RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311309
ทั่วไป:13279829
ทั้งหมด:13591138
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 153, 154, 155 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2013 1:01 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเทรนดันที่ดินทั่วปท. 5 หัวเมืองตจว.ขยับขึ้นเท่าตัว อสังหาเล็งทำเลรอบสถานี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
16 พฤษภาคม 2556 เวลา 01:27:25 น.


ไฮสปีดเทรนจุดพลุการลงทุนในหัวเมืองภูมิภาคทั่วประเทศ เผยเส้นทางพาดผ่าน 24 จังหวัด ราคาที่ดินกระฉูดตั้งแต่ยังไม่ตอกเสาเข็ม "พิษณุโลก" รับอานิสงส์จากการก่อสร้างเฟสแรก นครปฐม-ราชบุรี-โคราช-อุดรฯ-ขอนแก่นแพงขึ้น 100% บิ๊กแบรนด์อสังหาฯ-รับสร้างบ้านฟันธง ตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟฟ้าชัดเจนเมื่อไหร่จะเปิดหน้าดินอีกเพียบ ตะลึงเขตอำเภอรอบนอกซื้อที่ดินสร้างบ้านแพงขึ้น 10 เท่าแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลเพื่อไทย ไม่เพียงแต่จุดพลุการลงทุนระบบรางที่จะเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายคมนาคมขนส่งกระจายครบทุกภูมิภาคทั่วประเทศ แต่ในอีกด้านหนึ่งยังเป็นการจุดพลุให้กับธุรกิจพัฒนาที่ดินอีกด้วย โดยเฉพาะทำเลเกาะแนวเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน 4 สายทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ และกรุงเทพฯ-ระยอง พาดผ่าน 24 จังหวัด รวมระยะทางประมาณ 1,806 กิโลเมตร



พิษณุโลกรับอานิสงส์เต็ม ๆ

นายวิโรจน์ จิรัฐิติกาลโชติ กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจเขตพื้นที่ภาคเหนือ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากรัฐบาลเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน โดยค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าจะทำเฟสแรก สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลกนั้น พบว่าขณะนี้ราคาที่ดินกำลังขยับตัวสูงขึ้นไปรอล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่โซนตอนใต้ของเมือง ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะใช้เป็นที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง ในบริเวณที่ราชพัสดุ แนวรั้วของกองบิน 46 พิษณุโลก

นอกจากนี้ พื้นที่บริเวณถนนทางเลี่ยงเมือง หรือบายพาสตอนใต้ ก็มีการขยับตัวเพิ่มขึ้น 10-30% จากเดิมที่ผ่านมา ราคาที่ดินในพิษณุโลกไม่แพงมากนัก เพราะไม่ใช่จังหวัดที่เป็นทางผ่าน

"ภาวะที่ดินขึ้นราคาอย่างรวดเร็วเป็นเพราะรถไฟความเร็วสูง ทำให้เกิดการลงทุนและมีการกว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร จากนี้ไปภาพความเจริญเติบโตของเมืองจะเปลี่ยนแปลงทันที หลังมีรถไฟความเร็วสูงเกิดขึ้น" นายวิโรจน์กล่าว

แหล่งข่าวเจ้าของที่ดินรายหนึ่งในเขต ต.บึงพระ อ.เมืองพิษณุโลก เปิดเผยว่า ตนเองมีที่ดินอยู่บริเวณใกล้ทางรถไฟตำบลบึงพระ จำนวน 8 ไร่ ในช่วงนี้มีนายหน้าเข้ามากว้านซื้อที่ดินพร้อมทั้งเสนอราคาให้ค่อนข้างสูง จากเดิมไร่ละ 1 ล้านบาท เวลานี้ไร่ละ 3-5 ล้านบาทแล้ว คาดว่ายังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากมีคนเข้ามาติดต่อซื้อหลายรายและแข่งกันเพิ่มราคาให้

นครปฐม-ราชบุรีขึ้น 100%

นายบุญชู ภุชงค์ประเวศ ประธานหอการค้าจังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า เริ่มเห็นสัญญาณชัดเจนจากภาวะราคาที่ดินแพงขึ้นตั้งแต่กลางปี 2555 โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้เคียงองค์พระปฐมเจดีย์และบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟที่คาดว่าจะใช้เป็นสถานที่รองรับรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน

ปัจจุบันราคาที่ดินในเขต อ.เมืองนครปฐม ปรับตัวสูงขึ้นถึงไร่ละ 20 ล้านบาท จากเดิมเพียง 8-10 ล้าน ส่วนเขตอำเภอรอบนอกราคา 8-15 ล้านบาท คาดว่าภายใน 1-2 ปีนี้ ราคาที่ดินจะปรับขึ้นไปถึงจุดสูงสุดไร่ละ 40-50 ล้านบาท เนื่องจากมีกลุ่มทุนท้องถิ่นเริ่มซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรแล้ว

สอดคล้องกับนายธนัญชัย วัดเอก เจ้าของกิจการอพาร์ตเมนต์บ้าน 108 อ.เมืองราชบุรี เปิดเผยว่า ภาวะราคาที่ดินในเมืองและรอบนอกรัศมี 3 กิโลเมตร เดิมไร่ละ 12 ล้านบาท ตอนนี้ราคาไร่ละ 16 ล้านบาทแล้ว แนวโน้มยังสูงได้อีกเป็นไร่ละ 20-30 ล้านบาท โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.ปากท่อ ซึ่งอยู่ในแนวรถไฟความเร็วสูงพาดผ่านไปยังหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44738
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/05/2013 10:01 pm    Post subject: Reply with quote

"ยิ่งลักษณ์" สัญญารถไฟความเร็วสูงถึงหนองคาย
วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2556 เวลา 20:01 น.

นายกฯ บุกหนองคายตรวจด่านชายแดน ให้คำมั่นรถไฟความเร็วสูงเสร็จทันรัฐบาลนี้แน่ ไม่ต้องรอสมัยหน้า

วันนี้ (16 พ.ค.) เวลาประมาณ 15.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางถึงศาลากลาง จ.หนองคาย ด้วยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจชายแดน การแผนงาน ปัญหา และอุปสรรคต่างๆ จากนายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมรับฟังปัญหา จากนายพงศ์พันธ์ สุนทรชัย ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย ที่ร้องขอให้รัฐบาล ส่งคนมาดูแลเรื่องภัยแล้ง เพราะปีนี้ประสบปัญหาหนักหนาสาหัสมาก รวมทั้งส่งเสริมให้ จ.หนองคาย เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน รองรับการเชื่อมโยงรถไฟรางคู่กับต่างประเทศ ส่วนตัวแทน 8 องค์กรภาคธุรกิจ ใน จ.หนองคาย ขอให้รัฐบาลช่วยผ่อนปรน ระยะเวลาวีซ่าทำงานของต่างชาติ เพราะงานบางประเภท คนไทยไม่ทำ รวมถึงขอให้อำนวยความสะดวก พร้อมปรับรูปแบบการผ่านเข้า-ออกด่านชายแดน ให้ทันสมัย สอดคล้องกับระบบของประเทศเพื่อนบ้าน

โดย นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ รมว.คมนาคม ได้ใช้โอกาสนี้ ยืนยันกับชาวหนองคายว่า รถไฟรางคู่มาถึง จ.หนองคาย แน่นอน และจะต้องถึง จ.เชียงใหม่ เช่นกัน งบประมาณปกติ ติดข้อจำกัดมาก จึงจำเป็นต้องกู้เงินจำนวน 2 ล้านล้านบาท ขอให้ทุกคนอดทน เราต้องกัดฟัน ทำให้ได้ และขอให้ทุกคนเตรียมความพร้อมสำหรับความเจริญที่จะเข้ามา

ขณะที่ นายกรัฐมนตรี ได้บอกกับชาวหนองคายว่า วันนี้หอบข่าวดี มาบอก รัฐบาลจะจัดระเบียบด่านชายแดนใหม่ ซึ่งข้อเสนอจากภาคเอกชน เรื่องอำนวยความสะดวกผ่านแดน มีอยู่ในใจแล้ว และเตรียมหารือร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ยืนยันว่า ไม่ใช่แค่รถไฟรางคู่ แต่รถไฟความเร็วสูงจะมาถึง จ.หนองคายแน่นอน ขอประชาชนวางใจ และ จะทำให้ได้ในสมัยรัฐบาลนี้ ไม่รอสมัยหน้า นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่า เตรียมจะมีการประชุมเรื่องระบบรางระหว่างไทย -ลาว-จีน และ ไทย-จีน-เวียดนาม เพื่อประสานความ ร่วมมือให้เกิดความเชื่อมโยงในภูมิภาคด้วย.

----

ร.ฟ.ท.คาดรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยองแล้วเสร็จปี 62
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 พฤษภาคม 2556 13:25 น.

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เส้นทางตามแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท เป็นส่วนต่อขยายเชื่อมระบบคมนาคมจากโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ที่ปัจจุบันวิ่งให้บริการจากพญาไท-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจะใช้สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งในอนาคตจะเป็นสถานีต้นทางของระบบรางทั้งหมด เป็นต้นทางวิ่งผ่านสถานีมักกะสัน-สุวรรณภูมิ-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง สิ้นสุด ระยะทางรวม 221 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้างประมาณ 100,631 ล้านบาท เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จคาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยวันละ 1 แสนคน หลังจากนี้ตามแผนงานจะศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและรายละเอียดแผนก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ประกวดราคาได้ในต้นปี 2557 และก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถเปิดให้บริการได้ก่อนปี 2562
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2013 9:25 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
"ยิ่งลักษณ์" สัญญารถไฟความเร็วสูงถึงหนองคาย
วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2556 เวลา 20:01 น.

นายกฯ บุกหนองคายตรวจด่านชายแดน ให้คำมั่นรถไฟความเร็วสูงเสร็จทันรัฐบาลนี้แน่ ไม่ต้องรอสมัยหน้า



นายกฯบอกคนหนองคายได้ใช้แน่รถไฟเร็วสูง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 18:20

นายกฯบุกหนองคายตรวจด่านชายแดน ให้คำมั่นรถไฟความเร็วสูงเสร็จทันรัฐบาลนี้แน่ ไม่ต้องรอสมัยหน้า

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางถึงศาลากลาง จ.หนองคาย ด้วยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจชายแดน แผนงาน ปัญหา และอุปสรรคต่างๆ จากนายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมรับฟังปัญหา จากนายพงศ์พันธ์ สุนทรชัย ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย ที่ร้องขอให้รัฐบาล ส่งคนมาดูแลเรื่องภัยแล้ง เพราะปีนี้ประสบปัญหาหนักหนาสาหัสมาก และส่งเสริมให้ จ.หนองคาย เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน รองรับการเชื่อมโยงรถไฟทางคู่กับต่างประเทศ

ส่วนตัวแทน 8 องค์กรภาคธุรกิจ ใน จ.หนองคาย ขอให้รัฐบาลช่วยผ่อนปรน ระยะเวลาวีซ่าทำงานของต่างชาติ เพราะงานบางประเภท คนไทยไม่ทำ รวมถึงขอให้อำนวยความสะดวก พร้อมปรับรูปแบบการผ่านเข้า-ออกด่านชายแดน ให้ทันสมัย สอดคล้องกับระบบของประเทศเพื่อนบ้าน

ขณะที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ได้ใช้โอกาสนี้ ยืนยันกับชาวหนองคายว่า รถไฟรางคู่มาถึง จ.หนองคาย แน่นอน และจะต้องถึง จ.เชียงใหม่ เช่นกัน งบประมาณปกติ ติดข้อจำกัดมาก จึงจำเป็นต้องกู้เงินจำนวน 2 ล้านล้านบาท ขอให้ทุกคนอดทน เราต้องกัดฟัน ทำให้ได้ และขอให้ทุกคนเตรียมความพร้อมสำหรับความเจริญที่จะเข้ามา

ทางด้าน นายกรัฐมนตรี ได้บอกกับชาวหนองคายว่า วันนี้หอบข่าวดี มาบอก รัฐบาลจะจัดระเบียบด่านชายแดนใหม่ ซึ่งข้อเสนอจากภาคเอกชน เรื่องอำนวยความสะดวกผ่านแดน มีอยู่ในใจแล้ว และเตรียมหารือร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว

นอกจากนี้ ยืนยันว่า ไม่ใช่แค่รถไฟทางคู่ แต่รถไฟความเร็วสูงจะมาถึง จ.หนองคายแน่นอน ขอประชาชนวางใจ และ จะทำให้ได้ในสมัยรัฐบาลนี้ ไม่รอสมัยหน้า

นายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่า เตรียมจะมีการประชุมเรื่องระบบรางระหว่างไทย -ลาว-จีน และ ไทย-จีน-เวียดนาม เพื่อประสานความ ร่วมมือให้เกิดความเชื่อมโยงในภูมิภาคด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2013 8:40 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.คาดรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยองแล้วเสร็จปี 62

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 พฤษภาคม 2556 13:25 น.


นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เส้นทางตามแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท เป็นส่วนต่อขยายเชื่อมระบบคมนาคมจากโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ที่ปัจจุบันวิ่งให้บริการจากพญาไท-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจะใช้สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งในอนาคตจะเป็นสถานีต้นทางของระบบรางทั้งหมด เป็นต้นทางวิ่งผ่านสถานีมักกะสัน-สุวรรณภูมิ-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง สิ้นสุด ระยะทางรวม 221 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้างประมาณ 100,631 ล้านบาท เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จคาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยวันละ 1 แสนคน หลังจากนี้ตามแผนงานจะศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและรายละเอียดแผนก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ประกวดราคาได้ในต้นปี 2557 และก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถเปิดให้บริการได้ก่อนปี 2562
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2013 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมผนึกคลัง บูม 34 สถานีไฮสปีดเทรน รถไฟฯโละหมื่นสัญญาเช่าที่-ต่อยอดธุรกิจ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
19 พฤษภาคม 2556 เวลา 00:03:12 น.


รัฐต่อยอดเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน คมนาคมผนึกคลังวาดแผนดึงเอกชนพัฒนา 34 สถานีไฮสปีดเทรน 4 สายทาง สร้างมูลค่าเพิ่ม สั่ง ร.ฟ.ท.ยุติต่ออายุสัญญาเช่าที่ดินทั่วประเทศ 1 หมื่นสัญญา ขอใช้ที่ดินธนารักษ์ ปักหมุดสถานี ด้านธนารักษ์รับลูกเคลียร์หน้าดินรอ 5 แห่ง "ลพบุรี-นครสวรรค์-พิษณุโลก-ปากช่อง-ชะอำ" เปิดหาเอกชนพัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานี 30 ปี สร้างรายได้กลับคืนสู่มือรัฐบาล ห้างเซ็นทรัลส้มหล่น ไฮสปีดเทรนจอดป้ายสระบุรี

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่รัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจทั่วประเทศเร่งสำรวจสินทรัพย์โดยเฉพาะที่ดินตลอดจนอาคารและสิ่งปลูกสร้างนำมาบริหารจัดการเชิงบูรณาการสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นรายได้เข้ารัฐในส่วนการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานม 2 ล้านล้านบาท ซึ่ง 80% เน้นพัฒนาระบบราง จะเปิดพื้นที่ทำเลใหม่ ๆ นอกจากส่งผลดีต่อุรกิจและการลงทุน ทั้งอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว ฯลฯ แล้ว รัฐก็มีแผนต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มจากการพัฒนาที่ดินบริเวณสถานี นอกเหนือจากรายได้จากค่าโดยสาร และจัดเก็บภาษี

จากที่ได้หารือกับกระทรวงคมนาคมทราบว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สนองนโยบายดังกล่าว โดยร่วมมือกับกรมธนารักษ์ ซึ่งรับผิดชอบดูแลที่ราชพัสดุ ขณะเดียวกันก็ประสานงานกับกรมโยธาธิการและผังเมือง กำหนดแนวทางพัฒนาที่ดินรัศมี 1-2 กิโลเมตร รอบสถานี

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวคิดการพัฒนาสถานีแนวรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 สายทาง จะแตกต่างจากการพัฒนาสถานีรถไฟฟ้า เพื่อเป็นผลตอบแทนรูปแบบรายได้กลับมาสู่ภาครัฐ โดยจะเลือกจุดที่ตั้งสถานีลงในพื้นที่ส่วนราชการ ที่ราชพัสดุที่อยู่ใกล้ตัวเมือง และพัฒนาโครงข่ายรอบสถานี โดยมีสถานีเป็นตัวนำการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ เช่น อสังหาฯ บางส่วนจะให้เอกชนร่วมทุน นำรายได้มาลงทุนขยายเส้นทางรถไฟ เพราะรายได้จากค่าตั๋วอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ

ดึงเอกชนพัฒนาสถานี

"โครงการต้องตั้งไข่ก่อสร้างให้เรียบร้อยก่อน จึงเชิญเอกชนร่วมลงทุน อาจเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnership : PPP) หากทำตอนนี้เอกชนจะตัดความเสี่ยงให้รัฐรับภาระทั้งหมด แต่ถ้ามีงานก่อสร้างให้เห็น มีรถไฟฟ้ามาแน่ ผลตอบแทนที่ได้จากเอกชนจะมากขึ้น"

ส่วนนี้จะหารือกรมธนารักษขอใช้ที่ดินในแนวโครงการมาพัฒนาเป็นที่ตั้งสถานีกรมธนารักษ์สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ที่ดินโดยรอบสถานีได้โดยดึงเอกชนเข้ามาพัฒนารวมกับที่ดินรอบสถานีของการรถไฟฯ

"ผมได้สั่งให้การรถไฟฯหยุดให้เช่าที่ดินแนวรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงแล้วหากต่อสัญญาเช่าให้ได้ไม่เกิน1 ปี เพราะจะเร่งเคลียร์แนวเส้นทาง ไม่ให้มีสิ่งปลูกสร้างถาวรมาขวางการพัฒนา"

ขณะที่นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟฯ กล่าวว่า ขณะนี้หยุดต่อสัญญาเช่าที่ดินทั่วประเทศในแนวรถไฟทางคู่และไฮสปีดเทรนแล้ว ทั้งหมดมีอยู่กว่า 1 หมื่นสัญญา จะให้เช่าแบบรายเดือนเพื่อเตรียมพื้นที่ก่อสร้างสถานี ซึ่งสถานีรถไฟความเร็วสูงมี 2 แบบ คืออยู่ร่วมกับสถานีเดิมและสร้างใหม่ ใช้ที่ดินรถไฟและเวนคืนส่วนรถไฟทางคู่จะใช้สถานีรถไฟเดิม การพัฒนาเชิงพาณิชย์จะเลือกเฉพาะที่มีศักยภาพ

ธนารักษ์เปิดหน้าดินรอ 5 สถานี

นายชาญณัฎฐ์ แก้วมณี รองอธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผย ว่า 16 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ได้หารือร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เบื้องต้นจะนำร่องใช้ที่ดินธนารักษ์แนวเส้นทางรถไฟ เป็นจุดจอดสถานีรถไฟความเร็วสูง 5 สถานี ใน 3 สายทาง

1.สายเหนือ (กทม.-เชียงใหม่) มี
1.1 สถานีลพบุรีเดิม ส่วนพื้นที่ใต้ดินบริเวณโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย 103 ไร่
1.2 สถานีนครสวรรค์ที่ดินกองทัพบก 200-300 ไร่ (ค่ายจิรประวัติ)
1.3 พิษณุโลกบริเวณกองบิน 46 ติดทางรถไฟ่ 273 ไร่

2.สายอีสาน (กทม.-นครราชสีมา)
2.1 ที่ตั้งสถานีปากช่อง บริเวณพลาธิการทหาร 200-300 ไร่

3.สายใต้ (กทม.-หัวหิน)
3.1 สร้างศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสำนักงานที่ดินสาขาชะอำ 30 ไร่


"วัตถุประสงค์ที่ร่วมมือกัน ต้องการให้พื้นที่รอบสถานีไฮสปีดเทรนเกิดกิจกรรมการพัฒนา และรัฐมีรายได้เพิ่ม แทนที่จะเป็นภาคเอกชนได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว กรมจะนำที่ดินโดยรอบสถานี 5 แห่งให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์ระยะยาว 30 ปี เช่น คอมเมอร์เชียล คอนโดฯ ตลาดการค้า ส่วนในสถานีเป็นสิทธิของคมนาคม"

นอกจากได้สำรวจที่ดินแนวรถไฟความเร็วสูงสายเหนือและอีสานที่พาดผ่านที่ราชพัสดุ11จังหวัด เช่น โคราช หนองคาย เชียงใหม่ เชียงราย นำมาพัฒนารองรับการพัฒนาสถานีขนส่ง และกระจายสินค้า

34 สถานีไฮสปีดเทรน 4 สาย

แหล่งข่าวจาก สนข.เปิดเผยว่า แนวเส้นทางและจุดที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง ประกอบด้วย "สาย กทม.-เชียงใหม่" ช่วง กทม.-พิษณุโลก สร้างขนานแนวรถไฟเดิม เมื่อผ่านพิษณุโลกจะตัดแนวใหม่ไปทิศตะวันตก มุ่งไป อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย บรรจบแนวรถไฟเดิมที่ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน สิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ร669 กิโลเมตร 12 สถานี ได้แก่

บางซื่อ
ดอนเมือง
อยุธยา
ลพบุรี
นครสวรรค์
พิจิตร
พิษณุโลก
สุโขทัย
ศรีสัชนาลัย
ลำปาง
ลำพูน และ
เชียงใหม่

เฟสแรก "กทม.-พิษณุโลก" 382 กิโลเมตร 7 สถานี ได้แก่

1.บางซื่อ
2.สถานีดอนเมือง อยู่สถานีรถไฟเดิม
3.อยุธยา มี 2 ทางเลือก อยู่ที่เดิม และที่สถานีบ้านม้า 60 ไร่ พัฒนาเชิงพาณิชย์ได้เต็มที่
4.ลพบุรี อยู่ที่เดิมแต่เจาะอุโมงค์ใต้ดิน
5.นครสวรรค์ 2 ทางเลือก คืออยู่ที่เดิม หรือที่สถานีปากน้ำโพ 100 ไร่
6.พิจิตร สร้างใหม่ห่างสถานีเดิมไปทางด้านขวา 1 กิโลเมตร
7.พิษณุโลก 2 ทางเลือก คืออยู่ที่เดิม หรือสร้างใหม่ทางกองบิน 46

"สาย กทม.-ปาดังเบซาร์" 982 กิโลเมตร เฟสแรก "กทม.-หัวหิน" 225 กิโลเมตร สร้างขนานแนวรถไฟสายใต้เดิมจากบางซื่อ ผ่านนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และหัวหิน มี 4 สถานี ได้แก่ นครปฐม
ราชบุรี
เพชรบุรี
และหัวหิน

โดย จะปรับที่ตั้งสถานีใหม่ 1 แห่ง คือ สถานีเพชรบุรี เพราะ สถานีเพชรบุรีเดิมใกล้โค้งหักศอก เลยต้องแก้ ให้ไปอยู่ ณ ที่ ตรงจะเวนคืนใหม่

ส่วนต่อขยาย "หัวหิน-ปาดังเบซาร์" แนวโน้มจะใช้สถานีรถไฟเดิมมี 7 สถานี คือ
ประจวบคีรีขันธ์
ชุมพร
สุราษฎร์ธานี
นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง)
พัทลุง
หาดใหญ่
และ
ปาดังเบซาร์ (ต้องเจรจากะทางมาเลเซียเนื่องจากตัวสถานีปาดังเบซาร์อยู่ในเขตมาเลเซีย)

เซ็นทรัล ส้มหล่นสถานสระบุรี

"สาย กทม.-หนองคาย" 615 กิโลเมตร สร้างคู่ขนานกับแนวรถไฟสายอีสาน ช่วง "กทม.-บ้านภาชี" ที่ตั้งสถานีเฟสแรก "กทม.-นครราชสีมา" 250 กิโลเมตร ตำแหน่งชัดเจน 3 สถานี คือ

1.สระบุรี 2 ทางเลือก คือ
1.1 อยู่ที่เดิม ติดถนนพหลโยธิน หรือ
1.2 สร้างใหม่ห่างอยู่ฝั่งตรงข้ามกับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล แต่ต้องเวนคืนที่ดินเพิ่ม 150 ไร่

2.ปากช่อง สร้างสถานีใหม่บนที่ดินธนารักษ์ เป็นที่ตั้งของกองทัพบก 500 ไร่ ใช้สร้างสถานี 150 ไร่ ที่เหลือกว่า 300 ไร่ นำมาพัฒนาหารายได้ และ

3.โคราช มี 3 แห่งให้เลือก คือ
3.1.สถานีรถไฟเดิมมีที่ดินการรถไฟฯ 200 ไร่
3.2.ชุมทางจิระ
3.สถานีภูเขาลาด เวนคืนที่ดินเอกชนเพิ่ม 150 ไร่

ส่วนต่อขยาย "นครราชสีมา-หนองคาย"เบื้องต้นจะสร้างขนานทางรถไฟเดิม มี 4 สถานี คือ 1.บัวใหญ่ 60-70 ไร่
2.ขอนแก่น ใช้สถานีเดิม จะขยายพื้นที่มายังบนสนามกอล์ฟการรถไฟฯ 200 ไร่
3.อุดร ใช้สถานีเดิม 200 ไร่ หรือหาที่สร้างใหม่นอกเมือง
4.หนองคาย อยู่ตรงสถานีเดิมตรงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 200 ไร่

สำหรับ "สาย กทม.-ระยอง" 221 กิโลเมตร เบื้องต้นคาดว่าจะสร้างขนานแนวรถไฟสายตะวันออกเดิม 4 สถานี ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา และระยอง

ดึงเอกชนพัฒนา 174 สถานี

ก่อนหน้านี้ นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.มีแนวคิดจะนำพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าให้เอกชนมาพัฒนาร่วม 174 สถานี ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ทั้งสายเก่าและสายใหม่ เช่น สีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) เขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ชมพู (แคราย-มีนบุรี) ส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี) น้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44738
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/05/2013 10:09 pm    Post subject: Reply with quote

สนข. เผยใช้งบฯ ปี 57 ราว 200 ล้านบ. จ้างบริษัทที่ปรึกษาสำรวจเส้นทางรถไฟความเร็วสูง
มติชนออนไลน์ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 21:19:19 น.

วันที่ 19 พ.ค. นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมจะใช้งบประมาณปี 57 ประมาณ 200 ล้านบาท เพื่อจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาสำรวจ และออกแบบเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากนครราชสีมา-หนองคาย เชื่อมต่อไปยังสปป.ลาว ซึ่งในเฟสแรกของโครงการรถไฟความเร็วสูง ตามแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล จะลงทุนก่อสร้างเส้นทางระยะสั้นเพียงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ก่อน ดังนั้น การเชื่อมต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงร่วมกันทั้ง 3 ประเทศ คงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะสามารถเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างกันได้ แต่ไม่ถือว่าเสียโอกาส เพราะปัจจุบันยังมีระบบรถไฟธรรมดาที่เชื่อมต่อจากสถานีหนองคายไปยังสถานีท่านาแล้งของสปป.ลาว เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เดินทางข้ามไปมาระหว่างกันได้

"ตอนนี้สปป.ลาว ได้คุยกับจีนว่าจะสร้างรถไฟความเร็วสูงจากชายแดนสปป.ลาว ที่บ่อเต็นมายังเวียงจันทร์แล้ว และโครงการก็มีความคืบหน้าไปมาก แต่คงใช้เวลาก่อสร้างอีกไม่ต่ำกว่า 6 ปี ล่าสุดสปป.ลาว ได้เตรียมก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมจากท่านาแล้งไปเวียงจันทร์ ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร คาดว่าจะเสร็จภายใน 2 ปีนี้ จึงเชื่อว่า จะช่วยให้การเดินทางจะมีความสะดวกมากขึ้น แม้ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจะยังไม่เกิด" นายจุฬา กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 21/05/2013 6:05 pm    Post subject: Reply with quote

ประชาชนเฝ้ารอนั่งรถไฟความเร็วสูงโลว์คอสต์
หน้าคมนาคม-ลอจิสติกส์
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1401
ประจำวันที่ 11-14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


เป็นอีกเรื่องที่ประชาชนจับตามองมากเป็นพิเศษ สำหรับ "โครงการรถไฟความเร็วสูง" หนึ่งในบิ๊กโปรเจกต์ของ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" กำลังเร่งผลักดันอย่างเต็มที่ โดยให้เหตุผลว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงนี้ จะช่วยให้ต้นทุนการขนส่งลดลงอย่างมาก และจะทำให้เศรษฐกิจของไทยแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ ขณะที่ประชาชนก็จะได้รับความ สะดวกในการเดินทางมากขึ้นด้วย

แม้ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจะมีผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมาก แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากเช่นกันว่า หากลงทุนไปแล้วจะคุ้มทุนหรือไม่ เพราะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนกว่า 7 แสนล้านบาท ในการก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง รวมทั้งเรื่อง ค่าโดยสารที่ยังไม่ชัดเจนว่าควรจะเก็บในอัตราเท่าไร แต่ถึงกระนั้นก็ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาอีกว่า ผู้ที่โดยสารรถไฟส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางถึงคนชั้นล่าง อาจจะไม่ใช้บริการรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ เพราะคำนวณดูแล้วต้องเสียเงินแพงหลาย เท่าตัวเลยทีเดียว

ล่าสุด สนข. เดินหน้าเปิดเวทีสัมมนาครั้งที่ 2 ฟังเสียงชาวอยุธยา ร่วม คัดเลือกแนวเส้นทางที่เหมาะสม รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ "ดร.จุฬา สุขมานพ" ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) บอกว่า แนวเส้นทางเลือกการพัฒนารถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ประกอบด้วย 5 ทาง เลือก คือ แนวทางเลือกที่ 1 ขนานไปตาม แนวรถไฟเดิม จากสถานีกลางบางซื่อ ผ่าน จ.ปทุมธานี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.อุตรดิตถ์ จ.ลำปาง จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 677 กม.

แนวทางเลือกที่ 2 ขนานไปตามแนว รถไฟเดิมเหมือนกับแนวทางเลือกที่ 1 จนถึง จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ไปทางฝั่งตะวันตกไปบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ อ.พยุหะคีรี เข้าสู่ จ.นครสวรรค์ จนถึงสถานีปากน้ำโพใช้แนวเส้นทางใหม่ ไปถึง อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก จากนั้นตัดเข้าแนวรถไฟเดิม มุ่งสู่ อ.เมืองพิษณุโลก แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ด้านทิศตะวันตก มุ่งไป อ.ศรีสัชชนาลัย จ.สุโขทัย และบรรจบกับแนวเส้น ทางรถไฟสายเดิมที่ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 639 กม.

แนวทางเลือกที่ 3 ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 2 จนถึง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ จะใช้แนวเส้นทางใหม่ออกไปทางด้านทิศตะวันตกของ จ.นครสวรรค์ ผ่าน อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร และมาบรรจบกับแนวทางเลือกที่ 2 ที่ อ.เมือง จ.สุโขทัย ระยะทางประมาณ 610 กม. แนวทางเลือกที่ 4 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกทางพิเศษหมายเลข 9 จากนั้นเบี่ยงออกไปทาง ทิศตะวันตกของตัวเมืองพระนครศรี-อยุธยา ผ่าน จ.อ่างทอง จ.สิงห์บุรี จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ แล้วขึ้นเหนือตัดไป จ.สุโขทัย แล้วเบน ออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เข้าสู่ อ.สบปราบ อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน ไปสิ้นสุดที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 597 กม.

และแนวทางเลือกที่ 5 ช่วงบางซื่อ-พิษณุโลก ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 1 และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 2 ระยะทางประมาณ 669 กม. โดยการคัดเลือกแนวเส้นทางจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก ควบคู่กับการพิจารณาความเหมาะสมทั้งทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจและการเงิน และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ.พระนครศรีอยุธยา ที่เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เมื่อมีการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง จะช่วยขับเคลื่อนเมืองมรดกโลกสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศต่อไป

ขณะที่นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ วิศวกรชำนาญการ สนข. บอกว่า ภายหลังจาก สนข.ลงพื้นที่สำรวจความเห็นของประชาชนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ และพิษณุโลก พบว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนและสนับ-สนุนให้โครงการเกิดขึ้นโดยเร็ว หลังจากนี้ สนข.จะเดินหน้าศึกษารายละเอียดของการกำหนดเส้นทาง ศึกษาผลกระทบ สิ่งแวดล้อม ในอนาคตจะเสนอโครงการขออนุมัติจาก ครม.และประกวดราคาก่อสร้าง

ส่วนข้อสงสัยของประชาชนในเรื่อง ราคาค่าโดยสารนั้น การกำหนดค่าโดยสาร รถไฟความเร็วสูงจะต้องต่ำกว่าโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ ที่ปัจจุบันเฉลี่ย 1,300-1,600 บาท ซึ่งในอนาคตค่าโดยสารที่เป็นไปได้ของรถไฟความเร็วสูงน่าจะไม่เกิน 1,000 บาท โดยช่วงเวลาเร่งด่วนสามารถเก็บค่าโดยสารได้ 999 บาท/ที่นั่ง นอกเวลาเร่งด่วนเก็บ 499 บาท/ที่นั่ง ซึ่งที่ผ่านมาหลายประเทศที่มีรถไฟความเร็วสูง เช่น ฝรั่งเศสกำหนดค่าโดยสารลักษณะโลว์คอสต์ไฮสปีดเทรนเช่นนี้ เพื่อจูงใจให้คนมาใช้บริการ และประสบความสำเร็จด้านการตลาดด้วย

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาได้มีการคำนวณอัตราค่าโดยสารของรถไฟความเร็วสูงเบื้องต้นแล้ว โดย สนข. ได้คำนวณไว้ตาม แผนแม่บทที่ศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2553 โดยกำหนดให้คิดค่าโดยสาร 2.5 บาทต่อกิโลเมตร ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ หากนำตัวเลขนี้มาคำนวณเป็นอัตราค่าโดยสารไปยังจังหวัดต่าง ๆ จะพบว่า

สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 745 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 1,862.50 บาท ใช้เวลาเดินทาง 3.73 ชั่วโมง
สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 256 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 640 บาท ใช้เวลาเดินทาง 1.59 ชั่วโมง
สายกรุงเทพฯ-หัวหิน 225 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 562.50 บาท ใช้เวลาเดินทาง 1.15 ชั่วโมง และ
สายกรุงเทพฯ-ระยอง 221 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 552.50 บาท ใช้เวลาเดินทาง 1.11 ชั่วโมง

สำหรับค่าโดยสารดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งก็มีหลายฝ่าย ออกมาวิจารณ์ว่า ไม่น่าจะคุ้มทุนกับการก่อสร้างอย่างแน่นอน แต่ทางรัฐบาลก็ออกมาชี้แจงว่า ค่าโดยสารนั้นไม่สามารถ นำมาคืนทุนค่าก่อสร้างได้อยู่แล้ว แต่ที่จำเป็นต้องสร้างรถไฟความเร็วสูงก็เพื่อเป็นการลงทุนทางเศรษฐกิจที่จะนำมาซึ่งการพัฒนานั่นเอง และขณะนี้เรื่องดังกล่าว กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2013 6:19 am    Post subject: Reply with quote

ปรับแบบรถไฟความเร็วสูงแนวทับกับด่วนศรีรัชฯ-วงแหวนยังไม่ลงตัว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
21 พฤษภาคม 2556 21:44 น.

“คมนาคม”ถกปรับแบบก่อสร้างรถไฟความเร็งสูงสายใต้ช่วงทับซ้อนกับทางด่วนศรีรัช-วงแหวนฯ เร่งสรุปในสัปดาห์หน้า เหตุใช้แนวรถไฟก่อสร้างร่วมกัน เล็ง 3 ทางเลือก สร้างเป็นอุโมงค์รถไฟความเร็งสูงมุดลงใต้ดินหรือหากยกระดับต้องเลือกระหว่างแยกโครงสร้างหรือใช้ร่วมกับทางด่วน

พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมการปรับโครงสร้างของรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน กับทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร วานนี้ (21 พ.ค.) ว่า ทั้ง 2 โครงการมีปัญหาโครงสร้างทับซ้อนกันเนื่องจากต้องก่อสร้างบนพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ตั้งแต่ถนนราชพฤกษ์-บางบำหรุ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตรซึ่งมีพื้นที่เขตทางจำกัด โดยเบื้องต้นบริษัทที่ปรึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และที่ปรึกษาโครงการทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนฯ ได้หารือร่วมกันและเสนอการก่อสร้าง 3 ทางเลือกในแนวเส้นทางที่ทับซ้อนกัน คือ

1. ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเป็นอุโมงค์ใต้ดินลอดใต้ทางรถไฟปัจจุบันของ ร.ฟ.ท.และยกระดับทางด่วนศรีรัช-วงแหวนฯ
2. ก่อสร้างเป็นทางยกระดับทั้งรถไฟความเร็วสูงและทางด่วนโดยแยกโครงสร้างจากกัน แนวเส้นทางจะคู่ขนานกันไป
3. ก่อสร้างเป็นทางยกระดับทั้งรถไฟความเร็วสูงและทางด่วนโดยใช้โครงสร้างฐานรากร่วมกัน

ทั้งนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้ ร.ฟ.ท.หารือร่วมกับสนข.กรณีที่เคยศึกษาให้รถไฟดีเซลของ ร.ฟ.ท.ใช้ทางร่วมกับรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) หรือ Share Track ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่เขตทางรถไฟเหลือเพื่อก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่แนวทางนี้มีปัญหาเรื่องระบบอาณัติสัญญาระหว่างรถไฟสีแดงกับรถไฟดีเซลโดยจะต้องเร่งสรุปเพื่อเลือกแนวทางที่ดีที่สุดภายในสัปดาห์หน้า เพื่อไม่ให้กระทบต่อการก่อสร้างทางด่วนศรีรัช-วงแหวนฯ เนื่องจากขณะนี้กางทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ลงนามสัญญาก่อสร้างกับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL ผู้รับสัมปทานไปแล้ว

นอกจากนี้ยังจะต้องมีการปรับแนวทางด่วนช่วงบางกอกน้อยเพื่อเลี่ยงสะพานกลับรถ (ยูเทิร์น) เดิมไม่ให้ได้รับผลกระทบซึ่งอาจจะต้องเวนคืนเพิ่มเติม และแก้ปัญหากรณีที่ชาวหมู่บ้านภาณุรังสีร้องเรียน ขอให้ก่อสร้างสะพานกลับที่อยู่ใกล้กับจุดเดิมที่ร.ฟ.ท.รื้อทิ้งเพื่อก่อสร้างรถไฟสายสีแดงไปก่อนหน้านี้โดยอยู่ระหว่างพิจารณาหาพื้นที่ใหม่จากเดิมที่จะก่อสร้างโดยใช้พื้นที่ของวัดสนามใน แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากวัดสนามในเป็นโบราณสถาน

สำหรับโครงการทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก เป็นทางยกระดับ 6 ช่องจราจร เริ่มจากจุดเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชบริเวณด้านเหนือของสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ไปทางทิศตะวันตก โดยใช้พื้นที่เขตทางรถไฟสายตะวันตก (สายใต้) ตั้งแต่บริเวณบางซื่อและข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสะพานพระราม 6 หลังจากนั้นแนวสายทางยังคงไปตามเขตทางรถไฟ โดยขนานไปกับถนนบรมราชชนนีจนถึงถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) โดยมีกรอบงบประมาณเวนคืนทั้งสิ้น 9,500 ล้านบาท เป็นค่าเวนคืนที่ดินของ ร.ฟ.ท.กว่า 4,000 ล้านบาท ที่ดินของเอกชน 5,000 ล้านบาท

//--------------------------------
ชัชชาติจี้แก้พื้นที่ทับซ้อนไฮสปีดเทรน
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 00:00

ชัชชาติสั่งคมนาคมเร่งศึกษาแก้ปัญหาใช้พื้นที่ทับซ้อนระหว่างสร้างรถไฟความเร็วสูงกับรถทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ หวั่นยืดเยื้อกระทบโครงการล่าช้า
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 พ.ค.2556 ได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้พื้นที่ทับซ้อนในการก่อสร้างโครงสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และโครงสร้างทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร บริเวณหมอชิต 2 และจากบางบำหรุ-ตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 7-8 กิโลเมตร
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา 3 แนวทางประกอบด้วย

1.สร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟสายใต้เดิม ช่วงจากถนนราชพฤกษ์ไปยังบางบำหรุ
2.ทำการแยกโครงสร้างการก่อสร้างทั้ง 2 โครงการออกจากกัน โดยจะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงบนโครงสร้างยกระดับ แยกออกจากรถไฟธรรมดา โดยสร้างในลักษณะแนวขนานกันไป และ 3.ใช้โครงสร้างตอม่อร่วมกัน

“ก่อนหน้านี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาตามนโยบายของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ที่ต้องการให้รถไฟฟ้าสายสีแดงกับรถไฟธรรมดาใช้โครงสร้างร่วมกัน แต่พบว่าไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากมีระบบอาณัติสัญญาณแตกต่างกัน ที่ประชุมจึงให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับไปหารือและหาแนวทางแก้ไขปัญหาทุกเรื่องอย่างละเอียดให้แล้วเสร็จ และนำเสนอต่อ รมว.คมนาคมภายในสัปดาห์หน้า“ พล.ต.อ.วิเชียร กล่าว

นายชัชชาติกล่าวว่า แนวทางเลือกที่ 1 คือ การก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟสายใต้เดิม ช่วงจากถนนราชพฤกษ์ไปยังบางบำหรุ เป็นแนวทางที่แก้ปัญหาได้ตรงจุดมากที่สุด แต่จะใช้งบประมาณในการก่อสร้างจำนวนมาก คาดว่าสัปดาห์หน้าจะต้องเร่งสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งหมดให้แล้วเสร็จ เพราะหากยืดเยื้ออาจส่งผลกระทบทำให้การดำเนินโครงการก่อสร้างทั้งหมดล่าช้า.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2013 9:39 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเทรน" คุ้มค่าหรือไม่?
โดย: สายล่อฟ้า
คอลัมน์กล้าได้กล้าเสีย
ไทยรัฐออนไลน์
22 พฤษภาคม 2556, 05:00 น.

"ไฮสปีดเทรน" หรือรถไฟความเร็วสูงที่รัฐบาลกำลังเดินหน้าเพื่อดำเนินการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานว่าด้วยระบบราง ถือว่าเป็นเงินกู้ที่มีเม็ดเงินสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย

รถไฟความเร็วสูงเป็นส่วนหนึ่งที่รัฐบาลบอกว่าเป็นการยกระดับครั้งสำคัญของประเทศ โดยกำหนดเส้นทางเอาไว้ 3 เส้นทาง คือ
กรุงเทพฯ-หนองคาย
กรุงเทพฯ-เชียงใหม่
กรุงเทพฯ-สุไหงโก-ลก (น่าจะปาดังเบซาร์หละมากกว่า)
เป็นการเชื่อมต่อจากกรุงเทพฯ ไปยังเหนือ-อีสาน-ใต้

ขั้นแรกจะดำเนินการก่อสร้างในช่วงสั้นๆ ก่อนที่จะว่ากันเต็มรูปแบบ เช่น กรุงเทพฯ-โคราช กรุงเทพฯ-พิษณุโลก เป็นต้น

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้ แม้จะมีความเห็นว่าควรจะมีการดำเนินการ แต่เนื่องจากเม็ดเงินมากและโครงการต่างๆยังไม่ค่อยชัดเจนก็มีการท้วงติงกันในจุดนี้เกรงว่าจะไม่คุ้มค่าและเกิดปัญหาการทุจริตคอรัปชัน

อย่างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะต้องลงทุนด้วยวงเงินสูงอาจจะไม่คุ้มค่าก็ได้ ค่าโดยสารจะสูงเกรงว่าจะทำให้ขาดทุน

นายกฯเคยบอกว่าไม่ใช่ขนคนอย่างเดียว แต่จะขนสินค้าด้วย

แต่ที่เห็นว่าน่าจะคุ้มค่าก็คือเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เนื่องจากตัดผ่านเมืองใหญ่หลายเมือง และเชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ เป็นเมืองท่องเที่ยวด้วย น่าจะมีผู้โดยสารทั้งไทยและต่างประเทศใช้เดินทาง

ที่เกรงกันว่าจะไม่คุ้มค่าก็คือเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เพราะคนอีสานส่วนใหญ่ยังเป็นคนยากคนจนคงไม่มีปัญญาซื้อตั๋วที่มีราคาแพงได้

ทางเดียวที่จะให้คุ้มค่าก็คือการเชื่อมต่อไปยังประเทศต่างๆ ผ่านลาวไปสู่จีนทางตอนใต้ หากสามารถดำเนินการได้อย่างนี้จะเป็นเส้นทางที่มีความสำคัญและคุ้มค่าแน่

การประชุมร่วมระหว่าง ครม.ไทย-ลาว ที่เชียงใหม่ ได้มีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพิจารณาโดยเฉพาะไทยที่จะมีการลงทุนรถไฟความเร็วสูง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการเจรจาเรื่องนี้ให้ชัดเจน ที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้เสนอโครงการนี้และพร้อมลงทุนให้ลาวด้วย

ปรากฏว่ารัฐบาลลาวยังไม่ยอมเพราะแม้จะมีรถไฟความเร็วสูงผ่าน แต่ก็มีคำถามว่าแล้วลาวจะได้อะไรจากการนี้ จะได้ประโยชน์อะไรบ้างเพราะ “ลาว” คิดว่ายังไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด

การที่รัฐบาลไทยพยายามเร่งรัดให้เรื่องนี้เป็นจริงก็เลยต้องออกแรงเพื่อให้เกิดการเจรจาอย่างเป็นจริงเป็นจังระหว่างไทย-ลาว-จีน แม้เคยมีการเจรจากันมาก่อนหน้านี้แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ไม่มีอะไรคืบหน้าเพราะรัฐบาลลาวไม่เอาลูกเดียว

เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลไทยจะต้องเจรจาเกลี่ยกล่อมให้รัฐบาลรับข้อเสนอนี้ เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินการในส่วนของไทยเอง ทั้งเรื่องงบประมาณ ระบบราง ระบบรถไฟ จะต้องเชื่อมต่อกันได้

ไม่ใช่ไทยไปทาง จีนไปทาง มันก็เชื่อมต่อกันไม่ได้

ในส่วนที่จะผ่านลาวนั้นมีระยะทาง 400 กม. ซึ่งจะต้องมีการขุดอุโมงค์ลอดหลายแห่ง การก่อสร้างจึงต้องใช้เวลานานพอสมควร ส่วนของประเทศไทยนั้น 600 กม. ซึ่งการก่อสร้างไม่น่ามีปัญหาอะไรแต่ความคุ้มค่าคือเหตุผลสำคัญ

จีนนั้นไม่ต้องห่วงอยู่แล้ว เพราะหากโครงการนี้สำเร็จจีนก็จะได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า เพราะสามารถเชื่อมต่อจากจีนทางใต้มาถึงกรุงเทพฯ-และไกลไปถึงภาคใต้ของไทยด้วยงบประมาณหรือการก่อสร้างไม่มีปัญหา แต่ทำให้คนเดินทางได้สะดวกและส่งสินค้าเข้ามาในภูมิภาคนี้ได้อย่างสบาย

งานหนักของไทยก็คือการออกแรงเจรจาให้ประสบผลสำเร็จ

เพราะมิฉะนั้น “ไฮสปีดเทรน” กรุงเทพฯ–หนองคาย เกิดยากเพราะมันไม่คุ้มค่า.

“สายล่อฟ้า”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2013 4:23 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ระดมความเห็น "ไฮสปีดเทรน" กทม.-เชียงใหม่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
22 พฤษภาคม 2556 13:56 น.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดเวทีสาธารณะเพื่อระดมความคิดเห็นของประชาชนใน จ.สุโขทัย โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า แนวเส้นทางพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะมี 5 ทางเลือก โดยการคัดเลือกแนวเส้นทางจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน และประเทศเป็นหลัก ควบคู่กับการพิจารณาความเหมาะสม ทั้งทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และสิ่งแวดล้อม สำหรับการให้บริการรถไฟความเร็วสูงสายนี้ จะวิ่งด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อัตราค่าโดยสาร 2.50 บาทต่อกิโลเมตร ทำให้เส้นทางจากกรุงเทพฯ ถึงสุโขทัย จะใช้เวลา 2.05 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 980 บาท ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางและขนส่ง ส่งเสริมการท่องเที่ยวการพัฒนาเมือง การจ้างงาน สร้างอาชีพ รวมทั้งขยายโอกาสของธุรกิจท้องถิ่นด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 153, 154, 155 ... 548, 549, 550  Next
Page 154 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©