Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272986
ทั้งหมด:13584282
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 22, 23, 24 ... 50, 51, 52  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/02/2011 12:10 pm    Post subject: Reply with quote

สศช.หนุนเชื่อมโครงข่ายผลิต
เขียนโดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 12:41 น.

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ"โครงการท่าเรือทะวาย" ถือเป็นเมกะโปรเจ็กต์ที่รัฐบาลไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโครงการได้ให้ความสำคัญเร่งผลักดัน

Click on the image for full size

ปัจจุบันโครงการนี้เริ่มเห็นความชัดเจนมากขึ้น ล่าสุดบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ได้รับสิทธิ์สัมปทานเพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ภายใต้งบการลงทุนสูงกว่า 4 แสนล้านบาท โดยได้สัมปทานในการบริหารจัดการท่าเรือน้ำลึกที่มีรายละเอียดการลงทุน ประกอบด้วย การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก โรงไฟฟ้า อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและโรงกลั่น โรงถลุงเหล็กต้นน้ำ รวมทั้งถนน และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ สศช. ให้สัมภาษณ์พิเศษ"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงโครงการดังกล่าว และประโยชน์ที่จะเชื่อมโยงมายังประเทศไทย
+++เปิดประตูการค้าโซนตะวันตก
แม้พื้นที่โครงการจะอยู่ในประเทศพม่า แต่ก็ถือว่าใกล้กับชายแดนไทย ดังนั้นเมื่อมีการก่อสร้างย่อมจะมีการซื้อ-ขายสินค้า ประเภทวัสดุก่อสร้างจากประเทศไทย นอกจากนั้นการรับเหมาทำถนนและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ยังถือเป็นโอกาสของเอกชนไทย จึงส่งผลให้สถานการณ์การค้าชายแดนเริ่มคึกคักมากขึ้น ถือเป็นการเปิดประตูการค้าใหม่ในพื้นที่โซนตะวันตกของไทยไปสู่ประเทศพม่าและประเทศอื่น ๆ เช่น อินเดีย และบังกลาเทศ เป็นต้น

ประเทศพม่าโซนนี้แม้จะมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ แต่รัฐบาลพม่าก็ได้กันพื้นที่กว้างประมาณ 200 เมตร ยาวตลอด 160 กิโลเมตรเพื่อใช้เป็นเส้นทางเข้า-ออกพื้นที่ท่าเรือน้ำลึกทะวายกับชายแดนไทยไว้แล้ว เพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงวัสดุอุปกรณ์ที่ซื้อไปจากประเทศไทย สิ่งสำคัญยังสามารถวางท่อเพื่อการขนส่งน้ำมันผ่านพื้นที่ดังกล่าวและตลอดแนวเส้นทางรถไฟได้อีกทางหนึ่งด้วย

โครงการท่าเรือทะวาย "อ่าวทะวายนั้นมีชัยภูมิที่ดี เพราะเป็นเส้นทางการค้าเชื่อมจากตะวันตกสู่ตะวันออกโดยที่เรือบรรทุกสินค้าไม่ต้องอ้อมช่องแคบมะละกา ล่าสุดบริษัทอิตาเลียนไทยฯได้ลงนามใน Frammework Agreement กับรัฐบาลประเทศพม่า แล้วมีระยะเวลาสัมปทาน 75 ปีด้วยวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 110 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจะหาพันธมิตรเข้ามาร่วมทุนซึ่งอาจจะต้องทำในลักษณะการบริหารกองทุน (Funding) ขณะนี้ก็มีนักลงทุนหลายรายให้ความสนใจ เช่นจากเกาหลี จีน และอินเดีย ถือเป็นโอกาสแสดงศักยภาพของนักลงทุนไทย"

+++เร่งโครงข่ายเชื่อม 2 ฐานการผลิต

การเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือทะวาย ประเทศพม่า กับไทย ที่จังหวัดกาญจนบุรีไปสู่ท่าเรือแหลมฉบังนั้น กระทรวงคมนาคมจะเร่งผลักดัน 2 โครงการคือ เร่งรัดการก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ (ตามผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรหรือสนข.)มีแนวเส้นทางจากนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร

แต่เมื่อเกิดโครงการท่าเรือทะวาย สนข.จึงเพิ่มการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางนครปฐม-กาญจนบุรีควบคู่กันไปด้วย โดยก่อสร้างตามแนวเส้นทางรถไฟเดิมและต่อเชื่อมไปจนถึงแนวชายแดนที่บ้านน้ำพุร้อน เพื่อให้ต่อเชื่อมผ่านเส้นทางตลิ่งชันไปจนถึงแหลมฉบังเข้าสู่โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด

เช่นเดียวกับกรมทางหลวงได้เร่งสรุปโครงการทางพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์เส้นทางบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ระยะทาง 98 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 24,040 ล้านบาท ซึ่งเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบและหาผู้ลงทุนในรูปแบบพีพีพีเพื่อสามารถต่อเชื่อมกับเส้นทางทางด่วนพิเศษในโครงการทางด่วนพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี มุ่งสู่ท่าเรือแหลมฉบัง (อยู่ระหว่างเร่งแต่งตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติการร่วมทุน)เพื่อเร่งเปิดประมูลโครงการ ระยะทาง 17 กิโลเมตร ใช้งบลงทุน 27,022 ล้านบาท

+++แนะลดไซซ์ท่าเรือปากบารา

นอกเหนือจากการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมที่จะไปถึงท่าเรือแหลมฉบังได้แล้ว กระทรวงคมนาคมยังได้ศึกษาความเหมาะสมเส้นทางที่จะต่อเชื่อมโยงไปถึงโครงการก่อสร้างท่าเรือปากบารา จ.สตูล ในพื้นที่ภาคใต้ โดยผ่านเส้นทางรถไฟปัจจุบัน ไปจนถึงพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา

ดังนั้นที่ประชุมครม.วันที่ 29 มิถุนายน 2553 มีมติให้กระทรวงคมนาคมไปทบทวนและปรับรูปแบบโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ให้เป็นท่าเรืออเนกประสงค์รองรับการขนส่งสินค้าในพื้นที่ภาคใต้และสนับสนุนท่องเที่ยวในพื้นที่แทน เพื่อลดการพึ่งพาการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือของประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้มองเห็นโอกาสและความสำคัญเร่งด่วนในโครงการท่าเรือทะวายที่น่าจะเกิดผลได้เร็วกว่า

แต่ท่าเรือปากบารายังมีความจำเป็นเพราะจะรองรับการเป็นประตูสู่ทะเลอีกหนึ่งแห่งที่สำคัญของไทย และควรปรับเปลี่ยนบทบาทให้เชื่อมโยงเพื่อรองรับสินค้าภาคใต้แทน อีกทั้งยังช่วยลดการลงทุนลงได้อีกมาก ประการสำคัญควรดูเรื่องดีมานด์สินค้าว่ามาจากไหนเป็นหลัก โดยความเหมาะสมที่จะเปลี่ยนเป็นการรองรับการขนส่งสินค้าเชื่อมสองฝั่งทะเลของไทยให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วขึ้นเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าในพื้นที่ภาคใต้ของไทย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,610 17 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

---------------------------

เขตศก.พิเศษ
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7385 ข่าวสดรายวัน หน้า 8
คอลัมน์ ถุงแดง

ตามที่พม่ามีโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทะวายและภาคเอกชน จ.กาญจนบุรี เสนอให้รัฐบาลพิจารณาตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นที่กาญจนบุรี เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เพราะเป็นโครงการลงทุนมูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักขนาดใหญ่ที่จะใช้เส้นทางผ่านประเทศไทยส่งออกไปสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้

เขตเศรษฐกิจพิเศษที่กาญจนบุรีควรจะเป็น Special Border Zone ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์ชายแดน ที่จะต้องมีความชัดเจนเรื่องการปักปันเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่า

ตลอดจนนโยบายจะให้เป็นเขตเศรษฐกิจรูปแบบที่ต้องการเน้นการพัฒนาเรื่องใดเป็นพิเศษ อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยว หรือธุรกิจบริการเพื่อรองรับการเดินทางไปสู่พื้นที่อุตสาหกรรมดังกล่าว

เมื่อท่าเรือทะวายเสร็จและมีนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้น จะมีการขนส่งสินค้าเข้ามายังไทยและส่งต่อไปยังประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันจะเป็นประโยชน์ต่อไทยในการส่งสินค้าออกไปทางท่าเรือทะวายสู่ฝั่งตะวันตกโดยไม่ต้องอ้อมลงภาคใต้

ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งศึกษาเพื่อหาข้อสรุปการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหรือมอเตอร์เวย์เส้นทาง บางใหญ่-บ้านโป่ง-ราชบุรี-กาญจนบุรี ตลอดจนเส้นทางรถไฟรางคู่ไปเชื่อมพื้นที่ชายแดนเพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

จะได้ประหยัดเวลาและพลังงาน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2011 2:09 pm    Post subject: Reply with quote

เครือข่ายค้านท่าเรือสตูลซัดนักวิชาการ มอ.กลางอากาศ จี้ยุติรับเศษเงินกรมเจ้าท่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 กุมภาพันธ์ 2554 12:18 น.

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ร่วมเสวนาผ่านวิทยุ มอ.88 กับทีมนักวิชาการ มอ. เพื่อร่วมหาข้อยุติกรณีที่รับหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้โครงการท่าเรือน้ำลึกอุตสาหกรรมปากบารา ชี้อย่าตกเป็นเครื่องมือนำข้อมูลเท็จมาเผยแพร่ต่อ และแสดงสปิริตรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นโดยการถอนตัวออกจากงานนี้ ด้านกลุ่มคัดค้านท่อก๊าซไทย-มาเลย์ โดดร่วมเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์หลอกลวงจากนักวิชาการ และรัฐบาล ทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากมลพิษมาแล้ว และกำลังจะกลายเป็นเหยื่อซ้ำจากโครงการต่อเนื่องจาก จ.สตูล

จากกรณีที่รับ เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมาเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูลและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โครงการท่าเรือน้ำลึกอุตสาหกรรมปากบารา ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ได้ยื่นหนังสือคัดค้านไม่ให้ คณะอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จำนวนหนึ่งเข้ามาทำงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน ก่อนดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกอุตสาหกรรม อ.ปากบารา จ.สตูลโดยรับเงินว่าจ้างจากกรมเจ้าท่ามาดำเนินการ เป็นเงินประมาณ 15 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ที่ห้องประชุมสำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านฯ จาก จ.สตูล ได้เดินทางมาพูดคุยร่วมกับ ผศ.ดร.ผดุงยศ ดวงมาลา รองอธิการบดี ฝ่ายศิษย์เก่าและชุมชนสัมพันธ์ และทีมนักวิชาการ โดยมีตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเดินทางมาร่วมรับฟังจนแน่นขนัดห้องประชุม ทั้งกลุ่มชาวบ้านและเยาวชน โดยมีนายบัญชร วิเชียรศรี ผู้ดำเนินรายการสภากาแฟ สถานีวิทยุ มอ.88 เมกะเฮิรตซ์

ผศ.ดร.ธนิยา เกาศล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ.หาดใหญ่ ซึ่งเป็นผู้จัดการโครงการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ กล่าวว่า เหตุที่ทีมนักวิชาการ มอ.หาดใหญ่ รับทำการประชาสัมพันธ์โครงการนี้ เนื่องจากกรมเจ้าท่าเห็นว่ามีความเป็นกลางในสังคม และไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงมีโอกาสที่จะสะท้อนประเด็นปัญหาของชาวบ้านอย่างตรงไปตรงมา เนื่องจากที่ผ่านมาการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) นั้น จากบริษัทเอกชนนั้นมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความโปร่งใสตลอดจนความไม่ถูกต้องเป็นอย่างมาก การทำหน้าที่ของ มอ.ครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนคนกลางที่เข้าไปรับฟังข้อมูลและแลกปัญหาเปลี่ยนระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย คือกรมเจ้าท่าและชาวบ้าน ทั้งนี้ มอ.ได้เริ่มรับงานตั้งแต่เดือน ก.ย.ของปี 2553 ได้เริ่มทำการประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสปอตวิทยุซึ่งในระยะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังข้อมูลจากชาวบ้าน และเตรียมลงพื้นที่ดูปัญหาว่าเหตุใดชาวบ้านจึงไม่ยอมรับ

ด้านนายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี แกนนำเครือข่ายประชาชนฯ กล่าวว่า ชาวบ้านไม่ได้มองการพัฒนาเป็นเสี้ยวอย่างที่ภาครัฐพยายามแยกส่วนเป็นโครงการแยกย่อย ทั้งท่าเรือน้ำลึก โครงการรถไฟรางคู่ แต่ชาวบ้านกำลังมองการพัฒนาในภาพรวมว่าเมื่อพัฒนาแล้วสภาพบ้านเกิดจะอยู่กันอย่างไร ทั้งนี้ เมื่อ มอ.มาดำเนินการด้านประชาสัมพันธ์กลับนำข้อมูลที่กรมเจ้าท่าบิดเบือนมาเผยแพร่เป็นครั้งที่ 2 โดยมีสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยติดไปด้วย เพราะเมื่อมีการก่อสร้างท่าเรือก็จะมีอุตสาหกรรมตามมาต่อจากนี้ ดังที่ อ.มะนัง และละงู ได้เปลี่ยนผังเมืองเพื่อรองรับรองรับนิคมอุตสาหกรรมร่วมแสนไร่ไปเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ได้หมายความว่าเมื่อมีท่าเทียบเรือแล้วข้อขัดแย้งจะยุติลงเพียงเท่านั้น

โครงการพัฒนาด้านปิโตรเคมี คลังน้ำมัน ที่กำลังจะตามมานั้น สวนทางกับข้อมูลของกรมเจ้าท่าที่บอกว่าจะขนส่งสินค้ายางพาราและเฟอร์นิเจอร์ แต่เมื่อมีการร้องเรียนความเดือดร้อนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน จึงได้ทราบว่าในระดับกระทรวงนั้นได้เตรียมให้เป็นเส้นทางขนส่งปิโตรเคมีต่างหาก ซึ่งข้อมูลที่ได้มานั้นทำให้ชาวสตูลต้องล้มทั้งยืนกับความเลวร้ายที่กำลังจะเกิดขึ้น และข้อมูลแต่ละอย่างนั้นกว่าชาวบ้านจะทราบต้องดิ้นรนเลือดตาแทบกระเด็น แต่ไม่ว่าจะยากเพียงใดก็ต้องพยายามเพื่อจะปกป้องบ้านเกิด และจะตายในบ้านเกิดท่ามกลางคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี

นายวิโชคศักดิ์ ยังสอบถามถึงพฤติกรรมที่ไม่เป็นกลางของนักวิชาการ มอ.ที่เข้าแจกปฎิทินสวัสดีปีใหม่เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฯ ที่จัดทำขึ้นโดยนายนาวี พรมทรัพย์ โดยวางไว้ที่ศูนย์ข้อมูลและการมีส่วนร่วมของ มอ. ซึ่ง ผศ.ดร.ธนิยา ชี้แจงว่าเกิดขึ้นจากบุคคลคนๆ เดียวที่เคยทำงานให้นายนาวี และมาเป็นหนึ่งในทีมงานของ มอ. จึงรับมาแจกเป็นการส่วนตัวไม่เกี่ยวกับ มอ.และไม่ใช่หน้าที่หรือมีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ นายนาวีเคยกล่าวอ้างว่าเป็นทีมงานของ มอ.ต่อชาวบ้าน จึงได้มีการแจ้งให้กรมเจ้าท่าทราบเรื่องนี้แล้ว

ส่วนนายสมบูรณ์ คำแหง แกนนำเครือข่ายประชาชนฯ กล่าวเสริมว่า นายนาวีเคยทำธุรกิจการขนส่งสินค้าจึงมีความพยายามที่จะผลักดันเรื่องรถไฟรางคู่ โดยที่ไม่ได้สนใจความเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบต่อชาวบ้านตัวเล็กๆ ซึ่งต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิต ร่วมกับข้าราชการและคหบดีที่ประกาศว่าคนสตูลต้องการการพัฒนาด้วยชุดโครงการดังกล่าว ซึ่งเมื่อชาวบ้านพยายามหาข้อมูลเรื่องนี้จึงเห็นชัดว่าจะมีการพลิกโฉมเมืองสตูลเป็นเมืองอุตสาหกรรม โดยเริ่มจากโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกฯ นั่นเอง

ชาวบ้านจึงร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเพื่อให้ตรวจสอบ และใช้อำนาจนำข้อเท็จจริงให้ชาวบ้านได้รับทราบโฉมหน้าของโครงการที่แท้จริงในที่สุด และกลายเป็นฉันทามติในที่ประชุมว่า ให้กรมเจ้าท่าทบทวน EIA ที่สร้างข้อมูลเท็จเพื่อผลักดันท่าเรือน้ำลึกให้เกิดขึ้น ต่อมา มอ.ได้เข้ามารับหน้าที่ตามข้อเสนอของกรมเจ้าท่าโดยไม่ได้ศึกษาเบื้องหลังว่ามีความเป็นมาเช่นไร และ มอ.ก็กลายเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งไปแล้ว ในขณะที่หน่วยงานราชการยังปฎิเสธว่าไม่มีเพื่อปัดภาระ ทั้งที่คณะกรรมการสิทธิฯ นำข้อมูลมาเปิดเผยไปแล้ว

นายสมบูรณ์ กล่าวต่ออีกว่า ที่ชาวบ้านพยายามเรียกร้องจุดยืนของ มอ.นั้น มาจากนิคมอุตสาหกรรมในมาบตาพุดที่ได้รับความเดือดร้อน และทุกรัฐบาลก็เล็งพื้นที่ชายฝั่งทะเลในภาคใต้ แต่เมื่อ มอ.ออกมารับเงินเพื่อทำเรื่องนี้ ทำให้ชาวบ้านผิดหวังสวนทางกับความภาคภูมิใจที่ลูกหลานสามารถสอบเข้าเรียนได้ แต่บ้านเกิดของตัวเองกำลังจะถูกทำลายโดยที่นักวิชาการได้ได้ทำหน้าที่ตอบคำถามสังคม หรือเสนอทางออกให้กับรัฐบาลเลย

ด้านนางสุไรดะห์ โต๊ะหลี แกนนำเครือข่ายคัดค้านโครงการท่องส่งก๊าซไทย-มาเลเซีย กล่าวว่า ครั้งนี้นักวิชาการ มอ. คือ ผศ.ฉัตรชัย วิริยะไกรกูล รองอธิการบดี ก็เคยรับหน้าที่ทำ EIA และประชาสัมพันธ์ให้กับโครงการโรงแยกก๊าซจะนะ ด้วยกลวิธีที่เหมือนกับตอนนี้ ชี้แจงแต่ข้อดี สร้างฝันว่าจะชาวบ้านจะมีงาน มีเงิน แต่ท้ายที่สุดมีนายทุนข้ามชาติมาฮั้วกับนักการเมือง ชาวบ้านได้แค่เพียงผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต และหาก จ.สตูล มีท่าเรือน้ำลึกอุตสาหกรรมที่สตูลเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องเกิดที่ อ.จะนะ จ.สงขลา ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นโครงข่ายเดียวกัน

นอกจากนั้นยังมีชาวบ้านอีกหลายรายที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อบ้านเกิด และไม่ต้องการให้ จ.สตูล ก้าวขอออกจากการพัฒนาที่ทำลายธรรมชาติ โดยให้ยึดและรักษาความเป็นสตูลที่ว่า สะอาด สงบ และบริสุทธิ์ และชูการพัฒนาที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศักยภาพ

ทั้งนี้ ข้อสรุปของการเสวนาในครั้งนี้ เครือข่ายประชาชนฯ ได้มีการเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยทบทวนบทบาทของตัวเอง เพราะทีมนักวิชาการที่รับหน้าที่นี้ไม่สามารถแบกรับภาระนี้ได้ และเป็นการเสี่ยงที่จะเอาภาพลักษณ์ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเข้าแลก โดยไม่ต้องยื้อเวลาให้คำตอบกับชาวบ้านไปเรื่อยๆ และอยากเห็นสปิริตของนักวิชาการที่อยู่เหนือผลประโยชน์ใดๆ ซึ่งหากการตัดสินของมหาวิทยาลัยไม่สอดคล้องกับเสียงเรียกร้องของชาวบ้านนั้น ก็จะมีมาตรการเคลื่อนไหวที่เข้มข้นขึ้นกว่านี้


Last edited by Mongwin on 22/02/2011 3:27 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Kan
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/07/2010
Posts: 189
Location: กรุงเทพ - ชุมทางทุ่งสง

PostPosted: 22/02/2011 3:18 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
อยากเห็นสปิริตของนักวิชาการที่อยู่เหนือผลประโยชน์ใดๆ
ซึ่งหากการตัดสินของมหาวิทยาลัยไม่สอดคล้องกับเสียงเรียกร้องของชาวบ้าน
ก็จะมีมาตรการเคลื่อนไหวที่เข้มข้นขึ้นกว่านี้


แล้วจะทำอย่างไรดีหนอ คงโดนแท้งแน่แล้วกระมัง แลนด์บริดจ์แดนใต้ Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2011 11:34 am    Post subject: Reply with quote

นอภ.ชู"ท่าเรือน้ำลึกทวาย" เม็ดเงินมหาศาลหว่านลงทุน ดึงภาคแรงงานไม่ให้อพยพ
ข่าวภูมิภาค
แนวหน้า 3 มีนาคม 2554


กาญจนบุรี:นายบุญญะพัฒน์ จันทรอุไร นายอำเภอเมือง จ.กาญจนบุรี กล่าวถึงโครงการท่าเรือน้ำลึกกาญจนบุรี-ทวาย ว่า หลังจากที่บริษัท อิตาเลี่ยน-ไทย ดิเวล๊อปเมนต์ จำกัด ( มหาชน) และรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า ได้ทำข้อตกลงเพื่อก่อสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย และเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทย-สหภาพพม่า เมื่อวันที่ 2 พ.ย.2553 ที่ผ่านมา โดยมีการกำหนดโครงการแล้วเสร็จภายในวันที่ 2 พ.ย.2563 รวมระยะเวลา 10 ปี ถือว่าเป็นโครงการระยะยาว และได้มีการประกาศเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราว เพื่ออำนวยความสะดวกในการก่อสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย และเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทย-สหภาพพม่า ที่บริเวณบ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ตรงข้ามบ้านแม่ธะมี่ สหภาพพม่า โดยอนุญาตให้บุคคล เจ้าหน้าที่ เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งพาหนะที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ของบริษัทฯ ผ่านเข้า-ออก ให้เป็นไปตามตามแนวทางที่ จ.กาญจนบุรีกำหนด แต่ไม่รวมถึงการสัญจรไป-มา ของบุคคลหรือพาหนะอื่นที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างดังกล่าว

โดยรายละเอียดของโครงการดังกล่าวมีมูลค่ามหาศาลมากกว่า 4 แสนล้านบาท ภายในโครงการจะมีการก่อสร้างมากมาย จะมีการเปิดตลาดแรงงานคน ที่มีความสามารถด้านช่างฝีมือ โฟร์แมน วิศวกร เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าตลอดระยะเวลา 10 ปีของการก่อสร้างโครงการ จะมีแรงงานไทยมีงานทำมากกว่า 10,000 คนอย่างแน่นอน

ส่วนประชาชนที่อยู่โดยรอบโดยเฉพาะชาวตำบลบ้านเก่า ก็จะมีรายได้เสริมเข้ามาเลี้ยงดูครอบครัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพทางด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ หรือสามารถลงทุนเปิดร้านค้าขายของโชว์ห่วย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่คนงานกว่า 1 หมื่นคนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน และต่อไปในอนาคต หลังจากโครงการดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จ ชาวเมืองกาญจนบุรีก็จะได้รับผลประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล โดยเฉพาะหลังจากปี 2554 นี้เป็นต้นไปเชื่อว่าจะมีบรรดานักธุรกิจนำเม็ดเงินจำนวนมากมาลงทุนในพื้นที่บ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า หรือพื้นที่ใกล้เคียง เช่นสร้างรีสอร์ต โรงแรม ภัตตาคาร ร้านค้า หรือร้านโชว์ห่วยขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกหลานชาวเมืองกาญจนบุรีได้มีงานทำอย่างยั่งยืน ไม่ต้องดิ้นรนไปหางานทำใน กทม.อีกต่อไป

//----------------------------------------------------------------------

เออ ที่เมืองกาญจนบุรี ถ้าไม่ใช่แรงงานหมู่เฮา ก็เป็นแรงงานพม่า ที่รับจ้างตัดอ้อยแถววังขนาย และ ที่อืนๆ ในเมืองกาญจนบุรีมิใช่หรือครับ ท่านนายอำเภอ Rolling Eyes

//-----------------------------------------------------------------
เจ้าท่าเร่งฟื้นขนส่งทางน้ำยกระดับศก.ไทย
เขียนโดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา Real Estate - อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 01 มีนาคม 2011 เวลา 12:15 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,614 3-5 มีนาคม พ.ศ. 2554

แม้กระแสข่าวการพัฒนาระบบคมนาคมจะพุ่งเป้าไปที่การคมนาคมทางบกเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โครงการตัดถนนต่างๆ รวมถึงรถไฟความเร็วสูง แต่การคมนาคมที่สำคัญและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง คือ "ทางน้ำ" นั้น นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า ได้ให้สัมภาษณ์ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงแนวทางการพัฒนาระบบขนส่งทางน้ำ ไว้อย่างสนใจดังนี้

+++เร่งสานต่อเมกะโปรเจ็กต์
ในปี 2554 มีโครงการที่จะเร่งดำเนินการ เพื่อให้เป็นผลงานของกรมเจ้าท่าหลายโครงการตามกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับ ได้แก่ โครงการขุดลอกและปรับปรุงร่องน้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำสายหลักทั่วทุกภาค ได้ให้นโยบายขุดขยายก่อน เป็นโครงการต่อเนื่อง เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จก็เข้าสู่การฟื้นฟูพัฒนาให้เกิดความสวยงามและเกิดประโยชน์ต่อผู้สัญจรไปมาโดยนำร่องที่เชียงใหม่และลำปาง ที่มีแม่น้ำปิง เป็นสายหลักไหลลงสู่พื้นที่ภาคกลาง

เมกะโปรเจ็กต์รายการต่อมา คือการเร่งสร้างความปลอดภัย โดยเฉพาะการก่อสร้างท่าเทียบเรือและโป๊ะรองรับผู้โดยสารทางเรือ ณ จุดต่างๆ ในเส้นทางริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้การเดินทางทางน้ำเกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น หนึ่งในโครงการเด่นที่กรมเจ้าท่าและนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้การสนับสนุน คือโครงการอาสาวารี เป็นการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และประชาชนในรูปแบบอาสาสมัครเพื่อให้ช่วยเป็นหูเป็นตาและช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยตลอดลำน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพร้อมขยายเครือข่ายไปสู่ภาคต่างๆ ให้เพิ่มมากกว่า 10,000 คน ในระยะเวลา 5 ปีนี้ ไม่ว่าจะเป็น นครปฐม กระบี่ สุพรรณบุรี ชลบุรี ฯลฯ

ขณะเดียวกันยังจะยกระดับความปลอดภัยทางน้ำในเมืองท่องเที่ยวสำคัญของไทย โดยเฉพาะเมืองชายทะเล ทั้งโซนตะวันตกและตะวันออก โดยมุ่งสร้างความปลอดภัยในท่าเทียบเรือ การควบคุมการเดินเรือให้บริการ ตลอดจนการยกระดับผู้ประกอบการ เพื่อการสร้างความเชื่อมั่นศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งของกรมเจ้าท่าให้นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการเกิดความมั่นใจสูงสุด

+++สร้างเขื่อนยกระดับน้ำเจ้าพระยา
นอกจากนี้ยังมีโครงการสร้างเขื่อนยกระดับน้ำเจ้าพระยา 2 แห่ง ขณะนี้ผลการศึกษาเสร็จสมบูรณ์แล้ว มีมูลค่าโครงการสูงกว่า 12,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จใน 4-5 ปี กำหนดสร้างขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์และสิงห์บุรี โดยตามนโยบายนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)และกรมเจ้าท่าร่วมพิจารณาความคุ้มค่าการลงทุน ตลอดจนเทคนิคการก่อสร้าง หลังจากนั้นจึงจะนำเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ให้ความเห็นชอบ

จากนั้นกรมเจ้าท่าก็จะเร่งประกวดราคาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการ โดยกำหนดระยะเวลาการออกแบบรายละเอียดและศึกษาสิ่งแวดล้อมภายใน 1 ปี หลังจากนั้นนำเข้าที่ประชุมของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) คาดว่าการพิจารณาจะใช้ระยะเวลา 6 เดือน

"เราต้องการฟื้นคืนชีพแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับยกระดับการคมนาคมขนส่งให้ได้รับความสะดวกและขยายโครงข่ายเพื่อการเดินเรือเพิ่มมากขึ้นให้ครอบคลุมไปถึงจังหวัดพิจิตร และอ่างทอง โดยสามารถเพิ่มน้ำหนักให้เรือขนสินค้าได้มากถึง 200-300 ตัน นับต่อนี้ไปแม่น้ำป่าสักและอีกหลาย ๆ สายที่เชื่อมโยงก็จะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางลำน้ำก็ได้รับอานิสงส์เนื่องจากแม่น้ำหลายๆ สายมีจุดขายทางการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันไปพร้อมกับการพลิกฟื้นวิถีชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนสองฟากฝั่งแม่น้ำ"

ในส่วนโครงการท่าเรือคลองใหญ่ จังหวัดตราด ก็เป็นอีกหนึ่งโปรเจ็กต์ที่อยู่ระหว่างการเซ็นสัญญากับผู้รับเหมา เพื่อเร่งรัดก่อสร้างให้เป็นประตูการค้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านเช่นประเทศกัมพูชาและเวียดนามได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้นโดยกรมเจ้าท่าได้รับงบประมาณสร้างท่าเทียบเรือคลองใหญ่เพื่อรับสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกระหว่างไทย กัมพูชา และเวียดนามตอนใต้

ตามผลการศึกษาพบว่ามีมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกมากกว่า 15,000 ล้านบาทต่อปี โดยได้วางให้เป็นจุดยุทธศาสตร์หลักในโซนพื้นที่ภาคตะวันออกของไทยที่ขณะนี้ปริมาณสินค้าบริเวณดังกล่าวมีเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดที่ประชุมครม. ได้เห็นชอบให้กรมเจ้าท่าไปดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ คลองใหญ่ จังหวัดตราด ในวงเงิน 1,295 ล้านบาท แล้ว

+++เล็งเปิดประตูเศรษฐกิจทางทะเล
การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกของไทยให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล สามารถให้เรือขนาด 70,000 ตัน เข้าจอดได้ท่าละ 2 ลำ ซึ่งกรมเจ้าท่ามีแผนดำเนินการทีละเฟสให้ท่าเรือปากบาราเป็นประตูเศรษฐกิจทางทะเลของไทยให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ได้

ประเทศไทยยังมีความจำเป็นที่จะมีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ เพื่อรองรับการแข่งขันของโลกอนาคต ซึ่งต้องเริ่มต้นพัฒนาตั้งแต่วันนี้ โดยดำเนินการทีละเฟส ซึ่งโครงการท่าเรือปากบารานั้นต้องการให้เป็นท่าเรือขนาดใหญ่มากกว่าจะเป็นเพียงท่าเรืออเนกประสงค์ หรือท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยว หรือท่าเรือเพื่อการเทกอง ตลอดจนท่าเรือชายฝั่งเท่านั้นเนื่องจากปัจจุบันจังหวัดสตูลมีท่าเรือท่องเที่ยวรองรับอยู่แล้วจึงควรสนับสนุนให้มีท่าเรือน้ำลึกที่มีศักยภาพให้เป็นประตูทางเศรษฐกิจออกสู่ทะเลนอกเหนือจากท่าเรือแหลมฉบัง

+++สร้าง "อินแลนด์วอเตอร์เวย์" ที่สงขลา
สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่จะต้องให้ปรากฏโดยเร็ว คือโครงการพัฒนาทะเลสาบสงขลาให้เกิดการเชื่อมโยง ตั้งแต่ด้านบนสู่ด้านล่างเพื่อออกสู่ทะเลได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เพื่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมอำเภอหาดใหญ่อย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญยังต้องการฟื้นฟูให้ดีขึ้นพร้อมกับการสร้างอาชีพประมงดั้งเดิมกลับคืนมาสู่ชุมชนในพื้นที่
โครงการนี้กรมต้องการให้เป็นอินแลนด์วอเตอร์เวย์เมืองไทย โดยทุ่มงบประมาณจำนวน 70 ล้านบาท เพื่อการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทให้สำเร็จ โดยรูปแบบเป็นร่องน้ำขนาดกว้างประมาณ 400 เมตร เชื่อมทะเลสาบสงขลาทั้ง 3 แห่งได้อย่างทั่วถึงกัน สร้างจุดขายให้พื้นที่เพื่อเป็นจุดท่องเที่ยวใหม่ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเรื่องการนำดินที่ขุดไปใช้ประโยชน์เท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/03/2011 3:01 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งสรุปปัญหาก่อสร้างท่าเรือแจงชาวบ้านปากบารา
ไทยรัฐ 9 มี.ค. 54

"ปลัดคมนาคม" สั่ง สนข.สรุปปัญหาก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา เพื่อแจงชาวบ้านหลังได้รับข้อมูลผิด พร้อมปรับกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์อย่างจริงจัง ยัน การก่อสร้างไม่กระทบที่ดินชาวบ้านแน่นอน

เมื่อวันที่ 9 มี.ค. นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำรายละเอียดและสรุปปัญหาเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล เพื่อชี้แจงให้ชาวบ้านทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งหมด จากเดิมที่ชาวบ้านได้รับข้อมูลผิดเพี้ยนจากความจริง ดังนั้น กระทรวงคมนาคม จะปรับกลยุทธ์การดำเนินการประชาสัมพันธ์ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ทั้งนี้ คาดว่าสนข.จะสรุปข้อมูลมายังกระทรวงคมนาคมในเดือนเม.ย.นี้ จากนั้น กระทรวงคมนาคมจะหาวิธีกระจายข้อมูลข่าวสารที่แท้จริงไปยังชาวบ้านในบริเวณ โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ว่าการก่อสร้างไม่ได้กระทบที่ดินของชาวบ้าน แต่จะใช้พื้นที่ของการรถไฟฯ และ พื้นที่บางส่วนของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ซึ่งผ่านความเห็นขอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารานั้น เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย (2550-2554) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้บรรจุโครงการไว้เพื่อช่วยสนับสนุนโครงการ Land bridge รวมถึงท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 ด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/03/2011 4:51 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเดินหน้าสร้างท่าเรือปากบารา
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 22 มีนาคม 2554 15:21

คมนาคมเดินหน้าโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา รองรับสินค้า หลังโครงการรถไฟความเร็วสูงจากจีนแล้วเสร็จ หวังสร้างรายได้จากการบริหารจัดการขนส่ง

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม บรรยายพิเศษ"โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา:มิติใหม่ฝั่งอันดามัน" ว่า การขนส่งของไทยในปัจจุบันเป็นการขนส่งทางถนนถึง 86% ทั้งที่เป็นการขนส่งที่มีต้นทุนต่อหน่วยสูงสุด ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีนโยบายชัดเจนว่าการพัฒนาระบบการขนส่งต่าง ๆ นับจากนี้ จะให้ความสำคัญต่อระบบการขนส่งทางรางและทางน้ำ โดยลดบทบาทการขนส่งทางถนน

ทั้งนี้ โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา อ.ละงู จ.สตูล เป็นโครงการสำคัญที่กระทรวงคมนาคมจะเร่งดำเนินการ เพื่อรองรับสินค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ ผ่านลาวมาไทย และเชื่อมไปยังมาเลเซียเพื่อออกสู่สิงคโปร์ในที่สุด

"ไทยจำเป็นต้องพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบารารองรับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากจีน เพื่อสกัดไม่ให้สินค้าไหลไปมาเลเซียหรือสิงคโปร์ ซึ่งทั้งสองประเทศนี้มีปริมาณสินค้าเฉลี่ยปีละ 27 ล้านทีอียู สามารถทำรายได้เข้าประเทศได้มากจากการบริหารจัดการขนส่ง ทั้งที่สินค้าส่วนใหญ่ส่งต่อมาจากที่อื่นเป็นส่วนใหญ่"นายสุพจน์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/03/2011 3:39 pm    Post subject: Reply with quote

เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 22 มีนาคม 54 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ จัดเสวนาหัวข้อ "ท่าเรือน้ำลึกปากบารา เศรษฐกิจได้ 'ได้' หรือ 'เสีย'" ณ ชั้น3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เพื่อติดตามโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกบ้านปากบารา อ.ละงู จ.สตูล ในโครงการแลนด์บริดจ์ที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุน โดยมีหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องคือ กระทรวงคมนาคมและกรมเจ้าท่า พร้อมเปิดรับฟังข้อเสนอจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจ รวมทั้งเครือข่ายประชาชนที่ติดตามแผนพัฒนาที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ครับ
เสวนา: "ท่าเรือน้ำลึกปากบารา เศรษฐกิจได้ 'ได้' หรือ 'เสีย'"
ประชาไท Thu, 2011-03-24 15:31
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 11/04/2011 12:17 am    Post subject: Reply with quote

ยก'ปากบารา'เป็น'เกตเวย์'ภาคใต้

โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา Real Estate - อสังหาฯ Real Estate
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 05 เมษายน 2011 เวลา 11:07 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,624 7- 9 เมษายน พ.ศ. 2554

สนข.จับมือกรมเจ้าท่าเร่งผลักดันโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ส่งคมนาคมเข้าครม.ก่อนยุบสภา หวั่นล่าช้าจะเสียหายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ยันสามารถเชื่อมท่าเรือสงขลา 2 เป็นเกตเวย์ทางภาคใต้ออกสู่ภูมิภาคอื่นๆได้ทั่วโลก ย้ำแม้ไม่มีในแผนฯ11 ของสภาพัฒน์ แต่เกี่ยวกับการพัฒนาท่าเรือทะวายในพม่า รองประธานส.อ.ท.หนุนสร้างเต็มที่ เพราะเสียเวลาและเสียเงินศึกษาไปกว่า3,000 บาทแล้ว

แหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าขณะนี้กำลังเร่งสรุปโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล ร่วมกับกรมเจ้าท่า เพื่อเสนอกระทรวงคมนาคมให้นำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ก่อนประกาศยุบสภาในเดือนพฤษภาคมนี้ เกรงว่าหากล่าช้าจะส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต้องล่าช้าออกไปด้วย

"โครงการนี้มีความชัดเจนแล้วในหลาย ๆ เรื่องทั้งความเห็นของภาครัฐและเอกชนจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นในที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมเพราะผ่านการรับรอง EIA แล้ว เช่นเดียวกับการลงพื้นที่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แม้จะถูกต่อต้านจากผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ร่วมกับเอ็นจีโอ ที่จะไม่รับรองความปลอดภัยก็ตาม ซึ่งล่าสุดอธิการบดีได้ขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความปลอดภัยแล้ว"

สำหรับการกระทรวงคมนาคมนั้นได้นำเสนอประเด็นหลัก คือการเป็นประตูการค้าทางภาคใต้ของไทยที่จะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมุ่งสู่ภาคใต้ไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ได้อีกด้วย เพราะมีความเหมาะสมและมีผลกระทบต่อประชาชนน้อยกว่าพื้นที่อื่น ใช้งบลงทุนไม่มากสามารถดำเนินการไปทีละเฟส ส่วนจะดำเนินงานในรูปแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับรัฐบาลจะเห็นสมควร

ด้านนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่ากล่าวว่า ท่าเรือน้ำลึกปากบารา จะสามารถขนส่งสินค้าตามแนวเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงกับท่าเรือสงขลา 2 ไม่มีแนวส่งท่อน้ำมันหรืออุตสาหกรรมปิโตรเคมีแต่อย่างใด ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นประตูทางเศรษฐกิจจากภาคใต้ออกสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกและยกระดับการแข่งขันของไทยไม่ให้ล้าหลังหรือสู้กับประเทศอื่น ๆได้ ซึ่งผู้สนใจทราบรายละเอียด สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ www.pakbaradeepseaport.com

"ผลการศึกษาและวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์พบว่าอยู่ในสัดส่วนที่ลงทุนได้ มีอัตราผลตอบแทน EIRR ประมาณ 17.36 %ขณะที่มูลค่าปัจจุบัน คิดอัตรา 8% เท่ากับ 28,261 ล้านบาท และ 12 %เท่ากับ 9,278 ล้านบาท โดยวิเคราะห์ต้นทุน( รวมค่าลงทุนและค่าบำรุงรักษา) วิเคราะห์ผลประโยชน์ วิเคราะห์ความเหมาะสม และวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ ซึ่งพบว่าค่าลงทุนรวม 37,479 ล้านบาท อายุการดำเนินโครงการ 30 ปี ส่วนรายได้ประมาณการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ประมาณ 43,107 ล้านบาท จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าในภาคใต้ได้ 134 ล้านบาทในปีที่ 1 และเพิ่มเป็น 3,269 ล้านบาท ในปีที่ 30 และแรงงานในภาคใต้ที่ปัจจุบันว่างงานอยู่กว่า 8 แสนคนจะได้มีงานทำในโครงการนี้อีกด้วย โดยโครงการปากบารานี้จะไม่เกี่ยวข้องกับท่าเรือทะวายที่รัฐบาลจะขับเคลื่อนในพื้นที่ภาคตะวันตกด้านกาญจนบุรี และราชบุรี"

ด้านนายสุวัฒน์ อัศวทองกุล นายกสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพ กล่าวว่าโครงการท่าเรือปากบารานี้ควรนำข้อมูลในเชิงลึกของผลการศึกษาไปเผยแพร่ต่อประชาชนที่จะได้รับผลกระทบในพื้นที่สตูลและสงขลาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้จริง ๆ โดยไม่ปิดกั้นว่าโครงการนี้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ลงทุนเท่าใด เกิดความคุ้มค่าหรือไม่ ปีไหน จำนวนเท่าใด

ขณะที่นายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งข้อสังเกตว่า แม้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (ปี 2555-2559) ไม่มีการบรรจุโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล ไว้ แต่รัฐบาลกลับจะไปลงทุนที่เมืองทะวาย ประเทศพม่าแทนนั้น ภาคเอกชนไม่เห็นด้วยและจะเรียกร้องให้เดินหน้าโครงการปากบาราต่อไป เนื่องจากมีความสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจทั้งในระดับภาคใต้และระดับประเทศได้อย่างมาก เพราะในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ใช้งบประมาณเพื่อศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของโครงการไปถึง 2,000-3,000 ล้านบาทแล้ว

นอกจากนี้ส.อ.ท. ยังจะจะรวบรวมและสรุปความคิดเห็นภาคเอกชนต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เพื่อเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) ต่อไป เพราะพื้นที่ภาคใต้จำเป็นต้องมีท่าเทียบเรือน้ำลึกเป็นประตูเชื่อมระหว่างฝั่งอันดามันกับอ่าวไทย ถือเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ เราไม่ได้คัดค้านการลงทุนที่ทะวาย แต่หากจะสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ทะวายโดยไม่มีท่าเรือน้ำลึกของเราเอง ก็มีคำถามถึงรัฐบาลว่าการนำโครงการซึ่งเป็นผลประโยชน์ของประเทศไปเสี่ยงฝากไว้ในพม่าที่ยังมีปัญหาเรื่องความมั่นคง จะแน่ใจได้อย่างไรว่าสถานการณ์ในพม่าจะเข้ารูปเข้ารอยภายใน 10-20 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 15/04/2011 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

ท่าเรือ "ปากบารา - ทวาย" รัฐบาลโยน "หัว-ก้อย" เลือกลงทุน
หน้า เศรษฐกิจ
ไทยโพสต์ 15 เมษายน 2554 - 00:00

"ท่าเรือทวาย" ถือเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่ถ้ายุทธศาสตร์ของประเทศแล้ว สิ่งสำคัญคือลดต้นทุนค่าขนส่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และยังช่วยพัฒนาพื้นที่ในภาคใต้ ดังนั้น "ท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา" ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศที่รัฐบาลจะต้องเดินหน้าลงทุนโดยเร็วที่สุด"

โครงการเมกะโปรเจ็กต์ของ กระทรวงคมนาคม ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า หรือรถไฟทางคู่ มีความคืบหน้าไปมาก โดยเฉพาะโครงการถไฟฟ้าสายต่างๆ ทั้งสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ, สายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต, สายสีเขียว สีชมพู สีส้ม สีน้ำเงิน รวมไปถึงการพัฒนาทางด้านถนนหนทาง

แต่ในด้านทางน้ำที่กรมเจ้าท่า เป็นผู้กำกับดูแล ดูเหมือนว่าเมกะโปรเจ็กต์ที่มีความจำเป็นและสำคัญอย่าง โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล กลับไม่ได้รับความสนใจ หรือจะเรียกว่าถูกดองมานานนับ 10 ปีก็ว่าได้

โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา กรอบวงเงินลงทุน 9,741.13 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี ตั้งแต่ปี 2554-2559 แบ่งเป็นปี 2554 จำนวน 1,948.326 ล้านบาท ปี 2555-2557 ปีละ 1,623.452 ล้านบาท ปี 2558 จำนวน 1,623.152 ล้านบาท และปี 2559 จำนวน 1,299.296 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่ถูกจัดให้อยู่ในแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ (Logistics Master Plan) ซึ่งกระทรวงคมนาคมมุ่งหวังที่จะเพิ่มประสิทธิภาพระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ ภายใต้กลยุทธ์หลัก “การพัฒนาเส้นทางการค้าสู่ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป ผ่านทางฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อรองรับพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่และการขยายตัวของปริมาณการค้าระหว่างประเทศในระดับโลกและระดับภูมิภาค” นอกจากนี้ ยังหวังให้ท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามันและการมีเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงจากท่าเรือฝั่งตะวันตกกับเส้นทางขนส่งสินค้าภูมิภาค เป็นประตูการค้าหลัก และเมืองคู่ค้าหลัก

หลังจากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2548 ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการจัดทำการศึกษาและออกแบบโครงการจนเรียบร้อยแล้ว โดยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2553 คณะรัฐมนตรีได้รับทราบและเห็นชอบ ผลการสำรวจความคิดเห็นต่อแผนพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ สตูล-สงขลา (แลนด์บริจ) ตามผลการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (รศก.) เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2553 โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือฝั่งอันดามัน โดยให้กระทรวงคมนาคมประสานกับสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายในการศึกษาและแหล่งเงินที่เหมาะสม และให้นำความเห็นของ รศก.ประกอบการพิจารณา และให้รายงานผลการศึกษาความเหมาะสมของทางเลือกรวมถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของการพัฒนาในกรณีต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนก่อนำเสนอ รศก.พิจารณาต่อไป

อย่างไรก็ตาม หลังจากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเพียงไม่กี่วัน ก็เปลี่ยนท่าที่ใหม่ โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 เห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2553 เรื่องกรอบแนวคิดเบื้องต้นของการพัฒนาท่าเรือเพื่อเปิดประตูการค้าฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย โดย กบส.มีมติเห็นชอบแนวทางที่จะสนับสนุนการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายของสหภาพพม่า ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาทั้งในด้านกายภาพและการพัฒนาพื้นที่ หลังท่าที่สามารถรองรับการขยายฐานอุตสาหกรรมของไทยในระยะยาว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหล็กและเหล็กกล้า และยานยนต์ และมีศักยภาพที่จะเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งในระดับภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ประเทศไทยมีความจำเป็นจะต้องพัฒนาเส้นทางการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวาย ท่าเรือแหลมฉบัง และประเทศอื่นในภูมิภาคเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค และยังเห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมรับไปพิจารณาทบทวนและปรับรูปแบบโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล ให้เป็นท่าเรืออเนกประสงค์รองรับการขนส่งสินค้าในพื้นที่ภาคใต้ และสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยให้ความสำคัญลำดับสูงกับการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการยอมรับของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งวางแผนการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวาย ท่าเรือแหลมฉบัง และประเทศอื่นในภูมิภาค และนำเสนอคณะกรรมการ กบส.พิจารณาต่อไป พร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จัดทำแนวทางและมาตรการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนไทยให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย และพื้นที่อุตสาหกรรมตามโครงการ ซึ่งจะช่วยขยายโอกาสการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป

อย่างไรก็ตาม แม้นโยบายรัฐบาลจะกลับไปกลับมา แต่กระทรวงคมนาคม ก็ยังยืนยันว่ามีความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา โดยได้จัดทำรายละเอียดความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้าง เพราะ

1.เหตุผลด้านการค้าและการขนส่ง ปัจจุบันปริมาณการส่งออกของไทยไปยังประเทศคู่ค้าด้านยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกาและเอเชียใต้ในปี 2552 มีน้ำหนักรวม 20,417,564 ตัน คิดเป็นมูลค่า 40,515 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 26.53 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และนำเข้าของไทยจากประเทศคู่ค้าด้านยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกาและเอเชียใต้ในปี 2552 มีน้ำหนักรวม 57,548,526 ตัน คิดเป็นมูลค่า 34,325 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 22.62 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด

นอกจากนี้แล้ว ประมาณ 25% ของการขนส่งสินค้าของโลกจะต้องผ่านช่องแคบมะละกา มีเรือผ่านประมาณ 70,000 ลำต่อปี ในปี 2551 มีการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกาทั้งหมด 43.40 ล้านตู้ โดยประมาณ 16.99 ล้านตู้เป็นสินค้าที่มาถ่ายลำในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย, และการค้าระหว่างเอเชียและยุโรปมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ย 8.9% ต่อปี ที่สำคัญตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยอยู่ในจุดซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศสำคัญๆ หลายประเทศ ซึ่งมีบทบาทนำในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งจะยังเป็นโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการขนส่งสินค้า โลจิสติกส์ การค้าและการลงทุนสำคัญทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้

2. เหตุผลด้านการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและสังคม ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาท่าเรือให้มีความเชื่อมโยงในระบบขนส่งเพื่อรองรับการขยายตัวภูมิภาคอินโดจีน และเป็นพื้นฐานในการดึงดูดการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบ หากไม่มีการเริ่มพัฒนาท่าเรือและดำเนินการต่อเนื่องจนเป็นสะพานเศรษฐกิจ (Landbridge) ใน 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะไม่มีจุดขายใหม่ที่จะเหนี่ยวนำกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ

3. เหตุผลด้านความมั่นคง ท่าเรือน้ำลึกปากบาราจะสนองตอบแนวนโยบายของรัฐในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การมีโครงการขนาดใหญ่ที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และลดปัญหาในเชิงความมั่นคงภายในประเทศ นอกจากนี้ท่าเรือน้ำลึกปากบารายังเป็นเครื่องมือสำหรับรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าและการขนส่งของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น นโยบายการตลาดฝั่งตะวันออกของอินเดีย (Look East Policy) ที่มุ่งขยายตลาดการค้าของอินเดียมายังประเทศในแถบเอเชียตะวันออก และนโยบายการเปิดตลาดฝั่งตะวันตกของจีน (Go West Policy) ซึ่งจีนต้องการส่งสินค้าไปยังตลาดยุโรปและอาเซียนให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งต้องการเปิดช่องทางการค้าระหว่างจีนตอนใต้กับกลุ่มประเทศ GMS หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อเปรียบเทียบศักยภาพการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบารา ประเทศไทย และท่าเรือน้ำลึกทวายประเทศพม่า พบว่า

ในด้านสถานที่ตั้ง ท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จุดที่ตั้ง ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล อยู่ห่างจากชายแดนมาเลเซีย 40 กม. เป็นท่าเรือที่ยื่นออกไปในทะเลอันดามันประมาณ 4.5 กม. มีเกาะเขาใหญ่เป็นแนวป้องกันธรรมชาติ ออกแบบเป็นท่าเรือที่มีความลึกหน้าท่า 14 ม. สามารถรองรับเรือขนาด 50,000-70,000 DWT มีพื้นที่โครงการ 4,734 ไร่ 62 ตร.ว.

ท่าเรือน้ำลึกทวาย จุดที่ตั้ง ต.นาบูเล (Nabule) อยู่ทางตอนเหนือของ จ.ทวาย 34 กม. ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างชายฝั่งทะเลตะวันตกของเมียนมาร์ ไปจนถึงแม่น้ำทวายยาว 20 กม. มีลักษณะหน้าท่าเป็น U-Bssin มีความลึกหน้าท่า 15 ม. สามารถรองรับเรือขนาด 100,000 DWT พื้นที่โครงการ 250 ตรม.กม. หรือ 400,000 ไร่ มีท่าเรือและพื้นที่อุตสาหกรรมหลังท่า

ด้านโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุน ท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ระบบถนนที่อยู่ในสภาพมาตรฐาน 2 ช่อง และ 4 ช่องจราจร โดยมี ทล.416,406,43 และ 4 เป็นโครงข่ายถนนหลัก เชื่อมต่อกับโครงข่ายของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยมีชุมทางหาดใหญ่ และเชื่อมต่อไปยัง-สถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส กม.ที่ 1142.99 ระยะทาง 1,135 กม. นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรื่องฝั่งอ่าวไทย-ฝั่งอันดามัน เชื่อม อ.ละงู จ.สตูล-อ.จะนะ จ.สงขลา ระยะทาง 142 กม. ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบ

ส่วน ท่าเรือน้ำลึกทวาย ต้องก่อสร้างถนนเชื่อมโยงทวาย-บ้านน้ำพุร้อน จ.กาญจนบุรี 160 กม.ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 5 ปี เป็นถนน 4 ช่องจราจร วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลไทยเป็นผู้ลงทุน แต่ในการเชื่อต่อระหว่างไทย-พม่าที่ชายแดนยังไม่สามารถตกลงได้ เพราะยังมีปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย และยังไม่สามารถตกลงเขตแดนระหว่างกันได้ ส่วนการลงทุนทางด้านรางนั้น รฟท.จะต้องเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด

ด้านการพัฒนาท่าเรือนั้น ท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2554-2559 ถมทะเลขนาดพื้นที่ 292 ไร่ เพื่อพัฒนาหน้าท่ายาว 350 เมตร พร้อมเครนยาวตลอดหน้าท่า และมีท่าเทียบเรือบริการ 220 ม. ลานกองตู้ อาคารสำนักงาน ด่านชั่งน้ำหนัก อาคารสินค้าขาเข้าและออก รองรับสินค้าได้ 825,000 TEU ระยะที่ 2 ปี 2562-2564 ขยายท่าเรือให้มีความยาว 1,250 เมตร เพื่อรองรับสินค้าได้ 1,375 ล้าน TEU ระยะที่ 3 ปี 2567-2570 ขยายท่าเรือเพิ่มขึ้นเป็น 2,250 เมตรเพื่อรอรับสินค้า 2,475 ล้าน TEU นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีศักยภาพในอุตสาหกรรมต่อเรือขนาดใหญ่ 20,000-30,000 ตัน ส่วนอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นหลังท่าเรือนั้นจะเป็นอุตสาหกรรมเบา โดยนำวัตถุดิบที่เป็นสินค้าเกษตรมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า แทนการส่งเป็นวัตถุดิบ

ขณะที่ ท่าเรือน้ำลึกทวาย พัฒนาหน้าท่าเป็นแบบ U Basin มีระดับน้ำลึก 15 เมตร ส่วนแผนการก่อสร้างนั้นยังไม่มีความชัดเจน ทั้งในส่วนของขนาดท่าเรือ ขีดความสามารถในการรองรับสินค้า อุตสาหกรรมหลังท่านั้นจะเป็นอุตสาหกรรมหนัก เช่น เหล็ก ชิ้นส่วนและรถยนต์ แปรรูปอาหาร โรงไฟฟ้าถ่านหิน เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังไม่มีความชัดเจนว่าการลงทุนทางด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานนั้น 3.3 แสนล้านบาทใครจะเป็นผู้ลงทุน และที่สำคัญพม่ายังมีความเสี่ยงด้านนโยบายการเมืองสูงมาก

เมื่อดูข้อเปรียบเทียบและความคุ้มค่าในการลงทุน ไม่ต้องบอกก็น่าจะรู้ว่าจุดใดที่มีความเหมาะสมสำหรับการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก เพราะในด้านความพร้อม ทั้งด้านสาธารณูปโภค ความปลอดภัยแล้ว ทางพม่าแทบจะหาไม่มีเลย และปัจจุบันเองไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของพม่า รวมไปถึงความเป็นเอกภาพของพม่า ยังถือว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการลงทุน

นอกจากนี้แล้ว ในด้านงบลงทุนก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าใครเป็นผู้ลงทุน สิ่งที่รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี คิดถูกหรือผิด ที่สำคัญอยากถามกลับไปว่า เมื่อลงทุนที่ทวาย ประเทศพม่าแล้ว ประเทศไทยได้ประโยชน์อะไรจากสิ่งที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดที่ทวาย ประเทศพม่า หรือเป็นแค่เพื่อช่วยเหลือพวกฟ้องที่คอยจ้องฉกฉวยโอกาส หรือผู้ที่พยายามเปลี่ยนตัวเองจากนักบริหารประเทศมาเป็นนักล็อบบี้ยีสต์ และคอยแต่จะหาประโยชน์ หาเงินจากประเทศชาติเพื่อเข้ากระเป๋าตัวเองและพวกพ้อง

"ท่าเรือทวาย" ถือเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่ถ้ายุทธศาสตร์ของประเทศแล้ว สิ่งสำคัญคือ ลดต้นทุนค่าขนส่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และยังช่วยพัฒนาพื้นที่ในภาคใต้ ดังนั้น "ท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา" ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศที่รัฐบาลจะต้องเดินหน้าลงทุนโดยเร็วที่สุด.

//----------------------------------------------------------------

เรื่องของเรื่องก็คือประชาธิปัตย์ ผลักดันท่าเรือทวายอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู เพื่อเอาใจ สส. ประชาธิปัตย์ ที่กาญจนบุรีและตาก และ เป็นการหาคะแนนเสียเอากะ มุสลิมที่สตูลและสงขลา ด้วย โดยมีใจกำเริบว่า คะแนนเสียงที่สงขลา และ หาดใหญ่ มันของตายอยู่่แล้ว ธุระมิใช้ที่จะทำใจกังวล ว่า บรรดานายหัว และ บรรดาพ่อค้าและ เจ้าของโรงงาน ที่อยากให้มีท่าเรือปากบารา และ ท่าเรือสงขลา จะบอกให้ลูกน้อง เลือกภูมิใจไทย หรือ พรรคอื่น แต่อย่างไรเสียไม่มีใครอยากจะ โหวตให้เพื่อไทยเป็นแน่ ถ้าไม่ใช่พวกเสื้อแดง แถว เมืองคอนและ เมืองลุง ....

งานนี้่ต้องคอยดูกันต่อไปว่าประชาธิปัตย์จะตกอยู่ในสภาพ ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตาเพราะ ความทประมาท หรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 15/04/2011 10:07 pm    Post subject: Reply with quote

ล้มเซาเทิร์นฯ
ข่าวทูเดย์
โพสต์ทูเดย์ 14 เมษายน 2554 เวลา 06:40 น.

ปชป.ล้มเซาเทิร์นซีบอร์ด พลิกใต้เป็นแหล่งท่องเที่ยว /ทักษิณประกาศพักหนี้ทุกกลุ่ม5ปี

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และนโยบายเพื่อการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เปิดเผยว่า พรรค ปชป.จะประกาศยกเลิกโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือเซาเทิร์นซีบอร์ด รวมทั้งโครงการก่อสร้างสะพานเศรษฐกิจ หรือแลนด์บริดจ์ จากสตูล-สงขลา และโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั้งหมดแล้วชูยุทธศาสตร์เปลี่ยนพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวใหม่ทั้งหมด

“ที่ต้องยกเลิกเพราะนอกจากไม่มีความเป็นไปได้จริงในแง่การลงทุนแล้ว ยังถูกประชาชนคัดค้านต่อเนื่อง เมื่อยกเลิกโครงการท่าเรือน้ำลึกที่ใต้แล้วต่อไปไทยสามารถไปใช้ท่าเรือน้ำลึกทวายที่พม่าแทนได้” นายกอร์ปศักดิ์ ระบุ


อย่างไรก็ตาม จะมีการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ให้เป็นเมืองท่า หรือฮาเบอร์ ซิตี (Habour City) จะสร้างศูนย์รับส่งสินค้าที่สมบูรณ์ด้วยการสร้างรถไฟความเร็วสูงจากระยองถึงสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อเชื่อมระบบขนส่ง รวมทั้งสร้างอีโคอินดัสทรี ทาวน์ บริเวณอู่ตะเภาและพัทยาที่เน้นการลงทุนสีเขียว ใช้เงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท

อนึ่ง โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นโครงการสร้างถนนเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันกับฝั่งอ่าวไทย ซึ่งตามแผนจะมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 แห่งคือ ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา และท่าเรือน้ำลึกปากบารา จากนั้นจะสร้างระบบขนส่งทางถนน ทางรถไฟ และทางท่อ เชื่อม 2 ฝั่งทะเล เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าเพื่อเปิดเส้นทางการค้าไปสู่ตะวันออกกลาง มีมูลค่าลงทุนรวมประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ขณะนี้ลงทุนไปบางส่วนแล้วหลายพันล้านบาท

นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีต รมว.คลัง ในฐานะหัวหน้าทีมนโยบายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในวันที่ 23 เม.ย.นี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะประกาศนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของพรรคเพื่อไทย คือ พักชำระหนี้ให้ประชาชนที่เป็นหนี้ไม่เกิน 5 แสนบาทต่อครัวเรือน เป็นเวลา 5 ปี

ทั้งนี้ จะเป็นการพักชำระหนี้ทั้งที่เป็นหนี้นอกระบบและในระบบ โดยจะครอบคลุมทั้งข้าราชการครู ทหาร ตำรวจ หรือประชาชนทั่วไป ที่คาดว่าจะมีอยู่นับ 10-20 ล้านคน หากทางพรรคได้จัดตั้งรัฐบาล จะเปิดให้ผู้ที่ประสงค์จะพักชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ในระบบหรือนอกระบบโอนหนี้มาอยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลัง ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน

ด้านเครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลการเมืองนำโดยนายจรัส สุวรรณมาลา อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดผลการประเมินความชัดเจนของนโยบายพรรคการเมือง 5พรรคว่าตั้งแต่เดือน ม.ค.-มี.ค.ที่ผ่านมา พรรคที่มีนโยบายชัดเจนด้านเศรษฐกิจและสาธารณสุขมากที่สุดคือ ปชป.

ด้านสิ่งแวดล้อมพรรคเพื่อไทยและ ปชป. ได้คะแนนเท่ากันด้านการแก้ไขปัญหาสวัสดิการสังคมและการศึกษานั้น ไม่มีพรรคการเมืองใดมีความโดดเด่นเลย

//-------------------------------------------

ล้มเซาเทิร์นฯ นโยบายหาเสียงล่าสุดของปชป.เขาละ
Posted by ลูกแมวหน้าโรงหนังลุง ,
เมื่อ: วันพฤหัสบดี ที่ 14 เมษายน 2554 13:43:48 น.
หมวด นักข่าวอาสา

ลูกแมวหน้าโรงหนังลุง wrote:
ประกาศล้มโครงการนี้อันเนื่องมาจาก ชาวบ้านในภาคใต้ส่วนใหญ่ไม่รับ และเจอกระแสต่อต้านสุด....

นับเป็นข่าวดีหลังน้ำท่วมของชาวใต้ ครับ

สาเหตุหลักน่าจะมาจากญี่ปุ่นมากกว่าและขืนเข็นนโยบายนี้

ต่อไปมีหวังจอดไม่จอดแจวแน่นอน

"พ้มยังดีใจเลยกับข่าวนี้ แล้วอย่างนี้ ชาวบ้านคนอื่น ถ้ารู้เขาจะว่าอย่างไรหนอ"

"แต่อย่าหวังเรื่องคะแนนเสียงจากพ้ม น้าบ่าวเออ.."
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 22, 23, 24 ... 50, 51, 52  Next
Page 23 of 52

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©