RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311337
ทั่วไป:13295289
ทั้งหมด:13606626
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 146, 147, 148 ... 549, 550, 551  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2013 9:38 am    Post subject: Reply with quote

"พิเชษฐ์"คาดได้ข้อสรุปสร้างรถไฟความเร็วกรุงเทพฯ-หัวหินปี 57

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 เมษายน 2556 16:42 น.



นายพิเชษฐ์ ปาณะพงษ์ โยธาธิการและผังเมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า จากการศึกษาเส้นทางก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – หัวหิน ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. มีด้วยกัน 5 เส้นทาง ซึ่งเส้นทางที่เหมาะสม และกระทบประชาชนน้อยที่สุดคือ เส้นทางตามแนวรถไฟเดิมคือ จากสถานีรถไฟบางซื่อผ่านตลิ่งชัน นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และมาสิ้นสุดที่อำเภอหัวหิน
ทั้งนี้ในช่วงเส้นทางผ่านอำเภอบางกรวย และเขตตลิ่งชัน จะเป็นเส้นทางลอดอุโมงค์ ส่วนช่วงชุมทางหนองปลาดุก-ราชบุรี ตามแนวรถไฟเดิมมีลักษณะโค้งมากเกินไปไม่เหมาะสมกับการเดินรถของรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ความเร็วมากกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงอาจมีการปรับเส้นทางให้ลัดตัดโค้ง เพื่อความสะดวกในการเดินรถ และช่วงตั้งแต่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรีมาถึง อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จะเป็นทางยกระดับ ส่วนตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง เบื้องต้นกำหนดไว้ใกล้กับสถานีรถไฟหัวหิน
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั้งหมดได้มีการนำไปเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ไปเพียงบางส่วนเท่านั้นยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการคาดว่า จะได้ข้อสรุปแนวทางที่ชัดเจนภายในเดือนมกราคมปี 2557 และจะเริ่มก่อสร้างทันทีใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี หรือจะแล้วเสร็จในปี 2562 อัตราค่าโดยสารจากกรุงเทพฯ-หัวหิน กำหนดไว้ที่ 562 บาทต่อคน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44953
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/04/2013 1:17 pm    Post subject: Reply with quote

TDRI ห่วงรถไฟความเร็วสูงทำหนี้สาธารณะพุ่งเกิน 100%
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 เมษายน 2556 12:50 น.

การเเสดงวิสัยทัศน์ระหว่าง 2 ขุนคลัง นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีเเละรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เเละ นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในหัวข้อ "อนาคตเศรษฐกิจไทย" การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ตามร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท โดยทั้งสองคนระบุตรงกันในความจำเป็นว่า ประเทศไทยต้องมีลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

ซึ่งนายกิตติรัตน์ กล่าวย้ำว่า การลงทุนครั้งนี้รัฐบาลคำนึงถึงความคุ้มค่า เเละการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยได้ ซึ่งการกู้เงินเพื่อลงทุนรัฐบาลจะดำเนินการอย่างรอบคอบ เเละพร้อมทบทวนหากไม่คุ้มค่า

นอกจากนี้ นายกรณ์ ระบุว่า การออก พ.ร.บ.กู้เงิน เป็นเหมือนการกู้เงินนอกระบบตรวจสอบยาก และอาจเกิดความไม่โปร่งใส ซึ่งหากใช้เงินในงบประมาณการลงทุน การเบิกจ่ายเป็นไปตามกฎระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของกรมบัญชีกลาง เชื่อว่าน่าจะดีต่อวินัยทางการคลังมากกว่า

ขณะที่ นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ พร้อมทีมวิจัยแสดงความเป็นห่วงโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง หากยังไม่ได้ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและการเงิน อาจจะเพิ่มโอกาสให้หนี้สาธารณะสูงเกิน 100 เปอร์เซ็นต์ ในอีก 6 ปีข้างหน้า

----

เปิดท็อปทรี "ที่ปรึกษา" งบฯ 2 ล้านล้าน "ทีมกรุ๊ป-เอ็ม เอ เอ-เออีซี" เรตติ้งแรงสุด
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 19 เม.ย 2556 เวลา 13:29:30 น.

เม็ด เงินมหาศาล 2 ล้านล้านบาท ที่จะลงทุนหมุนลงในเมกะโปรเจ็กต์พลิกโฉมประเทศไทย มีประมาณ 1.75-3% ของวงเงินทั้งหมดสำหรับจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงการครบทุกขั้นตอน ไล่ตั้งแต่ "ออกแบบรายละเอียด-บริหารโครงการ-คุมการก่อสร้าง"

"ระบบราง" ค่าตัวแพงสุด

ถึง แม้จะยังไม่ประกาศตัวเลขชัดเจน แต่ในวงการบริษัทที่ปรึกษาประเมินวงเงินคร่าว ๆ เบื้องต้นมีเค้กค่าจ้างรวมถึง 60,000 ล้านบาท กระจายสัญญาจ้างใน 7 ปี ตั้งแต่ปี 2556-2563 โดย "รถไฟความเร็วสูง-รถไฟฟ้า-รถไฟทางคู่" จะมีค่าตัวที่ปรึกษามาเป็นอันดับต้น ๆ หรือรวมกันมากกว่า 40,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจ้างที่ปรึกษารถไฟความเร็วสูง 4 สาย ประมาณ 14,300 ล้านบาท ประกอบด้วยเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วงเงิน 7,000 ล้านบาท กรุงเทพฯ-หนองคาย 3,000 ล้านบาท กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ 2,500 ล้านบาท และกรุงเทพฯ-ระยอง 1,800 ล้านบาท

ส่วนรถไฟทางคู่ 11 สาย บวกกับรถไฟใหม่ 3 สาย รวมกันอยู่ที่กว่า 11,881 ล้านบาท ยังไม่นับโครงการรถไฟฟ้าอีกกว่า 15,215 ล้านบาท

เมื่อ โฟกัสเฉพาะบริษัทที่ปรึกษา "โครงสร้างพื้นฐาน" หรืออินฟราสตรักเจอร์ของเมืองไทย ในวงการฟันธงว่ามีไม่มีกี่กลุ่มที่จะแข่งกันปาดหน้าเค้กก้อนนี้อย่างไม่ ต้องออกแรงแข่งให้เหนื่อยมากนัก เพราะโครงการที่ออกประมูลทะลักทะล้นหลายโครงการ

แถมข้อมูลติดปลาย นวมในท่วงทำนอง...ที่ปรึกษาแต่ละค่ายบริหาร "คอนเน็กชั่น" กับ "บิ๊ก-บิ๊ก" ทั้งฝั่งการเมืองและกระทรวงคมนาคมมีมาอย่างยาวนาน

เปิดโผ "บิ๊กทรี" วงการ

แหล่ง ข่าวจากวงการบริษัทที่ปรึกษา กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันบริษัทที่ปรึกษาด้านอินฟราสตรักเจอร์ เช่น รถไฟ รถไฟฟ้า ถนน เป็นต้น มีรายใหญ่ไม่กี่รายที่วนเวียนเป็นขาประจำอยู่ในตลาดการประมูล เนื่องจากที่ผ่านมามีบางบริษัทที่ล่มสลายหายไปจากวงการ หรือเปลี่ยนชื่อใหม่ก็มี ขณะที่รายย่อย ๆ แทบจะไม่ต้องพูดถึง เพราะศักยภาพจะเข้ารับงานโครงการขนาดใหญ่ทำได้ลำบาก เว้นแต่จะแท็กทีมกับบริษัทรายใหญ่ให้เป็นแกนนำ ถึงจะมีสิทธิ์เข้าร่วมประมูลได้

"ดูความพร้อมและสรรพกำลังแล้ว มีแค่ 3 รายใหญ่ ๆ เท่านั้นที่จะกุมงานไว้ในมือเยอะ ๆ คือ กลุ่มทีม คอนซัลติ้งฯ กลุ่มเอ็มเอเอ คอนซัลแตนท์ และกลุ่มเออีซีหรือบริษัท เอเชียน เอ็นจิเนียริ่งฯ"

"ทีมกรุ๊ป" บริการครบวงจร

เมื่อเอกซเรย์ลงรายละเอียดจะพบว่า บิ๊กทรีของวงการแต่ละรายมีจุดแข็งไม่เหมือนกัน ทั้งเส้นทาง ประสบการณ์ และความชำนาญการดำเนินธุรกิจ

เทียบ ฟอร์มแล้วคงต้องยกนิ้วให้ "กลุ่มทีมกรุ๊ป" ธุรกิจที่ปรึกษาที่มาจากการบุกเบิกของ "ประเสริฐ ภัทรมัย" เมื่อปี 2521 จากเดิมเป็นธุรกิจในตึกแถวย่านบางกะปิ ปัจจุบันมีตึกใหญ่โตในซอยนวลจันทร์ หลังแตกแขนงงานสาขาต่าง ๆ ร่วม 15 บริษัท ให้บริการแบบครบวงจรทุกด้าน ทั้งที่ปรึกษา "แหล่งน้ำ-สิ่งแวดล้อม-การคมนาคม-โลจิสติกส์-สาธารณูปโภคพื้นฐาน-พลังงาน -อาคาร-การจัดการ-การสื่อสารและประชาสัมพันธ์-การมีส่วนร่วมของประชาชน" จนเข้าถึงงานได้ทุกที่

แม้ขณะนี้ "ประเสริฐ" จะนั่งเป็นประธานของทีมกรุ๊ป แต่มีมือไม้ที่ทำงานแทนกันได้แบบไม่ขาดตกบกพร่อง เข้าถึงทั้งระดับบิ๊ก ๆ และหน่วยงาน โดยเฉพาะ "สนข.-สำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" กับ "ทล.-กรมทางหลวง" คู่สัญญาที่รู้ไม้รู้มือกันมาอย่างยาวนาน

"ทีมกรุ๊ปจะมีจุดแข็งมีบริษัทในเครือมากที่ให้บริการครบวงจร ทั้งงานวิศวกรรม

สิ่ง แวดล้อม และประชาสัมพันธ์ ทำให้ทำงานได้ง่ายเพราะไม่ต้องจับมือร่วมกับใครก็ได้ ที่ผ่านมาคว้างานศึกษาโครงการแผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย กับรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ เช่น สีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี รถไฟความเร็วสูงก็ได้อีก 2 สาย คือ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่และหัวหิน" แหล่งข่าวกล่าว

เจาะลึกงานที่ตุนไว้ในมือของทีมกรุ๊ป พบว่าไม่ใช่แค่งานศึกษา "รถไฟฟ้า-รถไฟทางคู่-ไฮสปีดเทรน-ทางด่วน-มอเตอร์เวย์" เท่านั้น ยังมีงานคุมไซต์ก่อสร้าง เช่น สายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ล่าสุดที่เพิ่งเซ็นสัญญาไปสด ๆ ร้อนๆ มีสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) วงเงิน 1,165 ล้านบาท พ่วงด้วยงานควบคุมระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล รวมรถไฟฟ้าของสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) อีกกว่า 89 ล้านบาท

"เอ็ม เอ เอ" สายสัมพันธ์ปึ้ก

สำหรับ "กลุ่มเอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์" ว่ากันว่าช่วงหลัง ๆ มานี้เติบโตจนถึงจุดพีกสุด ได้งานที่ปรึกษารถไฟฟ้าไปครองในมือหลายสาย ทั้งที่เป็นแกนนำและร่วมทุนกับบริษัทอื่น เช่น สายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ, หัวลำโพง-บางแค) สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง (สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย) เป็นต้น

ว่ากันว่า..การที่ "เอ็ม เอ เอ" ได้งานอื้อซ่าตั้งแต่ "รัฐบาลประชาชาธิปัตย์" ยัน "รัฐบาลเพื่อไทย" แบบไม่ตกขบวนทั้งรถไฟฟ้าไปจนถึงไฮสปีดเทรน เพราะต่อสายสัมพันธ์เคลือบใยเหล็กไว้กับ

"บิ๊กการเมือง-บิ๊กคมนาคม" ทำให้ชื่อนี้ไม่ตกบัญชีที่ปรึกษาขาใหญ่ในสังกัดกระทรวงต้นหูกวาง ไม่ว่าจะป็นงานของ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" และ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย"

ล่าสุด "กลุ่มเอ็ม เอ เอ" ได้ลงนามสัญญาจ้างกับ "ร.ฟ.ท." บริหารโครงการระบบรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ด้วยวงเงิน 826 ล้านบาท ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของผู้รับเหมาและกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาคุมงานก่อ สร้าง โดยมี "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" เจ้ากระทรวงคมนาคมนั่งเป็นประธานในพิธี

"เออีซี" รุกคืบรถไฟความเร็วสูง

มา ดูที่ "กลุ่มเออีซี" ชื่อนี้โด่งดังมานาน ส่วนใหญ่จับกลุ่มกับบริษัทที่ปรึกษาที่คุ้นเคย เช่น บริษัท พีซีไอ บริษัท ไทยเอ็นจิเนียริ่ง ได้งานศึกษาโครงการใหญ่ ๆ อยู่ก็มาก

โดยเฉพาะโป รเจ็กต์ของ "ร.ฟ.ท.-รฟม." อาทิ รถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) รถไฟทางคู่ (สายลพบุรี-ปากน้ำโพ) รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ของ รฟม.ที่ได้ทั้งออกแบบและคุมงานก่อสร้าง นอกนั้นจะกระจายไปตามหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) รวมถึงกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ได้งานบ้างเป็นบางโครงการ

แต่โปรเจ็กต์ที่กลายเป็นผลงานชิ้นโบดำ คือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ หลังสร้างเสร็จแล้วกลับใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนทำให้ "บิ๊กคมนาคม" ยุคที่ผ่านมาออกอาการไม่ปลื้ม เกือบจะถูกขึ้นบัญชีดำ แต่เพราะความเก๋าบวกเจนสนามทำให้สุดท้ายก็สามารถต่อติด ล่าสุดได้งานศึกษารถไฟความเร็วสูง (สายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง) ร่วมกับกลุ่มพันธมิตร

"เดิมทีกลุ่มเออีซีใหญ่มาก แต่ก็แยกตัวกันไป ทำให้ตอนนี้เลยจุดพีกแล้ว แต่ยังได้ชื่อว่าเป็นบริษัทรายใหญ่ที่ยังได้งานอยู่เรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับรายอื่น ๆ" แหล่งข่าวกล่าว

"รายกลาง-เล็ก" ไม้ประดับ

ส่วน บริษัทรายอื่น ๆ เช่น บริษัท อินเด็กซ์, บริษัท เทสโก้, บริษัท โชติจินดา มูเชลฯ, บริษัท พีซีบีเคฯ, บริษัท พีบี เอเชีย, บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์, บริษัท นอร์ซีฟ เอ็นจิเนียริ่ง, บริษัท เอพซิลอน, บริษัท ดร.วิสิฐ เอ็นจิเนียริ่ง เป็นต้น

แหล่งข่าวจากวงการที่ปรึกษาประเมินว่า อาจจะสลับหน้าเข้ามาจับขั้วร่วมกับบริษัทรายใหญ่ ๆ เนื่องจากบริษัทที่ปรึกษาในการเสนอตัวเข้าประมูลงานส่วนใหญ่จะไม่เสนอเป็น รูปแบบกลุ่มบริษัท เพื่อให้งานครอบคลุมทุกด้าน เช่น วิศวกรรม สิ่งแวดล้อม ประชาสัมพันธ์ การตลาดหางาน เป็นต้น บางบริษัทอาจจะมีความถนัดไม่เหมือนกัน

"บางคนจะเก่งและถนัดไม่เหมือนกัน บางคนเก่งการตลาดหางานเพราะรู้วิธีเข้าหางาน จะมีหลายแบบ เช่น อาศัยความเป็นเพื่อนเรียนมาด้วยกันตั้งแต่ประถมศึกษา หรือเกี่ยวดองเป็นครอบครัวเดียวกัน แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นการมองจากคนภายนอกเท่านั้นนะ"

แหล่งข่าวกล่าว และว่า รวมทั้งยังมีเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ เป็นข้อมูลในเชิง "ลึกแต่ไม่ลับ" ประมาณว่าน่าจะมีค่าใช้จ่ายระหว่างทางไม่ต่ำกว่า 15%...อะไรประมาณนั้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44953
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/04/2013 10:04 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟความเร็วสูง "โอกาส"หรือ"ความเสี่ยง"
ThaiPBS Fri, 19/04/2013 - 19:55

โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นหนึ่งในแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลที่จะใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แต่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม แม้รัฐบาลจะเห็นว่าคุ้มค่าและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ แต่นักวิชาการบางส่วน มองว่า อาจเป็นภาระหนี้ในอนาคต เพราะขาดศึกษาอย่างรอบคอบ และการเชื่อมต่อโครงข่ายอย่างเป็นระบบ

รถไฟขบวนปกติของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่วิ่งให้บริการที่ระดับความเร็วเฉลี่ย 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่รถไฟของหลายๆ ประเทศวิ่งด้วยความประมาณ 100 - 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภายใต้แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 7 ปี ของรัฐบาล เม็ดเงิน 2 ล้านล้านบาท จึงเน้นไปที่การพัฒนาระบบราง ทั้งรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง แต่ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากถึงความเหมาะสม ทั้งความคุ้มทุน และใครคือกลุ่มผู้โดยสาร ซึ่งทุกวันนี้ผู้ใช้บริการรถไฟยังคงเป็นผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. กล่าวว่า โครงการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง จะใช้เงินลงทุน 783,229 ล้านบาท ทั้งการจ้างที่ปรึกษา เวนคืนที่ดิน ก่อสร้างและจัดหาระบบ

สำหรับค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงนั้น สนข.คิดอัตราค่าโดยสารตามแผนแม่บทที่ได้ศึกษาไว้ปี 2553 อยู่ที่ 2.50 บาท ต่อกิโลเมตร ถูกกว่าราคาที่ประเทศญี่ปุ่น และจีนศึกษาไว้เท่ากับว่าราคาตั๋ว กรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร ค่าโดยสารอยู่ที่ 1,862 บาท หรือ กรุงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร ค่าโดยสารประมาณ 563 บาท

นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ เห็นว่าการลงทุนรถไฟความเร็วสูงจะคุ้มค่าต้องมีระยะทางไม่สั้นหรือยาวเกินไป และเชื่อมต่อระหว่างเมืองเศรษฐกิจที่มีความจำเป็น

Click on the image for full size
Click on the image for full size

ขณะที่ รศ.ต่อตระกูล ยมนาค ประธานกลุ่มวิศวกรเพื่อชาติ เห็นว่า การลงทุนรถไฟความเร็วสูงอาจไม่คุ้มค่า แต่ควรลงทุนพัฒนาระบบรถไฟปัจจุบันให้ดีก่อน เช่น ทำรางคู่ทั่วประเทศเพื่อเพิ่มความเร็วของรถไฟที่ยังมีปัญหาล่าช้าจะเกิดประโยชน์มากกว่า
ทั้งนักวิชาการทีดีอาร์ไอ และนักวิชาการอิสระ ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า หากประเทศไทยจะลงทุนรถไฟความเร็วสูง จะต้องวางแผนเป็นระบบ และต้องเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอย เหมือนอย่างโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ ที่ลงทุนกว่า 30,000 ล้านบาทแต่ขาดทุนต่อเนื่อง เป็นตัวอย่างของการขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบจนกลายเป็นภาระของประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2013 2:27 am    Post subject: Reply with quote

"ชัชชาติ"ไขปม2ล้านล้าน ยกเครื่องประเทศครั้งใหญ่
รายงานพิเศษ
ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 11:28 น.


โครงการลงทุนอภิมหาโปรเจ็กต์ที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กู้มาลงทุนยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทั่วประเทศ เพื่อลดต้นทุนการขนส่งและเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ได้มีคำถามต่างๆ ตามมาพอสมควร แม้ส่วนใหญ่จะเห็นด้วย เนื่องจากนับตั้งแต่หลังวิกฤตต้มยำกุ้งเป็นต้นมาเม็ดเงินลงทุนด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในแต่ละปีนับว่าน้อยมาก

คำถามที่คนในสังคมกังขาที่สุดคือ จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นได้อย่างไร มูลค่าการก่อสร้างสูงเกินจริงหรือไม่ บางโครงการมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ทำไมไม่ให้เอกชนลงทุนคนเดียว หรือรัฐกับเอกชนลงทุนร่วมกัน แทนที่จะเป็นรัฐบาลรับภาระหนี้เงินกู้ฝ่ายเดียว และทำไมให้ต่างประเทศมาลงทุนโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เป็นต้น

คาดว่าเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท รวมดอกเบี้ยในระยะเวลาชำระหนี้ 50 ปี เม็ดเงินลงทุนจะบานปลายไปถึง 5 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว

คนที่จะตอบคำถามได้ดีที่สุดคือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ในฐานะเจ้าภาพดูแลโครงการ

เรื่องนี้ นายชัชชาติประกาศว่าเงินที่กู้มาไม่ได้กู้มาโกง แต่เพื่อนำมายกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งให้กับประเทศ ปัจจุบันไทยอยู่อันดับที่ 49 ของโลก ต่ำมากเมื่อเทียบกับมาเลเซียและสิงคโปร์ หากพัฒนาระบบขนส่งได้ตามแผนจะทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ลดลง จาก 15.2% เป็น 13.2% ได้ ภายใน 7 ปี

ส่วนข้อสงสัยว่าทำไมรัฐบาลต้องลงทุนฝ่ายเดียวนั้น การให้เอกชนมาร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเรามีหลักการคือ คำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่จะลดต้นทุนการขนส่งและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี

โดยปกติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรัฐควรลงทุนเอง แต่อาจมีบางส่วนที่รัฐลงทุนไปก่อนแล้วให้เอกชนลงทุนต่อเนื่อง ทั้งนี้หากในโครงการนี้ ส่วนใดที่เอกชนมาร่วมลงทุนจะตัดการใช้เงินกู้ออกไป

สำหรับประเด็นการลงนามความเข้าใจ (เอ็มโอยู) กับต่างประเทศที่จะมาลงทุนโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั้น การ ลงนามเอ็มโอยูไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะยังมีปมข้อขัดแย้งของสองฝ่ายอีกมาก เช่น ประเทศที่ต้องการลงทุนแล้วอยากใช้เทคโนโลยีของเขา ใช้ผู้รับเหมาของเขา ให้สัญญา 50 ปี ต้องให้สิทธิ์การใช้ที่ดิน ฯลฯ

"เงื่อนไขเหล่านี้ไม่ได้ทำกันได้ง่ายๆ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะการมาลงทุนไม่มีใครไม่ต้องการผลประโยชน์ ถ้าลงทุนแล้วต้องเสียเปรียบหรือไม่เกิดประโยชน์กับประชาชนเราคงทำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับ รายละเอียดที่จะมีข้อยุติในอนาคต" นายชัชชาติกล่าว

ส่วนแผนดำเนินงาน 3 ยุทธศาสตร์ ที่เป็นเพียงกรอบคร่าวๆ บางโครงการยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนเท่าที่ควร กลายเป็นช่องโหว่ให้ฝ่ายค้านอภิปรายแบบได้น้ำได้เนื้อ จนกลายเป็นคำถามของสังคมในหลายๆ โครงการ แต่ที่ถูกโจมตีหนักหน่วงที่สุดเห็นจะเป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 เส้นทาง ประกอบด้วย

1.สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 2.สายกรุงเทพฯ-โคราช 3.สายกรุงเทพฯ-พัทยา และ 4. สายกรุงเทพฯ-หัวหิน

นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่ารัฐบาลได้บรรจุโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงไว้ในแผนยุทธศาสตร์ที่ 2 ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ สิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือที่ใช้คำเก๋ไก๋ว่า เชื่อมไทยสู่โลก "Conectivity" โดยจะสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมไทยกับต่างประเทศ หนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการนำเข้า ส่งออก และการท่องเที่ยว ในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งลาว มาเลเซีย เมียนมาร์

ตรงนี้กลายเป็นเป้าให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านโจมตีว่ารัฐบาลเอารถไฟฟ้าความเร็วสูงของประชาธิปัตย์มาทำ แต่ตัดให้สั้นลงว่าเป็นการเชื่อมต่อกับต่างประเทศ แต่กลายเป็นว่ากรุงเทพฯ-หนองคาย (เชื่อมต่อสปป.ลาว และจีน) เหลือแค่ กรุงเทพฯ-โคราช ส่วนกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ (เชื่อมต่อมาเลเซียและสิงคโปร์) ก็เหลือเพียงกรุงเทพฯ-หัวหิน

นายชัชชาติชี้แจงว่า โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไม่ได้ทำขึ้นเพื่อเชื่อมไทยสู่โลก แต่เน้นเชื่อมต่อการเดินทางของคนในประเทศ อำนวยความสะดวกให้ คนไทยเดินทางด้วยความสะดวกปลอดภัย เพราะปัจจุบันประเทศรอบๆ ด้านยังไม่มีรถไฟฟ้าความเร็วสูงจึงยังไม่จำเป็นต้องสร้างไปถึงจังหวัดชายแดนเพื่อเชื่อมต่อกับภูมิภาค

ส่วนการเชื่อมไทยสู่โลกหรืออาเซียนนั้นจะใช้ระบบของรถไฟทางคู่เป็นกลไกหลัก เพราะปัจจุบันทุกประเทศรอบบ้านเราจัดสร้างรถไฟทางคู่พร้อมไว้หมดแล้ว หากขยายเส้นทางเพิ่มเติม ก็สามารถเชื่อมอาเซียนเข้าด้วยกันได้ทันที ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่ 1 ที่ว่าด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง สินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า ตามแผนปรับปรุง โครงข่ายทางรถไฟให้เป็นโครงข่ายการขนส่งหลักของประเทศ

ขณะที่ระยะทางก็ไม่ได้ถูกหั่นให้สั้นลง เพราะทั้ง 4 เส้นทางระบุภาพรวมไว้ชัดเจนว่าจะสร้างถึงหนองคาย และปาดังเบซาร์ แต่เป็นช่วงระยะที่ 2 ของการก่อสร้าง โดยได้จัดวางงบประมาณเผื่อไว้แล้วรวมประมาณ 7 แสนล้านบาท

แบ่งเป็น 1.สายกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 982 กิโลเมตร (ก.ม.) วงเงิน 124,327 ล้านบาท 2.สายสนามบินสุวรรณภูมิ-ระยอง ระยะทาง 221 ก.ม. วงเงิน 100,631 ล้านบาท 3.สายกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 ก.ม. วงเงิน 170,450 ล้านบาท 4.สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 679 ก.ม. วงเงิน 387,821 ล้านบาท

"การเชื่อมโยงเบื้องต้นเป็นการเชื่อมโยงกับสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างปาดัง เบซาร์มีรถไฟอยู่แล้วเราเชื่อมแน่ ส่วนสปป.ลาวจะมีการเชื่อมต่อไปถึงเวียงจันทน์แน่ ขอย้ำว่าเราจะเชื่อมเมื่อทุกคนพร้อม" นายชัชชาติกล่าว

ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ที่ถูกโจมตีหนักว่ารัฐบาลจัดสรรตามภาคนิยม เพราะมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจต่ำที่สุดเป็นอันดับ 4 ขณะที่ผลตอบแทนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุด

นายชัชชาติกล่าวว่า ที่ต้องทำสายเชียงใหม่ก่อน เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาล และการเชื่อมกับ จ.เชียงใหม่ จะได้ประโยชน์กว่า เพราะมีโอกาสที่จะชิงส่วนแบ่งผู้โดยสารจากสนามบินเชียงใหม่ ที่แต่ละปีมีปริมาณผู้โดยสารมากถึง 5 ล้านคน

ส่วนข้อกล่าวหาเรื่องงบฯ ก่อสร้างสูงเกินจริง โดยต้นทุนก่อสร้างบางเส้นทางสูงสุดมีราคาถึง 620 ล้านบาทต่อก.ม. ขณะที่ค่าก่อสร้างในต่างประเทศอย่างสเปน เส้นทางกรุงมาดริด-อาบาเซเต้ ต่ำเพียง 380 ล้านบาทต่อก.ม.นั้น

นายชัชชาติกล่าวว่า ราคาค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงจะแตกต่างกันตามรูปแบบของการก่อสร้าง ตั้งแต่ระดับดิน แบบยกระดับ แบบเจาะอุโมงค์และแบบใต้ดิน ขึ้นอยู่กับสภาพแต่ละพื้นที่ หากมีการก่อสร้างผ่านตัวเมืองก็ต้องก่อสร้างเป็นแบบยกระดับ ราคาค่าก่อสร้างจะเริ่มตั้งแต่ 360 ล้านบาทต่อก.ม. ถึง 2 พันล้านบาทต่อก.ม.

ค่าก่อสร้างของไทยประเมินไว้ล่าสุดอยู่ที่ 516 ล้านบาทต่อก.ม. เป็นราคาที่ไม่ได้สูงผิดปกติ เพราะมีการก่อสร้างทั้งแบบระดับดินและยกระดับ ซึ่งจะทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

นี่คือคำชี้แจงของนายชัชชาติ ที่ต้องรับผิดชอบเงินกู้ก้อนมหึมา 2 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลบรรจงกู้มาพัฒนาประเทศ

แต่จะทำให้คนไทยและเศรษฐกิจไทย ดีอย่างที่โฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาล หรือไม่

เป็นหน้าที่ของคนไทยเจ้าของเงินภาษีต้องติดตาม ห้ามกะพริบตา



เปิด3ยุทธศาสตร์-ลงทุนใน7ปี

ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ... จำนวน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรวาระแรกแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการแปรญัตติของคณะกรรมาธิการวิสามัญ

โดยรัฐบาลมีแผนดำเนินงาน 3 ยุทธศาสตร์ ที่กำหนดจะลงทุนให้ได้ภายใน 7 ปีนับจากนี้ ได้แก่

1.ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง สินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า วงเงิน 354,560.73 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.1 แผนปรับปรุงโครงข่ายทางรถไฟให้เป็นโครงข่ายการขนส่งหลักของประเทศ

1.2 แผนสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางลำน้ำและชายฝั่ง อาทิ โครงการก่อสร้างท่าเรือชุมพร สร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 สร้างสถานีขนส่งทางลำน้ำเพื่อการประหยัดพลังงานที่ จ.อ่างทอง สร้าง ท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล

1.3 แผนการอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่อเนื่องหลาย รูปแบบเพื่อเชื่อมโยงกับฐานการผลิตและฐานการส่งออกที่สำคัญของประเทศ

2.ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน วงเงิน 1,042,376.74 ล้านบาท ประกอบด้วย

2.1 แผนพัฒนาประตูการค้าหลักและประตูการค้าชายแดน อาทิ โครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านศุลกากร พัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ พัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทเชื่อมต่อด้านการค้า การลงทุน และการขนส่ง

2.2 แผนพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค วงเงิน 994,430.90 ล้านบาท อาทิ โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วงเงิน 387,821 ล้านบาท, กรุงเทพฯ-หนองคาย วงเงิน 170,450 ล้านบาท, กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 124,327 ล้านบาท

โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง โครงการสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ, สายบ้านไผ่-นครพนม โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา, สายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี และสายพัทยา-มาบตาพุด

3.ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว วงเงิน 593,801. 52 ล้านบาท ประกอบด้วย

3.1 แผนงานพัฒนาระบบขนส่งในเขตเมือง อาทิ รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-หัวหมาก สายสีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง, รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต แอร์พอร์ตลิงก์ ช่วงดอนเมือง-พญาไท รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-บางแค รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม แบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู และหมอชิต-คูคต รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ สีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง

3.2 แผนงานพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลัก อาทิ เร่งรัดขยาย 4 ช่องจราจร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2013 2:39 am    Post subject: Reply with quote

คลังรับ"ไฮสปีด"แพงไปไม่คุ้มลงทุน
โพสต์ทูเดย์
19 เมษายน 2556 เวลา 12:00 น.

“กิตติรัตน์” ยอมรับไฮสปีดเทรนแพง ไม่คุ้มลงทุน พร้อมเปลี่ยนแปลง

นายสุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงไม่มีทางถึงจุดคุ้มทุนแน่นอน เพราะจำนวนผู้โดยสารในปีแรกจะเป็นดัชนีชี้วัดว่าโครงการประสบความสำเร็จหรือไม่ และหากจะคุ้มค่าการลงทุนจะต้องมีผู้โดยสารที่ 9 ล้านคนในปีแรก

ทั้งนี้ จากผลวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของรถไฟความเร็วสูงทั่วโลก พบว่าผู้โดยสารในปีแรกสำคัญมาก ต้องไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคนในระบบการลงทุนปกติ แต่สำหรับไทยที่มีต้นทุนต่อกิโลเมตรค่อนข้างสูง ต้องมีผู้โดยสารอย่างน้อย 9 ล้านคน จึงจะคุ้มค่าที่จะลงทุนโครงการนี้ต่อ

“รัฐต้องรอบคอบ เพราะมีตัวอย่างชัดเจนจากรถไฟฟ้าใต้ดินที่ตั้งเป้าผู้โดยสาร 6 แสนคนต่อวัน แต่ปัจจุบันมีเพียง 2 แสนคนเท่านั้น การลงทุนที่รู้อยู่แล้วว่าไม่คุ้มค่า จะสร้างภาระทางเศรษฐกิจให้ประเทศ” นายสุเมธ กล่าว

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวว่า การที่ทีดีอาร์ไอมองว่าแพงเกินไปและไม่คุ้มค่าก็เป็นเรื่องจริง แต่ขณะนี้สภาพัฒน์จะต้องศึกษาว่าคุ้มค่าลงทุนหรือไม่ ถ้าไม่คุ้มค่าก็ปรับไปลงทุนโครงการอื่นที่คุ้มค่ากว่า

“การลงทุน 2 ล้านล้านบาท ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีก และต้องประเมินทุกอย่างพร้อมกัน เมื่อดูว่าไม่คุ้มค่าก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนตามนั้น ก็ต้องปรับไปลงทุนในสิ่งที่คุ้มค่ามากกว่า” นายกิตติรัตน์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2013 6:05 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าความเร็วสูง''แม่เหล็ก''บูมการค้า-ลงทุนภาคเหนือ
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
19 เมษายน 2556


โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯเชียงใหม่ มูลค่า 387,821 ล้านบาท ที่รัฐบาลกำลังเดินหน้าผลักดัน ล่าสุด กระทรวงคมนาคมระบุว่า หลังจากเดินสายจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน ต่อโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟ ความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยระบุว่า เดือนส.ค.นี้ น่าจะเสนอข้อมูลให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณา รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม คาดจะใช้เวลา 3 เดือนก่อนประกาศประกวดราคาได้ช่วงปลายปี 2556 หรือ
ต้นปี 2557 เริ่มก่อสร้างได้ปลายปี 2557 การก่อสร้างช่วงแรก คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ส่วนช่วงที่สอง เส้นทาง พิษณุโลก- เชียงใหม่ คาดจะก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งเส้นทางในปี 2562

ด้วยงบประมาณการลงทุนที่มีมูลค่าสูงถึง 387,821 ล้านบาท รัฐบาลจึงกำหนดรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ กับเอกชน หรือ PPP ( Public Private Partnership ) ที่ผ่านมารัฐบาลได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) กับ ประเทศจีนแล้ว เพราะการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญครั้งนี้ จะพลิกโฉมประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดที่รถไฟความเร็วสูงวิ่งผ่านและเป็นที่ตั้งของสถานีจอดทั้ง 12 สถานีย่อย

สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นจุดหมายปลายทางของขบวนรถไฟสายนี้ ถือเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยวและการลงทุนที่สำคัญของภูมิภาค ขณะเดียวกันมีโครงการลงทุนที่สำคัญของรัฐบาล ซึ่งเป็นแม่เหล็กดึงดูด สำคัญ

นายณรงค์ตนานุวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการข้อมูลการค้าการลงทุน จังหวัดเชียงใหม่ (TIS-C) ระบุว่า ปัจจุบัน เชียงใหม่มีจำนวนประชากรกว่า 1.7 ล้านคน มีรายได้ประชากรเฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 79,971 บาทต่อคนต่อปี ในปี 2555 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงใหม่ (GPP) ขยายตัว 3.8 % หรือประมาณ 143,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่ มีการเติบโตอยู่ที่ 2.8% หรือประมาณ 138,000 ล้านบาท จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เติบโตต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็น
ผลจากการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้างโครงการต่างๆ ในเชียงใหม่ที่เพิ่มขึ้น ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟ ความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่น่าจะเป็นแรงกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต

"โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯเชียงใหม่ ระยะทาง 680 กิโลเมตร (น่ากลัวว่าจะเล่นทางช่วงสุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - วังชิ้น กอ่นไปลำปางแน่ๆ) มีสถานีตลอดเส้นทาง 12 สถานี ใช้ เวลาในการเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง วิ่งด้วยความเร็วสูงขั้นต่ำ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ราคาค่าโดยสารอยู่ที่ 1,700 – 2,000 บาทต่อเที่ยวต่อคน คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินจากการเดินรถไม่ต่ำกว่า 25% รองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 20,000 คน ต่อวัน หรือประมาณ 7.2 ล้านคนต่อปี ซึ่งจะส่งผลดีต่อประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจของเชียงใหม่ให้เติบโตไป พร้อมๆ กัน "นายณรงค์ กล่าว

นายพัฒนาสิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจหอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ กล่าวว่า โครงการรถความเร็วสูงที่เกิดขึ้นนอกจากส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภาคเหนือ ยังส่งผลให้ ภูมิภาคนี้เกิดความตื่นตัว โดยเฉพาะจังหวัดที่มีสถานีจอดและรถไฟวิ่งผ่าน ตั้งแต่พิษณุโลกถึงเชียงใหม่ นอกจากราคา ที่ดินใกล้เส้นทางที่รถไฟตัดผ่านจะปรับตัวสูงขึ้น จะกลายเป็นแม่เหล็กกระจายความเจริญไปยังท้องถิ่น

"รถไฟความเร็วสูงจะเปลี่ยนโฉมหน้า

ระบบการค้าของภูมิภาคมากแต่ปริมาณของผู้คนที่เดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้สินค้าต่างๆไหลเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆส่วนจังหวัดเชียงรายแม้เส้นทางรถไฟยังเชื่อมไปไม่ถึงแต่ต้องเร่งพัฒนาเส้นทาง เพราะเชียงรายถือเป็นจุดเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ"

ผศ. ดร. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลัก เป็นระบบรางแตกต่างกับการคมนาคมทางอากาศ จะทำให้เมืองที่ ไม่เจริญมีความเจริญขึ้นทันทีที่เส้นทางรถไฟวิ่งผ่าน ที่เห็นชัดเจน คือ ราคาที่ดิน หากเปรียบเทียบข้อดีของเส้นทางรถไฟ กับการตัดถนน ถนนจะโตแบบกระจายตัว แต่รถไฟต้องมีการวางแผนการพัฒนาเมืองควบคู่กันไป ถือเป็นผลพลอยได้ที่ ทำให้เมืองที่เส้นทางรถไฟตัดผ่านได้รับการพัฒนา

การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง ต้องมองให้ลึกในหลายมิติทั้งจุลภาค และมหภาค ต้องมองถึงแผนรองรับใน ระยะสั้นและระยะยาว เราปฏิเสธไม่ได้ว่าโครงการนี้มีผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะความต้องการมีอยู่แล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่ เห็นแอ๊คชั่นแพลนที่ชัดเจน ประเด็นที่อยากเห็นเวลานี้ คือ ทิศทางที่ชัดเจนของโครงการทั้งรายละเอียดต่างๆและ รายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่เป็นสถานีย่อย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44953
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/04/2013 11:04 am    Post subject: Reply with quote

สำนักข่าวซินหัว สัมภาษณ์พันศักดิ์ วิญญรัตน์ 18 เม.ย. 56

Interview: Thai high-speed rail system to speed up movement of goods and passengers
English.news.cn 2013-04-18 12:21:05
By Surasak Tumcharoen

BANGKOK, April 18 (Xinhua) -- The multi-billion dollar high- speed rail system that Thailand will be building is primarily designed to speed up the movement of goods and passengers, promote domestic consumption and boost the country's economic growth, according to Pansak Winyarat, chief economic adviser to Prime Minister Yingluck Shinawatra.

In an interview with Xinhua, Pansak said that with a budget of about 730 billion U.S. dollars, to be financed by loans, the rail system will be modernized and expanded throughout the country to link its major provinces with one another and with its neighboring countries.

Equipped with high-speed trains, the rail system will be able to deliver farm produce such as fresh foods and vegetables much faster than ever to varied destinations, either within the country or abroad, said Pansak, who also served as economic adviser to former premiers Chatichai Choonhavan and Thaksin Shinawatra.

Phase one of the hi-speed rail system, which is estimated to cost 25 billion U.S. dollars, will link Bangkok to Chiang Mai in the north, Nakorn Ratchasima in the northeast, Pattaya in the east and Hua Hin in the upper south.

Pansak said that under the current rail system, it will take more than 12 hours to travel from Bangkok to Chiang Mai for a distance of 700 kilometers, But under the proposed hi-speech train system running from 250 to 300 kilometers per hour, it will only take less than four hours over the same distance.

"We've designed the high-speed rail system to deliver fresh fruits and vegetables aside from shuttling passengers,"Pansak said.

He said that the efficient transport of goods by the modern railway system would mean less cost for consumers.

"For that reason, people would buy more of the fast-delivered farm products while the farmers would undoubtedly make more earnings. That's how the national economy will grow."

"Apples from the United States currently sell at lower prices in Thailand than Thai mangoes. Why? It's simply because today's air freight for the imported apple costs much less than in previous years," Pansak said.

He also said that businesses will flourish in the areas where the trains pass with restaurants, convenience stores and hotels definitely sprouting in the vicinity of the railway stations.

"We'll follow the business model in Japan's Kyushu Island where up to 58 percent of its rail system's income is derived from trading and servicing at food shops, convenience stores and hotels near the railway stations. Though Kyushu does not have as many as 17 million commuters as in Tokyo per day, it has made as much as 330 billion yen in annual earnings," he said.

Pansak said that the Yingluck government plans to negotiate linking of the Thai rail system with those of China and Laos to make Thailand a regional logistics hub and expand connectivity between member states of the ASEAN Economic Community which is scheduled to come into being by 2015.

Editor: Yang Lina
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2013 5:19 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สำนักข่าวซินหัว สัมภาษณ์พันศักดิ์ วิญญรัตน์ 18 เม.ย. 56

Interview: Thai high-speed rail system to speed up movement of goods and passengers
By Surasak Tumcharoen
Xinhua 18 April 2013 12:21:05

"We've designed the high-speed rail system to deliver fresh fruits and vegetables aside from shuttling passengers,"Pansak said.

"We'll follow the business model in Japan's Kyushu Island where up to 58 percent of its rail system's income is derived from trading and servicing at food shops, convenience stores and hotels near the railway stations. Though Kyushu does not have as many as 17 million commuters as in Tokyo per day, it has made as much as 330 billion yen in annual earnings," he said.


Like father like son indeed since Khun Phansak's son [PM Yinglux' adviser] also shares the same thought of designing the high-speed rail system to deliver fresh fruits and vegetables aside from shuttling passengers.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2013 6:58 pm    Post subject: Reply with quote

ขายฝัน7 ปี “เสร็จ”ใคร! “รถไฟ”จะไปโคราช

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 20 เมษายน 2556 08:00 น.

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -เมื่อช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์ มีการจัดงานสัมมนา “โครงข่ายคมนาคมกับทิศทางการพัฒนาเมือง” มีผู้ร่วมสัมมนา ทั้งจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านผังเมืองกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นต้น

มีเรื่องที่น่าสนใจต่อเนื่องมาจาก ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในโครงการไทยแลนด์ 2020

วงเสวนานี้ พูดในเชิงลึกถึง “แผนลงทุนพัฒนาโครงการระบบขนส่งและการคมนาคมของประเทศ”เป็นหลัก

นายปรีชา รณรงค์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย บอกว่า กระทรวงมหาดไทยได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัด และโยธาธิการแต่ละพื้นที่ ให้ปรับปรุงแก้ไขผังเมืองในความรับผิดชอบของตัวเอง

“เพื่อรองรับการตั้งสถานีขนส่งระบบรางของรถไฟความเร็วสูงเข้าไปในพื้นที่ตามแผนงานของกระทรวงคมนาคม”

มีการแก้ไขเบื้องต้นในลักษณะเพิ่มโอกาสในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เปลี่ยนแปลงผังสีโดยรอบสถานีในรัศมี 500 เมตร - 2 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ให้สามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น แต่ยังไม่อนุญาตให้แก้ไขพื้นที่สีเขียว (ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม) และพื้นที่สีเขียวลาย (ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม) โดยให้ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

กระทรวงคมนาคมอาจต้องพิจารณาเรื่องที่ตั้งสถานีอีกครั้ง หากต้องการหลีกเลี่ยงบริเวณสีเขียว!

กระบวนการ แก้ไขปรับปรุงผังเมืองยังเน้น เรื่องการศึกษาวิเคราะห์เชิงวิชาการ และ การดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายทุกขั้นตอน เช่น การประชุมผังเมืองจังหวัด การเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย

ส่วนผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ ที่จะประกาศใช้ในเดือน พ.ค.นี้ ได้มีการปรับปรุงผังสีกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงแล้ว โดยเน้นในย่านพหลโยธินเป็นหลัก พร้อมกับปรับผังบริเวณที่จะเป็นศูนย์กลางย่อย (Subcenter) ตามแนวรถไฟฟ้าใต้ดิน

ขณะที่ นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม บอกว่า ประมาณเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้ จะเปิดให้ต่างชาติเข้ามาเสนอระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)

โดยกระทรวงจะกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นด้านเทคนิค และกำหนดราคาที่ต้องการไว้ในใจ เช่น ใช้ต้นทุนค่าบริหารจัดการประมาณ 10 สลึงต่อกิโลเมตร โดยคำนวณราคาระยะยาว 30-50 ปี จากนั้นจะจัดตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาคัดเลือก

สนข.ประเมินว่าจะมีประเทศต่างๆ เข้าแข่งขันเสนอระบบไฮสปีดเทรนให้ไทยจำนวนมาก ที่ผ่านมามีหลายประเทศแสดงท่าทีสนใจบ้างแล้ว เช่น ฝรั่งเศส สเปน ญี่ปุ่น

นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องย้ายสถานีรถไฟเดิมบางสถานี เช่น สถานีหัวหิน นครราชสีมา ซึ่งจะรับฟังความคิดเห็นให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย.นี้ และทยอยเปิดประมูลก่อสร้างงานระบบและงานโยธา

ดังนนั้ เมื่อมีรถไฟความเร็วสูง ก็จำเป็นต้องเชื่อมโยงระบบขนส่งทั้งหมดเข้าด้วยกันแบบบูรณาการ รวมทั้งต้องปรับผังเมือง เพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ทั้งนี้สนข.ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านพหลโยธิน จำนวน 2,325 ไร่ เป็นศูนย์กลางการคมนาคม ที่เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมตั้งแต่บริเวณบางซื่อ เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ หมอชิต สวนจตุจักร และกิโลเมตรที่ 11

โดยจะย้ายกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เข้ามาอยู่ในบริเวณดังกล่าว และมีสถานีไฮสปีดเทรนเชื่อมเข้ามาถึงด้วย

สรุปก็คือ “เปิดทางต่างชาติ ร่วมวงไฮสปีดเทรน ก.ย.-ต.ค.นี้ชัวร์”

ที่ชัดเจนไปกว่านั้น

ก่อนจะปิดเทศกาลสงกรานต์ยาว ๆ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีโอกาสให้การต้อนรับ คณะของ นายอเล็กซานเดอร์ ซี เฟลด์แมน ประธานสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐฯ ที่นำนักธุรกิจสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐฯ (US-ASEAN Business Council-USABC) เข้าเยี่ยมคารวะนายกฯ ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

ทั้งหมด เป็นนักลงทุน 30 บริษัทของสหรัฐ ที่เดินทางมาไทย เพื่อศึกษาและสนใจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนการขนส่งสำหรับภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย

เป็นนักธุรกิจในสาขาสำคัญต่างๆ อาทิ ธุรกิจการเงิน เครดิต และประกันภัย ธุรกิจเกษตร อาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจน้ำมันและพลังงาน ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และ ไอที ธุรกิจยานยนต์ การขนส่ง และโลจิสติกส์

นายสุรนันท์ เวชชชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี บอกว่า นโยบายของรัฐบาลในปีนี้ มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อเพิ่มพูนความเชื่อมโยง โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูง ที่รัฐสภาได้ผ่าน พรบ. กู้เงินในวาระแรก โดยจะนำเงิน 66,000 ล้านบาท มาลงทุนเพื่อพัฒนาระบบราง

ขณะที่นักธุรกิจสหรัฐ ฯก็ตังเป้าที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ ของไทย

อีกเรื่องต่อเนื่องกัน หลังจากนักธุรกิจสหรัฐกลับไปไม่นาน จู่ๆก็มีกระแสข่าว รัฐบาลจีนพรากตัวหลินปิง คืนสู่อ้อมอกของสวนสัตว์เชียงใหม่ตามกำหนดเดิมคือในเดือนพฤษภาคม 2556

ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างยิ่ง เพราะในช่วงต้นของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีการยืนยันถึงข้อตกลงระหว่างไทย-จีน ที่เริ่มต้นไว้ตั้งแต่ยุคอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ในเรื่องโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีการเสนอกรอบการเจรจาผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไทยไปแล้ว และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็ทำท่ากระตือรือร้นที่จะสานต่อในเรื่องนี้

ถึงขนาดมีการพบปะกันหลายครั้งระหว่างผู้นำของสองประเทศ แต่จู่ๆ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็กลับลำง่ายๆ ว่า จะลงทุนทำรถไฟความเร็วสูงเองโดยไม่ลงทุนร่วมกับจีนตามข้อตกลงเดิม

“การร่วมทุนกับจีนมีความยุ่งยาก” แต่กลับไม่เคยมีใครหน้าไหนในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ออกมาพูดถึงผลกระทบที่จะตามมา เมื่อรัฐบาลไทยตัดสินใจฉีกข้อตกลงที่ทำกับจีนทิ้งโดยไม่ให้เหตุผล”

แต่พอมีกระแสรัฐบาลจะ“เปิดทางต่างชาติ ร่วมวงไฮสปีดเทรน ก.ย.-ต.ค.นี้” กลบกระแสที่รัฐบาลบอกว่า จะลงทุนทำรถไฟความเร็วสูงเอง แถมนักลงทุนสหรัฐก็สนใจ บวกกับเจ้าเดิมที่รัฐบาลไปเจรจา เช่น ฝรั่งเศส สเปน ญี่ปุ่น

ภาพเลยออกมาเป็นว่า “ไม่เอาจีน แต่จะเอาสหรัฐ” เพื่อใคร!!

อีกด้านเรื่องเดียวกัน นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ส.ส.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ไปขายฝันให้กับคนโคราชช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่เขาประกาศอย่างหนักแน่นว่า แผนลงทุนพัฒนาโครงการระบบขนส่งและการคมนาคมของประเทศ จะประกอบด้วย

โครงการลงทุนก่อสร้างระบบราง “รถไฟความเร็วสูง” ที่มีความเร็ว 250 กม./ชม. “รถไฟรางคู่”ความเร็ว 120 กม./ชม. เป็นการก่อสร้างระบบราง ประมาณ 65% แถมยังอ้างว่า รัฐบาลจะก่อสร้างตั้งแต่จากกรุงเทพฯ ไปยัง จ.หนองคาย แม้ในร่างพ.ร.บ.จะระบุอย่างชัดเจนแค่ “กรุงเทพฯ-นครราชสีมา”

“ผ่าน กรุงเทพ-พระนครศรีอยุธยา-สระบุรี-นครราชสีมา เข้าไปยังอีสานเหนือ ขอนแก่น อีกสายไปยังภาคอีสานตอนล่าง จ.บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี”

“พี่น้องประชาชน จะมีทางเลือกได้ คนไหนที่จะเดินทางแบบไม่ต้องรีบเดินทางด้วยรถไฟรางคู่ความเร็ว 110-120 กม./ชม. คนไหนที่รีบจะไปกรุงเทพฯ เดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง ฉะนั้นสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง เมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ สิ่งแรกคือเรื่องการตรงต่อเวลา เมื่อรถไฟความเร็วสูงจอดสถานีแค่ 2-3 นาที ถ้าไม่รีบขึ้นจะปิดประตูอัตโนมัตินั้น จะสอนให้คนตรงต่อเวลา ซึ่งตรงนี้เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนและจะสอนให้คนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพราะจะไปยืนแบบขึ้นตรงไหนไม่ได้แล้ว จะต้องยืนตามคิว เพราะจะมีช่อง ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้กำลังจะเป็นการเปลี่ยนแปลงให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งถือว่าการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

ส.ส.ผู้นี้บอกกับคนโคราชแบบนี้! แถมเขายังเล่าเรื่องของโครงการก่อสร้างถนนที่อยู่ในความดูแลของกรมทางหลวง ทั้งสองโครงการ ด้วยงบประมาณประมาณกว่า 3 แสนล้านบาท เช่น ทางหลวงมอเตอร์เวย์สาย บางปะอิน-นครราชสีมา, ถนนสายโชคชัย-เดชอุดม 4 ช่องทางจราจร

“ในส่วนกรมทางหลวงชนบท อะไรที่เป็นถนนเข้าสู่แหล่งเกษตรกรรม แหล่งการท่องเที่ยว แหล่งนิคมอุตสาหกรรม เราจะทำแบบยกระดับมาตรฐานให้มีคุณภาพขึ้น”.

เขาย้ำสุดท้ายกับคนโคราช ว่า “7 ปีแล้วเสร็จแน่” อะไรเสร็จไม่รู้

“สร้างไม่เสร็จ แบบโฮปเวล์ในกรุงเทพฯ หรือสร้างเสร็จไม่ต่ำกว่า 7 ปี

เชื่อว่าคนโคราชส่วนใหญ่คงคิดเช่นนั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2013 7:05 pm    Post subject: Reply with quote

“ชัชชาติ” ลั่นกู้ 2.2 ล้านล้านไม่โกง โปร่งใส ตรวจสอบได้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 เมษายน 2556 16:25 น.

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดสัมมนา “ไทยแลนด์ 2020 ก้าวใหม่ เชื่อมไทยสู่โลก” (โฆษณาชวนเชื่อสัญจร?) ที่จังหวัดหนองคาย

หนองคาย - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดสัมมนาไทยแลนด์ 2020 ก้าวใหม่ เชื่อมไทยสู่โลกหวังสร้างความเชื่อมั่น พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ลั่นไม่มีทุจริต รถไฟความเร็วสูงถึงหนองคายแน่ ดันเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าในภูมิภาค

วันนี้ (19 เม.ย.) ที่หอประชุมประจักษ์ศิลปาคม ศูนย์ราชการจังหวัดหนองคาย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดสัมมนา “ไทยแลนด์ 2020 ก้าวใหม่ เชื่อมไทยสู่โลก” พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการหน่วยงานในสังกัด ซึ่งกระทรวงคมนาคมเลือกจังหวัดหนองคาย เป็นเวทีแรกในการกระจายข้อมูลและระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ทั้งด้านการขนส่งทางบก ทางน้ำ และระบบราง

เนื่องจาก จ.หนองคาย เป็นเมืองเศรษฐกิจชายแดนที่เชื่อมต่อประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในอนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย เชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงของประเทศจีน ที่ผ่านมายังนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยเชื่อมต่อกันที่สะพานข้ามแม่น้ำโขง จ.หนองคาย

นายชัชชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยขาดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญมานานกว่า 10 ปีแล้ว งบประมาณประจำปีส่วนใหญ่เป็นเงินเดือน ส่วนที่จัดสรรก่อสร้าง หรือปรับปรุงถนนปีหนึ่งทำได้เพียง 5 กิโลเมตร จึงต้องกู้เงินมาพัฒนาระบบขนส่ง ทั้งการขยายถนน โครงการรถไฟรางคู่ 3 โครงการ คือ

สายถนนจิระ-หนองคาย
สายชุมทางถนนจิระ- อุบลราชธานี
สายบ้านไผ่-นครพนม และ
การพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา

ในอนาคตจะขยายเส้นทางจนถึง จ.หนองคาย ภายในปี 2563 รวมถึงโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 7 โครงการ 5 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ นครพนม ศรีสะเกษ หนองคาย สุรินทร์ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา โครงการบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค 18 โครงการ 4 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย ขอนแก่น อุดรธานี และนครราชสีมา

รวมถึงการลงทุนสถานีขนส่งสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง และการขนส่งสินค้าจากในประเทศ เชื่อมต่อกับโครงข่ายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวมากขึ้น ทำให้ในอนาคตหนองคายจะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ และเป็นศูนย์กลางของการกระจายสินค้าในภูมิภาคนี้

นายชัชชาติ กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นที่สนใจของคนไทย รัฐบาลกำหนดไว้ 4 สายทาง 1,447 กิโลเมตร ผ่าน 24 จังหวัด ขบวนวิ่ง 200 เที่ยวต่อวัน ผู้โดยสาร 40 ล้านเที่ยวต่อปี โดยสายที่ 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง สายที่ 2 กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ สายที่ 3 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และสายที่ 4 กรุงเทพฯ-หัวหิน คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2565 ส่วนรถไฟทางคู่นั้น ปี 2563 จะเพิ่มรถไฟทางคู่ 2,859 กิโลเมตร เพิ่มโครงข่ายจาก 47 จังหวัดเป็น 53 จังหวัด

นายชัชชาติ กล่าวถึงประเด็นปัญหาที่หลายคนสงสัยถึงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะทำให้คนไทยเป็นหนี้ 50 ปีว่า เรื่องนี้ต้องดูจากตัวเลขจีดีพี ปีหนึ่งจีดีพีของไทยประมาณ 11 ล้านล้านบาท รัฐบาลกู้มา 2 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับตัวเลขจีดีพีแล้วไม่สูง โครงการพัฒนาระบบขนส่งนี้อยู่ในระยะเวลา 7 ปี เฉลี่ย 1 ปี ใช้งบประมาณ 3 แสนล้านบาท อัตราการเป็นหนี้ไม่สูงเหมือนที่กังวล

ที่สำคัญ รถไฟความเร็วสูง 80% เป็นงานในประเทศ การสร้างถนน 100% อยู่ในประเทศ มีการจ้างงาน ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียน ทุกโครงการมีแผนงานนำเสนอ ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ ไม่ต้องกลัวว่าจะทุจริตคอร์รัปชัน

ทั้งนี้ หลังจากมีข่าวโครงการรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-หนองคาย ทำให้ราคาที่ดินใน จ.หนองคาย โดยเฉพาะเส้นทางรอบเมือง ที่สามารถเชื่อมต่อกับสะพานมิตรภาพไทย-ลาว บริเวณ ต.หนองกอมเกาะ อ.เมือง ขยับพุ่งสูงขึ้นจากเดิมไร่ละ 500,000-1,000,000 บาท เป็นไร่ละ 2,000,000 บาท และมีกลุ่มทุนมากว้านซื้อที่ดินไปกว่าร้อยละ 40 แล้ว

//--------------------------------------------------

“ทนง พิทยะ” อดีต รมว.คลัง หนุนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้าน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 เมษายน 2556 16:37 น.

“ทนง พิทยะ” อดีต รมว.คลัง เห็นด้วยลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้าน แนะพัฒนารถไฟรางคู่ ก่อนรถไฟความเร็วสูง

นายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในส่วนของโครงการการลงทุน 2 ล้านล้านบาทนั้น ส่วนตัวเห็นด้วยกับการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล แต่มองว่า รัฐบาลจะต้องจัดลำดับความสำคัญของโครงการ เช่น โครงการการลงทุนในระบบรางที่สามารถทำเป็นสแตนดาร์ด เกจ หรือร่วมทางระบบขนส่งมวลชนและระบบขนส่งสินค้าเข้าด้วยกัน มากกว่าการจัดทำรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพราะใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูงมากถึง 800,000 ล้านบาท และใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างนาน ซึ่งอาจไม่คุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ยังมองว่ารถไฟระบบรวมเช่นนี้ เบื้องต้นจะมีระยะทาง 1.4 พันกิโลเมตร มีความเร็ว 150-160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถือว่ามีความเพียงพอต่อการขนส่งสินค้า และการเดินทางของประชาชน ทั้งนี้ หากในอนาคตประเทศไทยมีศักยภาพ และมีรายได้เพียงพอก็สามารถพิจารณาก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงต่อไปได้

//-----------------------------

กู้ 2 ล้านล้านปูพรมพัฒนาโครงข่ายขนส่งอีสาน 5 แสนล้าน ใช้ทางคู่เชื่อมเพื่อนบ้านเป็นหลัก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 เมษายน 2556 12:54 น.


“คมนาคม” เดินสายชี้แจง พ.ร.บ.กู้เงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท เริ่มที่หนองคาย “ชัชชาติ” เผยอีสานใช้เม็ดเงิน 5 แสนล้านบาทพัฒนาโครงข่ายถนน รถไฟ ยันรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคายเกิดแน่ แต่เป็นระยะ 2 ส่วนการเชื่อมเพื่อนบ้านจะใช้โครงข่ายรถไฟทางคู่ เป็นหลักและพร้อมลงทุนได้ทันที

เมื่อวันที่ 19 เมษายน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดนิทรรศการและการสัมมนา “Thailand 2020 ก้าวใหม่ เชื่อมไทยสู่โลก” ที่ศาลากลางจังหวัดหนองคายโดยมีผู้บริหารของกระทรวงคมนาคม หัวหน้าหน่วยงานในสังกัด ภาครัฐและเอกชน ผู้แทนองค์กรท้องถิ่นและนักวิชาการ ว่า เป็นนำข้อมูลรายละเอียดโครงการต่างๆ ของแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทมา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีการลงทุนในสัดส่วน 25% หรือประมาณ 5 แสนล้านบาท โดยจะมีโครงการรถไฟทางคู่ 3 โครงการ (จิระ-หนองคาย,ชุมทาวถนนจิระ-อุบลราชธานี ,บ้านไผ่-นครพนม) รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-โคราชและขยายถึงหนองคายในปี 2563 โครงการถนน4 ช่องจรายร 7 โครวการใน 5 จังหวัด โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา โครงการบูรณะทางหวงสายหลัก 18 โครงการ ใน 4 จังหวัด รวมถึงมีสถานีขนส่งสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า เภื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งสินค้าเชื่อมกับ AEC

ทั้งนี้ การเชื่อมการขนส่งโดยรถไฟกับประเทศเพื่อนบ้านนั้น จะเน้นที่รถไฟทางคู่เป็นหลักก่อนซึ่งได้มีโครงการเต็มรูปแบบและวงเงินกำหนดไว้ในพ.ร.บ.2 ล้านล้านแล้ว เช่น เชื่อมกับลาวที่ท่านาแล้ง เชื่อมกับกัมพูชาที่ คลองลคก-ปอยเปต เชื่อมกับมาเลเซียที่ ปาดังเบซาร์ส่วนรถไฟความเร็วสูงนั้น ยืนยันว่านโยบายรัฐบาลจะก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพ-หนองคายแน่นอน แต่ในช่วงแรกจะลงทุนไปถึงนครราชสีมาก่อน เพื่อรองรับการเดินทางในประเทศก่อน

ส่วนการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านจะเป็นระยะกลางและระยะยาว ซึ่งจากที่ได้หารือกับรัฐมนตรีของลาว ทราบว่าทางลาวมีขั้นตอนในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศลาว ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตรมากเช่นกัน โดยจะกู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยเชื่อมกับจีน ส่วนสายใต้ ทางมาเลเซียเจรจาเพื่อเชื่อมกับสิงคโปร์ เท่านั้น ยังไม่มีในส่วนของการเชื่อมกับไทย

"รถไฟความเร็วสูงเชื่อมเพื่อนบ้าน ยังไม่จำเป็นต้องเร่งมาก มีการมองว่าไม่คุ้มทุน ซึ่งต้องชี้แจงว่า ทั่วโลกเห็นว่า เรื่องคุ้มทุนโดยเอารายได้จากค่าโดยสารมาก่อสร้างไม่ได้ รายได้ส่วนนี้จะได้เฉพาะค่าเดินรถและการดูแลเบื้องต้น แต่ความรุ้มทุนจะไปอยู่ที่เศรษฐกิจในภาพรวมเพราะรถไฟความเร็วสูง จะเป็นตัวนำการลงทุนไปยังพื้นที่โดยพาผู้โดยสารนักท่องเที่ยวเข้าไป เป็นการสร้างโอกาส สร้างรายได้ และสร้างเมืองใหม่ให้พื้นที่ที่รถไฟความเร็วสูงผ่าน โดยแต่ละจังหวัดสามารถมองหาโอกาในการสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เช่น แหล่งท่องเที่ยว แหล่งรักษาพยาบาล สถานศึกษา เป็นต้น โดยเห็นได้จากการเติบโตของสายการบินต้นทุนต่ำที่บินไปยังเชียงใหม่ ผู้โดยสารช่วง10 ปี คือจากปี 46 ที่ 2 ล้านคนต่อปีพิ่มเป็น 5 ล้านคนต่อปีในปี 56 และมี GDP เพิ่มสูงที่สุดถึง 8% เพราะการเดินทางสะดวกมากขึ้น"นายชัชชาติกล่าว

อย่างไรก็ตาม จะจัดนิทรรศการและสัมมนาในทุกภูมิภาคเพื่อชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจประโยชน์จากการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2ล้านล้านบาทของรัฐบาลในทุกภาค และยืนยันถึงความโปร่งใส ไม่มีหมกเม็ดแน่นอน และเป็นการใช้จ่ายที่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับการใช้จ่ายของประเทศปีละ 11ล้านล้านบาทการกู้ 2 ล้านล้านบาท มาใช้ใน7 ปี เฉลี่ยปีละ 3 แสนล้านบาท แต่จะช่วยสร้างงานภายในประเทศ เกิดการจ้างแรงงาน ซื้อของภายในประเทศกว่า 80% ทำให้เศรษฐกิจประเทศหมุนเวียน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 146, 147, 148 ... 549, 550, 551  Next
Page 147 of 551

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©