RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13287959
ทั้งหมด:13599283
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 120, 121, 122 ... 137, 138, 139  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 15/06/2023 1:14 pm    Post subject: Reply with quote



#สื่อจีนตีข่าว รถไฟลาว-จีน ดันทุเรียนไทยทะลักเข้าจีน
(China-Laos railway boosts Chinese imports of Thai durian)
https://www.youtube.com/watch?v=LE0B_XUJlYQ
https://www.youtube.com/watch?v=svq3ZFN1kmU
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/06/2023 6:29 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟจีน-ลาวขนส่งทุเรียนไทยชุดแรกสู่นครฉงชิ่ง
Praween
Jun 15, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=S__BGTB4qDk

ทุเรียนสดจากประเทศไทยถูกส่งมายังนครเฉิงตูและฉงชิ่งเป็นครั้งแรกผ่านเส้นทางรถไฟจีน-ลาว รถไฟขบวนนี้บรรทุกตู้แช่เย็น 28 ตู้ ได้แก่ผลไม้หลากหลายชนิด มีทั้งทุเรียนและมังคุด มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท

ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าจีน-ลาวโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ห้องเย็น ใช้เวลาเดินทาง 4 วันจากนครหลวงเวียงจันทน์เมืองหลวงของสปป.ลาว ผ่านท่าเรือโม่ฮาน มณฑลยูนนาน มาถึงจุดหมายปลายทางที่นครฉงชิ่งและถูกขนส่งไปยังนครเฉิงตูและพื้นที่โดยรอบ

เจ้าหน้าที่กล่าวว่า เส้นทางการค้าผ่านทางรถไฟจีน-ลาวนี้ช่วยย่นระยะเวลาการขนส่งอย่างมาก ช่วยรับประกันความสดของผลไม้ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนและประเทศเพื่อนบ้าน

Deng Haoji ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทนําเข้าและส่งออกผลไม้กล่าวว่า ในอดีตต้องใช้เวลา 10 ถึง 12 วันในการขนส่งทุเรียนผ่านทางเรือ และ 6-8 วันผ่านทางรถยนต์ ไปยังพื้นที่นครเฉิงตูและฉงชิ่ง แต่การขนส่งทางรถไฟจีน-ลาวใช้เวลาเพียง 4-6 วัน เท่านั้น

Wang Yihua ผู้อํานวยการฝ่ายการตลาดของ Chongqing International Logistics Group กล่าวว่า บริษัทได้เปิดช่องทางการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ห้องเย็นเพื่อขนส่งอาหารจากโรงงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังนครเฉิงตูและฉงชิ่งโดยตรง เป็นการขยายความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจทั้งในและต่างประเทศ

รถไฟจีน-ลาว วิ่งระหว่างนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ถึงนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว มีระยะทาง 1,035 กิโลเมตร เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564

ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจ China Face


-----------


รถไฟลาว-จีน บันทึกการเดินทางของผู้โดยสารข้ามแดน 25,000 เที่ยว
14/06/2023 15:12

KPL (KPL/Xinhua) การรถไฟลาว-จีนได้จัดการการเดินทางของผู้โดยสารข้ามพรมแดนแล้ว 25,000 เที่ยว นับตั้งแต่เปิดให้บริการผู้โดยสารเมื่อวันที่ 13 เมษายน ตามข้อมูลของด่านตรวจคนเข้า-ออกด่านโมฮัน

รถไฟโดยสารที่มุ่งหน้าไปยังเวียงจันทน์กำลังรอออกเดินทางจากสถานีรถไฟ Kunming South ในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2023 (Xinhua/Xing Guangli)

(KPL/Xinhua) การรถไฟลาว-จีนได้ดำเนินการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนแล้ว 25,000 เที่ยว นับตั้งแต่เปิดให้บริการผู้โดยสารเมื่อวันที่ 13 เมษายน ตามข้อมูลของด่านตรวจคนเข้า-ออกด่านโมฮัน

ในช่วงเวลาดังกล่าว โมฮัน เมืองชายแดนของจีนในมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศบันทึกการเดินทางของผู้โดยสารขาเข้า 14,156 เที่ยวและขาออก 11,752 เที่ยว

"เรามีความสุขมากที่ได้เดินทางบนรถไฟโดยสารระหว่างประเทศที่ดำเนินการโดยรถไฟลาว-จีน ซึ่งสะดวกสบาย" ไมเคิลและอลิชา ดรากู สองสามีภรรยาจากสหรัฐฯ กล่าว "เรานั่งรถไฟไปได้หลายแห่งในยูนนานและลาวด้วย สุดยอดจริงๆ"
“หลังจากรถไฟจีน-ลาวเปิดให้บริการรถไฟโดยสารระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการลาวจำนวนมากยินดีทำธุรกิจในจีน ผมและเพื่อนไปจีนครั้งนี้เพื่อสำรวจตลาดลำไย” ภูมิ สีไซวง นักท่องเที่ยวจากลาวกล่าว

รถไฟลาว-จีน ซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญของความร่วมมือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางคุณภาพสูง เริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ทางรถไฟระยะทาง 1,035 กม. เชื่อมต่อคุนหมิงของจีนกับเวียงจันทน์ในลาว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 20/06/2023 7:17 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟจีน-ลาวขนส่งทุเรียนไทยชุดแรกสู่นครฉงชิ่ง
Praween
Jun 15, 2023
https://www.youtube.com/watch?v=S__BGTB4qDk


จีนศึกษา (วันพุธที่ ๒๑ มิ.ย.๖๖) ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการขนส่งที่ช่วยลดระยะเวลาของทุเรียนสดของไทยในการเข้าสู่ตลาดในมหานครฉงชิ่ง โดยเมื่อวันที่ ๑๑ มิ.ย.๖๖ ทุเรียนของไทยน้ำหนักรวม ๕๐๐ ตัน บรรจุในตู้แช่เย็นของขบวนรถไฟจีน-ลาว-ไทย ได้ลำเลียงขนส่งไปถึงสถานีเสี่ยวหนานย่า เขตเจียงจิง ในมหานครฉงชิ่ง อย่างราบรื่น ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ทุเรียนไทยขึ้นขบวนรถไฟ ผ่านทางสัญจรใหม่ทางบกและทางทะเล ลำเลียงขนส่งข้ามแดนไปถึงเขตภาคตะวันตกของจีนโดยตรง ด้วยวิธีการขนส่งดังกล่าวนี้ช่วยลดระยะเวลาที่ทุเรียนสดไทยจะเข้าสู่ตลาดฉงชิ่ง
ทั้งนี้ นายหวัง อี้ฮั้ว ผู้รับผิดชอบฝ่ายการตลาดกลุ่มบริษัทโลจิสติกส์ระหว่างประเทศในมหานครฉงชิ่ง กล่าวว่า “ทุเรียนดังกล่าวออกเดินทางจากไทยในวันที่ ๗ มิ.ย.๖๖ ใช้เวลาเพียง ๔ วันก็ไปถึงมหานครฉงชิ่ง ซึ่งแต่ก่อนการนำเข้าทุเรียนไทยมามหานครฉงชิ่ง จะขนส่งทางทะเลหรือทางรถไฟที่ต้องต่อรถอีกครั้ง แต่การขนส่งด้วยตู้แช่เย็นในครั้งนี้ ดำเนินการด้วยรูปแบบทางรถไฟ+รถยนต์” หลังผ่านด่านชายแดนแล้ว ก็ตรงไปที่มหานครฉงชิ่งทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งแบบทวิภาคีของทั้งสองฝ่ายให้เพิ่มสูงขึ้น
นายเติ้ง ห้าวจี๋ หัวหน้าฝ่ายดำเนินการของบริษัทผลไม้หงจิ่ว ในมหานครฉงชิ่ง กล่าวว่า “สำหรับพ่อค้าผลไม้ เวลาก็คือเงินทองแต่ละชั่วโมงล้วนมีความสำคัญมาก ‘ขบวนรถไฟทุเรียน’ ทำให้ลดเวลากว่า ๕๐% นโยบายเพิ่มความสะดวกทางการค้าต่างๆ ช่วยให้บริษัทการค้าต่างประเทศลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ หมายถึงทุเรียนไทยสามารถที่จะเข้าตลาดจีนด้วยราคาถูกยิ่งขึ้น”
โดยเป็นที่เข้าใจกันว่าเมื่อความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลบังคับใช้ เช่นเดียวกับการก่อสร้างทางเดินบก-ทะเลแห่งใหม่ทางทิศตะวันตก การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างไทยกับประเทศอื่นในอาเซียนและประเทศจีนก็มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ นายเติ้ง ห้าวจี๋ ยังได้กล่าวว่า นโยบายการค้าที่เอื้ออำนวยหลายหลากทำให้บริษัทการค้าต่างประเทศสามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพได้ ซึ่งหมายความว่าทุเรียนไทยที่สดใหม่สามารถเข้าสู่ตลาดจีนได้ในราคาที่ถูกกว่า
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

http://www.news.cn/fortune/2023-06/11/c_1129686002.htm
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/6398977840149107
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/06/2023 6:56 pm    Post subject: Reply with quote

จีนเปิดขนส่งรถไฟใช้ไทยเชื่อม 90 ประเทศ | อาเซียน 4.0 ออนไลน์ |TNN| อาทิตย์ที่ 25 มิ.ย. 2566
TNN Online
Jun 25, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=Mxhf9NbvIok

จีนเปิดขนส่งรถไฟใช้ไทยเชื่อม 90 ประเทศ | อาเซียน 4.0 ออนไลน์ |TNN| อาทิตย์ที่ 25 มิ.ย. 2566

รัฐบาลจีนได้เปิดบริการเส้นทางขนส่งสินค้า เชื่อมจีนและอาเซียน เพิ่่มขึ้นอีก 1 สาย คือ นครฉงชิ่ง ไปยังมาเลเซีย ได้เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2566 เส้นทางรถไฟสายนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากจีนโดยเฉพาะจากเมืองด้านใน มายังอาเซียน

เว็บไซต์ China Daily เผยว่า ขบวนขนส่งสินค้า ขบวนนี้ วิ่งออกจากนครฉงชิ่ง ในมณฑลเสฉวน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2566 เดินทางถึงปลายทาง เมืองปาดังเบซาร์ ของมาเลเซีย รวมเวลาการเดินทาง 13 วันเท่านั้น โดยรถไฟได้บรรทุกสินค้าทางด้านอุตสาหกรรมไปส่งยังมาเลเซีย โดยผ่านระบบรางของ สปป.ลาวและไทย

ก่อนหน้านี้ ถ้าจีนจะส่งสินค้าไปมาเลเซีย จะต้องใช้เวลานาน ถึง 25 วัน
หากจะส่งสินค้าจากฉงชิ่ง จะต้องบรรทุกสินค้าลงเรือ ล่องในแม่น้ำแยงซี ส่งสินค้าไปที่ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ จากนั้นขนลงเรือขนาดใหญ่
อ้อมช่องแคบมาละกาที่ สิงคโปร์ เลาะชายฝั่งด้านตะวันตก ของมาเลเซีย ไปที่ท่าเรือ Port Klang หรือท่าเรือปีนัง จากนั้นกระจายไปยังจุดหมาย

ทั้งนี้ รัฐบาลจีน ได้พัฒนายุทธศาสตร์การขนส่ง ภายในเชื่อมกับภายนอกประเทศขึ้นมา เรียกว่า ระเบียงการค้าระหว่างประเทศทางบกและทางทะเลแห่งใหม่ หรือ The International Land-Sea Trade Corridor (ILSTC)

เส้นทางการค้า และการขนส่ง อันเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของจีน
ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่นครฉงชิ่ง เชื่อมต่อกับท่าเรือกว่า 190 แห่งในกว่า 90 ประเทศ เป็นโครงการร่วม ของมณฑลพันธมิตรทางตะวันตกของจีน ได้แก่ นครฉงชิ่ง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มณฑลกุ้ยโจว มณฑลกานซู่ มณฑลชิงไห่ มณฑลซินเจียง มณฑลยูนนาน และเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย และเส้นทางนี้จะ ลดการ การเดินทางแบบเดิมลงร้อยละ 50

เส้นทางบริการขนส่งสินค้า สายนี้ จะทำให้ เส้นทางรถไฟ จีน สปป.ลาว ไทย มีความคึกคัก และใช้ได้จริงมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการธุรกิจโลจิสติกส์ระบบรางของไทยก็จะสร้างเม็ดเงินได้มากขึ้นตามไปด้วย

ทางรถไฟสปป.ลาว คือช่องทางสำคัญระหว่างผู้ค้าใน 25 มณฑล
ของจีนกับผู้ค้าในตลาดอาเซียน นอกจากเส้นทางจีน สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ แล้ว จีนได้พัฒนาเส้นทางรถไฟ จีน เมียนมา

นครฉงชิ่ง เป็น มหานครที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ครอบคลุมพื้นที่ 82,300 ตารางกิโลเมตร ในมณฑลเสฉวน และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ของจีน รองจากเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง เซินเจิ้น และกวางโจว โดยเป็น 1 ใน 4 ของนครปกครองโดยตรงของรัฐบาลกลาง

ในมุมเศรษฐกิจ ฉงชิ่ง เป็นเมืองที่มีอัตราการเติบโตของจีดีพี ต่อปีอย่างน้อยร้อยละ 10 เป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของจีน โดยสร้างรายได้มากถึง 2.78 ล้านล้านหยวน (14 ล้านล้านบาท) เมื่อปี 2563

ปัจจุบัน ฉงชิ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในภาคตะวันตกของจีน โดยเศรษฐกิจมีหลากหลาย จากอุตสาหกรรมหลักต่างๆ อาทิ อาหารแปรรูป การผลิตรถยนต์ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ เครื่องจักร และอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นแหล่งผลิตรถจักรยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนด้วยบริษัทขนาดใหญ่ 500 อันดับแรกของจีน ก็เข้าไปตั้งบริษัทในฉงชิ่งหลายแห่ง รวมทั้งบริษัทจากสหรัฐ เช่น Deloitte และ Apple

นอกจากนั้น ฉงชิ่ง ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ ASEAN-Chongqing Center
เพื่อรองรับบริการทางเงินให้แก่นักธุรกิจจีนที่ไปทำการค้าและลงทุนในอาเซียนด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2023 11:55 am    Post subject: Reply with quote

แนวคิดในการเชื่อมต่อการพัฒนาแถบเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซีกับโครงการข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative : BRI) ของจีน
ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนาแถบเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซี มีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์ จากการที่มีพื้นที่ครอบคลุม ๙ มณฑล ๒ มหานคร ในภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคตะวันตกของจีน นับตั้งแต่มหานครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง มณฑลอันฮุย มณฑลเจียงซี มณฑลหูเป่ย มณฑลหูหนาน มหานครฉงชิ่ง มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) และมณฑลกุ้ยโจว รวมเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น ๒,๐๕๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีประชากรเกือบ ๖๐๐ ล้านคน หรือ ๔๐% ของชาวจีนทั้งหมด และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจในสัดส่วน ๔๐% ของมูลค่าเศรษฐกิจของจีนทั้งหมด จึงเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสูงที่สุดของจีน และได้แบ่งออกเป็นเขตเศรษฐกิจ ๓ พื้นที่ได้แก่
๑. พื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีตอนบน มีมหานครฉงชิ่งเป็นจุดศูนย์กลาง
๒. พื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีตอนกลาง มีนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยเป็นจุดศูนย์กลาง
๓. พื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีตอนล่าง มีมหานครเซี่ยงไฮ้เป็นจุดศูนย์กลาง รองรับสินค้าที่ขนส่งมาจากจีนตอนในส่งออกสู่ทะเลเพื่อขนส่งไปยังต่างประเทศ
นอกจากนี้ ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและการเชื่อมต่อจีนกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลกนั้น รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับเส้นทางเศรษฐกิจบนแม่น้ำแยงซีเป็นอย่างมาก เนื่องจากมองว่า มีโครงข่ายเชื่อมโยงทางน้ำและพื้นฐานของระบบการขนส่งทางน้ำที่แข็งแกร่งและมีศักยภาพสามารถเติบโตขึ้นได้อีกมาก โดยเฉพาะมหานครฉงชิ่ง ที่อยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจบริเวณแม่น้ำแยงซีตอนบน (ซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว จากการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้นโยบายพัฒนาภาคตะวันตก หรือ Western Development Policy เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ จนต้องยกเป็นเมืองระดับมหานคร และแยกออกมาจากมณฑลซื่อชวนหรือเสฉวน) และมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่น แม้ว่าจะอยู่ด้านตอนใน ไม่ติดทะเล แต่สามารถใช้ประโยชน์จากการคมนาคมขนส่ง โดย
๑. เส้นทางน้ำใช้แม่น้ำแยงซี จากเขตเศรษฐกิจบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีตอนบน ที่มีมหานครฉงชิ่งเป็นจุดศูนย์กลาง ผ่านเขตเศรษฐกิจบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีตอนกลาง ที่มีนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยเป็นจุดศูนย์กลาง ไปสู่เขตเศรษฐกิจบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีตอนล่าง ที่มหานครเซี่ยงไฮ้เป็นจุดศูนย์กลางเพื่อขนส่งไปยังต่างประเทศทางทะเลและทางอากาศ
๒. เส้นทางบกใช้เส้นทางรถไฟที่เรียกว่า “หยูซินโอว (渝新欧)" ซึ่งเริ่มเปิดบริการขนส่งสินค้าเมื่อวันที่ ๒๙ พ.ค.๕๘ เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศในเอเชียกลางไปสู่ยุโรปภายใต้โครงการ BRI โดยเริ่มจากมหานครฉงชิ่ง ผ่านเมืองหลานโจว เมืองอูลูมูฉี ออกจากประเทศจีนที่เมืองอาลาซานโข่ว ผ่านประเทศคาซัคสถาน รัสเซีย เบลารุส โปแลนด์ สิ้นสุดปลายทางที่เมืองดุยส์บูวร์กของเยอรมนี รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ ๑๑,๑๗๙ กิโลเมตร และใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ ๑๒ - ๑๓ วัน ทำให้ประหยัดเวลากว่าการขนส่งทางทะเลสู่ยุโรปถึงกว่า ๒๐ วัน
ดังนั้น การเชื่อมต่อการพัฒนาแถบเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซีกับโครงการข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” หรือ BRI โดยมีมหานครฉงชิ่ง ซึ่งเป็นฐานอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ อันจะส่งผลให้ประชาชนจีนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีกำลังซื้อมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยว และภาคบริการของไทย เช่น ร้านอาหาร และสปา เป็นต้น นอกจากนี้ การที่มหานครฉงชิ่ง เป็นจุดศูนย์กลางของการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟหยูซินโอว ที่ขนส่งสินค้าจากฉงชิ่งผ่านเอเชียกลางไปสู่ยุโรป ที่สามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางขนส่งทางบกระหว่างไทย-จีน ผ่านเส้นทาง R3A และ R3A+ (กรุงเทพฯ-คุนหมิงของมณฑลอวิ๋นหนานหรือยูนนาน-เฉิงตูของมณฑลซื่อชวนหรือเสฉวน) ล่าสุด รถไฟขนส่งสินค้าฉงชิ่ง-ยุโรปได้ขยายรางลงใต้สู่ภูมิภาคอาเซียนแล้ว เมื่อต้นปีนี้ โดยเป็นการเชื่อมเส้นทางขนส่งระบบรางสู่ราง ที่เชื่อมโยงระหว่าง “ยุโรป-ฉงชิ่ง-อาเซียน” (เริ่มจากมหานครฉงชิ่ง ไปหนานหนิง ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เพื่อออกจากประเทศจีนทางด่านผิงเสียง และต่อไปยังกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ซึ่งในอนาคตมหานครฉงชิ่ง มีแผนการขยายรางเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย หรือ Trans-Asian Railway ที่รวมถึงลาว ไทย มาเลเซียและสิงคโปร์) เพื่อเพิ่มช่องทางขนส่งสินค้าแก่ผู้ประกอบการ จึงนับเป็นโอกาสที่ดีของสินค้าไทยที่จะสามารถกระจายสินค้าไปยังเอเชียกลางและยุโรปได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้นในอนาคต
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
http://globthailand.com/china_0128/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2023 5:16 pm    Post subject: Reply with quote

ข้อเสนอแนะบางประการสำหรับการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ไทยในอนาคต จากมุมมองของจีน โดยจะเป็นข้อคิดอันสืบเนื่องมาจากการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างราชอาณาจักรไทย-สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ ๑ ก.ค.๑๘ ซึ่งครบรอบ​ ๔๘ ปีในปีนี้กล่าวคือ
ด้วยความพยายามร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมระหว่างจีน-ไทย ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมิตรภาพอันลึกซึ้งของ "จีนและไทยมิใช่อื่นไกลพี่น้องกัน" (“中泰一家亲”) ได้หยั่งรากลึกในหัวใจของทั้งสองประเทศ เป็นจุดเริ่มต้นใหม่ทางประวัติศาสตร์ที่จะผลักดันความสัมพันธ์จีน-ไทยไปสู่ระดับใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับความสนใจและความปรารถนาร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
ประการแรก เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและเพิ่มความไว้วางใจในมิตรภาพทางการเมืองซึ่งกันและกัน ผู้นำจีนและไทยมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างใกล้ชิดในรูปแบบของ "การเยี่ยมญาติ" (“走亲戚”) และทั้งสองฝ่ายมีความรู้สึกที่ลึกซึ้ง
ประการที่สอง สร้างนวัตกรรมอย่างกล้าหาญและส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งจีนและไทยกำลังเผชิญกับภารกิจร่วมกันในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สมดุลและการก้าวข้าม "กับดักรายได้ปานกลาง" (“中等收入陷阱”) โดยควรกระชับและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าในทางปฏิบัติ รวมทั้งร่วมกันส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงและการยกระดับเศรษฐกิจ ยึดมั่นในการขับเคลื่อนนวัตกรรม ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มเนื้อหาทางเทคนิคของความร่วมมือในอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม แต่ยังส่งเสริมรูปแบบธุรกิจใหม่และความร่วมมือในอุตสาหกรรมใหม่
ประการที่สาม พยายามอย่างไม่ลดละเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนในเชิงลึกและอย่างรอบด้าน ทั้งจีนและไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีวัฒนธรรมอันวิจิตรตระการตา รวมทั้งมีศักยภาพอย่างมากในการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนและวัฒนธรรมที่ลึกซึ้ง
ประการที่สี่ ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อขยายความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ฝ่ายจีนยินดีทำงานร่วมกับฝ่ายไทยเพื่อส่งเสริมคุณภาพและยกระดับความร่วมมือจีน-อาเซียน ส่งเสริมความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขงเพื่อบรรลุผลลัพธ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ร่วมกันนำความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เปิดกว้างและครอบคลุม รักษาแนวโน้มของการพัฒนาแบบเปิดในระดับภูมิภาค ตลอดจนผลักดันการสร้างประชาคมแห่งเอเชียที่มีอนาคตร่วมกัน
ทั้งนี้ การพัฒนาความร่วมมือฉันมิตรจีน-ไทย ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการทูตเพื่อนบ้านของจีน และความสัมพันธ์จีน-ไทยจะเป็นแบบอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้าน
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.sohu.com/a/666617594_120355453 และเว็บไซต์ http://www.sky.yn.gov.cn/xsyj/zgsd/2041919109258999696 )
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/07/2023 3:08 pm    Post subject: Reply with quote

เล่าประสบการณ์บนเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ตอนที่ 1 : ด่านบ่อหาน พลิกโฉมสปีดการส่งออกสินค้าสู่ตลาดจีน
ผู้จัดการออนไลน์ 2 ก.ค. 2566 13:53 น.

https://mgronline.com/china/detail/9660000059910
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/07/2023 4:28 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลจีนควบคุมการเข้าออกประเทศจีนโดยคนในเอเซียตะวันรออกเฉียงใต้ ผ่านทางรถไฟ
https://www.bernama.com/en/world/news.php?id=2200211&fbclid=IwAR3jNldxxH51aNeybRwaAUBGhT_-nWtkPQFH7ub4iqqoQYMmOtjfmXpBqSw
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/07/2023 8:30 pm    Post subject: Reply with quote

2 อธิบดีปล่อยขบวนรถไฟขนทุเรียน 300 กว่าตัน จากระยองไปคุนหมิง
บ้านเมือง วันอังคาร ที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2566, 20.18 น.

เมื่อวันที่ 4 กค.เวลา 09.30น.ที่สถานีรถไฟมาบตาพุด ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กับนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และ ว่าที่ รต.พิรุณ เหมะรักษ์ รอง ผวจ.ระยอง เป็นประธานร่วมกันในการปล่อยขบวนรถไฟจากสถานีรถไฟมาบตาพุด สู่ คุนหมิง

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า วันนี้มาติดตามส่งออกผลไม้ ปี2566 ทั้งหมด 15 ตู้ รถไฟ จำนวน 300 ตัน ร่วม 100ล้านบาท เป็นเรื่องที่ดีกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สร้างความมั่นใจลดปัญหาหน้าด่านส่งออกทางราง นับวันจะมีการส่งออกทางนี้เพิ่มขึ้นใช้เวลาถึงจุดหมายแค่สี่วัน มีการจับมือกับกลุ่มผู้ส่งออกหลายกลุ่ม ต่อไปจะมีการเน้นส่งลองกอง ลำใยอีกเช่นกัน ขอเตือนเรื่องการสวมสิทธิ์เน้นย้ำอย่าสวมสิทธิ์

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการ กล่าวว่าต้องขอเตือนพ่อค้าที่นำเข้ากระเทียม หอมใหญ่ ข้าวโพด ขอให้แจ้งพิกัดขนย้ายจะมีผลกระทบต่อเกษตรกรในเรื่องราคา ป้องกันโรคระบาดเมื่อสองอาทิตย์มานี้ได้จับผู้ลักลอบ 53ตัน จึงขอเตือน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 06/07/2023 1:56 pm    Post subject: Reply with quote

นักธุรกิจมาเลย์ชักสนท่าเรือแห้งที่ท่านาแล้ง และ สวนอุตสหกรรมลอจิสติกส์เวียงจัน เพื่อส่งสินค้าจากมาเลเซียไปจีนป่านระบบรถไฟล่วจีนและรถไฟไทย
https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2023/06/29/malaysian-delegation-explores-benefits-of-thanaleng-dry-port-and-vientiane-logistics-park?utm_source=substack&utm_medium=email&fbclid=IwAR0QsR92zDDBvoCfaT5sjZqht5z5mNRlwzuxwiPiMNcIo8Qxv3I1C21-QR8
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 120, 121, 122 ... 137, 138, 139  Next
Page 121 of 139

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©