RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272685
ทั้งหมด:13583981
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 51, 52, 53 ... 77, 78, 79  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/06/2022 8:13 am    Post subject: Reply with quote

เตรียมตอกเข็มสร้างทางคู่2สายใหม่
Source - เดลินิวส์
Thursday, June 02, 2022 04:19

'เด่นชัย-เชียงของ'มอบที่แปลงแรก บ้านไผ่-นครพนมเร่งเคลียร์เวนคืน

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 7.29 หมื่นล้านบาท ยังอยู่ในขั้นตอนเวนคืน ขณะนี้ได้เข้าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ปักหมุดศูนย์กลาง ปักหลักเขตเวนคืน (หลัก ขาวแดง) สำรวจแปลงที่ดินอาคารสิ่งปลูกสร้าง และพืชผลต้นไม้เสร็จเรียบร้อย คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 อยู่ระหว่างพิจารณากำหนดราคาเบื้องต้น คาดว่าจะเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 30 วัน หากเห็นชอบ รฟท.จะประกาศกำหนดราคาเวนคืนต่อไป

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคามร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินก่อสร้าง 6.68 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างเร่งสำรวจรายละเอียดอสังหา ริมทรัพย์ เพื่อเวนคืนและวางแผนการรังวัดที่ดิน คาดว่าทุกขั้นตอนของการเวนคืนจะแล้วเสร็จภายหลังจากช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ประมาณ 2 เดือน สำหรับค่าทดแทนการเวนคืนนั้น รฟท. วางแผน และของบประมาณไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยจะพยายามควบคุมให้อยู่ภายใน งบประมาณที่ได้รับและประชาชนได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด ซึ่งทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับโครงการฯ สายเด่นชัยเชียงราย-เชียงของ มีพื้นที่ใน จ.แพร่, ลำปาง, พะเยา และเชียงราย ที่จะถูกเวนคืน รวม 8,665 แปลง 12,076 ไร่ แบ่งเป็น ที่ดินมีเอกสารสิทธิ 7,704 แปลง ที่ดิน ส.ป.ก. 783 แปลง พื้นที่ป่า 13 แปลง อื่น ๆ 465 แปลง และสิ่งปลูกสร้าง 5,053 รายการ ใช้งบประมาณเวนคืนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ส่วนสายบ้านไผ่-มหาสารคามร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม มีพื้นที่ใน จ.ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และนครพนม ที่จะถูกเวนคืน รวม 9,012 แปลง 18,462 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 2,368 หลัง และไม้ยืนต้น 6,711 แปลง ใช้งบประมาณเวนคืนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ขณะนี้ รฟท. ได้ออกประกาศให้เริ่มงาน (NTP) โครงการฯ สายเด่นชัยเชียงราย-เชียงของแล้ว ผู้รับเหมาทั้ง 3 สัญญาได้เริ่มลงพื้นที่เพื่อเข้าสำรวจ และเตรียมการก่อสร้างแล้วโดยสัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. กลุ่มกิจการร่วมค้าไอทีดี-เนาวรัตน์ ได้ลงพื้นที่สำรวจบริเวณสถานีเด่นชัย, สัญญาที่ 2 ช่วงงาวเชียงราย ระยะทาง 135 กม. กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 2 ได้ลงพื้นที่สำรวจบริเวณสถานีพะเยา และสัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 3 ได้ลงพื้นที่สำรวจบริเวณสถานีเชียงราย

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า เบื้องต้นคาดว่า รฟท. จะส่งมอบพื้นที่แปลงแรก ซึ่งเป็นจุดสำคัญของแต่ละสัญญา ได้แก่บริเวณสถานีเด่นชัย, พะเยา และเชียงราย ได้ในเดือน ก.ย.-ต.ค. 65 เพื่อเริ่มการก่อสร้างต่อไป ส่วนสายบ้านไผ่-มหาสารคามร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่แปลงแรกได้ประมาณสิ้นปี 65 ส่วนที่เหลือจะทยอยดำเนินการเวนคืนคู่ขนานไปกับการก่อสร้างต่อไป สำหรับสายบ้านไผ่มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี เปิดบริการปี 69 ส่วนสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ใช้เวลาก่อสร้าง 6 ปี เปิดบริการปี 71.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 มิ.ย. 2565

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/565207625056476
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2022 9:59 pm    Post subject: Reply with quote


อิตาเลี่ยนไทยเริ่มเข้าพื้นที่สถานีเด่นชัยล่ะโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเชียงรายตรงน่าจะสร้างสนง.ชั่วคราว
https://www.youtube.com/watch?v=U7EvPIx4nv0
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1471337270031944&id=100014670545988


Last edited by Wisarut on 20/07/2022 8:38 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2022 5:23 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟทางคู่สายเหนือ ”เด่นชัย-เชียงของ”ดันราคาที่ดินพุ่งเปิดทำเลทองใหม่
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอาทิตย์ ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 7:33 น.



เชียงราย108
วันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 21:16 น.


ปี2571รถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-พะเยา-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง: 323 กิโลเมตร
จำนวนสถานี: 26 สถานี (4 สถานีขนาดใหญ่ 9 สถานีขนาดเล็ก และ 12 ป้ายหยุดรถไฟ)
- ความเร็วรองรับสูงสุด: 160 กม./ชม.
- จำนวนจังหวัด: 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย
- ลานกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า: 5 แห่ง
- อุโมงค์ 3 แห่ง ความยาวรวม 13.9 กิโลเมตร
- มูลค่าโครงการ: 72,920 ล้านบาท
➡️เปิดบริการปี 2571 ทิศทางการท่องเที่ยวของบ้านเราจะเป็นแบบไหน

https://www.facebook.com/chiangrai108/posts/513145337219716
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/07/2022 6:55 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟท.เคาะจ้างบ.ลูกบริหารทรัพย์สิน180ล./ปี
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, July 29, 2022 06:16

บอร์ด รฟท.เคาะค่าจ้างบริษัทลูกบริหารทรัพย์สินปีละ180ล. ไฟเขียวเซ็นที่ปรึกษาคุมสร้างทางคู่เด่นชัย-บ้านไผ่

ผู้จัดการรายวัน360 - บอร์ด รฟท. เคาะจัดจ้าง บริษัทลูก "เอสอาร์ที แอสเสท" แบบเฉพาะเจาะจงบริหารทรัพย์สินและสัญญาเช่า ตั้งกรอบค่าใช้จ่าย 4.5% หรือเฉลี่ย 180 ล้านบาท/ปี สั่งเร่งทำทีโออาร์และไทม์ไลน์การโอน พร้อมไฟเขียวจ้างที่ปรึกษาคุมก่อสร้างทางคู่ 2 สายใหม่วงเงินรวมกว่า 2.7 พันล้านบาท

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2565 ได้มีมติเห็นชอบ หลักการดำเนินการจ้าง บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ รฟท. บริหารสัญญาเช่าของ รฟท.โดยวิธีเฉพาะเจาะจง พร้อมทั้งเห็นชอบ กำหนดอัตราผลตอบแทนให้บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท ที่ 4.5% โดยประเมินจากกรอบ ค่าบริหารจัดการด้านการบริหารทรัพย์สินของ รฟท.ในปัจจุบัน ในขณะที่คาดการณ์ว่าการบริหารจัดการโดยบริษัทลูกฯ จะทำให้มีประสิทธิภาพและรายได้เพิ่มมากขึ้นจาก2,000 -3,000 ล้านบาท ต่อปี เป็น 5,000 ล้านบาทต่อปี ในช่วงแรก

หลังจากนี้ จะเป็นการดำเนินการตาม กระบว นการ ของ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ โดย จะต้องมีการเจรจาต่างๆ ทั้งเรื่องค่าจ้าง กระบวนการและระยะเวลาในการถ่ายโอนสัญญา ให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน และจัดทำรายละเอียดไว้ในเงื่อนไข ทีโออาร์คาดว่า จะสามารถนำเสนอบอร์ด รฟท.เห็นชอบการลงนามสัญญาจ้างได้ภายในช่วงเดือนต.ค.-ธ.ค. 2565 หรือ ในไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2566

"หลักการ รฟท.จะโอนสัญญาที่มีและทรัพย์สินที่จะนำมาพัฒนาหารายได้ทั้งหมดให้ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท บริหารจัดการแทน ซึ่งปัจจุบัน รฟท.มีสัญญาเช่าที่พร้อมโอนประมาณ 4,000 สัญญา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. สัญญาเช่าที่อยู่ภายใต้ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน 2.สัญญาที่อยู่ภายใต้ฝ่ายเดินรถ (สัญญาเช่าพื้นที่ย่านสถานี) ซึ่งมีจำนวนสัญญามากที่สุด เนื่องจากเป็นพื้นที่แปลงย่อย 3. พื้นที่เปลงใหญ่ ที่อยู่ในแผนที่จะมีการพัฒนาในอนาคต"
อย่างไรก็ตาม ประเมินมูลค่าทรัพย์สินและสัญญาเช่ากว่า 4,000 สัญญา ที่ รฟท.จะถ่ายโอนให้ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท มีมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท โดยคิดเป็นค่าจ้างที่บริษัท เอสอาร์ที แอสเสทจะได้รับประมาณ 180 ล้านบาทต่อปี

ลุยสร้างทางคู่ 2 สายใหม่ ไฟเขียวจ้างที่ปรึกษาคุมก่อสร้าง วงเงินรวมกว่า 2.7 พันล้านบาท

นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ด รฟท. ยังได้อนุมัติ สั่งจ้างบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 สาย ได้แก่ โครง การก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหารนครพนม โดยใช้วิธีคัดเลือกตามพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ฯ

โดยสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ตกลงว่าจ้างกิจการค้าร่วม (Consortium) ประกอบด้วย บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแต้นส์ จำกัด (Lead Firm) บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็ม เอ เอคอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ปจำกัด (มหาชน) บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแตนส์ จำกัดบริษัท พี แอนด์ ซี แมเนจเมนท์ จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็มจำกัด เป็นผู้รับจ้างควบคุมงานก่อสร้าง วงเงิน 1,603.6 ล้านบาท (ค่าจ้างรวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แล้ว) ระยะเวลาดำเนินการควบคุมงานก่อสร้าง 71 เดือน และงานช่วงประกันความชำรุดบกพร่อง 24 เดือน

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ตกลงว่าจ้างกิจการค้าร่วม (Consortium) ประกอบด้วยบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์จำกัด บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัทโชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท สแปน จำกัด บริษัทไวสุ โปรเจ็ค คอน ซัลติ้ง จำกัด บริษัท เอ็มเอซพีเอ็ม จำกัด เป็นผู้รับจ้างควบคุมงานก่อสร้าง วงเงิน 1,129.65 ล้านบาท (ค่าจ้างรวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แล้ว) ระยะเวลาดำเนินการควบคุมงานก่อสร้าง 47 เดือน และงานช่วงประกันความชำรุดบกพร่อง 24 เดือน

โดยวันที่ 29 ธ.ค. 2564 รฟท.ได้ลงนามสัญญกับผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของระยะทาง 323 กม. วงเงิน 72,920 ล้านบาท จำนวน 3 สัญญาและโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินรวม 55,458 ล้านบาท จำนวน 2 สัญญา โดยอยู่ระหว่างการเวนคืนที่ดิน และทยอย ส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างก่อสร้าง ซึ่งเมื่อเดือน ก.พ. 2565 ผู้รับจ้าง สายเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ ได้เริ่มเข้าพื้นที่แล้ว โดยใช้เวลาก่อสร้าง 6 ปี.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 29 ก.ค. 2565


พร้อมลุยสร้าง! ทางคู่สายเหนือและอีสาน บอร์ด รฟท.สั่งจ้างที่ปรึกษาคุมงานกว่า 2.7 พันล้านบาท
เผยแพร่: 30 ก.ค. 2565 08:25
ปรับปรุง: 30 ก.ค. 2565 08:25
โดย: ผู้จัดการออนไลน์


รฟท.พร้อมลุยก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือ “เด่นชัย-เชียงของ” และสายอีสาน “บ้านไผ่-นครพนม” บอร์ด รฟท.ไฟเขียวสั่งจ้างที่ปรึกษาคุมงาน 2 สาย วงเงินรวมกว่า 2.7 พันล้านบาท

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2565 ได้มีมติอนุมัติสั่งจ้างบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 สาย ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม โดยใช้วิธีคัดเลือกตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ

โดยสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ตกลงว่าจ้างกิจการค้าร่วม (Consortium) ประกอบด้วย บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด (Lead Firm) บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท พี แอนด์ ซี แมเนจเมนท์ จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด เป็นผู้รับจ้างควบคุมงานก่อสร้าง วงเงิน 1,603.6 ล้านบาท (ค่าจ้างรวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แล้ว) ระยะเวลาดำเนินการควบคุมงานก่อสร้าง 71 เดือน และงานช่วงประกันความชำรุดบกพร่อง 24 เดือน

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ตกลงว่าจ้างกิจการค้าร่วม (Consortium) ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท สแปน จำกัด บริษัท ไวสุ โปรเจ็ค คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัท เอ็มเอซพีเอ็ม จำกัด เป็นผู้รับจ้างควบคุมงานก่อสร้าง วงเงิน 1,129.65 ล้านบาท (ค่าจ้างรวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แล้ว) ระยะเวลาดำเนินการควบคุมงานก่อสร้าง 47 เดือน และงานช่วงประกันความชำรุดบกพร่อง 24 เดือน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2564 รฟท.ได้ลงนามสัญญกับผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 72,920 ล้านบาท จำนวน 3 สัญญา และโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินรวม 55,458 ล้านบาท จำนวน 2 สัญญา โดยอยู่ระหว่างการเวนคืนที่ดิน และทยอยส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างก่อสร้าง ซึ่งเมื่อเดือน ก.พ. 2565 ผู้รับจ้างสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ได้เริ่มเข้าพื้นที่แล้ว โดยใช้เวลาก่อสร้าง 6 ปี ส่วนสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม อยู่ในขั้นตอนเวนคืน เพื่อเตรียมเข้าพื้นที่ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2022 8:25 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางเด่นชัย-เชียงของ
...เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎคม 2565 การรถไฟแห่งประเทศไทย “ปฐมฤกษ์” ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางเด่นชัย – เชียงของ ระยะทาง 326 กม. เริ่มดำเนินการปรับพื้นที่ถมดินแห่งแรก เที่ยวแรก บริเวณบ้านทุ่งน้าว หมู่ 1 ตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่
โดยมีผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่นร่วมแสดงความยินดี และให้กำลังใจ ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ ของอำเภอสอง ของจังหวัดแพร่ ของประเทศไทย
https://www.chiangmainews.co.th/newsies/2232830/

รางคู่เด่นชัย-เชียงราย เริ่มแล้ว"ปฐมฤกษ์"
การรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางเด่นชัย - เชียงของ (เดินทาง)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎคม 2565
การรถไฟแห่งประเทศไทย "ปฐมฤกษ์" ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางเด่นชัย - เชียงของ ระยะทาง 326 กม.
เริ่มดำเนินการปรับพื้นที่ถมดินแห่งแรก เที่ยวแรก บริเวณบ้านทุ่งน้าว หมู่ 1 ตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่
.....โดยมีผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่นร่วมแสดงความยินดี และให้กำลังใจ ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ ของอำเภอสอง ของจังหวัดแพร่ ของประเทศไทย
https://www.facebook.com/phrae.tv/posts/8284723111545605
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2022 7:04 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:


พร้อมลุยสร้าง! ทางคู่สายเหนือและอีสาน บอร์ด รฟท.สั่งจ้างที่ปรึกษาคุมงานกว่า 2.7 พันล้านบาท
เผยแพร่: 30 ก.ค. 2565 08:25
ปรับปรุง: 30 ก.ค. 2565 08:25
โดย: ผู้จัดการออนไลน์



'เริ่มแล้ว !' รถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงของ บ้านไผ่-นครพนม
https://www.youtube.com/watch?v=Zw5INdK_5vQ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2022 9:37 pm    Post subject: Reply with quote

รีวิวอัปเดตโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของจุดเริ่มก่อสร้าง อ.สอง จ.แพร่
Aug 14, 2022
ท่องเที่ยว และรถไฟ


https://www.youtube.com/watch?v=HTTzHEXsbVk
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2022 11:05 am    Post subject: Reply with quote

ร้องเวนคืนค่าที่ดิน สร้างรถไฟทางคู่ ไม่เป็นธรรม จ.พะเยา
เช้าข่าว 7 สี
วันอังคาร ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2565


พะเยา ชาวบ้านร้อง รฟท.เวนคืนที่ดินไม่เป็นธรรม กรณีสร้างทางรถไฟเด่นชัย เชียงราย เชียงของ
ปัณณวิชญ์ อยู่ดี
วันอังคาร ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2565



พะเยา ชาวบ้านร้อง รฟท.เวนคืนที่ดินไม่เป็นธรรม กรณีสร้างทางรถไฟเด่นชัย เชียงราย เชียงของ

เช้าข่าว 7 สี - ชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดพะเยา ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ร้องศูนย์ดำรงธรรม ได้รับค่าเวนคืนไม่เป็นธรรมจากราคาในปัจจุบัน เพื่อไปจัดซื้อที่ดินและจัดสร้างที่อยู่ใหม่ จึงขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาทบทวนในเรื่องนี้

ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลจำปาหวาย และตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา กว่า 20 คน ได้รวมตัวยื่นหนังสือร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรม เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากการเวนคืนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างรถไฟทางคู่ เด่นชัย-พะเยา-เชียงของ ไม่สมกับราคาซื้อขายที่เป็นจริงในปัจจุบัน บางรายได้รับค่าชดเชยที่มีราคาต่ำ ทำให้ไม่เพียงพอที่จะจัดหาซื้อที่ดินและที่อยู่อาศัยใหม่ได้ จึงมองว่าการเวนคืนที่ดินของการรถไฟฯ ในครั้งนี้ ไม่โปร่งใส เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบ ไม่รู้เลยว่าจะได้รับค่าชดเชยเท่าไหร่ พอได้รับทราบราคาค่าเวนคืน ทำให้ไม่เพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจได้เหมือนเดิม อย่างเช่นตึกแถวหลังนี้ ตอนนี้มีมูลค่ากว่า 3.5 ล้านบาท ต่อห้อง แต่กลับได้รับค่าเวนคืนมาเพียงห้องละ 2 ล้านบาท จึงมองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม

ด้าน นายรุ่งโรจน์ มุงเมือง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพะเยา ได้ลงมารับหนังสือ และรับปากว่าจะนำเรียนกับผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อส่งต่อไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการช่วยเหลือชาวบ้าน เรื่องของการเวนคืนที่ดิน ให้ได้รับความเป็นธรรม และสมเหตุสมผล มากพอที่จะสามารถขยับขยายที่อยู่อาศัยใหม่ได้อย่างเพียงพอ

https://www.youtube.com/watch?v=pMTIQRTEM_k


เวนคืนหรือเวรกรรม!? ชาวพะเยาฮือร้อง รฟท.เวนคืนที่สร้างรถไฟเด่นชัย-เชียงของ ไม่เป็นธรรม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:03 น.
ปรับปรุง:วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:03 น.



พะเยา - ชาวบ้านเจ้าของที่ดิน-ตึกตามแนวสร้างทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของฮือร้องผ่านผู้ว่าฯ พะเยา โวย รฟท.กำหนดค่าทดแทนไม่เป็นธรรม ต่ำกว่าความเป็นจริง ที่ใกล้กันราคาต่างกันลิบ แถมเปิดเผยข้อมูลไม่ชัดเจน



วันนี้ (15 ส.ค. 65) นายกัณตพัฒน์ นิธิธกรจารุวัชร์ พร้อมชาวบ้านตำบลจำป่าหวาย อ.เมือง จ.พะเยา จำนวนกว่า 50 คน เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดพะเยา เพื่อยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา

เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ กรณีราคาค่าทดแทนที่ถูกเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในปัจจุบัน

นายกัณตพัฒน์ แกนนำชาวบ้าน เปิดเผยว่า ตามที่ รฟท.ได้ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 85,345 ล้านบาท ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด 16 อำเภอ 58 ตำบล รวมถึงพะเยาด้วย

ต่อมาบริษัทที่ปรึกษาได้เข้ามาสำรวจข้อมูลผู้ถูกเวนคืน และมีการกำหนดราคาค่ามัธยฐานเรียบร้อยแล้ว ขณะที่กรมที่ดินได้ทำการรังวัด-สำรวจที่ดินที่ถูกเวนคืน รวมทั้งได้มีการทำสัญญาไปบางส่วนแล้ว

แต่ปรากฏว่าค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้นไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน โดย รฟท.อ้างอิงราคาจากกรมธนารักษ์ หรืออ้างอิงราคาจากสำนักงานที่ดิน หรืออ้างอิงจากราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8 มากำหนดราคาประเมิน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงเป็นเหตุให้ผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดินได้รับความเดือดร้อนได้รับผลกระทบจากการถูกเวนคืนที่ดิน ไม่สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้

นอกจากนี้ การประเมินราคาพื้นที่ใกล้เคียงกันแต่ราคาประเมินที่ได้กลับแตกต่างกัน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลจากทางเจ้าหน้าที่ก็ไม่มีความชัดเจน จึงทำให้ชาวบ้านเกิดความกังวัลใจในการที่จะทำสัญญาต่างๆ

X

ดังนั้น ตนและชาวบ้านจึงได้พากันเดินทางมาร้องทุกข์เพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เพื่อช่วยประสานไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคมให้ทบทวนการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน ทบทวนการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนสิ่งปลูกสร้างชดเชย ทบทวนการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน ส.ป.ก.รวมทั้งค่าทดแทนอื่นๆ ของการก่อสร้างทางรถไฟสายดังกล่าวให้เป็นธรรมและเหมาะสม

นายนันทิพัฒน์ วันศิริ เจ้าของร้านป้ายที่ได้รับผลกระทบ กล่าวว่า ตนเป็นเจ้าของร้านป้ายและเป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์ทาง รฟท.คิดราคาไม่เป็นตารางวาเหมือนช่างทั่วไป แต่คิดเป็นตารางเมตรชึ่งในการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ จึงอยากให้ทาง รฟท.ได้รับรู้ว่าเงินที่ได้จากการเวนคืนไม่สามารถนำเอาไปสร้างใหม่ได้ เนื่องจากทาง รฟท.คิดราคาตึกหรืออาคารพาณิชย์ที่รวมกันทำให้ชาวบ้านและเจ้าของอาคารได้รับผลกระทบ อยากให้ทาง รฟท.ทบทวนในการจ่ายเวนคืนที่ดินของชาวบ้านในครั้งนี้ด้วย

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพะเยาได้เข้ารับเรื่องกับกลุ่มชาวบ้าน เพื่อนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาและประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
https://www.youtube.com/watch?v=5GR9VNTKMR8


ชาวบ้านร้อง รฟท.เวนคืนที่ดินไม่เป็นธรรม กรณีสร้างทางรถไฟเด่นชัย เชียงราย เชียงของ
ภูมิภาค
วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13.34 น.



วันที่ 15 ส.ค.2565 นายกัณตพัฒน์ นิธิธกรจารุวัชร์ แกนนำ พร้อมชาวบ้านในพื้นที่ตำบลจำป่าหวาย อ.เมือง พะยา จ.พะเยา จำนวกว่า 50 คน เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดพะเยา เพื่อยืนหนังสือขอความช่วยเหลือ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา หลังได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงราย – เชียงของ กรณีราคาค่าทดแสนที่ถูกเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งทางชาวบ้านมองว่าค่าเวนคืนไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในปัจจุบัน จึงได้รวมตัวกันเดินทางมาเพื่อร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าว

โดยนายกัณตพัฒน์ นิธิธกรจารุวัชร์ แกนนำชาวบ้าน เปิดเผยว่า ตามที่ รฟท.ได้ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงราย – เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 85,345 ล้านบาท โดยผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด 16 อำเภอ 58 ตำบล ซึ่งผ่านหลายจังหวัดดังกล่าว และผ่านในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยาด้วย ต่อมามีบริษัทที่ปรึกษาได้เข้ามาสำรวจข้อมูลผู้ถูกเวนคืน และมีการกำหนดราคาค่ามัธยฐานเรียบร้อยแล้ว และกรมที่ดินได้ทำการรังวัดและสำรวจที่ดินที่ถูกเวนคืนบางส่วนแล้ว และได้มีการทำสัญญาไปบางส่วน แต่ปรากฏว่าค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่ผู้ถือเวนคืนจะได้รับนั้นไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้กำหนดราคาประเมินที่ใช้ในการคำนวณเพื่อจ่ายเป็นค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกเวนคืนนั้นได้อ้างอิงราคาจากกรมธนารักษ์ หรืออ้างอิงราคาจากสำนักงานที่ดิน หรืออ้างอิงจากราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินในวันใช้บังคับพระราชกิจฎีกาตามมาตรา 8 ซึ่งเป็นราคาประเมินที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงเป็นเหตุให้ผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดิน เป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนได้รับผลกระทบจากการถูกเวนคืนที่ดิน ไม่สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งในการประเมินราคาในพื้นที่ใกล้เคียงกันแต่ราคาประเมินที่ได้ต่างกันแตกต่างกัน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลจากทางเจ้าหน้าที่ ก็ไม่มีความชัดเจนจึงทำให้ชาวบ้านเกิดความกังวัลใจในการที่จะทำสัญญาต่างๆ

ดังนั้นตนเองและชาวบ้านจึงได้พากันเดินทางมาร้องทุกข์เพื่อขอความช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เพื่อช่วยประสานไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อประสานต่อไปยังกระทรวงคมนาคมให้ทบทวนการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน ทบทวนการจ่ายค่าทดแทนการวันเวนคืนสิ่งปลูกสร้างชดเชย ทบทวนการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินสปก.รวมทั้งค่าทดแทนอื่นๆของการก่อสร้างทางรถไฟสายดังกล่าวให้เป็นธรรมและเหมาะสม ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพะเยาได้เข้ารับเรื่องกับทางกลุ่มชาวบ้าน หลังจากนั้นจะได้นำเรื่องเสนออย่างผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาและประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

นาย นันทิพัฒน์ วันศิริ เจ้าของร้านป้ายที่ได้รับผลกระทบกล่าวว่า ตนเองเป็นเจ้าของร้านป้ายและเป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์ทาง รฟท.คิดราคาไม่เป็นตารางวาเหมือนช่างทั่วไปแต่คิดเป็นตารางเมตรชึ่งในการก่อสร้างอาคารพาณิชย์จะสร้างคนเดียวไม่ได้ถ้าสร้างเดี่่ยวก็จะกลายเป็นตึกชึ่งจะไปผิดเงิ่อนใขของทางที่เวนคืนตนเองจึงอยากให้ทาง รฟท.ได้รับรู้ว่าเงินที่ได้จากการเวนคืนไม่สามารถนำเอาไปสร้างใหม่ได้เนื่องจากทาง รฟท.คิดวนราคาตึกหรืออาคารพานิชย์ที่รวมกันทำให้ชาวบ้านและเจ้าของอาคารได้รับผลกระทบอยากให้ทาง รฟท.มนทบทวนในการจ่ายเวนคืนที่ดินของชาวบ้านในครั้งนี้ด้วย

ร้องศูนย์ดำรงธรรม เวนคืนที่สร้างทางรถไฟกระทบชุมชน จ.พะเยา
ร้องทุก(ข์) ลงป้ายนี้
ออกอากาศ 16 ส.ค. 652
ป้าย 1 ร้องศูนย์ดำรงธรรม เวนคืนที่สร้างทางรถไฟกระทบชุมชน จ.พะเยา
ชาวบ้านในตำบลจำปาหวาย และตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยากว่า 20 คน ที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการเวนคืนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพะเยา โดยแจ้งว่าได้รับค่าเวนคืนไม่เพียงพอที่จะซื้อที่ดินและจัดสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ ขณะที่ศูนย์ดำรงธรรมเตรียมเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อประสานกับการรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินแก้ไขปัญหา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2022 7:13 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เปิดแนวเวนคืนล่าสุด!!!!
พุธที่ 2 มิถุนายน 2564 เวลา 20:43 น.

ช่องทางติดต่อสำหรับผู้ถูกเวนคืน Line Official @566umldn เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตำแหน่ง และค่าเวนคืน

เส้นทางโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
จุดประสงค์หลักของโครงการนี้ คือการขนส่งสินค้า จากไทยไปจีน ผ่านช่องทางหลัก 2 ช่องทาง คือ
- ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน
- สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ)
รายละเอียดเส้นทาง
- ระยะทางรวม 308 กิโลเมตร
- เป็นทางรถไฟขนาด 1 เมตร
- ใช้รางมาตรฐาน UIC 60 E1
- รองรับน้ำหนักกดเพลาสูงสุด 20 ตัน รองรับรถไฟใหญ่สุดของการรถไฟ (รถจักร CSR)
- รองรับความเร็วสูงสุด 160 กม/ชม
- ใช้อาณัติสัญญาณ ETCS Level 1 ตามมาตรฐานทางคู่ใหม่
ในโครงการมีอุโมงค์ทั้งหมด 4 แห่งคือ
- อุโมงค์ที่ 1 กม. 606+200-607+325 ระยะทาง 1.1 กิโลเมตร
- อุโมงค์ที่ 2 กม. 609+050-615+425 ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร
- อุโมงค์ที่ 3 กม. 663+400-666+200 ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร
- อุโมงค์ที่ 4 กม. 816+600-820+000 ระยะทาง 3.4 กิโลเมตร
ระยะทางรวมอุโมงค์ของโครงการ 13.4 กิโลเมตร
มีสถานี 3 รูปแบบ คือ
- สถานีขนาดใหญ่ จะเป็นสถานีระดับจังหวัด
- สถานีขนาดเล็ก
- ป้ายหยุดรถไฟ
โครงการใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี
—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด แพร่ ——
- โครงการเริ่มต้นจากสถานีรถไฟเด่นชัย เป็นสถานีชุมทางใหม่ แล้วแยกออกไปทางตะวันออก ปรับปรุงสถานีเป็นสถานีขนาดใหญ่
- สถานีสูงเม่น เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 547
- สถานีแพร่ เป็นสถานีขนาดใหญ่
- สถานีแม่คำมี เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 572
- ป้ายหยุดรถไฟหนองเสี้ยว กม. 584
- สถานีสอง เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 590
- มีอุโมงค์ 2 จุดต่อกัน ที่กม. 606+200-607+325 และ กม. 609+050-651+425
—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด ลำปาง ——
- ป้ายหยุดรถไฟแม่ตีบ กม. 617
- สถานีงาว เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 636
- ป้ายหยุดรถไฟปาเตา กม. 642
- มีอุโมงค์ ที่กม. 663+400-666+200
—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด พะเยา ——
- สถานีมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 670
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านโทกหวาก กม. 677
- สถานีพะเยา เป็นสถานีขนาดใหญ่ กม. 683
- ป้ายหยุดรถไฟดงเจน กม. 689
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านร้อง กม. 696
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านใหม่ กม. 709
—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด เชียงราย ——
- สถานีบ้านป่าแดด เป็นสถานีขนาดเล็ก กม.724
- ป้ายหยุดรถไฟป่าแงะ กม. 732
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านโป่งเกลือ กม. 743
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านสันป่าเหียง กม. 756
- สถานีเชียงราย เป็นสถานีขนาดใหญ่ กม. 771
- ป้ายหยุดรถไฟทุ่งก่อ กม. 785
- สถานีเวียงเชียงรุ้ง เป็นสถานีขนาดเล็ก กม.796
- สถานีชุมทางบ้านป่าซาง เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 806 และแยกไปสถานีเชียงแสน
- มีอุโมงค์ ที่กม. 816+600-820+000
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านเกี๋ยง กม. 829
- ป้ายหยุดรถไฟศรีดอนชัย กม. 839
- สถานีเชียงของ เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 853
————————
ในโครงการจะมีการตัดกับถนนเดิมของประชาชน ซึ่งจะทำเป็นระบบปิด ซึ่งจะมีการก่อสร้างทางข้ามทางรถไฟและถนนออกจากกัน โดยมี 5 แบบคือ
- สะพานทางรถไฟข้ามถนน 31 แห่ง
- สะพานถนนข้ามรถไฟแบบตรง 53 แห่ง
- สะพานรถไฟข้ามคลองชลประทาน 35 แห่ง
- ถนนทางลอดทางรถไฟ 63 แห่ง
————————
การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร ในปีที่เปิดให้บริการ 4,811 คน/ วัน
การคาดการณ์ปริมาณสินค้าในปีแรก แบ่งเป็น 2 กรณีคือ
1. ถ้าไม่รวมการส่งสินค้าจากจีน 313,669 ตัน/ปี
2. ถ้ารวมการส่งสินค้าจากจีน 1,603,669 ตัน/ปี
มูลค่าการลงทุนโครงการทั้งหมด 79,619 ล้านบาท
จากการประเมินมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (EIRR) 13.31%
การประเมินมีความคุ้มค่าทางการเงิน (FIRR) 1.02%
รูปแบบการลงทุนที่ทำการศึกษา มี 2 รูปแบบ คือ
- รัฐบาลลงทุน 100% มีความคุ้มค่าทางการเงิน (FIRR) 1.02%
- รัฐบาลลงทุนงานโยธา และระบบควบคุม
เอกชนลงทุนบำรุงรักษา และดำเนินงาน
การรถไฟ เก็บรายได้
รัฐบาลมีความคุ้มค่าทางการเงิน (FIRR) -1.82%
ซึ่งจากที่ดูตามนี้รัฐบาลควรเป็นผู้เดินรถเอง และให้การรถไฟเป็นผู้เดินรถ แต่อาจจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมเดินรถ


ลำดับที่ ชื่อสถานี ขนาดสถานี กม. ที่ตั้ง
1 เด่นชัย ใหญ่ 533+532 ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่
2 สูงเม่น เล็ก 547+750 ต.พระหลวง อ.สูงเม่น จ.แพร่
3 แพร่ ใหญ่ 560+500 ต.ทุ่งกวาว อ.เมืองแพร่ จ.แพร่
4 แม่คํามี เล็ก 572+250 ต.แม่คํามี อ.เมืองแพร่ จ.แพร่
5 หนองเสี้ยว ป้ายหยุดรถไฟ (Platform) 584+200 ต.หัวเมือง อ.สอง จ.แพร่
6 สอง เล็ก 590+900 ต.บ้านหนุน อ.สอง จ.แพร่
7 แม่ตีบ ป้ายหยุดรถไฟ (Platform) 617+925 ต.แม่ตีบ อ.งาว จ.ลําปาง
8 งาว เล็ก 636+975 ต.หลวงเหนือ อ.งาว จ.ลําปาง
9 ปงเตา ป้ายหยุดรถไฟ (Platform) 642+300 ต.ปงเตา อ.งาว จ.ลําปาง
10 มหาวิทยาลัยพะเยา เล็ก 670+700 ต.แม่กา อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
11 บ้านโทกหวาก ป้ายหยุดรถไฟ (Platform) 677+600 ต.แม่กา อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
12 พะเยา ใหญ่ 683+600 ต.ดอกคําใต้ อ.ดอกคําใต้ จ.พะเยา
13 ดงเจน ป้ายหยุดรถไฟ (Platform) 689+800 ต.ดงเจน อ.ภูกามยาว จ.พะเยา
14 บ้านร้อง ป้ายหยุดรถไฟ (Platform) 696+600 ต.ดงเจน อ.ภูกามยาว จ.พะเยา
15 บ้านใหม่ ป้ายหยุดรถไฟ (Platform) 709+900 ต.ห้วยลาน อ.ดอกคําใต้ จ.พะเยา
16 ป่าแดด เล็ก 724+500 ต.โรงช้าง อ.ป่าแดด จ.เชียงราย
17 ป่าแงะ ป้ายหยุดรถไฟ (Platform) 732+715 ต.ป่าแงะ อ.ป่าแดด จ.เชียงราย
18 บ้านโป่งเกลือ ป้ายหยุดรถไฟ (Platform) 743+025 ต.ดอยลาน อ.เมือง จ.เชียงราย
19 บ้านสันป่าเหียง ป้ายหยุดรถไฟ (Platform) 756+600 ต.ห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย
20 เชียงราย ใหญ่ 771+800 ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ.เชียงราย
21 ทุ่งก่อ ป้ายหยุดรถไฟ (Platform) 785+500 ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
22 เวียงเชียงรุ้ง เล็ก 796+425 ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
23 ชุมทางบ้านป่าซาง เล็ก 807+400 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
24 บ้านเกี๋ยง ป้ายหยุดรถไฟ (Platform) 829+300 ต.ห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย
25 ศรีดอนชัย ป้ายหยุดรถไฟ 839+300 ต.ศรีดอยชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย
26 เชียงของ เล็ก 852+750 ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย

- ช่วงที่ 1 บริเวณรอยต่ออําเภอสอง จังหวัดแพร่ กับอําเภองาว จังหวัดลําปาง มี
อุโมงค์ 2 แห่ง ได้แก่
* ประมาณ กม. 606+200 ถึง 607+350 ความยาว 1.125 กิโลเมตร มีจํานวนทางเชื่อม ระหว่างอุโมงค์ 4 แห่ง
* ประมาณ กม. 609+050 ถึง 615+275 ความยาว 6.375 กิโลเมตร มีจํานวนทางเชื่อม ระหว่างอุโมงค์ 24 แห่ง

- ช่วงที่ 2 บริเวณอําเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ประมาณ กม.663+400 ถึง 666+100 ความยาว 2.800 กิโลเมตร มีจํานวนทางเชื่อม ระหว่างอุโมงค์ 10 แห่ง
- ช่วงที่ 3 บริเวณอําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ประมาณ กม.816+575 ถึง 819+950 ความยาว 3.400 กิโลเมตร มีจํานวนทางเชื่อม
ระหว่างอุโมงค์ 13 แห่ง

1) การปรับแนวเส้นทางช่วงสถานีสูงเม่น ถึงสถานีแพร่
ได้ทําการการปรับปรุงแนวเส้นทางบริเวณบ้านม่วงเกษม-บ้านนาจักร อ.เมือง จ.แพร่ (กม. 548+000 ถึง กม.561+000) เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมมีการตัดผ่านหมู่บ้านซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการอพยพ โยกย้ายจํานวนมาก จึงทําการปรับแนวเส้นทางใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน

2) การปรับแนวเส้นทางช่างสถานีแพร่ถึงสถานีแม่คำมี มีการปรับปรุงแนวเส้นทางบริเวณช่วง ต.ทุ่งโฮ้ง-ต.แม่คํามี อ.เมือง จ.แพร่ (กม.561+000 ถึง 571+000) เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมผ่านพื้นที่เขตอุตสาหกรรมตามผังเมือง จ.แพร่ และตัดผ่านชุมชนบ้าน แม่หล่าย จึงมีการปรับแนวเส้นทางใหม่ไม่ให้ผ่านพื้นที่อุตสาหกรรมและชุมชน เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนและ ไม่ให้แนวเส้นทางกีดขวางการพัฒนาในพื้นที่เขตอุตสาหกรรม

3) การปรับแนวเส้นทางช่วงสถานีสองถึงสถานีแม่ตีบ ดําเนินการปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางบริเวณ ต.ทุ่งน้าว อ.สอง จ.แพร่ ‟ ต.แม่ตีบ อ.งาว จ.ลําปาง (กม.591+000 ถึง กม.617+000) โดยแนวเส้นทางเดิมจะผ่านพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ําชั้น 1 และโครงการ เขื่อนห้วยสักตอนล่าง จึงได้ทําการศึกษาและคัดเลือกแนวเส้นทางบริเวณนี้โดยการพิจารณาเปรียบเทียบ ความเหมาะสมของแนวเส้นทางเลือกของโครงการทั้งในด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านสิ่งแวดล้อม

4) การปรับแนวเส้นทางช่วงสถานีแม่ตีบถึงสถานีงาว ดําเนินการปรับปรุงแนวเส้นทางช่วง ต.หลวงใต้-ต.นาแก อ.งาว จ.ลําปาง (กม.617+000 ถึง กม. 637+000) เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมจะผ่านเขตชุมชนและสถานศึกษาในเขต อ.งาว จ. ลําปาง ซึ่งในบริเวณนี้ ได้มีการกําหนดเป็นเขตสถานีรถไฟงาว จึงมีการปรับแนวเส้นทางใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ปัจจุบัน

5) การปรับแนวเส้นทางบริเวณสถานีงาว ถึงสถานีปงเตาดําเนินการปรับปรุงแนวเส้นทางบริเวณ ต.ปงเตา-ต.บ้านร้อง อ.งาว จ.ลําปาง (กม.617+000 ถึง กม.642+000) เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมอยู่ใกล้กับชุมชนริมทางหลวงหมายเลข 1 ค่อนข้างมาก ซึ่งสภาพ พื้นที่ในปัจจุบันได้มีการขยายตัวของชุมชนมากขึ้น จึงมีการปรับแนวเส้นทางใหม่เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชน และปรับแนวให้เหมาะสมกับข้อกําหนดทางวิศวกรรมอีกด้วย

6) การปรับแนวเส้นทางบริเวณสถานีปงเตาถึงสถานีมหาวิทยาลัยพะเยา ดําเนินการปรับปรุงแนวเส้นทางช่วง ต.บ้านร้อง อ.งาว จ.ลําปาง - ต.แม่กา อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา (กม. 642+000 - กม. 671+000) เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมบริเวณนี้ผ่านจะพื้นที่เตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ําผา ไท ซึ่งได้มีการประกาศขึ้นมาใหม่ทางด้านทิศตะวันตกของทางหลวงหมายเลข 1 จึงได้มีการปรับแนวเส้นทางใหม่ไปทางทิศตะวันออกของถนนทางหลวงหมายเลข 1 เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่เตรียมประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติถ้ําผาไทรวมถึงปรับปรุงเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชน ต.แม่กา จ.พะเยา ซึ่งมีการเจริญเติบโตของชุมชนค่อนข้างมาก ทั้งนี้ ได้ทําการปรับแนวให้ห่างจากทางหลวงหมายเลข 1 เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนดังกล่าว

7) การปรับแนวเส้นทางช่วงสถานีบ้านใหม่ถึงสถานีป่าแดด
ดําเนินการปรับปรุงแนวเส้นทางบริเวณ ต.ป่าแดด-ต.โรงช้าง อ.ป่าแดด จ.เชียงราย (กม. 710+000 ถึง กม.725+000) เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมอยู่ใกล้กับชุมชนบ้านใหม่ใต้ บ้านศรีชุม และบ้านป่าแดด ค่อนข้างมาก จึงได้มีการปรับแนวเส้นทางใหม่เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชน

8) การปรับแนวเส้นทางบริเวณสถานีป่าแดดถึงบ้านโป่งเกลือ
ดําเนินการปรับปรุงแนวเส้นทางบริเวณ ต.ป่าแงะ อ.ป่าแดด-ต.เชียงเคี่ยน อ.เทิง จ.เชียงราย (กม. 725+000 ถึง 743+000) เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมในช่วงนี้อยู่ใกล้กับชุมชนบ้านถิ่นเจริญ บ้านใหม่สันชุม และบ้านป่าตึง ค่อนข้างมาก จึงได้มีการปรับแนวเส้นทางใหม่เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชน

9) การปรับแนวเส้นทางช่วงสถานีบ้านโป่งเกลือถึงสถานีสันป่าเหียง
ดําเนินการปรับปรุงแนวเส้นทางช่วง ต.ห้วยสัก อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย (กม.743+000 ถึง กม.751+000))เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมในช่วงนี้อยู่ใกล้กับชุมชนบ้านสันป่าเหียง บ้านห้วยสัก บ้านโป่งฮึ้งใต้ บ้านห้วยพญาเก้า และบ้านสันยาว จึงได้มีการปรับแนวเส้นทางใหม่เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชน

11) การปรับแนวเส้นทางช่วงสถานีทุ่งก่อ สถานีเวียงเชียงรุ้ง ถึงชุมทางสถานีบ้านป่าซาง
ดําเนินการปรับปรุงแนวเส้นทางช่วง ต.ทุ่งก่อ‟ ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย (กม. 786+000 ถึง กม.807+000) เนื่องจากแนวเส้นทางศึกษาความเหมาะสมเดิมบริเวณนี้ตัดผ่านพื้นที่สถานศึกษา สถานีอนามัย ศาสนสถาน รวมถึงชุมชนบ้านห้วยเคียนเหนือ และบ้านดงชัย จึงได้มีการปรับแนวเส้นทางเพื่อ ลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับพื้นที่อ่อนไหวเหล่านี้

12) การปรับแนวเส้นทางบริเวณสถานีชุมทางบ้านป่าซาง ถึงปลายทางเชียงของ
ดําเนินการปรับปรุงแนวเส้นทางบริเวณ ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง-ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย (กม.807+000 ถึง กม.857+000)) เนื่องจากแนวเส้นทางศึกษาความเหมาะสมเดิม บริเวณนี้จะผ่านพื้นที่ภูเขาสูงบริเวณชุมชนบ้านเวียงหมอก ต.ห้วยซ้อ อ.เชียงของ และบริเวณ ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ ประกอบกับจุดสิ้นสุด แนวเส้นทางที่ ต.เวียง อ.เชียงของ นั้น ได้มีโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 พร้อมด่านศุลกากรและศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า ซึ่งสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ได้กําหนดพื้นที่ สําหรับทางรถไฟไว้แล้ว จึงได้ทําการปรับปรุงแนวเส้นทางให้สอดคล้องกับตําแหน่งนี้และหลีกเลี่ยงการตัด ภูเขาสูงเพื่อทําทางรถไฟด้วย
http://eiadoc.onep.go.th/eialibrary/3transport/60/F60_8756.pdf
https://eia.onep.go.th/eia/detail?id=10098
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/09/2022 8:55 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดทเวนคืนรถไฟทางคู่2สายใหม่
Source - เดลินิวส์
Thursday, September 01, 2022 08:29

เด่นชัย-เชียงของจ่ายเงินแล้ว 'บ้านไผ่-นครพนม'เซตราคา

เริ่มแล้ว! ถมดินสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ “เด่นชัย-เชียงของ” 3 สัญญา 7.29 หมื่นล้าน รฟท. ลุยต่อเคลียร์เวนคืนหมื่นล้านจบปี 67 ขณะที่ “บ้านไผ่-นครพนม” กำลังกำหนดราคา คาดเริ่มส่งมอบพื้นที่สิ้นปีนี้

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) แจ้งว่า รฟท. เริ่มทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กับชาวบ้านที่ถูกเวนคืนในโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่สายเหนือช่วงเด่นชัย- เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 7.29 หมื่นล้านบาทแล้ว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 พันล้านบาท หรือประมาณ 70% ของเป้าหมายในปีงบประมาณ 65 ที่ต้องเวนคืนให้ได้มูลค่าประมาณ 1,620 ล้านบาท โดยจ่ายเงินค่าทดแทนให้ชาวบ้านบางส่วนแล้ว คาดว่าใน 2-3 สัปดาห์ หรือภายในเดือน ก.ย.65 รฟท. จะทำสัญญาฯ ได้ครบทั้งหมดตามแผน

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า เป็นเรื่องปกติที่งานเวนคืน จะมีชาวบ้านที่พอใจและไม่พอใจกับราคาเวนคืน ซึ่งในส่วนที่ไม่พอใจ รฟท. พยายามชี้แจงทำความเข้าใจมาโดยตลอด หากชาวบ้านยังรู้สึกไม่พอใจ สามารถเข้าสู่กระบวนการยื่นอุทธรณ์ได้ ทั้งนี้โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีพื้นที่ใน จ.แพร่, ลำปาง, พะเยา และเชียงรายที่จะถูกเวนคืน รวม 8,665 แปลง 12,076 ไร่ แบ่งเป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ 7,704 แปลง ที่ดิน ส.ป.ก. 783 แปลง พื้นที่ป่า 13 แปลง อื่น ๆ 465 แปลง และสิ่งปลูกสร้าง 5,053 รายการ ใช้งบประมาณเวนคืนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ในปีงบประมาณ 66 รฟท. มีแผนทำสัญญาฯ และจ่ายเงินค่าทดแทนให้ชาวบ้าน รวมมูลค่าประมาณ 5 พันล้านบาท ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 4 พันล้านบาท จะทำสัญญาและจ่ายเงินค่าทดแทนให้แล้วเสร็จในปี 67 ในส่วนของพื้นที่เวนคืนเรียบร้อยแล้ว รฟท. ได้ส่งมอบพื้นที่ให้กับผู้รับจ้างได้เริ่มงานก่อสร้างทันที เบื้องต้นสามารถส่งมอบพื้นที่สำคัญ โดยเฉพาะบริเวณสถานีให้ผู้รับจ้างได้ครบทั้ง 3 สัญญา ซึ่งผู้รับจ้างได้เข้าพื้นที่ และเริ่มงานถมดิน รวมถึงสร้างสำนักงานโครงการแล้ว ถือว่าเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สำหรับสัญญา ที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. มีกลุ่มกิจการร่วมค้า ไอทีดี-เนาวรัตน์ เป็นผู้รับจ้าง, สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. มีกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที- ดีซี 2 เป็นผู้รับจ้าง และสัญญาที่ 3 ช่วง ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. มีกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 3 เป็น ผู้รับจ้าง ทั้งนี้ในส่วนของพื้นที่การก่อสร้างที่เหลือ จะทยอยเวนคืนคู่ขนานไปกับการก่อสร้างต่อไป โดยเส้นทาง สายเด่นชัยเชียงราย-เชียงของ ใช้เวลาก่อสร้าง 6 ปี มีแผนเปิดให้บริการ ในปี 71

รายงานข่าวแจ้ง อีกว่า ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคามร้อยเอ็ด-มุกดาหารนครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินก่อสร้าง 6.68 หมื่นล้านบาท คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2562 อยู่ระหว่างพิจารณากำหนดราคาเบื้องต้น โดยเส้นทางนี้มีพื้นที่ใน จ.ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และนครพนม ที่จะถูกเวนคืน รวม 9,012 แปลง 18,462 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 2,368 หลัง และไม้ยืนต้น 6,711 แปลง ใช้งบประมาณเวนคืนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่แปลงแรกให้ผู้รับจ้างได้ประมาณสิ้นปี 65 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี มีแผนเปิดบริการปี 69.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 ก.ย. 2565 (กรอบบ่าย)

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/625046385739266
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 51, 52, 53 ... 77, 78, 79  Next
Page 52 of 79

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©