Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311326
ทั่วไป:13289193
ทั้งหมด:13600519
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 53, 54, 55 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44860
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/10/2014 7:37 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.เล็งทุบ'บีทีเอส'สถานีตากสิน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 16 ตุลาคม 2557 14:52

กทม.เล็งทุบ "บีทีเอส" สถานีตากสิน เปิดใช้รางคู่บนสะพาน เร่งหารือแผนก่อนชง "สุขุมพันธุ์"

นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีกทม.มีแผนที่จะขยายรางรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสินเป็นรางคู่ ว่า ภายหลังที่กทม.ได้เสนอต่อกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ขอใช้พื้นที่สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินทำรางคู่และจะขยายขอบสะพานให้แทน เพื่อจะได้ไม่ต้องทุบสถานีตากสินนั้น ล่าสุดทช.ได้เสนอ 4 แนวทาง ได้แก่
1.ทุบสะพานและขยายขอบสะพานด้านข้าง ซึ่งจะต้องมีการเพิ่มตอม่อสะพานขึ้นมาใหม่เพื่อความแข็งแรงของสะพาน
2.หากไม่ต้องการทุบขอบสะพานจะต้องย้ายสถานีไปอยู่ตรงบริเวณกลางสะพานที่มีพื้นที่กว้างกว่าบริเวณตีนสะพานที่สถานีอยู่เดิม ซึ่งทางวิศวกรรมอาจสามารถทำได้แต่ติดปัญหาที่ว่าอาจต้องมีการปิดการเดินรถไปยังฝั่งธนบุรีเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 7 เดือนแน่นอน ก็จะทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างมาก
3.ทุบสถานีตากสินแล้วทำทางเลื่อนตามแผนเดิม และ
4.คงสภาพเช่นเดิมไว้โดยไม่ต้องดำเนินการใดๆทั้งสิ้น แต่ก็จะกระทบกับการเดินรถที่ต้องหยุดรอสับหลีกต่อไปในอนาคต

นายทวีศักดิ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สจส.ได้นำข้อเสนอทั้ง 4 แนวทางไปศึกษาอย่างละเอียดแล้วเพื่อเลือกแนวทางที่ดีที่สุด เบื้องต้นเห็นว่าแนวทางทางที่ 1 และแนวทางที่ 2 เป็นไปได้ยาก เพราะการก่อสร้างตอม่อหรือย้ายสถานีไปอยู่ตรงบริเวณกลางสะพานไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนแนวทางที่ 4 หากคงสภาพเช่นเดิมไว้ อนาคตเมื่อระบบขนส่งมวลชนเสร็จแล้วทั้งระบบจะทำให้อัตราการเดินทางของผู้โดยสารมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งประชาชนจะได้รับผลกระทบจากระบบขนส่งมวลชนอย่างแน่นอน ดังนั้นในแนวทางที่ 3 สจส.ไปหารือกับรองผู้ว่าฯกทม.โดยเร็วอีกครั้ง ก่อนเสนอผู้ว่าฯกทม. รับทราบต่อไป

ด้านนายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าทางเลือกที่ดีที่สุดคือการยกเลิกสถานีสะพานตากสินและสร้างทางเลื่อนอัตโนมัติให้ประชาชนใช้บริการที่สถานีสุรศักดิ์แทน ซึ่งการสร้างทางเลื่อนอัตโนมัติ จะใช้เวลา 9 เดือน ส่วนการรื้อตัวสถานีจะใช้เวลา 6 เดือน แต่อาจกระทบกับความเคยชินของประชาชนที่เคยใช้บริการที่สถานีดังกล่าวรวมถึงอาจกระทบกับผู้ประกอบการที่อยู่บริเวณใกล้เคียงที่เคยได้รับประโยชน์จากการมีสถานีสะพานตากสิน โดยเบื้องต้นกทม.จะทำทางเดินสกายวอล์ก ระหว่างสถานีสุรศักดิ์ถึงสถานีตากสินระยะทาง 700 เมตรก่อน โดยได้มอบหมายให้บริษัทกรุงเทพธนาคมเป็นผู้ดำเนินการคาดว่าจะสามารถหาผู้รับจ้างและก่อสร้างได้ ภายในสิ้นปี 2557

"ในเร็วๆนี้จะหารือกับสจส.ก่อน ซึ่งหากผลสรุปว่าจะต้องทุบสถานีสะพานตากสินก็จะปรับเปลี่ยนทางเดินดังกล่าวเป็นทางเลื่อนอัตโนมัติเพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้บริการแต่หากไม่ต้องทุบสถานีสะพานตากสินแล้วทางเดินดังกล่าวก็จะเป็นสกายวอล์คให้ประชาชนใช้ได้เช่นกัน"นายอมร กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2014 11:17 am    Post subject: Reply with quote

BTS รับปีนี้รายได้ไม่โต มั่นใจคว้าส่วนต่อขยายสีเขียว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
24 พฤศจิกายน 2557 18:35 น.




BTS รับปีนี้รายได้ไม่โต มั่นใจคว้าส่วนต่อขยายสีเขียว
บีทีเอสยอมรับปีนี้รายได้พลาดเป้า ใกล้เคียงปีก่อนที่ 9 พันล้านบาท เหตุรายได้จากธุรกิจสื่อโฆษณาหดจากภาวะเศรษฐกิจ มั่นใจชนะประมูลเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวที่จะเปิดประมูลต้นปีหน้า เพราะต้นทุนต่ำสุด

นายสุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่สายการเงิน บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในงวดปี 2557/2558 (1 เม.ย. 57-31 มี.ค. 58) คาดว่าจะมีรายได้ใกล้เคียงปีที่แล้ว 9,000 ล้านบาท (ไม่รวมการขายกองทุนฯ) ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากรายได้ธุรกิจสื่อโฆษณาในปีนี้ปรับเป้าหมายลงจากเดิมที่คาดว่าจะโต 13-17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงเหลือ 0-3% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดลง แต่เป้าหมายรายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสยังโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6-9% จากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น และรายได้จากธุรกิจบริการคาดว่าจะโตได้เกินเป้าหมายที่วางไว้ 17%

ขณะที่รายได้จากอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ยังเป็นไปตามเป้าหมาย คาดว่ารับรู้รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย 800 ล้านบาท และอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ 1,000 ล้านบาท

“ธุรกิจเดินรถไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้บริษัทอย่างสม่ำเสมอ ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากนัก เมื่อเทียบกับธุรกิจสื่อโฆษณาที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากในปีนี้”

ส่วนความคืบหน้าการเข้าประมูลเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) นั้น บริษัทฯ มั่นใจว่าจะชนะประมูลการเดินรถส่วนต่อขยายสายสีเขียวที่คาดว่าจะเปิดประมูลในต้นปี 2558 เนื่องจากบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวอยู่แล้วทำให้มีต้นทุนน่าจะต่ำกว่าคู่แข่งเพราะใช้รถไฟฟ้าเดิม และยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารที่จะไม่ต้องเปลี่ยนรถด้วย กล่าวได้ว่าบริษัทฯ มีความพร้อมที่สุด

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสนใจเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าขนาดเบา หรือไลต์เรลช่วงบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 20 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่ากรุงเทพมหานครจะเปิดประมูลได้ในกลางปี 2558 ส่วนการเดินรถสายสีชมพู และสายสีเทา บริษัทฯ ก็สนใจเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ บริษัทมีกระแสเงินสดประมาณ 3 หมื่นล้านบาท เพียงพอที่จะเข้าร่วมประมูลเดินรถไฟฟ้าได้ เนื่องจากสามารถกู้ยืมจากสถาบันการเงินได้เพิ่ม 3 เท่า โดยบริษัทฯ มีอัตราหนี้สินต่อทุนต่ำมากเพียง 0.03 เท่า ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน

นายสุรยุทธ์กล่าวต่อไปว่า คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติให้ขายหุ้นใน 2 บริษัทย่อยในสายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโรงแรมอีสติน แกรนด์ สาธร, ที่ดินบริเวณพญาไทและหมอชิตใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า ให้แก่บริษัท แนเชอรัล พาร์ค จำกัด(มหาชน) เพื่อแลกกับการเข้าไปถือหุ้นใน NPARK 35-36% และรับรู้กำไรพิเศษจากการขายสินทรัพย์ดังกล่าวหลายพันล้านบาท ทั้งนี้คงต้องรอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และ NPARK จะอนุมัติหรือไม่


วันที่ 25 พฤษจิกายน 2557

//------------------------------------------------

พิมพ์เขียวขนส่งมวลชนขนาดรอง “บางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ทำเลที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้าแห่งใหม่
properfychannelnews
2 พฤศจิกายน 2553 เวลา 14:59 น.


รถไฟฟ้า LRT สายบางนา - สุวรรณภูมิ

อนาคตอันใกล้ของคนกรุง บริเวณพื้นที่สี่แยกบางนา กำลังฉายรัศมีทำเลทอง ด้านที่อยู่อาศัย และศูนย์กลางการเดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอีกแห่ง ด้วยระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง ด้วยรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail) ที่มีชื่อเรียกว่า สาย “บางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” อีกเส้นทางหนึ่ง

ภายหลังกรุงเทพมหานคร ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง แล้วเสร็จ โดยจะเลือกเอา 3 เส้นทาง ที่มีความยาวระยะทางการเดินทางไม่เกิน 7-15 กิโลเมตร มารองรับและส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนหลักในพื้นที่กทม. หรือพูดง่าย ๆ ฟังชัด ๆ ก็คือ มาช่วยเสริมระบบการเดินทางโดยรถไฟฟ้าบีทีเอส และเอ็มอาร์ที ที่เปิดให้บริการในปัจจุบันให้สมบูรณ์ครอบคลุมพื้นที่ต่อเนื่องมากขึ้น

น่ายินดีสำหรับคนกรุงและประชาชนในพื้นที่ เพราะรถไฟฟ้ารางเบา สาย “บางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” เป็น 1 ใน 3 เส้นทางที่กทม.ต้องการพัฒนาออกมาก่อน

เรามาถอดพิมพ์เขียว เดินตามแนวเส้นทางรถไฟสายนี้กันดีกว่า ว่า เริ่มจากไหน ถึงไหน โดยแนวเส้นทางจะใช้เป็นระบบ 2 ทางวิ่ง ไปตามถนนสายบางนา-ตราด มีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า บีทีเอส บริเวณสี่แยกบางนา และอุดมสุข วิ่งผ่านศูนย์การประชุมแห่งชาติไบเทค ผ่านห้างเซ็นทรัลบางนา ตัดกับถนนศรีนครินทร์ และถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก ถนนกิ่งแก้ว เลี้ยวซ้ายเข้าสนาบินสุวรรณภูมิ รวมระยะทาง 18.3 กิโลเมตร

ลักษณะรถไฟฟ้าที่นำมาใช้ เป็นรถไฟรางเบา ขนาดมาตรฐาน ระบบจ่ายไฟจะเป็นลักษณะคล้าย ๆ กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ ที่จ่ายไฟบนหลังคา ขณะที่บีทีเอส และเอ็มอาร์ที (ใต้ดิน) ของรฟม.จะวางระบบจ่ายไฟไว้กับตัวราง

หลายคนคงอยากรู้ว่า แผนการดำเนินโครงการจะเป็นอย่างไร จะมีการแบ่งเฟสการพัฒนาออกเป็น 2 ช่วง โดย
ช่วงที่ 1 เริ่มจากสี่แยกบางนา สิ้นสุดที่คลองบางนา (หลักเขตกรุงเทพ) ระยะทาง 5 กิโลเมตร วางแผนไว้ว่าจะต้องใช้เวลาดำเนินการ 48 เดือน ตั้งแต่จัดเตรียมเอกสาร พิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม กระทั่งก่อสร้างและทดสอบระบบก่อนเปิดบริการ

ส่วนช่วงที่ 2 เริ่มจากคลองบางนา-ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ (หลักเขตกรุงเทพ ระยะทาง 13.3 กิโลเมตร ใช้เวลาดำเนินการ 61 เดือน เริ่มจากจัดเตรียมเอกสาร 21 เดือนและงานติดตั้ง รื้อย้าย ออกแบบก่อสร้าง ทดสอบระบบ ซึ่งทั้ง 2 ช่วง จะดำเนินการได้พร้อมกัน แต่ช่วง 2 อาจจะใช้เวลาดำเนินการที่นานกว่า

ถามว่า แล้วสถานีจะเริ่มที่ไหน มีกี่สถานี ........ตรงนี้คือ “ไฮไลต์” สำคัญ ที่ต้องขีดเส้นใต้ เพราะทุกสถานีที่เกิดคืออานิสงส์ของรถไฟฟ้าที่จะดันราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นกว่าจุดอื่น เพราะรถไฟฟ้ารางเบา สายนี้จะยกระดับเช่นเดี่ยวกับบีทีเอส มีจำนวนสถานี 9 สถานี ตามแผนศึกษา แต่ก็สามารถเพิ่มได้ถึง 13 สถานี เบื้องต้นจากข้อมูลการศึกษา จะมี

1. สถานีศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ ไบเทค บางนา
2. สถานีบางนา-ตราด ซอย 21 หรือเชลียง 7,
3. สถานีวัดศรีเอี่ยม (บางนาตราด กม. 4 - เชื่อมสายสีเหลือง),
4. สถานีบางนา-ตราด ซอย 37 (บางนาตราด กม. 6 - อบต. ปลัดเปรียง ) ,
5. สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 (บางนาตราด กม. 8 - อบต. บางแก้ว- เข้าเขตสมุทรปราการ),
6. สถานีกิ่งแก้ว,
7. สถานีธนาซิตี้,
8. สถานีมหาวิทยาลัยเกริก และ
9. สถานีสุวรรณภูมิใต้


แล้วเวลาไหนจะเริ่มดำเนินการล่ะ ตรงนี้กรุงเทพมหานครกำลังดำเนินการเพื่อเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมสภากทม.ในเร็ววันก่อนจะมีมติดำเนินการในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งงบประมาณที่ใช้จะถูกกว่าลงทุนในรูปแบบ บีทีเอส ระยะทาง 18.3 กิโลเมตรจะใช้งบประมาณ 19,000 ล้านบาท

คงไม่ต้องอธิบายถึงอนาคตของโครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายบางนา-สุวรรณภูมิ หรือจะเรียกชื่อที่ฟังคุ้นหู ก็คือรถไฟฟ้าโมโนเรล เพราะอิทธิพลของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วง “อ่อนนุช-แบริ่ง” ก็สร้างปรากฏการณ์ ดึงนักพัฒนาที่ดินเข้าสู่พื้นที่ ผุดโครงการคอนโดมิเนียม และที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ ยิ่งกว่าดอกเห็ด

หากงานก่อสร้างสายนี้เริ่ม มองไม่ออกเหมือนกันว่า แผนพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ-เอกชน จะออกมาอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะบริเวณสี่แยกบางนา ที่กำลังจะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อของการเดินทาง จะมีหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร อิทธิพลของรถไฟฟ้าจะผลักดันให้โครงการบิ๊กอย่าง “ The Coast Bangkok” สมบูรณ์สมกับคำที่ว่า ไลฟ์สไตล์ที่สมบูรณ์แบบแห่ง...ในอนาคต

http://www.youtube.com/watch?v=jbtFrs5kE3Q

//-------------------

คนกรุงเฮ! กทม.เล็งสร้างรถไฟฟ้ารางคู่ สายบางนา–สุวรรณภูมิ
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 17 สิงหาคม 2555 20:04

คนกรุงฯ ได้เฮ! อีก กทม.เล็งสร้างรถไฟฟ้ารางคู่สายบางนา–สุวรรณภูมิ เชื่อมต่อ BTS บางนา คาดสร้างได้ตั้งแต่ปี 2557 วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ใช้เวลา 3 ปี

วันที่ 17 ส.ค. นายอรวิทย์ เหมะจุฑา รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นโครงการ ศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง ระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ณ โรงแรมเมเปิล ถนนศรีนครินทร์ เขตบางนา โดยมีผู้แทนส่วนราชการและประชาชนที่อาศัยตลอดแนวเส้นทาง เข้าร่วมการประชุม

นายอรวิทย์ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองในเขตศูนย์กลางธุรกิจที่ระบบหลักเข้าไม่ถึง โดยศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองในแนวเส้นทางสายบางนา – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทำหน้าที่ ที่ปรึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2553 เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในพื้นที่บริเวณถนนบางนา – ตราด ถนนสุขุมวิทและจังหวัดสมุทรปราการ และเสริมประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งมวลชนระบบรางเข้าถึงพื้นที่ได้มากขึ้น

โดยใช้ต้นทุนในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนาดรองต่ำกว่าระบบขนส่งมวลชนหลัก จากเดิมที่ได้มีการจัดประชุมสัมมนาครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 52 ณ โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี โดยรูปแบบเป็น Monorail แต่เนื่องจากกายภาพของเส้นทางเป็นแนวเส้นตรง ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะเป็นรูปแบบ Light Rail มากกว่า ดังนั้น จึงได้ปรับเปลี่ยนจากรถไฟฟ้ารางเดี่ยวมาเป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา แต่แนวเส้นทางยังคงเป็นเส้นทางเดิม โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2557 ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 25,000 ล้านบาท

สำหรับแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายบางนา – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นแนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา มีระยะทางประมาณ 18.3 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ตามแนวถนนบางนา – ตราด ผ่านพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 แห่ง ได้แก่

องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ
องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ และ
องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง

เพื่อรองรับการขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในส่วนต่อขยายที่ 2 ด้านทิศใต้

โดยแนวเส้นทางวิ่งเริ่มจากจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS สถานีบางนา และอุดมสุข ผ่านศูนย์ประชุมแห่งชาติไบเทค ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลบางนา ตัดผ่านถนนศรีนครินทร์ ตัดผ่านวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก ถนนวัดกิ่งแก้ว ในช่วงต้น แนวเส้นทางจะหยุดที่บริเวณธนาซิตี้ เมื่อมีการเปิดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิด้านใต้จึงทำส่วนต่อขยายโดยเลี้ยว ซ้ายเข้าทางสนามบินสุวรรณภูมิด้านใต้สุดเส้นทางที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีสถานีหลัก 12 สถานี และส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี รูปแบบโครงสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดทั้งสาย.

//------------------

งบก่อสร้างของกทม.ปี2557
Infographic 157 - Bangkok Infrastructure - 691 20
งบฯก่อสร้างของกทม.ปี 2557 กระตุ้นโครงการใดบ้าง?
...
- รถไฟฟ้า 3 เส้นทางตามที่ผู้ว่าฯหาเสียงไว้ คือ
ไลท์เรลบางนา-สุวรรณภูมิ - 15.3 กม. ที่ ราคา 22950 ล้านบาท เริ่มสร้างปี 2557 เสร็จปี 2561 แต่อาจล่าช้าถ้า สุวรรณภูมิเฟส 2 ยังไม่ลงตัว,
โมโนเรลสยาม-สามย่าน ตามถนนพญาไท ยาว 1500 เมตร 6 สถานี - 1500 ล้านบาท - โครงการแท้งเพราะ จุฬาฯไม่เอาเด็ดขาด,
โมโนเรลสายสีเทา ช่วงวัชรพล-สะพานพระราม 9 - 26 กิโลเมตร 21 สถานี - 34000 ล้านบาท เสร็จปี 2562
- ต่อขยาย BTS สถานีบางหว้า ไปถึงตลิ่งชัน โดยเป็นจุดตัดเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน-ศาลายา ตามแนวถ.ราชพฤกษ์จนถึงตลิ่งชัน บริเวณคลองมหาสวัสดิ์ - 7 กิโลเมตร 6 สถานี 20000 ล้านบาท เสร็จปี 2562
Info : Prachachat Online (22-25 May 2014)


//-------------------
กทม.ฟังความเห็นจ่อสร้างรถไฟฟ้ารางคู่สายบางนา-สุวรรณภูมิ เชื่อมต่อ BTS บางนา


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
17 สิงหาคม 2555 22:23 น.


กทม.รับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบาสายบางนา-สุวรรณภูมิ เชื่อมต่อ BTS บางนา คาดเริ่มก่อสร้างปี 2557 ระยะเวลา3 ปี ใช้งบประมาณ 25,000 ล้านบาท

วันนี้ (17 ส.ค.) นายอรวิทย์ เหมะจุฑา รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ณ โรงแรมเมเปิล ถนนศรีนครินทร์ เขตบางนา โดยมีผู้แทนส่วนราชการและประชาชนที่อาศัยตลอดแนวเส้นทาง เข้าร่วมการประชุม

นายอรวิทย์กล่าวว่า กรุงเทพมหานครได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองในเขตศูนย์กลางธุรกิจที่ระบบหลักเข้าไม่ถึง โดยศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองในแนวเส้นทางสายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทำหน้าที่ที่ปรึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2553 เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในพื้นที่บริเวณถนนบางนา-ตราด ถนนสุขุมวิทและจังหวัดสมุทรปราการ และเสริมประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งมวลชนระบบรางเข้าถึงพื้นที่ได้มากขึ้น โดยใช้ต้นทุนในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนาดรองต่ำกว่าระบบขนส่งมวลชนหลัก จากเดิมที่ได้มีการจัดประชุมสัมมนาครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 52 ณ โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี โดยรูปแบบเป็น Monorail แต่เนื่องจากกายภาพของเส้นทางเป็นแนวเส้นตรง ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะเป็นรูปแบบ Light Rail มากกว่า ดังนั้น จึงได้ปรับเปลี่ยนจากรถไฟฟ้ารางเดี่ยวมาเป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา แต่แนวเส้นทางยังคงเป็นเส้นทางเดิม โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2557 ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 25,000 ล้านบาท

สำหรับแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นแนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา มีระยะทางประมาณ 18.3 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ตามแนวถนนบางนา-ตราด ผ่านพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง เพื่อรองรับการขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในส่วนต่อขยายที่ 2 ด้านทิศใต้ โดยแนวเส้นทางวิ่งเริ่มจากจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS สถานีบางนา และอุดมสุข ผ่านศูนย์ประชุมแห่งชาติไบเทค ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลบางนา ตัดผ่านถนนศรีนครินทร์ ตัดผ่านวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก ถนนวัดกิ่งแก้ว ในช่วงต้น แนวเส้นทางจะหยุดที่บริเวณธนาซิตี้ เมื่อมีการเปิดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิด้านใต้จึงทำส่วนต่อขยายโดยเลี้ยวซ้ายเข้าทางสนามบินสุวรรณภูมิด้านใต้สุดเส้นทางที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีสถานีหลัก 12 สถานี และส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี รูปแบบโครงสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดทั้งสาย

12 สถานีที่ว่านี้ประกอบด้วย
ช่วงที่ 1 ( บางนา - รามฯ 2)
สถานีอุดมสุข ( สถานีเชื่อมต่อส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท )
สถานีศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ ไบเทค บางนา
สถานีหมู่บ้านถาวรนิเวศน์ ( กม.2 )
สถานีเซ็นทรัล ซิตี้ บางนา ( กม.3 )
สถานีวัดศรีเอี่ยม ( กม.4 ) ( สถานีเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง )
สถานีปลัดเปรียง ( กม.6 )
สถานีบางแก้ว ( มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 ) ( กม.8 )

ช่วงที่ 2 ( รามฯ 2 - วัดศรีวารีน้อย ( กม.16 ) )

สถานีวัดสลุด ( กม.9 )
สถานีบางพลี ( กม.12 )
สถานีธนา ซิตี้ ( กม.14 ) ( สถานีเชื่อมต่อไปสนามบินสุวรรณภูมิ )
สถานีบางโฉลง ( กม.15 )
สถานีวัดศรีวารีน้อย ( กม.16 ) ( มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ )
//-------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 15/12/2014 4:56 pm    Post subject: Reply with quote

BTS เชื่อผู้โดยสารไม่เพิ่มมากนักหลังแท็กซี่ขึ้นค่าโดยสาร


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
14 ธันวาคม 2557 10:20 น.

นายอาณัติ อาภาภิรม ผู้บริหารบริษัท ระบบรถไฟฟ้า บีทีเอส ระบุว่า การปรับราคาค่าโดยสารรถแท็กซี่ใหม่ มีผลทางจิตวิทยาเล็กน้อยต่อการเปลี่ยนมาใช้บริการระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสเพิ่มขึ้น เพราะถือว่าผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ กับรถไฟฟ้า เป็นกลุ่มผู้โดยสารที่มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางคนละกลุ่ม แต่เชื่อว่าระยะแรกอาจจะมีการหันมาใช้บีทีเอสเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังจากนั้นทุกอย่างก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ผู้บริหารบริษัท รถไฟฟ้า บีทีเอส เปิดเผยด้วยว่า ขณะนี้มีจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการบีทีเอสอยู่ประมาณ 700,000 คนต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 19/12/2014 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

"บีทีเอส"ขยายเวลาเปิดให้บริการถึง02.00น. ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

มติชน
วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 13:37:28 น.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ และผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า บริษัทฯ จะขยายเวลาการให้บริการเดินรถในวันส่งท้ายปีเก่า คืนวันพุธที่ 31 ธันวาคม 2557 จากเวลา 24.00 น.ไปจนถึงเวลา 02.00 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม 2558และในคืนวันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม 2558 ไปจนถึงเวลา 02.00 น.ของวันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2558 ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการที่ต้องการเดินทางไปฉลองเทศกาลแห่งความสุขในสถานที่ต่างๆที่อยู่ในเส้นทางรถไฟฟ้าและบริเวณใกล้เคียง อาทิ งานสวัสดีปีใหม่ บริเวณ ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ โดยประชาชนสามารถเดินทางโดยรถไฟฟ้าบีทีเอสลงที่สถานีชิดลม หรือสถานีสยาม และสำหรับผู้ที่เดินทางไปCountdownที่ เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ ลงที่สถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน

นอกจากนี้ในวันพุธที่ 31 ธันวาคม 2557 บริษัทฯ จะจำหน่ายตั๋วบัตรโดยสารเที่ยวเดียว (Single Journey Ticket)เป็นการล่วงหน้าในสถานีหลัก ได้แก่ สถานีหมอชิต สยาม ชิดลม และ สะพานตากสิน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารไม่ต้องหยอดเหรียญซื้อบัตรดังกล่าวที่ตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติในคืนวันส่งท้ายปีเก่าและเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังได้เตรียม บัตรโดยสาร ประเภท One – Day Passในราคาใบละ 130 บาท ใช้ได้หนึ่งวัน ไม่จำกัดเที่ยว และระยะทาง ให้แก่ผู้โดยสารอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 22/12/2014 11:17 pm    Post subject: Reply with quote

เลิกแน่สถานีบีทีเอสสะพานตากสิน
เดลินิวส์
วันจันทร์ 22 ธันวาคม 2557 เวลา 08:30 น.

ใช้600ล้านทำทางเลื่อนแทนคาดกลางปีหน้าจะได้เห็นรูปร่างโครงสร้าง

นายสุรพลนิติไกรพจน์ ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงกรณีที่ กทม.มีแนวทางในการยกเลิกสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีสะพานตากสิน เนื่องจากจะมีการเดินรถแบบรางคู่ ว่า ซึ่งเดิมทางเคทีไม่ได้มีการออกแบบไว้เป็นสถานีอยู่แล้วประกอบกับสถานีสะพานตากสินห่างกับสถานีสุรศักดิ์เพียงแค่700เมตรเท่านั้น จึงต้องยุบสถานีสะพานตากสินและขยายเพิ่มอีกหนึ่งรางเพื่อทำเป็นรางคู่และเพิ่มทางเลื่อนเพื่อนำผู้โดยสารเดินทางไปยังสถานีสุรศักดิ์แทน คาดว่าในช่วงกลางปีหน้าจะได้เห็นรูปร่างโครงสร้างทางเลื่อน โดยจะคล้ายกับสกายวอล์กสถานีสยามที่จะเป็นทางเดินใต้รางไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ กทม.ได้มีการเตรียมอนุมัติสัญญาเพื่อเตรียมงบในการสร้างแล้ว600ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2014 6:28 pm    Post subject: Reply with quote

ทุ่ม 600 ล้าน! แก้บีทีเอส หั่นสถานี “สะพานตากสิน” คุ้มสำหรับใคร?
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
23 ธันวาคม 2557 22:36 น.



ยุบ-ไม่ยุบ ยุบ-ไม่ยุบ ตัดสินใจแกว่งไปแกว่งมาอยู่หลายรอบ ล่าสุด ดูเหมือนว่าทางบีทีเอสจะตัดสินใจขาดแล้ว ตั้งงบ 600 ล้าน เตรียมยุบสถานีสะพานตากสิน แล้วแปลงให้เป็น Sky Walk ราคาสูงเพื่องดดรามา มั่นใจว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ต้องการให้รถไฟฟ้าวิ่งเร็วขึ้นอย่างปลอดภัย
ทั้งยังหวังว่าชุมชนสะพานตากสินจะพอใจกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทุ่มให้ บวกกับผลประโยชน์ที่เคยได้จากสถานีชั่วคราวแห่งนี้ก็มากมาย บอกเลยถึงเวลาต้องเสียสละเพื่อส่วนรวมแล้ว!!?




“สถานีชั่วคราว” สร้างทำไม ถ้าคิดจะรื้อ?




(สภาพการใช้งานรางเดี่ยว ที่เดียวที่สถานี "สะพานตากสิน" ทำให้เสียเวลาการเดินทาง)

“เรากะสร้างสถานีนี้เอาไว้เป็นสถานีสุดท้ายและตั้งใจสร้างเป็นสถานีชั่วคราวมาตั้งแต่แรกแล้วครับ” ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศเจตนารมณ์เอาไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องที่หลายคนกำลังสนใจ

ถามว่าในเมื่อรู้ว่าจะต้องทุบ จะสร้างทำไมตั้งแต่ทีแรก? ผู้ดูแลโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (BTS) จึงช่วยอธิบายรายละเอียดในเชิงลึกให้เข้าใจว่า เป็นเพราะทาง กทม.ต้องการสร้างส่วนต่อขยาย สร้างสถานีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่ม จึงทำให้สถานีนี้ไม่ใช่สถานีสุดท้ายอีกต่อไป แต่กลายเป็นสถานีตรงกลางที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้ระบบขนส่งเกิดความล่าช้า เพราะสถานีนี้เพียงสถานีเดียวที่ไม่สามารถใช้ระบบรางคู่ เปิดให้รถ 2 ขบวนสวนกันไปมาได้ แต่ดันมีแค่รางเดียวให้บริการ การรอเพื่อจะสับรางบริเวณนี้จึงทำให้เละไปทั้งระบบและกลายเป็นปัญหาจนถึงเวลาต้องแก้ไข!

“จะเห็นได้ว่าระยะห่างระหว่างสถานีสุรศักดิ์กับสถานีสะพานตากสิน ก็เลยจะสั้นกว่าระยะห่างระหว่างสถานีอื่น คือห่างกันแค่ 700 เมตร จากที่สถานีอื่นจะห่างกันประมาณ 1.2 กม. เป็นเพราะวางไว้แล้วตั้งแต่ต้นครับว่าจะให้สถานีเป็นแค่สถานีชั่วคราว แต่พอสร้างไปสักพักหนึ่งประชาชนก็เริ่มติดเพราะเป็นสถานีริมแม่น้ำ แต่ตัวสถานีมันสร้างคร่อมอยู่บนรางที่สองของรถไฟฟ้า เพราะเนื้อที่ตรงนั้นถูกสะพานตากสินบีบทำให้เหลือที่ไม่มากนักในการสร้างสถานี จึงจำเป็นต้องวางตัวสถานีคร่อมเอาไว้บนรางรางหนึ่ง แล้วให้เหลือแค่รางเดียวที่ให้บริการได้





(รางเดี่ยว วิ่งได้เลนเดียว สถานีสะพานตากสิน)

เมื่อก่อนก็ไม่ค่อยมีปัญหามาก จนกระทั่งจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บวกกับระยะเวลาการเดินทางของรถก็เริ่มติด เพราะรถไฟฟ้าที่วิ่งผ่านสถานีนี้ต้องรอสับรางใช้รางเดียวที่สถานีนี้เสมอ ทำให้เสียช่วงเวลาเร่งด่วนไปถึงประมาณ 110 เปอร์เซ็นต์ของความสามารถในการขนส่งต่อเที่ยว หมายความว่าจะมีผู้โดยสารที่ขึ้นไม่ได้ประมาณ 10 คนต่อเที่ยวเมื่อรถมาถึง ทำให้ต้องรถขบวนหน้าและความล่าช้าก็สะสมไปเรื่อย

ยิ่งสถานีนี้มาอยู่สถานีตรงกลางของสาย ยิ่งส่งผลต่อความล่าช้าที่เกิดขึ้น ปกติแล้วสถานีอื่นๆ จะใช้เวลาประมาณ 3 นาทีในการเดินทาง แต่พอมาผ่านจุดนี้ปุ๊บ จะกลายเป็น 5 นาที เพราะต้องรอใช้ราง ทำให้เวลาโดยรวมเสียไป ปัญหาหลักที่ต้องการจะรื้อสถานีชั่วคราวนี้ก็มาจากเรื่องนี้นี่แหละครับ ที่ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเพราะว่ารถไฟฟ้าได้รับความนิยม คนใช้กันมากขึ้นแล้วก็เรียกร้องให้รถมาเร็วๆ หน่อย อย่าให้รอนานโดยเฉพาะเวลาเร่งด่วน แต่ถ้าจะปรับให้รถวิ่งเร็วขึ้นก็จะไม่ปลอดภัย และถึงยังไงถ้าไม่แก้ไขตรงนี้ ก็จะมาช้าตรงสถานีสะพานตากสินอยู่ดี

กรุงเทพธนาคมกับบีทีเอส ผู้ประกอบการ คุยกับทาง กทม.แล้วว่า จำเป็นจะต้องทำให้ตรงนี้เป็นรางคู่เหมือนเดิม พอเป็นรางคู่ ตัวสถานีที่มันตั้งอยู่บนรางรางนึงก็ต้องเอาออก ก็มีโจทย์ว่าจะทำยังไงดี ระหว่างไปสร้างตัวสถานีสะพานตากสินใหม่โดยให้ไปเกาะสะพาน คือขยับตัวสถานีเดิมหลบออกไปไม่ให้มาตั้งอยู่บนราง หรืออีกวิธีคือทำให้สถานีนี้ยังเปิดใช้อยู่ แต่ให้ไปใช้บริการสถานีสุรศักดิ์ซึ่งอยู่ห่างออกไป 700 เมตรแทน เพื่อให้รถยังวิ่งต่อไปได้อย่างสะดวก และลดเวลาวิ่งต่อขบวนลงให้ได้ โดยปล่อยให้ทั้งระบบเป็นรถไฟรางคู่ทั้งหมด ไม่ใช่แค่รางเดี่ยวเฉพาะแค่จุดนี้อย่างที่เป็นอยู่





ถ้าสร้างสถานีมาชั่วคราวแล้วจะทำทำไม? คำตอบก็คือสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนต่อเรือได้อย่างสะดวก ถามว่า กทม.หรือทางเราจะได้ประโยชน์อะไรในการเอาสถานีสะพานตากสินออก ไม่ได้เลยครับ การอำนวยความสะดวกในโครงการนี้มีแต่จะเสียเงินเพิ่มขึ้น แถมยังถูกคนด่าด้วย แต่เราแค่ต้องการให้คนที่ใช้บริการทั้งระบบมีความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการมากขึ้น ไม่ต้องมารอนาน 2-3 ขบวนถึงจะได้ขึ้นจากสถานีสะพานตากสิน

สิ่งที่ผมอยากจะย้ำก็คือ โครงการนี้มันไม่ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนเลย ทางขึ้นลงและบันไดเลื่อนก็เหมือนเดิม แถมจะดีขึ้นด้วย ถามว่าจู่ๆ เราอยากทำมั้ย ไม่มีใครอยากจ่ายเงินเพิ่มเลยครับ แต่ทำเพื่อให้ได้บริการที่ดีขึ้น

คนที่มองว่าการสร้างสถานีสะพานตากสินชั่วคราวนี้ เป็นการผลาญงบประมาณเกินไป มันเปลืองไปมั้ย? ผมก็ต้องตอบว่าตรงนี้ได้ให้บริการมา 10 กว่าปีแล้วนะครับ มันได้เอื้อประโยชน์กับผู้คนที่จะเดินทางจากรถไฟฟ้ามาต่อเรือ หรือเรือมารถไฟฟ้า หรือมาลงพื้นที่ธุรกิจตรงนั้นเพื่อเข้าโรงแรมมานานแล้ว ที่สร้างชั่วคราวก็ถือว่าคุ้มแล้วครับ ตอนนี้ที่ตัดสินใจรื้อก็เพื่อให้ได้บริการที่ดีขึ้นต่อคนใช้ทั้งระบบ

ถ้าถามว่าการรื้อต้องจ่ายเงินมั้ย จริงๆ แล้วไม่ต้องจ่ายเลยก็ได้ครับ ถ้าแค่จะรื้อก็แค่ปิดสถานีไปเลยง่ายๆ ไม่ต้องเปลืองเงินอะไรเลย แต่ทาง กทม.ซึ่งเป็นเจ้าของโปรเจกต์และกรุงเทพธนาคม เราคิดอะไรมากกว่านั้นครับ เรามองเรื่องการอำนวยความสะดวกให้คนที่คุ้นเคยกับตรงนี้ด้วยให้ทำทุกอย่างได้เหมือนเดิม และลงทุนทำทางเลื่อนอีก 700 เมตร นี่แหละครับคือเหตุผลที่ว่าทำไมต้องผลาญงบประมาณ ก็เพื่อจะเอามาสร้างทางเลื่อนอำนวยความสะดวกให้ประชาชนและชุมชนบริเวณสะพานตากสินยังไงล่ะครับ”




ไม่เคยหรอก วางแผนระยะยาว!




(วงสีแดง สถานีที่กำลังจะหายไป)

ลองให้มองจากสายตาคนนอก ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบโครงสร้างดูบ้าง พิชัย วงศ์ไวศยวรรณ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอออกตัวก่อนว่ายังไม่รู้รายละเอียดโครงการในเชิงลึกว่าตอนที่เสนอเป็นแผนแม่บท ระบุเอาไว้ว่าให้สถานีตากสินเป็นสถานีชั่วคราวมาตั้งแต่แรกแล้วหรือไม่ และถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะให้การสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ มองผลกระทบในระยะยาวให้มากกว่านี้

“เท่าที่ผมได้เคยได้ยินมา ก็เคยได้ข่าวว่าสถานีนี้สร้างไว้แค่ชั่วคราวนะครับ เพียงแต่ชั่วคราวที่เราเห็นๆ กันอยู่ก็ถือว่าใช้กันมาได้นานพอสมควรจนทำให้คนเคยชินไปแล้ว พอคนใช้ไปนานๆ ถ้าจะยกเลิกสถานีตรงนี้แล้วเปลี่ยนไปใช้สถานีสุรศักดิ์ซึ่งห่างออกไปอีก 700 เมตร ก็อาจจะทำให้คนที่ใช้บริการเป็นประจำได้รับผลกระทบหรือรู้สึกว่าชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบายน้อยลง ถ้าให้วัดจากความรู้สึก ถามว่าไกลมั้ย 700 เมตร ก็ไกลอยู่เหมือนกันนะ ยิ่งถ้าคนที่เคยขึ้นที่สะพานตากสิน จากเคยเดิน 500 เมตรจากบ้านมาถึงสถานี ต่อไปก็ต้องบวกระยะทางเพิ่มขึ้นไปอีก กลายเป็นต้องเดินเป็นกิโลฯ เพื่อไปต่อสถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ ก็ไม่รู้ว่าผู้ใช้บริการที่เคยชินกับสถานีแบบเดิมไปแล้วเขาจะรับได้กันมากน้อยแค่ไหนนะครับ

ทำงานด้านนี้มา เข้าใจดีครับว่าการจะสร้างอะไรๆ ในเมืองแห่งนี้มันยากจริงๆ มีข้อจำกัดหลายอย่างมากเพราะเป็นเมืองที่มีความแออัดสูง จะสร้างทางรถไฟฟ้าตัดผ่านที่ไหนขึ้นมามันไม่ใช่การร่างแบบในกระดาษแล้วสร้างตัดเนื้อที่เดิมได้เลย แต่ต้องพิจารณาจากหลายอย่างว่า ถ้าขึ้นสถานีตรงนี้ มองเรื่องระยะทางแล้วอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่ถ้ามองเรื่องผลกระทบและความเป็นไปได้แล้ว มันต้องเวนคืนที่ชาวบ้านถึง 1,000 หลังคาเรือน เทียบกับอีกเส้นนึงที่อาจจะต้องเวนคืนน้อยกว่า อาจจะแค่ 300 หลังคาเรือน สุดท้าย ก็ต้องเลือกที่จะเกิดผลเสียน้อยที่สุดแล้วครับ





(สถานีที่กำลังจะถูกใช้งานแทน สะพานตากสิน)

ผมเลยมองว่าการวางสถานีสะพานตากสินเอาไว้ตั้งแต่ตอนนั้น น่าจะเป็นหนทางที่ผู้สร้างพอจะทำได้ดีที่สุด ณ ขณะนั้น เขาคงไม่อยากให้รถไฟฟ้าที่ตั้งใจสร้างให้รางคู่ กลายเป็นแบบรางเดี่ยวอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แต่ที่จำเป็นต้องให้เป็นแบบนั้น คงเพราะมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ หรือจะยังพอมีทางออกอื่นๆ อีกบ้างมั้ยที่ไม่ใช่แค่เลือกว่าจะรื้อสถานีสะพานตากสินหรือไม่รื้อ เรายังสามารถทำให้สถานีนี้เป็นรางคู่ได้อยู่หรือไม่

การตัดสินใจบางอย่างมันอาจจะดีแค่ในช่วงเวลานั้น มันขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เปลี่ยนไปครับ อย่างสถานีสะพานตากสินก็ตั้งมาได้หลายสิบปีแล้ว ถ้าสมมติว่า 20 ปีก่อนเรามีแบบแผนแม่บทระบุเอาไว้อีกแบบหนึ่ง แต่พอ 20 ปีให้หลังอะไรๆ มันเปลี่ยนไป สิ่งที่เคยคิดไว้ว่ามันเวิร์กในอดีต มาดูอีกที มันอาจจะไม่ได้เวิร์กกับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันแล้วก็ได้ ถ้าถึงตอนนั้นก็คงต้องตัดสินใจกันให้ดีๆ ครับว่าจะเลือกแบบไหน”

ส่วนงบประมาณ 600 ล้านบาทที่วางงบประมาณกันเอาไว้ว่าจะเปลี่ยนจากสถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน สร้างเป็นทางเลื่อน Sky Walk ไปยังสถานีสุรศักดิ์แทนนั้น ถามว่าเป็นเรตที่สูงเกินไปหรือไม่เพื่อแลกกับความสะดวกรวดเร็วในการใช้รถไฟฟ้า นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ตอบว่า คงวัดความคุ้มจากตัวเงินกันไม่ได้ วัดกันยาก แต่ถ้าให้มองในภาพรวมแล้ว ก็ถือว่าน่าจะทำให้ความสะดวกสบายของชีวิตคนเมืองเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะเวลาที่ต้องเสียไปกับการนั่งหรือยืนรอ มันสามารถเอาไปทำอะไรๆ ได้อีกตั้งหลายอย่าง แต่ถ้าจะให้ดีกว่านี้ ควรชี้แจงรายละเอียดให้ชัดเจนและวางแผนระยะยาวกันให้มากกว่านี้




“เรื่องการวางแผนระยะยาวเกี่ยวกับเรื่องสถาปัตย์, ผังเมือง เป็นปัญหามานานแล้วครับในประเทศเรา ต้องบอกว่าส่วนใหญ่ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับสุภาษิตที่ว่า “วัวหายล้อมคอก” ก็เลยชอบแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือสร้างอะไรขึ้นมาโดยที่อาจจะไม่ได้คำนึงถึงผลระยะยาวเท่าไหร่ อาจจะเหมาะสมแค่ช่วงเวลานั้นๆ แต่พอวันเวลาเปลี่ยนไปก็ค่อยมารื้อสร้างกันใหม่ อันนี้เห็นกันได้บ่อยๆ ไม่ใช่แค่โครงการรถไฟฟ้า

หรือถ้าจะให้พูดถึงกรณีรถไฟฟ้าที่ผมเห็น คงต้องพูดถึงรถไฟฟ้าสถานีบางนาครับ จะเห็นว่าทางออกที่เชื่อมรถไฟฟ้าตรงนั้นจะไปลงตรงที่ กรมอุตุนิยมวิทยา พอดี มันก็ทำให้เกิดคำถามว่าทำไมไม่สร้างสถานีให้ไปลงตรง ไบเทคบางนา ที่น่าจะมีรถสัญจรไปมาและมีคนใช้หนาแน่นกว่า มันก็อาจจะคล้ายๆ กับถ้าเทียบสถานีสะพานตากสินกับสถานีสุรศักดิ์ สถานีสะพานตากสินเป็นจุดเชื่อมรถต่อเรือ น่าจะมีคนใช้ตรงนั้นมากกว่าอยู่แล้ว

เวลาจะทำตัดสินใจสร้างโครงการอะไรแบบนี้ อยากจะให้พิจารณาความคิดเห็นของประชาชนและการทำประชาพิจารณ์ ด้วยครับว่า ผู้ใช้เขาต้องการแบบไหน เพราะสิ่งที่ผู้สร้างตัดสินใจให้บางทีอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์คนใช้จริงๆ ก็ได้”




มีแต่ได้กับได้ ถ้าชุมชน “สะพานตากสิน” ยอม?




("ทางเลื่อน" แบบเดียวกันที่ใช้ในสนามบินสุวรรณภูมิ แต่ที่นี่จะยาว 700 เมตร ทุ่ม 600 ล้าน แก้ปัญหาที่ต้องยุบสถานี)

ถามว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะกระทบต่อพฤติกรรมและความเคยชินของประชาชนมากน้อยแค่ไหน ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ให้คำตอบว่า “ไม่เปลี่ยนแปลงครับ ทางขึ้นลงต่างๆ จะยังเหมือนเดิม แต่จุดขายตั๋ว จุดขึ้นลงรถจะขยับไปอีก 100 เมตร หมายความว่าสถานีสะพานตากสินยังเป็นจุดขึ้นลงได้เหมือนเดิม แต่แทนที่จะขึ้นมาถึงแล้วสามารถซื้อตั๋วได้เลย ก็เปลี่ยนเป็นต้องต่อ “ทางเลื่อน” ระยะประมาณ 700 เมตรแทน เป็นทางเลื่อนแบบในสนามบินที่เรียกว่า “Walkalator” ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางไปถึงจุดขึ้นรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ประมาณ 3-5 นาทีขึ้นอยู่กับว่าจะเดินเร็วหรือช้าแค่ไหน ทั้งหมดลงทุนประมาณ 600 ล้าน แต่จะทำให้ระบบไหลเวียนรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

รายละเอียดโครงการตรงนี้ คนจะกลัวว่าเราจะไปยกเลิกสถานีสะพานตากสิน ไปทุบทิ้ง ไม่ใช่อย่างนั้นครับ เพราะทางขึ้นลงและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เคยมีอยู่เดิมก็จะยังมีอยู่เหมือนเดิม แต่ที่จะเกิดขึ้นคือทางเชื่อมที่คล้ายๆ แถวสถานีชิดลมกับสถานีสยามตรงไปต่อเชื่อมที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ แต่แทนที่จะเป็นทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า ก็จะเป็นทางเลื่อนเพิ่มให้ด้วย ใครอยากเดินบนทางปกติหรือทางเลื่อนก็แล้วแต่จะเลือก

คนจะคิดกันไปว่าพอเปลี่ยนเป็นไปใช้สถานีสุรศักดิ์แล้ว ทางโรงแรมหรือพ่อค้าแม่ค้า ผู้อยู่อาศัยละแวกสถานีสะพานตากสินจะมีปัญหา มันไม่ใช่เลยครับ เพราะระบบทุกอย่างยังเหมือนเดิม แต่จุดขายตั๋วกับจุดจอดรถจะขยับไป 700 เมตรเท่านั้นเอง แล้วก็จะเชื่อมระหว่าง 2 จุดนี้ด้วยทางเลื่อน





(ทางขึ้นสถานียังคงมีอยู่ แต่ด้านบนกลายเป็นทางเชื่อมแทน)


ที่ผ่านมาก็มีประชาชน ผู้ประกอบการ กลุ่มร้านค้า-โรงแรม กลุ่มคนที่คิดว่าทางเราจะรื้อสถานี รวมตัวกันเดินทางมาคัดค้านไม่ให้ทำโครงการนี้ เราก็อธิบายรายละเอียดไปและพยายามทำความเข้าใจกันอยู่ว่า นี่ไม่ใช่โครงการสร้างรถไฟฟ้าขนาดใหญ่อะไรครับ เป็นโครงการขนาดเล็ก เอาตัวสถานีออกและเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าไปให้ ตอนนี้ก็ยังต้องอธิบายกันครับว่า คนที่มาเรือต่อรถไฟฟ้า หรือมารถไฟฟ้าต่อเรือ ก็ยังทำได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องใช้ทางเลื่อนเข้ามาช่วยเท่านั้นเอง ทางเดินจะดีกว่าเดิมด้วยซ้ำครับ

เป็นไปได้มั้ยที่จะยังให้มีตัวสถานีสะพานตากสินอยู่และทำให้เป็นรางคู่ไปด้วยได้ คำตอบคือ “ทำได้” ครับ แต่ทำได้ในตอนไหน ทำได้ที่ต้นทุนเท่าไหร่ก็อีกเรื่องนึง ถ้าจะเลือกทางนี้ก็จะพอมีวิธีคือให้ขยับตัวสถานีไปพิงหรือไปเกาะกับโครงสร้างสะพานตากสิน แต่จะเป็นการเกาะไว้ข้างเดียวซึ่งอาจจะทำให้สะพานขาดความสมดุล ทำให้เกิดปัญหาต่อไป ถ้าจะทำต่อไปให้ปลอดภัยก็ต้องแก้ด้วยการเพิ่มน้ำหนักสะพานอีกข้างนึงเข้าไปให้มันสมดุลกัน งบประมาณที่ใช้ก็จะเกินกว่า 600 ล้านอีกเยอะทีเดียว

ถามว่าจะทำแบบนู้นแบบนี้แทนได้มั้ย วิศวกรเขาก็บอกว่ามันทำได้ทั้งนั้นแหละ แต่ทำได้ที่ราคาเท่าไหร่ ก็ต้องคิดพิจารณากันอีกเยอะแยะเลย และสะพานตากสินตรงนั้น ทางกรมทางหลวงชนบทเขาเป็นคนสร้างมา และถ้าเราต้องเอาน้ำหนักของสถานีไปพิงไว้กับสะพานของเขา ถ้าสะพานเขาเกิดทรุดก็อาจจะเกิดปัญหาตามมาว่าใครจะรับผิดชอบงบประมาณตรงนั้น





(อนาคต สถานีสะพานตากสิน จะเป็นระบบรางคู่เหมือนสถานีอื่นๆ)

ผมก็ได้แต่ให้ข้อมูลทั้งหมด ส่วนจะเหมาะสมหรือไม่ ก็คงต้องให้ประชาชนช่วยกันคิดวิเคราะห์ดูครับ ส่วนทางเรา กรุงเทพธนาคม ในฐานะผู้ดำเนินการ จริงๆ แล้ว ถ้าไม่ทำเรื่องนี้ เราไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 600 ล้าน แล้วก็ไม่ต้องถูกด่าด้วย คนที่ใช้บีทีเอสทั้งระบบวันละมหาศาลเองก็จะไม่รู้หรอกครับว่าทำไมรถมันวิ่งช้า ทำไมวิ่งให้เร็วขึ้นไม่ได้ ซึ่งจริงๆ สามารถวิ่งให้เร็วขึ้นได้ครับถ้าแก้ปัญหาความล่าช้าที่สถานีสะพานตากสินตรงจุดนี้นี่แหละครับ

อยากให้รู้ว่า การให้บริการอะไรก็แล้วแต่ ทางผู้ให้บริการก็ไม่อยากจะทำให้เกิดผลกระทบ แต่ในเมื่อต้องเลือก เราก็พยายามจะทำให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และเป็นประโยชน์ที่สุดต่อส่วนรวม”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 29/12/2014 9:53 am    Post subject: Reply with quote

[url=http://www.manager.co.th/HotShare/ViewNews.aspx?NewsID=9570000149341 ]ไหม้กลางเมือง! ไฟช็อตลุก “ต้นคริสต์มาส” ทางเชื่อมบีทีเอส-ห้างสยามสแควร์วัน[/url]
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม
ASTV
28 ธันวาคม 2557 16:20 น.


ASTVผู้จัดการ - นักท่องเที่ยวแตกตื่นเหตุเพลิงไหม้ในย่านสยามสแควร์บริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้า BTS กับห้างสยามสแควร์วัน เบื้องต้น คาดไฟฟ้าลัดวงจรจากต้นคริสต์มาส

วันนี้ (28 ธ.ค.) มีรายงานว่า เมื่อเวลา 15.00 น. เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน บริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส มีกลุ่มควันพวยพุ่ง และมีเแสงเพลิง สร้างความแตกตื่นให้แก่บรรดานักท่องเที่ยวที่ต่างตกใจวิ่งหนีกันอลหม่าน อย่างไรก็ตาม ล่าสุด สามารถควบคุมเพลิงไว้ได้แล้ว ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด โดยคาดว่าสาเหตุเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรบริเวณต้นคริสต์มาสที่ถูกนำมาตั้งตกแต่งหน้าห้าง

จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวได้นำเรื่องแจ้งให้ผู้บริหารทราบแล้ว และได้มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้น โดยได้เกิดเหตุเปลวไฟที่จุดดิสเพลย์ ต้นคริสต์มาส บริเวณทางเชื่อมลานสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีสยาม หน้าศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ส่วนสาเหตุคาดว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสยามสแควร์วันได้เข้าควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และสามารถเปิดให้ศูนย์การค้าสยามสแควร์วันได้ตามปกติ

สำหรับต้นคริสต์มาสดังกล่าวได้ทำการติดตั้งประดับตกแต่งด้วยโฟมและกระดาษ โดยมีการต่อวงจรไฟฟ้าติดหลอดไฟสีต่างๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม เข้ากับบรรยากาศช่วงเทศกาลวันคริสต์มาสและเทศกาลปีใหม่ ซึ่งทำการติดตั้งประดับไว้บริเวณดังกล่าวตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ธ.ค.เปิดใช้งานเรื่อยมาทุกวัน ซึ่งอาจจะเกิดความร้อนทำให้ปลั๊กไฟหรือสายไฟเสียหาย และเป็นสาเหตุให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรจนเกิดเพลิงไหม้ดังกล่าว
https://www.youtube.com/watch?v=5GFNQjmx-iY

[ชมคลิป] ไฟช็อตลุกพรึ่บ “ต้นคริสต์มาส” ทางเชื่อมบีทีเอส-ห้างสยามสแควร์วัน
ASTV
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
28 ธันวาคม 2557 21:30 น.



วันนี้ (28 ธ.ค.) มีรายงานว่า เมื่อเวลา 15.00 น. เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน บริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส มีกลุ่มควันพวยพุ่ง และมีเแสงเพลิง สร้างความแตกตื่นให้แก่บรรดานักท่องเที่ยวที่ต่างตกใจวิ่งหนีกันอลหม่าน อย่างไรก็ตาม ล่าสุด สามารถควบคุมเพลิงไว้ได้แล้ว ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด โดยคาดว่าสาเหตุเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรบริเวณต้นคริสต์มาสที่ถูกนำมาตั้งตกแต่งหน้าห้าง
https://www.youtube.com/watch?v=EMRLogkVmFI
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2015 2:43 am    Post subject: Reply with quote

กทม.ดันสกายวอล์ครับประชุมทันตแพทย์โลกที่ไบเทคก.ย.58 สสปน.ปลื้มคาดเงินสะพัดกว่า 900 ล้านบาท
Post Today
19 ธันวาคม 2557

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. ที่โรงแรมเซนทาราแกรนด์ เซนทรัลเวิลด์ ทพ.อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา ประธานการจัดการประชุมทันตแพทย์โลก FDI 2015 (Fe’de’ration dentaire international) Bangkok แถลงข่าวจัดการประชุมทันตแพทย์โลก ปี 2015 ซึ่งประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ที่ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 22 - 25 ก.ย. 2558 โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการจัดประชุมระดับนานาชาติ เพื่อส่งเสริมสมาคมและชมรมที่เป็นสมาชิกด้านกิจกรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากทั่วโลก ทั้งนี้ ปัจจุบันมีสมาชิกองค์กร FDI มากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก และคาดว่าจะมาร่วมงานในประเทศไทย ไม่ต่ำกว่า 1.2 หมื่นคน โดยขณะนี้ พื้นที่ในศูนย์ประชุมไบเทคขนาด 1หมื่นตารางเมตร ถูกจองเต็มกว่า 60% แล้ว และน่าจะถูกจองเต็มทั้งหมดในช่วงใกล้วันจัดงาน

ด้าน พล.ท.พิศาล เทพสิทธา นายกทันตแพทยสมาคม กล่าวว่า ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ทันตแพทย์ไทย และทันตแพทย์จากต่างประเทศ จะได้เข้าร่วมงานประชุมระดับโลกในกรุงเทพฯ และสามารถทำให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ เพื่อพัฒนาวงการทันตแพทย์ต่อไป

นายสมชาย ตกสิยานนท์ ผู้อำนวยการกองการขนส่ง สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า กทม.อยู่ระหว่างการผลักดันสกายวอล์ค ระหว่างสถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข ข้ามแยกบางนาไปยังสถานีบางนา เพื่อเชื่อมต่อกับสกายวอล์คเข้าไปยังศูนย์การประชุมไบเทค โดยจะเริ่มสร้างได้ทันทีในเดือน เม.ย. นี้ โดยคาดว่า สกายวอล์คในช่วงแรกตั้งแต่แยกบางนาไปยังศูนย์การประชุมไบเทคจะสร้างเสร็จในเดือน ก.ค. ซึ่งจะทันการประชุมทันตแพทย์โลกในเดือน ก.ย. เพื่อรองรับผู้เข้าร่วมประชุมกว่าหมื่นคนแน่นอน

ขณะที่ นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) กล่าวว่า  การประชุมทันตแพทย์โลก สะท้อนให้เห็นศักยภาพของผู้จัดงาน ซึ่งสามารถทำให้หน่วยงาน FDI เห็นความสำคัญ และศักยภาพของประเทศไทยในการจัดประชุมขนาดใหญ่ได้ แม้จะมีปัญหาทางการเมืองก่อนหน้านี้ โดยคาดว่า การจัดประชุมทันตแพทย์โลกน่าจะกระตุ้นนักท่องเที่ยวกลุ่มที่เข้าร่วมประชุมสัมมนาให้เข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น และจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 900 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2015 1:46 am    Post subject: Reply with quote

ศาลปค.นัดตัดสิน21ม.ค. คดี"บีทีเอสกับคนพิการ"


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
18 มกราคม 2558 21:43 น.

นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ผู้ฟ้องคดี เปิดเผยว่า ในวันพุธที่ 21 ม.ค.นี้ เวลา 13.30 น. ศาลปกครองสูงสุด นัดอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์ กรณีคนพิการฟ้องกรุงเทพมหานคร และ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กรณีไม่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งศาลปกครองกลางได้เคยมีคำสั่ง "ยกฟ้อง" แล้วครั้งหนึ่ง เมื่อ 22 ก.ย.52 เนื่องจากกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง เพราะมีการทำสัญญาการก่อสร้างรถไฟฟ้าในปี 39 ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงมหาดไทย ที่กำหนดว่า ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ และคนชรา ได้มีผลบังคับใช้ในปี 42 ซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิค ไม่ใช่หลักการบริการสาธารณะ
"ในวันนั้นเวลา 12.00 น. ที่หน้าศาลปกครองสูงสุด คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้สนใจ จะทะยอยมารวมตัว คาดว่าประมาณร้อยกว่าคน เพื่อมาฟังคำพิพากษาร่วมกัน ในเวลา 13.00 น. จะมีการเปิดแถลงจุดยืนของเครือข่ายต่ออนาคตอิสรภาพ และความเท่าเทียมในการเดินทาง เพราะการตัดสินของศาลในวันนั้น จะถือว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ของพวกเรา ที่พวกเราได้ได้ต่อสู้เรื่องนี้มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ก่อนปี 2538 นับถึงวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 20 ปี ที่ประเทศไทยมีรถไฟฟ้า แต่คนพิการกลับไม่มีโอกาสได้เข้าถึงการใช้บริการเลย โดยเฉพาะลิฟต์ที่จะช่วยคนพิการขึ้นไปที่ชานชลาได้"
นายสุภรธรรม กล่าวว่า ทุกวันนี้รถไฟฟ้าระยะแรก ทั้ง 23 สถานี มีการติดลิฟต์แค่ 5 สถานีเท่านั้น คือ สยาม หมอชิต ช่องนนทรีย์ สนามกีฬาแห่งชาติ และ อ่อนนุช ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง และสถานีเชื่อมต่อ ทำให้คนพิการไม่สามารถลงที่สถานีอื่นได้ ที่มากไปกว่านั้นยังเป็นการติดตั้งลิฟต์แค่จุดเดียวเท่านั้น และไม่มีจุดเชื่อมต่อในการเดินทาง ทำให้เมื่อลงลงลิฟท์มาแล้ว หากคนพิการต้องการข้ามถนนอีกฝั่ง ก็ไม่สามารถทำได้ นอกจากต้องนั่งแท็กซี่ข้ามเอง ซึ่งทำให้เสียทั้งเงิน และเวลา นี่คือความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น ที่คนพิการไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะนี้ได้
" คนพิการได้ต่อสู้เรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อต้องการขับเคลื่อนสังคมไทยจาก "สังคมฐานเวทนานิยม" (Charity Base)ไปสู่ "สังคมฐานสิทธิ" (Rights Base)เพราะเรื่องที่เป็นสิทธิที่คนพิการควรได้รับอย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป และไม่มีควรมีการเลือกปฏิบัติ สิ่งที่เราเรียกร้องตั้งอยู่บนผลประโยชน์สาธารณะ เพราะการติดลิฟต์ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้คนแก่ คนพิการ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ พ่อบ้านแม่บ้านที่หิ้วของใช้และอาหารกลับบ้าน นักท่องเที่ยวที่มีประเป๋าเดินทาง เห็นได้ว่าทั้่งหมดนี้เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ของคนพิการกลุ่มเดียว เป็นไปตามมาตรฐานสากลทุกประเทศทั่วโลก"
นายพิเชฎฐ์ รักตะบุตร ผู้ฟ้องคดีอีกท่านหนึ่ง กล่าวว่า การเลือกปฏิบัติ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ที่รถไฟฟ้า BTSเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นที่รถไฟฟ้าใต้ดิน MRTด้วย เพราะถึงแม้จะมีการติดตั้งลิฟต์ครบ 18 สถานี แต่จาก 60 ทางออก มีการทางออกที่ติดลิฟต์เพียง 30 ทางออก เท่านั้น โดยบางสถานี มีลิฟต์แค่ทางออกเดียวเท่านั้น เช่น สถานีลาดพร้าว เมื่อเป็นเช่นนี้ คนพิการก็ไม่สามารถใช้ MRTได้อยู่ดี เพราะปัญหาเดิมคือ หากต้องการข้ามถนนไปอีกฝั่ง ก็ต้องรถแท็กซี่ข้ามไป เพราะระบบที่มีอยู่ ไม่ได้อำนวยความสะดวกและไม่มีทางเชื่อมต่อให้คนพิการได้ใช้บริการการขนส่งเหมือนคนทั่วไป
" ที่มากไปกว่านั้น สำหรับ MRTทุกวันนี้มีลิฟต์ก็จริง แต่ก็ไม่สามารถใช้ได้ เพราะลิฟต์ถูกล็อก ต้องมีการขออนุญาต ซึ่งกว่าจะมีคนมาเปิดให้ ก็ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 15 นาที พอเจอแบบนี้ ก็รู้สึกว่าเราเป็นภาระ เพราะฉะนั้น เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นการเลือกปฏิบัติที่สะสมมาอย่างยาวนาน ที่ทำให้เราไม่สามารถใช้ชีวิตแบบคนทั่วไปได้ เพราะการเดินทางของคนพิการมีต้นทุนที่สูงมาก ซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถเห็นได้ เพราะระบบที่เป็นอยู่ทำให้คนพิการไม่สามารถไปไหนมาไหนได้แบบคนทั่วไป" นายพิเชฎฐ์ กล่าว
เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ กล่าวว่า การเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้น เพราะผู้กำหนดนโยบายใช้หลักในการจัดการบริการสาธารณะตามหลัก“ตามที่จำเป็น”มากกว่าหลัก “เพื่อความเท่าเทียม”ในการเดินทาง โดยจากการที่เราได้สร้างความเข้าใจเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน เขาบอกว่าเหตุที่ติดลิฟต์ไม่ครบทุกทางออก เพราะมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและพบว่า บริเวณที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้า ไม่พบว่ามีคนพิการ จึงสร้างออกมาแค่นี้ ซึ่งเป็นหลักการคิดที่ไม่เป็นธรรม เขาคงลืมไปว่า ที่พวกเขาไม่เห็นคนพิการ ไม่ใช่ไม่มีคนพิการ แต่เป็นเพราะพวกเราไม่มีโอกาสได้ใช้ชีวิตแบบคนทั่วไปต่างหาก
"เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก ที่ผู้กำหนดนโยบายใช้ตรรกะนี้ ซึ่งจำเป็นต้องทบทวนอย่างเร่งด่วน เพราะขณะนี้มีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า และรถไฟใต้ดิน เกิดขึ้นทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งเท่าที่ทราบ มีการสร้างจุดติดตั้งลิฟต์สถานีละ 1 ทางออกเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์เพราะสุดท้ายคนพิการ หรือคนที่ต้องใช้รถเข็นทั้งคนแก่ คนท้อง ก็จะไม่สามารถใช้บริการได้ จึงอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาเรื่องนี้ และสร้างจุดติดลิฟท์ให้ครบทุกทางออกทุกสถานี เรามีบทเรียนมาแล้ว ไม่ควรเกิดความผิดพลาดซ้ำซากขึ้นอีก ทุกคนควรมีสิทธิเข้าถึงบริการสาธารณะ" นายสุภรธรรม กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2015 7:54 pm    Post subject: Reply with quote

ศาลนัดพิพากษาคดี BTS ไม่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
21 มกราคม 2558 08:25 น.

วันนี้ (21 ม.ค.) ศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากษา กรณีคนพิการฟ้องกรุงเทพมหานคร และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่ไม่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในรถไฟฟ้าบีทีเอส หลังมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการตั้งแต่ปี 2538 ก่อนรถไฟฟ้าบีทีเอสจะเปิดใชังานในปี 2542 แต่ภายหลังการเปิดให้บริการ ตัวแทนคนพิการเห็นว่าไม่ได้มีการดำเนินการดังกล่าว ทำให้มีการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 และต่อมาแต่ศาลได้ยกฟ้องในวันที่ 22 กันยายน 2552
ทั้งนี้ศาลยกฟ้องโดยให้เหตุผลว่า แม้มีกฎหมายว่าด้วยคนพิการตั้งแต่ปี 2534 แต่การที่กฎหมายกำหนดเพียงหลักการว่าให้มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการแต่ไม่ได้กำหนดลักษณะอุปกรณ์ไว้โดยละเอียด กรุงเทพมหานครและบริษัทบีทีเอสย่อมไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร จึงไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
ภายหลังมีคำพิพากษาตัวแทนคนพิการได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ในเดือนตุลาคม 2552 และในวันนี้ศาลปกครองสูงสุดได้นัดอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์ในกรณีดังกล่าว
ด้าน นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เปิดเผยว่า ทุกวันนี้รถไฟฟ้าระยะแรกทั้ง 23 สถานี มีการติดลิฟต์เพียง 5 สถานี ซึ่งเป็นสถานีปลายทางและสถานีเชื่อมต่อ ทำให้คนพิการไม่สามารถลงที่สถานีอื่นได้
นอกจากนี้ ยังเป็นการติดตั้งลิฟต์เพียงจุดเดียว และไม่มีจุดเชื่อมต่อในการเดินทางเมื่อลงจากลิฟต์
ขณะที่ นายพิเชฎฐ์ รักตะบุตร ผู้ฟ้องคดีอีกคนหนึ่ง เปิดเผยว่า นอกจากรถไฟฟ้าบีทีเอสยังพบว่า รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ทียังเป็นปัญหา เพราะถึงแม้จะมีการติดตั้งลิฟต์ครบ 18 สถานี แต่จาก 60 ทางออก มีทางออกที่ติดลิฟต์เพียง 30 ทางออกเท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าลิฟต์บางตัวไม่สามารถใช้ได้เพราะถูกล็อกต้องมีการขออนุญาต ซึ่งหากต้องการใช้งานจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 15 นาที


//--------------------------------------------------

กทม.ทุ่ม 200 ล้านบาท สร้างลิฟท์คนพิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอส
กอง บก.ข่าวสังคม
สำนักข่าวไทย
21 มกราคม 2558 16:44 น.

กรุงเทพฯ 21 ม.ค.- กทม.ทุ่ม 200 ล้านบาท สร้างลิฟท์คนพิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอส 18 สถานี ที่เหลือจากทางบีทีเอสติดตั้งไปก่อนหน้านี้ในสถานีที่มีความจำเป็น 5 สถานี ยืนยันไม่ได้ทำเพราะโดนฟ้องร้อง

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีศาลปกครองสูงสุดกลับคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น สั่งให้ กทม. สร้างลิฟต์โดยสารผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทุกสถานี ตามที่ตัวแทนผู้พิการได้ฟ้อง กทม. ที่ไม่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในรถไฟฟ้าบีทีเอส ว่า กทม.ได้มีแผนก่อสร้างและติดตั้งลิฟท์โดยสารเพื่อคนพิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอสทุกสถานีอยู่แล้ว ตามนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. ที่ต้องการให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเท่าเทียมในการในงานระบบโครงพื้นฐานต่างๆ ของรัฐ

นายอมร กล่าวว่า ปัจจุบัน กทม.ได้ติดตั้งลิฟท์โดยสารแล้วในเส้นทางส่วนต่อขยายที่ กทม.เป็นผู้ดูแลเอง จำนวน 11 สถานี ส่วนในเส้นทางสัมปทานจำนวน 23 สถานีนั้น ทางบีทีเอสได้ติดตั้งที่สถานีที่มีความจำเป็นแล้ว 5 สถานี ส่วนอีก 18 สถานีที่เหลือ กทม.จะดำเนินการติดตั้งเอง จำนวน 18 สถานีๆ ละ 4 ตัว รวม 72 ตัว ราคาตัวละประมาณ 3 ล้านบาท ใช้งบประมาณรวมกว่า 200 ล้านบาท ขณะนี้ กทม.ได้ประกวดราคาหาตัวผู้รับจ้างเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตามแผนจะต้องติดตั้งลิฟท์เสร็จสิ้นในปลายปี 2558 แต่เนื่องจากมีผู้ประกอบการเจ้าของอาคารที่อยู่บริเวณจุดก่อสร้างลิฟท์ ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนมายัง กทม. เพื่อคัดค้านการก่อสร้าง เนื่องจากเกรงว่าการก่อสร้างลิฟท์คนพิการจะบนบังภูมิทัศน์หน้าอาคาร จึงทำให้การติดตั้งลิฟท์ต้องยืดเยื้อออกไป

ขณะนี้ กทม.พยายามเจรจาทำความเข้าใจกับกลุ่มเจ้าของอาคารแต่ก็ไม่เป็นผล จึงขอความร่วมมือกับสมาคมผู้พิการต่างๆ ให้ร่วมกับ กทม.ในการเจราจรกับเจ้าของอาคารให้ทราบถึงความจำเป็นในการก่อสร้างลิฟท์สำหรับผู้พิการ ส่วนการติดตั้งบันไดเลื่อนให้ครบทุกสถานีนั้น กทม.ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากบันไดเลื่อน ไม่ใช่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

นายอมร ยังกล่าวอีกว่า ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสเมื่อปี 2535 ไม่ได้มีการก่อสร้างลิฟท์โดยสารเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยคนพิการปี 2534 ไม่ได้ระบุว่าต้องดำเนินการจัดสิ่งอำนวยสะดวกสำหรับคนพิการในรูปแบบใด แต่ในเวลาต่อมา กทม.ได้เจรจากับบีทีเอสเพื่อขอให้มีการติดตั้งลิฟท์ที่สถานีต่างๆ แต่บีทีเอสได้ชี้แจงว่า ในสัญญาสัมปทานที่ได้รับจากกทม.นั้น ไม่ได้ระบุให้ต้องมีการติดตั้งลิฟท์โดยสารเพื่อคนนพิการแต่อย่างใด ผู้ว่าฯกทม.จึงได้มีนโยบายจะติดตั้งเองทุกสถานีที่เหลือ และขอยืนยันว่านโยบายนี้ไม่ได้เกิดจากกรณีที่กลุ่มผู้พิการดำเนินการฟ้องร้อง กทม. และบีทีเอส แต่อย่างใด . -
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 53, 54, 55 ... 155, 156, 157  Next
Page 54 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©