RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311312
ทั่วไป:13280757
ทั้งหมด:13592069
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ลองคิดกันเล่นๆว่า ทางคู่ช่วงลพบุรี-บ้านหมี่ จะสร้างอย่างไร
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ลองคิดกันเล่นๆว่า ทางคู่ช่วงลพบุรี-บ้านหมี่ จะสร้างอย่างไร
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 09/08/2012 1:29 am    Post subject: Reply with quote

ทั้งหมดที่ผมนำเสนอมานี้เป็นเพียงแนวคิดคร่าวๆ สำหรับการทำทางคู่ออกไปจากลพบุรี โดยไม่ต้องเปลี่ยนแนวทางไปสร้างทางเลี่ยงเมือง เพราะดูแล้วคงไม่เป็นการสะดวกกับผู้โดยสารเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเบี่ยงไปทางทิศตะวันตก

สำหรับข้อกังวลเรื่องของแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผลกระทบต่อโบราณสถานนนั้น
ผมคิดว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการสร้างทางรถไฟที่จะไม่ให้ส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนออกไปสู่สิ่งแวดล้อม
แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายในการสร้างทางในลักษณะดังกล่าวจะสูงกว่าทางแบบปกติทั่วไป แต่เราก็สร้างเป็นระยะทางไม่มากก็ได้ครับ อาจกำหนดระยะวัดจากหน้าพระปรางค์ออกไปด้านละ 1 กิโลเมตรก็ได้

แต่แน่นอนว่าหากทางคู่สร้างเสร็จ ก็อาจมีขบวนรถผ่านมากขึ้น
ผมมีแนวคิดว่าการสร้างทางเลี่ยงเมืองก็อาจดำเนินการต่อไป รถขบวนไหนที่ไม่ต้องจอดที่ลพบุรีก็ให้ใช้ทางเลี่ยงเมือง เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณขบวนรถไม่ให้ผ่านตัวเมืองมากเกินไป (แต่ทางคู่ก็ยังจำเป็นอยู่เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะคอขวดครับ)
และเมื่อทางเลี่ยงเมืองไม่ต้องคำนึงถึงการให้บริการผู้โดยสาร ก็อาจให้แนวเส้นทางห่างตัวเมืองออกไปอีกก็ได้ เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนจากการเวณคืนที่ดิน

สุดท้ายก็คงไม่มีอะไรมาก นอกจากจะฝากแนวคิดเป็นไอเดียไว้ให้พิจาณาเล่นๆ เท่านั้นครับ Wink
Back to top
View user's profile Send private message
umic2000
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/07/2006
Posts: 676
Location: Lenin Grad , U.S.S.R.

PostPosted: 09/08/2012 2:38 am    Post subject: Reply with quote

เรียนพี่หนุ่มครับ

บริเวณโบราณสถานที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนในการสร้างทางรถไฟคู่ช่วงผ่านตัวเมืองโบราณลพบุรี นอกจากองค์พระปรางค์สามยอดและศาลพระกาฬแล้วยังมี "วัดนครโกษา" บริเวณด้านทิศของใต้ศาลพระกาฬอีกแห่งด้วยครับ

วัดนครโกษา
Click on the image for full size

ในบริเวณวัดนครโกษาเองมีโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-18) ได้แก่ พระปรางค์องค์ใหญ่ และโบราณสถานสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ได้แก่ วิหารและพระปรางค์องค์เล็กซึ่งอยู่ติดกับทางรถไฟมากที่สุด แต่โบราณสถานที่ผมค่อนข้างห่วงมากกว่าคือ "พระปรางค์องค์ใหญ่" ครับ

พระปรางค์องค์ใหญ่
Click on the image for full size

เนื่องด้วยเพราะโบราณสถานในสมัยทวารวดีมักจะสร้างด้วยการก่ออิฐสอด้วยยางไม้ ดินเหนียว หรือวัสดุผสมบางอย่าง อีกทั้งอิฐที่ใช้ก็มักจะเป็นอิฐดิบเผาไม่สุกถึงไส้ใน ทำให้สิ่งก่อสร้างในยุคนี้มีความเปราะบางต่อสภาพดินฟ้าอากาศและแรงสั่นสะเทือนค่อนข้างมาก ดังนั้นเวลามีการสำรวจโบราณสถานในยุคทวารวดีก็มักจะพบในสภาพพังทลายลงมากองกับพื้นหมดครับ

พระปรางค์องค์เล็ก
Click on the image for full size

ส่วนโบราณสถานที่สร้างในสมัยขอมหรือสมัยอยุธยา จะนิยมใช้ก้อนหินสกัด ศิลาแลง หรือก้อนอิฐที่ผ่านการเผาจนสุกทั้งแผ่นเป็นวัสดุในการก่อสร้าง และใช้ปูนเป็นตัวเชื่อมประสานก้อนอิฐหรือศิลา ทำให้โบราณสถานในสองยุคหลังนี้มีความคงทนมากกว่าโบราณสถานยุคทวารวดีครับ

ดังนั้น หากมีการสร้างทางรถไฟอีกสายใกล้บริเวณวัดเข้ามาอีก คงต้องให้กรมศิลปากรทำการปฏิสังขรณ์เสริมความมั่นคงให้แก่พระปรางค์องค์ใหญ่เป็นอย่างดี ก่อนที่จะได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนจนพังทลายในที่สุดครับ.
Back to top
View user's profile Send private message
headtrack
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/05/2009
Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง

PostPosted: 09/08/2012 12:24 pm    Post subject: Reply with quote

...หากยึดแนวทางที่พี่หนุ่ม ได้คิดไว้ วันนี้ผมได้พบเอกสารสามสี่ฉบับ เกี่ยวกับเทคโนโลยี Slab Track อันสามารถลดผลกระทบความสั่นสะเทือนต่อพื้นที่โดยรอบได้...
...
Low Vibration Track system (LVT)
Low Vibration Track system (LVT) System description
Recent Developmenst in slab track
Slab Track for the Next 100 Years
...
...ตามจริงผมมองว่าหากทำทางตามแนวทางนี้ ทาง Ballast on Ground เดิมๆ นี้ก็เพียงพอ เพราะเปนทางเชื่อมและการยึดรางกับหมอนก็มีแผ่นรองรับอยู่แล้ว
อีกทั้งขบวนรถก็มิได้ใช้กำลังเร็วมากนัก เพียงแต่หินรองทางต้องเพียงพอและมีคุณภาพ ดูแลมิให้ราง(รวมทั้งล้อ)เปนแผล และแก้ปัญหาแรงสั่นสะเทือนบริเวณรอยต่อของตอนสัญญาณ

...
_________________
Click on the image for full size
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow
Back to top
View user's profile Send private message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 09/08/2012 1:35 pm    Post subject: Reply with quote

@ คุณเอก umic2000
การสร้างทางตามแนวคิดของผมนี้ โบราณสถานที่ทางรถไฟขยับเข้ามาใกล้กว่าเดิมน่าจะมีเพียงองค์พระปรางค์สามยอดที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกเท่านั้นเองครับ
เลยขึ้นไปด้านเหนือของพระปรางค์ก็ไม่มีโบราณสถานอะไรอยู่ใกล้ทางรถไฟแล้ว
ส่วนใต้พระปรางค์ฯ ลงมา แนวรางประธานขาขึ้นที่เป็นราง 1 ของสถานีลพบุรีในปัจจุบัน
ก็อยู่ล้ำไปทางตะวันตกมากกว่าแนวรางหน้าพระปรางค์ตามแนวคิดของผมอีกครับ

ส่วนฝั่งตะวันออกของราง โบราณสถานที่ใกล้ที่สุดก็น่าจะเป็นวัดนครโกษา
ซึ่งแนวรางฝั่งตะวันออกตามแนวคิดนี้ หากมีการปรับแนวรางในย่านสถานีลพบุรีให้เป็นเส้นตรงอยู่ในแนวเดียวกัน แนวรางก็ยังคงอยู่ห่างจากวัดมากกว่ารางหลีกที่มีอยู่ในปัจจุบันอีกครับ

ส่วนหนึ่งความคิดของผมมองว่าแนวรางที่ขยับเข้าใกล้องค์พระปรางค์นั้น น้อยมากจนน่าจะไม่มีนัยสำคัญอะไรมากนัก
แต่ด้วยความที่การจราจรคล่องตัวมากขึ้น ผลกระบบจึงอาจมาจากปริมาณขบวนรถที่มากขึ้น
ผมถึงได้เสนอแนวคิดให้ชดเชยตรงประเด็นนี้ด้วยการสร้างทางที่มีแรงสั่นสะเทือนต่ำ
ซึ่งน่าจะทำให้แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นน้อยกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเสียอีก
แถมยังอาจสามารถให้ขบวนรถผ่านด้วยความเร็วมากกว่าในปัจจุบันด้วยซ้ำ

-----------------------------------------
@ คุณต้น headtrack
ขอบคุณสำหรับข้อมูลรางแบบ Slabtrack ครับ

ในความคิดของผมอยากให้มีการสร้างรางแบบที่มีกาีรส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ครับ
ส่วนหนึ่งมุ่งหวังว่าจะได้สามารถเพิ่มความเร็วขบวนรถที่ผ่านจุดดังกล่าวด้วย
รวมทั้งอุปกรณ์ตรวจจับตอนสัญญาณที่อาจใช้แบบพิเศษเฉพาะในบริเวณนี้ เพื่อลดจุดที่จะสร้างความสั่นสะเทือนให้ได้มากที่สุด

สำหรับช่วงที่จะใช้รางแบบพิเศษนี้่ ถ้าเป็นไปได้ ผมอยากให้ทำมาตั้งแต่คลองชลประทานด้านใต้สถานีเรื่อยขึ้นไปจนพ้นวัดป่าธรรมโสภณครับ ไม่ใช่แค่หน้าองค์พระปรางค์
การปรับปรุงนี้ต้องรวมถึงรางในย่านสถานีลพบุรีด้วย โดยอาจจะลดจำนวนรางในย่านลง เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง
ถ้าทำได้ ความสั่นสะเทือนจากขบวนรถไฟก็แทบจะไม่มีผลต่อโบราณสถานในเมืองลพบุรีทั้งหมดเลยครับ

พอรถไฟช่วยอนุรักษ์ขนาดนี้แล้ว หน่วยงานอื่นก็ต้องมาช่วยอนุรักษ์ด้วย โดยเฉพาะต้องมาคิดว่าทำอย่างไรที่จะไม่ให้รถยนต์ (โดยเฉพาะรถบรรทุกขนาดต่างๆ)
ผ่านเข้ามาในบริเวณนี้โดยไม่มีความจำเป็น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44751
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/08/2012 11:31 pm    Post subject: Reply with quote

ในแผนผังแนบท้ายประกาศกรมศิลปากร มาตราส่วน 1:600
ข้อมูลความกว้างของเขตทางรถไฟ 10 เมตร สอดคล้องกับข้อมูลการรังวัดภาคสนามของพี่หนุ่มครับ Very Happy
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00117882.PDF

ระหว่างการรังวัด มีลิงเข้ามาทักทายบ้างไหมครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 09/08/2012 11:51 pm    Post subject: Reply with quote

^
ขอบคุณ อ.เอกมากครับ Laughing
ข้อมูลตรงกับที่ผมกะไว้คร่าวๆพอดี Arrow
คือความกว้างในแอ่งที่วางรถไฟอยู่นั้นกว้างประมาณ 9 เมตร ตามที่วัดได้ โดยศูนย์กลางรางรถไฟก็ทับซ้อนกับแนวศูนย์กลางแอ่งพอดี
แล้วผมก็สังเกตว่านอกแนวรั้วพระปรางค์สามยอด มีพื้นที่กว้างอยู่ราวเมตรเศษๆ ตามที่กะด้วยสายตา
(พื้นที่นอกรั้วตรงนั้นผมไม่ได้เอาตลับเมตรไปวัดจริงๆ ก็เกรงว่าจะมีลิงลงมาช่วยนี่แหละครับ)
และพื้นที่ตรงนั้น ถ้าดูตามภาพก็จะเห็นเป็นแนวเสาโทรเลข ซึ่งน่าจะนับเป็นเขตทางรถไฟด้วย

พอมีหลักฐานข้อมูลจาก อ.เอกมาประกอบ ก็ทำให้สรุปได้ว่ารถไฟมีโควต้าพื้นที่ตรงนั้นกว้างถึง 10 เมตร
ถ้าขุดดินตรงนั้นออกไปด้วยก็สามารถวางรางคู่ลงไปหลวมๆได้อย่างสบายเลย
แต่เท่าที่กว้าง 9 เมตร อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ก็คิดว่ากว้างพออยู่แล้วครับ
Back to top
View user's profile Send private message
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 10/08/2012 4:45 am    Post subject: Reply with quote

สำหรับในเรื่องนี้นั้น กระผมว่า ก็คงจะต้องทำการก่อสร้างในแบบทางยกระดับกระมังครับ คล้ายๆกับเส้นทางสายแอร์พอร์ตลิงค์ในกรุงเทพนะครับ เพียงแต่เสาตอม่อนี้จะเตี้ยกว่าเท่านั้นเองนะครับ โดยยกไปตลอดจนถึงสถานีท่าแคอันเป็นสถานีถัดไปเลยนะครับ เนื่องจากทางในบริเวณดังกล่าวนี้ได้ผ่านบริเวณโบราณสถานนะครับ Wink
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 10/08/2012 6:57 am    Post subject: Reply with quote

^
ผ่านโบราณสถานอย่างนี้ ยิ่งสร้างเป็นทางยกระดับไม่ได้เข้าไปใหญ่ครับพี่น้อย
และก็ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างเป็นทางยกระดับอะไรด้วย ทางระดับดินปกตินี่แหละ ต่อให้สร้างทางแบบ Slabtrack ก็ตาม
Back to top
View user's profile Send private message
milkonline
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 02/07/2009
Posts: 810
Location: อ.เมือง จ.ลพบุรี

PostPosted: 10/08/2012 10:31 am    Post subject: Reply with quote

หลังจากช่วงที่เลยเขตปรางสามยอดออกไปทางทิศเหนือ จะเป็นคันดินที่เป็นถนนลูกรัง
ก็จะได้พื้นที่อีกพอสมควรครับเพราะถ้าจำไม่ผิด เป็นส่วนหนึ่งของเขตรถไฟ
_________________
N-Scale model train lovers.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44751
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/08/2012 10:39 am    Post subject: Reply with quote

ใช่แล้วครับ ปกติเขตทางรถไฟนอกเมือง จะกว้าง 80 เมตรครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
Page 3 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©