RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311329
ทั่วไป:13291450
ทั้งหมด:13602779
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - กสท.จะยกเลิกให้บริการโทรเลขตั้งแต่ 1 พ.ค.51
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

กสท.จะยกเลิกให้บริการโทรเลขตั้งแต่ 1 พ.ค.51
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สัพเพเหระ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
siam35
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 14/01/2008
Posts: 7
Location: ศรีสะเกษ-นครราชสีมา

PostPosted: 27/02/2008 5:38 pm    Post subject: Reply with quote

Idea Arrow .-. .-.-.. .-..- ..-. -..-. .-... -...- -.-- ---. ..- -..- .- - ..-.. .-..- -..-- -.-- จบแล้วครับ อยากรู้ความหมายแปลเอาเอง ฮึฮึ
(จุด = ดิต ขีด =ดาห์ )ระยะห่างของอักษรคือหนึ่งจุด Razz Razz Razz Shocked
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Dahlia
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 17/02/2007
Posts: 1030
Location: BKK / NST

PostPosted: 27/02/2008 6:02 pm    Post subject: Reply with quote

ข่าวนี้ ทำให้ผมต้องไปรื้อลังเก็บจดหมาย เพื่อจะเก็บซองโทรเลขไว้เป็นที่ละลึกเลย.. Wink
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
don153t
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 09/07/2007
Posts: 32

PostPosted: 27/02/2008 6:07 pm    Post subject: Reply with quote

ของนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง น่าจะยกเลิกกับเขาบ้าง แทงกั๊กกันเหลือเกิน อ้างว่า เพื่อ อนุรักษ์
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
therock
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/09/2007
Posts: 1575
Location: อดีตเด็กมหาชัย

PostPosted: 27/02/2008 6:08 pm    Post subject: Reply with quote

ตอนแรกจะยกเลิกประมาณปี2549แล้วก็เลื่อนมาเป็นปีนี่ผลส่วนหนึ่งก็มาจากมีความเจริญอย่างอื่นที่รวดเร็วกว่านี่สงสัยต้องไปหามาเก็บไว้สักหน่อยละเนี่ยก่อนจะไม่มีให้เห็นอีกต่อไปละ emot171
Back to top
View user's profile Send private message
KaittipsBOT
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 4150

PostPosted: 27/02/2008 9:20 pm    Post subject: Reply with quote

alderwood wrote:
การบริการส่งพัสดุที่ไปรษณีย์ไทยไม่สามารถให้บริการได้ โดยยังมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของสินค้าอยู่ครับ ซึ่งถ้าเป็นของขนาดใหญ่มากๆจะต้องไปรับเอง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งต่างจากบริการรับส่งสินค้าของทางเอกชนอย่าง TNT, Regent, HWL ซึ่งการนำส่งจะเป็นลักษณะ Door to Door ก็คือส่งให้ถึงมือผู้รับปลายทาง ถึงแม้ของจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ก็ตามครับ


Razz ใครบอกจ่ะน้องธี ไปรษณีตอนนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว บริการส่งสินค้าไม่แพ้ TNT DHL หรือ FEDX หรอก Door to Door เหมือนกันขนาดสินค้าก็ไม่เกี่ยง แถมปัจจุบันรับโอนเงินแบบรับปลายทางได้ด้วย ให้เช่าพระ จองตั๋ว ชำระค่าต่างๆ พวกเอาหมดแล้ว เขาเปลี่ยนเป็น One Stop Service ไปแล้ว....น้องๆ ธนาคารพานิชย์เสียด้วยซ้ำ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 27/02/2008 10:34 pm    Post subject: Reply with quote

พี่ห่านครับ พอดีทุกวันนี้ผมต้องส่ง Notebook ไปต่างจังหวัดประจำ จะใช้บริการของ TNT เป็นหลักในการส่งไป Value กับ Synnex แต่ที่เจอปัญหากับไปรษณีย์บางครั้งต้องจัดมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปรับตัว Notebook ที่ไปรษณีย์ หรือไม่ก็ปฎิเสธพัสดุเมื่อต้องส่งกลับคืนลูกค้า แต่ที่แปลกใจก็คือ ไปรษณีย์ไม่รับ แต่เอกชนที่เป็นตัวแทนของไปรษณีย์รับครับ
หรืออาจจะเป็นแค่เฉพาะพัสดุบางประเภทหรือเปล่า
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 27/02/2008 11:41 pm    Post subject: Reply with quote

ในกระทู้นี้ได้พูดถึงการยกเลิกการติดต่อสื่อสารด้วยการใช้โทรเลข และประกอบกับผมมีหนังสือสารคดีฉบับที่ 253 > มีนาคม 49 ปีที่ 22 ที่เกี่ยวข้องกัน และได้ลองไปค้นดูใน Google ทำให้พบข้อมูลจากหนังสือเล่มเดียวกันนี้บน Internet จึงขออนุญาตนำมาลงเป็นระยะๆครับ
-------------------------------------------------------------------------

Click on the image for full size
นับถอยหลังโทรเลขไทย ในวันที่สยามก้าวสู่ยุค 3G
ที่มา นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 253 มีนาคม 2549
เรื่อง : สุเจน กรรพฤทธิ์
ภาพ : วิจิตต์ แซ่เฮ้ง
Click on the image for full size

Quote:
สายโทรเลขนี้ กระทำให้คนอันอยู่คนละซีกพิภพ มาอยู่ชิดเคียงกัน ห่างกันแต่เพียงทางครึ่งวันเท่านั้นเอง ถ้ากล่าวแต่ต้นแผ่นดิน... คนทั้งเมืองในคราวนั้น คงเยาะคนอันพูดเช่นนั้นว่า เปนคนเสียจริต เปนบ้าไปแล้ว แต่ที่จริงไม่กี่เดือน ความที่ว่ามานี้คงเปนแน่...”

Samuel Jones Smith ใน จดหมายเหตุสยามสไมย ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๔๒๕)

หากวันนี้ หมอสมิธ*ยังมีชีวิตอยู่ เขาก็คงจะงงและอึ้ง ด้วยปัจจุบัน “โทรเลข” ซึ่งเขาเคยทึ่งในประสิทธิภาพและประสิทธิผล ได้ถูกเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ที่พัฒนาขึ้นในยุคหลัง ก้าวแซงหน้าไปอย่างสิ้นเชิงทั้งในแง่ประสิทธิภาพด้านการสื่อสารและความรวดเร็ว เทคโนโลยีเหล่านี้ไม่เพียงทำให้ “คนอันอยู่คนละซีกพิภพมาอยู่ชิดเคียงกัน” ได้อย่างแท้จริงเท่านั้น หากยังทำให้เราอยู่ห่างกันแค่เพียง “ไม่กี่วินาที” ด้วย

ในวันที่คนไทย ๖๒ ล้านคนมีโทรศัพท์บ้านใช้กันอย่างทั่วถึงกว่า ๘ ล้านเลขหมาย มีมือถือพกติดตัวไว้ติดต่อสื่อสารกว่า ๓๐ ล้านเลขหมาย มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้รับ-ส่งข้อมูลกันได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เครื่องมือสื่อสารกลายเป็นปัจจัยที่ ๕ ของคนรุ่นใหม่ และโลกของการสื่อสารก้าวพ้นไปไกลจากการทำให้ผู้คนอยู่ชิดเคียงกัน--ใครบางคนอาจเกิดคำถามขึ้นในใจว่า เทคโนโลยีการสื่อสารที่ถือกำเนิดมากว่า ๑๐๐ ปีอย่างโทรเลข ถึงวันนี้ ชีวิตและโฉมหน้าของมันแปรเปลี่ยนไปเช่นไร ?

*บุตรชายของมิชชันนารีชาวอเมริกัน ซึ่งเดินทางเข้ามาในสยามราวสมัยรัชกาลที่ ๓ เพื่อเผยแผ่ศาสนา
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size


Last edited by alderwood on 27/02/2008 11:49 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 27/02/2008 11:44 pm    Post subject: Reply with quote

โทรเลขยังไม่ตาย
Click on the image for full size
พฤศจิกายน ๒๕๔๘, ที่ทำการรับ-ส่งโทรเลขนครหลวงใต้

“ถ่ายไว้ๆ เป็นที่ระลึก”

ความอึกทึกบนชั้น ๓ ของตึกที่ทำการไปรษณีย์กลาง (บางรัก) เริ่มขึ้นทันทีเมื่อคุณลุงกลุ่มหนึ่งออกมาต้อนรับเราอย่างกระตือรือร้น คนหนึ่งคว้ากล้องวิดีโอขึ้นมา อีกคนหนึ่งแสดงความดีใจอย่างเห็นได้ชัด

ทราบภายหลังว่า พวกเขาประหลาดใจกับการมาเยือนของเราจริงๆ

“ไม่มีใครมาดูงานที่นี่ ๑๕ ปีแล้ว พวกคุณเป็นคนกลุ่มแรก” คุณลุงเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งเอ่ยขึ้นก่อนขยายความต่อว่า “สมัยก่อนพวกนักเรียน นักศึกษา เขามาดูงานกันบ่อยมาก”

หากวันนี้จะหาใครที่สามารถถ่ายทอดตำนานโทรเลขให้คนรุ่นหลังได้รับรู้คงหนีไม่พ้นคุณลุงเจ้าหน้าที่เหล่านี้เป็นแน่ ด้วยแต่ละคนล้วนคลุกคลีกับงานโทรเลขมาครึ่งค่อนชีวิต และถึงปัจจุบันก็ยังทำงานอย่างขยันขันแข็งไม่ต่างจากเมื่อหลายสิบปีก่อน

ทำงาน “เต็มเวลา” ภายในที่ทำการโทรเลขที่ถือได้ว่ามีโทรเลขให้ส่งมากที่สุดในประเทศ คือเฉลี่ย ๕๐๐ ฉบับต่อวัน ...นี่อาจจะดูเป็นจำนวนที่น้อย แต่ก็ถือว่ามากเหลือเกินสำหรับยุคที่โทรเลขถูกลืม

เพราะทุกวันนี้ คนไทยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไปมาก

Click on the image for full size

นับย้อนไปในอดีตกระทั่งถึงราว ๒๐ ปีก่อนหน้านี้ ทางเลือกในการสื่อสารของผู้คนยุคก่อนยังมีไม่มากนัก คนต่างจังหวัดที่มาทำงานในเมืองมักจะส่งข่าวกลับบ้านด้วยการเขียนจดหมาย และถ้าเป็นข่าวด่วน ก็จะส่งโทรเลข บริการโทรศัพท์ยังไม่ครอบคลุมและค่าใช้บริการสูง แต่ปัจจุบันพวกเขามีทางเลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ ที่มีเครือข่ายครอบคลุมแทบทุกจุดของประเทศ รวมไปถึงการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถตอบสนองการติดต่อสื่อสาร “ด่วน” ที่โทรเลขเคยมีบทบาทสำคัญได้อย่างสมบูรณ์แบบ

จึงอาจไม่แปลกอะไรที่ทุกวันนี้โทรเลขจะถูกลดความสำคัญลงเหลือแค่เอาไว้ใช้ทวงหนี้เท่านั้น

“ที่เขายังใช้กันอยู่ เพราะมันนำไปเป็นหลักฐานในชั้นศาลได้” เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งกล่าว ก่อนจะบอกเล่าเพิ่มเติมว่า ลูกค้าหลักที่ใช้โทรเลขเหนียวแน่นมาจนถึงทุกวันนี้ ก็คือธนาคารและผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือบางบริษัท ซึ่งเอกชนเหล่านี้จะเช่าสายวงจรที่ติดต่อโดยตรงกับที่ทำการรับ-ส่งโทรเลขนครหลวงใต้ ทำการฝากข้อความผ่านเครื่องมือสื่อสารประเภทต่างๆ อาทิ เครื่องโทรสารหรือเทเลกซ์ จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะนำข้อความเหล่านั้นเข้าสู่ระบบการส่งโทรเลข และจัดส่งให้ถึงที่หมายต่อไป

“แต่ละเดือนที่นี่มียอดโทรเลขเข้า-ออกเฉลี่ยเป็นหมื่นฉบับเพราะวงจรพวกนี้” ชัชวาล ทองอบสุข หัวหน้างานรับฝากและนำส่งโทรเลข ที่ทำการรับ-ส่งโทรเลขนครหลวงใต้ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนย่อยของที่ทำการไปรษณีย์กลาง กล่าวพลางหยิบสถิติการรับ-ส่งโทรเลขเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๘ ซึ่งอยู่ที่ ๑๐,๕๖๗ ฉบับออกมาให้ดู

“นอกจากทวงหนี้ ที่เหลือเป็นพวกคำอวยพรจากข้าราชการถึงผู้บังคับบัญชาในโอกาสเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง และอวยพรเนื่องในโอกาสเทศกาลสำคัญซึ่งทุกวันนี้ก็เหลือแบบนี้น้อยเต็มทีแล้ว”

เจ้าหน้าที่อีกคนเสริมว่า “ก่อนหน้านี้สักสิบกว่าปีก่อน จะมีโทรเลขอีกแบบหนึ่งที่ทำรายได้ให้เรามาก เป็นโทรเลขจากจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ ซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่เยอะ ช่วงนั้นคนงานนิยมใช้โทรเลขธนาณัติส่งเงินกลับบ้าน เจ้าหน้าที่จะรู้กันเลยว่า วันกลางเดือนกับปลายเดือนจะมีโทรเลขเข้ามาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าวันละ ๑,๐๐๐ ฉบับ เรียกได้ว่ารายได้จากโทรเลขเหล่านี้เลี้ยงคนได้ทั้งกรมทีเดียว แต่วันนี้มันก็ไม่เหมือนก่อนแล้ว”

ทุกวันนี้จะมีคนไทยสักกี่คนที่ยังคงใช้บริการโทรเลข ไม่ต้องนับรวมถึงเด็กรุ่นใหม่ๆ ที่อาจไม่รู้จักหรือนึกหน้าค่าตาของมันไม่ออก แม้ว่าในความเป็นจริง ไปรษณีย์ไทยยังคงมีบริการด้านนี้อยู่เช่นที่เคยเป็นมานับแต่ยุคแรกที่มีการเปิดบริการโทรเลขเมื่อกว่า ๑๐๐ ปีก่อน

ไม่เพียงกลายเป็นเรื่องไกลตัวของคนรุ่นใหม่ แม้ในบรรดาเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เอง บริการชนิดนี้ก็ดูจะห่างไกลจากความคุ้นชิน หากผู้อ่านไปที่ที่ทำการไปรษณีย์สักแห่งแล้วแจ้งว่าต้องการส่งโทรเลข หากโชคดีว่าที่ทำการฯ นั้นยังมีบริการนี้อยู่ (เครื่องไม่เสีย-ขัดข้อง จนใช้งานไม่ได้) ก็อาจต้องให้เวลาพวกเขาสักครู่ใหญ่เพื่อทบทวนขั้นตอนการทำงาน หลังจากนั้นก็ต้องทำใจรอสัก ๒-๓ วันกว่าโทรเลขจะเดินทางถึงมือผู้รับ

Click on the image for full size

เวลาที่ผ่านไป นอกจากระบบการรับ-ส่งข้อความจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากแล้ว ในส่วนของคนทำงานเองก็เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด พ้นไปจากด้านทักษะความชำนาญแล้ว ปัญหายังอยู่ที่จำนวนคนด้วย เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ๆ เข้ามาเป็นทางเลือกของผู้คน ความนิยมในการใช้โทรเลขก็ลดน้อยถอยลงตามลำดับ เมื่อความต้องการลดลง กำลังเจ้าหน้าที่ที่พร้อมให้บริการก็ลดจำนวนลงตาม จากที่เคยมีอยู่หลายสิบคน ก็เหลือเพียง ๑ คนต่อที่ทำการไปรษณีย์ ๑ แห่ง ปราศจาก “บุรุษโทรเลข” ที่พร้อมจัดส่งโทรเลขถึงมือผู้รับในทุกชั่วโมงเช่นที่เคยเป็นมา ต้องอาศัยบุรุษไปรษณีย์ในการส่งโทรเลขผ่านระบบไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) สุดท้าย เครื่องไม้เครื่องมือในการส่ง แม้จะได้รับการพัฒนาเป็นระบบคอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันก็ขาดการบำรุงรักษาจนเกิดปัญหาขัดข้องขึ้นเป็นระยะ โทรเลขวันนี้จึงเป็นการสื่อสารที่ไม่ด่วนอีกต่อไป เพราะบางทีอาจต้องใช้เวลาเกือบ ๕ วัน แทนที่จะถึงมือผู้รับได้ภายใน ๑ วันหรือเร็วกว่านั้น

ปัจจุบัน ดูจะเหลือเพียงที่ทำการรับ-ส่งโทรเลขนครหลวงใต้เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่เครื่องไม้เครื่องมือยังคงพร้อม และเจ้าหน้าที่ยังคงมีประสิทธิภาพแม้ว่าแต่ละคนจะอยู่ในวัยใกล้เกษียณเต็มที อาจเพราะที่ทำการฯ แห่งนี้เป็นที่รวมของ “เจ้าหน้าที่โทรเลข” ตัวจริง ซึ่งทำงานมาตั้งแต่ยุคที่โทรเลขยังอาศัยรหัสมอร์สส่งข้อความ

“เมื่อไม่นานมานี้ มีคนญี่ปุ่นคนหนึ่งขับรถมาจากพัทยา เขาจะส่งโทรเลขกลับบ้าน ต้องมาส่งที่กรุงเทพฯ เพราะที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งที่เขาไปบอกว่าไม่มีบริการ ปัญหามันมากจริงๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ส่งโทรเลขในที่ทำการไปรษณีย์แห่งนั้นอาจจะเสียแล้วไม่มีการซ่อม ก็น่าเห็นใจเจ้าหน้าที่ที่นั่นนะครับ” เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งเอ่ยอย่างปลงๆ

และอาจด้วยเหตุนี้ บริการโทรเลขที่ซบเซาอยู่แล้วจึงมีสถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก จนแทบไม่เหลือเค้าว่า ครั้งหนึ่งมันเคยเป็นระบบการสื่อสารที่รวดเร็วและทันสมัยที่สุดของสยาม
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 27/02/2008 11:47 pm    Post subject: Reply with quote

แรกมี “โทรเลข”

จากหลักฐานทางจดหมายเหตุและเอกสาร สยามรู้จักโทรเลขครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ เมื่อคณะทูตปรุสเซียนำ “ตะแลแกรบ” (Telegraph) สำรับหนึ่งพร้อมของบรรณาการมากมายมาถวายรัชกาลที่ ๔ เพื่อกระชับสัมพันธไมตรี

แต่ความพยายามในการวางระบบโทรเลขนั้นมาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๒ โดยเจ้าพนักงานบริษัทเดินสายโทรเลขอังกฤษสองคน คือ นายวิลเลี่ยม เฮนรี่ รีด (William Henry Read) และนายวิลเลี่ยม เปเตอร์สัน (William Peterson) ได้เข้ามาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ถึงปีนัง แต่การดำเนินการครั้งนั้นก็ล้มเหลวโดยไม่มีการระบุสาเหตุไว้แน่ชัด

ล่วงมาถึงรัชกาลที่ ๕ วิลเลี่ยม เฮนรี่ รีด จึงกลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างระบบโทรเลขในสยามภายใต้เงื่อนไขเดิม แต่ครั้งนี้รัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิเสธ ดังปรากฏในหนังสือ ประวัติและวิวัฒนาการการไปรษณีย์ไทย ว่า “ทรงพระราชดำริพร้อมด้วยเคาซิลว่า ไม่ควรให้มิสเตอร์รีดจัดทำ แต่ครั้นจะไม่ทรงยอมมีพระบรมราชานุญาตตรงๆ คำที่ทรงยอมไว้แต่เดิมในรัชกาลก่อน (รัชกาลที่๔) ก็จะเสียไป จึงทรงบ่ายเบี่ยงไปว่า สยามตกลงจะดำเนินกิจการโทรเลขเอง ไม่อาจอนุมัติให้มิสเตอร์รีดจัดทำได้”

ทั้งนี้เพราะเงื่อนไขเดิมของรีดระบุว่า หลังจากดำเนินการสร้างสายโทรเลขเสร็จ อังกฤษจะมีสิทธิเต็มที่ในทรัพย์สินและสามารถจัดตั้งบริษัทก่อสร้างและบำรุงรักษาสายโทรเลขที่วางผ่านจังหวัดต่างๆ ได้แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบมากเกินไป

Click on the image for full size

เมื่อปฏิเสธมิสเตอร์รีดแล้ว สยามจึงต้องเริ่มวางระบบโทรเลขทันที โดยขอประสานกิจการกับบริษัทแห่งหนึ่งที่ดำเนินกิจการโทรเลขในสหพันธรัฐมลายา (มาเลเซีย) แต่กระนั้นก็ไม่ประสบผลสำเร็จจนต้องหยุดโครงการไปพักใหญ่ มาเริ่มต้นเอาจริงๆ ก็เมื่อเมอซิเออร์กาเนียร์ กงสุลฝรั่งเศส เข้ามาเจรจาในปีเดียวกัน ปรากฏบันทึกใน หนังสือที่ระลึก ๑๐๐ ปี การโทรคมนาคม ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า

“ทางการเมืองไซ่ง่อนปรารถนาจะสร้างสายโทรเลขต่อเข้ามาในประเทศไทย การเดินสายโทรเลขในเขตของไทย รัฐบาลฝรั่งเศสรับเป็นธุระจัดสร้างให้เสร็จ เพียงแต่ขอความช่วยเหลือให้ประเทศไทยตัดเสาที่จะพาดสายให้เท่านั้น เมื่อทำการแล้วเสร็จ ก็จะยกทางสายโทรเลขให้เปล่าตั้งแต่เขตแดนเขมรเข้ามาจนถึงกรุงเทพฯ”

ส่งผลให้ “รัฐบาลอังกฤษซึ่งเป็นคู่แข่งขันกัน ยื่นหนังสือขอให้งดการที่จะรับทำกับฝรั่งเศสเสีย และว่ารัฐบาลอังกฤษที่ประเทศอินเดีย จะขอสร้างสายโทรเลขติดต่อกับไทยเข้ามาทางเมืองทวายบ้าง”

เพื่อตัดปัญหาที่เกิดขึ้น รัชกาลที่ ๕ จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างระบบโทรเลขเองทันที โดยให้อยู่ในความดูแลของกรมกลาโหม จากนั้นได้ทำการวางสายโทรเลขสายแรก คือ สายกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ และสายที่ ๒ คือ สายกรุงเทพฯ-บางปะอิน ในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ โดยในระยะแรกจะมีการใช้โทรเลขในทางราชการเท่านั้น กระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๖ จึงเปิดโทรเลขสายตะวันออก (กรุงเทพฯ-ไซ่ง่อน) เป็นบริการสาธารณะ โทรเลขสายนี้ยังถือเป็นสายแรกของไทยที่สามารถติดต่อกับต่างประเทศได้โดยตรงอีกด้วย

นับแต่นั้น โทรเลขก็กลายเป็นระบบการสื่อสารสำหรับคนทุกระดับชั้น ตั้งแต่กษัตริย์ถึงสามัญชน
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 28/02/2008 1:25 pm    Post subject: Reply with quote

“โทรเลข” ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย

ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ประวัติศาสตร์ไทยอาจบันทึกเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ไปอีกแบบ หากโทรเลขจากปารีสฉบับหนึ่งส่งถึงมือผู้รับ

เป็นที่ทราบกันดีว่า สมัยนั้นสยามกำลังเผชิญหน้ากับลัทธิล่าอาณานิคม ดินแดนรอบๆ บ้านเราเวลานั้นล้วนตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศสไปแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพม่า กัมพูชา หรือเวียดนาม

ในครั้งนั้นฝรั่งเศสมีท่าทีคุกคามอย่างเห็นได้ชัด จากการที่ส่ง ออกุส ปาวี (Auguste Pavie) หรือที่คนไทยรู้จักในนาม “ม. ปาวี” มาเป็นตัวแทนในอินโดจีน ชายผู้นี้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญที่พยายามดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงซึ่งขณะนั้นยังมีฐานะเป็นประเทศราชของสยาม ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสให้ได้

เมื่อการหาเรื่องกระทบกระทั่งด้วยกำลังทหารในเขตอินโดจีนและยั่วยุให้สยามตอบโต้ (เพื่อให้เรื่องบานปลายแล้วฝรั่งเศสจะได้มีข้ออ้างในการใช้กำลังยึดดินแดน) ไม่เป็นผล ปาวีจึงตัดสินใจขออนุญาตรัฐบาลของตนนำเรือรบบุกเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมประกาศปิดอ่าวไทยทันที

สถานการณ์สยามจึงวิกฤตถึงขีดสุด...

Click on the image for full size

ในช่วงเวลาอันคับขันนั้น ณ อีกซีกโลกหนึ่ง ทูตไทยที่ปารีสได้พยายามทำทุกทางเพื่อโน้มน้าวรัฐบาลฝรั่งเศสให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว จนในที่สุด ทางการฝรั่งเศสก็ได้มีโทรเลขด่วนถึงมิสเตอร์ปาวีและกัปตันเรือรบ ให้ระงับปฏิบัติการเสีย

ทว่า โทรเลขฉบับชี้เป็นชี้ตายนั้นกลับไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง เนื่องจาก

“...ปาวีใช้อุบายของตนแกล้งให้เข้าใจผิด โดยไม่มอบคำสั่งด่วนจากปารีสให้ผู้บังคับการเรือรบ วิธีการของปาวีคือ นำโทรเลขฉบับสำคัญนั้นใส่รวมในถุงจดหมายฉบับอื่นๆ ของเมลปรกติที่ส่งถึงนายทหารบนเรือรบ...” (ไกรฤกษ์ นานา ใน “’ราชการลับ’ เมื่อ ร. ๕ เสด็จประพาสเยอรมนี ไม่ใช่เรื่องลับในยุโรป”, ประวัติศาสตร์นอกพงศาวดารรัชกาลที่ ๕ พระพุทธเจ้าหลวงในโลกตะวันตก, มติชน ๒๕๔๖)

ส่งผลให้เกิดการปะทะกันตามแผนที่ปาวีวางไว้ เรือรบฝรั่งเศสบุกเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงหน้าสถานทูตของตนโดยที่ปืนทุกกระบอกอยู่ในสภาพพร้อมรบ เมื่อเหตุการณ์มาถึงขั้นนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสเองก็ต้อง “ตามน้ำ” จนกลายเป็น “นโยบายเรือปืน” ที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

เป็นไปได้หรือไม่ว่า การกระทำของปาวีในครั้งนั้นส่งผลให้รัชกาลที่ ๕ ทรงระมัดระวังในการใช้เครือข่ายโทรเลขระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากขณะเสด็จประพาสยุโรปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ถึงกับทรงมีพระราชโทรเลขด่วนถึงพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม ซึ่งทำหน้าที่ราชเลขานุการคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพฯ ใจความว่า

“ฉันมีความปรารถนาจะให้เธอแบ่งย่อโทรเลขของฉันที่มีไปถึงสมเด็จพระบรมราชินีนารถนั้น ลงพิมพ์ให้ทราบทั่วไปแก่มหาชนอันเป็นที่รักใคร่ของเราเนืองๆ จึงเป็นน่าที่ของเธอที่จะนำคำแปลโทรเลขนั้นถวายสมเด็จพระบรมราชินีนารถ จะทรงเห็นควรว่าส่วนใดเป็นการลับ ซึ่งไม่ควรจะปรากฏเปิดเผยตามแต่จะวินิจฉัยได้ทุกประการ วิธีซึ่งจะให้เป็นการสดวกต่อไปภายหน้านั้น บรรดาโทรเลขสำคัญเซนสยามินทร์นั้นประสงค์จะให้ปรากฏในหนังสือพิมพ์ราชการ แต่โทรเลขที่เซนจุฬาลงกรณ์นั้น ประสงค์ว่าเป็นเฉพาะส่วนตัวและเป็นการลับ...”

ไกรฤกษ์ นานา วิเคราะห์ไว้ว่า “เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีโทรศัพท์ การสื่อสารที่ฉับไวที่สุดคือการส่งข้อความทางโทรเลข ในระหว่างนั้นการติดต่อกลับเมืองไทยต้องส่งผ่านชุมสายเพียง ๒ ประเทศเท่านั้น คือทางพม่า (เมืองมอลแมง) หรือทางเวียดนาม (เมืองไซ่ง่อน) และต้องส่งเป็นภาษาอังกฤษ อันว่าทั้งสองเมืองนี้เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษและฝรั่งเศสอยู่ด้วย ความลับทั้งหลายจะถูกหน่วยข่าวกรองของทั้งสองฝ่ายดักอ่านตีความทันทีอย่างไม่ต้องสงสัย...”

ทั้งนี้รัชกาลที่ ๕ ทรงแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการแฝงความลับไว้ในพระราชหัตถเลขา แล้วให้ขุนนางที่ทรงคุ้นเคยตีความเอาเอง การที่พระองค์ทรงเลือกใช้ “โทรเลข” ติดต่อราชการระหว่างประเทศแม้จะทรงระแวงว่ามีการดักอ่าน ก็ด้วยขณะนั้นโทรเลขถือเป็นการติดต่อสื่อสารเพียงชนิดเดียวที่ส่งข่าวสารได้เร็วที่สุด คือถึงมือผู้รับภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ขณะที่จดหมายต้องใช้เวลาเดินทางจากยุโรปถึงเอเชียโดยทางเรือไม่ต่ำกว่า ๒ เดือน


Click on the image for full size

ในยุคนั้นสายโทรเลขยังมีความสำคัญมาก รัฐบาลต้องคอยดูแลรักษาให้ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เห็นได้จากเอกสารโต้ตอบระหว่างพระยาเสถียรฐาปนกิตย์ ปลัดทูลฉลองกระทรวงโยธาธิการ กับพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาล ในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ กรณีที่มี “ว่าวแลสายป่านไปพันสายโทรเลข” อยู่บ่อยครั้ง โดยกระทรวงโยธาธิการซึ่งดูแลกรมไปรษณีย์โทรเลข ได้รับการร้องเรียนจากปลัดกรมไปรษณีย์โทรเลขว่าพลตระเวนของกระทรวงนครบาลไม่ดูแลกวดขันการเล่นว่าวของราษฎรมากเท่าที่ควร ทำให้ว่าวไปพันสายโทรเลขอยู่บ่อยๆ ต้องคอยแก้สายป่านลงมาเป็นระยะๆ เพราะเป็นอุปสรรคต่อระบบการสื่อสาร โดยในหนังสือราชการดังกล่าวนั้นได้มีการแนบ “ว่าวแลสายป่านซึ่งติดพันสายโทรเลข” ไปด้วย เพื่อยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง และขอให้กระทรวงนครบาลดำเนินการหลังจากร้องขอมาหลายครั้งแล้ว

ในฐานะที่เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพที่สุดในเวลานั้น โทรเลขจึงได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในหลายด้าน ไม่ว่าในด้านการแจ้งข่าวสารสำคัญ ดังเช่นโทรเลขของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ที่รายงานผลการแข่งรถของ “พระองค์เจ้าพีระ” ราชานักแข่งรถไทย กลับมาที่พระตำหนักในกรุงเทพฯ ด้วยขณะนั้นทรงทำหน้าที่ผู้จัดการคอกรถแข่ง “หนูขาว” ทีมรถแข่งทีมเดียวในประวัติศาสตร์ไทยที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในยุโรปช่วง พ.ศ. ๒๔๗๙-๒๔๘๑

ในเชิงการทูต โทรเลขก็ถูกใช้เป็นสื่อแสดงถึงสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างผู้นำประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้จัดส่งโทรเลขถวายพระพรแด่กษัตริย์ สมเด็จพระราชินี รวมถึงผู้นำประเทศต่างๆ ตามวาระโอกาสอันเหมาะสม อาทิ วันเฉลิมพระชนมพรรษา เทศกาลปีใหม่ ฯลฯ ทั้งนี้ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ยังปรากฏโทรเลขตามธรรมเนียมการทูตของนายปรีดี พนมยงค์ ในนามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ถึง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมนีเวลานั้น เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ แม้ว่าขณะนั้นนายปรีดีจะทำหน้าที่หัวหน้าเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น ประเทศร่วมฝ่ายอักษะของผู้นำเยอรมนี อย่างลับๆ อยู่ด้วยก็ตาม

นอกเหนือไปกว่านั้น โทรเลขยังได้ก้าวเข้าไปมีบทบาทสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ ที่เด่นชัดคือคราวที่เกิด “กบฏบวรเดช” ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ รัฐบาลคณะราษฎรได้ใช้โทรเลขในการสั่งการข้าราชการหัวเมืองต่อสู้กับฝ่ายกบฏ หลายฉบับมีรายละเอียดเป็นคำสั่งให้ระวังที่ทำการโทรเลขอย่างเข้มงวด บางฉบับเป็นรายงานสถานการณ์ ซึ่งต่อมาถูกส่งไปที่นายกรัฐมนตรีคือ พระยาพหลพลพยุหเสนา ทั้งหมด และปัจจุบัน สำเนาโทรเลขไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ฉบับที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ก็ได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติในฐานะเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์

ที่น่าสนใจก็คือ ความสำคัญของโทรเลขในเชิงยุทธศาสตร์นี้ยังปรากฏให้เห็นต่อเนื่องมาแม้ในยุคหลังที่ระบบการสื่อสารของไทยก้าวหน้าพัฒนาไปจากเดิมมากแล้ว

Click on the image for full size

สุรพล ใหญ่สว่าง หัวหน้างานธุรการ ที่ทำการรับ-ส่งโทรเลขนครหลวงใต้ บอกเล่าประสบการณ์ของเขาให้ฟังว่า

“ทหารมาทุกที ๑๔ ตุลา ๑๖ ก็มาคุม เพราะที่ทำการโทรเลขกลาง (ปัจจุบันคือชุมสายโทรเลขอัตโนมัติ ที่ทำการไปรษณีย์กลาง) สามารถติดต่อกับต่างประเทศได้ อีกครั้งก็ช่วงเหตุการณ์พฤษภา ๓๕ ผมยังจำได้ว่าตอนนั้นตัวเองต้องนั่งรับ-ส่งข้อความประเภท ‘อยู่ที่ไหน’ ‘อย่าออกจากบ้านนะ’ มากเป็นพิเศษ”

ไม่ว่าวันนี้ บทบาทหน้าที่ที่เคยมีเคยเป็นของโทรเลขจะลดน้อยลงเพียงไร แต่เราคงต้องยอมรับว่า โทรเลขเป็นระบบการสื่อสารที่มีสถานะและตัวตนในหน้าประวัติศาสตร์ไทยอย่างชัดเจน แม้ร่องรอยหลักฐานของมันจะหลงเหลือให้เราตามไปศึกษาน้อยเต็มทีก็ตาม

เหนืออื่นใด วันนี้--กระดาษแผ่นเล็กๆ ที่มีข้อความสั้นๆ นับได้ไม่กี่ตัวอักษร ซึ่งตีพิมพ์ส่งผ่านพนักงานโทรเลขไปยังมือผู้รับ ก็กำลังทำหน้าที่อันสำคัญของมันในฐานะบันทึกประวัติศาสตร์สังคมไทย ที่ช่วยต่อเติมภาพอดีตที่เลือนรางให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น

และสำหรับใครบางคน มันยังอาจเป็นบันทึกความทรงจำที่มีคุณค่าความหมายต่อชีวิตด้วย
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สัพเพเหระ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
Page 2 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©