RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311331
ทั่วไป:13292322
ทั้งหมด:13603653
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟเวียตนาม
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟเวียตนาม
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 57, 58, 59  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 08/02/2009 9:09 pm    Post subject: Reply with quote

ยังไม่มีคำตอบจากรัฐบาลไทยเลยว่า เส้นทางรถไฟสายชุมทางบัวใหญ่ - มุกดาหาร จะเกิดขึ้นเมื่อใด ? Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2009 12:42 am    Post subject: ระยะทาง จาก ฮานอย (กม. 0 รถไฟเวียตนาม) ไปตามเมืองต่างๆ Reply with quote

รถด่วนรวมชาติ ฮานอย - ไซ่ง่อน จะจอดตามทางดังนี้
ฮานอย (Hanoi ) กม. 0
นามดินห์ (Nam Dịnh) กม. 87
ธัญหัว (Thanh Hua ) กม. 175
เมืองท่าวินห์ (Vinh) กม. 319
ดองฮอย (Đồng Hới) กม. 522
ดองฮา (Dong Ha) กม. 622
นครเว้ (Huế) กม. 688
เมืองท่าดานัง (Đa Nẵng ) กม. 791
ตัมกี (Tam Kỳ) กม. 865
กวางงงาย (Quảng Ngai) กม. 928
เดียวตรี (Dieu Tri ) กม. 1.096
เมืองท่า ญาตรัง (Nha Trang) กม. 1315
เบียนหัว (Bian Hua) กม. 1697
ไซ่ง่อน (Sai Gon) กม. 1,726

อ้างอิงจากสถานีไซ่ง่อน http://www.saigonrailway.com.vn/

ส่วนทางรถไฟ ไป จาก Di An (กม. 1707 - 13 โลเมตรจากไซ่ง่อน) ไป Loc Ninh นั้นก็คือ ทางเก่าที่ฝรังเศสสร้างไว้แล้ว แต่ เพราะ สงครามเวียตนามทำลาย จนต้องระดมทุน มาฟื้นฟูทางขึ้นใหม่

Note: ระบบมีปัญหากับอักษร หง็อกงื้อ ของเวียตนาม ที่ใช้ตัวฝรั่งเศสเป็นหลัก ทำให้แสดงลำบาก Sad

ทางรถไฟ สาย ไซ่ง่อนไป ไมโธ (My Tho) ปากแม่น้ำโขง เริ่มใช้งาน 22 พฤศจิกายน 2423 แต่ เลิกไป ปี 2501
http://lenduong.gdc.vn/VietNam/Home/Kham-pha/Duong-sat/2007/11/2A610DF9/

คนญวนก็โดนทหารญี่ปุ่นลากไปสร้างทางรถไฟสายมรณะ ที่กาญจนบุรีด้วยนะ
http://lenduong.gdc.vn/VietNam/Home/Du-lich/Nhin-ra-the-gioi/2007/10/2A51CA77/
Back to top
View user's profile Send private message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 11/02/2009 10:01 am    Post subject: Reply with quote

รถหัวกระสุนเวียดนามบานทะโร่ $56,000 ล้าน

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กุมภาพันธ์ 2552 08:58 น.
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9520000015510

ASTVผู้จัดการรายวัน--- งบประมาณก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าหัวกระสุนเวียดนามซึ่งประมาณเอาไว้ 33,000 ล้านดอลลาร์ (1.88 ล้านบาท) แต่แรกได้กลายเป็น 55,800 ล้านดอลลาร์ (2 ล้านล้านบาทเศษ) ในขณะนี้ หลังจากบริษัทที่ปรึกษาได้ประมาณการมูลค่าก่อสร้างทั้งระบบใหม่ ขณะที่เส้นทางสั้นลงกว่าเดิมอีกเกือบ 100 กิโลเมตร

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัทบริษัท Vietnam-Japan Consulting Joint Venture ซึ่งตั้งขึ้นโดยเงินทุนช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประชุมร่วมกับบริษัทรถไฟเวียดนามในกรุงฮานอยสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อรายงานการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างกรุงฮานอยในภาคเหนือกับนครโฮจิมินห์ในภาคใต้

บริษัทปรึกษาได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบระบบชินกันเซ็น (Shinkansen) ของญี่ปุ่น ระบบ TGV (train a grande vitesse) ของฝรั่งเศส กับระบบ ICE (intercity express train) ของเยอรมนี และ ได้เสนอแนะให้รัฐบาลเวียดนามเลือกใช้ระบบของญี่ปุ่นที่มีความคุ้มค่าในการลงทุนมากที่สุด เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์เวียดนามซึ่งเป็นดินแดนแนวเหนือใต้มากที่สุด

เวียดนามจะต้องใช้งบประมาณถึง 35,000 ล้านดอลลาร์ ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รองรับระบบรถไฟหัวกระสุน (ซึ่งมากกว่ามูลค่าก่อสร้างทั้งโครงการตามประมาณการเดิม) ตลอดเส้นทางแนวเหนือ-ใต้ สำหรับระยะทาง 1,550 กิโลเมตร [สั้นกว่าทางรถไฟเหนือใต้ ซึ่งยาว 1767 กิโลเมตร] ประกอบด้วย 27 สถานี และ แล่นด้วยเร็วเฉลี่ย 350 กม.ต่อชั่วโมง ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเวียดนาม (VNA)

จะเห็นได้ว่าระยะทางของรถไฟหัวกระสุนสั้นลงเกือบ 100 กม.จากระยะทางประมาณการเบื้องแรง 1,630 กม.ตามแนวทางรถไฟในปัจจุบันที่ใช้มานานกว่าครึ่งศตวรรษ [ฝรั่งเศสสร้างทางรถไฟเชื่อมสายฮานอย - ไซ่ง่อน กันสำเร็จเมื่อปี 2479]

ถึงแม้ว่านายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) จะเคยมีคำสั่งให้บริษัทรถไฟฯ ก่อสร้างแบบเฟสเดียวจบ ไม่ต้องแบ่งเป็นระยะๆ แต่บริษัทที่ปรึกษาได้เสนอว่า ควรจะเริ่มก่อสร้างช่วงต้นกับช่วงปลายพร้อมๆ กันเพื่อเปิดใช้บริการให้ได้ในอีก 10-11 ปี จากนั้นจึงก่อสร้างช่วงกลางที่เป็นช่วงยาวที่สุดไปชนกัน ซึ่งจะใช้เวลาอีกกว่า 10 ปี

บริษัทที่ปรึกษากล่าวว่า ถ้าหากทุกอย่างเป็นไปตามกำหนด เฟสแรกระหว่างฮานอยกับเมืองวีงห์ (Vinh) จ.เหงะอาน (Nghe An) จะเปิดใช้ได้ในปี 2563 ระยะทาง 291 กม. [แต่เดิม เมื่องท่า วินห์ (Vinh) อยู่ที่ กม. 319 นับจากฮานอย] เนื่องจากต้องแล่นผ่านเขตเขาซับซ้อนจะใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงกับ 24 นาที พร้อมๆ กับช่วงไซ่ง่อน-ญาจาง (Nha Trang) ใน จ.แค๊งฮว่า (Khanh Hoa) ระยะทางตามพื้นราบกว่า 439 กม. แต่ใช้เวลาวิ่งพียง 90 นาทีเท่านั้น [แต่เดิม เมือง ญาตรัง (Nha Trang) อยู่ที่ กม. 1315 จาก ฮานอย และ ไซ่ง่อน (Saigon) อยู่ที่ กม. 1726 - ระยะทางห่างกัน 411 กิโลเมตร]

ไกลออกไปในปี 2573 รถไฟหัวกระสุนฮานอย-โฮจิมินห์จะเปิดทะลุถึงกันได้ตลอดทั้งสายโดยใช้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมงกับ 30 นาที

อีก 3 บริษัทและหน่วยงานที่รัฐบาลญี่ปุ่นแต่งตั้งให้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนในการสำรวจศึกษาระบบรถไฟความเร็วสูงในเวียดนามได้แก่ บริษัท Japan Transportation Consultant Inc บริษัท Japan Railway Technical Service และ บริษัท Nippon Koei

นายหว่างจุงหาย (Hoang Trung Hai) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงขนส่ง ได้เข้าร่วมการประชุมกับบริษัทรถไฟเวียดนาม เพื่อสรุปรายงานครั้งสุดท้ายก่อนนำเสนอรัฐบาลและขออนุมัติโครงการต่อรัฐสภา ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการทางนิติบัญญัติภายในสมัยประชุมปลายปีนี้

การสำรวจศึกษาได้ครอบคลุมถึงเส้นทาง ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและท้องถิ่นต่างๆ ตลอดจนที่ดินที่จะต้องใช้ เงินลงทุนทั้งหมด กำหนดการก่อสร้าง การเปิดให้บริการ รวมทั้งภาพรวมเกี่ยวกับการระดมเงินทุนสำหรับโครงการ

โครงการรถไฟความเร็วสูงสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการคมนาคมขนส่งของประเทศที่มีประชากรราว 86.7 ล้านคนในปัจจุบันและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 100 ล้านคนในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่คาดว่า จะเปิดให้บริการสองช่วงแรกได้

บริษัทที่ปรึกษากล่าวว่าเวียดนามกำลังต้องการระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพสูงระหว่างภาคเหนือกับภาคใต้ ระบบรางที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่อาจรองรับได้ เนื่องจากไม่สามารถพัฒนาความเร็วขึ้นได้ การเดินทางระหว่างสองนครใหญ่ในปัจจุบันต้องใช้เวลา 28-30 ชั่วโมง

ภายในปี 2563 เชื่อว่าผู้สัญจรไปมาระหว่างกรุงฮานอยกับนครโฮจิมินห์จะมีจำนวนถึง 48,000 คนต่อวัน จำนวนจะเพิ่มขึ้นเป็น 85,000 คนต่อวันภายในปี 2568

บริษัทที่ปรึกษาเห็นว่าระบบชินกันเซน ที่ใช้แพร่หลายในญี่ปุ่นปัจจุบัน เป็นระบบที่เหมาะที่สุด ทั้งด้านความเร็ว ความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้และให้บริการ ขีดความสามารถกับประสิทธิภาพในการลำเลียงและขนส่งผู้โดยสาร เมื่อเทียบกับอีกสองระบบซึ่งก้าวหน้าที่สุดในยุโรปปัจจุบัน

นอกจากนั้นการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของเวียดนาม จะดำเนินไปภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณซึ่งระบบของญี่ปุ่นจะใช้จ่ายต่ำที่สุด โดยแบ่งเป็นการลงทุน 4 ขั้นตอน ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด และใช้พื้นที่ตลอดเส้นทางน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอีกสองระบบ

ตามรายงานดังกล่าว รถไฟชินกันเซนเวียดนามจะมีการเวนคืนที่ดินตลอดเส้นทาง 4,170 เฮกตาร์ หรือ 26,000 ไร่เศษ รวมมูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 55,700 ล้านดอลลาร์ และ กำหนดแล้วเสร็จตลอดเส้นทางในปี 2578

สื่อของทางการรายงานก่อนหน้านี้ว่า ในเดือน พ.ย.2551 รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณก้อนแรก 2,000 ล้านดอลลาร์เพื่อเริ่มงานเคลียร์หน้าดินตลอดเส้นทาง ซึ่งถือเป็นการเริ่มการก่อสร้าง โดยไม่ต้องรอผลการศึกษาให้แล้วเสร็จ

ตามแผนการเงินดั้งเดิมนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจะสนับสนุนเงินทุนทั้งในรูปเงินร่วมลงทุนกับเงินกู้ส่วนหนึ่ง ส่วนเวียดนามจะระดมทุนอีก 23,100 ล้านดอลลาร์สมทบ ในนั้น 9,900 ล้านดอลลาร์จะเป็นเงินทุนของบริษัทรถไฟเวียดนาม เป็นค่าเวนคืนที่ดิน ค่าชดเชย ตลอดจนจัดสร้างถาวรวัตถุ

วิศวกรชุดแรกจำนวน 10 นาย มีกำหนดจะเดินทางไปฝึกอบรมที่องค์การรถไฟญี่ปุ่นระหว่าง เดือน มี.ค.-พ.ย.ปีนี้ ด้วยความร่วมมือตามความตกลงที่รัฐบาลสองประเทศร่วมกันลงนามในปี 2549 สื่อของทางการกล่าว.

บริษัทที่ปรึกษาเห็นว่าระบบชินกันเซน ที่ใช้แพร่หลายในญี่ปุ่นปัจจุบัน เป็นระบบที่เหมาะที่สุด ทั้งด้านความเร็ว ความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้และให้บริการ ขีดความสามารถกับประสิทธิภาพในการลำเลียงและขนส่งผู้โดยสาร เมื่อเทียบกับอีกสองระบบซึ่งก้าวหน้าที่สุดในยุโรปปัจจุบัน

นอกจากนั้นการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของเวียดนาม จะดำเนินไปภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณซึ่งระบบของญี่ปุ่นจะใช้จ่ายต่ำที่สุด โดยแบ่งเป็นการลงทุน 4 ขั้นตอน ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด และใช้พื้นที่ตลอดเส้นทางน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอีกสองระบบ

ตามรายงานดังกล่าว รถไฟชินกันเซนเวียดนามจะมีการเวนคืนที่ดินตลอดเส้นทาง 4,170 เฮกตาร์ หรือ 26,000 ไร่เศษ รวมมูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 55,700 ล้านดอลลาร์ และ กำหนดแล้วเสร็จตลอดเส้นทางในปี 2578

สื่อของทางการรายงานก่อนหน้านี้ว่า ในเดือน พ.ย.2551 รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณก้อนแรก 2,000 ล้านดอลลาร์เพื่อเริ่มงานเคลียร์หน้าดินตลอดเส้นทาง ซึ่งถือเป็นการเริ่มการก่อสร้าง โดยไม่ต้องรอผลการศึกษาให้แล้วเสร็จ

ตามแผนการเงินดั้งเดิมนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจะสนับสนุนเงินทุนทั้งในรูปเงินร่วมลงทุนกับเงินกู้ส่วนหนึ่ง ส่วนเวียดนามจะระดมทุนอีก 23,100 ล้านดอลลาร์สมทบ ในนั้น 9,900 ล้านดอลลาร์จะเป็นเงินทุนของบริษัทรถไฟเวียดนาม เป็นค่าเวนคืนที่ดิน ค่าชดเชย ตลอดจนจัดสร้างถาวรวัตถุ

วิศวกรชุดแรกจำนวน 10 นาย มีกำหนดจะเดินทางไปฝึกอบรมที่องค์การรถไฟญี่ปุ่นระหว่าง เดือน มี.ค.-พ.ย.ปีนี้ ด้วยความร่วมมือตามความตกลงที่รัฐบาลสองประเทศร่วมกันลงนามในปี 2549 สื่อของทางการกล่าว.

Note: ขออนุญาตแก้ไข ตัวหนังสือ ฝรั่งเศส ที่ ไม่ยอมแสดงผลให้ถูกต้อง และ เพิ่มข้อมูลจำเป็นจริงๆ (วิศรุต)
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 11/02/2009 10:28 am    Post subject: Reply with quote

Quote:
ตามรายงานดังกล่าว รถไฟชินกันเซนเวียดนามจะมีการเวนคืนที่ดินตลอดเส้นทาง 4,170 เฮกตาร์ หรือ 26,000 ไร่เศษ รวมมูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 55,700 ล้านดอลลาร์ และ กำหนดแล้วเสร็จตลอดเส้นทางในปี 2578

สื่อของทางการรายงานก่อนหน้านี้ว่า ในเดือน พ.ย.2551 รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณก้อนแรก 2,000 ล้านดอลลาร์เพื่อเริ่มงานเคลียร์หน้าดินตลอดเส้นทาง ซึ่งถือเป็นการเริ่มการก่อสร้าง โดยไม่ต้องรอผลการศึกษาให้แล้วเสร็จ
ตามแผนการเงินดั้งเดิมนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจะสนับสนุนเงินทุนทั้งในรูปเงินร่วมลงทุนกับเงินกู้ส่วนหนึ่ง ส่วนเวียดนามจะระดมทุนอีก 23,100 ล้านดอลลาร์สมทบ ในนั้น 9,900 ล้านดอลลาร์จะเป็นเงินทุนของบริษัทรถไฟเวียดนาม เป็นค่าเวนคืนที่ดิน ค่าชดเชย ตลอดจนจัดสร้างถาวรวัตถุ


ส่วนประเด็นค่าใช้จ่าย สำหรับการเวนคืน... ช่างอัศจรรย์..... เหลือเกิน

ลงทุน มูลค่าสูงปรี้ด เพื่อการขนคนมากกว่าการขนของ คุ้มไม่คุ้ม คงรอดูกัน ไป

ตอนนี้ ในอาเซียน ประเทศไหนหนอ ที่มีฐานะทางการเงินการคลังที่แข็งแกร่ง ยืนระยะได้ดีที่สุด
การลงทุน โดยไม่ได้มองกระเป๋าสตังค์ในอนาคต ถึงตอนนั้น การกู้เพื่อกู้ต่อๆ เพื่อมาใช้หนี้ก้อนแรก
ผลยาว ๆ คงไม่ต่างอะไรกับประเทศสารขันต์ มั้งเนี่ย ......... เฮ้อ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/03/2006
Posts: 3642
Location: Thailand

PostPosted: 11/02/2009 11:53 am    Post subject: Reply with quote

ประเทศแถบบ้านเราเอาเข้าจริงๆ แล้ว ผมว่ามันมีเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล กว่าหลายๆ ประเทศในแถบยุโรปเสียอีกนะครับเนี่ย

ซ้ำร้ายถ้ามาเทียบกับญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ ก็ยังมีเนื้อที่กว้างใหญ่กว่าอีก จึงส่งผลให้ การก่อสร้างเส้นทางคมนาคมต่างๆ โดยเฉพาะระบบรางให้ทั่วถึงกันนั้น ไม่พ้นต้องมีเงื่อนไขเรื่องระยะทางที่ยาวไกล ทำให้งบประมาณก็เพิ่มขึ้นมากมาย

ไม่เหมือนประเทศเล็กๆ ระยะทางไม่ไกลมาก ลงทุนไม่มาก แต่คุ้มค่ามากกว่า เพราะทั่วถึงกันมากกว่า

มีพื้นที่มาก มันก็ได้อย่างเสียอย่าง เหมือนกัน นะผมว่า
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/02/2009 12:25 pm    Post subject: Reply with quote

เห็นด้วยกับผู้กองครับ
อย่างในกรณีของภาคอีสาน ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล
แต่ชาวบ้านตั้งชุมชนเป็นกลุ่มๆ หย่อมๆ กระจัดกระจาย
การสร้างทางรถไฟสายต่างๆ ไม่พ้นที่จะต้องผ่านพื้นที่ห่างไกลชุมชน
ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย ทำให้การจัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร ได้น้อย ประสิทธิภาพต่ำ

สังเกตจากทางช่วงขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย
หรือศรีสะเกษ อุบลราชธานี ซึ่งมีแต่ทุ่งนา ไม่มีผู้คนตั้งชุมชนริมทางรถไฟเลย

กรณีของเวียดนาม เป็นพื้นที่แคบยาว ริมทะเล เหมือนแถวภาคใต้ของเรา
สร้างแล้วน่าจะจัดเก็บรายได้ได้ดีนะครับ
แม้ช่วงเว้ไปเมืองวินห์ จะทุรกันดาร ได้รับอันตรายจากพายุได้ฝุ่นเป็นประจำก็ตาม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2009 12:55 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เห็นด้วยกับผู้กองครับ
อย่างในกรณีของภาคอีสาน ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล
แต่ชาวบ้านตั้งชุมชนเป็นกลุ่มๆ หย่อมๆ กระจัดกระจาย
การสร้างทางรถไฟสายต่างๆ ไม่พ้นที่จะต้องผ่านพื้นที่ห่างไกลชุมชน
ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย ทำให้การจัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร ได้น้อย ประสิทธิภาพต่ำ

สังเกตจากทางช่วงขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย
หรือศรีสะเกษ อุบลราชธานี ซึ่งมีแต่ทุ่งนา ไม่มีผู้คนตั้งชุมชนริมทางรถไฟเลย

กรณีของเวียดนาม เป็นพื้นที่แคบยาว ริมทะเล เหมือนแถวภาคใต้ของเรา
สร้างแล้วน่าจะจัดเก็บรายได้ได้ดีนะครับ
แม้ช่วงเว้ไปเมืองวินห์ จะทุรกันดาร ได้รับอันตรายจากพายุได้ฝุ่นเป็นประจำก็ตาม


ตอนนี้เขาคาดคะเนกันว่า เมื่อถึงปี 2579 เวียตนามจะมี ประชากร 150 ล้านคน มากกว่าญี่ปุ่นเสียอีก Shocked

ถ้าผู้คนมีฐานะดีหน่อย แม้จะไม่ได้อยู่ในคณะกรมการเมืองโปลิตบูโร ก็คงมีคนขึ้นรถไฟความเร็วสูงอยู่หลาย จนคาดกันว่าจะมีผู้โดยสารระว่าง กรุงฮานอย และ นครไซ่ง่อน วันละ 100000 คน
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 11/02/2009 2:27 pm    Post subject: Reply with quote

กรณีเวียดนาม ลักษณะ ประเทศ จะเป็นแนวยาว จากเหนือจดใต้...ขนาบด้วยทะเล และภูเขา
พิจารณา กับการลงทุนทางถนน ถ้ามองถึงความคุ้มค่า สำหรับบ้านเขา ก็ เหมาะสมดี
อย่างไรก็ดี คงเปรียบเทียบทางภูมิศาสตร์ กับประเทศอิตาลี่ ว่าระบบรถไฟ
ต่างกับ ที่เวียดนามจะลงทุนในอนาคต ...อย่างไร

ถึงจะเห็นภาพว่า ทิศทางการพัฒนาระบบรางบ้านเขา เด่น หรือด้อย อย่างไร
เมื่อเทียบการลงทุนระบบรางกับการสร้างถนน
โดยเอาสิ่งที่คล้ายกัยทางภูมิศาสตร์ เป็นตัวเปรียบเทียบ
---------------------------------------------------------------------------------------
ส่วน การใช้โหมดขนส่งระหว่าง ทางรถยนต์ กับ ระบบราง ข้อดีข้อด้อยเป้นอย่างไร
คงต้องตามหา ตำราของ ท่าน อ.สง่า นาวีเจริญ อดีตผู้ว่าการรถไฟ
เรื่องเศรษฐศาสตร์การขนส่ง ที่สอนนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ราว ๆ ปี 2515
(ตำราที่ว่า กับนักศึกษาที่เรียน สมัย ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ยังเป็นนักศึกษา โน่นเลย ....
ผมพยายามตามหาตำราเล่มนี้มา 4 ปีแล้ว ยังหาไม่ได้เลย รบกวน ห.หมี ถ้าว่าง ค้น ๆ ให้ด้วยเน้อ)

ว่าแต่พี่หนุ่ม สมัยเป็นนักศึกษา คุ้น ๆ กับตำราเล่มนี้ไหมครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2009 3:19 pm    Post subject: Reply with quote

nathapong wrote:
กรณีเวียดนาม ลักษณะ ประเทศ จะเป็นแนวยาว จากเหนือจดใต้...ขนาบด้วยทะเล และภูเขา
พิจารณา กับการลงทุนทางถนน ถ้ามองถึงความคุ้มค่า สำหรับบ้านเขา ก็ เหมาะสมดี
อย่างไรก็ดี คงเปรียบเทียบทางภูมิศาสตร์ กับประเทศอิตาลี่ ว่าระบบรถไฟ
ต่างกับ ที่เวียดนามจะลงทุนในอนาคต ...อย่างไร

ถึงจะเห็นภาพว่า ทิศทางการพัฒนาระบบรางบ้านเขา เด่น หรือด้อย อย่างไร
เมื่อเทียบการลงทุนระบบรางกับการสร้างถนน
โดยเอาสิ่งที่คล้ายกัยทางภูมิศาสตร์ เป็นตัวเปรียบเทียบ
---------------------------------------------------------------------------------------
ส่วน การใช้โหมดขนส่งระหว่าง ทางรถยนต์ กับ ระบบราง ข้อดีข้อด้อยเป้นอย่างไร
คงต้องตามหา ตำราของ ท่าน อ.สง่า นาวีเจริญ อดีตผู้ว่าการรถไฟ
เรื่องเศรษฐศาสตร์การขนส่ง ที่สอนนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ราว ๆ ปี 2515

(ตำราที่ว่า กับนักศึกษาที่เรียน สมัย ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ยังเป็นนักศึกษา โน่นเลย ....
ผมพยายามตามหาตำราเล่มนี้มา 4 ปีแล้ว ยังหาไม่ได้เลย รบกวน ห.หมี ถ้าว่าง ค้น ๆ ให้ด้วยเน้อ)

ว่าแต่พี่หนุ่ม สมัยเป็นนักศึกษา คุ้น ๆ กับตำราเล่มนี้ไหมครับ


รู้แต่ว่าตอนนี้ มีทางหลวงสายโฮจิมินห์ มาทดแทน ทางหลวงหมายเลข 1 (ฮานอย - ไซ่ง่อน) ที่ขยายไม่ได้แล้วเพราะ ติดบ้านคน ที่ แทบจะขี่คอกันอยู่ โดยผ่านไปตามทาง Ho Chi Minh Trial (ส่วนใหญ่) เสียด้วย แต่ คงไม่พอมือ เลยคิดทำรถไฟความเร็วสูง
แต่ การทำทางรถไฟใหม่ แทนของเดิม คงวุ่นน่าดูชม แม้เวนคืนที่ ซึ่งอยู่ในวิสัยทำได้ โดยใช้อำนาจของ สภาเปรซิเดียมสูงสุด สั่งการลงมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2009 6:03 pm    Post subject: ตารางเดินรถ สาย ฮานอย (ยาลัม) ถึง หนานหนิง Reply with quote

รถขบวน MR1:
ออกยาลัม (Gia Lam) 19:25
ถึง บัค ยาง (Bắc Giang) 20:23 ออก 20:26
ถึงด่านดงดาง (Đồng Đăng) 23:38 ออก 03:00 (วันใหม่ ตม. เวียตนาม)
ถึงด่านผิงเซียง (Pinxiang) 3:41 ออก 5:41 (ตม. จีนแดง)
ถึง ซุงตา (Sung Tả) 7:05 ออก 7:08
ถึงหนานหนิง (Nanning) 09:05

รถขบวน MR2:
ออกหนานหนิง (Nanning) 17.15
ถึง ซุงตา (Sung Tả) 18.44 ออก 18.47
ถึงด่านผิงเซียง (Pinxiang) 20.41 ออก 22.41 (ตม. จีนแดง)
ถึงด่านดงดาง (Đồng Đăng) 23.22 ออก 01.25 (วันใหม่ ตม. เวียตนาม)
ถึง บัค ยาง (Bắc Giang) 4.29 ออก 4.32
ถึงยาลัม (Gia Lam) 06:00

REF: http://www.dsvn.vn/Banggiotau/TauDULICH/GialamNamNinh.html
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 57, 58, 59  Next
Page 8 of 59

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©