Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13286316
ทั้งหมด:13597640
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 129, 130, 131 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 23/12/2012 7:01 pm    Post subject: Reply with quote

ททท.กรุงเก่า เตรียมรองรับนักท่องเที่ยว หลังเตรียมสร้างรถไฟความเร็วสูงสายแรก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 ธันวาคม 2555 17:24 น.




นายปราโมทย์ ทรัพย์เย็น ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย เป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ของประเทศไทยในการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ เบื้องต้นทางการจีนเสนอให้ไทยก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรก คือเส้นทางจาก กรุงเทพ - ภาชี ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโครงการนำร่อง เพื่อทดสอบระบบ และใช้ระยะเวลาเดินทางเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากเดิม พร้อมกับเพิ่มรายได้ให้กับจังหวัด โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจะมีเวลาในการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นด้วย เนื่องจากมีระยะเวลาการเดินทางลดน้อยลง คาดว่าจะมีการประมูลราคาผู้รับเหมาในไตรมาสที่ 3 ในปี 2556
นายปราโมทย์ กล่าวต่อไปว่า จากนี้ไปทางจังหวัด จะเตรียมเพิ่มรถตุ๊กตุ๊ก และรถราง สัญลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพิ่มขึ้นด้วย โดยจะให้บริการ ณ จุดสถานีรถไฟ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตามเชื่อว่า หากการดำเนินการแล้วเสร็จ จะใช้รองรับการจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 ซึ่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ระหว่างการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2012 7:00 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯเร่งรถไฟความเร็วสูง เล็งประมูลQ3ปี56

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
24 ธันวาคม 2555

วันนี้ (24 ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามความคืบหน้าการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงและโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่านายกรัฐมนตรียังได้ติดตามความพร้อมในการเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่รัฐบาลมีแผนที่จะก่อสร้างใน 4 เส้นทาง ได้แก่

กรุงเทพ - เชียงใหม่
กรุงเทพ - หนองคาย
กรุงเทพ - ระยอง และ
กรุงเทพ - หิวหิน

โดยนายกรัฐมนตรีมีความกังวลว่าแผนการดำเนินงานจะล่าช้าเนื่องจากแต่ละเส้นทางจะต้องมีการจัดทำประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่ได้สั่งการว่าให้หน่วยงานต่างๆเตรียมความพร้อมในการประมูลคู่ขนานไปกับการทำ EIA โดยคาดว่าการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงจะเริ่มต้นภายในไตรมาส 3 ปี 2556 หรืออาจเร็วกว่ากำหนดหากมีความพร้อม

"นายกรัฐมนตรีได้สั่งการในวันนี้ว่าให้จัดทำรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง ได้แก่ รูปแบบทางการประมูล แหล่งที่มาของเงินทุน และรูปแบบองค์กรที่จะบริหารจัดการรถไฟความเร็วสูงว่าจะให้ ร.ฟ.ท.ดำเนินการหรือจะจัดตั้งองค์กรใหม่ ซึ่งจะต้องไปหารือร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สศช. สบน. และ สนข. เพื่อบูรณาการแผนต่างๆเข้าด้วยกัน โดยนายกรัฐมนตรีจะเรียกประชุมติดตามความคืบหน้าอีกครั้งในอีก 1 เดือนข้างหน้า" นายชัชชาติกล่าว

เขากล่าวว่า การลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงคงจะใช้รูปแบบการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ทั้งหมดได้ยาก เนื่องจากในการให้บริการคงไม่สามารถคิดราคาค่าโดยสารแพงเพื่อให้โครงการคุ้มทุนโดยเร็วได้ ดังนั้นหากใช้รูปแบบ PPP อาจเป็นลักษณะที่ภาครัฐลงทุนระบบรางและภาคเอกชนลงทุนขบวนรถ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างหารูปแบบลงทุนที่เหมาะสมเพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 25/12/2012 8:07 pm    Post subject: Reply with quote

ทส.ชี้รถไฟความเร็วสูงเข้าข่ายทำอีไอเอ
คุณภาพชีวิต
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 25 ธันวาคม 2555 18:31

นายสันติ บุญประคับ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า โดยหลักการโครงการรถไฟฟ้า ต้องทำรายงานอีไอเออยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นโครงการของรัฐ การทำอีไอเอ จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่าจะลงทุนหรือไม่ว่าทำแล้วคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เช่น กรณีรถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นต้น ซึ่งการต่างกับการทำอีไอเอในโครงการของเอกชนที่จะใช้ระกอบการขออนุมัติก่อสร้าง เช่น โรงไฟฟ้า เป็นต้น

"เชื่อว่าเรื่องนี้ยังอาจต้องใช้เวลาเพราะคงต้องดูรายละเอียดของแต่ละเส้นทาง 4 เส้นทางว่าต้องผ่านหรือมีผลกระทบต่อสถานที่หรือพื้นที่ป่าอนุรักษ์หรือไม่ โดยเฉพาะเส้นทางสายเหนือกรุงเทพ- เชียงใหม่ อีกทั้งหากเป็นการเปิดประมูลระหว่างรัฐกับเอกชนก็อาจต้องเข้าคณะกรรมการร่วมทุนอีกด้วย"นายสันติ กล่าว

นายสันติ กล่าวว่า ส่วนใหญ่ถ้าเป็นโครงการของรัฐการทำอีไอเอเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่ เพราะเจ้าของโครงการคือรัฐที่ต้องขอในครม. ส่วนบางกรณีถึงแม้ว่าจะอนุมัติหลักการให้เดินหน้าไปแต่ถ้ามีการพิจารณาว่าเกดิผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม ผมเชื่อว่ารัฐบาลคงไม่ทำอะไรที่ละเมิดกฎหมายแน่นอน

นายสันติ กล่าวอีกว่า ปัญหาเงื่อนไขการพิจารณาอีไอเอระหว่างโครงการของรัฐ กับโครงการของเอกชน ที่ยังมีช่องว่่างที่เป็นเงื่อนไขในการพิจารณา เช่น มาตรฐานการพิจารณาในคณะกรรมการพิจารณาโครงการ (คชก.) ที่คิดว่าควรต้องเป็นชุดเดียวกัน รวมทั้งระยะเวลาที่กำหนดในกฏหมายที่ลักลั่นกัน เช่น โครงการของรัฐไม่กำหนดว่าต้องส่งอีไอเอ ทำให้บางโครงการใช้เวลานาน 3-5 ปีก็ได้ แต่เอกชนต้องให้ส่งภายใน 105 วัน และประเด็นเรื่องการปล่อยมลพิษไม่ว่าจะเป็นของรัฐและเอกชนก็ควรต้องเท่ากัน เป็นต้น เป็นสิ่งที่ทางสผ. กำลังเสนอปรับแก้กระบวนการพิจารณาอีไอเอในกรอบใหญ่ทั้งหมดอยู่ โดยเรื่องดังกล่าวนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรที่กำกับดูแลหระทรวงทรัพยากรฯ เคยพูดคุยกันมาแล้ว และทางสผ. เองได้เร่งทำโรดแมปและคาดว่าจะเสนอให้นายปลอดประสพ เร็วๆนี้

เปิดคลังดอนเมืองโชว์รถไฟความเร็วสูง คาดใช้งบถึง 500 ล.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 ธันวาคม 2555 17:12 น.
ต่างชาติสนจัดนิทรรศการไฮสปีดเทรนในไทย
มติชน
วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เวลา 15:51:51 น.

“คมนาคม”เด้งรับนโยบายเตรียมจัดนิทรรศการรถไฟความเร็วสูงที่คลังสินค้าดอนเมืองรวม 3 เดือน (มิ.ย.-ส.ค.56) คาดใช้งบ 500ลบ.ทั้งจัดงานและปรับปรุงพื้นที่ พร้อมดึงจีน,ญี่ปุ่น,ยุโรปขนขบวนรถของจริงประชันเทคโนโลยี และจะมีสถานีจำลองอีกด้วย “วิเชียร”เผยเพื่อสร้างความเข้าใจและเชื่อมั่นกับประชาชนและผู้ประกอบการที่เกรายข้อง คาด ม.ค.สรุปแผนเสนอครม.ขอใช้งบกลาง

พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดนิทรรศการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ว่า คณะทำงานได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจะจัดนิทรรศการในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน-31 สิงหาคม 2556 เป็นเวลา 3 เดือนโดยใช้คลังสินค้า 3 ของท่าอากาศยานดอนเมือง พื้นที่ประมาณ 25,000 ตารางเมตรเป็นสถานีจัดงาน มีวัตถุประสงค์ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้กับประชาชน นักลงทุน ผู้ประกอบการต่างๆ ในการลงทุนก่อสร้างและการให้บริการรถไฟความเร็วสูงของไทย

ทั้งนี้ รูปแบบการจัดงานนอกจากแสดงนิทรรศการ เทคโนโลยี ของรถไฟความเร็วสูง รวมถึงร้านค้าภายในสถานีและสินค้าโอทอปที่จะมีจำหน่ายบนขบวนรถด้วยแล้วจะมีการจำลองสถานีรถไฟความเร็วสูง และพร้อมกับจัดแสดงหัวรถไฟและโบกี้โดยสารรถไฟความเร็วสูง ซึ่งขณะนี้มีหลายประเทศแสดงความสนใจที่จะนำหัวรถและโบกี้มาร่วมแสดง ทั้ง จีน ญี่ปุ่น และ ยุโรป เช่น บริษัทซีเมนส์ จำกัด โดยจะมีการจัดแบ่งพื้นที่ให้สามารถจัดแสดงรถของจริงได้ประมาณ 3-4 ขบวน

“ประเทศไทยจะเปิดกว้างในประมูลรถไฟความเร็วสูงแบบนานาชาติ (International Bid) ซึ่งขณะนี้มี 3 ระบบใหญ่ คือระบบของจีน,ญี่ปุ่น,ยุโรป จึงต้องเชิญชวนให้เจ้าของระบบมาแสดงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียมกัน โดยเจ้าของระบบจะต้องออกค่าใช้จ่ายการขนส่งต่างๆเอง เพราะถือว่าเป็นการเปิดพื้นที่ให้แสดงเทคโนโลยี ซึ่งขณะนี้ทั้งญี่ปุ่นและจีนให้ความสนใจ โดยขอให้ทางไทยแจ้งล่วงหน้า 3-4 เดือน เพื่อเตรียมความพร้อมในการขนวัสดุอุปกรณ์มาจัดแสดง”พล.ต.อ.วิเชียรกล่าว

พล.ต.อ.วิเชียรกล่าวว่า การจัดงานจะคณะทำงาน 8 ด้านหลัก เช่น ด้านอำนวยการ ด้านนิทรรศการ ด้านบริหารจัดการพื้นที่ ด้านการขนส่งและจราจร ด้านประชาสัมพันธ์ เป็นต้น โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) จะรับผิดชอบงานนิทรรศการ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบสำหรับส่วนนี้ประมาณ 200 ล้านบาท นอกจากนี้จะต้องมีการปรับปรุงพื้นที่ของคลังสินค้าอีกส่วนหนึ่งคาดว่ารวมแล้วประมาณ 500 ล้านบาท โดยในวันที่ 7 มกราคม 2556 คณะกรรมการจะประชุมอีกครั้งซึ่งจะมีการกำหนดผู้รับผิดชอบในงานแต่ละด้านให้ชัดเจน และให้แต่ละส่วนงานไปพิจารณารายละเอียดและกำหนดงบประมาณที่จะใช้ คาดว่าภายในปลายเดือนมกราคม 2556 จะสามารถสรุปข้อมูลทั้งหมดเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติงบประมาณได้ โดยคาดว่าจะใช้งบกลาง

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาประชาชนอาจจะไม่เข้าใจและไม่เห็นภาพของโครงการรถไฟฟ้าว่าจะมีประโยชน์อย่างไร ซึ่งการจัดนิทรรศการจะทำให้เห็นภาพชัดเจนและเข้าใจในนโยบายของรัฐบาลมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยรถไฟความเร็วสูงความเร็วประมาณ 250-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง น่าจะเป็นความเร็วที่เหมาะสมที่สุด

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้จะใช้พื้นที่บริเวณมักกะสันใกล้กับสถานีมักกะสันของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์เป็นสถานที่จัดนิทรรศการ แต่จะต้องใช้เงินประมาณ 600 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม จึงเปลี่ยนมาใช้คลังสินค้าของดอนเมืองแทน
Back to top
View user's profile Send private message
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 26/12/2012 12:10 am    Post subject: Reply with quote

ส่วนตัวผมเองไม่เห็นด้วยเลย กับการทำนิทรรศการอลังการงานสร้างอันสิ้นเปลืองขนาดนั้น ผมว่ามีสือหนึ่งที่น่าสนใจมากๆและทั่วถึงมากกว่าที่รัฐน่าจะใช้ให้เป็นประโยชน์ มากกว่าการPRทางการเมือง นั่นคือ สื่อทางโทรทัศน์นั่นเองครับ หาสารคดีดีๆจากต่างประเทศเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงมาแปลฉายก่อนครับ แล้วค่อยตั้งทีมงานถ่ายทำไปในทุกประเทศที่มีรถไฟความเร็วสูงให้เห็นทุกมิติทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ ผลดี ผลเสีย ราคา การให้บริการ ผลต่อสังคม เศรษฐกิจ ในประเทศนั้นๆ ถ้าเป็นไปได้ให้เห็นตั้งแต่ถลุงเหล็กจนถึงชานชาลากันเลย หรือ อีกมุขนึงที่ผมคิด(แค่ความเห็นนะครับ)ก็ให้ประเทศผู้ผลิตทำสารคดีจะเป็น 1 ชั่วโมง หรือเป็นหลายตอนก็แล้วแต่ แล้วให้เวลาฉายในช่วงที่เหมาะสม เผลอให้เค้าทำสารคดีและประมูลเวลาออกอากาศกันเลย และให้มีฉายซ้ำหลายๆครั้ง ไม่เห็นต้องออกเงินเองเลยในเมื่อคนขายเค้าพร้อมจะจ่ายเพื่อPRของขายอยู่แล้ว เก็บเงิน 500ล้าน ไว้สร้างองค์ความรู้ สร้างคนโดยส่งไปเรียนทั้งในญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่ง สร้างระบบ สร้างสถาบันที่เกี่ยวข้อง สร้างบริษัทที่สร้างสิ่งๆต่างๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ดีกว่าหรือ? Rolling Eyes


มีสารคดีชุดนึงที่ผมภูมิใจนำเสนอมากๆ "National Geographic Worlds Fastest Train" เป็นสารคดีชุดที่ยอดเยี่ยมชุดนึงเท่าที่ผมเคยชม ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆเพียบ เข้าใจวิวัฒนาการของรถไฟกว่าจะมาเป็นรถไฟความเร็วสูงในปัจจุบันได้อย่างท่องแท้ แต่น่าเสียดายครับเพราะบรรยายภาษาอังกฤษ ไม่มีแปล หรือ Sub ถือว่าได้ฝึกทักษะการฟังแล้วกันนะครับ Wink


Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44805
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2012 7:01 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณมากครับที่นำสารคดีน่าสนใจมาให้ชมกัน Very Happy
เห็นรถจักรไอน้ำ Rocket ที่เป็น prototype ความเร็ว 46 km/h แล้ว
ความเร็วต่ำกว่าสายแม่กลอง สายสุพรรณบุรีนิดเดียวเองนะครับ Wink

----

คนไทยจะได้นั่งรถไฟความเร็วสูง
ไทยรัฐออนไลน์ 26 ธันวาคม 2555, 05:00 น. โดย ลม เปลี่ยนทิศ

วันนี้ กระทรวงรถไฟจีน จะเปิดให้บริการ รถไฟความเร็วสูงสายยาวที่สุดในโลก จาก ปักกิ่ง สู่ กวางเจา ระยะทาง 2,298 กม. เต็มรูปแบบเป็นวันแรก หลังจากทดสอบความปลอดภัยครั้งสุดท้ายเมื่อ วันเสาร์ที่ผ่านมา รถไฟความเร็วสูงจีนขบวนนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน ได้เข้าไปช่วยปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้ หลังจากที่เคยเกิดอุบัติเหตุชนกันเองเมื่อปีที่แล้ว ด้วยสาเหตุขบวนรถถูกฟ้าผ่า

ในอนาคต รัฐบาลจีน จะขยายเส้นทางนี้ต่อไปยัง ฮ่องกง รถไฟความเร็วสูงจีนขบวนนี้ จะวิ่งด้วยความเร็ว 300 กม.ต่อชั่วโมง ช่วยประหยัดเวลาการเดินทางจาก ปักกิ่ง ไปยัง กวางเจา จากเดิมที่ใช้เวลา 22 ชั่วโมง เหลือเพียง 8 ชั่วโมง และจะเป็นคู่แข่งสำคัญของเครื่องบินยักษ์ แอร์บัส A–380 ของ สายการบินเซาท์เทิร์น แอร์ไลน์ ที่บินระหว่างปักกิ่งกับกวางเจา เพราะค่าโดยสารถูกกว่ากันครึ่งต่อครึ่ง

ประเทศจีน เพิ่งเข้าสู่อุตสาหกรรมรถไฟความเร็วสูง Bullet–train ในปี 2008 เมื่อ 5 ปีก่อนนี้เอง แต่มีการพัฒนาเร็วมาก ผมเห็นวิธีการก่อสร้างทางรถไฟด้วยระบบเครื่องจักรอัตโนมัติของจีนแล้ว ต้องบอกว่าอึ้งทึ่งในเทคโนโลยีและความสามารถของจีน จึงไม่แปลกใจที่จีนสามารถสร้างทางรถไฟความเร็วสูงได้อย่างรวดเร็วเหลือเชื่อ ยิ่งเทียบกับวิธีการก่อสร้างรถไฟฟ้าของไทยที่ล่าช้าแล้ว เทียบกันไม่ได้เลย

ปีนี้ กระทรวงรถไฟจีน ใช้เงินลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงถึง 630,000 ล้านหยวน ประมาณ 3.15 ล้านล้านบาท และมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 25 เส้นทาง ที่ได้รับการอนุมัติให้ก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว

สมัยก่อนจีนใช้การ ก่อสร้างถนนและทางด่วน เป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่วันนี้จีนใช้ การลงทุนรถไฟความเร็วสูง เป็น ตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะระบบการขนส่งทางราง เป็น โลจิสติกส์ ที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาเศรษฐกิจจีนวันนี้ต้องการรถไฟความเร็วสูงจำนวนมาก เพื่อทลาย “คอขวด” การขนส่งสินค้าทางราง ซึ่งยังมีจำกัด เพราะระบบรางส่วนใหญ่ใช้ขนผู้โดยสาร

จีนจึงมีโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงอีกมากมาย เพื่อเชื่อมเมืองใหญ่ทุกเมืองเข้าด้วยกัน และมีแผนจะขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเข้าไปใน รัสเซีย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อ ใช้ขนส่งสินค้า ซึ่งจีนหมายถึง เส้นทางรถไฟความเร็วสูง จาก คุนหมิง ลงมา ลาว สู่ ไทย ลงใต้ไปยัง มาเลเซีย และ สิงคโปร์

เขียนถึงรถไฟความเร็วสูงจีนแล้ว ก็ต้องพูดถึง รถไฟความเร็วสูงในไทย ที่กำลังจะกลายเป็น “ฝันเป็นจริง” เมื่อได้มือทำงานอย่าง คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีคมนาคม ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นายใหญ่นายเล็ก จะไม่รีบเปลี่ยนรัฐมนตรีคมนาคมเสียก่อน จนกว่ารถไฟความเร็วสูงไทยจะมีการประมูลเป็นรูปเป็นร่าง และเริ่มลงมือก่อสร้างแล้วมิฉะนั้นอาจจะล่มอีกก็ได้

คุณชัชชาติ เคยเล่าให้ผมฟังว่า รถไฟความเร็วสูงสายแรก ที่จะเปิดประมูลได้ในปีหน้า 2556 คือ เส้นทางกรุงเทพฯ–หัวหิน ระยะทาง 225 กม. เพราะผ่านการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว แต่สองวันก่อน คุณชัชชาติ ให้สัมภาษณ์บอกว่า เส้นทางแรกที่จะก่อสร้าง คือ กรุงเทพฯ–ภาชี ระยะทาง 82 กม. จะสร้างเส้นทางไหนก่อนผมไม่ติดใจ ขอให้เริ่มต้นก็แล้วกัน เพราะการสร้างรถไฟความเร็วสูง วันนี้จีนได้พิสูจน์แล้วว่า สร้างง่าย สร้างเร็ว ขอเพียงตั้งใจจริงเท่านั้น

ปัญหาใหญ่ของรถไฟความเร็วสูงในทุกประเทศก็คือ ค่าโดยสารแพง ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่มีโอกาสใช้บริการ แต่ รัฐมนตรีชัชชาติ บอกว่า ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงเบื้องต้นจะอยู่ที่ 2.10–2.70 บาท ต่อ กม. ถือว่าถูกมาก ไปเชียงใหม่ 600 กม. ค่าโดยสาร 1,260–1,620 บาท ผมหวังว่าคนไทยจะได้มีโอกาสใช้รถไฟความเร็วสูงในอีก 4–5 ปีข้างหน้า รถไฟความเร็วสูงจะช่วยพลิกเศรษฐกิจไทยได้อย่างเหลือเชื่อเลยทีเดียว.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44805
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/12/2012 1:15 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งประมูลรถไฟความเร็วสูง
บ้านเมือง 29 ธ.ค. 55

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า ได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รวมถึงบริษัทที่ปรึกษา ศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรถไฟความเร็วสูงทั้ง 3 เส้นทาง ที่ สนข.ได้ว่าจ้าง เพื่อให้ทราบถึงแนวคิดและนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการเร่งรัดให้เปิดประกวดราคาได้ก่อนไตรมาส 2 ปี 2556 โดยจะมีการประกวดราคางานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) และรถไฟความเร็วสูงได้ก่อน จากนั้นจึงจะประกวดราคาก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาภายหลัง เนื่องจากตัวระบบรถไฟจะเป็นตัวกำหนดว่าจะก่อสร้างโครงสร้างอย่างไร จึงไม่มีปัญหา โดยให้ สนข.ทำ short list รายชื่อผู้ผลิตระบบและรถไฟความเร็วสูงเพื่อเปิดประมูลได้เลย

นอกจากนี้ ได้มีการหารือถึงเทคนิคของการก่อสร้างว่ามีปัญหาตรงจุดไหนอย่างไร ประกอบด้วย จุดตัดกับถนนจะมีความสูงเท่าไร, เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน จะเชื่อมต่อกับแอร์พอร์ตลิงค์อย่างไร, การปรับแบบสถานีกลางบางซื่อเพื่อใช้ร่วมกับรถไฟสายสีแดง, เส้นทางตะวันออกเฉียงเหนือ จากหนองคายมาถึงแก่งคอยจะเบี่ยงเส้นทางไปท่าเรือแหลมฉบังอย่างไร, เส้นทางลงใต้จะเลือกแนวผ่านทางจังหวัดนครปฐม หรือสมุทรสาคร

“ตอนนี้ให้แนวคิดและนโยบายของท่านนายกฯ ซึ่งเร่งรัดให้เปิดประมูลระบบรถไฟภายในไตรมาส 2 ปี 56 เพราะระบบรถไฟความเร็วสูงจะมีขั้นตอนน้อยกว่าการก่อสร้างเส้นทางไม่ต้องรอผ่าน EIA และตัวระบบก็จะเป็นตัวกำหนดว่าจะก่อสร้างเส้นทางอย่างไรด้วย ส่วนที่ปรึกษาให้มาร่วมฟังแนวทางของภาครัฐด้วยเพื่อไปศึกษาออกมาให้สอดคล้อง โดยจะประชุมติดตามความคืบหน้าทุกๆ 2 สัปดาห์ และจะสรุปความชัดเจน มีโรดแมพทั้งกรอบการทำงาน และรายละเอียดต่างๆ ของโครงการรายงานนายกฯ ภายใน 1 เดือน หลังจากที่ได้รับนโยบาย เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนการประกวดราคาจะเป็นนานาชาติ (International Bid) โดยบริษัทผู้ผลิตรถไฟความเร็วสูงทั่วโลกมีหลายราย เช่น บริษัท ฮิตาชิ จำกัด, ชนคันเซ ของญี่ปุ่น ชินคันเซ็น ของญี่ปุ่น, บริษัท CNR และ CSR ของจีน, บริษัท อัลสตอม เอส.เอ ของฝรั่งเศส, บริษัท ซีเมนส์ เอจี ของเยอรมัน เป็นต้น” นายชัชชาติ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44805
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/01/2013 11:19 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงของไทย - ถึงเวลาแล้วหรือ
เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 5 มกราคม 2556 เวลา 14:09 น.

รถไฟความเร็วสูงของสหรัฐอเมริกาเลยเวลามากแล้ว

น่าชื่นชมที่ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ได้ออกมาให้การสนับสนุนการขนส่งระบบรางรถไฟความเร็วสูงอย่างเต็มที่ โดยให้ความเห็นไว้อย่างกะทัดรัด ว่า “ Imagine boarding a train in the center of the city. No racing to an airport and across a terminal, no delays, no sitting on the tarmac, no lost luggage, no taking off your shoes. Imagine whisking through towns at speed over 100 miles an hour, walking only few steps to public transportation, an ending up just few blocks from your destination. Imagine what a great project that would be, to rebuild America”… ถอดเป็นไทยได้ความว่า ..ลองจินตนาการดู ว่า.. ถ้าเราขึ้นรถไฟได้ในเมือง ไม่ต้องเร่งรีบฝ่าการจราจรบนถนนไปสนามบิน ถึงสนามบินแล้วต้องเดินผ่านในอาคารข้ามไปประตูทางออกเพื่อขึ้นเครื่อง.. ไม่ต้องห่วงเรื่องเครื่องบินเสียเวลา.. ไม่ต้องนั่งรอขึ้นเครื่องที่ลานกลางสนามบิน.. ไม่ต้องห่วงเรื่องกระเป๋าจะเดินทางไปผิดที่.. ไม่ต้องถอดรองเท้าเพื่อรับการตรวจความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่องของสายการบิน.. และลองคิดดูถึงการเดินทางผ่านแต่ละเมืองด้วยความเร็ว ๑๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลงจากรถไฟเดินต่ออีกหน่อยไปต่อระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ให้พาไปใกล้จุดหมายปลายทางของเรา ลองคิดดูว่าจะเป็นโครงการยิ่งใหญ่ที่น่าสนใจขนาดไหน ที่เราจะมาสร้างอเมริกากันใหม่ ...

ตัวชี้วัดที่เป็นมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการขนส่ง คือระยะทาง ใกล้ หรือ ไกล และ ระยะเวลาของการเดินทาง พาหนะที่ใช้ในการเดินทาง เช่น เครื่องบิน รถยนต์ส่วนบุคคล รถโดยสารประจำทาง รถไฟ และแม้กระทั่งการเดินด้วยเท้า ก็สามารถพาเราไปสู่จุดหมายปลายทางได้ ปัจจัยและความสามารถทางเศรษฐกิจนี้จะบ่งระบุถึงชนิดของการเดินทาง ในขณะที่รถยนต์จะทำให้การเดินทางเป็นส่วนตัว ไปได้ทุกแห่งที่มีถนนถึง ทางเครื่องบินจะทำให้เดินทางไปไกลรวดเร็วได้ดี แต่หลังจากเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายที่นครนิวยอร์ก ทำให้เกิดความกลัว ต้องตรวจเข้ม ไม่สะดวกต่อผู้โดยสาร ทำให้ลดปริมาณลง หลายคนมองหาทางเลือกอื่น เช่นรถไฟความเร็วสูง ซึ่งยังไม่มีเกิดขึ้นจริงในสหรัฐอเมริกา นอกจากสายเฉลียงตะวันออกเฉียงเหนือ (North East Corridor, NEC) ที่ใช้ความเร็วไม่มากนัก มีเส้นทางที่เชื่อมระหว่างกรุงวอชิงตัน และ นครบอสตัน ผ่านชุมชนหนาแน่นของบัลติมอร์ ฟิลาเดลเฟีย และ นิวยอร์ก ขนผู้โดยสารมีปริมาณมากกว่าผู้โดยสารเครื่องบินทั้งหมดรวมกัน ให้บริการโดยบริษัทแอมแทร็ก (Amtrak) ให้ชื่อว่า อเซล่าเอกซ์เพรส (Acela Express) มีความยาวประมาณ ๗๔๐ กิโลเมตร รวมประชากรตามเส้นทางเกือบ ๕๐ ล้านคน รถไฟสายนี้เป็นทางเลือกสำหรับการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล และการเดินทางทางอากาศ เพราะการจราจรที่หนาแน่นทั้งบนทางด่วนระหว่างรัฐและการจราจรทางอากาศที่เที่ยวบินต้องเสียเวลาเป็นประจำ เส้นทางสายนี้เปิดโอกาสให้รถไฟสายอื่นใช้รางร่วมกันหลายบริษัท มี ๓๐ สถานี แต่สำหรับรถไฟอเซล่าเอกซ์เพรสจะจอดประมาณ ๑๖ สถานีเท่านั้น เพราะปัจจัยของการรักษาเวลาและความเร็วให้สมดุลกับระยะทาง อเซล่าเอกซ์เพรสเปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ค.ศ. ๒๐๐๐ หลังรถไฟความเร็วสูงของฝรั่งเศส ๓๐ ปี และหลังญี่ปุ่นเกือบ ๖๐ ปี ใช้รางกว้างสี่ฟุตแปดนิ้วครึ่งซึ่งเป็นขนาดมาตรฐาน ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า มีความเร็วสูงสุด ๒๔๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมงในระยะสั้นๆ ด้วยสภาพของราง เฉลี่ยความเร็วเได้เพียง ๑๒๖ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากนครนิวยอร์กถึงกรุงวอชิงตัน ๒ ชั่วโมง ๔๘ นาที และจากนครนิวยอร์กถึงบอสตันมากกว่า ๓ ชั่วโมง ถือว่ายังไม่เข้าข่ายของรถไฟความเร็วสูง ต้องใช้งบประมาณในการปรับปรุงอีกมาก

แต่ละรัฐให้นิยามความเร็วสูงของรถไฟแตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น ในรัฐกลางๆ ด้านตะวันตก (Midwest) มีโครงการจะปรับปรุงระบบรางของบริษัทยูเนี่ยนแปซิฟิค (Union Pacific Railroad) ระหว่างเมืองชิคาโก้และเซ็นหลุยส์ (Chicago – St. Louis) ต้องการงบจากรัฐบาลกลางและของรัฐอิลลินอยส์รวมแล้วประมาณหนึ่งพันล้านเหรียญ ($ 1.1 billion) โครงการนี้จะสามารถปรับปรุงรางให้วิ่งได้เร็วขึ้นจากเดิม ๑๒๖ กิโลเมตรเป็น ๑๗๖ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รัฐเพ็นซิลเวเนีย มีโครงการที่จะปรับปรุงระบบรางระหว่างแฮริสเบอร์ก และ ฟิลาเดลเฟีย (Harrisburg and Philadelphia) ให้วิ่งได้เร็วถึง ๑๗๖ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
โครงการเส้นทางระหว่างเมืองลาสเวกัส และ เมืองวิคเตอรวิลล์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้รับชื่อใหม่ว่า เอกซ์เพรสเวสต์ (Xpress West) อยู่ในระยะออกแบบตามเส้นทางสาย ๑๕ (I-15 Corridor) ระหว่างรัฐแคลิฟอร์เนียและเนวาด้า มีแผนว่าจะต้องหาเงินประมาณ ๖.๕ พันล้านเหรียญ เพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ๒๔๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
มีอีกหลายโครงการของแต่ละภูมิภาค เช่น ระเบียงเลียบฝั่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ (Pacific Northwest Corridor) เชื่อมต่อระหว่างเมืองยูยีน เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ไปยังเมืองซีแอตเติ้ล ในรัฐวอชิงตัน และเลยไปถึงเมืองแวนคูเว่อร์ในประเทศแคนาดา
โครงการภาคใต้ตอนกลาง (South Central Corridor) เชื่อมเมืองทัลซ่า โอคลาโฮม่าซิตี้ เข้ากับเมืองดัลลัส - อ๊อสติน - ซานแอนโทนิโอ รัฐเท๊กซัส และ เมืองลิตเติ้ลร๊อก รัฐอาร์แคนซอร์

ยังมีอีก ประมาณ ๕ โครงการใหญ่ๆ ของแต่ละภูมิภาค หลายรัฐ ที่อยู่ในระหว่างยื่นขอรับพิจารณาการช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง
ส่วนโครงการเส้นทางเหนือ - ใต้ ของรัฐฟลอริด้าที่ได้วางแผนกันมานานนั้นได้ถูกยับยั้งไว้โดยผู้ว่าการรัฐ ด้วยเห็นว่าจะไม่คุ้มราคาค่าลงทุน และ จะเป็นภาระของรัฐในอนาคต
ที่เป็นรูปธรรมที่สุดคงได้แก่โครงการรถไฟความเร็วสูงของรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งจะเริ่มลงมือก่อสร้างในต้นปี ค.ศ. ๒๐๑๓ นี้
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๐๘ ประชาชนของรัฐแคลิฟอร์เนียได้ลงมติอนุมัติให้รัฐออกพันธบัตรเงินกู้ ๙.๙๕ พันล้านเหรียญ ($ 9.95 billion Bond Measure) เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระหว่างแซกคราเมนโต้ (Sacramento) เมืองหลวงของรัฐ อยู่ทิศเหนือ และ ซานดิเอโก้ (San Diego) ซึ่งเป็นเมืองอยู่ใต้สุดติดกับประเทศเม็กซิโกของแคลิฟอร์เนีย โดยมีหน่วยงานตั้งใหม่ชื่อการรถไฟความเร็วสูงของรัฐแคลิฟอร์เนีย( California High Speed Rail Authority, CHSRA) เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการ ล่าสุดรัฐบาลกลางได้อนุมัติเงิน ๓.๕ พันล้านเหรียญ เพื่อสมทบกับงบประมาณของรัฐแคลิฟอร์เนีย ๒.๕ พันล้าน สำหรับการเริ่มต้นก่อสร้างเฟสแรก (Phase 1) ในเขตหุบเขากลาง (Central Valley) เมืองเฟรสโน่ - เมอร์เซด และ เบกเก้อร์ฟิลด์ (Fresno - Merced – Bakersfield) เป็นระยะทางประมาณ ๓๓๐ กิโลเมตร เมื่อเสร็จทั้งหมดของโครงการ เส้นทางนี้จะให้บริการชุมชนใหญ่ๆ ของระเบียงจราจรของรัฐ (California Traffic Corridor) รวมทั้ง ซานฟรานซิสโกเบแอเรีย ลอสแองเจลีสและปริมณฑล เชื่อมระหว่างชุมชนเศรษฐกิจเหนือ และ ใต้ ของรัฐแคลิฟอร์เนีย
ในภาพรวม รถไฟความเร็วสูงของสหรัฐอเมริกา ล้าหลัง ยุโรป และ เอเชีย อยู่มาก ล่าสุดของประเทศจีนได้ลงทุนมหาศาล เร่งพัฒนารถไฟความเร็วสูง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในทศวรรษหน้า

รถไฟความเร็วสูงของจีน

เมื่อ วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น. การรถไฟของจีนได้ปล่อยขบวนรถไฟความเร็วสูงจากชานชาลาที่สถานีกรุงปักกิ่งออกไปสถานีเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง เป็นระยะทางประมาณ ๒๒๙๘ กิโลเมตร ยาวกว่าครึ่งของประเทศ ถือว่าเป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่ยาวที่สุดในโลก วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด ๓๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาถึงปลายทาง ๘ ชั่วโมง จากเดิม ๒๐ ชั่วโมงของรถไฟธรรมดา ใช้รถ ๑๕๕ คู่ขบวนต่อวัน เป็นสายหลักหนึ่งในสี่ของเส้นทาง เหนือ-ใต้ ของรถไฟความเร็วสูง นอกเหนือไปจากสายหลักอีกสี่สายในเส้นทาง ตะวันตก -ตะวันออก รวมทั้งที่กำลังก่อสร้างจวนเสร็จ ระหว่าง เมืองเช็งโจว และ ซูโจว (Zhengzhou – Xuzhou) ซึ่งจะมาตัดกับสายปักกิ่ง - กว่างโจว และ จะตัดกับ สายปักกิ่ง – เซี่ยงไฮ้ ที่เปิดเดินรถเมื่อเดือนมิถุนายน สองปีที่แล้ว จีนได้กำหนดไว้ในอีกสามปีข้างหน้าใน ค.ศ.๒๐๑๕ ว่า จะต้องมีรถไฟความเร็วสูงซึ่งวิ่งด้วยความเร็วระหว่าง ๒๕๐ ถึง ๓๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นระยะทาง ๑๘,๐๐๐ กิโลเมตร และ จะมีเส้นทางของรถไฟความเร็วปานกลาง ซึ่งวิ่งเร็วประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นระยะทางทั้งหมดไม่น้อยกว่า ๔๐,๐๐๐ กิโลเมตรเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศในภาพรวม

รถไฟความเร็วสูงของสหรัฐล้าหลังมาก

เหตุผลที่ทำให้สหรัฐอเมริกาไม่สามารถพัฒนารถไฟความเร็วสูงแข่งกับยุโรปและเอเชีย น่าจะมีดังต่อไปนี้

๑. ลักษณะทางภูมิศาสตร์และชุมชนประชากรของแต่ละพื้นที่ของยุโรปและเอเชีย มีความรวมตัวกันหนาแน่น (compact) ในพื้นที่ ที่ใกล้เคียงกัน แต่พื้นที่สหรัฐอเมริกากระจายอยู่ห่างกันออกไปไกลกัน (sprawling) คุ้มค่าในการลงทุนต่างกัน

๒. ระบบการสนับสนุนงบประมาณต่างกัน ทั้งเอเชียและยุโรปมีภาครัฐช่วยรับผิดชอบสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินรถรับส่งผู้โดยสาร (operations subsidy) รัฐบาลจีนลงทุนกว่า สามล้านล้านบาท ($100 billion) เพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะทาง ๓๒๐๐ กิโลเมตร รัฐบาลฝรั่งเศสลงทุน หนึ่งแสนห้าหมื่นล้านบาท ($ 5 billion) เพื่อสร้างสายปารีส สตราสเบอร์ก (Paris – Strasbourg) ผ่านชนบทและทุ่งนา และ รัฐบาลไต้หวันลงทุนกว่าสองแสนเจ็ดหมื่นล้านบาท ($ 9 billion) เพื่อสร้างสายไทเป – เกาชุง (Taipei – Kaohsiung) ซึ่งมีระยะทางเพียง ๓๔๕ กิโลเมตร

๓. จากการคำนวณใน ค.ศ. ๒๐๐๖ ประมาณการลงทุนของรัฐบาล ในประเทศอ๊อสเตรีย เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน และอังกฤษ ซึ่งรวมประชากรได้ ๒๖๙ ล้านคน เทียบกับสหรัฐอเมริกาซึ่งมีประชากร ๓๐๙ ล้านคน หลายประเทศเหล่านั้นใช้เงินของรัฐรวมกันกว่าหนึ่งล้านสองแสนหกหมื่นล้านบาท ($ 42 billion) เพื่อสนับสนุนเฉพาะระบบรางและรถไฟความเร็วสูง ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐให้งบประมาณ หนึ่งล้านหกแสนห้าหมื่นล้านบาท ($ 55 billion) เพื่อสนับสนุนงานขนส่งทุกชนิดของการบิน การขนส่งทางอากาศ รถเมล์ รถไฟ รถไฟฟ้า ถนน และ การขนส่งคมนาคมทุกชนิด นับว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับยุโรป

๔. ภาษีน้ำมันเชื้อเพลิงในยุโรปสูง เพิ่มค่าใช้จ่ายของผู้มีรถยนต์ส่วนบุคคล และ การเดินทางโดยรถยนต์ทำให้ประชาชนหันมาใช้ระบบราง

๕. มาตรฐานความปลอดภัยของตัวรถและอุปกรณ์ (crashworthiness standards) ของยุโรปและเอเชียต่ำกว่าของสหรัฐอเมริกา ทำให้ตู้โดยสารเบา ราคาถูกกว่าในต้นทุนการผลิตอุปกรณ์ และการเดินรถ

ปัญหารถไฟความเร็วสูงของไทย

๑. ขาดบุคลากรที่เข้าใจ มีทักษะในการออกแบบ บริหาร จัดการ งานก่อสร้าง วิศวกรรม การเดินรถ ทั้ง งานวิศวกรรมโยธา เครื่องกล ไฟฟ้า สื่อสาร การควบคุมอัตโนมัติ ความปลอดภัย ของระบบรางและรถไฟฟ้า โดยเฉพาะของรถไฟความเร็วสูง ขาดความสามารถที่จะพัฒนา กำหนด เขียนสเป็กส์ข้อจำกัด ในสิ่งที่ต้องการ (specifications) ให้เหมาะกับความต้องการของประเทศไทย การลอกแบบของต่างชาติ เช่นของญี่ปุ่น และ จีน จะบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ ขาดสิ่งต้องการเฉพาะตัวที่เหมาะสมกับท้องถิ่น เช่น อุณหภูมิ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม (customization)

๒. ไม่มีอะไรได้มาเปล่าๆ (no free lunch) ไทยจะต้องเสียค่าตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นฝ่ายขาดทุน ตัวอย่าง การผูกขาดบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ ตัวรถ ระบบต่างๆ ของรถไฟฟ้าของบีทีเอส และ ของบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพที่ให้บริการรถไฟใต้ดินในปัจจุบัน เป็นรายเดียวกัน ผูกขาดราคา ปราศจากคู่แข่ง ทำให้ลูกค้าเป็นฝ่ายเสียเปรียบ

๓. เงินลงทุน ยังไม่ปรากฏแหล่งของเงินลงทุน สามแสนล้านบาทของสายกรุงเทพ เชียงใหม่ ๗๐๐ กิโลเมตร และ ประมาณสองแสนล้านบาทของสายกรุงเทพ หนองคาย ระยะทาง ๖๐๐ กิโลเมตร เพื่อความเร็วสูง ๒๐๐ - ๓๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เงิน ห้าแสนล้านบาทนี้เป็นหนี้สาธารณะที่ประชาชนไทยรวมลูกหลานที่เกิดใหม่ทุกคน ต้องช่วยและแบ่งกันรับผิดชอบ ไม่เคยปรากฏว่าที่ประเทศไหนในโลก เก็บค่าโดยสารของรถไฟความเร็วสูงคุ้มกับการลงทุน

๔. ค่าโดยสารต่อคนต่อกิโลเมตรที่คำนวณไว้ล่วงหน้านั้น เป็นการคาดการณ์ ไม่เคยใช้ได้จริง โดยเฉพาะในระยะเวลาที่เศรษฐกิจของทุกประเทศผันผวนไม่แน่นอน มีแนวโน้มที่จะเลวลงกว่าที่เป็นอยู่ เพราะระบบทุนนิยมของทุกประเทศเชื่อมต่อกันเป็นลูกโซ่ที่มีโอกาสล้มตามกัน สำหรับเศรษฐกิจของไทยถดถอยมาก เป็นผลจากนโยบายประชานิยมของรัฐบาล

๕. คิดใหม่ ถ้าไทยยังไม่ต้องการรถไฟความเร็วสูง ยังไม่ต้องสร้าง เพื่อลดภาระของหนี้สิน ทุกประเทศทั้งโลกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขาดเงินคงคลัง งบขาดดุล ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป รวมทั้งญี่ปุ่น และ ประเทศจีนเอง เป็นเวลาที่ไม่เหมาะสมสำหรับโครงการใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนมาก หากจะคำนึงถึงเศรษฐกิจพอเพียง ใช้เงินเพียงร้อยละสิบของค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงมาปรับปรุงระบบรางที่มีอยู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ออกแบบใหม่ วางแผนใหม่ ให้มีเสถียรภาพ ที่เชื่อถือได้ เป็นระบบรางคู่กว้าง ๑ เมตรเช่นเดิม เพิ่มรางหลีก รางสวน เป็นระยะ ใช้ไฟฟ้าขับเคลื่อน เพิ่มประสิทธิภาพของคน รวมทั้งการบริหารจัดการ เดินรถ ให้สะดวก ปลอดภัย อาจเพิ่มความเร็วได้อีกเท่าตัว ลดเวลาของการเดินทาง ปรับระบบการรับส่งต่อให้กระจายไปทุกพื้นที่ จะเพิ่มคุณภาพของการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้าของระบบรางซึ่งมีต้นทุนต่ำ เป็นทางให้เลือก ในขณะที่ค่าน้ำมัน และ ราคาค่าขนส่งทางถนนโดยรถบรรทุกจะเพิ่มสูงขึ้นปราศจากเพดาน หากปรับปรุงการรถไฟได้ ความเจริญทางเศรษฐกิจและรายได้ของประชากรจะเพิ่มขึ้น อย่างแน่นอน ลองคิดดู

เรียบเรียงโดย นายสมเกียรติ พงษ์กันทา วิศวกรอิสระ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2013 7:24 pm    Post subject: Reply with quote

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เตรียมรองรับรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ- ภาชี เริ่มประกวดราคาปี 2556 คาดมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นปีละหลายหมื่นล้านบาท
ผู้สื่อข่าว : นิตยา หิรัญประดิษฐ์ / ส.ปชส.อยุธยา นิตยา หิรัญประดิษฐ์ / ส.ปชส.อยุธยา
Rewriter : นภสร แก้วคำ(2) / สวท.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์
วันที่ข่าว : 6 มกราคม 2556

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เตรียมรองรับรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ- ภาชี เริ่มประกวดราคาปี 2556 คาดมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นปีละหลายหมื่นล้านบาท นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางจังหวัดฯ ได้เตรียมรถราง และรถตุ๊ก สัญลักษณ์ของจังหวัด เพิ่มขึ้นจากเดิม คอยรับส่งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่จะใช้บริการรถไฟความเร็วสูง ตามที่รัฐบาลมีโครงการก่อสร้าง เป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงตลาดการค้า ระหว่างกลุ่มประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนเสนอให้ไทยก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรก คือเส้นทางจาก กรุงเทพ — บ้านภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมระยะทาง 54 กิโลเมตร เป็นโครงการนำร่อง เพื่อทดสอบระบบและใช้ระยะเวลาเดินทาง ประมาณ 10 นาที ด้วยค่าบริการ 135 บาท ซึ่งจะมีการประมูลราคาผู้รับเหมาในในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 หากดำเนินการแล้วเสร็จจะรองรับการจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ระหว่างการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมโลก

นายวิทยา ผิวผ่อง กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-ภาชี เปิดให้บริการ คาดหวังว่าจะมีเงินสะพัดเพิ่มจากเดิมปีละหลายหมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปประเทศไทยมีเป้าหมายก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเพิ่มอีก 4 สาย ประกอบด้วย สายเหนือ สายตะวันออก สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44805
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/01/2013 6:02 am    Post subject: Reply with quote

^^^
กรุงเทพ-อยุธยา 10 นาที ต่อให้เป็นชินคันเซ็นโนโซมิ ก็ทำได้ยากครับ Rolling Eyes
----

สนข.เร่งสรุประบบรถไฟความเร็วสูงปีนี้ต้องรู้ชินคันเซนจากญี่ปุ่นหรือระบบอื่นคาดต้นปี'57เปิดประมูล-คมนาคมทุ่มงบลงอีสาน
Monday, 07 January 2013 05:20
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

โพสต์ทูเดย์ -"คมนาคม" คาดปี 2556 จัดหาระบบรถไฟความเร็วสูงได้ พร้อมตัดสินใจลุยงานก่อสร้างได้ทุกเส้นทาง

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในปี 2556 กระทรวงคมนาคมจะเร่งหาระบบก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงได้ จะทำให้โครงการดังกล่าวสามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ในทุกเส้นทางตามแผนที่ได้วางไว้เพราะตัวระบบเป็นตัวแปรหลักในการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง

"หากเราสามารถตัดสินใจเลือกระบบการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงได้ว่าจะใช้ระบบไหน เช่น เลือกระบบรถไฟความเร็วสูงของชินคันเซน ญี่ปุ่น ก็จะช่วยเป็นแนวทางในการวางแผนงานหลักและเดินหน้าก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงให้เชื่อมโยงกันได้ทุกสายทางตามแผนงานที่วางไว้ทั้ง 4 สายทาง" นายจุฬา กล่าว

นายจุฬา กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ระบบเป็นตัวชี้วัดในการก่อสร้าง ซึ่งไทยจะต้องเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ ที่มีระบบรถไฟความเร็วสูงแข่งขันกันเสนอว่า ระบบใดที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับไทยมากที่สุด โดยอาจจะเสนอมาเป็นแพ็กเกจและให้ไทยพิจารณารายละเอียดที่เกี่ยวข้อง คาดว่า ภายในปี 2556 นี้ ไทยจะได้ระบบรถไฟความเร็วสูง

ทั้งนี้ ขั้นต่อไปจึงจะมีการเปิดประกาศประกวดราคาหาผู้รับเหมาแบบนานาชาติเช่น ได้ระบบชินคันเซน จะนำโครงสร้างของระบบดังกล่าวมาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมกับเปิดรับฟังความเห็นของประชาชน และคาดว่าในปลายปี 2556-ต้นปี 2557 จะเริ่มก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงได้อย่างเต็มรูปแบบ

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง คือ
1.กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 328 กิโลเมตร
2.กรุงเทพฯ-พัทยา ระยะทาง 187 กิโลเมตร
3.กรุงเทพฯนครราชสีมา ระยะทาง 256 กิโลเมตร และ
4.กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมช.คมนาคม กล่าวว่า โครงการที่จะเกิดขึ้นในปี 2556 ในสายภาคอีสาน ประกอบด้วย 1.โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอินนครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตรงบประมาณก่อสร้าง 6.4 หมื่นล้านบาทซึ่งจะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม.ประมาณเดือน ก.พ.นี้ ใช้เวลา 4 ปีก่อนสร้างแล้วเสร็จ

นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีโครงการสำรวจแนวเส้นทางรถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมาช่วงแรก ซึ่งต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ส่วนการเวนคืนจะน้อยมาก เพราะเป็นที่ดินและเป็นสมบัติของการรถไฟฯ

ด้านโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และสายกรุงเทพนครสวรรค์ ได้เปรียบเทียบผลการศึกษาของฝ่ายจีนกับญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่ารถไฟความเร็วสูงจะสรุปได้ประมาณปี 2557

รมช.คมนาคม กล่าวอีกว่า อีกโครงการหนึ่งคือโครงการถนนวงแหวนรอบตัวเมืองนครราชสีมาก่อสร้างไปได้แล้วประมาณ20% และ 3.ศูนย์ซ่อมสร้างเครื่องบินซึ่งจะใช้ท่าอากาศยานนครราชสีมา หรือสนามบินหนองเต็ง อ.เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งโครงการเหล่านี้จะใช้งบประมาณเป็นแสนล้านบาทแล้ว ทั้งนี้รัฐบาลมีโครงการจะทำเมกะโปรเจกต์ทั่วประเทศ โดยงบประมาณหลักๆ อยู่ที่กระทรวงคมนาคมไม่ว่าระบบราง ระบบขนส่งทางน้ำ หรืออากาศ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44805
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2013 11:53 am    Post subject: Reply with quote

'ประภัสร์'หวังรฟท.ร่วมบริหารไฮสปรีดเทรน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 12 มกราคม 2556 11:02

"ประภัสร์"หวังพารฟท.ร่วมบริหารรถไฟความเร็วสูง เผยตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาความพร้อม วอนอย่าเอาผลขาดทุนรถไฟมาบั่นทอนความเชื่อมั่น

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการศึกษาความพร้อมของ รฟท.ในการบริหารจัดการรถไฟความเร็วสูง ตามที่ได้รับมอบหมายจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ไปศึกษาความพร้อมของ รฟท.ในเรื่องดังกล่าวว่าขณะนี้ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาศึกษาความพร้อมเรื่องนี้คาดว่าใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 1 - 2 เดือน โดยเฉพาะ รวมทั้งได้กระตุ้นให้มีการศึกษาความรู้เรื่องของรถไฟความเร็วสูงภายในองค์กรด้วย เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงเป็นเทคโนโลยีใหม่หากในอนาคต รฟท.จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับโครงการนี้ ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมภายในองค์กรให้ดีที่สุด

"เราหวังว่าจะมีส่วนร่วมในโครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะถือว่าโครงการนี้เป็นโครงการสำคัญ ส่วนเรื่องจะได้เป็นหน่วยงานในการบริหารจัดการรถไฟความเร็วสูงหรือได้เป็นผู้รับผิดชอบในส่วนการเดินรถหรือไม่ขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้ แต่ก็มีการเตรียมความพร้อมในองค์กรเรื่องความรู้ที่เกี่ยวข้องกับรถไฟความเร็วสูงไว้ก่อน" นายประภัสร์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าในเรื่องภาพลักษณ์ของรฟท.ที่ประสบภาวะขาดทุนอย่างมาก จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนหรือไม่หาก รฟท.เป็นผู้บริหารรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ผู้ว่าการ รฟท.กล่าวว่าอยากให้ประชาชนทำความเข้าใจว่าการขาดทุนของการรถไฟในอดีตนั้นมาจากปัจจัยใดบ้าง โดยส่วนใหญ่ก็คือการที่ไม่ได้รับการพัฒนาจากภาครัฐ รวมทั้งไม่ได้รับอนุญาติให้ปรับขึ้นค่าโดยสาร ซึ่งการขาดทุนของการรถไฟมาจากการดำเนินการตามนโยบายภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ แม้แต่ค่าโดยสารก็ไม่ได้รับการปรับราคามาเป็นระยะเวลานานมาก โดยมีการปรับราคาครั้งสุดท้ายตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งขณะนั้นราคาน้ำมันเบนซินยังมีราคาไม่ถึงลิตรละ 10 บาท

“รถไฟเป็นองค์กรที่ตั้งมานาน แต่ลองไปดูในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯตั้งแต่ฉบับแรกจะเห็นว่ารถไฟเป็นส่วนที่ถูกละเลย พูดได้ว่าการขนส่งทางรางของประเทศถูกละเลยมานานหลายสิบปี การพัฒนาการคมนาคมของประเทศส่วนใหญ่เน้นไปที่การพัฒนาถนน จนตอนนี้ราคาเชื้อเพลิงแพงขึ้นเรื่อยๆ ก็มีการพูดถึงการคุ้มทุนในการขนส่ง ต้นทุนทางโลจิสติกส์ที่ต่ำลงจึงต้องหันกลับมาพัฒนารถไฟกันอีกครั้งซึ่งเมื่อถูกละเลยไปนานการกลับมาพัฒนาก็ต้องมีปัญหาซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา ซึ่งมั่นใจว่าทำได้เพราะคนรถไฟมีศักยภาพ” นายประภัสร์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามความคืบหน้าการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงและโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยรัฐบาลมีแผนที่จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงใน4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพ - เชียงใหม่ กรุงเทพ - หนองคาย กรุงเทพ - ระยอง และกรุงเทพ - หิวหิน โดยนายกรัฐมนตรีได้เร่งให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเริ่มต้นการเปิดประมูลภายในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยขณะนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมในการประมูล เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) รวมทั้งการวางแผนบริหารจัดการการเดินรถของโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยมีรูปแบบที่ศึกษา ได้แก่ การให้ รฟท. เป็นผู้บริหาร ตั้งบริษัทลูกของ รฟท.ขึ้นมาบริหารโดยเฉพาะโดยอาจเป็นรูปแบบรัฐวิสาหกิจ หรือตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่และให้รัฐบาลบริหารงานร่วมกับเอกชน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 129, 130, 131 ... 548, 549, 550  Next
Page 130 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©