RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311303
ทั่วไป:13278079
ทั้งหมด:13589382
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 131, 132, 133 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/01/2013 1:02 pm    Post subject: Reply with quote

คลังเตรียมชง′ครม.′ผ่านกม.กู้2ล้านล้าน ลุยไฮสปีดเทรน4ภูมิภาค-ผุดรางคู่ทั่วปท.
มติชนออนไลน์ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 10:00:28 น.

เมื่อวันที่ 20 มกราคม นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังยังไม่ได้นำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร วันที่ 21 มกราคมนี้ ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่จะนำเสนอเกี่ยวกับกรอบยุทธศาสตร์การลงทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งจะพูดถึงความจำเป็นในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง เพื่อการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจ ส่วน พ.ร.บ.ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2 ล้านล้านบาท จะนำเสนอ ครม.พร้อมรายละเอียดของโครงการในการประชุมวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ทั้งนี้ โครงการลงทุนดังกล่าวจะมีทั้งโครงการหลักและโครงการสำรองรวมประมาณ 50-60 โครงการ

นายสมชัยกล่าวต่อว่า ในวันที่ 22 มกราคม น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการทั่วประเทศรับฟังการชี้แจงข้อมูลแนวทางการจัดทำงบประมาณปี 2557 พร้อมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจัดโดยกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อชี้ให้เห็นว่าผลที่เกิดขึ้นจากการลงทุนจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวปีละเท่าไหร่ และก่อให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก โดยจากผลการศึกษาเงินลงทุนทุก 1 แสนล้านบาท จะก่อให้เกิดการจ้างงานทั้งแรงงานมีฝีมือและไร้ฝีมือรวม 8 หมื่นคน

นายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า แผนการลงทุนภายใต้ร่างกฎหมายลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2 ล้านล้านบาทดังกล่าว เบื้องต้นประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 4 ภูมิภาค คือ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน ใช้เงินลงทุนประมาณ 5 แสนล้านบาท ส่วนโครงการอื่นๆ เช่น การขยายรถไฟรางคู่ทุกเส้นทางทั่วประเทศ โครงการทางหลวงมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา รวมถึงโครงการรถไฟฟ้า 10 สายในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/01/2013 6:24 am    Post subject: Reply with quote

สนข.เปิดเวทีรับฟังความเห็นคน 5 จังหวัดเหนือตอนล่าง เดินเครื่องรถไฟความเร็วสูง กทม.-พิษณุโลก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มกราคม 2556 18:29 น.

พิษณุโลก - สนข.เปิดเวทีระดมสมองออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ระบุสถานีพิษณุโลกใหญ่รอง กทม. เอื้อศูนย์กลางสี่แยกอินโดจีน มั่นใจเป็นแม่เหล็กดูดนักลงทุนเพียบ

วันนี้( 21 ม.ค.) นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่โรงแรมเรือนแพรอยัลพาร์ค จ.พิษณุโลก เพื่อแนะนำโครงการ ชี้แจงรายละเอียด รวมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากหน่วยงานราชการ กลุ่มผู้นำทางความคิด ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ ตัวแทนภาคประชาชน และสื่อมวลชนใน จ.ลพบุรี จ.ชัยนาท จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร และ จ.พิษณุโลก ที่เข้าร่วมกว่า 300 คน ก่อนที่ สนข.จะได้นำข้อเสนอแนะมาประกอบการตัดสินใจก่อสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นายจุฬากล่าวว่า รัฐบาลเร่งพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางและการขนส่งให้เชื่อมโยงโครงข่ายภูมิภาคอาเซียน โดยกำหนดไว้ 4 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-หัวหิน และส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตเรลลิงก์สุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา ดำเนินงานโดยกระทรวงคมนาคม และมอบหมายให้ สนข. ศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก 1 ในเส้นทางเร่งด่วน เป้าหมายเพื่อเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง การขนส่งสินค้าที่ประหยัด รวดเร็ว ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

“การระดมความคิดเห็นวันนี้เพื่อรับทราบความต้องการของประชาชน เพราะพิษณุโลกถือว่าเป็นเป้าหมายของการสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง เป็นจุดดึงดูดนักลงทุนเข้ามาในพื้นที่ เป็นสถานีใหญ่รองจากกรุงเทพมหานคร นับเป็นเป้าหมายของการขยายตัวของเมืองในอนาคต ตอบสนองนโยบายทำให้พิษณุโลกเป็นเมืองบริการศูนย์กลางสี่แยกอินโดจีน”

นายจุฬากล่าวว่า เรื่องวิศวกรรมการออกแบบไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเลือกจุดที่ตั้งสถานีรถไฟต้องคำนึงถึงหลายเรื่อง เพราะรถไฟความเร็วสูงเป็นการบริการที่ใช้ความรวดเร็ว ระบบการจราจรเป็นเรื่องสำคัญ ขณะที่เส้นทางรถไฟจะต้องสร้างเพิ่มบนแนวเส้นทางเดิมที่ได้กันไว้แล้วสองข้างทาง 80 เมตร แต่อาจต้องเวนคืนพื้นที่สร้างรั้วกั้นแนวรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะ บางจุดอาจต้องสร้างสะพานยกระดับ ทางลอดลงอุโมงค์ใต้ติด ซึ่งเป็นรายละเอียดระยะต่อไป ขณะที่ความเร็วของรถไฟความเร็วสูงกำหนดไว้ที่ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

นายสาธิต มาลัยธรรม รองผู้จัดการโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก กล่าวว่า สนข.ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมโครงการ 3 สายทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-หัวหิน ล่าสุดได้กำหนดแนวเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้เขตทางรถไฟเดิมเพื่อหลีกเลี่ยงการเวนคืนที่ดินให้น้อยที่สุด รวมทั้งหาพื้นที่โดยรอบสถานีให้เพียงพอต่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ นำรายได้มาหล่อเลี้ยงกิจการเดินรถไฟ เหมือนกับรูปแบบในประเทศญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว

“ทางคณะได้ศึกษารูปแบบจากหลายประเทศ ต้นแบบมาจากญี่ปุ่น ซึ่งใช้รถไฟความเร็วสูงมา 50-60 ปีแล้ว จากนั้นได้ศึกษาจากประเทศฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ เกาหลี และจีน โดยประเทศจีนเริ่มมีรถไฟความเร็วสูงใช้เมื่อ 10 ปีนี้เอง ซึ่งในเชิงพาณิชย์รถไฟความเร็วสูงจะต้องวิ่งด้วยความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพราะคู่แข่งของรถไฟความเร็วสูงคือเครื่องบิน โดยเฉพาะเครื่องบินโลว์คอสต์ ซึ่งเส้นทางที่มีความยาว 600 กิโลเมตร รถไฟความเร็วสูงยังมีศักยภาพในการแข่งขันได้ แต่หากเกินกว่า 600 กิโลเมตรเครื่องบินยังได้เปรียบอยู่”

นายจุฬากล่าวว่า สำหรับอัตราค่าโดยสารจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ประเมินไว้เบื้องต้น 1,000-1,200 บาทต่อคน เมื่อเทียบค่าโดยสารเครื่องบินจะอยู่ที่ 2,000 บาท ขณะที่กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ อัตราค่าโดยสารรถไฟ 1,700-2,100 บาท เครื่องบินอยู่ที่ 2,200-3,000 บาท ซึ่งถูกเกือบครึ่งเมื่อเทียบกับเครื่องบิน ขณะที่ใช้เวลาถึงที่หมาย จ.พิษณุโลกประมาณ 2 ชั่วโมง หรือเชียงใหม่ 4 ชั่วโมงเท่านั้น”

“สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่จะใช้แนวรถไฟสายเหนือ แต่จะสร้างช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน ระยะทางประมาณ 382 กิโลเมตร เนื่องจากช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่จะผ่านภูเขาและคดเคี้ยว ต้องเจาะอุโมงค์เพื่อให้เส้นทางตรง จำเป็นต้องจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยเม็ดเงินที่จะนำมาลงทุนอยู่ในแผนการลงทุนของรัฐบาล ภายใต้ พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท จึงไม่มีปัญหาเรื่องแหล่งเงิน ซึ่งในกรอบวงเงินเดิมที่เคยประเมินไว้โดยรวมทั้ง 4 สาย ในเฟสแรกประมาณ 372,271 ล้านบาท แยกเป็นสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 121,014 ล้านบาท สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 96,826 ล้านบาท สายกรุงเทพฯ-หัวหิน 82,166 ล้านบาท และสายกรุงเทพฯ-ระยอง 72,265 ล้านบาท”

ดร.ดุษฎี สถิรเศรษฐทวี อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า จ.พิษณุโลกต้องการเป็นเมืองศูนย์กลางสี่แยกอินโดจีน รถไฟความเร็วสูงจะส่งผลให้พิษณุโลกเป็นฮับในภูมิภาคนี้ เป็นฮับในการกระจายการเจริญเติบโตสู่เมืองข้างเคียง นับเป็นโอกาสสำคัญของจังหวัด เพราะนอกจากความเจริญการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ด้านสังคมน่าจะดีขึ้นเพราะการเดินทางที่สะดวก คนทำงานกลับบ้านบ่อย ก็ทำให้เกิดความใกล้ชิดของคนในครอบครัวมีมากขึ้น ส่วนด้านการขนส่งสินค้าจะสามารถใช้ขนส่งสินค้าเบา มีมูลค่าสูง และต้องการความรวดเร็วในการขนส่งมากกว่า

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนชาวพิษณุโลกสนับสนุนให้รถไฟความเร็วสูงเกิดขึ้นโดยเร็ว แต่ก็อยากฝากถึงรัฐบาลพิจารณาเรื่องผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินด้วย ให้ถือว่าผู้ถูกเวนคืนคือผู้เสียสละ ควรได้รับค่าเวนคืนที่เหมาะสม อยากให้พิจารณาให้คนจน คนด้อยโอกาส ได้มีโอกาสใช้รถไฟความเร็วสูง ไม่ใช่สร้างเพื่อคนมีฐานะทางการเงินสูงเท่านั้น ควรพิจารณาอัตราค่าโดยสารไม่สูงเกินไป และฝากเรื่องการแก้ไขระบบขนส่งมวลชน และนโยบายนอกเหนือ คือเส้นทางจากภาคเหนือสู่ภาคอีสานด้วย

อย่างไรก็ตาม การระดมความคิดเห็นครั้งนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งจากนี้ไประยะเวลา 14 เดือนจะทำการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จากนั้นจะเริ่มก่อสร้างปลายปี 2556 ใช้เวลาก่อสร้างอีก 50 เดือน หากเป็นไปตามแผนคาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงได้ปลายปี 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/01/2013 6:15 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.คาดปี 61-62 รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่เกิด-เดินหน้าชี้แจง-รับฟังความเห็น
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 มกราคม 2556 17:47 น.

ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - สนข.จัดรับฟังความเห็นโครงการรถไฟความเร็วสูงที่เชียงใหม่ แจงเตรียมออกแบบภายใน เม.ย. ส่วนการก่อสร้างแบ่งเป็น 2 ระยะ “กรุงเทพฯ-พิษณุโลก/พิษณุโลก-เชียงใหม่” คาดปลายปี 61 ไม่เกินต้นปี 62 ได้ใช้แน่ รับต้องชี้แจงข้อมูล-รับฟังความเป็นละเอียดเพราะโครงการกระทบหลายด้านทั้งสิ่งแวดล้อม-วิถีชีวิต แต่เชื่อประชาชนเห็นด้วย

วันนี้ (22 ม.ค.56) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดให้มีการสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ขั้น ณ ห้องอิมพีเรียลบอลรูม โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษา รัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชนจากจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และสุโขทัยเข้าร่วม

การสัมมนารับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้มีขึ้นเพื่อนำเสนอแผนการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงและขอบเขตการดำเนินงานของโครงการ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน หลังจากที่รัฐบาลได้เตรียมที่จะเร่งรัดพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางและการขนส่งของประเทศ โดยกำหนดให้เส้นทางรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นหนึ่งในเส้นทางเร่งด่วน โดยในการสัมมนาได้มีการนำเสนอถึงศักยภาพของรถไฟความเร็วสูงและประโยชน์ต่างๆ ที่ตะได้รับจากการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง พร้อมทั้งชี้แจงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างและพัฒนาเส้นทางด้วย

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรกล่าวว่า การสัมมนาในครั้งนี้ถือเป็นการเปิดตัวให้ประชาชนได้รับทราบถึงแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาลเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงที่จะเริ่มเดินหน้าโครงการอย่างจริงจัง โดยรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก และระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ซึ่งจะเริ่มทำการออกแบบ ควบคู่ไปกับชี้แจงข้อมูลของโครงการและการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยในส่วนของเส้นทางระยะที่ 1 จะมีกระบวนการคัดเลือกผู้ออกแบบภายในเดือน มี.ค. และคาดว่าจะเริ่มปฏิบัติงานได้ในเดือน เม.ย. ที่จะถึงนี้

นายจุฬา กล่าวว่า การที่แยกเส้นทางออกเป็น 2 ระยะนั้น เนื่องจากเส้นทางช่วงตั้งแต่ จ.อุตรดิตถ์ถึง จ.เชียงใหม่นั้น เนื่องจากเส้นทางช่วงดังกล่าวจะเข้าสู่พื้นที่สูง จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการออกแบบ ดังนั้นจึงแยกเส้นทางออกเป็น 2 ระยะเพื่อความสะดวกในการดำเนินการ โดยรัฐบาลได้จัดตั้งงบประมาณผ่านพระราชบัญญัติที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังในการกู้เงินเพื่อนำมาใช้ดำเนินโครงการ ซึ่งได้ประมาณการงบประมาณทั้งระบบในเบื้อต้นไว้ที่ 378,000 ล้านบาท และคาดว่าภายในปลายปี 2561 หรือต้นปี 2562 รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่จะสามารถใช้งานได้ตลอดทั้งสาย

ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างนั้น นายจุฬากล่าวว่าจะมีทั้งการศึกษาเรื่องที่ตั้งของสถานีย่อย การออกแบบสถานีผู้โดยสาร รวมถึงระบบคมนาคมที่จะนำมารองรับในพื้นที่ต่อจากรถไฟความเร็วสูง ขณะที่ด้านการลงทุนนั้นก็มีทางเลือกหลายทาง ทั้งการลงทุถนโดยรัฐบาลเองทั้งหมด การลงทุนโดยเปิดให้ต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมหรือจะดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนในแง่ของการพัฒนาพื้นที่ใกล้เคียงกับสถานีรถไฟความเร็วสูง อย่างไรก็ตามการจะตัดสินใจเลือกแนวทางใดนั้นจะต้องพิจารณาจากการอออกแบบ ระบบของรถที่จะเลือกใช้ ผลประโยชน์ที่จะได้รับ รวมทั้งผลกระทบต่อประชาชน

นายจุฬา ระบุด้วยว่า ในส่วนของการจัดหารายได้นั้นจะไม่ได้ยึดเฉพาะรายได้จากค่าโดยสารเท่านั้น เนื่องจากค่าโดยสารเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอกับต้นทุนทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องมีการหารายได้จากการพัฒนาพื้นที่รอบๆ บริเวณสถานีรถไฟด้วย เพื่อที่จะสามารถควบคุมราคาค่าโดยสารไม่ให้สูงเกินกว่าที่ประชาชนส่วนใหญ่จะสามารถใช้บริการได้ ขณะเดียวกันการพัฒนาพื้นที่จะต้องคำนึงถึงเรื่องการเติบโตของเมืองควบคู่ไปกับการสร้างรายได้ด้วย

ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรกล่าวว่า การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องดังกล่าวนั้น สืบเนื่องจากหากมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง จะส่งผลกระทบทั้งต่อสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ที่เส้นทางรถไฟผ่าน ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นที่ จ.พิษณุโลกเมื่อวานนี้ (21 ม.ค.) พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการดังกล่าว เนื่องจากมองว่าจะส่งผลดีต่อประเทศในหลายๆ ด้าน โดยหลังจากนี้จะมีการลงไปชี้แจงข้อมูลถึงในระดับตำบลและหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง แม้ว่าจะถือเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรเพราะการก่อสร้างจะกระทบกับวิถีชีวิตของคนเป็นจำนวนมากก็ตาม

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีระยะทางประมาณ 680 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยรถไฟแต่ละเที่ยวจะสามารถขนผู้โดยสารได้ประมาณ 800 คน และมีสถานีตลอดเส้นทาง 12 สถานี ขณะที่ราคาค่าโดยสารในเบื้องต้นกำหนดไว้ที่ประมาณ 1,700-2,000 บาทต่อเที่ยวต่อคน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/01/2013 2:49 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ พร้อมประกวดราคาปลายปีนี้
มติชนออนไลน์ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 14:30:00 น.

พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนในโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ว่า ในเดือนสิงหาคมนี้จะเสนอข้อมูลให้คณะกรรมการผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนและจะเริ่มประกาศประกวดราคาได้ในช่วงปลายปี 2556 หรือต้นปี 2557 คาดว่าจะก่อสร้างได้ปลายปี 2557 โดยจะเริ่มก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน ใช้งบประมาณ 2.4 แสนล้านบาท เปิดให้บริการในปี 2561 ส่วนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ จะเริ่มก่อสร้างห่างจากระยะแรกเป็นระยะเวลา 1 ปี เปิดให้บริการในปี 2562 งบประมาณก่อสร้างทั้งเส้นทางอยู่ที่ 3.8 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว จะมีทั้งหมด 12 สถานี เช่น บางซื่อ ดอนเมือง และอยุธยา เป็นต้น โดยจะเป็นสถานีที่จอดตามจังหวัดต่างๆที่รถไฟความเร็วสูงผ่านเป็นหลัก รวมระยะทาง 680 กิโลเมตร ใช้ความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาจากต้นทางถึงปลายทาง 3 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสารจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก อยู่ที่ประมาณ 1,000 บาท จากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ไม่เกิน 2,000 บาท เฉลี่ยค่าบริการ 2.50 บาทต่อกิโลเมตร ซึ่งถูกว่าการนั่งเครื่องบินประมาณ 3 บาทต่อกิโลเมตร

พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง คือ 1.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 2.กรุงเทพฯ-หนองคาย ซึ่งจะเริ่มดำเนินการระยะแรกกรุงเทพฯ-นครราชสีมาก่อน 3.กรุงเทพฯ-หัวหิน และ4.กรุงเทพฯ-ระยอง จะใช้ระบบเดียวกัน 3 เส้นทาง ส่วนเส้นทางที่ 4 จะใช้ระบบเดียวกันกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ เพราะต้องเชื่อมโยงกัน โดยมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาในเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพราะการก่อสร้างส่วนใหญ่จะอยู่ตามแนวเป็นเส้นทางรถไฟที่ให้บริการปัจจุบันอยู่แล้ว

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวว่า ในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ตอน เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว เนื่องจากช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ เป็นช่วงที่ต้องทำอุโมงค์เป็นจำนวนมาก จึงอาจจะต้องใช้เวลา แต่มั่นใจว่าระยะเวลาการก่อสร้างจะห่างกันประมาณ 1-2 ปีเท่านั้น ส่วนกำหนดการเปิดบริการจะห่างกันประมาณ 1 ปี โดยในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ จะเริ่มประกวดราคางานระบบรถไฟก่อน เพื่อให้ทราบว่าจะต้องใช้ระบบไหน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มก่อสร้าง

ทั้งนี้ในส่วนของเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย จะใช้ความเร็วประมาณ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ต่ำกว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพื่อให้เชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูงจากลาว ที่ใช้ความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยรูปแบบการให้บริการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงกับประเทศเพื่อนบ้าน เบื้องต้นอาจจะใช้วิธีการเปลี่ยนสถานีให้บริการที่เวียงจันทร์ เพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศจีน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42770
Location: NECTEC

PostPosted: 25/01/2013 9:28 am    Post subject: Reply with quote

จ่อประมูล'ไฮสปีด'ปลายปี จีนได้เปรียบราคา
หน้า ธุรกิจ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 25 มกราคม 2556 08:04


สนข.ตั้งเป้าเดือนก.ย.56 เปิดประมูลคัดเลือกระบบรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทางหลัก ยอมรับจีนได้เปรียบชาติอื่นด้านราคา

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังการสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก วานนี้ (24 ม.ค.) ว่า การศึกษาโครงการจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และระยะที่ 2 เส้นทางพิษณุโลก-เชียงใหม่

ทั้งนี้ การศึกษาระยะที่ 1 จะแล้วเสร็จกลางปีนี้ และประมาณเดือนก.ย.2556 รัฐบาลจะเปิดประกวดราคาแบบนานาชาติ เพื่อคัดเลือกระบบรถไฟความเร็วสูงว่าจะใช้ระบบของประเทศใด ซึ่งระบบนี้จะนำไปใช้กับโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทยทั้งหมด 4 เส้นทาง ส่วนงานก่อสร้างคาดว่าจะเริ่มในช่วงต้นปี 2557 คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการระหว่างปี 2561-2562

ส่วนระยะที่ 2 เส้นทางพิษณุโลก-เชียงใหม่ จะทยอยก่อสร้างโดยระยะเวลาจะห่างกันไม่เกิน 2 ปี แต่งานระยะที่ 2 จะมีปัญหาเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าระยะที่ 1 ซึ่งเป็นทางราบ แต่งานระยะที่ 2 ต้องมีการเจาะอุโมงค์ผ่านภูเขา หรือทำสะพานข้ามพื้นที่บางส่วน แต่พื้นที่ส่วนใหญ่จะใช้ตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม

สำหรับแนวทางการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 680 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 3.87 แสนล้านบาท จะมีสถานีรวม 12 แห่ง ใช้ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือใช้เวลาเดินทางเพียง 3 ชั่วโมง สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ประมาณ 800 คนต่อเที่ยว ค่าโดยสารเฉลี่ยกิโลเมตรละ 2.50 บาท หรือตลอดเส้นทางไม่เกิน 2,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการประกวดราคาเพื่อคัดเลือกระบบรถไฟความเร็วสูง นั้น ไทยจะกำหนดมาตรฐานกลางของระบบรถไฟความเร็วสูงที่ต้องการ โดยกำหนดรายละเอียดของระบบไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ เพื่อให้ผู้ผลิตระบบรถไฟความเร็วสูงทุกชาติสามารถเข้าร่วมประกวดราคาได้ เมื่อทุกชาติมีสิทธิ์เข้าร่วมด้านเทคนิคจะเหลือเพียงการแข่งขันด้านราคาที่ต้องต่อสู้กัน คาดว่าระบบรถไฟความเร็วสูงที่ได้จะเป็นระบบผสม ลักษณะเหมือนกับจีนที่ดัดแปลงระบบรถไฟความเร็วสูงของยุโรปจนเป็นระบบของตัวเอง

"ระบบรถไฟความเร็วสูงต้องเป็นระบบที่ใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งจีนได้เปรียบเพราะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงมากที่สุด สามารถนำกำลังผลิตที่เหลือจากความต้องการภายในประเทศมาแข่งขันในราคาต่ำได้ แต่เชื่อว่าญี่ปุ่นสามารถแข่งขันได้เช่นกัน แม้ระบบรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นจะแตกต่างจากระบบอื่น แต่ที่ผ่านมาญี่ปุ่นสามารถพัฒนาใช้กับระบบรถไฟความเร็วสูงของอังกฤษได้"

ส่วนการบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น เบื้องต้นจะจัดตั้งองค์กรใหม่ อาจอยู่ในรูปบริษัท โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ และอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่บริหารโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง เพื่อให้การทำงานเป็นอิสระและมีคล่องตัวในการบริหารงาน โดยบริษัทนี้จะมีสัดส่วนรายได้จากค่าโดยสารประมาณ 30% ส่วนอีก 70% มาจากการบริหารพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีและพื้นที่โดยรอบ

//---------------------------------

ประชาพิจารณ์ไฮสปีดเทรนสายแรก กรุงเทพฯ-เชียงใหม่นำร่องก่อสร้างปี 57

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มกราคม 2556 20:23 น.


“คมนาคม” รับฟังความเห็นรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ครั้งแรก เร่งสร้างเฟส 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก นำร่อง คาดประมูลปลายปีนี้หรือต้นปี 57 วงเงิน 2.4 แสนล้านบาท แล้วเสร็จปี 61 ค่าโดยสาร 1,000 บาท ความเร็ว 300 กม./ชม.

พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก วานนี้ (24 ม.ค.) ว่า การศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) จะเสร็จในเดือนสิงหาคม จากนั้นจะนำเสนอให้คณะกรรมการผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมพิจารณา คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน และเริ่มประกาศประกวดราคาได้ในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปี 2557 เริ่มก่อสร้างได้ปลายปี 2557 โดยจะดำเนินการช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน ใช้งบประมาณ 2.4 แสนล้านบาท เปิดให้บริการในปี 2561 ส่วนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ จะเริ่มก่อสร้างหลังจากระยะแรก 1 ปี เปิดให้บริการในปี 2562 งบประมาณก่อสร้างตลอดทั้งเส้นทางประมาณ 3.8 แสนล้านบาท

โดยระยะทางรวมทั้งสิ้น 680 กิโลเมตร มี 12 สถานี ประกอบด้วย สถานีบางซื่อ สถานีพระนครศรีอยุธยา สถานีบ้านภาชี สถานีลพบุรี สถานีนครสวรรค์ สถานีพิจิตร สถานีพิษณุโลก สถานีอุตรดิตถ์ สถานีเด่นชัย สถานีลำปาง สถานีลำพูน และสถานีเชียงใหม่ ใช้ความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาจากต้นทางถึงปลายทาง 3 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสารจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลกจะกำหนดประมาณ 1,000 บาท จากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ไม่เกิน 2,000 บาท เฉลี่ยค่าบริการ 2.50 บาทต่อกิโลเมตร ซึ่งถูกว่าการนั่งเครื่องบินประมาณ 3 บาทต่อกิโลเมตร

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่จะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ตอนเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว เนื่องจากช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่จะเป็นช่วงที่ต้องทำอุโมงค์เป็นจำนวนมาก จึงอาจจะต้องใช้เวลา แต่มั่นใจว่าระยะเวลาการก่อสร้างจะห่างกันประมาณ 1-2 ปีเท่านั้น ซึ่งแผนการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้นเป็นยุทธศาสตร์ของชาติซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาการขนส่งภูมิภาค เพื่อยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันระดับประเทศ และเพื่อเป็นการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน

“ในไตรมาส 3 ของปีนี้จะเริ่มประกวดราคางานระบบรถไฟก่อน เพื่อให้ทราบว่าจะต้องใช้ระบบไหน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มก่อสร้างงานโยธา ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย จะใช้ความเร็วประมาณ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ต่ำกว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพื่อให้เชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูงจากลาวที่ใช้ความเร็ว 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยรูปแบบการให้บริการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงกับประเทศเพื่อนบ้าน เบื้องต้นอาจจะใช้วิธีการเปลี่ยนสถานีให้บริการที่เวียงจันทน์เพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศจีน” นายจุฬากล่าว

นายสาธิต มาลัยธรรม รองผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ได้ดำเนินการสัมมนารับฟังความคิดเห็นที่จังหวัดพิษณุโลกและเชียงใหม่แล้ว และครั้งนี้เป็นการสัมมนาที่กรุงเทพฯ ซึ่งรถไฟความเร็วสูงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางให้มากขึ้น สามารถขนส่งผู้โดยสารต่อเที่ยวได้จำนวนมาก โดยรถไฟความเร็วสูง 1 ขบวนสามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 800 คน เทียบเท่ากับการใช้รถโดยสาร 20 คัน หรือเทียบเท่ากับการใช้เครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 2 ลำ หรือเทียบเท่าเครื่องบินแอร์บัส 320 จำนวน 4 ลำ

และยังช่วยให้เกิดการพัฒนาเมืองและนิคมอุตสาหกรรมตลอดเส้นทาง เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ โดยเฉพาะสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และผู้ประกอบการรายย่อย (SME) รวมถึงช่วยกระตุ้นด้านการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางแบบเช้าไปเย็นกลับ หรือพักค้างคืนแค่ระยะเวลาสั้นๆ 1-2 คืนได้ตามต้องการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/01/2013 11:21 pm    Post subject: Reply with quote

รมว.คมนาคมชูรถไฟความเร็วสูงแข่งขันโลว์คอสต์และบขส.ได้
ฐานเศรษฐกิจ วันเสาร์ที่ 26 มกราคม 2013 เวลา 10:27 น.

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน ถึง ภาพรวมการลงทุนและให้บริการโครงการรถไฟว่า จริง ๆ แล้วเรามี 4 เส้นทาง ในนโยบายที่ทางเหนือคือ กรุงเทพฯ – เชียงใหม่

ตะวันออกเฉียงเหนือคือ กรุงเทพฯ – หนองคาย ตะวันออกคือ กรุงเทพฯ – ระยอง ใต้คือ กรุงเทพฯ – ปาดังเบซาร์ แต่นโยบายรัฐบาลกำหนดมาว่าระยะแรก กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ กรุงเทพฯ – โคราช กรุงเทพฯ – พัทยา และกรุงเทพฯ – หัวหิน ตามที่คุยกันมานั้นควรจะทำพร้อมกันใน 4 เส้นทาง เพราะว่าสามารถทำแยกกันได้ อาจจะประมูลตัวรถก่อน เพราะว่าตัวรถนั้นต้องใช้ระบบเดียวกัน ถ้า 4 เส้น 4 ระบบ คงไม่ไหว ทั้งในแง่ของอะไหล่และบุคลากร ก็ดูอาจจะทำเรื่องตัวรถ พอได้ตัวรถก็เริ่มออกแบบเส้นทางเป็นกระบวนการไป

ส่วนอันอื่นอย่างเช่น รถไฟ 10 สายในกรุงเทพมหานคร ที่ท่านนายกฯ ไปเปิดหัวเจาะอุโมงค์ ตอนนี้ก็ทำอยู่ 6 โครงการ 100 กิโลเมตร ดำเนินการอยู่แล้ว จริง ๆ แล้ว โครงการพวกนี้มันเริ่มดำเนินการอยู่แล้วเราก็ผลักดันไป เพราะฉะนั้นภายในปี 2557 ก็น่าจะประมูลได้ครบ และภายในปี 2562 ก็น่าจะเปิดได้ประมาณ 410 กิโลเมตร

แล้วก็จะมีอีก 54 กิโลเมตร เป็น 464 กิโลเมตร คือใกล้เคียงกับลอนดอนเลย ระยะทางนะครับ ลอนดอนมี 11 สาย ถือว่าใกล้เคียง ส่วนถนนก็เริ่มแล้ว มอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ – โคราช น่าจะเข้าคณะรัฐมนตรีได้ภายใน 1 – 2 เดือนนี้ แล้วก็กรุงเทพฯ – กาญจนบุรี ที่จะไปทวายก็เตรียม เพราะฉะนั้นโครงการพวกนี้เราทำเป็นคู่ขนาน เราคงไม่รอเพราะมันสามารถดำเนินไปได้ แล้วตัว พรบ. อาจจะช่วยในแง่ของไฟแนนซ์

ในด้านขอส่วนใหญ่แล้ว เราก็ต้องมองว่าตรงนี้เป็นสมบัติของประเทศ ถ้าเราไปคิดค่าบริการแพง สุดท้ายแล้วมันก็ไม่มีคนมาใช้ เพราะฉะนั้นมันก็คล้าย ๆ ทางหลวงซึ่งเป็นสมบัติของประเทศ ใครจะมาใช้ทางหลวงก็ได้ อาจจะมีบางเส้นที่เก็บค่าผ่านทาง แต่ก็แค่เพื่อการ Operate (การดำเนินการ) ไม่ได้คิดว่าจะเอากำไรหรือจะเอาทุนคืนทั้งหมด เพราะฉะนั้นแนวคิดตรงนี้ก็อาจจะใช้กับทางรถไฟด้วย อย่างรถไฟความเร็วสูงที่เราคิดไว้ เราจะให้เก็บกิโลเมตรหนึ่ง 2.1 – 2.7 บาทต่อกิโลเมตร กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ก็ประมาณ 1,300 – 1,400 บาท คือต้องแข่งกับ low cost airline (สายการบินต้นทุนต่ำ) แข่งกับ บขส. ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42770
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2013 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง : ไม่นานเกินรอ แค่ 5 ปีได้ใช้รถไฟความเร็วสูง
by Chitapa
VoiceTV 26 มกราคม 2556 (18:37 น.)

ประเทศไทยเริ่มศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง มาตั้งแต่ป 2537 ในสมัยรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร แม้จะมีการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลมาหลาย

Likes Received : 2

สมัย แต่โครงการนี้ ก็เปนไปได้อย่างต่อเนื่อง และเริ่มมีความชัดเจนขึ้น ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งในอีก 5 ปข้างหน้า คนไทย จะได้ใช้บริการเปนครั้งแรก เริ่มที่สถานีกรุงเทพ - อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อีกไม่นานรอ คนไทยจะได้ใช้รถไฟความเร็วสูง ที่มีความทันสมัยเช่นเดียวกับต่างประเทศ เพราะในช่วงกลางปนี้ กระทรวงคมนาคมจะจัดทำผลการประเมิน คุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระยะแรก กรุงเทพ-พิษณุโลก ซึ่งเปนหนึ่งในเส้นทางแรก กรุงเทพ-เชียงใหม่ และในช่วงเดือน มิถุนายนถึงกันยายนนี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมจัดนิทรรศการรถไฟความเร็วสูง เปดให้ผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่น ยุโรป จีน และเกาหลีใต้ นำ หัวรถจักรและวิวัฒนาการรถไฟความเร็วสูง จัดแสดงที่ประเทศไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนในการใช้รถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่เกิน 5 ปนับจากนี้

โครงการรถไฟความเร็วสูง ดำเนินการโดยกระทรวงคมนาคม ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. และการรถไฟแห่ง ประเทศไทย โดยออกแบบโครงการรถไฟความเร็วสูงรวมทั้งหมด 4 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา เส้นทาง กรุงเทพ-หัวหิน และเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา หรือส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ กระจายไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ รวมระยะทาง ทั้งหมด 2,563 กิโลเมตร ในงบประมาณ 9 แสน 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเปนงบประมาณที่รวมอยู่ใน พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน พ.ศ. ... วงเงิน 2 ล้านล้านบาท

กระทรวงคมนาคมได้ร่างแผนการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟาความเร็วสูงไว้เปนช่วง โดยเริ่มที่เส้นทางแรก คือ กรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 680 กิโลเมตร โดยเส้นทางนี้มีสถานีรถไฟทั้งหมด 12 สถานี เริ่มที่สถานีรถไฟความเร็วสูงบางซื่อ,พระนครศรีอยุธยา,บ้าน ภาชี,ลพบุรี,นครสวรรค์,พิจิตร,พิษณุโลก,อุตรดิตถ์,เด่นชัย,ลำปาง,ลำพูน และเชียงใหม่

จากกรุงเทพถึงเชียงใหม่ ใช้เวลาในการเดินทาง 3 ชั่วโมง โดยเส้นทางแรกนี้ ได้แบ่งการก่อสร้างออกเปน2ช่วง คือ ระยะที่1 จะก่อสร้างโครงการในเส้นทาง กรุงเทพ-พิษณุโลก ก่อสร้างได้ในช่วงต้นป 2557 ระยะที่ 2 จากจังหวัดพิษณุโลก - เชียงใหม่ ซึ่งจะทยอยก่อสร้างโดยไม่ให้ระยะเวลาห่างกันเกิน 2 ป

เหตุที่ต้องแบ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงใน 1 เส้นทางออกเปนระยะย่อยๆอีก เนื่องจากแต่ละเส้นทางมีอุปสรรคที่แตกต่างกัน อย่างเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทางตั้งแต่กรุงเทพ จนถึงจังหวัดพิษณุโลก เส้นทางค่อนข้างเปนเส้นตรง แต่เมื่อถึงจังหวัดพิษณุโลกจนถึงเชียงใหม่ เส้นทางค่อนข้างคดเคี้ยว เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับดอยขุนตาล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งจุดนี้ต้องมีการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ อย่างเข้มข้นมากกว่าเส้น ทางอื่น อาจต้องเจาะอุโมงค์หรือทำทางลอด เพื่อลดความคดเคี้ยวของเส้นทาง เพื่อให้รอบรับรางรถไฟความเร็วสูงที่กำหนดรัศมีวงเลี้ยวตามมาตรฐานสากล ส่วนการวางรางรถไฟความเร็วสูงนั้น กระทรวงคมนาคมจะวางรางรถไฟความเร็วสูงให้คู่ขนานไปกับรางรถไฟระบบเดิม เพื่อลดปญหาด้านการเวนคืนที่ดิน

กระทรวงคมนาคมคาดว่า ในเส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลก จะประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้ และจะดำเนินการประกวดราคาได้ ในช่วงต้นป 2557 และเริ่มก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในปลายป 2557 คาดว่าคนไทยจะได้ใช้รถไฟความเร็วสูงในเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ได้ใน ป 2561 -2562

รถไฟความเร็วสูงเดินทางด้วยความเร็ว 200-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยรถไฟ1ขบวน ขนส่งผู้โดยสาร 800 คน เทียบเท่ากับการใช้รถโดยสารประจำ ทางถึง 20 คัน หรือเทียบเท่ากับเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 2ลำ หรือเครื่องบินแอร์บัส 320 จำนวน4ลำ คู่แข่งสำคัญของรถไฟความเร็วสูงคือ เครื่องบิน ทั้งสายการบินปกติและโลว์คอสแอร์ไลน์ ดังนั้น ความเร็วในการเดินทาง ราคาตั๋วโดยสาร และการเดินทางเชื่อมต่อไปยังเขตเมือง เปนจุดแข็งของรถไฟ ความเร็วสูงจะนำมาใช้ช่วงชิงฐานลูกค้าของเครื่องบินได้

นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสามารถดำเนินการพร้อมกันได้ทั้ง 4 เส้นทาง โดยเส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ เริ่มที่สถานีกลางบางซื่อ มายังอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเส้นทางนี้สามารถก่อสร้างพร้อมกับเส้นทาง กรุงเทพ-นครราชสีมาได้ โดยสร้างเพิ่มจากอำเภอภาชีมาออกยังนครราชสีมาได้ ส่วนทางฝ่งตะวันออก ใช้สถานีรถไฟฟาแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยายมักกะสัน อ้อมไป ทางอำเภอแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา ไปยังเมืองพัทยา และไปต่อยังจังหวัดระยองได้ ส่วนเส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน เริ่มที่สถานีกลางบางซื่อ ข้ามแม่น้ำ เจ้าพระยา มายังเขตบางกอกน้อย อ้อมไปฝ่งจังหวัดนครปฐม ถึงหัวหิน และยังเชื่อมต่อไปถึงเมืองปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลาได้

ส่วนการคัดเลือกรถไฟความเร็วสูงจะใช้ระบบ International Bidding เปดให้ต่างประเทศเสนอเงื่อนไขการลงทุนเข้ามาแข่งขันเสนอราคาได้ โดย รัฐบาลไทยจะคัดเลือกภายใต้พื้นฐานของคุณภาพที่ดีที่สุด ในราคาที่เหมาะสม ส่วนหน่วยงานที่ดูแลการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงโดยตรง เบื้องต้นขึ้นตรงกับ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรหรือ สนข. และในระยะต่อไปกระทรวงคมนาคมอาจตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา แต่ใช้บุคลากรเดิมในสังกัด กระทรวงคมนาคมเปนผู้ดูแล

พลตำรวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม คาดว่า รัฐบาลจะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และจะนำเข้าสู่การ พิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก่อนการพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณประจำปงบประมาณ 2557 ส่วนราคาค่าโดยสารเบื้องต้นประเมินว่า ในเส้น ทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ จะอยู่ที่ราคาประมาณ 2,000 บาท หรือหากคำนวนเปนกิโลเมตร จะอยู่ที่กิโลเมตรละ 2 บาท 10 สตางค์ถึง 2 บาท 70 สตางค์ รวมเวลาในการเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง

รถไฟความเร็วสูงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะ5ปนับจากนี้ คนไทยจะได้ใช้บริการรถไฟความเร็งสูงในเส้นทางระยะสั้น นั่นคือ กรุงเทพ- ภาชี นอกจากจะ เพิ่มความสะดวกสบาย ความรวดเร็วให้กับผู้ใช้บริการแล้ว ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนจากการก่อสร้างโครงการนี้ได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.5 ผลักดันให้เศรษฐกิจ ไทยเติบโตในหลายด้าน และช่วยเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยเปนประเทศเนื้อหอมในสายตานักลงทุนรายใหม่เพิ่มขึ้น

http://news.voicetv.co.th/thailand/61513.html
https://www.facebook.com/groups/metrotrainloverclub/permalink/328084153977004/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/01/2013 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดโผ12ทำเลทองรอบสถานี ไฮสปีดเทรนกรุงเทพเชียงใหม่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 28 ม.ค. 2556 เวลา 12:29:20 น.

เปิด ทำเลทอง 12 สถานี เส้นทางไฮสปีดเทรน "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" ระยะทาง 680 กิโลเมตร ไล่ตั้งแต่บางซื่อ อยุธยา พิษณุโลก เชียงใหม่ สนข.จุดพลุพัฒนาเชิงพาณิชย์ ที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า ดีเดย์ ก.ย.นี้ประมูลเฟสแรก กรุงเทพฯ-พิษณุโลก เปิดใช้ปี"61

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สนข.ให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา นำโดยบริษัท ทีมคอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 680 กิโลเมตร เงินลงทุน 387,821 ล้านบาท

แยกเป็นช่วง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก 382 กิโลเมตร เงินลงทุน 204,221 ล้านบาท และพิษณุโลก-เชียงใหม่ 363 กิโลเมตร เงินลงทุน 183,600 ล้านบาท ซึ่งจะได้ข้อสรุปในอีก 3 เดือน ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม ก่อนเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา เปิดประมูลในเดือนกันยายน มีทั้งหมด 12 สถานี ประกอบด้วย บางซื่อ พระนครศรีอยุธยา บ้านภาชี ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

"ช่วง กรุงเทพฯ-พิษณุโลกจะประมูลและก่อสร้างก่อน ช่วงต้นปี 2557 ใช้เวลา 4 ปี พร้อมเปิดให้บริการในปี 2561 ส่วนพิษณุโลก-เชียงใหม่ต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพราะตัดผ่านพื้นที่ภูเขาจำนวนมาก ตั้งแต่อุตรดิตถ์-เชียงใหม่ ต้องเจาะอุโมงค์ยาวรวมกันถึง 50 กิโลเมตร แต่จะช้ากว่ากันไม่มากประมาณ 1 ปี"

ขยับตำแหน่งสถานีใหม่

ล่าสุดบริษัทที่ปรึกษาอยู่ ระหว่างกำหนดจุดที่ตั้งสถานีให้ชัดเจน เนื่องจากบางสถานีอาจต้องขยับตำแหน่งใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงโบราณสถาน เช่น พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี หรือเลือกจุดที่ตั้งที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ ขณะเดียวกันต้องแก้ไขปัญหาจุดตัดรถไฟกับถนนทับซ้อนอีก 336 แห่ง โดยจะก่อสร้างในหลายรูปแบบ แล้วแต่พื้นที่ เช่น ทางลอด ทางยกระดับ เป็นต้น เพื่อให้การเดินทางรวดเร็วในเวลา 3 ชั่วโมงเศษ

"สถานียิ่งใหญ่ยิ่งดี จะพัฒนาได้มากขึ้น เมื่อโครงการเสร็จจะเปิดพื้นที่การพัฒนาใหม่ ๆ ตลอดเส้นทาง และโดยรอบสถานีทั้ง 12 แห่ง เช่น ร้านค้า ที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า เป็นต้น สอดคล้องนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แนวเส้นทาง เหมือนญี่ปุ่น"

นายสาธิต มาลัยธรรม รองผู้จัดการโครงการกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เปิดเผยว่า การก่อสร้างส่วนใหญ่ประมาณ 90% จะสร้างรางใหม่บนเขตทางรถไฟเดิมมีอยู่ฝังละ 40 เมตร และจะเวนคืนเฉพาะช่วงทางโค้ง เนื่องจากใช้ความเร็วสูง รวมถึงจุดที่ตั้งสถานีจะต้องเวนคืนเพื่อให้พอจะวางรางรถไฟขนาด 1.435 เมตร และพัฒนาเชิงพาณิชย์โดยรอบแต่บอกไม่ได้ แต่จะมีขนาดใหญ่แค่ไหน อาจเป็น 100 ไร่ก็ได้

"เบื้องต้นดูแล้วผลกระทบต่อประชาชนช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ที่การทำอีไอเอจะเข้มข้นกว่า เพราะเจาะอุโมงค์ผ่านเขา และเปิดพื้นที่ใหม่เพื่อวางราง" นายสาธิตกล่าวและว่า

เปิดโผจุดที่ตั้ง 12 สถานี

ส่วนรูปแบบก่อสร้างมีทั้งยกระดับและอยู่บนระดับพื้นดิน โดยช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะสร้างบนเขตทางด้านขวามือ (มุ่งหน้าจากกรุงเทพฯไป) มีสถานีเดิมอยู่ด้านซ้าย และโครงสร้างจะยกระดับตั้งแต่กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา จากนั้นจะลดระดับลงพื้นที่ดิน ยกเว้นผ่านตัวเมืองจะยกระดับในบางจุด เช่น พิษณุโลก สำหรับช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ จะสร้างบนเขตทางด้านซ้ายและขวาของสถานี ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ส่วนโครงสร้างส่วนใหญ่จะเป็นระดับพื้นดิน

นายสาธิตกล่าวว่า จุดที่ตั้งของทั้ง 12 สถานี ยังอยู่ระหว่างสำรวจ เนื่องจาก สนข.ต้องการให้พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบและสร้างเป็นเมืองใหม่ในแนว เส้นทาง จึงต้องเลือกจุดที่ตั้งที่เข้า-ออกสะดวก มีศักยภาพในการพัฒนาไม่หนาแน่นมากเกินไป และเชื่อมต่อกับจังหวัดอื่น ๆ โดยรอบได้ อีก 1 เดือนจะได้ข้อสรุปชัดเจน

สำหรับจุดที่ตั้งสถานีใน เบื้องต้น ประกอบด้วย
1.สถานีบางซื่อ อยู่บริเวณย่านบางซื่อ ที่จะเป็นศูนย์การคมนาคมขนส่ง ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และรถไฟชานเมือง
2.พระนครศรีอยุธยา มี 2 ทางเลือก ตั้งอยู่ที่เดิม และเลี่ยงออกมานอกเมือง เพื่อเลี่ยงพื้นที่วัด
3.บ้านภาชี คาดว่าจะอยู่จุดเดิม
4.ลพบุรี มี 2 ทางเลือก คือสร้างที่เดิม หรือขยับออกนอกเมือง เนื่องสถานีเดิมจะผ่านพื้นที่พระปรางค์สามยอด
5.นครสวรรค์ มี 2 ทางเลือก คือจุดเดิม หรือขยับเข้าใกล้ตัวเมืองมาทางด้านใต้ของตัวเมืองนครสวรรค์ เลาะไปตามบึงบอระเพ็ด
6.สถานีพิจิตร จะย้ายไปสร้างบนพื้นที่ใหม่นอกเมืองมาทางด้านตะวันออกของแม่น้ำน่าน
7.สถานีพิษณุโลก จะอยู่ห่างไปจากสถานีรถไฟเดิม ไปทางถนนวงแหวนรอบนอก
8.อุตรดิตถ์ จะเลื่อนไปที่สถานีรถไฟศิลาอาสน์แทน
9.สถานีเด่นชัย และ
10.สถานีลำปาง ยังอยู่จุดเดิม ส่วน
11.สถานีลำพูน กำลังหาที่สร้างใหม่ และ
12.สถานีเชียงใหม่ จะขยับตำแหน่งลงมาจากสถานีเดิมเล็กน้อย เนื่องจากจุดเดิมถนนเข้า-ออกแคบ


แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าว ด้วยว่า ขณะนี้เส้นทางรถไฟความเร็วสูงได้รับการสนใจจากนักลงทุนธุรกิจอสังหาริม ทรัพย์จำนวนมาก เพื่อจะเข้าไปกว้านซื้อที่ดินไว้รอการพัฒนา แม้ว่าตอนนี้ยังไม่กำหนดจุดที่ตั้งสถานีไว้ชัดเจนก็ตาม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42770
Location: NECTEC

PostPosted: 03/02/2013 8:59 pm    Post subject: Reply with quote

ไทยเล็งฝรั่งเศสร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 30 มกราคม 2556 17:29

นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ อธิบดีกรมยุโรป แถลงถึงการเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายฌอง-มาร์ค เอโรต์ นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส และภริยา พร้อมคณะนักธุรกิจจากฝรั่งเศส 120 คน ในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 ก.พ.นี้ ว่า นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสและคณะ จะเดินทางมาด้วยเที่ยวบินพิเศษลงจอดที่ท่าอากาศยานดอนเมืองในตอนค่ำของวันที่ 4 ก.พ.นี้ ก่อนจะเริ่มภารกิจเยือนไทยในที่ 5 ก.พ. โดยจะเดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ เรื่องมุมมองฝรั่งเศสต่อไทย อาเซียน และเอเชีย ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และในช่วงบ่ายวันเดียวกันจะเดินทางไปพบปะพูดคุยกับกลุ่มชาวฝรั่งเศสในไทย และนำคณะนักธุรกิจฝรั่งเศสพบปะกับภาคเอกชนของไทย ที่โรงแรมดุสิตธานี

นายศรัณย์ กล่าวว่า จากนั้นในเวลา 18.00 น. นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสและคณะจะเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อพบหารือข้อราชการกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับความร่วมมือการค้าความลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ เตรียมทาบทามฝรั่งเศสให้เข้ามาลงทุนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รถไฟฟ้าความเร็วสูง หัวรถจักรขยายโครงข่ายเชื่อมโยงไทยต่อขยายไปยังภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งพลังงานทดแทน ขณะที่ฝรั่งเศสเสนอที่จะขายเครื่องบินแอร์บัส และเทคโนโลยีเาวเทียม ที่ฝรั่งเศสมีเป็นความเชี่ยวชาญอยู่มาก

จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสและภริยา พร้อมเชิญคณะนักธุรกิจของฝรั่งเศสเข้าร่วม ตามด้วยการแถลงข่าวร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยและฝรั่งเศส ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสและคณะจะเดินทางกลับในคืนของวันที่ 5 ก.พ. ทั้งนี้ การเดินทางเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ถือเป็นการเยือนครั้งแรกในรอบ 23 ปี และเกิดขึ้นภายใน 6 เดือน หลังการเดินทางเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมตรีไทย ซึ่งได้กล่าวเชิญให้นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสเดินทางมาเยือนไทย พร้อมเชิญชวนนักลงทุนชาวฝรั่งเศสมาลงทุนในไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีของ 2 ประเทศจะร่วมเป็นสักขีพยาน การลงนามในความตกลง 5 ฉบับ ได้แก่ 1. ความตกลงด้านการป้องกันประเทศ (Agreement on Defence Cooperation) 2. หนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อความร่วมมือด้านการศึกษา(Declaration of Intent for Cooperation in Education)3. บันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือผลิตวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี 4. General Memorandum of Understanding on Cooperation for Development-Oriented Research เป็นความร่วมมือด้านการศึกษา : สกว. และสถาบัน CIRAD ของฝรั่งเศส 5. บันทึกความเข้าใจระหว่างกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกับกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเทคโนโลยีของฝรั่งเศส(MOU between Rajamangala Universities of Technology Network and Assemblé des Directeurs d’ I.U.T.)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42770
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2013 9:42 am    Post subject: Reply with quote

ตามรอยเสียงหวูด 'รถไฟความเร็วสูง' ทั่วโลกสเป็กแบบไหน 'จีน-ญี่ปุ่น-ฝรั่ง' ใครมาวิน
ประชาชาติธุรกิจ
ฉบับวันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 05:39
เป็นที่ทราบกันดีว่า "รัฐบาลเพื่อไทย" กำลังทุ่มเม็ดเงิน 753,105 ล้านบาท ปูพรมลงทุนสร้าง "รถไฟความเร็วสูง" หรือไฮสปีดเทรน เฟสแรก 4 สายทาง เชื่อมกรุงเทพฯ กับ 4 ภูมิภาค ประกอบด้วย สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน ตามที่ได้ประกาศไว้
ประมูลงานระบบ 1.5 แสนล้าน
สูตรการลงทุนตามมาตรฐานโลก จากวงเงินลงทุนทั้งโครงการนั้น ใน 100% จะแยกเป็นค่าก่อสร้างและที่ดิน 80% อีก 20% จะเป็นส่วนลงทุน "งานระบบรถ" เมื่อคิดรวมใน 4 สายทาง มูลค่าการลงทุนจะอยู่ที่ 150,621 ล้านบาท ขณะที่ราคารถไฟ ทั่วโลก เฉลี่ยอยู่ที่ 57-123 ล้านบาท/ขบวน นับเป็นเค้กก้อนใหญ่ ที่ "ผู้ผลิตรถไฟความเร็วสูง" จากทั่วโลกจับจ้องตาเป็นมัน
มิ.ย.นี้เปิดโชว์ของจริง
ในแผนงานของ "กระทรวงคมนาคม" เจ้าของโครงการ ประมาณเดือนมิถุนายนสิงหาคม 2556 นี้ เตรียมทุ่มเม็ดเงินหลักหลาย 100 ล้านบาท เนรมิตพื้นที่คาร์โก้ 3 สนามบินดอนเมืองกว่า 20,000 ตารางเมตร ให้ผู้ผลิตรถไฟความเร็วสูงจากทั่วโลกโชว์เทคโนโลยีของจริง ก่อนจะเปิดประมูลในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
ผู้ผลิตที่ตอบรับมาแน่นอนแล้ว ขณะนี้มี "จีน-ญี่ปุ่น-กลุ่มยุโรป" ส่วน "สเป็ก-ราคา" ใครจะถูกใจรัฐบาลเพื่อไทยต้องรอลุ้นอีกที เพราะของแบบนี้ต้องดูกันนาน ๆ
ซื้อยกลอต 4 สาย
มีคำถามว่าทำไม "คมนาคม" ถึงประมูลงานระบบก่อน ได้รับคำตอบจาก "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" รมว.คมนาคม ว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ก่อนอื่นต้องคัดเลือกระบบให้ได้ก่อนว่าจะใช้ของประเทศไหน เพื่อให้เป็นระบบเดียวกันทั้ง 4 สายทาง เนื่องจากงานระบบจะเป็นสิ่งสำคัญสุดของโครงการ จากนั้นจึงจะออกแบบงานก่อสร้างมารองรับ ซึ่งถ้าจะแยกคนละระบบคนละสาย จะทำให้การบริหารเดินรถในอนาคตลำบากอย่างแน่นอน
"โครงการนี้เราเปิดประมูลแบบนานาชาติ เชิญทั่วโลกที่สนใจเข้ามาลงทุน เราดูระบบที่จะใช้เดินรถทั้ง 4 สาย เพราะซื้อลอตใหม่อาจจะได้ราคาที่ถูกลง ประหยัดต้นทุนโครงการไปได้อีก ส่วนการก่อสร้างสามารถออกแบบให้มารองรับได้ และจะเป็นใครมาก่อสร้างให้ก็ได้" รมว.คมนาคมกล่าวไว้
สปีดความเร็ว 250 กม./ชม.
สำหรับสเป็กรถที่จะกำลังยกร่างทีโออาร์ เพื่อเปิดประมูล คาดว่าภายในไตรมาส 2/56 ทาง "รมว.ชัชชาติ" บอกว่า กำหนดความเร็ว 250 กม./ชั่วโมง แต่กำลังพิจารณาจะแยก "สายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง" ออกมาต่างหาก เนื่องจากเป็นส่วนต่อขยายกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ น่าจะใช้ความเร็วของรถวิ่งให้บริการเท่ากัน คือประมาณ 160 กม./ชั่วโมง
"สเป็กจะมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตจากยุโรป จีน หรือญี่ปุ่นก็ได้ ของดีอาจจะถูกหรือแพงกว่าก็ได้ เราเปิดกว้างให้มีการแข่งขันกันอยู่แล้ว เพราะเป็นอินเตอร์เนชั่นแนลบิดดิ้ง"
ส่วน "พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี" ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า...ประเทศไทยเราไม่จำเป็นต้องไปแข่งความเร็วกับใคร จะเป็นระบบไหนก็ได้ แต่ขอให้ปลอดภัย เราพยายามบาลานซ์ไม่ให้ผูกมัดใคร "จีน-ญี่ปุ่น" คู่แคนดิเดต
แม้บิ๊กคมนาคมทั้งสองยังไม่ฟันธง ! แต่วงในต่างรู้ดีว่าหนีไม่พ้น 2 ยักษ์แห่งเอเชีย คือ "จีน-ญี่ปุ่น" ที่จะเป็นคู่ชิงดำ ประเมินจากขันอาสาเข้ามาศึกษาแนวเส้นทางให้รัฐบาลไทยแบบฟรี ๆ เป็นใบเบิกทางแล้ว
แหล่งข่าวจากวงการประมูลภาครัฐกล่าวว่า งานประมูลโครงการนี้ดูเหมือนจะลงตัวกันมาแล้ว โดย "จีน" สนใจสายต่อเชื่อมแนว "อีสาน-ใต้" เชื่อมชายแดนลาวที่หนองคายไปถึงปาดังเบซาร์ ต่อยอดการขนส่งสินค้า ซึ่งจีนทุ่มทุนสร้างรถไฟความเร็วสูงรออยู่ที่ฝั่ง "สปป.ลาว" แล้ว
ขณะที่ "ญี่ปุ่น" อาจจะเป็นผู้สร้างสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กับสายกรุงเทพฯพัทยา-ระยอง
กล่าวสำหรับคนที่อยากเห็นโครงการเกิดเร็ว ๆ มีเสียงเชียร์ว่า กลยุทธ์หลักเพียงแค่เลือก "จีน" มาก่อสร้าง เพราะเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนทั่วโลกมาแล้วว่า เมกะโปรเจ็กต์หลายโครงการในประเทศจีนที่ไม่น่าเป็นไปได้ก็เกิดได้ ดังนั้นศักยภาพแบบจีน ๆ จะเป็นกุญแจไขสู่ความสำเร็จของ "ไฮสปีดเทรนไทยแลนด์" ได้ภายใน 4 ปี
ขณะที่ "ราคาค่าก่อสร้าง" งานโยธารวมระบบรถเฉลี่ย 420 ล้านบาท/กม. ถูกกว่าคู่แข่ง แต่...เรื่องความปลอดภัยต้องรอพิสูจน์กันนาน ๆ
เจแปนต้นแบบไฮสปีดเทรน
เมื่อพูดพาดพิงถึงเรื่องความปลอดภัย ชื่อชั้นของผู้ผลิต "ญี่ปุ่น" ก็มาแรงทันที แม้ต้นทุนจะค่อนข้างแพง เฉลี่ย 600 ล้านบาท/กม. แต่ญี่ปุ่นก็เป็นเจ้าแรกที่บุกเบิก "รถไฟความเร็วสูง" เมื่อปี 2507 หรือ 50 ปีที่แล้ว วิ่งด้วยความเร็วสูง 210 กม./ชั่วโมง รวม 2,459 กม. ปัจจุบันวิ่งด้วยความเร็ว 300 กม./ชั่วโมง
"ไฮสปีดเทรนเจแปน" ยังได้เป็นแรงผลักดันให้ประเทศอื่น ๆ นำไปเป็นโมเดลต้นแบบพัฒนารถไฟความเร็วสูงของประเทศตัวเองมาแล้วทั่วโลก
ไม่ว่าเป็น "ฝรั่งเศส" มี "รถไฟความเร็วสูง TGV" เปิดให้บริการเป็นเส้นแรกสาย ตะวันออกเฉียงเหนือ วิ่งจาก "ปารีส-ลียง" เมื่อปี 2524 ด้วยความเร็ว 320 กม./ชั่วโมง เชื่อมเมืองหลักต่าง ๆ กว่า 149 เมือง
จากนั้นขยายเส้นทางและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีมาต่อเนื่อง จนสามารถผลิตและเป็นผู้จำหน่ายระบบรถไฟความเร็วสูงให้กับประเทศทั่วโลก
ด้าน "อังกฤษ" ก็เริ่มเปิดให้บริการ "รถไฟความเร็วสูง Eurostar" ครั้งแรกในปี 2524 ความเร็วสูงสุด 200 กม./ชั่วโมง ให้บริการผู้โดยสารมากกว่า 100 ล้านคน
5 ปี จีนมีเฉียด 1 หมื่น กม.
ส่วน "จีน" เพิ่งเริ่มต้นเมื่อปี 2551 หรือ 5 ปีที่แล้วนี่เอง โดยนำต้นแบบการพัฒนามาจากประเทศเยอรมนี เป็นเส้นทาง ทดสอบวิ่งบริการสั้น ๆ จาก "ปักกิ่งเทียนสิน" จากนั้นก็โหมลงทุนก่อสร้างและขยายเส้นทางเพิ่ม จนกลายเป็น "เจ้าสถิติความเร็ว-ระยะทางยาวที่สุด" ของโลกมีโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง 9,676 กม.
ล่าสุดเมื่อ 26 ธ.ค. 2555 เปิดเส้นทางสายยาวที่สุด "ปักกิ่ง-กวางโจว" ด้วยระยะทาง 2,298 กม. ความเร็ว 300 กม./ชั่วโมง ย่นเวลาเดินทางจาก 22 เหลือ 8 ชั่วโมงเท่านั้น
ประเทศอื่น ๆ เช่น "ไต้หวัน" มีระยะทาง 345 กม. วิ่งเลียบชายฝั่งด้าน ตะวันตก จาก "เมืองหลวงไทเป-เมืองเกาสง" ทางตอนใต้ของประเทศ ความเร็วสูงสุดของรถไฟความเร็วสูง 285-300 กม./ชั่วโมง
"เกาหลีใต้" เริ่มก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง จาก "กรุงโซล-ปูซาน" ความยาว 431 กม. เมื่อปี 2535 ใช้ "ระบบรถไฟทีจีวี- แอลจีวี" ของฝรั่งเศส ความเร็วสูงสุด 305 กม./ชั่วโมง
สุดท้ายมาดู "สหรัฐอเมริกา" จะแตกต่าง จากเอเชียและยุโรป โดยใช้ทางรถไฟร่วมกับทางรถไฟธรรมดา มีความเร็วเฉลี่ยตลอดเส้นทาง 109 กม./ชั่วโมง แต่ระยะสั้น ๆ วิ่งได้ถึง 240 กม./ชั่วโมง
กล่าวสำหรับประเทศไทย รัฐบาลจะขอเริ่มชิมลาง 4 สายแรก
ด้วยความเร็ว 250 กม./ชั่วโมง...เท่านั้นก็พอ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 131, 132, 133 ... 548, 549, 550  Next
Page 132 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©