Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274784
ทั้งหมด:13586080
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 45, 46, 47 ... 77, 78, 79  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2021 12:31 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.แจงประมูลรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงของ 7.2 หมื่นล้าน ส่อฮั้วประมูล
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
อังคารที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 21:05 น.


รฟท.แจงประมูลรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงของ 7.2 หมื่นล้าน ส่อฮั้วประมูล
รฟท.ยืนยันประมูลรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงของ วงเงิน 7.2 หมื่นล้านบาท ไม่ได้ฮั้วประมูล หลังทำประชาพิจารณ์ 5 ครั้งก่อนทำทีโออาร์ เผยผลประมูลยื่นเพียง 2 ราย คาดเป็นปัจจัยราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูง


นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชี้แจงว่า สำหรับการเปิดประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ซึ่งดําเนินการด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปตามระเบียบทุกขั้นตอน ทั้งนี้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ให้ดําเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงินรวมทั้งสิ้น 72,921 ล้านบาท ภายใต้กรอบงบประมาณค่าก่อสร้างจากการศึกษา ออกแบบไว้เมื่อปี พ.ศ. 2555 นั้น การรถไฟได้มีการปรับปรุงรายการงานต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพทาง ภูมิศาสตร์ของชุมชนที่เปลี่ยนไป อาทิ การเพิ่มโครงสร้างสะพานรถไฟเพื่อข้ามทางรถยนต์ หรือการยกระดับ ทางรถยนต์เพื่อข้ามทางรถไฟ ซึ่งเป็นการเพิ่มงานจากขอบเขตงานเดิม โดยการรถไฟฯยังคงรักษากรอบวงเงิน ที่ได้รับอนุมัติมา และมีการปรับลดวงเงินเหลือ 72,919.25 ล้านบาท (ต่ำกว่ากรอบวงเงินเดิมที่ตั้งไว้)

นายเอกรัช กล่าวต่อว่า รฟท.ได้เปิดการประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงินก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งวิธี e-bidding นี้ เป็นรูปแบบการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ในการ ประมูลงานภาครัฐที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรม ไม่ทําให้เกิดการสมยอมกันระหว่างผู้รับจ้างในการฮั้วประมูลราคา หรือ ตกลงราคากัน เพราะเป็นการเสนอราคาที่ต่างคนต่างยื่นประมูลโดยไม่ทราบ ณ เวลานั้นว่าจะมีใครเข้า ร่วมประมูลบ้าง และประมูลในราคาเท่าไหร่ ทั้งนี้รฟท.ได้ดําเนินการตามระเบียบข้อบังคับของการรถไฟฯ และระเบียบข้อบังคับของกรมบัญชีกลาง ตั้งแต่ ขั้นตอนการจัดทําแผนจัดซื้อจัดจ้าง การจัดเตรียมเอกสารการประกวดราคา จนถึงขั้นตอนการจัดการประกวดราคาและการยื่นข้อเสนอราคาอย่างถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอน นอกจากนี้ ในการจัดทําร่างเอกสาร รายละเอียดเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ทางการรถไฟฯ ได้มีการทําประชาพิจารณ์รวมทั้งหมด 5 ครั้ง เพื่อชี้แจงผู้วิจารณ์จนหมดข้อสงสัย พร้อมทําการเผยแพร่ผ่านของทางเว็ปไซต์เพื่อให้เกิดความโปร่งใสเป็นธรรม ตรวจสอบได้ โดยการดําเนินการทั้งหมดนั้นเป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างทุกกระบวนการ อีกทั้งยังอยู่ภายใต้โครงการข้อตกลงคุณธรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยมีผู้สังเกตการณ์ที่กรมบัญชีกลางแต่งตั้ง จํานวน 3 คน เข้าร่วมสังเกตการณ์ติดตาม ตรวจสอบ ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทําร่างขอบเขตงาน (TOR) กระบวนการประกวดราคา กระบวนการก่อสร้าง ตลอดจนถึง การเบิกจ่ายเงินงวดงานจนโครงการแล้วเสร็จ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนของการประเมินคุณสมบัติ ข้อเสนอ ด้านเทคนิคของผู้ยื่นเสนอราคา และยังมีขั้นตอนที่ต้องดําเนินการต่างๆ อีกหลายขั้นตอน สําหรับเส้นทางสายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ มีงานอุโมงค์อยู่ด้วยทุกสัญญา ซึ่งเป็นงานเฉพาะทาง การกําหนดผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอจึงต้องปฏิบัติตามระเบียบของกรมบัญชีกลาง ที่ผู้เสนอราคาต้องเคยมี ผลงานประเภทเดียวกันกับงานจ้างก่อสร้างนี้ แต่เพื่อเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการทั่วไปได้มีโอกาสเข้า ร่วมเสนอราคาด้วย การรถไฟฯ จึงกําหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวสามารถเข้าร่วมงานกันได้ในลักษณะกิจการ ร่วมค้า ซึ่งการรถไฟฯได้ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งเวียนจากกรมบัญชีกลาง เรื่อง การพิจารณาคุณสมบัติของผู้อื่น ข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้า โดยผู้ที่ยื่นข้อเสนอจะต้องซื้อเอกสารประกวดราคาทุกราย ซึ่งคุณสมบัติที่กําหนด นี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการทั่วไปที่ไม่มีความเชี่ยวชาญงานเฉพาะทางสามารถเข้าร่วมงานประกวดราคาได้ ส่งผลให้การประกวดราคาดังกล่าวมีจํานวนผู้ซื้อเอกสารประกวดราคารวมมากถึง 18 ราย ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย - งาว ระยะทาง 104 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 2 ราย รวม 5 รายสัญญาที่ 2 งาว - เชียงราย ระยะทาง135 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย รวม 4 รายสัญญาที่ 3 เชียงราย เชียงของ ระยะทาง 84 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย รวม 4 ราย อย่างไรก็ตามการประมูลยื่นประกวดราคานั้นอาจเกิดการร่วมมือกันของบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางในการเข้าประมูล งานเป็นกิจการร่วมค้า ตามระเบียบว่าผู้เสนอราคาต้องเคยมีผลงานประเภทเดียวกันกับงานจ้างก่อสร้างนี้ รวมถึงอาจเกิดจากปัจจัยอื่นอาทิ การผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง ณ ปัจจุบัน ซึ่งมีการปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยยะในช่วงเวลาที่ผ่านมา อาจเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการบางรายไม่เข้าเสนอราคาเนื่องจากไม่สามารถประเมิน ความเสี่ยงในการเสนอราคาได้ ทั้งนี้การดําเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย- เชียงของนี้มีความโปร่งใส มีกระบวนการตรวจสอบการดําเนินการอย่างเปิดเผยในทุกขั้นตอน และ เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ และข้อกฎหมายทุกประการ


การรถไฟโต้ ไม่มีฮั๊วประมูลทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 - 14:30 น.

การรถไฟ แจงยิบหลังถูกถล่มปมประมูลทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” ส่อฮั้วรายใหญ่ ชี้ประมูล e-bidding โปร่งใสตรวจสอบได้ แจงมูลค่าโครงการไม่ปรับเพิ่ม แม้จะมีการปรับผลการศึกษา เผยประชาพิจารณ์ TOR 5 รอบ เปิด JV เพราะงานอุโมงค์ซับซ้อน

วันที่ 24 พ.ค. 2564 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ออกเอกสารชี้แจงว่า ตามที่มีสื่อมวลชนบางสื่อ เผยแพร่ข่าวการประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โดยข้อมูลที่นำเสนอสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้องให้กับพี่น้องประชาชน ร.ฟ.ท. จึงขอเรียนชี้แจงและให้ข้อมูลดังนี้

•4 บิ๊กรับเหมา จ่อคว้างานก่อสร้างรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

ปรับผลศึกษา งบไม่เพิ่ม
ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ให้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงินรวมทั้งสิ้น 72,921 ล้านบาท ภายใต้กรอบงบประมาณค่าก่อสร้างจากการศึกษาออกแบบไว้เมื่อปี 2555 นั้น ได้มีการปรับปรุงรายการงานต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ของชุมชนที่เปลี่ยนไป อาทิ การเพิ่มโครงสร้างสะพานรถไฟเพื่อข้ามทางรถยนต์ หรือการยกระดับทางรถยนต์เพื่อข้ามทางรถไฟ ซึ่งเป็นการเพิ่มงานจากขอบเขตงานเดิม โดย ร.ฟ.ท. ยังคงรักษากรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติมา และมีการปรับลดวงเงินเหลือ 72,919.25 ล้านบาท (ต่ำกว่ากรอบวงเงินเดิมที่ตั้งไว้)

ต่อมา ได้เปิดการประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงินก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-bidding เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา

ยัน e-bidding ไร้ฮั้วประมูล
ซึ่งวิธี e-bidding นี้ เป็นรูปแบบการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ในการประมูลงานภาครัฐที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรม ไม่ทำให้เกิดการสมยอมกันระหว่างผู้รับจ้างในการฮั้วราคา หรือ ตกลงราคากัน เพราะเป็นการเสนอราคาที่ต่างคนต่างยื่นประมูลโดยไม่ทราบ ณ เวลานั้นว่าจะมีใครเข้าร่วมประมูลบ้าง และประมูลในราคาเท่าไหร่

ร.ฟ.ท. ได้ดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของ ร.ฟ.ท. และระเบียบข้อบังคับของกรมบัญชีกลาง ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำแผนจัดซื้อจัดจ้าง การจัดเตรียมเอกสารการประกวดราคา จนถึงขั้นตอนการจัดการประกวดราคาและการยื่นข้อเสนอราคาอย่างถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอน

ประชาพิจารณ์ TOR 5 รอบ
นอกจากนี้ ในการจัดทำร่างเอกสารรายละเอียดเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ได้มีการทำประชาพิจารณ์รวมทั้งหมด 5 ครั้ง เพื่อชี้แจงผู้วิจารณ์จนหมดข้อสงสัย พร้อมทำการเผยแพร่ผ่านชองทางเว็ปไซต์เพื่อให้เกิดความโปร่งใสเป็นธรรม ตรวจสอบได้ โดยการดำเนินการทั้งหมดนั้นเป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างทุกกระบวนการ


อีกทั้งยังอยู่ภายใต้โครงการข้อตกลงคุณธรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยมีผู้สังเกตการณ์

ที่กรมบัญชีกลางแต่งตั้ง จำนวน 3 คน เข้าร่วมสังเกตการณ์ติดตาม ตรวจสอบ ทุกขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตงาน (TOR) กระบวนการประกวดราคา กระบวนการก่อสร้าง ตลอดจนถึงการเบิกจ่ายเงินงวดงาน จนโครงการแล้วเสร็จ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนของการประเมินคุณสมบัติ ข้อเสนอด้านเทคนิคของผู้ยื่นเสนอราคา และยังมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการต่างๆอีกหลายขั้นตอน

งานอุโมงค์ซับซ้อน เปิดเอกชน JV
สำหรับเส้นทางสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ มีงานอุโมงค์อยู่ด้วยทุกสัญญา ซึ่งเป็นงานเฉพาะทางการกำหนดผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอจึงต้องปฏิบัติตามระเบียบของกรมบัญชีกลาง ที่ผู้เสนอราคาต้องเคยมีผลงานประเภทเดียวกันกับงานจ้างก่อสร้างนี้ แต่เพื่อเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการทั่วไปได้มีโอกาสเข้าร่วมเสนอราคาด้วย ร.ฟ.ท. จึงกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวสามารถเข้าร่วมงานกันได้ในลักษณะกิจการร่วมค้า (Joint Venture:JV) ซึ่งได้ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งเวียนจากกรมบัญชีกลาง เรื่อง การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้า โดยผู้ที่ยื่นข้อเสนอจะต้องซื้อเอกสารประกวดราคาทุกราย

โว 3 สัญญา ซื้อซองอื้อ 18 ราย
ซึ่งคุณสมบัติที่กำหนดนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการทั่วไปที่ไม่มีความเชี่ยวชาญงานเฉพาะทางสามารถเข้าร่วมงานประกวดราคาได้ด้วย ส่งผลให้การประกวดราคาดังกล่าว มีจำนวนผู้ซื้อเอกสารประกวดราคารวมมากถึง 18 ราย ประกอบด้วย




สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย – งาว ระยะทาง 104 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 2 ราย รวม 5 ราย

สัญญาที่ 2 งาว – เชียงราย ระยะทาง135 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย รวม 4 ราย

สัญญาที่ 3 เชียงราย – เชียงของ ระยะทาง 84 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย รวม 4 ราย

การประมูลยื่นประกวดราคานั้นอาจเกิดการร่วมมือกันของบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางในการเข้าประมูลงานเป็นกิจการร่วมค้า ตามระเบียบว่าผู้เสนอราคาต้องเคยมีผลงานประเภทเดียวกันกับงานจ้างก่อสร้างนี้ รวมถึงอาจเกิดจากปัจจัยอื่นอาทิ การผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง ณ ปัจจุบัน ซึ่งมีการปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยยะในช่วงเวลาที่ผ่านมา อาจเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการบางรายไม่เข้าเสนอราคาเนื่องจากไม่สามารถประเมินความเสี่ยงในการเสนอราคาได้

ร.ฟ.ท.จึงขอเรียนให้ทราบอีกครั้งหนึ่งว่า การดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของนี้มีความโปร่งใส มีกระบวนการตรวจสอบการดำเนินการอย่างเปิดเผยในทุกขั้นตอน และเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ และข้อกฎหมายทุกประการ
Wisarut wrote:
การรถไฟโต้ ไม่มีฮั๊วประมูลทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
อสังหาริมทรัพย์
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:30 น.
ร.ฟ.ท. ย้ำประมูลรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โปร่งใส ตรวจสอบได้
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:39 น.
รถไฟฯ แจงเปิดประกวดราคา "ก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ" โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทุกขั้นตอน
เศรษฐกิจ
สยามรัฐออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:15 น.

รฟท.ยันประมูลรถไฟทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” โปร่งใส! สามารถตรวจสอบได้
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564


การรถไฟฯ แจง ประมูลทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ”โปร่งใส
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:45 น.



พรุ่งนี้(25 พ.ค.)ลุ้นศึกชิงทางคู่บ้านไผ่-นครพนม5.4หมื่นล้าน
*สายเด่นชัย-เชียงของ7.2หมื่นล้านยื่นซอง”ลงตัววินวิน”
*รฟท.ออกข่าวแจกแจงโปร่งใสเป็นธรรมไม่มีฮั้วประมูล
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2911446932410139
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2021 5:02 pm    Post subject: Reply with quote

น่ากังขา? ประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือ-สายอีสานเฉียดฉิวราคากลาง
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte
26 พฤษภาคม 2564 เวลา 09:09 น.
น่ากังขา? ประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือ-สายอีสาน เฉียดฉิวราคากลาง
26 พฤษภาคม 2564 เวลา 09:44 น.

"ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์" ตั้งข้อสังเกตพร้อมข้อเสนอแนะประเด็นร้อน กรณีการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และการประมูลรถไฟทางคู่สายอีสานช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม

เป็นข่าวเกรียวกราวเมื่อเร็วๆ นี้ กรณีผู้ชนะการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เสนอราคาต่ำกว่าราคากลางเพียงเฉียดฉิวแค่ 0.08% เท่านั้น ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเซ็งแซ่ว่ามีการฮั้วประมูลกันหรือไม่? ทำอย่างไรจึงไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก?

การประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร แบ่งการประมูลออกเป็น 3 สัญญา โดยมีราคากลางเฉลี่ยสัญญาละ 24,306 ล้านบาท ราคาที่ประมูลได้เฉลี่ยสัญญาละ 24,286 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าราคากลางเฉลี่ยเพียงสัญญาละ 20 ล้านบาท คิดเป็น 0.08% นับว่าราคาที่ประมูลได้ใกล้เคียงกับราคากลางมาก ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

เช่นเดียวกัน เมื่อวานนี้ (25 พฤษภาคม 2564) มีการประมูลรถไฟทางคู่สายอีสานช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร แบ่งการประมูลออกเป็น 2 สัญญา โดยมีราคากลางเฉลี่ยสัญญาละ 27,728 ล้านบาท ปรากฏว่าราคาที่ประมูลได้เฉลี่ยสัญญาละ 27,705 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าราคากลางเฉลี่ยเพียงสัญญาละ 23 ล้านบาท คิดเป็น 0.08% นับว่าราคาที่ประมูลได้ใกล้เคียงกับราคากลางมาก ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

เมื่อย้อนดูการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 420 กิโลเมตร ในปี 2560 เดิมการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แบ่งการประมูลออกเป็น 3 สัญญา โดยมีราคากลางเฉลี่ยสัญญาละ 12,007 ล้านบาท แต่ผมได้ทักท้วงว่าหากราคากลางสูงอย่างนี้ จะปิดกั้นโอกาสไม่ให้ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าร่วมประมูลได้ เนื่องจากทีโออาร์กำหนดประสบการณ์ของผู้รับเหมาที่สามารถเข้าร่วมประมูลได้เป็นสัดส่วนตามมูลค่าโครงการ หากโครงการมีมูลค่าสูงก็จะทำให้ผู้รับเหมาที่จะสามารถเข้าร่วมประมูลได้ต้องเคยผ่านงานที่มีมูลค่าสูง นั่นก็คือผู้รับเหมาขนาดใหญ่ ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่ราย อาจทำให้ไม่เกิดการแข่งขันกันอย่างจริงจัง

อีกทั้ง ผมได้เสนอแนะให้ร.ฟ.ท. เขียนข้อกำหนดของผู้ว่าจ้างหรือทีโออาร์แบบเปิดกว้าง โดยไม่ล็อกสเปกให้ผู้รับเหมารายใดรายหนึ่ง และที่สำคัญ ควรเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าร่วมประมูลได้ด้วย
ในที่สุด ร.ฟ.ท. ได้ยกเลิกการประมูลครั้งนั้น และได้เปิดประมูลใหม่ โดยแบ่งสัญญาเพิ่มเป็น 5 สัญญา มีราคากลางเฉลี่ยสัญญาละ 7,204 ล้านบาท ซึ่งต่ำลงจากเดิมที่มีราคากลางเฉลี่ยสัญญาละ 12,007 ล้านบาท ทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าร่วมประมูลได้ด้วย จึงมีการแข่งขันกันมากกว่าการให้เฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เข้าร่วมประมูลเท่านั้น ผลการประมูลพบว่าราคาที่ประมูลได้เฉลี่ยสัญญาละ 6,796 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าราคากลางเฉลี่ยสัญญาละ 408 ล้านบาท คิดเป็น 5.66%

เมื่อเปรียบเทียบการประมูลรถไฟทางคู่ระหว่างสายใต้กับสายเหนือและสายอีสาน พบว่าสายใต้ได้ราคาจากการประมูลต่ำกว่าราคากลางมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน กล่าวคือสายใต้ได้ราคาจากการประมูลต่ำกว่าราคากลาง 5.66% ในขณะที่สายเหนือและสายอีสานได้ราคาต่ำกว่าราคากลาง 0.08% เท่ากัน

ด้วยเหตุนี้ จึงสรุปได้ว่าการแบ่งสัญญาการก่อสร้างออกเป็นสัญญาย่อยหลายสัญญา จะทำให้ราคากลางต่ำลง เมื่อราคากลางต่ำลง ผู้รับเหมาขนาดกลางก็จะสามารถเข้าร่วมประมูลได้ด้วย ส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น ราคาที่ได้จากการประมูลก็จะต่ำกว่าราคากลางมากขึ้น ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี

เห็นอย่างนี้แล้ว หาก ร.ฟ.ท. ต้องการประหยัดงบประมาณ ก็น่าจะรู้ว่าควรทำอย่างไรกับการประมูลโครงรถไฟทางคู่ในอนาคต


Last edited by Wisarut on 26/05/2021 5:41 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2021 5:03 pm    Post subject: Reply with quote

‘ศักดิ์สยาม’ โต้ปมฮั้วประมูลทางคู่ ‘เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ’ มูลค่า 7.29 หมื่นล้าน ยันประมูล E-Bidding โปร่งใส-ตามระเบียบ ลั่น! หากล้มประมูล ‘เสียโอกาส’
26 พฤษภาคม 2564
รมว.คมนาคม ไม่ล้มประมูลโครงการรถไฟทางคู่ เผยตรวจสอบแล้วโปร่งใส
ข่าวเศรษฐกิจ
เผยแพร่: 26 พฤษภาคม 2564 เวลา 19:34น.



นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า การประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. จำนวน 3 สัญญา วงเงินก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. จำนวน 2 สัญญา วงเงินรวม 55,458 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ดำเนินการตามขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-bidding ของกรมบัญชีกลาง ซึ่งใช้กับทุกโครงการทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะโครงการของการรถไฟฯ เท่านั้น
“ศักดิ์สยาม”การันตีเคาะชิงรถไฟทางคู่โปร่งใส ลั่นใครทำได้ถูกกว่าควรยื่นประมูลแข่งขัน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เผยแพร่: 26 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:01 น.
ปรับปรุง: 26 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:01 น.

“ศักดิ์สยาม”การันตี ประมูลรถไฟทางคู่ 2 สายกว่า 1.28 แสนล้านบาท โปร่งใส่ ชี้เคาะราคาตามระเบียบกรมบัญชีกลางฮั้วให้ใครชนะไม่ได้ ยันไม่มีเหตุผลต้องยกเลิก จะยิ่งเสียโอกาส ระบุต้นทุนวัสดุราคาพุ่ง ลั่นหากใครทำได้ถูกกว่าน่าจะเข้ามาเสนอราคาแข่ง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า การประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. จำนวน 3 สัญญา วงเงินก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. จำนวน 2 สัญญา วงเงินรวม 55,458 ล้านบาท ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้ดำเนินการตามขั้นตอน การจัดซื้อจัดจ้าง ประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-bidding ของกรมบัญชีกลาง ซึ่งใช้กับทุกโครงการทั่วประเทศไม่ใช่เฉพาะโครงการของการรถไฟฯเท่านั้น

ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติ ผู้เข้าเสนอราคา ไว้ตามระเบียบ โดยกำหนดเรื่องการใช้วัสดุภายในประเทศ หรือ Local Content ซึ่งเป็นนโยบายรัฐบาลด้วย ซึ่งการเสนอราคา e-bidding ไม่สามารถกำหนดว่าจะให้ใครเสนอราคาเท่าไร หรือให้ใครเป็นผู้ชนะการประมูลได้ โดยมีการยื่นเสนอราคาตามขั้นตอน และเมื่อครบกำหนดเวลายื่นเสนอราคา ทางกรมบัญชีกลางจะรายงานผล ขณะที่การรถไฟฯ จะพิจารณาในเรื่องคุณสมบัติของผู้เสนอราคา และพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า เรื่องนี้จึงไม่มีประเด็นหรือการดำเนินการใดที่มีลักษณะไม่โปร่งใสหรือผิดระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการตั้งข้อสังเกตุมา ตนรับฟังและได้ตรวจสอบ ซึ่งยังไม่พบข้อผิดปกติหรือขัดต่อระเบียบใดๆ

สำหรับเรื่องที่มีการเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางประมาณ 20 ล้านบาทนั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า โครงการนี้ มีการศึกษามาตั้งแต่ปี 2555 หรือตั้งแต่เมื่อ 9 ปี มาแล้ว ขณะที่ปัจจุบันต้นทุนค่าก่อสร้าง ราคาวัสดุ ต่างๆ ปรับเพิ่มขึ้นไปมาก เช่นราคาเหล็กในปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นหลายเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จริงๆ ก็ยังเป็นกังวลว่าเมื่อก่อสร้าง ผู้รับจ้างจะสู้ต้นทุนไหวหรือไม่ แต่เมื่อมีการเสนอราคามาแล้วจะต้องดำเนินการให้ได้ ทำให้เสร็จตามเป้าหมาย

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข้อเสนอให้ยกเลิกการประมูลเป็นไปได้หรือไม่ นายศักดิ์สยามกล่าวว่า เรื่องนี้จะทำให้เป็นการเสียโอกาสมากกว่า ได้ประโยชน์ โครงการนี้มีราคากลาง มีการคำนวนตามหลักต้นทุน ที่เหมาะสม ตนอยากให้ผู้ที่ร้องเรียนหรือตั้งข้อสังเกตุ หากเป็นผู้ประกอบการ อยากให้เข้ามาเสนอราคา เพื่อจะได้เสนอราคาที่ต่ำกว่านี้ หากเห็นว่า ราคาที่ประมูลได้ยังแพงเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติมากกว่า

รายงานข่าวแขจ้งว่า รฟท.ได้เปิดให้ยื่นซองประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-bidding โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงินก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. ราคากลาง 26,599.16 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า ไอทีดี-เนาวรัตน์ (บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ) เสนอ ราคาต่ำสุด 26,568 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 งาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. ราคากลาง 26,913.78 ล้านบาท มี กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 2 (บมจ.ช.การช่าง, บมช.ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บริษัท เชียงใหม่คอนสตรัคชั่น จำกัด) เสนอราคาต่ำสุด 26,900 ล้านบาท

สัญญาที่ 3 เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. ราคากลาง 19,406.31 ล้านบาท มี กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 3 (บมจ.ช.การช่าง, บมช.ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บริษัท เชียงใหม่คอนสตรัคชั่น จำกัด) เสนอราคาต่ำสุด 19,390 ล้านบาท



โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. จำนวน 2 สัญญา วงเงินรวม 55,458 ล้านบาท โดยสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. ราคากลาง 27,123.62 ล้านบาท กลุ่มที่มี บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด เป็นแกนนำ เสนอราคาต่ำสุด 27,100 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. ราคากลาง 28,333.93 ล้านบาท มี กลุ่มที่มีบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำ เสนอต่ำสุด 28,310 ล้านบาท

เหล็กแพง-โปร่งใส!! ไม่ล้มประมูลรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงของ
*"ศักสยาม"ตอบชัดๆตรวจสอบแล้วยังไม่พบทุจริต
*กรรมการคัดเลือกประกาศผลเป็นทางการ9ก.ค.นี้
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2913087515579414


Last edited by Wisarut on 28/05/2021 12:07 am; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2021 5:38 pm    Post subject: Reply with quote

ไล่สอบพิรุธ‘ฮั้ว’ 5 สัญญา 1.28 แสนล้าน รถไฟทางคู่‘เหนือ-อีสาน’
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:15 น.
ตีพิมพ์ในข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,682
วันที่ 27 - 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ไล่สอบพิรุธ‘ฮั้ว’ 5 สัญญา 1.28 แสนล้าน รถไฟทางคู่‘เหนือ-อีสาน’
ผู้รับเหมา-นักการเมือง-สหภาพรถไฟดาหน้า จี้ “บิ๊กตู่-ศักดิ์สยาม” ตรวจสอบพิรุธฮั้วประมูล 2 ทางคู่ 5 สัญญาเหนือ-อีสาน 1.28 แสนล้าน ล่าสุดยื่นราคาสายอีสาน 2 สัญญา ยื่นสัญญาละ 4 รายห่างราคากลางเฉียดฉิว ซํ้ารอยสายเหนือ ด้านรฟท.ยัน การประมูลโปร่งใส

การประมูลรถไฟทางคู่สายใหม่ (เหนือ-อีสาน) จำนวน 2 เส้นทาง 5 สัญญามูลค่า 1.28 แสนล้านบาทของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กำลังถูกจับตามองจากหลายฝ่ายว่าอาจมี การสมยอมราคา หรือ ฮั้วประมูลโดยไม่ก่อให้เกิดการแข่งขัน เพราะนอกจากมีบริษัทผู้รับเหมารายใหญ่เพียง 5 รายสามารถนำผลงานขอยื่นประกวดราคาได้แล้ว ยังพบพิรุธผลประกวดราคาวิธี อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-bidding โครงการแรกทางคู่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตรมูลค่า 72,920 ล้านบาทเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ทั้ง 3 สัญญาผู้เสนอราคาตํ่าสุดราคาใกล้เคียงราคากลางแทบทั้งสิ้น

ขณะรถไฟทางคู่สายอีสาน รายงานข่าวจากการรฟท. แจ้งว่า ทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กม.วงเงิน 66,848 ล้านบาท เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2564 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ทั้งหมด 2 สัญญา ประกอบด้วย

สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 177.50 กม. วงเงิน 27,127 ล้านบาท ราคากลาง 27,123 ล้านบาท มีผู้ยื่นข้อเสนอ 4 ราย จากผู้ซื้อซอง16 ราย โดยเสนอราคาตํ่าสุด27,100 ล้านบาท


สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 177.2 กม. วงเงิน 28,335 ล้านบาท ราคากลาง 28,333 ล้านบาท มีผู้ยื่นข้อเสนอ 4 ราย จากผู้ซื้อซอง16 ราย ราคาตํ่าสุดอยู่ที่ 28,310 ล้านบาท

หลังจากนี้จะเปิดให้เอกชนยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคภายในวันที่ 27 พ.ค.นี้ ประกาศผลผู้ชนะการประมูลโครงการภายในวันที่ 15 ก.ค.2564 และลงนามสัญญาภายในวันที่ 6 ส.ค.2564 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี เปิดให้บริการในปี 2569 ด้านสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรฟท.(สร.รฟท.) ออกแถลงการระบุว่าจากการติดตามการประมูลโครงการดังกล่าวทั้ง 3 สัญญา พบว่ามีข้อสงสัยเรื่องความโปร่งใสและน่าสังเกตมากว่าแต่ละสัญญามีผู้ซื้อซองจำนวนมาก แต่ผู้ยื่นเสนอราคาแต่ละสัญญามีเพียง 2 รายเท่านั้นโดย

สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กม. ราคากลาง 26,599 ล้านบาท มีผู้สนใจซื้อซองประมูล จำนวน 17 ราย โดยผลเสนอราคาตํ่าสุด 26,568 ล้านบาท ตํ่ากว่าราคากลาง 31 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 132 กม. ราคากลาง 26,913 ล้านบาท มีผู้สนใจซื้อซองประมูล 18 รายแต่มีผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละสัญญาเพียง 2 รายเท่านั้น โดยเสนอราคาตํ่าสุด 26,900 ล้านบาท ตํ่ากว่าราคากลาง 13 ล้านบาท

สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 87 กม. ราคากลาง 19,406 ล้านบาท มีผู้สนใจซื้อซองประมูล 16 ราย แต่มีผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละสัญญาเพียง 2 รายเท่านั้น โดยเสนอราคาตํ่าสุด 19,390 ล้านบาท ตํ่ากว่าราคากลาง 16 ล้านบาท

หากวิเคราะห์การกำหนดเงื่อนไขในทีโออาร์ กรณีหลักเกณฑ์ผลงานของผู้ที่ประสงค์จะยื่นประกวดราคา ทำให้มีผู้เสนอราคาเพียงไม่กี่รายที่มีคุณสมบัติครบถ้วนในการยื่นประกวดราคาและจากผู้ที่สนใจซื้อซองประมูล 16-18 ราย โดยเอกสารการประกวดราคามีราคา ชุดละ 50,000 บาท ย่อมเป็นเรื่องปกติของผู้ซื้อซองประมูลเจตนาที่จะเข้าร่วมยื่นข้อเสนอราคาประมูลโครงการ แต่ในการเสนอราคากลับมีผู้เสนอราคาเพียง 2 ราย และมีการเสนอราคาที่ตํ่ากว่าราคากลางไม่มากนักจนน่าผิดสังเกตโดยมูลค่าตํ่ากว่าราคากลางแค่หลักไม่กี่สิบล้านบาท โดยปกติไม่น่าจะเป็นไปได้ เมื่อเปรียบเทียบการประมูลโครงการก่อสร้างฯสายอื่นๆ อีกทั้งเป็นการเสนอราคาเฉียดฉิวใกล้เคียงกับราคากลางมาก“การดำเนินการโครงการดังกล่าวที่ส่อไปในทางที่ไม่โปร่งใสมีการล็อคสเปค ฮั้วประมูลหรือไม่ หรือว่ามีไอ้โม่งขาใหญ่คอยทำหน้าที่ซอยสัญญาแบ่งเค้ก จัดสรรผลประโยชน์อยู่เบื้องหลัง หากมีการฮั้วประมูลกันจริงถือเป็นความเสียหายของประเทศชาติซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงการประมูลทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม ทั้งนี้สร.รฟท.ขอยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งการให้ชะลอโครงการฯ ไปก่อน และตรวจสอบความไม่โปร่งใสของโครงการนี้โดยเร่งด่วน ขณะก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่วัน นพ.ระวี มาศฉมาดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ ได้ออกมาแถลงถึงพิรุธประกวดราคา 2 ทางคู่ 5 สัญญาราคาใกล้เคียงราคากลางส่อฮั้ว-ล็อกสเปก และเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตรวจสอบ ด้านการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) มีหนังสือมายังหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ชี้แจ้งว่า ตามขั้นตอนของระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างทุกขบวนการอีกทั้งยังอยู่ภายใต้โครงการข้อตกลงคุณธรรมซึ่งเป็นความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโดยมีผู้สังเกตการณ์ที่กรมบัญชีกลางแต่ตั้งจำนวน3คนเข้าร่วมสังเกตการณ์ติดตามตรวจสอบทุกขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตงาน(TOR)กระบวนการประกวดราคากระบวน การก่อสร้างตลอดจนถึงการเบิกจ่ายเงินงวดงานจนโครงการแล้วเสร็จ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2021 12:27 am    Post subject: Reply with quote

ศักดิ์สยาม โต้ปมฮั้วประมูลทางคู่'เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ'ยันทำตามระเบียบโปร่งใส

27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:26 น.


27 พ.ค.2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มูลค่า 72,921 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว, สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย และสัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ เปิดประมูลโครงการด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ของกรมบัญชีกลาง โดยจากการกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ของโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ว่าโครงการดังกล่าว ได้กำหนดให้มีการใช้วัสดุภายในประเทศ (Local Content) ตามนโยบายของรัฐบาล และใช้การประกวดราคาด้วยวิธี e-Bidding ของกรมบัญชีกลาง

ทั้งนี้ซึ่งเป็นหลักการประกวดราคาทั่วไป ไม่เพียงแค่โครงการรถไฟทางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เท่านั้น แต่ยังมีใช้ในการประกวดราคากับโครงการอื่นๆ ของประเทศ เช่น การประมูลโครงการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.), กรมทางหลวง (ทล.) เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่สามารถกำหนดได้ว่า ใครจะเสนอราเท่าไหร่ และใครจะเป็นผู้ชนะการประกวดราคา

อย่างไรก็ตามเมื่อครบกำหนดเวลาการยื่นเสนอราคานั้น กรมบัญชีกลางจะรายงานผล ก่อนที่การรถไฟฯ จะพิจารณาผู้ที่ยื่นเสนอการประกวดราคาว่า มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ และการเสนอราคาเป็นอย่างไร จากนั้นถึงจะเรียกมาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การดำเนินการดังกล่าว ยังไม่มีอะไรที่แสดงถึงความไม่โปร่งใส หรือผิดไปจากระเบียบการดำเนินการที่กำหนดไว้

“โครงการดังกล่าว มีการศึกษาออกแบบไว้เมื่อตั้งแต่เมื่อปี 2555 ผมยังมีความเป็นห่วงผู้ที่ชนะการประกวดราคาเลย เพราะมีการศึกษาโครงการฯ มาตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปีนี้ คือ ปี 2564 ผ่านมาแล้วกว่า 9-10 ปี อาจจะทำให้มีราคาต้นทุนที่สูงขึ้น อาทิ เหล็ก ซึ่งผมยังห่วงว่า พอถึงเวลาแล้ว ผู้ประกอบการจะไหวไหม แต่เมื่อมายื่นเสนอราคาแล้ว ก็ต้องทำให้ได้ นอกจากนี้ เมื่อมีการตั้งข้อสังเกตมา เราก็รับฟัง โดยในขณะนี้ การตรวจสอบยังไม่มีอะไร ส่วนที่บอกว่า จะให้ล้มประมูล ผมมองว่า เสียโอกาสมาก จริงๆ แล้วมีราคากลางอยู่ ตอนนี้ ผมไม่รู้ว่าใครยื่นร้อง ถ้าท่านมีคุณสมบัติ ก็มายื่นเสนอราคาแข่งขัน ถ้าท่านมองว่า ราคาแพงไป ท่านก็เสนอราคาต่ำๆ มา ก็จะได้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติด้วย” นายศักดิ์สยาม กล่าว
รายงานข่าวจากการรถไฟฯ ระบุว่า โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) มูลค่า 72,921 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม มีผู้เอกสารฯ รวม 5 ราย คือ กลุ่มแรก มีผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย และกลุ่มที่สอง มีผู้ซื้อเอกสารฯ 2 ราย โดยมีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 17 ราย โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า กิจการร่วมค้า ITD-NWR ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หรือ ITD และบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) หรือ NWR เสนอราคาต่ำสุด 26,568 ล้านบาท จากราคากลาง 26,599 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 งาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม มีผู้เอกสารฯ รวม 4 ราย คือ กลุ่มแรก มีผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย และกลุ่มที่สอง มีผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย โดยมีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 18 ราย โดยกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) หรือ CK และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ STEC เสนอราคาต่ำสุดที่ 26,900 ล้านบาท จากราคากลาง 26,913 ล้านบาท

สัญญาที่ 3 เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม มีผู้เอกสารฯ รวม 4 ราย คือ กลุ่มแรก มีผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย และกลุ่มที่สอง มีผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย โดยมีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 16 ราย โดยกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE เสนอราคาต่ำสุดที่ 19,390 ล้านบาท จากราคากลาง 19,406 ล้านบาท
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2561 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เห็นขอบ EIA นั้น คาดว่า จะประกาศใช้ พ.ร.ฎ. เวนคืน ในช่วง มิ.ย. 2564 โดยคาดว่า จะประกาศผลการประกวดราคาวันที่ 8 ก.ค. 2564 และลงนามสัญญา 30 ก.ค. 2564 ก่อนเริ่มก่อสร้างใน ต.ค. 2564 แล้วเสร็จ ก.ย. 2570

Wisarut wrote:
‘ศักดิ์สยาม’ โต้ปมฮั้วประมูลทางคู่ ‘เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ’ มูลค่า 7.29 หมื่นล้าน ยันประมูล E-Bidding โปร่งใส-ตามระเบียบ ลั่น! หากล้มประมูล ‘เสียโอกาส’
26 พฤษภาคม 2564
รมว.คมนาคม ไม่ล้มประมูลโครงการรถไฟทางคู่ เผยตรวจสอบแล้วโปร่งใส
ข่าวเศรษฐกิจ
เผยแพร่: 26 พฤษภาคม 2564 เวลา 19:34น.


“ศักดิ์สยาม”การันตีเคาะชิงรถไฟทางคู่โปร่งใส ลั่นใครทำได้ถูกกว่าควรยื่นประมูลแข่งขัน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เผยแพร่: 26 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:01 น.
ปรับปรุง: 26 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:01 น.


เหล็กแพง-โปร่งใส!! ไม่ล้มประมูลรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงของ
*"ศักสยาม"ตอบชัดๆตรวจสอบแล้วยังไม่พบทุจริต
*กรรมการคัดเลือกประกาศผลเป็นทางการ9ก.ค.นี้
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2913087515579414
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2021 12:33 pm    Post subject: Reply with quote

เวนคืนผ่า 61ตำบล 4จ. 1.7หมื่นไร่ รถไฟ ทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ"
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:52 น.


เวนคืนผ่า 61ตำบล 4จ. 1.7หมื่นไร่ รถไฟ ทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ"
เริ่มแล้ว (28 พ.ค. 64) เวนคืน 61ตำบล 4จ. สร้างทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ”1.74หมื่นไร่


หลังจาก ราชกิจจานุเษกษา ประกาศ ใช้พระราชกฤษีกาเวนคืนที่ดิน เพื่อก่อสร้าง ทางรถไฟทางคู่ใหม่สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง323 กิโลเมตร มูลค่า 7.2หมื่นล้านบาท โดยมี ค่าชดเชยประมาณ 10,255ล้านบาท ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เคยประเมินไว้ ทั้งนี้การเวนคืนจะมีผลทันทีตั้งแต่วันที่28 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไปมีระยะเวลา4ปี แนวเส้นทางตัดผ่าน 61ตำบล 16อำเภอ 4จังหวัด ประกอบด้วย แพร่,ลำปาง,พะเยาและเชียงราย 1.74หมื่นไร่ กว่า7,000แปลง ขณะเดียวกัน การประมูลก่อสร้างเส้นทางได้ตัวผู้รับเหมาทั้ง3สัญญาซึ่งจะประกาศผลชนะประมูลอย่างเป็นทางการวันที่9กรกฎาคม ที่จะถึง เซ็นสัญญา วันที่2สิงหาคม นี้ ใช้เวลาก่อสร้าง6ปี เปิดใช้เส้นทาง ปี2571

การขยับโครงการรถไฟทางคู่เส้นนี้สร้างความยินดีปรีดาให้กับ ประชาชน นักธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ในพื้นที่เป็นอย่างมาก เพราะกว่า60ปีที่ดิน ที่อยู่ใน แนวเวนคืนถูกล็อก ไม่สามารถทำอะไรได้หากย้อนวันวาน ช่วงเริ่มต้น เดิมโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชุมทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีระยะทาง 326 กิโลเมตร รัฐบาลในสมัยนั้นได้ศึกษาเส้นทางมาตั้งแต่ปี 2503 ลงพื้นที่สำรวจปี 2512 โดยกำหนดให้ใช้เส้นทางเด่นชัย - แพร่ - สอง - เชียงม่วน - ดอกคำใต้ - พะเยา - ป่าแดด - เชียงราย ระยะทางรวม 273 กิโลเมตรต่อมาปี 2537-2538รฟท. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการทบทวนผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่าเส้นทางชุมทางเด่นชัย - แพร่ - สอง - งาว (ลำปาง) - พะเยา -เชียงราย ย่นระยะทางเหลือประมาณ 246 กิโลเมตร ทำให้ในปี 2539-2541 ใช้งบประมาณราว 2.2 ล้านบาท ทาง รฟท.จึงได้ว่าจ้างเอกชนให้สำรวจออกแบบและศึกษาผลกระทบ จนมีพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินในปี 2544 กระทั่งปี 2547 รัฐบาลในขณะนั้นได้ให้ศึกษาความเหมาะสมอีกโดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้เชื่อมกับจีนตอนใต้ กระทั่งปี 2551 ยังให้ศึกษาเพื่อให้เชื่อมชายแดน จังหวัดเชียงราย และระบบรางของจีนได้ จนถึงปี 2553-2554 จึงเริ่มศึกษารถไฟแบบทางคู่ เพื่อให้มีขนาดกว้างขึ้นเป็น 1.453 เมตร และกรณีเส้นทางใน เชียงราย ให้แยกเส้นทางไปยังท่าเรือแม่น้ำโขงเชียงแสนแห่งที่ 2 ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน และสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว ที่ อ.เชียงของ อีกด้วย ทั้งนี้ แนวเส้นทางล่าสุดที่ศึกษาจึงมีระยะทางรวมประมาณ 323.1 กิโลเมตร กำหนดให้มีทั้งหมด 26 สถานีผ่าน จ.แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย และมีการเจาะภูเขาเป็นอุโมงค์เพื่อเชื่อมเส้นทาง อ.เชียงของ
ปี 2561 คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ประกอบด้วย สถานี 26 สถานี ลานขนถ่ายสินค้า 4 แห่ง ลานกองเก็บตู้สินค้า 1 แห่ง ก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ 4 อุโมงค์ ก่อสร้างถนนยกข้ามทางรถไฟ 40 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ 102 แห่ง โครงการเริ่มเริ่มต้นจาก จ.แพร่, จ.ลำปาง, จ.พะเยา, จ.เชียงราย จนถึงเชียงของนอกจากรถไฟทางคู่ใหม่สายเหนือ เส้นนี้จะสนับสนุนการขนส่งสินค้า เชื่อมโยง สปป.ลาว-เมียนมา และจีนตอนใต้แล้ว อนาคตยังเป็นแลนด์มาร์คใหม่ทางราง ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติ เข้าใช้บริการสร้างรายได้ให้กับประเทศ หากก่อสร้างแล้วเสร็จ และเนื่องจากพะเยาและเชียงราย ภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงชัน บางช่วงมี เหวลึก และเป็นเขตอุทยานมีสัตว์ป่าอยู่อาศัยชุกชุม รฟท. จึงศึกษารูปแบบให้รถไฟวิ่งทะลุภูเขาลอดใต้ผืนป่าอุทยานด้วยการเจาะอุโมงค์ 4 แห่ง รวมระยะทาง 13.4 กิโลเมตร ซึ่งถือได้ว่า รถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็นเส้นทางที่มีอุโมงค์ยาวที่สุดในประเทศ ประกอบด้วย อุโมงค์อำเภอสอง แห่งที่ 1 และแห่งที่ 2 จังหวัดแพร่ ระยะทางรวม 7.5 กิโลเมตร สำหรับที่เป็นไฮไลต์ได้แก่ อุโมงค์มหาวิทยาลัยพะเยา และอุโมงค์ดอยหลวง เชียงราย ที่ว่ากันว่าวิวตลอดเส้นทางสวยงาม เนื่องจากพื้นที่โดยรอบเป็นเขาสูงป่าที่มีความเขียวชอุ่ม อลังการไม่ต่างจากสิบสองปันนา จีนตอนใต้


27พ.ค.64 เวบไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อำเภองาว จังหวัดลำปาง อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และอำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหลวง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อการสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/036/T_0043.PDF
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4104456202934627
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1200325763739234

ประกาศแล้วจ้า!! พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินทางคู่“เด่นชัย-เชียงของ”
*323 กม.ผ่าน4 จว.แพร่-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย
*เวนคืน10,332 ไร่7,657 แปลงใช้งบหมื่นกว่าล้าน
*ให้อำนาจรฟท.จัดกรรมสิทธิ์ให้เสร็จ”ภายใน4 ปี”
*โหมดก่อสร้าง2ส.ค.ลงนามเอกชนผู้ชนะได้นั่งปี71

คลอดแล้ว พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินสร้างรถไฟทางคู่ "เด่นชัย-เชียงของ"
คลอดแล้ว!! พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินสร้างรถไฟทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” 323 กม. ใช้พื้นที่ 4 จังหวัด แพร่-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย เวนคืนหมื่นไร่ กว่า 7 พันแปลง ให้ รฟท. มีอำนาจเวนคืนที่ดิน มีอายุ 4 ปี
ศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2564 เวลา 12.17 น.


รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า เมื่อวันที่ 27 พ.ค.64 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อำเภองาว จังหวัดลำปาง อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และอำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ พ.ศ. 2564



รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งต่อว่า พ.ร.ฎ.ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันถัดไปหลังจากมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้มีผลใช้บังคับได้ 4 ปี โดยมอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นเจ้าหน้าที่ในการเวนคืน และให้ รมว.คมนาคม รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ ทั้งนี้ให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.นี้ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.มีผลใช้บังคับ

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งด้วยว่า สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงินก่อสร้างประมาณ 7.29 หมื่นล้านบาท มีพื้นที่ในจังหวัดแพร่, ลำปาง, พะเยา และเชียงราย ที่จะถูกเวนคืนที่ดินรวม 7,657 แปลง ประมาณ 10,332 ไร่ แบ่งเป็น ที่ดินมีเอกสารสิทธิ 6,269 แปลง ที่ดิน สปก. 862 แปลง พื้นที่ป่า 6 แปลง และพื้นที่อื่นๆ 520 แปลง ทั้งนี้จะใช้งบประมาณในการเวนคืนที่ดินประมาณกว่า 1 หมื่นล้านบาท



รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งอีกว่า ขณะนี้คณะกรรมการคัดเลือกอยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติ ประเมินคุณสมบัติด้านเทคนิค และข้อเสนอด้านราคาของบริษัทผู้รับเหมาที่ยื่นเสนอราคาเข้ามา โดยจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน คาดว่าจะประกาศผลผู้ชนะการประมูลได้ในวันที่ 9 ก.ค.64 หากไม่มีการยื่นอุทธรณ์ใดๆ จะสามารถลงนามในสัญญาการดำเนินโครงการได้ประมาณวันที่ 2 ส.ค.64 อย่างไรก็ตาม การออกประกาศ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินฯ ครั้งนี้ จะทำให้ รฟท.สามารถดำเนินโครงการได้ทันที ถือเป็นการเริ่มต้นโครงการ (คิกออฟ) ไม่ต้องกังวลเรื่องการเวนคืนที่ดิน โดยโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 6 ปี คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ในปี 71.

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2914471865440979
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2021 10:10 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.แจงประมูลทางคู่"เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ"ถูกต้องตามระเบียบ
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
เสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2564 เวลา 12:51 น.

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชี้แจงการประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่ ใหม่สายเหนือ "เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ" 7.2หมื่นล้าน ถูกต้องตามระเบียบทุกประการ

โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: เสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2564 เวลา 15:45 น.
ปรับปรุง: เสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2564 เวลา 15:45 น.


การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชี้แจงการประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่ ใหม่สายเหนือ "เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ" 7.2หมื่นล้าน ถูกต้องตามระเบียบทุกประการ

รฟท.ชี้แจงข้อเท็จจริงประมูลก่อสร้างรถไฟ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” ถูกต้องตามระเบียบทุกประการ ชี้กล่าวหาฮั้วเสนอราคาต้องมีหลักฐาน เผยผลประมูลรัฐได้ประโยชร์สูงสุดแล้ว หากประมูลใหม่ต้องเพิ่มราคากลางกว่า 2.6 พันล้าน เหตุราคาหล็กพุ่ง 40% ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 40% จะส่งผลให้ราคากลางใหม่สูงขึ้นเกินกว่ากรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติจาก ครม.

วันนี้ (29 พ.ค. 2564) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีที่สื่อมวลชนบางสื่อทำการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้อง ว่า รฟท.ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 61 ที่อนุมัติให้ รฟท.ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ในวงเงินรวม 85,345.00 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี

โดยดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยให้ รฟท.แบ่งสัญญาการก่อสร้างออกเป็น 3 สัญญา ประกอบด้วย

สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ค่าก่อสร้าง 26,704.00 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ค่าก่อสร้าง 28,735.00 ล้านบาท

สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ค่าก่อสร้าง 17,482.00 ล้านบาท

หมายเหตุ วงเงินรวม 3 สัญญา 72,921.00 ล้านบาท

ราคากลาง : เป็นราคาตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งปัจจุบันปี 2564 ราคาก่อสร้างได้พุ่งสูงขึ้นมาก

ในส่วนของการจัดทำราคากลาง รฟท.ได้คำนึงถึงประโยชน์ของภาครัฐและประเทศชาติเป็นสำคัญ โดยได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาจัดทำรายละเอียดราคาในปี 59 ซึ่งในปี 61 ครม.อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างเป็นวงเงินรวม 72,921.00 ล้านบาท และได้ปรับปรุงแบบให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันและจัดทำราคากลางโดยใช้ฐานราคาเดือน ต.ค. 63 ซึ่งฐานราคาดังกล่าวสูงกว่าฐานราคาในปี 59 เพียงเล็กน้อย

ทั้งนี้ หากพิจารณาราคาเหล็กในวันที่ยื่นเสนอราคาพบว่าราคาเหล็กเพิ่มสูงขึ้นจากเดือน ต.ค. 63 ประมาณ 40% ซึ่งจะทำให้ราคาค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น 950, 1,080 และ 670 ล้านบาท สำหรับสัญญาที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ แต่จากผลการเสนอราคาเบื้องต้น ผู้เสนอราคาต่ำสุดยังคงเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางในทุกสัญญา จากข้อเท็จจริงนี้ทางราชการไม่ได้เสียประโยชน์แต่อย่างใด ซึ่งราคากลางดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของภาครัฐ และดำเนินการตามระเบียบทุกขั้นตอน

ขั้นตอนการจัดทำ TOR : ถูกต้องตามกฎระเบียบ พร้อมมีบุคคลภายนอกเข้าร่วมสังเกตการณ์ ติดตาม และตรวจสอบ

รฟท.ได้จัดทำร่าง TOR ลงเผยแพร่ทางเว็บไซต์ เปิดโอกาสให้มีการรับฟังคำวิจารณ์ ปรับปรุง TOR จำนวน 5 ครั้ง เพื่อชี้แจงผู้วิจารณ์จนหมดข้อสงสัย พร้อมทำการเผยแพร่ผ่านช่องทางเว็บไซต์เพื่อให้เกิดความโปร่งใสเป็นธรรม ตรวจสอบได้ (ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560) นอกจากนี้ กระบวนการดังกล่าวยังอยู่ภายใต้โครงการข้อตกลงคุณธรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยมีผู้สังเกตการณ์ที่กรมบัญชีกลางแต่งตั้งจำนวน 3 คนเข้าร่วมสังเกตการณ์ติดตาม ตรวจสอบทุกขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตงาน (TOR) กระบวนการประกวดราคา กระบวนการก่อสร้าง ตลอดจนถึงการเบิกจ่ายเงินงวดงานจนโครงการแล้วเสร็จ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนของการประเมินคุณสมบัติ ข้อเสนอด้านเทคนิคของผู้ยื่นเสนอราคา และยังมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการต่างๆ อีกหลายขั้นตอน

รฟท.เผยแพร่ประกาศและเอกสารประกวดราคาตามระเบียบทุกประการ

รฟท.ได้ดำเนินการเผยแพร่ประกาศและเอกสารประกวดราคาลงเผยแพร่เมื่อวันที่ 19 มี.ค.-17 พ.ค. 64 รวมระยะเวลา 60 วัน ซึ่งผู้ที่มีความประสงค์จะเสนอราคาสามารถสอบถามรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ เพิ่มเติมได้ โดยมีผู้ส่งคำถาม ระหว่าง 19 มี.ค.-2 เม.ย. 64 จำนวน 322 คำถาม และ รฟท.ตอบชี้แจง
เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 64 ตามขั้นตอน โดยรวบรวมคำถามเข้าสู่คณะกรรมการร่าง TOR พิจารณาและนำขึ้นสู่ระบบ e-GP เพื่อชี้แจงและทำการเผยแพร่

หมายเหตุ : ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 48 และ 51/กำหนดเผยแพร่ไม่น้อยกว่า 20 วันทำการ

กระบวนการ e-Bidding : ขั้นตอนถูกต้อง ตามระเบียบทุกประการ

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ดำเนินการประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงินก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท อย่างโปร่งใส โดยยึดหลักการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยวิธีการประกวดราคาแบบ e-Bidding

ซึ่งตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ ได้พัฒนารูปแบบจากการประกวดราคาโดยวิธีการยื่นซองการประกวดราคาแบบ e-Auction จนกระทั่งเป็นการประกวดราคาแบบ e-Bidding ซึ่งถือว่าเป็นระเบียบข้อบังคับที่มีความโปร่งใสมากที่สุดในปัจจุบัน โดยการประกวดราคาโครงการรถไฟทางคู่ครั้งนี้ รฟท.ได้ถือปฏิบัติตามขั้นตอนการประกวดราคาแบบ e-Bidding และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อย่างเคร่งครัด

รฟท.เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามาแข่งขันได้ ด้วยการเข้าร่วมเป็นกิจการร่วมค้า

สำหรับเส้นทางสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีงานอุโมงค์อยู่ด้วยทุกสัญญา ซึ่งเป็นงานเฉพาะทางการกำหนดผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอจึงต้องปฏิบัติตามระเบียบของกรมบัญชีกลางที่ผู้เสนอราคาต้องเคยมีผลงานประเภทเดียวกันกับงานจ้างก่อสร้างนี้ แต่เพื่อเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการทั่วไปได้มีโอกาสเข้าร่วมเสนอราคาด้วย การรถไฟฯ จึงกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวสามารถเข้าร่วมงานกันได้ในลักษณะกิจการร่วมค้า ซึ่งการรถไฟฯ ได้ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งเวียนจากกรมบัญชีกลาง เลขที่ กค (กวจ.) 0405.2/ว.581 ลงวันที่ 7 ธ.ค. 63 เรื่อง การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้า โดยผู้ที่ยื่นข้อเสนอจะต้องซื้อเอกสารประกวดราคาทุกราย ซึ่งคุณสมบัติที่กำหนดนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการทั่วไปที่ไม่มีความเชี่ยวชาญงานเฉพาะทางสามารถเข้าร่วมงานประกวดราคาได้ด้วย ส่งผลให้การประกวดราคาดังกล่าวมีจำนวนผู้ซื้อเอกสารประกวดราคารวมมากถึง 18 ราย ประกอบด้วย

สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 2 ราย รวม 5 ราย

สัญญาที่ 2 งาว-เชียงราย ระยะทาง135 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย รวม 4 ราย

สัญญาที่ 3 เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย กลุ่มที่สองประกอบด้วยผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย รวม 4 ราย

การเข้าร่วมในกลุ่มกิจการร่วมค้า สมาชิกทุกรายต้องซื้อเอกสารเป็นการปฏิบัติตามคู่มือการเสนอราคาด้วยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (ตามระเบียบ e-Bidding) สำหรับผู้ค้ากับภาครัฐ กรณีกิจการร่วมค้า (Joint venture) ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่กับการพัฒนาธุรกิจการค้าและกิจการค้าร่วม (Consortium) และกำหนดเป็นเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา

การเปิดเผยราคากลางเป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 63

การเปิดเผยราคากลางเป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 63 ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลาง และการคํานวณราคากลางในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด ดังนั้น ผู้ยื่นข้อเสนอทุกรายทราบราคากลางตั้งแต่ขั้นตอนการเผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็น

ราคาวัสดุผันผวนปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการก่อสร้างสูงขึ้นด้วย

ตามระเบียบฯ ข้อ 166 (4) กำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอหรือผู้เสนอราคาส่งหลักประกันการเสนอราคา
ในวันเสนอราคา และให้หน่วยงานของรัฐกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอ หรือผู้เสนอราคาต้องส่งต้นฉบับเอกสารดังกล่าว มาให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบความถูกต้อง ตามวันและเวลาที่กำหนด ภายใน 5 วันทำการ หากผู้ชนะการประกวดราคาไม่เข้าทำสัญญากับ รฟท. จะถูกริบหลักประกันการเสนอราคา และอาจถูกพิจารณาเป็นผู้ทิ้งงานได้อีกด้วย

ราคากลางเป็นประโยชน์สูงสุดต่อภาครัฐและประเทศชาติ

ราคากลางที่ใช้ฐานราคา ตุลาคม 2563 มีรายละเอียดดังนี้

สัญญาที่ 1 ราคากลาง 26,599.16 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 ราคากลาง 26,913.78 ล้านบาท

สัญญาที่ 3 ราคากลาง 19,406.31 ล้านบาท

รวมเป็นเงิน 72,919.25 ล้านบาท ไม่เกินกรอบวงเงิน 72,921.00 ล้านบาท




หากใช้ฐานราคาเหล็ก ณ วันยื่นข้อเสนอเป็นราคากลางจะทำให้ราคากลางสูงขึ้น มีรายละเอียดดังนี้

สัญญาที่ 1 ราคากลาง 27,546.23 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 ราคากลาง 27,993.63 ล้านบาท

สัญญาที่ 3 ราคากลาง 20,072.65 ล้านบาท

รวมเป็นเงิน 75,612.51 ล้านบาท เกินกรอบวงเงิน 72,921.00 ล้านบาท

หลังจากวันที่ทำราคากลาง ราคาเหล็กในท้องตลาดปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การรถไฟฯ ไม่ได้ปรับราคากลางให้เป็นราคาปัจจุบันเพราะงานเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว หากปรับราคากลางใหม่
จะทำให้ราคาต้องสูงขึ้นและต้องเริ่มกระบวนการขออนุมัติปรับกรอบวงเงินใหม่ถึงจะเริ่มการจัดซื้อจัดจ้างตามแนวทางที่ รฟท.ได้ดำเนินการนี้ จึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์สูงสุดต่อภาครัฐและประเทศชาติ

หากพบหลักฐานการสมยอมการเสนอราคาแจ้งได้ที่ รฟท. และ รฟท.พร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่

ก่อนจะมีการกล่าวหาในเรื่องใดๆ ต้องมีพยานหลักฐานที่ชัดเจน ตามระเบียบของการรถไฟฯ สามารถตรวจสอบในประเด็นของการเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันได้ รวมถึงการสมยอมการเสนอราคาซึ่งหากมีหลักฐานที่ชัดเจนก็สามารถดำเนินการตามความผิดนั้นได้

การกล่าวอ้างว่ามีการฮั้วประมูลจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกียรติคุณและชื่อเสียงของการรถไฟแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องผู้สังเกตการณ์ที่กรมบัญชีกลางแต่งตั้ง บริษัทที่เข้าร่วมประมูล รวมถึงบริษัทที่เข้ามาซื้อซองทุกราย

ในกรณีที่มีหลักฐานการสมยอมการเสนอราคาที่ชัดเจน รฟท.ยินดีที่จะเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานในการให้ความร่วมมือแจ้งไปยังกรมบัญชีกลาง และจะประสานส่งเรื่องไปยังหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากมีการประมูลใหม่

หากประกวดราคาใหม่ต้องปรับราคากลางให้เป็นราคาปัจจุบัน ซึ่งตามข้อเท็จจริงราคาเหล็ก
ในท้องตลาดปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 40% จะส่งผลให้ราคากลางใหม่สูงขึ้นเกินกว่ากรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติจาก ครม. และต้องเริ่มกระบวนการขออนุมัติปรับกรอบวงเงินใหม่ จึงจะเริ่มการจัดซื้อจัดจ้างได้ ทำให้ภาครัฐและประเทศชาติได้รับความเสียหายจากการที่ต้องใช้งบประมาณมากขึ้น

ในส่วนภาพรวมของการพัฒนาประเทศ จะทำให้สูญเสียโอกาสในการพัฒนาทางด้านการคมนาคม การท่องเที่ยว เศรษฐกิจ การค้าชายแดน เส้นทางรถไฟสายใหม่ที่จะเชื่อมโยงการค้าระเบียงเศรษฐกิจ
แนวเหนือ-ใต้ ที่จะสามารถช่วยเพิ่มช่องทางการส่งออกสินค้าจากไทยไปลาว จีน เวียดนาม และเขตเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้ประเทศสูญเสียโอกาสในการแข่งขันและประโยชน์จากการเป็นประชาคมอาเซียนอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2021 10:25 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดTOR รถไฟทางคู่ใหม่"สายเหนือ”ล็อกสเปคหรือไม่
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
เสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:32 น.


การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ใหม่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของระยะทาง323กิโลเมตร(กม.) 3สัญญาวงเงิร72,321ล้านบาท ผลการประกวดราคาปรากฎผู้ชนะอย่างไม่เป็นทางการเสนอราคาต่ำสุด ห่างจากราคากลางแบบเฉียดฉิว ห่างกันหลักสิบล้านบาท หรือเฉลี่ย 0.08-0.09% สร้างความกังขา เป็นที่พูดถึงในวงกว้างว่า อาจจะมีการสมยอมหรือฮั้ว หรือไม่ โดยเฉพาะ การตั้งคำถาม ของนักการเมือง นักวิชาการ ผู้รับเหมา ตลอดจนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท) ว่าในที่สุดแล้วรฟท.เองอาจเสียประโยชน์เพราะการประมูลครั้งนี้ไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันในเชิงราคา

ทั้งนี้ดูตัวอย่างทีโออาร์สัญญาที่1ช่วงเด่นชัย-งาวระยะทางประมาณประมาณ 103 กิโลเมตร โดยเป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เป็นคันทางระดับดินและทาง รถไฟยกระดับ และงานก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ ระยะทางประมาณ7 กิโลเมตร พร้อมทั้งงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และโทรคมนาคมตลอดทั้งสายทาง ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) โดยมีข้อแนะนําและข้อกําหนด เอกสารแนบท้ายเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ต้องจัดทำแบบแบบรายละเอียดทั้ง การออกแบบทางรถไฟโค้งทางดิ่งแนวราบ ,แบบก่อสร้างงานโยธาทั่วไปขณะเดียวกัน ยังต้องแสดงแบบ รูปตัดของถนนในพ้ืนที่ชุมชน เนื่องจากบางจุดเป็นย่านชุมชน​หนาแน่น มีถนนที่เชื่อมเพื่อการเข้าออกชุมชนเป็นจำนวนมาก ปริมาณจราจรหนาแน่นอีกทั้งแบบการก่อสร้างสะพานรถไฟเนื่องจาก เส้นทางสายนี้ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงมีดินสไลด์ ทั้ง3สัญญา จึงมีทั้งโครงสร้างอุโมงค์ ลอดใต้ชั้นดินและโครงสร้างสะพานให้รถไฟวิ่งข้ามผ่านอุโมงค์ภูเขา ฯลฯหรือ
เงื่อนไขตาม ข้อ1.1 แบบรูปและรายการละเอียด เล่ม IV (แบบรูป) - แบบรูป ฉบับที่ 1 HORIZONTAL AND VERTICAL ALIGNMENT ,
แบบรูป ฉบับที่ 2 GENERAL CIVIL WORK, TYPICAL CROSS SECTION AND GEOTECHNICAL DATA ,
แบบรูป ฉบับที่ 3-1 RAILWAY BRIDGE (1/2): STRUCTURAL ARRANGEMENT ,
แบบรูป ฉบับที่3-2 RAILWAY BRIDGE (2/2): STRUCTURAL DETAILS UNDERPASSBOX AND DRAINAGE WORK
แบบรูป ฉบับที่ 4 TRACK WORK, SIGNALLING AND TELECOMMUNICATION WORK, TUNNEL WORK ,
แบบรูป ฉบับที่ 5-1 STATION AND FACILITIES BUILDING (ARCHITECTURAL) ,
แบบรูป ฉบับที่ 5-2STATION AND FACILITIES BUILDING (STRUCTURAL )WORK, BUILDING SERVICES SYSTEM) AND 'UTILITIES IN STATION AREA.,
แบบรูป ฉบับที่ 6HIGHWAYS ROADWAY-CROSSING OVERPASS, ACCESSROAD AND ROAD WORK IN STATION AREA

อีกข้อสำคัญแบบตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมการเสนอราคาในโครงการที่มีวงเงิน จัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป
1.9 แบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ความร่วมมือป้องกันและต่อต้านการทุจริตใน การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ(สําหรับส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การมหาชน/หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน)
1.10รายละเอียดการคํานวณราคากลางงานก่อสร้างตาม BOQ (Bit of Quantities)
1.11แผนการใช้พัสดุที่ผลิตภายในประเทศและแผนการใช้เหล็กที่ผลิตภายในประเทศ

นอกจากนี้ยังมีแบบฟอร์มหนังสือยืนยันตนเองว่าไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ (เฉพาะนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ) แบบฟอร์มหนังสือยืนยันตนเองว่า ไม่เป็นผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มครองซึ่งอาจ ปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทยฯ (เฉพาะนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ) แบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) แบบตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมการเสนอราคาในโครงการที่มี วงเงิน จัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป ที่สำคัญยังต้องจัดทำ แบบฟอร์มการจัดทําแผนการใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศไทย แบบฟอร์มการจัดทําแผนการใช้เหล็กที่ผลิตภายในประเทศ คําสั่งสํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ 66/2558ลว. 24 มีนาคม2558
ขณะข้อ1.13เล่ม IB (เงื่อนไขของสัญญา) -
ภาคผนวก A สําหรับเงื่อนไขของสัญญา- เงื่อนไขทั่วไปของสัญญา- เงื่อนไขเฉพาะของสัญญา -
เงื่อนไขพิเศษของสัญญา1.14เล่ม IIA (ข้อมูลด้านเทคนิค) - รายการการปฏิบัติตามข้อกําหนดรายการจําเพาะ- การตอบรับข้อมูลจําเพาะทางเทคนิค - ภาคผนวก C ถึง 0
รายละเอียดด้านเทคนิค1.15 เล่ม IIB (ข้อมูลด้านราคา) -
ภาคผนวก B รายการประมาณการค่าใช้จ่ายหมุนเวียนรายเดือน - บัญชีปริมาณงาน (Bit of Quantities : BOQ)

1.16 เล่ม III (ข้อกําหนดรายการจําเพาะด้านเทคนิค) ฉบับที่1/3 -
หมวด 1ข้อกําหนดทั่วไป-
หมวด 2 งานดิน-
หมวด 3 งานถนนสําหรับสะพานทางข้าม ทางลอด สะพานกลับรถ และถนนเชื่อม สถานี-
หมวด 4 งานโครงสร้าง ฉบับที่ 2/3-
หมวด 5 งานอาคาร- หมวด 6 งานท่อและการระบายน้ำ-
หมวด 7 งานสาธารณูปโภคฉบับที่ 3/3-
หมวด 8งานทางรถไฟ-
หมวด 9 งานอุโมงค์
หมวด 10 งานอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม มีคุณสมบัติ สำคัญคือมีความสามารถตามกฎหมาย ,ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย,ไม่อยู่ระหว่างเลิกกิจการ ,ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ระหว่างถูกระงับการยื่นข้อเสนอหรือทําสัญญากับหน่วยงานของรัฐไว้ ชั่วคราว เนื่องจากเป็นผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังกําหนดตามที่ประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง , ไม่เป็นบุคคลซึ่งถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานและได้แจ้งเวียนชื่อให้เป็นผู้ทิ้งงาน ของหน่วยงานของรัฐในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ซึ่งรวมถึงนิติบุคคลที่ผู้ทิ้งงานเป็นหุ้นส่วนผู้ จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ผู้มีอํานาจในการดําเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นด้วย อีกทั้ง มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกําหนดในราชกิจจานุเบกษา เป็นนิติบุคคลผู้มีอาชีพรับจ้างงานที่ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นที่เข้ายื่นข้อเสนอให้แก่ การรถไฟฯ ณ วันประกาศประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือไม่เป็นผู้กระทําการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ในการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้ ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทย เว้นแต่รัฐบาล ของผู้ยื่นข้อเสนอได้มีคําสั่งให้สละเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นว่านั้น ประเด็นสำคัญข้อ
2.10 มีเงื่อนไขระบุว่า ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกันกับงานที่ประกวดราคาจ้างก่อสร้างทางรถไฟ ในวงเงินไม่น้อยกว่า3,989ล้านบาทและผลงานก่อสร้างอุโมงค์ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า403ล้านบาท และเป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเชื่อถือข้อ
2.11ผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอราคารูปแบบกิจการร่วมค้าต้องเป็นกิจการที่มีข้อตกลงระหว่างผู้เข้าร่วมค้าเป็นลายลักษณ์อักษรว่าต้องดำเนินการร่วมกันเป็นทางการค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท,บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล,ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศโดยข้อตกลงนั้นอาจกำหนดให้มีผู้เข้าร่วมค้าหลักก็ได้
2.12กรณีนิติบุคลรายเดียวผู้ยื่นข้อเสนอต้องลงทะเบียนในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement : e - GP) ของกรมบัญชีกลาง
2.13 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
2.14 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องลงนามในข้อตกลงคุณธรรม กรณีโครงการที่ได้รับการคัดเลือกจาก คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (คณะกรรมการ ค.ป.ท.) ให้จัดทําข้อตกลงคุณธรรม
2.15ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 2.1 ถึง 2.15และมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังนี้

1.ผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นนิติบุคคลรายเดียว ต้องเป็นนิติบุคคลไทยที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 3,989ล้านบาทซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว และผลงานก่อสร้างอุโมงค์(ข) ที่มีมูลค่า ก่อสร้างในสัญญาเดียว ไม่น้อยกว่า 403ล้านบาทซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
2.ผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้า ต้องมีนิติบุคคลไทยที่จดทะเบียนตามกฎหมาย ไทยเป็นผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) โดยสมาชิกทุกรายที่รวมตัวกันเป็นกิจการร่วมค้านั้นต้องเป็นนิติบุคคล และ ต้องมีสัดส่วนนิติบุคคลไทยรายเดียวหรือมากกว่าหนึ่งรายรวมกันในการร่วมค้ามากกว่า50% โดยผู้เข้า ร่วมค้าหลัก (Lead Firm) จะต้องมีสัดส่วนการร่วมค้ามากที่สุดและสัดส่วนนี้จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา โครงการ ซึ่งในวันยื่นเอกสารประกวดราคา จะต้องยื่นเอกสารข้อตกลงสําหรับการร่วมกันเป็นกิจการร่วมค้าสําหรับ โครงการก่อสร้างงานสัญญาที่ 1ช่วงเด่นชัย-งาว ซึ่งต้องชี้ชัดถึงสัดส่วนของการร่วมค้าของแต่ละนิติบุคคลในกลุ่ม และต้องระบุข้อความไว้ด้วยว่า สมาชิกทุกรายของกิจการร่วมค้ายินยอมผูกพันตนในการที่จะรับผิดชอบร่วมกันและ แทนกันในหน้าที่ความรับผิดชอบและหนี้ทั้งปวงต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยในทุกกรณี (Shall be jointly and severally responsible for all cases) มิฉะนั้นแล้วการรถไฟแห่งประเทศไทยจะไม่รับพิจารณาข้อเสนอของผู้ยื่นข้อ เสนอรายนั้น

กิจการร่วมค้าต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 3,989ล้านบาท และผลงานก่อสร้างอุโมงค์(ข) ที่มีมูลค่า ก่อสร้างในสัญญาเดียว ไม่น้อยกว่า 403ล้านบาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ซึ่งผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) และสมาชิกผู้เข้าร่วมค้า ต้องมีผลงานดังนี้ ผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) ต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างใน สัญญาเดียวไม่น้อยกว่า3,989ล้านบาท และผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) หรือสมาชิกผู้ร่วมค้ารายใดรายหนึ่งต้องมีผลงานก่อสร้างอุโมงค์(ข) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 403ล้านบาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้เข้าร่วมค้ารายอื่นๆ ของกิจการร่วมค้าทุกรายต้องมีผลงานอย่างน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ก) ผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 900ล้านบาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ข) ผลงานก่อสร้างอุโมงค์(ข) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 403ล้านบาทซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วค) ผลงานก่อสร้างงานโยธา(ค) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 900ล้านบาทซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว กรณีผู้ร่วมค้ารายอื่นๆ ไม่มีผลงานตามข้อ ก), ข) หรือ ค) ข้างต้น ผู้ร่วมค้ารายนั้นต้องเป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างไว้กับกรมบัญชีกลางตามสาขางานก่อสร้างทาง หรือสาขางานก่อสร้าง สะพาน หรือสาขางานก่อสร้างทางและสะพานพิเศษโดย ผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) หมายถึง ผลงานก่อสร้างทางรถไฟหรือ ผลงานก่อ สร้างทางรถไฟฟ้า หรือ ผลงานก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง หรือ ผลงานงานปรับปรุงทางรถไฟ (Track Rehabilitation) หรือผลงานงานเสริมความมั่นคงโครงสร้างทาง (Track Strengthening) หรือผลงานก่อสร้างใน ลักษณะเดียวกัน โดยผลงานก่อสร้างทางรถไฟ ผลงานก่อสร้างทางรถไฟฟ้า และผลงานก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง ต้องมีงานติดตั้งระบบราง (Track Work) รวมอยู่ในสัญญา ซึ่งผลงานดังกล่าวข้างต้นสามารถเป็นรูปแบบเสมอระดับ (At Grade) หรือยกระดับ (Elevated) หรือใต้ดิน (Underground) ผลงานก่อสร้างอุโมงค์(ข) หมายถึง ผลงานการก่อสร้างอุโมงค์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในไม่น้อยกว่า 5.0 เมตร ก่อสร้างด้วยวิธีการเจาะระเบิด NATM (New Austrian Tunneling Method) หรือก่อสร้าง ด้วยวิธีการใช้เครื่องเจาะ TBM (Tunneling Boring Machine) หรือผลงานการก่อสร้างอุโมงค์ในลักษณะเดียวกัน ผลงานก่อสร้างงานโยธา(ค) หมายถึง ผลงานก่อสร้างถนน หรือผลงานก่อสร้างสะพานหรือผลงานก่อสร้างทางลอด หรือผลงานก่อสร้างทางยกระดับ หรือผลงานก่อสร้างโรงซ่อมบํารุงรถไฟหรือรถไฟฟ้าทั้งนี้ในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้าจะปฏิบัติตามแนวทางหนังสือคณะกรรมการ วินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ที่ กค (กวจ)0405.2/ว581ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2563

ขณะข้อ 2.16 การพิจารณาผลงานตามข้อ2.10และ2.15จะยึดถือหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) และผลงานก่อสร้างงานโยธา(ค) ที่นํามายื่นให้ใช้ผลงาน ภายในประเทศ ส่วนผลงานก่อสร้างอุโมงค์(ข) ที่นํามายื่นสามารถใช้ผลงานภายในประเทศหรือต่างประเทศ และต้อง เป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเชื่อถือ
2. ผลงานที่นํามายื่นต้องเป็นผลงานที่แล้วเสร็จตามเงื่อนไขสัญญาแล้ว โดยผลงานดังกล่าวต้องแล้วเสร็จเป็นเวลาไม่เกิน20 ปี นับถึงวันที่ยื่นข้อเสนอ โดยต้องมีสําเนาสัญญาจ้างและหนังสือรับรองผลงานที่ระบุมูลค่าของงานที่แล้วเสร็จ หากหนังสือรับรองผลงานไม่ได้ระบุมูลค่าผลงานที่แล้วเสร็จ ผู้ยื่นข้อ เสนอจะต้องแสดงเอกสารหลักฐานอื่นที่ระบุมูลค่าผลงานที่แล้วเสร็จมาด้วย
3. กรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอใช้ผลงานในลักษณะเป็นกิจการร่วมค้าหรือค้าร่วม (Joint Venture หรือ Consortium)ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องแสดงสัดส่วนความรับผิดชอบของผลงานในอดีต โดยต้องมีหนังสือ รับรองที่ระบุมูลค่าของงานซึ่งออกโดยผู้ว่าจ้าง และสําเนาข้อตกลงร่วมค้าที่แสดงสัดส่วนความรับผิดชอบของผู้ยื่นข้อ เสนอและสําเนาสัญญาจ้าง หากหนังสือรับรองผลงานไม่ได้ระบุมูลค่าผลงานที่แล้วเสร็จ ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องแสดง เอกสารหลักฐานอื่นที่ระบุมูลค่าผลงานที่แล้วเสร็จมาด้วย
4.หนังสือรับรองผลงานและเอกสารหลักฐานอื่นที่ระบุมูลค่าผลงานที่แล้วเสร็จตามข้อ 2.16 (1), (2), (3)ต้องออกโดยหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้มีอํานาจของหน่วยงานที่ว่าจ้าง และต้องระบุมูลค่าผลงานที่แล้วเสร็จและแสดงรายละเอียดของงานมาด้วย ซึ่งหากหนังสือรับรองหรือเอกสารหลักฐานอื่นที่ระบุมูลค่าผลงานที่ แล้วเสร็จไม่ได้แสดงรายละเอียดของงาน ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานอื่นที่ทําให้การรถไฟฯ เชื่อถือและ สามารถตรวจสอบรายละเอียดของงานที่สอดคล้องกับรายละเอียดคุณสมบัติผลงานตามที่กําหนดในข้อ 2.10และ2.15

นี่คือตัวอย่างทีโออาร์สัญญาที่1 เด่นชัย-งาว ระยะทาง103กิโลเมตรซึ่งอีก2สัญญาเงื่อนไขไม่ต่างกัน สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงระยะทาง323กิโลเมตรมูลค่า7.2หมื่นล้านบาท ที่มีเสียงสะท้อนกันมากว่า อาจเป็นตะแกรงร่อนให้ผู้รับเหมาเพียงไม่กี่รายหลุดรอดนำผลงานออกไปขอยื่นประกวดราคาได้ ท้ายที่สุดนี้อยากถามว่านี่อาจจะเป็นการล็อกสเปค หรือไม่?...ใครรู้ช่วยตอบที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2021 10:50 pm    Post subject: Reply with quote

ประมูลรถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน งานเข้า!เหตุเปลี่ยนทีโออาร์?
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
อาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564 เวลา 11:19 น.

ประมูลรถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน งานเข้า! เหตุเปลี่ยนทีโออาร์?
สยามรัฐออนไลน์
อาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564 เวลา 12:47 น.
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ เทียบชัด รถไฟทางคู่สายใต้ กับประมูลรถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน งานเข้า!เหตุเปลี่ยนทีโออาร์?

ผลการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสานช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าราคาประมูลใกล้เคียงกับราคากลางมาก ทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นไปได้อย่างไร?
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ในปี 2560 ซึ่งได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางมากกว่า จึงน่าคิดว่าอะไรทำให้เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง (ทีโออาร์) ต่างกัน ใช่หรือไม่?
ผมจึงได้เปรียบเทียบทีโออาร์ระหว่างสายใต้กับสายเหนือและสายอีสาน ได้ผลดังนี้
1. ค่าก่อสร้าง
1.1 สายใต้
สายใต้แบ่งสัญญาการก่อสร้างออกเป็นสัญญาย่อย มีค่าก่อสร้างต่อสัญญาอยู่ระหว่าง 6,071-8,390 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าค่าก่อสร้างต่อสัญญาของสายเหนือและสายอีสานมาก
1.2 สายเหนือและสายอีสาน
สายเหนือและสายอีสานไม่ได้แบ่งการก่อสร้างออกเป็นสัญญาย่อย ทำให้มีค่าก่อสร้างสูงกว่าสายใต้มาก กล่าวคือมีค่าก่อสร้างต่อสัญญาอยู่ระหว่าง 19,406-28,333 ล้านบาท
2. ผลงานก่อสร้างทางรถไฟของผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูล
2.1 สายใต้
ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลสายใต้ต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 10% ของค่าก่อสร้างโครงการที่จะประมูล คิดเป็นผลงาน 607-839 ล้านบาท (10% ของค่าก่อสร้าง 6,071-8,390 ล้านบาท)
นั่นหมายความว่าผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้จะต้องเคยมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 607-839 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าประมูลสัญญาไหน หากมีผลงานไม่ถึงก็ไม่สามารถเข้าประมูลได้
2.2 สายเหนือและสายอีสาน
ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลสายเหนือและสายอีสานต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟมากกว่าสายใต้ โดยกำหนดให้มีผลงานในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 15% ของค่าก่อสร้าง คิดเป็นผลงาน 2,910-4,250 ล้านบาท (15% ของค่าก่อสร้าง 19,406-28,333 ล้านบาท)
นั่นหมายความว่าผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสานจะต้องเคยมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 2,910-4,250 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าประมูลสัญญาไหน หากมีผลงานไม่ถึงก็ไม่สามารถเข้าประมูลได้
3. ระบบอาณัติสัญญาณ
3.1 สายใต้
สายใต้แยกประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากงานก่อสร้างทางรถไฟ เนื่องจากถูกทักท้วงว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมารายใดรายหนึ่ง กล่าวคือผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลจะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ผลิตระบบอาณัติสัญญาณว่ายินดีจะขายและติตตั้งระบบอาณัติสัญญาณให้ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตเลือกออกหนังสือรับรองให้ผู้รับเหมารายใดก็ได้ เช่น อาจจะออกหนังสือรับรองให้เฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เท่านั้น ทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ ถือเป็นการล็อกสเปกผู้รับเหมาอย่างแยบยล ด้วยเหตุนี้ ทีโออาร์สายใต้จึงแยกการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากงานก่อสร้างทางรถไฟเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว
3.2 สายเหนือและสายอีสาน
สายเหนือและสายอีสานรวมงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณเข้ากับงานก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งอาจทำให้ปิดโอกาสการเข้าประมูลของผู้รับเหมาขนาดกลางได้ เนื่องจากไม่ได้รับหนังสือรับรองจากผู้ผลิตระบบอาณัติสัญญาณ
4. ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าประมูลได้หรือไม่?
4.1 สายใต้
ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าประมูลได้ เนื่องจากทีโออาร์เปิดกว้างมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน
อนึ่ง เดิมการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ เนื่องจากทีโออาร์กำหนดผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไว้สูง โดยกำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 15% ของค่าก่อสร้าง อีกทั้ง มีการรวมงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณไว้ในงานก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งอาจทำให้สามารถล็อกสเปกให้ผู้รับเหมาขนาดใหญ่ได้
ผมจึงได้ทักท้วง เป็นผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ปรับเปลี่ยนทีโออาร์ โดยลดผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวจาก 15% เหลือ 10% ของค่าก่อสร้าง และแยกประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากการประมูลงานก่อสร้างทางรถไฟ เป็นการปลดล็อกให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าประมูลได้
4.2 สายเหนือและสายอีสาน
ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ หากต้องการเข้าร่วม จะต้องรวมกับผู้รับเหมาขนาดใหญ่เป็นกิจการร่วมค้า และจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามทีโออาร์ ซึ่งโดยทั่วไปหากไม่จำเป็นจริงๆ ผู้รับเหมาขนาดใหญ่มักปฏิเสธไม่ให้ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าร่วมด้วย เพราะผู้รับเหมาขนาดใหญ่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามทีโออาร์อยู่แล้ว จึงไม่ต้องอาศัยผู้รับเหมาขนาดกลาง
อีกทั้ง อาจไม่ต้องการแบ่งรายได้และผลงานให้ผู้รับเหมาขนาดกลาง เนื่องจากหากผู้รับเหมาขนาดกลางมีผลงานเพิ่มขึ้นก็จะกลายเป็นผู้รับเหมาขนาดใหญ่ในวันข้างหน้า ทำให้มีผู้รับเหมาขนาดใหญ่เข้ามาแข่งขันกันมากขึ้น โอกาสที่จะชนะการประมูลโครงการใดโครงการหนึ่งก็จะยากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้รับเหมาขนาดใหญ่ได้งานแล้วก็มักจะจ้างผู้รับเหมาขนาดกลางเป็น “ผู้รับเหมาช่วง” มาทำงานให้
5. สรุป
จะเห็นได้ว่า สายใต้มีค่าก่อสร้างต่อสัญญาต่ำกว่า อีกทั้ง ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่สามารถเข้าประมูลได้มีผลงานก่อสร้างทางรถไฟเป็นสัดส่วนของค่าก่อสร้างต่ำกว่าด้วย จึงทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าประมูลได้ด้วย ส่งผลให้การประมูลมีการแข่งขันกันมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน ซึ่งมีเฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถเข้าประมูลได้
ด้วยเหตุนี้ ผลการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้จึงได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน กล่าวคือสายใต้ได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลาง 5.66% ในขณะที่สายเหนือและสายอีสานได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางเท่ากัน คือเพียง 0.08% เท่านั้น
ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดี หาก ร.ฟ.ท. ใช้ทีโออาร์รูปแบบเดียวกับการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ในการประมูลสายอื่นก็จะสามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ได้เป็นจำนวนไม่น้อย
แต่ทำไมจึงไม่ใช้?

https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/2386801068131449
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2021 10:02 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟแห่งประเทศไทยชี้แจงข้อเท็จจริงการประมูลโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เปรียบเทียบกับสายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร
อังคารที่ 1 มิถุนายน 2564

ละเอียดยิบ รฟท.แจงปรับทีโออาร์ ประมูลทางคู่สายเหนือ-อีสาน
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
อังคารที่ 1 มิถุนายน 2564 เวลา 16:24 น.

รฟท.แจงประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสาน หลังปรับเปลี่ยนทีโออาร์รวบสัญญา หวั่นกระทบโครงการล่าช้า

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า กรณีที่มีกระแสข่าวการเปลี่ยนทีโออาร์ในการประมูลรถไฟทางคู่สายช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม นั้น รฟท.ได้แบ่งสัญญาการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็น 3 สัญญา และสายบ้านไผ่-นครพนม เป็น 2 สัญญา โดยแต่ละสัญญารวมงานระบบอาณัติสัญญาณฯ เนื่องจากประสบการณ์การดำเนินโครงการต่างๆในอดีต ทำให้เห็นว่าการแบ่งน้อยสัญญามีข้อดีมากกว่าการแบ่งเป็นสัญญาย่อยจำนวนมาก ตามรายละเอียด ดังนี้


ตามที่มีสื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2564 โดยมีหัวข้อและเนื้อหาเกี่ยวกับการที่
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า "ประมูลรถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน งานเข้า!เหตุเปลี่ยนทีโออาร์? นั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องในประเด็นต่างๆดังนี้

ประเด็นที่ 1
ดร. สามารถ ได้ระบุว่าผลการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสานช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม
-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าราคาประมูลใกล้เคียงกับราคากลางมาก ทำให้ถูก
ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นไปได้อย่างไร? เมื่อเปรียบเทียบกับผลการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ในปี 2560 ซึ่งได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางมากกว่า จึงน่าคิดว่าอะไรทำให้
เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง (ทีโออาร์) ต่างกัน ใช่หรือไม่?
ค่าก่อสร้างสายใต้
สายใต้แบ่งสัญญาการก่อสร้างออกเป็นสัญญาย่อย มีค่าก่อสร้างต่อสัญญาอยู่ระหว่าง 6,071-8,390 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าค่าก่อสร้างต่อสัญญาของสายเหนือและสายอีสานมาก
ค่าก่อสร้างสายเหนือและสายอีสาน
สายเหนือและสายอีสานไม่ได้แบ่งการก่อสร้างออกเป็นสัญญาย่อย ทำให้มีค่าก่อสร้างสูงกว่าสายใต้มาก กล่าวคือมีค่าก่อสร้างต่อสัญญาอยู่ระหว่าง 19,406-28,333 ล้านบาท
การรถไฟฯ ขอชี้แจงและให้ข้อมูลที่ถูกต้องดังนี้ :
การรถไฟฯ แบ่งสัญญาก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็น 3 สัญญา และสายบ้านไผ่-นครพนม เป็น 2 สัญญา โดยแต่ละสัญญารวมงานระบบอาณัติสัญญาณฯ เนื่องจากประสบการณ์
การดำเนินโครงการต่างๆในอดีต ทำให้เห็นว่าการแบ่งน้อยสัญญามีข้อดีมากกว่าการแบ่งเป็นสัญญาย่อยจำนวนมาก ตามรายละเอียดดังนี้
ด้านบริหารสัญญา​
การแบ่งสัญญาออกเป็นสัญญาย่อยหลายสัญญาทำให้การบริหารจัดการโครงการจะเกิดความทับซ้อน
ซึ่งมีผลเสียต่อการดำเนินการต่างๆ อาทิ
- ผู้รับจ้างจะต้องเสนอขออนุมัติทำงานในทุกขั้นตอนของการก่อสร้างและทุกสัญญา ซึ่งทำให้กระบวนการดำเนินงานทั้งหมดเกิดความซ้ำซ้อน
- การควบคุมงาน อาจมีการวินิจฉัยสัญญาแตกต่างกันในหัวข้อการพิจารณาเดียวกัน
- การบริหารวัสดุก่อสร้างในสัญญาที่กำหนดให้ใช้วัสดุที่ได้จากการขุดมาใช้เป็นวัสดุถม การแบ่งหลายสัญญาอาจทำให้ไม่มีงานขุดกับงานถมอยู่ในสัญญาเดียวกัน แต่ถ้าเป็นสัญญาขนาดใหญ่ซึ่งมีงานขุดและงานถมอยู่ในสัญญาเดียวกันก็สามารถนำวัสดุงานขุดไปใช้เป็นวัสดุงานถมได้ ทำให้ประหยัดงบประมาณค่าก่อสร้าง
- พื้นที่ทำงาน หากแยกสัญญาระบบอาณัติสัญญาณฯ ออกจากงานโยธาจะมีปัญหาเรื่องการได้ตัวผู้รับจ้างไม่พร้อมกัน ทำให้มีปัญหาในเรื่องการทำงานในพื้นที่เดียวกันดังที่ปรากฏในโครงการทางคู่ระยะที่ 1 สายใต้ (นครปฐม-ชุมพร) สายอีสาน (มาบกะเบา-จิระ) และสายเหนือ (ลพบุรี-ปากน้ำโพ) ขณะที่โครงการที่รวมงานโยธาและอาณัติสัญญาณฯ ไว้ในสัญญาเดียวกัน เช่น โครงการทางคู่ฉะเชิงเทรา-แก่งคอย โครงการ
ทางคู่ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ไม่มีปัญหาเรื่องพื้นที่ทำงานทับซ้อนแต่อย่างใด เพราะเป็นผู้รับเหมา
รายเดียวกัน
- การรอข้อมูลงานอาณัติสัญญาณฯ การรวมสัญญางานโยธากับระบบอาณัติสัญญาณฯ ผู้รับเหมา
จะประสานข้อมูลกันภายใน ไม่ต้องรอข้อมูล แต่หากแยกสัญญาผู้รับเหมางานโยธาต้องรอรับข้อมูล
การทำงานจากผู้รับเหมางานระบบอาณัติสัญญาณฯ เป็นต้น
ด้านงบประมาณ​
ในกรณีที่แบ่งเป็นสัญญาใหญ่สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าดำเนินการ เช่น ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ
ค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายสำนักงานสนาม ค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมบุคลากรควบคุมงาน ค่าใช้จ่ายเครื่องจักร ยานพาหนะ และค่าใช้จ่ายการจ้างที่ปรึกษา PMC เป็นต้น
ด้านเวลา
ในกรณีที่แบ่งเป็นสัญญาใหญ่และรวมสัญญาโยธากับระบบอาณัติสัญญาณฯ เข้าไว้ด้วยกันสามารถควบคุมบริหารจัดการให้โครงการแล้วเสร็จทันเวลา และเปิดเดินรถได้ตามแผนที่วางไว้ได้ดีกว่าการแบ่งเป็นสัญญาย่อย ๆ หรือแยกงานระบบอาณัติสัญญาณฯ ออกจากงานโยธา

ประเด็นที่ 2 ผลงานก่อสร้างทางรถไฟของผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูล
ดร.สามารถ ได้ระบุว่าสายใต้ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลสายใต้ต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 10% ของค่าก่อสร้างโครงการที่จะประมูล คิดเป็นผลงาน 607-839 ล้านบาท (10% ของค่าก่อสร้าง 6,071-8,390 ล้านบาท) นั่นหมายความว่าผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้จะต้องเคยมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 607-839 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าประมูลสัญญาไหน หากมีผลงานไม่ถึงก็ไม่สามารถเข้าประมูลได้
สายเหนือและสายอีสาน
ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลสายเหนือและสายอีสานต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟมากกว่าสายใต้ โดยกำหนดให้มีผลงานในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 15% ของค่าก่อสร้าง คิดเป็นผลงาน 2,910-4,250 ล้านบาท (15% ของค่าก่อสร้าง 19,406-28,333 ล้านบาท)นั่นหมายความว่าผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสานจะต้องเคยมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 2,910-4,250 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าประมูลสัญญาไหน หากมีผลงานไม่ถึง
ก็ไม่สามารถเข้าประมูลได้
การรถไฟฯ ขอชี้แจงและให้ข้อมูลที่ถูกต้องดังนี้ :
การกำหนดผลงานก่อสร้างเป็นไปตามระเบียบและหนังสือของคณะกรรมการวินิจฉัยฯ ของกรมบัญชีกลาง ที่ทุกหน่วยงานต้องปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยให้กำหนดผลงานก่อสร้างเป็นผลงานประเภทเดียวกับงานที่ประกวดราคาและมีมูลค่าไม่เกิน 50% ของมูลค่างานที่ประกวดราคา
การกำหนดผลงานก่อสร้างทางรถไฟเป็น 15% ของมูลค่างานจึงเป็นไปตามระเบียบที่กำหนดและ
การรถไฟฯ ได้คำนึงถึงจำนวนผู้ที่มีผลงานสามารถเข้าร่วมการแข่งขันที่เพียงพอแล้ว
ทั้งนี้ สำหรับสายเด่นชัย ผลงานก่อสร้างอุโมงค์กำหนดผลงานไว้ 5% ของค่าก่อสร้างงานอุโมงค์ เป็นผลงานทั้งในและต่างประเทศ เพราะการก่อสร้างงานอุโมงค์เป็นส่วนสำคัญของงานในแต่ละสัญญา โดยผลงานก่อสร้างอุโมงค์นี้กำหนดให้เป็นผลงานของสมาชิกกิจการร่วมค้าได้ เพื่อให้มีจำนวนผู้เข้าร่วมแข่งขัน
ที่เพียงพอ ส่วนสายบ้านไผ่-นครพนม แม้ไม่มีงานอุโมงค์ แต่ก็มีระยะเวลาการก่อสร้างเพียง 48 เดือน ที่ต้องวางแผนงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับการได้พื้นที่ก่อสร้างจากการเวนคืน
ทั้ง 2 โครงการ จึงต้องการผู้ประกอบการที่มีขีดความสามารถดำเนินงาน หรือบริหารความร่วมมือ
จากผู้ประกอบการอื่นๆที่มาร่วมมือกันทำงานตามความเชี่ยวชาญและความชำนาญได้อย่างสอดคล้อง
ลงตัวกัน จึงกำหนดผลงานการก่อสร้างไว้ที่ 15% ของมูลค่าสัญญา ซึ่งก็ประเมินแล้วว่ามีผู้ประกอบการ
ที่มีมากพอที่จะเกิดการแข่งขันกันเสนอราคา

ประเด็นที่ 3 ระบบอาณัติสัญญาณ
ดร. สามารถได้ระบุว่าสายใต้ สายใต้แยกประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากงานก่อสร้างทางรถไฟ เนื่องจากถูกทักท้วงว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมารายใดรายหนึ่ง กล่าวคือผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลจะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ผลิตระบบอาณัติสัญญาณว่ายินดีจะขายและติตตั้งระบบอาณัติสัญญาณให้ ซึ่งเป็นการ
เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตเลือกออกหนังสือรับรองให้ผู้รับเหมารายใดก็ได้ เช่น อาจจะออกหนังสือรับรอง
ให้เฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เท่านั้น ทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ ถือเป็นการ
ล็อกสเปกผู้รับเหมาอย่างแยบยล ด้วยเหตุนี้ ทีโออาร์สายใต้จึงแยกการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ
ออกจากงานก่อสร้างทางรถไฟเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว
สายเหนือและสายอีสาน
สายเหนือและสายอีสานรวมงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณเข้ากับงานก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งอาจทำให้
ปิดโอกาสการเข้าประมูลของผู้รับเหมาขนาดกลางได้ เนื่องจากไม่ได้รับหนังสือรับรองจากผู้ผลิตระบบอาณัติสัญญาณ
การรถไฟฯ ขอชี้แจงและให้ข้อมูลที่ถูกต้องดังนี้ :
การรวมสัญญางานโยธาและระบบอาณัติสัญญาณฯ ไม่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตเลือกออกหนังสือรับรองให้กับผู้รับเหมารายใดรายหนึ่งตามที่มีการตั้งข้อสังเกต เพราะผู้ผลิตที่มีคุณสมบัติตามที่การรถไฟฯ กำหนด มีอยู่หลายราย และเงื่อนไขการประกวดราคาก็ไม่ได้กำหนดให้ผู้ผลิตฯ ออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้รับเหมาเพียงรายเดียวแต่อย่างใด

ประเด็นที่ 4 ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าประมูลได้หรือไม่?
ดร. สามารถ ได้ระบุว่าสายใต้ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าประมูลได้ เนื่องจากทีโออาร์เปิดกว้างมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน
อนึ่ง เดิมการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ เนื่องจากทีโออาร์กำหนดผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไว้สูง โดยกำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 15% ของค่าก่อสร้าง
อีกทั้ง มีการรวมงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณไว้ในงานก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งอาจทำให้สามารถ
ล็อกสเปกให้ผู้รับเหมาขนาดใหญ่ได้
ผมจึงได้ทักท้วง เป็นผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ปรับเปลี่ยนทีโออาร์ โดยลดผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวจาก 15% เหลือ 10% ของค่าก่อสร้าง และแยกประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากการประมูลงานก่อสร้างทางรถไฟ เป็นการปลดล็อกให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถ
เข้าประมูลได้
สายเหนือและสายอีสาน
ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ หากต้องการเข้าร่วม จะต้องรวมกับผู้รับเหมาขนาดใหญ่
เป็นกิจการร่วมค้า และจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามทีโออาร์ ซึ่งโดยทั่วไปหากไม่จำเป็นจริงๆ ผู้รับเหมาขนาดใหญ่มักปฏิเสธไม่ให้ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าร่วมด้วย เพราะผู้รับเหมาขนาดใหญ่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามทีโออาร์อยู่แล้ว จึงไม่ต้องอาศัยผู้รับเหมาขนาดกลาง
อีกทั้ง อาจไม่ต้องการแบ่งรายได้และผลงานให้ผู้รับเหมาขนาดกลาง เนื่องจากหากผู้รับเหมาขนาดกลาง
มีผลงานเพิ่มขึ้นก็จะกลายเป็นผู้รับเหมาขนาดใหญ่ในวันข้างหน้า ทำให้มีผู้รับเหมาขนาดใหญ่เข้ามาแข่งขันกันมากขึ้น โอกาสที่จะชนะการประมูลโครงการใดโครงการหนึ่งก็จะยากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม
เมื่อผู้รับเหมาขนาดใหญ่ได้งานแล้วก็มักจะจ้างผู้รับเหมาขนาดกลางเป็น “ผู้รับเหมาช่วง” มาทำงานให้
การรถไฟฯ ขอชี้แจงและให้ข้อมูลที่ถูกต้องดังนี้ :
การกำหนดผลงานการก่อสร้างทางรถไฟเป็น 15% และรวมงานระบบอาณัติสัญญาณไว้ด้วยนั้น ไม่ได้เป็นการกีดกันการแข่งขันในการประกวดราคาแต่อย่างใด เพราะโครงการทางคู่ 2 สายแรก สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และชุมทางจิระ-ขอนแก่น ได้กำหนดมูลค่าผลงานก่อสร้างทางรถไฟไว้ 25% และรวมงานระบบอาณัติสัญญาณฯ ไว้ด้วย ซึ่งการประกวดราคาและการบริหารจัดการงานก่อสร้างโครงการ
ทั้งสองได้แล้วเสร็จครบถ้วนตามเป้าหมายทุกประการ
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้รับเหมาขนาดย่อมถึงขนาดกลางก็สามารถเข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้ได้ โดยเห็น
ได้จากเงื่อนไขการประกวดราคาที่การรถไฟฯ กำหนดในครั้งนี้ซึ่งเปิดกว้างให้ผู้รับเหมาขนาดย่อมถึง
ขนาดกลางที่มีผลงานตามที่กำหนดหรือขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการงานก่อสร้างไว้กับกรมบัญชีกลาง
ตามสาขางานก่อสร้างทางหรือสาขางานก่อสร้างสะพานสามารถเข้าร่วมประมูลในรูปแบบสมาชิก
กิจการร่วมค้าได้

ประเด็นที่ 5 สรุป
ดร. สามารถได้ระบุว่าจะเห็นได้ว่า สายใต้มีค่าก่อสร้างต่อสัญญาต่ำกว่า อีกทั้ง ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่สามารถเข้าประมูลได้มีผลงานก่อสร้างทางรถไฟเป็นสัดส่วนของค่าก่อสร้างต่ำกว่าด้วย จึงทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าประมูลได้ด้วย ส่งผลให้การประมูลมีการแข่งขันกันมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน ซึ่งมีเฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถเข้าประมูลได้ ด้วยเหตุนี้ ผลการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้จึงได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน กล่าวคือสายใต้ได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลาง 5.66% ในขณะที่สายเหนือและสายอีสานได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางเท่ากัน คือเพียง
0.08% เท่านั้น

ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดี หาก ร.ฟ.ท. ใช้ทีโออาร์รูปแบบเดียวกับการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ในการประมูลสายอื่นก็จะสามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินในการ Wink
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 45, 46, 47 ... 77, 78, 79  Next
Page 46 of 79

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©