Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311320
ทั่วไป:13282457
ทั้งหมด:13593777
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 25, 26, 27 ... 50, 51, 52  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44774
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/06/2011 2:10 pm    Post subject: Reply with quote

หอการค้ากาญจน์ขอรัฐบาลใหม่หนุนภาคเอกชน
เนชั่นทันข่าว 13 มิย. 2554 13:02 น.

นายนิพัฒน์ เจริญกิจการ ประธานหอการค้าจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใกล้เข้ามา ต่อจากนั้นก็จะมีการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าพรรคใดจะเป็นพรรคที่จัดตั้งรัฐบาลก็ตาม ในส่วนของหอการค้าจังหวัดกาญจนบุรี อยากจะขอฝากให้รัฐบาลมีนโยบายที่คล้อยตามภาคเอกชนหรือนักธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำเรื่องที่กลุ่ม 18 จังหวัดที่ได้ประชุมกันที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2552 ในเรื่อง 6 ยุทธศาสตร์ 7 กลุ่มธุรกิจ ซึ่งได้มีเรื่องเกี่ยวกับการค้าชายแดนรวมอยู่ด้วย โดยทางคณะกรรมการผู้เข้าร่วมประชุมได้ทำหนังสือปกขาวยื่นให้กับรัฐบาลให้กับรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ในหนังสือดังกล่าว ได้ระบุถึงโครงสร้างเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้ารวมอยู่ด้วย รวมถึงด้านจริยธรรม การจัดการสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต การเฝ้าระวังปัญหาด้านเศรษฐกิจอันอาจจะเกิดขึ้นจากการประชุมกลุ่ม AEC. ( ASIAN ECONOMIC COMMUNITY ) ซึ่งการทำงานของรัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุนในยุทธศาสตร์ชายแดนเข้าร่วมอยู่ด้วย ยอมรับการสะท้องบริบทจากภาคเอกชน ในการทำการค้าชายแดนที่ทางภาคเอกชนได้จัดวางไว้แล้วอย่างเป็นรูปธรรม

รัฐบาลต้องยกระดับการค้าชายแดนอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะเรื่องวิสัยทัศน์ที่ทำให้ไทยเป็นจุดศูนย์กลางในเรื่องการค้าชายแดนและการท่องเที่ยว การค้าการขายที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดน ต้องให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งยกระดับความมาตรฐานการค้าชายแดนในทั่วประเทศ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ระบบการเดินทางเข้าออกในส่วนของ Border Pass ที่ควรทำให้ง่ายขึ้นและเหมือนกันทั้งประเทศ ซึ่งปัจจุบันยังมีความล่าช้าอยู่ การเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งทางรถยนต์และรถไฟ

ขณะเดียวกันการเปิดด่านชายแดนด้านด่านพุน้ำร้อน อ.เมืองกาญจนบุรี ยังต้องรออีกหลายเรื่อง เพราะรัฐบาลรักษาการคงไม่กล้าที่จะตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ขณะนี้ รวมถึงฝ่ายความมั่นคง ซึ่งตนคิดว่าควรจะมองในเรื่องของเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย เนื่องขากถ้าหากเรื่องเศรษฐกิจดี เชื่อว่าความมั่นคงก็จะดีตามขึ้นไปด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 14/06/2011 6:54 pm    Post subject: Reply with quote

‘อิตัลไทย’เดินหน้าท่าเรือน้ำลึกทวายหวังพลิกศก.โลก
ข่าวปก
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1209
11-13 มิถุนายน 2011

อิตาเลียนไทยผนึกแบงก์ไทยพาณิชย์ ดันโปรเจกต์ยักษ์ “ท่าเรือน้ำลึกทวาย” อาณาจักร 100,000 ล้าน ฝั่งตะวันตก รองรับเศรษฐกิจโลก ยุคใหม่ “จีนอาเซียน” พร้อมตั้ง บริษัทลูก

ขึ้นมาบริหาร เพื่อพัฒนา โครงการภายใต้สัญญาเช่า 75 ปี คาดดำเนินการได้ในปี 2558 นี้
นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียน ไทย ดีเวล้อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายบริษัท ได้จัดการสัมมนา ที่ โรงแรมโอเรียนเตล เรื่อง Dawei Project : Investment Opportunity in the New Regional Trading and Industrial Hub ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่างบริษัท และสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เพื่อการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย บนพื้นที่ 250 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 200,000 ไร่ เป็นเขตอุตสาหกรรม และมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อมายังประเทศไทย ทั้งทางถนน ทางราง

การจัดสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความเข้าใจและเปิดมุมมองเรื่องโอกาสในการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่จะความสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคให้มีความแข็งแกร่ง และสร้างประโยชน์ให้กับประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community) ได้อย่างเป็นรูปธรรมิ นายเปรมชัย กล่าว

อย่างไรก็ดี ทำเลที่ตั้งเมืองทวายนั้น มั่นใจว่าน่าจะมีความสามารถเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียนได้ เพราะปัจจุบันแลนด์สเคปทางเศรษฐศาสตร์ของโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว อาเซียนกำลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจ ส่วนประเทศจีนขณะนี้มีการสร้างนิคมอุตฯ 30 แห่ง จนเป็นฐานเศรษฐกิจโลกแห่งที่ 2 มี FDI (Foreign direct investment) สูงสุดในโลก คือประมาณกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ ประเทศพม่าเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา และภูมิภาคนี้ยังมีการบริโภคที่สูงจึงสามารถเป็นจุดยุทธศาสตร์ได้ แต่เรื่องลอจิสติกส์หรือการขนส่งสินค้าต้องดี ทั้งหมดจึงนำมาสู่การทำแผนโครงการท่าเรือทวายที่ซึ่งมี 4 องค์ประกอบหลัก คือ

1. ท่าเรือน้ำลึก
2.คอมเมอร์เชียล และเรสซิเดนเชียลแอเรีย (การค้าขายและที่อยู่อาศัย)
3.อินดัสเทรียลเอสเตท (นิคมอุตสาหกรรม) และ
4. มีทรานส์บอร์เดอร์คอร์ริดอร์ (เส้นทางขนส่งชายแดน)

นายเปรมชัย กล่าวอีกว่า บริษัทอยู่ระหว่างการจัดหาแหล่งเงินลงทุนด้านสาธารณูปโภค เพื่อดำเนินโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในสหภาพพม่า โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 3 เดือน และวงเงินลงทุนเบื้องต้นคงไม่ถึง 4 พันล้านดอลลาร์ตามที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ โดยบริษัทจะก่อสร้างท่าเทียบเรือ ถนน และทางรถไฟให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี หรือตั้งแต่ปี 2555-2558

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ได้ยืนยันว่าจะรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 3,600 เมกะวัตต์ในนิคมอุตสาหกรรมทวายแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาอัตราค่าไฟฟ้าและเงื่อนไขต่างๆ โดยจะเชิญชวนบริษัทต่างๆเข้ามาร่วมทุนต่อไป ซึ่งมีหลายบริษัทให้ความสนใจ เช่น บริษัท ปตท. อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด(มหาชน)หรือเอ็กโก บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ บริษัทได้จัดตั้งบริษัท ทวาย ดีเวล้อปเมนท์ จำกัด(DDC) โดยใช้ทุนจดทะเบียน 100 ล้านดอลลาร์ และถือหุ้น100% เพื่อพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย พื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่ ภายใต้สัญญาเช่าที่ดินระยะเวลา 75 ปี โดยระยะต่อไปจะเปิดให้บริษัทพันธมิตรที่สนใจร่วมถือหุ้นในบริษัท ทวายฯ และร่วมถือหุ้นในโครงการต่างๆภายในนิคมฯ ซึ่งบริษัทได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น โรงผลิตเหล็กรีดร้อน กำลังการผลิตปีละ 6 ล้านตัน โรงงานผลิตปุ๋ย โรงกลั่นน้ำมัน ขนาดกำลังการกลั่นวันละ 1 แสนบาร์เรล โรงงานปิโตรเคมี

ด้าน ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ DDC กล่าวว่า โครงการนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกทวาย ถือเป็นโครงการที่ใหญ่มาก ทำให้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน นั่นคือความจำเป็นทำให้ต้องดึงพันธมิตรที่ถนัดในเรื่องนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกเข้ามา เพราะอิตาเลียนไทยถนัดในงานก่อสร้างสาธารณูปโภคมากกว่าเรื่องของการวางระบบและบริหารจัดการ ทั้งนี้ มีผู้สนใจลงทุนในโครงการต่างๆเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานโดยรวม,ท่าเรือน้ำลึก,ถนนเชื่อมโครงการถึงชายแดนไทยพม่า,ระบบน้ำภายในโครงการ โรงไฟฟ้าถ่านหิน,เหล็ก,โรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ,ปิโตเคมี,กระดาษ และอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44774
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/06/2011 9:45 am    Post subject: Reply with quote

ปลัดคมนาคมตีกลับแผนขนส่งทางรางแลนด์บริดจ์
สำนักข่าวไทย วันพุธ ที่ 15 มิ.ย. 2554

กรุงเทพฯ 15 มิ.ย.-นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมเรื่องผลการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน(แลนบริดจ์) เบื้องต้นกระทรวงคมนาคมยังไม่เห็นด้วยกับข้อมูลที่เสนอมา

นายสุพจน์ กล่าวว่า ได้สั่งให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงคมนาคมไปหารือร่วมกันในภาพรวมการจัดการระบบการขนส่งสินค้าทางเรือและระบบการจัดการโลจิสติกส์ทั้งหมด และรายงานให้กระทรวงคมนาคมทราบภายใน 1 เดือน

“โครงการดังกล่าวเป็นนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ที่แถลงต่อที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งความเป็นไปได้ในการจะทำให้เกิดโครงการแลนบริดจ์ จะต้องพัฒนาท่าเรือปากบาราและท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 ควบคู่ไปด้วย จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูข้อมูลให้ครอบคลุมทั้งโครงสร้างพื้นฐานระบบรางและการจัดการ ขนส่งสินค้าทางเรือ” นายสุพจน์ กล่าว

ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวอีกว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้าไปดูแล โดยมีกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ช่วยจัดการบริหารเรื่องเส้นทางที่อำนวยความสะดวกต่อการขนส่งสินค้า ขณะเดียวกันทางกรมเจ้าท่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะดูแลเรื่องการจัดสรรปริมาณการขนส่งสินค้าทางเรือ โดยสนข.จะต้องรวบรวมข้อมูล รวมทั้งข้อสังเกตทั้งหมดรายงานให้กระทรวงคมนาคมรับทราบ

สำหรับการคาดการณ์เบื้องต้นของปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทย-ฝั่งอันดามัน พิจารณาเฉพาะสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ เนื่องจากมีศักยภาพในการขนส่งทางรถไฟและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบสินค้าและประเภทของการขนส่งสินค้า ประกอบด้วย สินค้าส่งออกและนำเข้าทางท่าเรือภาคใต้ของไทย สินค้าเปลี่ยนถ่ายลำ จะทำการขนส่งผ่านเส้นทางสะพานเศรษฐกิจ (แลนบริดจ์) แทนการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา ในส่วนของสินค้าส่งออกและนำเข้าทางท่าเรือภาคใต้ของไทย ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผลิตและบริโภคในพื้นที่ภาคใต้ และสินค้าที่มาจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องในพื้นที่ที่มีโอกาสจะทำการขนส่งสองฝั่งทะเล โดยมีสินค้าที่ส่งออกมากที่สุด เช่น ยาง ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้และเฟอร์นิเจอร์ไม้ และน้ำตาล ส่วนสินค้าที่นำเข้ามากที่สุด เช่น วัตถุดิบอุตสาหกรรม อาหารทะเล และปุ๋ย ซึ่งแนวโน้มในอนาคตจะมีสินค้าเพิ่มขึ้นจากความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนฯ

นอกจากนี้ สินค้าจากภูมิภาคอื่น ๆ ของไทยจะเปลี่ยนเส้นทางจากการใช้ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง มาใช้ท่าเรือภาคใต้ แบ่งเป็น สินค้าจากกลุ่มประเทศคู่ค้าที่ส่งออก-นำเข้าด้านฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย และสินค้าจากกลุ่มประเทศคู่ค้าที่ส่งออกและนำเข้าด้านฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศเอเชียใต้ และกลุ่มประเทศแอฟริกา สินค้าจากจีนตอนใต้ คาดว่าจะมีปริมาณสินค้าบางส่วนที่จะทำการขนส่งผ่านด่านเข้าประเทศไทยก่อนทำการส่งออกที่ท่าเรือน้ำลึกปากบาราสู่ประเทศคู่ค้าฝั่งอันดามัน ในส่วนของสินค้าเปลี่ยนถ่ายลำที่ท่าเรือถ่ายลำหลักในปัจจุบัน ได้แก่ ท่าเรือสิงคโปร์ ท่าเรือของอินโดนีเซีย ท่าเรือของมาเลเซีย.-สำนักข่าวไทย

------------------------

ชง‘แลนด์บริดจ์’รัฐบาลหน้าสนข.ตุนข้อมูลพร้อมแจ้งเกิด
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1212 ประจำวันที่ 22-6-2011 ถึง 25-6-2011

ก.คมนาคม > คมนาคมพ้อ 4 ปีรัฐบาล “อภิสิทธิ์” ตัดตอน “ปากบารา” ทำให้แลนด์บริดจ์ ล่าช้า ขณะที่มัวแต่ไปช่วยพม่า สร้างท่าเรือทวาย เชื่อหากรัฐ บาลใหม่เป็นเพื่อไทยจะผลักดัน โครงการนี้แน่นอน ด้าน “สร้อย ทิพย์” เผยตอนนี้สนข.ศึกษาโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว กำลังเร่งเตรียมข้อมูลต่างๆ เสนอต่อรัฐบาลใหม่เพื่อดำเนิน การต่อ ระบุโครงการนี้ไม่ได้เป็นแค่ท่าเรือขนส่งสินค้า แต่เป็นยุทธศาสตร์ลอจิสติกส์ประเทศไทยในการพัฒนาพื้นที่ ภาคใต้ให้เป็นศูนย์เศรษฐกิจเชื่อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-จีน-เอเชียใต้

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ถึงความคืบหน้าโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ว่า โครงการดังกล่าวในรัฐบาลประชาธิปัตย์เรียกได้ว่า 4 ปีที่ผ่านมาแทบไม่มีความคืบหน้าเลย เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องมาจากแนวคิดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ต่อมาในสมัยรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช ได้มีการว่าจ้าง กลุ่มบริษัท ดูไบเวิลด์ เป็นผู้ศึกษาแบบให้เปล่าด้วยงบประมาณกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งหลังจากที่ผลการศึกษาแล้วเสร็จ กระทรวงคมนาคมได้มีการเสนอผลการศึกษาต่อ ครม.รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แล้ว แต่ไม่ผ่าน ครม.โดยครม.ได้มีมติให้ไปทำการลดขนาดโครงการท่าเรือปบากบาราลงจากท่าเรือขนาดใหญ่ มูลค่าการลงทุน 12,000 ล้านบาท เหลือเพียงท่าเรือสินค้าขนาดเล็ก

นอกจากนี้อีกเหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญโครงการนี้น้อย เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ส่วนหนึ่งมีการต่อต้าน เพราะกลัวว่าจะส่งผลกระทบเหมือนนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จึงทำให้รัฐบาลชุดนี้หันไปสนับสนุนการสร้างท่าเรือทวายในประเทศพม่าแทน อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมยืนยันมาโดยตลอดว่า โครงการนี้

แหล่งข่าวกล่าวว่า Concept โครงการนี้ ไม่ใช่แค่ท่าเรือขนส่งสินค้าธรรมดา แต่เดิมรัฐบาลวางไว้จะเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ทางฝั่งอันดามัน เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินในเอเชียเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน อินเดีย ซึ่งจะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ ประชาชนมีงานทำ โดยเฉพาะยังเป็นการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ทั้งนี้ เชื่อว่าหากรัฐบาลใหม่เป็นพรรคเพื่อไทย เชื่อว่าจะต้องมีการรื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาอย่างแน่นอน เพราะนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวกับ สยามธุรกิจ ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สนข.ได้มีการเสนอผลการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ต่อที่ประชุม ซึ่งมี นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้มีการเสนอแนะใน 2 ประเด็นคือ

1.ระบบรางไฟที่จะเชื่อมโยงท่าเรือปากบารา ฝั่งอันดามัน และท่าเรือสงขลา 2 ฝั่งอ่าวไทย เนื่องจากในอนาคตจะเกิดระบบรถไฟไฮสปีดเทรนซึ่งเชื่อมระหว่างจีน-ไทยลงมาทางใต้และจะมีการขนส่งสินค้าด้วย ดังนั้น สนข.ควรจะศึกษาให้มีระบบรถไฟไฮสปีดเทรนและระบบรางที่จะมาสอดรับกับไฮสปีดเทรนด้วยหรือหรือไม่

ประเด็นที่ 2 แลนบริดจ์ที่จะเชื่อมระหว่าง 2 ฝั่งทะเล ระยะทางประมาณกว่า 100 กม.มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเจาะอุโมงค์เพื่อร่นระยะทางให้สั้นลง และประเด็นที่ 3 คือ สนข.ได้มีการศึกษาผลกระทบกรณีที่ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กำลังมีโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 หากกรมเจ้าท่าจะทำท่าเรือปากบาราด้วยจะมีการแยกสินค้ากันเองหรือไม่

ทั้งนี้ ในประเด็นแรกนั้น สนข.มองว่าระบบไฮสปีดเทรนไทย-จีน ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่กันแน่ ในขณะที่ระบบรถไฟที่จะต้องใช้ในการสัญจรภายในประเทศก็ต้องมีไว้บริการให้ครอบคลุมด้วยเช่นกัน ส่วนในเรื่องของพื้นที่ในการก่อสร้างนั้น มีพร้อมที่จะรองรับได้ทั้ง 2 ระบบอยู่แล้ว เรื่องนี้คงต้องให้รัฐบาลใหม่เป็นผู้พิจารณา

ส่วนประเด็นที่ 2 นั้น สนข.เห็นว่าการเจาะอุโมงค์จะมีการทำลายระบบทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งต้องมีการหารือกับกรมอุทยานอีกหลายขั้นตอน ประกอบกับทางเส้นทางเดิมที่ศึกษาไว้ก็ไม่ได้ระยะทางก็ไม่ได้มากนัก จึงเห็นว่าแนวทางเดิมมีความเหมาะสมแล้ว ส่วนประเด็นที่ 3 สนข.มองว่า สามารถแบ่งแยกสินค้าที่จะมาใช้บริการได้ ซึ่งอาจจะเป็นสินค้าคนละกลุ่มกัน หรือเหมือนกันก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา

นางสร้อยทิยพ์ กล่าวต่อว่า ในสัปดาห์นี้จะมีการหารือในโครงการดังกล่าวระหว่างกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยกระทรวงการคลังเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเชื่อว่าจะมีการหารือในหลากหลายประเด็น ทั้งนี้หลังจากที่ได้รัฐบาลใหม่มา สนข.และกระทรวงคมนาคมจะนำผลการศึกษาและข้อมูลต่างๆ ในโครงการนี้เสนอรัฐบาลชุดใหม่เพื่อพิจารณาและผลักดันโครงการต่อไป

โครงการนี้เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก เพราะคอนเซ็ปไม่ได้มองที่การมีท่าเรือไว้ขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่เป็นการมองถึงยุทธศาสตร์ลอจิสติกส์ของประเทศไทย ซึ่งมีการระบุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ลอจิสติกส์ประเทศปี 2550-2554 โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งจำเป็นต้องมีท่าเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ทางฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย เพื่อรองการขนส่งและเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยสู่เศรษฐกิจโลก ซึ่งในช่วง 4 ที่ผ่านมายังไม่ทันได้ดำเนินการ ก็มีการยุบสภาก่อน ทั้งหมดนี้คงต้องเสนอให้รัฐบาลใหม่พิจารณาิ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
kikoo
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 01/02/2010
Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง

PostPosted: 23/06/2011 10:45 am    Post subject: Reply with quote

ไม่มีใครพูดถึงท่าเรือกันตังเลยแฮะ สงสัยท่าเรือกันตังจะแก่เกินไปสำหรับการขนส่งยุคใหม่ Wink
_________________
ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 23/06/2011 12:09 pm    Post subject: Reply with quote

kikoo wrote:
ไม่มีใครพูดถึงท่าเรือกันตังเลยแฮะ สงสัยท่าเรือกันตังจะแก่เกินไปสำหรับการขนส่งยุคใหม่ Wink



ที่ไม่กล่าวถึง คงต้องศึกษา ข้อจำกัดทางสภาพภูมิศาสตร์ของร่องน้ำ ผังเมือง กิจกรรมหลังท่าเรือ และปริมาณสินค้า กับขนาดของเรือที่เข้ามารับสินค้า และผลกระทบจาก การขนถ่ายหลาย ๆ ครั้ง
ว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม กับต้นทุนของประเทศ ที่ต้องทุ่มลงไปเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ทั้ง 2 แห่ง
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2011 9:31 am    Post subject: Reply with quote

สภาอุตฯจี้2พรรคสานต่อโลจิสติกส์แสนล.
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา Real Estate - อสังหาฯ Real Estate
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2011 เวลา 13:15 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,648 30 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


สภาอุตฯ หวั่นการเมืองเปลี่ยนขั้วรื้อโครงการรัฐบาลที่แล้ว ตบเท้าหารือทีมเศรษฐกิจ 2 พรรคการเมืองใหญ่ เพื่อไทย-ปชป. หนุนสานต่อเมกะโปรเจ็กต์โครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์นับแสนล้าน ชี้ต้องสานต่อเพื่อลดต้นทุนและรองรับเปิดเสรีอาเซียนในอีก 5 ปีข้างหน้า ย้ำระบบขนส่งทางรางต้องลดให้ได้ 12-14% ของจีดีพี ถึงจะแข่งขันเวทีโลกได้

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าได้มีการนำเสนอเมกะโปรเจ็กต์โครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาด้านระบบการขนส่ง (โลจิสติกส์)ไปยัง 2 พรรคการเมืองใหญ่คือพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อไม่นานมานี้เพื่อให้ผลักดันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าพรรคใดจะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลก็ตาม เนื่องจากเกรงว่าหลายโครงการที่ได้ริเริ่มดำเนินการในรัฐบาลที่แล้ว ถ้าเปลี่ยนขั้วการเมืองจะถูกยกเลิกหรือชะลอออกไปทั้งที่เป็นโครงการที่ดีก็ตาม ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็น่าจะเป็นห่วงว่า ประเทศไทยจะสูญเสียโอกาสในการแข่งขันกับต่างประเทศ เนื่องจากต้นทุนด้านการขนส่งสูง

โครงการที่ได้นำเสนอไปยัง 2 พรรคการเมืองประกอบด้วย

1.โครงการยกเครื่องพัฒนาระบบราง การพัฒนาระบบรางคู่ ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มูลค่า 1.7 แสนล้านบาท

2.โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 มูลค่า 1.5 แสนล้านบาทที่ต้องแล้วเสร็จในปี 2560

3. โครงการพัฒนาท่าเรือสตูล และที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งถือเป็นการพัฒนาท่าเรือในฝั่งตะวันตก นอกเหนือจากการพัฒนาท่าเรือทะวาย ที่พม่าโดยเห็นว่าประเทศไทยต้องมีท่าเรือเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งภายในประเทศ

4. โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ รวมถึงเส้นทางรถไฟความเร็วสูงอีก 3 เส้นทางคือ
กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี
กรุงเทพฯ-ระยอง-ตราด และ
กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

รวมมูลค่าร่วม 8 แสนล้านบาท

ส่วนโครงการรถไฟฟ้ารอบกรุงเทพฯและปริมณฑลนั้นไม่ได้มีการนำเสนอเนื่องจากเห็นว่าแต่ละพรรคการเมืองให้ความสำคัญกันอยู่แล้ว

"ส.อ.ท.ต้องการให้มีการสานต่อโครงการต่าง ๆ เหล่านี้เพราะถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 ไม่ว่าพรรคใดจะขึ้นมาเป็นรัฐบาลก็ต้องดำเนินการให้ต่อเนื่อง เพราะอย่างน้อยถ้าเริ่มต้นขณะนี้ กว่าจะแล้วเสร็จก็ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5-6 ปี อย่างเช่นโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ที่ต้องเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามแผน เนื่องจากในปี 2560 เฟส 2 จะรองรับได้ 1.5 ล้านตันซึ่งเต็มพิกัดและต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 5 ปี โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีนที่น่าจะเสร็จในปี 2559 เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อรองรับโอกาสที่นักท่องเที่ยวจากจีน 150 ล้านคนจะออกเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งไทยสามารถรองรับได้ถ้าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงจาก คุนหมิง-เวียงจันทน์ -หนองคาย-กรุงเทพฯ แล้วเสร็จ หรือกรณีของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง-ตราด ซึ่งล่าสุดมติครม.ได้เสนอให้วิ่งลงไปจนถึงจังหวัดตราด ซึ่งจะเกิดผลดีในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว และพรรคประชาธิปัตย์เองก็มีแผนที่จะพัฒนาแหลมฉบังให้เป็นซิตี้ ฮาร์เบอร์ ซึ่งจะสอดคล้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูงด้วย" นายธนิต กล่าวและว่า

ระบบขนส่งทางรางนอกเหนือจากการขนส่งสินค้าแล้วยังรวมถึงการขนส่งคนด้วย การผลักดันให้สานต่อเรื่องเมกะโปรเจ็กต์ทางด้านโลจิสติกส์ถือเป็นสิ่งสำคัญในการลดต้นทุน โดยต้องการให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพราะบางโครงการถ้ายิ่งล่าช้าออกไปอีก ก็จะทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสในการแข่งขันกับนานาประเทศ เพราะต้นทุนทางด้านการขนส่งสูงทำให้สินค้าราคาแพง

สำหรับต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ของไทยตัวเลขปี 2551 อยู่ที่ 18.6% ของจีดีพี ปี 2552 ลดลงมาอยู่ที่ 16.8% ของจีดีพี ซึ่งในทางเป็นจริงควรจะอยู่ที่ 12-14% ของจีดีพี ถึงจะเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันและต้องลดการขนส่งทางถนน ที่ไทยมีอยู่ถึง 85% แต่ระบบรางมีอยู่เพียง 2% เท่านั้น ซึ่งต้องลดการขนส่งระบบถนนให้ลงครึ่งหนึ่งหรือให้ได้สัดส่วนที่การขนส่งระบบถนนลดลงเหลือ 40 % ระบบรางเพิ่มเป็น 20% เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว และมาตรฐานของประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและบราซิล ระบบรางจะคิดเป็นสัดส่วน 30% ของจีดีพี

ด้านนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย ความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีนว่ายังไม่คืบหน้า และยังไม่ได้เซ็นข้อตกลงความร่วมมือเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐบาลไทยกับจีน หลังจากที่ผ่านขั้นตอนความเห็นชอบจากรัฐสภาไทย ส่วนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และกรุงเทพฯ-ระยอง (ต่อมาภายหลังครม.ให้ศึกษาถึงจังหวัดตราด) นั้นจะเปิดให้เอกชนร่วมทุนในลักษณะ PPP S

หลังจากที่สำนักงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) กระทรวงการคลัง ได้ทำมาร์เก็ตซาวด์กับนักลงทุนต่างประเทศไปแล้ว 2 เส้นทางคือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่และกรุงเทพฯ-ระยอง รองบประมาณในการศึกษาความเป็นไปได้ โครงการ รวมทั้งศึกษาความเหมาะสม ( Feasibility study ) ของการกำหนดเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองไปจนถึงจังหวัดตราด ทั้ง 3 เส้นทางกำลังรองบประมาณในการหาแหล่งเงินสำหรับการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้โครงการในการพัฒนาเส้นทาง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44774
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/07/2011 5:04 pm    Post subject: Reply with quote

ว่าที่ส.ส.กาญจน์ ชงเพื่อไทยสานต่อ 'ทวายโปรเจกต์'
ไทยรัฐ วันที่ 2011-07-05 14:26:51

ว่าที่ส.ส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย เตรียมเสนอรัฐบาลใหม่สานต่อทวายโปรเจคตามแผนเดิมของไทยรักไทย ปี 47...

เมื่อวันที่ 5 ก.ค. พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ ว่าที่ส.ส.กาญจนบุรี เขต 1 พรรคเพื่อไทย เปิดเผยถึงแนวทางการผลักดันโครงการพัฒนาในพื้นที่เลือกตั้งว่า พื้นที่เขตเลือกตั้งกาญจนบุรี เขต 1 ครอบคลุมพื้นที่อ.เมือง และ ต.ศรีมงคล อ.ไทรโยค ซึ่งเป็นพื้นที่แนวชายแดนไทย-พม่า เป็นที่ตั้งของช่องทางการค้าชายแดน บ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า อ.เมือง ที่เป็นจุดเชื่อมต่อถนนจากท่าเรือน้ำลึกเมืองทวาย ดังนั้น กาญจนบุรีถือว่าเป็นที่ตั้งของยุทธศาตร์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคต

สำหรับโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย และถนนเชื่อมต่อจากทวายมาที่บ้านพุน้ำร้อนนั้น ว่าที่ส.ส.กาญจนบุรี เขต 1 เปิดเผยต่อว่า เมื่อปี 2547 พรรคไทยรักไทย มีนโยบายกำหนดแผนการพัฒนาพื้นที่กาญจนบุรีเพื่อรองรับโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย กับถนนทวาย-กาญจนบุรี ไว้แล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการสานต่อโครงการให้เกิดเป็นรูปธรรม ตนจะเสนอต่อพรรคเพื่อไทยให้เล็งเห็นว่า การเตรียมความพร้อมในด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน และศูนย์ราชการ เพื่อรองรับโครงการเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งทั้งทางถนนและทางรางรถไฟ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ดังนั้นกาญจนบุรีต้องเตรียมความพร้อม โดยที่ผ่านมาภาคเอกชน ทั้งสภาอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี และหอการค้าจังหวัดกาญจนบุรี รวมถึงภาคเอกชนในส่วนอื่นๆ ได้พยายามผลักดันโครงการให้เดินรุดหน้าตามลำดับ

พล.อ.สมชาย กล่าวด้วยว่า แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ภาคราชการยังไม่สามารถดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับโครงการนี้ อย่างการประชุมผู้นำอาเซียนที่ประเทศอินโดนีเซียที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆ นี้ มีการพูดคุยกัน แต่เสนอให้เปิดเส้นทางการค้าระหว่างพม่ากับไทย 2 จุดคือ ที่ด่านสิงขร จ.ประจวบคีรีขันธ์ กับอีกจุดคือ บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี โดยในการประชุมไม่มีการพูดถึงที่บ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า อ.เมืองจ.กาญจนบุรี หากรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ที่มีนโยบายในการส่งเสริมการค้าการลงทุนระบบลอจิสติก ต้องเร่งเตรียมแผนพัฒนาทั้งทางบกและทางรางรถไฟ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแผนแม่บทการพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าภายในประเทศและต่างประเทศต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Rakpong
President
President


Joined: 29/03/2006
Posts: 1716
Location: แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก

PostPosted: 05/07/2011 8:10 pm    Post subject: Reply with quote

ท่านสมชาย ชนะเลือกตั้งอย่างฉิวเฉียด ดูเหมือนจะหลักสิบเท่านั้น
หวังว่าคงผลักดันอะไรให้เห็นเป็นรูปธรรมในสมัยนี้นะครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44774
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/07/2011 4:07 pm    Post subject: Reply with quote

หอฯ ระนอง-ชุมพรร่วมผลักดันแผนยุทธศาสตร์เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 กรกฎาคม 2554 15:58 น.

Click on the image for full size
นางนฤมล ขรภูมิ ประธานคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดระนอง และนายกิตติ กิตติชนม์ธวัช ประธานคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดระนอง – ชุมพร ที่ห้องประชุมวิทยาลัยชุมชนระนอง เพื่อผลักดันแผนยุทธศาสตร์จังหวัดฝั่งอ่าวไทยและอันดามันด้านโลจิสติกส์

ระนอง-หอการค้าจ.ระนองและชุมพร ร่วมผลักดันแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดพิเศษ เชื่อมฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ด้านลอจิสติกส์

นางนฤมล ขรภูมิ ประธานคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดระนอง และนายกิตติ กิตติชนม์ธวัช ประธานคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดระนอง - ชุมพร ที่ห้องประชุมวิทยาลัยชุมชนระนอง เพื่อผลักดันแผนยุทธศาสตร์จังหวัดฝั่งอ่าวไทยและอันดามันด้านลอจิสติกส์ ได้แก่ การพัฒนาทางรถไฟสายวิสัยเหนือ จ.ชุมพร เชื่อมท่าเรือระนอง การผลักดันถนน 4 ช่องจราจร เชื่อมเส้นทางระหว่างชุมพร-ระนอง และ ผลักดันให้มีสถานีบรรทุกขนถ่ายตู้สินค้า(Container Yard) ที่สถานีรถไฟวิสัย อ.เมือง จ.ชุมพร และขนส่งต่อเนื่องทางถนนจากชุมพร ไปยังท่าเรือระนอง ระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร เพื่อรองรับการค้าชายแดนฝั่งตะวันตก

นอกจากนี้ ยังได้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ เรื่องส่งเสริมและผลักดันยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดพิเศษ ระหว่างหอการค้าจังหวัดระนองกับหอการค้าจังหวัดชุมพรด้วย

นายกิตติ กิตติชนม์ธวัช ประธานคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดชุมพร กล่าวว่า เดิมจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี อยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน แต่ต่อมาไม่มีการแยกกลุ่มจังหวัดใหม่ โดยให้ระนองไปอยู่กลุ่มอันดามัน

ส่วนชุมพรไปอยู่กลุ่มอ่าวไทย รวมกับ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชและพัทลุง ทำให้จังหวัดชุมพรเสียเปรียบในการผลักดันยุทธศาสตร์ต่าง ๆ มองไม่เห็นจุดเด่น กลายเป็นเสียงข้างน้อย เนื่องจากเป็นจังหวัดเล็ก

อย่างไรก็ตาม หากชุมพรและระนองมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือตั้งเป็นกลุ่มจังหวัดพิเศษขึ้นมา การพัฒนาเชื่อมโยงยุทธศาสตร์จะง่ายกว่า เนื่องจากชุมพรและระนอง มีสภาพเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกันมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การประมง และการเกษตร คมนาคม เป็นต้น

ส่วนโครงการต่าง ๆ ที่ชุมพรและระนองผลักดันร่วมกันนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในแผนยุทธศาสตร์เดิมอยู่แล้วเพียงแต่ยังพัฒนาไปไม่ถึงไหน จึงหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านลอจิสติกส์เชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย

นางนฤมล ขรภูมิ ประธานคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดระนอง ได้ทำหนังสือขอข้อมูลช่องทางจราจรทางหลวงหมายเลข 4 จากจังหวัดระนอง ถึงจังหวัดสงขลา รวมทั้งงบประมาณการพัฒนาเป็น 4 ช่องจราจร ผ่านทางแขวงการทางระนอง ซึ่งได้รับหนังสือตอบกลับว่า ถนนจาก จ.ชุมพร - จ.ระนอง คือทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงชุมพร-อนุสาวรีย์ จ.ป.ร.-กระบุรี-บางสองรา ระยะทางประมาณ 68.975 กิโลเมตร หากจะพัฒนาเป็น 4 ช่องจราจรใช้งบประมาณ 2,700 ล้านบาท และช่วงทรายแดง-ระนอง ระยะทาง 17.50 กิโลเมตร หากจะพัฒนาเป็น 4 ช่องจราจรใช้งบประมาณ 700 ล้านบาท

ส่วนช่วงบ้านบางสองรา-บ้านเขาฝาชี (กม.30) ระยะทาง 16 กิโลเมตร กรมทางหลวงกำลังดำเนินการก่อสร้างเป็น 4 ช่องจราจร ด้วยงบประมาณ 600 ล้านบาท และช่วงจาก จ.ระนอง-อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เริ่มจากตำบลหงาว- อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ระยะทาง 152 กิโลเมตร หากจะพัฒนาเป็น 4 ช่องจราจรใช้งบประมาณ 6,088 ล้านบาท ช่วงจากตะกั่วป่า-กระบี่-ตรัง-สตูล-สงขลา ระยะทาง 515 กิโลเมตร หากจะพัฒนาเป็น 4 ช่องจราจรใช้งบประมาณ 2,0580 ล้านบาท

ทั้งนี้ หอการค้าฝั่งอันดามันจะได้ร่วมกันผลักดัน เพื่อของบประมาณจากสำนักนายกรัฐมนตรีขยายเส้นทางดังกล่าวต่อไปด้วย เนื่องจากเป็นถนนสายเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน แต่ที่ผ่านมาได้รับการพัฒนาน้อยมาก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44774
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2011 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

เอกชนเชียร์รัฐปัดฝุ่น"แลนด์บริดจ์"จี้เร่งโครงการก่อนมาเลย์ชิงตัดหน้า
คมชัดลึก 15 ส.ค. 54
วัชร ปุษยะนาวิน รายงาน

หลังจากรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เข้ามาบริหารประเทศ โครงการเมกะโปรเจกท์ที่คั่งค้างสมัยรัฐบาล “ทักษิณ” ก็จะถูกนำมาปัดฝุ่นเดินหน้าอีกครั้ง ซึ่งหนึ่งในโครงการที่สำคัญ และพรรคเพื่อไทยได้นำมาหาเสียงก็คือการผลักดัน ”โครงการแลนด์บริดจ์” สร้างสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทย เพื่อจะยกระดับให้ไทยกลายเป็นศูนย์การขนส่งทางเรือ และการขนส่งน้ำมันแห่งใหม่ของภูมิภาคอาเซียน

โครงการดังกล่าวริเริ่มขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล “ทักษิณ” เข้ามาบริหารประเทศ โดยมอบหมายให้บริษัท ดูไบเวิล์ด เข้ามาศึกษาความเป็นไปได้เชิงเศรษฐกิจ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า ขณะนี้ช่องแคบมะละกาอยู่ระหว่างสิงคโปร์กับมาเลเซีย มีความยาวประมาณ 600 ไมล์ เป็นเส้นทางเดินเรือหลักเชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ ปัจจุบันมีความแออัดมาก มีเรือผ่านเข้า-ออกวันละกว่า 900 ลำ หรือตกปีละ 5 หมื่นลำ ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าคลองสุเอซที่ประเทศอียิปต์ประมาณ 2 เท่า และมากกว่าคลองปานามาในประเทศปานามาประมาณ 3 เท่า ดังนั้นจึงมีความเหมาะสมที่จะสร้างทางเชื่อมแห่งใหม่ระหว่าง 2 ภูมิภาคนี้

เอกชนหนุนแลนด์บริดจ์ลดต้นทุน

สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ ไม่เพียงแต่ภาครัฐจะให้ความสนใจเท่านั้น ในส่วนภาคเอกชนด้านโลจิสติกส์ก็เห็นด้วยกับโครงการนี้ โดยนายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผู้คร่ำหวอดในแวดวงโลจิสติกส์ ให้ความเห็นว่า โครงการแลนด์บริดจ์ ที่จะสร้างเชื่อมทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทยที่ภาคใต้นี้ มองในแง่โลจิสติกส์เอกชนเห็นด้วย เพราะจะประหยัดค่าขนส่ง โดยเฉพาะเรื่องใหญ่ที่ต้องวิ่งอ้อมแหลมมะละกา ถึงแม้การขนส่งขึ้นลงที่ท่าเรือทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทยจะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งเพิ่ม แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าสำหรับสายการเดินเรือ เพราะช่องแคบมะละกาขณะนี้แออัดมากต้องรอ 2-3 วัน กว่าจะผ่านไปได้ ซึ่งหากประหยัดเวลาตรงนี้ได้ก็จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งได้มาก

อย่างไรก็ตาม การลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์ หากสร้างแค่ท่าเรือขนส่งสินค้าและท่อส่งน้ำมันเพียงอย่างเดียวอาจไม่คุ้มกับการลงทุน จึงควรจะสร้างนิคมอุตสาหกรรมเซาร์เทิร์นซีบอร์ดและปิโตรเคมีและควบคู่ไปด้วย เพื่อแปรรูปน้ำมันดิบ และแก๊ส สร้างมูลค่าเพิ่มนำเงินเข้าประเทศ แต่จะต้องเป็นโรงงานที่ปลอดมลพิษป้องกันเกิดปัญหาแบบอีสต์เทิร์นซีบอร์ดที่ชาวบ้านลุกขึ้นมาต่อต้าน จนมีผลกระทบให้โครงการต่างๆ ต้องหยุดชะงักไปเป็นระยะเวลานาน

ทั้งนี้ ภาครัฐควรจะนำร่องเข้ามาสร้างท่าเรือน้ำลึกให้เสร็จก่อน คาดว่าค่าก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 ฝั่งจะมีมูลค่าประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ไม่รวมค่าก่อสร้างท่อขนส่งน้ำมัน และถนน จากนั้นภาคอุตสาหกรรมจึงจะมีความมั่นใจเข้ามาลงทุน ซึ่งหากมีท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 ฝั่งแล้ว ก็จะเกิดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเข้ามาตั้งอีกมากมายนอกเหนือจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เช่น อุตสาหกรรมการซ่อม สร้างตู้คอนเทนเนอร์ โดยในแต่ละปีนี้เกาะปีนังของมาเลเซียใช้โอกาสจากการผ่านช่องแคบมะละกาสร้างมูลค่าอุตสาหกรรมตู้คอนเทนเนอร์ไม่ต่ำกว่าปีละ 3-4 พันล้านบาท ยังไม่รวมอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงเรือ และอื่นๆ อีกมาก

"มาเลย์"ไล่จี้ผุดโครงการแซงไทย

ด้าน นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า โครงการแลนด์บริดจ์จะเกิดประโยชน์สำหรับประเทศมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดโครงการว่ามีขนาดใหญ่แค่ไหน และประเทศผู้ใช้น้ำมันอย่างญี่ปุ่นสนใจเข้าร่วมลงทุนหรือไม่ แต่ในความเห็นส่วนตัวมองว่า หากรัฐบาลจะเดินหน้าโครงการนี้จริง เป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งน้ำมันที่จากตะวันออกกลลาง ที่ต้องอ้อมไปยังสิงคโปร์ไปยังลูกค้ารายใหญ่ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน ซึ่งถ้าหากญี่ปุ่นเข้าร่วมในโครงการนี้ก็จะทำให้เกิดผลสำเร็จโดยง่าย

นอกจากนี้ ควรลงทุนให้เป็นโครงการขนาดใหญ่ วางท่อส่งน้ำมันเชื่อม 2 ฝั่งทะเล และสร้างท่อเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ให้สามารถรองรับเรือขนส่งน้ำมันซูเปอร์แท็งเกอร์ได้ รวมทั้งสร้างโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกแก๊ส เพราะถ้าไม่มีโรงกลั่นน้ำมันก็จะไม่มีแรงดึงดูดพอ ซึ่งจะทำให้ต้องลงทุนในโครงการนี้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลตัดสินใจว่าจะลงทุนจริง ก็ต้องรีบให้เห็นผลเป็นรูปธรรมเร็วที่สุด เพราะขณะนี้มาเลเซียก็มีโครงการแลนด์บริดจ์เชื่อม 2 ฝั่งทะเลเหมือนกัน แต่ยังอยู่ระหว่างการศึกษา ซึ่งโครงการนี้ถ้าใครตั้งขึ้นก่อนก็จะได้เปรียบ เพราะโครงการขนาดใหญ่แบบนี้มีได้แค่ที่เดียว ซึ่งถึงแม้ว่าไทยจะเคยมีการศึกษาไปตั้งแต่ปี 2551 ก็ต้องปัดฝุ่นนำมาศึกษาใหม่เพราะทิ้งเวลามานาน รวมทั้งจะต้องศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) นำเข้าประชาพิจารณ์ และต้องฝ่าฟันการต่อต้านจะชาวบ้านและเอ็นจีโอ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะผลักดันให้รวดเร็ว ต่างจากมาเลเซียที่รัฐบาลทำงานได้เร็วกว่า

สำหรับโครงการคู่แข่งของไทยที่ประเทศมาเลเซียได้เร่งเดินหน้า มีแผนจะเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์และการพลังงานในภูมิภาค รวมถึงการสร้างเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ ที่สำคัญมีการมุ่งเน้นอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ด้วย รวมถึงพัฒนาและขยายท่าเรือกวนตัน ท่าเรือเคมามัน และท่าเรือ เกอร์เต เชื่อมทะเล 2 ฝั่ง

คาดลงทุน 1.5 ล้านล้านครบวงจร

โครงการ “แลนด์บริดจ์” ที่บริษัทดูไบเวิล์ด ได้สำรวจไว้นั้น จะเป็นการเชื่อมสองฟากฝั่งทะเลเข้าหากันด้วยเส้นทางรถไฟ ถนนมอเตอร์เวย์ ท่อน้ำมันและท่อก๊าซ โดยพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันเชื่อมต่อระหว่างฝั่งอันดามัน คือ พื้นที่ใกล้กับท่าเรือปากบารา ที่ จ.สตูล เชื่อมกับฝั่งอ่าวไทยบริเวณ ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา รวมทั้งจะมีการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งยังมีพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (ฟรีโซน) มีนิคมอุตสาหกรรมที่มีการลงทุน ทั้งอุตสาหกรรมหนักและเบา โดยอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน และเหล็กจะอยู่ในฝั่งอ่าวไทย

ส่วนอุตสาหกรรมเบาน่าจะอยู่ฝั่งอันดามัน ซึ่งการพัฒนาระบบขนส่งทางถนน ทางรถไฟ และทางท่อ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและงานวางระบบ 4 แสนล้านบาท โดยโครงการดังกล่าวจะทำให้ไทยเป็นแหล่งขนถ่ายน้ำมันจากตะวันออกกลาง เพื่อส่งต่อไปยังจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งเป็นตลาดบริโภคน้ำมันขนาดใหญ่ทางฝั่งตะวันออก เพราะสามารถร่นระยะทางการขนส่งสินค้าไปยังฝั่งตะวันออกได้อย่างมาก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 25, 26, 27 ... 50, 51, 52  Next
Page 26 of 52

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©