RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273370
ทั้งหมด:13584666
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 25, 26, 27 ... 135, 136, 137  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2013 12:52 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กองทัพประชาชนจีนบนขบวนรถไฟสายด่วนบูรพา(PLA on board an Orient express)
โดย คริสตินา หลิน (Christina Lin)
Asia Time Online [ASTV เวอร์ชันอังกฤษ มีขายในฮ่องกง]
29 มีนาคม 2011


ในระยะยาว หมายใจจะเชื่อมกับทางรถไฟยุโรปที่ตุรกีด้วย และ ตอนนี้จีนแดงก็ลงทุนในตุรกี เพื่อส่งสินค้าจีนแดงผ่านตุรกีไปยุโรป ด้วย โดยขนะนี้จีนแดงได้เสนอตัวสร้างรถไฟความเร็วสูงให้ตุรกี และ ซ่อมบำรุงทางรถไฟให้ตุรกีด้วย โดยจะมีการสร้างทางรุถไฟไปอิรักและ อัฟกานิสถาน


ตุรกีเตรียมเปิด “อุโมงค์รถไฟใต้ทะเล” เชื่อมทวีปเอเชีย-ยุโรปแห่งแรกของโลก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 ตุลาคม 2556 12:01 น.


Click on the image for full size

เอเอฟพี – ตุรกีเตรียมเปิดเส้นทางรถไฟใต้ทะเลเชื่อมทวีปเอเชียและยุโรปสายแรกของโลกในวันพรุ่งนี้(29) ซึ่งนับว่าเป็นการสานฝันของอดีตสุลต่านออตโตมันผู้ริเริ่มแนวคิดนี้ตั้งแต่ 150 ปีก่อน แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความไม่พอใจต่อชาวตุรกีส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับการนำงบประมาณมหาศาลไปละลายในโครงการเมกะโปรเจกต์เช่นนี้

นายกรัฐมนตรี ตอยยิบ เออร์โดแกน แห่งตุรกี เอ่ยถึงเส้นทางรถไฟที่ลอดผ่านช่องแคบบอสพอรัสเพื่อเชื่อมนครอิสตันบูลฝั่งยุโรปและเอเชียเข้าด้วยกันว่า “บรรพบุรุษของเราริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมา เราซึ่งเป็นลูกหลานก็มีหน้าที่ต้องสานต่อให้สำเร็จ”

สุลต่าน อับดุล เมญีด แห่งราชวงศ์ออตโตมัน ทรงคิดสร้างทางสัญจรลอดช่องแคบบอสพอรัสมาตั้งแต่ปี 1860 แต่ทรงขาดแคลนทุนทรัพย์และเทคโนโลยีขั้นสูงที่จะทำให้ฝันของพระองค์เป็นจริงได้

เออร์โดแกน ซึ่งเคยเป็นนายกเทศมนตรีนครอิสตันบูลมาก่อน ได้หยิบโครงการนี้มาปัดฝุ่นใหม่เมื่อปี 2004 ตามแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ ซึ่งรวมไปถึงการสร้างสนามบินแห่งที่ 3 , ขุดคลองคู่ขนาน และสะพานแห่งที่ 3 ท่ามกลางเสียงตำหนิของนักวิจารณ์ที่มองว่าโครงการเหล่าใหญ่โตฟุ่มเฟือยราวกับยุคสมัย “ฟาโรห์”

แนวคิดทะเยอทะยานของ เออร์โดแกน เป็นสาเหตุสำคัญที่นำมาซึ่งการประท้วงรัฐบาลครั้งใหญ่ที่แผ่ลามไปทั่วประเทศเมื่อเดือนมิถุนายน โดยชาวบ้านต่างโอดครวญว่า แผนพัฒนาเมืองของรัฐบาลทำให้ประชาชนบางส่วนถูกเวนคืนที่ดิน และยังทำลายพื้นที่สีเขียวด้วย

แม้จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้(29) ทว่าอุโมงค์รถไฟใต้ทะเลจะยังไม่เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในทันที

นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ แห่งญี่ปุ่น ได้รับเชิญไปร่วมพิธีเปิดอุโมงค์รถไฟใต้ทะเลที่นครอิสตันบูล เนื่องจากธนาคารกลางญี่ปุ่นเป็นสถาบันการเงินหลักที่สนับสนุนเงินกู้ให้โครงการนี้ถึง 735 ล้านยูโร ส่วนค่าใช้จ่ายตลอดโครงการอยู่ที่ราวๆ 3,000 ล้านยูโร

รัฐบาลตุรกีคาดว่าโครงการอุโมงค์รถไฟความยาว 1.4 กิโลเมตรน่าจะใช้เวลาก่อสร้างไม่เกิน 4 ปี แต่แล้วโครงการก็ต้องล่าช้า เนื่องจากมีการขุดพบโบราณวัตถุรวมกว่า 40,000 ชิ้น ที่สำคัญคือซากเรือในยุคไบแซนไทน์ประมาณ 30 ลำ ซึ่งถือเป็นกองเรือยุคกลางขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบมา

การค้นพบที่มีมาอย่างต่อเนื่องสร้างความอึดอัดไม่น้อยต่อ เออร์โดแกน ซึ่งบ่นอุบว่าโบราณวัตถุเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อแผนปรับปรุงภูมิทัศน์นครอิสตันบูล

“ตอนแรกพวกเขาก็พบโบราณวัตถุ ต่อมาก็พบหม้อดิน แล้วก็นี่ แล้วก็นั่น ของพวกนี้สำคัญกว่าชีวิตความเป็นอยู่ของคนหรืออย่างไร?” เขาตั้งคำถาม

อุโมงค์รถไฟสายนี้อยู่ลึกลงไปใต้พื้นทะเลกว่า 50 เมตร และถูกออกแบบให้สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้ด้วย

การคมนาคมขนส่งนับเป็นปัญหาเรื้อรังสำหรับนครอิสตันบูล ซึ่งมีประชากรหนาแน่นถึง 15 ล้านคน ขณะที่สะพานข้ามช่องแคบบอสพอรัสมีอยู่เพียง 2 แห่ง และต้องรองรับคนเดินทางไม่น้อยกว่า 2 ล้านคนในแต่ละวัน

กอดีร์ ทอปบาส นายกเทศมนตรีอิสตันบูล ชี้ว่า “การก่อสร้างอุโมงค์เชื่อมระหว่างฝั่งตะวันตกและตะวันออกของเมืองจะช่วยบรรเทาปัญหาจราจรได้มาก เพราะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 150,000 คนต่อชั่วโมง”

//---------------------------------

เปิดนำใช้อุโมงค์รถไฟลอดพื้นน้ำ เชื่อมต่อทวีปยุโรป - เอเซีย
เวียงจันใหม่
30 ตุลาคม 2556 เวลา 13:59:03 น. -

ตุรกีได้เปิดนำใช้เปิดนำใช้อุโมงค์รถไฟลอดพื้นน้ำ ที่มีชื่อว่ามาร์มาไร ลอดพื้นช่องแคบบอดสพอรัส ที่เชื่อมต่อทะเลดำและทะเลมาร์มาร่า ยาว 13.6 กิโลเมตร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 4500 ล้านดอลลาร์ และ เชื่อมต่อสองฟากฝั่งนครอิสตันบูล ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อทวีปยุโรป - เอเซีย สำหรับส่วนที่มุดลงไปในพื้นน้ำยาวกว่า 55 เมตรทำให้เป็นอุโมงค์ที่เล็กที่สุด แต่ก็เป็นอุโมงค์ที่ปลอดภัยที่สุดเนื่องจากถูกออกแบบให้ทนต่อแผ่นดินไหวได้สูงถึง 9 ริกเตอร์

รัฐบาลตุรกีเปิดเผยว่าจะมีผู้ใช้บริการอุโมงค์นี้ 1.5 ล้านคนต่อมื้อจะสามารถหลุดผ่อนปัญหา การจราจรแออัด ของนครอิสตันบูลได้ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการสันจรที่ สะพานเชื่มต่อสองฝั่งของนครอิสตันบูล และ หลังว่าในระยะยาวอุโมงค์นี้จะเป็นส่วยหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายใหม่ที่เชื่อมระหว่างจีนกะยุโรปตะวันตกได้ - อุโมงค์นี้ เริ่มสร้างแต่ปี 2005 โดยมีกำหนดให้สำเร็จภายใน 4ปี แต่เกิดความชักช้าเนื่องจากการขุดค้นพบโบราณสถานคือท่าเรือไบแซนไทน์ สมัยศตวรรษที่ 4


Last edited by Wisarut on 16/12/2013 6:38 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2013 1:05 am    Post subject: Reply with quote

^^^
แต่ไปๆ มาๆ อุโมงมาร์มาเรย์นี่ญี่ปุ่นให้เงิ นกู้และ ให้ผู้ชำนาญการออกแบบ และผู้รับเหมาะร่วมก่อส้างอุโมงในเขตที่เสี่ยงแผ่นดินไหวแน Rolling Eyes

//-------------------------------------------

มังกรขับ ‘รถไฟความเร็วสูง’ รุกอาเซียน


โดย น้ำทิพย์ อรรถบวรพิศาล 2 พฤศจิกายน 2556 10:23 น.


ฉึกฉัก ฉึกฉัก ปู๊นปู๊นๆ เสียงหวูดรถไฟและเสียงล้อเหล็กกระทบรางกระทบโสตประสาทมนุษยชาติเป็นครั้งแรกเมื่อ ‘เพนนี่ดาร์เรน’ หัวรถจักรไอน้ำสัญชาติอังกฤษบรรทุกเหล็ก 10 ตันด้วยความเร็ว 3.9 ก.ม./ชม. มนุษย์ใช้เวลา 206 ปีสำหรับการพัฒนาต่อยอด กระทั่งปรากฏเป็น ‘สันติ CRH380A’ รถไฟความเร็วสูงสัญชาติจีนซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารมากที่สุด 1,066 คน ด้วยความเร็วสูงสุด 380 กม./ชม. ทว่า คุณูปการของ ‘อภิมหาม้าเหล็ก’ มิได้จำกัดอยู่ในวงการคมนาคมเท่านั้น หากยังเป็นอาวุธชั้นดีสำหรับยุทธศาสตร์ทางการฑูตอีกด้วย


เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2347 ริชาร์ด เทรวิธิก วิศวกรชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์พาหนะใช้สัญจรแทนรถม้า โดยทดลองใช้หัวรถจักรไอน้ำขบวนแรกของโลกบรรทุกเหล็ก 10 ตันระหว่างเพนนี่ดาร์เรน -อะเบอร์ซีนันหลังจากนั้นเพียงหนึ่งสัปดาห์ สักขีพยานจำนวน 70 คนได้ร่วมโดยสารไปกับขบวน ‘เพนนี่ดาร์เรน’ พร้อมกับเหล็กอีก 25 ตัน ระยะทาง 15 กม. ด้วยความเร็ว 3.9 ก.ม./ชม. ส่วนเส้นทางรถไฟที่เปิดให้บริการแก่สาธารณะแห่งแรกของโลก คือ ขบวน ‘โลโคโมชั่น 1’ เดินทางระหว่างสต็อกตัน-ดาร์ลิงตัน ด้วยความเร็ว 39 กม./ชม. ในวันที่ 27 ก.ย. 2368

ตลอดระยะเวลา 209 ปีที่ผ่านมา พาหนะที่เคลื่อนที่ไปตามรางเพื่อขนส่งสินค้าหรือผู้โดยสาร ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (รถจักรไอน้ำ-รถจักรดีเซล-รถจักรไฟฟ้า) ด้วยระบบขนส่งที่มีต้นทุนค่อนข้างต่ำ ขนส่งได้จำนวนมาก และปลอดภัย ‘รถไฟ’ จึงได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีการบริหารระบบขนส่งมวลชนแบบบูรณาการ ยังเหตุให้วิศวกรชาวญี่ปุ่นเกิดแรงบันดาลใจรังสรรค์ ‘ชิงกังเซ็น’ รถไฟความเร็วสูงขบวนแรกของโลกขึ้น สัญลักษณ์ความทันสมัยแห่งจราจรเช่นนี้ได้แพร่หลายไปยังประเทศที่มีความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจอื่นๆ ตามมา เช่น อิตาลี เยอรมนี สเปน เบลเยียม ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน เกาหลีไต้ ฯลฯ

Click on the image for full size
แผนพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของจีนจนถึงปีพ.ศ. 2563

หลายปีมานี้ รัฐบาลจีนได้ส่งเสริมการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงอย่างแข็งขัน โดยเริ่มศึกษาวิจัยระบบรถไฟความเร็วสูงตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 โครงการแรก คือ ขบวน ‘CRH 5’ เส้นทางฉินหวงเต่า-เสิ่นหยัง เปิดให้บริการเมื่อปีพ.ศ. 2546 จากนั้นเพียง 1 ปีให้หลังรัฐบาลจีนได้ออกพิมพ์เขียวแห่งการพัฒนาระบบรถไฟจีนระยะกลางถึงระยะยาวจนถึงพ.ศ. 2563 โดยกำหนดแผนพัฒนา ‘รถไฟความเร็วสูง’ ในลักษณะ “4 แนวตั้ง 4 แนวนอน”

4 แนวตั้ง ได้แก่

1) สายเป่ยจิง-ซั่งไห่ : เป่ยจิง-เทียนจิน-จี่หนัน-สูโจว-เปิ้งปู้-หนันจิง-ซั่งไห่ ระยะทาง 1,318 กม. ความเร็ว 350 กม./ชม. (เปิดให้บริการตลอดสายแล้ว)

2) สายเป่ยจิง-ฮ่องกง : เป่ยจิง-ฉือจยาจวง-เจิ้งโจว-อู่ฮั่น-ฉางชา-ก่วงโจว-เซินเจิ้น-ฮ่องกง ระยะทาง 2,260 กม. (ความยาวทุบสถิติโลก) ความเร็ว 350 กม./ชม. (เปิดให้บริการตลอดสายแล้ว)

3) สายเป่ยจิง-ฮาร์บิน : เป่ยจิง-เฉิงเต๋อ-เสิ่นหยัง-ฮาร์บิน ระยะทาง 1,700 กม. ความเร็ว 350 กม./ชม. (เปิดให้บริการตลอดสายแล้ว)

4) สายหังโจว-เซินเจิ้น : หังโจว-หนิงปัว-เวินโจว-ฝูโจว-เซินเจิ้น ระยะทาง 1,600 กม. หังโจว-หนิงปัว ความเร็ว 350 กม./ชม. สถานีอื่นๆ 200-250 กม./ชม. (หังโจว-ฝูโจว เปิดให้บริการแล้ว ฝูโจว-เซินเจิ้นกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง)

4 แนวนอน ได้แก่

1) สายสูโจว-หลั่นโจว : สูโจว-ชางชิว-เจิ้งโจว-ลั่วหยัง-ซีอัน-เป่าจี-หลั่นโจว ระยะทาง 1,400 กม. ความเร็ว 350 กม./ชม. (ซีอัน-เจิ้งโจวเปิดให้บริการแล้ว)

2) สายซั่งไห่-คุนหมิง : ซั่งไห่-หังโจว-หนันชั่ง-ฉางชา-กุ้ยหยัง-คุนหมิง ระยะทาง 2,080 กม. ความเร็ว 300-350 กม./ชม. (ซั่งไห่-ฉางชาเปิดให้บริการแล้ว)

3) สายชิงเต่า-ไท่หยวน: ชิงเต่า-จี่หนัน-ฉือจยาจวง-ไท่หยวน ระยะทาง 770 กม. ความเร็ว 200-250 กม./ชม. (จี่หนัน-ฉือจยาจวง กำลังอยู่ในแผนก่อสร้างในอนาคต ส่วนอื่นเปิดให้บริการแล้ว)

4) สายซั่งไห่-เฉิงตู: ซั่งไห่-หนันจิง-เหอเฟย-อู่ฮั่น-ฉงชิ่ง-เฉิงตู ระยะทาง 1,600 กม. ความเร็ว 200-250 กม./ชม. (อู่ฮั่น-เฉิงตู ยังไม่ได้อยู่ในแผนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ปัจจุบันขนส่งโดยรางคู่ ส่วนอื่นเปิดให้บริการแล้ว)

ช่วงเวลาสั้นๆ เพียง 10 ปี จีนกลายเป็นประเทศที่ให้บริการรถไฟความเร็วสูง ในระยะทางที่ยาวที่สุดในโลก (9,700 กม.) เป็นประเทศที่ให้บริการเส้นทางรถไฟความเร็วสูงมากที่สุด (26 โครงการ) เป็นประเทศที่มีรถไฟที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลก ด้วยความเร็วสูงสุด 380 กม./ชม. (ขบวน ‘สันติ CRH 380A’ สายปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ เปิดให้บริการตั้งแต่พ.ศ.2553) เป็นประเทศที่มีประสบการณ์ในด้านการผลิตรถไฟความเร็วสูงให้ขับเคลื่อนในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายและลำบากมากที่สุดในโลก ไม่ว่าจะเป็นพื้นดินพรุนเสื่อมคุณภาพหรือพื้นดินถล่ม (สายเจิ้งโจว-ซีอาน) ชายทะเลในเขตร้อน (สายไห่หนัน) พื้นดินจับเป็นน้ำแข็ง (สายฮาร์บิน-ต้าเหลียน) ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าภายในพ.ศ. 2563 เส้นทางรถไฟความเร็วสูงของจีนจะยาวมากกว่า 20,000 กม. และมีเครือข่ายขนส่งมากถึง 50,000 กม.


นอกจากนี้ การเร่งผลักดันเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับต่างประเทศ ยังเป็นอาวุธสำคัญสำหรับการดำเนินยุทธศาสตร์ ‘ก้าวออกไป’ ของจีน ดังเห็นได้จาก ‘เส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย’ (Trans-Asian Railway) ซึ่งถูกจุดประกายโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสาหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมเมืองหลวง ท่าเรือสำคัญ และศูนย์กลางอุตสาหกรรมผ่านทางรถไฟครอบคลุม 28 ประเทศทั่วเอเชีย-ยุโรปนั้น ล้วนเชื่อมต่อกับจีนทั้งสิ้น กระทั่งได้รับการขนานว่า ‘เส้นทางสายไหมเหล็ก’ (Iron Silk Road) หรือ ‘เส้นทางสายไหมใหม่’ (New Silk Road) ซึ่งได้แก่

1) สายทรานส์ไซบีเรีย (Trans-Siberian) เชื่อมทวีปยุโรปเข้ากับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เริ่มจากฝั่งตะวันตกของรัสเซีย กรุงมอสโกว์ ผ่านคาสัคสถาน มองโกเลีย ปักกิ่ง ถึงตะวันออกของรัสเซีย กรุงวลาดิวอลสต๊อก ต่อไปยังเกาหลี

2) สายเอเชีย-ยุโรป เชื่อมทวีปยุโรปเข้ากับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มจากเมืองชายฝั่งตะวันออกของจีนเมืองเซินเจิ้น ผ่านยูนนาน เข้าสู่พม่า บังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน อิหร่าน ตุรกี และเข้าสู่ยุโรป

3) สายแพนเอเชีย (Pan Asia) หรือ โครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง (SKRL Project) เชื่อมโยงการขนส่งภายในอาเซียน เริ่มจากคุณหมิงของจีน ผ่านเวียดนาม กัมพูชา ไทย มาเลเซีย จนถึงสิงค์โปร์

Click on the image for full size
แผนที่แสดงรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง

นอกจากจีนจะนำเข้าข้าว ยางพารา พริกไทยจากเวียดนามเป็นจำนวนมากแล้ว แหล่งพลังงาน เช่น ถ่านหิน น้ำมันดิบ ตลอดจนเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ ยังเป็นแรงจูงใจสำคัญสำหรับการย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ยังเป็นเหตุให้การพัฒนาการขนส่งระหว่างจีน-เวียดนามรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว รถไฟมาตรฐานของจีนจากมณฑลก่วงซีเชื่อมกับเวียดนาม ตามเส้นทางหนานหนิง-ฮานอย ได้เปิดให้โดยสารเป็นประจำนับแต่ปีพ.ศ. 2552 ส่วนเส้นทางจากมณฑลอวิ๋นหนัน (ยูนนาน) กำลังเพิ่มความเร็วในการก่อสร้างเครือข่ายทางรถไฟสู่อาเซียน โดยคาดว่าจะสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายทางรถไฟของประเทศเวียดนามเป็นประเทศแรกในปีพ.ศ.2557

มาเลเซียและสิงคโปร์ ได้แถลงการณ์ร่วมกันแล้วว่า จะสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างกัน ให้แล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2563 อันจะเอื้อให้การแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยีและเครือข่ายทางธุรกิจระหว่างกันเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

พม่า มีแร่ธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติ และป่าไม้ที่กำลังจะถูกรุมทึ้ง จีนจึงวางแผนลงทุนมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ สร้างระบบรถไฟความเร็วสูง เส้นทางจอก์พยู อาน มัณฑะเลย์ มูเสะ และเชื่อมต่อกับเมืองคุนหมิง ระยะทาง 868 กม. โดยจะโอนคืนให้แก่รัฐบาลพม่าหลังระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี ทว่า รัฐบาลพม่ายังคงลังเลที่จะเริ่มดำเนินการ ภายหลังมีเสียงคัดค้านจากนักเคลื่อนไหว แม้ว่ากระทรวงการรถไฟพม่าได้ลงนามข้อตกลงความเข้าใจในโครงการรถไฟความเร็วสูงกับบริษัทเรลเวย์เอ็นจิเนียริ่งของจีนไปแล้วตั้งแต่เดือน เม.ย. 2554 ก็ตาม

ลาว มีแหล่งเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งยังเป็น ‘แบ็ตเตอรี่พลังงานน้ำแห่งเอเชีย’ ทว่า ด้วยจำนวนประชากรเพียง 6.5 ล้านคน ทำให้ลาวประสบปัญหาด้านความคุ้มทุนกับอภิมหาโปรเจค ที่มีมูลค่าถึงประมาณ 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (สูงกว่า GDP ทั้งประเทศ) โครงการรถไฟความเร็วสูงในลาวซึ่งมีแผนเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2557 จึงต้องหยุดชะงัก เพราะไม่สามารถแบกรับสถานะ ‘ลูกหนี้’ รัฐบาลจีน ที่ไม่เพียงต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 2 เป็นเวลา 30 ปี และค้ำประกันเพิ่มเติมด้วยรายได้จากเหมืองทองคำ 2 แห่งในแขวงเซโปนเท่านั้น หากยังต้องมอบสิทธิการใช้พื้นที่ทั้งบนฟ้า บนดิน ใต้ดิน ขวา 5 กม. ซ้าย 5 กม. ตลอดความยาว 421 กิโลเมตรของทางรถไฟให้กับจีนแต่เพียงผู้เดียว เป็นเวลา 50 ปี เร็วๆ นี้รัฐบาลลาวจึงหันมาเปิดเจรจาร่วมกับไทย เพื่อหวังต่อรองกับรัฐบาลจีน และแสวงหาการลงทุนเพิ่มเติมจากประเทศอื่น เช่น สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น

ด้านกัมพูชา ผู้เชี่ยวชาญจีนได้เข้ามาสำรวจความเป็นไปได้ของระบบรถไฟความเร็วสูงในกัมพูชาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 โดยเสนอให้ใช้เส้นทางพนมเปญ-กระแจะ ซึ่งจะเชื่อมต่อกับชายแดนเวียดนามด้วยระยะทาง 257 กม. กระนั้นรัฐบาลกัมพูชายังคงรอความหวังว่า จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน หรือประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ด้วยมูลค่ากว่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

นอกจากสินค้าเกษตร เช่น ยางพาราและข้าวแล้ว จีนยังให้ความสำคัญกับไทยอย่างมากในฐานะ ‘ผู้ประสานงาน’ อาเซียน ภายหลังนายกฯ หลี่ เค่อฉียงเดินทางมาเปิดงานนิทรรศการรถไฟความเร็วสูง ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ องค์การรถไฟฟ้าแห่งประเทศจีนก็ได้จัดแถลงข่าวเรื่องการจัดนิทรรศการรถไฟความเร็วสูงแห่งประเทศจีนขึ้น เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ที่ผ่านมา และได้เคลื่อนย้ายนิทรรศการฯ มาจัดบริเวณชั้น 3 โถงทางเข้า City Line สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน ตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค.-25 พ.ย. 56 สำหรับเนื้อหาของนิทรรศการนั้น นอกจากจะตอกย้ำถึงเทคโนโลยีนวัตกรรมของระบบขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูงอันล้ำหน้าของจีน รวมถึงโมเดลขบวน ‘สันติ CRH380A’ และ ‘สะพานหนานจิงต้าเซิ่งกวน’ สะพานเส้นหลักของรถไฟความเร็วสูงสายเป่ยจิง-ซั่งไห่แล้ว ยังแนะนำผลความคืบหน้าของงานวิจัยด้านการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงในอนาคตของไทย อาทิ โครงการศึกษาดูหน้าของเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย รูปหัวรถจักร AC ไดรฟ์ที่รถไฟจีนจะผลิตและเตรียมจำหน่ายให้ไทย เป็นต้น พร้อมประกาศแสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ว่าจีนมีศักยภาพและยินดีจะถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจาก ‘น้อง’ ไทย

ทั้งนี้ ด้วยความที่จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย และเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 2 ของไทย รัฐบาลไทยจึงมีความกระตือรือร้นต่อความร่วมมือระหว่างกันเป็นพิเศษ โดยวางแผนจะใช้งบเกือบ 8 แสนล้านบาท รวมถึงการนำสินค้าเกษตรชำระค่าผลิตและก่อสร้างให้กับจีน ใน 4 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2561



เมื่อดูจากภูมิศาสตร์ แผ่นดินจีนซึ่งตั้งอยู่บนตำแหน่งศูนย์กลางทวีปเอเชีย มีชายแดนติดต่อถึง 14 ประเทศ อีกทั้งมณฑลยูนนานยังตั้งตระหง่านคั่นกลางระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ด้วยเหตุนี้ ‘เส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย’ ซึ่งเอื้อให้จีนกลายเป็นสะพามเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรปนั้น ไม่เพียงจะมีส่วนผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจทางฝั่งตะวันตกของจีน...จากการระบายสินค้า นำเข้าพลังงานและผลิตผลการเกษตร มีส่วนช่วยลดต้นทุนการผลิตภายในประเทศ...จากการประหยัดพลังงานในการขนส่งและการย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำเท่านั้น หากยังเสริมส่งบทบาทของจีนในเวทีโลกอย่างมีนัยสำคัญ จากการใช้อาเซียนเป็นสปริงบอร์ดขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเป็น ‘เจ้าหนี้’ อภิมหาโปรเจครายใหญ่สุดแห่งภูมิภาค ตลอดจนการใช้เส้นทางแพนเอเชียขนส่งอาวุธยุโธปกรณ์เมื่อเกิดสงครามอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ยังมีอุปสรรคอีกไม่น้อยบนเส้นทางสู่ฝันของจีน อาทิ เงื่อนไขในการชำระหนี้ที่มีลักษณะบั่นทอนต่อสถานะความมั่นคงของชาติ รวมถึงความคลุมเครือในประเด็นผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม อาจเกิดเป็นคลื่น ‘ภัยคุกคามจากจีน’ ขึ้นอีกรอบ ความไม่สมานฉันท์ระหว่างผลประโยชน์แห่งผู้บริหาร (Self Interest) ผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest) และผลประโยชน์แห่งชุมชนภูมิภาค (Regional Community Interest) อาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งเรื่องการพัฒนาเส้นทาง ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย ที่หวังเชื่อมโยงหัวเมืองต่างๆ ของแต่ละภาค แต่ไม่ยาวสุดจนถึงชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ มาตรฐานของสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ต่างกัน อาจส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณและกรอบระยะเวลาการดำเนินการ เสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ รวมถึงประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ อาจทำให้โครงการฯ ต้องหยุดชะงัก เป็นต้น



สำหรับประเทศไทยนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าอยู่ในฐานะศูนย์กลางของภูมิภาค การเชื่อมโยงคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านจะช่วยสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาว ในขณะที่การขนส่งด้วยระบบรางยังมีต้นทุนที่ถูกกว่าการขนส่งทางถนน และไม่ก่อให้เกิดมลพิษเมื่อเทียบกับการขนส่งด้วยเส้นทางอื่น ทว่า รถไฟไทยนั้นยังคงใช้รางเดี่ยวกว่า 94% จึงไม่สามารถวิ่งสวนทางกันได้ ทั้งยังมีลักษณะเป็นคอขวดทำให้เกิดการล่าช้า หัวรถจักรมี 256 คัน รุ่นเก่าสุดอายุ 45 ปี รุ่นใหม่สุดอายุ 13 ปี มีตู้ขบวนโดยสาร 1,352 คัน ใช้ได้เพียง 852 คัน ความต้องการใช้งานหัวรถจักร 155 คันต่อวัน ใช้ได้จริง 137 คัน รางรถไฟในประเทศไทยที่อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุงเพื่อให้ได้มาตรฐาน (Grade B) และเพื่อความปลอดภัย (Grade C) ร้อยละ 51 ของรางรถไฟทั้งหมด สะพานที่ต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อความปลอดภัยคิดเป็นร้อยละ 61 หมอนรองราง ที่ต้องปรับปรุงเพื่อความปลอดภัยคิดเป็นร้อยละ 31และตัวบ่งชี้ระดับความด้อยพัฒนา คือ ประเทศไทยยังคงใช้หัวรถจักรดีเซลถึง 99% ซึ่งขับเคลื่อนได้ช้า และส่งมลพิษทางอากาศสูงกว่าเมื่อเทียบกับพลังงานไฟฟ้า

ปัจจัยดังกล่าว ล้วนบ่งชี้ถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยควรจะลงทุนปรับปรุงและพัฒนาระบบรถไฟครั้งใหญ่ แต่การจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลยังเป็นที่กังขาอยู่มาก เนื่องจากการกู้นอกระบบงบประมาณเพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูงถึง 783,553 ล้านบาท อาจส่งผลกระทบต่อรายจ่ายภาครัฐทางด้านสังคม การศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ อีกทั้งการใช้ระบบแลกเปลี่ยนทางการค้า หรือ ‘บาร์เตอร์เทรด’ ที่คลุมเครือกับจีน เช่น การใช้สินค้าเกษตร เช่น ข้าวชำระค่าก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง ไม่เพียงเปิดช่องว่างให้กับการทุจริตคอรัปชั่นเท่านั้น หากการประกันข้าวของรัฐบาลยังส่งผลกระทบต่อการค้าข้าวทั้งระบบอีกด้วย ยังมิรวมถึงข้อกังขาต่อคุณภาพรถไฟความเร็วสูงของจีน ฉะนั้น แม้ว่าพรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้านจะผ่านฉลุยไปแล้ว แต่ก็ไม่สายเกินไปที่ประชาชนจะช่วยกันจับตามอง และประเมินถึงความคุ้มทุน การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นสิ่งจำเป็น แต่ความเร็วระดับใดที่เหมาะสมกับเงินในกระเป๋าเราชาวไทย เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา !!
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/12/2013 4:02 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงของจีนขยายเส้นทางสู่ชายแดนจีน-อาเซียน เชื่อมการทางคมนาคมระหว่างกัน
2013-12-27 16:18:51 สำนักข่าวแห่งประเทศจีน

สำนักข่าวแห่งประเทศจีนรายงานว่า เมื่อวานนี้ (26 ธ.ค. 2556) การรถไฟเมืองหนานหนิงเขตกว่างซีเปิดเผยว่า จะเปิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากกรุงปักกิ่งสู่เมืองกุ้ยหลินของกว่างซีโดยตรงในวันที่ 28 ธันวาคมนี้ จากนั้นในวันที่ 30 ธันวาคม จะเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากเมืองกุ้ยหลิน-เมืองหนานหนิง เมืองหนานหนิง-เมืองเป่ยไห่ และเมืองหนานหนิง-เมืองฝางเฉิงก่าง ทำให้รถไฟความเร็วสูงของจีนสามารถวิ่งไปถึงชายแดนจีน-อาเซียน เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างกัน

ก่อนหน้านี้ รถไฟความเร็วสูงเซียง(หูหนาน)-กุ้ย(กว่างซี) สร้างแล้วเสร็จตลอดสาย ทำให้เชื่อมต่อกับทางรถไฟความเร็วสูงจิง(ปักกิ่ง)กว่าง(กว่างโจว)เรียบร้อย ดังนั้นสิ้นปีนี้ กว่างซีจะมีเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง 12 ขบวน โดยเริ่มจำหน่ายตั๋วตั้งแต่เวลา 13.00 น.ของวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2014 5:22 pm    Post subject: Reply with quote

หลายประเทศเล็งธุรกิจรถไฟความเร็วสูงไทย รถไฟความเร็วสูงจีนมีข้อได้เปรียบพิเศษของตน
วิทยุประเทศจีน
31 ธันวาคม 2013 14:08:14 cri


โดรงการรถไฟความเร็วสูงจะเปิดประมูลปี 2014 โดยมีหลายประเทศที่รวมทั้งประเทศจีนด้วยได้เข้าร่วมประมูล ประเทศไทยอยู่ศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงด้านคมนาคม

สำหรับภาพรวมขนส่งระบบรางในปัจจุบันของไทยมีระยะทางรวม 4,363 กิโลเมตร โดยร้อยละ 60 ได้ใช้มากกว่า 30 ปี สายรถไฟไทยแบ่งออกเป้น 4 สาย โดยมีกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางแล้วขยายไปยังภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออกและภาคใต้ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้นานและสายรถไฟที่พัฒนาค่อนข้างช้า ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟไทยอยู่ที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ยกตัวอย่างเช่น สายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ สองสถานีอยู่ห่างกัน 700 กิโมเมตร แต่ถึงแม้โดยสารรถไฟที่เร็วที่สุด ก็ต้องใช้ 12 ชั่วโมง

รัฐบาลไทยได้อนุมัติญัตติว่าด้วยโครงการพัฒนารถไฟและรถไฟความเร็วสูงของกระทรวงคมนาคม โดยรัฐบาลไทยจะทุ่มเท 2 ล้านล้านบาท สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกด้านพื้นฐานทางบก ทางทะเลและทางอากาศ และสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 สาย โดยเชื่อมโยงกรุงเทพกับเชียงใหม่ นครศรีธรรมราช หัวหินและพัทยา จนทะลุลาวและมาเลเซีย



เมื่อเดือนตุลาคมปีนี้ บริษัทรถไฟจีนได้จัด "นิทรรศการรถไฟความเร็วสูงจีน" ที่สถานีมักกะสันกรุงเทพฯ เป็นระยะเวลาหนึ่งเดือน ได้แนะนำเทคโนโลยีทันสมัยและผลสำเร็วของจีนแก่ประชาชนไทย อันเป็นการบ่งบอกว่า รถไฟความเร็วสูงของจีนไม่เพียงแต่ได้รับการยกย่องจากรัฐบาลไทยหากยังหยั่งรากเข้าสู่หัวใจในหมู่ประชาชนไทย และแสดงว่า รถไฟความเร็วจีนพร้อมที่จะบุกตลาดไทยแล้ว

ตังแต่เดือนเมษายนปี 2012 รัฐบาลจีน-ไทยก็ได้ลงนามบันทึกช่วยจำว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนารถไฟความเร็ว โดยทั้งสองประเทศได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมกัน หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง ในขณะเดียวกัน จีนยังดำเนินโครงการฝึกอบรมบุคลากรด้านรถไฟความเร็วสูงไทย ปัจจุบัน หลักสูตรเฟสที่สองได้จบการศึกษาแล้ว นอกจากนี้ จีน-ไทยได้ร่วมมือเสร็จสิ้นผลการวิจัยทางรถไฟกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ด้วย



วันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเปิดเผยว่า รัฐบาลไทยจะนำร่องเปิดประมูลคัดเลือกระบบรถไฟความเร็วสูงในปี 2014 ตามแผนการลงทุนในโครงการ 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ความคืบหน้าล่าสุดก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อผู้ผลิตระบบรถไฟฟ้าหลายราย ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส สเปน เยอรมนี เกาหลี แคนาดา ออสเตรเลีย และจีน ฯลฯ แสดงความสนใจเป็นพิเศษที่จะเข้ามาลงทุนโดยเฉพาะเทคโนโลยีระบบรถไฟฟ้า โดยผู้รับผิดชอบบริษัทซีเมนส์กล่าวว่า บริษัทซีเมนส์มีประสบการณ์สูงในการสร้างสัญญาณระบบรถไฟ ส่วนนายเจมส์ ไวส์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยกล่าวว่า ออสเตรเลียสามารถใช้นวัตกรรมในการก่อสร้างตลอดจนการดูแลรักษาเพื่อความประหยัดและปลอดภัย

ถึงแม้บริษัทจีนบุกตลาดรถไฟความเร็วสูงไทยเผชิญกับการแข่งขันอย่างดุเดือด แต่ก็มีข้อได้เปรียบพิเศษของตน ประกาณที่หนึ่งก็คือได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน เดือนตุลาคมปีนี้ ขณะที่นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนเยือนไทย ก็เคยประชาสัมพันธ์รถไฟความเร็วสูงจีน นอกจากนี้ รัฐบาลจีน-ไทยก็ได้ลงนามสัญญาที่เกี่ยวข้อง ตกลงดำเนินนโยบาย "ข้าวแลกรถไฟ" ประการที่สองคือ เวลางานสร้างรถไฟความเร็วสูงของจีนเหมาะสมและต้นทุนต่ำ เทคโนโลยีทันสมัย นอกจากนี้ จีนมีประสบการณ์ในการสร้างและแล่นรถไฟในเขตอบอ้าวแถบใกล้โซนร้อน รถไฟความเร็วสูงรอบตะวันออกของมณฑลไหหลำก็มีอากาศและลักษณะภูมิประเทศคล้ายคลึงกับจังหวัดเชียงใหม่ของประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2014 10:25 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดการเดินรถไฟจาก คุนหมิงไปเหอโควช่วงแรก ยาว 150 กิโลเมตร เมื่อ เร็วๆ นี้ ยังขาดอีก 650 กิโลเมตรกว่าจะถึงชายแดนเหอโคว์ และ ชายแดนพม่า และ ชายแดนลาว
http://www.railwaybulletin.com/2013/09/china-railway-commissioned-the-first-section-of-kunming-singapore-line

เร่งการก่อสร้างสถานีคุนหมิงใต้แห่งใหม่ (昆明南新站) มูลค่า 2052 ล้านหยว ที่ China Railway Construction Group เป็นผู้รับเหมาในราคา 2010.26 ล้านหยวน ที่ย่าน Chenggong ซึ่งใหญ่กว่าสถานี คุนหมิงที่มีมาแต่เดิม (昆明站) ตั้ง 3 เท่า มีตั้ง 16 ชานชลาและ 30 ราง ในย่าน โดยหมายใจว่าจะเสร็จ ปี 2016 เพื่อรองรับรถไฟความไวสูง เซี่ยงไฮ้ - คุนหมิง, คุนหมิง - อิ๋วซี และ คุนหมิง - กุ้ยหลิน และ จะเป็นสถานีสำหรับรถไฟ จากด่าน เหอโคว, ด่าน ม่อหาน และ ด่าน รุ่ยหรี่ด้วย สถานีนี้อยู่ห่างจาก ทะเลสาบ Dianchi 7 กิโลเมตร

ส่วนสถานี คุนหมิงที่มีมาแต่เดิม (昆明站) จะรองรับรถไฟสาย คุนหมิง - เฉิงตู และ คุนหมิง - หนานหนิง แม้ว่าจะอยู่ห่างจากสถานีใหม่ไปทางเหนือตั้ง 28 กิโลเมตร

http://en.kunming.cn/index/content/2013-10/23/content_3427597.htm
http://www.gokunming.com/en/blog/item/2499/new_kunming_train_station_to_open_in_2016


Last edited by Wisarut on 08/01/2014 5:20 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2014 4:43 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ทางรถไฟสาย Trans-Asian Railway (TAR)

West link: คุนหมิง - ชายแดนพม่า
Kunming-Dali railway มีเดิน
4 ธันวาคม 2012 เริ่มก่อสร้างสาย Dali-Ruili railway (大瑞铁路/大瑞鐵路) ยาว 329.379 กิโลเมตร ตอนนี้ Dali (大理)-Baoshan (保山) section เสร็จไปแล้ว 75% - ต้องเจาะอุโมงค์ผ่านเขา Gaoligong Mountains (高黎贡山) อีกไกลกว่าจะถึง ด่านรุ่ยหลี่ (瑞丽/瑞麗) เมืองเมา (勐卯)

30 ธันวาคม 2012 เริ่มก่อสร้างทางคู่ Guangtong-Dali ยาว 174.34 กิโลเมตร งบ 13,930 ล้านหยวน เสร็จ พฤษภาคม 2017

Middle link: คุนหมิง - ชายแดนลาว
Kunming-Yuxi railway (昆玉铁路/昆玉鐵路) ยาว 55.5 กิโลเมตร มีเดิน
Yuxi - Mohan (ชายแดนลาว) railway is at preparation stage ยาว 504 กิโลเมตร

East link: คุนหมิง - ชายแดนเวียตนาม
Kunming-Yuxi railway (昆玉铁路/昆玉鐵路) ยาว 55.5 กิโลเมตร มีเดิน
Yuxi-Mengzi railway (玉蒙铁路/玉蒙鐵路) ยาว 141 กิโลเมตร เปิด 23 กุมภาพันธ์ 2012

3 มกราคม 2013 เริ่มการก่อสร้างทางสาย Mengzi - ด่าน เหอโคว (ชายแดนเวียตนาม - 蒙河铁路/ 蒙河鐵路) - ยาว
141 กิโลเมตร รวมถึงอุโมงค์ Taiyangzhai Tunnel (太阳寨隧道) ยาว 7.414 กิโลเมตร ที่เจาะสำเร็จ เมื่อ 12 กันยายน 2013 ลงทุน 6930 ล้านหยวน เร็วสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กะจะเสร็จ กันยายน 2014 ตอนนี้ เจาะอุโมงค์ - หลังเจาะอุโมงค์ Pingbian ยาว 10.381km แล้ว

http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=117039&page=26
http://en.kunming.cn/index/content/2013-02/23/content_3216622.htm
http://yn.xinhuanet.com/newscenter/2013-09/13/c_132717140.htm

เร่งทางทางคู่ หนานหนิง (南宁) - ผิงเซียง (凭祥) - ดงดาง (同登) - ฮานอย (河内) ที่ยาลัม (嘉林站) และ ทางคู่ ระหว่างเมืองท่า Fangchenggang (防城港)- Dongxing (东兴)- Mong Cai (芒街)- เมืองท่าฮาลอง (下龙)- เมืองท่าไฮฟอง (海防)- ฮานอย (河内)
http://gxrb.gxnews.com.cn/html/2013-12/25/content_914554.htm

หลังจากการเดินรถข้ามคืนสาย หนานหนิง (南宁) - ฮานอย (河内) (ขบวน 8701/8702) ที่มีเดินทุกวัน ทำให้การเดินรถขบวน T5/T6 ตัดระยะจาก ปักกิ่งตะวันตก (北京西站) - ด่านดงดาง (同登站) ที่ใช้เวลาเดินรถตั้ง 34-35 ชั่วโมง เหลือเป็น ปักกิ่งตะวันตก (北京西站) - หนานหนิง (南宁站) ที่ใช้เวลาเดินรถ 27-28 ชั่วโมงครึ่ีง และ รถจากหนานหนิง (南宁站)ไปด่านดงดาง (同登站) จะแปลงตัวเลข จาก T5/T6 เป็น T8705/T8706
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2014 5:30 pm    Post subject: Reply with quote

จีนจะเปิดทางรถไฟความไวสูงไปชายแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีในปี 2015
เศรษฐกิจและสังคม - ข่าจากสำนักข่าวซินหัว
6 มกราคม 2014 เวลา 11.18.29

จีนจะเปิดทางรถไฟความไวสูงไปชายแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีในปี 2015
เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า และเศรษฐกิจ เริ่มก่อสร้างทางสายนี้มาแต่ปี 2010 ระยะทาง 207 กิโลเมตร จากเมืองเสิ่นหยาง เมืองเอกมณฑลเหลียวหนิง ไปยังเมืองต้านตง ในมณฑลเดียวกันและเป็นหน้าด่านชายแดนเกาหลีเหนือ โดยแม่น้ำยาลู เป็นชายแดนกับสองหระเทศ ทำให้การเดินทางลดเวลาลงจาก 3 ชั่วโมง 30 นาทีเป็น 1 ชั่วโมง และ เมืองต้านตงเป็นเมืองเส้นทางการค้ากับจีนเส้นหลัก ถึง 80% ของการค้าจีน - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี และได้สร้างเศรษฐกิจพิเศษ 3 แห่งใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เพื่อได้ประโยชน์จากค่าแรงราคาถูก และ สนับสุนการปฏิรูปเศรษฐกิจ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2014 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

China to build high-speed rail to Singapore, via Laos
Shanghaiist - 15 Jan 2014

China is giving a steely infrastructural hug to its southeast Asian neighbors, with plans to roll out a massive high-speed rail system to crisscross Laos, Thailand, and Malaysia en route to Singapore. Laos, which currently boasts a humble two miles of functioning railway track, is in for a bit of a shock.

The Lao government, the cuddly Lao People's Revolutionary Party, met with Li Keqiang last year and welcomed the plan with open arms. As The Telegraph reports, Laos could be potentially transformed or crippled by the deal:

Quote:
Constructing it will be a mammoth engineering task. It will require 154 bridges and 76 tunnels, as well as 31 train stations, just to get the line the 260 miles from Boten on the Laos-China border to Laos’ capital Vientiane. An estimated 20,000 Chinese workers will be needed to build it, with the completion date set for 2019. [...]


Using untapped minerals as collateral, Laos plans to borrow 4.5 billion Pound Sterling (actually 7.2 billion Dollar) from Beijing to pay for its section of the railway. Equivalent to almost 90 per cent of Laos’s annual GDP of 5.2 billion Pound Sterling (actually 8.5 Billion US Dollars) , the loan will instantly make Laos the world’s fourth most-indebted nation after Japan, Zimbabwe and Greece (by percentage).

Many international financial bodies regard the loan as a disaster waiting to happen. The Asian Development Bank has described it simply as “unaffordable”.

Just servicing the yearly interest on the loan will amount to almost 20% of Laos’s annual government spending.

In short, the Chinese government will essentially own Laos after the check clears, but with a national product of about 8.5 billion USD, there are several individual Chinese billionaires who could purchase the country in full anyways. The main railways are aimed for completion by 2019, with expansions planned into Burma/Myanmar, Thailand, and Cambodia in the years to come.

//--------------------------------------------------------------------------

China's 120mph railway arriving in Laos
By David Eimer, Oudomxai
the Telegraph
14 Jan 2014 9:00PM GMT
China's mammoth engineering project to construct a railway from southwest China’s Yunnan Province all the way to Singapore is set to transform rural Laos

Like most of his 6.5 million fellow countrymen Galong Vue has never seen or set foot on a train. But the 53-year-old farmer knows all about the high-speed railway from China that will run through his village in northwest Laos.

“We first heard the rumour that the railway would come through here in 2010,” he says “Then the Chinese came to survey the land last year. They told me the railway will happen for sure and that a train station will be built here.”

Sometime this year, Mr Vue’s village of Naseam Kham will be gone, replaced by a state-of-the-art railway station capable of accommodating trains that cruise at 120mph. Judging by a Chinese promotional video seen by The Telegraph, the station will dwarf every building in the nearby town of Oudomxai that it will serve.

Beijing has long dreamed of a high-speed railway connecting it to southeast Asia, enabling Chinese goods to move south in greater quantities, while the natural resources of its neighbors travel north to China.

Now, the line is set to become a reality, one that will draw the region even closer in to China’s economic embrace.

Last year, the secretive leaders of Laos, a one-party communist state run by the Lao People’s Revolutionary Party, met with China’s premier Li Keqiang. They described the project as a “priority” and called for the formal agreement to build the railway to be “signed soon”.
Starting from Kunming in Southwest China’s Yunnan Province, the railway will travel south through neighbouring Laos and then into Thailand.
Ultimately, it will extend all the way to Singapore, via Malaysia. Other branches of the network will reach into Burma, Cambodia and Vietnam.
Constructing it will be a mammoth engineering task. It will require 154 bridges and 76 tunnels, as well as 31 train stations, just to get the line the 260 miles (417 km) from Boten on the Laos-China border to Laos’ capital Vientiane. An estimated 20,000 Chinese workers will be needed to build it, with the completion date set for 2019.

Land-locked Laos will be transformed by the railway. A largely agricultural nation where the average annual income is a mere 720 Pound Sterling and many people, like Mr Vue, live without running water or electricity, Laos lacks both industry and infrastructure.

Currently, the country boasts just two miles of functioning railway track.
Operated by Thailand, it runs across the Thai-Laos frontier close to Vientiane. Few Lao people have ever travelled along it.
Laos, though, does have minerals such as potash and resources like rubber that China craves.

With China already the second-largest investor in Laos, after Vietnam, many locals fear the railway is further evidence of how their country is set to become an economic vassal of Beijing.

“Of course Lao people are worried about the impact of the railway and the number of Chinese coming here, but the reality is that we can’t stop the Chinese. They are everywhere already and there are so many of them. If they want to come to Laos, they will,” said a teacher in Oudomxai who asked to be known by the pseudonym Tou Vang.

Chinese residents now make up around 15% of Oudomxai’s population of 30,000. Chinese-owned hotels, shops and restaurants line the roads and the street signs are in both Lao and Mandarin.

“You won’t find a single Chinese person in Oudomxai who doesn't want the railway to happen. It will bring more Chinese people and more business for us,” said Ah Hai, a 27-year-old from Guangzhou in southern China, who moved to Oudomxai two months ago to run a shop front gambling operation catering to Chinese punters.

Yet despite the vast economic disparity between Laos and its giant neighbour, it is Vientiane which will foot the bill for the rail link.
Using untapped minerals as collateral, Laos plans to borrow 4.5 billion Pound Sterling from Beijing to pay for its section of the railway. Equivalent to almost 90 per cent of Laos’s annual GDP of 5.2 billion Pound Sterling, the loan will instantly make Laos the world’s fourth most-indebted nation after Japan, Zimbabwe and Greece.

Many international financial bodies regard the loan as a disaster waiting to happen. The Asian Development Bank has described it simply as “unaffordable”.

Just servicing the yearly interest on the loan will amount to almost 20% of Laos’s annual government spending, according to Tristan Knowles, a director of Economists at Large, a Melbourne-based think tank, who has made a study of the financial implications of the railway.

“Where are they going to find that money? I imagine they will have to prune every part of the government budget,” said Mr Knowles.

All that is holding up the railway is Thailand. Beijing is believed to be waiting for the Thai parliament to approve a planned 41 billion Pound sterling (2.2 trillion Baht) infrastructure upgrade, which will include a high-speed rail line from the Laos border to Bangkok, before signing off on the loan.

That bill is expected to pass within a couple of months and will guarantee that the railway reaches the increasingly lucrative Thai market.
Mr Vue and his fellow villagers, though, appear to be on the fast track to nowhere. “The government hasn’t spoken to us about compensation,” he said.

“It’s one thing to improve the country but we need something too. All we have is our land. If we lose it, we won’t be able to do anything.”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2014 8:49 pm    Post subject: Reply with quote

การเดินทางจาก คุนหมิงไปเมิ่งจื่อจะใช้เวลาแค่ชั่วโมงเดียว
By : InKunming 14 มีนาคม 2014
คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปประจำจังหวัดปกคองตัวเอง Honghe Hani & Yi (Development and Reform Commission of Honghe Hani & Yi Autonomous Prefecture.) เริ่มการก่อสร้างทางรถไฟจาก Mile(弥勒) ไป Mengzi(蒙自) ยาว 208 กิโลเมตร โดยใช้งบ 18000 ล้านหยวน ในปีนี้ เพื่อทำให้ การเดินทางจาก คุนหมิงไปเมิ่งจื่อจะใช้เวลาแค่ชั่วโมงเดียว ด้วยทางรถไฟเร็วถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยจอดที่ Shilin(石林 - ป่าหิน), Mile(弥勒) Kaiyuan(开远 - ไคหยวน)

//-----------------------------------------
สถานีรถไฟ Bisezhai - มรดกทางประวัติศาสตร์
By : InKunming 8 กุมภาพันธ์ 2014
สถานีรถไฟ Bisezhaiที่อยู่บนทางรถไฟสาย คุนหมิง - ลาวกาย - ฮานอย และ ห่างจาก เมือง Mengzi ไป 10 กิโลเมตร ได้กลายเป็นสถานีที่ประวัติศาสตร์ - ก่อสร้างโดยชาวฝรั่งเศส ปี 1903 เปิดใช้งานมิถุนายน 1909 เลิกใช้งาน และกลายเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ เมื่อ 21 ธันวาคม 1987

//---------------------

ทางรถไฟจากคุนหมิงไปด่านชายแดน เหอโคว์เปิดเดินปีหน้า
By : InKunming 7 มีนาคม 2014
ตอนนี้ ทางรถไฟ คุนหมิง ได้ผ่านอิ๋วซี (Yuxi) เมิ่งจื่อ (Mengzi ) จะไปถึงด่าน เหอโคว (Hekou) เชื่อมเวียตนาม ปีหน้า หลังจากเปิดการเดินรถถึง เมิ่งจื่อ (Mengzi ) แล้วในปีนี้ -

ส่วนทางรถไฟ จาก คุนหมิง ได้ผ่านอิ๋วซี (Yuxi) ไปด่าน โม่หัน (Mohan) กำลังเตรียมการอยู่

ส่วนทางรถไฟ จาก คุนหมิง ผ่านต้าหลี่ ไปเป่าซาน ถึงด่าน รุ่ยหลี่ (Ruili - เมืองเมา) เพิ่งเปิดการเดินรถ ถึงต้าหลี่แล้ว ทางช่วงต้าหลี่ไปเป่าซานกำลังก่อสร้าง เสร็จไปแล้วร้อยละ 70 ส่วนทางจากเป่าซานไปด่าน รุ่ยหลี่ (Ruili - เมืองเมา) ยาว 196 กิโลเมตร จะเริ่มปลายปี 2014 นี้ - โดยหวังว่ารถไฟสาย ต้าหลี ด่านรุ่นหลี่ยาว 330 กิโลเมตร จะเสร็จโดยเร็ว

ในการนี้ได้มีการลงทุนไปแล้ว 18150 ล้านหยวนในปี 2013 ปีนี้ต้องลงทุนถึง 21760 ล้านหยวน
http://www.railwaygazette.com/news/single-view/view/china-starts-work-on-line-to-myanmar.html
//--------------------------------------

ทางรถไฟเชื่อมอาเซียน
By : InKunming 19 มีนาคม 2014
Click on the image for full size

ทางรถไฟ สาย อิ๋วซี (Yuxi) - เมิ่งจื่อ (Mengzi ) ระยะทาง 141 กิโลเมตร ที่ได้หมายจะเชื่อมเพื่อนบ้าน นั้นต้องยอมรับว่าสร้างยากพอดู เพราะ ต้องสร้างสะพานหอสูง + ขุดอโมงค์เจาะหน้าผาและภูเขาไป 77 กิโลเมตร แต่ก็คุ้มที่จะทำให้การขนส่งถูกลง เพราะตอนนี้ลูกทับทิมจาก Ma Shan มีวางขายในนคร เมิ่งจือที่เป็น จัดหวัดปกครองตัวเอง Honghe Hani กับ Yi (Honghe Hani and Yi autonomous prefecture) ที่เผ่าฮานี (อีก้อ) เผ่าอี๋ และ เผ่าไต - เพื่อมาแทนที่ทางรถไฟทีฝรั่งเศสสร้างให้ ที่เปิดการเดินรถเมื่อ 12 เมษายน 1910 ที่ทำให้ยุนนานส่งแร่และสินค้าออกทางท่าเรือไฮฟองของอินโดจีนฝรั่งเศส

ตอนสร้างทางจาก อิ๋วซี (Yuxi) - เมิ่งจื่อ (Mengzi ) ต้อง ขุดอุโมงค์ Xiushan ยาว 10,302 เมตร ที่ยาวที่สุดในยูนนาน ต้องแก้ปัญหาน้ำใต้ดินทะลักอุโมงค์ ขนาด 150,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันในยามปกติ หรือ 230000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันในฤดูฝน และ ต้องระวังอุโมงค์ที่ผ่านเขาหินทราย ถล่ม ต้องเอาหินถมทางตั้ง 447,626 ลูกบาศก์เมตร -

ทางรถไฟสายนี้จะทำให้ การทำเหมืองดีบุก ที่ Gejiu city และ การทำเหมืองลิกไนท์ ที่ Xiaolongtan ใกล้เมือง Kaiyuan เจริญขึ้นกว่าเดิมมาก - และการส่งแร่งเหล้ก ตะกั่ว และทองคำก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย - ก็หวังใจว่าจะมาเจอกันที่กรุงเทพเข้าสักวัน

//-------------------------------------------------

1 เมษายน 2014 ขุดอุโมงค์ shatin ยาว 2693 เมตร ที่อยู่ในเส้นทางจาก เมิ่งจื่อ (Mengzi ) ไปด่านเหอโคว มูลค่า 6930 ล้านหยวน ที่เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ กรกฏาคม 2009 ระยะทาง 141.44 กิโลเมตร มี 12 สถานี อุโมงค์ 32 แห่ง สะพาน 36 แห่ง ความยาวรวมของอุโมงค์สะพานข้าม 76.5% ของระยะทางทั้งหมด เส้นทางนี้ กำหนด ความเร็วสูงสุด ความเร็ว 120 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ได้สำเร็จ - เชือใจได้แน่ว่า เสร็จได้ในปี 2014 นี้ (สำนักข่าวซินหัว 2 เมษายน 2014)
http://www.yn.xinhuanet.com/asean/2014-04/02/c_133232630.htm
http://yn.xinhuanet.com/newscenter/2014-04/02/c_133231144.htm

เริ่มการติดตั้งระบบรถไฟฟ้าให้ ทางรถไฟสาย เมิ่งจื่อ (Mengzi ) ไปด่านเหอโคว ตอนนี้วางสายส่งไฟฟ้าได้ยาว 49.704 กิโลเมตรแล้ว (สำนักข่าวซินหัว 11 มีนาคม 2014)
http://yn.xinhuanet.com/2014-03/13/c_133183038.htm


Last edited by Wisarut on 13/06/2014 9:21 am; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2014 9:50 pm    Post subject: Reply with quote

กว่างซีมุ่งสร้าง “ความเชื่อมโยง” เร่งบูรณาการโครงข่ายทางบกเชื่อมอาเซียน โดยในส่วนทางรถไฟจะประกอบด้วย ได้แก่

1. นครหนานหนิง-ด่านผิงเสียง-ด่านดงดาง-กรุงฮานอย (สถานียาลัม) และ
2. เมืองฝางเฉิงก่าง-ด่านตงซิง-ด่าน Mong Cai - Ha Long - เมืองท่าไฮฟอง - กรุงฮานอย


http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economic-business/result.php?SECTION_ID=468&ID=13731
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 25, 26, 27 ... 135, 136, 137  Next
Page 26 of 137

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©