Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180077
ทั้งหมด:13491309
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 225, 226, 227 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/11/2020 8:31 pm    Post subject: Reply with quote

ม.เกษตรฯ ค้านสร้าง “ทางด่วนขั้นที่ 3” กทพ. งานงอก
วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 13:34:11 น.
"กทพ.จ่อขอแก้มติคจร.สร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ช่วงเกษตร-นวมินทร์ ก่อน ลุยประมูลต้นปี 2564 หลังม.เกษตรฯ ค้านหนักไม่สร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N 1

แนวทางตอนนี้การทางฯ จะเสนอ คจร.ไปก่อนว่าสามารถปรับแผนสร้างช่วงที่พร้อมก่อนได้หรือไม่ เพราะโครงการ N2 มีความพร้อมที่จะสามารถเปิดประมูลได้ในต้นปี 2564 แล้ว หากต้องให้รอสร้างพร้อมกับโครงการ N1 ตามมติ คจร. เดิมจะยิ่งทำให้การก่อสร้างโครงการ N2 ล่าช้าออกไป หาก คจร.ยังยืนยันตามมติเดิม

งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) ก็ต้องแยกฐานรากไปประกวดราคาเองด้วย เพราะรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแครายร - ลำสาลี (บึงกุ่ม) เป็นโครงการที่ทาง ม.เกษตรไม่ได้คัดค้าน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2020 9:31 am    Post subject: Reply with quote

ครม.วุ่นแผนรถไฟฟ้า'ป่วน'
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
'คลัง - คมนาคม' ตีกลับสายสีเขียว - เลื่อนเปิดซองสีส้ม
ยื้อต่อสัญญา "บีทีเอส" ขอความเห็น "กฤษฎีกา" เพิ่ม

Click on the image for full size

กรุงเทพธุรกิจ ครม.ตีกลับต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวอีกรอบ หลังมหาดไทยชงวาระเข้าพิจารณา "กฤษฎีกา" ห่วง ขัด พ.ร.บ.ร่วมทุน "กรมราง" ระบุค่าโดยสารต่ำกว่า 65 บาทได้ รฟม.เลื่อนเปิดซองรถไฟฟ้าสายสีส้ม ลุ้นศาลปกครองสูงสุด ชี้ขาดเกณฑ์ให้คะแนน "บีทีเอส" ยัน ไม่กระทบแผนธุรกิจ

การต่ออายุสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ยืดเยื้อมากว่า 1 ปี หลังจากคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.) เห็นชอบเมื่อเดือน พ.ย.2562 และมีการเสนอ ครม.พิจารณาหลายครั้งแต่ถูกตีกลับ รวมถึงการประชุมล่าสุดวานนี้ (17 พ.ย.) ที่ ครม.ตีกลับอีกครั้ง

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า การประชุม ครม.วานนี้ (17 พ.ย.) นายอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เสนอร่างสัญญา ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ ครม.พิจารณาเป็นวาระจร

ร่างสัญญาดังกล่าวกรุงเทพมหานครจะขยายสัมปทานให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ "บีทีเอส"ในฐานะผู้บริการรายเดิมต่ออีก 30 ปี จากเดิมที่สิ้นสุดปี 2572 เป็นสิ้นสุดปี 2602 และให้คิดอัตราค่าโดยสารไว้ที่ 65 บาทตลอดสาย

"เมื่อถึงการนำเสนอเรื่องนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานได้แสดงความเห็นหลากหลายทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยหน่วยงานส่วนใหญ่ที่คัดค้านการนำวาระนี้เข้ามาสู่การพิจารณาระบุว่ายังไม่ได้ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของ ครม.อย่างครบถ้วนทำให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอนำวาระนี้ออกก่อนแล้วจะขอความเห็นให้ครบถ้วนก่อนจะบรรจุเข้าสู่การประชุม ครม.อีกครั้ง" แหล่งข่าว กล่าว

"กฤษฎีกา"ห่วงขัด พรบ.ร่วมทุน

สำหรับการถกเถียงส่วนใหญ่เป็น ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.การร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีการะบุว่าการต่อสัญญาสัมปทานออกไปอาจขัดข้อกฎหมาย ขณะที่กระทรวงมหาดไทยยืนยันว่าเรื่องนี้ได้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความแล้ว 4 รอบ ถ้าต้องส่งไปอีกจะเป็นครั้งที่ 5 ไม่รู้จะได้ข้อสรุปหรือไม่

นอกจากนี้กรมการขนส่งทางรางได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วแล้วจึงขอเสนอความเห็นเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาว่า จากคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ได้ยกเว้นการหลักการ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน แต่ไม่ได้ให้ยกเว้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับวินัยการเงินการคลัง

ตั้งคำถามที่มาค่าโดยสาร

ขณะเดียวกัน กรุงเทพมหานคร (กทม.) และบีทีเอสไม่สามารถหาที่มาของการจัดเก็บค่าโดยสารที่ 65 บาทตลอดสาย เพื่อแลกสัญญาสัมปทานได้ว่ามีที่มาจัดเก็บค่าโดยสารอย่างไร และมีการวิเคราะห์โครงการในเชิงผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจ (ERR) และอัตราผลตอบแทน ทางด้านการเงิน (FRR) รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุน ปริมาณผู้โดยสาร และราคาค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับประชาชนอย่างไร

ส่วนประเด็นอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ ปรากฏว่าร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีระยะทาง 15 กิโลเมตร กำหนดให้มีอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย ซึ่งเมื่อมีการ เปรียบเทียบกับอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในปัจจุบันมีราคาค่าโดยสารที่สูง กว่า ขณะที่มีระยะทางให้บริการถึง 50 กิโลเมตร แต่เก็บค่าโดยสารเพียง 42 บาท

ดังนั้นกระทรวงคมนาคมเห็นว่าการคิดอัตราค่าโดยสารควรที่จะมีความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ และจากการศึกษาพบว่าปัจจุบันผู้มีรายได้น้อยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางรถไฟฟ้า 130 บาทต่อวัน ซึ่งคิดเป็น 35% ของค่าแรงขั้นต่ำ ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบราคาค่าโดยสารระหว่างสายสีน้ำเงินในปัจจุบันกับสายสีเขียว ที่จะหมดสัญญาสัมปทานระหว่าง บีทีเอส กับภาครัฐจะหมดลงในอีก 9-10 ปีข้างหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะขยายสัญญาสัมปทานให้เอกชนอีก 30 ปี

ชี้ค่าโดยสารต่ำกว่า65บาทได้

ทั้งนี้ จากเงื่อนไขร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ควบคุมอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย โดยกระทรวงมหาดไทยใช้ข้อมูลปี 2562 เป็นฐานในการเปรียบเทียบและคำนวณ ซึ่งกรมขนส่งทางรางเห็นว่าในอนาคตเมื่อปริมาณ ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ประกอบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเส้นทางหลักของเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่น ย่อมส่งผลให้ลดค่าโดยสารลงได้มากกว่า 65 บาท

ดังนั้น การควบคุมอัตรค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย จึงถือเป็นการดำเนินการที่ สมควรวิเคราะห์ต้นทุนที่แท้จริงเป็นหลักและลดหรืองดกรณีการเชื่อมต่อค่าแรกเข้า กำหนดเป็นเงื่อนไขเมื่อมีการเดินทางเปลี่ยนสายทางเพื่อลดภาระให้แก่ประชาชนด้วย

นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางรางระบุว่า จากการพิจารณาอัตราค่าโดยสารเมื่อเปรียบเทียบกับรถไฟฟ้าสายอื่น พบว่า ปัจจุบันสายสีเขียว เปิดให้บริการมากว่า 20 ปี ซึ่งผ่านจุดคุ้มทุนแล้ว มีผู้โดยสาร 800,000-1,00,000 คนต่อวัน (สถิติประมาณการก่อนวิกฤติโควิด) และมีอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย ขณะที่สายสีน้ำเงินมีผู้โดยสาร 300,000 คนต่อวัน และมีค่าโดยสารไม่เกิน 42 บาทตลอดสาย แต่ยังดำเนินกิจการได้จึงเห็นว่ารถสายสีเขียวกำหนดราคาค่าโดยสารที่เป็นธรรมและถูกลงกว่า 65 บาทได้

ศาลไต่สวน รฟม.-บีทีเอส

ศาลปกครองสูงสุดนัดไต่สวนคำร้องที่ 388/2563 ระหว่างบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ผู้ฟ้องคดีกับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมทุนระหว่างรัฐ และเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่รัฐกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ทั้งนี้ ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งทุเลาการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การพิจารณาคะแนนที่เปลี่ยนจากการประเมินซองการเงิน มาเป็นการประเมินซองเทคนิค 30% และซองการเงิน 70% ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ได้ยื่นอุทธรณ์ และศาลได้นัดไต่สวนครั้งแรกวานนี้ (17 พ.ย.) โดยนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มาให้ปากคำในฐานะ ผู้ถูกฟ้อง ส่วนบีทีเอสในฐานะผู้ฟ้องส่งทนายความมาให้ปากคำ

ยืนยันขั้นตอนประมูลถูกต้อง

นายภคพงษ์ เปิดเผยภายหลังการไต่สวนว่า คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งทุเลาการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประเมินโครงการของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 จากเดิมมีเกณฑ์กำหนดพิจารณาซองที่ 3 ด้านการเงิน 100 คะแนน ปรับเป็นข้อเสนอที่ 2 ด้านเทคนิค 30 คะแนน และด้านการเงิน 70 คะแนน

"ศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนตามที่ รฟม.ได้ยื่นอุทธรณ์ไป ซึ่งการให้ข้อมูลในครั้งนี้ เรายืนยันตามเดิมว่าการที่เราดำเนินการปรับแก้หลักเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอเอกชนนั้น ดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว โดยศาลได้รับฟังและยังไม่มีการนัดไต่สวนเพิ่มเติม" นายภคพงษ์ กล่าว

รฟม.เลื่อนเปิดซองสายสีส้ม

นายภคพงษ์ กล่าวว่า จากการยื่นอุทธรณ์คำสั่งทุเลาในครั้งนี้จึงมีผลให้ รฟม.พิจารณาแล้วว่า กระบวนการคัดเลือกเอกชนร่วมทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มต้องชะลอไว้ก่อน โดย รฟม.ยังไม่ดำเนินการเปิดซองข้อเสนอของเอกชนที่ได้ยื่นข้อเสนอมาเมื่อวันที่ 9 พ.ย.2563 เนื่องจากต้องการรอฟังคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดเพื่อกำหนดขั้นตอนดำเนินการต่อไป

โดยก่อนหน้านี้ รฟม.มีกำหนดเปิดซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ ในวันที่ 23 พ.ย.นี้ ก่อนจะเปิดซอง 2 และซอง 3 ที่คาดว่าจะใช้เวลาประเมินผล 1-2 เดือน และเข้าสู่ขั้นตอน การเจรจาต่อรองผู้ผ่านการประเมินสูงสุดโดยคาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ รฟม. และ ครม.ช่วงต้นปี 2564 และลงนามสัญญาต้นเดือน มี.ค.2564

"ตอนนี้ รฟม.จำเป็นต้องเลื่อนเปิดซองออกไปก่อน ในวันที่ 23 พ.ย.นี้ จะไม่มีการเปิดซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติ เพราะตามขั้นตอนในขณะนี้จะต้องรอคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด"

ส่วนกรณีที่การเลื่อนเปิดซองข้อเสนอออกไป ก็ยืนยันว่าจะไม่กระทบต่อเงื่อนไขประมูล เพราะใน RFP กำหนดยืนราคาไว้ที่ 270 วัน

ลุ้นคำสั่งศาลปกครอง

สำหรับกรณีการเลื่อนพิจารณาข้อเสนอของเอกชนออกไปอย่างไม่มีกำหนด จะเป็นผลกระทบต่อโครงการ และการเปิดให้บริการในอนาคตหรือไม่นั้น ขณะนี้ รฟม.ขอให้เป็นไปตามขั้นตอน เพราะไม่สามารถก้าวล่วงต่อกระบวนการศาลในการพิจารณาคดีได้ แต่เชื่อมั่นว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นโครงการสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน จึงคาดว่าจะได้รับการพิจารณาในเวลาไม่นาน และหากทุกอย่างดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนดจะไม่กระทบต่อภาพรวมโครงการ

นายภคพงศ์ กล่าวว่า ความคืบหน้าของคดีหลักที่บีทีเอสซีฟ้องร้องดำเนินคดีกับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 และ รฟม.ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชน ปัจจุบัน รฟม.อยู่ระหว่าง เตรียมคำให้การต่อศาล โดยที่ผ่านมาศาลยังไม่ได้เพิกถอนมติ เพียงแต่ให้ทุเลา ดังนั้น รฟม.ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล และสามารถขอยื่นอุทธรณ์ได้ตามสิทธิ

"บีทีเอส"ชี้ไม่กระทบแผนธุรกิจ

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเลื่อนเปิดซองพิจารณาข้อเสนออย่างไม่มีกำหนดว่า ในฐานะเอกชนที่เข้ายื่นข้อเสนอประมูลโครงการ เล็งเห็นถึงโอกาสของการเชื่อมต่อโครงข่าย หากโครงการนี้เปิดให้บริการจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน แต่อย่างไรก็ดี การเลื่อนกำหนดเปิดซองข้อเสนอของ รฟม.ก็สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเอกสารยื่นข้อเสนอ (RFP) ได้กำหนดกรอบเวลายืนราคาไว้ที่ 270 วัน จึงถือว่ายังพอมีเวลาที่จะไม่ทำให้กระทบโครงการมากนัก

"บีทีเอสในฐานะเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอ เราก็มองว่าโครงการเป็นโอกาส เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นได้หลายเส้นทาง แต่หาก รฟม.จะเลื่อนเปิดข้อเสนอออกไป ก็ไม่ได้เป็นผลกระทบต่อแผนธุรกิจ เพราะบีทีเอสยังเดินหน้าลงทุนในทุกๆ โครงการโครงสร้างพื้นฐาน เพราะเป็นสิ่งที่เราถนัดอยู่แล้ว"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2020 5:03 am    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลเร่งเปิดรถไฟฟ้า 3 สายใหม่ ดีเดย์ 16 ธ.ค. “ประยุทธ์” กดปุ่มเปิดสีเขียว
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 - 08:40 น.

คนกรุงเฮ เปิดรถไฟฟ้า 3 สายใหม่ ดีเดย์ 16 ธ.ค. “ประยุทธ์” กดปุ่มเปิดสีเขียว “หมอชิต-คูคต” และสีทอง “กรุงธนบุรี-ไอคอนสยาม” กลางปีหน้านั่งฟรี 3 เดือนสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต “ศักดิ์สยาม” คาดเดินรถเสมือนจริง มี.ค. เริ่มเก็บเงิน 1 พ.ย. อัตรา 15-50 บาท ครม.ตีกลับสัมปทานสายสีเขียว “บีทีเอส” ทวงหนี้จ้างเดินรถ กทม. 8 พันล้าน

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ กทม.จะเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้ตลอดสาย และสายสีทองระยะที่ 1 สถานีกรุงธนุบรี-คลองสาน มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

และจะทำให้รถไฟฟ้าสายสีเขียวเดินรถแบบไร้รอยต่อ เชื่อมส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และเชื่อมการเดินทาง 3 จังหวัด คือ ปทุมธานี กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ รวมระยะทาง 68.25 กม. จำนวน 59 สถานี

ส่วนสายสีทองจากสถานีกรุงธนบุรี-คลองสาน ระยะทาง 1.8 กม. เก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี เชื่อมกับบีทีเอส สถานีเจริญนคร อยู่ด้านหน้าศูนย์การค้าไอคอนสยาม และสถานีคลองสาน อยู่ด้านหน้าโรงพยาบาลตากสิน คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 47,300 เที่ยวคน/วัน

“สายสีเขียวต่อขยาย กทม.เปิดให้ใช้ฟรีทั้งช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-คูคต จะเปิดฟรีต่อหรือเก็บค่าโดยสารเลยยังตอบไม่ได้ เพราะสัมปทานใหม่ที่รอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ จะมีเก็บโดยสารตามโครงสร้างใหม่ 15-65 บาท อาจจะถูกตีกลับ ถ้าไม่อนุมัติส่งคืนให้ รฟม. เพราะ กทม.ไม่ได้อยากได้อยู่แล้ว ต้องรับหนี้กว่า 1 แสนล้านบาท”

ล่าสุด บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ทำหนังสือถึง กทม.ให้จ่ายค่าเดินรถส่วนต่อขยายทั้ง 2 ช่วง ซึ่ง กทม.ไม่ได้จ่ายตั้งแต่ปี 2561 เป็นเงิน 8,000 ล้านบาท เนื่องจากเปิดให้บริการฟรีไม่มีรายได้จากค่าโดยสาร ที่ผ่านมาบีทีเอสรับภาระตรงนี้ให้ก่อนช่วงรอเซ็นสัมปทานใหม่


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2563 นายโมริตะ ทาคาฮิโระ หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ประจำประเทศไทย ได้เข้าพบและมีการหารือการบริหารสถานีกลางบางซื่อ และรถไฟชานเมืองสายสีแดง ที่ไจก้าเป็นผู้สนับสนุนเงินกู้ก่อสร้างโครงการ

คาดว่าจะเปิดทดลองเดินรถเสมือนจริงเดือน มี.ค. จะให้ประชาชนร่วมใช้บริการฟรี 3 เดือน จะประเมินความพร้อมระบบก่อนเปิดเชิงพาณิชย์เดือน พ.ย. 2564 มี บจ.รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. บริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้เดินรถ

ทางไจก้าตั้งข้อสงสัยค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น 10,345 ล้านบาท จะดำเนินการอย่างไร ได้ชี้แจงจะดูระเบียบกฎหมายให้ดีที่สุด ส่วนที่ยังดำเนินการไม่ได้ จะหารือสำนักงานอัยการสูงสุด และกระทรวงการคลัง ซึ่งได้ยืนยันไจก้าจะไม่กระทบแผนการเดินรถ ซึ่งค่างานที่เพิ่มเป็นงาน VO เพิ่มขึ้น 6,223 ล้านบาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 3,000 ล้านบาท ให้ ร.ฟ.ท.ไปแยกรายละเอียดค่างาน

“การเปิดสถานีกลางบางซื่อจะเปิดก่อนการเดินรถสายสีแดง จะหารือพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอกราบบังคมทูลฯพระราชทานชื่ออย่างเป็นทางการ”

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.เปิดเผยว่า แผนเปิดบริการสายสีแดงวันที่ 30 พ.ย.นี้ ติดตั้งและทดสอบระบบย่อยส่วนต่าง ๆแล้วเสร็จ และทดสอบขบวนรถในเดือน ธ.ค.จะทดสอบระบบรวม ในเดือน มี.ค. 2564 ทดสอบเดินรถเสมือนจริง จากนั้นวันที่ 1 ก.ค.เปิดให้บริการทดลองใช้ฟรี 3 เดือน และเปิดเชิงพาณิชย์วันที่ 1 พ.ย. 2564 เก็บค่าโดยสาร 15-50 บาท คาดมีผู้โดยสาร 3 ปีแรก 79,000 เที่ยวคน/วัน จ้างบริษัทลูก ร.ฟ.ท. 11 เดือน ตั้งแต่ พ.ย. 2563-ต.ค. 2564 วงเงิน 61 ล้านบาท เตรียมพร้อมทดสอบเดินรถเสมือนจริงเดือน มี.ค.นี้

รายงานข่าวจากที่ประชุม ครม.ว่า การประชุม ครม.ใช้เวลาหารือเป็นเวลานานเรื่องสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งที่ประชุมรับทราบโดยนำความเห็นของกระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลังที่เพิ่มเติมเข้ามาให้กระทรวงมหาดไทยนำไปพิจารณาและส่งความเห็นกลับมา เพื่อส่งให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเสนอความเห็น และนำกลับเข้ามาในที่ประชุม ครม.อีกครั้ง

เช่น การร่วมลงทุนแบบ PPP ถูกต้องหรือไม่ คำสั่ง คสช.ที่ 3/2562 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งมีสำนักงานอัยการสูงสุดเข้ามาชี้แจง ทำความเห็นมาแล้ว 4 ครั้ง คงมีความเห็นอีกเป็นครั้งที่ 5 เพราะมี “ข้อเท็จจริงใหม่” ที่เป็นความเห็นใหม่เข้ามาเพิ่ม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2020 2:07 pm    Post subject: Reply with quote

เช็กด่วน! 4รถไฟฟ้า ปิดเบี่ยง จราจรจุดไหนบ้าง
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 18:39:56 น.

เช็กด่วน! 4รถไฟฟ้า ปิดจราจรจุดไหนบ้าง สายสีเลือง-ชมพู-ส้ม-เขียวเหนือมาครบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2020 2:20 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ครม.วุ่นแผนรถไฟฟ้า'ป่วน'
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563


เบื้องลึกศึกรถไฟฟ้าแสนล้าน วัดขุมกำลัง ‘ธุรกิจ-การเมือง’
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 18:00 น.

เบื้องลึกศึก “รถไฟฟ้าหลากสี” จากส้มลามถึงสายสีเขียว คมนาคมค้านมหาดไทยขยายสัมปทาน 30 ปี ให้บีทีเอส แลกแบกหนี้แสนล้านแทน กทม. งัด 4 ประเด็นแจง ครม. พุ่งเป้าค่าตั๋ว 65 บาทสุดแพง เทียบกับสายสีน้ำเงิน “ประยุทธ์” สั่งทำข้อมูลให้ครบถ้วน คลังยันสัญญาทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน “คีรี” ย้ำไม่เอาผู้โดยสารเป็นตัวประกัน เปิดเดินรถหมอชิต-คูคตแน่ 16 ธ.ค.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 17 พ.ย. 2563 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีการพิจารณาต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระยะเวลา 30 ปี ระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) กับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเสนอเป็นวาระจรหลังจากที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำความเห็นมาครบถ้วนแล้ว รวมถึงกระทรวงการคลังด้วย

ครม.รับทราบสั่งทำข้อมูลเพิ่ม
โดยที่ประชุม ครม.รับทราบ และมอบให้กระทรวงมหาดไทยทำข้อมูลเพิ่มเติม หลังกระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางราง ทำความคิดเห็นเพิ่มเติมใน 4 ประเด็น โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้รายงานต่อที่ประชุม ประกอบด้วย

1.ความครบถ้วนตามหลักการ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 (พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562)

2.ค่าโดยสารสูงสุดที่ 65 บาท มีราคาแพงเกินไปหรือไม่ เพราะระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเก็บค่าโดยสารสูงสุดเพียง 42 บาทเท่านั้น

3.รัฐจะเสียโอกาสใช้ประโยชน์สินทรัพย์ที่จะรับโอนจากเอกชนภายหลังหมดสัญญาในปี 2572 หรือไม่ และ

4.กรณีการจ้าง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) จ้างวิ่งส่วนต่อขยายเมื่อปี 2555 ยังอยู่ในขั้นตอนไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ควรรอให้การพิจารณาดังกล่าวมีผลไปก่อนหรือไม่

“การเสนอความเห็นดังกล่าวไม่ได้ขัดแย้งกับกระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย เป็นการเสนอประเด็นคำถามเพิ่มเติมที่อาจตกหล่นไปเท่านั้น เป็นการทำหน้าที่ปกติ”นายศักดิ์สยามกล่าว

คลังยันเจรจาถูกต้อง กม.ร่วมทุน
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือยืนยันยังเลขาธิการ ครม.แล้ว ใน 3 ประเด็น 1.การเจรจาสัมปทานไม่ขัดกับ พ.ร.บ.ร่วมทุน เนื่องจากการดำเนินการตามคำสั่ง คสช. ก็ถือว่าดำเนินการกฎหมาย 2.มีการเข้าข้อตกลงคุณธรรมตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง และ 3.การรับโอนหนี้งานโยธาช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ กว่า 6 หมื่นล้าน จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไม่ขัดกับการบริหารหนี้สาธารณะ



แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ที่ประชุม ครม.ในวันนั้น รัฐมนตรีทุกกระทรวงมีท่าทีเห็นด้วยกับการนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีเพียงคณะกรรมการกฤษฎีกาและกระทรวงคมนาคมที่มีคำถามเพิ่ม ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเรื่องนี้ไปหาคำตอบ

“กทม. รอมติ ครม.ทำข้อมูลเพิ่มเติมยังกำหนดไม่ได้จะเสนอ ครม.เมื่อไหร่ อาจจะไม่ทันในเดือน ธ.ค.ที่จะเปิดเดินรถส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-คูคต ในวันที่16 ธ.ค.นี้ แต่ถึงสัมปทานจะยังไม่ได้รับอนุมัติก็ไม่มีผลกระทบต่อการเปิดให้บริการประชาชนแต่อย่างใด”

เปิดผลเจรจา-ค่าตั๋ว-หนี้
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ผลการเจรจาจะขยายอายุสัญญาเดิมให้บีทีเอสอีก 30 ปี จากวันที่ 5 ธ.ค. 2572-2602 สำหรับส่วนต่อขยายทั้งช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง, ตากสิน-บางหว้า, แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยจ้างบีทีเอสเดินรถให้วันที่ 4 ธ.ค. 2572 จากนั้นถึงจะเริ่มนับหนึ่งสัมปทานใหม่

ขณะที่อัตราค่าโดยสารจะปรับจากอัตราค่าโดยสารในปัจจุบันที่บีทีเอสเก็บ16-44 บาท และ กทม.เก็บส่วนต่อขยายเดิม 15 บาท และส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต เก็บ 15-60 บาท และแบริ่ง-สมุทรปราการอีก 15-39 บาท รวมแล้วอยู่ที่ 158 บาท จะเก็บให้เป็นระบบอัตราค่าโดยสารตามระยะทางตลอดสาย คิดค่าแรกเข้าครั้งเดียว 15 บาท เก็บสูงสุด 65 บาท และปรับค่าโดยสารขึ้นทุก 2 ปี ตามดัชนีผู้บริโภค (CPI)

ด้านผลตอบแทน บีทีเอสแบ่งรายได้ให้ กทม.ใน 15 ปีแรก 2572-2587 อัตรา 10% ของรายได้ค่าโดยสาร ระยะ 10 ปีต่อมา 2588-2597 อัตรา 15% ของรายได้ค่าโดยสาร และ 5 ปีสุดท้าย 2598-2602 อัตรา 25% ของรายได้ค่าโดยสาร หากผลตอบแทนเกินกว่า 9.60% จะแบ่งกระแสเงินสดสุทธิต่อผู้ถือหุ้นให้ กทม.เพิ่มเติมตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา
บีทีเอสบี้ กทม.

“การเจรจา กทม.ดำเนินการตามคำสั่ง คสช.ที่ให้ตั้งคณะทำงานเจรจามีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน เจรจากันร่วม 10 ครั้ง กว่าจะสรุป และสอบถามข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนครบแล้วก่อนเสนอ ครม. ซึ่ง กทม.ไม่มีงบประมาณจ่ายหนี้คืนสายสีเขียวส่วนต่อขยายใหม่ให้ รฟม. จึงต้องให้เอกชนมาร่วมลงทุน โดยหาเงินก้อน 107,000 ล้านบาท มาปลดหนี้ และเป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าปรับปรุงสถานีตากสิน”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า จากความไม่แน่นอนของการอนุมัติสัมปทานสายสีเขียวที่ล่าช้ามานาน ทำให้บีทีเอสทำหนังสือถึง กทม.ขอเงินค่าจ้างเดินรถ จำนวน 8,000 ล้านบาท ที่ไม่ได้จ่ายมาตั้งแต่ปี 2561 เพราะ กทม.คิดรวมไปในเงิน 1 แสนล้านบาท ที่ให้บีทีเอสร่วมลงทุนไปแล้ว จึงยังไม่ได้จัดงบประมาณค่าจ้างไว้ให้ แต่คาดว่าน่าจะเคลียร์กันได้

ลั่นไม่เอาผู้โดยสารเป็นตัวประกัน
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) เปิดเผยว่าการที่กรมการขนส่งทางรางทำความเห็นเพิ่มเติมเสนอให้กระทรวงคมนาคมรายงานต่อที่ประชุม ครม. อาจจะยังไม่ทราบว่าการพิจารณาได้ข้อยุติไปถึงไหนแล้ว และที่ผ่านมาคมนาคมได้ทำความเห็นให้ ครม.ไปแล้วถึง 3 ครั้ง

“ผมเจรจากับทุกหน่วยงานจบไปตั้งนานแล้ว ที่เราทำหนังสือถามไปยัง กทม.เรื่องค่าจ้างเดินรถ 8,000 ล้านบาท ที่ไม่จ่าย 3 ปี เพราะรายได้เราก็ลดลง จากสถานการณ์โควิดด้วย ทวงถามปกติ หาก กทม.ไม่จ่ายจะเกิดอะไรขึ้น เราก็มีลิมิต แต่ยืนยันว่าจะพยายามอย่างเต็มที่ ดูแลผู้โดยสารไม่ให้เดือดร้อน”

ส่วนข้อท้วงติงด้านราคาค่าโดยสาร 65 บาท ที่สูงกว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเก็บ 42 บาท นายคีรีกล่าวว่า คิดว่าเทียบกันไม่ได้ สายสีเขียวกับสายสีน้ำเงินมีระยะทางและต้นทุนไม่เหมือนกัน ซึ่งสายสีเขียวในสัญญาสัมปทานฉบับใหม่ BTS ต้องควักเงินลงทุนสูงถึง 100,000 ล้านบาท แถมต้องเพิ่มส่วนแบ่งผลตอบแทนให้รัฐบาลอีก

เบื้องลึกศึกสีส้มลามถึงสีเขียว
รายงานข่าวแจ้งว่า จากท่าทีของนายศักดิ์สยามที่ออกมาคัดค้าน โดยทำหนังสือถึงเลขาฯ ครม.ก่อนประชุม ครม.เพียง 1 วัน น่าจะมีนัยสำคัญ อาจจะเกี่ยวพันไปถึงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มบางขุนนนท์-มีนบุรี ที่ รฟม.ให้เอกชนลงทุน PPP net cost 30 ปี วงเงิน 128,128 ล้านบาท หลังกลุ่มบีทีเอสยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง หลัง รฟม.เปลี่ยนเกณฑ์ประมูลใหม่ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งทุเลาให้ รฟม.ชะลอใช้เกณฑ์ใหม่ ขณะที่ รฟม.ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ล่าสุดอยู่ระหว่างการไต่สวนและรอฟังคำตัดสินจากศาล

เลื่อนเปิดซองสีส้ม
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า คณะกรรมการมาตรา 36 คัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เลื่อนเปิดข้อเสนอคุณสมบัติของ BEM และกลุ่มบีทีเอสที่จับมือกับซิโน-ไทย ออกไปก่อนจนกว่าศาลจะมีคำสั่งออกมา จากเดิมจะเปิดวันที่ 23 พ.ย.นี้

รายงานข่าวกล่าวอีกว่า กำลังเป็นที่จับตา คือการสร้างส่วนต่อขยายสายสีชมพู ช่วงศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กม. วงเงิน 3,379 ล้านบาท ที่บีทีเอสเสนอการลงทุนเพิ่มต่อจากสายหลักที่ได้สัมปทาน 33 ปี จากแคราย-มีนบุรีแล้ว ล่าสุดส่วนต่อขยายนี้รอคมนาคมนำเสนอ ครม.อนุมัติโครงการ

เช่นเดียวกับต่อขยายสายสีเหลือง รัชดาฯ-ลาดพร้าว-รัชโยธิน 2.6 กม. ที่บีทีเอสลงทุนเพิ่ม 3,700 ล้านบาท เชื่อมสายหลักลาดพร้าว-สำโรง ที่ได้รับสัมปทาน 30 ปี ยังไม่ได้ข้อยุติกับ รฟม.จะได้สร้างหรือไม่ หลัง รฟม.ให้รับข้อเสนอชดเชยรายได้ให้ BEM หากส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารสายสีน้ำเงิน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2020 8:47 pm    Post subject: Reply with quote

ราคาที่ดินปลายรถไฟฟ้าส่วนขยาย อนาคตปรับขึ้น 21.1%
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 26 วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09:46 น.




การขยายแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่เพิ่มขึ้นออกไปนอกเมืองมากขึ้น กลายเป็นปัจจัยหนุน ที่อาจจะทำให้ผู้พัฒนโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้มีโอกาสในการลงทุนและซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการ ภายใต้ต้นทุนที่ไม่สูงจนกระทบถึงระดับราคาของโครงการที่จะนำออกสู่ตลาด เพราะอาจจะไม่จูงใจในด้านการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย อันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูง แม้จะว่าเรื่องโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าจะอำนวยความสะดวกในการเดินทาง แต่ค่าใช้จ่าย (หาก) ต้องใช้รถไฟฟ้าเข้าเมือง จึงเป็นคำถามที่ผู้ซื้อ "คิดอย่างมาก" ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ค่าครองชีพที่สูงขึ้น

แต่ดูเหมือนว่า ผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างกระโจนออกไป "ดัก" ที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและที่อยู่ในแผนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้กลายเป็น "ตัวเร่ง" ให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น นอกเหนือจากการเข้ามาของโครงการข่ายรถไฟฟ้า แม้ว่าถั่วเฉลี่ยแล้วต้นทุนของราคาที่ดินต่อราคาขายจะมีสัดส่วนไม่มาก แต่หากการเข้ามาของผู้ประกอบการในแต่ละทำเลที่เพิ่มมาก ก็มีผลให้เจ้าของที่ดินนำเสนอราคที่สูง เนื่องจากมีดีมานด์จากบริษัทอสังหาฯ เข้ามา

ล่าสุด ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวของราคาที่ดินในสายรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย และโครงการในอนาคตที่อยู่ ไทม์ไลน์จะเกิดขึ้น ผ่านการรายงาน "ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล" ในไตรมาส 3 ปี 2563 พบว่า มีค่าดัชนีเท่ากับ 310.7 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 0.7% เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 308.6 จุด และปรับเพิ่มขึ้น 21.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 256.5 จุด

โดยทำเลที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่านและมีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) 5 อันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นทำเลที่มีแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง และที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต ได้แก่

1) สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 35.7% และเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)

2) สายสีเขียวเหนือ (คูคต-ลำลูกกา) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ทำเลนี้เคยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดิน (YOY) สูงสุดติดต่อกัน 5 ไตรมาส ปัจจุบันราคาที่ดินเริ่มมีอัตราชะลอตัวลงในไตรมาสนี้ มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 34.2%

3) สายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) ซึ่งเป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 28.5%

4) สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) ซึ่งเป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 21.5%

และ 5) สายสีเทา (วัชรพล-พระราม 9 -ท่าพระ) ซึ่งเป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 14.8%

แต่เมื่อพิจารณาทำเลที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ส่วนใหญ่เป็นทำเลที่มีแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วและอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) ซึ่งเป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.8%
URL
1,274
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/11/2020 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ รายงาน: 'ตั๋วร่วม' รอด หรือ ล่ม!!!
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
* อนัญญา จั่นมาลี

ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม พยายามผลักดันการเปิดให้บริการระบบตั๋วร่วมข้ามระบบระหว่าง "BTS และ MRT" ให้ทันภายในเดือนตุลาคม 2563 แต่เหมือนจะเลื่อนออกไปถึงปี 2564 เมื่อปัจจุบันพบว่าการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) ของระบบรถไฟฟ้าให้สามารถใช้บัตรโดยสารข้ามระบบนั้นยังติดปัญหา เนื่องจากบริษัทผู้ออกแบบและพัฒนาระบบของ BTS และ BEM ที่ประเทศสิงคโปร์ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

ขณะเดียวกันมีกระแสอีกว่าประชาชนส่วนใหญ่เตรียมพร้อมที่จะใช้ "ตั๋วร่วม" เพื่อชำระเงินและเดินทางข้ามระบบทั้ง BTS MRT และแอร์พอร์ตลิงก์ เพราะเชื่อว่าผู้ที่เดินทางข้ามระบบรถไฟฟ้าหลายสายคงเบื่อที่จะพกบัตรโดยสารหลายใบ แต่ล่าสุดได้ยินว่าสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เตรียมงบศึกษา วงเงิน 34.5 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งมวลชนโดยใช้บัตรโดยสารใบเดียวสามารถเดินทางได้ทุกระบบขนส่ง คาดว่าจะพัฒนาระบบหัวอ่านข้ามระบบได้ไม่เกินไตรมาส 2 ปี 2564 หรือภายในเดือนมิถุนายน 2564

ส่วนการดำเนินโครงการศึกษาและการพัฒนาระบบตั๋วร่วมของสนข.นั้น ประกอบด้วย โครงการศึกษาการใช้ระบบตั๋วร่วมเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน โดยจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการรายได้ (Clearing House) ซึ่งจะเป็นศูนย์เชื่อมโยงข้อมูลการเดินทางของผู้โดยสารและจัดสรรรายได้แก่ผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชนแต่ละราย รวมทั้งผู้ประกอบการอื่นๆ ที่เข้ามาร่วมกับระบบตั๋วร่วม และศึกษาพัฒนาระบบค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบและการเชื่อมต่อ โดยศึกษาถึงโครงสร้างค่าโดยสารร่วม(Common Fare) และรูปแบบของค่าโดยสารที่เหมาะสมสำหรับประยุกต์ใช้ร่วมกับตั๋วโดยสารร่วมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ด้านโครงการดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (Program Management Services : PMS) เป็นการดำเนินการศึกษาออกแบบระบบตั๋วร่วมระบบการเชื่อมโยงข้อมูล และระบบของศูนย์การบริหารจัดการรายได้ รวมทั้งร่างกฎหมายในการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ..)

สำหรับระยะเวลาศึกษาโครงการฯ ราว 20 เดือน (กันยายน 2563-เมษายน 2565) โดยจะเริ่มศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมทางการเงินในระบบตั๋วร่วม ภายในเดือนธันวาคม 2563-กันยายน 2564 หลังจากนั้นจะดำเนินการจัดหารูปแบบการลงทุนเพื่อชดเชยรายได้จากค่าโดยสารร่วม ภายในเดือนพฤษภาคม 2564 คาดว่าจะดำเนินการร่างพ.ร.บ.บริหารจัดการตั๋วร่วม ภายในเดือนมิถุนายน 2564

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ขณะนี้ทางสนข.อยู่ระหว่างศึกษาการร่างพ.ร.บ.ตั๋วร่วม เพื่อรองรับการชำระเงินข้ามระบบระหว่าง BTS และ MRT ผ่านบัตรเดบิตฯ ร่วมกัน ซึ่งทำให้ได้รับความสะดวกมากขึ้น ส่วนการจัดทำคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน (VO)ของรฟม. ซึ่งเป็นการเพิ่มงานปรับปรุงหัวอ่านรถไฟฟ้าสายสีม่วง วงเงิน 140 ล้านบาท และสายสีน้ำเงิน วงเงิน 100 ล้านบาท ขณะนี้มีความล่าช้า ทำให้การปรับปรุงใช้งานข้ามระบบร่วมกัน ทั้งบัตรแรบบิทของบีทีเอส และบัตร MRT บัตรแมงมุม ของรฟม. อาจไม่ทันภายในปีนี้ ทั้งนี้ในอนาคตจะมีการปรับปรุงหัวอ่านรองรับบัตรข้ามระบบ ทางรฟม.และบีทีเอส ต้องปรับปรุงระบบเป็นแอคเคาท์ เบส ทิคเก็ต (ABT) ซึ่งเป็นการใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/Master/Visa Card) รวมถึงระบบคิวอาร์โค้ด การสแกนใบหน้า ฯลฯ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เบื้องต้นบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เสนอให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ นำร่องการให้บริการระบบตั๋วร่วมสำหรับการโดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง โดยใช้บัตรใบเดียว (ตั๋วร่วม) แต่ปัจจุบันติดปัญหาค่าใช้จ่ายในการลงทุนพัฒนาระบบหัวอ่านข้ามระบบว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบ

"เชื่อว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้ในการลงทุนพัฒนาระบบหัวอ่านข้ามระบบนั้นคงไม่ใช่เรื่องยาก ซึ่งนำเอาประโยชน์ที่ควรได้มาเฉลี่ยตามสัดส่วนใครได้ประโยชน์มากก็เสียค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง หากแอร์พอร์ตลิงก์สามารถดำเนินการพัฒนาระบบได้ก็ไปดำเนินการ เพราะเป็นเรื่องดีอยู่แล้ว"

นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการระบบตั๋วร่วม ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบของทั้ง 2 บริษัท เบื้องต้นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้พัฒนาการใช้บัตรโดยสารข้ามระบบของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงเพื่อรองรับการใช้บัตรแมงมุมและบัตรโดยสาร MRT ส่วนบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นผู้พัฒนาระบบในส่วนของสายสีเขียวเพื่อรองรับการใช้บัตรแรบบิท คาดว่าจะเริ่มใช้ระบบตั๋วร่วมได้ภายในสิ้นปีนี้ หรือช้าสุดภายในต้นปี 2564 ส่วนการศึกษาอัตราค่าโดยสารข้ามระบบนั้น ขณะนี้จะใช้เรทอัตราค่าโดยสารตามปกติที่ดำเนินการในปัจจุบัน

จากนี้ต้องจับตาดูว่าระบบตั๋วร่วมจะได้ใช้บริการภายในปีหน้าหรือไม่ หรือจะล่มซ้ำซ้อนอีกครั้ง ถือเป็นผลงานวัดใจกระทรวงคมนาคม ยุค ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

ต้องจับตาดูว่าระบบตั๋วร่วมจะได้ใช้ภายในปีหน้าหรือไม่ หรือจะล่มอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/11/2020 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. 2563
Arrow http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/277/T_0001.PDF
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2020 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คอลัมน์ รายงาน: 'ตั๋วร่วม' รอด หรือ ล่ม!!!
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
* อนัญญา จั่นมาลี


‘ตั๋วร่วม’ รอดหรือล่ม!!!
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 07:40:55 น.
"ตั๋วร่วมรถไฟฟ้า เชื่อมทุกระบบ สายสีเขียว-สีน้ำเงิน จะรอดหรือล่ม "

ลิงก์มาแล้วครับ: Arrow https://www.thansettakij.com/content/458257
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2020 8:44 pm    Post subject: Reply with quote

ประยุทธ์ ตั้ง “ศักดิ์สยาม” นั่งหัวโต๊ะ คกก.ตั๋วร่วมระบบขนส่งสาธารณะ
การเมือง
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 - 08:27 น.
ฝันคนกรุงเป็นจริง ออกแล้วระเบียบตั้ง”บอร์ดนโยบายตั๋วร่วม”
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 - 11:06 น.

ราชกิจจานุเบกษาประกาศแล้ว ระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ให้ตั้งบอร์ดนโยบายตั๋วร่วม 17 คน กำกับดูแล เพิ่มความสะดวกประหยัดการเดินทางระบบขนส่งมวลชน
ประยุทธ์ ตั้ง “ศักดิ์สยาม” นั่งหัวโต๊ะ “คณะกรรมกำรนโยบายระบบตั๋วร่วม” ระบบขนส่งสาธารณะ ดูแล-บูรณาการการบริหารจัดการค่าธรรมเนียม ค่าโดยสารให้มีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาประกาศ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ.2563

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า โดยที่ในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐผู้ให้บริการขนส่งผู้โดยสารโดยระบบขนส่งสาธารณะมีหน่วยงานที่ดำเนินการหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีการบริหารจัดการในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าโดยสารแยกจากกัน

ทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะผู้ซึ่งต้องเดินทางเชื่อมต่อกันในหลายระบบขนส่งไม่ได้รับความสะดวกในการชำระค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าโดยสาร



สมควรกำหนดให้มีการบูรณาการการบริหารจัดการในการรจัดเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าโดยสารของระบบขนส่งสาธารณะที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐให้เป็นระบบตั๋วร่วม เพื่อให้การบริการขนส่งสาธารณะของหน่วยงานของรัฐมีความสะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ข้อ 4 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม” เรียกโดยย่อว่า “คนต.” ประกอบด้วย (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ

(2) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก อธิบดีกรมการขนส่งทางราง อธิบดีกรมเจ้าท่า เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์ด้านการเงิน ด้านการตลาด ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านวิศวกรรมศสสตร์ หรือด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นประโยชน์ต่อระบบตั๋วร่วม จำนวนไม่เกินสี่คน

ให้ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นกรรมการและเลขานุการและให้ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรแต่งตั้งข้าราชการของสำนักงาน จำนวนสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

ข้อ 5 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี

Mongwin wrote:
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. 2563
Arrow http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/277/T_0001.PDF
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 225, 226, 227 ... 277, 278, 279  Next
Page 226 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©