Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311385
ทั่วไป:13306041
ทั้งหมด:13617426
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - กำแพงแสน ทุ่งบัว หนองฟัก : ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

กำแพงแสน ทุ่งบัว หนองฟัก : ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 28, 29, 30  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45089
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/06/2009 12:24 am    Post subject: เรื่องเล่าจากนายสถานีกำแพงแสน Reply with quote

วันนี้ได้มีโอกาสพูดคุยทางโทรศัพท์กับคุณพ่อของอาจารย์วิรัตน์ BanPong1
ซึ่งท่านเป็นอดีตนายสถานีกำแพงแสนคนแรก ตั้งแต่ พ.ศ.2506-2508 ครับ
Very Happy
มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ครับ
1. ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี มีรางหลีกระหว่างทางเพียง 2 สถานี คือ ที่สถานีกำแพงแสนและสถานีศรีสำราญ
(ต่อมาในปี 2514 สร้างรางหลีก รางตันและชานบรรทุกที่สถานีทะเลบก--ข้อมูลจากพี่ช.โกวิท)
2. สถานีกำแพงแสน มีเจ้าหน้าที่ประจำเพียง 3 คน คือ นายสถานีและคนการอีก 2 คน ไม่มีเสมียน คนการมีหน้าที่คุมประแจ สับประแจ
3. รางหลีกของสถานีกำแพงแสน ซึ่งมีความยาว 600 เมตรนั้น ไม่ได้ใช้ในการสับหลีกขบวนรถ แต่มักใช้เป็นที่จอดขบวนรถบรรทุกน้ำมากกว่า ซึ่งเป็นน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคของสถานีรถไฟรายทาง เพราะยังไม่มีน้ำบ่อ น้ำบาดาลใช้
4. ใน 1 วันมีขบวนรถโดยสารและรถสินค้า (รถรวม) เพียง 2 ชุด รวม 4 ขบวน
5. สถานีกำแพงแสนในสมัยนั้น ไม่มีถนนรถยนต์ออกสู่ตลาดกำแพงแสน และอยู่ห่างจากวัดกำแพงแสนกิโลกว่า และอยู่ห่างจากตลาดกำแพงแสนถึง 5 กิโล การเดินทางไปยังตลาดต้องใช้วิธีปั่นจักรยานเลียบคูรอบเมืองเก่ากำแพงแสน (ปัจจุบันใช้เป็นค่ายลูกเสือกำแพงแสน)
6. เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ทางเดียวที่จะออกสู่โลกภายนอก คือทางรถไฟเท่านั้น บริเวณหน้าสถานีเป็นหนองน้ำ (ปัจจุบันยังเหลือหนองน้ำให้เห็นอยู่) คันทางรถไฟสูงจากพื้นมากพอสมควร น้ำเลยไม่ท่วม
7. เพื่อนๆ ของนายสถานีกำแพงแสน เข้าใจว่าเป็นนายสถานีกำแพงแสนแล้วดี เพราะเป็นสถานีประจำอำเภอ แต่กำแพงแสนสมัยเมื่อ 40 กว่าปีก่อนนั้นเป็นชุมชนเล็กมาก สภาพไม่น่าเป็นอำเภอได้เลย ตัวสถานีเองก็ไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้ตะเกียง
สถานีหนองฟักยังดีเสียกว่า เพราะใกล้ถนน ออกสู่ภายนอก เข้าเมืองได้ง่ายกว่า
8. อาคารสถานีกำแพงแสน อยู่ทางด้านตะวันตกของราง โถงที่พักผู้โดยสารอยู่ทางด้านทิศใต้ ส่วนบริเวณที่เป็นห้องเจ้าหน้าที่มี 2 ชั้น ชั้นบนเป็นห้องพัก กลางวันลมพัดเย็นสบาย
กลางคืนไม่มีรถไฟผ่าน
9. ช่วงเปิดการเดินรถใหม่ๆ มีผู้โดยสารมากพอสมควร วันหนึ่งขายตั๋วได้ถึง 200-300 บาท
ผู้โดยสารส่วนใหญ่เดินทางไปหนองปลาดุกและนครปฐม
10. การเดินทางเข้าตลาดกำแพงแสนสมัยนั้น ที่สะดวกที่สุดคือ เดินทางด้วยรถไฟไปนครปฐมก่อน แล้วย้อนกลับมาตามถนนมาลัยแมน Shocked
11. สินค้าที่บรรทุกขึ้นรถสินค้าที่กำแพงแสน ส่วนใหญ่เป็นผลิตผลทางการเกษตรจำพวกพืชไร่ และที่สำคัญคือถ่านไม้ ส่งไปขายแถวๆ มหาสวัสดิ์
12. ผมลืมถามท่านอดีตนายสถานีกำแพงแสนเสียสนิทเลยครับ ว่าเคยเห็นรถจักรไอน้ำผ่านเข้ามาในสายสุพรรณบุรีหรือไม่ (แม้จะมีงวงเติมน้ำ ถังน้ำและวงเวียนกลับรถจักรที่สุพรรณบุรี แต่ปัญหาคือได้ใช้งานจริงมากน้อยแค่ไหน เพราะตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. 2514 ก็มีการเปลี่ยนขบวนรถโดยสารที่ 115/116 เดินระหว่างธนบุรี-สุพรรณบุรี เป็นรถดีเซลรางแล้ว) Sad Embarassed

ขอขอบพระคุณท่านอดีตนายสถานีกำแพงแสนเป็นอย่างสูงครับ ที่ได้เล่าเรื่องราวในอดีตสมัยผมยังไม่เกิดให้ฟังครับ Very Happy
----------------------------------------------------------
ภาพถ่ายทางอากาศวันที่ 17 ธ.ค. 2518 กรมแผนที่ทหาร บริเวณสถานีกำแพงแสน มีหนองน้ำหน้าสถานี ราง 2 ราง และอาคาร 2 ชั้นให้เห็นอย่างชัดเจน
หลังจากนี้ 1 ปี คือในวันที่ 15 ธ.ค. 2519 ก็ถูกยุบเป็นที่หยุดรถจนถึงปัจจุบัน

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 11/06/2009 7:00 am    Post subject: Reply with quote

Question อาจารย์หม่องวินครับ สอบถามท่านหรือเปล่าครับว่าอาคารสถานีรูปทรงแบบใด Question

ผมเคยเห็นป้ายบอกระยะทางและค่าโดยสาร สายใต้เมื่อก่อน ในสายสุพรรณบุรี
ไม่มีเครื่องหมายดอกจัน แค่ ๒ สถานี คือ กำเพงแสน และศรีสำราญเช่นกันครับ แสดง
ว่าเส้นทางสายนี้มี ๒ สถานีจริง ๆ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45089
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/06/2009 9:04 am    Post subject: Reply with quote

ยังไม่ได้คุยกับท่านอดีตนายสถานีกำแพงแสน เกี่ยวกับลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารเลยครับ
งานนี้ถ้ามีโอกาส อาจจะต้องรบกวนสถาปนิกคืออาจารย์วิรัตน์ BanPong1 สเก็ตช์ภาพตามคำบอกเล่าของคุณพ่อและจากภาพถ่ายทางอากาศที่พอมองเห็นได้นิดหน่อย
ไม่ทราบมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนครับ Embarassed
แต่อาคารมีสองชั้นคล้ายกับสถานีนาผักขวงแน่นอนครับ

สถานีนาผักขวง สร้าง 2499 ส่วนสถานีกำแพงแสนสร้างก่อนปี 2506 แน่ๆ
(เริ่มก่อสร้างสายสุพรรณบุรีราวปี พ.ศ.2497 แต่มีอุปสรรคต่างๆ เช่น ขาดงบประมาณ น้ำท่วม ทำให้กว่าจะเปิดเดินรถได้ก็เข้าปี 2506)
ดังนั้นยุคสมัยไม่ต่างกันมากเลยครับ ดีไม่ดีสร้างห่างกันปีสองปีแค่นั้นเอง ผมคิดว่าอย่างนั้นครับ

นำโปสเตอร์บอกราคาค่าโดยสาร ที่พี่สมชายกล่าวถึงมาให้ชมครับ ถ่ายที่สถานีนครปฐม
ผมเข้าใจว่าโปสเตอร์นี้น่าจะใช้ข้อมูลบัญชีสถานี/ที่หยุดรถ ราวปี 2525 ครับ
ซึ่งตอนนั้นสถานีรายทาง 9 ใน 10 สถานียุบเป็นที่หยุดรถหรือยุบเลิกไปแล้ว เหลือสถานีศรีสำราญเพียงแห่งเดียวครับ

Click on the image for full size

ปัจจุบันศรีสำราญก็โดนยุบเป็นที่หยุดรถไปเรียบร้อยแล้วครับ
ทำให้ทางตอนชุมทางหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี เป็นตอนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ที่ไม่มีรางหลีกครับ Sad
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Rakpong
President
President


Joined: 29/03/2006
Posts: 1716
Location: แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก

PostPosted: 11/06/2009 6:25 pm    Post subject: Reply with quote

เส้นทางสายบ้านโป่ง - ยางประสาท - โพรงมะเดื่อ - นครปฐม ผมเคยใช้บริการตอนที่กำลังก่อสร้าง overpass ข้ามทางรถไฟที่บ้านโป่ง มีรถสิบล้อใช้บริการกันมาก ถนนสภาพไม่ค่อยดี มาเจอทางรถไฟสายสุพรรณบุรี เชื่อว่ารถไฟต้องหยุดรอให้สิบล้อผ่านไปมาหมดก่อนจึงค่อย ๆ ผ่านทางตัด

และเป็นโอกาสอันดี ของอาจารย์เอก ที่ได้รับฟังเรื่องราวในประวัติศาสตร์จากท่านนายสถานีกำแพงแสนท่านแรก ผมรู้สึกว่าประวัติของเส้นทางสายนี้ มันขาด ๆ หาย ๆ ชอบกล ทั้งที่ช่วงเวลาผ่านไปไม่กี่สิบปี

การลงสำรวจสถานที่จริง ข้อมูลเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง น่าจะชำระประวัติศาสตร์เส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรีได้ และมีโอกาสจะรื้อฟื้นความทคิดที่จะเชื่อมต่อรถไฟสายเหนือ - สายใต้ได้อีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 11/06/2009 10:44 pm    Post subject: Reply with quote

ต้องขอบคุณอาจารย์เอกที่ตั้งคำถามหลายคำถามที่ผมไม่เคยได้ถามด้วยตัวเองครับ
ได้สนทนากันด้วยภาษาสงขลาหรือเปล่าครับ Smile


ตัวอาคารสถานี จากที่ได้ดูจากภาพถ่ายทางอากาศ คล้ายกับสถานีนาผักขวงมากครับ
ผมคาดว่าคงเป็นแบบเดียวกันแน่นอน เดี๋ยวสัปดาห์หน้ากลับไปที่บ้านจะพริ้นท์ภาพที่คุณสมชายถ่ายมาไปให้พ่อดูครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 11/06/2009 11:05 pm    Post subject: Reply with quote

ขอนำภาพถ่ายทางอากาศ บริเวณสถานีรถไฟบางบำหรุ สมัยปี พ.ศ.2517 มาเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์ลักษณะอาคารครับ
Click on the image for full size

Click on the image for full size
ที่มา: ภาพถ่ายทางอากาศชุด น.ส.3 กรมแผนที่ทหาร วันที่ 6 กันยายน 2517
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45089
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/06/2009 7:19 am    Post subject: Reply with quote

Rakpong wrote:
และเป็นโอกาสอันดี ของอาจารย์เอก ที่ได้รับฟังเรื่องราวในประวัติศาสตร์จากท่านนายสถานีกำแพงแสนท่านแรก ผมรู้สึกว่าประวัติของเส้นทางสายนี้ มันขาด ๆ หาย ๆ ชอบกล ทั้งที่ช่วงเวลาผ่านไปไม่กี่สิบปี

เห็นด้วยกับพี่หมอรักษ์พงศ์ครับ ประวัติศาสตร์ขาดช่วงไปจริงๆ ครับ ทั้งที่เป็นเส้นทางรถไฟใหม่ล่าสุดของทางรถไฟสายใต้เชียวนะครับ

เห็นภาพถ่ายทางอากาศสถานีรถไฟบางบำหรุของอาจารย์วิรัตน์แล้ว ทำให้ยิ่งมั่นใจครับว่า ลักษณะรูปแบบอาคารสถานีรถไฟในสายสุพรรณบุรีทุกสถานี ยกเว้นสถานีศรีสำราญกับสุพรรณบุรี เป็นแบบนี้แน่ๆ

มีข้อที่น่าสังเกตอีกประการคือ เมื่อหันหน้าเข้าหาด้านหน้าอาคารสถานี จะมีอาคารอีกหลังหนึ่ง อยู่หลังสถานี เยื้องไปทางด้านขวา ตามที่ผมวงไว้นี้ครับ

Click on the image for full size

อาคารหลังนี้ คืออะไรครับ Question
มีทุกสถานีเลยครับ

ที่สถานีหนองผักชีก็มีครับ

Click on the image for full size

สถานีนาผักขวง ของพี่สมชายก็มีครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45089
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/06/2009 7:22 am    Post subject: Reply with quote

จำได้ว่าอาจารย์วิรัตน์เคยตั้งข้อสังเกตไว้ในกระทู้สถานีนาผักขวงของพี่สมชายไว้ดังนี้ครับ
Arrow http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3653&postdays=0&postorder=asc&start=50
BanPong1 wrote:
สถานีนี้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมคล้ายกันกับ สถานีบางบำหรุ
ในสมัยที่สร้างสถานีนี้คงใช้แบบเดียวกันหลายสถานีในทางสายใต้นะครับ

คุณสมชายมีภาพเปรียบเทียบเก่าใหม่ในหลายๆมุมได้เยี่ยมเลยครับ ผมเคยเข้าไปที่บ้านกรูด เห็นป้ายบอกทางไปที่นาผักขวง แต่ไม่เคยเข้าไปสักที ขอบคุณมากครับที่นำภาพมาให้ชมกัน

ที่พูดถึงบางบำหรุและลักษณะอาคารแบบนี้ เพราะเห็นภาพถ่ายแล้วนึกขึ้นได้จากความทรงจำในวัยเด็ก ผมยังพอจะจำแบบแปลนอาคารสถานีลักษณะนี้ได้ดีอยู่เลยครับ ช่วงนั้นอายุยังไม่สิบขวบดีตอนปิดเทอมได้มีโอกาสตามพ่อไปที่บางบำหรุ และที่อื่นๆที่พ่อย้ายไปประจำที่สถานีต่างๆ อาคารแบบนี้ค่อนข้างพิเศษที่มีที่พักอยู่บนชั้นสองของตัวสถานี (ได้เห็นรถไฟจากมุมสูงด้วยครับ) และมีเรือนครัวกับห้องน้ำอยู่ที่ระดับพื้นด้านข้างสถานีแบบเดียวกับในภาพ นับว่าเป็นการออกแบบสถานที่สาธารณะกับที่ไม่สาธารณะไว้ด้วยกันอย่างไม่ขัดเขิน หลังๆเห็นสถานีรถไฟในแถบยุโรปที่เป็นสถานีขนาดเล็กในท้องถิ่นก็มักจะเป็นลักษณะนี้เหมือนกัน ซึ่งอาจจะได้รับการถ่ายทอดวิธีการออกแบบมานะครับ

พูดถึงเรื่องสถาปัตยกรรมสถานีรถไฟ ที่อยากเห็นมากที่สุดตอนนี้คือภาพอดีตสถาน "กำแพงแสน" และสถานี "บ้านโป่งใหม่" ครับ อ.เอก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45089
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/06/2009 7:26 am    Post subject: Reply with quote

ภาพซากพื้นอาคารสถานีหนองฟัก พอจะคลี่คลายปริศนาได้ระดับหนึ่งครับ Very Happy

Click on the image for full size

Click on the image for full size

ส่วนสถานีบ้านโป่งใหม่ ในสายกาญจนบุรีนั้น ท่านอดีตนายสถานีกำแพงแสนบอกว่าเคยเห็น
รูปแบบอาคารชั้นเดียว แบบเดียวกับสถานีสระโกสินารายณ์ เพราะรื้อย้ายบ้านโป่งใหม่ไปสร้างเป็นสถานีสระโกสินารายณ์ครับ ในปี พ.ศ.2512
สำหรับบ้านพัก รื้อมาจากสถานีท่าม่วง ซึ่งยุบเป็นที่หยุดรถตั้งแต่ 1 มิ.ย. 2504


BanPong1 wrote:
ได้สนทนากันด้วยภาษาสงขลาหรือเปล่าครับ Smile

ได้สนทนากันด้วยภาษาถิ่นใต้สงขลาด้วย ดีจังครับ Very Happy
ท่านอดีตนายสถานีกำแพงแสนบอกกับผมด้วยว่า เสียดายที่ไม่มีโอกาสเป็นนายสถานีสงขลาครับ และยังถามด้วยว่าสถานีสงขลารื้อไปหรือยัง ผมก็ตอบท่านว่า ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 13/06/2009 11:51 pm    Post subject: Reply with quote

Rakpong wrote:
เส้นทางสายบ้านโป่ง - ยางประสาท - โพรงมะเดื่อ - นครปฐม ผมเคยใช้บริการตอนที่กำลังก่อสร้าง overpass ข้ามทางรถไฟที่บ้านโป่ง มีรถสิบล้อใช้บริการกันมาก ถนนสภาพไม่ค่อยดี มาเจอทางรถไฟสายสุพรรณบุรี เชื่อว่ารถไฟต้องหยุดรอให้สิบล้อผ่านไปมาหมดก่อนจึงค่อย ๆ ผ่านทางตัด


ปัจจุบันทางดีแล้วครับ
ผมลองดูระยะทางแล้วจะประหยัดระยะทางไปได้เกือบ 10 กม.ครับ ถ้าไปจากบ้านโป่ง-กำแพงแสน
แต่ถ้า บ้านโป่ง-นครปฐม คงมีระยะมากกว่าปกติครับ

Rakpong wrote:
และเป็นโอกาสอันดี ของอาจารย์เอก ที่ได้รับฟังเรื่องราวในประวัติศาสตร์จากท่านนายสถานีกำแพงแสนท่านแรก ผมรู้สึกว่าประวัติของเส้นทางสายนี้ มันขาด ๆ หาย ๆ ชอบกล ทั้งที่ช่วงเวลาผ่านไปไม่กี่สิบปี


เคยถามกับพ่อครับว่ามีภาพถ่ายสมัยนั้นไหม ก็อย่างที่รู้กันว่ากล้องถ่ายรูปเป็นสิ่งที่มีราคาแพง การจะถ่ายรูปแต่ละครั้งก็ต้องไปจ้างช่างภาพมาถ่ายให้ ถ้าอยู่ในเมืองใหญ่ก็อาจจะสะดวกหน่อย ผมเคยเห็นภาพที่ถ่ายคู่กับป้ายประเพณีตามสถานีต่างๆเหมือนกัน ว่าจะลองไปค้นดูครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 28, 29, 30  Next
Page 14 of 30

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©