Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311328
ทั่วไป:13290454
ทั้งหมด:13601782
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 279, 280, 281  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44880
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/04/2024 7:11 pm    Post subject: Reply with quote

เดือนกันยา 68 ครบทุกสี มาแล้วรถไฟฟ้า 20 บาทตามสัญญา
Source - ไทยรัฐ
Sunday, April 28, 2024 06:25

"สุริยะ" เดินหน้าเต็มกำลังดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย ครบทุกสีเดือน ก.ย.68 หวังลดค่าครองชีพประชาชนเร่งออก พ.ร.บ.ตั๋วร่วม คุมค่าโดยสารรถไฟฟ้าแบบเบ็ดเสร็จ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่ากระทรวงคมนาคมยืนยันจะยังคงเดินหน้านโยบาย 20 บาทตลอดสาย และมีเป้าหมายที่จะทำให้ประชาชนที่เดินทางผ่านระบบขนส่งมวลชนทางรางด้วยรถไฟฟ้าได้ใช้นโยบายนี้ครบทุกสายทางที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบันภายใน 2 ปีนี้ คือเดือน ก.ย.68 จากที่ประกาศนโยบายไปเมื่อเดือน ก.ย.66 ที่ผ่านมา โดยเล็งเห็นว่าอัตราค่าโดยสารสำหรับผู้ที่ใช้รถไฟฟ้าระยะไกลมีอัตราสูงถึง 192 บาท ถือเป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนที่เดินทางผ่านระบบรางดังนั้น ภาครัฐจึงมีนโยบายที่จะลดภาระค่าครองชีพประชาชนด้วยการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าลง ซึ่งปัจจุบันนำร่องเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ที่รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เส้นทางตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต และรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางบางใหญ่-เตาปูน

"แนวทางการดำเนินการนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น มั่นใจว่าจะใช้ระยะเวลา 2 ปี หรือช่วงเดือน ก.ย.68 รถไฟฟ้าทุกสีและทุกสายทางจะเข้าร่วมนโยบายทั้งหมด ขณะที่รถไฟฟ้าสีอื่นๆที่อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างและเตรียมก่อสร้างซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จ หากตนยังคงดำรงอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอยืนยันว่าจะผลักดันให้เข้าร่วมนโยบายทั้งหมดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม นอกจากนโยบายดังกล่าวจะเป็นการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนแล้วยังสามารถลดปัญหา PM 2.5 ในขณะนี้ได้อีกด้วยเนื่องจากประชาชนที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวได้มีการปรับเปลี่ยนการเดินทางมาใช้รถไฟฟ้าแทน รวมถึงยังแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ได้อีกด้วย"
นายสุริยะกล่าวต่อว่า สำหรับปัจจัยที่จะทำให้นโยบายบริการ 20 บาทตลอดสายประสบความสำเร็จเกิดการปฏิบัติได้จริงนั้น ขั้นตอนขณะนี้ ทางกระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เร่งจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมหรือ พ.ร.บ.ตั๋วร่วม โดยขั้นตอนขณะนี้มีการเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว และอยู่ระหว่างพิจารณาถึงหลักการด้านต่างๆที่มีความเหมาะสมและเสนอกลับมายังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอต่อ ครม.และเข้าสภาผู้แทนราษฎรเบื้องต้นคาดว่าภายในปี 68 จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกัน เมื่อ พ.ร.บ.ตั๋วร่วมผ่านการพิจารณาและมีผลบังคับใช้แล้วนั้นภายใน พ.ร.บ.ยังมีแผนจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจากมาตรการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการชดเชยค่าโดยสารที่ปรับลงหรือผลกระทบจากการดำเนินการนโยบายทั้งนี้การระดมเม็ดเงินเข้ามาอยู่ในกองทุนฯนั้น จะเป็นเงินงบประมาณที่สนับสนุนจากรัฐบาลหรือขอรับการสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น

นายสุริยะกล่าวต่อว่า นอกจากนั้นกระทรวงคมนาคมยังอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางการจัดเส้นทางเชื่อมจากชุมชนมายังสถานีรถไฟฟ้า หรือ Feeder เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย คาดว่าภายในระยะ 2-3 เดือนนี้จะเห็นความชัดเจน ซึ่งเบื้องต้นองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะเป็นผู้ทำหน้าที่ Feeder และหากผู้ประกอบการเอกชนรายใดที่มีความพร้อมด้านการให้บริการขนส่ง ก็สามารถเข้าร่วมการจัดเส้นทาง Feeder ได้ ซึ่งแผนระยะสั้นจะผลักดันประมาณ 30 เส้นทาง เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีแดง ส่วนระยะต่อไป จะเพิ่มจำนวนเพื่อรองรับสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว สายสีชมพู และ สายสีส้ม.

ที่มา: นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 29 เม.ย. 2567 (กรอบบ่าย)

Thai Transport Minister Pushes for 20-Baht Fare Cap on All Bangkok Metro Lines by Sept. 2025
Source - Thairath
Sunday, April 28, 2024 06:25

Thailand's Transport Minister Suriya Juangroongruangkit is pushing to expand the 20-baht flat fare policy to all Bangkok metro lines ("all colors") by September 2025. He hopes this will reduce living costs and encourage adoption of the Common Ticket Act, which would exert greater control over transit fares.

Mr. Suriya explained the Ministry of Transport is committed to the 20-baht policy, aiming for implementation on all currently operational lines within two years. He believes the current maximum fare of 192 baht places a burden on commuters. The government aims to mitigate living expenses by reducing fares, which is already piloted on the Red and Purple lines.

"Guidelines for implementing the 20-baht electric train policy throughout the line are expected to be complete by September 2025. Every color of electric train and every line will join the policy. If I continue to hold the position of Minister of Transport, I would like to confirm that I will push to join all policies as well. In addition to reducing costs, this policy can also reduce PM 2.5 pollution because people who use private cars are switching to the metro instead. It also solves traffic congestion," Mr. Suriya said.

Mr. Suriya added that the Ministry of Transport is accelerating the drafting of the Common Ticket Act, which would establish a fund to compensate operators for revenue losses. He anticipates clearer details by 2025.

The Ministry of Transport is also considering plans for "feeder" routes connecting communities to metro stations to further improve transit access.

Source: Thairath newspaper, issue dated April 29, 2024 (afternoon frame)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42791
Location: NECTEC

PostPosted: 29/04/2024 3:14 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รัฐบาลเตรียมออกกฏหมาย ทำประกันผู้โดยสารรถไฟฟ้า เพิ่มความมั่นใจใช้บริการ
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันเสาร์ ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 14:24 น.

ผู้โดยสารรถไฟฟ้าเตรียมเฮ จ่อคลอดกฎหมาย ทำประกันภัยให้ผู้โดยสาร

ฐานเศรษฐกิจ
วันเสาร์ ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:38 น.

รัฐบาลเตรียมออก กฎกระทรวงคุ้มครองผู้โดยสารรถไฟฟ้า โดยให้มีประกันภัยคุ้มครอง และได้รับชดเชยค่าเสียหายต่อชีวิตและร่างการ หากเกิดอุบัติเหตุ
จากมติเห็นชอบ "ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร พ.ศ. ...." ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567

ล่าสุด (27 เมษายน 2567) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม. ที่ไม่ได้ให้สัมปทาน ซึ่งยังไม่มีกฎกระทรวงรองรับเกี่ยวกับประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต และร่างกายของคนโดยสารแต่อย่างใด

ดังนั้น เพื่อเป็นหลักประกันให้คนโดยสารได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการให้บริการรถไฟฟ้า ในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสารที่ รฟม. ดำเนินการเอง และให้ครอบคลุมถึงกรณีผู้รับสัมปทานกิจการรถไฟฟ้า

รัฐบาล โดยกระทรวงคมนาคม (คค.) จึงได้มีการออกกฎกระทรวงเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าวให้ได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการจากรัฐอย่างปลอดภัย ครอบคลุม และมีหลักประกันได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากการให้บริการของรถไฟฟ้า

ผู้โดยสารรถไฟฟ้าเตรียมเฮ จ่อคลอดกฎหมาย ทำประกันภัยให้ผู้โดยสาร


สำหรับรายละเอียดของ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร พ.ศ. .... มีการกำหนดนิยามของคำสำคัญต่างๆ ดังนี้

“คนโดยสาร” หมายความว่า ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าที่ได้ใช้ตั๋วโดยสารผ่านเข้าไปและอยู่ในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสารเพื่อวัตถุประสงค์ในการเดินทาง และให้รวมถึงบุคคลที่ได้รับการยกเว้นค่าโดยสารด้วย

“ความเสียหาย” หมายความว่า ความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร จากเหตุอันเกิดจากการให้บริการรถไฟฟ้า ในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสาร (แต่ไม่รวมถึงเหตุอื่น เช่น การทะเลาะกันระหว่างผู้โดยสาร การก่อการร้าย หรือจากความประมาทของคนโดยสาร)

“บริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสาร” หมายความว่า พื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้าส่วนที่คนโดยสารได้ผ่านการตรวจตั๋วโดยสารแล้ว

“การประกันภัย” หมายความว่า การประกันภัยความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร จากเหตุอันเกิดจากการให้บริการรถไฟฟ้าในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสาร (ไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินของคนโดยสารและบุคคลอื่น)

“ผู้รับประกันภัย” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย


โดยในร่างดังกล่าว กำหนดให้ รฟม. จัดให้มีการประกันภัย กับผู้รับประกันภัยตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป สำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต และร่างกายของคนโดยสารซึ่งอยู่ในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสาร ในวงเงินความคุ้มครองที่เหมาะสม โดยอย่างน้อยต้องคำนึงถึงลักษณะ และประเภทของโครงการรถไฟฟ้า ตลอดระยะเวลาการให้บริการรถไฟฟ้า

ซึ่งไม่ได้ระบุจำนวนวงเงินความคุ้มครองไว้ในร่างกฎกระทรวงฯ เนื่องจากเป็นการประกันความรับผิดทางละเมิดต่อผู้เสียหาย มีลักษณะเป็นความเสียหายที่ไม่อาจทราบได้ว่าจะถูกเรียกร้องเป็นจำนวนเท่าใด โดยความเสียหายต่อบุคคลภายนอกดังกล่าวจะพิจารณาตามลักษณะความร้ายแรงของอุบัติเหตุ ประกอบกับอาชีพหรือฐานานุรูปของผู้ประสบเหตุ เป็นต้น และเพื่อให้การกำหนดวงเงินสำหรับการประกันภัยเป็นไปอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินการของโครงการรถไฟฟ้าแต่ละโครงการ

นอกจากนี้ยังกำหนดให้ในกรณีที่ รฟม. ให้สัมปทานกิจการรถไฟฟ้า ให้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่จัดให้มีการประกันภัยตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้แทน รฟม. และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และการประกันภัยดังกล่าวต้องคงมีอยู่ตลอดระยะเวลาตามสัญญาสัมปทาน โดยให้มี รฟม. เป็นผู้เอาประกันภัยร่วม และเป็นผู้รับประโยชน์ร่วม

ทั้งนี้ การประกันภัยดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก รฟม. ก่อน เนื่องจากในกรณีที่มีการให้สัมปทานกิจการรถไฟฟ้า ให้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่จัดให้มีการประกันภัยแทน รฟม. โดยให้ รฟม. ตรวจสอบให้การจัดทำประกันภัยสอดคล้องกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว

ซึ่งกำหนดให้การประกันภัยใดที่ได้ทำไปแล้ว ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าการประกันภัยนั้นจะสิ้นสุดความคุ้มครอง


Last edited by Wisarut on 29/04/2024 3:19 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42791
Location: NECTEC

PostPosted: 29/04/2024 3:16 am    Post subject: Reply with quote

กฎหมายเวนคืนใหม่ เจ้าของที่ดินใต้รถไฟฟ้า เฮไม่ต้องย้ายบ้าน
ฐานเศรษฐกิจ
วันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 09:10 น.

ครม.เคาะกฎหมายเวนคืนใหม่ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้ความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน โดยเจ้าของที่ดินใต้รถไฟฟ้า ยังสามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ได้
วันนี้ (26 เมษายน 2567) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์บน เหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำในกิจการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ตามที่ กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งถือเป็นกฎหมายเวนคืนใหม่ ที่ให้ประโยชน์กับผู้ได้รับผลกระทบมากขึ้น โดยขั้นตอนต่อจากนี้ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้


สำหรับความจำเป็นของการออกกฎหมาย เนื่องจากการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีความจำเป็นต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนที่อยู่ในแนวสายทางรถไฟฟ้า เพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟฟ้าที่อยู่บน เหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำ แต่ในระยะหลัง เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้มีการร้องขอให้ รฟม. พิจารณากำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์แทนการเวนคืน ในกรณีที่ รฟม. เข้าใช้อสังหาริมทรัพย์


ส่งผลให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นสามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ได้ลดน้อยลงจากปกติ แต่ไม่ถึงขนาดที่จะต้องมีการเวนคืน เพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด โดยเจ้าของยังสามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ได้ แต่ไม่สามารถใช้สอยได้ตามปกติ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน และประหยัดงบประมาณจากการที่จะต้องจ่ายค่าทดแทนจากการเวนคืน โดยที่ยังไม่มีกฎกระทรวง เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทน


ดังนั้นกระทรวงคมนาคม จึงเห็นควรให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน และเพื่อให้ประชาชนได้รับค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์แทนการเวนคืนที่ดินในจำนวนที่เหมาะสมและเป็นธรรม จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวง มาให้ครม.พินารณา


สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง อาทิ หลักเกณฑ์การพิจารณาราคาที่ดินที่จะนำมากำหนดค่าทดแทนให้คณะกรรมการคำนึงถึงราคา ขนาด ที่ตั้ง สภาพและลักษณะการใช้ประโยชน์ประกอบกัน ดังนี้

1.ราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด ณ วันที่คณะกรรมการกำหนดค่าทดแทน

2.ราคาประเมินที่ดินของทางราชการที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

3.ขนาด ที่ตั้ง สภาพและลักษณะการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์

4.สภาพการใช้ที่ดินในบริเวณใกล้เคียงกับที่ดินนั้น


“เพื่อให้การดำเนินการตามร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเดินหน้าสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดจนความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจาการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดดังกล่าวให้แก่ประชาชนได้รับทราบในโอกาสแรก” นาง​รัดเกล้า​ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42791
Location: NECTEC

PostPosted: 29/04/2024 3:38 am    Post subject: Reply with quote

เม.ย.นี้ เคาะผลศึกษาสร้าง “แทรม 3 สาย” 7.2 หมื่นล้าน

ฐานเศรษฐกิจ
วันศุกร์ ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 15:03 น.

ฟากรฟม.เร่งชงผลศึกษา เม.ย.นี้ ปักหมุดเปิดให้บริการปี 74
ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมเร่งดันแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าภูมิภาค หรือ “รถไฟแทรม” ที่จะช่วยแก้ปัญหาจรจาจรติดขัดภายในพื้นที่ แต่ปัจจุบันพบว่ากระทรวงได้สั่งให้รฟม.ทบทวนผลศึกษารูปแบบของรถอีกครั้งเพื่อประหยัดต้นทุนโครงการ ส่งผลให้โครงการล่าช้ากว่า 3 ปี



รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทางรวม 15.7 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 29,621 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบศึกษารายละเอียด (Detail Design) และจัดทำรายงาน PPP โดยจะเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกการดำเนินโครงการที่เหมาะสมภายในเดือนเมษายนนี้ หลังจากนั้นจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการ PPP ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568-กุมภาพันธ์ 2569 คาดว่าจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนมีนาคม-เมษายน 2569



ทั้งนี้ตามแผนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี จะเปิดคัดเลือกเอกชนภายในเดือนพฤศจิกายน 2569-ตุลาคม 2570 และเริ่มก่อสร้างภายในเดือนพฤศจิกายน 2570-มกราคม 2574 ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2574



สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์- แยกแม่เหียะสมานสามัคคี มี 16 สถานี แบ่งเป็นโครงสร้างใต้ดิน 6.5 กม. และโครงสร้างระดับดิน 9.2 กม โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณโรงพยาบาลนครพิงค์ โดยออกแบบโครงสร้างเป็นทางวิ่งระดับดิน ผ่านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จนถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ซึ่งจะเปลี่ยนจากระดับใต้ดินเป็นทางวิ่งระดับดิน แล้ววิ่งออกไปที่ถนนเชียงใหม่-หางดง (ทางหลวงหมายเลข 108) ไปสิ้นสุดบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี



ด้านความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทางรวม 11.15 กม. วงเงิน 7,242 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมของโครงการ รวมทั้งจัดทำรายงาน PPP คาดว่าจะเสนอผลการศึกษาภายในเดือนเมษายนนี้ หลังจากนั้นจะพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบไฟฟ้าและเดินรถภายในเดือนมิถุนายน 2568-เมษายน 2569



รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ตามแผนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาฯ จะเสนอต่อ ครม. ภายในเดือนเมษายน 2569 และเปิดคัดเลือกเอกชนภายในเดือนพฤศจิกายน 2569-ตุลาคม 2570 โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนพฤศจิกายน 2570-มกราคม 2574 คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2574



ส่วนแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาฯ จำนวน 21 สถานี มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณตลาดเซฟวัน ฝั่งมุ่งหน้าเข้าตัวเมืองนครราชสีมา ไปตามแนวถนนมิตรภาพ ผ่านแยกปักธงชัย แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 224 ผ่านโรงเรียนเมืองนครราชสีมา และผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่บริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์



ที่ผ่านมาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ศึกษารายละเอียดความเหมาะสมของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ฯ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาฯ โดยเปรียบเทียบระหว่างระบบรถรางไฟฟ้าล้อเหล็กและระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง โดยจากการศึกษา พบว่า ระบบรถรางไฟฟ้าล้อยางมีความเหมาะสม



รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ขณะที่โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง ระยะทางรวม 41.7 กม. วงเงิน 35,350 ล้านบาท ขณะนี้ รฟม. อยู่ระหว่างศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสม โดยเปรียบเทียบระหว่างระบบรถรางไฟฟ้าล้อเหล็ก,ระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง และระบบรถรางล้อยางแบบไม่มี Guide Rail (ART) หลังจากนั้นจะปรับปรุงรายงาน PPP เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตามมาตรา 36 และคณะกรรมการ รฟม. พิจารณาภายในเดือนตุลาคม 2568-มิถุนายน 2569

เม.ย.นี้ เคาะผลศึกษาสร้าง “แทรม 3 สาย” 7.2 หมื่นล้าน

ขณะเดียวกันโครงการนี้จะเสนอต่อกระทรวงคมนาคม, สคร. ,คณะกรรมการ PPP และครม.เห็นชอบภายในเดือนกรกฎาคม 2569-กุมภาพันธ์ 2570 และเปิดคัดเลือกเอกชนภายในเดือนมีนาคม 2570-สิงหาคม 2571 โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกันยายน 2571-พฤศจิกายน 2574 คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในเดือนธันวาคม 2574



“โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง ยังมีประเด็นที่โครงการฯมีเส้นทางส่วนใหญ่อยู่บนถนน ทล. 402 ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักของจังหวัดภูเก็ต ดังนั้นหากดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ไปพร้อมกับโครงการถนนอื่นๆ จะทำให้เกิดปัญหาการจราจรอย่างมาก เบื้องต้นให้รฟม.บูรณาการแผนดำเนินงานโครงการร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ให้เร่งรัดการดำเนินการก่อสร้างถนน ทล. 4027 ให้แล้วเสร็จก่อนเพื่อบรรเทาปัญหาจราจรและใช้เป็นทางเลี่ยง ก่อนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าภูเก็ตต่อไป”



สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตฯ จำนวน 21 สถานี มีแนวเส้นทางเริ่มจากสถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตโดยแนวเส้นทางช่วงนี้เป็นโครงสร้างแบบยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 4031 จากนั้นลดระดับลงสู่ระดับดินที่ทางหลวงหมายเลข 4026 มุ่งหน้าเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 เพื่อเข้าสู่เมืองภูเก็ต จากนั้นแนวเส้นทางจะกลับขึ้นสู่ระดับดิน เข้าสู่เขตเทศบาลเมืองภูเก็ต และไปสิ้นสุดที่บริเวณห้าแยกฉลอง
quote="Mongwin"]ทำไมขนส่งสาธารณะในต่างจังหวัดถึงยังไม่โต | เศรษฐกิจติดบ้าน

คนกรุงเทพฯ ตอนนี้มีทางเลือกในการเดินทางมากมาย ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า รถมอเตอร์ไซค์ รถแท็กซี่ รถตู้ รถไฟ ขณะที่ประชาชนในต่างจังหวัดเดินทางลำบากกว่าหลายเท่า เพราะในต่างจังหวัดไม่ได้มีรถโดยสารครอบคลุมเกือบทั่วพื้นที่เหมือนในกรุงเทพฯ และที่มีก็ความถี่น้อยชนิดที่ว่าอาจจะมีรถแค่วันละเที่ยว หากพลาดรถที่มีเพียงเที่ยวเดียวไปก็จะต้องเปลี่ยนวันเดินทางไปอีกวัน คลิปนี้ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน จะพูดคุยกับคุณจุฑาพงศ์ แซ่ตั้ง เจ้าของเพจ Render Thailand ว่าทำไมขนส่งสาธารณะในต่างจังหวัดถึงยังไม่โต

ติดตามชมช่วงเศรษฐกิจติดบ้าน ได้ในรายการวันใหม่วาไรตี้ วันจันทร์ – พฤหัสบดี เวลา 8.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส

https://www.youtube.com/watch?v=dgAQtj91RkQ[/quote]
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42791
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2024 7:11 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เดือนกันยา 68 ครบทุกสี มาแล้วรถไฟฟ้า 20 บาทตามสัญญา
Source - ไทยรัฐ
วันอาทิตย์ ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 06:25 น.

Source: Thairath newspaper, issue dated April 29, 2024 (afternoon frame)



รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบทุกสี กันยายน 2568 ลดค่าครองชีพ-ลดฝุ่น
ในประเทศ
วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 17:44 น.


สุริยะ รมว.คมนาคม ตั้งเป้าดันรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ช่วงกันยายน 2568 ครบทุกสี ทุกสาย ลดค่าครองชีพ-ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 เผย พรบ.ตั๋วร่วม กำลังพิจารณาหลักการต่าง ๆ คาดปี 2568 ชัดเจนขึ้น

วันที่ 29 เมษายน 2567 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากเมื่อช่วงเดือน กันยายน 2567 ที่ได้จัดทำแผนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งได้นำร่องโครงการโดยใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีม่วง

“มะพร้าว” ราคาพุ่งเป็นประวัติการณ์ ลูกเดียว 65-80 บาท เกิดอะไรขึ้น?
พระราชประวัติ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ วันคล้ายวันประสูติ 29 เมษายน
กองทุนประกัน อนุมัติจ่ายเงิน 7.29 พันล้าน มี.ค.-เม.ย. รับรองมูลหนี้เพิ่ม 560 ล้าน
โดยเล็งเห็นว่าอัตราโดยสารสำหรับผู้ที่ใช้รถไฟฟ้าระยะไกลมีอัตราสูงถึง 192 บาท ซึ่งเป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนอย่างมาก ดังนั้นจึงต้องการลดภาระค่าครองชีพโดยการปรับลดค่าโดยสาร

สำหรับแนวทางการดำเนินการนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น มั่นใจว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี หรือ ช่วงกันยายน 2568 รถไฟฟ้าทุกสี และทุกสาย จะเข้าร่วมนโยบายทั้งหมด ขณะที่รถไฟฟ้าสีอื่น ๆ ที่อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างและเตรียมก่อสร้าง ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จ หากตนยังคงดำรงอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอยืนยันว่าจะผลักดันให้เข้าร่วมนโยบายทั้งหมดเช่นกัน

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า นโยบายดังกล่าวนอกจากเป็นการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนแล้ว ยังสามารถลดปัญหา PM 2.5 ในขณะนี้ได้อีกด้วย เนื่องจากประชาชนที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวได้มีการปรับเปลี่ยนการเดินทางมาใช้รถไฟฟ้าแทน รวมถึงยังแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ได้อีกด้วย

ทั้งนี้ยังอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางการจัดเส้นทาง Feeder เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย พร้อมคาดว่าภายในระยะ 2-3 เดือนนี้จะเห็นความชัดเจน

ซึ่งนอกเหนือจาก ขสมก. แล้ว หากเอกชนรายใดที่มีความพร้อมด้านการให้บริการขนส่ง ก็สามารถเข้าร่วมการจัดเส้นทาง Feeder ได้ ซึ่งแผนระยะสั้นจะผลักดันประมาณ 30 เส้นทาง เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีแดง

ส่วนระยะต่อไป คาดเป็นช่วงปี 2568-2569 จะเพิ่มจำนวนเพิ่มเติม เพื่อรองรับการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว สายสีชมพู และสายสีส้ม และอีก 66 เส้นทางจะดำเนินการในระยะถัดไปตั้งแต่ปี 2570 เป็นต้นไป

ด้านแผนจัดทำ พรบ.ตั๋วร่วม ขณะนี้มีการเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว และอยู่ระหว่างพิจารณาถึงหลักการด้านต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสม เบื้องต้นคาดว่าภายในปี 2568 จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันยังได้เตรียมแผนจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจากมาตรการดังกล่าว โดยเม็ดเงินจากกองทุนที่จะนำมาชดเชยนั้นจะมาจาก ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล เป็นต้น..
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44880
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/05/2024 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ปลุกระบบฟีดเดอร์ 111 เส้นทาง เชื่อมรถไฟฟ้าสารพัดสี
ฐานเศรษฐกิจ
03 พ.ค. 2567 | 12:03 น.

KEY POINTS

“คมนาคม” ดันระบบฟีดเดอร์ 111 เส้นทาง หนุนเส้นทางรถไฟฟ้าทั่วกรุงเทพฯ-ปริมณฑล
ปักหมุดนำร่อง 30 เส้นทาง ในปี 67 คาดได้ข้อสรุปภายใน 2-3 เดือน
เปิดโอกาสเอกชนร่วมให้บริการด้านขนส่งสาธารณะ

ปัจจุบันพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑลยังขาดระบบขนส่งมวลชน (Feeder) เชื่อมต่อการเดินทางแบบไร้รอยต่อ (Seamless) ทำให้กระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนาระบบฟีดเดอร์ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) ปัจจุบันกระทรวงฯอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางการจัดเส้นทางฟีดเดอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย คาดว่าจะได้เห็นความชัดเจนภายใน 2-3 เดือน

“นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) แล้ว หากเอกชนรายใดที่มีความพร้อมด้านการให้บริการขนส่ง ก็สามารถเข้าร่วมการจัดเส้นทางระบบฟีดเดอร์ได้”

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ตามแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) เบื้องต้น สนข.และกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จะดำเนินการสำรวจเส้นทางและตรวจสอบเส้นทางที่มีความทับซ้อนต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ หลังจากนั้นจะส่งหนังสือถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบภายใน 1 เดือน โดยจะสรุปผลดังกล่าว หากไม่มีการคัดค้านจะเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองเส้นทางและเสนอต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ซึ่งขบ.จะดำเนินการประกาศเส้นทางในราชกิจจานุเบกษา เพื่อสรรหาผู้ประกอบการเดินรถในเส้นทางต่างๆ ต่อไป

ทั้งนี้การศึกษารูปแบบระบบ Feeder ที่เหมาะสมต่อพื้นที่บริเวณโดยรอบนั้นจะดำเนินการใช้รถหมวด 4 โดยเฉพาะรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (EV) แทนการใช้เครื่องยนต์ที่มีระบบสันดาปภายใน ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยมลภาวะทางอากาศและลดฝุ่น PM 2.5 ตลอดจนแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ สอดรับมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย

สำหรับแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1.ระยะสั้น (ปี 2567) จำนวน 30 เส้นทาง เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและรถไฟสายสีแดง เช่น เส้นทางรังสิต (สายสีแดงเข้ม) - ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต,เส้นทางวัดเสมียนนารี (สายสีแดงเข้ม) – โลตัสพงษ์เพชร,เส้นทางวัดเสมียนนารี (สายสีแดงเข้ม) – โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ประชาชื่น,เส้นทางบางเขน (สายสีแดงเข้ม) - ถนนประชาชื่น – ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

เส้นทางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สายสีแดงเข้ม) – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ,เส้นทางสถานีหลักสี่ – รพ.มงกุฎวัฒนะ ,เส้นทางสถานีบางพลัด – สถานีบางบำหรุ,เส้นทางสถานีตลิ่งชัน – สถานีบางหว้า ,เส้นทางสถานีตลิ่งชัน – ถ.บรมราชชนนี,เส้นทาง MRT บางกระสอ (สายสีม่วง) – ถนนเลี่ยงเมืองนนท์,เส้นทาง MRT กระทรวงสาธารณสุข (สายสีม่วง) – กระทรวงสาธารณสุข,เส้นทาง MRT แยกติวานนท์ (สายสีม่วง) – ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ฯลฯ

2.ระยะกลาง (ปี 2568-2569) จำนวน 15 เส้นทาง เพื่อรองรับการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน,รถไฟฟ้าสายสีเขียว, รถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีส้ม ประกอบด้วย เส้นทางสถานีสนามเป้า,เส้นทางสถานีเตาปูน (เส้นทางที่ 1-2),เส้นทางสถานียศเส,เส้นทางสถานีสะพานใหม่ (เส้นทางที่ 1-2) ,เส้นทางสถานีคูคต (เส้นทางที่ 1),เส้นทางสถานีการเคหะ,เส้นทางสถานีวงศ์สว่าง,เส้นทางสถานีดอนเมือง (เส้นทางที่ 1),เส้นทางสถานีบางกระสอ (เส้นทางที่ 1-2) ,เส้นทางสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ, เส้นทางสถานีแยกคปอ. และเส้นทางสถานีตลาดพลู

3.ระยะยาว (ปี 2570-2578) จำนวน 66 เส้นทาง เพื่อรองรับรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในปัจจุบันและรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น เส้นทางสถานีภาวนา (เส้นทางที่ 1),เส้นทางสถานีแยกลำสาลี,เส้นทางสถานี ม.รามคำแหง,เส้นทางสถานีมีนพัฒนา,เส้นทางสถานีลุมพินี,เส้นทางสถานีโชคชัย 4,เส้นทางสถานีคลองเตย,เส้นทางสถานีคลองลำเจียก,เส้นทางสถานีลาดพร้าว 83,เส้นทางสถานีหลักหก,เส้นทางสถานีหลักสี่,เส้นทางสถานีลาดพร้าว 71

เส้นทางสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์,เส้นทางสถานีติวานนท์ (เส้นทางที่ 1),เส้นทางสถานีสะพานพระนั่งเกล้า,เส้นทางสถานีคลองห้า,เส้นทางสถานีคลองสาม (เส้นทางที่ 2),เส้นทางสถานีรัชโยธิน,เส้นทางสถานีรามอินทรา กม.6,เส้นทางสถานีคลองบางไผ่,เส้นทางสถานีวัดพระราม 9,เส้นทางสถานีลาดปลาเค้า,เส้นทางสถานีสำโรง,เส้นทางสถานีตลิ่งชัน,เส้นทางสถานีแยกร่มเกล้า,เส้นทางสถานีบางแค,เส้นทางสถานีพร้อมพงษ์,เส้นทางสถานีรังสิต (เส้นทางที่ 1-2),เส้นทางสถานีงามวงศ์วาน 18 ฯลฯ

Thailand's Ministry of Transport revitalizes its feeder system with 111 routes to connect with existing electric train lines.
Thansettakij 03 May 2024 | 12:03 p.m.

KEY POINTS

Thailand's transport ministry focuses on a feeder system of 111 routes to enhance the existing electric rail network in Bangkok and surrounding areas.

Initial rollout targets 30 pilot routes in 2024, with a 2-3 month timeframe for finalization.

The project encourages private sector participation in public transportation services.

Explanation of the Feeder System:

Thailand's Ministry of Transport is addressing a lack of seamless connectivity around BTS stations in Bangkok and the surrounding metropolitan area. To promote greater use of public transportation, the ministry is developing a feeder system intended to make connections more efficient.

Deputy Prime Minister's Statement:

Mr. Suriya Juangroongruangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport, indicated that the ministry is finalizing guidelines for feeder routes to support the nationwide 20-baht electric train fare policy. Clarity on the plan is expected within 2-3 months.

"In addition to the Bangkok Mass Transit Authority (BMTA), any private entities interested in providing transportation services are welcome to participate in developing the feeder system."

Ministry of Transport News Report:

The Ministry of Transport's news report outlines a preliminary plan for the feeder mass transit system. The Office of Transport and Traffic Policy (OTP) and the Department of Land Transport (DLT) will:

Conduct route surveys and assess potential impacts on existing services.
Contact affected parties within one month and provide a summary of findings.
Submit proposals to the route screening subcommittee and the Central Land Transport Control Board (if no objections are raised).
Announce finalized routes in the Royal Gazette and initiate the selection of bus operators.

To reduce air pollution (including PM2.5) and traffic congestion, the study of feeder systems will prioritize Category 4 vehicles, particularly electric buses (EVs). This aligns with the nationwide 20-baht electric train fare policy.

Feeder System Development Plan (3 Phases):

Phase 1: Short-term (2024): 30 routes will support the Purple and Red Line train services.
Phase 2: Medium-term (2025-2026): 15 routes will connect with the Blue, Green, Pink, and Orange Lines.
Phase 3: Long-term (2027-2035): 66 routes will integrate with current and future electric train expansions.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44880
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/05/2024 8:35 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ กระจกไร้เงา: นโยบายขายฝัน
Source - ไทยโพสต์
Monday, May 06, 2024 04:35

บุญช่วย ค้ายาดี

ไม่นานเกินรอ ได้ใช้แน่รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสายทุกสีก็ 20 บาท ซึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมานั้น รมว.คมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ประกาศลั่นว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ปรับลดค่าโดย สารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท โดยเริ่มนำร่องในการเก็บอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีแดง มีผลตั้ง แต่วันที่ 16 ตุลาคม 2566 นั้น

ล่าสุดมั่นใจว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี หรือช่วงกันยายน 2568 รถไฟฟ้าทุกสีและทุกสายจะเข้าร่วมนโยบายทั้งหมด ขณะที่รถไฟฟ้าสีอื่นๆ ที่อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างและเตรียมก่อสร้าง ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จ หากตนยังคงดำรงอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอยืนยันจะผลักดันให้เข้าร่วมนโยบายทั้งหมดเช่นกัน

พร้อมทั้งยังระบุอย่างชัดเจนว่า นโยบายดังกล่าวนอก จากเป็นการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนแล้ว อีกทั้งยังสามารถลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้อีกด้วย เนื่องจากประชาชนที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวได้มีการปรับเปลี่ยนการเดินทางมาใช้รถไฟฟ้าแทน รวมถึงยังแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ได้อีกด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางการจัดเส้นทางเพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง หรือ Feeder เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย คาดภายในระยะ 2-3 เดือนนี้จะเห็นความชัดเจน

สุริยะ ยังย้ำว่า ในช่วงปี 2568-2569 จะเพิ่มจำนวนเพิ่มเติม เพื่อรองรับการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว สายสีชมพู และสายสีส้ม และอีก 66 เส้นทางจะดำเนินการในระยะถัดไปตั้งแต่ปี 2570 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญของนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น คือต้องเดินหน้าร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในกลางปีนี้ ซึ่ง นายสุริยะ ยอมรับว่าการผลักดันรถไฟฟ้า 20 บาทให้ครอบคลุมทุกเส้นทาง จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.ตั๋วร่วม และผลักดันการจัดตั้งกองทุนตั๋วร่วมให้แล้วเสร็จ เพื่อนำเงินในกองทุนดังกล่าวมา ชดเชยรายได้ให้แก่เอกชนที่เกี่ยวข้องจากมาตรการดังกล่าว เพื่อไม่ให้ผิดสัญญาสัมปทาน อย่างไรก็ตาม เม็ดเงินจากกองทุนที่จะนำมาชดเชยนั้น จะมาจากการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล

ดังนั้นในปี 2567 จึงยังไม่มีรถไฟฟ้าสายใดที่สามารถเข้าร่วมนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทได้เพิ่มเติม เนื่องจากมีความจำเป็นต้องรอให้มีการพิจารณา พ.ร.บ.ตั๋วร่วม และจัดตั้งกองทุนตั๋วร่วมให้แล้วเสร็จก่อน โดยกรอบการดำเนินงานที่ประเมินไว้ในขณะนี้ คาดว่า พ.ร.บ.ตั๋วร่วมจะสามารถเสนอคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบได้ประมาณเดือน มี.ค.-พ.ค.2567 เนื่องจากสถานะปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนศึกษารายละเอียด รวมถึงข้อกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ

หลังจากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาประมาณเดือน มิ.ย.-พ.ย.2567 และเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในเดือน ธ.ค.2567-ส.ค.2568 เบื้องต้นจึงประเมินว่า พ.ร.บ.ตั๋วร่วม พ.ศ. .... จะสามารถออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ประมาณเดือน ก.ย.-พ.ย.2568

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่านโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาลที่ปัจจุบันได้มีการนำร่องตามนโยบายในรถไฟฟ้า 2 สายแรก ได้แก่ สายสีม่วง (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน) และสายสีแดง (สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-สถานีรังสิต และสถานีตลิ่งชัน) ซึ่งนโยบายนี้จะช่วยสร้างโอกาสให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนได้

โดย โอกาสที่ 1 ลดค่าใช้จ่าย-เพิ่มกำลังซื้อ เมื่อค่าโดยสารลดเหลือ 20 บาท/เที่ยว จะลดภาระค่าเดินทางสูงสุดเหลือเพียง 9,640 บาท หรือคิดเป็นประมาณ 48% ของภาระค่าใช้จ่ายการเดินทางตลอดปีตามนโยบายค่าโดยสารเดิม โอกาสที่ 2 การขยายตัวของชุมชน-ย่านธุรกิจใหม่ โอกาสที่ 3 เกิดทำเลการค้าขายใหม่ โอกาสที่ 4 คุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีขึ้น โอกาสที่ 5 ภาษีที่เป็นธรรม คงต้องมาลุ้นกันว่า นโยบาย 20 บาทตลาดสายนั้นจะเป็นแค่ขายฝัน เหมือนนโยบายหาเสียงหลายๆ ข้อที่พรรคการ เมืองได้นำออกมาจูงใจประชาชนนั้น จะเป็นจริงหรือเป็นได้แค่ นโยบายขายฝันเหมือนดิจิทัลวอลเล็ต ที่เอาแต่ขายฝันไปวันๆ.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 6 พ.ค. 2567

Thailand's 20 Baht Electric Train Fare Policy: Implementation Timeline and Challenges

Thailand's Transport Minister, Suriya Jungrungruangkit, recently outlined a plan to expand the 20 baht flat fare policy to all electric train lines in the Bangkok metropolitan area by September 2025. Currently, this policy applies only to the Purple and Red Lines.

Key Points:

The implementation of this broader policy faces several hurdles, including the passage of the Common Ticket System Management Act and the establishment of a common ticket fund to compensate private operators.

The government anticipates that the Common Ticket Act could be enacted by November 2025.

This policy aims to reduce travel costs for commuters, ease traffic congestion, and improve air quality (reduce PM 2.5 dust).

The expansion of the policy will include feeder routes to increase its efficiency.

In 2025-2026, an additional 66 routes will be added, with more planned for 2027 and beyond.

Challenges:

While the policy has garnered support, some critics question its feasibility and long-term sustainability.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42791
Location: NECTEC

PostPosted: 07/05/2024 6:58 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ทำทันที4สายสีน้ำตาล-ขยายแดง
Source - เดลินิวส์
Tuesday, May 07, 2024 05:22

เคาะแผนแม่บทราง2ส่งครม. แต่น้ำตาลศึกษาใหม่ใส่20บ.


ลิงก์มาแล้วครับ
เคาะM-Map2แผนแม่บทรถไฟฟ้า(2)ส่งคจร.-ครม.
*ทำทันที4เส้นทางสายสีน้ำตาล-ส่วนขยายสีแดง
*แต่สายสีน้ำตาลรอศึกษาใหม่นโยบาย 20 บาท
*ไม่กังวลรูปแบบรถเป็นโมโนเรลเหมือนเดิมก็ได้

กรมรางชง “คมนาคม-คจร.” เคาะ M-MAP 2 ทำทันที 4 เส้นทาง “น้ำตาล” เร่งศึกษา 20 บาท
นวัตกรรมขนส่ง
วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2567 เวลา 12:09 น.

“กรมราง” ชง M-MAP 2 โครงข่ายขนส่งทางรางให้ “คมนาคม” เคาะ มิ.ย. นี้ 46 เส้นทาง 659 กม. “รฟท.-รฟม.” เร่งดัน 4 เส้นจำเป็น ทำทันที 51.4 กม. กว่า 7 หมื่นล้าน อนุมัติให้จบในปี 67 “แดงต่อขยาย” ลุยเพิ่มเติมข้อมูล ขณะที่ “น้ำตาล” ทบทวนผลศึกษาใหม่ เติมนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ไม่บังคับรูปแบบรถ

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ขณะนี้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) อยู่ระหว่างการตรวจรับงาน โครงการเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-MAP 2 ในงวดสุดท้าย คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. 67 จากนั้นประมาณเดือน มิ.ย. 67 ขร. จะนำผลการศึกษาเสนอมายังกระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาเห็นชอบ และรายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบต่อไป

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า เบื้องต้นผลการศึกษาฯ ได้จัดลำดับความสำคัญแผนการพัฒนา M-Map 2 มี 46 เส้นทาง ระยะทางรวม 659.85  กิโลเมตร (กม.) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่ม A1 เส้นทางที่มีความจำเป็น/มีความพร้อม (สามารถดำเนินการได้ทันที) 4 เส้นทาง 31 สถานี ระยะทางรวม 51.40 กม., 
กลุ่ม A2 เส้นทางที่มีความจำเป็น/แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน คาดว่าดำเนินการภายในปี 72 จำนวน 6 เส้นทาง 41 สถานี ระยะทางรวม 51.45 กม., 
กลุ่ม B เส้นทางที่มีศักยภาพ เนื่องจากผ่านการศึกษาความคุ้มค่าในโครงการ M-Map 1 และบางเส้นทางเป็นเส้นทางใหม่ที่มีปริมาณผู้โดยสารถึงเกณฑ์ที่จะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าได้ รวม 10 เส้นทาง 95 สถานี ระยะทางรวม 167.50 กม.และกลุ่ม C เส้นทางที่จะเป็นระบบ Feeder อาทิ Tram ล้อยาง และรถเมล์ไฟฟ้า 26 เส้นทาง ระยะทางรวม 389.50 กม.


รายงานข่าวแจ้งอีกว่า กลุ่ม A1 เป็นกลุ่มที่สามารถดำเนินการได้เลย และขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างเร่งผลักดันโครงการเข้าสู่การพิจารณาของกระทรวงคมนาคม และ ครม. ให้ได้รับการอนุมัติภายในปี 67 โดยกลุ่ม A1 จำนวน 4 เส้นทาง วงเงิน 70,236 ล้านบาท ประกอบด้วย 
1.รถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,473 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งปัจจุบันกระทรวงคมนาคม เสนอโครงการดังกล่าวไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อรอบรรจุวาระของที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาแล้ว



2.รถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,670 ล้านบาท รฟท. อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อสั่งการของกระทรวงคมนาคม คาดว่า รฟท. จะส่งกลับมายังกระทรวงคมนาคมพิจารณาอีกครั้งภายในเดือน พ.ค. นี้ 
3. รถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอ ครม. จะรอให้รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งขณะนี้มีคดีพิพาทเกี่ยวกับการคัดเลือกโครงการฯ ได้รับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง เพราะการก่อสร้างทั้ง 2 โครงการใช้พื้นที่ร่วมกัน


และ 4. โครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.10 กม. วงเงิน 48,477 ล้านบาท ขณะนี้ รฟม. อยู่ระหว่างทบทวน และปรับปรุงผลการศึกษา ตามข้อสั่งการของกระทรวงคมนาคม อาทิ การวิเคราะห์เพิ่มเติมกรณีนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ตามนโยบายรัฐบาล, การบูรณาการโครงการทางด่วน ขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นต้น ส่วนรูปแบบของรถที่จะนำมาใช้กับสายสีน้ำตาล กระทรวงคมนาคมไม่ได้มีนโยบายบังคับว่าจะต้องใช้รถรูปแบบใด ให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ รฟม. โดยก่อนหน้านี้ รฟม. มีแผนจะใช้รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมให้ รฟม. เสนอโครงการฯ กลับมา เพื่อพิจารณาอีกครั้งภายในปี 67...
https://www.dailynews.co.th/news/3408983/
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/984116256498942

Note: โมโนเรลไม่ใช่ปัญหา เพราะ ถ้าเชื่อมต่อสายสีน้ำตาลเข้ากับสายสีชมพูกะสายเหลืองจนสามารถแลกเปลี่ยนขบวนรถได้แล้ว ก็สามารถปรับขบวนรถไปเดินรถชั่วคราวก่อนที่รถโมโนเรลสายน้ำตาลที่สั่งมาใหม่เข้ามาแทนได้ เพียงแต่ต้องปรับสเปกให้ดีเลิศกว่านี้ คือ ต้องมีระบบ ลดแรงสะเทือนที่ดีกว่าเก่า ถ้าจำเป็นต้องให้ญี่ปุ่นช่วยก็ได้ แต่จีนคงค้อนขวับๆ งานนี้เดือดร้อนบอมบาดิเออร์และอัลสตอมต้องหาทางปรับระบบใหม่ให้ดีกว่าเดิม


ใครที่รอดูแผนแม่บทระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล M-MAP 2 แบบ official ตอนนี้ทางโครงการศึกษา แผนแม่บทในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน M-MAP2 ได้จัดทำแผนที่ออกมาแล้วครับ
สามารถไปโหลดแบบ PDF ชัดๆ ได้ที่ แผนแม่บทระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล M-MAP 2 เลย เพราะเวอร์ชันจัดเต็มแบบนี้ LivingPop เราไม่ทำครับ 🤣
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/1040904017396672
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 279, 280, 281  Next
Page 280 of 281

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©