RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13287685
ทั้งหมด:13599009
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 43, 44, 45 ... 50, 51, 52  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2014 10:50 pm    Post subject: Reply with quote

สงขลาค้านท่าเรือน้ำลึก2หวั่นกระทบประมง-สิ่งแวดล้อม
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
7 พฤษภาคม 2557 เวลา 16:45:27 น.


ชาวจะนะ สงขลา คัดค้านโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 หลังกรมเจ้าท่าจัดสัมมนารับฟังความเห็น-ผลกระทบผู้เกี่ยวข้อง ด้านอำเภอกระแสสินธุ์ทำประชาคมโปรเจ็กต์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ชาวบ้านข้องใจคนในพื้นที่ได้อะไร


นายสมชาย สุมนัสขจรกุล รองอธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยในงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบเพื่อก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ว่า ปัจจุบันโครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 1 (สิงหนคร) ที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2531 มีปริมาณตู้สินค้าที่ท่าเทียบเรือขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีแผนรองรับการขยายตัวของท่าเรือน้ำลึกสงขลา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือน้ำลึกบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่าง ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค

ทั้งนี้ กรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่างในช่วงปี 2549-2552 ซึ่งได้ข้อสรุปว่าพื้นที่บริเวณตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 โดยที่ปรึกษาได้ดำเนินการออกแบบเบื้องต้น มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 11,000 ล้านบาท

ล่าสุด ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาทบทวนความเหมาะสม สำรวจ และออกแบบรายละเอียดโครงการ รวมทั้งศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ พร้อมกับจัดให้มีกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพพิจารณาก่อนจะดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด

"เรามีแนวทางพัฒนาท่าเรือให้ได้มาตรฐานสำหรับเรือขนส่งสินค้าสามารถเข้าจอดเทียบท่าเพื่อขนส่งสินค้าได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลา และเชื่อมโยงการขนส่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย และชายฝั่งทะเลอันดามัน รวมถึงเชื่อมโยงเส้นทางการขนส่งสินค้าไปยังกลุ่มประเทศคู่ค้าสำคัญ"

อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ไม่เห็นด้วยและคัดค้านการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาฯ โดยระบุว่าในพื้นที่อำเภอจะนะมีการตั้งโรงไฟฟ้าจะนะและโรงแยกก๊าซอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว ซึ่งเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพประมง และสวนยางพารา

ขณะที่กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นและภาคีเครือข่ายกล่าวว่า เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่จะส่งผลต่อสัตว์น้ำและผู้ประกอบอาชีพประมง เนื่องจากมีคราบน้ำมันและน้ำเสียที่ถ่ายลงมาจากเรือลงสู่ทะเล ไม่สามารถออกเรือหาปลาได้อย่างปกติ

"เมื่อมีท่าเรือน้ำลึกเกิดขึ้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ก็จะเกิดขึ้นตามมาแน่นอน เพราะจะนะมีทั้งโรงแยกก๊าซและโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นวัตถุดิบและพลังงาน พร้อมสำหรับการสร้างนิคมอุตสาหกรรม และบทเรียนจากชลบุรีพบว่าหากมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกระยะที่ 1 ได้ ท่าเรือระยะ 2, 3 และ 4 ก็จะตามมาเต็มพื้นที่ชายฝั่งจะนะแน่นอน"

ด้านนายจเร ขวัญเกิด นายอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้จัดทำประชาคมระดมความคิดเห็นของประชาชนในอำเภอกระแสสินธุ์ในการก่อสร้างกังหันลมไฟฟ้า โดยกระทรวงพลังงานตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม 1,864 เมกะวัตต์ ภายในปี 2565

ทั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ มีภูมิประเทศเหมาะสมต่อการพัฒนาฟาร์มกังหันลม มีอัตราเร็วลมเฉลี่ยที้งปี 5.5 เมตร/วินาที สามารถติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าได้ 10 ต้น กำลังการผลิต 20 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ 32.45 ล้านหน่วย/ปี มูลค่า 1,600 ล้านบาท มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้า 2.41 บาท/หน่วย อย่างไรก็ตาม มีประชาชนตั้งคำถามว่าหากก่อสร้างโครงการดังกล่าวแล้วจะได้ประโยชน์อะไร เช่น เรื่องรายได้จากการขายกระแสไฟฟ้า ภาษีท้องถิ่นที่จะได้รับ

//----------------

เตรียมล้างเรือนจำ ไว้พอขังทั้งหมู่บ้านแล้วหรือยังครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2014 6:27 am    Post subject: Reply with quote

"ทวาย" ส่อล่ม "ญี่ปุ่น" เมินลงทุน สศช.แจง "ทีโออาร์" ไม่ดึงดูด ผลักเอกชนรับภาระแทนรัฐ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
5 พฤษภาคม 2557 เวลา 12:27:15 น.


เตรียมปรับทีโออาร์โครงการทวายใหม่ หลังไร้นักลงทุนเข้าประมูลโครงสร้างพื้นฐาน "ถนน-ท่าเรือ" "เหตุกำหนดให้นักลงทุนที่จะพัฒนานิคมต้องสร้างถนนความยาว 130 กม.จากชายแดนไทยไปโครงการ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่าโดยปกติการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาเขตอุตสาหกรรม รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่นถนน ท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรม จากนั้นจะให้สิทธิประโยชน์เอกชนเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานแต่แนวทางการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของพม่า มีความแตกต่างจากการลงทุนในอีสเทิร์นซีบอร์ดของไทย เนื่องจาก รัฐบาลไทยและพม่าตกลงที่จะเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ใน 3 โครงการคือถนน ท่าเรือ และนิคมอุตสาหกรรม โดยการเปิดประมูลไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์

นายอาคมกล่าวว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน โดยปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากเงื่อนไขของทีโออาร์ ที่ไม่ดึงดูดนักลงทุน เช่นการกำหนดให้นักลงทุนที่จะพัฒนานิคมอุตสาหกรรมต้องลงทุนสร้างถนน 130 กิโลเมตร จากชายแดนไทยไปโครงการและมีสิทธิเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน ซึ่งญี่ปุ่นมองว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานควรดำเนินการโดยรัฐ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยและพม่าได้เชิญชวนให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมลงทุนในโครงการนี้ โดยอาจจะเป็นหุ้นส่วน หรือเข้ามาลงทุนในโครงการ แต่จนถึงขณะนี้ญี่ปุ่นยังไม่ได้ให้คำตอบว่าจะเข้ามาร่วม

"ทั้งรัฐบาลไทยและพม่า มีความคาดหวังว่านักลงทุนญี่ปุ่นจะเข้ามาร่วมประมูล หรือร่วมลงทุนในโครงการนี้ แต่ทางญี่ปุ่นมีความเห็นว่ารัฐควรจะเป็นผู้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นรัฐบาลไทย หรือพม่าก็แล้วแต่ เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยญี่ปุ่นกล่าวว่าเงินลงทุนไม่ใช่ปัญหาแต่สิ่งที่สำคัญคือแผนการลงทุนและแนวทางการลงทุนนั้นมีความเป็นไปได้หรือไม่" นายอาคมกล่าว

นายอาคมกล่าวว่า บริษัท ทวาย เอส อีแซด ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา มาทบทวนทีโออาร์ใหม่เพื่อให้การประมูลในโครงการมีความเป็นไปได้มากขึ้น จะใช้เวลาศึกษา 4 เดือน นอกจากนี้ได้จ้างบริษัท Ernst&Young มาทำข้อตกลงสำหรับการลงทุนของบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ หรือไอทีดี ที่ได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ เพื่อให้นักลงทุนสามารถนำข้อมูลไปใช้สำหรับการเปิดประมูลโครงการในระยะต่อไปโดยขณะนี้ถือว่ายังมีเวลาในการศึกษาและเตรียมการ เนื่องจากยังไม่มีรัฐบาลใหม่ จึงยังไม่สามารถจัดการประชุมในระดับรัฐมนตรี แต่ในส่วนของคณะทำงานระหว่างสองประเทศ และบริษัทเอสพีวียังทำงานต่อเนื่องต่อไปในส่วนของโครงการถนน และท่าเรือนั้น ในขณะนี้ ไอทีดียังคงบำรุงรักษาโครงการที่ได้ลงทุนก่อนหน้านี้อยู่ต่อไป เพื่อรอนักลงทุนรายใหม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/06/2014 4:34 pm    Post subject: Reply with quote

คน “สงขลา-สตูล” จี้ “คสช.” ยุติ “แลนด์บริดจ์” ปกป้องแหล่งอาหาร “อันดามัน-อ่าวไทย”


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มิถุนายน 2557 12:43 น.


คน “สงขลา-สตูล” จี้ “คสช.” ยุติ “แลนด์บริดจ์” ปกป้องแหล่งอาหาร “อันดามัน-อ่าวไทย”

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ประชาชน จ.สงขลา และสตูล ร่วมเปิดเวทีอภิปรายแสดงจุดยืนคัดค้านโครงการสะพานเชื่อมเศรษฐกิจสงขลา-สตูล ประกาศไม่ยอมให้ภาคใต้กลายสภาพเป็นเขตอุตสาหกรรมหนักที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตทั้งระบบ ซ้ำรอยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง พร้อมร่างหนังสือถึงหัวหน้า คสช.ให้ช่วยปกป้องทะเลอ่าวไทย และอันดามัน ที่เป็นฐานทรัพยากร และแหล่งอาหาร เพื่อเป็นการคืนความสุขให้แก่คนใต้ทั้งหมด

วันนี้ (24 มิ.ย.) ที่ห้อง E-101 คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา-สตูล ประกอบด้วยประชาชนจากพื้นที่เส้นทางผ่านของเส้นทางลำเลียงสินค้าและพลังงาน ระหว่าง จ.สงขลา กับ จ.สตูล ร่วมกันเปิดเวทีอภิปรายติดตามความเคลื่อนไหวในแผนพัฒนาภาคใต้ โครงการสะพานเชื่อมเศรษฐกิจอันดามัน-อ่าวไทย หรือแลนด์บริดจ์ ในชื่อเวที ‘วิทยาลัยวันศุกร์ภาคพิเศษ : คืนแหล่งอาหารทะเลสงขลา-สตูล คือการคืนความสุขให้ประชาชน’ เพื่อแสดงเจตนารมณ์คัดค้านโครงการที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนภาคใต้ทั้งหมด

สำหรับเวทีอภิปรายในวันนี้ มีตัวแทนนักวิชาการ นักอนุรักษ์ และสื่อมวลชน ร่วมให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ดำเนินโครงการ ประกอบด้วย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ นายปิยะโชติ อินทรนิวาส หัวหน้าศูนย์ข่าว ASTVผู้จัดการภาคใต้ นายสมบูรณ์ คำแหง ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องแหล่งผลิตอาหารภาคใต้ นายกิติภพ สุทธิสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายอนุรักษ์แหล่งอาหารทะเลจะนะ และนายวิโชค รณรงค์ไพรี ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา กล่าวว่า ตอนนี้มีความเป็นห่วงว่าในอนาคตข้างหน้าหากพื้นที่ จ.สงขลา และ จ.สตูล ถูกพัฒนาให้เป็นเขตอุตสาหกรรม ประกอบด้วย ท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 ฝั่ง คือ ท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 กำหนดพื้นที่ก่อสร้างบริเวณบ้านสวนกง ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา ขณะที่ท่าเรือน้ำลึกปากบารา กำหนดพื้นที่ก่อสร้างที่บ้านปากบารา ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล จากนั้นจะตามมาด้วยการก่อสร้างคลังน้ำมัน และนิคมอุตสาหกรรมปริโตรเคมีตามมา โดยข้อมูลในส่วนนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าหากทิศทางการพัฒนาเป็นไปในลักษณะเปลี่ยนภาคใต้ไปเป็นเขตอุตสาหกรรม ผลกระทบที่จะตามมาก็จะไม่แตกต่างจากผลกระทบที่เกิดกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ใน จ.ระยอง

“ผลกระทบที่ขัดเจนคือ เรื่องสุขภาพของประชาชนทั้งผู้ที่ทำงานในโรงงานต่างๆ รวมทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้กับเขตอุตสาหกรรม ทุกวันนี้พบว่า มีผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยอาการทางระบบหายใจเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก หน่วยงานภาครัฐเบี่ยงเบนข้อมูลว่าเกิดจากอาการภูมิแพ้ แต่แท้จริงแล้วมันคือ อาการของคนเป็นโรคมะเร็งนั่นเอง แน่นอนว่าหากเราพัฒนาภาคใต้ไปในทิศทางนี้ ประชาชนก็จะตกอยู่ในชะตากรรมไม่แตกต่างกับที่ชาวมาบตาพุดพบเจออยู่ในขณะนี้”

นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องแหล่งผลิตอาหารภาคใต้ กล่าวว่า ภาครัฐสร้างวาทกรรมว่าหากโครงการแลนด์บริจด์เกิดขึ้นก็จะทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แต่แท้จริงแล้วเรื่องนี้เป็นมายาคติ เพราะประชาชนที่พึ่งพาวิถีเกษตรกรรม และการประมงจะสูญเสียพื้นที่ทำกินโดยสิ้นเชิง

“ผมคิดว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะใหญ่มากกว่ากรณีมาบตาพุด ถ้าสมมติว่าโครงการนี้ลงทุน 1 แสนล้าน หากนำเงินในส่วนนี้มาพัฒนาภาคการเกษตรและประมง หากรัฐบาลหวังดีต่อประชาชนภาคใต้จริงเงิน 1 แสนล้านนี้ก็จะสามารถสร้างรายได้สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชาชนในภาคใต้ได้ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน แต่หากนำเงิน 1 แสนล้านไปทำโครงการอุตสาหกรรม ก็จะช่วยได้เพียงคนกลุ่มเดียวเท่านั้นคือ นักลงทุน ขณะที่ชาวบ้านกว่า 10 ล้านคนนั้นจะต้องได้รับผลกระทบทางอาชีพ และการดำเนินชีวิตไปตลอดจนชั่วลูกชั่วหลาน การบอกว่าอุตสาหกรรมช่วยคนมีรายได้เป็นเรื่องโกหก เพราะตัวเลขจากการศึกษาวิจัยที่มาบตาพุดชี้ชัดว่า รายได้หลักของประชาชนมากจากภาคการเกษตร ประมง และการท่องเที่ยว”

นายกิติภพ สุทธิสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายอนุรักษ์แหล่งอาหารทะเลจะนะ กล่าวว่า บทเรียนที่ผ่านมาจากการต่อสู้กับโครงการขนาดใหญ่ คือ โรงแยกก๊าซจะนะ นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา พบว่าก่อนหน้านี้มีเพียงประชาชนใน อ.จะนะ เพียง 8 หมู่บ้านที่มาร่วมกันคัดค้านโครงการ ขณะที่ประชาชนพื้นที่อื่นถูกวาทกรรมว่าสร้างโรงแยกก๊าซ ประชาชนจะได้ใช้ก๊าซราคาถูก ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าตลอดระยะเวลา 17 ปีที่ผ่านมา เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องหลอกลวง วันนี้เราจึงเห็นประชาชนจากหลากหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมมือกันมาร่วมกันรับฟังข้อมูล เพราะต่อจากนี้ประชาชนทุกคนจะต้องร่วมกันกำหนดอนาคตของเราเอง

“17 ปีที่ผ่านมา ผมไประยอง 9 ครั้ง พาพี่น้องภาคใต้ไปดูนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ให้เขาได้ศึกษาด้วยตนเองว่าอุตสาหกรรมทำอะไรกับชาวบ้านบ้าง ไปครั้งแรกบางคนถึงกับต้องวิ่งขึ้นรถเพราะทนรับสภาพมลพิษทางอากาศของที่นั่นไม่ไหว เมื่อหันมาดูที่ภาคใต้บ้านเรา นิคมอุตสาหกรรมแบบเดียวกับที่ระยอง กำลังจะย้ายมาก่อสร้างในภาคใต้เนื่องจากที่ จ.ระยอง ไม่สามารถขยายพื้นที่อุตสาหกรรมได้อีกต่อไปแล้ว แต่คนใต้ต้องกลับมาคิดว่าเราจะยอมให้มันเกิดขึ้นหรือไม่ จะยอมให้ภาครัฐเข้ามาปลุกปั่นทำให้คนใต้แตกแยกเหมือนเมื่อครั้งโครงการก่อสร้างโรงแยกก๊าซ เราจะยอมอีกหรือไม่ ที่จะให้พวกเขามาทำลายศักยภาพในพื้นที่ ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่าที่เรามี นั่นก็คือเรามีทะเลมีทรัพยากรที่เป็นแหล่งอาหารแหล่งประกอบอาชีพ และแหล่งรายได้หลักของเรา เราจะยอมหรือไม่”

ด้าน นายปิยะโชติ อินทรนิวาส หัวหน้าศูนย์ข่าว ASTVผู้จัดการภาคใต้ กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลแผนพัฒนาภาคใต้มาโดยตลอด พบว่า การคุกคามพื้นที่ภาคใต้ด้วยโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้นเกี่ยวพันกับการเคลื่อนไหวของประเทศมหาอำนาจตะวันตก หากพิจารณาให้ดีจะพบว่า ขณะนี้สหรัฐอเมริกา กำลังนำเรือรบเข้ามาในอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งพื้นที่อ่าวเปอร์เซียคือพื้นที่ผลิตน้ำมันแหล่งใหญ่ของโลก ในขณะที่ภาคใต้ของประเทศไทยเป็นทางผ่านที่สำคัญในการขนถ่ายพลังงานจากอ่าวเปอร์เซีย ไปยังประเทศตะวันตก ฉะนั้น มหาอำนาจตะวันตกและกลุ่มทุนที่มีผลประโยชน์ร่วมกันจึงต้องการที่จะแย่งชิงพื้นที่ทางภาคใต้ของไทยในฐานะการเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญของการขนถ่ายพลังงานเพราะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าทางช่องแคบมะละกา

ขณะที่ นายวิโชค รณรงค์ไพรี ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล กล่าวว่า ประชาชนที่จะร่วมกันเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องภาคใต้ไม่ให้กลายเป็นเขตอุตสาหกรรมหนัก จะต้องร่วมกันคิด และจัดเครือข่ายให้เกิดดุลยภาพ เพื่อประสิทธิภาพของการเคลื่อนไหว

“เราจะต้องรู้เท่าทันสถานการณ์ ต้องเกาะติดสถานการณ์ว่าขณะนี้พัฒนาไปถึงไหนมีข้อมูลเกี่ยวข้องอย่างไร ต้องเริ่มจากการเรียนรู้ และมีความกล้าหาญในการต่อสู้”

สำหรับบทสรุปของการอภิปรายในช่วงเช้า ทางเวทีอภิปรายได้ขอมติจากที่ประชุม โดยประชาชนที่เข้าร่วมเวทีอภิปราย จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้พิจารณายกเลิกโครงการสะพานเชื่อมเศรษฐกิจสงขลา-สตูล และโครงการต่อเนื่องทั้งหมด เพื่อเป็นการคืนความสุขให้แก่ประชาชนในภาคใต้ทั้งหมด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2014 6:30 pm    Post subject: Reply with quote

จุฬาดันสร้างท่าเรือ"ปากบารา"
หน้า เศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
พฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม 2557 - 00:00

“จุฬา” อธิบดีเจ้าท่าใหม่ เดินหน้าท่าเรือปากบารา-สงขลา หวังเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง พร้อมรวมทั้งการปรับปรุงร่องน้ำในแม่น้ำและคลองต่างๆ

นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า (ทล.) เปิดเผยถึงนโยบายสำคัญหลังรับตำแหน่งอธิบดีว่า จะเร่งพัฒนาการขนส่งสินค้า และจูงใจให้คนไทยหันมาโดยสารทางน้ำมากขึ้น โดยจะเดินหน้านโยบายพัฒนาท่าเรือสำคัญทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ได้แก่ ท่าเรือปากบารา จ.สตูล และท่าเรือสงขลา 2 รวมถึงท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก รวมทั้งการปรับปรุงร่องน้ำในแม่น้ำและคลองต่างๆ ให้มีความลึก สามารถรองรับการขนส่งสินค้าทางเรือได้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ เป้าหมายหลักคือผลักดันให้ประเทศไทยใช้การขนส่งทางน้ำที่มีประสิทธิภาพ เพราะที่ผ่านมาการขนส่งทางน้ำน้อยแค่ 11-12% ของภาพรวมเท่านั้น แต่หลังจากนี้ต้องมีการปรับปรุงท่าเรือ ร่องน้ำแล้ว เพื่อเพิ่มสัดส่วนการโดยสาร และขนส่งทางน้ำเพิ่มเป็น 15-16% ใน3-4 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ช่วยลดต้นทุนขนส่งทางได้ถูกกว่าถนน และเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชน ลดปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ซึ่งขณะนี้แผนการก่อสร้างท่าเรือปากบารา และสงขลา 2 อยู่ระหว่างการทำสำรวจผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

นอกจากนี้จะเตรียมนำข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการ และค่าบริการในท่าเรือเอกชนต่างๆ มาพิจารณาถึงความเหมาะสมของการคิดค่าบริการแต่ละแห่งว่ามีความเหมาะสม และจูงใจให้เจ้าของธุรกิจมาใช้ขนส่งหรือไม่ เพราะแม้การขนส่งทางน้ำจะมีต้นทุนถูกสุด แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นแอบแฝงและซ้ำซ้อนอยู่ ทั้งค่าบริการท่าเรือ ค่าจ้างรถขนส่งจากโรงงานไปท่าเรือ และจากท่าเรือไปส่งลูกค้า ซึ่งกรมอาจเรียกผู้ประกอบการท่าเรือเอกชนเข้ามาหารือ เพื่อหาทางจูงใจให้เกิดการขนส่งสินค้าเพิ่ม โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่จะได้ประโยชน์และเหมาะสมมากสุด.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 27/07/2014 10:41 am    Post subject: Reply with quote

กรมเจ้าท่าพร้อมพัฒนาท่าเรือปากบารา
by Watsana
Voice TV
26 กรกฎาคม 2557 เวลา 18:08 น.

กรมเจ้าท่า เดินหน้าการก่อสร้างท่าเรือปากบารา เปิดประตูการขนส่งสู่ตะวันออกกลาง และยุโรป และรองรับการค้าระหว่างอาเซียน จีน และอินเดีย แต่ต้องผ่านการยอมรับจากคนในพื้นที่

ความคืบหน้าการพัฒนาท่าเรือปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล และระบบขนส่งเชื่อมโยง ตามแผนยุทธศาตร์สนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของกระทรวงคมนาคม แม้ผ่านขั้นตอนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA แล้ว แต่เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย จึงต้องทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA (อีเอชไอเอ) อีกครั้ง เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ยังไม่ยอมรับ เนื่องจากกังวลว่าการสร้างท่าเรือจะทำให้เกิดอุตสาหกรรมหนัก

ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเข้าไปชี้แจงว่า หากมีการลงทุนเกิดขึ้น จะเป็นอุตสาหกรรมเบาคล้ายกับท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และรองรับอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้ เช่น ยางพารา และอาหารทะเล

นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า ตามแผน โครงการท่าเรือปากบารา จะมีมูลค่าโครงการ 1 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 3 เฟส โดยเฟสแรก จะเป็นการก่อสร้างท่าเรือ มีขนาดเท่ากับท่าเรือคลองเตย และใช้งบประมาณปี 2559 โดยจะเริ่มก่อสร้างในปี 2560 แล้วเสร็จภายในปี 2564 หากโครงการนี้เกิดขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ และการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ตามแผนการสร้างท่าเรือปากบารา รัฐจะเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และอาจเปิดสัมปทานให้เอกชนเข้ามาร่วมบริหารท่าเรือ แต่หากไม่มีการก่อสร้าง อาจทำให้ไทยเสียโอกาสในการแข่งขัน และหากคนในพื้นที่ไม่ยอมรับ กรมเจ้าท่า ก็พร้อมจะทบทวนโครงการ
http://news.voicetv.co.th/thailand/112184.html

//---------------
กรมเจ้าท่าเดินหน้าโครงการสร้างท่าเรือปากบาราเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง



โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 กรกฎาคม 2557 16:10 น.


นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนก่อสร้างท่าเรือปากบารา จ.สตูล ว่า ขณะนี้แผนดังกล่าวผ่านการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ (EIA) แล้ว แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญในปี 2550 กำหนดว่า จะต้องผ่านการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ หรือ อีเอชไอเอ (EHIA) ก่อนจึงสามารถดำเนินการได้ ประกอบกับประชาชนในพื้นที่ยังไม่ยอมรับ เนื่องจากมีความกังวลว่า จะเกิดอุตสาหกรรมหนักในพื้นที่ ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการทำความเข้าใจแล้วว่า จะมีเพียงอุตสาหกรรมเบาเท่านั้น
ทั้งนี้ หากถึงที่สุด ยังมีประชาชนในพื้นที่คัดค้านอย่างรุนแรง ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล พร้อมยอมรับว่า หากไม่สามารถก่อสร้างท่าเรือปากบาราได้ จะทำให้เสียโอกาสทางด้านการแข่งขัน และลอจิสติกส์ของประเทศ เนื่องจากท่าเรือดังกล่าวจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล
สำหรับการก่อสร้างท่าเรือปากบารา จ.สตูล คาดจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณในปี 2559 -2560 และใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี รวมทั้งสามารถเปิดใช้บริการได้ในปี 2564 โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท และมีรูปแบบให้รัฐเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ก่อนเปิดสัมปทานให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการ
นอกจากนี้ กรมเจ้าท่าอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการท่าเรือสงขลา 2 ฝั่งอ่าวไทย เพื่อให้เรือสามารถเชื่อมโยงกับท่าเรือปากบารา จ.สตูล ที่เป็นฝั่งอันดามัน และยังก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบขนส่งทางรถไฟได้ด้วย รวมถึงช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่ง บริเวณช่องแคบมะละกาได้

//------------------
ปลุกผี “ท่าเรือน้ำลึกปากบารา”ชงคสช.อนุม้ติ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 กรกฎาคม 2557 20:34 น.

คมนาคมดันโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราเป็นประตูการขนส่งฝั่งทะเลอันดามัน โดยจะนำระบบรถไฟมาเชื่อมกับท่าเรือฝั่งอ่าวไทย แก้ปัญหาช่องแคบมะละกาคับคั่งและยังมีศักยภาพเป็นสปริง บอร์ดกระจายสินค้าไปตะวันออกกลาง แอฟริกาและยุโรป หากคสช.ไฟเขียวลุยก่อสร้างได้ในปี 59

นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยภายหลังการบรรยายเรื่อง "โครงสร้างพื้นฐาน: โลจิสติกส์ไทย เชื่อมโยงอาเซียน" จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจว่า จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2556-2560) ได้บรรจุแผนการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบารา เพื่อเป็นประตูการขนส่งด้านทะเลอันดาสู่ตะวันออกกลาง แอฟริกาและยุโรป และยังช่วงลดปัญหาความคับคั่งของช่องแคบมะละกาด้วย

ซึ่งการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบารานี้จะมีการนำระบบรางมาเชื่อมโยงกับท่าเรือฝั่งอ่าวไทย (ท่าเรือสงขลา) นอกจากร่นระยะทางการขนส่งแล้ว ยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้ไทยมีศักยภาพที่จะเป็นสปริง บอร์ดในการขนส่งกระจายสินค้าในภูมิภาคอาเซียนด้วย

ซึ่งปัจจุบันโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ได้ผ่านความเห็นชอบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)มานาน และที่ผ่านมา ชุมชนในพื้นที่กังวลว่าจะมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้ามาตั้งโรงงานใกล้ท่าเทียบเรือ จึงไม่เห็นด้วย ซึ่งเรื่องนี้คงต้องทำความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่ เนื่องจากโมเดลการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบาราจะเหมือนกับท่าเรือแหลมฉบัง ที่จะไม่มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่จะเป็นอุตสาหกรรมเบา เช่น โรงงานแปรรูปยางพารา ประมงและโรงงานแปรรูปสินค้าประมง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หากโครงการท่ารือปากบารา ผ่านความเห็นชอบจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แล้ว คาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2559 และจะเปิดใช้บริการได้ภายในปี 2564 ใช้เงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยเฟสแรกจะรองรับการขนส่งทางเรือได้ปีละ 2 ล้านตันใกล้เคียงท่าเรือคลองเตย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2014 11:11 am    Post subject: Reply with quote

เจ้าท่าลงเข็มท่าเรือปากบารา
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 -
คอลัมน์ : ข่าวหน้า1
ออนไลน์เมื่อ วันพุธที่ 06 สิงหาคม 2014 เวลา 12:23 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,972 วันที่ 7 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กรมเจ้าท่าเร่งเดินหน้าแจ้งเกิดท่าเรือน้ำลึกปากบารา ใช้งบลงทุน 1.2 หมื่นล้านบาท ดีเดย์ตอกเสาเข็มงบปี 2558 คาดใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี มั่นใจให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงถึง 12% มอบหมาย ม.อ.ลงพื้นที่ทำความเข้าใจชาวบ้านที่ยังปักหลักค้าน แทนการทำอีเอชไอเอ เผยเตรียมนำโครงการสะพานเศรษฐกิจหรือเอนเนอร์ยี แลนด์บริดจ์ทำร่วมกับท่าเรือปากบารา ด้านเอกชนในพื้นที่ขานรับ พร้อมขอสะพานเชื่อมสตูล-เปอร์ริส
ดร.จุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม โดยบรรจุโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราไว้ด้วย ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสตูลและสงขลา วงเงินลงทุน 1.2 หมื่นล้านบาท โดยเริ่มดำเนินการปีงบประมาณ 2558 ( ตุลาคม 2557-กันยายน 2558) ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ระหว่างปี 2559 -2562 และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2563
อย่างไรก็ดีเร็ว ๆ นี้ กรมได้มอบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน แทนการทำอีเอชไอเอ หรือการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นรุนแรง (สุขภาพชุมชน หรืออีเอชไอเอ) จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เนื่องจากต้องถูกยกเลิกไปโดยปริยายพร้อมกับรัฐธรรมนูญปี 2550 หลังคสช.เข้าบริหารประเทศ แต่ได้ผ่านการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอแล้ว ประมาณปี 2548-2549
"เมื่อไม่ต้องทำอีเอชไอเอแล้ว กรมจะเน้นทำความเข้าใจกับชาวบ้านทดแทน โดยอธิบายว่า ท่าเรือปากบารา ไม่เหมือนกับท่าเรือมาบตาพุด ที่จะเน้นอุตสาหกรรมหนัก แต่ท่าเรือปากบาราจะเน้นการขนส่งสินค้าและอุตสาหกรรมเบาเป็นหลักเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาประชาชนเข้าใจผิดมาตลอด และรวมตัวต่อต้านทำให้โครงการเกิดยาก อย่างไรก็ดีเมื่ออยู่ในยุคคสช. มั่นใจว่าทุกอย่างจะเดินหน้าอย่างรวดเร็ว และแล้วเสร็จตามแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้อย่างแน่นอน"
โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในทะเล มีพื้นที่บริเวณชายฝั่งบางส่วนที่ต้องเวนคืนเพื่อทำทางเชื่อมเข้าถึงท่าเรือ ทั้งทางรางโดยรถไฟและถนน เพื่อส่งสินค้าผ่านทางเรือ ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกในฝั่งทะเลอันดามัน เน้นขนส่งสินค้าไปยังประเทศอินเดีย ประเทศแถบยุโรป และแถบตะวันออกกลาง รวมทั้งเออีซี ซึ่งจะร่นระยะทางจากเดิมถึงกว่า 2,000 กิโลเมตรจากไทย โดยท่าเรือปากบารา ผ่านเข้าอินเดียไปยุโรป ตะวันออกกลางได้เลย โดยไม่ต้องอ้อมผ่านช่องแคบมะละกา ประเทศสิงคโปร์ โครงการนี้ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงกว่า 12% ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้จังหวัดสตูลและสงขลาเติบโตสูง มีการจ้างงาน และกลายเป็นเมืองท่าด้านการท่องเที่ยวและเมืองเศรษฐกิจในอนาคต เหมือนท่าเรือแหลมฉบัง ฝั่งอ่าวไทย จังหวัดชลบุรี
นายวิทชัย อรุณอร่ามศักดิ์ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดสตูล กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดสตูล เห็นด้วยกับคสช. ที่ผลักโครงการท่าเรือปากบาราให้เกิดในฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งมั่นใจว่าจะดำเนินการสำเร็จ แต่เกรงว่าจะถูกคัดค้านโดยประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ดีนอกจากท่าเรือแล้ว จังหวัดสตูลยังต้องการสะพานเชื่อมสตูล(ท่าเรือตัมมะรัง) กับเปอร์ริส ของประเทศมาเลเซีย ขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทาง 14.2 กิโลเมตร เพื่อส่งเสริมศักยภาพทางการค้าเชื่อมเออีซีมากขึ้น
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ทราบว่าทางที่ปรึกษาของคสช. จะนำโครงการสะพานเศรษฐกิจ หรือเอนเนอร์ยี แลนด์บริดจ์ เข้าดำเนินการควบคู่กับโครงการก่อสร้างท่าเรือปากบารา โดยจะมีการก่อสร้างท่อรับส่งน้ำมันยื่นไปในทะเล ระยะทางไม่ต่ำกว่า 10-20 กิโลเมตร เพื่อที่จะขนถ่ายน้ำมันจากเรือบรรทุกน้ำมันขนาด 2 แสนตันขึ้นไป มาขึ้นที่คลัง และส่งไปยังฝั่งอ่าวไทยบริเวณจังหวัดสงขลา ที่มีคลังน้ำมันอีกด้านหนึ่ง เพื่อส่งน้ำมันลงเรือทางอ่าวไทย
โครงการนี้มีความจำเป็น เพราะในอนาคต 10 ปีข้างหน้า การขนส่งน้ำมันดิบด้วยเรือบรรทุกน้ำมันผ่านช่องแคบมะละกาจะแออัดมาก หากประเทศไทยสามารถดำเนินการวางท่อขนส่งน้ำมันได้ จะเป็นการช่วยย่นระยะทางการขนน้ำมันผ่านช่องแคบมะละกา ขณะที่ไทยจะได้ประโยชน์จากการเป็นผู้ให้บริการขนส่งน้ำมัน
โดยที่ผ่านมาการศึกษาเบื้องต้นโครงการนี้ได้แล้วเสร็จแล้ว ขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการของบประมาณจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มาดำเนินการศึกษารายละเอียดของโครงการอีกครั้งหนึ่ง ว่ารูปแบบการลงทุน การบริหารจัดการ จะเป็นอย่างไร คาดว่าจะแล้วเสร็จในราวปี 2558 ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 2.56 หมื่นล้านบาท ที่อัตราแลกเปลี่ยน 32.28 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ด้าน ผศ.ดร.ธนิยา เกาศล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) ผู้จัดการโครงการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม โครงการท่าเรือน้ำลึกอุตสาหกรรม อำเภอปากบารา จังหวัดสตูล เปิดเผยว่า โครงการนี้เริ่มต้นศึกษามาตั้งแต่ปี 2553 ทางกรมเจ้าท่ายังมีสัญญากับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.)อยู่ จะปิดโครงการในอีก 2 เดือนข้างหน้า ขณะนี้ไม่เหมาะที่จะให้ความเห็น แต่เชื่อว่าทางคสช.คงไม่ดำเนินโครงการนี้อีกต่อไป ซึ่งเป็นโครงการของรัฐบาลเก่า คสช.คงจะทำเฉพาะรถไฟรางคู่ เนื่องจากพิจารณาแล้วมีผลเสียมากกว่าผลได้ ขณะที่โครงการนี้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยมีแกนนำเครือข่ายประชาชนนำม็อบมาคัดค้านอย่างต่อเนื่อง และเกิดข้อขัดแย้งในระหว่างการศึกษาตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม โครงการท่าเรือน้ำลึกอุตสาหกรรม ปากบารา ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการนี้กับคนในพื้นที่ และเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 กลุ่มเอ็นจีโอในนามเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการท่าเรือน้ำลึกอุตสาหกรรมปากบารา จังหวัดสตูล ได้ยื่นหนังสือต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัย คัดค้านไม่ให้คณะอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ทำงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและประชาสัมพันธ์โครงการนี้จากกรมเจ้าท่า
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 09/08/2014 5:58 pm    Post subject: Reply with quote

เคยได้ยินแต่แลนด์บริดส์ที่ไม่แน่ใจว่าจะสร้างตรงไหน ตอนนี้คงตัดสินใจแล้วว่าจะสร้างจาก สงขลาไปสตูล โดยอาศัยท่าเรือปากบาราเป็น ท่าเรือสากลขนาดใหญ่ ความจริงเป็นโครงการมานานแล้วตามลิ้งค์นี้
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=223966
ผมเองก็เพิ่งทราบ ว่าเขามีโครงการนี้ ทีแรกนึกว่าจะเป็นการขุดคลองเชื่อมระหว่าง 2 ทะเล แล้วเปลี่ยนมาเป็น การสร้างถนน ทางรถไฟเชื่อมระหว่างท่าเรือ 2 ทะเลแทนเท่านั้นครับ
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44833
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/08/2014 10:20 pm    Post subject: Reply with quote

โครงข่ายคมนาคมเชื่อม "น้ำ-ราง" มุ่งสู่เป้าหมายฮับเจรจาการค้า
ไทยโพสต์ Monday, 18 August, 2014

"กระทรวงคมนาคมกำลังทำยุทธศาสตร์น้ำและรางให้เชื่อมโยงกันเป็นโครงข่าย ตามเป้าหมายที่เคยวางไว้ตั้งแต่ปี 2548 แต่ก็ต้องหยุดไป เพราะติดขัดปัญหาหลายอย่าง เช่น ระบบรางต้องทำรางคู่ คุยกันไปคุยกันมา อนุมัติแล้ว ได้ทำบ้าง ไม่ได้ทำบ้าง ตอนนี้เมื่อมีความชัดเจนจริงจัง พอมีรางก็จะมีรถไฟไปได้ รถไฟก็เริ่มไปได้ เหลือเพียงให้เอกชนเข้ามาแข่งขันได้ และเมื่อน้ำกับรางมาเชื่อมกัน ประเทศไทยจะเป็นฮับ เพราะมีการขนส่งที่สะดวกมากขึ้นและทั่วถึง ทำให้เป็นศูนย์กลางการเจรจาการค้า หรือเป็นเมืองการค้า เช่นเดียวกับสิงคโปร์"

ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบรางให้เชื่อมโยงกับทางน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและการแข่งขัน รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่ง นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า ในฐานะที่กำกับดูแลการคมนาคมทางน้ำ ได้ย้ำถึงแผนการลงทุนและพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ ว่า ตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมนั้น จะปรับปรุงระบบการขนส่งมาใช้ทางรางและน้ำมากขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายที่มีมาตั้งแต่ปี 2548 แต่ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีความคืบหน้า เพราะมีนโยบายเรื่องรถไฟเข้ามาเยอะมาก ทำให้การพัฒนาทางน้ำหายไป

0 แผนพัฒนาขนส่งทางน้ำมีอย่างไรบ้าง
การพัฒนาทางน้ำ จะดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบกับรางของประเทศ ซึ่งการพัฒนาการขนส่งทางน้ำข้อได้เปลี่ยน คือ ไม่ต้องลงทุนเท่าระบบราง เนื่องจากมีทางน้ำและท่าเรืออยู่บ้าง ดังนั้น งานส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การบริหารจัดการ เพื่อให้ต้นทุนที่ท่าเรือลดลง ซึ่งปัจจุบันการขนส่งทางน้ำ ค่าระวางทางเรือถูก แต่เนื่องจากว่ามีข้อจำกัดทางน้ำ คือ ต้องเอารถวิ่งมาที่ท่าเรือ ทำให้มีค่าใช้จ่าย ดังนั้น งานหลักที่จะเข้าไปดูคือการบริหารจัดการและค่าใช้จ่ายโดยรวมนั้น จะเหมาะสมและแข่งขันกับการขนส่งทางถนนได้
โดยการพัฒนาครั้งนี้จะไม่หว่านไปหมด แต่จะมีนโยบายพัฒนาเน้นเป็นจุดๆ เช่น การพัฒนาแม่น้ำป่าสัก ซึ่งจะเข้าไปดูเป็นพิเศษ เพราะมีการดำเนินการอยู่แล้วบ้าง แม้น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีการขนส่งต่อเนื่องจากแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำท่าจีน จากนั้นจะดูเรื่องการขนส่งชายฝั่งทะเล เน้นจังหวัดที่อยู่ชายฝั่งในอ่าวไทย เชื่อมโยงไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งจะเข้าไปดูเรื่องต้นทุน เรื่องราคา การบริหารจัดการพื้นที่ที่ท่าเรื่อ โดยเฉพาะในเรื่องรายได้ที่รับจะได้ตอบแทนจะเข้าไปดูเป็นพิเศษ เพื่อให้ต้นทุนมันต่ำลงมาหน่อย เพื่อระบบขนส่งทางน้ำในแม่น้ำและชายฝั่งมันแข่งขันได้จริง

0 การเข้าไปเน้นหรือดูเป็นพิเศษ จะมีรูปแบบอย่างไร
อันแรก จะเข้าไปดูเรื่องร่องน้ำว่าในแต่ละเส้นทางที่เป็นเป้าหมายนั้นมีร่องน้ำอย่างไร ตื้นหรือไม่ ก็จะดำเนินการปรับปรุงให้หมด ซึ่งก็จะทำให้รูปแบบเดียวกับทำถนน คือ ถ้าแม่น้ำ 3 เส้น คือถนน เราจะดูเป็นพิเศษว่าจุดไหนตื้น เราก็จะเข้าไปขุดลอกร่องน้ำ ที่ผ่านมานั้นกรมเจ้าท่าพยายามจะทำ และรับประกันความลึกของร่องน้ำ ให้อยู่ที่ระดับ 5-6 เมตร หมายถึงว่าเป็นการรับประกันว่าเดินเรือได้ปลอดภัยทั้งปี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในภาคเอกชนเข้ามาลงทุนและเดินเรือขนส่งสินค้าในแม่น้ำ นอกจากนี้ จะเน้นการพัฒนาท่าเรือ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของการขนส่งทางน้ำ ส่วนที่เหลือเป็นการบริหารจัดการ เช่น การคุยกับกรมธนารักษ์ ผู้ประกอบการเอกชนในเรื่องค่าใช้จ่าย

0 ในแม่น้ำ จำเป็นต้องเพิ่มท่าเรือหรือไม่
ท่าเรือไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่ม โดยเฉพาะในแม่น้ำป่าสักนั้นมีเยอะมาก แต่ที่ต้องทำคือ ทำให้การเดินเรือสามารถไปได้ไกลกว่าเดิม จากที่มีอยู่ในปัจจุบัน อยากให้จาก อ.นครหลวง สามารถไปถึง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา ซึ่งในเส้นนี้มีการขนส่งถ่านหินมาก แต่เดิมกระทรวงคมนาคมคิดว่าจะเอารถไฟมาขนจาก อ.นครหลวงไป อ.ท่าเรือ แต่ก็เปลี่ยนมาใช้ทางน้ำแทน
ในปีงบประมาณ 2558 จะเริ่มดำเนินการ โดยเริ่มจากการทำเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง ควบคู่ไปกับการขุดลอกร่องน้ำ เพื่อทำให้รองรับความต้องการได้ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มปูนซิเมนต์ ซึ่งวัตถุดิบหลักที่จะเอาไปไว้ใช้เผาคือถ่านหิน ดังนั้น การขนส่งทางน้ำจาก อ.นครหลวงไปยัง อ.ท่าเรือ ขากลับก็สามารถขนพวกสินค้าเกษตรกลับมาได้

0 ยังมีงานอะไรที่จะต้องเร่งทำอีก
ก็จะมีเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย เกี่ยวกับการรักษาแม่น้ำคูคลอง ปัจจุบันถูกรุกล้ำลำน้ำกันมาก ต้องเข้าไปดูแล ซึ่งตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็มีนโยบายว่า “อะไรที่เคยเป็นส่วนของสาธารณะแล้วถูกดึงไปเป็นของส่วนตัว ก็ให้เอากลับมาให้หมด” ซึ่งทางกรมเจ้าท่าได้จัดทีมเข้าไปดูแลและมีเรื่องที่ฟ้องไปเยอะมาก อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการดำเนินงานอาจมีความล่าช้าบ้าง เพราะกรมเจ้าท่าจะไปรื้อเลยไม่ได้ ต้องฟ้องร้องให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ

0 ด้านการพัฒนาการเดินเรือตามชายฝั่งทำอย่างไร
ชายฝั่งทะเลนั้นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องท่าเรือและการขุดลอกท่าน้ำในช่วงทางเข้าท่าเรือ ที่เหลือก็จะเป็นการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย ก็ไม่ยากเท่าไหร่

0 แผนการก่อสร้างท่าเรือใหม่มีหรือไม่ และเมื่อจะสร้างแล้วมีปัญหา จะทำอย่างไร
แผนก่อสร้างท่าเรือใหม่ก็มี ท่าเรือสงขลา ท่าเรือน้ำลึกปากบารา และท่าเรือชุมพร ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง ต้องศึกษาให้แล้วเสร็จ ซึ่งท่าเรือสงขลาอยู่ระหว่างรอรับฟังความเห็นในกระบวนการอีไอเอ แต่ก็ยังไม่สามารถจัดได้ เพราะมีม็อบมาต่อต้านไม่ให้ทำ ทำให้กระบวนการไม่สมบูรณ์ ส่วนท่าเรือน้ำลึกปากบาราก็เช่นกัน กำลังอยู่ระหว่างรอความชัดเจนว่า ต้องทำแผนการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 หรือไม่ เพราะตอนนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญแล้ว แม้ว่าจะผ่านการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้มีแนวคิดอย่างหนึ่งซึ่งกำลังจะเสนอกับ คสช. คือการจัดทำโมเดลออกมาว่า การพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้นั้น จะมีอะไร การลงทุนแต่ละประเภทต้องอยู่ตรงไหน เหมือนการกำหนดโซนการลงทุนว่า ภาคใต้มีการลงทุน ทั้งท่าเรือปากบารา ท่าเรือสงขลา รถไฟ แล้วจะมีการพัฒนาในพื้นที่เพื่อรองรับท่าเรือ ต้องอยู่ที่ไหนอย่างไร เปิดเผยให้ประชาชนรับรู้ตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องจินตนาการเอง และประชาชนจะได้ไม่ถูกคนอื่นหลอก ซึ่งสิ่งที่จะทำขึ้นมานี้ จะเป็นฐานการพัฒนาเพื่อให้ชัดเจนกับคนในพื้นที่ว่า จะมีอะไรเกิดขึ้น และตั้งอยู่ตรงไหน
ปัจจุบันที่เขากลัวคือ พอมีรถไฟและท่าเรือมาแล้ว จากนั้นจะย้ายนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไปอยู่ที่นั่น ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น เราต้องบอกเขาเลยว่า ต่อไปนี้จุดไหนทำอะไรบ้าง โดยเรากำหนดโซนไป ทำเป็นโมเดล ดังนั้น สิ่งที่ชาวบ้านกลัว คือ การตั้งนิคมอุตสาหกรรม แต่ที่ผ่านมาก็มีอยู่แล้ว นิคมอุตสาหกรรมหาดใหญ่ ดังนั้น ถ้านิคมอุตสาหกรรมจะเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นที่หาดใหญ่ ไม่น่าจะออกไปที่อื่น เพราะท่าเรือน้ำลึกปากบารา คือการเอาสินค้าไปส่งที่ทางเรือโดยใช้รถไฟ ซึ่งทำให้สองข้างทางรถไฟมีโอกาสเกิดการพัฒนาได้ จริงแล้ว ถ้าเกิดนิคมฯ จริง ก็เป็นนิคมอุตสาหกรรมเบา ไม่ใช่นิคมอุตสาหกรรมหนัก

0 ตอนนี้เริ่มจัดทำโมเดลของพื้นที่หรือยัง
ตอนนี้เริ่มชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึกปากบารา ทหารก็เอา และเห็นว่าเหมาะสม ซึ่งขณะนี้นโยบายซัพพอร์ตเราอย่างชัดเจน ต่างจากที่ผ่านมา สัญญาณไม่เคยชัด ทำให้กรมเจ้าทางไม่สามารถเดินต่อได้ ฝ่ายประจำไม่สามารถลุยโครงการได้เต็มที่ แต่ขณะนี้ คสช.ได้กำหนดท่าเรือน้ำลึกปากบาราเข้าไปในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมด้วย ถือว่านโยบายชัด ทำให้ลุยกันได้เลย

0 การลงทุนปากบาราต้องมีการเพิ่มทุน หรือปรับปรุงอะไรหรือไม่
ทั้งหมดไม่ต้องปรับ เพราะอีไอเอผ่านมาหมดแล้ว ที่ช้าเพราะหลังจากปี 2550 ที่มีรัฐธรรมนูญที่ต้องทำ HIA และตอนนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าต้องทำหรือไม่ และเพื่อให้โครงการเดินได้ จึงต้องทำโมเดลของพื้นที่เพื่อให้ประชาชนรับรู้และไม่ให้ใครมามั่วได้ ซึ่งขณะนี้เตรียมจะเสนอไปยังกระทรวง และถ้าอนุมัติมาจะใช้เวลาในการจัดทำแบบและต้นแบบประมาณ 7-8 เดือน

0 ท่าเรือปากบารา เราจะได้ประโยชน์อะไร
ประโยชน์คือ อย่างท่าเรือแหลมฉบัง ประโยชน์ไม่ได้เกิดที่ท่าเรือ แต่เกิดกับบริเวณแหลมฉบัง ศรีราชา ชลบุรี บริเวณภาคตะวันออก ทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งรายได้จากท่าเรือนั้นหลักพันล้านต่อปีเท่านั้น แต่ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นพื้นที่บริเวณภาคตะวันออก มีมากกว่าหมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นพื้นฐานว่าทำไมเราจึงอยากทำท่าเรือปากบารา เพราะทำให้เกิดเมืองท่า ทำให้เกิดเศรษฐกิจ และใช้พื้นที่ค้าขาย สำหรับทำมาหากิน เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ ประเทศโตมาด้วยความที่เป็นเมืองท่า มีรายได้จากท่าเรือไม่เยอะมาก แต่คนมาใช้สิงคโปร์เพื่อทำมาหากินนั้นมีจำนวนมาก

0 การลงทุนในปี 2558 มีอะไรบ้าง
ส่วนใหญ่เป็นการเคลียร์เรื่องการขุดลอกคลอง การทำเขื่อนกั้นคลื่น การขุดรอกร่องน้ำ การเดินเรือทะเลชายฝั่ง ส่วนปากบาราและสงขลาเป็นโครงการใหญ่ จะเริ่มก่อสร้างน่าจะปี 2559 ส่วนในปี 2558 จะเรียกว่าเป็นปีเคลียร์ก็ว่าได้ เพราะจะเตรียมคน เตรียมพื้นที่ไว้สำหรับก่อสร้าง ส่วนการเวนคืนคงไม่มีอะไรมาก เพราะเป็นการทำท่าเรือยื่นไปในทะเล ที่จะเกี่ยวข้อง คือ ถ้าตกลงอนุมัติทำท่าเรือปากบาราแน่ ต้องเร่งทำทางรถไฟที่เชื่อมท่าเรือควบคู่ไป ที่ผ่านมาได้วางแผนแล้วว่าจะเชื่อมจากโครงข่ายรถไฟจากหาดใหญ่ ไปท่าเรือปากบารา ประมาณ 100 กิโลเมตร ซึ่งได้เตรียมออกแบบแล้ว คาดว่าใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3-4 ปี

0 การลงทุนจะต้องมีปรับปรุงงบก่อสร้างหรือไม่
เดิมประมาณ 1.4-1.5 หมื่นล้าน น่าจะใช้งบเดิมนี้ได้อยู่ แต่ตอนเสนอน่าจะมีการปรับปรุงอีกครั้ง เพราะงบเดิมเป็นการประเมินมา 3-4 ปีแล้วที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงคมนาคมกำลังทำยุทธศาสตร์น้ำและรางให้มีเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่าย ตามเป้าหมายที่เคยวางไว้ตั้งแต่ปี 2548 แต่ก็ต้องหยุดไป เพราะติดขัดปัญหาหลายอย่าง เช่น ระบบรางต้องทำรางคู่ คุยกันไปคุยกันมาอนุมัติแล้ว ได้ทำบ้าง ไม่ได้ทำบ้าง ตอนนี้เมื่อมีความชัดเจนจริงจัง พอมีรางก็จะมีรถไฟไปได้ รถไฟก็เริ่มไปได้ เหลือเพียงให้เอกชนเข้ามาแข่งขันได้ และเมื่อน้ำกับรางมาเชื่อมกัน ประเทศไทยจะเป็นฮับ เพราะมีการขนส่งที่สะดวกมากขึ้นและทั่วถึง ทำให้เป็นศูนย์กลางการเจรจาการค้า หรือเป็นเมืองการค้า เช่นเดียวกับสิงคโปร์.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2014 2:51 am    Post subject: Reply with quote

โคงการท่าเรือปากบารา โดยกองทัพเรือ
http://www.transport.navy.mi.th/document/article/Landbridge.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2014 8:40 pm    Post subject: Reply with quote


โครงการท่าเรือปากบาที่ประชาชนควรรู้
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Qbqm-etcrkE
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 43, 44, 45 ... 50, 51, 52  Next
Page 44 of 52

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©