Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272827
ทั้งหมด:13584123
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รถไฟความเร็วสูงจำเป็นขนาดไหน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รถไฟความเร็วสูงจำเป็นขนาดไหน
Goto page 1, 2, 3  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
nop2
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 06/03/2008
Posts: 985
Location: เพชรบุรี

PostPosted: 23/08/2010 6:25 pm    Post subject: รถไฟความเร็วสูงจำเป็นขนาดไหน Reply with quote

เรามาวิเคราะห์กันว่ารถไฟความเร็วสูงจำเป็นมากไหม สำหรับประเทศไทย ว่าเราควรจะมีหรือไหม หรือ จะทำของเก่าให้สมบูรณ์และเพิ่มเส้นทางใหม่ หรือ โละของเก่าทำของใหม่ให้เหมือนประเทศอื่นๆ ยินดีรับฟังทุกความเห็นครับ

อันนี้คือความคิดเห็นของผมนะครับ

เราไม่จำเป็นต้องมีรถไฟความเร็วสูง(300+ กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เพราะต้นทุนที่แพงเกินไป จนทำให้ค่าโดยสารแพงไปจนคนส่วนมากใช้บริการไม่ได้ เราควรทำรถไฟให้วิ่งได้แค่ 160-250กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว เพราะค่าก่อสร้างไม่มาจนเกินไป

ความคิดเห็นของผมคือ การเปลี่ยนความกว้างจากที่ใช้ 1เมตรอยู่ ไปเป็นขนาดความกว้างอื่น

และนี้คือคำถามที่จะต้องเกิดขึ้นจากนักวิชาการ

ทำไมต้องเปลี่ยนล่ะ ในเมื่อรางความกว้าง 1เมตรก็สามารถวิ่งได้ 160กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดูมาเลเซียเค้าก็ใช้ราง 1เมตร หรือ ออสเตเรียที่รางใช้ 1.067เมตรสิ เค้าก็วิ่ง 160กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้

และนี้คือคำตอบของผม

แน่นอนครับว่า ราง 1เมตรสามารถวิ่งได้ถึง 160กิโลเมตรจริง และมีใช้อยู่ แต่ผมจะถาม ถ้ามีตัวรถแล้ว รางบ้านเราสภาพทางสมบูรณ์ สามารถรองรับความเร็วนี้ได้ไหม
คำตอบคือ "ไม่" ครับ รางบ้านเราสำหรับราง 100ปอนด์ต่อ 1หลาสามารถรองรับความเร็วสูงสุดที่ใช้ได้จริงๆ คือประมาณ 130-140กิโลเมตรต่อชั่วโมง การที่จะทำราง 1เมตรให้วิ่งได้ 160กิโลเมตรนั้น ก็ต้องเปลี่ยนราง 70-100ปอนด์ เป็น 110ปอนด์ให้หมด ถึงจะรองรับความเร็ว 160กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย และความเร็ว 160กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้ได้สำหรับรถดีเซลรางและรถไฟฟ้ามัลติยูนิคเท่านั้นนะครับ รถจักรหมดสิทธิ์ เพราะน้ำหนักเพลาที่มากเกินไป จนทำให้ต้องวิ่งได้ที่ 120กิโลเมตรต่อชั่วโมง

แล้วจะใช้รางความกว้างเท่าไรล่ะ

แน่นอนคำตอบคือ รางมาตราฐาน ใช่ครับ รางกว้าง 1.435เมตร เป็นความกว้างที่มีใช้กันแพร่ร่ายมากที่สุด จนเป็นมาตราฐาน ซึ่งเราที่จะขอให้จีนช่วยทำทางรถไฟให้คงไม่พ้นรางมาตราฐานแน่นอน แม้ว่าการต่อกับจีนจะได้ผลประโยชน์เกี่ยวกับขนส่งสิ้นค้า การท่องเที่ยว และการหาตัวรถมาวิ่งได้ง่าย แต่ก็มีข้อเสียครับ อย่างที่เราๆ ท่านๆ รู้กันดีว่า ตอนนี้จีนเป็นอันดับ 1 ในการผลิตสินค้าทุกชนิด แน่นอนการต่อทางรถไฟกับเรา การขนส่งสินค้าก็จะสะดวกและรวดเร็วขึ้น ปัญหาที่จะตามมาคือ สินค้าจีนตีตลาด จนสินค้าไทยขายไม่ได้ (ยกเว้นอาหาร) แน่นอนครับ

ในเมื่อมีปัญหานี้ รางมาตราฐานอาจจะไม่น่าใช้ แล้วเราจะใช้รางกว้างเท่าไรล่ะ

มีให้เลือกอยู่ 2แบบ คือเพราะมีรถไฟที่วิ่งได้ 200-250กิโลเมตรขาย (Siemens Velaro , Alstom pendolino , talgo 250 ส่วนรุ่นและยี่ห้ออื่นๆ ก็สามารถปรับปรุงแล้วนำมาวิ่งได้เช่นกัน)

1. 1.520 เมตร แบบที่รัสเซียและประเทศที่แยกออกมาจากโซเวียตและยุโรบตะวันออกบางประเทศใช้
2. 1.688 เมตร แบบที่สเปนใช้

ความเหมาะสมสำหรับกรณีไม่ใช้รางมาตราฐาน 1.520 จะเหมาะสมกว่า

มาตราฐานกับความเหมาะสม ต้องดูให้ดีๆนะครับ เราอาจจะไม่จำเป็นต้องทำให้เหมือนกับคนอื่น แต่เราควรทำตามความเหมาะสม อะไรที่ตรงหรือง่ายเกินไป อาจจะก่อปัญหาในภายหลังได้ ถ้าไม่มีมาตราการรองรับเกี่ยวการนำสินค้าเข้าจากจีน ในกรณีที่ต่อเชื่อมกันแล้ว ปัญหาจะเกิดแน่ๆ (เพราะบ้านเราชอบของถูก) การทำให้ติดขัดบ้างอาจจะดีก็ได้

แล้วจะให้วิ่งเท่าไรล่ะ ในเมื่อเปลี่ยนความกว้างของรางแล้ว

120-160กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับรถโดยสารชานเมืองและท้องถิ่น
160-250กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับรถโดยสารทางไกล
100-140กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับรถสินค้า

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราทำรางมีดีขนาดไหน หรือมีรถดีขนาดไหน

สรุปเนื้อหาสำหรับข้อคิดเห็นของผมคือ

1. เราควรเลิกใช้ราง 1เมตรเพราะอย่างไงก็ถึงทางตัน (เหลือเส้นทาง กาญจนบุรี น้ำตกไว้)
2. ถ้าใช้รางมาตราฐาน ก็ควรมีมาตราการการนำเข้าสินค้าจากจีนอย่างเข้มงวดด้วย
3. แม้ไม่ใช้รางมาตราฐาน ก็ต้องมาตราการการนำเข้าสินค้าจากจีนเช่นกัน แต่อาจจะไม่ต้องเข้มงวดมากเหมือนกับรางมาตราฐาน
4. ต้องกระจายให้ทุกจังหวัดและอำเภอมีทางรถไฟ
5. ต้องมีระบบไฟฟ้า

แม้ว่าจีนจะเป็นพี่ใหญ่และอาจจะมาทำทางให้บ้านเรา ซึ่งจะส่งผลประโยชน์ต่อการค้าขายอย่างมหาศาล แต่เราก็ต้องระวังเรื่องสินค้าจากจีนทะลั่กเข้าไทยด้วย

หมดแล้วครับ

ขอบคุณมากที่อ่านข้อคิดเห็นของผมครับ
_________________
"You are star I am darkness Our love brighter than the sun .."
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
Bogieman
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 02/07/2009
Posts: 104
Location: สายอีสานใต้

PostPosted: 23/08/2010 7:24 pm    Post subject: Reply with quote

สำหรับความเห็นของผม ผมก็ยังเห็นว่ารถไฟความเร็วสูง ยังไม่จำเป็นมากนักสำหรับประเทศไทยครับ ความเร็วที่ประเทศไทยต้องการ 120-140 กม./ชม. ก็ถือว่าเหมาะสมและรวดเร็วแล้วครับ ถ้าหากวิ่งได้เท่านี้จริงๆ อาจทำให้การเดินทางไปได้ไกลถึง 80-100 กม. ภายใน 1 ชม.ก็นับว่าเร็วมากมายแล้วครับ โดยต้องแก้ไขเรื่องต่างๆเหล่านี้ก่อน

-เปลี่ยนรางให้เป็น 100 ปอนด์ในทุกเส้นทาง
-ทำรางคู่ให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
-จัดหารถจักร รถพ่วงให้เพียงพอต่อการใช้งาน (ให้ไม่ต้องวิ่งไปแล้วตีกลับเลยน่ะครับ)
-สร้างทางรถไฟเพิ่มไปยังจังหวัดต่างๆที่ยังไม่มีทางรถไฟ ให้ครอบคลุมพื้นที่สัก 50-60 เปอร์เซ็นต์ก็หรูแล้วครับ
-ต้องไม่ให้มีทางตัดเสมอระดับกับรถยนต์เลยครับ ถ้าไม่ลอดก็ต้องยกเพื่อไม่ให้เจอสิบล้อ

คิดว่าถ้าทำได้ตามนี้ โฉมหน้าของ รฟท.น่าจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นบ้างครับ
สรุปคือ ถ้าทำความเร็วได้จริงๆ สูงสุดตามพิกัด 140 กม./ชม. ก็เรียกว่ารถไฟความเร็วสูงสำหรับประเทศไทยได้แล้วล่ะครับ คงไม่ต้องเปลี่ยนขนาดรางแต่อย่างใด
_________________
I LOVE ROTFAITHAI
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
RSR38
VIP Member
VIP Member


Joined: 04/07/2007
Posts: 266
Location: แก่งคอย สระบุรี

PostPosted: 23/08/2010 9:00 pm    Post subject: Reply with quote

เคยคุยกับวิศวกรชาวเยอรมันที่ควบคุมกการสร้างแอร์พอร์ทเรลลิ้งค์ เขาบอกกว่า สำหรับเมืองไทยแล้ว ใช้ความเร็วประมาณไม่เกิน 160 กม.จะเหมาะสมกว่าเนื่องจากรถไฟๆความเร็วสูงจะใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ต้องดูด้วยว่าลงทุนแล้วจะคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ ถ้าจะสร้างรถไฟความเร็วสูงใช้โครงสร้างแบบแอร์พอร์ทเรลลิ้งค์จะลงทุนน้อยและคุ้มค่ากว่า
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 23/08/2010 10:04 pm    Post subject: Reply with quote

Bogieman wrote:
สำหรับความเห็นของผม ผมก็ยังเห็นว่ารถไฟความเร็วสูง ยังไม่จำเป็นมากนักสำหรับประเทศไทยครับ ความเร็วที่ประเทศไทยต้องการ 120-140 กม./ชม. ก็ถือว่าเหมาะสมและรวดเร็วแล้วครับ ถ้าหากวิ่งได้เท่านี้จริงๆ อาจทำให้การเดินทางไปได้ไกลถึง 80-100 กม. ภายใน 1 ชม.ก็นับว่าเร็วมากมายแล้วครับ โดยต้องแก้ไขเรื่องต่างๆเหล่านี้ก่อน

-เปลี่ยนรางให้เป็น 100 ปอนด์ในทุกเส้นทาง
-ทำรางคู่ให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
-จัดหารถจักร รถพ่วงให้เพียงพอต่อการใช้งาน (ให้ไม่ต้องวิ่งไปแล้วตีกลับเลยน่ะครับ)
-สร้างทางรถไฟเพิ่มไปยังจังหวัดต่างๆที่ยังไม่มีทางรถไฟ ให้ครอบคลุมพื้นที่สัก 50-60 เปอร์เซ็นต์ก็หรูแล้วครับ
-ต้องไม่ให้มีทางตัดเสมอระดับกับรถยนต์เลยครับ ถ้าไม่ลอดก็ต้องยกเพื่อไม่ให้เจอสิบล้อ


คิดว่าถ้าทำได้ตามนี้ โฉมหน้าของ รฟท.น่าจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นบ้างครับ
สรุปคือ ถ้าทำความเร็วได้จริงๆ สูงสุดตามพิกัด 140 กม./ชม. ก็เรียกว่ารถไฟความเร็วสูงสำหรับประเทศไทยได้แล้วล่ะครับ คงไม่ต้องเปลี่ยนขนาดรางแต่อย่างใด


Arrow เห็นด้วยอย่างยิ่ง ครับ ผู้บริหารประเทศมัวแต่ทะเลาะกันอยู่ ไม่มีนโยบายที่แน่ชัด รถไฟไทย จึงไม่พัฒนาสักที
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Kan
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/07/2010
Posts: 189
Location: กรุงเทพ - ชุมทางทุ่งสง

PostPosted: 23/08/2010 10:04 pm    Post subject: Reply with quote

ขอติการใช้ภาษาหน่อยครับ มาตรฐาน ไม่ใช่มาตราฐาน และมาตรการ ไม่ใช่มาตราการ การเปลี่ยนขนาดรางน่าจะไม่เหมาะสมครับเพราะต้องใช้เวลานานรวมทั้งต้องดัดแปลงรถจักร และรถพ่วงที่มีอยู่เดิมคาดว่าไม่คุ้มทุนครับ รถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกันควรจะทำแยกคนละระบบกับรถไฟธรรมดาของเราน่ะครับ ตราบใดที่ยังไม่ได้รวมกันเป็นสหภาพเหมือนยุโรป การใช้ระบบรางเชื่อมทั้งภูมิภาคอาจไม่เหมาะสมในการขนสินค้าเพราะ ยังติดในด้านของภาษี และกฎหมายระหว่างประเทศก็เป็นได้

ส่วนตัวผมคิดว่าการใช้ระบบไฟฟ้าน่าจะไม่เหมาะสมเพราะดูแล้วประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้โรงไฟฟ้านิวเคลีร์ยเกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาความมั่นคงด้านพลังงาน ความเห็นของผมจะคล้ายๆกับคุณ Bogieman ครับ แต่ผมขอเสนออย่างหนึ่งครับ ส่วนตัวอยากให้ดูความสำคัญของสถานีที่ต้องจอดของขบวนรถศักดิ์ต่างๆนะครับ ในใจผมคิดว่า ถ้าลดจำนวนสถานีที่จอดลงให้มากที่สุด ก็จะมีระยะเวลาในการเดินทางที่น้อยลงทำให้ความเร็วเฉลี่ยของขบวนรถเพิ่มขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
siriwadhna
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/10/2009
Posts: 126

PostPosted: 23/08/2010 10:14 pm    Post subject: Reply with quote

ของผมไม่ค่อยจะเห็นด้วย แต่ก็เริ่มโน้มเอียงกับเส้น ระยอง แล้วครับ

ข้อคิดของกระผม

1. เวลามีข่าวเกี่ยวกับความเร็วสูง สื่อมักจะไม่ระบุว่าสูงแค่ไหน น่าจะริเริ่มคำกำจัดความได้แล้ว ว่า สูง หรือสูงมาก เพราะ 160 มันก็สูงสำหรับเราแล้ว

2. ถึงจะมีรถไฟความเร็วสูง ยังไงรถไฟปรกติดีๆ ก็ต้องมีรองรับอยู่ดี (ท้องถิ่น) ซึ่งของเรายังไม่ได้มาตรฐานซักเท่าไหร่ ถ้าจะให้ดี เอาความเร็วปรกติให้ดีก่อนดีกว่า

3. Feasibility Study ของขนส่งสาธารณะมันยากอยู่ที่ ไก่กับไข่ อะไรจะเกิดก่อนกัน, สมาชิกเว็ปนี้คงรู้ดีว่า ดีมานด์มันยังไม่มี แล้วถ้ามีรถไฟความเร็วสูง จะจูงใจให้คนย้ายที่อยู่ได้หรือเปล่า ตัวเลขต้องนั่งเทียนเอาอย่างเดียว เพราะพฤติกรรมการตอบรับของคนไทยก็ยังไม่มีกรณีศึกษา

4. พูดแบบลูกทุ่ง "ถ้าเจ๊ง ใครผิด" ใครๆก็อยากได้ครับ แต่ถ้าเจ๊ง ก็ไม่มีใครอยากจะยอมรับผิด

5. เรื่องผังเมืองก็สำคัญไม่น้อย ที่จะต้องเป็นส่วนประกอบหนึ่งของโครงการ รฟครส ด้วย ปัญหาก็คือสังคม และนักการเมือง ให้ความสำคัญกับผังเมืองเพียงเทคนิค ที่ว่ากันด้วยเรื่องตีเส้น ตีตารางถนน ระบายสีโซนนิ่ง ฯลฯ หากแต่ให้ความสนใจในเชิงสังคมศาตร์ไม่ เช่นการศึกษาของการอยู่ร่วมกันของคนเมือง (สันดานของคนเมือง) หรือความต้องการของคนเมืองใน โดยเฉพาะคนที่ทำงานใน กทม., ผังเมืองไม่ใช่แค่การกำหนดกฏเกณฑ์ให้คนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นระเบียบ หากแต่รวมถึงการจูงใจให้คนมาอยู่ร่วมกันด้วย

6. กฏหมาย แยกอำนาจจังหวัดต่างๆไว้ชัดเจน ทำให้ส่วนประกอบของความสำเร็จของ รฟครส. ไม่อาจได้รับความร่วมมือจากทุกจังหวัด เช่น นโยบายฟีดเดอร์ หรือการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

7. ถ้าจะทำ ความเร็วสูงมาก 200 กม/ชม ขึ้นไป คงไม่มีใครเถียงนะครับว่าต้องทำลอยฟ้า (เนื่องด้วยวินัยคนร่วมชาติของเรา) แล้วถ้ายกระดับตลอดทาง มันจะไม่ ล้าน ล้าน หรือ


แต่สำหรับเส้นระยอง ผมก็แค่คิดว่า "ผู้มีกำลังซื้อ" มีจำนวนสูงทีเดียว (นิคมอุตฯเพียบ) แล้วยังมีนักท่องเที่ยวสายตะวันออกอีกจำนวนมหาศาล (อ่านว่าพัทยา) มีทางผ่านเป็นสนามบินนานาชาติสองแห่ง (ฺBKK & UTP) มีสินค้าพรีเมี่ยมที่ต้องใช้ความเร็วในการรักษาคุณภาพอย่างอาหารทะเล มีที่ดิน รฟท. พร้อมรับใช้ ฯลฯ เหตุผลต่างๆจากความรู้สึกมันก็น่าจะสนับสนุนให้เป็นไพล็อตโปรเจ็คอยู่เหมือนกันเนอะ

ขอโทษด้วยที่เหตุผลขัดกันเองครับ เพราะผมสับสนในตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ชนิดรุนแรง
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 23/08/2010 10:57 pm    Post subject: Reply with quote

รอข่าวคณะผู้บริหารประเทศ ที่ไปเมืองจีนปลายสัปดาห์นี้ แล้วค่อยมาออกความเห็น คงไม่ช้าไปมั้ง.... Rolling Eyes

ว่าแต่ ประเด็นนี้


Quote:
3. Feasibility Study ของขนส่งสาธารณะมันยากอยู่ที่ ไก่กับไข่ อะไรจะเกิดก่อนกัน, สมาชิกเว็ปนี้คงรู้ดีว่า ดีมานด์มันยังไม่มี แล้วถ้ามีรถไฟความเร็วสูง จะจูงใจให้คนย้ายที่อยู่ได้หรือเปล่า ตัวเลขต้องนั่งเทียนเอาอย่างเดียว เพราะพฤติกรรมการตอบรับของคนไทยก็ยังไม่มีกรณีศึกษา

กับประเด็นนี้

5. เรื่องผังเมืองก็สำคัญไม่น้อย ที่จะต้องเป็นส่วนประกอบหนึ่งของโครงการ รฟครส ด้วย ปัญหาก็คือสังคม และนักการเมือง ให้ความสำคัญกับผังเมืองเพียงเทคนิค ที่ว่ากันด้วยเรื่องตีเส้น ตีตารางถนน ระบายสีโซนนิ่ง ฯลฯ หากแต่ให้ความสนใจในเชิงสังคมศาตร์ไม่ เช่นการศึกษาของการอยู่ร่วมกันของคนเมือง (สันดานของคนเมือง) หรือความต้องการของคนเมืองใน โดยเฉพาะคนที่ทำงานใน กทม., ผังเมืองไม่ใช่แค่การกำหนดกฏเกณฑ์ให้คนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นระเบียบ หากแต่รวมถึงการจูงใจให้คนมาอยู่ร่วมกันด้วย


ข้อ 3 เชื่อว่ามีการคิดไว้ระดับหนึ่ง แต่ ไม่ค่อย จะนำมาเป็นหนึ่งในน้ำหนักของการให้คะแนน

ส่วนข้อ 5 อยากฟังความเห็น ท่าน อ.บ้านโป่ง ครับ Question
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 23/08/2010 11:39 pm    Post subject: Reply with quote

^
หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่านอกจากประเทศไทยจะมี "ผังเมือง" ตามพระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 แล้ว เรายังมีการทำ ผังในระดับที่ใหญ่กว่าผังเมือง เช่น "ผังภาค" ผมไม่แน่ใจครับว่าเราเคยมีการทำ "ผังประะเทศ" กันแล้วยัง

เรื่องผังประเทศและระบบราง ทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟชานเมือง ระบบรางในเมือง เรื่องต่างๆพวกนี้ต้องคิดกันทั้งระบบครับ ไม่ใช่เฉพาะด้านกายภาพอย่างเดียว เราต้องมองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และที่สำคัญที่ไม่แน่ใจว่าเป็นโอกาสหรืออุปสรรค ก็คือเรื่อง "การเมือง" ครับท่านป๋าณัฐ Confused Confused
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
anusorn
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/09/2006
Posts: 1642
Location: มณฑลอาคเนย์

PostPosted: 24/08/2010 9:49 am    Post subject: Reply with quote

ปุจฉาครับ

เพราะเหตุใด รถไฟความเร็วสูงของจีน เป็นยี่ห้อทางฝั่งยุโรป Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42748
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2010 10:12 am    Post subject: Reply with quote

^^^
ยุโรปข้างไหนหละครับอาจารย์อนุสรณ์ ระบุให้แน่ชัดกว่านี้จะดีกว่านะครับ เพราะ เวอชันเตเจจเว กับเวอร์ชัน ICE นั้นใมนคนละเรืองเดียวกันนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3  Next
Page 1 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©