Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180078
ทั้งหมด:13491310
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว Airport Link
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 152, 153, 154 ... 159, 160, 161  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2021 3:49 pm    Post subject: Reply with quote

ส่องหน้า มองหลัง วิกฤต 10 ปี 10 ความทรงจำ "แอร์พอร์ตลิงค์" ก่อนเปลี่ยนมือ
นิวส์มอนิเตอร์
พฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2564 เวลา 08:12 น.


“เสียงรถด่วน ขบวนสุดท้าย” คงเป็นเพลงที่คุ้นหู แต่เสียงที่ว่า กลับไม่ใช่เป็นเสียงรถไฟ แต่เป็นเสียงติ ที่กลายเป็นความคุ้นเคยสะท้อนมาตลอด 10 ปี ก่อนจะเปลี่ยนมือไปยังบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสนามบิน จำกัด คนกรุงเทพฯที่ต้องเดินทาง จากสุวรรณภูมิเข้าเมืองผ่านระบบราง อาจเคยได้ยินคำถามว่า “วันนี้แอร์พอร์ตลิงค์ เป็นอะไร?”เป็นสิ่งที่คนกรุงเทพฯ บ่น ปนด่า มากขึ้นเรื่อยๆ กับการแก้ปัญหาแบบปะผุ ของโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือที่เรียกกันในชื่อ แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ หรือ แอร์พอร์ตลิงค์ ทำให้ต้องย้อนดูตัวเลขผู้โดยสาร เมื่อเริ่มแรก รฟท. คาดว่าในปี 2563 จะมีผู้ใช้บริการ 1.8 แสนคนต่อวัน แต่ปัจจุบัน ปี 2561 มีจำนวนผู้ใช้บริการเพียงประมาณ 7 หมื่นคนต่อวัน และมาถึงช่วงโควิด-19 จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางรางช่วงระหว่างวันที่ 1-26 เมษายน 2564 ซึ่งมีการระบาดของ โควิด-19 ละลอกใหม่พบว่ามีผู้โดยสาร แอร์พอร์ตลิ้งก์ต่อเดือน เพียง 25,214 คน ซึ่งคิดเป็นเพียง 14% ของเป้าหมาย กลายเป็นโจทย์ที่ท้าทายว่า จะปลุกชีพแอร์พอร์ตลิงค์อย่างไร กับปัญหาที่คาราคาซังอยู่หลายเรื่อง ทำให้ต้องมาย้อนดูกันว่า 10 เรื่องที่น่าสนใจของแอร์พอร์ตลิงค์ ที่ต้องบันทึกไว้ในความทรงจำ มีอะไรกันบ้าง 1.”รอนาน-ระบบรวน” ภาพไฟดับมืดในขบวนรถ มีเพียงแสงจากจอมือถือ รถหยุดเคลื่อน รอซ่อมอีก 20 นาที รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์มีอยู่ 9 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ แต่ใช้งานจริงตอนนี้ 4 ขบวน ที่เหลืออยู่ระหว่างซ่อมบำรุง และเอาอะไหล่ขบวนหนึ่งมาใส่แทนอีกขบวนหนึ่ง ทำให้จำนวนรถไฟที่พร้อมให้บริการน้อยลงไปเรื่อยๆ รอนานขึ้นเรื่อยๆ จนเริ่มเป็นความคุ้นชินกับความไม่แน่นอน 2.กำเนิดเพจเฟซบุ๊ก “วันนี้แอร์พอร์ตลิงค์เป็นอะไร” ถือเป็นความน่ารักของผู้โดยสาร ที่มีนวัตกรรมการพึ่งพาตัวเอง การโพสต์ข้อความ เตือนกันเอง กรณีรถไฟมีปัญหา อย่างเช่น วันนี้แอร์พอร์ตลิงค์เป็นอะไร หรือ แอร์พอร์ตลิงค์ที่รัก คอยโพสต์แจ้งรายงานการใช้บริการแอร์พอร์ตลิงค์ เรียกว่าใครจะใช้บริการต้องตรวจสอบจากเพจถึงขั้นมีการตั้งรหัส รหัสแดง หมายถึงการโดยสารหนาแน่น ใครที่คิดจะมาใช้บริการ ควรหลีกเลี่ยง แต่ถ้ารหัสเขียว แสดงว่ารีบมาใช้ได้ เป็นต้น 3.กระบวนการซ่อม ที่ไม่คล่องตัว ใช่ว่าจะไม่อยากซ่อมแต่กระบวนการซ่อมทำยาก ปัญหามาจากการบริหารแอร์พอร์ตลิงค์ที่ไม่อิสระ ทำอะไรต้องให้บอร์ดการรถไฟฯเคาะ กว่าจะตัดสินใจแต่ละครั้ง พออนุมัติได้ต้องรอบริษัทซีเมนต์ของเยอรมันผลิตอะไหล่ทีละอย่าง ต้องรอ 6-8 เดือนเป็นอย่างน้อย ซื้ออะไหล่สำรองได้ไม่มาก เสียก็ซ่อม 4.”ขึ้นข้างบน-ลงข้างล่าง” วิธีการแก้ปัญหาความแออัดในช่วงเวลาเร่งด่วน แบบปัญหาต้นเหตุยังอยู่ แต่เป็นการแก้เฉพาะปลายทางที่ผู้โดยสารแออัด โดยใช้รถไฟดีเซลราง แบบดั้งเดิม ที่มีรางคู่ขนานอยู่ด้านล่าง เพิ่มเที่ยววิ่งแบ่งผู้โดยสารไปช่วงเร่งด่วน เช้า เย็น วันจันทร์ – ศุกร์ จากสถานีลาดกระบังไปสถานีหัวลำโพง 5.ผู้โดยสารต้องมีขาที่แข็งแรง เพราะไม่มีบันไดเลื่อนลงจากสถานี ยกเว้น สถานีมักกะสันและสถานีสุวรรณภูมิ ทำให้ต้องแบกกระเป๋าเดินทางลงมาอย่างทุลักทุเล ทั้งที่รถไฟฟ้าดังกล่าวเป็นรถไฟฟ้าเชื่อมต่อสนามบินสุวรรณภูมิ 6.ความสะดวกที่ไม่สบายของการโดยสาร ปิดประตูรถไฟฟ้าที่ดังจนเคยชิน ขณะที่เบาะที่นั่งแคบมาก นอกจากนี้ สถานีแอร์พอร์ตลิงค์มักกะสัน ร้อน อบมาก ลมไม่โกรกเลย แทบจะเป็นเตาอบ รอรถไฟทีเหงื่อโซกผู้โดยสารเดือดร้อน ทำไมเขาไม่แก้ไขให้มันระบายอากาศดีๆ ยิ่งในช่วงภาวะโรคระบาด ยิ่งควรลงทุนในการทำให้อากาศถ่ายเทให้สะดวก 7.การร้องเรียนเรื่องที่จอดรถไม่เพียงพอและมีอันตราย ยังคงมีมาตลอด เช่น มีการทุบรถ ขโมยรถ ซึ่งกรณีนี้ ที่ผ่านมาได้สั่งให้ รฟท. เพิ่มพื้นที่จอดรถบริเวณสถานีบ้านทับช้าง ลาดกระบัง และหัวหมาก เพิ่มจาก 100 คัน เป็น 200 คัน ส่วนเรื่องการเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยก็มีมาตลอด เพียงแต่ผู้โดยสารที่นำรถมาจอด ก็ยังต้องแอบลุ้นว่า รถจะยังปลอดภัยดีหรือไม่ 8.ระบบตั๋ว ต้องการให้ปรับปรุงระบบจำหน่ายบัตรโดยสารด้วย เนื่องจากบางครั้งเมื่อพนักงานไม่อยู่ที่ช่องจำหน่ายบัตรโดยสาร ทำให้การแลกบัตรโดยสารกับตู้จำหน่ายอัตโนมัติทำได้ยาก ควรปรับปรุงให้ตู้รับธนบัตรชนิด 500 บาท และ 1,000 บาทได้ รวมถึงรองรับการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น สแกนคิวอาร์โค้ด หรือจ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นได้ 9.สถานี และตัวรถ ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับผู้พิการ และในอดีตที่ผ่านมาพื้นที่ระหว่างผู้โดยสารกับรางรถไฟฟ้าทั้งสองฝั่ง ไม่มีประตูกั้น แต่มีเพียงเส้นสีเหลือง เป็นสัญลักษณ์บ่งชี้ว่าเป็นพื้นที่อันตราย 10.การที่ไม่เชื่อมต่อในโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะระบบราง เพราะยังไม่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าทั้งใต้ดินและบนดิน ทั้งนี้เกิดจากการออกแบบ โครงสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ เป็นโครงสร้างลอยฟ้า รวมถึงสถานีแต่ละสถานีอยู่ห่างจากถนนหลัก ในการใช้บริการผู้โดยสารจึงต้องแบกสัมภาระหรือเดินออกมาต่อรถโดยสารที่ไกลเกินความจำเป็น และทั้งหมดนี้คือ 10 ความทรงจำ ที่คงได้แต่หวังว่า เมื่อเปลี่ยนมือไปสู่ผู้ประกอบการรายใหม่แล้ว จะสามารถเทียบก่อนและหลัง เพื่อเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เพราะสุดท้ายแล้ว แอร์พอร์ตลิงค์ ก็ยังถือได้ว่าเป็นเส้นเลือดสำคัญ ในการเดินทางของคนกรุงเทพฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/05/2021 9:10 am    Post subject: Reply with quote

สร้างส่วนต่อขยาย 3 ทิศทาง
ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

แก้ปัญหาความแออัดสุวรรณภูมิอย่างคุ้มค่า-ยั่งยืน

หากมองย้อนกลับไปในปี 2563 ช่วงก่อนเกิดวิกฤติไวรัส "โควิด-19" ทุกคนคงทราบดีถึงปัญหาความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้สะสมค้างคามากว่า 10 ปี และทุกครั้งที่มีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา ก็มักเกิดการถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่า ควรจะต้องสร้างอะไรก่อนอะไรหลังกลายเป็นปัญหาคาราคาซังถึงปัจจุบัน วันนี้ทาง "หน้าข่าวเศรษฐกิจไทยรัฐ" ขอพาไปเจาะประเด็นร้อนจากมุมมองผู้คร่ำหวอดสายตรง "นายกีรติ กิจมานะวัฒน์" รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ถึงแนวทางการเพิ่มศักยภาพท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอย่างครบวงจร และให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด

ปัญหาคอขวดของท่าอากาศยาน

นายกีรติเผยว่า อย่างที่เราทราบว่าปัญหาความแออัดของสุวรรณภูมิเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยมีความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี แต่กลับมีการใช้งานจริงไปถึง 65 ล้านคนต่อปี ทำให้ความแออัดเกิดขึ้นตั้งแต่เวลาขับรถเข้ามา รถจะติดแน่นตั้งแต่ทางเข้าก่อนถึงหน้าอาคารผู้โดยสาร ถ้าฝ่ารถติดเข้ามาได้ก็ต้องลุ้นกันต่อว่าจะหาที่จอดได้ไหม จากนั้นเมื่อเข้าไปในอาคารผู้โดยสารก็ต้องต่อคิวรอเช็กอิน และเข้าแถวตรวจค้นตัว ก่อนผ่านจุดตรวจคนเข้าเมือง (ตม.)

เห็นได้ว่าความแออัดของสุวรรณภูมิเกิดขึ้นทุกจุด ไม่ได้เกิดเฉพาะปัญหาด้านเขตการบิน (แอร์ไซด์) เครื่องบินขึ้นลงเพียงอย่างเดียวแต่ยังมีปัญหาการรองรับผู้โดยสารด้านนอกเขตการบิน (แลนด์ไซด์) ด้วย ดังนั้น หากจะพูดถึงวิธีการแก้ปัญหาจริงๆ จะต้องทำแบบครบวงจร ทั้งด้านแอร์ไซด์ ควบคู่กับแลนด์ไซด์เพื่อรองรับผู้โดยสารให้เพียงพอ โดยเริ่มตั้งแต่การเพิ่มพื้นที่ถนนหน้าอาคารผู้โดยสารที่จอดรถเคาน์เตอร์เช็กอิน จุดตรวจค้น จุดตรวจลงตราตรวจคนเข้าเมือง หรือ ตม.หลุมจอดประชิดอาคาร และรันเวย์เพราะถ้าพัฒนาจุดใดจุดหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ทำทั้งกระบวนการการไหลเวียนของผู้โดยสารก็จะไปตันที่คอขวดที่ใดที่หนึ่งอยู่ดี

ที่ผ่านมา ทอท.ได้พยายามเร่งพัฒนาในด้านเขตการบินก่อน ด้วยการก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังรองที่ 1 ซึ่งมีหลุมจอดประชิดอาคารเพิ่มอีก 28 หลุม จากเดิมที่มีอยู่ 51 หลุม ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี 2565 รวมถึงก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 ซึ่งจะเสร็จในปี 2566 สามารถช่วยเพิ่มความสามารถการรองรับปริมาณจราจรทางอากาศจาก 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เป็น 94 เที่ยวบิน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในด้านเขตการบินของสุวรรณภูมิเพิ่มไปอยู่ระดับ 80-90 ล้านคนต่อปี เพียงพอรองรับผู้โดยสารได้อีกหลายปี

แต่สิ่งที่น่ากังวลตามมาคือ ถ้าผู้โดยสารกลับมาเดินทางได้ดังปกติถึง 65 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปี 2567 คือปัญหาด้านแลนด์ไซด์ รถติด ไม่มีที่จอด หรือการรอคิวเช็กอินนานก็จะกลับมาเหมือนเดิม เนื่องจากขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารด้านนอกเขตการบิน ไม่ได้ถูกพัฒนาเพิ่มตาม

เร่งก่อสร้างส่วนต่อขยาย 3 ทิศทาง

ดังนั้น ช่วงวิกฤติโควิดที่ผู้โดยสารเดินทางลดลงเหลือไม่ถึง 10% จึงเป็นโอกาสทองที่ ทอท.จะเร่งรัดก่อสร้างอาคารผู้โดยสารให้พร้อมรองรับผู้โดยสารที่จะกลับมาใช้บริการเต็มรูปแบบในปี 2567 โดยเริ่มจากการสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันออก (East Expansion) ซึ่งจะสร้างเชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารปัจจุบัน ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้น 66,000 ตร.ม. สำหรับใช้รองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศรองรับการเช็กอินล่วงหน้า ซึ่งจะแก้ปัญหาการแออัดของผู้โดยสารในการเข้าแถวรอคิว ส่วนอาคารที่สองคือสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันตก (West Expansion) ซึ่งมีพื้นที่อาคารผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 66,000 ตร.ม. สำหรับใช้เป็นเคาน์เตอร์ตรวจบัตรโดยสารจุดตรวจค้นและตรวจคนเข้าเมือง

โดย ทอท.ประเมินว่าการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งด้านตะวันออกและตะวันตกจะใช้เงินลงทุน 8,000 ล้านบาทต่ออาคาร ซึ่งช่วยแก้ปัญหาความแออัด และรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศเพิ่มได้ถึง 30 ล้านคนต่อปี อย่างไรก็ดี ปัญหายังไม่ได้ถูกแก้ไขหมดทีเดียว เพราะยังไม่สามารถเพิ่มถนนหน้าอาคารผู้โดยสารหรือที่จอดรถได้จึงอาจทำให้เกิดปัญหารถติดอยู่ดี

นายกีรติกล่าวต่อว่า ดังนั้น ทอท.จึงปรับแผนการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือใหม่ (North Expansion) เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาความแออัดของผู้โดยสารได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยจะแยกผู้โดยสารภายในประเทศ ไปใช้บริการบริเวณส่วนต่อขยายทางทิศเหนือทั้งหมด พร้อมกับสร้างถนนหน้าอาคารเพิ่มอีก 1 กม. และปรับเส้นทางจราจรให้รับส่งผู้โดยสารในประเทศเพื่อวนกลับออกไปได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านหน้าอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ

ตลอดจนจะสร้างอาคารจอดรถสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศเพิ่มอีก 3,000 คัน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรได้อย่างยั่งยืนนอกจากนี้ ทอท.ยังหารือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มสถานีรถไฟฟ้า Airport Link และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินมาบริเวณส่วนต่อขยายทางทิศเหนืออีก 1 สถานีเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางด้วย

คุ้มค่าประหยัดงบประมาณมากกว่า

ทั้งนี้ ได้มีการประเมินกันว่าส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ เมื่อปรับแผนเสร็จแล้วจะมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 30 ล้านคนต่อปี อีกทั้งยังทำให้ ทอท.ลดต้นทุนของโครงการลง 30% จาก 42,000 ล้านบาท เหลือประมาณ 30,000 ล้านบาท เนื่องจากสามารถปรับลดเนื้องานก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าไร้คนขับ ทั้งด้านแอร์ไซด์และแลนด์ไซด์ ทำให้ระบบการให้บริการในภาพรวมเข้าใจง่ายและสะดวกต่อผู้โดยสาร

ที่สำคัญเมื่อรวมการลงทุนในการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งด้านตะวันออก ตะวันตก และทิศเหนือ จะช่วยให้ ทอท.ลดงบลงทุนใน 5 ปีข้างหน้าลงเหลือเพียง 46,000 ล้านบาท แต่รองรับผู้โดยสารได้เพิ่มเป็น 120 ล้านคนต่อปี เพียงพอต่อการให้บริการไปในอนาคตได้ถึง 15 ปี อีกทั้งยังเกิดความคุ้มค่าของงบประมาณ เมื่อเทียบกับแผนก่อสร้างอาคารผู้โดยสารทางทิศใต้ที่ใช้เงินลงทุนสูงกว่า 96,836 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้สนามบินสุวรรณภูมิสามารถกลับมายืนหยัดเป็นประตูสู่ประเทศและก้าวไปสู่การเป็นสนามบินชั้นนำของโลกได้อีกครั้ง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2021 9:52 pm    Post subject: Reply with quote

"แอร์พอร์ตเรลลิงก์" เปิดขายบัตรสมาร์ทพาสลายใหม่ตั้งแต่ 16 มิ.ย.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 16 มิถุนายน 2564 เวลา 16:56 น.
ปรับปรุง: วันที่ 16 มิถุนายน 2564 เวลา 16:56 น.
แอร์พอร์ตลิงก์ เปลี่ยนลายบัตรโดยสารใหม่วันที่ 16 มิถุนายน 2564 เวลา ทุกแบบ เริ่มจำหน่ายวันนี้
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 16 มิถุนายน 2564 เวลา 16:31 น.

"แอร์พอร์ตลิงก์" เปิดจำหน่ายบัตรโดยสารลายใหม่

หน้าข่าวเศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน 2564 เวลา 16.18 น.



นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้มีการเผยแพร่ลายหน้าบัตรโดยสารลายใหม่มาระยะหนึ่งผ่านทาง Facebook Official Page Airport Rail Link ได้มีบรรดาผู้โดยสารและแฟนพันธุ์แท้รถไฟฟ้าให้ความสนใจและสอบถามมาเป็นจำนวนมาก บริษัทฯจึงได้ประกาศเริ่มวางจำหน่ายในวันที่ 16 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป ซึ่งบริษัทจะเปิดจำหน่ายบัตรโดยสารสมาร์ทพาสรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ลายใหม่ก่อน 3 ประเภท ได้แก่

- บัตรสมาร์ทพาสบุคคลทั่วไป (Adult Card) รับส่วนลดร้านค้าและบริการ

- บัตรสมาร์ทพาสนักเรียน นักศึกษา (Student Card) รับส่วนลดการเดินทาง 20% ทุกการเดินทาง

- บัตรสมาร์ทพาสผู้สูงอายุ (Senior Card) รับส่วนลดการเดินทาง 50% ทุกการเดินทาง

โดยผู้โดยสารสามารถหาซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารทั้ง 8 สถานี

นอกจากนั้น สำหรับบัตรสมาร์ทพาสลายพิเศษประเภทบุคคลทั่วไป (Adult Card) อีก 2 ลายใหม่ ได้แก่ “Happy Birthday Card” และ “Happy Gift Card” ที่ออกแบบเป็นลายไทย มีลักษณะเป็น “ลายประจำยาม” ซึ่งเป็นลวดลายที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสตะแคง มีลักษณะคล้ายดอกไม้ โดยดัดแปลงมาจากดอกไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ดอกสี่ทิศ” เหมาะสำหรับให้ผู้โดยสารได้เก็บสะสมเป็นที่ระลึก หรือ มอบเป็นของขวัญในโอกาสพิเศษต่างๆ จะทำการเปิดจำหน่ายในเร็วๆ นี้อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2021 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

ตั้งแต่ 12 ก.ค. "รถไฟฟ้าทุกสาย"ให้บริการถึง 3ทุ่ม
*MRTสีม่วงออกตีห้าครึ่ง/สีน้ำเงินสตาร์ท 6โมง
*เข้าบีทีเอส/สีทองก่อน21.00น.ส่งถึงปลายทาง
*แอร์พอร์ตลิ้งก์ 05.30น.ขบวนสุดท้าย"20.30น."
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2948677778687054

แอร์พอร์ตลิงก์ปรับเวลาวิ่งถึง 3 ทุ่ม ส่วนขบวนแรกเริ่มตี 5 ครึ่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 18:33 น.
ปรับปรุง: 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 18:33 น.
แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปรับเวลาปิดให้บริการรถไฟฟ้า รับ"เคอร์ฟิว"
หน้าข่าวทั่วไป
10 กรกฎาคม 2564 เวลา เวลา 18:11 น.
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปรับเวลาปิดให้บริการรถไฟฟ้า เป็นเวลา 21.00 น. รับ"เคอร์ฟิว" เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 สอดคล้องตามมติของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (ศบค.)

แอร์พอร์ตเรลลิงก์ปรับเวลาปิดให้บริการรถไฟฟ้าเป็นเวลา 21.00 น. ส่วนเที่ยวแรกยังคงเริ่มบริการ 05.30 น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค. 2564

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ปรับเวลาปิดให้บริการรถไฟฟ้าเป็นเวลา 21.00 น. ตั้งแต่ 12 ก.ค. สอดคล้องตามมติของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีมติจำกัดการให้บริการของระบบขนส่งสาธารณะ โดยหยุดให้บริการตั้งแต่เวลา 21.00-04.00 น.ของวันถัดไป ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไปนั้น

บริษัทจึงดำเนินการให้สอดคล้องตามมาตรการดังกล่าวข้างต้น โดยเปลี่ยนแปลงเวลาให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์เป็นเวลา 05.30-21.00 น. ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป โดยรถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายจะออกจากสถานีต้นทาง คือ สถานีพญาไท และสถานีสุวรรณภูมิ เวลา 20.30 น. และจะถึงสถานีปลายทางเวลา 21.00 น.

บริษัทยังคงคุมเข้มและเน้นย้ำมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยมีมาตรการต่างๆ ทั้งตั้งจุดคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิผู้โดยสารก่อนเข้าใช้บริการในทุกสถานี, เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสภายในสถานี และในขบวนรถ, เพิ่มความถี่ในการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อภายในขบวนรถไฟฟ้าก่อนให้บริการ รวมถึงขอความร่วมมือผู้โดยสารปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัด ได้แก่ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลภายในขบวนรถและสถานี (D : Distancing), สวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ใช้บริการรถไฟฟ้า (M : Mask Wearing), ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทั้งก่อนและหลังเข้าใช้บริการ (H : Hand Washing), ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าใช้บริการ (T : Testing) และสแกน QR Code ไทยชนะบริเวณสถานีทุกครั้งเพื่อเป็นประโยชน์ในการสอบสวนโรค (T : Thai ChaNa)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2021 12:51 am    Post subject: Reply with quote

พาซูมบรรยากาศเดินทางระบบรางผู้โดยสารหาย 8 แสนคน
*จากนับล้านรถไฟฟ้า/รถไฟเหลือใช้บริการวันละ1.7แสน
*สั่งล็อกดาวน์ผวาโควิดระลอก 3 ตัวเลขทุบสถิติต่ำที่สุด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2952788344942664
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2021 10:31 pm    Post subject: Reply with quote

“แอร์พอร์ตลิงก์” ปลื้ม ผู้โดยสารพอใจบริการ ให้คะแนนผ่านเกณฑ์ทุกด้าน
ข่าวรอบวัน
วันที่ 26 สิงหาคม 2564 - 14:12 น.

“แอร์พอร์ตลิ้งค์” ปลื้ม เผยผลสำรวจผู้โดยสารพอใจบริการ ให้คะแนนผ่านเกณฑ์ทุกด้าน

วันที่ 26 สิงหาคม 2564 นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า ได้ว่าจ้างบริษัท เยสยูแคน จำกัด จัดทำผลสำรวจความพึงพอใจของผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ประจำปี 2564 ปรากฏว่าผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยจากค่าเฉลี่ยเต็ม 5.00 ผู้โดยสารมีความพึงพอใจด้านต่างๆ ดังนี้




ความพึงพอใจต่อการใช้บริการอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.26, ความพึงพอใจด้านความปลอดภัยอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.49 , ความพึงพอใจด้านความน่าเชื่อถือของการเดินรถอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.35, ความพึงพอใจด้านการประชาสัมพันธ์อยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.31, ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.38 และความพึงพอใจด้านบัตรโดยสารและการตลาดอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.24




การที่ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อยู่ในระดับพึงพอใจมากในด้านต่างๆนั้น เป็นผลมาจากการที่บริษัทได้ดำเนินนโยบาย และมาตรการต่างๆที่เป็นการยกระดับการให้บริการ และการรักษาความปลอดภัยมาโดยตลอด อาทิ การนำระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 มาใช้ในการดำเนินงานทั้งการซ่อมบำรุง และการปฏิบัติการเดินรถ และให้บริการอย่างต่อเนื่อง จนผ่านการรับรอง ISO 9001 : 2015 ขอบเขต : วิศวกรรมและซ่อมบำรุง และขอบเขต : งานปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้า จาก BV ( Bureau Veritas ), การดำเนินโครงการ Smile Station เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ , การสร้างราวกั้นชานชาลา และแผ่นยางปิดช่องว่างระหว่างชานชาลากับประตูรถไฟฟ้า รวมถึงความเข้มงวดในมาตรการรักษาความปลอดภัย และมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่บริษัทเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร, การบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีทั้งลิฟท์ และบันไดเลื่อนให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ, การเพิ่มช่องทางของสื่อประชาสัมพันธ์ให้สามารถเข้าถึงผู้โดยสารมากขึ้น, การมอบสิทธิพิเศษของบัตรโดยสารสมาร์ทพาส และกิจกรรมการตลาด โดยเฉพาะกิจกรรมส่งเสริมการตลาดออนไลน์ ที่ได้ปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งผู้โดยสารให้ความสนใจเป็นจำนวนมากไม่ว่ากิจกรรมวันเด็กออนไลน์ วันตรุษจีนออนไลน์ วันแห่งความรักออนไลน์ และวันสงกรานต์ออนไลน์ เป็นต้น อีกทั้งการให้บริการลูกค้าสัมพันธ์ที่พร้อมรับข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ และเรื่องชมเชย ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ไม่มีวันหยุด และ Official Page สะดวกแก่ผู้ใช้บริการ ให้บริการด้วยความรวดเร็วในช่องทางการสื่อสาร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2021 7:05 am    Post subject: Reply with quote


มหกรรมการ upgrade airport link มาแล้วหละ มีความเคลื่อนไหวเล็กน้อยบริเวณสถานีแอร์พอร์ตลิงค์ลาดกระบัง โดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ที่สถานีหัวหมาก-ลาดกระบัง เห็นล้อมรั้วแบบนี้ทั้งสองสถานีเลย

https://www.youtube.com/watch?v=1jhDTY7hvE8
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/09/2021 12:36 am    Post subject: Reply with quote

ปรับแผนงานใหม่! ลดปัญหาสถานีแอร์พอร์ตลิงก์ “พญาไท” เสียงดังรบกวนชาวบ้าน
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
1 กันยายน 2564 เวลา 11:42 น.

ชาวบ้านร้องสถานีแอร์พอร์ตเรลลิงก์ “พญาไท” เสียงดัง!! กลุ่มซีพี น้อมรับเร่งแก้ปัญหา ลุยปรับแผนงานไม่ตัดกระเบื้องปูพื้น-รื้อโครงเหล็ก-ติดตั้งโครงฝ้า เกิน 5 ทุ่ม ขณะที่ 5 ทุ่มถึงตี 4 จะทำงานที่ไม่ใช้เสียง การันตีจะไม่ให้เสียงดังเกิน 70 เดซิเบล

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) แจ้งว่า ขร.  ร่วมกับ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.)  ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และผู้ควบคุมงานของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด ลงพื้นที่สำรวจ ตรวจสอบมลพิษทางเสียงจากการก่อสร้างบริเวณสถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท หลังจากได้รับเรื่องร้องเรียนเรื่องเสียงจากผู้พักอาศัยโครงการโนเบิลรีเวนต์คอนโดมิเนียม เบื้องต้นจากการตรวจสอบบริเวณสถานี พบว่า มีการก่อสร้างบริเวณทางเดินเท้า และชั้นจำหน่ายตั๋ว


โดยได้ปรับปรุงสภาพกายภาพ และการให้บริการ ได้แก่ พื้นผิวทางเท้า ระบบพื้นผิวต่างสัมผัสรองรับคนพิการทางการมองเห็น จุดจอดรับ-ส่ง ระบบป้ายแนะนำ ป้ายบอกทาง ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ไฟส่องสว่าง ห้องน้ำ เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบให้มีเสียงดังในช่วงเวลากลางคืน เนื่องจากบางภาระงานจำเป็นต้องดำเนินการในช่วงที่ปิดสถานีแล้ว เพื่อไม่ให้กระทบต่อความปลอดภัยของผู้โดยสารที่สัญจรภายในสถานี โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 20 ต.ค. 64


จากการหารือร่วมกันระหว่าง ขร., รฟฟท. และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด ได้สรุปวิธีลดผลกระทบจากเสียง ดังนี้ 1. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด จะปรับแผนการดำเนินงาน และระมัดระวังในการดำเนินงานที่มีเสียงดังไม่ให้เกินช่วงเวลา 23.00 น. เช่น การเจาะหรือตัดแผ่นกระเบื้องปูพื้น การรื้อโครงเหล็กนั่งร้าน การติดตั้งโครงฝ้า เป็นต้น 2. หลังเวลา 23.00-04.00 น. จะเน้นการดำเนินงานที่ไม่ใช้เสียง เช่น การเดินท่อไฟ การปูพื้นกระเบื้อง เป็นต้น โดยบริษัทฯ จะควบคุมการใช้เสียงให้ไม่เกิน 70 เดซิเบล เพื่อลดผลกระทบทางเสียงให้กับประชาชน ทั้งนี้ ขร. จะสรุปรายงานกระทรวงคมนาคม เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป และแจ้งผู้ร้องเรียนทราบผลการดำเนินงานในเบื้องต้นด้วย..

กรมการขนส่งทางรางลงพื้นที่ตรวจสอบมลภาวะทางเสียง บริเวณสถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน
Thailandplus - เศรษฐกิจ
1 กันยายน 2564

กรมการขนส่งทางราง ร่วมกับแอร์พอร์ตเรลลิงค์ และ ผู้ควบคุมงานของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด ลงพื้นที่เพื่อสำรวจ ตรวจสอบมลภาวะทางเสียงจากการก่อสร้างบริเวณสถานีสถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท




หลังจากที่กรมการขนส่งทางรางได้รับเรื่องร้องเรียนเรื่องเสียงจากผู้พักอาศัยโครงการโนเบิลรีเวนต์คอนโดมิเนียม โดยมี นายสถานีพญาไท บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) เจ้าหน้าที่ รฟฟท. และผู้ควบคุมงานของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด ร่วมดำเนินการตรวจสอบบริเวณสถานีพบว่า มีการก่อสร้างบริเวณทางเดินเท้า และชั้นจำหน่ายตั๋ว โดยปรับปรุงสภาพกายภาพและการให้บริการ ได้แก่ พื้นผิวทางเท้า ระบบพื้นผิวต่างสัมผัสรองรับคนพิการทางการมองเห็น จุดจอดรับ-ส่ง ระบบป้ายแนะนำ ป้ายบอกทาง ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ไฟส่องสว่าง ห้องน้ำ เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบให้มีเสียงดังในช่วงเวลากลางคืน เนื่องจากบางภาระงานจำเป็นต้องดำเนินการในช่วงที่ปิดสถานีแล้ว เพื่อไม่ให้กระทบต่อความปลอดภัยของผู้โดยสารที่สัญจรภายในสถานี โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 20 ต.ค. 64




จากการหารือร่วมกันระหว่าง ขร. และ รฟฟท. และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด สรุปวิธีลดผลกระทบจากเสียง ได้ดังนี้

1. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด จะปรับแผนการดำเนินงานและระมัดระวังในการดำเนินงานที่มีเสียงดังไม่ให้เกินช่วงเวลา 23.00 น. เช่น การเจาะหรือตัดแผ่นกระเบื้องปูพื้น การรื้อโครงเหล็กนั่งร้าน การติดตั้งโครงฝ้า เป็นต้น

2. หลังเวลา 23.00 – 04.00 น. จะเน้นการดำเนินงานที่ไม่ใช้เสียง เช่น การเดินท่อไฟ การปูพื้นกระเบื้อง เป็นต้น ทั้งนี้ ทางบริษัท ฯ จะควบคุมการใช้เสียงให้ไม่เกิน 70 เดซิเบล เพื่อลดผลกระทบทางเสียงให้กับประชาชน



ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางรางจะสรุปรายงานกระทรวงคมนาคมเพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป และแจ้งผู้ร้องเรียนทราบผลการดำเนินงานในเบื้องต้นด้วย


Last edited by Wisarut on 03/09/2021 11:15 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/09/2021 12:41 am    Post subject: Reply with quote

ซี.พี.ทุ่ม 1.7 พันล้าน พลิกโฉม”แอร์พอร์ตลิงก์” รีแบรนด์ใหม่”AERA 1”เปิดหวูด 25 ต.ค.นี้
วันที่ 29 สิงหาคม 2564 เวลา 15:51 น.



เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 กลุ่มซี.พี.ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง ,บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น(CRCC) ,บมจ.ช.การช่างและบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) และบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ได้เซ็นสัญญากับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) รับสัมปทาน 50 ปี ก่อสร้างและเดินรถโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่า 224,544 ล้านบาท และรถไฟฟ้าแแอร์พอร์ตเรลลิงก์(พญาไท-สุวรรณภูมิ)

24 ต.ค.ครบกำหนดรับโอนแอร์พอร์ตลิงก์-พื้นที่ไฮสปีด

โดยจัดตั้งบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด นิติบุคคลเฉพาะกิจ ด้วยทุนจดทะเบียน 4,000 ล้านบาท เพื่อเซ็นสัญญาร่วมทุนโครงการ

ในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 จะครบกำหนด 2 ปี ตามสัญญาต้องรับโอนแแอร์พอร์ตเรลลิงก์ พร้อมจ่ายค่าใช้สิทธิ 10,671 ล้านบาท และรับมอบพื้นที่การก่อสร้างรถไฟคามเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเฟสแรกช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร

ซี.พี.เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น”เอเชีย เอราวัน”

ความคืบหน้าล่าสุด แหล่งข่าวจากกลุ่มซี.พี. เปิดเผย”มติชน”ว่า ขณะนี้ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็นบริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด (ASIA ERA ONE) เพื่อบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ตลิงก์ โดยได้แจ้งให้กับรฟท.รับทราบแล้ว

ขอแบ่งจ่ายค่าเดินรถหมื่นล้าน

นอกจากนี้ยังหารือกับรฟท.ขอจ่ายค่าใช้สิทธิแอร์พอร์ตลิงก์ แบบแบ่งชำระเป็นรายปี จากเดิมต้องจ่ายทั้งก้อน 10,671 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังระบาดหนัก ทำให้ปริมาณผู้โดยสารมาใช้บริการลดลงอย่างมากจากเดิมเฉลี่ยอยู่ที่ 8-9 หมื่นเที่ยวคนต่อวัน ตอนนี้เหลือไม่ถึง 2 หมื่นเที่ยวคนต่อวัน

โดยบริษัทพร้อมเข้าบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ในเดือนตุลาคมนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงระบบต่างๆ เช่น ระบบเดินรถ ป้ายบอกทาง พื้นทางเดินบริเวณสถานีและฝ้าเพดานสถานี ประตูเข้า-ออกสถานี ดัดแปลงขบวนรถexpress line จำนวน 4 ขบวน ปัจจุบันรับผู้โดยสารได้ 3 ตู้ อีก 1 ตู้ใช้สำหรับขนสัมภาระกระเป๋า จะนำมาปรับปรุงให้รองรับผู้โดยสารมากขบวนละ 200 คน จะเสร็จในเดือนตุลาคมนี้ 1 ขบวน


รีแบรนด์ใหม่”AERA 1”เปิดหวูดวันแรก 25 ต.ค.นี้

“เราได้รีแบรนด์ดิ้งโครงการใหม่ เพื่อรองรับการเปิดเดินรถวันแรกในวันที่ 25 ตุลาคม 2564 โดยเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า”AERA 1”(เอราวัน) แปลว่ายุคสมัย ”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในวันแรกที่เปิดบริการจะมีรถ 9 ขบวนให้บริการครบ และมีพนักงานให้บริการตามสถานี โดยบริษัทมีพนักงานกว่า 300-400 คน ที่ผ่านการอบรมและเทรนนิ่งมาแล้ว มีทั้งที่รับสมัครใหม่และพนักงานแอร์พอร์ตลิงก์เดิม

สำหรับค่าโดยสารจะยังเก็บในอัตราเดิม เริ่มต้น 15-45 บาท แต่อาจจะมีการเปลี่ยนโฉมหน้าบัตรโดยสารใหม่ให้สอดรับกับชื่อใหม่ ในเบื้องต้นระบบบัตรโดยสารยังคงเดิม แต่ต่อไปจะปรับปรุงให้ใช้ร่วมกับระบบTrueMoney Wallet ได้ด้วย

“การปรับปรุงแอร์พอร์ตลิงก์จะทยอยดำเนินการหลังจากที่บริษัทได้เข้าบริหารการเดินรถอย่างเต็มตัวแล้ว “

สำหรับแอร์พอร์ตลิงก์ มี 8 สถานี ได้แก่ พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดพระบังและสุวรรณภูมิ ปัจจุบันเปิดบริการเวลา 05.30-20.00 น.ตามมาคการปัองกันโควิด-19

บิ๊กซี.พี.ทุ่ม1.7พันล้านพลิกโฉมใหม่

ก่อนหน้านี้นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า ในเดือนตุลาคมนี้มีความพร้อมที่จะดำเนินการรับช่วงแอร์พอร์ตลิงก์จากรฟท.ได้แบบไร้รอยต่อตามสัญญา เป็นไปตามแผนงานและกำหนดเวลาที่วางไว้ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญการเดินรถและให้บริการระบบราง จากต่างประเทศและในประเทศลงพื้นที่ตรวจสอบระบบอย่างละเอียดและสำรวจความคิดเห็นจากผู้โดยสาร เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาและปรับปรุงแอร์พอร์ตลิงก์ให้พร้อมบริการได้อย่างต่อเนื่องทันทีที่เข้ารับช่วง โดยเฉพาะความปลอดภัยและความสะดวก

“บริษัททุ่มสรรพกำลังในการดำเนินงาน ให้ผู้โดยสารได้สัมผัสกับประสบการณ์การเดินทางที่ดียิ่งขึ้นทันทีที่เราเข้าไปดำเนินงาน ต้องทำให้ดีตั้แต่ก้าวแรก พร้อมทั้งในแง่ของระบบการเดินรถ ความสะดวกสบายและความปลอดภัย เพราะแอร์พอร์ตลิงก์จะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อสู่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกในอนาคตด้วย”

ด้านนายสฤษดิ์ จิณสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชือมสามสนามบิน จำกัดหรือบจ.เอเชีย เอราวันในปัจจุบัน กล่าวว่า ตามสัญญาบริษัทจะบริหารจัดารแอร์พอร์ตลิงก์ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป โดยได้ลงทุนเพิ่มในเพื่อปรับปรุงระบบ และสถานีด้วยงบประมาณ 1,700 ล้านบาท สำหรับดำเนินการล่วงหน้าก่อนรับโอนสิทธิ

ได้แก่ การเตรียมการด้านบุคลากร และถ่ายทอดเทคโนโลยี การเตรียมความพร้อมด้านระบบและเทคนิค การเตรียมความพร้อมด้านการปรับปรุงสถานีและการให้บริการ เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ความสำคัญกลุ่มผู้พิการ กลุ่มเปราะบาง ด้วยการออแบบอารยสถาปัตย์ การเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัย

สะพัดเลื่อนส่งมอบพื้นที่สร้างไฮสปีด

สำหรับการรับมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เฟสแรกช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา แหล่งข่าวจากกลุ่มซี.พี.กล่าวว่า อาจจะเลื่อนไปจากเดิมในเดือนตุลาคมนี้ออกไปเล็กน้อย เนื่องจากต้องรอทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศาภาคตะวันออก(อีอีซี)เคลียร์การเวนคืนที่ดินที่นอกเหนือจากที่ดินรฟท. ซึ่งบริษัทแสดงเจตจำนงแต่แรกแล้วว่า จะรับมอบพื้นที่ก่อสร้างตลอดเส้นทางเท่านั้น จะไม่รับมอบเป็นฟันหลอ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2021 1:00 pm    Post subject: Reply with quote

[urlชhttps://mgronline.com/business/detail/9640000086737]ซี.พี.เจรจาแบ่งจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ เยียวยาพิษโควิดฉุดผู้โดยสารต่ำเป้า[/url]
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 2 กันยายน 2564 เวลา 09:07 น.
ปรับปรุง: 2 กันยายน 2564 เวลา 09:07 น.

คณะ กก.บริหารฯ ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินเจรจา ซี.พี.หลังเอกชนขอเลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์เหตุผลกระทบโควิดผู้โดยสารลดเหลือไม่ถึง 2 หมื่นคน พร้อมถกแบ่งจ่าย 6 งวดยอดรวมเพิ่มเป็น 1.17 หมื่นล้าน ชง กก.กำกับและ กพอ.เห็นชอบแก้ไขสัญญาก่อน 24 ต.ค.

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 ต.ค. 2564 นี้จะครบกำหนด 2 ปีที่บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือ ซี.พี.และพันธมิตร ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC), บมจ.ช.การช่าง (CK), บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) จะต้องชำระเงินค่าโอนสิทธิ์แอร์พอร์ตเรลลิงก์
จำนวน 10,671.090 ล้านบาทให้ รฟท. เพื่อเข้าบริหารการเดินรถแอร์พอร์ตเรลลิงก์ในวันที่ 25 ต.ค. 2564 ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ระยะเวลาสัญญา 50 ปี มูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท

เบื้องต้นกลุ่ม ซี.พี.ได้เสนอขอเลื่อนและขอแบ่งชำระค่าใช้สิทธิ์แอร์พอร์ตลิงก์ จากเดิมจ่ายเป็นก้อนเดียว 10,671 ล้านบาทเป็นการแบ่งจ่ายรายปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงและมาตรการจำกัดการเดินทาง ทำให้ปริมาณผู้โดยสารลดลงอย่างมากจากเดิมเฉลี่ย 7-8 หมื่นคนต่อวัน เหลือเพียง 1 หมื่นกว่าคนต่อวันเท่านั้น ส่วนการบริหารการเดินรถนั้น ทางบริษัทฯยืนยันพร้อมเข้าดำเนินการในเดือน ต.ค. 2564 ตามเงื่อนไข

แหล่งข่าวจาก รฟท.ระบุว่า ข้อเสนอของ ซี.พี.ขอเลื่อนและแบ่งชำระค่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์นั้น มีคณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ที่มี นายวรวุฒิ มาลา เป็นประธาน ซึ่งเป็นคณะกรรมการฯ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ดอีอีซี เป็นผู้พิจารณาเบื้องต้น ซึ่งคณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการฯ ได้มีการหารือกับ รฟท.และซี.พี. โดยดูเงื่อนไขสัญญาว่าทำได้หรือไม่ ซึ่งมีหัวข้อในเรื่องเหตุสุดวิสัย ซึ่งผลกระทบโควิด-19 เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกเกินจากความคาดหมาย อีกทั้งไม่สามารถคาดหมายว่าจะยุติเมื่อใด

โดยบริษัทฯ ระบุถึงจำนวนผู้โดยสาร จากที่เคยมีกว่า 7 หมื่นคน/วัน เหลือไม่ถึง 2 หมื่นคน/วัน ล่าสุดมาตรการขอให้งดการเดินทาง ทำให้เหลือเพียง 1 หมื่นคน/วันเท่านั้น ในขณะที่การดำเนินธุรกิจอื่นๆ รัฐบาลก็มีมาตรการเยียวยาจากผลกระทบโควิด-19 ดังนั้นจึงถือเป็นการดำเนินการตามกฎหมายทั่วไป โครงการในอีอีซีมีมาตรการกลาง ซึ่งทุกคนได้รับผลกระทบ มีสิทธิ์ได้รับการเยียวยา เมื่อทางซีพีเสนอมาจึงพิจารณาไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และเจรจาไปตามหลักการ มีกรอบระยะเวลาในการเยียวยา ไม่ได้ให้คนเดียว

นอกจากนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) นั้น ให้ รฟท.นำเงินค่าแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้านบาทไปไถ่ถอนหนี้ ดังนั้น กรณีที่ไม่มีเงินไปชำระหนี้ บริษัทฯ จะต้องรับภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นด้วย หลักการ รฟท.จะต้องไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เกิดเพิ่มขึ้น ดังนั้น การเลื่อนชำระนั้น ซี.พี.ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดแทน รฟท.

“ซี.พี.มีความพยายามในการทำกิจการต่อ แต่มีผลกระทบโควิด ส่งผลให้ผู้โดยสารน้อยลง ไม่เป็นไปตามคาดหมาย เป็นเหตุสุดวิสัย จึงขอผ่อนผันจากที่ตกลงในเงื่อนไขสัญญา ขอเลื่อนจ่ายเงินในวันที่ 24 ต.ค. 2564 ออกไปก่อน หลักการ รฟท.จะต้องไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นสาระสำคัญ ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการฯ สรุปจะเสนอคณะกรรมการกำกับดูแลฯ ที่มี นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน พิจารณาและเสนอ กพอ.และ ครม.อนุมัติก่อนวันที่ 24 ต.ค. 2564 และเพื่อแก้ไขสัญญาต่อไป”

@แบ่งจ่าย 6 ปี ยืนยัน 25 ต.ค. 64 รับบริหารตามกำหนด

รายงานข่าวเปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการฯ ได้เจรจากับบริษัทฯ และสรุปกรอบวงเงินค่าแอร์พอร์ตลิงก์กรณีแบ่งชำระ พร้อมดอกเบี้ยและมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) จะอยู่ที่ 11,705.463 ล้านบาท เพิ่มจากวงเงินเดิม 10,671.090 ล้านบาท ประมาณ 1,034.373 ล้านบาท
แบ่งชำระออกเป็น 6 งวด (6 ปี) โดยปีแรกจ่ายในสัดส่วน 5% ปีที่ 2 จ่าย 7% ปีที่ 3 จ่าย 10% ปีที่ 4 จ่าย 10% ปีที่ 5 จ่าย 10% ปีที่ 6 จ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดประมาณ 67.7% ส่วนจะเริ่มจ่ายงวดแรกเมื่อใดนั้น การหารือเห็นว่าควรให้โควิดระลอกล่าสุดยุติและประเมินมาตรการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางประกอบด้วย เพราะจะมีผลต่อปริมาณผู้โดยสารว่าจะกลับเป็นปกติช่วงใด

@รฟท.ยันเรื่องต้องผ่านคณะ กก.กำกับฯ ก่อน คาดชงบอร์ด 16 ก.ย.นี้


X



ด้านนายจิรุฒม์ วิศาลจิตร ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. กล่าวว่า ได้ทราบเบื้องต้นเรื่องที่ทางบริษัท รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินขอผ่อนปรนการจ่ายชำระค่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์แล้ว แต่ขณะนี้ รฟท.ยังไม่มีการพิจารณา ซึ่งจะต้องดูว่าประเด็นที่ทางเอกชนขอมานั้นเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ รฟท.โดยตรง หรือต้องมีความเห็นจากทางฝ่ายนโยบายคืออีอีซีก่อน ทั้งนี้ รฟท.มีฐานะคู่สัญญามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา

รายงานข่าวจาก รฟท.เปิดเผยว่า ขณะนี้บอร์ด รฟท.ยังไม่สามารถพิจารณาใดๆ ได้ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวถือเป็นสาระสำคัญที่ต้องมีการแก้ไขสัญญา ซึ่งตามขั้นตอนจะผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับโครงการฯ และคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานก่อน โดยตามกำหนด กบอ.จะประชุมวันที่ 13 ก.ย. และหากมีมติเป็นทางการอาจจะนำเสนอบอร์ด รฟท.ซึ่งจะประชุมในวันที่ 16 ก.ย.ได้ทัน

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบปริมาณผู้โดยสารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (23-27 ส.ค. 64) พบว่ามีเฉลี่ย 1.1 หมื่นคน/วัน เทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดโควิด-19 ช่วงปี 2562 ที่มีผู้โดยสารเฉลี่ย 7.1 หมื่นคน/วัน หรือลดลงประมาณ 87%
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 152, 153, 154 ... 159, 160, 161  Next
Page 153 of 161

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©