Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311323
ทั่วไป:13284544
ทั้งหมด:13595867
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 136, 137, 138  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2013 9:09 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
If they can add more rakes for this overnight Hanoi (Gia Lam) - Dongdang - Pingxia - Nanning trains or more frequent trains, it will be very nice once Nan Ning has high speed train connection with either Guangzhou South station or Shenzhen North station to connect with Beijing - Shenzhen - Hongkong highspeed.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44786
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/02/2013 7:15 pm    Post subject: Reply with quote

เส้นทางรถไฟอวี้ซี – เหมิงจื้อเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ
2013-02-24 17:05:43 cri

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เส้นทางรถไฟแพนเอเชียสายอวี้ซี – เหมิงจื้อที่ก่อสร้างมาเป็นเวลา 7 ปีได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว ถือเป็นการสิ้นสุดการไม่มีเส้นทางรถไฟรางมาตรฐานในภาคใต้ของมณฑลยูนนาน โดยยูนนานจะอาศัยช่องทางระหว่างประเทศสายนี้ เ่ร่งการพัฒนาเศรษฐกิจเปิดสู่ภายนอกมากขึ้น

เส้นทางรถไฟอวี้ซี - เหมิงจื้อเป็นโครงการสำคัญในยุทธศาสตร์พัฒนาภาคตะวันตกและการสร้างฐานเศรษฐกิจในภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่เปิดสู่ภายนอก เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครือข่ายเส้นทางรถไฟแพนเอเชีย การเปิดให้บริการของเส้นทางรถไฟสายนี้ มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาระบบการคมนาคมทางภาคใต้ของมณฑลยูนนาน ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑลยูนนาน บุกเบิกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสร้างเครือข่ายการคมนาคมจีน-อาเซียน

----
เส้นทางรถไฟแพนเอเชียสายอวี้ซี – เหมิงจื้อเปิดให้บริการ โดยจะเชื่อมต่อกับเสินทางรถไฟเวียดนาม
2013-02-24 17:04:43 cri

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เส้นทางรถไฟแพนเอเชียสายอวี้ซี – เหมิงจื้อ ซึ่งก่อสร้างมาเป็นเวลา 7 ปีได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว

เส้นทางรถไฟสายอวี้ซี – เหมิงจื้อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิิงหาคมปี 2012 โดยเริ่มต้นจากเมืองอวี้ซี ผ่านเมืองทงไห่ เมืองเจี้ยนสุ่ยถึงเมืองเหมิงจื้อ ระยะทาง 141 กิโลเมตร เป็นเส้นทางรถไฟระบบอิเล็กทรอนิกส์ระดับเอของประเทศ สามารถเดินรถไฟด้วยความเร็วสูงสุดถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ขณะนี้ กำลังสร้างทางรถไฟจากเหมิงจื้อถึงเหอโข่ว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนปี 2014 และจะเชื่อมต่อกับทางรถไฟอวี้ซี – เหมิงจื้อและคุนหมิง – อวี้ซี ประกอบเป็นเครือข่ายทางรถไฟแพนเอเชียสายตะวันออก โดยจะเชื่อมกับเครือข่ายทางรถไฟเวียดนามด้วย

----

Railway linking China, ASEAN becomes operational
Vietnam Breaking News February 24, 2013 by vovworld

A railway that links southwest China’s Yunnan Province with the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) countries became operational on Saturday after seven years of construction, local railway authorities said.
The railway between Yuxi and Mengzi is part of the eastern line of the planned Pan-Asia Railway network.

The 141-km railway has a designed maximum speed of 120 km per hour. It passes through 35 tunnels and crosses 61 bridges, which together account for 54.95 percent of the eastern line’s total length.

The eastern line also consists of Kunming-Yuxi Railway, which had been in operation, and the Mengzi-Hekou Railway that is under construction and scheduled to be operational end of next year.

Upon the full completion of the eastern line, it will further open up China’s southwest, improve transportation and boost economic development along the line, experts said.

----

จีนเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟสายใหม่ในยูนนาน หวังเชื่อมอาเซียน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 24 ก.พ. 2556 เวลา 23:47:02 น.

เจ้าหน้าที่การรถไฟมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนเปิดเผยวานนี้ว่า เส้นทางรถไฟสายที่เชื่อมระหว่างมณฑลยูนนานกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่เรียกว่าเครือข่ายเส้นทางรถไฟสายแพน-เอเชีย สามารถเปิดใช้งานในส่วนที่สองได้แล้ว หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2555 ซึ่งใช้ระยะเวลานานกว่า 7 ปีในการก่อสร้าง โดยเป็นส่วนที่วิ่งให้บริการระหว่างเมืองยวี่ซีกับเมืองเมิ่งจื้อในมณฑลยูนนาน ด้วยระยะทาง 141 กม. หรือคิดเป็นร้อยละ 54.95 ของเส้นทางรถไฟสายตะวันออกของเครือข่ายรถไฟแพน-เอเชีย

เส้นทางรถไฟที่เปิดให้บริการระหว่างเมืองยวี่ซีกับเมืองเมิ่งจื้อนี้สามารถรองรับรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 120 กม./ชม. ผ่านเส้นทางที่เป็นอุโมงค์ 35 แห่ง และต้องข้ามสะพานทั้งสิ้น 61 แห่ง สำหรับเส้นทางรถไฟสายตะวันออกของเครือข่ายแพน-เอเชียทั้งหมดนั้นยังรวมถึงเส้นทางที่ให้บริการระหว่างเมืองคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลยูนนานกับเมืองยวี่ซี ซึ่งเปิดให้บริการไปก่อนหน้านี้ และเส้นทางระหว่างเมืองเมิ่งจื้อกับเมืองเหอโข่ว ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีกำหนดเปิดให้บริการในสิ้นปีหน้า เมื่อเส้นทางรถไฟสายตะวันออกแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ทั้งหมดแล้ว ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะทำให้พื้นที่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนได้รับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ตลอดจนระบบการขนส่งมวลชนเป็นอย่างมาก นอกจากเส้นทางรถไฟสายตะวันออกแล้ว เครือข่ายเส้นทางรถไฟแพน-เอเชียยังครอบคลุมถึงเส้นทางรถไฟสายกลาง สายตะวันตก และเส้นทางรถไฟนานาชาติ ซึ่งเชื่อมจีนเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียนด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2013 11:42 pm    Post subject: Reply with quote

นี่ครับโครงการทางรถไฟของจีนเชื่อมพม่า ลาว และ เวียตนาม

1. เส้นทางรถไฟ ท่าเรือเจียวเพียว- มูเซ (ชายแดนจีน) ระยะทาง 997 กม. เป็นทางรถไฟทางเด่ียว single track สัดส่วนของสะพานและอุโมงค์ 40% อัตราความเร็วของรถไฟสูงสุด 160km/h ใช้ระบบ Diesel มีเลือก 2 แนวรถไฟ (ผ่านเนปีดอร์หรือมาเกว) มูลค่าการลงทุนทั้งหมด 1 หมื่นล้านเหรียญสรอ. (ประมาณ 10 ล้านเหรียญ / กิโลเมตร)

แนวจากท่าเรือทวาย-มูเซ = 1,700 กม..ไกลกว่า/อ้อมกว่า สำหรับจีน เมือเทียบกับท่าเรือเจียวเพียว- มูเซ (ชายแดนจีน) ระยะทาง 997 กม.


http://econ.tu.ac.th/archan/Aksornsri/China_%20High%20Speed%20Train%20in%20GMS_by%20Aksornsri_PDF.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44786
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/03/2013 12:55 pm    Post subject: Reply with quote

Railway line heralds new trading dawn
By Guo Anfei and Hu Yongqi in Kunming, Yunnan (China Daily)
09:05, March 18, 2013

Click on the image for full size
A train on a bridge of the 141-kilometer Yuxi-Mengzi Railway, the China part of the Pan-Asia Railway linking China with members of the Association of Southeast Asian Nations. Because of the special geographical conditions, the construction team behind the Yuxi-Mengzi line was confronted with many challenges. More than half of the railway, 77 km, was built on bridges and through tunnels. The new line will ensure faster speed and safer trips that sharply reduce the cost of transportation in the region. Wang Jianyun / For China Daily
Construction was a hugely complex affair taking years, say engineers

Pomegranate grower Ma Shan was pleased to see the train arriving at Mengzi, the capital city of the Honghe Hani and Yi autonomous prefecture in southern Yunnan province.

On Feb 23, a train pulled out of Kunming, passed through the city of Yuxi and proceeded to the southern Yunnan city for the first time. Its successful arrival marked the launch of the new Yuxi-Mengzi Railway.

In the near future, the train is expected to travel south from Mengzi, pass through nearby estuary ports and on to the Pacific Ocean, completing its historic journey in the island nation of Singapore. As such it will form the main transportation artery between China and the Association of Southeast Asian Nations, a geo-political and economic organization of 10 countries located in Southeast Asia, comprising Indonesia, Malaysia, the Philippines, Singapore, Thailand, Brunei, Myanmar, Cambodia, Laos and Vietnam.

The operation of the Yuxi-Mengzi Railway "shortens the route by more than two hours from my town to the provincial capital of Kunming", Ma said.

"It will not only save me time but also cost less in shipping, which is more important for the fruit. We expect our income to increase this year," he said.

The Yuxi-Mengzi Railway, which opened at the end of last month, was considered a significant move by the Yunnan provincial government to facilitate local industries such as fruit-growing. As part of a bigger picture, the railway constitutes what will become an indispensable part of the eastern line of Pan-Asia Railways, a crucial connection between Southwest China and the economies of Southeast Asia.

At the fifth ASEAN summit in December 1995, former Malaysian prime minister Mahathir Mohamad proposed building a Pan-Asia Railway through the Malay Peninsula, visiting Singapore, Malaysia, Thailand, Vietnam, Myanmar, Cambodia and eventually reaching Kunming in China. The initiative immediately received recognition from the summit attendees and the Chinese government. In September 2006, the ASEAN countries reached a consensus to speed up the construction of the Pan-Asia Railway that will be completed in 2015.

The plan was to have three lines - in the east, the middle and the west. The east line would operate between Kunming, Kuala Lumpur in Malaysia, Bangkok in Thailand, Phnom Penh in Cambodia, Ho Chi Minh City and Hanoi in Vietnam and Singapore.

When the last part in China is completed, between Mengzi and Hekou county in Honghe, faster trains will head south all the way to Singapore, through the biggest free-trade zone in the world. Experts say the Yuxi-Mengzi railway will help strengthen Yunnan's status as a frontier region open to the ASEAN economies.

As early as April 12, 1910, one loud but lingering whistle pierced the air over Kunming, declaring the operation of the Vietnam Railway. Export cargos from Yunnan were carried on the trains to as far as Hai Phong in Vietnam and then shipped to France.

The prosperous export trade brought Kunming the first customs and the first post office in Yunnan. The provincial capital then ascended to become one of the most influential cities in China. However, people had to endure trains that "were slower than cars". Things changed fundamentally in February this year when a fresh long beep resounded through Honghe declaring the official operation of the modern Yuxi-Mengzi Railway.

Now, as the railway starts operations and the Mengzi-Hekou link is under construction, Yunnan will have another historic opportunity to deepen exchanges with its neighbors.

Liu Baisheng, general director of the Kunming Railway Bureau, said locals would be the beneficiaries from this new railway.

Liu, who attended the National People's Congress session as a deputy in Beijing last week, told China Daily that the Yuxi-Mengzi railway starts from Yuxi, traversing Honghe Hani and Yi autonomous prefecture to cover an area of 48,200 square kilometers with a population of more than 6 million. The area is the major habitation of ethnic groups such as the Hani, Yi and Dai.

"With Kunming-Yuxi, Yuxi-Mengzi railway lines in operation, we have another option for transporting huge cargos long distances across Yunnan province. The new line will ensure faster speed and safer trips that sharply reduce the cost of transportation and increase profits," an entrepreneur in Honghe, who preferred to remain anonymous, said excitedly.

The tracks, mostly bridges and tunnels, were regarded as a soaring steel dragon by residents along the railway, who are optimistic about selling more local agricultural and sideline products and confident of developing the tourism industry

The Yuxi-Mengzi Railway goes through the central Yunnan Plateau, with its mountains and canyons and some of the most intense areas of crustal tectonic movement. Started in September 2005, the new line took seven years to build, said Liu from the Kunming Railway Bureau "The same length of 141 km would only take two or three years in less rugged areas," he said.

Because of the special geographical conditions, Yuxi-Mengzi line builders were confronted with many challenges. More than half of the railway, 77 km, was built on bridges and tunnels. The Xiushan tunnel, 10,302 meters in length, is the longest railway tunnel in Yunnan province and runs through multiple faults and caves. It is famous for complex geological conditions and frequent changes in surrounding rock types.

The tunnel experienced at least 150,000 cubic meters of water leakage during construction every day. The volume increased to 230,000 cubic meters in the rainy season. "The tunnel builders had to endure suffocating humidity, hot days in summer and dust from the digging. Sometimes the collapse of sandstone and mudslides also threatened their lives," said Liu.

After seven years of hard work, they finally completed this Southern Yunnan "mountain road", marking an historic achievement.

Guo Huiming, head of the southern Yunnan railway construction project, was filled with emotion. "The completion of the railway was not easy," he remarked in a very understated fashion.

Guo said the engineering geology of the entire line was extremely complex, with many mountains and deep valleys. "We had poor construction conditions and the work was difficult. There were 173 intersections. The amount of stone ballast totaled 447,626 cubic meters. And there were the bridges and tunnels."

The Yuxi-Mengzi line, according to the former ministry of railways, was a high-risk project because it involved, among many geological challenges, karst high-pressure, water-rich complex geology, tectonic movements, rock-crushing, lots of groundwater in caves, flooding and sudden landslides.

The former ministry will be incorporated into the Ministry of Transport according to the just concluded session of the National People's Congress.

The former ministry and Yunnan provincial government attached great importance to the railway. "They came to the construction site several times to conduct research and to organize meetings to study and deploy technical solutions during construction," Guo said. "So we ultimately completed the Yuxi-Mengzi line thanks to their support."

Economic circles

On the map of Yunnan, the Yuxi-Mengzi Railway directly connects Honghe with Kunming, along with the existing Kunming-Yuxi Railway. Those areas are rich in mineral, biological, cultural and tourism resources. The most immediate effect of the railway's operation is to further enhance Kunming-Yuxi rail transport capabilities. "More importantly, it runs through several cities in central and southern Yunnan so economic factors can flow into each other more smoothly," said Duan Gang, president of the Yunnan Institute of Economic Research.

According to Liu from the Kunming Railway Bureau, Yunnan will become a big economic center, of which cores will be the central Yunnan Industrial District, the Kunming-Yuxi green industrial economy and Kunming-Yuxi leisure tourism economy. There will be two wings - the four cities of Kunming, Qujing, Yuxi and Chuxiong, with Kunming at the center.

The central Yunnan economic circle will be the economic, political, cultural and transportation center. The area will function as the core driving force to promote the integration of the province's economic resources and factors of production, Duan said.

Efforts have been made to promote the construction of central Yunnan Industrial District, focusing on high-end vehicle and equipment manufacturing, electronic information, biology, new materials, textile appliances and a modern services industry cluster area, according to the provincial government.

The Yuxi-Mengzi Railway and the Kunming-Bangkok Highway, along with the construction of the Pan-Asia Railway, will link the southern Yunnan economic circle with cities including Gejiu, Kaiyuan, Mengzi and Jianshui with Mohan and other important ports.

Rich natural and human resources in the area give it a huge advantage on top of the new communication links. The southern Yunnan economic circle is also part of the Kun-River Economic Corridor and there are also the central Yunnan economic connections to the Indian and Pacific Oceans east line and midline arteries.

Accelerating opening

The manufacturing capacity formed by the central Yunnan economic circle will steadily go to the southern Yunnan economic circle, targeted at the ASEAN market and other major importers around the world. The Yuxi-Mengzi Railway will also take on northward transport tasks from the southern Yunnan economic circle and also ASEAN regional resources in order to meet the central Yunnan economic circle requirement for industrial development.

Gejiu city contributes more than 90 percent of the country's output of refined tin. Xiaolongtan coal mine is Yunnan's largest open-cut brown coal mine, located in Kaiyuan.

In addition, the southern Yunnan region is also rich in iron, lead, gold and other mineral resources. These are indispensable for the development of the central Yunnan economic circle.

The Pan-Asia Railway will be the third Asia-Europe continental bridge linking China and ASEAN economies. As an important part of the east line of the Pan-Asia Railway, the Yuxi-Mengzi Railway will carry even more far-reaching significance.

In 2011, China's State Council announced its support to Yunnan province to accelerate the construction of an important frontier for Southwest China to open up, creating a historic opportunity for Yunnan. The Yuxi-Mengzi Railway will act as a highly significant link between China and Southeast Asian markets, further strengthening cooperation and exchanges between the countries, especially Vietnam, said Duan.

"For Yunnan, the railway has the positive significance of improving the province's railway network layout as well as the state of the railway business, promoting safe production and optimizing the railway industry structure. In the future, Yunnan will rely on the Pan-Asia Railway East Line to speed up the pace of opening-up and economic development and accelerate its integration into the global market," Liu Baisheng said.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44786
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/03/2013 1:43 pm    Post subject: Reply with quote

Yuxi-Mengzi railway
Updated: 2013-03-18 05:40
(China Daily)

1995:

The ASEAN summit put forward the concept of the Pan-Asia Railway Network for the first time. It received a warm response from China and ASEAN economies. As the starting point of China's connection with Southeast Asia, a standard gauge railway had to be built in Yunnan. After discussions it was decided to rely on the existing Kunming-Yuxi railway and taking it on to Mengzi before entering Vietnam through Hekou port.

August 31, 2005:
China's National Development and Reform Commission approved the feasibility study for the Yuxi-Mengzi Railway project.

September 1, 2005:
At a total length of 141 kilometers, construction of the Yuxi-Mengzi Railway project started.

In February 2012:
The Yuxi-Mengzi Railway began laying tracks.

Aug 14, 2012:
Workers completed track-laying for the Yuxi-Mengzi Railway.

Feb 23, 2013:
The Yuxi-Mengzi Railway began passenger transportation.
The longest railway tunnel:

Because of special geographical conditions, the Yuxi-Mengzi Railway construction faced many challenges. Xiushan tunnel, which has a total length of 10,302 meters, is the longest railway tunnel in Yunnan province and passes through many faults in the earth's crust as well as caves. It is famous for complex geological conditions and frequent changes in surrounding rock types as well as plenty of underground water. All of the difficulties made the construction extremely problematic.

Pan-Asia Railway:

The name Pan-Asia Railway was devised by former Malaysian prime minister Mahathir Mohamad in December during the fifth ASEAN summit in 1995. He proposed the construction of a railway that went beyond the reach of the Mekong River Basin, from the southern tip of the Malay Peninsula, through Singapore, Malaysia, Thailand, Vietnam, Myanmar, Cambodia and on to Kunming in China. The initiative was immediately met with approval at the ASEAN summit and by the Chinese government.

In 2006, the timetable of construction for the railway was determined. In September of that year, the eighth ASEAN ministerial meeting reached a consensus to speed up construction of the Southeast Corridor of the Pan-Asia Railway, planning completion for 2015.

The Pan-Asia Railway scheme is divided into three programs - east, central and west lines. The east line links Singapore, Kuala Lumpur, Bangkok, Phnom Penh, Ho Chi Minh City, Hanoi and Kunming. The central line links Singapore, Kuala Lumpur, Bangkok, Vientiane, Shangyong and Kunming. The west line links Singapore, Kuala Lumpur, Bangkok, Yangon, Ruili and Kunming.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2013 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

ทางรถไฟสายการค้าแห่งอนาคต...
โดย Jui , ผู้อ่าน : 236 ,
หมวด : ต่างประเทศ
OK Nation 22 มีนาคม 2556 16:39:15 น.

ทางรถไฟสายการค้าแห่งอนาคต...

ผมไม่อยากนำเสนอข่าวการประชุมสภาแห่งชาติจีนเพื่อเลือกผู้นำใหม่ของประเทศจีนที่จะสืบต่ออำนาจตั้งแต่นี้ไปอีกสิบปี เพื่อเป็นการชมผู้นำใหม่ของจีน แต่ผมอยากนำเสนอเรื่องราวของทางรถไฟสายอนาคตซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของจีนที่มีผลกระทบต่อประเทศในเขตอาเซียนโดยตรงรวมทั้งประเทศไทย



รถไฟกำลังวิ่งอยู่บนสะพานของเส้นทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือ (Yuxi-Mengzi Railway) ซึ่งมีความยาว 141 กิโลเมตรในเขตของประเทศจีนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสาย Pan-Asia เชื่อมประเทศจีนกับประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่มีลักษณะพิเศษ ผู้ก่อสร้างซึ่งรับผิดชอบทางรถไฟสายนี้ต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย กว่าครึ่งหนึ่งของเส้นทางทางรถไฟประมาณ 77 กิโลเมตรต้องสร้างสะพานและอุโมงค์รอด เส้นทางสายใหม่นี้จะรับประกันความเร็วและความปลอดภัยในการเดินทางซึ่งจะช่วยลดค่าขนส่งอย่างมากในภูมิภาคนี้

วิศวกรรถไฟกล่าวว่า การก่อสร้างทางรถไฟสายนี้เป็นเรื่องซับซ้อนอย่างมากตั้งแต่เริ่มโครงการ

หม่าซัน (Ma Shan) ชาวสวนปลูกต้นทับทิมยินดีที่ได้เห็นรถไฟวิ่งมาถึงเมืองเมิงจือ เมืองหลวงของเขตปกครองพิเศษหงเหอ ฮานิ และเผ่าอี่ ในมณฑลยูนนาน

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2013 รถไฟเริ่มออกเดินทางจากคุนหมิง ผ่านเมืองหยูซี และเดินทางไปยังเมืองทางใต้ของมณฑลยูนนานนี้ ประสพความสำเร็จในการเดินทางเปิดเส้นทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือ

ในอนาคตอันใกล้ การรถไฟจีนคาดว่าจะสามารถเดินทางลงใต้จากเมืองเมิงจือ ผ่านเมืองท่าปากแม่น้ำที่ใกล้เคียงไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิก เสร็จสิ้นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์เดินทางไปถึงเกาะสิงคโปร์ เช่นนี้มันจะเป็นการสร้างเส้นเลือดหลักในการขนส่งระหว่างประเทศจีนกับประเทศในสมาคมอาเซียนซึ่งเป็นประเทศที่องค์กรณ์ภูมิศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบไปด้วยประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ประเทศไทย บรูไน พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม

หม่าซัน กล่าวว่า การเดินทางของเส้นทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือ ช่วยร่นระยะทางมากกว่าสองชั่วโมงจากบ้านเมืองของเขาไปสู่เมืองคุนหมิง เมืองหลวงของมณฑลยูนนาน

“มันไม่ได้เพียงแต่ประหยัดเวลาเดินทางแต่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ซึ่งมีความสำคัญมากกับสินค้าผลไม้ เราคาดหวังว่า รายได้ของเราจะเพิ่มขึ้นในปีนี้” หม่าซัน กล่าวต่อ

ทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือที่เปิดในปลายเดือนที่แล้วถูกจัดให้เป็นการขับเคลื่อนที่มีนัยยะสำคัญของรัฐบาลท้องถิ่นมณฑลยูนนานเพื่ออำนวยความสะดวกในอุตสาหกรรมท้องถิ่น เช่นผลผลิตทางเกษตรและผลไม้ เป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมของการรถไฟจีนซึ่งถือว่าจะกลายเป็นส่วนสำคัญของเส้นทางรถไฟสายตะวันออกของเส้นทางรถไฟสายPan-Asia เชื่อมต่อภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนกับเขตเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในการประชุม the ASEAN Summit ครั้งที่ 5 ในเดือนธันวาคม 1995 อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มหาเธร์ โมฮัมหมัด เสนอให้มีการสร้างทางรถไฟสาย Pan-Asia มายังคาบสมุทรมลายู จากสิงคโปร์ มาเลเซีย ประเทศไทย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และในที่สุดมาจบที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน ความคิดริเริ่มนี้ได้รับการตอบรับจากผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนและรัฐบาลจีนทันที ในเดือนกันยายน 2006 ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความเห็นสอดคล้องกันที่จะเร่งก่อสร้างทางรถไฟสาย Pan-Asia นี้ ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2015

แผนงานจะมีเส้นทางรถไฟ 3 สาย คือเส้นทางตะวันออก เส้นทางตรงกลาง และเส้นทางตะวันตก เส้นทางตะวันออกเชื่อมระหว่างคุนหมิง กัวลาลัมเปอร์ในมาเลเซีย กรุงเทพฯในประเทศไทย พนมเปญในกัมพูชา โฮจินหมินซิตี้ และ ฮานอยในเวียดนาม และสิงคโปร์

เมื่อส่วนสุดท้ายในประเทศจีนสร้างเสร็จระหว่างเมิงจือและเขตเหอโขว่ในเขตปกครองพิเศษหงเหอ รถไฟความเร็วสูงจะมุ่งหน้าลงทิศใต้ตลอดทางไปยังสิงคโปร์ ผ่านเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือ จะช่วยเสริมสร้างสถานะของมณฑลยูนนานให้เป็นแดนหน้าของจีนที่เปิดสู่เขตเศรษฐกิจอาเซียน

สมัยก่อน เมื่อวันที่ 12 เมษายน 1910 เสียงหวูดรถไฟที่หวีดในอากาศทั่วเมืองคุนหมิงประกาศให้ทราบการเดินรถไฟไปยังเวียดนาม สินค้าส่งออกจากมณฑลยูนนานถูกขนส่งโดยรถไฟไปยังท่าเรือห่างไกลที่ไฮฟองในเวียดนาม จากนั้นถูกขนส่งทางเรือไปยังประเทศฝรั่งเศส

การค้าส่งออกนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่คุนหมิงมีการตั้งด่านศุลกากรแห่งแรกและที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกในมณฑลยูนนาน เมืองหลวงของมณฑลได้กลับกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่มีศักยภาพมากที่สุดในประเทศจีน อย่างไรก็ดีประชาชนต้องทนกับสภาพของรถไฟซึ่งขับเคลื่อนได้ช้ากว่ารถยนต์ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้ เสียงหวีดยาวๆสดๆดังก้องไปทั่วเขตปกครองพิเศษหงเหอ ประกาศการเดินรถไฟที่ทันสมัยอย่างเป็นทางการในเส้นทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือ

ปัจจุบันหลังจากเปิดเดินเส้นทางรถไฟ และทางรถไฟสายเมิงจือ-เหอโขว่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง มณฑลยูนนานยังมีโอกาสอื่นที่จะเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของการเดินรถไฟโดยการแลกเปลี่ยนอย่างลึกซึ้งกับประเทศเพื่อนบ้าน

หลิวป่ายเซิง (Liu Baisheng) ผู้จัดการทั่วไปของการรถไฟคุนหมิง (the Kunming Railway Bureau) กล่าวว่า คนท้องถิ่นจะได้รับประโยชน์จากเส้นทางรถไฟสายใหม่นี้

หลิวป่ายเซิงซึ่งเข้าร่วมการประชุม the National People’s Congress ในฐานะตัวแทน ณ.กรุงเป่ยจิงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ China Daily ว่า เส้นทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือเริ่มจากหยูซี ผ่านเข้าไปในเขตปกครองพิเศษหงเหอและเผ่าอี่ ครอบคลุมพื้นที่บริการ 48,200 ตารางกิโลเมตรซึ่งมีประชากรมากกว่า 6 ล้านคน พื้นที่นี้เป็นพื้นที่อาศัยของชนกลุ่มน้อยเป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่น กลุ่มฮานิ เผ่าอี่ และเผ่าไต้ (เผ่าไท)

“ด้วยทางรถไฟสายคุนหมิง-หยูซีเปิดเดินทาง เรามีอีกทางเลือกสำหรับการขนส่งสินค้าสินค้าขนาดใหญ่ไกลข้ามมณฑลยูนนาน เส้นทางใหม่จะประกันความเร็วให้เร็วขึ้นและความปลอดภัยในการเดินทางซึ่งทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้อย่างมากและกำไรที่เพิ่มขึ้น” ผู้ประกอบการในหงเหอ ซึ่งไม่ชอบจะระบุนามตนเองกล่าวอย่างตื่นเต้น

ทางรถไฟส่วนใหญ่ คือ สะพานและอุโมงค์ ถูกมองว่า เป็นมังกรเหล็กที่กำลังทะยาน โดยชาวบ้านที่อาศัยตามทางรถไฟ ซึ่งมองในแง่ดีเกี่ยวกับการขายสินค้าเกษตรและสินค้าเกี่ยวเนื่องในท้องถิ่นได้เพิ่มขึ้น และ มั่นใจในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ทางรถไฟหยูซี-เมิงจือผ่านไปยังใจกลางที่ราบสูงยูนนาน ประกอบด้วยภูเขา หุบเหว และพื้นที่ที่มีความเคลื่อนไหวรุนแรงของเปลือกโลก เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนกันยายน 2005 เส้นทางใหม่นี้ใช้เวลาถึงเจ็ดปีในการก่อสร้าง หลิวป่ายเซิง จากการรถไฟคุนหมิง แถลง “เส้นทางอื่นความยาวเดียวกัน 141 กิโลเมตร จะใช้เวลาก่อสร้างเพียงสองหรือสามปีในพื้นที่ที่มีภูมิประเทศสูงต่ำน้อยๆ” เขากล่าว

ด้วยเงื่อนไขของลักษณะภูมิประเทศพิเศษ เส้นทางหยูซี-เมิงจือต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย มากกว่าครึ่งหนึ่งของเส้นทางรถไฟ 77 กิโลเมตรต้องสร้างบนสะพานและอุโมงค์ อุโมงค์ซิ่วชาน (Xiushan Tunnel) ซึ่งมีความยาว 10,302 เมตร เป็นอุโมงค์ทางรถไฟที่ยาวที่สุดในมณฑลยูนนาน และวิ่งผ่านถ้ำและเหวจำนวนมาก มันมีชื่อเสียงทางด้านสภาพธรณีวิทยาที่ซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงของชั้นและชนิดของหินโดยรอบ

อุโมงค์ประสบปัญหาน้ำซึมรั่วอย่างน้อย 150,000 ลูกบาศก์เมตรในระหว่างก่อสร้างทุกๆวัน และปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 230,000 ลูกบาศก์เมตรในฤดูฝน “ผู้สร้างอุโมงค์ต้องทนกับความชื้นในระหว่างขุด อากาศร้อนในฤดูร้อน และฝุ่นละอองจากการขุด บางครั้งการถล่มของหินทรายหรือดินโคลนถล่มคอยขู่ที่จะเอาชีวิตของพวกเขา” หลิวป่ายเซิง กล่าว

หลังจากเจ็ดปีของการทำงานอย่างหนัก ในที่สุดพวกเขาประสบความสำเร็จในการสร้างทางรถไฟบนภูเขาตอนใต้ของยูนนาน เป็นเครื่องหมายของความสำเร็จในประวัติศาสตร์

กัวฮุ่ยหมิง (Guo Himing) หัวหน้าของโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ของยูนนานเต็มไปด้วยความตื้นตันใจ “ความสำเร็จของทางรถไฟสายนี้ไม่ได้มาง่ายๆ”

กัวฮุ่ยหมิง กล่าวว่า วิศวกรรมธรณีวิทยาของเส้นทางสายนี้ทั้งหมดมีความซับซ้อนอย่างมาก ประกอบด้วยภูเขาและหุบเขาจำนวนมาก “เรามีสภาพการก่อสร้างที่ค่อนข้างแย่และงานที่ทำก็เป็นงานยาก เรามีจุดตัดถึง 173 แห่ง จำนวนหินอับเฉาทั้งหมด 447,626 ลูกบาศก์เมตร และเราต้องสร้างสะพานและอุโมงค์”

ทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือ จากความเห็นของอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการรถไฟจีน เป็นโครงการที่มีความเสี่ยงสูง เพราะว่ามันเกี่ยวข้องกับความท้าทายของสภาพธรณีวทยาที่แตกต่างจำนวนมาก เขาและถ้ำหินปูนที่มีความดันสูง สภาพธรณีที่ซับซ้อนอุดมไปด้วยน้ำ สภาพเปลือกโลกที่ยังเคลื่อนไหว หินบด น้ำใต้ดินที่มีอยู่มากมายในถ้ำ สภาพน้ำท่วม และ แผ่นดินถล่ม

กระทรวงการรถไฟจีนจะถูกควบรวมเข้าไปอยู่ในกระทรวงคมนาคมและขนส่งจากมติการประชุมของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน

อดีตกระทรวงการรถไฟและรัฐบาลท้องถิ่นมณฑลยูนนานเป็นผู้ให้ความสำคัญกับทางรถไฟสายนื้ “พวกเขามาสถานที่ก่อสร้างหลายๆครั้งเพื่อชี้นำการวิจัยและจัดการประชุมเพื่อศึกษาและปรับเปลี่ยนวิธีแก้ไขปัญหาทางด้านเทคนิคในระหว่างก่อสร้าง” กัวฮุ่ยหมิง กล่าว “ดังนั้นในที่สุดเราจึงก่อสร้างทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือสำเร็จ ขอบคุณสำหรับการสนับสนุนของสองหน่วยงานนี้”

คนงานกำลังทำงานก่อสร้างในอุโมงค์ซิ่วซาน ( Xiushan tunnel) ซึ่งมีความยาว 10,302 เมตรและเป็นอุโมงค์ทางรถไฟที่ยาวที่สุดในมณฑลยูนนาน ทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือมีชื่อเสียงในด้านสภาพธรณีวิทยาที่สลับซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงบ่อยๆในสภาพของชั้นหินชนิดต่างๆที่อยู่โดยรอบที่วิศวกรต้องประสบ

วงแหวนเศรษฐกิจ

ตามแผนที่มณฑลยูนนาน ทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือติดต่อโดยตรงระหว่างเขตปกครองพิเศษหงเหอกับเมืองคุนหมิง ไปตามทางของทางรถไฟสายเดิมคุนหมิง-หยูซี ในพื้นที่แถบนั้นอุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุ ชีวภาพ วัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยว ผลกระทบทันทีที่เปิดเดินทางรถไฟ คือ การส่งเสริมความสามารถในการขนส่งของทางรถไฟสายคุนหมิง-หยูซี “ที่สำคัญทางรถไฟสายนี้วิ่งผ่านหลายๆเมืองในภาคกลางและภาคใต้ของมณฑลยูนนาน ดังนั้นปัจจัยทางเศรษฐกิจจะสามารถไหลไปยังที่ต่างๆได้อย่างราบรื่น” ต้วนกัง (Duan Gang) ประธานของสถาบันวิจัย the Yunnan Institute of Economic Research แถลง

ตามความเห็นของหลิวป่ายเซิงเจ้าหน้าที่การรถไฟคุนหมิง ยูนนานจะกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งแกนกลางจะเป็นเขตศูนย์กลางอุตสาหกรรมของยูนนาน เขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมคุนหมิง-หยูซี และเขตเศรษฐกิจท่องเที่ยวพักผ่อนคุนหมิง-หยูซี มันจะประกอบด้วยสองปีกมีสี่เมือง
คือ คุนหมิง ออจิน (Oujing) หยูซี และชูสยง (Chuxiong) โดยมีคุนหมิงเป็นศูนย์กลาง

ศูนย์กลางวงแหวนเศรษฐกิจยูนนานจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และการคมนาคม พื้นที่จะทำหน้าที่เป็นแรงผลักดันหลักเพื่อส่งเสริมการร่วมกลุ่มของทรัพยากรทางเศรษฐกิจของมณฑลและปัจจัยในการผลิต ต้วนกัง กล่าว

มีความพยายามผลักดันเพื่อส่งเสริมการก่อสร้างเขตศูนย์กลางอุตสาหกรรมยูนนาน มุ่งเน้นไปที่การผลิตรถยนต์และอุปกรณ์ High-Endม อุปกรณ์ข้อมูลอิเลคทรอนิค (Electronic Information) ชีววิทยา สิ่งผลิตใหม่ สิ่งทอและเครื่องใช้ และอุตสาหกรรมบริการสมัยใหม่ จัดเป็นกลุ่มตามนโยบายของรัฐบาลมณฑล

ทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือและทางด่วนคุนหมิง-กรุงเทพฯ ตลอดจนการก่อสร้างทางรถไฟสาย Pan-Asia จะเชื่อมวงแหวนเศรษฐกิจทางใต้ของยูนนานกับเมืองต่างๆรวมทั้งเมืองเกอจิ่ว (Gejiu) ไข่หยวน (Kaiyuan) เมิงจือ และ เจียนสุ่ย (Jianshui) กับเมืองโมฮาน (Mohan) และเมืองท่าสำคัญอื่นๆ

ความอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคลในพื้นที่แถบนี้ทำให้มันสร้างความได้เปรียบอย่างมากบนยอดของการติดต่อเชื่อมโยงสายใหม่นี้ วงแหวนเศรษฐกิจทางใต้ของยูนนานยังเป็นส่วนหนึ่งของแนวพื้นที่เศรษฐกิจแม่น้ำคุน (the Kun-River Economic Corridor) และมันยังเป็นเขตศูนย์กลางเศรษฐกิจยูนนานติดต่อกับประเทศอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกทางฝั่งตะวันออก และเส้นเลือดใหญ่ตอนกลาง

การเร่งเปิดตัว

ความสามารถในการผลิตซึ่งก่อโดยวงแหวนศูนย์กลางเศรษฐกิจยูนนานจะดำเนินต่อเนื่องไปยังวงแหวนเศรษฐกิจทางใต้ของยูนนาน มีเป้าหมายที่ตลาดอาเซียน และและผู้นำเข้ารายใหญ่อื่นๆทั่วโลก ทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือจะยังใช้การขนส่งทางเหนือจากวงแหวนเศรษฐกิจทางใต้ และรวมทั้งแหล่งต่างๆในภูมิภาคอาเซียนเพื่อตอบสนองความต้องการของวงแหวนศูนย์กลางเศรษฐกิจยูนนานเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม

เมืองเกอจิ่วเป็นเมืองที่ส่งออกดีบุกมากกว่า 90% ของประเทศจีน เหมืองถ่านหินในเสี่ยวหลงถาน (Xiaolongtan) เป็นเหมืองเปิดตัดถ่านหินสีน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในยูนนาน ตั้งอยู่ที่เมืองไข่หยวน

นอกจากนี้ภาคใต้ของยูนนานยังอุดมไปด้วยแร่เหล็ก ตะกั่ว ทอง และทรัพยากรแร่ธาตุอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาวงแหวนศูนย์กลางเศรษฐกิจยูนนาน

ทางรถไฟสาย Pan-Asia จะเป็นเส้นทางรถไฟทวีป Asia-Europe สายที่สามเชื่อมประเทศจีนและเขตเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยเป็นส่วนหนึ่งของความสำคัญของทางรถไฟสาย Pan-Asia ทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือจะมีส่วนสำคัญมากขึ้นในอนาคตอันไกลนี้

ในปี 2011 สภาแห่งรัฐจีนประกาศการสนับสนุนมณฑลยูนนานให้เร่งก่อสร้างแนวเขตชายแดนที่สำคัญทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเพื่อเปิดประเทศ และสร้างโอกาสในประวัติศาสตร์ให้แก่ยูนนาน ทางรถไฟสายหยูซี-เมิงจือจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมสำคัญระหว่างประเทศจีนและตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสริมสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศต่อไปในภายภาคหน้า โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม ต้วนกัง กล่าว

“สำหรับยูนนานทางรถไฟมีความสำคัญในเชิงบวกของการปรับปรุงรูปแบบเครือข่ายทางรถไฟของมณฑลเช่นเดียวกับรูปแบบธุรกิจเครือข่ายรถไฟของประเทศ ส่งเสริมการสร้างที่ปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างอุตสาหกรรมรถไฟ ในอนาคตยูนนานจะพึ่งพาทางรถไฟสาย Pan-Asia สายตะวันออกเพื่อเพิ่มความเร็วในการเปิดประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจ และเร่งการบูรณาการในการเข้าสู่ตลาดโลก” หลิวป่ายเซิง กล่าว

นี่คือทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ที่จะเชื่อมต่อกับประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศไทยของเรา นำมาเป็นข้อมูลให้ทราบว่า ตอนนี้ได้สร้างมาจ่อประเทศไทยแล้ว

แต่ตอนนี้คนไทยยังทะเราะกันไม่เลิก โดยเฉพาะกับรัฐบาลไทยที่พยายามงุบงิบกู้เงินสองล้านล้านบาทเพื่อมาสร้างรถไฟ High Speed เชื่อมกับทางรถไฟสายนี้ เป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งไม่แน่อาจจะทำให้โครงการล่าช้าไปอีกจากที่กำหนดเสร็จปี 2015 อาจจะกลายเป็นปี 2020 หรือในชั่วชีวิตผมอาจจะไม่ได้เห็น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44786
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/05/2013 1:36 pm    Post subject: Reply with quote

คลุมเครือ-ไม่ชัดเจนดับฝันรถไฟเร็วสูงจีนผนึกอาเซียน
โพสต์ทูเดย์ 08 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:45 น.
โดย...นงลักษณ์ อัจนปัญญา

Click on the image for full size

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญและผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ยอมรับว่าจะช่วยยกระดับมูลค่าการค้าภายในอาเซียน และระหว่างอาเซียนกับชาติมหาอำนาจ เช่น จีน ให้ก้าวหน้าได้ดีคือ การพัฒนาเส้นทางขนส่งให้สามารถไปมาหาสู่กันได้สะดวกที่สุด สบายที่สุด รวดเร็วที่สุด และประหยัดที่สุด

ยืนยันได้จากรายงานล่าสุดของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) ที่ระบุว่า การค้าและการลงทุนภายในส่วนต่างๆ ของเอเชียจะเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้นถ้าเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะถนนและรถไฟเชื่อมโยงถึงกันหมด สอดคล้องกับความเห็นของ บันคีมุน เลขาธิการแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งเคยกล่าวไว้ว่า การวางแผนพัฒนาระบบโทรคมนาคมจะส่งผลให้การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ที่รัฐบาลจีนจะประกาศอภิมหาโครงการขนาดใหญ่ด้วยการสร้างรถไฟความเร็วสูงบนเส้นทางที่เชื่อมโยงตอนใต้ของจีน บริเวณเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ผ่าน 9 ชาติสมาชิกอาเซียน ยกเว้นฟิลิปปินส์ ไปสิ้นสุดที่สิงคโปร์ เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้

เพราะนอกจากจะช่วยให้การค้าการลงทุน ซึ่งปัจจุบันจีนและอาเซียนถือเป็นคู่ค้าสำคัญระหว่างกันด้วยมูลค่าการค้าที่มากกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ดำเนินไปได้ด้วยดีแล้ว เส้นทางดังกล่าวยังเป็นเสมือนฟันเฟืองสำคัญที่จะผลักดันให้เขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ของจีนและอาเซียนพอกพูนผลประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้โครงการข้างต้นมีทีท่าว่าจะสำเร็จลุล่วงด้วยดี เห็นได้จากความร่วมมือและเสียงตอบรับสนับสนุนจากหลายประเทศในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นการลงนามอนุมัติโครงการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และกัมพูชา ตลอดจนรายงานความคืบหน้าของการเริ่มต้นลงมือก่อสร้างไปแล้วในบางเส้นทาง

แต่ดูเหมือนว่าอภิมหาโปรเจกต์ดังกล่าวจะไปไม่ถึงเป้าหมายความสำเร็จที่คาดหวังกันไว้ก่อนหน้าเสียแล้ว เมื่อปัญหาต่างๆ เริ่มประดังเข้ามาเรื่อยๆ จนต้องชะลอ เลื่อน หรือยุติการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงแล้วหลายเส้นทาง

แรกเริ่มเดิมทีนั้น จีนวางแผนจะสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างหนานหนิงกับสิงคโปร์ โดยเริ่มต้นที่หนานหนิงไปยังกรุงฮานอย เวียดนาม กรุงเวียงจันทน์ ลาว กรุงพนมเปญ กัมพูชา กรุงเทพฯ ไทย กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย และสิ้นสุดที่สิงคโปร์

แต่ทว่า เส้นทางดังกล่าวกลับมีอันต้องปรับเปลี่ยนเล็กน้อย โดยไม่มีรายละเอียดชี้แจงใดๆ ใน เม.ย. ปี 2554 ซึ่งเปลี่ยนจากเมืองหนานหนิงเป็นคุนหมิงแทน และเปลี่ยนจากกรุงฮานอยไปเป็นเมืองโมฮั่น บริเวณชายแดนลาวแทน

นับเป็นความคลุมเครือแรกสุดที่เริ่มสั่นคลอนความเชื่อมั่นของหลายฝ่าย

Click on the image for full size

ขณะที่เมื่อพิจารณาเป็นรายเส้นทางในแต่ละประเทศ นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างเห็นตรงกันว่า ยิ่งทำให้เห็นปัญหาขัดแย้งระหว่างจีนกับรัฐบาลของชาตินั้นๆ ชัดเจนขึ้น ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง

ทั้งนี้ จีนและเมียนมาร์เคยลงนามอนุมัติแผนก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองคุนหมิงเชื่อมนครย่างกุ้ง ระยะทาง 1,920 กิโลเมตร โดยเส้นทางดังกล่าวได้เริ่มก่อสร้างไปแล้วในช่วงปี 2554 ทว่า โครงการดังกล่าวกลับมีเหตุให้ต้องหยุดชะงักไป จนไม่สามารถก่อสร้างให้เสร็จได้

ส่วนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมระหว่างจีนและกรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว ซึ่งมีรายงานว่าได้เริ่มการก่อสร้างไปเรียบร้อยแล้วในปี 2554 แถมยังมีแผนสร้างเส้นทางเชื่อมโยงเข้าไทยสู่กรุงเทพมหานคร ก็มีอันต้องหยุดชะงักไปเช่นกัน เมื่อรัฐบาลกรุงปักกิ่งตัดสินใจยุติการก่อสร้างไว้ชั่วคราว โดยไม่อธิบายรายละเอียด ซึ่งประจวบเหมาะกับที่รัฐบาลไทยที่กลับเลือกให้ความสำคัญกับการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายอื่นก่อนแทนที่จะให้น้ำหนักกับสายที่เชื่อมต่อกับลาว

ยังไม่นับรวมเส้นทางสายย่อยที่เชื่อมระหว่างประเทศในอาเซียน เช่น สายกรุงพนมเปญ กัมพูชานครโฮจิมินห์ เวียดนาม ที่มีรายงานว่าการก่อสร้างต้องหยุดชะงัก เนื่องจากปัจจัยที่ไม่ลงรอยในเรื่องงบประมาณการลงทุน

นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งระบุว่า การที่จีนทำสัญญาเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่อาจช่วยให้การก่อสร้างเส้นทางรถไฟมีความก้าวหน้า แต่การลงทุนที่ไม่ครอบคลุมและเงื่อนไขบางประการ เช่น การใช้แรงงานจีนเป็นหลักในการก่อสร้าง หรือความคลุมเครือของรายงานการศึกษาผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผลประโยชน์ที่ประชาชนในพื้นที่จะได้รับ ทำให้ถึงขณะนี้ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายคุนหมิงสิงคโปร์หยุดชะงัก หรือเลื่อนการก่อสร้างในที่สุด

นอกจากเหตุผลเรื่องผลประโยชน์ที่ไม่ชัดเจนแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ควรมองข้ามก็คือ การที่แต่ละประเทศต่างสนใจพัฒนาเส้นทางเฉพาะภายในอาณาเขตของตนเอง โดยไม่สนใจมองภาพใหญ่ที่จะเชื่อมโยงอาเซียนกับจีนเข้าไว้ด้วยกัน จนทำให้เกิดเส้นทางทับซ้อน และขาดความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย ที่หวังเชื่อมโยงหัวเมืองต่างๆ ของแต่ละภาค แต่ไม่ยาวสุดจนถึงชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สายตะวันออกเฉียงเหนือที่ไปแค่นครราชสีมา แต่ไม่ถึงชายแดนลาว สายใต้สุดที่ไม่ถึงมาเลเซียไปได้แค่หัวหิน หรือสายตะวันออกที่เขยิบไปไม่ถึงกัมพูชา

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์หลายสำนักตั้งข้อสังเกตไว้ว่า แค่แต่ละประเทศใช้ระบบรถไฟความเร็วสูงไม่เหมือนกัน มีระบบรางที่ต่างกัน เพียงแค่นี้ก็พอแล้วที่เส้นทางรถไฟความเร็วสูง จีนอาเซียน ก็ไม่อาจประสบความสำเร็จได้แล้ว

ดังนั้น ความหวังที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคงของจีนและอาเซียนก็ย่อมเป็นไปได้ยากเช่นเดียวกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44786
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/05/2013 8:36 am    Post subject: Reply with quote

จีนเร่งการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมเอเชีย
2013-05-08 16:53:01 cri

วันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา กรมการรถไฟมณฑลยูนนานของจีนเผยว่า ขณะนี้กำลังเร่งการก่อสร้างเครือข่ายเส้นทางรถไฟเชื่อมเอเชียจากยูนนาน คาดว่าสิ้นปี 2014 ทางรถไฟสู่ต่างประเทศสายแรกจะแล้วเสร็จและเชื่อมต่อเครือข่ายทางรถไฟของเวียดนาม

ตามโครงการ เส้นทางรถไฟเชื่อมเอเชียจะเริ่มจากเมืองคุนหมิงมณฑล ยูนนาน ผ่านเวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ ไทยและมาเลเซีย จุดหมายปลายทางอยู่สิงคโปร์ ส่วนในดินแดนจีนจะเป็นสามเส้นทางได้แก่ สายตะวันออก กลางและตะวันตก โดยเส้นทางสายตะวันออกคือเริ่มต้นจากเมืองคุนหมิง ผ่านเมืองอวี้ซี หมื่นจื้อ เหอโข่วและออกประเทศจีนไปเชื่อมต่อกับเวียดนาม สายกลางคือคุนหมิง อวี้ซี ผู่เอ่อร์ เชียงรุ้ง แล้วแยกไปยังด่านชายแดนโม่ฮันและต่าลั่วพื่อเชื่อมต่อกับลาวและเมียนมาร์ สายตะวันตกคือคุนหมิง ต้าหลี่ เป่าซาน แล้วแยกไปยังเมืองรุ่ยลี่และเถิงชงไปเชื่อมต่อกับเครือข่ายรถไฟของเมียนมาร์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44786
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/05/2013 8:56 pm    Post subject: Reply with quote

Yuxi-Mengzi: China's newest railway
GoKunming.com 9 May 2013

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2013 6:45 pm    Post subject: Reply with quote

สัมนาเรื่องรถไฟลาวจีนที่ปักกิ่ง เมื่อ 19 กรกฎาคม 2013 โดยมี State Department, national development and Reform Commission, กระทรวงการคลัง (Ministry of finance), ธนาคารพาณิชย์จีน (the Bank of commerce organizations), CIC, cloud investment group, Datang electricity company, Lao China Railway Corp, Yunnan province of China railway investment Corp, China railway hospital ข้าร่วมสัมนาด้วย โดยในการสัมนา จะกำหนดว่าจะสร้างกันแบบ BOT หรือแบบ EPC อย่างไหนจะดีกว่ากัน
http://www.yntt428.com/news/tietoukuaixun/20130814/195/

งานนี้ก็ดูกันไปว่าลาวจะสร้างทางรถไฟเชื่อมจีนได้ไหม
http://www.gokunming.com/en/blog/item/2829/doors_to_international_trade_swing_wide_for_laos

รถไฟสายจีนเวียตนามสายหนานหนิง - ยาลัม มีคนขึ้นถึง 180000 คน และ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
http://www.gx.xinhuanet.com/newscenter/2013-08/08/c_116863811.htm

ทำสัญญาซื้อขายรถจักร 20 หลัง จาก CNR Dalian locomotives the and rolling stock company limited และรถโดยสารจีนแดง 120 หลัง จาก CSR Sifang rolling stock company limited ให้กระทรวงรถไฟพม่าโดย China national machinery import and export (Group) เป็นผู้แทนจำหน่าย เมื่อ 17 กรกฎาคม 2013
http://www.fmprc.gov.cn/mfa_chn/gjhdq_603914/gj_603916/yz_603918/1206_604498/1206x2_604518/t1060206.shtml
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 136, 137, 138  Next
Page 24 of 138

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©