View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
|
Posted: 04/08/2006 12:09 pm Post subject: ขึ้นค่าตั๋ว 30 วัน มีผล 1 กันยายน 2549 |
|
|
บีทีเอสเปลี่ยนโปรโมชั่นค่าโดยสาร
เดลินิวส์ 4 สิงหาคม 2549
ดร.อาณัติ อาภาภิรม ที่ปรึกษาคณะกรรมการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส จะมีการปรับเปลี่ยนการใช้โปรโมชั่นใหม่ สำหรับบัตรโดยสารบีทีเอสประเภท 30 วัน และ 1 วัน เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเลือกซื้อบัตรโดยสารบีทีเอสได้ตามความเหมาะสม และเกิดความพึงพอใจสูงสุด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป โดยบัตรโดยสารบีทีเอสประเภท 30 วันจะมีทั้ง
1) บัตรโดยสารสำหรับบุคคลทั่วไป และสำหรับนักเรียนนักศึกษา ซึ่งบัตรโดยสารประเภท 30 วัน 30 เที่ยว สำหรับบุคคลทั่วไปราคา 600 บาท คิดเป็น 20 บาทต่อเที่ยว และสำหรับนักเรียนนักศึกษาราคา 450 บาท คิดเป็น 15 บาทต่อเที่ยว แล
2) ะบัตรโดยสารประเภท 30 วัน 20 เที่ยว (แทนบัตร 30 วัน 15 เที่ยว) นั้น สำหรับบุคคลทั่วไปราคา 440 บาท คิดเป็น 22 บาทต่อเที่ยว และสำหรับนักเรียนนักศึกษาราคา 340 บาท คิดเป็น 17 บาทต่อเที่ยว
ส่วนบัตรโดยสารประเภท 1 วันในราคาเพียง 120 บาทนั้น ผู้โดยสารสามารถเดินทางได้ไม่จำกัดจำนวนเที่ยวเช่นเดิม
ดร.อาณัติ กล่าวว่า เงื่อนไขของบัตรนั้นยังคงเหมือนเดิม คือต้องใช้ภายใน 30 วัน และเดินทางได้ไม่จำกัดระยะทาง และในส่วนของบัตรโดยสารสำหรับนักเรียนนักศึกษา จะต้องเป็นนักเรียนนักศึกษาและต้องอายุไม่เกิน 23 ปีเท่านั้น หากมีคุณสมบัติไม่ครบทั้ง 2 ข้อ บริษัทฯ จะตรวจยึดคืนทันทีเพราะถือว่าเป็นการใช้ผิดเงื่อนไข อนึ่ง
อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้นยังคงคิดราคาเดิมตามปกติ มีอัตราเริ่มต้นที่ราคา 10 บาท จนถึง 40 บาท ดังนั้นผู้โดยสารที่มีความจำเป็นต้องเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นประจำ ทางบริษัทฯ จึงขอเชิญชวนผู้โดยสารทุกท่านเลือกใช้โปรโมชั่นใหม่นี้ เพราะเป็นโปรโมชั่นที่มีราคาถูกกว่า และประหยัดเงินได้มากกว่าการที่ต้องซื้อบัตรโดยสารในแต่ละเที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ฮอตไลน์ บีทีเอส โทรศัพท์ 0-2617-6000. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
|
Posted: 28/08/2006 12:59 pm Post subject: |
|
|
บีทีเอสเลี่ยงจัดรถชัตเตอร์บัสบริการช่วงส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าอีก
หลังประกาศยกเลิกทุกเส้นทาง 1 ก.ย.นี้ อ้างไม่คุ้ม ระบุแต่ละปีรับภาระหนัก 40 ล้านบาท
ผู้โดยสารเขียนกระทู้โวยแหลก ชี้เป็นการผลักภาระ
Matichon - August 28, 2006
รายงานข่าวจากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เปิดเผยถึงกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ประสานขอความช่วยเหลือให้บีทีเอสจัดรถชัตเตอร์บัสไว้บริการประชาชนในช่วงถนนสุขุมวิท บริเวณอ่อนนุช-ซอยแบริ่ง ในระหว่างที่ กทม.ก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า สายสุขุมวิท เพราะจะต้องมีการปิดช่องจราจรซึ่งจะส่งผลให้การจราจรติดขัด และเพื่อเป็นการลดปริมาณรถยนต์ในถนนสุขุมวิทนั้น ทางบีทีเอสไม่สามารถจัดรถชัตเตอร์บัสให้บริการได้ เนื่องจาก ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนนี้เป็นต้นไป บีทีเอสจะยกเลิกให้บริการเดินรถชัตเตอร์บัส ทั้ง 3 สาย คือ อ่อนนุช-เซ็นทรัลซิตี้ บางนา, หมอชิต-เกษตรฯ และสุรศักดิ์-วงเวียนใหญ่ เนื่องจากทางบริษัทต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเดินรถมากถึงปีละ 40 ล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า หากต้องจัดรถชัตเตอร์บัสบริการประชาชนในช่วงอ่อนนุช-ซอยแบริ่ง ต้องจัดรถบริการจำนวนมากและต้องบริการตลอดทั้งวัน เนื่องจากในระหว่างก่อสร้างจะทำให้การจราจรติดขัดมาก แม้ระยะที่มีการก่อสร้างจะยาวเพียง 6 กิโลเมตร แต่ต้องใช้เวลาในการเดินทางผ่านนานประมาณ 1 ชั่วโมง/รอบ ทำให้ประชาชนไม่ต้องการรถชัตเตอร์บัสก็ได้ โดยอาจจะมีผู้โดยสารเพียง 60 คน/วัน เท่านั้น รวมทั้งจะสามารถช่วยลดความคับคั่งของรถยนต์ส่วนบุคคลบนท้องถนนได้เพียง 2,000 คัน/วัน ซึ่งถือว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่บีทีเอสประกาศยกเลิกให้บริการเดินรถชัตเตอร์บัส มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้บริการรถชัตเตอร์บัสเป็นประจำได้เขียนกระทู้สอบถามเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังเว็บไซต์ของบีทีเอสจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ไม่พอใจกับการยกเลิกให้บริการดังกล่าวและขอให้บีทีเอสทบทวนใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่าเหตุผลที่บีทีเอสประกาศยกเลิกให้บริการเดินรถชัตเตอร์เพราะมีรถโดยสารประจำทางให้บริการจำนวนมากอยู่แล้วนั้นฟังไม่ขึ้น และเชื่อว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่า โดยบีทีเอสพยายามผลักภาระให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการรถชัตเตอร์บัสเป็นประจำจะต้องเสียค่าโดยสารเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญในบางเส้นทางไม่สะดวกที่จะใช้ระบบขนส่งมวลชน เช่น พนักงานในตึกเอสซีบีปาร์ค ซึ่งใช้บริการบีทีเอสจำนวนมาก หากยกเลิกรถชัตเตอร์บัสทำให้ต้องลำบากเดินไปขึ้นรถเมล์ที่ตึกช้าง ซึ่งระยะทางไกลประมาณ 1 กิโลเมตร หรือประชาชนที่จะเดินทางไปฝั่งธนบุรี ซึ่งมีรถเมล์ให้บริการน้อย เช่น สาย 149 173 เป็นต้น ต้องใช้เวลารอนานโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน เป็นต้น |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
|
Posted: 18/12/2006 8:14 am Post subject: |
|
|
Skytrain service declines to the point of discomfort for all
by Sibeymai from Bangkok
Letter to Editor
The Nation
December 18, 2006
How unfortunate for users of the BTS skytrain that the exceptional, even world-class standards of service which were a hallmark of its first years of operation have finally succumbed to the economic realities of operating a mass transport system. Whether due to the ineptitude of management, the greed of shareholders or the demands of the financiers - most likely a combination of all three - the BTS is fast becoming beset by problems found in similar systems elsewhere.
As if Bangkok's reputation for intimate body contact was not well enough established already, the BTS is now bringing this experience to commuters. In time, Bangkok will surely overtake Japan's reputation for fondling and groping as deviant commuters take opportunity. In a society where unwelcome body contact with strangers is avoided, the situation on the BTS is unacceptable, more so for women who suffer physical abuse in shameful and embarrassed silence.
The BTS is also now the perfect occupational environment for pickpockets due to the constant level of body contact in carriages and the crowding on platforms. Unwary commuters stand to lose wallets, telephones and more at the hands of experts with light fingers - thanks to the BTS management for the intrusive and distracting video advertising which only makes the pickpockets' job easier.
Another thank you to the BTS management for limiting the number of SmartPass cards issued. It takes so long for the card to be read, if at all, that widespread usage of the cards will inevitably result in long delays exiting stations. The technology is inferior to the existing flexible cards and should be scrapped before further adding to the commuter's woes. Not only that, the BTS is now intruding on commuter's privacy by being able to track the movements of individual SmartPass users.
Is the commuter's dignity, privacy, protection from abuse and the safety of personal property of absolutely no concern to the BTS management? What about the ease of use of the entire system and the commuter's overall experience? Does the BTS management apply similar poor standards to employees, to the maintenance of the system and the safety of overall operations? How far the BTS has fallen in such a short time. The current level of service is disgraceful and disrespectful. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
|
Posted: 19/12/2006 8:54 am Post subject: |
|
|
Re: "Skytrain service declines to the point of discomfort for all", Letters, December 18.
by Marshall N Bernaldez, Bangkok
The Nation - Dec 19, 2006
Indeed the Skytrain during rush hours is so packed with commuters that any body movement while standing is almost impossible. But it is still one of the fastest and cheapest modes of transportation in Bangkok. I and I presume most people who value time and punctuality would rather stand in an overcrowded train than be late for work because of a ride that stops every 10 metres due to the seemingly unsolvable traffic jams.
Blaming the Skytrain management for the overcrowding is ill advised. The management has almost no capacity to prevent people from riding the trains or to stop commuters from hopping onto packed carriages. Proper planning of the city traffic system is still the best solution to this problem. The less the traffic jams the more the people using road transport and therefore fewer commuters on trains. The bottom line is to ease traffic congestion.
There are many straightforward measures besides expensive road construction that the city administration should at least try, if not implement permanently, to combat the city's worsening traffic jams.
One is the so-called odd-even system where private cars are only allowed on the roads (except in emergency cases) on specific days of the week, depending on the licence plate's last digit. Theoretically, this method would reduce the number of private cars on the road by half and help reduce fuel consumption.
Another measure is to strictly enforce car-parking regulations. Parking cars along streets, avenues and highways should be prohibited. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
|
Posted: 20/08/2007 4:41 pm Post subject: |
|
|
คราวนี้รถไฟฟ้าบีทีเอสของเราไปดังที่เชมรอ่านะ แต่สร้างที่ฮานอยกะไว่ง่อนก่อนจะดีกว่า
// ------------------------------------------------------------------------------
เขมรถกเดือด BTS ทำรถไฟฟ้าพนมเปญ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 20 สิงหาคม 2550 12:42 น.
[img]http://pics.manager.co.th/Images/550000010792901.JPEG [/img]
ภาพจากวิกิพีเดีย-- รถไฟฟ้ากรุงเทพฯ ในยามเย็น แรกๆ เมื่อ 8 ปีที่แล้วก็รู้สึกแปลกๆ ในวันนี้ BTS สกายเทรนได้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนนับล้าน
ผู้จัดการรายวัน-- นักวิชาการและนักธุรกิจในกัมพูชากำลังถกเถียงกันอย่างหนักเกี่ยวกับความเหมาะสม ที่จะมีรถไฟฟ้าในกรุงพนมเปญถึง 2 สาย หลังจากสื่อได้รายงานเรื่อง บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS (Bangkok Mass Transit System) มีแผนจะเข้าลงทุนก่อสร้างที่นั่น
บริษัทรถไฟฟ้าบีทีเอสของไทย มีแผนจะสร้างรถไฟฟ้าแบบเดียวกันกับในกรุงเทพฯ ในเมืองหลวงของกัมพูชาทั้งนี้เป็นรายงานจากสำนักข่าวเอเคพี (Agence Kampuchean Presse) ซึ่งเป็นสำนักข่าวของทางการ
บีทีเอสเตรียมใช้เงินลงทุนสำหรับโครงการดังกล่าวประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เอเคพีฉบับภาษาฝรั่งเศส อ้างรายงานชิ้นหนึ่งของนิตยสารภาษาเขมร "สตาร์" เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
เส้นทางรถไฟฟ้าสายแรกจะเริ่มต้นจากสะพานมิตรภาพญี่ปุ่น-กัมพูชาไปสิ้นสุดที่สะพานมุนีวงศ์ รวมระยะทาง 7 กม. ขณะที่อีกหนึ่งสายจะมีระยะทาง 8 กม. เริ่มต้นจากตลาดกลางไปจนถึงเขต อ.สตึงมีชัย (Steung Meanchey) ศูนย์กลางอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออก
ทัศนียภาพบริเวณสถานีศาลาแดง โค้งหัวมุมถนนพระราม 4 ตัดกับถนนราชดำริ-สีลม กลมกลืนกันอย่างลงตัวกับอาคารสูง.. หรือว่าเป็นภาพบาดตากันแน่? ชาาวกัมพูชาเป็นกังวลในเรื่องนี้มาก
รัฐบาลกัมพูชาและบริษัทบีทีเอสของไทยได้ศึกษาเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว และจะร่วมมือกันในการก่อสร้างเส้นทาง นิตยสารฉบับเดียวกันอ้างคำกล่าวของนายไม วุฑธี (Mai Vuthy) ซึ่งอ้างว่าเป็นตัวแทนของบีทีเอสในกัมพูชา
ผู้จัดการรายวัน ไม่สามารถติดต่อขอความเห็นใดๆ จากผู้บริหารของบริษัทรถไฟฟ้าของไทยได้ในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ตามกำหนดการของโครงการ บีทีเอสจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างตั้งแต่ปี 2551-2554เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว รถไฟฟ้าจะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้า ถึง 4 ทุ่ม คิดค่าโดยสารเที่ยวละประมาณ 1 ดอลลาร์ สื่อของกัมพูชาอ้างคำกล่าวของนายวุฑธี
"เมื่อเรามีรถไฟฟ้าใช้ จะทำให้ลดการจราจรอันติดขัดลงได้...ทั้งยังช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นด้วย" เอเคพีอ้างคำกล่าวของนายโสพรรณ จะเรียง (Chreang Sophan) รองผู้ว่าราชการกรุงพนมเปญ
ผู้จัดการรายวัน สามารถติดต่อขอความเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรุงพนมเปญได้ในวันสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายในกัมพูชาเชื่อว่า รถไฟฟ้าแบบสกายเทรน ไม่เหมาะสำหรับเมืองหลวง และ ไม่อาจจะเป็นที่สนใจของบรรดานักท่องเที่ยวได้ เนื่องจากชาวต่างชาติที่ไปกัมพูชาอยากจะชมความสวยงามของของพระราชวังเก่าและบ้านเรือนตั้งแต่สมัยอาณานิคม มากกว่าจะไปชมระบบคมนาคมที่ ทันสมัยซึ่งหาชมได้ในแหล่งอื่นๆ ในเอเชีย
[img]http://pics.manager.co.th/Images/550000010792903.JPEG [/img]
ชาวกัมพูชาเกรงว่ารถไฟลอยฟ้าของ BTS จะบดบังสิ่งปลูกสร้างสวยๆ งามๆ เหล่านี้
นักวิชาการผู้หนึ่งกล่าวว่า รถไฟฟ้ายกระดับกำลังจะทำลายทัศนียภาพของกรุงพนมเปญอย่างสิ้นเชิง รัฐบาลควรให้ความใส่ใจพัฒนาการศึกษาและระบบสาธารณสุขพื้นฐานของประชาชนมากกว่า
นักวิชาการอีกคนหนึ่งกล่าวว่า ควรจะนำงบประมาณก้อนนี้ไปลงทุนพัฒนาการรถไฟของประเทศให้ดีกว่าทุกวันนี้หรือนำไปใช้ในโครงการพัฒนาเพื่อลดความยากจนของประชาชน แทนที่จะเปิดทางบริษัทต่างชาติ เข้าไปเพิ่มความยากจนให้แก่ชาวกัมพูชา
นักธุรกิจอีกคนหนึ่งกล่าวว่า รถไฟฟ้า 2 สายดังกล่าวไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากต้องลงทุนถึง 500 ล้านดอลลาร์ ด้วยระยะทางรวมกันเพียง 15 กิโลเมตรซึ่งเท่ากับมีต้นทุนราว 33 ล้านดอลลาร์ต่อ กม. จะต้องใช้เวลากี่ปีจึงจะคุ้มทุน
นักวิชาการอีกผู้หนึ่งให้ความเห็นว่า ระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา (Light Rail System) ส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งานเพียง 35 ปีเท่านั้นจากนั้นจะมีค่าบำรุงรักษาที่สูงมาก
กรุงพนมเปญมีประชากรเพียง 2 ล้านคนเศษ ส่วนใหญ่ยังยากจนแบบติดดิน ใครคิดจะสร้างรถไฟฟ้าที่นี่ก็เสียสติแล้ว.. ผู้ที่อ้างตัวเองเป็นนักธุรกิจอีกคนหนึ่งให้ความเห็นบนเว็บไซต์ภาษาเขมรแห่งหนึ่ง ของชาวเขมรโพ้นทะเลในแคลิฟอร์เนีย
บางคนยังให้ความเห็นอีกว่า แม้จะมีความเป็นไปได้โครงการใหญ่ขนาดนี้ก็จะต้องมีการประกวดราคากันอย่างโปร่งใส เปิดโอกาสให้ประเทศที่มีเทคโนโลยีขนส่งมวลชนระบบรางเข้าแข่งขันด้วย ขณะที่ไม่มีบริษัทจากประเทศไทยแห่งใดเป็นเจ้าของเทคโนโลยีนี้เลย
รัฐบาลต้องเปิดโอกาสให้บริษัทจากเยอรมนีหรือญี่ปุ่นเข้าประกวดราคาด้วย เนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในระบบขนส่งมวลชน บริษัทจากไทยไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีอะไร นักธุรกิจคนเดียวกันกล่าว
ชาวกัมพูชาบางคนที่ร่วมแสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์กล่าวว่า หากจะดึงดูดนักท่องเที่ยวจริงๆ รัฐบาลควรจะต้องปรับปรุงระบบจราจรในประเทศให้ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวและทำให้กรุงพนมเปญเป็นเมืองที่สะอาดเสียก่อน แทนที่จะเป็นสลัมแห่ง
เอเชียเช่นทุกวันนี้
รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา หรือ ชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดย บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด มหาชน (Bangkok Mass Transit System Plc)
[img]http://pics.manager.co.th/Images/550000010792904.JPEG [/img]
ภาพถ่ายวันที่ 26 ก.ค.2550-- นักท่องเที่ยวจากประเทศไทยคณะหนึ่งไปที่เที่ยวชมพระราชวัง นักวิชาการชาวเขมรกล่าวว่า ชาวต่างชาติไปเที่ยวกรุงพนมเปญ ไม่ได้หวังจะไปดูหรือไปเพื่อลองนั่งรถไฟฟ้าเป็นแน่แท้
รถไฟฟ้าบีทีเอสเริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกวันที่ 5 ธันวาคมในปี พ.ศ. 2542 โดยอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 40 บาท เป็นระบบซึ่งดำเนินการแยกต่างหากจาก รถไฟฟ้ามหานคร หรือ รถไฟฟ้าใต้ดิน
ในปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีลม ช่วงถนนตากสินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังแยกตากสินรวมระยะทาง .2 กิโลเมตรโดย กทม. ใช้เงินลงทุนเอง 100% เป็นเงินทั้งสิ้น 2,393 ล้านบาท
ในเมืองหลวงของกัมพูชาปัจจุบัน ยังไม่มีระบบรถเมล์โดยสารประจำทาง และ กำลังจะมีรถแท็กซี่มีเตอร์ให้บริการเป็นครั้งแรกใน
เดือน ก.ย.นี้ ปัจจุบันรถจักรยานยนต์ รถสมล้อเครื่องรับจ้าง และมอเตอร์รับจ้าง เป็นพาหนะหลัก
อย่างไรก็ตามในกัมพูชากำลังมีการก่อสร้าง-ยกระดับทางหลวงหลายสาย รวมทั้งสายศรีโสภณ-เสียมราฐ สายช่องสะงำ-เสียมราฐ ที่ตั้งของปราสาทหินนครวัด และ สายเกาะกง-สีหนุวิลล์ โดยความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย
ขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนกำลังช่วยกัมพูชาก่อสร้างทางหลวงเลข 7 ระยะทางกว่า 300 กม.ช่วง จ.กระแจ๊ (Kratie) ไปยัง จ.สตึงแตร็ง (Strung Treng) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปบรรจบกับทางหลวงเลข 13 ใต้ในลาว. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
|
Posted: 21/08/2007 11:12 am Post subject: |
|
|
เส้นทางรถไฟฟ้า ที่บีทีเอส คิดจะทำในกรุงพนมเปญ
อ้างอิง: http://sopheak.wordpress.com/2007/08/16/phnom-penh-is-going-to-have-sky-train/
รถไฟฟ้า BTS พนมเปญ..หรือแค่ราคาคุย?
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 21 สิงหาคม 2550 11:19 น.
บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ หรือ บีทีเอส เตรียมสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า 2 สาย ในกรุงพนมเปญของกัมพูชา เพื่อหวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรได้ (ภาพ: www.flickr.com)
ผู้จัดการรายวัน-- เจ้าหน้าที่ทางการกรุงพนมเปญได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้กับความคุ้มของโครงการรถไฟฟ้า 2 สายโดยบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หลังจากตัวแทนของบริษัทดังกล่าวได้เผยแพร่เรื่องนี้ออกไป ขณะที่อีกหลายคนได้แสดงความยินดีต่อข่าวนี้
หลายฝ่ายเชื่อว่ายากที่จะเป็นไปได้ด้วยสาเหตุนานาประการ ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยจะกล่าวว่า หากจะแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด กัมพูชาก็จะต้องพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขึ้นมาใช้
นายมาย วุฑธี (May Vuthy) ผู้แทนของบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (Bangkok Mass Transit System) หรือ BTS เปิดเรื่องนี้ในการให้สัมภาษณ์นิตยสาร"สตาร์" ซึ่งเป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ภาษาเขมร โดยระบุว่ารถไฟลอยฟ้ากรุงพนมเปญจะประกอบด้วย 2 สาย
นายสุชาติวงศ์ ปา (Pa Socheatvong) ซึ่งเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงพนมเปญอีกคนหนึ่งกล่าวกับหนังสือพิมพ์แคมโบเดียเดลีว่า เจ้าหน้าที่บริษัทบีทีเอสจากประเทศไทยได้พบหารือกับทางการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ก็รู้สึกว่าโครงการรถไฟฟ้า "เกิดก่อนเวลา" มากไปสักหน่อย
"มันยังเป็นเรื่องที่เพียงแต่คิดๆ กันอยู่" รองผู้ว่าราชการคนเดียวกันกล่าว
ส่วนนายสุพรรณ จะเรียง (Chreang Sophan) รองผู้ว่าราชการอีกคนหนึ่งกล่าวกับนิตยสาร "สตาร์" ก่อนหน้านี้ว่า รถไฟฟ้า BTS จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดได้อย่างดี ทั้งยังจะช่วยดึงดูดการท่องเที่ยวอีกด้วย
หนังสือพิมพ์แคมโบเดียได้การให้สัมภาษณ์ของเลขานุการเอกสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญว่า ถ้าต้องการจะแก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองหลวง ก็จะต้องมีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนนี้
"พนมเป็นต้องการระบบขนส่งมวลชน เพื่อรับมือกับตัวเมืองที่กำลังขยายออกไป" เลขานุการเอกสถานทูตไทย นายจตุรน ไชยาคำ กล่าว
การจราจรในกรุงพนมเปญก็ติดขัดไม่แพ้ในกรุงเทพมหานคร (ภาพ: www.jackwebster.com)
นายมายเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า รถไฟฟ้าสายแรกจะมีระยะทาง 7 กิโลเมตร เชื่อสะพานมิตรภาพญี่ปุ่น-กัมพูชากับถนนมุนีวงศ์ กับอีกสายความยาว 8 กม.จากตลาดใหม่ (Psar Thmei) ไปยังเขต อ.สตึงมีชัย (Stung Meanchey) ซึ่งเป็นเขตที่มีโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกหนาแน่น
เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้ายกระดับบีทีเอสกรุงพนมเปญ อาจจะเริ่มในปี 2551 นี้ ด้วยเงินทุน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เวลาก่อสร้าง 4 ปี และ จะให้บริการตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้าจนถึง 4 ทุ่ม ด้วยค่าโดยสารเที่ยวละไม่ถึง 1 ดอลลาร์
ยังไม่ทราบรายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้ากรุงพนมเปญของ BTS ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟลอยฟ้าเจ้าแรกในกรุงเทพฯ รวมระยะทาง 13 กม. ในปัจจุบันกำลังก่อสร้างช่วงต่อขยายข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จากสถานีตากสินไป ไปยังแยกถนนตากสิน ทางฝั่งธนบุรี
"ผู้จัดการรายวัน" ไม่สามารถติดต่อขอความเห็นจากผู้บริหารของรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครได้ในวันจันทร์ (20 ส.ค.) ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ
เคยมีความพยายามพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขึ้นในกรุงพนมเปญมาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2544
ในปีนั้นองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า (Japan International Cooperation Agency) โดย จัดตั้งระบบรถเมล์โดยสารประจำทางในเมืองหลวง ใช้รถโดยสารขนาด 60 ที่นั่งจำนวน 20 คัน เก็บค่าโดยสารเที่ยวละประมาณ 0.12 ดอลลาร์
แต่รถเมล์โดยสารของไจก้าก็วิ่งได้เพียง 2 เดือน ก็เป็นอันพับฐาน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังยากจนมาก ไม่มีผู้ใช้บริการมากพอ
ตามแผนพัฒนาที่เปิดเผยโดยนายจุ๊กเตมา แก๊ป (Kep Chuktema) ผู้ว่าราชการกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชากำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก โดยคาดว่าภายในปี 2543 นี้ เขตเมืองจะมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวเป็นประมาณ 700 ตารางกิโลเมตร
ปัจจุบันเมืองหลวงของกัมพูชามีประชากร 2 ล้านคนเศษ จากจำนวนประชากรราว 14 ล้านคนทั่วประเทศ แต่อัตราเพิ่มของประชากรถึง 3.2% ต่อปี ชาวพนมเปญต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นปีละ ประมาณ 10,000 ห้อง จำนวนประชากรที่เพิ่มสูงยังทำให้ต้องแก้ไขปัญหาการจราจรเพื่อรองรับ
ผู้ว่าราชการกรุงพนมเปญเปิดเผยเรื่องราวดังกล่าว ระหว่างการพบหารือกับนายเหวียนห่งกวาน (Nguyen Hong Quan) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงก่อสร้างเวียดนาม ที่ไปเยือนในวันพฤหัสบดี (16 ส.ค.) ทั้งนี้เป็นรายงานของสื่อในกัมพูชา
นักวิชาการกัพูชาบางคนเห็นว่ารัฐบาลควรนำงบประมาณไปใช้พัฒนาการรถไฟของประเทศมากกว่า - ให้วิ่งจาก พนมเปญไปพระตะบอง และ ศรีโสภณได้ทุกวัน (ภาพ: www.seat61.com)
อย่างไรก็ตามหลังจากข่าวรถไฟฟ้าพนมเปญถูกนำขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์ภาษาเขมรในช่วงสุดสัปดาห์ ก็ได้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ชาวเขมรทั้งในประเทศและที่อยู่โพ้นทะเลได้เข้าแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก
หลายฝ่ายในกัมพูชาเชื่อว่า รถไฟฟ้าสกายเทรน ไม่เหมาะสำหรับเมืองหลวง และ ชาวต่างชาติที่ไปกัมพูชาอยากจะชมความสวยงามของของพระราชวังเก่าและบ้านเรือนตั้งแต่ยุคอาณานิคม มากกว่าจะไปชมระบบคมนาคมที่ทันสมัย ซึ่งหาชมได้ในแหล่งอื่นๆ
นักวิชาการผู้หนึ่งกล่าวว่า รถไฟฟ้ายกระดับกำลังจะทำลายทัศนียภาพของกรุงพนมเปญอย่างสิ้นเชิง รัฐบาลควรให้ความใส่ใจพัฒนาการศึกษาและระบบสาธารณสุขพื้นฐานของประชาชนมากกว่า
นักวิชาการอีกคนหนึ่งกล่าวว่า ควรจะนำงบประมาณก้อนนี้ไปลงทุนพัฒนาการรถไฟของประเทศให้ดีกว่าทุกวันนี้ หรือนำไปใช้ในโครงการพัฒนาเพื่อลดความยากจนของประชาชน
นักธุรกิจอีกคนหนึ่งกล่าวว่า รถไฟฟ้า 2 สายดังกล่าว ไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากต้องลงทุนถึง 500 ล้านดอลลาร์ ด้วยระยะทางรวมกันเพียง 15 กิโลเมตรซึ่งเท่ากับมีต้นทุนราว 33 ล้านดอลลาร์ต่อ กม. จะต้องใช้เวลากี่ปีจึงจะคุ้มทุน
บางคนยังให้ความเห็นอีกว่า แม้จะมีความเป็นไปได้โครงการใหญ่ขนาดนี้ก็จะต้องมีการประกวดราคากันอย่างโปร่งใส เปิดโอกาสให้ประเทศที่มีเทคโนโลยีขนส่งมวลชนระบบราง เช่น เยอรมนีกับญี่ปุ่นเข้าแข่งขันด้วย ขณะที่ไม่มีบริษัทจากประเทศไทยแห่งใดเป็นเจ้าของเทคโนโลยีนี้. |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 21/08/2007 12:47 pm Post subject: |
|
|
บังเอิญไม่ใช่คนเขมร เพราะโครงการที่ว่า ไม่คุ้มค่าเท่าใดเมื่อเปรียบเทียบกับโครงข่ายเส้นทางรถเมล์ ขสมพ. ( องค์การขนส่งมวลชนกรุงพนมเปญ ) ที่ประหยัดเงินค่าโดยสารกว่ารถไฟฟ้า
แต่ในฐานะคนของประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียง คิดว่า เอาเงินไปปรับปรุงเส้นทางรถไฟในกัมพูชาน่าจะดีกว่า |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
|
Posted: 26/09/2007 2:13 pm Post subject: เหตุติดขัด |
|
|
ปชส.รถไฟฟ้า ขัดข้อง ( สถานี นานา-สยาม )
จาก ศูนย์ร่วมด้วยช่วยกัน 1677.
สถานที่เกิดเหตุ -
เวลาเกิดเหตุการณ์ 26 กันยายน 2550 08:26:02 น.
..
รายละเอียดเหตุการณ์
เวลา 08.20 น. วันที่ 26 ก.ย. 50 คุณอำนวย ( ผู้โดยสาร ) แจ้ง ปชส. รถไฟฟ้า บีทีเอส ขัดข้อง ระหว่าง สถานี นานา มุ่งหน้า สยาม คาดว่าจะใช้เวลาแก้ไขประมาณ 30 นาที**
คุณอาณัติ อาภาภิรมย์ ที่ปรึกษา คณะกรรมการ บ.ระบบขนส่งมวลกรุงเทพ จำกัด มหาชน (บีทีเอส) เพิ่มเติมว่า เหตุเกิดตั้งแต่ 08.15 น. สาเหตุมาจากระบบเบรคล็อคอัตโนมัติ ระหว่างสถานี นาน - เพลินจิต .. น่าจะมาจากระบบความปลอดภัยในรถขัดข้อง จึงส่งสัญญาณไปที่เบรค ทำให้เบรคล็อค ต้องปลอดเบรคออก และให้รถไฟฟ้า บีทีเอส ที่วิ่งมาจากสถานีอ่อนนุช ที่วิ่งตามหลังมา ดันรถคันที่ขัดข้องมาที่สถานีเพลินจิต เพื่อให้ผู้โดยสารลง แล้วจะเอารถที่ขัดข้องเข้าอู่สถานีหมอชิตเพื่อซ่อมแซม .. คาดว่าเวลา ประมาณ 09.00 น. จะแล้วเสร็จ ใช้ได้ตามปกติเหมือนเดิม .. ต้องขออภัยผู้โดยสารด้วย อาจจะทำให้ตกใจ เพราะรถเสียกลางทาง
** เวลา 09.30 น. ประสาน คุณอาณัติ อาภาภิรมย์ ที่ปรึกษา คณะกรรมการ บ.ระบบขนส่งมวลกรุงเทพ จำกัด มหาชน (บีทีเอส) แจ้งคืบหน้า รถใช้การได้แเล้ว |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
|
Posted: 07/01/2009 6:36 pm Post subject: |
|
|
จับหนุ่มวิศวะแอบถ่ายใต้กระโปรงบนสถานีรถไฟฟ้าครึ่งวัน 27ครั้ง 10 วัน107คลิป พนง.ควบคุมตัวส่ง ตร.
วันที่ 07 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 16:22:21 น. มติชนออนไลน์
ตำรวจควบคุมตัวคนร้ายแอบถ่ายใต้กระโปรงได้ภายในสถานีรถไฟฟ้า พร้อมของกลางโทรศัพท์มือถือยี่ห้อโนเกีย รุ่น เอ็น 70 สีดำตรวจสอบในเมมโมรี่การ์ด พบกทำกว่า 107 ครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 7 มกราคม ร.ต.ต.กฤษต์ แสนชัยมณเฑียร พงส. (สบ 1) สน.บางซื่อ ได้รับแจ้งจาก เจ้าหน้าที่สถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส จตุจักร แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.ว่า สามารถควบคุมตัวคนร้ายแอบถ่ายใต้กระโปรงได้ภายในสถานีรถไฟฟ้า จึงนำกำลังเจ้าหน้าที่สายตรวจ สน.บางซื่อเดินทางไปตรวจสอบ พบ น.ส.เอ (นามสมมุติ) อายุ 24 ปี พร้อมเจ้าหน้าที่สถานีรถไฟฟ้ากำลังควบคุมตัวคนร้ายไว้ ทราบชื่อคือ นายพิพัฒน์ ภักดีวงศ์เทพ อายุ 31 ปี อยู่บ้านเลขที่ 301/30 ซอยรามคำแหง 68 แวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม. พร้อมของกลางโทรศัพท์มือถือยี่ห้อโนเกีย รุ่น เอ็น 70 สีดำ จำนวน 1 เครื่อง จึงควบคุมตัวมาสอบสวนที่ สน.บางซื่อ
เมื่อตำรวจเปิดโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหา พบว่าตั้งแต่ช่วงเช้าจนกระทั่งถึงขณะจับกุม ผู้ต้องหาได้แอบถ่ายใต้กระโปรงไว้ทั้งหมด 27 ครั้ง นอกจากนี้ จากการตรวจสอบในเมมโมรี่การ์ด พบว่าตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคมที่ผ่านมา ผู้ต้องหาได้กระทำการาในลักษณะนี้มาแล้วทั้งสิ้น 107 ครั้ง
จากการสอบสวนทราบว่า น.ส.เอ ทราบว่า ก่อนเกิดเหตุ กำลังเดินทางไปทำงานย่านสาธร ขณะที่กำลังเดินไปซื้อตั๋วที่เคาท์เตอร์ ก็มีพนักงานมาแจ้งว่า มีคนแอบถ่ายใต้กระโปรงตนขณะที่ตนกำลังเดินขึ้นบันไดเลื่อน จากนั้นจึงแจ้งเจ้าหน้าที่ให้จับกุมตัวดังกล่าว อยากฝากเรื่องนี้ไว้เป็นอุทาหรณ์และเปิดเผยสู่สังคม รวมทั้งอยากเตือนให้ผู้หญิงทุกคนระมัดระวังตัวด้วย
จากการสอบสวนผู้ต้องหา ได้รับสารภาพว่า เรียนจบมาจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อ 5 ปี ที่แล้ว จากคณะวิศวกรรมศาสตร์สาขาโยธา มีอาชีพเป็นวิศวกรโยธา ที่ จ.นราธิวาส
ด้าน ร.ต.ต.กฤษต์ กล่าวว่า เบื้องต้นได้ให้ผู้ต้องหาตกลงกับผู้เสียหาย โดยทางผู้เสียหายเรียกค่าค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 10,000 บาท ซึ่งทางผู้ต้องหาก็ยินยอมชดใช้ และได้แจ้งข้อหากระทำผิดให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนอับอายและเสียหาย มีโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท ก่อนดำเนินคดีต่อไป |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
|
Posted: 24/11/2009 7:37 pm Post subject: |
|
|
คุณชาย'ฉุนปรับแผนรถไฟฟ้าตัดสายพรานนกออก - ฉะ สนข.บทบาทดีแต่สังกัดผิดที่ไม่เป็นกลาง
เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 24 พฤศจิกายน 2552 เวลา 8:04 น
จากกรณี สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยคง 12 เส้นทาง แต่ปรับยืดแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม จากเดิมมีนบุรี-บางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรม ไปถึงตลิ่งชัน โดยจากสถานีศูนย์วัฒนธรรม ไปดินแดง ราชปรารภ ถนนเพชรบุรี เข้าถนนหลานหลวงตามแนวสายสีเขียวเดิม ไปถนนราชดำเนิน มุดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไปแถวศิริราช สิ้นสุดเส้นทางที่ตลิ่งชัน เพื่อทดแทนสายสีเขียวอ่อนของ กทม. จากสนามกีฬา-พรานนก ที่ สนข.ตัดออก ไป โดยเตรียมนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และ ครม.อนุมัตินั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า กทม.มีแผน ก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าจากสนามกีฬา-พรานนก อยู่แล้ว ไม่เข้าใจว่าทำไม สนข.ต้องมาปรับเส้นทางและเริ่มศึกษาใหม่ให้เสียเวลา และอยากถามว่าที่ผ่านมาในเมื่อ กทม.มีแผนชัดเจนอยู่แล้วเคยมีหนังสือมาหารือหรือสอบถามความคิดเห็นบ้างหรือไม่ สนข.จะทำอะไรก็ทำไปเถอะครับ แต่หากว่าจะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใดก็ตามหากต้องใช้พื้นที่ของ กทม.ก็ต้องขออนุญาตอย่างเป็นทางการ
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ กทม.เตรียมเสนอโครงการขอความเห็นชอบไปที่คณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์เพื่อเร่งดำเนินการและเปิดใช้ปี 2555 เพราะได้จัดทำประชาพิจารณ์และศึกษาเสร็จเรียบร้อย รวมทั้งจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมนำเสนอ สผ. พิจารณาแล้ว แต่ให้มาขออนุมัติจากคณะกรรมการเกาะฯ ก่อน การที่ สนข.มาปรับเส้นทางสร้างความไม่พอใจให้ กทม. อย่างมาก เพราะเมื่อเข้า ครม.คงจะเสนอให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่สังกัดคมนาคมก่อสร้างแทน กทม.อีก ทำให้เสียเวลาและเสียงบประมาณ ศึกษาใหม่ ก่อนหน้านี้ สนข.นำเสนอรัฐบาลให้ดึงสายสีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่ และจากแบริ่ง-สำโรงของ กทม.ไปให้ รฟม.ก่อสร้างแทนไปแล้ว
ทั้งนี้หลัง สนข. โอนมาสังกัดคมนาคมจากเดิมที่ขึ้นตรงต่อสำนักนายกฯ กทม. กังขาบทบาท สนข. แทนที่จะเป็นหน่วยงานกลางดูการแก้ปัญหาภาพรวมเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด กลับมีบทบาทเพื่อสนองนักการเมือง
ล่าสุดพอ กทม.จะก่อสร้างโมโนเรลสายแรก หรือบีอาร์ทีก็ถูกคัดค้านว่า สนข.ศึกษาไว้นานแล้ว การเป็นหน่วยแผนศึกษา โครงการต่าง ๆ ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ควรพิจารณาว่าหน่วยงานใดเหมาะสมก่อสร้างที่สุด.
_________________ |
|
Back to top |
|
|
|