RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274115
ทั้งหมด:13585411
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว Airport Link
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 159, 160, 161  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 18/12/2006 4:36 pm    Post subject: Reply with quote

คุณวิศรุต สถานีที่ขบวนรถด่วนจะวิ่งแซงขบวนรถธรรมดา คือ สถานีทับช้าง ใช่ไหมครับเพราะเห็นว่าคานมีระยะที่กว้างกว่าปกติเหลือเกิน เมื่อเทียบกับทางของชินกันเซนตามสถานีต่างๆที่ให้ขบวนรถโนโซมิวิ่งแซงเจ้าโคดามะ โดยทางคู่กลางเป็นทางขึ้นและล่องหลัก ส่วนรางที่อยู่ด้านนอกของแต่ละด้านเอาไว้จอดรับส่งผู้โดยสารและหยุดรอให้อีกขบวนวิ่งแซงไป ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วที่สถานีก็จะต้องมีรางทั้งหมด 4 รางเพื่อการนี้ รูปแบบสถานีอย่างนี้สำหรับรถไฟฟ้าสุวรรณภูมิมีที่อื่นนอกจากที่สถานีทับช้างไหมครับ

สถานีรถไฟฟ้าชินกันเซนโอดาวาระ ห่างจากโตเกียวเป็นระยะทางประมาณ 84 กิโลเมตร ใช้เวลาวิ่งประมาณ 40 นาทีเพราะยังไม่ได้วิ่งด้วยความเร็วเต็มที่นัก
Click on the image for full size

ขบวนรถโคดามะกำลังวิ่งผ่านประแจเพื่อเข้าจอดรับ-ส่งคนที่รางริมสุดเมื่อออกจากอุโมงค์มา และยังรอให้ขบวนรถโนโซมิวิ่งแซงหลังจากนั้น ( โนโซมิไม่จอดที่สถานีนี้ )
Click on the image for full size
Click on the image for full size


สถานีรถไฟฟ้าทับช้าง
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2006 4:53 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟด่วนสนามบินแซงรถไฟมวลชนที่หัวหมากละมั๊งเพราะที่หัวหมากมีหลีกรถรถไฟมวลชน ...

///----------------------------------------------------------------------------------

ปีหน้าใช้ถนนอโศกทำใจ ปิด6เดือนทำรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์

เดลินิวส์ วันที่ : 21 ธันวาคม 2549

วันก่อนผ่านไปแถว ๆ แยกผังเมือง แยกพระราม 9 มีป้ายประชาสัมพันธ์ของ สน.ดินแดง ติดแจ้งให้หลีกเลี่ยงถนนอโศก-แยกพระราม 9 มีการ ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงแอร์พอร์ตลิงค์ (พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ) แต่ยังไม่ได้ระบุวันที่กำหนดปิดแน่นอน

สอบถาม พ.ต.ท.สมโภชน์ ทัศนา รอง ผกก.จร.สน.ดินแดง เจ้าของป้ายประชาสัมพันธ์ แจ้งว่า ผู้รับเหมาโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ได้เชิญประชุมเพื่อ ขอปิดการจราจรบนถนนอโศก เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายแอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งขณะนี้ได้มีการลงเสาตอม่อเลียบทางรถไฟทั้งจากด้านถนนกำแพงเพชร 7 คลองตัน และด้านพญาไท เลียบถนนมักกะสัน มาจนถึงทางแยกตัดกับถนนอโศกแล้ว ซึ่งในบริเวณนี้จะ มีการลงเสาตอม่อทั้งในด้านขาเข้า และด้านขาออก เดิมผู้รับเหมาจะขอปิดการจราจรตั้งแต่ต้นเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยขอก่อสร้างเสาตอม่อในด้านขาเข้าคือฝั่งอโศก-เพชร มุ่งหน้าแยกพระราม 9 แต่ทางสน.ได้เสนอให้เลื่อนการปิดการจราจรออกไป เป็นช่วงต้นปี 2550 และให้ปิดด้านขาออกก่อน เพื่อลดผลกระทบด้านขาเข้าที่มีปริมาณรถมาก โดยในฝั่งขาออกให้ปิดช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค. และในด้านขาเข้าให้ปิดช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. เนื่องจากในถนนอโศกมีสถานศึกษาตั้งอยู่หลายแห่ง เลื่อนเวลาปิดการจราจรมาเป็นช่วงโรงเรียนปิดภาคเรียนจะลดผลกระทบการจราจรได้มาก รวมแล้วใช้เวลาก่อสร้างในบริเวณนี้ประมาณ 6 เดือน

ก่อนหน้านี้ได้ยินว่าตามแบบจะลงเสาตอม่อบน ถนนอโศกเสียช่องจราจรถาวรไปเลยด้านละ 1 ช่อง แต่ตอนนี้ได้รับการยืนยันแล้วว่ามีการปรับแบบเลื่อนตำแหน่งเสาออกไป จะมีเพียงแต่ฐานรากใต้ดินที่ต้องล้ำออกมาในแนวถนน ซึ่งพอสร้างเสร็จก็คืนผิวการจราจรได้เหมือนเดิม

ใครเห็นป้ายประชาสัมพันธ์ของ สน. ดินแดง แจ้งให้หลีกเลี่ยงการจราจรตั้งแต่แยก พระราม 9 ก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะจริง ๆ จะปิดการจราจรเป็นระยะทางประมาณ 50 เมตร ในช่วงคร่อมทางรถไฟเท่านั้น แต่คาดว่าจะทำให้ปัญหาการจราจรบนถนนอโศกติดขัดแน่ ๆ ดังนั้นให้เลี่ยงตั้งแต่จุดตัดทางแยกพระราม 9 และแยกอโศก-เพชรไว้แต่เนิ่น ๆ จะดีกว่า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2006 4:54 pm    Post subject: Reply with quote

สป.จี้ทบทวนรถไฟฟ้าหมกเม็ด หวั่น'ดีเทลดีไซน์'เสียค่าโง่ สนข.ประชาพิจารณ์26ธ.ค.

ไทยโพสต์ 21 ธันวาคม 2549 กองบรรณาธิการ

สภาที่ปรึกษาฯ จี้ "ธีระ" ให้คำตอบรถไฟฟ้าสายสีแดงขาดส่วนเชื่อมต่อบางซื่อ-พญาไท เสนอทบทวนรูปแบบการประกวดราคาวิธีดำเนินงาน ระบุมติ ครม.ให้ใช้แบบดีเทล ดีไซน์


รัฐอาจเสียค่าโง่เอกชนจ่ายแพงกว่ารัฐบาลก่อน ด้าน สนข.เดินหน้าเปิดประชาพิจารณ์ 26 ธ.ค.นี้

นายโอกาส เตพละกุล ประธานคณะทำงานโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและพลังงาน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) เปิดเผยภายหลังสัมมนาเวทีสาธารณะเรื่อง "โครงการรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง" ว่า ในต้นเดือน ม.ค.2550 สป.จะนำรายละเอียดข้อชี้แนะ รวมถึงสอบถามความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าต่อ พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รมว.คมนาคม หลังจาก สป.ได้จัดทำเปรียบเทียบโครงข่ายและนโยบายรถไฟฟ้าระหว่างรัฐบาลชุดก่อนและชุดปัจจุบัน

Quote:
โดยได้ตั้งข้อสังเกตว่า จากการอนุมัติในหลักการของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้ก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สาย โดยเฉพาะสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต ) ยังไม่มีการเชื่อมต่อจากบางซื่อ-พญาไท จะทำให้เส้นทางเชื่อมต่อการโดยสารจากทางเหนือมายังทางตะวันตกของกรุงเทพฯ ขาดหายไป


นอกจากนี้ อยากให้รัฐบาลทบทวนว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินการและรูปแบบการประกวดราคาใหม่ เพราะตามรูปแบบใหม่ที่รัฐบาลอนุมัติวงเงิน 165,402 ล้านบาท ก่อสร้าง 5 สาย ระยะทาง 118 ก.ม. แม้น้อยกว่าวงเงินที่อนุมัติในรัฐบาลก่อนที่ใช้ 163,902 ล้านบาท ก่อสร้าง 3 สาย ระยะ 82 ก.ม.

แต่ในความเป็นจริงยังมีอีกหลายจุดที่ต้องเพิ่มขึ้นเข้ามา เช่น การให้แก้ไขแบบจากเดิมที่ให้ทำแบบดีไซน์แอนด์บิวด์ หรือการออกแบบพร้อมก่อสร้าง ทั้งในส่วนของเส้นทางยกระดับและใต้ดินเป็นดีเทล ดีไซน์ หรือให้ออกแบบก่อนแล้วค่อยก่อสร้าง สำหรับทางยกระดับส่วนใต้ดินให้เป็นแบบดีไซน์แอนด์บิวด์นั้น รัฐบาลต้องจ่ายเงินค่าออกแบบเอง จากเดิมที่ให้เอกชนซึ่งเป็นรับสัมปทานออกเงินค่าออกแบบ

ด้านวิธีดำเนินงานนั้น เดิมรัฐบาลลงทุนก่อสร้างทั้งหมด ทั้งงานโครงสร้าง งานโยธา งานระบบและซื้อรถไฟ เอกชนเป็นผู้รับจ้างเดินรถอย่างเดียว เปลี่ยนเป็นรัฐบาลลงทุนก่อสร้างโครงสร้างและงานโยธา ส่วนเอกชนรับสัมปทานเดินรถและลงทุนงานระบบรถไฟฟ้า รัฐบาลต้องจ่ายค่าอาณัติสัญญาณเอง ซึ่งเมื่อรวมมูลค่าแล้วน่าจะต้องเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก อาจจะแพงกว่ารัฐบาลเดิมที่ได้ทำไว้ก็ได้

นายเยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว รักษาการผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.ได้จ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้ดำเนินงานในโครงการรถไฟฟ้า คาดว่าจะสรุปได้ประมาณเดือน มี.ค.-เม.ย.2550

นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า สาเหตุที่การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไทหายไป เนื่องจากขณะนี้ ครม.ได้มีมติเห็นชอบให้สำนักงายนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปศึกษารายละเอียดโครงการให้ชัดเจน เพราะเป็นช่วงที่ผ่านเขตพระราชฐาน โดยเฉพาะการออกแบบให้ทำทั้งในส่วนบนดินและใต้ดิน เมื่อมีความชัดเจนแล้วให้ส่งกลับมารายงาน ครม.อีกครั้ง

นายประณต สุริยะ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สนข. กล่าวว่า ในวันที่ 26 ธ.ค.2549 นี้ สนข.ร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการของประชาชนต่อการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 5 สายทาง ในเวลา 13.00-16.30 น. ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต กรุงเทพฯ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/12/2006 9:29 am    Post subject: Reply with quote

'อุ๋ย' ยำใหญ่ 'แอร์พอร์ตลิงค์' ฉาว
ไทยรัฐ 28 ธ.ค. 49 - 04:43

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการลงทุนในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อม ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ( แอร์พอร์ตลิงค์ ) ที่เป็นนโยบายของรัฐบาลชุดก่อน เพราะเป็นโครงการที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เป็นไปไม่ได้ ที่จะมีผู้เข้ามาใช้บริการมากถึง 200,000 - 300,000 คนต่อวัน และอยากให้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ( สตง.) ไปตรวจสอบการดำเนินโครงการ เนื่องจากโครงการนี้ คณะรัฐมนตรี ( ครม.) ได้อนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้เอกชนเป็นผู้ก่อสร้าง โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ( รฟท.)

“ ถ้าเป็นผม ผมจะไม่ทำโครงการนี้ เพราะเท่าที่ดู ไม่คุ้มทุน มีการเสนอว่า มีคนมาใช้ 200,000 - 300,000 คนต่อวัน ผมว่าเป็นไปไม่ได้ โครงการนี้ต้องให้เอกชนลงทุน เมื่อเอกชนลงทุนสร้าง แต่ไม่คุ้มทุน วิธีการคือ ให้มีมติ ครม.เพื่อให้ รฟท.ซื้อทันทีที่สร้างเสร็จ แต่ธนาคารพาณิชย์ไม่เชื่อว่า รฟท.จะมีเงินมาซื้อ เลยมีมติ ครม.ว่า ถ้า รฟท.กู้ไม่ได้ ก็ให้คลังค้ำประกันเงินกู้ให้ ซึ่งไม่ถูกต้อง ส่วนกรณีที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ในโครงการดังกล่าว ถือว่าเป็นการดำเนินตาม ครม.”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ได้สอบถามผู้ที่อนุมัติการเข้าค้ำประกันเงินกู้ในโครงการดังกล่าว และกล่าวตำหนิว่า กระทรวงการคลังไม่ควรเข้าไปค้ำประกัน เพราะเป็นโครงการที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน จึงให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำหนังสือรายงานถึงขั้นตอนการเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ ทั้งนี้ ในหนังสือรายงาน ได้ระบุชัดเจนว่า การเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ โครงการแอร์พอร์ตลิงค์ ได้ดำเนินไปตามมติ ครม.

ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า ตอนที่กระทรวงคมนาคมเสนอมาว่า เป็นโครงการลงทุนที่เร่งด่วน ต้องเร่งสร้างเพื่อให้ทันการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ กระทรวงการคลังก็เห็นตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ว่าเป็นโครงการที่ควรดำเนินการ ส่วนการอนุมัติ ให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นผู้ลงนาม แต่เป็นการลงนามภายหลังจากที่ ครม.อนุมัติ และสั่งการให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ จึงถือว่า เป็นการดำเนินการที่ผ่านกระบวนการของ ครม.

สำหรับการออกหนังสือยืนยันการค้ำประกันเงินกู้ให้แก่ รฟท.ในการดำเนินโครงการ กระทรวงการคลังยืนยันว่า ทำตามมติ ครม.วันที่ 17 ส.ค.2547 ต่อมาวันที่ 18 ม.ค. 2548 ครม. กำหนดให้กระทรวงการคลังค้ำประกันกรณีที่ รฟท.ต้องหาแหล่งเงินกู้ และดำเนินการอื่นๆ ที่จำเป็น เพื่อชำระค่าก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายให้แก่เอกชนผู้ลงทุน จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่ต้องปฏิบัติตามมติ ครม.

ดังนั้น กระทรวงคมนาคม จึงได้ขอความอนุเคราะห์กระทรวงการคลัง ในการออกหนังสือยืนยันการให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่ รฟท. เนื่องจากผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการ และกลุ่มกิจการร่วมค้า ได้ขอความอนุเคราะห์ผ่าน รฟท. ดังนั้น การตอบหนังสือของกระทรวงการคลัง จึงเป็นเพียงการปฏิบัติราชการตามปกติ ทั้งนี้ โครงการนี้มีมูลค่าลงทุน 25,000 ล้านบาท มีระยะทางจาก มักกะสัน ถึง สนามบินสุวรรณภูมิ 28 กิโลเมตร ขนาดราง 1.43 เมตร สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งด้วยราง ( รถไฟฟ้าทั้ง 5 สาย ) ได้ในอนาคต.


// ----------------------------------------------------------------------------------

งานนี้หม่อมอุ๋ย ได้ปากเจ่อปากบวมเป็นครุฑ แถมได้แว่นตาคู่ใหม่แถมอีกรายการ หรือไม่ก็
โดนกระซวก ก็คราวนี้เอง
Back to top
View user's profile Send private message
shinoda
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 16/10/2006
Posts: 309
Location: พิจิตร

PostPosted: 05/01/2007 9:00 pm    Post subject: ปธ.บอร์ด รฟท.ยอมรับแอร์พอตลิ้งค์ ล่าช้าออกไปอีก 1 ปี Reply with quote

ปธ.บอร์ด รฟท.ยอมรับแอร์พอตลิ้งค์ ล่าช้าออกไปอีก 1 ปี Sad

กรุงเทพฯ 5 ม.ค.- ประธานกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศ (รฟท.) เรียกประชุมผู้บริหารโครงการและผู้รับเหมางานก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ต ลิ้งค์ ) ก่อนยอมรับโครงการจะล่าช้าออกไปอีก 1 ปี ส่งผลให้ต้องเร่งเจรจาขยายเวลาก่อสร้างของผู้รับเหมาออกไปอีก 500 วัน หลังพบการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญา 990 วันแน่ จากปัญหาการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า

วันนี้ ( 5 ม.ค.) นายศิวะ แสงมณี ประธานกรรมการ รฟท. ได้เรียกประชุมผู้บริหารโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า
สายสีแดงเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ต ลิ้งค์ พร้อมด้วยผู้รับเหมาก่อสร้าง เพื่อติดตามความคืบหน้าในการก่อสร้างของโครงการ ซึ่งปัจจุบันพบว่าความคืบหน้าในการก่อสร้างโดยเฉพาะงานโยธา ล่าช้ากว่าแผนถึง
ร้อยละ 40 โดยภายหลังการประชุมนายศิวะ กล่าวว่า ยอมรับว่าความคืบหน้าล่าช้าที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่วนสำคัญมาจากปัญหาการที่มีผู้บุกรุกเขตทางรถไฟ หรือผู้เช่ารายเดิม ไม่ยอมย้ายถอยออกจากพื้นที่ ส่งผลให้การส่งมอบพื้นที่ ของ รฟท.แก่ผู้รับเหมา เพื่อแก้ปัญหาดำเนินการก่อสร้างที่ล่าช้ามาโดยตลอด

ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวชัดเจนว่า จะส่งผลให้การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ภายใน 990 วันตามสัญญา หรือในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 แน่นนอน ดังนั้น รฟท.จะเปิดการเจรจากับผู้รับเหมาคือ กลุ่มบริษัทชิโน-ไทย เพื่อขอขยายอายุสัญญาออก ซึ่งเบื้องต้นบริษัทฯ ได้เสนอกรอบเวลาออกไปอีก 500 วัน ก่อนที่บริษัทจะไปทำการเจรจาเพื่อขยายระยะเวลาของเงินกู้ในโครงการกับสถาบันการเงินอีกครั้ง

“การปัจจัยเรื่องความล่าช้านี้ เชื่อว่าจะทำให้โครงการล่าช้าไปอีกอย่างน้อย 1 ปี อย่างไรก็ตาม รฟท.จะไม่เร่งรัดเรื่องให้โครงการจะต้องแล้วเสร็จอย่างเดียว แต่จะคำนึงถึงความพร้อมและคุณภาพโครงการ เพราะเราไม่ได้ทำงาน เพื่อต้องการหาเสียง” นายศิวะกล่าว

สำหรับความล่าช้าที่เกิดขึ้น รฟท. จะพิจารณาในรายละเอียดอีครั้งว่า สาเหตุมาจาก รฟท.หรือเป็นความผิดของผู้รับเหมา ซึ่งหากทำให้ต้นทุนการเงินสูงขึ้น ผู้ทำให้โครงการล่าช้าก็ต้องรับผิดชอบต้นทุนการเงินดังกล่าว นอกจากนี้มีความเป็นไปได้ว่า เมื่อครบ 990 วัน ในส่วนของ รฟท.จะต้องมีการนำสัญญากลับมาทบทวน และเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาสัญญาก่อสร้างอีกครั้ง และอาจมีการนำแนวทางให้รัฐบาลใช้งบประมาณลงทุนก่อสร้าง แทนแหล่งเงินกู้ก็ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในที่ประชุมผู้บริหารโครงการก่อสร้าง ได้รายงานให้ประธานบอร์ด รฟท. ทราบว่ายังมีปัญหาการนำผู้บุกรุกเขตทางรถไฟของจากพื้นที่ เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้แก่ผู้รับเหมาหลายจุด เช่น บริเวณชุมชนหมู่บ้านเดชา บริเวณทางหลักคลองตันและมักกะสัน บ้าน 3 หลัง บริเวณคลองแสนแสบ บริเวณอาคารพาณิชย์โอเอ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวติดปัญหาทางด้านเทคนิค มีการก่อสร้างบุกรุกเขตทาง ซึ่งแม้ว่าจะมีการก่อสร้างทางรถไฟได้แต่ไม่สามารถก่อสร้างสถานีให้ได้ตามมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินรถ

นอกจากนี้ ผู้รับเหมาและควบคุมงานก่อสร้างยังระบุว่าการก่อสร้างติดปัญหาทางด้านเทคนิค เมื่อมีการขุดเจาะก็พบว่า มีการวางท่อสายไฟท่อประปาของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจอื่น รุกล้ำเขตทางเข้ามาและแตกต่างไปจากแบบการขออนุญาตใช้ในอดีตเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างอย่างมาก

ทั้งนี้ สำหรับความคืบหน้าทั้ง 5 ของงานก่อสร้างแอร์พอร์ต ลิ้งค์ ปัจจุบันพบว่า งานเสาเข็มที่มีทั้งหมด 10,242 ต้น ตอกไปแล้ว 9,296 ต้น คืบหน้าร้อยละ 90.76 งานฐานราก ทั้งหมด 2,355 จุด ทำไปแล้ว 1,492 จุด คืบหน้าร้อยละ 63.35 งานเสา มีทั้งสิ้น 885 ต้น ก่อสร้างแล้ว 559 ต้น คืบหน้าร้อยละ 63.16 งานหล่อคานกล่อง มีทั้งหมด 10,945 กล่อง ทำได้ 5,494 กล่อง คืบหน้าร้อยละ 50.20 และงานติดตั้งคานกล่อง รวม 893 จุด ทำได้ 263 จุด คืบหน้าร้อยละ 29.45 โดยภาพรวมโครงการมีความคืบหน้าร้อยละ 43 มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปแล้วกว่า 8,300 ล้านบาท เป็นตัวเลขคามคืบหน้า ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2549.- สำนักข่าวไทย

[ 2007-01-05 : 19:32:44 ]
Click on the image for full size

ที่มา : http://tna.mcot.net/search.php?type=3#
------------------------------------------------------------------------------------------
โอ...ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ พองหนอ Rolling Eyes
_________________
Click on the image for full size


Last edited by shinoda on 08/01/2007 6:33 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2007 8:06 pm    Post subject: Reply with quote

เอาข่าวผู้จัดการมาเสริมด้วย
// --------------------------------------------------------------------------
รถไฟยอมต่อสัญญา"แอร์พอร์ตลิงก์"ไร้ค่าปรับ

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 มกราคม 2550 11:27 น.


ร.ฟ.ท.กระอัก เสียค่าโง่แอร์พอร์ตลิงก์ 1,660 ล้านบาท เผยค่าธรรมเนียมการเงิน ถูกโอนเข้าบัญชีร.ฟ.ท.เป็นหนี้ตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญาทั้งที่ความจริงต้องโอนหลังก่อสร้างเสร็จ “ศิวะ”ยอมขยายเวลาก่อสร้างให้ชิโน-ไทยฯ โดยผู้รับเหมาไม่ต้องจ่ายค่าปรับ ชี้เหตุหลักเพราะส่งมอบพื้นที่ล่าช้า สั่งที่ปรึกษาเจรจาสรุปภายในก.พ. 50 นี้ ก่อนเสนอรมว.คมนาคมและรัฐบาลปรับสัญญาใหม่ คาดต้องขยายเวลาก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 1 ปี พร้อมเสนอขอลงทุนโครงการเองในส่วนที่เหลือแทนเอกชน

นายศิวะ แสงมณี ประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ Airport Rail Link) มูลค่า 25,907 ล้านบาท วานนี้ (5 ม.ค.) ว่า ผลงานการก่อสร้างรวมสิ้นสุด ณ เดือนธ.ค. 2549 48.01% ล่าช้ากว่าแผนประมาณ 40.92% จ่ายเงินค่างานไปแล้วประมาณ 8,300 ล้านบาท ซึ่งความล่าช้าที่เกิดขึ้นกลุ่มบีกริมฯ ที่มีบริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับหมาก่อสร้างได้ทำหนังสือขอขยายเวลาการก่อสร้างออกไปจากกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 5 พ.ย. 2550 อีกกว่า 500 วันซึ่งได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาควบคุมงาน (CSC) และกรรมการตรวจการจ้างของร.ฟ.ท.หารือกับผู้รับเหมาเพื่อสรุปรายละเอียดการขยายเวลาก่อสร้างต่อไปโดยให้ได้ข้อยุติภายในเดือนก.พ.2550 นี้ โดยถือว่า ชิโน-ไทยไม่ต้องจ่ายค่าปรับใดๆ

ทั้งนี้ยอมรับว่า ค่าธรรมเนียมทางการเงิน 1,660 ล้านบาท ที่ร.ฟ.ท.จ่ายไปแล้วนั้น อาจเป็นตัวแปรที่ทำให้ร.ฟ.ท.ต้องเสนอขอลงทุนโครงการเองแทนการให้ผู้รับเหมากู้เงินมาลงทุนให้ก่อน เพื่อประหยัดในส่วนนี้หลังจากการขยายเวลาก่อสร้างออกไป ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาและกรรมการตรวจการจ้างจะพิจารณาเปรียบเทียบกับกรณีที่ให้ผู้รับเหมาไปเจรจากับแหล่งเงินเพื่อขอขยายเวลาการกู้เงินออกไปตามเวลากา รก่อสร้างที่ขยายเพิ่ม โดยค่าธรรมเนียมทางการเงิน 1,660 ล้านบาทหรือคิดจาก 6.5% ของมูลค่ารวมโครงการเกือบ 30,000 ล้านบาท

นายศิวะกล่าวว่า ตามสัญญากำหนดให้ผู้รับเหมาก่อสร้างภายใน 990 วันและกำหนดค่าปรับ 12 ล้านบาทต่อวันกรณีล่าช้า ซึ่งจากการประเมินเนื้องานที่เหลือคาดว่าจะต้องใช้เวลาก่อสร้างอีกไม่น้อยกว่า 1 ปีหลังครบกำหนด ดังนั้นหากไม่เร่งหาข้อยุติความล่าช้าที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลกระทบหลายทอด คือ ผู้รับเหมาจะได้รับค่างานเท่ากับความคืบหน้าของเนื้องานที่เสร็จจริงขณะที่แหล่งเงินของผู้รับเหมาจะหยุดจ่ายเงินเมื่อครบ 990 วันเช่นกัน จึงต้องเร่งพิจารณาการขยายเวลาการก่อสร้างตามความเป็นจริงเท่าที่พิสูจน์ได้ว่าร.ฟ.ท.เป็นผู้ทำให้เกิดความล่าช้า ซึ่งอาจไม่เท่ากับเวลาที่ผู้รับเหมาเสนอมา

“หน้าที่ของบอร์ดคือเร่งรัดงานก่อสร้างให้เร็วที่สุด แต่จะไม่เร่งจนงานไม่มีคุณภาพและรัฐบาลนี้ไม่จำเป็นต้องเร่งงานเพื่อหาเสียงใด ๆ ส่วนการขยายเวลาก่อสร้างจะรวบรวมปัญหาทั้งหมดรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐบาลต่อไปพร้อมแนวทางการแก้ไขซึ่งวิศวกรส่วนใหญ่ระบุว่าเวลาก่อสร้าง 990 วันที่กำหนดนั้นน้อยเกินไปกับการก่อสร้างโครงการนี้ และไม่ควรทำสัญญาลักษณะนี้ อย่างไรก็ตาม การยอมขยายเวลาให้ผู้รับเหมานั้นไม่ได้หมายความว่า ร.ฟ.ท.ผิดทั้งหมดแต่จะต้องมีการพิสูจน์กันทั้งสามฝ่ายก่อนเพราะมีสาเหตุจากการรื้อย้ายสาธารณูปโภคที่เป็นของหน่วยงานอื่นด้วย ”นายศิวะกล่าว

แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ไม่สามารถเจรจาเพื่อลดค่าธรรมเนียมทางการเงิน 1,660 ล้านบาทได้แม้ว่าหลังสัญญาก่อสร้างครบ 990 วัน จะใช้เงินไม่ครบตามกำหนด เนื่องจากค่าธรรมเนียมทางการเงินดังกล่าวคิดจากยอดมูลค่าโครงการทั้งหมด และโอนเข้าในบัญชีเป็นหนี้สินของร.ฟ.ท.ตั้งแต่วันเริ่มสัญญาก่อสร้างแล้ว ซึ่งในหลักการหนี้ดังกล่าวจะต้องโอนเข้าบัญชีร.ฟ.ท.หลังจากครบกำหนดงานก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งถือเป็นความไม่ถูกต้อง และเท่ากับร.ฟ.ท.ต้องเป็นหนี้ 1,660 ล้านบาทโดยงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเรื่องนี้ค.ต.ส.กำลังตรวจสอบอยู่

นายถวิล สามนคร รักษาการ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การขยายเวลาก่อสร้างออกไปจะไม่ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น เพราะสัญญากำหนดไว้แน่นอน แต่จะกระทบกับเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยที่ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายตามเนื้องานจริงที่เกิดขึ้น ส่วนค่าธรรมเนียมทางการเงิน 1,660 ล้านบาทนั้นคิดจากยอดรวมโครงการในคราวเดียวไม่เกี่ยวกับการขยายเวลาก่อสร้าง โดยหลังตกลงการขยายระยะเวลาก่อสร้างเรียบร้อยแล้วจะมีการทำสัญญาแนบท้ายร่วมกันอีกครั้ง

นายมนัส ชื่นเกิดลาภ ผู้จัดการโครงการแอร์พอร์ตลิงก์กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการกล่าวว่า ณ เดือนธ.ค. 2549 ได้ผลว่า

ภาพรวมงานโยธาแผนกำหนด 89.80% ผลงานจริง 38.88%
งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล แผนกำหนด 88.14% ผลงานจริง 56.25%
ภาพรวมทั้งโครงการแผนกำหนด 88.93% ผลงานจริง 48.01%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2007 6:45 pm    Post subject: Reply with quote

เมื่อ ทอท. ประกาศว่าจะฟื้นฟูดอนเมือง แน่แล้ว รฟท. คงต้องเร่งสรุปเรื่องส่วนต่อขยายเชื่อม 2 สนามบินโดยไม่ชักช้า ไม่งั้นเสียโอกาสแน่

อ้างอิง:http://skyscrapercity.com/showthread.php?t=176596&page=9
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2007 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

รมช.คค.ยัน รถไฟฟ้าสายสีแดงพร้อมสร้าง คาดเสนอ ครม.ได้ มี.ค.นี้

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 8 มกราคม 2550 19:01 น.


นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมติดตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน มีความพร้อมที่สุด และคาดว่าจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ในเดือนมีนาคม หรืออาจจะเร็วกว่านั้น ส่วนสายสีอื่นนั้นต้องพิจารณาในรายละเอียดของแบบ พ.ร.บ.ร่วมทุนและการเวนคืนพื้นที่ ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ในเดือนพฤษภาคม และจะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ส่วนการหาแหล่งเงินกู้ให้กับโครงการนั้น ต้องหาแหล่งเงินกู้ที่มีเงื่อนไขที่ดีที่สุด และสอดคล้องกับแผนการดำเนินงาน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า อีก 2 สัปดาห์ จะมีการประชุมโครงการรถไฟ้ฟ้าอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2007 10:42 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสีแดงประมูลได้สายเดียว +ส่วนที่เหลือติดปัญหาพ.ร.บ.ร่วมทุนปี2535/เวนคืนที่ดิน/จี้สนข.-กทม.ลดขั้นตอนดำเนินการ
ฐานเศรษฐกิจ - 11 - 13 มกราคม 2550

"สรรเสริญ" แบไต๋รถไฟฟ้า 5 สายทางมีปัญหาเรื่องเวนคืนที่ดิน และพ.ร.บ.ร่วมทุนรัฐเอกชนปี 2535 คาด 1 ปีภายใต้รัฐบาลชั่วคราวอาจเปิดประมูลได้เพียงสายสีแดง เพียงโครงการเดียว ด้านหม่ออุ๋ย เสียงอ่อย พรบ.ร่วมทุนเป็นปัญหาความล่าช้า จี้สนข.-กทม. หาแนวทางลดขั้นตอนดำเนินการด่วน


นายสรรเสริญ วงศ์ชอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าในการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้า 5 สายทางตามที่ครม.อนุมัติดำเนินการไปก่อนหน้าปัจจุบันอยู่ระหว่างติดตามผลการดำเนินงานในเรื่องการทำประชาพิจารณ์ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยพบว่ายังมีปัญหาในเรื่องของการเวนคืนที่ดินตามแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีน้ำเงินที่จะต้องผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนมีการเจรจากับคณะกรรมการอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งต้องใช้เวลาดำเนินการ


สำหรับเส้นทางสายสีแดง ขณะนี้ไม่ได้ติดปัญหาอะไร จึงได้เตรียมเสนอให้ทางคณะรัฐมนตรีพิจารณา และสามารถสรุป ประกวดราคาได้ในเดือนมีนาคม สำหรับสายอื่นๆ น่าจะได้จะเสนอพิจารณาได้ในเดือนพฤษภาคม


นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 พร้อมจะทยอยดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาลชุดนี้จะสามารถลงนามความร่วมมือกับเอกชนในการร่วมทุนในการดำเนินงานก่อสร้างได้อย่างน้อย 1 สาย คือสายสีแดง


ส่วนเรื่องเงินทุนอาจจะต้องให้กระทรวงการคลังเข่ามาดำเนินการเอง แต่อย่างไรก็ตามจะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาดำเนินการด้วย โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเงินกู้ของเจบิคเพียงรายเดียว อาจจะเป็นการร่วมทุนโดยให้เอกชนลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เรื่องนี้เอกชนอาจจะเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้จะติดตามผลในอีก 2 อาทิตย์น่าจะได้ผลที่ชัดเจน


"สายสีแดงคาดว่าไม่มีปัญหา เพราะพื้นที่ก่อสร้างใช้เขตทางของการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงไม่มีปัญหาการเวนคืนที่ดิน คาดว่าจะสามารถดำเนินการต่าง ๆ แล้วเสร็จพร้อมเสนอครม.พิจารณาได้ในช่วง 1-2 เดือนนี้ ส่วนเส้นทางอื่น ๆ นั้นบางสายมีปัญหาในเรื่องของการพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินกิจการของรัฐ พ.ศ.2535"


ทั้งนี้ผลการประชุมร่วมระหว่าง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง คือ กรุงเทพมหานคร (กทม.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นั้น รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วง ความล่าช้าที่อาจจะเกิดขึ้น ในการเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า ทั้งสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และช่วงสถานีอ่อนนุช-สำโรง ล


โดยโครงการเดิมมีบริษัทระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอส. เป็นผู้สัมปทานเดินรถ และถือเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน แต่หากมีส่วนต่อขยายเข้ามาใหม่ จะต้องผ่านมีขั้นตอนดำเนินการตามกฎหมาย ที่อาจทำให้กระบวนการก่อสร้างรถไฟฟ้าล่าช้าได้


ด้วยเหตุดังกล่าวรองนายกรัฐมนตรี จึงขอให้การดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งในการดำนเนินการก่อสร้างและเดินรถ มีโอกาสที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือบีทีเอสซีจะเป็นผู้ลงทุนส่วนต่อขยายมากที่สุด หรือมีการเปิดประมูลให้เอกชนรายอื่นมาดำเนินการ ซึ่งจะเข้ากระบวนการ พ.ร.บ.ร่วมทุนอีกครั้ง จึงได้กำชับให้กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นเจ้าภาพดำเนินการ เพื่อลดขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2535 โดยในในส่วนกระบวนการร่วมทุนนั้น รองนายกรัฐมนตรีฯ เห็นว่า ควรใช้ระยะเวลาไม่เกิน 6-8 เดือน ก็น่าจะสามารถได้ข้อยุติ


อนึ่งโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 5 สายที่จะประชุมเชองปฎิบัติการนั้นประกอบด้วย

1) สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ และจากบางซื่อ-ท่าพระ-บางแค ระยะทาง 27 กม. วงเงิน 52,581 ล้านบาท,
2) สายสีม่วง จากบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 26,160 ล้านบาท,
3) สายสีแดง มี 2 ช่วงจากรังสิต-บางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก ระยะทาง 59 กม. วงเงิน 53,985 ล้านบาท,
4) สายสีเขียว มี 2 เส้นทาง จะเป็นส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วงสถานีหมอชิต-ตลาดยิ่งเจริญ-สะพานใหม่ ระยะทาง 13 กม. วงเงิน 14,737 ล้านบาท
5]tสายสีเขียว ช่วงซอยแบริ่ง สำโรง-สมุทรปราการ ระยะทาง 14 กม. วงเงิน 14,939 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
shinoda
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 16/10/2006
Posts: 309
Location: พิจิตร

PostPosted: 11/01/2007 5:18 pm    Post subject: สายการบินขานรับย้ายกลับใช้ดอนเมืองรองรับเที่ยวบินในประเทศ Reply with quote

สายการบินขานรับย้ายกลับใช้ดอนเมืองรองรับเที่ยวบินในประเทศ Exclamation

ก.คมนาคม 11 ม.ค. - ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. วันนี้ (11 ม.ค.) เตรียมหารือวาระการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานกรุงเทพ และมีความเป็นไปได้ที่อาจจะมีการย้ายเส้นทางการบินภายในประเทศทั้งหมดกลับมาเปิดให้บริการที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ ขณะที่ผู้บริหารสายการบินออกมาขานรับ ระบุเป็นทางออกที่ดีที่สุด

นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ ในฐานะกรรมการ ทอท. กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ทอท.วันนี้ (11 ม.ค.) จะมีการหาข้อสรุปการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานกรุงเทพ หลังจากช่วงที่ผ่านมา มีการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปแล้ว แต่มีสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์ แอร์ไลน์) บางรายเรียกร้องขอกลับไปใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพ ซึ่งประเด็นดังกล่าว กระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่งทางอากาศ ได้ศึกษารายละเอียดและระดมความเห็นจากสายการบิน ผู้บริหารท่าอากาศยาน ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความเห็นแตกต่างกัน เช่น ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวยังต้องการใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแห่งเดียว แต่โลว์คอสต์ แอร์ไลน์ ยังมีความประสงค์กลับไปใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพ ดังนั้น ในการประชุมคณะกรรมการ ทอท. วันนี้ จะมีการระดมความเห็น และมีความเป็นไปได้ว่าจะมีข้อสรุปในการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานกรุงเทพ โดยอาจจะเปิดกว้างให้สายการบินที่บินในประเทศสามารถเลือกกลับมาใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพ ได้ตามความสมัครใจ โดยไม่มีการบังคับ

ด้าน เรืออากาศโทอภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
กล่าวว่า แนวทางที่จะกลับมาใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพ รองรับเที่ยวบินภายในประเทศนั้น ถือเป็นทางออก
ที่ดีที่สุด โดยในเบื้องต้น จะทำให้ประชาชนที่มาใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ใช้เส้นทางการบินภายในประเทศได้รับความสะดวกมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเดินไปขึ้นเครื่องเป็นระยะทางไกล และไม่ต้องมีการรอคอยกระเป๋าสัมภาระเป็นเวลานาน เนื่องจากสภาพความใหญ่โตของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปัจจุบัน ขณะที่ผู้ประกอบการสายการบินจะมีต้นทุนในการดำเนินการต่ำลง เนื่องจากหากเป็นเที่ยวบินปกติที่นำมาลงจอดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก็จะต้องใช้ระยะเวลาในลานจอดไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง เพื่อรองรับการจัดส่งผู้โดยสารเข้าสู่อาคารที่พักผู้โดยสารขนาดใหญ่ ขั้นตอนการนำกระเป๋าสัมภาระเข้าสู่ระบบ ซึ่งทั้งหมดส่งผลให้ผู้ประกอบการสายการบินเสียค่าธรรมเนียมการจอดมากกว่าที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ ขณะที่มองในแง่ของการจัดการพื้นที่ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การย้ายเส้นทางการบินภายในประเทศกลับมาให้บริการที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ จะทำให้ช่วยลดความคับคั่งของผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะนี้ เนื่องจากมีอาคารที่พักผู้โดยสารที่ผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศต้องใช้ร่วมกัน และเกิดการกระจุกตัวมีลักษณะเหมือนคอขวด

“การบินไทยเห็นด้วยกับแนวทางที่จะกลับมาใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อรองรับเที่ยวบินในประเทศ เนื่องจากทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งผู้โดยสาร ผู้ประกอบการ และความสะดวกในการจัดการพื้นที่ของ ทอท.เอง” เรืออากาศโทอภินันทน์ กล่าว

กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. การบินไทย ยืนยันว่า การแยกสายการบินภายในประเทศกลับมาให้บริการที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ จะไม่ส่งผลยุ่งยากต่อการจัดตารางการบินแน่นอน ส่วนการดำเนินการของการบินไทยในอนาคต หากมีการใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพ การบินไทยจะกลับมาพิจารณาแผนจัดตั้งบริษัทลูก ซึ่งการบินไทยเคยถือหุ้นร้อยละ 100 เพื่อเข้ามาให้บริการเส้นทางการบินภายในประเทศโดยเฉพาะ แต่ขณะนี้จะไม่มีการกลับไปใช้ชื่อสายการบินเอื้องหลวง ตามที่เคยมีการจัดทำแผนก่อนหน้านี้

ด้านนายอุดม ตันติประสงค์ชัย กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการบินโอเรียนท์ไทย กล่าวว่า โอเรียนท์ไทย
เห็นด้วยกับแนวทางกลับมาใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อรองรับเที่ยวบินภายในประเทศ ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการกำหนดการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานกรุงเทพ ที่ ทอท. มีแผนจะรองรับเที่ยวบินในลักษณะจุดบินต่อจุดบิน หรือพอยท์ทูพอยท์ เนื่องจากแนวทางดังกล่าวจะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการจัดตารางการบินและการตีความเพื่อพิจารณาว่าจะมีสายการบินใดเหมาะสมที่จะกลับไปใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพ

นายทัศพล แบเลเว็ลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทย แอร์ เอเชีย กล่าวว่า ในส่วนของไทย แอร์ เอเชีย หากภาครัฐจะให้อยู่ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก็ยินดี แต่ในระหว่างนี้ที่เห็นว่ายังมีปัญหาเกิดขึ้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอยู่ และ ทอท. ยังไม่สามารถแก้ไขปัญาหาที่เกิดให้เสร็จสิ้นได้ จึงอยากให้สายการบินโลว์คอสต์ ย้ายกลับไปใช้ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพเป็นการชั่วคราว แต่หาก ทอท. ปรับปรุงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเรียบร้อยแล้ว จะให้สายการบินต้นทุนต่ำย้ายกลับมาอยู่ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก็ยินดี พร้อมกันนี้ เห็นว่า หาก ทอท. มีแผนที่จะให้สายการบินต้นทุนต่ำทั้งหมด ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ อยู่ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก็เห็นว่า ทอท. คารจะต้องลงทุนก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร (โลว์คอสต์ เทอร์มินอล) เพิ่มขึ้น เพื่อให้สายการบินต้นทุนต่ำโดยเฉพาะ เพื่อจะได้สะดวกต่อการให้บริการกับผู้โดยสาร และไม่ไปปะปนกับสายการบินปกติ

นอกจากนี้ ทอท. ควรรีบดำเนินการให้เร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นอีกไม่กี่เดือนต่อไปนี้ จะมีผู้มาใช้บริการมากขึ้น รวมถึงปี 2550 เฉพาะลูกค้าผู้โดยสารที่มาใช้บริการของไทย แอร์ เอเชีย เพียงรายเดียว ก็จะมีจำนวนมากถึง 3 ล้าน คน ซึ่งหากยังไม่มีการขยาย หรือสร้าง โลว์คอสต์ เทอร์มินอล เพิ่ม จะส่งผลให้ ทอท. มีปัญหาในการให้บริการกับผู้โดยสารทั้งสายการบินปกติ และสายการบินโลว์คอสต์ รวมถึงอุปกรณ์ที่ให้บริการก็จะไม่พอ และจะทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าของเที่ยวบิน ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในการให้บริการ

ขณะที่ นายพาที สารสิน ซีอีโอสายการบินนกแอร์ กล่าวว่า ในส่วนตัวแล้วเห็นว่า รัฐบาล หรือ ทอท. ไม่ควรจะต้องใช้จ่ายเงินเพื่อมาลงทุนอาคารผู้โดยสารให้สายกาบินต้นทุนต่ำ ซึ่งการก่อสร้างอาจจะต้องลงทุนสูงถึง 1,400 ล้านบาท ซึ่งนกแอร์ เห็นว่า ทอท. ไม่มีความจำเป็นต้องลงทุนขนาดนั้น และเงินจำนวนนี้ก็ควรจะนำไปทำอย่างอื่นมากกว่า ทั้งนี้ เห็นว่าควรให้สายการบินต้นทุนต่ำทั้งหมดกลับไปใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพเป็นการถาวร เพราะศักยภาพของดอนเมือง ก็ยังเป็นสนามบินที่มีคุณภาพดีอยู่ และคิดว่าสายการบินโลว์คอสต์ต่าง ๆ จะเห็นด้วยกับนกแอร์ ส่วนเรื่องความลำบากในการเดินทางของผู้โดยสารในการต่อเครื่องนั้น คิดว่าไม่น่ามีปัญหา เพราะมีแท็กซี่ รถโดยสารสาธารณะ และอนาคตก็จะมีรถไฟฟ้าด่วนเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์ พอร์ต ลิงค์ ไว้ให้บริการอยู่แล้ว.- สำนักข่าวไทย

Click on the image for full size
[ 2007-01-11 : 14:36:39 ]
ที่มา : http://tna.mcot.net/search.php?type=3#
------------------------------------------------------------------------
ถ้ามีส่วนต่อขยาย Airport Link มาถึงดอนเมืองจริงๆ เขาจะใช้รางเดียวกับ รถไฟฟ้าสายสีแดงหรือป่าวครับ ระบบจ่ายไฟมาตัวรถที่แตกต่างกันจะมีปัญหามั้ย หรือว่าเขาจะสร้างทางเฉพาะสำหรับ Airport Link ครับ Embarassed
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 159, 160, 161  Next
Page 8 of 161

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©