View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46281
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46281
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46281
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 26/10/2016 5:38 am Post subject: |
|
|
ภาพเก่าเล่าตำนาน : ทางรถไฟที่
. ไม่ค่อยมีใครพูดถึง
มติชนออนไลน์ วันที่: 24 ต.ค. 59 เวลา: 13:00 น.
ภาพเก่าที่ปรากฏนี้คือเส้นทางรถไฟที่กองทัพญี่ปุ่นมาสร้างไว้ในปี พ.ศ.2486 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นรางรถไฟจากชุมพร-กระบุรี-เขาฝาชี ยาวประมาณ 90 กม. เป็นเส้นทางการส่งกำลังบำรุงจากทะเลอ่าวไทยข้ามไปทะเลฝั่งอันดามัน
ทางรถไฟเส้นนี้ก่อสร้างในเวลาใกล้เคียงกับทางรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว จ.กาญจนบุรีที่โด่งดังไปทั่วโลกในความหฤโหดของทหารญี่ปุ่น
อ.จุฬา โชติคุต อดีตอาจารย์และเป็นชาวระนองพี่น้องประชาชนในท้องถิ่นใช้ความพยายามที่จะอนุรักษ์ สืบค้น เปิดเผยข้อมูลร่องรอยของทางรถไฟสายนี้ต่อสาธารณชนทั้งในและต่างประเทศมานาน หากปล่อยทิ้งก็จะสาบสูญไปตามกาลเวลาอย่างน่าเสียดาย
อ.จุฬาและชาวบ้านในพื้นที่เคยขุดพบเศษโลหะรางรถไฟเก่าที่บ่งบอกถึงเส้นทางรถไฟ ซากอุปกรณ์ทางทหาร เศษเครื่องจักร เครื่องยนต์ และแม้กระทั่งอุโมงค์หลบภัยของทหารญี่ปุ่น ที่พัก ครัวทำอาหารของกองทัพญี่ปุ่นที่ยังมีสภาพดี หัวรถจักรไอน้ำที่เคยนำมาใช้ในสงคราม ทุกสถานที่สำคัญของอดีตทหารญี่ปุ่นมีป้ายแสดงข้อความ สิ่งของอุปกรณ์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ควรได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบโดยทางราชการ และควรได้รับการพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณค่า โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น
ถ้าจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ เราน่าจะเรียกทางรถไฟสายนี้ว่าทางรถไฟสายคอคอดกระ คนไทยคุ้นเคยกับคำว่า คอคอดกระ พื้นที่ตรงนี้อยู่บริเวณด้ามขวาน เป็นส่วนที่ผอมบางที่สุดของแผ่นดินไทยที่มีทะเลขนาบ 2 ด้าน คืออ่าวไทยและมหาสมุทรอินเดีย ท่านผู้อ่านอาจจะไม่เชื่อว่าเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว สมัยในหลวง ร.5 วิศวกรฝรั่งเศสเข้ามาสำรวจพื้นที่ตรงนี้อย่างละเอียด และจะขอลงทุนขุดคลองเชื่อมระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน ฝรั่งเศสทำแผนที่ แผนงาน โครงการเสร็จสรรพเพื่อถวายในหลวง ร.5 แต่ไม่ทราบว่าเหตุใดโครงการดังกล่าวจึงเงียบหายไป
รายละเอียดประเด็นนี้นักประวัติศาสตร์อิสระที่ผมยกย่องคือท่านไกรฤกษ์ นานา ไปสืบเสาะตามหาแผนที่โครงการที่จะขุดคอคอดกระฉบับนั้นในฝรั่งเศสจนพบหลังจากตกค้างอยู่ในฝรั่งเศส 130 ปี และในที่สุดท่านไกรฤกษ์ได้ไปประมูลแผนที่ต้นแบบและแผนภูมิโครงการขุดคอคอดกระของฝรั่งเศส พ.ศ.2424 ฉบับนั้นเอากลับมาได้ในปี พ.ศ.2555 และตีพิมพ์ในหนังสือหน้าหนึ่งในสยาม
มาจนถึงวันนี้ ขุด-ไม่ขุดคอคอดกระ หรือจะเชื่อมต่อทำทางลัดโดยไม่ต้องไปอ้อมช่องแคบมะละกาก็ยังเป็นประเด็นที่คุยกันได้เอร็ดอร่อยในทุกโอกาส คอคอดกระยังมีเสน่ห์เย้ายวนไม่คลาย
ทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ชุมพร-ระนอง-เขาฝาชีสายนี้เกิดขึ้นเมื่อกองทัพญี่ปุ่นยาตราเข้ายึดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กองทัพลูกพระอาทิตย์ชนะศึกมาตลอดทางจากเกาะสิงคโปร์ มลายู
ประวัติศาสตร์ที่คนไทยไม่ค่อยเคยได้ยินคือราวตี 4 ของวันที่ 8 ธันวาคม 2484 กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้ามาทางอรัญประเทศ ทางทะเลยกพลขึ้นบก พื้นที่ชายฝั่งทะเล 7 แห่งคือ ขึ้นที่สมุทรปราการ ประจวบฯ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี
การสู้รบที่ดุเดือดที่สุดคือบริเวณอ่าวมะนาว ประจวบฯเวลาประมาณตี 4 ทหารอากาศของกองบินน้อยที่ 5 ที่มีกำลังพล 127 นาย ได้พลีชีพ 41 นาย เพื่อต่อต้านการยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่น วันรุ่งขึ้นคือ 9 ธันวาคม 2484 เวลา 14.00 น. รัฐบาลสั่งการให้ทหารไทยหยุดยิง ให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยเพื่อรุกเข้าไปในพม่าทางช่องด่านสิงขร
และการยิงต่อสู้ที่สะพานท่านางสังข์ จ.ชุมพรร้อยเอก ถวิล นิยมเสน นำกำลังยุวชนทหารออกมายิงทหารญี่ปุ่นจนเสียชีวิตในแนวรบ
ทหารญี่ปุ่นส่วนที่ทำการรบก็รบกันไป กองทัพเดินได้ด้วยท้อง งานส่งกำลังบำรุงหยุดไม่ได้ ทางเดียวที่กองทัพญี่ปุ่นจะรุกต่อไปในพม่า มีข้าวปลาอาหาร มีเสื้อผ้า มีกระสุนใช้อย่างต่อเนื่องต้องใช้รถไฟส่งกำลังบำรุงสายชุมพร-ระนอง-เขาฝาชีเป็นหลัก
กองทัพซามูไรในยามนั้นโหด เลว ดี ดุดัน และเด็ดขาดเพราะต้องการใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านเข้าไปยึดประเทศพม่ามาจากอังกฤษ การส่งกำลังบำรุงทางเรือผ่านสิงคโปร์ ผ่านช่องแคบมะละกาเพื่อเข้าไปพม่านั้นสุ่มเสี่ยงต่อการถูกโจมตีจากเรือรบของอังกฤษ กองทัพญี่ปุ่นจึงตัดสินใจมาทำรางรถไฟตรงคอคอดกระของไทยซึ่งจะย่นระยะทางไปได้ราว 1,000 กม.
13 พฤษภาคม 2486 ญี่ปุ่นกดดันไทยให้ยอมร่วมมือสร้าง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลงนามร่วมกับนายพลนากามูระ (Gen Nakamura) ผบ.กองทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย ญี่ปุ่นนำหัวรถจักรมาเอง รถยนต์ที่วิ่งบนถนนเมื่อถอดเอายางออกเหลือแต่กระทะล้อ สามารถยกรถดังกล่าวขึ้นไปวางบนรางแล้ววิ่งต่อได้เหมือนรถไฟ
1 มิถุนายน 2486 ญี่ปุ่นเริ่มก่อสร้าง ใช้กรรมกรไทย อินเดีย มลายู และชาวจีนจากมลายูราว 20,000-25,000 คน แบ่งออกเป็น 7 เขตงาน มีความยาวตลอดสายประมาณ 90 กม. ทำงานทั้งวันทั้งคืน ใช้เวลาราว 6 เดือน ทางรถไฟสายนี้จึงแล้วเสร็จ แต่การเร่งรีบสร้างทำให้รางรถไฟด้อยคุณภาพ เคราะห์กรรมที่ญี่ปุ่นนึกไม่ถึงคือคนงานไทยที่รับจ้างทำงานหนีงานเกือบหมด เพราะงานทำหนักทั้งวันทั้งคืน ญี่ปุ่นต้องไปเกณฑ์เอาแขกมลายูขึ้นมาเป็นแรงงานทาสในไทย มีบันทึกการเจ็บป่วยล้มตายแบบทาส แต่ไม่พบว่าญี่ปุ่นไปนำเชลยศึกฝรั่งผิวขาวมาเป็นทาส เมื่อเทียบกับทางรถไฟสายมรณะที่กาญจนบุรีที่ดังไปสนั่นโลก ที่กาญจนบุรีญี่ปุ่นใช้งานแสนทารุณจนฝรั่งตายนับหมื่นคน
ใน ต.บางแก้ว อ.ละอุ่น จ.ระนอง มีอาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกว่าพื้นที่ตรงนี้ในอดีตเป็นสถานีปลายทางที่ทหารญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อมาจาก จ.ชุมพร เป็นระยะทางรวม 90 กม.
ญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟเส้นนี้และ 7 สถานีย่อย เช่น สถานีวังไผ่ สถานีท่าสาร สถานีปากจั่นสถานีทับหลี สถานีกระบุรี สถานีคลองลำเลียงสถานีเขาฝาชีเพื่อเดินขบวนรถไฟลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ไปยังปลายทางสถานีเขาฝาชี แล้วถ่ายสิ่งของลงเรือล่องไปตามคลองละอุ่นออกไปบรรจบคลองกระบุรี ประมาณ 1 กม. แล้วล่องต่อไปเกาะสองประมาณ 2 ชม. เพื่อส่งกำลังบำรุงให้กองทัพที่ทำการรบในพม่า
ทหารญี่ปุ่นใช้เส้นทางรถไฟนี้ได้ประมาณ 11 เดือน จนเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2487 เครื่องบินบินมาทิ้งระเบิดทำลายหัวรถจักร ทางรถไฟ เรือเสบียง และเรือบรรทุกอาวุธที่รับขนถ่ายจากขบวนรถไฟ ถูกระเบิดจมน้ำที่คลองละอุ่นที่ยังมีซากเห็นได้ในปัจจุบัน
อ.จุฬายังเล่าต่ออีกว่า ระหว่างสงคราม เครื่องบินพันธมิตรมาทิ้งระเบิดหลายครั้ง และกราดยิงด้วยปืนกลบริเวณสถานีรถไฟ รางรถไฟสายชุมพร-ละอุ่น ค่ายทหารญี่ปุ่นที่เขาฝาชีจึงได้รับความเสียหายมาก ชาวบ้านที่บริเวณสถานีวังไผ่เสียชีวิตจำนวนมาก
ก่อนที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม (กองทัพญี่ปุ่นเสนอยอมแพ้สงครามเมื่อ 10 สิงหาคม 2488) ในวันที่ 15 มิถุนายน 2488 ทหารญี่ปุ่นได้ทำการรื้อถอนทางรถไฟสายนี้บางส่วน โดยแจ้งต่ออนุกรรมการฝ่ายไทยว่า เพื่อนำรางไปซ่อมแซมทางรถไฟบางตอนที่ถูกระเบิดเสียหายทางใต้ ครั้นเมื่อสงครามยุติ ทหารกองกำลังสหประชาชาติได้เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในไทย เมื่อ 19 สิงหาคม 2488 และรื้อถอนรางรถไฟสายนี้
อ.จุฬาเล่าเสริมตอนท้ายว่า เคยมีชาวญี่ปุ่นที่เคยเป็นทหารคุมการก่อสร้างทางรถไฟสมัยนั้นกลับมาเยี่ยมชมอุโมงค์และรำลึกถึงความหลังที่สุดแสนลำเค็ญในพื้นที่ชุมพรและระนอง ล่าสุดผู้เขียนได้ประสานงานกับสถานทูตญี่ปุ่นใกรุงเทพฯให้ทราบข้อมูลเกร็ดประวัติศาสตร์ชิ้นนี้ อันอาจจะเป็นความร่วมมือเชิงสัญลักษณ์ต่อไป
เล่ามาทั้งหมดนี้ เพื่อเป็นตำนานให้ชนรุ่นหลังทราบนะครับ ว่าญี่ปุ่นเคยมาสร้างทางรถไฟในประเทศไทยแล้วครับ
พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46281
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46281
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43374
Location: NECTEC
|
Posted: 15/11/2017 12:10 pm Post subject: |
|
|
มันน่าเอาข้อมูลไปให้ สนข. เขาพิจารณาด้วยน่อ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43374
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43374
Location: NECTEC
|
Posted: 11/06/2020 10:55 am Post subject: |
|
|
"ทางรถไฟสายมรณะแห่งที่ 2" ผมขอเรียกเส้นทางนี้ว่าเช่นนั้น เพราะว่าถ้าย้อนไปเมื่อ พ.ศ.2487 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟสายมรณะขึ้นที่เมืองกาญเพื่อจะไปสู่ประเทศพม่า (ตอนนั้นอังกฤษยึดพม่าอยู่ ญี่ปุ่นต้องการไปรบกับอังกฤษ) โดยใช้เชลยศึกจำนวนมากมายหลายสัญชาติ รวมทั้งเส้นทางจากชุมพร ไปคลองละอุ่น ก็สร้างโดยน้ำมือของเชลยศึกเช่นกันกับที่เมืองกาญ มีเชลยล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่หลายคนมักไม่รู้ว่าญี่ปุ่นได้สร้างเส้นทางรถไฟจากชุมพร ไปยังคลองละอุ่น รวมระยะทาง 90 กม. ซึงแบ่งเป็น 7 สถานี ได้แก่ สถานีวังไผ่, สถานีท่าสาร, สถานีปากจั่น, สถานีทับหลี, สถานีกระบุรี, สถานีคลองลำเลียง, สถานีเขาฝาชี เพื่อขนอาวุธยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ไปสถานีเขาฝาชี เพื่อถ่ายลงเรือที่คลองละอุ่น เพื่อใช้ส่งไปพม่าผ่านลำน้ำกระบุรี เมื่อสร้างเสร็จ แต่ใช้ได้เพียง 11 เดือน กองทัพพันธมิตรได้ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดทำลายหัวรถจักร และเรือบรรทุกอาวุธของญี่ปุ่น ที่คลองละอุ่น จนญี่ปุ่นประกาศแพ้สงครามในเวลาต่อมา เส้นทางรถไฟสายชุมพร-ละอุ่น ได้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับทางรถไฟสายกาญจนบุรีในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพาตั้งแต่ต้นจนสงครามยุติลง แต่ปรากฏว่ามีคนไทยน้อยมากที่รู้จักเส้นทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี-คลองละอุ่น หรือที่รู้จักชื่อว่าทางรถไฟสายคอคอดกระ วันนี้จากที่ได้ไปสำรวจยังพอพบร่องรอยของเส้นทางบ้าง แม้เวลาผ่านไปหลายสิบปี จะหลงเหลือเพียงแค่ตอหม้อสะพานก็ตาม แต่ก็ยังโชคดีที่ได้เจอมันครับ จริงๆยังพอมีอีกบ้างทั้งถ้ำที่ญี่ปุ่นเจาะผ่านเขา และคูน้ำเหมือนที่ช่องเขาขาด แต่ติดในที่ของชาวบ้านเลยไม่ได้เข้าไปครับ นี่เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในวันที่เกิดสงคราม
https://www.facebook.com/notenikoncp/posts/10222814393687336?__tn__=H-R |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43374
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46281
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 12/01/2024 7:17 am Post subject: |
|
|
อวดระนอง
12 ม.ค. 67 06:24 น.
อุโมงค์-หลุมหลบภัย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และทางรถไฟประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 .
ปากอุโมงค์นั้นเป็นทางเข้าหลุมหลบภัยอยู่ที่ใต้คันดิน หน้ารั้วโรงเรียนกระบุรีวิทยา ห่างจากถนนเพชรเกษม อ.กระบุรี จ.ระนอง เพียง 20 เมตร ภายอุโมงค์ถูกขุดเป็นรูปโดมลักษณะครึ่งวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 2.5 เมตร และสูง 2.5 เมตร สามารถบรรจุคนได้ 10-15 คน ส่วนผนังด้านในสุด เป็นช่องอุโมงค์ ขนาดกว้าง 0.5 เมตร สูง 1.50 เมตร ขับรถผ่านไปแวะชมกันได้ครับ อยู่ข้างทางเลย 🚘
แผนที่ https://goo.gl/maps/ReQCjBNT4MVSX57s8 🚘
https://www.facebook.com/eaksalasotphoto/posts/1329724854376566 |
|
Back to top |
|
|
|