RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311331
ทั่วไป:13292508
ทั้งหมด:13603839
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 137, 138, 139  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/03/2010 11:56 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

ข้อ 3 ไม่ยาก ถ้า เวนคืนทำทางใหม่ แม้ต้องมีทางตัดที่สุวรรณศร ช่วงบ้านกิโล 2 ก็ไม่เห็นจะมีปัญหานี่

ตอนนี้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศบริเวณเลยที่หยุดรถไทยไปทางตะวันออกค่อนข้างดีมากครับ Evil or Very Mad
สะพานข้ามแม่น้ำโขงสร้างเสร็จก่อนกระมัง
ตรงบริเวณแถว ๆ นี้ถึงจะลงมือศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
ยิ่งเวนคืนที่ดินอีก....

กลับไปเชียร์สายหาดใหญ่-สงขลา ต่อดีกว่า
ปัญหานี้ปล่อยให้จีนกลับไปคิดครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
siriwadhna
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/10/2009
Posts: 126

PostPosted: 10/03/2010 12:30 pm    Post subject: แผนรถไฟความเร็วสูงจีน รวมประเทศไทยด้วย Reply with quote

ย้ายกระทู้มาครับ

King's Cross to Beijing in two days on new high-speed rail network

The Daily Telegraph 8 มี.ค. 2553

China is in negotiations to build a high-speed rail network to India and Europe with trains that capable of running at over 200mph within the next ten years.

The network would eventually carry passengers from London to Beijing and then to Singapore. It would also run to India and Pakistan, according to Wang Mengshu, a member of the Chinese Academy of Engineering and a senior consultant on China's domestic high-speed rail project.

A second project would see trains heading north through Russia to Germany and into the European railway system, and a third line will extend south to connect Vietnam, Thailand, Burma and Malaysia.

Passengers could board a train in London and step off in Beijing, 5,070 miles away as the crow flies, in just two days. They could go on to Singapore, 6,750 miles away, within three days.

อ่านต่อ
Back to top
View user's profile Send private message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 10/03/2010 2:00 pm    Post subject: Re: แผนรถไฟความเร็วสูงจีน รวมประเทศไทยด้วย Reply with quote

siriwadhna wrote:


Passengers could board a train in London and step off in Beijing, 5,070 miles away as the crow flies, in just two days. They could go on to Singapore, 6,750 miles away, within three days.

อ่านต่อ


5,000 ไมล์ ก็ประมาณ 8,000 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 วัน ราว 48 ชั่วโมง เฉลี่ยวิ่ง 170 กม./ชั่วโมง เป็นไปได้ไหมครับ แล้วสายลอนดอน-ปักกิ่ง วิ่งผ่านประเทศอะไรบ้างนี่ จะมีโอกาสได้นั่งรถไฟไปลอนดอนจากเมืองไทยจริงหรือนี่ Surprised Surprised
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
siriwadhna
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/10/2009
Posts: 126

PostPosted: 10/03/2010 5:36 pm    Post subject: Re: แผนรถไฟความเร็วสูงจีน รวมประเทศไทยด้วย Reply with quote

BanPong1 wrote:
5,000 ไมล์ ก็ประมาณ 8,000 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 วัน ราว 48 ชั่วโมง เฉลี่ยวิ่ง 170 กม./ชั่วโมง เป็นไปได้ไหมครับ แล้วสายลอนดอน-ปักกิ่ง วิ่งผ่านประเทศอะไรบ้างนี่ จะมีโอกาสได้นั่งรถไฟไปลอนดอนจากเมืองไทยจริงหรือนี่ Surprised Surprised


มันน่ากลัวเรื่องวินัย "ณ จุดตัด" ของคนแต่ละชาตินะครับ หรือจะยกสูงแบบแอร์พอร์ตลิงค์ งบประมาณคงเลี้ยงคนจนได้ทั้งโลกเนอะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2010 5:31 pm    Post subject: Reply with quote

จีนบนเส้นทางมหาอำนาจ รถไฟความเร็วสูง
หน้า ต่างประเทศ คอลัมน์ วิเคราะห์
โดย.......ทีมข่าวต่างประเทศ
โพสต์ทูเดย์ 10 สิงหาคม 2553 เวลา 06:29 น.

วันนี้จีนไม่เพียงสยายปีกธุรกิจการค้าไปทั่วโลกเท่านั้น แต่ในธุรกิจด้านการขนส่ง ยังไม่รอดพ้นจากการเข้ามามีส่วนร่วมของพญามังกร

ในบรรดาการขนส่งทุกประเภทนั้น รถไฟถือเป็นจุดแข็งของจีนที่สุด และเป็นอุตสาหกรรมขนส่งที่มีอนาคตที่สุด จากความสำเร็จในการวางเครือข่ายและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างจริงจัง จนได้รับโอกาสให้ก้าวเข้ามาชิงส่วนแบ่งของรถไฟความเร็วสูงในต่างประเทศ

พื้นฐานความสำเร็จของอุตสาหกรรมรถไฟของจีนเกิดขึ้นมีมูลเหตุที่สำคัญ 2 ประการ

หนึ่ง อุตสาหกรรมรถไฟโอนกิจการเป็นของรัฐโดยสมบูรณ์นับตั้งแต่ครั้งสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปี 2492 ยังผลให้มีความเป็นเอกภาพและต่อเนื่องในการพัฒนารถไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟทุกสายกับกรุงปักกิ่ง ไม่ว่าเมืองหลักเมืองนั้นจะอยู่ห่างไกลเพียงใด ดังจะเห็นได้จากความสำเร็จของการเชื่อมทางรถไฟสายปักกิ่งลาซา เมื่อปี 2549

สอง สืบเนื่องมาจากประการแรก เมื่อจีนมีระบบขนส่งพื้นฐานที่ก้าวหน้าและรวดเร็ว การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วย และเมื่อเศรษฐกิจเติบโตอย่างคึกคัก ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบขนส่งรถไฟเพื่อรองรับก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น และก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

ขณะนี้เครือข่ายรถไฟในจีนมีความยาวรวมกันถึง 8.6 หมื่นกิโลเมตร และคาดว่าจะขยายเส้นทางเพิ่มอีกถึง 1.1 แสนกิโลเมตรภายในปี 2555 ทั้งยังตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มถึง 1.2 แสนกิโลเมตรภายในปี 2563 ยังผลให้การรถไฟจีนต้องจ้างงานเพิ่มอีกถึง 2 ล้านคน ซึ่งหมายถึงการจ้างงานโดยรวมภายในประเทศจะพลอยคึกคักตามไปด้วย

อาจกล่าวได้ว่า วันนี้จีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีเครือข่ายรถไฟที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย เป็นรองเพียงอินเดีย โดยที่ฝ่ายหลังแทบไม่มีพัฒนาการที่โดดเด่นในด้านขนส่งมวลชนและโลจิสติกส์ด้วยซ้ำ

แต่จีนมิได้หยุดอยู่เพียงแค่เส้นทางรถไฟธรรมดาๆ และเครือข่ายรถไฟภายในประเทศเท่านั้น

วันนี้จีนได้ก้าวสู่โฉมหน้าใหม่ของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีด้านรถไฟความเร็วสูง ด้วยการมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงอย่างจริงจัง อีกทั้งยังขยายธุรกิจด้านนี้ออกไปยังต่างแดน จนสามารถสร้างปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนในอุตสาหกรรมด้านนี้

เมื่อ 5 ปีที่แล้วจีนไม่มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงแม้แต่เซนติเมตรเดียว แต่ในวันนี้จีนมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงยาวกว่ายุโรปทั้งทวีปรวมกัน และภายในปี 2555 จีนจะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงมากกว่าโลกทั้งโลกรวมกัน ด้วยความยาวรวมกันทั้งสิ้นถึง 1.28 หมื่นกิโลเมตร!

แต่ไม่เพียงเท่านั้น จีนยังทำลายสถิติอย่างต่อเนื่องในด้านระบบขนส่งรถไฟ เช่น การเป็นประเทศแรกที่มีรถไฟความเร็วสูงเพื่อการพาณิชย์ที่สามารถทำความเร็วที่สุดในโลกบนรางแบบธรรมดา โดยมีความเร็วสูงสุดถึง 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนเส้นทางฮ่องกงเสิ่นจิ้นกว่างโจวอู่ฮั่น

เมื่อปีที่แล้วเครือข่ายรถไฟของจีนได้รับการจัดอันดับให้ติดท็อป 10 ของเครือข่ายเส้นทางรถไฟประเภทนี้ที่ดีที่สุดในโลก จากเว็บไซต์ infrastructurist.com

การจัดอันดับดังกล่าวและการทำลายสถิติครั้งแล้วครั้งเล่า รวมถึงความสำเร็จด้านวิศวกรรมรถไฟ อาจมีส่วนช่วยโหมกระพือความน่าเชื่อถือของจีนในอุตสาหกรรมด้านนี้ จนสามารถก้าวสู่การเป็นผู้รับเหมาสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของอุตสาหกรรมรถไฟจีนในต่างแดน

แม้ในเวลาต่อมาบริษัท ซีเอสอาร์ซี ของจีนจะถอนตัว เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค แต่จีนยังยืนยันที่จะตะลุยตลาดรถไฟโลกด้วยความมุ่งมั่นต่อไป เพื่อทำให้จีนสามารถเปลี่ยนฐานะจากประเทศนำเข้าเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เป็นผู้ส่งออกเทคโนโลยีในด้านนี้ในที่สุด

มูลเหตุของความสำเร็จของจีนไม่ใช่เพียงเพราะพื้นฐานที่แข็งแกร่งดังที่ว่าไว้เท่านั้น แต่ยังมาจากกลเม็ดเด็ดพรายในเชิงธุรกิจของรัฐบาลจีน

ดังที่ระบุไว้ข้างต้นว่า จีนใช้เวลาเพียง 5 ปีในการก้าวกระโดดจากประเทศที่ไม่มีรถไฟความเร็วสูง จนกลายเป็นประเทศที่ติดอันดับต้นๆ ของโลกในเทคโนโลยีรถไฟ

สาเหตุก็เพราะจีนมีเงื่อนไขบังคับให้ประเทศที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมรถไฟในจีนจะต้องร่วมทุน และต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัทในความควบคุมของรัฐบาลจีน

เงื่อนไขที่ว่านี้ถือเป็นเรื่องคอขาดบาดตายเป็นอย่างยิ่งสำหรับภาคธุรกิจที่จำเป็นต้องหวงแหนเทคโนโลยี เพราะหมายถึงการมอบสูตรลับของการทำเงินทำทอง และอาจกระทบต่อศักยภาพด้านการแข่งขันของบริษัทนั้นๆ ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม บริษัทด้านวิศวกรรมขนส่งชั้นนำของโลกกลับไม่ลังเลใจที่จะร่วมแบ่งปันเทคโนโลยีกับจีน อีกทั้งยังเห็นว่าการทำเช่นนั้นเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องอย่างยิ่งในทางธุรกิจ

บริษัทที่ยอมรับเงื่อนไขของจีนมาจากเกือบทุกประเทศที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงด้านการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นบริษัท ซีเมนส์ จากเยอรมนี บริษัทคาวาซากิ จากญี่ปุ่น บริษัท บอมบาร์เดียร์ จากแคนาดา อัลสตอม และยูโรสตาร์ จากฝรั่งเศส

สิ่งที่จีนได้จากการร่วมทุนและถ่ายทอดเทคโนโลยี คือสามารถผลิตรถไฟความเร็วสูงของตนเองภายในเวลาเพียงแค่ 3 ปี และยังผลิตบุคลากรที่มีความรู้ในเทคโนโลยีด้านนี้นับหมื่นคน ต่อยอดการพัฒนารถไฟความเร็วสูงได้อย่างรวดเร็ว

คาดว่าในปีหน้ารถไฟของจีนจะสามารถทำความเร็วได้ถึง 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง...!

ขณะเดียวกันก็มิใช่ว่าบริษัทต่างชาติจะกลายเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบที่ต้องถูกจีนดึงเทคโนโลยีที่เฝ้าอุตส่าห์วิจัยศึกษามาอย่างชุบมือเปิบ และที่บริษัทเหล่านี้ยอมรับเงื่อนไขของจีนก็เพราะเหตุผล 2 ประการ
ประการแรก ต้องการช่องทางเข้าถึงตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีผู้บริโภคมากที่สุดในโลก และบางบริษัทมิได้มีแค่ธุรกิจด้านวิศวกรรมรถไฟเท่านั้น นี่จึงเป็นโอกาสทองที่จะ “ผูกมิตร” กับภาครัฐ และเจาะภาคเอกชน

ประการที่สอง การขนส่งรถไฟในจีนมีอนาคตที่สดใสกว่าประเทศใดๆ ไม่เพียงมีจำนวนผู้โดยสารกว่า 2 แสนคนต่อวันเท่านั้น แต่ยังมีเครือข่ายที่รอการวางเส้นทางในอนาคตอีกนับหมื่นกิโลเมตร ซึ่งหมายถึงจำนวนผู้โดยสารและโครงการพัฒนาอีกนับไม่ถ้วน บริษัทต่างชาติจึงกำลังพบกับขุมทองอย่างไม่ต้องสงสัย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บริษัท บอมบาร์เดียร์ ที่ยอมรับว่ารายได้ทั้งหมดเมื่อปีที่แล้วมากจากจีนทั้งสิ้น ขณะที่ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้มีรายได้ต่อเดือนถึง 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ

จีนในฐานะขุมทองอุตสาหกรรมรถไฟโลก จึงเป็นความหวังให้กับหลายๆ บริษัทที่กำลังเผชิญกับภาวะขาดทุนจากการเสื่อมความนิยมในการใช้รถไฟ

ตัวอย่างเช่น การเข้ามาลงทุนในจีนของยูโรสตาร์ ซึ่งผูกขาดการเดินรถไฟข้ามช่องแคบอังกฤษฝรั่งเศสมานานถึง 16 ปี แต่ก็ยังไม่สามารถทำกำไรได้

การรับเงื่อนไขของรัฐบาลจีนเพื่อที่จะเจาะตลาดที่มีอนาคตสดใสแห่งนี้ จึงเป็นโอกาสทองของยูโรสตาร์อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะอย่างน้อยก็ดีกว่าปล่อยเทคโนโลยีของตนให้ตายซาก ในช่วงเวลาที่การขนส่งรถไฟในยุโรปไม่ก้าวหน้าเร็วเท่ากับจีน

ผลจากความร่วมมือที่ “ได้” ทั้ง 2 ฝ่ายทั้งจีนและนานาประเทศ ยังหมายถึงการกระตุ้นอุตสาหกรรมรถไฟโลกให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากที่ต้องถอยให้กับอุตสาหกรรมขนส่งด้านอื่นๆ มานานหลายสิบปี อีกทั้งยังต้องเผชิญกับภาวะขาดทุนย่อยยับ

ก้าวต่อไปของจีน คือการขยายเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงจากจีนถึงยุโรป เชื่อมโยงปักกิ่งกับลอนดอน ด้วยความเร็วในการเดินทางระหว่างเมืองหลวงทั้ง 2 ทวีปเพียง 2 วัน จากเดิมที่เคยใช้เวลานานแรมสัปดาห์

หากแผนการนี้สามารถแปลงเป็นรูปธรรมได้ในที่สุด จะไม่ใช่เพียงการยกฐานะของอุตสาหกรรมรถไฟจีนสู่ระดับแถวหน้าของโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยพลิกฟื้นอุตสาหกรรมการขนส่งด้านนี้ให้คึกคัก เพราะหมายถึงจีนและนานาประเทศจะร่วมมือกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงในระดับที่เข้มข้นขึ้น

และประเทศเหล่านั้นอาจรวมถึงไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงสายใต้ ระหว่างมาเลเซีย ไทย เวียดนาม สู่กรุงปักกิ่ง เพื่อมุ่งหน้าสู่กรุงลอนดอน อันเป็นจุดหมายปลายทางฟากตะวันตก และอย่างน้อยในขณะนี้ไทยก็เริ่มมีร่างโครงการอุดหนุนรถไฟความเร็วสูงสัญชาติจีน เพื่อเสริมสร้างระบบโลจิสติกส์ขึ้นบ้างแล้ว..!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 13/08/2010 7:58 pm    Post subject: Reply with quote

ปู๊น ปู๊น รถไฟจีนมาแล้ว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 สิงหาคม 2553 16:49 น.



เมื่อพูดถึงรถไฟความเร็วสูง ในโลกนี้มีอยู่ด้วยกัน4-5 ระบบ คือ รถไฟหัวกระสุนหรือ “ ชินคันเซ็น” ของญี่ปุ่น ซึ่งมีความเร็ว 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระบบ เอวีอี ( AVE - Alta Velocidad Espanola) ในสเปน วิ่งเร็ว 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระบบ ทีจีวี ในฝรั่งเศส มีความเร็ว 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรถไฟความเร็วสูงของจีน ซึ่งเป็นน้องใหม่ล่าสุด ที่นำเทคโนโลยี่ของหลายๆเจ้า ทั้งเยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน ญี่ปุ่น มาดัดแปลง พัฒนาขึ้นใหม่จน วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกคือ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ส่วนรถไฟไทยของเรา ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูง มีความเร็วโดยเฉลี่ยแล้ว ชั่วโมงละ 50-60 กิโลเมตรเท่านั้นเอง เร็วขนาดนี้ ยังตกรางอยู่บ่อยๆ เมื่อไม่นานมานี้ คณะรัฐมนตรีเพิ่งจะอนุมัติแผนยกเครื่องรถไฟไทย ด้วยงบประมาณ 170,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงระบบราง หัวรถจักร ระบบอาณัติสัญญาณทั้งหลาย โดยมีความหวังว่า จะทำให้รถไฟไทยวิ่งได้เร็วขึ้นอีกเท่าตัวคือ 100-120 กิโลเมตรต่อขั่วโมง

สำหรับรถไฟความเร็วสูงนั้น เท่าที่ผ่านมา มีแต่ข่าวว่า จะสร้างๆ แต่ไม่มีวี่แววว่า จะเป็นจริงขึ้นมา เลยแม้แต่น้อย

มาถึงวันนี้ ข่าวคราวเกี่ยวกับ การสร้างรถไฟความเร็วสูใรประเทศไทยกลบมาอีกครั้ง และครั้งนี้ ดูเหมือนจะมีโอกาส ความน่าจะเป็นมากที่สุด ไม่เลื่อนลอยเหมือนที่ผ่านๆมา เพราะว่า เป็นโครงการที่ประเทศจีนร่วมลงทุนก่อสร้างด้วย และมีการผลักดัน ผ่าน ครม. โดยมีมติให้ตั้งคณะทำงาน ศึกษารายละเอียดในการดำเนินงานขึ้นมาแล้ว

การผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงเที่ยวล่าสุดนี้ เกิดขึ้นอย่างรีบด่วน หลังจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับจกาการไปเยือนประเทศจีน ร้อมกับ นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ โดยระหว่างที่อยู่ที่จีน นายสุเทพ ได้พบกับ ผู้บริหารด้านกิจการรถไฟของจีน เพื่อหารือในเรื่องความร่วมมือในการพัฒนาระบบรถไฟไทย

นายสุเทพ เสนอใน ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 กรกฎาคม ให้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษารายละเอียดโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ในโครงการพัฒนากิจการรถไฟในระยะแรก จำนวน 2 โครงการ คือโครงการก่อสร้างรถไฟที่มีขนาดความกว้างของรางที่เป็นมาตรฐาน ( กว้าง 1.43 เมตร ส่วนรางรถไฟไทยกว้างเพียง 1 เมตร) จากชายแดนไทย-ลาว ที่จังหวัดหนองคาย ไปสุดชายแดนไทยภาคใต้ที่สุไหงโก-ลก และโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดระยอง

คณะกรรมการชุดนี้ มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ส่วนกรรมการ ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยมีนายโสภณ ชารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นที่ปรึกษา

คณะกรรมการชุดนี้ จะศึกษารายละเอียดการดำเนินงานให้ทัน การเดินทางไปเยือนจีนของนายอภิสิทธิ์ ภายในปีนี้ ซึ่งจะมีการลงนามในเอ็มโอยู ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน โดยหลักการคร่าวๆ จะมีการตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีนขึ้นรับผิดชอบ บริหารจัดการโครงการทั้งสอง โดยฝ่ายไทยไม่ต้องทำอะไรเลย เพียงแต่ หาที่ดิน ซึ่งจะใช้ที่ดิน ในเขตรถไฟ สร้างรางรถไฟคู่ขนานไปกับ รางรถไฟในปัจจุบัน ที่เหลือฝ่ายจีนทำเองทั้งหมด ทั้งออกเงิน และลงมือสร้างราง โครงสร้างพื้นฐานในการเดินรถ รวมทั้งการจัดหาขบวนรถไฟ

จีนมีเครือข่ายรถไฟที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากอินเดีย และลงทุนพัฒนาประสิทธิภาพของเครือข่ายมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ การพัฒนารถไฟความเร็วสูง

ห้าปีก่อน จีนไม่มีรถไฟความเร็วสูงเลย แต่ปัจจุบัน จีนมีเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง มากกว่าทุกประเทศในทวีปยุโรป รวมกัน และคาดว่า อีก 2 ปีข้างหน้า จีนจะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงยาว 12,000 กิโลเมตร ยาวกว่าทุกประเทศใดลกรวมกัน

จีนยังสามารถผลิตรถไฟความเร็วสูงที่สามารถวิ่งได้เร็วกว่า 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้เวลาเพียง 3 ปี ซึ่งเป็นผลจากการที่จีนตั้งเงื่อนไขให้ บริษัทที่เป็นเจ้าเทคโนโลยีระบบราง ทั้งในยุโรป แคนาดา และญี่ปุ่น ที่ต้องการเข้าไปลงทุนในจีน ต้องร่วมทุนกับบริษัทของรัฐบาล และถ่ายทอดเทคโนโลยี่ให้ด้วย

นอกจากการสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศแล้ว จีนยังขยายเส้นทางรถไฟไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศที่อยู่ต่อเนื่องถัดไปด้วย

ศาสตราจารย์ หวัง เมิ่งฉู่ จากมหาวิทยาลัย ปักกิ่ง เจียวถง และเป็นสมาชิกของสถาบันวิศวกรรมศาสตร์แห่งชาติจีน เรียกการขยายเส้นทางรถไฟนี้ว่า "การทูตรถไฟ" ซึ่งมีเป้าหมาย สองข้อ ข้อแรกคือ จีนต้องการพัฒนาภูมิภาคตะวันตกของตนเอง ซึ่งคาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะมีผู้อพยพจำนวนหลายร้อยล้านคน เคลื่อนย้ายศูนย์กลางธุรกิจและการผลิตไปยังภูมิภาคตะวันตกที่ยังรกร้างและเข้าถึงยาก ข้อสอง เพื่อแลกกับทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเพื่อนบ้าน

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงของจีน แบ่งเป็น 3 เส้นทางคือ เส้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อมคุนหมิง สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย และสิงคโปร์ เส้นทางเอเชียกลางจากมณฑลซินเจียง ผ่านไปยังคาซัคสถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และหากเป็นไปได้อาจขยายยาวไปถึงเยอรมนี เส้นทางที่สาม เริ่มจากมณฑลเฮยหลงเจียงในทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นไปถึงรัสเซีย โดยมีปลายทางอยู่ที่ ยุโรปตะวันตก

สิ่งที่จีนหวังจะได้จากการลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูง ผ่านไทยครั้งนี้ คงไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติ น่าจะเป็น การสร้างโครงข่ายเชื่อมโยกกับอาเซียน ซึ่งมีตลาดขนาดใหญ่ ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงมาก ทั้งยังเป็นเส้นทางออกสู่ มหาสมุทนแปซิฟิค และมหาสมุทรอินเดียอีกทางหนึ่งด้วย

ส่วนประเทศไทย ก็จะได้แก้ปัญหา การคมนาคมขนส่ง ทางรถไฟ ที่พูดกันมานาน แต่ไม่เคยทำได้สำเร็จเสียที เพราะหน่วยงานที่รับผิชดอบไม่มีปัญญาทำ ต้องยืมมือจีนเข้ามาช่วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2010 7:14 pm    Post subject: Reply with quote

อาเซียนจับมือเร่งพัฒนาระบบขนส่ง
หน้า เศรษฐกิจโลก
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์เมื่อ วันพุธที่ 25 สิงหาคม 2010 เวลา 09:50 น. -
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,560 26-28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ยืนยันความร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นด้านการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ของภูมิภาคให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคมนาคมขนส่ง และลดภาระต้นทุนที่เกิดจากอุปสรรคด้านต่างๆในระบบการขนส่งของอาเซียนซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับ 10 ประเทศสมาชิกที่กำลังจะผนวกเข้าเป็นประชาคมเดียวกันภายในปี 2558 หรือในอีก 5 ปีข้างหน้า

นายสุบาช พิลไล ผู้อำนวยการฝ่ายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ สำนักเลขาธิการอาเซียน เปิดเผยว่า 10 ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ได้ประกาศตอกย้ำแผนการร่วม (road map) ซึ่งเป็นแนวทางในการเชื่อมโยงและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบคมนาคมขนส่งและกระจายสินค้าของภูมิภาคอาเซียน "เป้าหมายของแผนนี้คือการเพิ่มความรวดเร็วของระบบโลจิสติกส์ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556) และในระยะยาวก็คือการทำให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก"

ทั้งนี้ จากสถิติพบว่า อุปสรรคทางเศรษฐกิจที่เกิดจากภาครัฐของอาเซียนนั้นทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายคิดเป็นมูลค่าประมาณ 30% ของต้นทุนด้านการขนส่งทั้งหมดภายในประเทศสมาชิกอาเซียน และนั่นก็เป็นตัวเลขเป้าหมายที่แผนความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ของอาเซียนต้องการที่จะลดลงให้ได้

แผนดังกล่าวซึ่งมีขึ้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา กำหนดมาตรการเชิงปฏิบัติไว้ 4 แนวทางด้วยกัน ซึ่งได้แก่

1) การลดภาษีศุลกากรลงมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการหลั่งไหลของสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกมากยิ่งขึ้น
2) การเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในด้านโลจิสติกส์
3) เสริมสร้างสมรรถนะการให้บริการของภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และ
แนวทางที่ 4) คือการเพิ่มความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรในด้านนี้

นอกจากนี้ก่อนหน้าการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี ยังได้มีการประชุมร่วมกับรัฐมนตรีของสมาชิกอาเซียนบางประเทศที่อยู่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย รวมทั้งจีน เพื่อหารือแผนงานการพัฒนาและเชื่อมโยงระบบรถไฟของทั้ง 6 ประเทศดังกล่าว นายคุนิโอะ เซ็นกะ เลขาธิการใหญ่ของเอดีบีประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นผู้จัดทำแผนนำเสนอความยาว 25 หน้า เปิดเผยเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า แผนดังกล่าวเป็นก้าวแรกของการพัฒนาระบบรถไฟร่วมกันของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

รายงานระบุว่า ปัจจุบันระบบรางรถไฟภายในประเทศของแต่ละ 6 ประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงยังไม่มีการเชื่อมโยงถึงกัน ยกเว้นจีนและเวียดนามมีเส้นทางรถไฟ 1 เส้นทางที่เชื่อมโยงกันอยู่ ส่วนลาวนั้นกล่าวได้ว่ายังไม่มีเครือข่ายรางรถไฟเลย แผนศึกษาของเอดีบีระบุเส้นทางรถไฟที่เป็นไปได้ 4 เส้นทางที่จะเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยมี 1 เส้นทางที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด คือเส้นทางรถไฟที่เชื่อมจากกรุงเทพฯ (ประเทศไทย) ไปยังกรุงพนมเปญ (กัมพูชา) จากนั้นต่อไปยังโฮจิมินห์ และฮานอย (เวียดนาม) ก่อนจะตรงไปยังหนานหนิงและคุนหมิง (จีน) ซึ่งเส้นทางดังกล่าว ส่วนใหญ่มีเส้นทางรถไฟอยู่แล้ว และมีบางส่วนที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง มีบางจุดเท่านั้นที่ยังขาดการเชื่อมโยง นั่นคือ ระหว่างนครโฮจิมินห์ทางตอนใต้ของเวียดนามและกรุงพนมเปญของกัมพูชา ทั้งนี้ เอดีบีประเมินว่าการก่อสร้างและเชื่อมโยงเส้นทางดังกล่าวให้ลุล่วงต้องใช้เงินลงทุนมูลค่าราว 1,090 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเงินจำนวนนี้ไม่รวมถึงการปรับปรุงและยกระดับรางรถไฟของเก่าที่มีอยู่เดิมในแต่ละประเทศ ซึ่งคาดว่าต้องใช้เงินอีกราว 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

"ภายในปีค.ศ. 2025 จะมีผู้โดยสารประมาณ 3.2 ล้านคน และสินค้าประมาณ 23 ล้านตันที่จำเป็นต้องใช้เส้นทางรถไฟดังกล่าวนี้ในแต่ละปี" รายงานของเอดีบีระบุและเสนอแนะว่า สมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงควรจะต้องทำการเชื่อมโยงระบบรางรถไฟเข้าด้วยกันอย่างน้อย 1 เส้นทางให้สำเร็จภายใน 10 ปีข้างหน้า หรือภายในปีค.ศ. 2020 เพื่อรองรับความจำเป็นดังกล่าวและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบคมนาคมขนส่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2010 11:38 am    Post subject: Reply with quote

เตรียมตัว นั่งรถไฟไปหลวงพระบาง-สิบสองปันนา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กันยายน 2553 03:28 น.

ผู้จัดการ360องศารายสัปดาห์—โครงการรถไฟอาเซียนกำลังคืบไปอีกนิดหนึ่งในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีปัญหาอีกมาก แต่ทางรถไฟในระดับไตรภาคี จีน ลาวและไทย ซึ่งเป็นอีกสายหนึ่งเพื่อเชื่อมสิงคโปร์กับคุนหมิงเช่นกัน กำลังไปได้เร็วกว่า สายที่จะผ่านเข้าไปในกัมพูชากับเวียดนาม

รัฐมนตรี 6 ประเทศจีเอ็มเอสหรือกลุ่มอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub- Region) ที่ประกอบด้วยเวียดนาม ไทย ลาว กัมพูชา พม่าและจีน (มณฑลหยุนหนันกับกว่างซี) ได้หารือกันเรื่องนี้ในการประชุมในกรุงฮานอย

ธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบีผู้สนับสนุนโครงการขนสงระบบรางของอนุภูมิภาค กำลังผลักดันอย่างเต็มที่เพื่อให้ประเทศแถบนี้เชื่อมต่อทางรถไฟกันให้ได้ภายในปี 2563 หลังจากเริ่มมากว่า 10 ปีแล้ว

รถไฟอาเซียนเกิดขึ้นมาตามความริเริ่มของดาโต๊ะเสรีมหาธีร์โมฮาหมัด อดีตนายกรัฐมนตรี ครั้งที่มาเลเซียทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน หลายปีก่อนมาเลเซียได้บริจาครางรถไฟที่ใช้แล้วให้กัมพูชาเพื่อสานต่อ ทุกอย่างดำเนินไปอย่างล่าช้า

เอดีบีเชื่อว่าในปี 2568 จะมีผู้ใช้ทางรถไฟอาเซียนไม่น้อยกว่า 3.2 ล้านคน ขนส่งสินค้าอีก 23 ล้านตัน และ เมื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟของจีนได้ ก็จะเชื่อมเข้ากับรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียของรัสเซียไปจนถึงยุโรป ทำให้มีศักยภาพอย่างสูงในด้านการท่องเที่ยวช่วง 1-2 ทศวรรษข้างหน้า

แต่ปัญหาสำคัญก็คือทางรถไฟช่วงที่ยังขาดอยู่ระหว่างพนมเปญกับนครโฮจิมินห์ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณก่อสร้างถึง 1,900 ล้านดอลลาร์ กับอีกราว 7,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อฟื้นฟูบูรณะยกระดับทางรถไฟตลอดทั้งสาย ซึ่งเป็นภาระที่ใหญ่มาก

ในสัปดาห์เดียวกันที่ จ.หนองคาย เจ้าหน้าที่รถไฟ 3 ประเทศ จีน ลาวและไทย ได้ประชุมร่วมกันเป็นครั้งแรกหารือเกี่ยวกับแผนการเชื่อมต่อรถไฟช่วงบ่อเต็น-เวียงจันทน์-หนองงคายซึ่งถ้าหากทำได้สำเร็จก็จะเป็นทางรถไฟสายทรานส์เอเชียสายใหม่ที่มีปัญหาน้อยกว่า โดยมีปลายทางที่คุนหมิงเช่นเดียวกัน

ตามรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว ในวันที่ 20 ส.ค. ขณะรัฐมนตรีกลุ่มจีเอ็มเอสเริ่มประชุม เจ้าหน้าที่กระทรวงการโยธาและขนส่งลาว กระทรวงคมนาคมของไทยและกระทรวงรถไฟของจีน ได้ประชุมกันที่หนองคาย หารือเกี่ยวกับ "การศึกษาสำรวจและออกแบบ" จนถึงการก่อสร้างระบบรถไฟเชื่อม 3 ประเทศ

เมื่อสร้างไปจนถึงสถานีท่านาแล้งรถไฟจีน-ลาว ก็จะเชื่อมต่อไปยังกรุงเทพฯ และที่ไหนๆ ได้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟอาเซียนสายยาวที่ยังเต็มไปด้วยปัญหา

นายสมมาด พนเสนา รัฐมนตรีการโยธาฯ ได้กล่าวกับคณะเจ้าหน้าที่สามประเทศที่เข้าพบในนครเวียงจันทน์วันเดียวกัน เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปอย่างละเอียดจนถึงกำหนดการก่อสร้าง

สำนักข่าวของทางการลาวรายงานในเดือน เม.ย.ปีนี้ว่า จีนได้ตกลงที่จะช่วยลาวก่อสร้างทางรถไฟสายบ่อเต็น-หลวงพระบาง-เวียงจันทน์ ทะลุไปจนถึงบอลิคำไซกับเมืองท่าแขก ซึ่งจะต่อไปยังเวียดนามได้ นายคำแสง ไซยะกอน ผู้อำนวยการองค์การรถไฟแห่งชาติเป็นผู้เปิดเผยเรื่องนี้

สองฝ่ายร่วมกันลงนามในบันทึกช่วยความจำฉบับหนึ่ง ตกลงจัดตั้งบริษัทร่วมทุนและขออนุญาตทางการ เข้าดำเนินการ เจ้าหน้าที่ของลาวกล่าวอีกว่า คณะจากกระทรวงรถไฟของจีนได้ศึกษาเรื่องนี้มาก่อนแล้วและพร้อมจะหาเงินกู้ระยะยาว ราว 4,000 สำหรับการก่อสร้าง

"จีนต้องการทางรถไฟเพื่อขนสินค้าเข้าอาเซียน อาเซียนก็ต้องการรถไฟเพื่อขนสินค้าเข้าจีน" นายคำแสงกล่าว

ทางรถไฟจีน-ลาว-ไทย เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บททางรถไฟระยะทางกว่า 2,500 กม.ของลาว เชื่อมทั่วประเทศและเพื่อนบ้าน รวมทั้งไทย เวียดนามและกัมพูชาด้วย

รถไฟจะทำให้มณฑลหยุนหนันที่ไร้ทางออกทะเลเช่นเดียวกันกับลาว สามารถเชื่อมต่อกับทุกดินแดนในอนุภูมิภาคแถบนี้ได้.

Note: ในเฟสแรกแรกมีทางรถไฟจากเมือง เชียงรุ้ง (จิงหง) ในแคว้นสิบสองปันนา ผ่านด่านบ่อหาน (จีน) - บ่อแตน (ลาว) ผ่านหลวงพระบาง ภูคูน วังเวียง ไปนครหลวงเวียงจันก่อนข้ามแม่น้ำโขง เข้าเมืองไทยที่ หนองคาย

ในเฟสต่อไป จะไปจาก นครหลวงเวียงจันท์ เลียบแม่น้ำโขง ไป ปากซัน ปากกระดิ่ง ผ่านด่านไปออกเมืองท่าวินห์ (วิง) เพื่อขนสินค้าและคนไปมาระหว่างเวียงจันท์ไปออกเวียตนาม ที่วินห์ (วิง) จากนั้น ให้ทำทางแยก จากปากกะดิ่ง ไปท่าแขก - สวรรณเขต - เซโน ไปออกเวียตนามที่ กวางตรี (กว๋างจิ) เพื่อไปนครเว้ เพื่อเอาใจลูกพี่เวียตนาม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2010 12:03 am    Post subject: Reply with quote

รัฐมนตรีจีนเข้าลาว รถไฟ 3 ชาติทะลุถึงไทยใกล้จริง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 ตุลาคม 2553 17:16 น.


ASTVผู้จัดการออนไลน์ --นายหลิวจื้อจุ้น (Liu Zhijun) รัฐมนตรีกระทรวงการรถไฟจีน นำคณะจากกรุงปักกิ่งเดินทางเยือนลาวอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ (4 ต.ค.) หารือกับฝ่ายลาวเกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมจีน-ลาว และอาเซียน สื่อของทางการลาวกล่าว

ที่ผ่านมา ในฐานะแขกของ นายสมมาด พนเสนา รัฐมนตรีกระทรวงการโยธาและขนส่งของลาว สองฝ่ายได้พบเจรจา ในวันเดียวกัน

สองฝ่ายได้ร่วมกันลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับ “การสร้างทางรถไฟข้ามพรมแดนลาว-จีน ผ่านเมืองบ่อเต็น เมืองไซ แขวงอุดมไซ แขวงหลวงพระบาง วังเวียง และนครหลวงเวียงจันทน์” อีกด้วย สำนักข่าวสารปะเทดลาว กล่าว โดยไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับแผนการนี้

รัฐมนตรีจากจีนยังได้เข้าเยี่ยมคำนับ พล.ท.จูมมะลี ไซยะสอน ประธานประเทศลาว และ นายสมสัหวาด เล่างสะหวัด รองนายกฯ และ “ผู้ประจำการรัฐบาล” อีกด้วย ขปล.กล่าว

การเยือนของรัฐมนตรีจีน มีขึ้นในจช่วงเดียวกับที่ นายบัวสอน บุปผาวัน นายกรัฐมนตรีลาว เดินทางไปร่วมการประชุมเอเซียน-อียู (ASEM) ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

เมื่อต้นปีนี้สองฝ่ายได้ร่วมกันลงนามในบันทึกช่วยความจำฉบับหนึ่ง เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนและขออนุญาตทางการ เข้าดำเนินการโดยกระทรวงรถไฟของจีนได้ศึกษาเรื่องนี้มาก่อนแล้วและพร้อมจะหาเงินกู้ระยะยาว ราว 4,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับการก่อสร้าง สื่อของลาวรายงานก่อนหน้านี้อ้างคำกล่าวของเจ้าหน้าที่องค์การรถไฟแห่งาติ

ทางรถไฟ จีน-ลาว-ไทย เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บททางรถไฟระยะทางกว่า 2,500 กม.ของลาว เชื่อมทั่วประเทศและเพื่อนบ้าน รวมทั้งไทย เวียดนาม และ กัมพูชา ด้วย

รถไฟจะทำให้มณฑลหยุนหนันที่ไร้ทางออกทะเลเช่นเดียวกันกับลาว สามารถเชื่อมต่อกับทุกดินแดนในอนุภูมิภาคแถบนี้ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2010 11:18 pm    Post subject: Reply with quote

จีนเริ่มสร้างทางรถไฟเชื่อมสิบสองปันนา-เวียงจันทน์ ปลายตุลาคมนี้
มติชนออนไลน์ วันที่ 08 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 20:00:00 น.

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า รัฐบาลจีนมีแผนการจะเริ่มต้นการก่อสร้างทางรถไฟระยะทาง 530 กิโลเมตร ที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองสิบสองปันนา ในมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีน กับกรุงเวียงจันทน์ นครหลวงของประเทศลาว ในวันที่ 28 ตุลาคมนี้


โดยทางรถไฟสายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายทางรถไฟสาย "ทรานส์-เอเชียน" ซึ่งจะตัดผ่าน 28 ประเทศในทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาเลเซีย, ไทย, กัมพูชา, พม่า และเวียดนาม
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 137, 138, 139  Next
Page 4 of 139

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©