View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43814
Location: NECTEC
|
Posted: 23/03/2012 3:23 pm Post subject: ปูมบันทึกการก่อสร้างสถานีนครลำปางและโรงรถจักรลำปาง |
|
|
ปูมบันทึกการก่อสร้างสถานีนครลำปางและโรงรถจักรลำปาง
บทนำ: หลังจากที่ได้ไปเยือน โรงรถจักรลำปาง เมื่อ 30 มกราคม 2553 แล้ว กระผมได้รับรายการคุณขอมา ให้ ค้นเรื่องราวเกี่ยวกับ สถานีนครลำปางและโรงรถจักรลำปาง นัยว่าเพื่อนำไปประกอบ โครงการ Smart Station ของลำปาง ดังนั้น ผมจึง เริ่มลงมือสืบค้นข้อมูล จากที่มีในมือ ก่อน
อย่างไรก็ตาม กระผมต้องขอออกตัว ว่า เรื่องราวเกี่ยวกับ สถานีนครลำปางและโรงรถจักรลำปาง หาได้ยากเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูล หลังปี 2506 เพราะ รายงานปีหลังๆ ไม่มีบันทึกว่า โรงรถจักรลำปางได้ซ่อม รถโดยสารไปเท่าไหร่ ไม่เหมือน กรณี โรงรถจักร นครราชสีมา, โรงรถจักรทุ่งสง และ โรงรถจักรอุตรดิตถ์ที่มีเรื่องราวที่ รฟท. ได้เก็บลงในรายงานประจำปี
ดังนั้น ถ้าใครหาประกาศรถไฟ (เริ่มพิมพ์แต่ เดือนมกราคม 2489) แบบเดียวกับที่ ช. โกวิทย์ เก็บรักษาไว้ มาได้ กรุณา ให้กระผม ใช้กล้อง ตัวเก่งของผม ถ่ายสำเนา จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง เพราะ ผมมีเฉพาะ ฉบับที่ รฟท. ส่งให้ กระทรวงคมนาคม ซึ่งมีไม่มาก |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43814
Location: NECTEC
|
Posted: 23/03/2012 3:23 pm Post subject: |
|
|
ขบวนรถไฟสายเหนือมาถึงลำปางครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2459
[ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ]
การสร้าง สถานีนครลำปาง ถือ ได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง ทางช่วง เด่นชัย - ลำปาง (สมัยที่ยังเรียก เด่นชัย ว่า เด่นใจ) ซึ่งเรื่มการก่อสร้าง หลังจาก เปิดการเดินรถ จากแม่พวก ถึงปากปาน ระยะทาง ๕.๘ กิโลมิเตอร์ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๕ ซึ่งสำเร็จได้ โดยใช้เงินกู้สร้างทางรถไฟสายเหนือส่วนที่เหลือ จำนวน ๑,๓๑๕,๐๐๐ บาท (เฉพาะ ทางรถไฟช่วง แม่พวก ถึงปากปาน ระยะทาง ๕.๘ กิโลมิเตอร์ มูลค่า ๒๖๕,๐๐๐ บาท และ งบการสร้างทางรถไฟสายเหนือ ศก ๑๓๐ อีก ๑,๐๕๐,๐๐๐ บาท)
การ สร้างทางจาก แดนไชย (เด่นใจ) ถึงลำปาง ระยะทาง ๑๐๙ กิโลเมตร์ ได้ตั้งงบประมาณไว้ ๘ ล้านบาทสำหรับ ใช้เวลาก่อสร้าง ๓ ปี และ ทางจากลำปางถึงเชียงใหม่ ระยะทาง ๑๑๔ กิโลเมตร์ ตั้งงบประมาณไว้ ๙ ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง ๒ ปี โดยใช้รางมาตรฐานเหมือนกันหมด จะได้ไม่ต้องถ่ายรถให้เสียเวลา โดยแบ่งจ่ายไว้ดั่งนี้
ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) ตั้งงบไว้ ๒ ล้านบาท - เป็นการสร้างทางจาก แดนไชย ไปลำปาง ๑ ล้าน ๕ แสนบาท และ ลำปางถึงเชียงใหม่ ๕ แสนบาท
ร.ศ. ๑๓๒ (พ.ศ. ๒๔๕๖) ตั้งงบไว้ ๓ ล้านบาท ๕ แสนบาท เป็นการสร้างทางจาก แดนไชย ไปลำปาง ๒ ล้าน ๕ แสนบาท และ ลำปางถึงเชียงใหม่ ๑ ล้านบาท (เปิดการเดินรถจากปากปานถึงห้วยแม่ต้า เมื่อ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖)
ร.ศ. ๑๓๓ (พ.ศ. ๒๔๕๗) ตั้งงบไว้ ๕ ล้านบาท เป็นการสร้างทางจาก แดนไชย ไปลำปาง ๓ ล้าน ๕ แสนบาท และ ลำปางถึงเชียงใหม่ ๑ ล้านบาท ๕ แสนบาท (เปิดการเดินรถจาก ห้วยแม่ต้าถึงบ้านปิน เมื่อ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๗ - เติมน้ำและฟืนที่บ้านปิน)
ร.ศ. ๑๓๔ (พ.ศ. ๒๔๕๘) ตั้งงบไว้ ๓ ล้านบาท ๕ แสนบาท เป็นการสร้างทางจาก แดนไชย ไปลำปาง ๕ แสนบาท และ ลำปางถึงเชียงใหม่ ๓ ล้านบาท (เปิดการเดินรถจาก บ้านปินถึงผาคอ เมื่อ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ และ ผาคอ ถึง บ้านแม่จ่าง เมื่อ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘) - เริ่มสร้างอาคารสถานีนครลำปางและโรงรถจักร
ร.ศ. ๑๓๕ (พ.ศ. ๒๔๕๙) ตั้งงบไว้ ๒ ล้านบาท ๕ แสนบาท เป็นการสร้างทางจาก ลำปางถึงเชียงใหม่ เท่านั้น (เปิดการเดินรถจาก บ้านแม่จ่างถึงนครลำปาง เมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๙ และ นครลำปางถึงปางหัวพง เมื่อ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๙)
ร.ศ. ๑๓๖ (พ.ศ. ๒๔๖๐) ตั้งงบไว้ ๕ แสนบาท เป็นการสร้างทางจาก ลำปางถึงเชียงใหม่ เท่านั้น
เสนาบดีสภาอนุมัติ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๓๐
อาคารสถานีรถไฟนครลำปาง มุมมองจากถนนสุเรนทร์
[ที่มา : ร้านลำปางโฟโต้]
การสร้างทาง จากเด่นใจ ไป ลำปาง และเชียงใหม่ แบบรางกว้าง แม้จะแพงกว่าการสร้างทางรถไฟสายแคบ ถึง ๑ ล้านบาท แต่ การสร้างสร้างทางจากเด่นใจไปลำปางและ เชียงใหม่แบบรางแคบ ต้องเสียค่าซื้อรถใหม่ ๓ แสนบาท ค่าสร้างโรงงานพิเศษ ไม่ต่ำกว่า ๒ แสนบาท และ ค่าสร้างสถานีเด่นใจ ให้เป็นแบบเดียวกับที่บ้านภาชี อีก ๑ แสนบาท ค่าขนถ่ายอีก ตันละ ๒๕ สตางค์ และ ค่าเสียเวลา อีก ๒๔ ชั่วโมงในการเปลี่ยนรถ ที่ คิดเป็นตัวไม่ได้อีก ซึ่งทำให้ การเดินทางด้วยรถจากกรุงเทพ ไปเชียงใหม่ ไม่สามารถทำได้ใน ๒๔ ชั่วโมงอย่างที่กรมรถไฟ และ รัฐบาลสยามต้องการ
ต่อมา เมื่อ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๗ (ค.ศ 1915) ร. ๖ (พระปรมาภิไธย สยามินทร์) มีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ ว่า กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ขอให้ ตัดระยะทางรถไฟสายเหนือ ไว้เพียงลำปางเพราะ เกิดมหาสงครามทำให้ เงินกู้หายาก ต้องให้เงินกู้แก่การทดน้ำก่อน
๖ มีนาคม ๒๔๕๗ (ค.ศ 1915) เจ้ากรมไวเลอร์ ได้ ตัดทอนงบประมาณการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือ จากกเด่นใจ ถึงเชียงใหม่ ลงได้ ๖ ล้านบาทโดยการสร้างสะพานไม้ โดยใช้ไม้ที่หาได้ในป่าเมืองเหนือ มาทำสะพานแทนสะพานเหล็กที่แพง จนจับไม่ติด ภายหลัง
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ เสนาบดีกระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจง เสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรื่องการประหยัดงบประมาณ โดยใช้สะพานไม้ เพื่อให้ การสร้างทางไปเชียงใหม่ สำเร็จได้โดยจ่ายงบไม่เกิน ๑๗ ล้านบาท ซึ่ง เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ อนุมัติ
//-----------------------------------------------------------------------------------
วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๙ (วันปีใหม่ พ.ศ. ๒๔๕๙) สถานี นครลำปาง และ โรงรถจักรลำปาง เปิดใช้งาน โดยขยายการเดินรถ จาก จากสถานีบ้านแม่จ่าง ถึง สถานีนครลำปาง ระยะทาง ๔๑.๘ กิโลเม็ตร์ => สิ้นเงินในการสร้างทางรถไฟสาย เด่นใจ - นครลำปาง ระยะทาง ๑๐๘.๔๕๐ กิโลเม็ตร์ ไป ๔,๕๓๐,๕๔๙ บาท (กิโลเม็ตร์ ละ ๔๑๗๗๕ บาท) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยที่ทางโค้งแหลมที่สุด มีรัศมี ๑๘๐ เม็ตร์ ที่ซึ่งชันที่สุดมีกำหนด ๒๕ ในพัน และถมดินทำทางถาวร ๒,๒๙๘,๕๗๒ เมตร์ลูกบาศก์ สิ้นเงินไป ๑,๔๒๐,๒๘๐ บาท ซึ่งมีผลทำให้ มีรถเดินจากพิษณุโลกถึงลำปางทุกวัน
ส่วนการทำสะพานท่อ และ ช่องน้ำ ๔๐ รวมทั้งสิ้นยาว ๖๕๙ เม็ตร์ด้วยกอนกริต ๖๔๘๙ เมตร์ลูกบาต โดยใชศิลาถมแล้วโบกด้วยปูนซิเม็นต์ข้างบน
ส่วนการทำสะพานนั้น ตอนแรกกะจะทำแต่สะพานเหล็กไม่ทำสะพานไม้เลย แต่ สงครามในยุโรปทำให้สะพานเหล็กแพงมาก จนต้องมีการสร้างสะพานไม้ เพื่อ ให้สะดวกแก่การเดินรถ เช่นสะพานไม้ ที่ ตำบลต่อไปนี้
1. กม. ๔๙๘.๗ ยาว ๑๗.๕ เมตรซึ่งปัจจุบันคือ สะพาน Deck Plate ทื่ สบปาด ยาว 17.3 เมตร กม. 590+183.70
2. กม. ๕๑๘.๐ ยาว ๒๕ เม็ตร์ ซึ่งปัจจุบันคือ สะพาน Deck Plate ทื่ แม่เมาะ ยาว 20.00+24.00+20.00 เมตร กม. 609+794.75 และ
3. กม. ๕๓๔.๐ ยาว ๑๗.๕ เม็ตร์ ซึ่ง ซึ่งปัจจุบันคือ สะพาน Deck Plate ยาว 17.8 เมตร ทื่ กม. 625+714.80
มีการสร้างสะพานเหล็กที่สำคัญ คือ
1. สะพานเหล็ก ๓ ช่วง ข้ามแม่น้ำยม ยาว ๓ x ๕๘ เม็ตร์ ที่ กม. ๔๖๐.๖ ใช้เครื่องเหล็กหนัก ๓๔๙ ตันและ กอนกรีตก่อเสา และฐาน ๑๑๘๓ เม็ตร์ลูกบาตร์ ซึ่งปัจจุบันคือ สะพานข้ามห้วยแม่ต้า ที่ กม. 551+553.39
2. สะพานเหล็ก ๒ ช่วง ยาว ๒๔.๕ + ๑๒ เม็ตร์ ที่ กม. ๕๐๘.๓ ใช้เครื่องเหล็กหนัก ๓๗.๕ + ๙.๐ ตัน ซึ่งปัจจุบันคือสะพานเหล็ก ๓ ช่วง ยาว 30.00+24.50+12.00 เมตร ที่ กม. 599+848.50
มีการเจาะอุโมงค์ที่ ซอกเขาแม่ลัน ยาว ๑๓๐.๕ เม็ตร์ ใช้โบกกองกริตเฉพาะที่เห็นว่าไม่มั่นคง สิ้นเงินไป ๗๑๑๖๐ บาท คิดเม็ตร์ละ ๕๔๕ บาท ใช้หมอนแก่นไม้เต็งรัง ๑๕๕๓๗๕ ท่อน ราคมา ๑๕๐๗๓๑ บาท
มีการสร้างสถานี ๙ หลัง มีทางหลีกเพียง แห่งละทางเดียว ยอเว้นที่นครลำปาง มีหอจ่ายน้ำที่ บ้านปิน แม่จ่างและ นครลำปาง ที่สถานีนครลำปาง มีที่สำหรับกลับรถขนาด ๑๕ เม็ตร์ และ โรงรถจักร โรงหนึ่ง เก็บรถได้ ๓ ช่อง ถังน้ำ ขนาด ๑๗ เมตรลูกบาต ที่ลำปาง
๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ เปิดการเดินรถ จากนครลำปางไปยังปางหัวพง
REF:
1. รายงานกองบัญชาการครั้งที่ ๒๐ กล่าวด้วยการเดินรถไฟหลวงทางขนาดใหญ่ในกรุงสยามประจำปี พระพุทธศักราช ๒๔๕๙ (ปี คฤศต์ศักราช ๑๙๑๖ - ๑๙๑๗), โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง กรุงเทพฯ, สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐
2. รายงานกองบัญชาการครั้งที่ ๒๑ ของกรมรถไฟหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ (ปี คฤศต์ศักราช ๑๙๑๗ - ๑๙๑๘), โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง กรุงเทพฯ, สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๑
3. รายงานกองบัญชาการครั้งที่ ๒๒ ของกรมรถไฟหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๖๑ (ปี คฤศต์ศักราช ๑๙๑๘ - ๑๙๑๙), โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง กรุงเทพฯ, สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๒
4. คค.๕.๓/๑ ตรวจทางรถไฟสายเหนือ เพื่อจะสร้างต่อไปในมณฑลพายัพ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๒ ม.ค. พ.ศ. ๒๔๕๔
5. คค.๕.๓/๒ สร้างรถไฟ ตั้งแต่แม่พวก ไปถึง แดนไชย แต่แดนไชยถึงนครเชียงใหม่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๓
6. ก06-สมัยการกำเนิดเส้นทางรถไฟเหนือ
Last edited by Wisarut on 15/04/2022 12:04 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43814
Location: NECTEC
|
Posted: 23/03/2012 3:24 pm Post subject: |
|
|
๑๑ - ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ กรมขุนกำแพงเพชร์อัครโยธิน เสด็จตรวจทางรถไฟสายเหนือถึงปากถ้ำขุนตาล และ การซื้อที่สร้างทางในนครลำพูนและนครเชียงใหม่ และ การสร้างทางหลวง สายที่ ๑ (เด่นใจ - แพร่), ทางหลวง อุตรดิตถ์ - ลับแล - พระแท่น (ศิลาอาศน์), ทางหลวง เชียงใหม่ - ดอยสะเก็ด, แม่ออน แม่ริม, สะพานนวรัฐ ที่เชียงใหม่ และ สะพาน รัษฎาภิเษก ที่นครลำปาง, ถนนลำปาง - พะเยา
๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เสด็จขึ้นรถไฟจากกรุงเทพ ถึงพิษณุโลก เวลาเย็น
๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เสด็จขึ้นรถไฟจากพิษณุโลกถึงท่าเสา ก่อนถ่ายขึ้นรถโยกกับนาย ยี คาโนวา นายช่างก่อสร้างเอกทางเหนือ เพื่อตรวจสอบทางสายเหนือ ที่ดินถล่มบ่อยๆ ทางรักษายาก และ ตรวจพบว่า ผนังคอนกรีตถ้ำเขาพลึง ร้าว และ แนะ วิธีการระเบิดถ้ำเพื่อให้ รถจักรใหญ่ ขึ้นไปได้โดยสะดวก ถึงเด่นใจเวลาบ่าย
๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เสด็จตรวจพินิจงานการสร้างทางหลวง สายที่ ๑ (เด่นใจ - แพร่)
ทำให้ตกลงใจที่จะใช้รถบำรุงทางแบบ Patrol System ของฝร่งเศสมาใช้กับทางหลวง สายที่ ๑ (เด่นใจ - แพร่) และ ถนน สถานีนครลำปาง - ในเวียง
๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เสด็จจาก เด่นใจไปลำปางและได้พักที่นครลำปางชั่วโมงหนึ่ง สอนนายทหารโรงเรียนแม่นปืนขุดสนามเพลาะ และ ได้ทักท้วงข้อบกพร่องต่างๆ จากนั้น ได้เดินทางจาก นครลำปางไปยังปางยาง เพื่อพินิจงาน พบว่า วางรางเสร็จแล้ว เหลือแต่การก่อแท่นคองกรีตรับสะพานสูง Via Duct ที่สั่งจากประเทศฮอแลนด์ แต่ยังหาเรือส่งมากรุงสยามไม่ได้เนื่องจากภาวะสงครามที่ยุโรป
อนึง สะพานข้ามแม่น้ำวัง ที่ สบตุ๋ย กะจะสร้างเป็นสะพานคอนกรีต แทนสะพานไม้ที่วางบนเตาหม้อคองกรีต ซึ่ง ต้องรื้อเมื่อถึงระดูน้ำ และ ต้องถ่ายรถ แม้นว่าจะได้สะพานเหล็ก มาใช้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ที่ สบตุ๋ย ได้แล้ว สะพานไม้นี้จะรื้อไปใช้ ข้ามแม่กวงและแม่ทา แต่ที่ลำบากก็คือ สะพาน สูง Via Duct ต้องแก้โดยสร้าง Service Line และให้โยงลวดลากรถขึ้นทางลาดชันที่ปางยาง เช่นขึ้นเกริน
๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เสด็จตรวจพินิจงานถ้ำขุนตาลซึ่งเป็นหน้าที่ของรองอำมาตย์เอก หลวงสฤษดิการบรรจง เป็นที่น่าปลื้มใจเป็นอย่างยิ่งที่ ลดจำนวนคนงานลงแต่ดำเนินงานได้ดีกว่า ในถ้ำสะอาดกว่าที่เยอร์มันทำอยู่เป็นอันมาก หวังใจว่า จะเปิดการเดินรถ ราวเดือน เมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๑
๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงม้าตรวจมูลดินต่อจากขุนตาลไปนครลำพูน ขึ้นรถยนต์จากนครลำพูนไปเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางด้วยม้าและ รถยนต์ ๖ ชั่วโมง ไม่นับเวลาพัก ปีนี้รวบงานเข้ามากแต่ การสร้างถนนสาย นครลำพูน - เชียงใหม่ ยังบกพร่องมาก ต้องเปลี่ยนหินโรยทางและซ่อมแซมโดยด่วน มิฉะนั้นจะใช้การไม่ได้
๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรวจพินิจสะพานนวรัฐ โค้งไม้บิดตัวมาก เพราะ น้ำหนักขึ้นบนสะพานหนักเกินไป จนสะพานแกว่งไกว น่ากลัวจะเกิดอันตราย จึงได้สั่งให้ นาย คำเปียโซ ชาวอิตาเลียนจัดการซ่อมแซมสะพานนวรัฐโดยด่วน ซึ่งพบว่าการเสริมเตาหม้อไม้ จะช่วยให้สะพานหายไกว และ ได้ถอดโครงสะพานไม้ลง ถึงกระนั้นพระองค์เกรงว่าสะพานนวรัฐจะอยู่ไม่ได้นาน เพราะรถและเกวียนเดินบนสะพานนี้มาก แต่ก่อน ซ่อมปีละ ๕ พันบาท แต่ปี นี้เสียค่าซ่อมสะพาน ๒หมื่นบาท น่าที่จะสร้างเป็นสะพานคองกรีตเหมือนสะพานรัษฎาภิเษกเหมือนที่นครลำปาง เพื่อลดค่าบำรุงสะพาน
ส่วนสะพานข้ามแม่กวงที่ลำพูน นั้น แม้โค้งไม่ไม่บิดตัว แต่ มีไม้ผุ ต้องใช้ไม้หมาก ๒ ต้น ค้ำยันโค้งสะพาน สมควรที่จะรื้อออกแล้วสร้างเป็นสะพานคองกรีตจะดีมาก แต่ ติดปัญหาเรื่องฝ่ายปกครองที่ ต้องการคงสะพานไว้อยู่ เพราะ ระดูน้ำหลาก เกวียนข้ามแม่กวงไม่ได้ และ ได้แนะนำนายช่างบำรุงทางให้บำรุงทางแบบ Patrol เพื่อแก้ปัญหาถนน เชียงใหม่ - ลำพูนชำรุด
๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรวจพินิจงานถนน เชียงใหม่ - ดอยสุเทพ พบว่าแม้จะมีสินค้าน่อยแต่ถ้ารถไฟไปถึงเชียงใหม่ คนจะมานมัสการดอยสุเทพนับหมื่น สมควรรักษาถนนไว้ โดยใช้เกวียนขนหินมาถม การสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ ให้ฝ่ายบ้านเมืองบอกบุญ ก็ได้ ส่วนที่ตั้งสถานีเชียงใหม่ นั้น เป็นที่ของนายเอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ ซึ่งให้ภรรยาชาวมอญ จับจองไว้ ตอนแรกวิตกว่าจะต้องซื้อที่ของ นายเอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ ในราคาแพงเมื่อต้องขยายย่านสถานี แต่ ภายหลังพอแก้ไขแบบย่านสถานีทำให้ สิ้นเหตุที่จะซื้อ ที่ของ นายเอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ ข้างสถานีรถไฟเชียงใหม่
ส่วนพื้นที่ข้ามฟากถนนแม่ออนเป็นที่กรมรถไฟสมควรสร้างโฮเต็ล เพื่อเป็นทางบำรุงนครเชียงใหม่ โดยให้ผู้เดินทางได้พัก โฮเต็ลดังกล่าวให้สร้างแบบเมืองชวา มีตึกใหญ่อยู่กลางไว้รับพระราชอาหาร และ เป็นที่ทำการ และให่ปลูกตึกเล็กๆ พอให้พักได้ครัวหนึ่ง คงเป็นพอใจทั้งไทยและฝรั่ง แม้จะขาดทุนการทำโฮเต็ลแต่ ก็จะเป็นอุบายล่อใจให้คนเดินทางมาเชียงใหม่
๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เยี่ยมโรงทหารและโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ที่ห้วยแก้ว โดยพระดรุณรักษา ผู้อำนวยการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ แจ้งว่าถนนไปห้วยแก้วยังโทรม ต้องใช้ม้า สมควรที่จะบำรุงทางให้รถยนต์เดินได้ทุกระดู ซึ่งกรมขุนกำแพงเพชรฯ รับว่าจะกราบบังคคมทูลในภายหลัง
๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เวลาบ่ายเดินทางด่วยรถยนต์ไปพักที่ลำพูน
๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรวจพินิจงาน การสร้างถนนจากลำพูนไปแม่ทา โดยไม่ผ่านดอยบา แต่ ผ่านไปทางดอยขี้งัวเรี่ย ใกล้สถานีแม่ทา ถ้าดัดแปลงทางเกวียนให้รถยนต์เดินได้ ก็จะดี แม้ต้องอ้อมดอยบา ไป ๖ กิโลเมเตอร์ ถ้าทางรถไฟหมดเพียงแม่ทาง ถนนสายนี้จะดีมาก แต่ ถ้าทางรถไฟถึงเชียงใหม่ ขอให้งดสร้างถนนสายนี้เพราะ จะเป็นการแข่กับรถไฟไม่ดีเลย
จากการตรวจพินิจงานสร้างทางรถไฟ ก่อน เสด็จพักที่ขุนตาล พบว่า ต้องถมดินที่ขุนตาล อีก ๗ หมื่นคิวบิกเมเตอร์ กว่าจะถึงเชียงใหม่ก็นับว่างานหนัก ปานสร้างภูเขาทอง เพราะตอนใกล้ถ้ำขุนตาลต้องพูนดินสูง ๓๐ - ๓๕ เมเตอร์ หวังใจว่าการพูนดินคงสำเร็จ ในเดือนมิถุนายนปีหน้า
๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรวจพินิจงาน สร้างถ้ำขุนตาลด้านใต้ในหน้าที่ของ หลวงประกาศกลศิลป์ พบว่า ยังเหลือไม่กี่มากกี่น้อย ถ้ำก็จะบรรจบกันเป็นอุโมงค์ แต่ มีปัญหาเรื่อง หินพังทับคนงานและ เครื่องไม้ อยู่เนืองๆ เวลาเย็นเสด็จไปพักที่ลำปางและ ได้ตรวจพินิงงานถนนจากในเวียงถึงสถานี และ การสร้างสะพานรัษฎาภิเษกข้ามแม่วัง พบว่าสำเร็จไปแล้ว ๒ โค้ง เหลืออีก ๒ โค้งที่ยังเป็นโครงไม้ครอบอยู่ หวังใจว่าจะสำเร็จเปิดใช้งานเป็นสะพานถาวร ได้ ในเดือนพฤษภาคม ปีหน้า แม้ว่าสะพานรัษฎาภิเษกข้ามแม่วัง จะสิ้นงบไปมากเกินควรเพราะ นายช่างเดิมใช้เงินเป็นค่าทดลองแบบในการสร้างสะพานเสียมาก แต่ก็เป็นสะพานครู เพื่อนำไปใช้สร้างสะพานคองกรีต ณ ที่อื่นๆ ต่อไป
กิจการนายช่างไทย ที่ได้ทอดพระเนตรเป็นที่น่าปลื้มใจเป็นอันมาก เพราะ ทำงานกันอย่างไม่คิดชีวิตเลยทีเดียว แม้ตอนแรก จะยังไม่สู้ช่ำชองนักเพราะ นายช่างฝรั่งเกียดกันไมยอมใช้นายช่างไทยเป็นหลักฐาน เมื่อกรมเป็นของคนไทยแล้ว พบว่า งานการดำเนินได้ดียิ่งไปกว่าพวกเยอร์มัน มีแต่นาย ยี คาโนวาเท่านั้นที่เป็นนายช่างฝรั่ง นอกนั้นเป็นนายช่างไทย และ นาย ยี คาโนวา ยินดีปล่อยให้ รองอำมาตย์เอก หลวงสฤษดิการบรรจง ทำงานแทน ไม่จำเป็นต้องควบคุม
๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรวจพินิจงาน ช่วง ลำปาง - อุตรดิตถ์ พบว่า การทำทางรถไฟโดยการอัดด้วยทรายมีข้อเสียหลายข้อ คือ ฝุ่นฟุ้งสกปรก เพลาล้อร้อนเพราะ ฝุ่นทรายเข้าไปอัดในเพลา ฝุ่นทรายทำให้หมอนไม้ผุเร็ว ต้องเปลี่ยนมาอัดด้วยหินเมื่อมีโอกาสที่จะทำ
๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรวจพินิจถนนสาย อุตรดิตถ์ - พระแท่น มีเกวียนเข้าทางรถไฟอยู่เนืองๆ ถนนยังไม่เลวนักแต่ ถ้าได้บำรุงทางจะดีขึ้นมาก แม้จะมีการบำรุงทางโดยฝ่ายบ้านเมืองถึงปีละ ๒ ครั้ง แต่ยังไม่ดีพอ เพราะ ฝ่ายบ้านเมืองไม่ค่อยตั้งใจทำงาน เห็นสมควรที่จะจ้างคนบำรุงถนนสายนี้ให้ดีโดยตลอด แต่ ทางจากพระแท่นไปลับแล (ถนนศรีพนม) ถูกน้ำท่วม นาล่ม ถนนเสียหาย แต่ สายนี้ไม่ค่อยมีสินค้าลงมาที่สถานี จากนั้นได้รับประทานอาหารที่ลับแลก่อน เดืนทางกลับอุตรดิตถ์ โดยถนนเกษตร ซึ่งพบว่า แต่ ถ้าได้บำรุงถนนทั้ง ๓ ให้ดีจนใช้เดินรถยนต์ทุกระดูจะเป็นประโยชน์มาก
๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เสด็จจากอุตรดิตถ์ทางรถไฟเวลาเช้า ถึงกรุงเทพ เวลา ๒๑ นาฬิกา
//-----------------------------------------------------------
๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติแจ้งว่า จำเป็นต้องเปิดบัญชีการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงเด่นใจ - ลำปางขึ้นใหม่ หลังจากที่เจ้ากรม ไวเลอร์ ได้ปิดบัญชีไปเมื่อ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ เพราะ
1. ช่องตัดทลาย มูนดินพัง เพราะ น้ำท่วมปีมะเส็ง
2. ค่าเครื่องเหล็ก แพงกว่าเดิม จนเป็น ๓ เท่าของ ก่อนสงคราม และ ให้นำเงิน ที่ประหยัดไป ๖ ล้านบาทนำไปสร้างทางถึงเชียงใหม่ให้สำเร็จ โดยอาศัยเงินคงคลังนำมาจ่าย
๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ถ้ำขุนตาลทะลุแล้ว จะส่งรถเข้าทดลองเดิน วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ และ ต้องตรวจสอบทางที่โดนน้ำท่วม และ ตรวจการหาผลประโยชน์จากที่ดินกรมรถไฟที่สวรรคโลก และ ลำปาง และ จะกำหนดให้มีการซ่อมบำรุงทางทุกระดูฝน แต่ ยังมีทางที่มีปัญหาเพราะ สะพานเหล็กมาไม่ถึง จึงขอกราบถวายบังคมลา จากกรุงเทพในวันที่๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ (ต่อมาได้เลือนเป็น วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑) โดยจะพักที่ขุนตาล ๘ วัน แต่ยังไม่กำหนดว่าจะกลับมาเมื่อใด เพราะ ทางลำบากมากเนื่องจากน้ำท่วม ดังนั้นจึงมอบหมายให้ หม่อมเจ้าฉลาดลับเลอสรร ผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง รับหน้าที่ในการเปิดการเดินรถติดต่อกับแหลมมลายู และ รับผิดชอบกิจการกรมรถไฟที่ไม่สู้สำคัญนัก แต่ถ้ากิจการที่ สำคัญหรือรีบร้อน ให้ส่งโทรเลขมาที่พระองค์ได้
สะพานรัษฎาภิเศก โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อพ.ศ.2460
[ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ]
๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ สะพานรัษฎาภิเษกสำเร็จแล้ว และได้ทำถนนหินใช้เชื้อประสานน้ำมันยาง (Bituminous Surface) บนสะพาน ทำให้ถนนนุ่มพอควร แม่ใครมีเสียงดัง แต่ยังมีข้อบกพร่องคือ ลูกกลิ้งไม่หนักพอ และ ไม่ได้โรยทรายขณะที่ Asphalt ยังอ่อน ทำให้ถนนลื่น และ ผิถนนที่ยังขรุขระบางส่วน แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี และ ขณะนี้เครื่องทอผ้าตกถึงลำปาง 10 เครื่อง พร้อมทอผ้าได้เร็วกว่าชาวบ้านทำ
บรรยากาศการค้าบริเวณย่านรถไฟ-สบตุ๋ยที่คึกคัก
[ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ]
๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้ตรวจที่ทำโฮเต็ลที่ลำปาง และ ตรวจถนนสายลำปาง - เชียงรายที่แต่ก่อนสร้างไว้ในป่า ภายหลังให้สร้างมาแต่ในเวียง ไปถึงห้วยยาง ตอนบ่ายได้ไปที่ขุนตาล และ เสด็จประทับแรมที่ ดอยม่อนเกีย ที่พระองค์ได้ดำริสร้าง
รหัสภาพ ก011_สถานีรถไฟนครลำปาง
ที่มา : เทศบาลนครลำปาง
๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้เดินรถจักร จากปากถ้ำขุนตาล ด้านเหนือไปปากถ้ำขุนตาลด้านใต้ เป็นที่น่าปลื่มใจมากที่ นายช่างไทย ๒ นาย (หลวงสฤษดิการบรรจง และ หลวงประกาศกลศิลป์) ได้สร้าง อุโมงค์ขุนตาลยาว ๑๓๖๒ เมตร สำเร็จ ก่อน ที่นายช่างเยอร์มันกำหนดไว้ถึง ๙ เดือน เหลือแต่การทำคองกรีตข้างถ้ำ ซึ่งไม่ใช่ของยาก และ ทำเป็นตอนๆ ก็ได้ ดังนั้น จึงถอนหลวงสฤษดิการบรรจงไปทำงานที่ โรงงานบางกอกน้อย และ ให้ หลวงประกาศกลศิลป์คุมการทำคองกรีตข้างถ้ำ
๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ดำริที่จะสร้างที่พัก กรมรถไฟที่ขุนตาล และ ดอยงาช้าง ซึ่งเป็นที่อากาศเย็นสบาย และ มีน้ำตลอดปี ดังนั้น จึงกำหนดว่า ถ้ามีการเดินรถเณ้วไปถึงเชียใหม่ ให้ออกจากกรุงเทพตอนค่ำจถะถึงขุนตาลเวลาเที่ยง เหมาะที่จะเดินทางต่อไปยังที่พัก
รหัสภาพ ก020_สะพานรัษฎาภิเศก อ.เมือง จ.ลำปาง
ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้รับทราบจาก เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติว่าได้เพิ่มงบประมาณ สร้างทางไปเชียงใหม่ อีก ๓ ล้านบาท โดย ส่วนหนึ่งจะนำไปซ่อมบำรุงทางช่วง เด่นใจ - ลำปาง ที่ ยังบกพร่อง และ อีกส่วนจำเป็นต้องใช้ในการสร้างทาง ลำปาง - เชียงใหม่ที่เครื่องเหล็กแพงกว่าเดิมมาก โดยสามารถอธิบายเรื่องค่าโสหุ้ยที่เพิ่มเข้ามาได้ดังนี้
1. สะพานยาวข้ามแม่น้ำวังที่สบตุ๋ย ที่ตอนแรกสร้างเป็นสะพานไม้ชั่วคราวที่ต้องเปลี่ยนทุกปี สิ้นค่าใช้จ่ายปีละ ๑๓,๐๐๐ - ๒๐,๐๐๐ บาท รวม ๕ ปี เป็นเงิน เกือบแสนบาท แต่สะพานเครื่องเหล็กในราคาก่อนสงครามคิดเพียง ๕๐๐๐ ปอนด์ (๖๕,๐๐๐บาท) - ได้มาเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ตั้งสะพานสำเร็จ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๓
2. ทางช่วงปางหัวพง (กม. ๕๘๓ จากบ้านภาชี) ถึงปางยาง (กม. ๕๙๑ จากบ้านภาชี) ต้อง สร้างสะพานสูง ๓ สะพาน แต่ เครื่องเหล็กสะพานสูงทั้ง ๓ สะพาน ยังมาไม่ถึง ต้องสร้าง Service Line และ ทางปางยาง ขึ้นทางไป้ถขุนตาล ได้สร้าง ทางลาดชั่วคราว (Inclined Lift) ขึ้นสูง ๔๖ เมตร์ ที่ ต้องชัก โรยของและคนตลอดถึงรถเปล่าด้วยกว้านไอน้ำ จากปากถ้ำขุนตาล จะ ต้องถมดินทำลาดที่ ห้วยลึก และ ห้วยแม่ยอนหงาย ก่อน ทำทางและช่องน้ำ ซึ่งยังเหลืออีกเล้กน้อยก่อนพร้อมวางราง ไปทาชมภู กม. ๖๐๓ ที่ต้องสร้างสะพานข้ามแม่ทา ยาวประมาณ ๙๐ เมตร
3. จากทาชมภูไป ห้วยแม่สาน ได้พูนดินแล้วแต่ต้องเปลี่ยนช่องทางน้ำที่เยอร์มันทำไว้ไม่เรียบร้อยเพราะเร่งทำ และ ที่ห้วยแม่สาน กม. ๖๓๗ ต้องสร้างสะพานยาวประมาณ ๘๐ เมตร และ
4. จากห้วยแม่สานถึงลำแม่กวง กม. ๖๔๒ ต้องสร้างสะพานข้ามแม่กวง ส่วนงานดินนั้นได้พูนดินแล้ว ถึงเชียงใหม่ กม. ๖๖๖ แต่ต้องเปลี่ยนช่องทางน้ำที่เยอร์มันทำไว้ไม่เรียบร้อยเพราะเร่งทำ ซึ่งเป็นงานเล็กน้อย
5. ขณะนี้ สะพานเหล็กข้ามสบตุ๋ย และ สะพานหอสูงทั้ง ๓ ที่ทำในฮอแลนด์ ทำเสร็จแล้ว แต่หาเรือมาขนไม่ได้เพราะเป็นเหล็กเยอร์มัน ถือว่าเป็นทรัพย์สินชนชาติศัตรู ต้องกักไว้จนสิ้นสงครามถึงจะนำมาได้ ก่อนสงครามคิดค่าขนตันละ ๑๘๐ บาท แต่เจ้ากรมรถไฟคนก่อนไม่ตกลง พอตกลงได้ก็หาเรือมาขนไม่ได้ หลังสงครามเป็นที่เชื่อได้แน่ว่า ค่าขนจะแพงขึ้นเป็น ตันละไม่น้อย ๖๐๐ บาทและจะแพงขึ้นในภายภาคหน้า
6. การสร้างสะพานไม้ชั่วคราวที่ต้องสร้างปีต่อปีนั้นพบว่าแพงกว่าสะพานถาวรเสียอีก แม้แต่กรณีสะพานนวรัฐพบว่าต้องรื้อออกไปโค้งหนึ่ง จึงจะอยู่ได้ไม่พัง ดังนั้นจึงดำริที่จะสร้างสะพานคองกรีตมาแทนสะพานไม่ที่ไม่ถาวร และ สะพานเหล็กที่แพงกว่าก่อนสงครามถึง ๕ เท่า ชั้นแต่เหล็กขนาดเล็ก ก่อสงครามคิดเพียงตันละ ๑๒๘ บาท ขณะนี้เป็นตัรละ ๕๓๐ บาท แต่ ที่ปฤกษากรมรถไฟหลวง (นายเฮนรี่ กิตตินส์) ได้ท้วงติงว่า สะพานคองกรีต น่ากลัวจะไม่ทน พอใช้ไป ๒๐ ปี คงต้องรื้อทิ้งเพราะ ทนแรงเขย่าไม่ไหว และ อาจแตกตรงรอยต่อ และสะพานโค้งปูน ผ่อนตัวได้ไม่ดีเท่าสะพานเหล็ก รางอาจซุดเอียงได้ หรือ ถึงขั้นสะพานแตกร้าว แต่บางท่านบอกว่า ที่อเมริกาแก้ปัญหาสะพานรถไฟคองกรีตได้โดย ทำส่วน Dead Load ให้หนักกว่า ส่วน Live Load เมื่อทำถนนทึบด้วยหิน ก็น่าที่จะเฉลี่ยน้ำหนักไปได้
ถ้ารัฐบาลสยามทำทางรถไฟไม่ถึง เชียงใหม่หรือแม้แต่ลำพูนจะเป็นการเสื่อมเกียรติยศมาก แม้จะสร้างถนนทดแทนก็ จะยังไม่ได้เงินคืนโดยเร็ว นอกจากนี้ การขนส่งสินค้า ระหว่าง กรุงเทพ และ ลำปาง เช่น น้ำมันก๊าดจากกรุงเทพ ไปลำปาง๔๕๐๐๐ ปีบ พบว่า ได้ส่งต่อไปยังเชียงใหม่ครึ่งหนึ่ง ส่งไปเชียงรายอีกเสี้ยวหนึ่ง เหลืออีกเสี้ยวหนึ่งใช้ที่ลำปาง และ การขนข้าว ไก่ หมู จากลำปาง-เชียงใหม่ ไปกรุงเทพ จะช่วยเกษตรกรได้มากเพราะ ได้ราคาดีกว่าที่ขายในลำปาง ดังนั้นการทำทางไปถึงเชียงใหม่ จะลดค่าโสหุ้ยไปได้มากและ สร้างรายได้ให้กรมรถไฟอีกด้วย
๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ เดินทางจากที่พัก ดอยม่อนเกีย ขึ้นรถ ไฟไปปางยาง และ ไปเปลี่ยนรถที่นั่น จากนั้นเดินทางต่อไปตรวจบ่อถ่านหินลิคไน้ต์ทีริมห้วยแม่เมาะ ห่างจากสถานี ประมาณ ๕ กิโลเมตร นายช่างที่เคยตรวจแร่ รายงานว่าไม่เคยมีบ่อถ่านหินลิคไน้ต์ ที่ขุดง่ายเท่าบ่อถ่านหินที่ แม่เมาะ และ ยังใกล้ทางรถไฟอีกด้วย ทำให้วางรางเข้าไปง่าย แต่ เสียอย่างเดียวถ่านหินที่เก็บตัวอย่างได้จากริมห้วยแม่เมาะ มีกำลังร้อนเพียง ๔๕๐๐ BTU เลวกว่าไม้ตะแบก ที่ทำได้ถึง ๔๗๐๐ BTU นับว่าน่าเสียดาย [ที่ไม่สามารถนำถ่านหินไปใช้ประโยชน์ในราชการกรมรถไฟหลวงได้เพราะ คุณภาพไม่ดีพอ] จากนั้นเดินทางต่อยังเด่นใจ แล้วขึ้นรถตรวจทางหลวง หมายเลข 1 (เด่นใจ - แพร่) พบว่าผิถนนยังอ่อนมาก ส่วนสะพานทำไปแล้ว เหลือที่ต้องซ่อมอีก ๒-๓ แห่ง
๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ตรวจการยกรถ ที่ตกรางใกล้สถานีท่าสัก กม. ๓๗๑.๒ ยกได้คันหนึ้งเหลืออีก 1 คันยังอยู่ที่คันนา เครื่องเสียหายมาก คันคดงอ ต้องเสียเวลาซ่อมแซมอีกมาก และ เสียเวลาในการเดินรถ และ เสียหายกว่าคราวที่ตกรางในทางสายสวรรคโลก
ใน ๓ เดือน นี้ มีรถไฟตกรางเพราะ ชนกระบือในแขวงพิษณุโลก ๓ ราย ครั้งแรก บ้านโคน ครั้งต่อมาที่ทางสายสวรรคโลก กม. ๓.๘ และ ครั้งสุดท้ายที่ คือที่ท่าสัก จากการตรวจสอบพบว่าตะแกรงช้อนสัตว์ (Cow Catcher) ของรถจักรรุ่น ๑๐๑ อ่อนแอเกินกว่าที่จะรับกระบือได้ และ ส่วนดอกเห็ดยื่นมากกว่าตะแกรงช้อนสัตว์ ทำให้สัตว์โดนดอกเห็ดแล้วลอดไประหว่างดอกเห็ดและ ตะแกรงช้อนสัตว์ (Cow Catcher) ทำให้ช้อนสัตว์ไม่สำเร็จ ต้องปรึกษากับนายช่างกลว่าจะแก้ไข ตะแกรงช้อนสัตว์ (Cow Catcher)อย่างไรดี
จากนั้นได้ตรวจการทำสะพานที่ พระแก้วและมาบพระจันทร์ พบว่าคนงานเร่งงานทั้งวันทั้งคืน มีนายช่างผลัดเปลี่ยนตามควร แต่ที่แปลกตาคือน้ำขึ้นมากกว่าคราวไปเหนือ แต่ นายช่างรายงานว่า น้ำได้ลงไปบ้างแล้ว ยังเหลือต้องตอกเป็มอีกราว ๔ แห่ง ถึงกรุงเทพ เวลา ๒๒ นาฬิกา
จากการเสด็จมณฑลพายัพพบว่า นครลำปางมีบ่อแร่ เช่นแร่วุลแฟรม แร่ทองแดง แร่เหล็ก และ ถ่านหินลิคไน้ต์หลายตำบล แต่ติดปัญหาเรื่องบ่อแร่ซึ่งอยู่ในป่าไม้ที่มหาดไทยหวงห้าม ถ้าสามารถขนแร่จากมณฑลพายัพลงมากรุงเทพได้จะเป็นประโยชน์ต่อกรมรถไฟและ ทำให้มณฑลพายัพเจริญขึ้นอีกมาก เพราะ กรณีป่าไม้ยังสามารถโค่นไม้สัก ให้ล่องลงไปตามลำน้ำได้ ทำให้ รถไฟไม่สามารถหารายได้จากการขนไม้ได้ ถ้าได้เปิดบ่อแร่ในป่าแล้วรัฐบาลสยามได้ประโยชน์จากการค่าประทานบัตร์ตรวจแร่ ค่าภาคหลวง และ ค่าขนแร่ขึ้นรถไฟ และแร่ถือว่าเป็นสินค้าชั้นสูงด้วย
รหัสภาพ ก019_สถานีรถไฟนครลำปางและรถม้า
ที่มา : คุณอนันต์ กิตติวรากูล ร้านลำปางโฟโต้
๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน เจ้ากรมรถไฟหลวงได้แจ้ง หอรัษฎากรพิพัฒน์ (กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ) ให้เพิ่มงบประมาณการก่อสร้างทางจากลำปางไปเชียงใหม่อีก ๑ ล้านบาท และ กรมรถไฟ ตกลงใจที่จะสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก แทนสะพานเหล็กที่หายาก (สะพานทาชมพู) เพื่อเป็นการตัดทอนงบประมาณ ซึ่ง เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เห็นด้วยกับ เจ้ากรมรถไฟหลวง โดยจะจ่ายจากเงินคงคลังทดรองไปก่อน
๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ หม่อมเจ้าฉลาดลับเลอสรร ผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ได้กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า ทางประธานได้มาถึงปลายรางที่เชียงใหม่ แล้ว
มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๓ ตั้งสะพานดำ ข้ามแม่น้ำวังที่สบตุ๋ย ได้สำเร็จ กำลังเร่งรัดการตั้งสะพานหอสูง ทั้ง ๓ แห่งให้สำเร็จ ก่อนสิ้นปี พ.ศ. ๒๔๖๓
สะพานข้ามแม่น้ำวัง ใกล้สถานีรถไฟนครลำปาง หรือที่เรียกกันว่า "สะพานดำ"
[ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ]
REF:
คค.๕.๓/๒ สร้างรถไฟ ตั้งแต่แม่พวก ไปถึง แดนไชย แต่แดนไชยถึงนครเชียงใหม่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๓
คค.๕.๓/๘ กรมขุนกำแพงเพชร์เสด็จตรวจทางรถไฟสายเหนือ และ สายตะวันออกเฉีนยงเหนือ (โคราชถึงอุบล) ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘
ก06-สมัยการกำเนิดเส้นทางรถไฟเหนือ
รายงานกองบัญชาการครั้งที่ ๒๓ ของกรมรถไฟหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๖๒ (ปี คฤศต์ศักราช ๑๙๑๙ - ๑๙๒๐), โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง กรุงเทพฯ, สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๓
รายงานกองบัญชาการครั้งที่ ๒๔ ของกรมรถไฟหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๖๓ (ปี คฤศต์ศักราช ๑๙๒๐ - ๑๙๒๑), โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง กรุงเทพฯ, สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔
011 สถานีรถไฟนครลำปาง
019 สถานีรถไฟนครลำปางและรถม้า
020 สะพานรัษฎาภิเศก
021 สะพานรัษฎาภิเศก
022 สะพานรัษฎาภิเศก ฃ
036 หน้าสถานีรถไฟ
048 รถไฟขบวนลำปาง-เชียงใหม่
049 ชาวต่างชาติ ณ สถานีรถไฟ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43814
Location: NECTEC
|
Posted: 23/03/2012 3:24 pm Post subject: |
|
|
พระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนะจินดา) ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ และ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๗๑
ตอนกลางปี ๒๔๖๓ มหาดไทยได้จองรถ โบกี้พิเศษให้ พระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนะจินดา) กับครอบครัว เดินทางจากกรุงเทพ เพื่อไปรับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน สมัยที่ คุณพูนพล อาสนะจินดา (บุตรชาย พระยาอนุบาลพายัพกิจ) ยังเป็นทารกอยู่
๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๓ วันแรก เดินทางจากกรุงเทพ ไป พิษณุโลก
๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๓ วันที่ 2 พิษณุโลก ไป ลำปาง
๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๓ วันที่ 3 ลำปาง ไปปางยาง จากปางยาง ต้องส่งรถกลับคืน เลยต้องติดรถคนงาน ไปที่ขุนตาล เวลานั้นสะพานห้อสูงยังมาไม่ถึง ต้องใช้การขักรอก รถเปล้า และ สัมภาระ ขึ้นไปโดยใช้ คันกว้าน
๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๓ พักที่บ้านพักนายช่างที่ขุนตาล เพื่อ รอให้ พระองค์เจ้าบวรเดช เจรจาจองรถคนงานให้ พอตอนเย็นติดต่อ ให้ จัด รถงานพาไปส่งได้ ก็เลยขึ้นไป จอดแถว ทาชมพู ต้องนอนตากน้ำค้างไป
๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๓ ตอนเช้า ถึงลำพูน คุณหญิงเยียน อนุบาลพายัพกิจ ซื้อข้าวเหนียวให้ลูกเพราะ หุงข้าวไม่ทัน เล่นเอา คุณพูนพล อาสนะจินดา (บุตรชาย พระยาอนุบาลพายัพกิจ) เกือบแย่เพราะ เสาะท้อง ดีที่หายาแก้ได้ทัน ตอนสาย ถึงเชียงใหม่ สมัยยังมียุ้งข้าว ข้าง ทรส. ที่มุงด้วยใบพลวง จากนั้น พระยา อนุบาลพายัพกิจ ให้ครอบครัวรอที่สถานี แล้วเดินหาศาลาว่าการมณฑลพายัพ ตามที่ ชาวบ้านบอกเมื่อมาถึงสะพานนวรัฐ เวลานั้นยังเป็นสะพานไม้ มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพอยู่ตรงกัน ใจดีขึ้นมาก ที่แน่ใจว่ามาไม่ผิดทาง ถามชาวบ้านร้านถิ่นเรื่อยมาจนกระทั่งถึงสี่แยกกลางเวียง และก็หาที่ตั้งศาลารัฐบาลมณฑลได้ไม่มากนัก
เมื่อไปถึงก็ตรงไปหาพระยาพายัพพิริยกิจ ซึ่งเคยรู้จักกันมาก่อน รายงานให้ท่านทราบในเรื่องการเดินทาง(ไปรับตำแหน่งที่เมืองแม่ฮ่องสอน) ท่านได้กรุณาเรียกเสมียนคนหนึ่งมาพบ แล้วสั่งให้จัดการเกวียนไปช่วยขนสิ่งของเครื่องใช้มาพัก ณ ศาลารัฐบาลมณฑลหลังเก่า ซึ่งอยู่ในบริเวณศาลจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบันนี้ แต่ได้รื้อไปเกือบหมดสิ้นแล้ว คงเหลือแต่เรือนแถวยาวมีหลายห้อง เจ้าหน้าที่ได้ย้ายไปทำงานในศาลารัฐบาลมณฑลใหม่กันแล้วเป็นส่วนใหญ่ ยังคงเหลืออยู่แต่แผนกคลัง ซึ่งมีห้องพิเศษสำหรับรักษาเงิน จึงต้องรอการสร้างที่เก็บเงินในอาคารใหม่ก่อน จากนั้นบรรดาข้าราชการประจำมณฑลพายัพ จัดหาม้า เพื่อ เดินทางต่อไปยังแม่ฮ่องสอน รวมความแล้วใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพ ไป เชียงใหม่ ๕ วัน ก่อน ขึ้นมาไปแม่ฮ่องสอน
๑ มกราคม ๒๔๖๔ (1922) เปิดการเดินรถรวม 39/40 (ลำปาง - เชียงใหม่) อย่างเป็นทางการ
๑๕ มกราคม ๒๔๖๔ (1922) เปิดการเดินรถรวม 97/98 (ลำพูน - เชียงใหม่) ซึ่งต่อมาได้ขยายเป็น ลำปาง - เชียงใหม่ ขบวน 2 ตามความต้องการของประชาชน และ ต่อกับขบวนลำปาง พิษณุโลก ได้ในวันรุ่งขึ้น
๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๕ (1922) เปิดการเดินรถด่วนสายเหนือขบวน 7-9/10-8 กรุงเทพ - อุตรดิตถ์ - เชียงใหม่ คู่กับรถด่วนสายใต้ ขบวน 1-3/4-2 บางกอกน้อย - ชุมพร -ไปร (เปิดการเดินรถ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๔) โดยการเดินรถด่วนทั้ง ๒ ดั่งนี้
รถด่วนสายใต้:
ด. ๑ บางกอกน้อย - ชุมพร (มี ๒ ขบวน ต่อ สัปดาห์ - ใช้อีคลาส พหุ ในตอนแรก อย่างที่ใช้ทำชขบวนรถพระที่นั่ง จากนั้นใช้บอลด์วิน ล้อแปซิฟิหก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ย้ายไปออกที่หัวลำโพง ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ใช้รถจักรฮาโนแมกล้อแปซิฟิกใช้ในการทำขบวน พ.ศ. ๒๔๗๒ และ รถจักรดีเซลไฟฟ้าฟริกซ์ทำขบวน ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔)
ด. ๓ ชุมพร - ไปร (มี ๑ ขบวนต่อสัปดาห์ - ต่อมาขยายเป็น ๒ ขบวน ต่อ สัปดาห์ หลังได้รถจักรฮาโนแมกล้อแปซิฟิกใช้ในการทำขบวน พ.ศ. ๒๔๗๒ และ รถจักรดีเซลไฟฟ้าฟริกซ์ทำขบวน ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ แต่ติดน้ำท่วมที่ชุมพร กว่าจะทำขบวนกลับเพื่อ ทำขบวนรถด่วนสายใต้เที่ยที่ ๒ ของสัปดาห์)
ด. ๔ ไปร - ชุมพร (มี ๑ ขบวนต่อสัปดาห์ - ต่อมาขยายเป็น ๒ ขบวน ต่อ สัปดาห์ หลังได้รถจักรฮาโนแมกล้อแปซิฟิกใช้ในการทำขบวน พ.ศ. ๒๔๗๒ และ รถจักรดีเซลไฟฟ้าฟริกซ์ทำขบวน ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ แต่ติดน้ำท่วมที่ชุมพร กว่าจะทำขบวนกลับเพื่อ ทำขบวนรถด่วนสายใต้เที่ยที่ ๒ ของสัปดาห์)
ด. ๒ ชุมพร - บางกอกน้อย (มี ๒ ขบวน ต่อ สัปดาห์ - ใช้อีคลาส พหุ ในตอนแรก อย่างที่ใช้ทำชขบวนรถพระที่นั่ง จากนั้นใช้บอลด์วิน ล้อแปซิฟิหก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ย้ายไปออกที่หัวลำโพง ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ใช้รถจักรฮาโนแมกล้อแปซิฟิกใช้ในการทำขบวน พ.ศ. ๒๔๗๒ และ รถจักรดีเซลไฟฟ้าฟริกซ์ทำขบวน ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔)
ด. ๗ กรุงเทพ - อุตรดิตถ์ ใช้รถจักร ฮาโนแมกล้อโมกุล พหุ ต่อมา ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้ใช้ รถจักรบอลด์วิน ทำขบวน ต่อมา ใช้รถจักรฮาโนแมกทำขบวน พ.ศ. ๒๔๗๑ กว่า จะใช้รถจักรดีเซลไฟฟ้าฟริกซ์ ก็ ๕ มีนาคม ๒๔๗๕ (1933) และ เกิดการเดินพิเศษสงกรานต์ (ชั้น ๓ คิด ๑๐ บาท) เมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๔๗๖ มางดเดิน เพราะ พิษสงคราม ก็ราวๆ กลางปี พ.ศ. ๒๔๘๖ แม่จะเดินรถพิเศษ เมื่อ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖ และ ฟื้นฟูใหม่ เป็นเดินทุกวันอาทิตยท์ ๔ สิงหาคม พ.ศ ๒๔๘๙ พอได้รถมาเพิ่ม ถึงได้เพิ่มเที่ยววิ่ง
ด. ๙ อุตรดิตถ์ - เชียงใหม่ ใช้รถจักร ฮาโนแมกล้อโมกุล พหุ ต่อมา ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้ใช้ รถจักรสวิสคอนโซลิเดต ทำขบวน ขึ้นเขา กว่า จะใช้รถจักรดีเซลไฟฟ้าฟริกซ์ ก็ ๕ มีนาคม ๒๔๗๕ (1933) และ เกิดการเดินพิเศษสงกรานต์ (ชั้น ๓ คิด ๑๐ บาท) เมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๔๗๖ มางดเดิน เพราะ พิษสงคราม ก็ราวๆ กลางปี พ.ศ. ๒๔๘๖ แม่จะเดินรถพิเศษ เมื่อ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖ และ ฟื้นฟูใหม่ เป็นเดินทุกวันอาทิตยท์ ๔ สิงหาคม พ.ศ ๒๔๘๙ พอได้รถมาเพิ่ม ถึงได้เพิ่มเที่ยววิ่ง
ด. ๑๐ เชียงใหม่ - อุตรดิตถ์ ใช้รถจักร ฮาโนแมกล้อโมกุล พหุ ต่อมา ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้ใช้ รถจักรสวิสคอนโซลิเดต ทำขบวน ขึ้นเขา กว่า จะใช้รถจักรดีเซลไฟฟ้าฟริกซ์ ก็ ๕ มีนาคม ๒๔๗๕ (1933) และ เกิดการเดินพิเศษสงกรานต์ (ชั้น ๓ คิด ๑๐ บาท) เมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๔๗๖ มางดเดิน เพราะ พิษสงคราม ก็ราวๆ กลางปี พ.ศ. ๒๔๘๖ แม่จะเดินรถพิเศษ เมื่อ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖ และ ฟื้นฟูใหม่ เป็นเดินทุกวันอาทิตยท์ ๔ สิงหาคม พ.ศ ๒๔๘๙ พอได้รถมาเพิ่ม ถึงได้เพิ่มเที่ยววิ่ง
ด. ๘ อุตรดิตถ์ - กรุงเทพ ใช้รถจักร ฮาโนแมกล้อโมกุล พหุ ต่อมา ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้ใช้ รถจักรบอลด์วิน ทำขบวน ต่อมา ใช้รถจักรฮาโนแมกทำขบวน พ.ศ. ๒๔๗๑ กว่า จะใช้รถจักรดีเซลไฟฟ้าฟริกซ์ ก็ ๕ มีนาคม ๒๔๗๕ (1933) และ เกิดการเดินพิเศษสงกรานต์ (ชั้น ๓ คิด ๑๐ บาท) เมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๔๗๖ มางดเดิน เพราะ พิษสงคราม ก็ราวๆ กลางปี พ.ศ. ๒๔๘๖ แม่จะเดินรถพิเศษ เมื่อ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖ และ ฟื้นฟูใหม่ เป็นเดินทุกวันอาทิตยท์ ๔ สิงหาคม พ.ศ ๒๔๘๙ พอได้รถมาเพิ่ม ถึงได้เพิ่มเที่ยววิ่ง
REF:
http://www.thainews70.com/news/news-culture-arnu/view.php?topic=2
http://www.thainews70.com/news/news-culture-arnu/view.php?topic=4
http://www.prc.or.th/about.php?id=11&pid=23
Last edited by Wisarut on 15/11/2022 4:38 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43814
Location: NECTEC
|
Posted: 23/03/2012 3:25 pm Post subject: |
|
|
ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้นำหลังคาที่รื้อย้ายมาจากสถานีแปดริ้วเดิม ที่ กม. 63.4ไปต่อกับอาคารสถานีนครลำปาง สถานีแปดริ้วเดิม ที่ กม. 63.4 ปิด 1 มกราคม พ.ศ. 2467 หลังเปิดสถานีแปดริ้วใหม่ที่ กม. 60.99 กว่าจะเปิดใหม่ พ.ศ. 2514)
ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ขยายโรงเก็บรถจักร จากจุได้ 3 หลังเป็นจุได้ 7 หลัง แต่ยังใช้วงเวียนเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕ เมตรเหมือนเดิม และ โรงงานฝ่ายการช่างกลสำเร็จ ปี ๒๔๗๕ ทำถังน้ำคอนกรีต ๒๐๐ มลบ. ปี ๒๔๗๒ เสร็จปี ๒๔๗๗
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ และ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๗ สัมพันธมิตร ทิ้งระเบิดหมายถล่ม สถานีนครลำปาง และ โรงรถจักร และ สะพานข้ามแม่น้ำวังที่ สบตุ๋ยให้แหลก เพราะ นครลำปาง เป้นจุดทื่ ทหารไทย ลงจากรถพิเศษทหาร เพื่อขึ้นรถบรรทุกไปตามถนน ลำปาง - เชียงราย - แม่สาย ไปตีเชียงตุงแต่ โชคดี ที่ เสียหายไม่มาก ไม่เหมือนกับที่เชียงใหม่ ที่ ถูกถล่มแหลก เมือ่ เวลา 1500 วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ แต่ก้สิ้นเนื้อประดาตัวไปไม่ใช้น้อย ครฟ. เสียชีวิตก็มีด้วย
พ.ศ. ๒๔๙๙ เปลี่ยนมาใช้วงเวียนขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 18 เมตร และ ขยายโรงรถจักรให้รองรับรถจักรได้ 9 หลัง
ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมนั้น จะค้นมาเพิ่มเติมในภายหลัง
สะพานแม่เมาะ กม. 518 + 000 จากบ้านภาชี ปี 2459
สะพานดำ ข้ามแม่น้ำวัง สั่งจากฮอลแลนด์ (ใช้เหล็กเยอร์มัน) สั่งมาแต่ปี 2457 แต่ กว่าจะมาถึงกรุง สยามเพื่อนำไปแทนสะพานไม้ก็ ปี 2462
ชานชลาสถานีนครลำปาง มีการนำหลังคาคลุมจากสถานีแปดริ้วเก่า กม. 63.4 มาตั้งที่ลำปาง เมื่อปี 2472 - จากนั้นก็ขยายโรงรถจักร จาก 3 คันเป็น 7 คันเพื่อรองรับกระบนรถที่เพิ่มขึ้นจนต้องพหุขึ้นเขา
1. รายงานปี 2472 นอกจากจะรายงานเรื่องการตั้งคาชานชลา แล้ว ยังทำ ถนนและ ลานจอดรถหน้าสถานี และ ถนนดินลูกรัง พร้อม ชานบรรทุก ไปย่าน ทรส. ด้วย
2. รายงานปี 2473 แจ้งว่า เรื่มการก่อสร้างโรงงานสำหรับฝ่ายการช่างกล ที่ สถานีนครลำปางโดยเรื่มจากการสร้าง Roundhouse ให้จุรถจักรไอน้ำเพิ่มจาก 3 หลังเป็น 7 หลัง
4. รายงานปี 2475 แจ้งว่าการก่อสร้างโรงงานสำหรับฝ่ายการช่างกล เสร็จแล้ว เริ่มการก่อสร้างบ่อ Wheel Drop สำหรับฝ่ายการช่างกล
5. รายงานปี 2476 แจ้งว่าได้ย้าย ห้องแถวสำหรับ ครฟ. ชั้นผู้น้อย 10 หลังจากสถาเชียงใหม่มาสถานีนครลำปาง - เริ่มการสร้างถังน้ำคอนกรีต ขนาด 200 มลบ. แทนถังเหล็ก และ ทำบ่อ Wheel Drop สำหรับฝ่ายการช่างกลแล้ว
6. รายงานปี 2477 แจ้งว่า ถังน้ำคอนกรีต 200 มลบ. ทำเสร็จแล้ว
สมัยสงครามทำให้ทราบว่า สถานีนครลำปางถูกโจมตีทางอากาศ เมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2486 และ 3 มกราคม พ.ศ. 2487 ไฟไหม้บ้านพัก ครฟ. และ พื้นที่โดยรอบเสียหายยับเยินโชคดีที่ไม่โดนอาคารสถานีเหมือนกรณีเชียงใหม่ และ ดูเหมือน จะโดน โรงรถจักร และ ถังคอนกรีตไปไม่มาก ทำให้ โรงรถจักร และ ถังคอนกรีต อยู่ทน ถึงอย่างน่อยก็ปี 2496 (ปีสุดท้ายที่มีรายงานว่า มีโรงรถจักร จุดเติมน้ำ ที่ไหนบ้าง) |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47045
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43814
Location: NECTEC
|
Posted: 24/03/2012 8:50 pm Post subject: |
|
|
ผมมี จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในรัชกาลที่ 7 มีเรื่องเสด็จเลียบมณฑลพายัพเมื่อ 6 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ 2469 ด้วย เพราะฉะนั้นสอบได้ไม่ยาก |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43814
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 05/05/2014 12:52 am Post subject: |
|
|
^
ด้วยความกว้างและความลึกของหุบเหวที่ต้องสร้างทางรถไฟทอดข้าม การจัดการในเชิงวิศวกรรมในเวลานั้น สะพานหอสูงจึงเเป็นคำตอบเดียวที่ตอบโจทย์นี้ได้ แต่เมื่อมีปัญหาการขนส่งสะพานจากต่างประเทศที่ไม่สามารถทำได้อันเนื่องมาจากภาวะสงคราม ประกอบกับวิศวกรต่างชาติต้องกลายเป็นเชลย ทำให้ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้สามารถเดินรถงานได้ถึงอุโมงค์ขุนตานโดยการสร้างทางรถไฟชั่วคราวลัดเลาะไปตามลำห้วยแม่ตานผ่านปางยางไปจนถึงปางหัวพง( ซึ่งอยู่ใกล้จุดที่เป็นสะพานสองหอ) แล้วจึงทำทางลาดขึ้นไปถึงปากอุโมงค์ เพราะเราเองในเวลานั้นก็ยังไม่มีความสามารถปรับเปลี่ยนแบบหรือวิธีใหม่ในการสร้างทางข้างหุบเหวทั้ง 3 ช่วงได้ เลยต้องแก้ปัญหาระหว่างที่สะพานยังมาไม่ถึง แต่จุดที่ไม่สูงมากอย่างบริเวณที่ต้องข้ามแม่น้ำทานั้น ยังพอสามารถที่จะปรับเปลี่ยนแบบได้โดยไม่ต้องรอสะพานเหล็ก จึงทำให้มีสะพานคอนกรีตสีขาวที่ชื่อสะพานทาชมภูมาจนถึงทุกวันนี้ครับ ถ้าการก่อสร้างทางช่วงนี้ไม่ได้อยู่ระหว่างภาวะสงคราม ก็คงจะไม่มีทางชั่วคราวไปที่ปางหัวพง และสะพานข้ามแม่น้ำทาก็คงเป็นสะพานเหล็กไปแล้วนะครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43814
Location: NECTEC
|
Posted: 09/01/2017 10:45 am Post subject: |
|
|
เลอค่า ! สำนักศิลปากรเชียงใหม่เผยภาพชุด สร้างอุโมงค์ขุนตาล กว่า 100 ปีก่อน
มติชน
วันที่: 8 มกราคม 2560 เวลา: 22:37 น.
จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ฉาย ณ ปากอุโมงค์ขุนดาลด้านทิศเหนือ ในเขตจังหวัดลำพูน เมื่อครั้งเสด็จฯ พ.ศ.2459
เมื่อวันที่ 8 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ เผยแพร่ข้อมูลและภาพชุดการก่อสร้างอุโมงค์ขุนตาล ซึ่งเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านยาวที่สุดในประเทศไทย เริ่มดำเนินสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2450 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2461 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 11 ปี ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งสิ้นจำนวน 1,362,050 บาท โดยมีนายช่างชาวเยอรมัน มร. อี. (เอมิล) ไฮเซนโฮเฟอร์ เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงาน อุโมงค์มีขนาดกว้าง 5.20 เมตร สูง 5.40 เมตร และยาว 1,350.10 เมตร เป็นอุโมงคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดแนว อุโมงค์แห่งนี้ถือเป็นความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมก่อสร้างทางรถไฟครั้งสำคัญของไทย |
|
Back to top |
|
|
|