Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13286529
ทั้งหมด:13597853
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 44, 45, 46 ... 77, 78, 79  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 20/05/2021 4:16 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดท ประมูลรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงของ ถึงไหนแล้ว
วันพุธที่ 19 พฤษภาคม 2564 เวลา 19:37 น.

4 บิ๊กรับเหมา จ่อคว้างานก่อสร้างรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
อสังหาริมทรัพย์
วันพุธที่ 19 พฤษภาคม 2564 เวลา 23:08 น.


รฟท.ประมูลต่อ 'รถไฟทางคู่' ดันลงทุนสู่เศรษฐกิจแสนล้าน
20 พฤษภาคม 2564
ร.ฟ.ท.ประมูลรถไฟทางคู่สายใหม่คึกคัก หวังกระตุ้นเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท 25 พ.ค.นี้ เตรียมเปิดชิงเค้กสายบ้านไผ่-นครพนม 5.4 หมื่นล้านบาท หลังประเดิมรับซองสายเด่นชัย-เชียงของ พบบิ๊กรับเหมาเสนอราคาต่ำสุดครบ 3 สัญญา

เคาะราคาแล้ว รถไฟทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” วงเงิน 72,920 ล้านบาท แบ่ง 3 สัญญา เผย 4 บิ๊กรับเหมา อิตาเลียนไทย เนาวรัตน์ ช.การช่าง ซิโน-ไทยฯ เสนอราคาต่ำสุด จ่อคว้างานก่อสร้าง

เมื่อวันที่ 19 พฤศภาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ได้ปิดการขายซองประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. จำนวน 3 สัญญา รวมวงเงิน 72,920 ล้านบาท เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 และเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 ได้เปิดเคาะราคาด้วยระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding)

แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า ผลการยื่นประมูลทั้ง 3 สัญญา ภาพรวมเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางไม่มาก เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนก่อสร้างสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะราคาเหล็ก
รฟท.เดินหน้าประมูลรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงของ 7.29 หมื่นล้าน หลังเอกชน 4 ราย แห่ยื่นประมูลเสนอราคาต่ำสุด จ่อลงนามสัญญา 2 ส.ค.นี้ เล็งเปิดให้บริการปี 71


รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18-19 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอ และเสนอราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงินก่อสร้างประมาณ 7.29 หมื่นล้านบาท รวม 3 สัญญา ปรากฏว่า

สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. มีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 17 ราย โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า กิจการร่วมค้า ITD-NWR ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หรือ ITD และบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด(มหาชน) หรือ NWR เสนอราคาต่ำสุด 26,568 ล้านบาท จากราคากลาง 26,599 ล้านบาท

ขณะเดียวกันส่วนสัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. มีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 18 ราย โดยกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) หรือ CK และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ STEC เสนอราคาต่ำสุดที่ 26,900 ล้านบาท จากราคากลาง 26,913.78 ล้านบาท และ

สัญญาที่ 3 ช่วง ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. มีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 16 ราย โดยกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE เสนอราคาต่ำสุดที่ 19,390 ล้านบาท จากราคากลาง 19,406.31 ล้านบาท


รายงานข่าวจากรฟท. กล่าวต่อว่า หลังจากนี้คณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติ ประเมินคุณสมบัติด้านเทคนิค และข้อเสนอด้านราคา โดยจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน คาดว่าจะประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคาได้ในวันที่ 9 ก.ค.64 และหากไม่มีการยื่นอุทธรณ์ใดๆ จะสามารถลงนามในสัญญาการดำเนินโครงการได้ประมาณวันที่ 2 ส.ค.64 จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 6 ปี คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ในปี 71

ทั้งนี้ในวันที่ 25 พ.ค.นี้ รฟท. จะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอ และเสนอราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินก่อสร้าง 5.46 หมื่นล้านบาท ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ผ่านเว็บไซต์ของ รฟท. ด้วย โดยโครงการดังกล่าวแบ่งงานเป็น 2 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. วงเงิน 2.71 หมื่นล้านบาท และ
สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. วงเงิน 2.83 หมื่นล้านบาท

เบื้องต้นจะประกาศผลผู้ชนะในวันที่ 15 ก.ค.64 และลงนามในสัญญาวันที่ 6 ส.ค.64 โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี เปิดให้บริการในปี 69
https://www.youtube.com/watch?v=JXqkukrcxzQ


Last edited by Wisarut on 22/05/2021 10:51 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 21/05/2021 2:40 pm    Post subject: Reply with quote

ประมูลรถไฟทางคู่แสนล้านกระฉ่อน | ลึกไม่ลับ | THAN TALK | 20-05-64
พฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม 2564 เวลา 15.16 น. .



มีการกล่าวหา ว่าการประมูลรถไฟทางคู่เด่นชัยเชียงรายเชียงของและ บ้านไผ่นครพนมมีการฮั้วประมูลกันและมีการเขียน TOR กีดกันรายย่อย ที่ไม่ใช่ห้าเสือ ให้เข้าร่วมการประมูลโดยเด็ดขาด

‘ทางคู่’กระฉ่อน แบ่งขาใหญ่ 5 ราย ซิว 1.28 แสนล้าน
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ พฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม 2564 เวลา 02:05 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,680 วันที่ 20 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ผู้รับเหมากระเจิง การประมูลอี-ออกชัน (e-auction) โครงการรถไฟทางคู่ใน 5 เส้นทางหลักช่วงวันที่ 18 พ.ค.และ 25 พ.ค.ถูกมือดีเรียกไปแบ่งเค้กให้ 5 ยักษ์ใหญ่เรียบวุธ งดฟาดฟัน แค่ต่ำกว่าราคากลางหลักสิบล้านเป็นพอ

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิด ประมูลโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 5 โครงการ มูลค่า 128,374 ล้านบาท โดย 3 โครงการแรกได้เปิดประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ไปในวันที่ 17 พ.ค.2564 เริ่มจาก สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท อีก 2 สัญญาประมูลวันที่ 25 พ.ค.2564 เส้นทางสายอีสานรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร มูลค่า 66,848.33 ล้านบาท ปรากฎว่ามีข่าวว่าผู้ใหญ่รายหนึ่งมีการเรียก ผู้รับเหมารายใหญ่ 5 ราย ไปเจรจาเพื่อจัดแบ่งโครงการลดการแข่งขันราคาในการประมูล โดยจะแบ่งให้แต่ละรายได้โครงการเหล่านี้ไป

ปรากฎว่าใน 3 โครงการแรกนั้น
สัญญาแรกเส้นทางเด่นชัย-งาว ราคากลาง 26,00 ล้านบาท ประมูลได้ 26568 ล้านบาท
สัญญาที่สอง งาว-เชียงราย ราคากลาง 26,914 ล้านบาท ประมูลได้ 26,900 ล้านบาท
สัญญา3 เชียงราย-เชียงของ ราคากลาง 19,407 ล้านบาท ประมูลได้ 19,390 ล้านบาท

ขณะที่มีรายงานว่ามีเงินทอนในอัตรา 5-7%แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า เนื่อง จากสถานการณ์โควิดเศรษฐกิจชะลอตัวอีกทั้งต้นทุนค่าก่อสร้างพุ่งสุง หากจ่ายค่าตอบแทนมากถึง 7% เพื่อให้ได้งาน ไม่คุ้มค่า เพราะโครงการขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้เทคนิคชั้นสูงทั้งเจาะอุโมงค์ถึงอย่างไรรายใหญ่ระดับเบอร์ต้นของประเทศมักได้งาน


สำหรับ การจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ แบ่งออกเป็น 3 สัญญา ประกอบด้วย
สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว วงเงิน 26,600 ล้านบาท ราคากลาง 26,599 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย วงเงิน 26,914 ล้านบาท ราคากลาง 26,913 ล้านบาทสั
ญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ วงเงิน 19,407 ล้านบาท ราคากลาง 19,406 ล้านบาท

ขณะที่ การจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม แบ่งออกเป็นสัญญา 2 สัญญา ประกอบด้วย
สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก วงเงิน 27,127 ล้านบาท ราคากลาง 27,123 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 วงเงิน 28,335 ล้านบาท ราคากลาง 28,333 ล้านบาท

ทั้งนี้ หากดูจากผลงานในเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) ของโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีเพียงแค่ 5 บริษัท ที่สามารถนำผลงานเข้ายื่นเสนอราคาได้ เช่น 1.บริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
2.บริษัทช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
3.บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
4.บริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง คิอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5.บริษัทเอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด

“ฐานเศรษฐกิจ” สอบถาม ข้อเท็จจริงไปยัง นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่ารฟท. แต่ไม่สามารถติดต่อได้
นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่ารฟท. ยืนยันว่า ไม่มีการเรียกรับผลประโยชน์อย่างแน่นอน แต่เนื่องจาก 2 ทางคู่สายเหนือ-อีสาน เป็นโครงการขนาดใหญ่ บริษัทรับเหมารายใหญ่จะให้ความสนใจ โดยซื้อเอกสาร 5 รายและยื่นซอง 4 ราย นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล ประธานกรรมการ บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัดและอดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างฯ ระบุว่าบริษัทซื้อเอกสารประกวดราคา รถไฟทางคู่สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียง แต่เมื่อตรวจสอบเงื่อนไขทีโออาร์ พบว่ามีปัญหาอุปสรรคค่อนข้างมาก อาจได้ไม่คุ้มเสีย ทั้งระเบิดอุโมงค์ ต้นทุนเหล็กพุ่ง แรงงานขาด น้ำมันค่าขนส่ง ล้วนมีค่าใช้จ่าย จึงตัดสินใจไม่แข่งขันประมูลงาน แต่คาดว่า บริษัทรายใหญ่ 4-5 รายน่าจะได้งานไป
https://www.youtube.com/watch?v=MIG1j8qDuFA

รถไฟ‘ทางคู่’ สายเหนือ ส่อฮั้ว เฉือนราคากลางแค่16ล.
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:35 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,681
วันที่ 23 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

รับเหมาเล็กเตรียมร้องสำนักนายกฯ พบพิรุธประมูล รถไฟทางคู่ สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 3 สัญญาขาใหญ่ ITD-ช.การช่าง-ซิโนไทย กวาดเรียบ เสนอราคาใกล้เคียงราคากลาง ห่างแค่หลัก 10 ล้าน


การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดผลการประกวดราคาด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ โครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของระยะทาง 323 กิโลเมตรมูลค่า 7.29 หมื่นล้านบาท 3 สัญญา ปรากฏว่ามีข้อพิรุธหลายประการ ไล่ตั้งแต่ผู้รับเหมาซื้อซองสัญญาละเกือบ 20 ราย แต่กลับยื่นเสนอราคาจริงเพียงสัญญาละ 2 ราย ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นผู้เสนอราคาต่ำสุดล้วนเป็นลักษณะจอยเวนเจอร์ ระหว่างขาใหญ่กับขาใหญ่ด้วยกัน ราคาที่เสนอใกล้กับราคากลางห่างกันเพียงแค่หลักสิบล้านบาทเท่านั้นทั้งนี้เมื่อเทียบกับการประมูลรถไฟไทย-จีน บางสัญญา ราคาผู้ชนะต่ำกว่าราคา กลางมากถึง 1,000-2,000 ล้านบาทจนต้องถอนตัวในที่สุด

ส่อฮั้วทางคู่สายเหนือวงในผู้รับเหมาตั้งข้อสังเกตว่าเป็นลักษณะสมยอม หรือฮั้วกันระหว่างผู้รับเหมา ที่สามารถตกลงกันได้โดยไม่ต้องแข่งขันฟันราคา ต่ำกว่าราคากลางมากๆ ทำให้ต้องแบกภาระต้นทุนในภายหลังและในที่สุดขาใหญ่จะกระจายงานให้โดยไม่ต้องวิ่งหางาน อีกข้อสังเกต ผู้ใหญ่ใจดีลงมาจัดแถวผู้รับเหมา แลกผลประโยชน์ตอบแทน 5-7% ตามที่ได้มีผู้รับเหมารายเล็กร้องเรียน เป็นเหตุให้ตัวเลขการเสนอราคาออกมาน่าตกใจดังกล่าวทั้งนี้ ทางคู่สายเหนือ มองว่า รายใหญ่ต่างรอโอกาสขณะเดียวกันในฝั่งของรัฐ ต้องการหาผู้รับเหมาที่มีสภาพคล่องตัวจริง สร้างเส้นทางนี้ให้ลุล่วงตามแผนโดยไม่เกิดความล่าช้าท่ามกลางสถานการณ์โควิดหลังทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ล่าช้ามากว่า 60 ปีดังนั้นการจัดระเบียบผู้รับเหมาจึงอาจเกิดขึ้นโดยมีตัวกลาง เจรจาโดยอาจตกลงกันได้ก่อนหน้าที่จะเปิดประมูลโดยเฉพาะการประมูลโดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ช่วยให้ลดการสมยอมราคาเพราะผู้รับเหมาสามารถเจรจาต่อรองกันได้ตลอดเวลาและประเมินว่าไม่ต่างจากประมูลทางคู่สายอีสาน ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ที่จะเปิดยื่นเสนอราคาใน2สัญญาเร็วๆนี้


ขาใหญ่ยึดเรียบย้อนไปเมื่อวันที่ 18-19 พฤษภาคม รฟท. ได้เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอ และเสนอราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงินก่อสร้างประมาณ 7.29 หมื่นล้านบาท รวม 3 สัญญา พบว่า
สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. มีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 17 ราย โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า ITD-NWR ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หรือ ITD และบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด(มหาชน) หรือ NWR เสนอราคา 26,568 ล้านบาท จากราคากลาง 26,599 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 31 ล้านบาท

ขณะที่สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. มีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 18 ราย โดยกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) หรือ CK และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ STEC เสนอราคาที่ 26,900 ล้านบาท จากราคากลาง 26,913 ล้านบาทต่ำกว่า 13 ล้านบาท และ
สัญญาที่ 3 ช่วง ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. มีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 16 ราย โดยกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE เสนอราคาที่ 19,390 ล้านบาท จากราคากลาง 19,406 ล้านบาท ต่ำกว่า 16 ล้านบาท

9 ก.ค.ได้ผู้ชนะรายงานข่าวจากรฟท. ระบุว่า หลังจากนี้คณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติ ประเมินคุณสมบัติด้านเทคนิค และข้อเสนอด้านราคา โดยจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน คาดว่าจะประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคาได้ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 และหากไม่มีการยื่นอุทธรณ์ใดๆ จะสามารถลงนามในสัญญาการดำเนินโครงการได้ประมาณวันที่ 2 สิงหาคม 2564 คาดว่าโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 6 ปี ก่อสร้างแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2571

ทั้งนี้หากดูจากผลงานในเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) ของโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีเพียงแค่ 5 บริษัท ที่สามารถนำผลงานเข้ายื่นเสนอราคาได้ เช่น
1. บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
2. บริษัทช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
3.บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
4.บริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง คิอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5.บริษัทเอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด

อย่างไรก็ตามด้านความคืบหน้าการประมูลโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินก่อสร้าง 5.46 หมื่นล้านบาทรฟท. จะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอ และเสนอราคา ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ผ่านเว็บไซต์ของ รฟท. ภายในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 9.00 น.-15.00 น. ที่สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรลลิ้งค์ สถานีมักกะสัน ชั้น 2 หลังจากนั้นจะเปิดให้เอกชนยื่นซองเอกสารประกวดราคาด้านเทคนิค โครงการก่อสร้างสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เริ่มดำเนินการในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 โดยโครงการดังกล่าวแบ่งงานเป็น 2 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. วงเงิน 2.71 หมื่นล้านบาท และ
สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. วงเงิน 2.83 หมื่นล้านบาท

เบื้องต้นจะประกาศผลผู้ชนะในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 และลงนามในสัญญาวันที่ 6 สิงหาคม 2564 โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี เปิดให้บริการในปี 2569 ไม่รู้เรื่องผลประโยชน์ขณะรายงานจากรฟท.ระบุว่า กรณีที่ผู้รับจ้างก่อสร้างยื่นเสนอราคาประมูลโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ถูกเรียกเข้าไปเจรจาถึงการแบ่งงาน 7 % โดยไม่ต้องแบ่งราคานั้น เบื้องต้นไม่ทราบถึงเรื่องนี้แต่หากเกิดขึ้นจริงถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายในการประมูลโครงการฯ เพราะถือเป็นการฮั้วประมูล ไม่ใช่ทำผิดแค่เงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) เพียงอย่างเดียว


Last edited by Wisarut on 22/05/2021 1:41 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 21/05/2021 3:39 pm    Post subject: Reply with quote

‘CK-STEC’ วิ่งรับข่าวดี คว้างานรถไฟฟ้าทางคู่2สัญญา
21 พฤษภาคม 2564
ช่วงนี้ “หุ้นรับเหมาก่อสร้าง” กลับมาคึกคักอีกครั้ง ราคาติดสปีดวิ่งแรงตามกันมาติดๆ ชนิดที่ไม่มีใครยอมใคร หลังประกาศงบฯ โค้งแรกออกมาสวย หลายตัวพลิกกลับมามีกำไร ช่วยจุดพลุราคาหุ้นรอบใหม่
นอกจากนิ้ ยังมีสัญญาณบวกจากการเดินหน้าเปิดประมูลงานของภาครัฐ ประเดิมด้วยโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 2 เส้นทางใหม่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มูลค่ารวมกว่า 1.2 แสนล้านบาท


โดยนำร่องเปิดประกวดราคาไปแล้ว 1 เส้นทาง เมื่อวันที่ 18-19 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้แก่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงินประมาณ 7.29 หมื่นล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 สัญญา ปรากฏว่าขาใหญ่แบ่งเค้กกันไป 2 กลุ่ม หลังยื่นเสนอราคาต่ำที่สุด

สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. มีเอกชนยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 17 ราย โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า ITD-NWR ซึ่งประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD และ บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) หรือ NWR เสนอราคาต่ำสุด 26,568 ล้านบาท จากราคากลาง 26,599 ล้านบาท

ส่วนสัญญาที่ 2 และ สัญญาที่ 3 ตกเป็นของกลุ่มกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE ซึ่งเป็นการจับมือร่วมกันระหว่างบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC

โดยสัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. ทางกลุ่ม CKST JOINT VENTURE เสนอราคาต่ำสุด 26,900 ล้านบาท จากราคากลาง 26,913 ล้านบาท และ สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. เสนอราคาต่ำสุดที่ 19,390 ล้านบาท จากราคากลาง 19,406 ล้านบาท

ADVERTISEMENT


สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ทางคณะกรรมการคัดเลือกจะมีการพิจารณาคุณสมบัติทั้งด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคา คาดประกาศผลผู้ชนะอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 ก.ค. นี้ ซึ่งดูแล้วคงไม่น่ามีอะไรพลิกโผ

ส่วนอีกเส้นทาง สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินก่อสร้าง 5.46 หมื่นล้านบาท จะเปิดให้ยื่นข้อเสนอราคาในวันที่ 25 พ.ค. นี้ โดยแบ่งออกเป็น 2 สัญญา ได้แก่ ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. วงเงิน 2.71 หมื่นล้านบาท และช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. วงเงิน 2.83 หมื่นล้านบาท

แน่นอนว่าเมื่อได้งานใหม่เข้ามาตุนในพอร์ตแบบนี้ ถือเป็นข่าวดีช่วยการันตีรายได้ แถมราคาประมูลทั้ง 3 สัญญา ยังต่ำกว่าราคากลาง จึงไม่ต้องมานั่งต่อรองกันอีก กลายเป็นอีกหนึ่งสตอรี่ช่วยดันราคาหุ้น

ถ้าดูในกระดานเมื่อวานนี้ (20 พ.ค.) ที่โดดเด่นเกินหน้าเกินตาเพื่อนๆ เห็นจะเป็น STEC ราคาพุ่ง 2.70% มาปิดที่ 15.20 บาท ระหว่างวันทำจุดสูงสุดที่ 15.50 บาท หลังบริษัทร่วมทุนคว้างานไปได้ 2 สัญญา ช่วยชดเชยความผิดหวังจากผลประกอบการที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด

โดยไตรมาส 1 ปี 2564 มีกำไรสุทธิ 197 ล้านบาท ลดลง 6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 58% จากไตรมาสก่อน หลังงานก่อสร้างหลายโครงการเสร็จไปตั้งแต่ปีที่แล้ว อยู่ในช่วงเริ่มต้นงานใหม่ ขณะที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

ส่วนพันธมิตรอย่าง CK บวกรับข่าวดีเช่นกัน ปิดที่ 19 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท หรือ 2.15% เรียกว่าเป็นตัวเต็งมาตั้งแต่ต้น เพราะสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพราะมีงานอุโมงค์ค่อนข้างเยอะ ซึ่งเป็นงานถนัดของ CK อยู่แล้ว

หันมาดู ITD ปิดลบสวนทางเพื่อนๆ ที่ 2.24 บาท ลดลง 0.04 บาท หรือ 1.75% หลังวิ่งขึ้นมาเยอะ ปีนี้ราคาหุ้นขึ้นมาแล้วถึง 100% จากราคาปิดปีก่อนอยู่ที่ 1.11 บาท ท่ามกลางสัญญาณบวกจากงานใหม่ๆ ที่เข้ามาต่อเนื่อง ทั้งโครงการรถไฟไทย-จีน, งานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงสุวรรณภุมิ-อู่ตะเภา จนหนุนงานในมือ (Backlog) กลับมายืนทะลุ 1 แสนล้านบาท ได้อีกครั้ง

อีกหนึ่งตัวที่อยากให้จับตากันให้ดี คือ บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ RT เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างงานอุโมงค์โดยเฉพาะ แม้จะไม่ได้เข้าประมูลโดยตรง แต่มีโอกาสได้รับงาน subcontract จากบรรดาขาใหญ่

ดูแล้วปีนี้น่าจะเป็นปีที่ดีของหุ้นรับเหมา จากงานประมูลภาครัฐที่กำลังทยอยออกมาและคาบเกี่ยวไปถึงปีหน้า คาดว่าถ้าสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น น่าจะได้เห็นงานประมูลใหม่ๆ ออกมาอีกหลายโครงการ

อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นแต่ละตัวขึ้นมาค่อนข้างเยอะแล้ว จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น รวมทั้งติดตามสถานการณ์ราคาเหล็กที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนของผู้รับเหมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2021 1:42 am    Post subject: Reply with quote

จี้"บิ๊กตู่-ศักดิ์สยาม"สอบรถไฟรางคู่ 5 สัญญา ส่อฮั้วประมูล -ล็อคสเปคTOR
หน้า Politics
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:09 น.

"หมอระวี" จี้ "บิ๊กตู่-ศักดิ์สยาม" สอบโครงการรถไฟรางคู่ 5 สัญญา ส่อฮั้วประมูล -ล็อคสเปคทีโออาร์ หากยังเพิกเฉยเตรียมยื่นองค์กรอิสระตรวจสอบ

วันที่ 21 พ.ค. 2564 นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ แถลงข่าวถึงการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางประกวดราคาโครงการรถไฟรางคู่ 5 สัญญา ด้วยวิธี e-Bidding ที่มีการประมูลไปเมื่อวันที่ 18 พ.ค.คือ
1.สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย – งาว
2. สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สัญญาที่ 2 ช่วงงาว – เชียงราย
3.สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย – เชียงของ

ในส่วนสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอกและ
สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก – สะพานมิตรภาพ

จะมีการประมูลในวันที่ 25 พ.ค รวมเป็นจำนวนเงิน 128,3276,800,000 บาท ถ้าดูจากผลงานในทีโออาร์ของโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย – เชียงของมีเพียงแค่ 5 บริษัทที่สามารถนำผลงานเข้ายื่นเสนอราคาได้คือ
1.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
3.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรักชั่น จำกัด (มหาชน)
4.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรักชั่น จำกัด (มหาชน)และ
5.บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท อินยิเนียริ่ง (1964) จำกัด

นพ.ระวี กล่าวต่อว่า การเปิดประมูลครั้งนี้มีขั้นตอนตามกฎหมาย มีผู้ซื้อซองประมูล 18-16 ราย ในการประมูลแต่ละสัญญา แต่ที่น่าตั้งข้อสังเกตคือ พอถึงวันยื่นประมูลจะเหบือเพียงแค่ 2 บริษัทเท่านั้น และที่น่าสงสัยคือ ราคาประมูลในแต่ละสัญญาที่มีราคาใกล้เคียงกับราคากลาง เช่น
โครงการสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ราคากลางอยู่ที่ 26,599,160,000 บาทแต่ปรากฎว่าผู้ยื่นราคาต่ำสุดอยู่ที่ 26,568,000,000 บาท ต่างกันเพียง 0.12% เท่านั้น
ในส่วนสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ราคากลางอยู่ที่ 26,913,780,000 บาท ผู้ยื่นราคาต่ำสุด 26,900,000,000 บาท และ
สายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ราคากลางอยู่ที่ 19,406,310,000 บาท 19,390,000,000 ผู้ยื่นราคาต่ำสุด 16,310,000.000 บาท ต่างกัน 0.08 %

ถือว่าเป็นการเสนอราคาที่ไร้เทียมทาน

“ผมขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตรวจสอบโครงการนี้โดยเร่งด่วนว่า ทีโออาร์มีการล็อคสเปคและฮั้วประมูลหรือไม่ ถึงจะเป็นการประมูลแบบ e-Bidding แต่มีความโปร่งใสหรือไม่ ถ้าข้อมูลที่ผมแถลงข่าวในวันนี้มีความผิดพลาด ผมก็ขอให้นายศักดิ์สยามออกมาชี้แจงด้วยทั้งนี้ระหว่างการสอบหาความโปร่งใส ผมขอให้คณะรัฐมนตรีชะลอการเซ็นสัญญาทั้ง 3 โครงการออกไปก่อน”นพ.ระวี กล่าวและว่า รัฐบาลต้องตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะเรื่องนี้ถือเป็นประโยชน์ของประเทศชาติ ถ้าไม่มีความโปร่งใส่ในการประมูล ก็ต้องแก้ไขทีโออาร์ใหม่ ให้มีการแข่งขันโดยเสรีมากขึ้น และประมูลใหม่ที่มีหลักประกันความโปร่งใส ทั้งนี้รัฐบาลต้องหาคนกระทำผิดให้ได้ หากรัฐบาลเพิกเฉยตนก็จะขอนำเรื่องยื่นต่อองค์กรอิสระเพื่อขอให้ตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้น

“ระวี” จี้ “บิ๊กตู่-ศักดิ์สยาม” สอบโครงการรถไฟรางคู่ 5 สัญญา ส่อฮั้วประมูล-ล็อกสเปก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:13
ปรับปรุง: วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:13

ส.ส.พลังธรรมใหม่จี้นายกฯ-รมว.คมนาคมสอบโครงการรถไฟรางคู่ 5 สัญญา เชื่อตัวเลขน่าสงสัย ส่อฮั้วประมูล-ล็อกสเปกทีโออาร์

วันนี้ (21 พ.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ แถลงข่าวถึงการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ประกวดราคาโครงการรถไฟรางคู่ 5 สัญญาด้วยวิธี e-Bidding ที่มีการประมูลไปเมื่อวันที่ 18 พ.ค. คือ 1. สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว 2. สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย และ 3. สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ในส่วนสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก และสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ จะมีการประมูลในวันที่ 25 พ.ค. รวมเป็นจำนวนเงิน 128,3276,800,000 บาท

นพ.ระวีกล่าวต่อว่า ดูจากผลงานในทีโออาร์ของโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงของ มีเพียงแค่ 5 บริษัทที่สามารถนำผลงานเข้ายื่นเสนอราคาได้ คือ 1. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรักชั่น จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรักชั่น จำกัด (มหาชน) และ 5. บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท อินยิเนียริ่ง (1964) จำกัด

นพ.ระวีกล่าวต่ออีกว่า การเปิดประมูลครั้งนี้มีขั้นตอนตามกฎหมาย มีผู้ซื้อซองประมูล 18-16 ราย ในการประมูลแต่ละสัญญา แต่ที่น่าตั้งข้อสังเกตคือ พอถึงวันยื่นประมูลจะเหลือเพียงแค่ 2 บริษัทเท่านั้น และที่น่าสงสัยคือ ราคาประมูลในแต่ละสัญญาที่มีราคาใกล้เคียงกับราคากลาง เช่น โครงการสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ราคากลางอยู่ที่ 26,599,160,000 บาท แต่ปรากฏว่าผู้ยื่นราคาต่ำสุดอยู่ที่ 26,568,000,000 บาท ต่างกันเพียง 0.12% เท่านั้น ในส่วนสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ราคากลางอยู่ที่ 26,913,780,000 บาท ผู้ยื่นราคาต่ำสุด 26,900,000,000 บาท และสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ราคากลางอยู่ที่ 19,406,310,000 บาท 19,390,000,000 บาท ผู้ยื่นราคาต่ำสุด 16,310,000.00 บาท ต่างกัน 0.08% ถือว่าเป็นการเสนอราคาที่ไร้เทียมทาน

“ผมขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตรวจสอบโครงการนี้โดยเร่งด่วนว่า งทีโออาร์มีการล็อกสเปกและฮั้วประมูลหรือไม่ ถึงจะเป็นการประมูลแบบ e-Bidding แต่มีความโปร่งใสหรือไม่ ถ้าข้อมูลที่ผมแถลงข่าวในวันนี้มีความผิดพลาด ผมก็ขอให้นายศักดิ์สยามออกมาชี้แจงด้วย ทั้งนี้ืระหว่างการสอบหาความโปร่งใส ผมขอให้คณะรัฐมนตรีชะลอการเซ็นสัญญาทั้ง 3 โครงการออกไปก่อน” นพ.ระวีกล่าว

นพ.ระวีกล่าวต่อว่า รัฐบาลต้องตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะเรื่องนี้ถือเป็นประโยชน์ของประเทศชาติ ถ้าไม่มีความโปร่งใสในการประมูลก็ต้องแก้ไขทีโออาร์ใหม่ให้มีการแข่งขันโดยเสรีมากขึ้น และประมูลใหม่ที่มี
หลักประกันความโปร่งใส

ทั้งนี้ รัฐบาลต้องหาคนกระทำผิดให้ได้ หากรัฐบาลเพิกเฉยตนก็จะขอนำเรื่องยื่นต่อองค์กรอิสระเพื่อขอให้ตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2021 1:24 am    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟทางคู่ เพื่อเศรษฐกิจยั่งยืนสำหรับคนภาคเหนือ
PROSPEC APPRAISAL



หลังจากหายไปนาน InvestMaN มีข่าวน่าสนใจจะมาเล่าสู่กันฟังให้กับผู้อ่าน ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยถึง 2 โปรเจคท์การพัฒนารถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ด้วยขนาดของการพัฒนาที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้คนเป็นจำนวนมากในหลากหลายพื้นที่ๆ รถไฟจะวิ่งผ่านเมื่อสร้างแล้วเสร็จ InvestMaN จึงมองเห็นว่าข่าวนี้เป็นประเด็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก ซึ่งวันนี้เราจะขอพูดถึงโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของก่อน

ประวัติความเป็นมา
ทางรถไฟสายชุมทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็นหนึ่งในโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็น 1 ใน 2 ส่วนต่อขยายของทางรถไฟสายเหนือ เดิมมีกำหนดการสร้างในปี พ.ศ. 2560 แต่เลื่อนออกไปในปี พ.ศ. 2564 หลังจากที่มีการอนุมัติอย่างเป็นทางการ กระทรวงคมนาคมเร่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มเวนคืนที่ดินและเปิดการประมูลภายในปี 2564 โดยตั้งเป้าหมายเปิดให้บริการภายในปี 2571


รายละเอียดของโครงการ
ลักษณะประเภทรถไฟทางคู่สาย
เส้นทางโดยรวมเป็นคันทางระดับดินและทางรถไฟยกระดับ
เชื่อมต่อระหว่างเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ระยะทางโดยรวม 323 กิโลเมตร
วงเงินลงทุนก่อสร้างประมาณ 72,920 ล้านบาท
การก่อสร้างแบ่งเป็น 3 สัญญา :
- สัญญาที่ 1 - เด่นชัย - งาว ระยะทาง 103 กิโลเมตร ราคากลาง 26,599 ล้านบาท
- สัญญาที่ 2 - งาว - เชียงราย ระยะทาง 132 กิโลเมตร ราคากลาง 26,913 ล้านบาท
- สัญญาที่ 3 - เชียงราย - เชียงของ ระยะทาง 87 กิโลเมตร ราคากลาง 19,406 ล้านบาท
- *แต่ละสัญญามีระยะเวลาก่อสร้างไม่เกิน 72 เดือน (6 ปี) หลังได้มีการส่งมอบที่ดินที่จำเป็นต้องใช้ในการก่อสร้าง
ณ ตอนนี้อยู่ระหว่างการประกวดราคา e-bidding หรือขั้นตอนการเสนอราคาสำหรับแต่ละสัญญา การประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคาวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 เพื่อเริ่มดำเนินการโปรเจคท์

ผลกระทบ
วัตถุประสงค์หลักเพื่อรองรับโลจิสติกส์การขนส่งสินค้าภาคเหนือ รวมถึงรองรับศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงของที่กำลังก่อสร้างจะเชื่อมการค้าระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ - ใต้จากประเทศไทย ไปยังลาว พม่า เวียดนาม และ จีนตอนใต้
ช่วยผลักดันการค้าระหว่างชายแดน และเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย ที่รัฐบาลกำลังผลักดันให้เกิดได้เร็วขึ้น
รองรับการเดินทาง สำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศ และต่างชาติ สนับสนุนการท่องเที่ยวในภูมิภาคตอนเหนือ
ผลกระทบทางอ้อมยังรวมถึงราคาที่ดินรอบหรือบริเวณใกล้เคียงของสถานีรถไฟต่างๆที่จะเกิดขึ้น ย้อมมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นไม่มากก็น้อยเมื่อเกิดการพัฒนาในพื้นที่

โครงการนี้ถือว่าเป็นข่าวดีมากสำหรับคนภาคเหนือ ที่นานๆทีจะมีโครงการละดับนี้เกิดขึ้นในบริเวณ ก็หวังว่าโครงการนี้จะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจอย่างที่ได้วางแผนไว้ สอดรับกับเส้นทางสายยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจการขนส่งลำเลียงสินค้า ที่มาจากจีนผ่านช่องทางลาวมาเชื่อมกับประเทศไทย บริเวณอำเภอเชียงของ ที่เป็นสะพานมิตรภาพไทยลาวเเห่งที่ 4 เรียกว่าเส้นทางสาย R3A คาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจของภาคเหนือบนและล่างจะได้รับอานิสงฆ์ทางบวกจากโครงการนี้ นับเป็นโอกาสของนักลงทุนที่จะเริ่มมองหาอสังหาเพื่อจับจองและลงทุนในระยะเวลา 5-7 ปี หลังจากนี้ ลงตัวกับช่วงระยะเวลาก่อสร้างโครงการพอดี อันดับแรกก็ไปสำรวจดูจุดของความเป็นไปได้บริเวณที่ตั้งของสถานีกันให้ดีเสียก่อน จึงค่อยตัดสินใจลงทุน นะครับ
แน่นอนว่าโครงการสาธารณระดับเมกาโปรเจคนี้ย่อมต้องผ่านการศึกษาวิเคราห์ถึงความเป็นไปได้ของโครงการก่อนเริ่มก่อสร้าง (Feasibility study / Due diligence) การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมกับโครงสร้าง (Site selection) และจะส่งผลต่อสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างไร โปรสเปคในฐานะบริษัทประเมินราคา ยินดีให้บริการและปรึกษาด้านการประเมินราคาที่ดิน หรือแม้แต่ การประเมินราคาธุรกิจสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการ เพื่อนำไปใช้ในการธุรกรรม รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเหล่านี้

ขอบคุณแหล่งข่าว : ฐานเศรษฐกิจ
ขอบคุณรูปภาพประกอบ : วิกิพีเดีย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44808
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/05/2021 6:45 am    Post subject: Reply with quote

'ทางคู่'เหนือส่อฮั้วเฉือนราคากลางแค่16ล.
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ขาใหญ่ยึดเรียบ

รับเหมาเล็กเตรียมร้องสำนักนายกฯ พบพิรุธประมูล รถไฟทางคู่ สายเหนือ เด่นชัยเชียงราย-เชียงของ 3 สัญญาขาใหญ่ ITD-ช.การช่าง-ซิโนไทย กวาดเรียบ เสนอราคาใกล้เคียงราคากลาง ห่างแค่หลัก 10 ล้าน จับตาการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดผลการประกวดราคาด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ โครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงรายเชียงของระยะทาง 323 กิโลเมตรมูลค่า 7.29 หมื่นล้านบาท 3 สัญญา ปรากฏว่ามีข้อพิรุธหลายประการ ไล่ตั้งแต่ผู้รับเหมาซื้อซองสัญญาละเกือบ 20 ราย แต่กลับยื่นเสนอราคาจริงเพียงสัญญาละ 2 ราย ที่ซ้ำร้ายกว่านั้น

ผู้เสนอราคาต่ำสุดล้วนเป็นลักษณะจอยเวนเจอร์ ระหว่างขาใหญ่กับขาใหญ่ด้วยกัน ราคาที่เสนอใกล้กับราคากลางห่างกันเพียงแค่หลักสิบล้านบาทเท่านั้นทั้งนี้เมื่อเทียบกับการประมูลรถไฟไทย-จีน บางสัญญา ราคาผู้ชนะต่ำกว่าราคา กลางมากถึง 1,000-2,000 ล้านบาทจนต้องถอนตัวในที่สุด

ส่อฮั้วทางคู่สายเหนือ

วงในผู้รับเหมาตั้งข้อสังเกตว่าเป็นลักษณะสมยอม หรือฮั้วกันระหว่างผู้รับเหมา ที่สามารถตกลงกันได้โดยไม่ต้องแข่งขันฟันราคา ต่ำกว่าราคากลางมากๆ ทำให้ต้องแบกภาระต้นทุนในภายหลังและในที่สุดขาใหญ่จะกระจายงานให้โดยไม่ต้องวิ่งหางาน อีกข้อสังเกต ผู้ใหญ่ใจดีลงมาจัดแถวผู้รับเหมา แลกผลประโยชน์ตอบแทน 5-7% ตามที่ได้มีผู้รับเหมารายเล็กร้องเรียน เป็นเหตุให้ตัวเลขการเสนอราคาออกมาน่าตกใจดังกล่าว

ทั้งนี้ ทางคู่สายเหนือ มองว่า รายใหญ่ต่างรอโอกาสขณะเดียวกันในฝั่งของรัฐ ต้องการหาผู้รับเหมาที่มีสภาพคล่องตัวจริง สร้างเส้นทางนี้ให้ลุล่วงตามแผนโดยไม่เกิดความล่าช้าท่ามกลางสถานการณ์โควิดหลังทางคู่สายเด่นชัยเชียงราย-เชียงของ ล่าช้ามากว่า 60 ปีดังนั้นการจัดระเบียบผู้รับเหมาจึงอาจเกิดขึ้นโดยมีตัวกลาง เจรจาโดยอาจตกลงกันได้ก่อนหน้าที่จะเปิดประมูลโดยเฉพาะการประมูลโดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ช่วยให้ลดการสมยอมราคาเพราะผู้รับเหมาสามารถเจรจาต่อรองกันได้ตลอดเวลาและประเมินว่าไม่ต่างจากประมูลทางคู่สายอีสาน ช่วงบ้านไผ่มุกดาหาร-นครพนม ที่จะเปิดยื่นเสนอราคาใน2สัญญาเร็วๆนี้

ขาใหญ่ยึดเรียบ

ย้อนไปเมื่อวันที่ 18-19 พฤษภาคม รฟท. ได้เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอ และเสนอราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงินก่อสร้างประมาณ 7.29 หมื่นล้านบาท รวม 3 สัญญา พบว่า สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. มีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 17 ราย โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า ITD-NWR ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หรือ ITD และบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด(มหาชน) หรือ NWR เสนอราคา 26,568 ล้านบาท จากราคากลาง 26,599 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 31 ล้านบาท

ขณะที่สัญญาที่ 2 ช่วงงาวเชียงราย ระยะทาง 135 กม. มีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 18 ราย โดยกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) หรือ CK และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ STEC เสนอราคาที่ 26,900 ล้านบาท จากราคากลาง 26,913 ล้านบาทต่ำกว่า 13 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 ช่วง ช่วงเชียงรายเชียงของ ระยะทาง 84 กม. มีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 16 ราย โดยกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE เสนอราคาที่ 19,390 ล้านบาท จากราคากลาง 19,406 ล้านบาท ต่ำกว่า 16 ล้านบาท

9 ก.ค.ได้ผู้ชนะ

รายงานข่าวจากรฟท. ระบุว่า หลังจากนี้คณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติ ประเมินคุณสมบัติด้านเทคนิค และข้อเสนอด้านราคา โดยจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน คาดว่าจะประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคาได้ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 และหากไม่มีการยื่นอุทธรณ์ใดๆ จะสามารถลงนามในสัญญาการดำเนินโครงการได้ประมาณวันที่ 2 สิงหาคม 2564 คาดว่าโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัยเชียงราย-เชียงของ จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 6 ปี ก่อสร้างแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2571

ทั้งนี้หากดูจากผลงานในเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) ของโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีเพียงแค่ 5 บริษัท ที่สามารถนำผลงานเข้ายื่นเสนอราคาได้

เช่น 1.บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 2.บริษัทช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 3.บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 4.บริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง คิอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 5.บริษัทเอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด

อย่างไรก็ตามด้านความคืบหน้าการประมูลโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ดมุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินก่อสร้าง 5.46 หมื่นล้านบาทรฟท. จะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอ และเสนอราคา ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ผ่านเว็บไซต์ของ รฟท. ภายในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 9.00 น.-15.00 น. ที่สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรลลิ้งค์ สถานีมักกะสัน ชั้น 2 หลังจากนั้นจะเปิดให้

เอกชนยื่นซองเอกสารประกวดราคาด้านเทคนิค โครงการก่อสร้างสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหารนครพนม เริ่มดำเนินการในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 โดยโครงการดังกล่าวแบ่งงานเป็น 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. วงเงิน 2.71 หมื่นล้านบาท และสัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. วงเงิน 2.83 หมื่นล้านบาท เบื้องต้นจะประกาศผลผู้ชนะในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 และลงนามในสัญญาวันที่ 6 สิงหาคม 2564 โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี เปิดให้บริการในปี 2569

ไม่รู้เรื่องผลประโยชน์

ขณะรายงานจากรฟท.ระบุว่า กรณีที่ผู้รับจ้างก่อสร้างยื่นเสนอราคาประมูลโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ถูกเรียกเข้าไปเจรจาถึงการแบ่งงาน 7 % โดยไม่ต้องแบ่งราคานั้น เบื้องต้นไม่ทราบถึงเรื่องนี้แต่หากเกิดขึ้นจริงถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายในการประมูลโครงการฯ เพราะถือเป็นการฮั้วประมูล ไม่ใช่ทำผิดแค่เงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) เพียงอย่างเดียว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2021 10:43 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'ทางคู่'เหนือส่อฮั้วเฉือนราคากลางแค่16ล.
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2564


ผมโพสต์แล้วครับ และ ลิงค์อยู่นี่

รถไฟ‘ทางคู่’ สายเหนือ ส่อฮั้ว เฉือนราคากลางแค่16ล.
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:35 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,681
วันที่ 23 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
https://www.thansettakij.com/content/480765
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2021 5:15 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟโต้ ไม่มีฮั๊วประมูลทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
อสังหาริมทรัพย์
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:30 น.
ร.ฟ.ท. ย้ำประมูลรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โปร่งใส ตรวจสอบได้
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:39 น.
รถไฟฯ แจงเปิดประกวดราคา "ก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ" โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทุกขั้นตอน
เศรษฐกิจ
สยามรัฐออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:15 น.

รฟท.ยันประมูลรถไฟทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” โปร่งใส! สามารถตรวจสอบได้
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564


การรถไฟ แจงยิบหลังถูกถล่มปมประมูลทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” ส่อฮั้วรายใหญ่ ชี้ประมูล e-bidding โปร่งใสตรวจสอบได้ แจงมูลค่าโครงการไม่ปรับเพิ่ม แม้จะมีการปรับผลการศึกษา เผยประชาพิจารณ์ TOR 5 รอบ เปิด JV เพราะงานอุโมงค์ซับซ้อน

วันที่ 24 พ.ค. 2564 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ออกเอกสารชี้แจงว่า ตามที่มีสื่อมวลชนบางสื่อ เผยแพร่ข่าวการประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โดยข้อมูลที่นำเสนอสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้องให้กับพี่น้องประชาชน ร.ฟ.ท. จึงขอเรียนชี้แจงและให้ข้อมูลดังนี้

•4 บิ๊กรับเหมา จ่อคว้างานก่อสร้างรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

ปรับผลศึกษา งบไม่เพิ่ม
ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ให้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงินรวมทั้งสิ้น 72,921 ล้านบาท ภายใต้กรอบงบประมาณค่าก่อสร้างจากการศึกษาออกแบบไว้เมื่อปี 2555 นั้น ได้มีการปรับปรุงรายการงานต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ของชุมชนที่เปลี่ยนไป อาทิ การเพิ่มโครงสร้างสะพานรถไฟเพื่อข้ามทางรถยนต์ หรือการยกระดับทางรถยนต์เพื่อข้ามทางรถไฟ ซึ่งเป็นการเพิ่มงานจากขอบเขตงานเดิม โดย ร.ฟ.ท. ยังคงรักษากรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติมา และมีการปรับลดวงเงินเหลือ 72,919.25 ล้านบาท (ต่ำกว่ากรอบวงเงินเดิมที่ตั้งไว้)

ต่อมา ได้เปิดการประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงินก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-bidding เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา

ยัน e-bidding ไร้ฮั้วประมูล
ซึ่งวิธี e-bidding นี้ เป็นรูปแบบการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ในการประมูลงานภาครัฐที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรม ไม่ทำให้เกิดการสมยอมกันระหว่างผู้รับจ้างในการฮั้วราคา หรือ ตกลงราคากัน เพราะเป็นการเสนอราคาที่ต่างคนต่างยื่นประมูลโดยไม่ทราบ ณ เวลานั้นว่าจะมีใครเข้าร่วมประมูลบ้าง และประมูลในราคาเท่าไหร่

ร.ฟ.ท. ได้ดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของ ร.ฟ.ท. และระเบียบข้อบังคับของกรมบัญชีกลาง ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำแผนจัดซื้อจัดจ้าง การจัดเตรียมเอกสารการประกวดราคา จนถึงขั้นตอนการจัดการประกวดราคาและการยื่นข้อเสนอราคาอย่างถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอน

ประชาพิจารณ์ TOR 5 รอบ
นอกจากนี้ ในการจัดทำร่างเอกสารรายละเอียดเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ได้มีการทำประชาพิจารณ์รวมทั้งหมด 5 ครั้ง เพื่อชี้แจงผู้วิจารณ์จนหมดข้อสงสัย พร้อมทำการเผยแพร่ผ่านชองทางเว็ปไซต์เพื่อให้เกิดความโปร่งใสเป็นธรรม ตรวจสอบได้ โดยการดำเนินการทั้งหมดนั้นเป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างทุกกระบวนการ


อีกทั้งยังอยู่ภายใต้โครงการข้อตกลงคุณธรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยมีผู้สังเกตการณ์

ที่กรมบัญชีกลางแต่งตั้ง จำนวน 3 คน เข้าร่วมสังเกตการณ์ติดตาม ตรวจสอบ ทุกขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตงาน (TOR) กระบวนการประกวดราคา กระบวนการก่อสร้าง ตลอดจนถึงการเบิกจ่ายเงินงวดงาน จนโครงการแล้วเสร็จ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนของการประเมินคุณสมบัติ ข้อเสนอด้านเทคนิคของผู้ยื่นเสนอราคา และยังมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการต่างๆอีกหลายขั้นตอน

งานอุโมงค์ซับซ้อน เปิดเอกชน JV
สำหรับเส้นทางสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ มีงานอุโมงค์อยู่ด้วยทุกสัญญา ซึ่งเป็นงานเฉพาะทางการกำหนดผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอจึงต้องปฏิบัติตามระเบียบของกรมบัญชีกลาง ที่ผู้เสนอราคาต้องเคยมีผลงานประเภทเดียวกันกับงานจ้างก่อสร้างนี้ แต่เพื่อเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการทั่วไปได้มีโอกาสเข้าร่วมเสนอราคาด้วย ร.ฟ.ท. จึงกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวสามารถเข้าร่วมงานกันได้ในลักษณะกิจการร่วมค้า (Joint Venture:JV) ซึ่งได้ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งเวียนจากกรมบัญชีกลาง เรื่อง การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้า โดยผู้ที่ยื่นข้อเสนอจะต้องซื้อเอกสารประกวดราคาทุกราย

โว 3 สัญญา ซื้อซองอื้อ 18 ราย
ซึ่งคุณสมบัติที่กำหนดนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการทั่วไปที่ไม่มีความเชี่ยวชาญงานเฉพาะทางสามารถเข้าร่วมงานประกวดราคาได้ด้วย ส่งผลให้การประกวดราคาดังกล่าว มีจำนวนผู้ซื้อเอกสารประกวดราคารวมมากถึง 18 ราย ประกอบด้วย


สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย – งาว ระยะทาง 104 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 2 ราย รวม 5 ราย

สัญญาที่ 2 งาว – เชียงราย ระยะทาง135 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย รวม 4 ราย

สัญญาที่ 3 เชียงราย – เชียงของ ระยะทาง 84 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย รวม 4 ราย

การประมูลยื่นประกวดราคานั้นอาจเกิดการร่วมมือกันของบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางในการเข้าประมูลงานเป็นกิจการร่วมค้า ตามระเบียบว่าผู้เสนอราคาต้องเคยมีผลงานประเภทเดียวกันกับงานจ้างก่อสร้างนี้ รวมถึงอาจเกิดจากปัจจัยอื่นอาทิ การผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง ณ ปัจจุบัน ซึ่งมีการปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยยะในช่วงเวลาที่ผ่านมา อาจเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการบางรายไม่เข้าเสนอราคาเนื่องจากไม่สามารถประเมินความเสี่ยงในการเสนอราคาได้

ร.ฟ.ท.จึงขอเรียนให้ทราบอีกครั้งหนึ่งว่า การดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของนี้มีความโปร่งใส มีกระบวนการตรวจสอบการดำเนินการอย่างเปิดเผยในทุกขั้นตอน และเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ และข้อกฎหมายทุกประการ


การรถไฟฯ แจง ประมูลทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ”โปร่งใส
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:45 น.

การรถไฟฯ ขอชี้แจงประกวดราคารถไฟทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ”ดำเนินการด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปตามระเบียบทุกขั้นตอน

ตามที่มีสื่อมวลชนบางสื่อ ได้เผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับการประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โดยข้อมูลที่นำเสนอนั้นอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้องให้กับพี่น้องประชาชน การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงขอเรียนชี้แจงและให้ข้อมูลดังนี้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ให้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงินรวมทั้งสิ้น 72,921 ล้านบาท ภายใต้กรอบงบประมาณค่าก่อสร้างจากการศึกษาออกแบบไว้เมื่อปี พ.ศ. 2555 นั้น


การรถไฟได้มีการปรับปรุงรายการงานต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ของชุมชนที่เปลี่ยนไป อาทิ การเพิ่มโครงสร้างสะพานรถไฟเพื่อข้ามทางรถยนต์ หรือการยกระดับทางรถยนต์เพื่อข้ามทางรถไฟ ซึ่งเป็นการเพิ่มงานจากขอบเขตงานเดิม โดยการรถไฟฯยังคงรักษากรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติมา และมีการปรับลดวงเงินเหลือ 72,919.25 ล้านบาท (ต่ำกว่ากรอบวงเงินเดิมที่ตั้งไว้)การรถไฟฯ ได้เปิดการประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงินก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-biddingเมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งวิธี e-bidding นี้ เป็นรูปแบบการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ในการประมูลงานภาครัฐที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรม ไม่ทำให้เกิดการสมยอมกันระหว่างผู้รับจ้างในการฮั้วราคา หรือ ตกลงราคากัน เพราะเป็นการเสนอราคาที่ต่างคนต่างยื่นประมูลโดยไม่ทราบ ณ เวลานั้นว่าจะมีใครเข้าร่วมประมูลบ้าง และประมูลในราคาเท่าไหร่การรถไฟฯ ได้ดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของการรถไฟฯ และระเบียบข้อบังคับของกรมบัญชีกลางตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำแผนจัดซื้อจัดจ้าง การจัดเตรียมเอกสารการประกวดราคา จนถึงขั้นตอนการจัดการประกวดราคาและการยื่นข้อเสนอราคาอย่างถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอน นอกจากนี้ ในการจัดทำร่างเอกสารรายละเอียดเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ทางการรถไฟฯ ได้มีการทำประชาพิจารณ์รวมทั้งหมด 5 ครั้ง เพื่อชี้แจงผู้วิจารณ์จนหมดข้อสงสัย พร้อมทำการเผยแพร่ผ่านชองทางเว็ปไซต์เพื่อให้เกิดความโปร่งใสเป็นธรรม ตรวจสอบได้ โดยการดำเนินการทั้งหมดนั้นเป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างทุกกระบวนการ อีกทั้งยังอยู่ภายใต้โครงการข้อตกลงคุณธรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยมีผู้สังเกตการณ์ที่กรมบัญชีกลางแต่งตั้ง จำนวน 3 คน เข้าร่วมสังเกตการณ์ติดตาม ตรวจสอบ ทุกขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตงาน (TOR) กระบวนการประกวดราคา กระบวนการก่อสร้าง ตลอดจนถึงการเบิกจ่ายเงินงวดงานจนโครงการแล้วเสร็จ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนของการประเมินคุณสมบัติ ข้อเสนอด้านเทคนิคของผู้ยื่นเสนอราคา และยังมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการต่างๆอีกหลายขั้นตอน สำหรับเส้นทางสายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ มีงานอุโมงค์อยู่ด้วยทุกสัญญา ซึ่งเป็นงานเฉพาะทางการกำหนดผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอจึงต้องปฏิบัติตามระเบียบของกรมบัญชีกลาง ที่ผู้เสนอราคาต้องเคยมีผลงานประเภทเดียวกันกับงานจ้างก่อสร้างนี้ แต่เพื่อเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการทั่วไปได้มีโอกาสเข้าร่วมเสนอราคาด้วย การรถไฟฯ จึงกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวสามารถเข้าร่วมงานกันได้ในลักษณะกิจการร่วมค้า ซึ่งการรถไฟฯได้ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งเวียนจากกรมบัญชีกลาง เรื่อง การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้า โดยผู้ที่ยื่นข้อเสนอจะต้องซื้อเอกสารประกวดราคาทุกราย ซึ่งคุณสมบัติที่กำหนดนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการทั่วไปที่ไม่มีความเชี่ยวชาญงานเฉพาะทางสามารถเข้าร่วมงานประกวดราคาได้ด้วย ส่งผลให้การประกวดราคาดังกล่าวมีจำนวนผู้ซื้อเอกสารประกวดราคารวมมากถึง 18 ราย ประกอบด้วย

สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย - งาว ระยะทาง 104 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 2 ราย รวม 5 ราย

สัญญาที่ 2 งาว - เชียงราย ระยะทาง135 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย รวม 4 ราย

สัญญาที่ 3 เชียงราย - เชียงของ ระยะทาง 84 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย รวม 4

รายการประมูลยื่นประกวดราคานั้นอาจเกิดการร่วมมือกันของบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางในการเข้าประมูลงานเป็นกิจการร่วมค้า ตามระเบียบว่าผู้เสนอราคาต้องเคยมีผลงานประเภทเดียวกันกับงานจ้างก่อสร้างนี้ รวมถึงอาจเกิดจากปัจจัยอื่นอาทิ การผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง ณ ปัจจุบัน ซึ่งมีการปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยยะในช่วงเวลาที่ผ่านมา อาจเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการบางรายไม่เข้าเสนอราคาเนื่องจากไม่สามารถประเมินความเสี่ยงในการเสนอราคาได้การรถไฟฯ จึงขอเรียนให้ทราบอีกครั้งหนึ่งว่า การดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของนี้มีความโปร่งใส มีกระบวนการตรวจสอบการดำเนินการอย่างเปิดเผยในทุกขั้นตอน และเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ และข้อกฎหมายทุกประการ

พรุ่งนี้(25 พ.ค.)ลุ้นศึกชิงทางคู่บ้านไผ่-นครพนม5.4หมื่นล้าน
*สายเด่นชัย-เชียงของ7.2หมื่นล้านยื่นซอง”ลงตัววินวิน”
*รฟท.ออกข่าวแจกแจงโปร่งใสเป็นธรรมไม่มีฮั้วประมูล
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2911446932410139


Last edited by Wisarut on 24/05/2021 10:12 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2021 8:44 pm    Post subject: Reply with quote

‘ช.การช่าง’ เซ็นสัญญาอุโมงค์ประปา 5 พันล้าน จ่อคว้า 2 สัญญารถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย 4.7 หมื่นล้าน
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:14 น.
CK จ่อคว้า 2 สัญญารถไฟทางคู่ 4.7 หมื่นลบ. ลุยประมูลงานเพิ่ม ดัน Backlog แสนลบ.
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564


นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย- เชียงราย-เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระยะทาง 323 กิโลเมตร สัญญาที่ 1, 2 และ 3 มูลค่ากว่า 73,000 ล้านบาท ด้วยวิธีเสนอราคาจัดซื้อจัดจ้างทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-บิดดิ้ง) ร่วมกับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ในนามกิจการร่วมค้า CKST

สำหรับผลการเสนอราคา ปรากฎว่า กิจการร่วมค้า CKST เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดในสัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ด้วยราคา 26,900 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ด้วยราคา 19,390 ล้านบาท โดยขั้นตอนต่อไป รฟท. แจ้งว่าจะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารเทคนิค หลังจากนั้น รฟท.จะประกาศอย่างเป็นทางการว่าบริษัทใดเป็นผู้ได้รับงานสัญญาต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปลงนามในสัญญาได้ในเดือน กรกฎาคม 2564 ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร อีก 2 สัญญา มูลค่า 55,458 ล้านบาท ที่รฟท.จะเปิดประมูลในวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 นี้ บริษัทก็จะเข้าร่วมประมูลด้วย


ช.การช่าง เซ็นสัญญาอุโมงค์ประปา 5 พันล้าน จ่อคว้า 2 สัญญา 4.7 หมื่นล้าน
ข่าวในประเทศ

วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 - 16:20 น.


“ช.การช่าง” เซ็นสัญญาอุโมงค์ประปา 5 พันล้าน จ่อคว้า 2 สัญญารถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย 4.7 หมื่นล้าน

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) แถลงว่า ในวันนี้บริษัทได้ลงนามสัญญาก่อสร้างโครงการอุโมงค์ส่งน้ำประปา สัญญาที่ G-TN-9D จากสถานีสูบจ่ายน้ำบางมด ถึงสถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร กับการประปานครหลวง (กปน.) มูลค่า 4,950 ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โครงการนี้เป็นงานก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำประปาตามแนวถนนกาญจนาภิเษกและถนนทางรถไฟสายเก่า จากสถานีสูบจ่ายน้ำบางมด ถึงสถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง โดยใช้หัวขุดเจาะอุโมงค์ แบบ TBM มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี 4 เดือน

ถือเป็น 1 ใน 4 สัญญาที่กปน. ได้เปิดประมูลตามโครงการปรับปรุงกิจการประปานครหลวงแผนหลักครั้งที่ 9 เพื่อเชื่อมโยงการจ่ายน้ำประปาจากฝั่งตะวันตกไปผั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร โดยบริษัทพร้อมเริ่มก่อสร้างทันที และมั่นใจว่าจะดำเนินการก่อสร้างได้แล้วเสร็จตามแผน เพราะบริษัทมีความพร้อมและเป็นงานที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย- เชียงราย-เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระยะทาง 323 กิโลเมตร สัญญาที่ 1, 2 และ 3 มูลค่ากว่า 73,000 ล้านบาท ด้วยวิธีเสนอราคาจัดซื้อจัดจ้างทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-บิดดิ้ง) ร่วมกับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ในนามกิจการร่วมค้า CKST

สำหรับผลการเสนอราคา ปรากฎว่า กิจการร่วมค้า CKST เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดในสัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ด้วยราคา 26,900 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ด้วยราคา 19,390 ล้านบาท โดยขั้นตอนต่อไป รฟท. แจ้งว่าจะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารเทคนิค หลังจากนั้น รฟท.จะประกาศอย่างเป็นทางการว่าบริษัทใดเป็นผู้ได้รับงานสัญญาต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปลงนามในสัญญาได้ในเดือน กรกฎาคม 2564

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร อีก 2 สัญญา มูลค่า 55,458 ล้านบาท ที่รฟท.จะเปิดประมูลในวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 นี้ บริษัทก็จะเข้าร่วมประมูลด้วย

นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ภาพรวมของธุรกิจก่อสร้างถือว่าค่อนข้างนิ่ง เพราะโครงการประมูลขนาดใหญ่ของรัฐออกมาค่อนข้างช้า เป็นผลมาจากปัญหาด้านการเมืองและผลกระทบจากโรคระบาด Covid-19


แต่หลังจากนี้เชื่อมั่นว่ารัฐจะเร่งโครงการต่างๆ ออกมาจำนวนมาก เพราะจำเป็นต้องออกมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ งานก่อสร้างขนาดใหญ่สามารถสร้างเงินหมุนเวียนได้หลายรอบ มีผลต่อเนื่องไปที่ธุรกิจอื่น ๆ เช่น วัสดุก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ การขนส่ง ธนาคารการเงิน ประกันภัย และที่สำคัญคือทำให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งจะมีผลดีต่อประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศโดยตรง

“ต้องถือว่าในวิกฤตก็มีโอกาส ตอนนี้รัฐบาลต้องใส่งบประมาณจำนวนมากเป็นล้านล้านบาทเพื่อเยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจ แต่ธุรกิจก่อสร้างมีงบประมาณที่รัฐบาลได้เตรียมไว้แล้วตั้งแต่ก่อนเกิด Covid-19 แต่ยังไม่ได้ใส่ลงมาในระบบจริงๆ ตอนนี้ถึงเวลาแล้ว งานประมูลโครงการของรัฐขนาดใหญ่จึงเร่งออกมา

เช่น โครงการรถไฟทางคู่ 1.2 แสนล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ 9 หมื่นล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก 1.2 แสนล้านบาท ลำพัง 3 โครงการนี้ มูลค่ามากกว่า 3 แสนล้านบาทก็สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นล้านล้านบาทแล้ว แน่นอนธุรกิจก่อสร้างก็จะได้รับอานิสงค์โดยตรง” นายปลิว กล่าว

นายปลิว กล่าวด้วยว่า บริษัทฯ มีความพร้อมอย่างเต็มที่ ทั้งด้านบุคลากร แรงงาน เครื่องจักร และที่สำคัญคือประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในงานขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เทคนิคสูง เช่นงานขุดเจาะอุโมงค์ งานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน มั่นใจว่าเรามีโอกาสสูงที่จะชนะในการประมูลทั้ง 3 โครงการในสัดส่วนไม่น้อย

โดยโครงการรถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะเป็นงานที่บริษัทเข้าประมูลโดยตรง ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บริษัทจะสนับสนุน บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เข้าร่วมประมูล




ในส่วนของภาพรวมบริษัท ในปี 2564 จะดีกว่าปี 2563 แน่นอน ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2563 จนถึงปี 2564 บริษัทมั่นใจว่าจะได้รับงานก่อสร้างใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ Backlog กลับไปที่มากกว่า 1 แสนล้าน โดยมีโครงการสำคัญ คือ รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง รถไฟฟ้าสายสีส้ม และที่สำคัญคือ โครงการเขื่อนหลวงพระบาง มูลค่างานก่อสร้างกว่า 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP กำลังเร่งรัดสรุปอยู่ คาดว่าจะจบภายในปี 2564 นี้ และจะว่าจ้างบริษัทให้เริ่มก่อสร้างทันที

ส่วนบริษัทในกลุ่ม BEM ปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้าและทางด่วนจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ซึ่งการระบาดของ Covid-19 น่าจะควบคุมได้ดีขึ้น ทำให้กำไรกลับสู่สภาวะปกติ CKP ในปีนี้โรงไฟฟ้าไชยะบุรีจะผลิตไฟฟ้าได้เต็มที่และไม่มีผลกระทบด้านภัยแล้งเหมือนปีที่ผ่านมา ทำให้มีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างมาก ทำให้ ช. การช่างได้รับส่วนแบ่งกำไรจากทั้ง 2 บริษัทมากขึ้นกว่าปี 2563 อย่างแน่นอน ส่วน TTW เป็นบริษัทที่ดีอยู่แล้วไม่มีผลกระทบอะไรจาก Covid-19 เลย

ประธานกรรมการบริหาร ระบุว่า ขณะนี้เหมือนว่า S-Curve เดิมของบริษัทฯ เรากำลังจบรอบ พอดีไปเจอ Covid-19 ทุกอย่างเลยชะงักไปสักพัก แต่ปัจจุบัน New S-Curve ของเรามาแล้ว เริ่มตั้งแต่รถไฟทางคู่ครั้งนี้ ทุกอย่างก็จะมาตามแผน ส่วนในด้านการบริหารงาน เรายึดหลักงานที่ทำต้องคุณภาพดี ต้องควบคุมต้นทุนได้ดี ต้องทันเวลา และได้กำไรพอเหมาะพอสม ซึ่งเป็นจุดแข็งของบริษัทมาโดยตลอด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2021 10:51 pm    Post subject: Reply with quote

ร้อง"ประยุทธ์-ศักดิ์สยาม"เบรกประมูลรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงของ
วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 15.45 น.
‘สหภาพรถไฟ’​ ลุยยื่นหนังสือถึง บิ๊กตู่-ศักดิ์สยาม จี้สั่งชะลอโครงการรถไฟทางคู่ 5 สัญญา
วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 16:21 น.

“สหภาพฯ รถไฟ” ประกาศจับตาไอ้โม่งฮั้วประมูลทางคู่สายใหม่ 5 สัญญา ลุยยื่นหนังสือถึง “พล.อ.ประยุทธ์-ศักดิ์สยาม” สั่งแบรกโครงการ จี้ตรวจสอบความโปร่งใสด่วน เพื่อประโยชน์ต่อชาติ-ประชาชน


เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ออกแถลงการณ์เรื่อง จับตาโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 5 สัญญา "ส่อฮั้วประมูล" มีไอ้โม่งขาใหญ่อยู่เบื้องหลังหรือไม่ ??? โดยมีเนื้อหาระบุว่า จากการติดตามการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ รวมระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) ทั้ง 3 สัญญา พบว่า การประมูลทั้ง 3 สัญญา มีข้อน่าสงสัยในเรื่องความโปร่งใส และน่าสังเกตว่าแต่ละสัญญามีผู้ซื้อซองจำนวนมาก แต่มีผู้ยื่นเสนอราคาเพียงสัญญาละ 2 รายเท่านั้น โดย

สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กม. ราคากลาง 26,599 ล้านบาท มีผู้สนใจซื้อซองประมูล 17 ราย แต่มีผู้ยื่นเสนอราคาเพียง 2 ราย ผลเสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 26,568 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางประมาณ 31 ล้านบาท คิดเป็น 1.12% ของราคากลาง


สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 132 กม. ราคากลาง 26,913 ล้านบาท มีผู้สนใจซื้อซองประมูล 18 ราย แต่มีผู้ยื่นเสนอราคาเพียง 2 ราย ผลเสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 26,900 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางประมาณ 13 ล้านบาท คิดเป็น 0.05% ของราคากลาง และ

สัญญาที่ 3 เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 87 กม. ราคากลาง 19,406 ล้านบาท มีผู้สนใจซื้อซองประมูล 16 ราย แต่มีผู้ยื่นเสนอราคาเพียง 2 ราย ผลเสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 19,390 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางประมาณ 16 ล้านบาท คิดเป็น 0.08% ของราคากลาง

อย่างไรก็ตามเอกสารการประมูลมีราคาถึงชุดละ 5 หมื่นบาท ย่อมเป็นเรื่องปกติที่ผู้ซื้อซองประมูลต้องมีเจตนาที่จะเข้าร่วมยื่นเสนอราคาประมูล แต่กลับมีเพียงสัญญาละ 2 ราย และเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางไม่มากนักจนเป็นที่น่าผิดสังเกต และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสาธารณชน โดยมูลค่าต่ำกว่าราคากลางแค่หลักไม่กี่สิบล้านบาท ซึ่งปกติไม่น่าจะเป็นไปได้เมื่อเปรียบเทียบกับการประมูลโครงการก่อสร้างอื่นๆ เท่าที่ สร.รฟท.ได้ติดตามมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในแถลงการณ์ยังระบุด้วยว่า การดำเนินโครงการนี้ส่อไปในทางที่ไม่โปร่งใส เป็นการล๊อคสเปก ฮั้วประมูลหรือไม่ หรือว่ามีไอ้โม่งขาใหญ่คอยทำหน้าที่ซอยสัญญาแบ่งเค้ก จัดสรรผลประโยชน์อยู่เบื้องหลัง และหากมีการ "ฮั้วประมูล" กันจริง นี่คือความเสียหายของประเทศชาติ เพราะงบประมาณมาจากภาษีของประชาชน และจะส่งผลกระทบถึงการประมูลโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทาง บ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กม. มูลค่า 66,848 ล้านบาทด้วย  อย่างไรก็ตาม จากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศนโยบายเรื่อง "การปราบปรามการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติ" ทาง สร.รฟท. จึงขอเรียกร้อง โดยได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ให้สั่งการชะลอโครงการนี้ไปก่อน และตรวจสอบความไม่โปร่งใสของโครงการนี้โดยเร่งด่วน เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และประชาชน.

ยันประมูล‘ทางคู่’โปร่งใส รฟท.แจงเหตุผู้รับเหมาบางรายถอนตัว

หน้า โลกธุรกิจ
วันอังคาร ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 06.00 น.

เมื่อวันที่ 24 พ.ค.2564 การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)รายงานการประกวดราคา โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 72,921 ล้านบาท ว่า การรถไฟฯ ได้เปิดการประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เมื่อเดือน มี.ค.2564 ซึ่งรูปแบบการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ในการประมูลงานภาครัฐที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรม ไม่ทำให้เกิดการสมยอมกันระหว่างผู้รับจ้างในการฮั้วราคา หรือ ตกลงราคากัน เพราะเป็นการเสนอราคาที่ต่างคนต่างยื่นประมูลโดยไม่ทราบ ณ เวลานั้นว่าจะมีใครเข้าร่วมประมูลบ้าง และประมูลในราคาเท่าไหร่



สำหรับเส้นทางสายเด่นชัย-เชียงราย- เชียงของ มีงานอุโมงค์อยู่ด้วยทุกสัญญา ซึ่งเป็นงานเฉพาะทางการกำหนดผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอจึงต้องปฏิบัติตามระเบียบของกรมบัญชีกลาง ที่
ผู้เสนอราคาต้องเคยมีผลงานประเภทเดียวกันกับงานจ้างก่อสร้างนี้ แต่เพื่อเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการทั่วไปได้มีโอกาสเข้าร่วมเสนอราคาด้วย การรถไฟฯ จึงกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวสามารถเข้าร่วมงานกันได้ในลักษณะกิจการร่วมค้า ซึ่งการรถไฟฯได้ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งเวียนจากกรมบัญชีกลาง เรื่อง การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้า โดยผู้ที่ยื่นข้อเสนอจะต้องซื้อเอกสารประกวดราคาทุกราย ซึ่งคุณสมบัติที่กำหนดนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการทั่วไปที่ไม่มีความเชี่ยวชาญงานเฉพาะทางสามารถเข้าร่วมงานประกวดราคาได้ด้วย จึงส่งผลให้การประกวดราคาดังกล่าวมีจำนวนผู้ซื้อเอกสารประกวดราคารวมมากถึง 18 ราย อาทิ

สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่มกลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 2 ราย รวม 5 ราย


สัญญาที่ 2 งาว - เชียงราย ระยะทาง 135 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 รายกลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย รวม 4 ราย



สัญญาที่ 3 เชียงราย - เชียงของ ระยะทาง 84 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 รายกลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย รวม 4 ราย

“การประมูลยื่นประกวดราคานั้นอาจเกิดการร่วมมือกันของบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางในการเข้าประมูลงานเป็นกิจการร่วมค้า ตามระเบียบว่าผู้เสนอราคาต้องเคยมีผลงานประเภทเดียวกันกับงานจ้างก่อสร้างนี้ รวมถึงอาจเกิดจากปัจจัยอื่น อาทิ การผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง ณ ปัจจุบัน ซึ่งมีการปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยในช่วงเวลาที่ผ่านมา อาจเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการบางรายไม่เข้าเสนอราคาเนื่องจากไม่สามารถประเมินความเสี่ยงในการเสนอราคาได้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของนี้มีความโปร่งใส มีกระบวนการตรวจสอบการดำเนินการอย่างเปิดเผยในทุกขั้นตอน และเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ และข้อกฎหมายทุกประการ” ร.ฟ.ท.ระบุ

ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวร้องเรียนว่า มีการกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR)ให้บริษัทรายใหญ่ที่สามารถนำผลงานเข้าเสนอราคาได้ โดยบางสัญญาประมูลไปเมื่อวันที่ 18 พ.ค.2564 ที่ผ่านมา
https://www.facebook.com/thaisrut/posts/4545705662124454

จับตารถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสาน ส่อฮั้วประมูล 5 สัญญา
หน้าแรก / เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันอังคาร ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:37 น.

สร.รฟท.เผยประมูลรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงของ ส่อล็อคสเปค เหตุพบเอกชนยื่นข้อเสนอแต่ละสัญญาเพียง 2 รายเท่านั้น หลังมีผู้สนใจซื้อซองกว่า 16-18 ราย หวั่นกระทบประมูลทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม


รายงานข่าวจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 72,920 ล้านบาท เป็นโครงการที่รัฐได้ศึกษาตั้งแต่ปี 2503 และได้มีการทบทวนโครงการอีกหลายครั้งเพื่อศึกษาถึงความเหมาะสมถึงผลกระทบต่างๆให้รองรับการเชื่อมต่อชายแดน จังหวัดเชียงราย รวมทั้งศูนย์ขนถ่ายสินค้าเชียงของ

ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการเวนคืนที่ดินและเปิดประมูลภายในปี 2564 และมีกำหนดก่อสร้าง 5 ปี เปิดให้บริการปี 2571โดยรฟท.ได้ประกาศขายเอกสารการประกวดราคาก่อสร้างโครงการฯ เมื่อวันที่ 19 มี.ค.-17 พ.ค.2564 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) และกำหนดกรอบเวลาในการประกวดราคา โดยให้ผู้ประสงค์จัดทำเอกสารข้อเสนอเพื่อยื่นเสนอในวันที่ 18 พ.ค.2564 โดยยื่นข้อเสนอด้านเทคนิควันที่ 19 พ.ค.2564 ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบในวันที่ 24 มิ.ย.-8 ก.ค.2564 ประกาศผู้ชนะเสนอราคาวันที่ 9 ก.ค.2564 และลงนามสัญญาวันที่ 2 ส.ค.2564 โดยแบ่งการก่อสร้างเป็น 3 สัญญา ได้แก่
สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กม. ราคากลาง 26,599 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 132 กม. ราคากลาง 26,913 ล้านบาท
สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 87 กม. ราคากลาง 19,406 ล้านบาท

รายงานข่าวจากสร.รฟท. กล่าวต่อว่า จากการติดตามการประมูลโครงการดังกล่าวทั้ง 3 สัญญา พบว่ามีข้อสงสัยเรื่องความโปร่งใสและน่าสังเกตมากว่าแต่ละสัญญามีผู้ซื้อซองจำนวนมาก แต่ผู้ยื่นเสนอราคาแต่ละสัญญามีเพียง 2 รายเท่านั้น โดย
สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กม. ราคากลาง 26,599 ล้านบาท มีผู้สนใจซื้อซองประมูล จำนวน 17 ราย โดยผลเสนอราคาต่ำสุด 26,568 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 132 กม. ราคากลาง 26,913 ล้านบาท มีผู้สนใจซื้อซองประมูล 18 ราย แต่มีผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละสัญญาเพียง 2 รายเท่านั้น โดยเสนอราคาต่ำสุด 26,900 ล้านบาท
สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 87 กม. ราคากลาง 19,406 ล้านบาท มีผู้สนใจซื้อซองประมูล 16 ราย แต่มีผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละสัญญาเพียง 2 รายเท่านั้น โดยเสนอราคาต่ำสุด 19,390 ล้านบาท

ทั้งนี้การดำเนินการโครงการดังกล่าวที่ส่อไปในทางที่ไม่โปร่งใสมีการล็อคสเปค โดยปกติไม่น่าจะเป็นไปได้เมื่อเปรียบเทียบการประมูลโครงการก่อสร้างฯสายอื่นๆ ที่มีการเสนอราคาเพียง 2 ราย จากผู้ที่สนใจซื้อเอกสารซองประมูลทั้งหมด 16-18 ราย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงการประมูลจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848 ล้านบาท ในวันที่ 25 พ.ค.นี้ ซึ่งประกอบไปด้วยสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก วงเงิน 27,127 ล้านบาท ราคากลาง 27,123 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 วงเงิน 28,335 ล้านบาท ราคากลาง 28,333 ล้านบาท


Last edited by Wisarut on 26/05/2021 6:35 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 44, 45, 46 ... 77, 78, 79  Next
Page 45 of 79

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©