Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179930
ทั้งหมด:13491162
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 109, 110, 111 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2020 6:35 pm    Post subject: Reply with quote

การเมืองเรื่องรถไฟฟ้า ศักดิ์สยามไล่ล่าบีทีเอส
ตะวันออกที่ท่าพระอาทิตย์
โดย: นพ นรนารถ
เผยแพร่: วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 18:07 น.

สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวของบริษัท บีทีเอส เจออุปสรรคอีกครั้งหนึ่ง เมื่อศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขวางกลางที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ผ่านมา (17 พ.ย.) โดยตั้งประเด็นสำคัญสองประเด็นว่า

การต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเดิม (สายสุขุมวิท สายสีสม) ซึ่งจะหมดอายุในปี 2572 ออกไปอีก 30 ปีให้กับบริษัท บีทีเอส เป็นไปตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 หรือไม่ และเรื่องค่าโดยสารตลอดสาย 65 บาทแพงเกินไป

รถไฟฟ้าสายสีเขียว เจ้าของ คือ กทม.ประกอบด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียวเดิมหรือบีทีเอส ที่เป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย ให้บริการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เป็นการลงทุนโดยบีทีเอสทั้งหมด ได้สัมปทาน 30 ปีสิ้นสุดปี 2572

รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายระยะที่ 1 สายสะพานตากสิน-บางหว้า และสายอ่อนนุช-แบริ่ง กทม.เป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง และว่าจ้างบีทีเอสเดินรถ

รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายระยะที่ 2 สายเหนือหมอชิต-คูคต และสายใต้แบริ่ง-สมุทรปราการ เดิมเป็นของ รฟม.ลงทุนก่อสร้างไปแล้วในสมัย คสช. กทม.ขอโอนกลับมา เพื่อให้เป็นการเดินรถต่อเนื่องกันทั้งสาย

ตามข้อตกลง กทม.ต้องจ่ายค่าก่อสร้างคืนให้ รฟม.รวมดอกเบี้ยเป็นเงินราว 1 แสน ล้านบาท แต่ กทม.อ้างว่า ไม่มีเงิน ขอให้กระทรวงการคลังช่วยจ่าย แต่กระทรวงการคลังปฏิเสธ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในยุค คสช.ได้ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2562 ให้แนวทาง กทม.เจรจากับบีทีเอสเป็นผู้ลงทุนระบบรางส่วนต่อขยายระยะที่ 2 สายเหนือและใต้ แทนการเปิดประมูลทั่วไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน โดยให้รวบ สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้ง 3 ระยะเป็นสัมปทานเดียวกัน มีอายุ 30 ปี แต่ให้เริ่มนับอายุสัมปทานหลังจากสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอสสายแรกสิ้นสุดในปี 2572 จึงมีผลเป็นการต่ออายุสัมปทานบีทีเอสสายแรกออกไปจนถึงปี 2602 จากเดิมเมื่อหมดอายุสัมปทานในปี 2572 บีทีเอสสายแรกจะตกเป็นของ กทม.

ข้อแลกเปลี่ยนคือ บีทีเอสต้องรับภาระหนี้ที่ กทม.มีต่อ รฟม.ประมาณ 1 แสนล้านบาท และต้องแบ่งรายได้ให้ กทม.นอกจากนั้น ยังต้องลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดตลอดสายระยะทาง 68.5 กิโลเมตร ไม่เกิน 65 บาทจากราคาที่ กทม.เคยศึกษาไว้ 158 บาท ซึ่งเป็นราคาที่คิดในเงื่อนไขที่มีการเปิดประมูล หาเอกชนมารับสัมปทานส่วนต่อขยาย

การต่ออายุสัมปทานบีทีเอสออกไป 30 ปี และให้รับภาระหนี้แสนล้านแทน กทม. บวกกับการลดค่าโดยสารตลอดสายเหลือ 65 บาท เป็นสูตรเดียวกับการแก้ปัญหา รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่เป็น win-win-win คือ กทม.ไม่ต้องมีภาระหนี้ 1 แสนล้าน ประชาชนได้ใช้รถไฟฟ้าที่มีระยะทางรวมกัน 68 กิโลเมตรในราคาสูงสุดตลอดสาย 65 บาท และบีทีเอสได้ขยายสัมปทานที่จะหมดอายุในปี 2572 ออกไปอีก 30 ปี

คณะรัฐมนตรียุค คสช.มีมติเห็นชอบร่างสัญญาร่วมทุนรถไฟฟ้าสายสีเขียวบนหลักการนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2562 ไปแล้ว แต่หลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ที่พรรคภูมิใจไทยได้บริหารกระทรวงคมนาคม ก็ถูกเตะถ่วงดึงเรื่องมาโดยตลอด แม้จะมีการเสนอเข้า ครม.มาแล้ว 2-3 ครั้ง และทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นอำนาจของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกำกับดูแล กทม. แต่นายศักดิ์สยาม ก็ใช้เงื่อนไขที่การขออนุมัติสัญญาต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอความเห็น ขัดขวางไม่ให้ ครม.อนุมัติร่างสัญญาในขั้นสุดท้ายมาโดยตลอด

ไม่ต่างอะไรกับการขัดขวางการต่ออายุสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 ให้บริษัท BEM แลกกับการไม่ฟ้องเรียก “ค่าโง่” ที่ คสช.เห็นชอบไปแล้ว แต่ถูกศักดิ์สยามรื้อใหม่

ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายระยะที่ 2 ทั้งสองเส้นทาง ทดลองให้บริการแล้ว ช่วงสุดท้ายของส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต จากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ไปสถานีคูคต กำหนดเปิดให้บริการวันที่ 16 ธันวาคมนี้ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นประธานในพิธีเปิด

นายคีรี กาญจนพาสน์ เจ้าของบีทีเอส กล่าวว่า จะให้การบริการตามปกติ แม้ว่า ครม.ยังไม่อนุมัติการต่ออายุสัมปทาน และ กทม.ยังค้างค่าเดินรถ 8,000 ล้านบาท จะไม่ใช้ประชาชนเป็นตัวประกัน

เขาคงรู้ดีว่า สุดท้ายแล้ว ต้องคุยกับใคร มีอะไรเป็นข้อแลกเปลี่ยนที่จะทำให้รัฐมนตรีคมนาคมเลิกขวางเสียที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2020 7:09 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดพิรุธ! ข้อเสนอต่อสัญญารถไฟฟ้าสีเขียว - เผือกร้อนรัฐบาล
เผยแพร่: วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ประเด็นการขยายสัญญาสัมปทาน “รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย” ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ออกไปอีก 30 ปี จากเดิมที่จะครบอายุสัมปทานในปี 2572 (อีก 9 ปี) แล้วเมื่อขยายอายุสัมปทานแล้ว จะครบอายุสัมปทานในปี 2602 โดย BTS จะต้องแลกกับเงื่อนไขรับหนี้กว่า 1 แสนล้านบาท และอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย
เปิดข้อพิรุธต่อสัญญาสัมปทนรถไฟฟ้าสีเขียว
การเสนอที่จะต่อสัญญาให้กับ BTS กลับมีการตั้งข้อพิรุธไว้มากมาย
1. เป็นการหนีสัญญาเก่า หนีพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ โดยใช้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) จ้าง BTS เดินรถ ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แล้ว เหตุใด กทม. ยังจะต่อขยายสัมปทานอีก โดยอ้างว่าทำตามมาตรา 44 ถือว่าทุกอย่างเป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ โดยอนุโลม
สัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวในเมือง หลายคนเรียกว่า“ไข่แดง” เป็นสัมปทานรูปแบบ PPP Net Cost ภาครัฐลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และสนับสนุนวงเงินลงทุนบางส่วน และภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธา ค่างานระบบและขบวนรถไฟฟ้า และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง ครบสัญญาในปี 2573
ขณะที่สัญญาส่วนต่อขยายด้านเหนือ (ไปคูคต) และด้านใต้ (ไปสมุทรปราการ) เป็นรูปแบบ PPP Gross Cost โดยจ้างเอกชนบริหารเดินรถ และรัฐเป็นผู้จัดเก็บรายได้ ครบสัญญาในปี 2585 มีข้อสงสัยว่าหนีพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ตอนนี้อยู่ระหว่างการสอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และ ป.ป.ช. สอบสวนอยู่
เรื่องนี้มีผู้รู้ระบุว่าจริงๆแล้ว กทม. ควรจ้างวิ่งรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ทั้งด้านเหนือ (ไปคูคต) ด้านใต้ (ไปสมุทรปราการ) ในรูปแบบ PPP Gross Cost ให้ครบสัญญาในปี 2573 จบพร้อมกับสายสีเขียวในเมือง (ไข่แดง) จากนั้น กทม.ค่อยเปิดประมูลใหม่ ในรูปแบบ PPP Gross Cost ทั้งสาย ไม่มีความเสี่ยงแล้ว ไม่ต้องลงทุนมาก จะได้มีการแข่งขันราคาได้เต็มที่ แต่หากจะดำเนินการอย่างที่เป็นอยู่ไม่มีการแข่งขัน
หากกทม.เปิดประมูลใหม่ รายได้ทั้งหมดเป็นของรัฐ จ่ายค่าจ้างเอกชนเดินรถ เงินที่เหลือ(กำไร) สามารถจ่ายคืนหนี้งานโยธาได้ แต่ถ้าต้องการเงินมาจ่ายหนี้งานโยธาก่อน กทม. สามารถของบจากรัฐบาล หรือตั้งกองทุน Securitize คล้ายกับรูปแบบกองทุน TFF ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่นำเงินจากกองทุน Sucuritize มาก่อสร้างทางพิเศษ (ทางด่วน) สายใหม่
2. ทำไมไม่ใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เปิดประมูลใหม่ เมื่อถึงปี 2573 แต่กลับใช้มาตรา 44 เจรจาหนีพ.ร.บ. ร่วมทุนฯ หรือไม่
3. กทม. รู้ทั้งรู้ไม่มีเงินจ่ายค่าจ้างวิ่ง แล้วไปเซ็นสัญญาจ้าง BTS ได้อย่างไร
เร่งรีบใช้มาตรา 44 หนีพรบ.ร่วมทุนฯหรือไม่?
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากการเสนอขยายสัมปทานตามมาตรา 44 จะพบว่า ยังมีข้อสงสัยและเคลือบแคลงใน 4 ประเด็น
1. ใช้วิธีการแก้ไขสัญญาเดิมโดยต่อขยายสัญญาทั้งหมดออกไปอีก 30 ปีนับจากปี 2572 สิ้นสุดปี 2502
2. สัญญาที่แก้ไขเป็นสัญญาสัมปทานที่รายได้ทั้งหมดเป็นของ BTSC แลกกับการรับหนี้ค่าก่อสร้างงานโยธาแทนกทม. และการปรับลดค่าโดยสารเหลือ 65 บาทตลอดสาย
3. ถือว่าเป็นการดำเนินการตามพ.ร.บ. ร่วมลงทุน 2562 โดยอนุโลม สัญญาจ้างเดินรถที่มีอยู่เดิมเป็นสัญญาที่มีปัญหา หนีพ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ และโดนโจมตีมาตลอด หากดำเนินการขยายสัมปทานตามมาตรา 44 จะเกิดปัญหาเป็นการดำเนินงานที่หนีพ.ร.บ. ร่วมทุน 2562
4. เอื้อประโยชน์ โดยไม่เปิดประมูลทั้งที่สัญญาหลักเหลืออีก 9 ปี (สิ้นสุดปี 2572) และมีสัญญาจ้างเดินรถทั้งหมดต่อไว้แล้วจนถึงปี 2535
ความร้อนแรงของการเสนอต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติหรือเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ทราบว่าในการประชุมครม.วันอังคารนี้ อาจจะมีการเสนอเรื่องนี้เข้าที่ประชุมอีก เรื่องนี้อาจต้องทำให้นายกรัฐมนตรี ต้องพิจารณาให้รอบคอบ อย่างเพิ่งรีบร้อนในประเด็นที่ยังเป็นข้อโต้งแย้งในสังคม
กมธ.คมนาคม เอาด้วย! ต่อสัญญาสายสีเขียว
ยิ่งเห็น นายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ก็ออกมาระบุว่า วันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ คณะกรรมาธิการคมนาคม มีวาระเพื่อพิจารณาเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวก่อนหมดสัมปทาน ไปอีก 30 ปี โดยไม่มีการประมูลตาม พ.ร.บ.เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ (PPP) โดยมีการเชิญคณะกรรมการตาม มาตรา 44 ในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2562 เรื่องการดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในข้อ 3 ที่ให้กระทรวงมหาดไทย ตั้งบุคคลโดยตำแหน่งเป็นกรรมการ
มีบุคคลโดยตำแหน่งที่ถูกเชิญมาให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการคมนาคม ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงคมนาคม เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อัยการสูงสุด และปลัดกรุงเทพมหานคร เข้าให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่ประชุมจะสอบถามในข้อสงสัยของสังคมที่เกิดขึ้น ทั้งการต่อสัญญาสัมปทานโดยไม่รอให้ครบอายุสัมปทาน ไม่มีการเปิดประมูล และราคาค่าโดยสาร 65 บาท ตลอดสายมีรายละเอียดการคำนวณอย่างไร ก่อนที่จะยื่นให้หน่วยงานเกี่ยวข้องพิจารณา แต่หากไม่ดำเนินการ” สภาผู้แทน มีมาตรการต่อไปคือ การยื่นกระทู้ ไปจนถึงการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ” นายโสภณ ย้ำ
ทำไม? ต้องเลือกใช้ม.44
ขณะที่ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส. มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีกระทรวงมหาดไทยเสนอ ครม.อนุมัติขยายสัมปาทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ออกไปอีก 30 ปี นั้น การถอนเรื่องออกจากวาระจรในการประชุมครม.เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ไม่ใช่ครั้งแรก เรื่องนี้มีการดำเนินการมาก่อนและเสียรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไปแล้ว 2 คน คือนายอุตตม สาวนายน และ นายปรีดี ดาวฉาย เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับแนวทางการต่อสัญญาให้ BTS โดยอาศัยคำสั่ง คสช.ที่3 /2562 อ้างอำนาจมาตรา 44 และ เห็นควรว่ารัฐบาลควรปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 จึงเป็นคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ปฏิบัติตามกฎหมายปกติ แต่เลือกที่จะใช้อำนาจมาตรา 44 ต่อไป และที่สำคัญทราบมาว่ารัฐบาลจะรีบนำเรื่องเข้าครม.อีกครั้งในสัปดาห์หน้า โดยเป็นรายละเอียดเช่นเดิมใช่หรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2020 11:42 am    Post subject: Reply with quote

"บีทีเอส"แจงยิบปมต่อสัมปทาน30ปีมูลค่า3แสนล้าน
จันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08.00 น.

“บีทีเอส” แจงยิบทุกปมค่าต่อสัญญาสัมปทาน30ปีเบ็ดเสร็จเกิน 3 แสนล้าน ค่าโดยสารสายสีเขียวไม่เกิน65 บาทไม่แพง!  ต้นทุนต่างเอ็มอาร์ทีสีน้ำเงินเยอะ  เผยเหตุต้องเร่งต่อสัมปทานธ.ค.นี้เปิดสีเขียวครบเส้นเชื่อม 3 จังหวัดกรุงเทพฯ-ปทุมธานี-สมุทรปราการ  ต้องเก็บอัตราปกติสูงสุดถึง 158 บาท  หากไม่ต่อสัญญากทม. ต้องหาเงินใช้หนี้เอง  พร้อมเต็มที่ชี้แจงกมธ.คมนาคมหากเชิญมา






นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยถึงปมปัญหาการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวกับกรุงเทพมหานคร (กทพ.) ไปอีก 30 ปี จากที่จะหมดอายุปี 2572 เป็นหมดอายุ ปี 2602  ที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดไม่เกิน65 บาท เป็นราคาที่สูงเกินไปว่า  หากเทียบค่าโดยสารและระยะทางของรถไฟฟ้าBTS สายสีเขียว กับรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินจะพบว่าค่าเฉลี่ยค่าโดยสารใกล้เคียงกัน โดยสายสีเขียวมีระยะทาง 68 กิโลเมตร(กม.)59 สถานี เก็บค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย ขณะที่สายสีน้ำเงิน ระยะทาง 48 กม.38 สถานี เก็บค่าโดยสารสูงสุด 42 บาท แต่ตัวที่สำคัญที่สุดคือต้นทุนเพราะภาระต้นทุนระหว่างสีเขียวและสีน้ำเงินต่างกันมากโดยสายสีเขียวบีทีเอสต้องรับชำระหนี้ค่างานโยธาแทนกทม. กว่า 6 หมื่นล้าน

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า  ขณะที่สายสีน้ำเงินไม่ต้องมีต้นทุน รัฐออกค่างานโยธาให้ทั้งหมดนอกจากนี้บีทีเอสต้องแบ่งรายได้ให้ กทม. ทุกปี รวมแล้วเกิน 2 แสนล้านบาทและเมื่อรวมกับหนี้ต่างๆ รวมถึงวงเงินที่ต้องลงทุนเพิ่มเติมทำให้ค่าต่ออายุสัมปทานสายสีเขียวเกิน 3 แสนล้านบาท ขณะที่สายสีน้ำเงินไม่ต้องแบ่งรายได้ ยกเว้นว่าผลตอบแทนลงทุนเกินกว่า 9.75% จึงจะจ่ายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ส่วนสายสีเขียว หากผลตอบแทนเกินกว่า 9.60% ต้องแบ่งรายได้ให้กทม. เพิ่มอีก

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีหากไม่มีการต่อสัมปทานให้บีทีเอสและเปิดประมูลใหม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า คงต้องรอให้สัมปทานหมดลงก่อนในปี 72แต่จากการที่ กทม. เคยประเมินความสนใจของเอกชน (Market Sounding) ก็พบว่าไม่มีเอกชนสนใจอย่างไรก็ตามสาเหตุที่ต้องเร่งให้ได้ข้อสรุปเรื่องการต่ออายุสัมปทานนั้นเพราะเดือน ธ.ค.นี้ จะเปิดเดินรถเพิ่มอีก 7 สถานีจนถึงสถานีคูคตโดยจะเป็นการให้บริการสายสีเขียวครบตลอดทั้งเส้นเชื่อมการเดินทาง3จังหวัด กรุงเทพฯสมุทรปราการและปทุมธานี   หากไม่ต่อสัมปทานทาง กทม. จะมีภาระที่ต้องหาเงินมาจ่ายหนี้และต้องเก็บค่าโดยสารตามระยะทางโดยราคาสูงสุดอยู่ที่ 158 บาทซึ่งการจะเปิดเดินรถฟรีไปตลอดก็คงไม่ได้ เพราะจะยิ่งเป็นภาระแก่ กทม.ดังนั้นจึงต้องทำให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วเพราะหากต่ออายุสัมปทานก็จะเก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย

นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า   ส่วนประเด็นข้อเสนอของกระทรวงคมนาคม 4 ข้อนั้น ดูแล้วไม่น่ามีปัญหาทางกระทรวงมหาดไทย(มท.) คงตอบได้ทั้งหมดซึ่งประเด็นการจ้างเดินรถส่วนต่อขยายที่ยังอยู่ในขั้นตอนไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) นั้น ทางอัยการชี้แจงแล้วว่าเป็นเรื่องของตัวบุคคลไม่เกี่ยวและไม่มีผลกระทบกับการจ้างเดินรถ ขณะที่ประเด็นการใช้อำนาจ ม.44ยกเว้นการใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนรัฐและเอกชนนั้น ต้องถือว่า ม.44 ก็เป็นกฎหมายหากมีคำสั่งออกมาแล้ว ผลก็ยังใช้ได้อยู่ ยกเว้นว่าจะออกกฎหมายมาลบล้างผลจึงจะใช้ไม่ได้

สำหรับกรณีนายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) คมนาคม สภาผู้แทนราษฎร จะเชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดไปชี้แจงในวันที่ 26 พ.ย.นี้เวลา 09.00 น. นั้น หากเชิญบีทีเอสมาก็พร้อมไปชี้แจงอยู่แล้ว ไม่ได้ขัดข้องอะไร
https://www.dailynews.co.th/economic/808389
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2774349349453232
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2020 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
การเมืองเรื่องรถไฟฟ้า ศักดิ์สยามไล่ล่าบีทีเอส
ตะวันออกที่ท่าพระอาทิตย์
โดย: นพ นรนารถ
เผยแพร่: วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 18:07 น.


“ศักดิ์สยาม” พลิกขวางต่อสัญญา “รถไฟฟ้าสีเขียว” เพื่อชาติ-เกมการเมือง? จับตา “ประยุทธ์” ฝ่าปมขัดแย้ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 10:34 น.



รายงานข่าวเผยว่า จากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเสนอให้มีการพิจารณาลงมติให้ความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว ซึ่งเกิดประเด็นข้อขัดแย้งหลังจากการที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้นำผลการศึกษาของกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ลงวันที่ 10 พ.ย. 2563 และเพิ่งมีการนำเสนอก่อนการประชุม ครม.ขึ้นมาคัดค้าน จนทำให้กระทรวงมหาดไทยต้องถอนเรื่องกลับไปทบทวน หาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนนำมาเสนออีกครั้ง

ทั้งนี้ ในการประชุม ครม. 13 สิงหาคม 2563 ก่อนหน้านี้ที่ได้มีการเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่ง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ไม่มีท่าทีคัดค้านในร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวดังกล่าว ทำให้มีคำถามเกิดขึ้นกรณีที่ นายศักดิ์สยาม รมว.คมนาคม และ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย มีความเห็นคัดค้านดังกล่าวเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมจริงหรือไม่

ที่ผ่านมาสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวมีการประชุมหาข้อสรุปจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วหลายรอบ โดยกระทรวงการคลังได้มีเอกสารสรุป ลงวันที่ 16 พ.ย. 2563 ว่า กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการมาตามลำดับขั้นตอน และกระทรวงคมนาคม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานนำเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาได้เห็นชอบโครงการนี้มาตั้งแต่แรกเริ่ม

ข้อติดขัดในช่วงนั้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จาก นายปรีดี ดาวฉาย มาเป็น นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ทำให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต้องขอความเห็นจากกระทรวงการคลังอีกครั้ง ซึ่งเป็นไปตามมติ ครม.วันที่ 13 ส.ค. 2563

กระทรวงการคลังยังคงยืนยันให้ความเห็นชอบตามเดิม จากที่ทุกหน่วยงานเคยลงมติรับทราบผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ ในโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวมาก่อนหน้า รวมถึงกระทรวงคมนาคมที่เคยเสนอผลการพิจารณารายงานผลการศึกษาฯ ตามหนังสือกระทรวงคมนาคม ด่วนที่สุด ที่ คค (ปคร) 0202/192 ลงวันที่ 4 มิ.ย. 2563 ให้ที่ประชุม ครม.รับทราบไปแล้ว และที่ประชุม ครม. วันที่ 13 ส.ค. 2563 เคยรับทราบผลการพิจารณาตามรายงานสรุปของกระทรวงมหาดไทยไปแล้ว

ดังนั้น โครงการขยายสัญญาสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กับ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ได้ผ่านความเห็นชอบของทุกหน่วยงานแล้ว จึงพร้อมเข้าเสนอขอมติที่ประชุม ครม.อนุมัติในวันที่ 17 พ.ย. 2563

กรณี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย นำผลการศึกษาของกรมการขนส่งทางรางออกมาคัดค้านจึงกลายเป็นประเด็นที่ทำให้ ครม.ร้อนฉ่า และการพลิกกลับแบบ 360 องศา นั้นอาจะทำให้มองแบบการเมืองว่ามีประเด็นเบื้องหลังหรือมีผลประโยชน์สอดแทรกหรือไม่ หรือมีประเด็นปมขัดแย้งอื่นๆ ที่ทำให้กระทรวงคมนาคม และพรรคภูมิใจไทยเปลี่ยนจุดยืนในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวม เพราะขณะนี้ "บีทีเอส" กำลังมีปัญหากับกระทรวงคมนาคม แก้ไขเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ประมูลสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสีส้ม จนต้องฟ้องร้องต่อศาลปกครองขอความเป็นธรรม

ในขณะที่การต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวที่มีความล่าช้าทำให้เกิดผลกระทบ โดยล่าสุด พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว ระบุว่า กทม.มีปัญหาในการจัดการกับหนี้ค้างจ่ายค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าให้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือบีทีเอสซี ตั้งแต่ปี 2561 เป็นเงินกว่า 8,000 ล้านบาท และหากไม่มีเงินจ่าย มีโอกาสที่บีทีเอส ในฐานะบริษัทเอกชน อาจจำเป็นต้องหยุดวิ่งให้บริการเพราะไม่อาจแบกรับภาระขาดทุนแทนภาครัฐได้ และตามแผนการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวมส่วนต่อขยาย ระยะทาง 68.25 กิโลเมตร จะเปิดให้บริการครบทั้ง 59 สถานีอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี 2563 นี้อีกด้วย

ในประเด็นหยุดวิ่งนั้น นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธาน บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ได้ยืนยันแล้วว่าบีทีเอสจะให้บริการเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายต่อไป ไม่ทิ้งผู้โดยสาร และยังมั่นใจในการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เนื่องจากทุกอย่างเดินมาด้วยความถูกต้อง ชอบธรรมตามขั้นตอนทางกฎหมาย และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกันอย่างดีในการที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ และยืนยันว่าในฐานะเอกชนไม่คิดที่จะเอาเปรียบรัฐ หรือประชาชน และได้พยายามแบกรับภาระการให้บริการด้วยดีมาเกือบ 2 ปี

อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม ลุกขึ้นมาคัดค้านเรื่องที่เดิมเคยให้ความเห็นไปก่อนแล้ว เป็นการกระทำที่ย้อนแย้ง และมีเหตุผลอื่นอยู่เบื้องลึกหรือไม่ และกำลังถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการนำกลไกทางการเมืองเข้าขัดขวางแผนการลงทุนของบริษัทเอกชน "บีทีเอส" ที่กำลังมีข้อพิพาทกับกระทรวงคมนาคมหรือไม่

จึงต้องจับตาว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะตัดสินใจในประเด็นนี้อย่างไร เนื่องจากนายกฯ เองได้รับรู้มาตั้งแต่ต้นว่าเรื่องสัญญาสายสีเขียวมีผลสรุปร่วมของทุกหน่วยงานที่ให้ความเห็นชอบ ร่างสัญญาร่วมลงทุนขยายสัมปทานรถไฟฟ้าให้กับบีทีเอสแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2020 11:02 am    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กป๊อก" แจงสัมปทานสายสีเขียว เป็นเรื่องแก้ปัญหาของคสช. ยันมหาดไทยไม่ใช่ต้นเรื่อง
มติชน
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 เวลา 14:53:07 น.

"บิ๊กป๊อก" แจงสัมปทานสายสีเขียว เป็นเรื่องการแก้ปัญหาของคสช. ยัน มหาดไทยไม่ใช่ต้นเรื่อง ให้ทุกอย่างจบในครม.

“ศักดิ์สยาม” ชี้ปมต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ยันไม่ใช่เกมการเมือง
มติชน
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18:18:07 น.
“ศักดิ์สยาม” ชี้ปมต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ยันไม่ใช่เกมการเมือง พร้อมส่งปลัดฯ แจง กมธ.คมนาคม 26 พ.ย.นี้

“ศักดิ์สยาม” แจงถามปม 4 ข้อต่อสัญญา “สีเขียว” เพื่อความถูกต้อง-ไม่ใช่เกมการเมือง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18:57 น.



“ศักดิ์สยาม” ยันไม่มีประเด็นการเมือง ไม่ขวางใคร ปมความเห็น 4 ข้อต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นไปตามหน้าที่ มุ่งให้ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติ ครม.อย่างถูกต้องและครบถ้วน เพราะไม่อยากปวดหัวทีหลัง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงคมนาคมได้มีความเห็นถึงกรณีการต่อสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอความเห็นกรณีการต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวไปตั้งแต่แรกแล้วว่าให้ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และหลักธรรมาภิบาล โดยได้มีการทำรายละเอียดเพิ่มเติมจากความเห็นเดิมที่เคยให้ไว้ ซึ่งต้องถามว่าตอนนี้ได้ทำถูกต้องครบถ้วนแล้วหรือยัง และขณะนี้ยังไม่เห็นรายละเอียดตามที่ได้ตั้ง 4 คำถามไป

เช่น กรณีอัตราค่าโดยสาร 65 บาท เรื่องคำสั่งมาตรา 44 เป็นต้น ซึ่งกรมการขนส่งทางราง (ขร.) มีฐานะเป็นหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) ส่วนกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็น Operator ดังนั้น กรมรางต้องทำหน้าที่ ซึ่งมีข้อมูลจากค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ซึ่งการคิดค่าโดยสารมีสูตรในการคิดคำนวณ

ทั้งนี้ เมื่อข้อมูลรายละเอียดยังไม่ครบถ้วน ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวมีหน้าที่อธิบายข้อมูลระเบียบข้อกฎหมายทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลส่งมาที่กระทรวงคมนาคม ส่วนกระทรวงคมนาคมนั้นให้ความเห็นไปตามหน้าที่ เนื่องจาก ครม.ได้สอบถามความเห็นมา

ส่วนกรณีที่มองกันว่าเรื่องนี้เป็นเกมการเมือง อีกทั้งบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ยังมีกรณีฟ้องร้องกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หน่วยงานของกระทรวงคมนาคมในเรื่องการปรับเงื่อนไขประมูลโครงการรถไฟฟ้าสีส้มนั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ไม่ได้ขวางลำใคร และไม่เห็นจะประเด็นตรงไหน เพราะบีทีเอสได้เข้าร่วมยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มได้ และล่าสุดบีทีเอสได้เสนอเรื่องการต่อใบอนุญาตบริษัททางการบิน ซึ่งคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ได้อนุมัติให้ไปตามขั้นตอน

ความเห็นของกระทรวงคมนาคมทำไปตามหลักการ และความเห็นที่ส่งไปที่เลขาฯ ครม.เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ก่อนประชุม ครม.วันที่ 17 พ.ย.วันเดียวนั้น เรื่องนี้ไม่ทราบว่าจะมีการเสนอวาระจร เรื่องสัญญาสายสีเขียวต่อ ครม.ในวันที่ 17 พ.ย. ยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมทำตามขั้นตอน ดังนั้น คงต้องรอข้อมูลที่ทาง กทม.และมหาดไทยชี้แจงรายละเอียด เชื่อว่าจะตอบโจทย์ได้

“ยืนยันว่าการทำงานร่วมกันไม่มีปัญหา ตอนนี้ไม่อยากพูดอะไรมาก เพราะจะเป็นการพูดกันคนละทีโดยยังไม่มีข้อมูลในมือ ทำให้บอกไม่ได้ว่าอะไรใช่หรือไม่ใช่ เรื่องนี้หากทำให้ชัดเจนจะได้ไม่ต้องมาปวดหัวทีหลัง” นายศักดิ์สยามกล่าว

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้มีการเสนอแผนฟื้นฟู องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ชี้แจงข้อมูลรายละเอียดไปหมดแล้วก็ยังมีบอกว่าไม่เข้าใจ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีให้กระทรวงคมนาคมหารือกับกระทรวงการคลัง วันนี้ รื่องยังไม่จบ ทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) มีประเด็นว่ายังไม่เคยมีรัฐวิสาหกิจใดที่รัฐเข้าไปรับหนี้มาก่อน ดังนั้นหากไม่พูด เรื่องให้คลังรับภาระหนี้ ขสมก.จะขออุดหนุน PSO ไปเรื่อยๆ เหมือนที่ผ่านมาได้หรือไม่ ส่วนหนี้สะสมที่มี หากในอนาคตมีรายได้พอค่อยทยอยจ่าย คลังจะยอมรับได้หรือไม่ เพราะต้องยอมรับว่า ขสมก.มีปัญหาขาดทุนเดือนละกว่า 300 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2020 11:13 am    Post subject: Reply with quote

ประยุทธ์ สาธยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ปัญหาขาดทุน-หนี้สะสม
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 - 16:30 น.


นายกรัฐมนตรี เผยรถไฟฟ้าสายสีเขียว ปัญหาหลักคือขาดทุน มีหนี้สะสม โยนระยะ 1-2 ไม่ใช่ของรัฐบาลนี้

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า ที่ประชุม ครม. วันนี้ ยังไม่มีการหารือในเรื่องนี้ พร้อมระบุว่า ตนยึดหลักในเรื่องของประเทศชาติ และประชาชนโดยรวมเป็นสำคัญ



“ต้องไปพิจารณาดู ก็ฝากดูด้วย ใครที่วิพากษ์วิจารณ์ ให้กลับไปย้อนดูว่ามีการดำเนินการทั้งหมดกี่ช่วง ช่วงที่ 1-3 แล้วใครจะทำ จะจ้างใคร งบประมาณจากไหน งบประมาณของ กทม. มีหรือไม่ ที่ผ่านมาขาดทุนเพราะอะไร จึงจำเป็นต้องทำในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 ในระยะที่ 1-2 ก็ไม่ใช่สมัยรัฐบาลของผม แต่ก็ต้องมีการพิจารณาตลอดสาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรรม และประชาชนได้ประโยชน์จากการที่ค่าโดยสารที่ถูกลง”

นายกฯ ยังระบุอีกว่า หากเปรียบกับสายอื่นๆ ก็มีความต่างกัน ต้องดูหลักเกณฑ์หลักการในการพิจารณาว่าควรดำเนินการอย่างไรในการแก้ไขปัญหา โดยที่เป็นเรื่องของกระทรวงมหาดไทยที่ทำข้อพิจารณาขึ้นมา ซึ่งยังต้องหารือร่วมกับหลายกระทรวง หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงคมนาคม, กรุงเทพมหานคร, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.

“สิ่งสำคัญของรถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นหนี้ที่ค้างอยู่ ในระยะที่ 1 หากเดินไปตลอดสาย จะเป็นการสะสมหนี้ไปเรื่อยๆ” นายกฯ ถามย้อนกลับมาว่า “วันหน้าจะแก้ไขอย่างไร ต้องแก้ไขปัญหาอย่างไร ให้ช่วยคิด และหากมีวิธีการดีกว่าให้เสนอมาเลย รัฐบาลจะนำมาพิจารณา”

พล.อ.ประยุทธ์ ยอมรับว่า ปัญหาต่าง ๆ ยังไม่แก้สามารถแก้ไขได้ หลายปัญหาได้พยายามถูกแก้ไขมาโดยตลอด พร้อมขอความเห็นใจให้รัฐบาลด้วย


“ประยุทธ์” ชี้ต่อสัมปทานสายสีเขียวเทียบกับรถไฟฟ้าสายอื่นไม่ได้
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 - 17:28 น.

ขยายสัมปทานสายสีเขียว 30 ปี ยังไม่เข้า ครม. “บิ๊กตู่” ชี้ค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท เทียบกับรถไฟฟ้าสายอื่นไม่ได้

เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่ได้พิจารณาการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ที่ผลเจรจาจะขยายไป 30 ปี ยืนยันว่าการพิจารณาจะยึดหลักประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ

ส่วนใครที่วิพากษ์วิจารณ์ อยากให้กลับไปดูว่ารถไฟฟ้าสายนี้มีกี่ช่วง ปัญหาอื่น ๆ อีก เช่น การหาตัวผู้รับสัมปทาน งบประมาณของ กทม. มีเพียงพอหรือไม่ แล้วที่ผ่านมารถไฟฟ้าสายนี้ขาดทุนเพราะอะไร ทำไมต้องก่อสร้างส่วนต่อขยายอื่นเพิ่มเติม วันนี้จึงต้องนำเอาส่วนต่อขยายต่าง ๆ มารวมเป็นเส้นทางเดียวกัน เพื่อให้ค่าโดยสารถูกลง ในราคา 65 บาท ซึ่งจะเปรียบเทียบกับสายอื่นไม่ได้ มันคนละแบบ

“มันต้องดูหลักเกณฑ์หลักการในการพิจารณานะ ไม่ใช่แก้ไขวิธีนี้แล้วเอาวิธีอื่นอีก ต้องดูที่มาที่ไปของโครงการด้วย” พลเอกประยุทธ์กล่าว

ในช่วงท้าย พลเอกประยุทธ์กล่าวย้ำว่า เรื่องนี้ยังไม่ได้เสนอเข้ามา กระทรวงมหาดไทยกำลังทำความเห็นเพิ่มเข้ามา และทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ กทม. ปัญหาของสายสีเขียวคือหนี้ที่มีจะทำอย่างไร ถ้าเดินรถไปเรื่อย ๆ หนี้จะยิ่งพอกขึ้นเรื่อย ๆ ก็ลองไปคิดดูแล้วกัน

BTS เคลียร์ปม สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15:41 น.

บีทีเอส ระบุ ต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว คุ้มค่ากว่าการเปิดประมูลไม่ ยืนยันค่าโดยสารสูงสุด65 บาทตลอดสาย ไม่แพง

ยังต้องรอความชัดเจน จากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ประเด็นที่กระทรวงมหาดไทย เสนอร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่กรุงเทพมหานคร จะขยายสัมปทานให้ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ในฐานะผู้บริการรายเดิม ต่ออีก 30 ปี จากเดิมสัมปทานจะสิ้นสุดปี 2572 เป็นสิ้นสุดปี 2602 และให้คิดอัตราค่าโดยสารไว้ ที่ 65 บาทตลอดสาย แต่กระทรวงคมนาคม คัดค้าน โดยตั้งหลายข้อสังเกตุ ให้กระทรวงมหาดไทย กลับไปพิจารณาใหม่

ทางด้าน นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บีทีเอส ชี้แจงว่า ประเด็นที่กระทรวงคมนาคม ตั้งข้อสังเกตว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว สูงสุดไม่เกิน65 บาท เป็นราคาที่สูงเกินไปนั้น หากเทียบค่าโดยสารและระยะทางของรถไฟฟ้าBTS สายสีเขียว กับรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินจะพบว่า ค่าเฉลี่ยค่าโดยสารใกล้เคียงกัน โดยสายสีเขียวมีระยะทาง 68 กิโลเมตร มี 59 สถานี เก็บค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย ขณะที่สายสีน้ำเงิน ระยะทาง 48 กิโลเมตร 38 สถานี เก็บค่าโดยสารสูงสุด 42 บาท แต่ภาระต้นทุนระหว่างสายสีเขียวและสีน้ำเงิน ต่างกันมาก โดยสายสีเขียว ทางบีทีเอสต้องรับชำระหนี้ค่างานโยธาแทน กทม. กว่า 6 หมื่นล้านบาท ขณะที่สายสีน้ำเงิน ไม่ต้องมีต้นทุนส่วนนี้ เพราะรัฐบาล ออกค่างานโยธาให้ทั้งหมด

นอกจากนี้ บีทีเอส ต้องแบ่งรายได้ให้ กทม. ทุกปี รวมแล้วเกิน 2 แสนล้านบาท และเมื่อรวมกับหนี้ต่างๆ รวมถึงวงเงิน ที่ต้องลงทุนเพิ่มเติม ทำให้ค่าต่ออายุสัมปทานสายสีเขียว เกิน 3 แสนล้านบาท ขณะที่สายสีน้ำเงิน ไม่ต้องแบ่งรายได้ ยกเว้นว่า ผลตอบแทนลงทุนเกินกว่า 9.75% จึงจะจ่ายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ส่วนสายสีเขียว หากผลตอบแทนเกินกว่า 9.60% ต้องแบ่งรายได้ให้กทม. เพิ่มอีก

นายสุรพงษ์ มั่นใจว่า กระทรวงมหาดไทย จะชี้แจงข้อสังเกตุของกระทรวงคมนาคม ได้ทุกประเด็น และหาก มีข้อสรุปออกมาว่า จะไม่มีการต่อสัมปทานให้บีทีเอสและต้องเปิดประมูลใหม่ ทางบีทีเอส คงต้องรอให้สัมปทานหมดลงก่อนในปี 2572 ส่วนสาเหตุที่ต้องเร่งให้ได้ข้อสรุปเรื่องการต่ออายุสัมปทาน เพราะเดือนธันวาคมนี้ จะเปิดเดินรถเพิ่มอีก 7 สถานี จนถึงสถานีคูคต ซึ่งจะเป็นการให้บริการสายสีเขียวครบตลอดทั้งเส้นทาง เชื่อมการเดินทาง3จังหวัด กรุงเทพฯ,สมุทรปราการและปทุมธานี

หากไม่ต่อสัมปทานทาง กทม. จะมีภาระที่ต้องหาเงินมาจ่ายหนี้และต้องเก็บค่าโดยสารตามระยะทางโดยราคาสูงสุดอยู่ที่ 158 บาท แต่หากต่ออายุสัมปทาน ก็จะเก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/11/2020 5:15 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีต่อไป...สถานีพหลโยธิน 59 (N18) – สถานีคูคต (N24)
🤗เตรียมตัวโบกมือบ๊ายบาย สถานีปลาย​ทางวัดพระศรีมหาธาตุ และต้อนรับ “สถานีคูคต” เป็นสถานีปลายทางแห่งใหม่ บนเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่กำลังจะเปิดให้ผู้โดยสารทุกท่านได้ใช้บริการเร็ว ๆ นี้ ครับ
📍สถานีใหม่ 7 สถานี ได้แก่ สถานีพหลโยธิน 59 (N18), สถานีสายหยุด (N19), สถานีสะพานใหม่ (N20), สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (N21), สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (N22), สถานีแยก คปอ. (N23) และสถานีคูคต (N24)
🥳บีทีเอสขยายเส้นทางเชื่อมโยงความสุข
มอบความสะดวกสบายให้กับทุกการเดินทาง
✔️ขยายการเดินทาง 7 สถานี
✔️เชื่อมโยงโรงพยาบาล สถานที่ราชการ และสถานที่สำคัญต่าง ๆ
✔️เดินทางสะดวก ลดปัญหาจราจรติดขัดบนท้องถนน
#พบกัน7สถานีใหม่
#บีทีเอสขยายเส้นทางมอบความสุขส่งถึงที่หมาย
#ขยายการเดินทางเชื่อมโยงทุกความสุข
#เชื่อมต่อ3จังหวัด

https://www.facebook.com/BTSSkyTrain/photos/a.570817279630558/3595770693801853/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2020 6:32 pm    Post subject: Reply with quote

ACT ชี้ช่อง‘รัฐบาล-บีทีเอส’กางแผนสัมปทาน30ปีให้ปชช.รับรู้ผลประโยชน์
หน้าโลกธุรกิจ
วันอังคาร ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 12.26 น.

ดร. มานะ ACT แนะ“รัฐบาล- บีทีเอส” กางแผนสัมปทานบีทีเอส 30ปี ให้ประชาชนรับทราบผลประโยชน์ แนะควรใช้กฎหมายหลักว่าจ้างเอกชน พร้อมยกเคส ปมอื้อฉาวให้เช่าศูนย์ประชุมสิริกิติ์ 50 ปี ตามหลอนหากไม่ฟัง



เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) หรือ ACT กล่าวถึงกรณีรัฐบาลเตรียมขยายสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวออกไปอีก 30 ปี (2572-2602) แก่บริษัท ระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ว่า ประชาชนรับรู้ข้อมูลเรื่องนี้น้อยเกินไป โดยเฉพาะหากจะให้สัมปทานทำไมจะต้องให้ทีละ30 ปี ให้น้อยกว่านั้นไม่ได้หรือ เช่น 20 ปี

แต่สำคัญสุดหากเอกชนจะสัมปทานไปแล้ว จะได้ผลประโยชน์อย่างไร และรัฐบาลจะได้อย่างไร และที่สำคัญประชาชนจะได้ประโยชน์ และวิถีชีวิตที่ดีขึ้นหรือไม่


ไม่นับประเด็นว่า ผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่างๆหากได้รับสัมปทานไปแล้ว อาทิ ร้านค้า ป้ายโฆษณาต่างๆ ตามรถไฟฟ้า และ สถานี เอกชนจะได้เท่าไหร่ รวมทั้งจำนวนผู้โดยสารในอนาคตจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ ชาวบ้านจะได้รับความสะดวกในการเดินทาง ราคาค่าโดยสารที่เหมาะสมเป็นธรรม จำนวนรถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ระยะเวลาความถี่ในการใช้บริการรถไฟฟ้าในชั่วโมงเร่งด่วนจะรวดเร็วขึ้นหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทั่วไปอยากทราบทั้งสิ้น

“ผมเห็นว่า กติกาในการวางจ้างเอกชน มาดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวยุคนี้ก็ควรยึดกติกาหรือกฎหมายหลักของประเทศ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้เพื่อป้องการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่” เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) กล่าว

นายมานะ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ยังไม่ได้มีการคุยกันว่าจะตรวจสอบเรื่องนี้หรือไม่ แต่ส่วนตัวอยากให้ผู้เกี่ยวข้องนำเสนอข้อมูลเรื่องนี้ให้ครบถ้วน เพื่อที่ประชาชนจะได้ช่วยกันติดตามและเฝ้าระวัง

“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯในรัฐบาลที่แล้ว ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 ม.ค.2560 ได้มีการอนุมัติแก้ไขสัญญาการบริหารและดำเนินกิจการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยให้เช่า 50 ปี โดยยังไม่แน่ชัดว่า ใช้กฎหมายอะไร และยังเป็นข้อครหามาถึงทุกวันนี้ จึงเป็นเรื่องที่ฝากเอาไว้ให้คิด” เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ระบุ

//========================


เปิดเอกสาร!! สภาพัฒน์ แนะ‘ครม.’ เสนอให้‘กทม.’บริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว
หน้าโลกธุรกิจ
วันอังคาร ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 18.10 น.

กรณีที่กระทรวงมหาดไทย เตรียมผลักดันเสนอคณะรัฐมนตรี เห็นชอบขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ออกไปอีก 30 ปี หลังครบอายุสัมปทานในปี 2572 ซึ่งเมื่อขยายอายุสัมปทานแล้ว จะครบอายุสัมปทานในปี 2602



โดยอ้างอิงมาตรา 44 ซึ่งมีข้อยกเว้น พ.ร.บ.การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน จนกลายเป็นข้อครหาว่า จะเกิดความไม่โปร่งใส และถือว่าไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลเอกสารด่วนที่สุด ที่ นร.1115/7214 ที่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ทำหนังสือขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ


เรื่อง การกู้เพื่อใช้ในการรับโอนทรัพย์สินและหนี้สินของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วง หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เพื่อประกอบการพิจารณาของครม.เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2561

โดยสภาพัฒน์ฯ ได้มีความเห็นว่า เห็นควรให้ความเห็นชอบการกู้เงินเพื่อใช้ในการโอนโอนทรัพย์สินและหนี้สินของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วง หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ

นอกจากนี้ ยังเห็นควรให้กทม.เร่งเสนอรูปแบบการลงทุนและบริหารจัดการเดินรถตามขั้นตอน พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐพ.ศ.2556 เพื่อให้กทม.สามารถเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ในเดือนธันวาคม 2561 ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ภายใต้การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด



แต่เมื่อเปิดดูสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวในเมือง เส้นหมอชิต-ตากสิน-อ่อนนุช หรือเส้นทางที่ถูกขนานนามว่า “ไข่แดง” เป็นสัมปทานรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และสนับสนุนวงเงินลงทุนบางส่วน และภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธา ค่างานระบบและขบวนรถไฟฟ้า และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง ครบสัญญาในปี 2572

ขณะที่สัญญาส่วนต่อขยาย ทั้งทางด้านเหนือ (ไปคูคต) และทางด้านใต้ (ไปสมุทรปราการ) เป็นรูปแบบ PPP Gross Cost โดยจ้างเอกชนบริหารเดินรถ และรัฐเป็นผู้จัดเก็บรายได้ ครบสัญญาในปี 2585

แต่กลับพบว่า กทม. ได้หลบเลี่ยงพ.ร.บ. ร่วมทุนฯ โดยให้บริษัทกรุงเทพธนาคม ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน ในเครือของกทม. ดำเนินการเป็นคู่สัญญากับ BTSC แทน เพราะบริษัทกรุงเทพธนาคม เป็นบริษัทเอกชน ไม่ใช่หน่วยงานรัฐ จนถูกร้องเรียน และอยู่ในชั้นสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

จึงมีการตั้งคำถามว่า เหตุใดกระทรวงมหาดไทย และกทม. ถึงยังจะต่อขยายสัมปทานให้กับ BTS อีก

และเหตุใด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. จึงออก มาตรา 44 โดยไม่ถือเป็น การร่วมทุนตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ทั้งๆ ที่ สภาพัฒน์ให้ความต่อครม. อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนว่า ให้กทม.ดำเนินการตามขั้นตอน พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐพ.ศ.2556

อย่างไรก็ดีการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด “ครม.” เองก็ไม่ได้คัดค้านแต่อย่างใดด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2020 7:46 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง ร่วมกับ BTSC ลงพื้นที่ตรวจวัดค่าระดับเสียงจากการเดินรถไฟฟ้า
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:59 น.

เผยสาเหตุประชาชนเดือด!! หลังบีทีเอส เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว “สถานีบางนา-อุดมสุข”
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 17:38:56 น.

]ขร.ถก บีทีเอส ลงพื้นที่ตรวจวัดค่าระดับเสียงจากการเดินรถไฟฟ้า เหตุประชาชนโวยได้รับความเดือดร้อน เร่งศึกษา 3 แนวทางลดผลกระทบทางเสียง เตรียมลงพื้นที่วัดระดับเสียงอีกครั้งในช่วงเดือนธันวาคม 2563 – มกราคม 2564"

บ้านติดโค้งสถานี”บางนา-อุดมสุข”สบายหูขึ้นนิ๊ดดนึงง
*ร้องกลัวหูดับได้ผลกรมรางฯแจ้นลงพื้นที่วัดเสียง
*ไม่เกินแต่ดังเอี๊ยดด!! รำคาญให้บีทีเอสเจียรราง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2775507212670779
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2020 9:56 pm    Post subject: Reply with quote

"ธีรัจชัย" อัด รบ.หากต่อสัมปทานบีทีเอส 30 ปี ไม่ละทิ้งนิสัยเดิม คสช. หมางเมิน ปชช.
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 11:55 น.

"ธีรัจชัย"อัด รบ.หากต่อสัมปทานบีทีเอส 30 ปี ไม่ละทิ้งนิสัยเดิม คสช. หมางเมิน ปชช.

ชาวเน็ตสงสัย! ปิดสะพานข้ามแยกเกษตร-เสนา-รัชโยธิน ที่แท้ไม่เกี่ยวกับม็อบ
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 11:55 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 109, 110, 111 ... 155, 156, 157  Next
Page 110 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©