RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272981
ทั้งหมด:13584277
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 77, 78, 79 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2018 11:15 pm    Post subject: Reply with quote

“บีทีเอส”ขัดข้องวันที่ 3 ประกาศคืนตั๋วได้-ให้ใช้การคมนาคมแบบอื่นแทน
พร็อพเพอร์ตี้
พุธที่ 27 มิถุนายน 2561 เวลา - 11:38 น.

จากกรณีที่รถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้องเป็นระยะ เนื่องจากระบบอาณัติสัญญาณขัดข้อง ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน

ล่าสุดช่วงเช้าวันที่ 27 มิถุนายน บีทีเอสแจ้งผ่านทวิตเตอร์ตั้งแต่ 08.30 น. ว่าขบวนรถบางขบวนเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วต่ำ และจอดที่สถานีนานกว่าปกติ ทำให้การเดินทางล่าช้าประมาณ 30 นาที โปรดเผื่อเวลาการเดินทาง จนถึงเวลา 11.00 น. การแก้ไขก็ยังไม่เสร็จสิ้น

ด้านเพจวันนี้บีทีเอสเป็นอะไร อัพเดตสถานการณ์เป็นระยะดังนี้



08.35 น. ระบบขัดข้อง เริ่มเดินรถด้วยระบบแมนนวล

08.40 น. รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทคนเริ่มหนาแน่นทุกสถานี

08.47 น. สายสีลมเริ่มหยุดนิ่งเหมือนกัน

09.00 น. เจ้าหน้าที่แต่ละสถานีเริ่มแจ้งว่าสามารถคืนตั๋วได้ โดยตั๋วเที่ยวเดียวสามารถนำกลับมาใช้ได้ใน 14 วัน มีประกาศแจ้งว่ารถจะล่าช้า 30 นาที ให้เผื่อเวลาเดินทาง

09.22 น. ที่สถานีหมอชิตคนล้นจนเจ้าหน้าที่กั้นไม่ให้คนเข้าระบบแล้ว

09.50 น.ขบวนรถหลายสถานีติดค้างมานานกว่า 30 นาที ทุกสถานีประกาศให้ผู้ที่เดินทางออกจากสถานีที่เข้าระบบ ไม่เสียเงิน ไม่เสียเที่ยวเดินทาง ตั๋วเที่ยวเดียวขอคืนเงินที่ห้องจำหน่ายตั๋ว และประกาศให้เปลี่ยนไปใช้การคมนาคมแบบอื่นแทน

10.50 น. บีทีเอสยังคงประกาศความขัดข้องของระบบ และแจ้งรถล่าช้า 15 นาที
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/06/2018 8:29 am    Post subject: Reply with quote

บีทีเอสเจ๊ง 2 วัน ผู้โดยสารกว่าแสนคนทะลักเข้าใช้รถไฟฟ้า MRT
เผยแพร่: 27 มิ.ย. 2561 18:56 โดย: MGR Online

รถไฟฟ้าบีทีเอส ขัดข้องไม่เลิก เผย 2 วันมีผู้โดยสารหันไปใช้ระบบ MRT เพิ่มรวมกว่าแสนคน ส่วนขสมก.จัดรถเมล์วิ่งเสริม ตามแนวบีทีเอสสุขุมวิทและสีลม มีผู้โดยสารใช้รถเมล์เพิ่ม วันละกว่าหมื่นคน “อาคม”สั่งแสตนบายรถเพิ่มถึง 29 มิ.ย. ขณะที่ ขบ.พบแท็กซี่ ปฎิเสธผู้โดยสารและวินมอไซด์โก่งราคา จับปรับทันที

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณี รถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง เดินรถล่าช้าตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 – 27 มิ.ย. ว่า กระทรวงคมนาคมในฐานะที่มีหน้าที่ดูแลภาพรวมระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งได้มีการทำเอ็มโอยูระหว่างหน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมด ได้แก่ บีทีเอส การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( ขสมก.) กรมขนส่งทางบก(ขบ.) และ มีการบูรณาการแผนเผชิญเหตุเมื่อมีระบบใดระบบหนึ่งขัดข้อง

ซึ่งกรณีรถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง ได้มอบหมายให้ ขสมก.จัดรถวิ่งเสริมเพิ่มเติมในเส้นทางบีทีเอสสายสุขุมวิท และสายสีลม ส่วน รฟม. ได้ให้ประชาสัมพันธ์กรณี บีทีเอสขัดข้องและผู้โดยสารต้องการเปลี่ยนการเดินทาง ซึ่งMRT จะมีจุดเชื่อมต่อกับบีทีเอสที่ สถานีอโศก,สีลม, จตุจักร ซึ่งเมื่อวันจันทร์ที่ 25 มิ.ย.ปริมาณผู้โดยสารของ MRT มีจำนวน 346,344 คน เปรียบเทียบกับช่วงวันจันทร์ 6 เดือนย้อยหลังที่มีผู้โดยสารเฉลี่ยที่ 297,086 คน เพิ่มขึ้นประมาณ 49,258 คน หรือ 12% วันอังคารที่ 26 มิ.ย.มีผู้โดยสาร 353,813 คน เปรียบเทียบกับช่วงวันจันทร์ 6 เดือนย้อยหลังที่มีผู้โดยสารเฉลี่ยที่ 300,908 คน เพิ่มขึ้นจากปกติ 52,905 คนหรือ 18 % ทั้งนี้ ทั้งขสมก.และ MRT จะคงเตรียมความพร้อมรองรับกรณีบีทีเอสขัดข้องไปจนถึงวันที่ 29 มิ.ย. นี้

โดยมีผู้ใช้รถขสมก. ในช่วงวันที่ 25 และ 26 มิ.ย. ถึง โดย ถนนสุขุมวิท มีผู้ใช้รถเมล์ 91,686 คน เพิ่มขึ้นจากปกติ 4,956 คน (5.71%)ถนนพหลโยธิน มีผู้ใช้รถเมล์ 183,939 คน เพิ่มขึ้น 4,109 คน(2.28%) และถนนสีลมมีผู้ใช้รถเมล์ 53,025 คน เพิ่มขึ้น 1,330 คน(2.57%) ขณะที่ กรมขนส่งทางบก(ขบ.) ตรวจพบรถแท็กซี่ ปฏิเสธผู้โดยสาร 5 คัน และรถจักรยานยนต์รับจ้าง เก็บค่าโดยสารเกิน 10 ราย ซึ่งได้เปรียบเทียบปรับแล้ว

ส่วนขสมก.รายงานว่า มีผู้โดยสารเพิ่มวันละกว่าหมื่นคน โดย ช่วงวันที่ 25 -26 มิ.ย. ที่มีการจัดรถวิ่งเสริม ในถนนสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-สำโรง) มีรถขสมก. 41 เส้นทาง รถร่วมฯเอกชน 32 เส้นทาง ส่วนเส้นทางบีทีเอส สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า มีรถขสมก. 36 เส้นทาง รถร่วมฯเอกชน 13 เส้นทาง ซึ่งในเส้นทางหลักที่บีทีเอส ขัดข้องหนัก จากสยาม-สำโรง ซึ่งมีรถขสมก. 8 เส้นทาง มีรถวิ่ง 210 คันได้เพิ่มอีก 34 คันเป็น 244 คัน และเพิ่มเที่ยววิ่งอีก 68 เที่ยว จาก 1,474 เที่ยวเป็น 1,542 เที่ยว

ทั้งนี้ จำนวนผู้โดยสารรถเมล์ ในวันจันทร์ที่ 25 มิ.ย. มีจำนวน 96,567 คน เปรียบเทียบกับวันจันทร์ที่ 18 มิ.ย. มีจำนวน 86,274 คน เพิ่มขึ้น 10,293 คน หรือ 11.93% ส่วนวันอังคารที่ 26 มิ.ย. มีผู้โดยสารใช้รถเมล์ จำนวน 95,279 คน เปรียบเทียบกับวันอังคารที่ 19 มิ.ย. มีจำนวน 87,316 คน เพิ่มขึ้น 7,963 คน หรือ 9.12 %

ทั้งนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้เร่งแก้ปัญหาทั้งหมดโดยเร็ว และตนได้แจ้งกับ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ในกรณีที่คมนาคมจัดรถวิ่งเสริม ซึ่งกระทรวงคมนาคม มีการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP2) ซึ่งจะรถไฟฟ้าโครงข่ายย่อย เชื่อมกับสายหลัก 10 สายในแผนระยะที่ 1 เพื่อเป็นทางเลือกกรณีสายใดสายหนึ่งมีปัญหา ซึ่งกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงใหญ่ มีประชากรกว่า 10 ล้านคน ดังนั้น ระบบขนส่งมวลชนต้องมีเพียงพอ และได้ประสิทธิภาพ

“กรณีบีทีเอสขัดข้อง เมื่อวันจันทร์ 25 มิ.ย. กระทรวงคมนาคมได้เชิญบีทีเอสหารือซึ่งจะแก้ไขติดตั้งระบบสื่อสารเสร็จในวันที่ 29 มิ.ย. นี้ ซึ่งผู้โดยสารที่ใช้บริการบีทีเอสมีจำนวนมากทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ บีทีเอสเป็นคู่สัญญาของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 จะมีคณะกรรมการกำกับกิจการให้เป็นไปตามสัญญา คณะกรรมการฯนี้จะต้องดูแลและกำหนดเวลาแก้ไข ซึ่งจะมีตัวชี้วัดระดับคุณภาพการให้บริการด้วย”นายอาคมกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2018 6:08 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กทม.จ่อปรับบีทีเอส 1.8 ล้าน หลังKPIหลุดเป้า เผยรอนานเกิน30นาที ขอคืนค่าโดยสารได้
พร็อพเพอร์ตี้
พุธที่ 27 มิถุนายน 2561 เวลา 17:23 น.

กทม.จ่อปรับ “บีทีเอส” 1.8 ล้าน เซ่นเจ๊งซ้ำซาก คาดติดเครื่อง MOXA ขยายความถี่เดินรถเสร็จศุกร์นี้
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 28 มิถุนายน 2561 เวลา 14:51
ปรับปรุง: 28 มิถุนายน 2561 เวลา 14:58




กทม.จ่อเช็กบิล “บีทีเอส” ปรับ 1.8 ล้านบาท เซ่นเจ๊งซ้ำซาก หากพบมาตรฐานเดินรถต่ำกว่าเกณฑ์ 87.5% มอบสำนักจราจรฯ พิจารณาหลัง มิ.ย.นี้ ดูทั้งจำนวนเที่ยวที่มีปัญหา ความล่าช้า และความบกพร่อง แจงล้มเลิกสัมปทานไม่ได้ เผยติดตั้งเครื่องขยายสัญญาณความถี่ MOXA เสร็จ 29 มิ.ย.นี้ พร้อมเดินรถด้วยความถี่ใหม่เสาร์นี้ เชื่อปัญหาลดลง

จากกรณีรถไฟฟ้าบีทีเอสเกิดเหตุขัดข้องบ่อยครั้ง ซึ่งเกิดจากระบบอาณัติสัญญาณในการควบคุมขบวนรถไฟฟ้าขัดข้อง จากการถูกคลื่นภายนอกรบกวน ทำให้การเดินรถไม่เสถียร จนเกินผลกระทบต่อผู้โดยสารจำนวนมาก จนโซเชียลมีเดียเกิดกระแสเรียกร้องกรุงเทพมหานคร (กทม.) ยกเลิกการให้สัมปทานบีทีเอส และให้แก้ปัญหาเรื่องคลื่นความถี่ใหม่

วันนี้ (28 มิ.ย.) นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า ตนได้หารือกับทางบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ที่ดูแลรถไฟฟ้าบีทีเอสแล้ว ว่า จะมีการชดเชยเป็นรูปธรรมอย่างไรให้แก่ผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากระบบขัดข้องดังกล่าว ซึ่งทางบีทีเอสขอเวลาในการหารือประมาณ 2-3 วัน ว่าจะชดเชยเยียวยาอย่างไร ส่วนข้อเรียกร้องให้มีการยกเลิกสัมปทานบีทีเอสนั้น น่าจะลำบากและไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะตัวสัญญาไม่ได้เปิดช่องเอาไว้ในเรื่องนี้ แต่ กทม.ในฐานะเจ้าของสัมปทานสามารถปรับบีทีเอสได้ หากไม่สามารถเดินรถได้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

“ในสัญญานั้นมีเงื่อนไขอยู่ว่า ผู้รับสัมปทานไปดำเนินการ จะต้องเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสให้มีประสิทธิภาพ ไม่ต่ำกว่า 87.5% ซึ่งจะมีวิธีการคำนวณอยู่ โดยผมได้มอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่ง ไปคำนวณดูว่า ปัญหาขัดข้องจนต้องหยุดเดินรถในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทำให้การบริการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งหากพบว่าต่ำกว่าเกณฑ์ทาง กทม.สามารถปรับบีทีเอสได้ ในอัตรา 0.6% ของค่าเดินรถทั้งเดือย ซึ่งค่าเดินรถเดือนหนึ่งอยู่ที่ประมาณ 300 ล้านบาท หากปรับจริงก็อาจอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านบาท” นายสกลธี กล่าว

เมื่อถามถึงการแก้ไขปัญหาคลื่นรบกวน ได้กำชับให้ทางบีทีเอสแก้ปัญหาอย่างไรหรือไม่ นายสกลธี กล่าวว่า ตนได้กำชับทางบีทีเอสไปแล้วว่า เมื่อเกิดเหตุขัดข้องจะต้องมีมตรการเป็นขั้นตอน 1 2 3 4 จะดำเนินการอย่างไรบ้าง ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดเป็นครั้ง และแก้ไขเป็นครั้ง ตนไม่ต้องการแบบนี้ ส่วนเรื่องปัญหาคลื่นนั้น บีทีเอสได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ 2,400 MHz การเดินรถจะวิ่งอยู่ที่คลื่น 2,400 MHz ต้นๆ โดยคลื่นที่มารบกวนคือคลื่นความถี่ 2,300 MHz ปลายๆ ซึ่งขณะนี้ทางบีทีเอาได้ใช้เครื่องม็อกซา (MOXA) ซึ่งเป็นเครื่องขยายสัญญาณ ซึ่งจะทำให้การเดินรถของบีทีเอสขยายไปอยู่ที่ความถี่ 2,400 MHz ปลายๆ เพื่อหลบเลี่ยงคลื่นรบกวน ซึ่งคาดว่าปัญหาน่าจะดีขึ้น แต่ไม่รับปากว่าจะหาย 100% โดยเวลา 19.00 น. วันที่ 28 มิ.ย. ที่ศูนย์หมอชิต ตนและทีมงานจะลงไปตรวจสอบการติดตั้งเครื่องขยายคลื่นความถี่ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งเบื้องต้นได้รับรายงานว่าจะเสร็จภายในคืนวันที่ 29 มิ.ย. นี้ และสามารถให้บริการโดยความถี่ใหม่ในวันเสาร์ที่ 30 มิ.ย. 2561 ทั้งนี้ ตนจะมีการเรียกประชุมกับทางบีทีเอสให้บ่อยขึ้น ส่วนการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่นั้น เป็นหน้าที่ของบีทีเอสที่ต้องหารือกับทาง กสทช. เพราะเป็นผู้รับสัมปทานไปดำเนินการ

นายธนูชัย หุ่นนิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. กล่าวว่า บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เป็นผู้บริหารระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส และไปว่าจ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (จำกัด) เดินรถอีกทอดหนึ่ง ดังนั้น หากมีการปรับก็จะต้องคิดกับทางเคที ส่วนการพิจารณาว่าเดินรถไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 87.5% หรือไม่นั้น จะต้องรอให้สิ้น มิ.ย. 2561 ก่อนจึงจะประเมินสภาพการเดินรถทั้งเดือน มิ.ย.ได้ โดยจะมีการหารือกับทางเคที เพื่อทำความเข้าใจในตัวสัญญาให้ตรงกัน ส่วนการพิจารณานั้นจะดึงข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์มาดูทั้งเรื่องของจำนวนที่เกิดปัญหาต่ออัตราการเดินรถทั้งหมด ความล่าช้าที่เกิดขึ้น ซึ่งหากไม่เกิน 5 นาที ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในเรื่องของการขนส่ง แต่ มิ.ย.ที่เกิดปัญหาขึ้นนั้น ก็เกินครึ่งชั่วโมง พบว่ามีถึง 2-3 ชั่วโมงที่เกิดความล่าช่า ก็ต้องนำมาพิจารณาด้วย รวมไปถึงพิจารณาว่าความบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการถูกคลื่นรบกวนนั้นเป็นความบกพร่องของฝ่ายใด ของทางเคทีหรือไม่ ซึ่งก็ต้องรอข้อมูลจากทาง กสทช.ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2018 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

สภานิสิตจุฬาฯ ออกแถลงการณ์จี้ ผู้บริหาร-กทม.รับผิดชอบ “บีทีเอส” เจ๊งบ่อย
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 27 มิถุนายน 2561 เวลา 20:08
ปรับปรุง: 28 มิถุนายน 2561 เวลา 07:19




สภานิสิตจุฬาฯ ออกแถลงการณ์ จี้ผู้บริหารบีทีเอส-กรุงเทพมหานคร แสดงความรับผิดชอบ เหตุการณ์รถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้องบ่อย จากระบบอาณัติสัญญาณถูกรบกวน จนกระทบประชาชนในการเดินทางไปเรียน ทำงาน

วันนี้ (27 มิ.ย.) สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแถลงการณ์เรื่อง ข้อเรียกร้องต่อกรณีปัญหาในการให้บริการของระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain) ว่า

ตามที่มีกรณีปัญหาเรื่องการให้บริการของระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain) ตลอดระยะเวลากว่า 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนถึงขณะนี้ อันมีสาเหตุมาจากความขัดข้องของระบบอาณัติสัญญาณและการถูกรบกวนจากคลื่นวิทยุความถี่สูง จนส่งผลกระทบให้ประชาชนผู้ใช้บริการจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งที่มีความจำเป็นและยังคงต้องใช้บริการจากระบบขนส่งมวลชนดังกล่าวได้รับปัญหาจากความไม่สะดวกในการเดินทาง อันจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการศึกษา การทำงาน และการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น

เนื่องจากการให้บริการด้านคมนาคม เป็นการจัดทำบริการสาธารณะที่มีลักษณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ฝ่ายปกครองจึงมีหน้าที่จะต้องจัดให้มีบริการสาธารณะดังกล่าว สำหรับระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้น ถือเป็นหนึ่งในบริการสาธารณะประเภทข้างต้นที่อยู่ในการกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ทำสัญญาสัมปทานมอบอำนาจให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะแทนฝ่ายปกครอง เช่นนี้ จึงตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ในการจัดทำบริการสาธารณะ คือ หลักว่าด้วยความต่อเนื่อง (principe de continuité) ที่ผู้ให้บริการจะต้องดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และหลักว่าด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง (principe d’adaptation) ที่บริการสาธารณะจะต้องสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะแก่สภาวการณ์ ความจำเป็นในทางปกครองที่จะรักษาประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งพัฒนาให้เข้ากับวิวัฒนาการความต้องการโดยรวมของประชาชนด้วย

ด้วยเหตุนี้ สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะองค์กรหนึ่งซึ่งเป็นผู้แทนนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงขอเรียกร้องให้ผู้บริหารบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้บริการ และกรุงเทพมหานครในฐานะผู้ให้สัมปทาน ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว โดยเร่งดำเนินการแก้ไขความขัดข้องที่เกิดขึ้นตามที่ได้มีการชี้แจงมาแล้วก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นและคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนตลอดจนนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
27 มิถุนายน 2561


บีทีเอสยอมติดตัวกรองคลื่นรบกวนเพิ่ม มั่นใจระบบเสถียร ส่วนชดเชยผู้โดยสารยังไม่ชัดเจน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 28 มิถุนายน 2561 เวลา 15:56
ปรับปรุง: 28 มิถุนายน 2561 เวลา 16:49


บีทีเอสขยับช่องคลื่นความถี่ พร้อมเร่งติดอุปกรณ์กรองคลื่นสัญญาณรบกวนเพิ่มเติมตามคำแนะนำของ กสทช. เสร็จเย็นวันศุกร์นี้ ด้านทีโอทีปิดสัญญาณเสาส่งคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ชั่วคราว ส่งผลวันนี้ 28 มิ.ย.บีทีเอสไม่มีปัญหาใดๆ ยังไม่ไว้ใจ ถกคมนาคม จัดแผนรับมือเช้าวันจันทร์ 2 ก.ค. ขณะที่ชดเชยผู้โดยสารสรุปสัปดาห์หน้า

วันนี้ (28 มิ.ย.) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส โดยนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ พร้อมด้วย ดร.อาณัติ อาภาภิรม ประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดการ ได้แถลงข่าวร่วมกับ นายพิชัย สุวรรณกิจบริหาร ผู้อำนวยการสำนักกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ปฏิบัติการแทนเลขาธิการ กสทช. และนายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สาย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กรณีเหตุขัดข้องในการเดินรถไฟฟ้าตั้งแต่วันจันทร์ที่ 25-27 มิ.ย. 2561 ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของผู้โดยสาร

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บีทีเอส กล่าวว่า บริษัทฯ มิได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยได้พยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ ซึ่งสาเหตุของปัญหาการขัดข้องนั้นคาดว่ามาจากการกวนกันของสัญญาณคลื่นวิทยุสื่อสารจากภายนอก ซึ่งการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสใช้ในระบบอาณัติสัญญาณ ย่านความถี่ 2400 เมกะเฮิรตซ์ ส่งผลให้ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้อง จึงส่งผลให้การเดินรถล่าช้ากว่าปกติ และทำให้มีผู้โดยสารสะสมมากในสถานีต่างๆ โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน โดยเมื่อวันพุธที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมาได้มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ณ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยมีตัวแทนจากผู้เกี่ยวข้องทั้ง 4 ฝ่าย คือ กสทช., บีทีเอส, ทีโอที และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค

ทั้งนี้ ได้ข้อสรุปว่า กสทช.ได้ขอให้ทางทีโอทีปรับลดความเข้มสัญญาณของเสาส่งตลอดเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสลงเพื่อลดการรบกวนของคลื่นวิทยุ และแนะนำให้บีทีเอสย้ายคลื่นความถี่ที่ใช้จาก 2400 เมกะเฮิรตซ์ไปอยู่ในช่วงใกล้ 2500 เมกะเฮิรตซ์ที่สามารถทำได้ รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์กรองสัญญาณเพิ่มเติม

บีทีเอสจะเร่งดำเนินการเปลี่ยนระบบสื่อสารจากโมโตโรลา มาเป็น ม็อกซา (Moxa) ของไต้หวัน และย้ายช่องคลื่นความถี่วิทยุตามที่ กสทช.แนะนำ แล้วเสร็จในคืนวันศุกร์ที่ 29 มิ.ย. ซึ่งเร่งรัดการดำเนินการจากเดิมที่จะแล้วเสร็จในเดือน ต.ค. เพื่อรองรับการเปิดเดินรถสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ในเดือน ธ.ค. 2561 และเชื่อว่าการให้บริการในวันเสาร์ที่ 30 มิ.ย. 2561 จะกลับสู่ภาวะปกติ และทางทีโอทีจะกลับไปเปิดการส่งสัญญาณ พร้อมทั้งจะส่งมอบอุปกรณ์รับสัญญาณให้ทางทีโอทีช่วยตรวจสอบเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต ซึ่งในช่วงเช้าของวันที่ 28 มิ.ย. หลังจากได้มีการปรับลดกำลังส่งของเสาสัญญาณของทีโอทีลง ปรากฏว่าการเดินรถสามารถเดินได้ตามปกติไม่ขัดข้องใดๆ

ทั้งนี้ จะต้องประเมินในวันจันทร์ที่ 2 ก.ค.อีกครั้ง เพราะเป็นวันเปิดทำงานจะมีผู้โดยสารหนาแน่น ซึ่งบริษัทจะหารือกับกระทรวงคมนาคมตามข้อตกลงในเอ็มโอยู แผนบริหารความเสี่ยงและแผนเผชิญเหตุระบบขนส่งสาธารณะทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเตรียมพร้อมรองรับหากเกิดปัญหาระบบขัดข้องได้ทันท่วงที

นอกจากนี้ เพื่อความมั่นใจในระบบมากขึ้น บีทีเอสได้เพิ่มการติดตั้งตัวกรองคลื่นสัญญาณเพื่อป้องกันการรบกวน ซึ่งจะใช้เวลาติดตั้งประมาณ 1 เดือน

สำหรับมาตรการชดเชยค่าโดยสารในช่วงที่เกิดเหตุขัดข้อง ระหว่างวันที่ 28-29 มิ.ย. ซึ่งผู้โดยสารสามารถคืนตั๋วกรณีต้องการออกจากระบบ โดยบัตรประเภทแรบบิทการ์ด ทั้งแบบเติมเงินและเติมเที่ยว จะไม่มีการตัดเที่ยวหรือค่าเดินทางใดๆ ,บัตรประเภทใช้ครั้งเดียว จะสามารถออกจากระบบและเก็บบัตรโดยสารไว้ใช้งานได้ใหม่ ภายใน 14 วัน ตามมูลค่าเดิม

ส่วนมาตรการชดเชยอื่นๆ นั้นอยู่ระหว่างการพิจารณา คาดว่าจะสรุปในสัปดาห์หน้า เนื่องจากในโครงข่ายของบีทีเอสจะมีสายสีลม สายสุขุมวิท และส่วนต่อสำโรงและบางหว้า และยังมีในส่วนของผู้ถือตั๋วเดือนประมาณ 30% ของผู้โดยสารทั้งหมดที่อาจจะไม่ได้เดินทางในวันที่ระบบขัดข้องนั้นจะถูกจำกัดด้วย ต้องหามาตรการชดเชยให้เหมาะสม ซึ่งปกติจำนวนผู้โดยสารบีทีเอสเฉลี่ยจะมีประมาณ 6.6 แสนเที่ยว-คนต่อวัน โดยวันธรรมดา จันทร์-ศุกร์ จะมีผู้โดยสารเฉลี่ยถึง 7.4 แสนเที่ยว-คนต่อวัน

นายพิชัย สุวรรณกิจบริหาร ผู้อำนวยการสำนักกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม กสทช. กล่าวว่า การสรุปว่าคลื่นใดรบกวนแน่นอนจะต้องใช้เวลาตรวจสอบ ซึ่งคลื่นความถี่ที่ กสทช.อนุญาตให้บีทีเอสใช้ ช่วงย่านความถี่ 2400-2500 เมกะเฮิรตซ์ มีช่องสัญญาณ 20 ช่อง แต่เท่าที่ทราบบีทีเอสใช้ช่องสัญญาณประมาณ 3 ช่อง หากคิดว่าคลื่น 2300 รบกวน ให้บีทีเอสขยับไปใช้ความถี่ใกล้ๆ 2500 เมกะเฮิรตซ์

นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า การย้ายช่องความถี่ช่วง 2480-2495 เมกะเฮิรตซ์ เป็นการช่วยแก้ปัญหาได้ดีที่สุด เพราะอุปกรณ์ของบีทีเอสเดิมมีช่องสัญญาณกว้าง จะไม่โฟกัสเท่ากับอุปกรณ์ตัวใหม่ที่จะแคบและบีบรับข้อมูลที่ต้องการชัดเจนกว่า และถูกรบกวนจากสัญญาณอื่นได้ยาก อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าย่านความถี่ 2310-2370 ของทีโอทีที่มีระบบมือถือใช้อยู่จะไม่รบกวน 2400-2500 เมกะเฮิรตซ์แน่นอน

***แจงมีข้อมูลข่าวที่เป็นเท็จ
ในขณะนี้ได้มีการเผยแพร่ภาพ Infographic และข้อมูลเท็จจำนวนมาก ซึ่งระบุว่าผู้ใช้บริการสามารถโดยสารบนระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทางบริษัทฯ ขอแจ้งให้ทราบว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทางบริษัทฯ อยู่ระหว่างการประเมินและพิจารณาเพื่อสรุปวิธีการเยียวยาผู้ใช้บริการซึ่งได้รับผลกระทบระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยจะประกาศให้ทราบอีกครั้งหนึ่งผ่านช่องทางเฉพาะของบริษัทฯ เท่านั้น ในระหว่างนี้ขอให้ผู้ใช้บริการและสื่อมวลชนทุกท่านโปรดอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม และตรวจสอบข้อมูลทุกครั้ง

อนึ่ง สามารถรับข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากทางบีทีเอสเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข่าวสารกรณีเหตุการณ์เดินรถขัดข้อง และสามารถวางแผนการเดินทางได้ทันท่วงที โดยบริษัทฯ ได้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ทราบผ่านช่องทางทวิตเตอร์ www.twitter.com/bts_skytrain แอปพลิเคชันไลน์ @Btsskytrain และเฟซบุ๊ก www.facebook.com/BTS.SkyTrain ซึ่งจะมีการแจ้งสถานการณ์ และรายการความคืบหน้าเป็นระยะ เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับทราบเหตุขัดข้องและการแก้ไข

สุดท้ายนี้ ทางบริษัทฯ ต้องขออภัยอีกครั้งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจะพยายามอย่างเต็มที่ในการแก้ไขให้ระบบไฟฟ้าบีทีเอสสามารถให้บริการได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2018 7:31 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.จ่อปรับ “บีทีเอส” 1.8 ล้าน ยันยกเลิกสัมปทานไม่ได้จนหมดสัญญาปี’85
28 มิถุนายน 2561 เวลา 08:08น.


รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เผยไม่สามารถยกเลิกสัมปทานกับรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ จนกว่าจะสิ้นสุดสัญญาการเดินรถในปี 2585 ขณะเดียวกันจะมีการพิจารณาเปรียบเทียบปรับเงินบีทีเอส 1.8 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าชดเชยถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ขณะที่ กสทช. ขอความร่วมมือทีโอที ปิดคลื่นความถี่ตามแนวรถไฟฟ้าในระหว่างที่ บีทีเอส กำลังแก้ไขระบบรับสัญญาณวิทยุใหม่

กทม.จ่อปรับ “บีทีเอส” 1.8 ล้าน ยันยกเลิกสัมปทานไม่ได้จนหมดสัญญาปี’85

วันนี้ (28 มิ.ย.61) ปัญหาระบบอาณัติสัญญาณรถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้องในเมื่อวานนี้ (27 มิ.ย.61) เริ่มตั้งแต่ช่วงเวลา 08.30 น. ในสายสุขุมวิท และสายสีลม ทำให้สถานีรถไฟฟ้าหลายแห่งมีผู้โดยสารตกค้างจำนวนมาก ประชาชนจำนวนไม่น้อย ตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้บริการรถสาธารณะอื่นแทน จากการสอบถามประชาชนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เริ่มไม่เชื่อมั่นในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอสว่า จะรวดเร็วและตรงเวลา เพราะขัดข้องบ่อย


สำหรับการหารือร่วมกันระหว่างสำนักงาน กสทช. ผู้บริหารบีทีเอส ทีโอที และดีแทค ได้ข้อสรุปแนวทางแก้ปัญหารถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง เบื้องต้นทีโอทีจะปิดสัญญาณคลื่นย่านความถี่ 2300 เมกะเฮิรตซ์ ( MHz) ตามแนวของรถไฟฟ้าประมาณ 10 สถานีฐาน เพื่อป้องกันการรบกวนระบบวิทยุสื่อสารในระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2400 MHz ในระหว่างที่บีทีเอสทำการปรับเปลี่ยนระบบรับสัญญาณวิทยุใหม่ โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ยืนยันว่า การปิดคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz ของทีโอที จะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือค่ายดีแทคที่เช่าใช้โครงข่ายดังกล่าว เพราะสามารถเปลี่ยนไปใช้คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz ได้


ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ระบุว่า ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายนนี้ เป็นต้นไปการบริการน่าจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ แต่ยอมรับว่าในช่วงตลอดสัปดาห์นี้รถไฟฟ้า บีทีเอสยังมีโอกาสขัดข้องอยู่บ้าง ทั้งนี้ ผู้บริหารบีทีเอสอยู่ระหว่างหาข้อสรุปในส่วนของการเยียวยาผู้ใช้บริการที่ได้รับผลกระทบตลอดสัปดาห์นี้


ขณะที่นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ความขัดข้องดังกล่าว ถือว่าเป็นความผิดพลาดไม่เป็นไปตามมาตรฐานงานบริการ ดังนั้น กทม.จะมีการพิจารณาเปรียบเทียบปรับเงินบีทีเอสที่ 1.8 ล้านบาทเพื่อเป็นค่าชดเชยถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ส่วนกรณีการพิจารณายกเลิกสัมปทานเดินรถของบีทีเอสหากเกิดข้อผิดพลาดซ้ำซากนั้น ยืนยันว่าไม่สามารถยกเลิกสัญญาสัมปทานกับรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ จนกว่าจะสิ้นสุดสัญญาการเดินรถในปี 2585 ซึ่งความเสียหายจากการให้บริการตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา พบเหตุขัดข้อง 27 ครั้ง สร้างความเดือดร้อนให้ผู้ใช้บริการ จึงทำหนังสือด่วนขอให้บีทีเอส ชี้แจงสาเหตุการเดินรถขัดข้องรวมถึงแนวทางแก้ไขและหามาตรการเยียวยาให้กับผู้ใช้บริการ

อย่างไรก็ตามเมื่อวานนี้ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือ เอ็มอาร์ที (MRT) พบว่าเมื่อ 07.41 น. มี default ขึ้นที่หน้าจอว่า “แรงดันเบรกต่ำ”ในรถสายสีน้ำเงินขบวนหนึ่ง ที่เทียบอยู่ที่สถานีเตาปูน จึงต้องเปลี่ยนขบวนใหม่ที่ชานชลาอีกฝั่งแทน ปัญหาทั้งหมดแก้ไขได้ใน 4 นาที แต่เนื่องจากสถานีเตาปูนช่วงเช้ามีผู้โดยสารจำนวนมากอยู่แล้ว จึงมีผู้โดยสารสะสมมาก ด้าน ขสมก. ได้เพิ่มจำนวนรถเมล์ตลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส ทั้งสายสุขุมวิท และสีลม จนถึงวันศุกร์นี้ เพื่อรองรับปัญหารถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/06/2018 12:32 pm    Post subject: Reply with quote

โซเชียลฯ สุดแซะ ล้อเลียน BTS เสียบ่อยเกิ๊น!!
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 27 มิถุนายน 2561 เวลา 17:03



พร้อมพงษ์ - พร้อมพัง, นานา - นานนาน, เพลินจิต - เพลียจิต, อุดมสุข - อุดมทุกข์, สยาม - สยอง, สนามเป้า - สนามเศร้า, ชิดลม - สิ้นลม กระแสแรงในโซเชียลฯ หลังจากกรณีรถไฟฟ้า BTS เสียติดต่อกันนานหลายวัน ทำให้เกิดการทำภาพล้อเลียนชื่อสถานีต่างๆ ของ BTS ขึ้นในโลกออนไลน์ ทางทีมข่าวผู้จัดการ Live จึงได้รวบรวมภาพล้อเลียนมาให้ชมกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/06/2018 4:25 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.วืดค่าปรับ "บีทีเอส" เจ๊งบ่อย 1.8 ล้าน เหตุไม่มีกำหนดในสัญญา
โดย: MGR Online

เผยแพร่: 29 มิถุนายน 2561 เวลา 14:16


กทม.วืดค่าปรับ "บีทีเอส" 1.8 ล้านบาท เหตุไม่มีกำหนดค่าปรับในส่วนสัมปทาน ขณะที่ส่วนต่อขยายยกเว้นค่าปรับไว้ หากความล่าช้าการเดินรถเกิดจากส่วนสัมปทาน ปรับได้เฉพาะเรื่องความผิดในการจ้างเท่านั้น ยันขยายคลื่นความถี่เดินรถใหม่ทั้ง 52 ขบวน เสร้จสิ้นในคืนนี้

จากกรณีรถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้องบ่อยครั้งตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจำนวนมากจากการเดินทางที่ล่าช้า โดยสาเหตุมาจากระบบอาณัติสัญญาณที่ถูกคลื่นความถี่ 2300 MHz รบกวน จนมีการเรียกร้องให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ยกเลิกสัมปทาน ซึ่ง กทม.ระบุว่าไม่สามารถทำ แต่อาจสามารถปรับเป็นเงิน จากการเดินรถที่ไม่ได้ประสิทธิภาพตามกำหนด

วันนี้ (29 มิ.ย.) นายธนูชัย หุ่นวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงการลงตรวจเยี่ยมการดำเนินงานศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสที่หมอชิต ที่นำโดย นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯ กทม. เมื่อค่ำวันที่ 28 มิ.ย. ที่ผ่านมา ว่า ในส่วนของการเปลี่ยนระบบการสื่อสารของบีทีเอสจากโมโตโรลา มาเป็น ม็อกซา (Moxa) เพื่อย้ายคลื่นความถี่วิทยุจาก 2400 MHz ไปอยู่ช่วง 2480-2495 MHz เพื่อเลี่ยงการถูกคลื่นความถี่ 2300 MHz รบกวนนั้น จะดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จทั้งหมด 52 ขบวน ภายในคืนวันที่ 29 มิ.ย. นี้ และในวันที่ 30 มิ.ย. ก็จะสามารถเดินรถด้วยคลื่นใหม่ได้ทันที สำหรับการติดตั้งเครื่องกรองสัญญาณเพิ่มเติมในทุกขบวนนั้น ยังคงต้องใช้เวลา คาดว่าอาจจะแล้วเสร็จภายในสิ้น ก.ค.นี้ ก็จะทำให้การเดินรถเสถียรขึ้น

นายธนูชัย กล่าวว่า ส่วนประเด็นเรื่องการเยียวยาผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบนั้น ขณะนี้ทางบีทีเอสอยู่ระหว่างการหารือว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งรองผู้ว่าฯ กทม.เองก็กำชับว่าจะต้องมีมาตรการรองรับด้วย เช่น การประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารรู้ก่อนที่จะเข้าระบบว่าการเกดินรถมีปัญหา ไม่ใช่เข้าไปในระบบแล้วเพิ่งจะทราบว่าเกิดปัญหาขึ้น เป็นต้น ขณะที่การปรับบีทีเอส 1.8 ล้านบาท หากเดินรถไม่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 97.5% นั้น อาจไม่สามารถทำได้

"ตอนแรกที่ทาง กทม.จะปรับบีทีเอสในการเดินรถล่าช้านั้น คงไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากในส่วนของสัมปทานไม่มีการกำหนดเรื่องค่าปรับเอาไว้ จะมีแค่ในส่วนต่อขยาย 2.2 กิโลเมตร ที่ระบุเรื่องของค่าปรับไว้ แต่เป็นในส่วนของการจ้าง และมีข้อยกเว้นว่า หากความล่าช้าเกิดขึ้นจากส่วนของสัมปทาน ซึ่งไม่เกี่ยวเรื่องของการจ้างจะไม่สามารถปรับได้ เนื่องจากตอนยกร่างมีความกังวลหากส่วนของสัมปทานมีความล่าช้า ก็จะทำให้ส่วนต่อขยายมีความล่าช้าไปด้วย ก็จะทำให้เกิดค่าปรับจำนวนมาก ขณะที่ความล่าช้าที่เกิดขึ้นก็เกิดจากปัจจัยภายนอก รวมถึงการที่บีทีเอสซื้ออุปกรณ์ต่างๆ มาเสริมเพื่อแก้ปัญหาก็มีราคาสูงกว่าค่าปรับมาก" นายธนูชัย กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/06/2018 8:15 pm    Post subject: Reply with quote

กสทช.ลงพื้นที่ BTS จันทร์ 2 ก.ค. เช็คให้ชัวร์ว่าไร้ปัญหาคลื่นตีกัน
วันที่ 29 มิถุนายน 2561 เวลา 17:25 น.

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) แจ้งว่า ในวันจันทร์ 2 ก.ค. 2561 เวลา 05.50 น. สำนักงาน กสทช. ร่วมกับ กทม. BTS TOT และ DTAC จะร่วมตรวจการให้บริการรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว หลัง BTS เปลี่ยนอุปกรณ์ ก่อนประชาชนใช้บริการในชั่วโมงเร่งด่วนเช้าวันจันทร์

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 2 ก.ค. 2561 เวลา 05.50 น. สำนักงาน กสทช. ร่วมกับ กทม. BTS TOT และ DTAC ร่วมตรวจการให้บริการรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ว่า สามารถให้บริการประชาชนที่จะเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าวันจันทร์นี้ได้เป็นปกติหรือไม่



ภายหลังจากที่รถไฟฟ้า BTS ได้แก้ไขปัญหาระบบรถไฟฟ้าขัดข้อง ตามแนวทางที่ได้จากการประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ระหว่างสำนักงาน กสทช. BTS TOT และ DTAC ด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้า BTS ที่จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในวันนี้ (29 มิ.ย. 2561) รวมถึงการที่ TOT และ DTAC ให้ความร่วมมือปิดเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่คลื่นความถี่ 2300 MHz สถานีที่อยู่ตามแนวทางเดินรถไฟฟ้า และ BTS ได้ขยับช่องสัญญาณความถี่จากเดิมไปใช้ช่วงความถี่ 2480-2495 MHz ให้ห่างจากคลื่นความถี่ 2300 MHz ของ TOT แล้ว

การตรวจสอบจะแบ่งเป็น 2 ช่องทาง คือ ช่องทางแรก ตรวจสอบการให้บริการของรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว โดยเริ่มออกจากสำนักงาน กสทช. เวลา 05.50 น. แล้วเริ่มใช้บริการรถไฟฟ้า BTS จากสถานีอารีย์ ในเวลา 06.00 น. ไปยังสถานีสยาม แล้วไปสิ้นสุดที่สถานีพร้อมพงษ์ ขากลับเริ่มจากสถานี พร้อมพงษ์ สิ้นสุดที่สถานีรถไฟฟ้าอารีย์

ช่องทางที่ 2 สำนักงาน กสทช. จะส่งรถตรวจสอบสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุและการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของสำนักงานฯ ออกวิ่งตรวจสอบตามสถานีรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว คู่ขนานกันไป โดยรถตรวจสอบฯ จะออกจากสำนักงาน กสทช. ในเวลา 05.50 น.

การตรวจสอบเพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ให้กับประชาชน และเป็นการยืนยันว่า หลังจาก BTS ได้ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ และย้ายตำแหน่งการใช้งานคลื่นความถี่ของระบบอาณัติสัญญาณจากเดิม มาเป็น 2480-2495 MHz ไปชิดกับคลื่นความถี่ 2500 MHz ห่างจากคลื่นความถี่ 2300 MHz ของ TOT ตามคำแนะนำของสำนักงาน กสทช. แล้ว จะมีการรบกวนเกิดขึ้นอีกหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2018 3:08 am    Post subject: Reply with quote

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
วันที่ 29 มิถุนายน 2561

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ขอเรียนข้อเท็จจริง กรณีรถไฟฟ้า BTS ขัดข้องว่า การใช้งานย่านความถี่ 2300 MHz ของ ทีโอที ไม่ได้ส่งคลื่นใด ๆ กระทบต่อ ระบบสื่อสารอาณัติสัญญาณ ของรถไฟฟ้า BTS แต่อย่างใด เพราะการใช้คลื่นความถึ่ในแต่ละช่วง จะไม่ส่งผลรบกวนซึ่งกันและกัน หากผู้ใช้ ย่านความถี่นั้น ๆ มีระบบป้องกันคลื่นรบกวน อย่างไรก็ตาม ทีโอที หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทางรถไฟฟ้า BTS จะสามารถเร่งดำเนินการ เพื่อให้บริการ รถไฟฟ้าได้ตามปกติ เพื่อลดความเดือดร้อน ของประชาชนผู้ใช้บริการต่อไป
https://www.facebook.com/TOTPublic/photos/a.180015188833223.1073741829.178456125655796/962757770558957/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/07/2018 8:23 am    Post subject: Reply with quote

แก้ปัญหาเดี้ยงซ้ำซากบีบ BTS เปลี่ยนใช้คลื่น 900
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 2 July 2018 - 07:30 น.

กดดัน “บีทีเอส” ยื่นขอใช้คลื่น 900 MHz หวังแก้ปัญหาเบ็ดเสร็จ ชี้ขยับช่วงคลื่นหลบ 2300 MHz ของดีแทค แก้ได้แค่ชั่วคราว มีสิทธิโดนคลื่น 2600 MHz ป่วนรอบใหม่ ย้ำต้องลงทุนระบบป้องกันคลื่นแทรก ฟาก “บีทีเอส” เดินหน้าซื้ออุปกรณ์กรองสัญญาณ พร้อมควักกระเป๋าลงทุนยกเครื่อง สร้างความเชื่อมั่น

กรณีรถไฟฟ้า “บีทีเอส” ขัดข้องและตั้งข้อสังเกตว่าเกิดจากคลื่น 2300 MHz รบกวนทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องหารือร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประกอบด้วย สำนักงาน กสทช., ตัวแทน บมจ.ทีโอที, บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(ดีเเทค) และ บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (บีทีเอส) โดย กสทช.แนะบีทีเอสย้ายคลื่นจาก2400 Mhz ไปใช้ 2485-2495 Mhz และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการรบกวนสัญญาณ ขณะที่ทีโอทีจะปิดสัญญาณ 10 แห่ง

แนะหารือ กทม.ขอจัดสรรคลื่น

พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศกน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัญหาคลื่นรบกวนระบบรถไฟฟ้า BTS เนื่องจาก BTS ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณตั้งแต่สมัยยังไม่มี กสทช. หรือ กทช. ซึ่งยุคนั้นมีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้ดูแลคลื่นความถี่ อีกทั้งยังเลือกใช้คลื่นย่าน 2400 MHz เป็นคลื่นอันไลเซนส์แบนด์ ไม่ต้องขออนุญาตและจ่ายค่าใช้คลื่น

“คลื่นย่านอันไลเซนส์แบนด์ ใคร ๆ ก็ใช้ได้ แต่ผู้ใช้ต้องยอมรับปัญหาที่คลื่นโดนรบกวนและต้องลงทุนติดตั้งระบบป้องกัน ปัญหาเพราะอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เก่ามาก เห็นได้ชัดจากแถบคลื่นที่ BTS ใช้กว้างมาก”

ส่วนการจัดสรรคลื่นไว้เฉพาะสำหรับระบบราง ปัจจุบัน กสทช.ไม่ได้กำหนดไว้ในแผนแม่บทคลื่นความถี่แต่อนุมัติย่าน 900 MHz จำนวน 5 MHz ไว้สำหรับระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งยังมีเพียงพอที่ระบบอาณัติสัญญาณของขนส่งทางรางอื่น ๆ จะมาใช้ด้วยได้ เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ใช้คลื่นไม่กว้างมาก

“BTS อยากขอใช้คลื่นเฉพาะต้องให้เจ้าของสัมปทาน คือ กรุงเทพมหานคร มายื่นขอ เพราะถ้าเป็นการใช้งานคลื่นในย่านโทรคมนาคม กฎหมายระบุต้องทำด้วยการประมูล แต่เป็นหน่วยงานรัฐขอเพื่อสาธารณะ ก็จัดสรรให้ได้”



ITU เตรียมกำหนดมาตรฐานคลื่น

ด้าน พล.อ.ต.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ที่ กสทช.ไม่ได้กันช่วงคลื่นสำหรับการใช้ในกิจการขนส่งระบบรางหรือขนส่งสาธารณะทางบกไว้เฉพาะ แต่กันไว้สำหรับกิจการการบินและเดินเรือ เนื่องจากตามแนวคิดเดิม กิจการขนส่งสาธารณะทางบกหรือระบบขนส่งทางรางเป็นส่วนหนึ่งของบริการโมบายเซอร์วิส ในต่างประเทศเลือกใช้ย่านความถี่โดยเสรี เพราะมักเป็นการให้บริการในประเทศไม่ได้เชื่อมต่อกันข้ามประเทศเหมือนการคมนาคมทางเรือ และทางอากาศ ที่ต้องมีย่านคลื่นสากลใช้ร่วมกันเพื่อให้สื่อสารกันได้ต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ในการประชุม WRC 2017 (World Radiocommunication Conference 2017) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เริ่มหารือเกี่ยวกับการจัดสรรย่านความถี่สากลสำหรับกิจการคมนาคมทางบก เพื่อรองรับการวางระบบอาณัติสัญญาณการสื่อสารที่เชื่อมต่อข้ามพรมแดนกันได้ (RSTT : railway radiocommunication systems) ตามแนวโน้มที่จะเกิดโครงการวางระบบขนส่งทางรางเชื่อมระหว่างประเทศและทวีปต่าง ๆ มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาระบบรถยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ (intelligent transport system) อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ

สำหรับย่านความถี่ที่มีเสนอกันในที่ประชุม WRC 2017 ว่าเหมาะสมเป็นย่านความถี่สากลสำหรับกิจการคมนาคมทางบก รวมถึงระบบราง คือ ย่าน138-174 MHz ย่าน 335-470 MHz และย่าน 873-915 MHz คู่กับ 918-960 MHz ในประเทศไทยได้อนุมัติย่าน 885-890 MHz คู่กับ 930-935 MHz ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยใช้กับระบบสื่อสารรถไฟความเร็วสูงแล้ว ตามมติที่ประชุม กสทช.วันที่ 19 ก.ค. 2560

ขยับคลื่นหนีแก้ได้ชั่วคราว

แหล่งข่าวจากสำนักงาน กสทช.แสดงความเห็นว่า ในระดับสากลยังไม่มีจัดคลื่นไว้ให้ระบบขนส่งทางรางโดยเฉพาะ ที่ผ่านมาการเลือกใช้คลื่นย่านใดเป็นการพิจารณาของเจ้าของระบบเอง ซึ่งประเทศไทยไม่ใช่ผู้ผลิตเทคโนโลยีจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอของผู้ผลิตอุปกรณ์ มีทั้งจีน, ยุโรป และสหรัฐ โดยหลายกรณีเลือกใช้ย่านคลื่นต่างกัน กสทช.มองว่าหากกำหนดย่านคลื่นเฉพาะไว้อาจไม่ยืดหยุ่นต่อการเลือกใช้เทคโนโลยีใหม่

ส่วนกรณีของการเลือกใช้คลื่น 2400 MHz ของบีทีเอสที่ผ่านมาไม่ได้ลงทุนติดตั้งระบบป้องกันคลื่นรบกวน เพราะไม่มีผู้ใช้รายใหญ่อยู่ใกล้เคียง แต่ขณะนี้หากไม่ลงทุนระบบให้รัดกุมจะเกิดปัญหาต่อเนื่องแน่นอน เพราะนอกจาก “ทีโอทีและดีแทค” จะใช้คลื่นย่าน 2300 MHz แล้ว บมจ.อสมท ยังเริ่มทดลองให้บริการโมบายทีวีบนคลื่น 2600 MHz ด้วย ดังนั้นการย้ายช่วงคลื่นไปให้ห่างจากคลื่น 2300 MHz ไม่ทำให้ปัญหาจบ

ซื้ออุปกรณ์กรองสัญญาณเพิ่ม

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า ขณะนี้การเดินรถไฟฟ้าเป็นไปตามปกติ หลังทำงานร่วมกับทุกฝ่ายทั้งคณะกรรมการ กสทช.และ บมจ.ทีโอที โดย กสทช.ปรับลดความเข้มสัญญาณคลื่นวิทยุภายนอกลง เพื่อลดการรบกวนในช่วงที่บีทีเอสติดตั้งอุปกรณ์รับส่งสัญญาณใหม่จากโมโตโรล่าที่รับคลื่นสัญญาณได้กว้างมาเป็น “ม็อกซ่า” จากประเทศไต้หวันที่รับคลื่นสัญญาณได้แคบลง และได้แนะนำให้บีทีเอสย้ายช่องคลื่นจาก 2400 MHz ไปใกล้ 2500 MHz พร้อมติดตั้งอุปกรณ์กรองสัญญาณเพิ่มเพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นภายนอก

“เราซื้ออุปกรณ์รับส่งสัญญาณใหม่ เปลี่ยนทั้งเส้นเดิม และติดตั้งในส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต เงินลงทุนมีหลายส่วน ตามแผนจะเสร็จ ต.ค.นี้ แต่เร่งให้เร็วขึ้นเป็น 29 มิ.ย. หลังจากต้น มิ.ย.มีคลื่นรบกวนบ่อย ล่าสุดลงทุนซื้ออุปกรณ์กรองสัญญาณเพิ่มหลาย 100 ตัว ติดบริเวณหัว-ท้ายขบวนรถ ทั้งรถเดิม 52 ขบวน และรถใหม่ที่สั่งซื้อ 48 ขบวน ค่าใช้จ่ายยังไม่ได้ประเมิน โดยให้บอมบาดิเอร์ดำเนินการไปก่อน เสร็จ ก.ค.นี้ จะช่วยคลี่คลายปัญหาได้ และอาจช่วยกันคลื่น 2600 MHz ที่จะออกมาปลายปี 2562 ได้ด้วย”

ทั้งนี้ระบบเดินรถของบีทีเอสใช้ 2 ความถี่ คือ ย่าน 800-900 MHz เป็นระบบสื่อสาร trunk radio จ่ายค่าคลื่นให้ กสทช.ทุกปี อีกคลื่นเป็น 2400-2500 MHz สำหรับรับส่งในระบบอาณัติสัญญาณเป็นมาตรฐานของระบบ บอมบาดิเอร์ที่ซื้อระบบมาติดตั้งในบีทีเอสเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกใช้กัน ซึ่ง 9 ปีที่ผ่านมาไม่มีปัญหา เราก็ไม่อยากให้ปัญหาเกิด แต่เป็นเรื่องเทคโนโลยีที่มองไม่เห็น บริษัทก็เสียหายไม่ใช่น้อยจากปริมาณผู้โดยสารที่ลดลง จากปกติ 7-8 แสนเที่ยวคนต่อวัน

จ่อลงทุนใหม่แก้ระยะยาว

“ระยะยาวต้องหาทางป้องกันต่อไป ถ้าป้องกันไม่ได้ก็จะไปคุยกับ กสทช.ขอใช้คลื่นอื่นได้หรือไม่ ต้องคุยกับบอมบาดิเอร์ด้วยว่า ระบบอาณัติสัญญาณของเขารองรับได้ไหม ถ้าได้รองรับคลื่นไหนบ้าง กสทช.จะมีคลื่นให้ไหม ไม่ใช่เราขี้เหนียว ไม่ลงทุน แต่ที่ใช้คลื่น 2400-2500 MHz คลื่นสาธารณะรูปแบบเดียวกับไวไฟ เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก เราซื้อระบบอาณัติสัญญาณเขามาจะไปเปลี่ยนก็เป็นปัญหาทั้งต้องใช้เวลา เพราะต้องออกแบบ สั่งซื้ออุปกรณ์ใหม่” นายสุรพงษ์กล่าว และว่า ส่วนมาตรการเยียวยาผู้โดยสารใช้บริการแล้วประสบปัญหาระบบขัดข้องเปลี่ยนใจไม่ใช้บริการก็จะมีการคืนเงินให้ ขณะที่ผู้โดยสารที่ใช้บัตรรายเดือนมีอยู่ 30% กำลังพิจารณาว่าจะชดเชยให้รูปแบบไหน

ความถี่เฉพาะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์

ด้านนายพิชัย สุวรรณกิจบริหาร ผู้อำนวยการ สำนักงาน กสทช. กล่าวว่า หลัง กสทช.เชิญทีโอที และบีทีเอส มาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน ตั้งแต่เย็นวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา เชื่อว่าอุปกรณ์รับส่งสัญญาณใหม่ที่นำมาติดตั้งจะใช้งานในระบบอาณัติสัญญาณเพื่อควบคุมการเดินรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“บีทีเอสใช้คลื่น 2400-2500MHz แต่อุปกรณ์ใช้แค่ 5 เมกะเฮิรตซ์ สามารถขยับได้ช่องที่ 1-20 ภายใต้กรอบที่ได้รับอนุญาตจาก กทสช.เป็นข้อจำกัดของอุปกรณ์เขาเช่นกัน แต่ถ้าย้ายไปช่องอื่นที่เป็นแอร์อินเตอร์เฟด เช่น ความถี่ 800-900 MHz ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่หมด ค่าใช้จ่ายสูงมาก ต้องเริ่มกระบวนการใหม่ ควรใช้ความถี่เป็นช่องเฉพาะดีกว่า กสทช.กันคลื่นไว้ให้รถไฟความเร็วสูง ทั้งรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และเชื่อม 3 สนามบิน บีทีเอสขอใช้คลื่นช่องนี้ได้ อยู่ที่ดีไซน์อุปกรณ์”

รายงานข่าวแจ้งว่า หากบีทีเอสจะเปลี่ยนไปใช้ช่องคลื่นอื่นแทน 2400-2500 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนเป็น 1,000 ล้านบาทขึ้นไป เพราะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ทั้งหมด

โยนเอกชนขอไลเซนส์เอง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หลังจากนี้รถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงที่กำลังลงทุนไม่มีอะไรต้องห่วงรถไฟความเร็วสูง กสทช.ได้จัดสรรคลื่นความถี่ไว้ให้แล้ว โดยคมนาคมจะเป็นผู้กำกับดูแลว่าได้ปฏิบัติตามแบบที่สัญญาระบุไว้หรือไม่ ทั้งในขั้นตอนการออกแบบของแต่ละโครงการมีระบุไว้แล้วว่า ต้องมีระบบป้องกันรองรับด้วย ทุกโครงการใช้ระบบอาณัติสัญญาณที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ จะติดตั้งระบบกรองหรือป้องกันคลื่นสัญญาณจากแหล่งอื่นรบกวนอยู่แล้ว

กทม.เล็งปรับหากหลุด KPI

นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยว่า การเยียวยาผู้โดยสารระยะสั้น บีทีเอสจะพิจารณาเป็นกรณีไป อาทิ หากหยุดเดินรถ 30 นาทีหรือหนึ่งชั่วโมงขึ้นไปจะเยียวยาผู้โดยสารอย่างไร ส่วนการเลิกสัมปทานคงไม่ได้ แต่ในสัญญาจ้างเดินรถช่วงส่วนต่อขยายหากบีทีเอสดำเนินการไม่ได้ตาม KPI จะพิจารณาเปรียบเทียบปรับได้ 0.6% ของวงเงินจ้างเดือนละ 300 ล้านบาท หรือ 1.8 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งผลประเมิน มิ.ย.ยังไม่ออก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 77, 78, 79 ... 155, 156, 157  Next
Page 78 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©