหารายได้เชิงพาณิชย์ช้า มาคิดภายหลัง แต่เชื่อว่าหลังจากนี้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หากมีโครงข่ายรถไฟฟ้าถึง 200 กิโลเมตร ตามแผนงานที่กำหนด เพราะรถไฟฟ้าจะมีถึง 200 สถานี ส่งผลให้มีรายได้ที่ไม่ใช่ค่าโดยสารประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/11/2012 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เปิดประมูลรถไฟสีชมพูกลางปี 56 เจรจา BLAND ตั้งสถานี-โรงจอดในเมืองทองฯ
ข่าวหุ้น วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2555 เวลา 11:34:36 น.

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.จะเปิดประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรีในช่วงกลางปี 56 โดยอยู่ระหว่างเจรจากับ บริษัท บางกอกแลนด์จำกัด (มหาชน) หรือ BLAND ที่จะตัดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าเมื่อทองธานีจำนวน 2 สถานี และใช้เป็นโรงจอด และซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าด้วย ซึ่งต้องใช้พื้นที่ประมาณ 30 ไร่ และใช้วงเงินลงทุนประมาณ 1.5 พันล้านบาท จึงส่งให้สำนักงานกฤษฎีกาตีความว่าเข้าข่ายต้องใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หรือไม่ โดยได้ส่งเรื่องไปเป็นเวลา 1 เดือนแล้ว

ทั้งนี้ BLAND เสนอให้ใช้ที่ดินโดยไม่คิดค่าเช่า ส่วนนี้จะทำให้ รฟม.ประหยัดค่าเวนคืนที่ดิน แต่มีเงื่อนไขให้บริษัทสามารถสร้างอาคารเหนือโรงจอดรถไฟฟ้าที่อยู่ชั้นใต้ดิน

สำหรับเหตุผลที่ รฟม.เลือกเมืองทองธานีเป็นจุดผ่านของเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายสีชมพู เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการจัดงานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีจำนวนผู้ที่ต้องการเดินทางจำนวนมาก และเป็นแหล่งชุมชน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเพิ่มขึ้นวันละ 2 แสนคน หรือไม่น้อยกว่าผู้ที่เยี่ยมชมงานไม่น้อยกว่า 15 ล้านคนต่อปี

นอกจากนี้ รฟม.ประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 25.5 กม.ในช่วงต้นปี 56 และในช่วงปลายปีหน้าจะเปิดประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กม.

โดยจากนี้ต่อไปนอกเหนือจากการพัฒนารถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑลแล้ว รฟม.จะเข้าไปวางแผนพัฒนารถไฟฟ้าในจังหวัดใหญ่ๆ ในภาคต่างๆ เพื่อดึงดูดให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้นแทนการใช้รถส่วนบุคคล ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และ พัทยา เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2012 11:47 pm    Post subject: Reply with quote

เล็งผุดศูนย์ซ่อม รถไฟฟ้าสีชมพู ที่เมืองทองธานี
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์ 28 November 2555 - 00:00

รฟม.เร่งเจรจาขอใช้พื้นที่ 30 ไร่ของบางกอกแลนด์ สร้างศูนย์ซ่อมและโรงจอดรถ สายสีชมพู แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี พร้อมเพิ่มสถานีอีก 2 แห่ง รองรับผู้โดยสารในย่านเมืองทองธานี คาดใช้งบลงทุนกว่า 1 พันล้านบาท คาดเปิดประมูลกลางปี 56
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับทางบริษัท บางกอกแลนด์ (BLAND) เพื่อตัดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี เข้าเมืองทองธานี และใช้เป็นโรงจอดและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าคาดว่าจะใช้พื้นที่ประมาณ 30 ไร่ และจะต้องใช้วงเงินลงทุนเพิ่มกว่า 1,000 ล้านบาท ดังนั้น รฟม.จึงส่งให้สำนักงานกฤษฎีกาตีความว่าเข้าข่ายต้องใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หรือไม่ โดยได้ส่งเรื่องนี้ไป 1 เดือนแล้ว คาดว่าภายในกลางปี 2556 จะสามารถเปิดประกวดราคาได้
ทั้งนี้ รฟม.วางแผนการใช้เส้นทางผ่านเมืองทองธานี มีจำนวน 2 สถานี และ ทำโรงจอดรถไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้พื้นที่เกือบ 30 ไร่ ในเมืองทองธานี คาดใช้เงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 1,500 ล้านบาท โดย บางกอกแลนด์ เสนอให้ใช้ที่ดินโดยไม่คิดค่าเช่าซึ่งส่วนนี้จะทำให้ รฟม.ประหยัดค่าเวนคืนได้ แต่มีเงื่อนไขให้บางกอกแลนด์สามารถสร้างอาคารเหนือโรงจอดรถไฟฟ้าที่อยู่ชั้นใต้ดินได้
“เหตุผลที่ รฟม.เลือกเมืองทองธานีเป็นจุดผ่านของเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายสีชมพู เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการจัดงานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีจำนวนผู้ที่ต้องการเดินทางจำนวนมากและเป็นแหล่งชุมชน ซึ่งคาดว่าหากตัดเส้นทางไปจะทำให้มีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเพิ่มขึ้นวันละ 2 แสนคน หรือไม่น้อยกว่าผู้ที่เยี่ยมชมงานไม่น้อยกว่า 15 ล้านคนต่อปี” นายยงสิทธิ์ กล่าว
นายยงสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต- สะพานใหม่-คูคต คาดว่าจะเริ่มประกวดราคาได้ต้นปี 56 และในช่วงปลายปีหน้า จะเปิดประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/12/2012 9:16 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมชงครม.อนุมัติ BMCL เดินรถไฟสายสีม่วง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 7 ธันวาคม 2555 08:56

คมนาคมเตรียมเสนอครม.สัปดาห์หน้า ขออนุมัติจ้าง BMCL เดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง "บางใหญ่-บางซื่อ"
...
...
ส่วนความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท รมว.คมนาคม กล่าวว่า ให้ รฟม. สรุปรายละเอียดข้อมูล เปรียบเทียบให้เห็นว่าตามแผนเดิมจะหยุดที่ตลาดมีนบุรี แต่มีการเสนอให้ขยายไปทางแนวถนนสุวินทวงศ์ ต้องพิจารณาปริมาณผู้โดยสาร แนวเส้นทาง ความเป็นไปได้ทางเทคนิค และจะยกเลิกสถานีมีนบุรีหรือไม่ ต้องพิจารณาและมีเหตุผลที่รอบคอบและชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2012 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

แนะรัฐลงทุน "รถไฟฟ้ามวลเบา" 14 โครงข่ายถนนทะลุทั่ว กทม.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
4 ธันวาคม 2555 เวลา 14:09:15 น.

ดร.โสภณ พรโชคชัย ซีอีโอ "AREA-บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส" นำเสนอบทความ "รถไฟฟ้ามวลเบา-Light Rail Transit" หรือรถไฟฟ้าขนาดเบา โดยเทียบเคียงจากตัวอย่างจริงในประเทศสิงคโปร์โดยระบบรถไฟฟ้า (Mass Rapid Transit) ของสิงคโปร์ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2530 มีผู้ใช้บริการ 2.406 ล้านคน ประกอบด้วย 102 สถานี รวมระยะทาง 148.9 กม. บนพื้นที่ 625 ตร.กม.เท่านั้น

ลักษณะของรถไฟฟ้าขนาดเบาคล้ายกับระบบรถไฟฟ้าที่เชื่อมระหว่างอาคารท่าอากาศยานของท่าอากาศยานใหญ่ ๆ ทั่วโลก โดยมากเป็นรถไฟฟ้าตู้เดียวหรือไม่กี่ตู้

ในที่นี้หยิบตัวอย่างพื้นที่ Punggol ในฐานะเมืองใหม่ที่มีระบบรถไฟฟ้ามวลเบาวิ่ง เป็นเมืองที่มีขนาดประมาณ 9.57 ตร.กม. หรือประมาณ 5,981 ไร่ ขณะที่บริเวณที่อยู่อาศัยมีขนาดเพียงประมาณ 2,000 ไร่ มีที่อยู่อาศัย 16,000 หน่วย อัตราค่าโดยสารกำหนดไว้ตั้งแต่ 20-25 บาท นับว่าถูกมากสำหรับคนสิงคโปร์ที่มีรายได้มากกว่าคนไทยประมาณ 6 เท่า

ข้อเสนอแนะของ "อ.โสภณ" ก็คือ มหานครกรุงเทพ น่าจะลงทุนทำรถไฟฟ้ามวลเบาให้เป็นระบบเสริมการเดินทาง เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายหลัก อย่างน้อยมี 14 โครงข่ายถนนที่มีชุมชนหนาแน่น ได้แก่

1.ถนนพญาไท บรรทัดทอง อังรีดูนังต์ (Monorail ที่กทม. อยากทำ)
2.ถนนเจริญกรุง (ถนนตก) ตรอกจันทน์ เซนต์หลุยส์
3.ถนนทองหล่อ ซอยสุขุมวิท 49 (ซอยกลาง) เอกมัย
4.ถนนอ่อนนุชและบริเวณใกล้เคียง
5.ถนนสรรพาวุธและบริเวณใกล้เคียง
6.ถนนเทียมร่วมมิตร (แทนทางสายส้มที่โดนย้ายที่)
7.ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ชานเมือง ประชาสงเคราะห์
8.ถนนอินทามระ
9.ถนนประชาชื่น - ประชาราษฎร์สาย 1 (เชื่อมสายชมภูและม่วงเข้าด้วยกัน)
10.ถนนรัชดาภิเษก - พหลโยธิน (ช่วง ราชภัฏจันทร์เกษม)
11.ถนนประดิพัทธ์ - อารีย์สัมพันธ์
12.ถนนพระราม 1 พระราม 6 เพชรบุรี (กทม. เองก็อยากทำอยู่เหมือนกัน)
13.ถนนสี่พระยา เจริญกรุง สุรวงศ์
14.ถนนเจริญนคร สมเด็จเจ้าพระยา เป็นต้น

กรุงเทพมหานครกำลังจะเลือกตั้งผู้ว่าราชการคนใหม่ในเดือน ก.พ. 2556 นอกจากนโยบายหาเสียงเรื่องทำที่กลับรถเกือกม้า โครงการรถไฟฟ้าขนาดเบา ก็นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/12/2012 7:07 am    Post subject: Reply with quote

“กมธ.”จี้คมนาคม-รฟม. ปรับเส้นทางสายสีชมพู
แนวหน้า วันพุธ ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555, 06.00 น.

แหล่งข่าวจาก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ นายปวีณ แซ่จึง ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การปกครองท้องถิ่น สภาผู้แทนราษฏร ได้ทำหนังสือถึง กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เพื่อส่งรายงานผลการพิจารณาการกำหนดแนวเส้นทางรถไฟฟ้า สายสีชมพู(ช่วงแคราย-มีนบุรี)ที่เหมาะสม โดยแนวเส้นทางเดิมจาก ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะสิ้นสุดที่ตลาดมีนบุรี และทางเลือกที่ 2 แนวเส้นทางไปถนนสุวินทวงศ์

โดยคณะกรรมาธิการฯเห็นว่ารัฐบาลควรพิจารณาก่อสร้างไปตามแนวเส้นทางที่ 2 สิ้นสุดที่ถนนสุวินทวงศ์จะมีความเหมาะสมกว่า เพราะคุ้มค่าต่อการลงทุน และสามารถรองรับประชาชนในพื้นที่ได้ครอบคลุมมากกว่า

ทั้งนี้จากการที่ กรรมาธิการฯได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)รฟม. ผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ เข้าให้ข้อมูล รวมทั้งได้ลงพื้นที่เพื่อจัดทำประชาพิจารณ์การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนี้ หลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ เพื่อขอให้มีการปรับเปลี่ยนและขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูให้มีความเหมาะสม จากเส้นทางเดิมที่สิ้นสุดตลาดมีนบุรี แต่หลังทำการสำรวจ-ออกแบบ และทำประชาพิจารณ์แล้วทุกฝ่ายเห็นควรเสนอทบทวนปรับเปลี่ยนเส้นทางไปตามถนนสุวินทวงศ์ไปสิ้นสุดถนนสุวินทวงศ์ (การไฟฟ้ามีนบุรี)

ก่อนหน้านี้ประธานบอร์ด รฟม.ได้ทำความเห็นคัดค้านการปรับเปลี่ยนสายทางดังกล่าว โดยเห็นว่าแนวทางเดิมมีความเหมาะสมอยู่แล้ว และการปรับเปลี่ยนขยายสายทางเพิ่มเติมจะทำให้โครงการล่าช้า

“ไหน ๆ โครงการนี้ก็ต้องล่าช้าออกไปร่วมปีอยู่แล้ว จากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นและมูลค่าโครงการที่เพิ่มขึ้นซึ่งน่าจะอยู่ที่ 50,000-60,000 ล้านบาท ก็น่าจะถือโอกาสนี้ทบทวนสายทางให้มันสะเด็ดน้ำไปทีเดียว อย่าลืม ว่า โครงการรถไฟฟ้านี้ไม่ได้ลงทุนแค่พันสองพันล้านแต่ลงทุนเป็นหลายหมื่นล้านบาทและต้องใช้กันไปเป็น 50 เป็น 100 ปี ยิ่งโครงการนี้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ ระดมความเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม หากทำแล้วกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลไม่ยอมรับฟังก็ไม่รู้จะมีประชาพิจารณ์ไปทำไม” แหล่งข่าว กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 12/12/2012 9:25 am    Post subject: Reply with quote

เสนอรฟม.ทบทวนสายสีชมพู สิ้นสุดถนนสุวินทวงศ์เหมาะสม

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 11 ธันวาคม 2555 22:10 น.

ASTVผู้จัดการรายวัน -เผยกมธ.ปกครองท้องถิ่นส่งหนังสือเสนอแนะ"คมนาคม-รฟม." หาความเหมาะสมสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ชี้สิ้นสุดถนนสุวินทวงศ์ดีกว่า

รายงานข่าวแจ้งถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ว่า สิ้นเดือนที่ผ่านมา นายปวีณ แซ่จึง ประธานคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เพื่อส่งรายงานผลการพิจารณาการกำหนดแนวเส้นทางรถไฟฟ้า สายสีชมพูที่เหมาะสม ระหว่างสายทางเดิม จากศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะสิ้นสุดที่ตลาดมีนบุรีและทางเลือกที่ 2 แนวเส้นทางถนนสุวินทวงศ์ โดยคณะกรรมาธิการฯเห็นว่ารัฐบาลควรพิจารณาก่อสร้างไปตามแนวเส้นทางที่ 2 สิ้นสุดที่ถนนสุวินทวงศ์จะมีความเหมาะสมกว่า เพราะคุ้มค่าต่อการลงทุน และสามารถรองรับประชาชนในพื้นที่ได้ครอบคลุมมากกว่า

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ทางกรรมาธิการฯได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสนข. รฟม. ผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ เข้าให้ข้อมูล รวมทั้งได้ลงพื้นที่เพื่อจัดทำประชาพิจารณ์การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนี้ หลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ เพื่อขอให้มีการปรับเปลี่ยนและขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูให้มีความเหมาะสม จากเส้นทางเดิมที่สิ้นสุดตลาดมีนบุรี แต่หลังทำการสำรวจ-ออกแบบและทำประชาพิจารณ์แล้วทุกฝ่ายเห็นควรเสนอทบทวนปรับเปลี่ยนเส้นทางไปตามถนนสุวินทวงศ์ไปสิ้นสุดถนนสุวินทวงศ์ (การไฟฟ้ามีนบุรี)

“ ตอนนี้ ยังมีเวลา อีกทั้ง โครงการก็ยังไม่รุดหน้าเท่าที่ควร จึงเป็นเรื่องที่ดีในการดูและทบทวนสายทางให้ดีขึ้น อย่าลืม ว่า โครงการรถไฟฟ้านี้ไม่ได้ลงทุนแค่พันสองพันล้านแต่ลงทุนเป็นหลายหมื่นล้านบาทและต้องใช้กันไปเป็น 50 เป็น 100 ปี จนชั่วลูกชั่วหลาน จึงไม่อาจจะทำเอาแบบสุกเอาเผากิน ยิ่งโครงการนี้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ ระดมความเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม หากทำแล้วกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลไม่ยอมรับฟังก็ไม่รู้จะมีประชาพิจารณ์ไปทำไม”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/12/2012 7:19 am    Post subject: Reply with quote

'ชัชชาติ'ยันจำเป็นสร้างรถไฟฟ้าสีชมพูผ่านตลาดมีน
ไทยรัฐออนไลน์ 13 ธันวาคม 2555, 04:00 น.

"ชัชชาติ" ยอมรับมีผู้เห็นด้วยและค้านก่อสร้างรถไฟฟ้าสีชมพูผ่านตลาดมีนบุรี เพราะหวั่นรถติด สั่งจัดระเบียบรถโดยสารล่วงหน้าแก้ปัญหาจราจร ยันจำเป็นต้องสร้าง คาดประกวดราคาเดือน ก.พ.ปีหน้า...

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.2555 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ว่า จากที่ได้ไปสอบถามประชาชนที่อาศัยบริเวณตลาดมีนบุรี พบว่า ประชาชนมีความเห็นต่างกันกรณีที่แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูผ่านตลาดมีนบุรี โดยมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย สาเหตุที่ไม่เห็นด้วยเพราะกังวลปัญหารถติด แต่ไม่ได้คัดค้านโครงการรถไฟฟ้า ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ร่วมกันจัดระเบียบรถโดยสารสาธารณะบริเวณดังกล่าว โดยไม่ต้องรอให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเริ่มก่อสร้าง

“ตลาดมีนบุรีถือเป็นศูนย์คมนาคมแห่งหนึ่งที่สำคัญ เพราะมีรถโดยสารสาธารณะ ทั้งรถตู้ ขสมก. รถเมล์ และรถโดยสาร บขส. ให้บริการเข้าออกวันละประมาณ 1 หมื่นเที่ยว ประกอบกับบริเวณดังกล่าวยังมีกิจกรรมหลายอย่าง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ระบบรถไฟฟ้าต้องเข้าไปรับส่งผู้โดยสารในตลาดมีนบุรี ส่วนกรณีที่ประชาชนบางส่วนเสนอให้แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูผ่านถนนสุวินทวงศ์ แทนการเข้าไปตลาดมีนบุรีนั้น จะได้สำรวจปริมาณผู้โดยสารในเส้นทางดังกล่าวว่ามีมากน้อยเพียงใด หากพบว่ามีจำนวนมาก อาจสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงมีนบุรีออกเป็น 2 เส้น ลักษณะคล้ายตัว Y”

อย่างไรก็ตาม เส้นทางที่เสนอใหม่นั้น มีระยะห่างจากเส้นทางเดิมไม่มาก ประมาณ 800 ม. หากสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าเพียงเส้นทางเดียว จะง่ายในการจัดระบบรถฟีดเดอร์ที่รับส่งผู้โดยสารเข้าระบบรถไฟฟ้าได้ง่ายกว่า โดยคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเลือกแนวทางใด ก่อนที่จะเสนอให้กระทรวงคมนาคม และ ครม.พิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป คาดว่าจะประกวดราคาได้ในเดือน ก.พ. 2556

สำหรับรูปแบบการประกวดราคานั้น เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว จึงกำหนดให้ออกแบบไปพร้อมก่อสร้าง และประกวดราคาระบบรถไฟฟ้าก่อนงานโยธา ซึ่งจะกำหนดมาตรฐานระบบรถไฟฟ้าเป็นมาตรฐานกลาง เบื้องต้น รฟม. เสนอให้แบ่งสัญญาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูออกเป็น 6 สัญญา เช่น งานระบบรถไฟฟ้า งานโยธา งานระบบไฟฟ้า และอื่นๆ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ซึ่งพบว่ามีความล่าช้าประมาณ 2 เดือน เนื่องจากปัญหาเรื่องการปรับแบบ ซึ่งจะได้เร่งรัดกระบวนการเพื่อนำเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติดำเนินโครงการไป พร้อมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 14/12/2012 11:51 am    Post subject: Reply with quote

ดึง”สายสีชมพู”เข้าตลาดเอื้อนายทุน
ข่าวทั่วไทย เดลินิวส์
วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2555 เวลา 07:35 น.

นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี โดยมีแนวปลายเส้นทางช่วงมีนบุรีอยู่ที่ตลาดมีนบุรี ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่ม ส.ส.กทม.ในพื้นที่ดังกล่าวเห็นว่าเส้นทางเข้าตลาดมีนบุรีมีประชาชนใช้น้อย จึงจัดทำประชาพิจารณ์อีกครั้งโดยเชิญชาวบ้านย่านมีนบุรีมาร่วมแสดงความเห็นจนได้ข้อสรุปเป็นมติที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายว่า จะเปลี่ยนจุดปลายทางจากตลาดมีนบุรีเป็นที่ถนนสุวินทวงศ์แทน เพราะสามารถรองรับประชาชนในพื้นที่คลองสามวา มีนบุรี และหนองจอกได้มากกว่า อีกทั้งคนที่จะนั่งรถไฟฟ้าเพื่อไปตลาดมีน้อยกว่าคนชานเมืองที่ต้องการนั่งรถไฟฟ้าเข้าเมือง จึงได้เสนอแผนที่ได้ทำประชาพิจารณ์ไปให้ รฟม.พิจารณา แต่ รฟม.กลับยืนยันว่าจะก่อสร้างตามแนวเส้นทางเดิม เพราะได้ศึกษารายละเอียดโครงการไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตนเห็นว่าไม่ถูกต้อง การทำโครงการควรเรียกประชาชนไปแสดงความเห็น ไม่ใช่เรียกไปนั่งฟังเฉย ๆ อีกทั้งหากยืนกรานตามเส้นทางเดิมมีแต่นายทุนเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ แต่ประชาชนจำนวนมากกว่าเสียประโยชน์ทำไมไม่พิจารณาใหม่ เรื่องนี้ทาง ส.ส.ในพื้นที่ดังกล่าว จะหารือกับนายกรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณาถึงความเหมาะสมในเรื่องนี้ต่อไป.

//------------------------------------------
พอไม่ได้อย่างใจก็อาละวาดฟาดงวงฟาดงายังกะช้างตกมัน แถมยืมปากหนังสือพิมพ์ มาทำโฆษณาชวนเชื่อเลยนะเอ็งนี่
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/12/2012 8:11 am    Post subject: Reply with quote

ระบบคมนาคมขยายสู่ฝั่งธนฯ อีก 3-4 ปี การจราจรคล่องตัว
เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2555 เวลา 07:53 น.

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงที่มีความเจริญเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ด้าน มีการพัฒนาทั้งด้านคมนาคม ที่อยู่อาศัย เศรษฐกิจการค้า ที่ไม่หยุดนิ่ง ทุกวันนี้ความเจริญทั้งหลายเหมือนจะล้นทะลักพื้นที่ 1,568.737 ตร.กม. แล้ว และเริ่มกระจายไปสู่จังหวัดปริมณฑลทั้งนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ

ด้านการคมนาคม ต้องยอมรับว่ากรุงเทพฯ ฝั่งพระนครมีความเจริญและมีระบบโครงข่ายถนน ทางด่วน และรถไฟฟ้า ที่มากกว่าฝั่งธนบุรี เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ระบบทางด่วนที่มีโครงข่ายเฉพาะด้านฝั่งพระนครเป็นส่วนมาก มีทางด่วนเข้าไปถึงฝั่งธนบุรีเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้น คือ ทางด่วนขั้นที่ 1 ลงที่ดาวคะนองและถนนสุขสวัสดิ์ ทำให้คนย่านฝั่งธนฯของกรุงเทพฯ โซนตลิ่งชัน บางพลัด ทวีวัฒนา บางแค รวมถึงย่านบางกรวย บางใหญ่ บางบัวทอง ของ จ.นนทบุรี ไม่มีทางเลือกในการเดินทาง

แต่ในช่วงนี้เหมือนหน่วยงานราชการจะให้ความสำคัญกับพื้นที่ย่านฝั่งธนฯ มากขึ้น ขณะนี้เริ่มมีโครงการก่อสร้างทางด่วนขยายมาทางด้านนี้บ้างแล้ว โดยโครงการแรกที่เริ่มลงพื้นที่ก่อสร้างแล้วเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา คือ โครงการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 16.7 กม. ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งมีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่ถนนกาญจนาภิเษก บริเวณโรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ ใกล้ทางแยกต่างระดับฉิมพลี จากนั้นแนวเส้นทางจะใช้พื้นที่เขตทางรถไฟสายตะวันตกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระรามที่ 6 จนถึงบริเวณบางซื่อ และเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช บริเวณด้านเหนือของสถานีขนส่งหมอชิต 2 เป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจร ทางขึ้น-ลง รวม 6 แห่ง ได้แก่
1. ย่านถนนกาญจนาภิเษก
2. แยกถนนราชพฤกษ์
3. แยกต่างระดับบรมราชชนนี
4. บางบำหรุย่านถนนสิรินธร
5. จรัญสนิทวงศ์ซอย 97
6. บริเวณพระรามที่ 6 และ
7. ถนนกำแพงเพชร ตรงทางแยกต่างระดับด่วนขั้นที่ 2 ผ่านเขตจตุจักร บางซื่อ บางพลัด ตลิ่งชัน ของ กทม. และอำเภอบางกรวย จ.นนทบุรี ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี คาดว่าเปิดใช้ได้ประมาณปลายปี 2559

โครงการที่สอง เป็นโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ (N1,N2,N3) ระยะทาง 43.2 กม. ของ กทพ. โดยก่อสร้างเป็นทางยกระดับในแนวเหนือใต้ จากถนนศรีนครินทร์ ไปที่ถนนนวมินทร์ ผ่านถนนเกษตรนวมินทร์ทั้งเส้น เข้าถนนงามวงศ์วาน รัตนาธิเบศร์ สิ้นสุดที่วงแหวนรอบนอกตะวันตก อยู่ระหว่างทบทวนการศึกษาความเหมาะสมโครงการกำหนดแล้วเสร็จในเดือน ส.ค. 2556 จากนั้นจะเสนอขออนุมัติโครงการ คาดว่าจะก่อสร้างได้ ในปี 2558 โดยจะเริ่มก่อสร้างในช่วง N 2 (สี่แยกเกษตรศาสตร์-ถนนนวมินทร์) ระยะทาง 9.2 กม. และช่วง N 3 (ถนนนวมินทร์-ถนนศรีนครินทร์จุดบรรจบระหว่างทางพิเศษศรีรัช) ระยะทาง 11.5 กม.ก่อน เนื่องจากมีโครงสร้างตอม่ออยู่แล้ว และจะทยอยสร้างในส่วนของ N 1 ที่มีแนวเส้นทางเริ่มจากแยกเกษตรศาสตร์ ผ่านถนนงามวงศ์วาน เข้าถนนรัตนาธิเบศร์ สิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางใหญ่ถนนวงแหวนตะวันตก ระยะทาง 22.5 กม. ซึ่งโครงการนี้จะทำให้การเดินทางจากด้านตะวันออก-ตะวันตกของกรุงเทพฯ สะดวกมากขึ้นโดยไม่ต้องผ่านใจกลางเมือง

นอกจากนี้ กทพ.ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกร เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษสายดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ที่เบื้องต้นโครงการนี้จะมีการก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณทางแยกต่างระดับดาวคะนอง มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกตามแนวถนนพระรามที่ 2 และไปสิ้นสุดที่ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก โดยจะจัดสัมมนารับฟังความเห็นผลสรุปโครงการว่าเหมาะสมควรก่อสร้างหรือไม่อีกครั้งประมาณเดือน มี.ค. 2556 ซึ่งโครงการนี้จะช่วยเพิ่มโครงข่ายทางพิเศษในแนวรัศมีชั้นนอก รองรับการเดินทางจากพื้นที่รอบนอกเข้าสู่พื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ โดยเชื่อมโยงกับทางพิเศษสายต่าง ๆ รวมทั้งช่วยแบ่งเบาปริมาณจราจรบนถนนที่อยู่ในแนวขนานกับแนวเส้นทางโครงการ เช่น ถนนพระรามที่ 2 ถนนเอกชัย

อีกโครงการเป็นโครงการของกรมทางหลวง (ทล.) ที่จะพัฒนาวงแหวนรอบนอก กทม.ด้านตะวันตก (บางขุนเทียน-บางปะอิน) ระยะทาง 70 กม. ให้เป็นระบบปิดและเก็บค่าผ่านทางตามมติ ครม.เหมือนกับวงแหวนฯส่วนอื่นที่เก็บค่าผ่านทางไปแล้ว ได้แก่ วงแหวนตะวันออก (บางปะอิน-บางพลี) และด้านใต้ (บางพลี-บางขุนเทียน) โดยก่อสร้างเป็นทางยกระดับบนถนนวงแหวนตะวันตก ตั้งแต่ต่างระดับบางขุนเทียนถึงสะพานข้ามคลองลำโพธิ์ โดยเก็บค่าผ่านทางสำหรับผู้ที่วิ่งด้านบน และขยายถนนเพิ่มตั้งแต่สะพานข้ามคลองลำโพธิ์ถึงบางปะอิน เก็บค่าผ่านทางผู้ที่วิ่งในช่องทางด่วน ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสม ก่อนเลือกมาเดินหน้าก่อสร้างในอีก 5-10 ปี แนวเส้นทางครอบคลุมพื้นที่ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา บางแค บางบอน บางขุนเทียน ของ กทม. อ.ปากเกร็ด บางบัวทอง บางใหญ่ บางกรวย จ.นนทบุรี อ.สามโคก ลาดหลุมแก้ว เมือง จ.ปทุมธานี อ.บางปะอิน บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ที่บริเวณต่างระดับบางใหญ่ยังเป็นจุดเริ่มต้นโครงการใหญ่ของ ทล.อีก 1 โครงการ คือ มอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ระยะทาง 100 กม. ซึ่งอยู่ในแผนลำดับต้น ๆ ที่ ทล.จะหยิบมาเดินหน้าก่อสร้างในเร็ว ๆ นี้

พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผู้บังคับการตำรวจจราจร (ผบก.จร.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันการจราจรย่านฝั่งธนฯ ถือว่าติดขัด หากมีระบบทางด่วนเพิ่มขึ้นในย่านนี้ จะช่วยให้การระบายรถทำได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการเก็บค่าผ่านทางวงแหวนตะวันตก หากมีการก่อสร้างถนนเพิ่มขึ้นจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรได้ดี รวมถึงระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ที่เป็นแนวเหนือใต้ ช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางที่หลากหลาย และทำให้การเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกมีความสมบูรณ์ ผู้ขับขี่ที่ไม่ต้องการวิ่งเข้าเมืองมีทางเลือกมากขึ้น ซึ่งช่วยลดปัญหาการจราจรแออัดในเมืองได้

ความเจริญด้านการคมนาคมที่ขยายมาถึงทางฝั่งธนบุรี และฝั่งตะวันตกของ กทม. มิได้มีเพียงแต่ทางด่วนที่ใช้ขนรถเท่านั้น แต่ยังมีโครงการขนคนด้วยระบบรถไฟฟ้าพาดผ่านเข้ามาด้วย ทั้งรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายบีทีเอสจากวงเวียนใหญ่ไปถึงบางหว้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค ซึ่งเป็นโครงการที่เดินหน้าก่อสร้างแล้วทั้งสิ้น โดยเส้นบางหว้าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2556 ส่วนสายสีม่วงเปิดให้บริการปลายปี 2558 และสายสีน้ำเงินเปิดให้บริการในปี 2559

ก่อนที่ความเจริญจะเข้าถึง คนที่อยู่ตามแนวเส้นทางโครงการต่าง ๆ คงต้องเตรียมทำใจกับความเปลี่ยนแปลงไว้ก่อน ทั้งเรื่องการเวนคืน ปัญหาการจราจรระหว่างก่อสร้าง ความไม่สะดวกต่าง ๆ หากสามารถแลกได้กับการจราจรที่คล่องตัวขึ้น ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้ ก็ถือว่าคุ้มค่า.

ประพิม เก่งกรีฑาพล / รายงาน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 64, 65, 66 ... 278, 279, 280  Next
Page 65 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©