Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311317
ทั่วไป:13281512
ทั้งหมด:13592829
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว Airport Link
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 98, 99, 100 ... 159, 160, 161  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2013 12:26 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
นี่ครับหน้าตารถที่ CAF จากสเปนจะนำมาวางขาย
ความเร็วสูงสุด: 160km/h (ปรับได้ถึง 200 km/h)
จำนวนมอเตอร์: Adaptable with a minimum of 4.
กำลังรถ (steady state): Up to 2,880kW
กำลังสูงสุดที่ล้อ: Up to 4,000kW
กำลังช่วย(steady state): Up to 600 kVA
อัตราการห้ามล้อสูงสุด (0-40 km/h): Up to 1.3 m/s²
อัตราการห้ามล้อปกติ: Adjustable to 1.1 m/s²
อัตราการห้ามล้อฉุกเฉิน: Adjustable to 1.1 m/s²

น้ำหนักเปล่า: 100 ตัน (3 ตู้)
โหลดเพลาสูงสุด: แล้วแต่ ข้อกำหนด
จุดได้ 1044 คนสำหรับรถแบบ 8 ตู้
กว้าง 2,880 mm
ยาว 16,200 mm (รถตาม)/21,500 mm (รถตู้แรกและตู้สุดท้าย ที่มีคนขับ)
สูง 4,300 mm
ความสูงพื้นต่ำสุด 600 mm
เส้นผ่านศูนย์กลางล้อ 850 mm

http://www.caf.net/en/productos-servicios/familia/civity/datos-tecnicos.php

Click on the image for full size

ส่วนรถจีนแดงที่ CNR Changchun ผลิตได้
ความเร็วสูงสุด: 200km/h (ปรับได้ถึง 250 km/h)
http://www.crc.chinacnr.com/english/web/serv-39.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2013 2:20 am    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ตลิ้งค์ลุ้นงบ300ล.จ่ายค่าซ่อมบำรุง
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2013 เวลา 12:08 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,855 วันที่ 23 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ซีอีโอแอร์พอร์ตลิ้งค์ เร่งขับเคลื่อน 3 ยุทธศาสตร์ แก้ภาพลักษณ์ การบริหารจัดการองค์กรและสร้างความเชื่อมั่นเพื่อผลิตคลังสมองป้อนระบบรถไฟฟ้า ลุ้นร.ฟ.ท.จัดหาแหล่งงบกว่า 300 ล้านบาทเพื่อจ่ายค่าซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ สิ้นมิ.ย.นี้เปิดใช้สกายวอร์กเชื่อมมักกะสัน

รศ.ดร.พีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากนี้ไปเร่งขับเคลื่อน 3 ยุทธศาสตร์โดยประเด็นแรกเร่งแก้ภาพลักษณ์ องค์กร ต่อมาเป็นการบริหารจัดการภายใน และสุดท้ายคือการสร้างความเชื่อมั่นบุคลากรให้พร้อมเป็นคลังสมองป้อนระบบรถไฟฟ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ทั้งนี้ แอร์พอร์ตลิ้งค์จัดเป็นรถไฟฟ้ากึ่งความเร็วสูง และบริษัทถือเป็นองค์กรของรัฐที่มีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านการเดินรถไฟฟ้ากึ่งความเร็วสูง และซ่อมบำรุงเองทั้งหมด โดยเจ้าหน้าที่ประมาณ 400 คนผ่านการศึกษาระบบรถไฟฟ้ามาแล้วกว่า 3 ปี จึงสามารถรองรับระบบรถไฟฟ้าในอนาคตได้ทันที ลดการพึ่งพาชาวต่างชาติ ประหยัดงบประมาณการจ้างวิศวกรต่างประเทศ ดังนั้นภายใน 1-2 ปีนี้จะต้องดำเนินการให้สำเร็จ
"ปัญหาใหญ่ของแอร์พอร์ตลิ้งค์คือต่อนี้ไปจะต้องมีการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่โดยใช้งบกว่า 300 ล้านบาทซึ่งต้องให้ร.ฟ.ท.จัดหาแหล่งงบนี้มาให้บริษัทดำเนินการโดยเร็ว อยู่ระหว่างการนำเสนอผ่านบอร์ดเพื่อขอแบ่งจากรายได้ที่จัดเก็บได้ปีละประมาณ 500 ล้านบาท มาเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียน แม้จะได้รับการว่าจ้างเดินรถก็ตาม แต่การเบิกค่าซ่อมบำรุงยังต้องมีอย่างต่อเนื่องจึงควรมีงบสำรองไว้ส่วนหนึ่ง"รศ.ดร.พีรกันต์กล่าว
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)กล่าวเสริมว่าขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งบันใดเลื่อนเพิ่มในสถานีพญาไท ราชปรารภและรามคำแหง ซึ่งใกล้แล้วเสร็จคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนกรกฎาคมนี้ ส่วนอีก 3 สถานีที่เหลือก็ได้ตัวผู้รับจ้างครบหมดแล้วอยู่ระหว่างการนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ดการรถไฟ หลังจากนั้นก็ว่าจ้างได้ทันที
ขณะที่จุดอื่นๆ เช่น ทางเข้าสถานีบ้านทับช้างก็เร่งปรับปรุงทางเข้าให้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่จอดรถรับ-ส่ง โดยจุดสกายวอร์กเชื่อมสถานีรถไฟใต้ดินสถานีเพชรบุรีก็เตรียมเปิดให้บริการสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ส่วนทางเชื่อมด้านจตุรทิศอยู่ระหว่างการหารือกับกรุงเทพมหานครเพื่อให้เข้าสู่พื้นที่ทางด้านนี้สะดวกยิ่งขึ้น สำหรับการจัดสร้างแลมป์ด้านถนนรัชดาภิเษกเข้าสู่ชั้นคอนคอร์ดก็อยู่ระหว่างการปรับแบบให้สอดคล้องกับพื้นที่ ทางด้านการปรับภูมิทัศน์ก็ขอให้ผู้รับจ้างสร้างสกายวอร์กเร่งเคลียร์พื้นที่เพื่อดำเนินการปรับภูมิทัศน์ด้านหน้าสถานีมักกะสันต่อไป
ด้านนางสาวธาริกา โชโต ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โคอาซะ มีเดีย(ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารพื้นที่โฆษณาและพื้นที่เชิงพาณิชย์โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์กล่าวว่าตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้ จะเห็นความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่ร้านค้าที่สถานีสุวรรณภูมิ หลังจากนั้นจะทยอยพัฒนาในพื้นที่สถานีอื่นๆ มี ลาดกระบัง หัวหมาก รามคำแหง มักกะสัน โดยเฉพาะสถานีสุวรรณภูมิที่จะมีทั้งร้านค้า ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้าที่สามารถซื้อเพื่อเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่ง 1-2 เดือนนี้จะเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2013 2:34 am    Post subject: Reply with quote

มีลุ้นแผนปรับโครงสร้างการเงินแอร์พอร์ตลิงค์
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE - คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2013 เวลา 10:54 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,853 วันที่ 16 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 2 ปีมีผู้โดยสารใช้บริการกว่า 4 หมื่นคนต่อวันสำหรับโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมโยงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือแอร์พอร์ตลิงค์(ARL) ซึ่งแนวโน้มช่วงแรกเปิดโครงการ หลายคนตั้งความหวังไว้ว่าจะเป็นไปในแนวทางที่ดี แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคนานัปการ โดยเฉพาะภาระหนี้ที่เป็นปมถกเถียงกันของผู้บริหารว่าจะหาทางออกอย่างไรดี

แม้ว่าช่วงที่ผ่านมานั้นได้จัดให้มีการจ้างสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาการจัดการองค์กรทั้งระบบ พร้อมกับการปรับโครงสร้างทางการเงินและการถ่ายโอนสินทรัพย์ระหว่างการรถไฟฯกับบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจด้านรัฐวิสาหกิจ(กนร.)มีมติให้ดำเนินการศึกษา ส่วนจะทำได้สำเร็จจริงตามผลศึกษาหรือไม่นั้นคงต้องลุ้นกันต่อไปว่าจะมีโอกาสนำผลการศึกษาดังกล่าวไปใช้ทันเวลาหรือไม่
++แยกสินทรัพย์ออกเป็น 3 หมวดหลัก
โดยผลการศึกษาดังกล่าวพบว่ามีสาระสำคัญแบ่งออกเป็น 3 หมวดหลักๆ ได้แก่ หมวดที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และหมวดงานระบบ โดยสินทรัพย์ที่จะถ่ายโอนควรพิจารณาจากหลายๆ ด้านอาทิ การขาดสภาพคล่องทำให้ต้องหาแหล่งเงินทุนเพิ่ม ความสามารถในการใช้คืนหนี้อาจมีผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยกู้ยืม ผลประกอบการมีผลต่อการระดมทุนในตลาดทุน โดยการโอนโครงสร้างพื้นฐานได้ประมาณการเสื่อมราคาของสินทรัพย์คิดเป็นมูลค่า 1.8 หมื่นล้านบาท/30 (ค่าเสื่อมราคา 30 ปี)หรือเท่ากับ 610 ล้านบาทต่อปี ส่วนกรณีเป็นการเช่าโครงสร้างพื้นฐาน โดยปฏิบัติตามระเบียบการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 129 ว่าด้วยการจัดประโยชน์ในทรัพย์สินจะคิดอัตราค่าเช่าอัตรา 2.75%ต่อปี ซึ่งจากการประมาณการมูลค่าสุทธิหลังหักค่าเสื่อมคิดเป็น 1.6 หมื่นล้านบาทต่อปี
โดยที่ปรึกษาเห็นควรเป็นการเช่า และกระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ ซึ่งARLควรเจรจาค่าเช่าในอัตราที่ต่ำเพื่อลดความเสี่ยงด้านภาษีนิติบุคคล เช่นเดียวกับเรื่องที่ดินก็มีเปรียบเทียบให้เห็นชัดทั้งการเช่าและการโอน ซึ่งกรณีการโอนอาจพบอุปสรรค เนื่องจากอาจเป็นที่ดินจากการเวนคืน ส่วนกรณีการเช่าควรเป็นไปตามระเบียบฉบับที่ 129 อัตรา 2.75% ซึ่งได้ประมาณการค่าเช่าไว้ดังนี้คือ ปี 2557 จำนวน 197 ล้านบาท ปี 2562 จำนวน 227 ล้านบาท ปี 2567 จำนวน 261 ล้านบาท และปี 2572 จำนวน 300 ล้านบาท
ทางด้านในส่วนที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานนั้นที่ปรึกษาเห็นควรเป็นการเช่าทั้งหมด ส่วนงานระบบควรเป็นการโอนทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงานเป็นหลัก โดยการเช่าสินทรัพย์ซึ่งมีการซ่อมบำรุง ARL สามารถนำค่าบำรุงรักษามาหักจากค่าเช่าด้วยวิธีการตกลงกับการรถไฟฯได้อีก
++จ่อปรับโครงสร้างทางการเงิน
โดยที่ปรึกษาเทียบกับ 6 รูปแบบการเดินรถ คือ 1. เดินรถตามนโยบาย ความถี่ 8 นาที 2.เดินรถตามปริมาณผู้โดยสาร 3.เดินรถโดยไม่จำกัดแผนการจัดซื้อรถไฟฟ้าธรรมดาใหม่ 4.เดินรถโดยเพิ่มชั่วโมงเร่งด่วน 5.เดินรถโดยรวมส่วนต่อขยายไปท่าอากาศยานดอนเมือง และ 6.เดินรถโดยรวมเอาข้อที่ 3 ไปรวมกับเดินรถส่วนต่อขยายไปท่าอากาศยานดอนเมือง โดยที่ปรึกษาเลือกนำเสนอข้อที่ 3เนื่องจากมีความเป็นไปได้มากที่สุด โดยปริมาณผู้โดยสารในปี 2557-2559 จะถูกจำกัดด้วยอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร ส่งผลให้ไม่สามารถรับปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยได้มากกว่า 4.4 หมื่นคนต่อวัน แต่หลังจากปี 2560 ที่ได้ขบวนรถเพิ่มอีก 7 ขบวนแล้วปริมาณผู้โดยสารในปี 2572 จะถูกจำกัดด้วยอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารที่เฉลี่ย 1.2 หมื่นคนต่อวัน(ดังแสดงในตาราง)
สำหรับการประเมินรายได้เชิงพาณิชย์ที่ไม่ใช่ค่าโดยสาร คือจากค่าเช่าพื้นที่ ค่าโฆษณา และรายได้พื้นที่จอดรถ ก็ยังมีลุ้นผลกำไรและรายได้ต่อปี ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าตั้งแต่ปี 2556 คิดเป็นรายได้ 31 ล้านบาท ปี 2557 จำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 33 ล้านบาท ปี 2558 จำนวน 34 ล้านบาท ปี 2559 จำนวน 35 ล้านบาท ไปสิ้นสุดถึงปี 2576 จำนวน 83 ล้านบาท
ส่วนแนวทางการหาประโยชน์สามารถทำได้โดยทำการโอนสัญญาเช่าเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการมาดำเนินการทั้งหมด แต่หากจะเช่าอย่างเต็มรูปแบบเพื่อการพาณิชย์โดยเฉพาะ จะไม่มีความเป็นไปได้ทางการเงินเนื่องจากค่าเช่าโครงสร้างพื้นฐานพร้อมส่วนควบคิดเป็นประมาณปีละ 452 ล้านบาทในขณะที่ประมาณการรายได้จากผลประโยชน์เชิงพาณิชย์มีประมาณ 30-50 ล้านบาทต่อปีในช่วงปีต้นๆ ของการแยกองค์กรเท่านั้น
ดังนั้นจากแผนธุรกิจและจากการวิเคราะห์ทางการเงินแล้วผลการศึกษาบ่งชัดว่าสินทรัพย์ที่โอนมาเท่ากับหนี้สินซึ่งมีมูลค่าจำนวน 1.1 หมื่นล้านบาท แอร์พอร์ตลิงค์ต้องรับภาระหนี้ 3,535 ล้านบาท ดังนั้นหนี้สินทั้งสิ้นคิดรวมเป็นจำนวน 1.8 หมื่นล้านบาทโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้กู้ให้ ปัจจุบันแอร์พอร์ตลิงค์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ทุนจดทะเบียน 140 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 1.4 ล้านหุ้นโดยการรถไฟฯถือหุ้นทั้งสิ้น 1.3 ล้านหุ้น เมื่อคำนึงถึงส่วนทุนที่การรถไฟฯถืออยู่ 140 ล้านบาท ทำให้ส่วนทุนตั้งต้น รวมดอกเบี้ยจ่ายโดยกระทรวงการคลังที่เป็นส่วนทุนหลังแยกองค์กรโครงสร้างผู้ถือหุ้นเป็นดังนี้คือ กระทรวงการคลัง 2.1 หมื่นล้านบาท การรถไฟฯ 140 ล้านบาท
นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้นหากจะเปลี่ยนแปลงอย่างที่บางคนตั้งใจคงต้องใช้เวลาอีกนานเพราะกระบวนการยังผ่านขั้นตอนอีกมากมาย โดยเฉพาะการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของกนร. และสุดท้ายคงต้องไปวัดใจคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44763
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/07/2013 8:29 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ได้ฤกษ์เซ็นสัญญา จ้างศึกษาต่อขยายแอร์พอร์ตลิ้งค์
ฐานเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 01 กรกฏาคม 2013 เวลา 07:39 น.

การรถไฟฯได้ฤกษ์เซ็นสัญญาจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง หลังล่าช้ากว่าสายอื่นเหตุยื่นครม.เห็นชอบเพิ่มชื่อส่วนต่อขยาย บิ๊กเอเชี่ยนฯเผยร.ฟ.ท.เน้นใช้พื้นที่แนวทางเดิมเป็นหลักให้สอดคล้องการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบๆสถานีและตลอดแนวเส้นทาง เซียนประเมินที่ดินส่งสัญญาณจับตามูลค่าเพิ่มที่ดินชลบุรี-พัทยา-ระยองบูมรับไฮสปีดเทรน

นางนวลอนงค์ วงษ์จันทร์ หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์และบริการท่องเที่ยว การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าการรถไฟฯ จะจัดพิธีลงนามสัญญาว่าจ้างงานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม สำรวจ และออกแบบรายละเอียด โครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา ไปถึงระยอง โดยนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอเซี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด, บริษัท Japan International Consultants For Transportation จำกัด, บริษัท Oriental Consultants จำกัด, บริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด และ บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด ในวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2556 นี้ เวลา 13.30 น – 15.00 น. ห้องปฏิบัติการ ชั้น 3 การรถไฟฯ โดยมีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการรถไฟฯ เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาฯครั้งนี้

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการร.ฟ.ท.กล่าวว่า โครงการนี้ยังไม่ถือว่าล่าช้าเพราะช่วงที่ผ่านมาติดขัดปัญหาเรื่องงบประมาณการว่าจ้างแต่ได้ดำเนินการคัดเลือกที่ปรึกษาแล้วเสร็จมาหลายเดือนแล้ว จึงต้องขออนุมัติตามขั้นตอนให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในภายหลัง

โดยการว่าจ้างที่ปรึกษาในครั้งนี้ร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการคัดเลือกแล้วเสร็จมาหลายเดือนแล้วแต่ติดขัดที่ยังไม่สามารถเซ็นสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาได้เนื่องจากงบประมาณการว่าจ้างไม่ได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณกระทรวงการคลัง เพราะชื่อเส้นทางไม่สอดคล้องกับการนำเสนอขออนุมัติจากเดิมสิ้นสุดเฉพาะกรุงเทพ-พัทยา แต่ภายหลังต่อมาขอเพิ่มให้ไปสิ้นสุดที่ระยองจึงต้องนำเสนอขออนุมัติความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้ถูกต้องตามกระบวนการต่อไป

“แม้ว่าจะเริ่มว่าจ้างศึกษาล่าช้ากว่าสายอื่นๆในบรรดารถไฟความเร็วสูงแต่ก็ยังพอมีเวลาการทำงานในกรอบที่ร.ฟ.ท.กำหนดไว้ ประการสำคัญแนวเส้นทางโดยส่วนใหญ่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออกที่จะสะดวกต่อการศึกษา โดยไม่กระทบต่อพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางมากนัก ยกเว้นในบางจุดบางช่วงที่เป็นช่วงโค้งเท่านั้น สำหรับช่วงปลายยังมีแนวเส้นทางเดิมจึงน่าจะไม่มีปัญหาต่อการสำรวจพื้นที่ของกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา”

ด้านนายธวัช เบญจพลชัย รองกรรมการผู้จัดการบริษัท เอเซี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาก็ได้จัดเจ้าหน้าที่ลงสำรวจพื้นที่เบื้องต้นไปแล้ว เพื่อให้สามารถเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วตามแผน พบว่าพื้นที่โดยส่วนใหญ่ยังอยู่ในแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเป็นหลักและมีพื้นที่มากพอ แต่ผู้บริหารการรถไฟต้องการให้เน้นการศึกษาการพัฒนาสถานีให้สอดคล้องกับการพัฒนาเชิงพาณิชย์ควบคู่กันไปด้วย

“ได้ประสานร.ฟ.ท.เพื่อขอลงพื้นที่สำรวจล่วงหน้าไปบางส่วนแล้วเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว พร้อมกับให้สอดคล้องการพัฒนาพื้นที่สถานีในการนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์กับพื้นที่รอบข้าง ให้ภาคเอกชนสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาให้เป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลต้องการในการกระตุ้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในแนวเส้นทางรถไฟ รถไฟฟ้าและไฮสปีดเทรนแต่ละเส้นทางรูปแบบการพัฒนาเมืองให้สอดรับกับการพัฒนาทิศทางเมืองที่เติบโตออกไปให้เชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบหลักและระบบรอง ซึ่งหน่วยงานอื่นๆสามารถกำหนดแผนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”

นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวว่าแนวโน้มการปรับราคาที่ดินในจุดก่อสร้างสถานีน่าจะมีมากกว่าในแนวเส้นทาง ปัจจุบันราคาอยู่ในระดับหมื่นบาทต่อตารางวา แต่หากเปิดให้บริการไฮสปีดเทรนราคาจะเพิ่มเป็นหลักแสนบาทอย่างแน่นอน โดยเฉพาะทำเลชลบุรี พัทยา ระยอง ที่คาดว่าจะมีนักลงทุนไปกว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรเอาไว้ล่วงหน้าบ้างแล้ว รอเวลาที่รถไฟฟ้าจะเปิดให้บริการเท่านั้น ดังนั้นการเซ็นสัญญากับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาในครั้งนี้จึงเป็นอีกมิติหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินในแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2013 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

ย้อนรอยแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Link): บทเรียนสำคัญสำหรับโครงการ 2 ล้านล้าน
จัดทำโดย สุวิดา จิรประเสริฐกุล และ ณัฐธิดา ดำริห์
Thailand Future Foundation
มิถุนายน 2556

6 สิ่งที่แตกต่างระหว่างแผนกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการแอร์พอร์ตลิงค์

เรื่องที่ 1 : ระยะเวลาก่อสร้างของโครงการ - ในแผนงานกำหนดว่าโครงการจะแล้วสร็จตามสัญญาในวันที่ 5 พ.ย. 2550 (รวม 990 วัน) แต่ในความเป็นจริง ได้มีการขอขยายเวลาก่อสร้างออกไปถึง 2 ครั้ง รวมเป็นเวลาที่เพิ่มขึ้นกว่า 550 วัน ทำให้สามารถให้บริการเชิงพาณิชย์ได้จริงในวันที่ 23 พ.ย. 2553 ส่วนสาเหตุของความล่าช้าเกิดจากปัญหาที่ ร.ฟ.ม ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่เวนคืนให้ผู้รับเหมาได้ตามเวลาที่กำหนด และพบปัญหาเสาตอม่อบางส่วนของโครงการร้าว

เรื่องที่ 2 : เวลาในการเดินรถและจำนวนขบวนรถที่สามารถให้บริการ จากเดิมที่เคยระบุว่ารถไฟฟ้า Express line จะสามารถเดินรถได้ทุกๆ 15 นาที และมีจำนวนขบวนรถให้บริการทั้งสิ้น 4 ขบวน แต่ในปัจจุบัน Express line สามารถให้บริการเดินรถได้จริงเพียงชั่วโมงละ 1 เที่ยว และเหลือขบวนรถเพื่อให้บริการเพียง 2 ขบวน เป็นผลจากการขาดแผนงานซ่อมบำรุงที่ดี ในขณะที่รถไฟฟ้า City line ซึ่งเคยแจ้งว่าสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ก็เปลี่ยนมาให้บริการในช่วงเวลา 6:00-24:00 น. เท่านั้น

เรื่องที่ 3 : คาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร ในเบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่าโครงการแอร์พอร์ตลิงค์จะมีจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการในปี 2550 (ปีที่คาดว่าจะเปิดให้บริการ) มากถึง 95,900 คนต่อวัน เกือบจะเทียบเท่ากับจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิเฉลี่ยต่อวัน โดยแบ่งเป็นผู้โดยสารของ City line จำนวน 87,700 คนต่อวัน และ Express line 8,200 คนต่อวัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี จำนวนผู้โดยสารจริงของแอร์พอร์ตลิงค์มีเพียง 40,811 คนต่อวันเท่าน แยกเป็น City line 38,230 คนและ Express line 2,581 คนต่อวัน

เรื่องที่ 4 : บริการเช็คอินและขนถ่ายสัมภาระผู้โดยสาร จากที่เคยระบุให้สถานีมักกะสันเป็นสถานีรับส่งผู้โดยสารและสถานีเช็คอินเพื่อขนถ่ายสัมภาระไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีสายการบินไทยและบางกอกแอร์เวย์เป็นผู้ให้บริการ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี มีจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการเช็คอินที่สถานีมักกะสันเพียง 12 คนต่อวัน และเหลือเพียงการบินไทยรายเดียวที่ยังคงเปิดให้บริการเช็คอิน นอกจากนี้ งานก่อสร้างสกายวอร์คเพื่อเชื่อมทางระหว่างสถานีมักกะสันกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเพชรบุรีที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้จากค.ร.ม. ไปตั้งแต่เดือนก.ย 2552 ก็ยังไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิ.ย. 2555 ตามที่ได้คาดการณ์เอาไว้แต่อย่างใด

เรื่องที่ 5 : ต้นทุนทางการเงินในการบริหารโครงการ พบว่าร.ฟ.ท. จ่ายค่าธรรมเนียมทางการเงินสำหรับโครงการแอร์พอร์ตลิงค์สูงถึง 7% ในขณะที่โครงการอื่นๆ จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในส่วนนี้เพียง 2.5% เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการแก้ไขสัญญาของโครงการเพื่อให้ชำระเงินแก่ผู้รับเหมาทันทีเมื่อครบกำหนดสัญญา จากเดิมที่เคยระบุให้ชำระเงินต่อเมื่อโครงการเสร็จสิ้น อีกทั้งยังไม่มีการระบุเงื่อนไขการรับมอบงานที่แล้วเสร็จแต่อย่างใด

เรื่องที่ 6 : การกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง ตามที่ ค.ร.ม. มีมติให้จัดสรรเงินกู้เพิ่มเติมแก่บริษัทเดินรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ เนื่องจากมีผลประกอบการขาดทุนและขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างสูง ทำให้ไม่มีเงินไปใช้เพื่อปรับปรุง ซ่อมบำรุง และจัดซื้ออะไหล่สำหรับขบวนรถไฟฟ้า โดยต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการคลังก่อน แต่จนถึงปัจจุบัน กระทรวงการคลังยังไม่ได้อนุมัติเงินกู้งวดแรกให้แก่แอร์พอร์ตลิงค์เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาเลย

http://www.thailandfuturefoundation.org/th/reports/detail.php?ID=179&SECTION_ID=12
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2013 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ร.ฟ.ท.ได้ฤกษ์เซ็นสัญญา จ้างศึกษาต่อขยายแอร์พอร์ตลิ้งค์
ฐานเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 1 กรกฏาคม 2556 เวลา 07:39 น.


ร.ฟ.ท.ลงนามจ้างบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาส่วนต่อขยาย โครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปชลบุรี–พัทยา-ระยอง
โดย ทีม พีอาร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (บันทึก) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2013 เวลา 12:59 น.

วันนี้ (วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556) เวลา 14.30 น. นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานกรรมการรถไฟฯ เป็นประธานและสักขีพยานระหว่างนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟฯ กับ ผู้แทนกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด (AEC) JANPAN INTERNATIONAL CONSULTANTS FOR TRANSPORTATION CO.,LTD (JIC) ORIENTAL CONSULTANTS CO.,LTD (OC) บริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด (ENRICH) บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด (NE) ในพิธีลงนามว่าจ้างงานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม สำรวจ และออกแบบรายละเอียดโครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยายจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา ไปถึงระยอง ณ ห้องประชุมปฏิบัติการ ชั้น 3 อาคารการรถไฟแห่งประเทศไทย แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

นางนวลอนงค์ วงษ์จันทร์ หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ การรถไฟฯ กล่าวว่า การรถไฟฯมีโครงการที่จะศึกษาและพัฒนาขยายทางรถไฟต่อจากโครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปยังจังหวัดชลบุรี – พัทยา ไปถึงระยอง ซึ่งถือเป็นโครงการเร่งด่วน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ใน กรอบวงเงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยมุ่งพัฒนาโครงข่ายรถไฟทั่วประเทศ และพัฒนาเชื่อมโยงฐานการผลิตในภูมิภาคและระหว่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาการให้บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้ได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย รวมทั้งลดต้นทุนการขนส่งที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

งานบริการที่ปรึกษาเพื่อการศึกษาความเหมาะสม สำรวจ และออกแบบรายละเอียด โครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อม ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยายจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ–ชลบุรี–พัทยา ไปถึงระยอง ถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก กรุงเทพฯ – ระยอง โดยจะใช้แนวเส้นทางเขตทางรถไฟเดิม เพื่อเป็นการลดงบประมาณในการเวนคืน จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และรูปแบบทางรถไฟส่วนใหญ่จะอยู่ระดับดิน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง โดยในเส้นทางดังกล่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการศึกษาแผนรายละเอียดการก่อสร้าง รวมระยะทางทั้งสิ้น 221 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที จากที่เคยใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ตามปกติประมาณ 3 ชั่วโมง วงเงิน 100,631 ล้านบาท

แนวเส้นทางโครงการเริ่มต้นที่สถานีบางซื่อและวิ่งต่อไปยังสถานีพญาไท จอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีมักกะสัน ลาดกระบัง หรือสุวรรณภูมิ ตามความเหมาะสมจากผลการศึกษา ด้วยข้อกำหนดเดียวกับโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ปัจจุบันที่มีอยู่ จากนั้นจะเป็นส่วนต่อขยายช่วงลาดกระบัง/สุวรรณภูมิ ไปยังจังหวัดระยอง ซึ่งจะก่อสร้างด้วยข้อกำหนดการออกแบบของรถไฟความเร็วสูง ในเบื้องต้นกำหนดให้มีสถานีรายทาง 4 สถานี ได้แก่ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีพัทยา และสถานีปลายทางสถานีระยอง คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารตลอดแนวเส้นทางมากกว่าสองหมื่นคนต่อวันในปีที่เปิดใช้บริการ

//-----------------------

ร.ฟ.ท.จ้างที่ปรึกษาเดินหน้าไฮสปีด กรุงเทพฯ-ระยอง ยันเปิดบริการปี′62

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันจันทร์ที่ 1 กรกฏาคม 2556 เวลา 17:25:24 น.


นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.ได้ลงนามว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เอ็นจิเนียริ่ง คอลซัลเต้นส์ จำกัด (เออีซี) เพื่อศึกษาความเหมาะสม สำรวจ และออกแบบรายละเอียดโครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร วงเงิน 251 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 14 เดือน หลังจากนั้นจึงจะเปิดประกวดราคาเพื่อก่อสร้างต่อไป คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2562

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าในเส้นทางดังกล่าวจะเป็นรถไฟความเร็วสูง มีความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. ใช้เวลาเดินทางจากต้นทางถึงปลายทางประมาณ 1.15 ชม. เป็นคนละระบบกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่ใช้ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. ถึงแม้ในบางช่วง คือ จากสถานีกลางบางซื่อ-สุวรรณภูมิ จะใช้รางเดียวกันกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ แต่ระบบอาณัติสัญญาณจะเป็นคนละระบบ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) สายกรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อป้องกันความสับสนของประชาชน โดยใช้งบประมาณรวม 100,631 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2013 11:04 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ตั้งเป้าประมูลไฮสปีดกรุงเทพฯ-ระยองปี 57 ชี้เวนคืนน้อยเปิดเดินรถปี 62 ท่องเที่ยว-สินค้าพุ่ง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1
1 กรกฎาคม 2556 18:25 น.


ร.ฟ.ท.เซ็นจ้างออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก (กทม.-ระยอง) 251.4 ล้านบาท เร่งสรุปใน 14 เดือน “ประภัสร์” เผยหลัง พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้านผ่านจะออก พ.ร.ฎ.เวนคืนได้ปลายปีนี้ มั่นใจเปิดประมูลก่อสร้างได้ก่อนสายอื่น ตั้งเป้าให้เดินรถได้ในปี 62 พร้อมสั่งศึกษาต่อถึงตราดอีก 100 กม.

วันนี้ (1 ก.ค.) นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นประธานในการลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม สำรวจ และออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ระหว่าง ร.ฟ.ท. กับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา AEC วงเงิน 251.4 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 14 เดือน โดยนางสร้อยทิพย์เปิดเผยว่า การว่าจ้างที่ปรึกษาล่าช้ากว่าแผนที่จะเริ่มงานตั้งแต่ต้นปี หากเป็นไปได้จะให้ที่ปรึกษาเร่งสรุปการศึกษาภายใน 10 เดือน พร้อมกับให้ดำเนินการเรื่องการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คู่ขนานไปด้วย เนื่องจากแนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ในเขตทางรถไฟ จึงมั่นใจว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ก่อนสายอื่น

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า การก่อสร้างจะใช้เขตทางรถไฟที่มีอยู่เป็นหลักจึงจะเวนคืนที่ดินน้อยมากเฉพาะส่วนที่เป็นอู่ซ่อมบำรุง (Depot) และรัศมีทางโค้งเพื่อความปลอดภัย โดยไม่ผ่านพื้นที่อ่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม ประกอบกับเป็นการออกแบบรายละเอียด (Detail & Design) ดังนั้นเมื่อ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทผ่านจะออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินได้ทันที คาดว่าอยู่ในช่วงปลายปี 2556-ต้นปี 2557 และจะเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงที่เปิดประกวดราคาก่อสร้างได้เป็นสายแรกในปี 57 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2562

ทั้งนี้ โครงการนี้ไม่ใช่ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ (มักกะสัน-สุวรรณภูมิ)เนื่องจากความเร็วต่างกัน ระบบอาณัติสัญญาณจะต้องแยกกัน ดังนั้นในสัปดาห์หน้าจะประชุมร่วมกับที่ปรึกษาเพื่อหารือถึงรายละเอียดการศึกษาออกแบบ โดยเฉพาะจุดเชื่อมต่อที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เบื้องต้นพบว่าพื้นที่ใต้อาคารผู้โดยสารของสุวรรณภูมิอาจไม่เพียงพอที่จะให้รถไฟความเร็วสูงเข้าไปได้ จึงอาจต้องหาพื้นที่บริเวณสถานีลาดกระบังหรือทับช้างเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารจากสุวรรณภูมิเพื่อเดินทางไประยองโดยไม่ต้องย้อนกลับมามักกะสันหรือบางซื่อ พร้อมกันนี้ได้ให้บริษัทที่ปรึกษาดำเนินการออกแบบเส้นทางต่อจากระยองไปถึงจังหวัดตราด ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตรด้วยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม

“มีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจกับที่ปรึกษาในการออกแบบ เช่น แนวเส้นทางช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ จะใช้ทางร่วมกับแอร์พอร์ตลิงก์ (มักกะสัน-สุวรรณภูมิ) แต่จะแยกระบบอาณัติสัญญาณ เพราะแอร์พอร์ตลิงก์ความเร็ว 160 กม./ชม. ส่วนรถไฟความเร็วสูงความเร็ว 250 กม./ชม. รวมถึงจะต้องนำข้อผิดพลาดจากโครงการแอร์พอร์ตลิงก์มาเป็นบทเรียน และต้องไม่เกิดซ้ำอีก เมื่อเปิดให้บริการจะต้องเป็นเส้นทางที่มีความสมบูรณ์ไม่ถูกต่อว่าเหมือนที่ผ่านมา ส่วนความคืบหน้าโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย (พญาไท-ดอนเมือง) นั้น การออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างรอการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อเพื่อโครงสร้างเชื่อมกัน” นายประภัสร์กล่าว

สำหรับรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 100,631 ล้านบาท ความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที เริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ (เป็นระบบใต้ดิน)-คลองสามเสน-พระราม 6-พญาไท จากนั้นใช้ทางร่วมกับแอร์พอร์ตลิงก์ โดยแยกระบบอาณัติสัญญาณไปถึงสุวรรณภูมิ จากนั้นไปตามแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออกผ่านฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-พัทยา สิ้นสุดทางรถไฟปัจจุบันที่พลูตาหลวง และเวนคืนที่ดินเพิ่มเพื่อต่อไปถึงสถานีระยอง โดยจะเป็นเส้นทางที่รองรับทั้งการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้า และสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) สูงถึง 13.28% ประมาณการผู้โดยสารปีที่เปิดให้บริการเบื้องต้นที่สถานีต้นทาง 28,000 คนต่อวัน และสถานีปลายทางระยองที่ 8,000 คนต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2013 9:40 am    Post subject: Reply with quote

ลุยรถไฟเร็วสูงระยอง
โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์
2 กรกฎาคม 2556, 05:30 น.


นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.ได้ลงนามว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เอ็นจิเนียริ่ง คอลซัลเต้นส์ จำกัด (เออีซี) เพื่อศึกษาความเหมาะสม สำรวจ และออกแบบรายละเอียดโครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร วงเงินค่าจ้างที่ปรึกษา 251 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 14 เดือน หลังจากนั้นจึงจะเปิดประกวดราคาเพื่อก่อสร้างต่อไป คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2562

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าเส้นทางนี้จะเป็นรถไฟความเร็วสูง มีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากต้นทางถึงปลายทางราว 1.15 ชั่วโมง เป็นคนละระบบกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ที่ใช้ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถึงแม้บางช่วงคือจากสถานีกลางบางซื่อ-สุวรรณภูมิ จะใช้รางเดียวกัน แต่ระบบอาณัติสัญญาณจะเป็นคนละระบบ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) สายกรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อป้องกันความสับสนของประชาชน โดยใช้งบรวม 100,631 ล้านบาท โดยโครงการนี้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท คาดว่าร่าง พ.ร.บ.จะผ่านการพิจารณาปลายปีนี้ ดังนั้นเมื่อบริษัทที่ปรึกษามีความชัดเจนในแนวการก่อสร้างอีก 3-4 เดือน จะออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินได้ หากทุกอย่างแล้วเสร็จ ก็น่าจะเริ่มการประกวดราคาได้ มั่นใจว่าแนวเส้นทางการก่อสร้างจะไม่มีปัญหา เพราะส่วนใหญ่เป็นเขตทางรถไฟ จะมีเวนคืนบ้างเฉพาะพื้นที่ที่จะใช้เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงเท่านั้น เบื้องต้นประมาณการผู้โดยสารใช้บริการในปีแรกไว้ 2.8-3 หมื่นคนต่อวัน (ในกรุงเทพฯ) เฉพาะที่ระยองใช้บริการ 8-9 พันคนต่อวัน คาดว่ารถไฟความเร็วสูงเส้นนี้จะเป็นเส้นทางแรกที่ก่อสร้างได้ก่อนเส้นทางอื่น เพราะมีระยะทางสั้นกว่า และมีปัญหาน้อยกว่า “ปัญหาเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ไม่น่าห่วง เพราะใช้แนวเส้นทางรถไฟเดิมอยู่แล้ว แต่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้โครงการมีปัญหาตอนที่ยังก่อสร้าง และหลังจากที่เปิดให้บริการแล้ว”.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2013 2:24 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
โฆษณาการท่องเที่ยวญี่ปุ่น 4 ฤดู ด้วยหนู Miku แปะบนไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10153091918730637&set=a.10153091918675637.1073741843.10150149727825637&type=1&theater

Click on the image for full size
โฆษณาการท่องเที่ยวญี่ปุ่นฤดูหนาว ที่ฮอกไกโด
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=614277465269433&set=a.247037241993459.67341.106403506056834&type=1&ref=nf

เอาแล้วไง! รถไฟฟ้าแอร์พอร์ทลิงค์หนู Hatsune Miku มาไทยแล้วจ้า!!
Akibatan 1 สิงหาคม 2556

เห็นข่าวตอนแรกไม่อยากเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง แต่มันก็เกิดขึ้นจริงแล้ว!! กับรถไฟหนู Hatsune Miku ที่จะมาวิ่งอยู่ในเมืองไทยของเรานี่แหละ โดยใน ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 15 กันยายน 2013 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ทลิงค์ จะถูกตกแต่งด้วยลวดลายของหนู Hatsune Miku (ภาพบน) มาวิ่งรับส่งผู้ โดยสารระหว่างสถานีสุวรรณภูมิ – พญาไท ทุก 1 ชั่วโมงทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการโปรโมทท่องเที่ยวของเมือง Sapporo บ้านเกิดของหนู Hatsune Miku นั่นเอง! ยังไม่พอแค่นั้น นอกจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ทลิงค์บอกว่าจะมีโพสการ์ดลาย Snow Miku แบบจำนวนจำกัดตามอีเว้นท์ต่างๆ ดังนี้ด้วย

งาน Thai International Travel Fair 2013 ระหว่างวันที่ 15 – 18 สิงหาคม 2013 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่บูทของ Hokkaido https://www.facebook.com/ttaatitf
สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ทลิงค์พญาไท เวลา 11.00 น. (ยังไม่แน่นอน) วันที่ 16 สิงหาคม 2013
3. งาน Sapporo Hokkaido Thailand Travel Fair ระหว่างวันที่ 24 – 25 สิงหาคม 2013 ที่ Siam Discovery http://www.siamdiscovery.co.th/
งานนี้ใครเป็นแฟนของเธอจงรีบไปขึ้นโดยพลัน (ฮา)


Last edited by Wisarut on 01/08/2013 2:01 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 01/08/2013 9:16 am    Post subject: Reply with quote

เตรียมชงซื้อรถแอร์พอร์ตลิงค์7ขบวน "ชัชชาติ"เร่งสรุปปลดล็อคระบบซีเมนส์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31
31 กรกฎาคม 2556 21:54 น.

คมนาคมเตรียมชงครม. ซื้อรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ 7 ขบวน “ชัชชาติ”นัดถกร.ฟ.ท.-แอร์พอร์ตลิ้งค์ หาทางออก ปลดล็อคระบบอาณัติสัญญาณซีเมนส์ เปิดกว้างรถทุกยี่ห้อวิ่งได้ และเตรียมหารือคลัง ยุบบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.เป็นหน่วยธุรกิจหรือแยกออกจากร.ฟ.ท. CEO แอร์พอร์ตลิ้งค์เผยผู้โดยสารเพิ่ม คาดเปิด Sky Walk เชื่อมมักกะสันแตะ 6 หมื่นคน/วัน คลัง จับมือคมนาคมจีดเทศกาลหนังสือวันแม่@Airport Link เทิดพระเกียรติ รณรงค์ให้คนไทยรักการอ่าน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้าจะเสนอแผนการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ 7 ขบวนวงเงินรวมประมาณ 5,200 ล้านบาท (รวมอะไหล่สำรอง) ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่ยังไม่ทราบว่าจะได้เข้าสู่ที่ประชุมครม.ทันทีหรือไม่ ยอมรับว่าปัจจุบันขบวนรถไม่เพียงพอกับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นนอกจากนี้จะต้องพิจารณาเรื่องระบบอาณัติสัญญาณที่เป็นของซีเมนส์ในปัจจุบันด้วยว่าจะใช้ระบบเดิมหรือปรับใหม่ให้เป็นระบบที่เปิดกว้างซึ่งในระยะยาวจะมีผลดีมากกว่า

ทั้งนี้ ในวันที่ 2 สิงหาคมนี้ จะประชุมกับผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และผู้บริหารแอร์พอร์ตลิ้งค์ถึงการบริหารการเดินรถให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งทางแอร์พอร์ตลิ้งค์เสนอจะตัดการเดินรถขบวนรถ Express Line พญาไท เหลือแต่ขบวนมักกะสันเพื่อลดระยะห่างของขบวนลงจากปัจจุบันที่ต้องรอรถ Express นานทำให้มีผู้โดยสารน้อยและไปใช้ขบวน City Line จนแออัด ส่วนการแยกบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ออกจาก ร.ฟ.ท.หรือจะให้กลับไปเป็นหน่วยธุรกิจของร.ฟ.ท.นั้นจะต้องหารือกับทางกระทรวงการคลังด้วย

นายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (CEO) แอร์พอร์ตลิ้งค์กล่าวว่า กรณียังคงใช้ระบบอาณัติสัญญาณของซีเมนส์อยู่จะไม่มีผลต่อยี่ห้อตัวรถที่จะจัดซื้อเพราะสามารถปรับระบบให้ใช้รถได้ทุกยี่ห้อ ซึ่งปัจจุบันจะมีทั้ง CNR,CSR รถของจีน หรือของสเปน ฝรั่งเศส เป็นตัวเลือกซึ่งการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ราคาลดลงและใช้ระยะเวลาจัดหาเร็วขึ้นโดยขณะที่ทางซีเมนส์พร้อมปรับลดราคาตัวรถทั้ง 7 ขบวนลงเกือบ 1,000 ล้านบาท

โดยปัจจุบันแอร์พอร์ตลิ้งค์มีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย 5.5-5.6 หมื่นคนต่อวันเพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีที่มีประมาณ 4.2 หมื่นคนต่อวัน โดยเป็นผู้โดยสาร City Line ประมาณ 90% และคาดว่าหลังจากเปิดใช้ทางเดินเชื่อม ( Sky Way) สถานีมักกะสันกับรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่สถานีเพชรบุรี ในวันที่ 10 สิงหาคม คาดว่าการเข้าออกสถานีจะสะดวกขึ้นและผู้โดยสารจะเพิ่มเป็น 6 หมื่นคนต่อวันภายในสิ้นปี 2556

ซึ่งระหว่างรอซื้อขบวนรถเพิ่มนั้นจะต้องเร่งซ่อมรถ Express ที่เสีย 1ขบวนให้กลับมาใช้งานได้ภายใน 2 เดือน เพื่อทำให้การเดินรถทั้ง City และ Express ครบทั้ง 9 ขบวน โดยในปี 2557 จะมีการซ่อมหนัก (Over hall)รถที่วิ่งครบ 1 ล้านกิโลเมตรซึ่งรอร.ฟ.ท.เปิดประมูล ,ปรับปรุงประแจควบคุมการเดินรถ ที่มักกะสันเพื่อให้ขบวน Express จอดได้ทั้งมักกะสันและพญาไท ประมารณ 400 ล้านบาทและค่าซ่อมบำรุงประจำปีอีกประมาณ 300 ล้านบาท

คลัง-คมนาคมจัดเทศกาลหนังสือวันแม่@Airport Link

โดยเมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน "เทศกาลหนังสือวันแม่@Airport Link" ระหว่างวันที่9 - 18 สิงหาคมนี้ ที่สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์มักกะสัน ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. บนพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเป็นการรณรงค์ให้คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับการอ่าน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักพิมพ์กว่า 100 สำนักพิมพ์ รวม 270 บูท จัดจำหน่ายหนังสือในราคถูก

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการประมูลหนังสือ โดยมีหนังสือพร้อมลายเซ็นต์ของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรว่าการกระทรวงกลาโหม นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รวมถึงหนังสือเล่มโปรดจากดารานักแสดงชื่อดังมาร่วมประมูล โดยเงินรายได้จากการประมูลจะมอบให้แก่โครงการ PUBAT charity เพื่อใช้งานการกุศลด้านการอ่านรวมถึงโครงการที่เกี่ยวกับแม่และเด็ก

โดยนายกิตติรัตน์กล่าวว่า การจัดกิจกรรมที่สถานีมักกะสันของแอร์พอร์ตลิ้งค์เป็นการใช้ทรัพย์สินของร.ฟ.ท.ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งมักกะสันถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 98, 99, 100 ... 159, 160, 161  Next
Page 99 of 161

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©