RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13287156
ทั้งหมด:13598480
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 167, 168, 169 ... 549, 550, 551  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 26/09/2013 10:58 am    Post subject: Reply with quote

บางทีผมก็เบื่อเรื่องละเมิดสิทธิ์เจ้าของที่ดินครับ แสดงว่า ไม่ต้องทำอะไรเลย ปล่อยให้มันเติบโตตามยถากรรมเช่นนั้นหรือ ?

ถ้าเส้นทางอยู่ระดับพื้นดินมีปัญหา ก็ทำเป็นทางยกระดับไปทั้งหมดเลย แล้วอย่ามาปลูกบ้านหรือทำทางลักผ่านรุกล้ำที่อีกล่ะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2013 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

นับ1ยื่นขออีไอเอไฮสปีดเทรนกทม.-พิษณุโลก เพื่อไทยเร่งยิก4เดือนรู้ผล-โยธาฯชงโมเดลเมืองใหม่5สถานีรวด
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
27 กันยายน 2556 เวลา 12:18:51 น.
Click on the image for full size

สนข.ยื่นอีไอเอแล้ว ไฮสปีดเทรนสายเหนือเฟสแรก กรุงเทพฯ-พิษณุโลกระยะทาง 382 กิโลเมตร คาด 4 เดือนรู้ผล เผยจุดจอด7สถานี บางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก ด้านกรมโยธาฯชงโมเดลเมืองใหม่ 5 สถานี นำร่องพิษณุโลกแห่งแรกขนาด 5,000 ไร่

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ สนข.ได้นำส่งรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอโครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือเฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 382 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 178,300 ล้านบาท ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นที่เรียบร้อย

"ส่วนการพิจารณาจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ยังประเมินไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม อาจจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน หากไม่มีอะไรที่ต้องแก้ไข ตามแผนนี้ ถ้าอีไอเออนุมัติ จะเริ่มประมูลคัดเลือกระบบได้ต้นปี 2557 นี้ เพื่อเปิดใช้บริการในปี 2562"



นายจุฬากล่าวว่า สำหรับจุดที่ตั้งสถานีมีทั้งหมด 7 สถานี โดยจะยืนตามหลักของวิศวกรรมไปก่อน ส่วนที่จะมีการพัฒนาต่อยอดตามแนวคิดของกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อพัฒนาเป็นเมืองใหม่โดยรอบสถานีนั้น การดำเนินการสามารถแก้ไขเพิ่มภายหลังได้

แหล่งข่าวจาก สนข.กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนใหญ่โครงการก่อสร้างจะอยู่ที่สถานีรถไฟสายเหนือเดิม ได้แก่

1.สถานีบางซื่อ ที่ Bangsue Central

2.สถานีดอนเมือง อยู่ที่สถานีเดิม เพื่อรองรับคนที่มาใช้บริการสนามบินดอนเมือง

3.สถานีพระนครศรีอยุธยา อยู่ที่สถานีรถไฟเดิม

4.สถานีลพบุรี อยู่ที่สถานีบ้านป่าหวาย ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรีลงมาทางด้านใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร

5.สถานีนครสวรรค์ อยู่ที่สถานีเดิม ส่วนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี ให้กรมธนารักษ์ดำเนินการเอง บนที่ราชพัสดุประมาณ 3,358 ไร่ ห่างจากสถานีรถไฟเดิมมาด้านใต้ประมาณ 2 กิโลเมตรเท่านั้น ปัจจุบันที่ดินแปลงนี้เป็นที่ตั้งของแผนกสัตวบาลที่ 2 กองการสัตว์เกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก มีกองทัพบกเป็นผู้ใช้ประโยชน์ และไม่ยินยอมให้ สนข.นำมาก่อสร้างสถานี

6.สถานีพิจิตร อยู่พื้นที่ใหม่ ห่างจากสถานีเดิมไปด้านขวามือ 1 กิโลเมตร และ

7.สถานีพิษณุโลก ยังไม่สรุป เนื่องจากทางกรมโยธาธิการและผังเมืองอยากจะพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีเป็นเมืองใหม่ จึงอยากจะหาพื้นใหม่เป็นที่ว่างเปล่าอยู่เยื้องกับกองบิน 46 แต่ในเบื้องต้น สนข.จะกำหนดที่ตั้งสถานีไว้บริเวณสถานีรถไฟเดิมก่อน จนกว่าจะได้ข้อสรุปชัดเจน เนื่องจากต้องเร่งส่งรายงานอีไอเอ

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ขณะที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเสนอพื้นที่เหมาะสมตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่โดยรอบ ได้แก่

1.สถานีพระนครศรีอยุธยา เป็นเมืองขนาดกลาง พื้นที่ 5,600 ไร่ มี 3 ทางเลือก คือ
1.1.สถานีรถไฟเดิม
1.2.ห่างจากสถานีรถไฟพระนครศรีอยุธยาไปทางด้านใต้ 2 กิโลเมตร ต.เกาะเรียน (แถววัดพนัญเชิง) และ
1.3. สถานีชุมทางบ้านภาชี

สำหรับแนวโน้ม น่าจะเป็นทางเลือกที่ 2 มีความเหมาะสมที่สุด เพราะเป็นพื้นที่โล่งว่างและเกษตรกรรม เงินลงทุนกรณีเวนคืนที่ดิน 35,319 ล้านบาท จัดรูปที่ดิน 1,115 ล้านบาท

2.สถานีลพบุรี มีแนวคิดตรงกับ สนข.เลือกบริเวณสถานีบ้านป่าหวาย ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรีลงมาทางด้านใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากในเมือง 7 กิโลเมตร เป็นพื้นที่เกษตรกรรมชลประทานและโล่งว่าง ทำให้สะดวกต่อการพัฒนา ที่สำคัญ การเข้าถึงสะดวก ใกล้ทางหลวงหมายเลข 311 และ 3016 มีพื้นที่ 5,600 ไร่ เงินลงทุน 25,480 ล้านบาท

3.สถานีนครสวรรค์ ขนาดพื้นที่ 5,600 ไร่ แนวเส้นทางเบี่ยงไปทางใหม่ อยู่พื้นที่ราชพัสดุ มีพื้นที่ 3,358 ไร่ ห่างจากสถานีเดิมไปทางด้านซ้าย 2 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมือง 4 กิโลเมตร เป็นพื้นที่โล่ง สามารถพัฒนาพื้นที่โดยไม่ต้องเสียค่าเวนคืนที่ดิน แต่ถ้าหากเลือกที่สถานีเดิมตามแนวคิด สนข.จะใช้เงินลงทุนกรณีเวนคืนที่ดิน 41,417 ล้านบาท จัดรูปที่ดิน 12,448 ล้านบาท

4.สถานีพิจิตร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟเดิมขึ้นไปทางด้านเหนือ 1 กิโลเมตร ตรงกับของ สนข.ขนาดพื้นที่ 5,600 ไร่ ชุมชนโดยรอบยังหนาแน่นน้อย ห่างจากใจกลางเมือง 2 กิโลเมตร การเข้าถึงสะดวก ใช้วงเงินลงทุนกรณีเวนคืนที่ดิน 35,319 ล้านบาท จัดรูปที่ดิน 3,274 ล้านบาท และ

5.สถานีพิษณุโลก ขนาดพื้นที่ 5,600 ไร่ ยังไม่สรุปว่าจะเป็นบริเวณใด ระหว่าง
5.1 สถานีรถไฟเดิม
5.2 บริเวณห่างจากสถานีรถไฟลงมาด้านใต้ 4 กิโลเมตร (ฝั่งตรงข้ามกับกองบิน 46) และ
5.3 ห่างจากสถานีเดิมขึ้นไปทางเหนือ 10 กิโลเมตร

แนวโน้มทางเลือกที่ 2 จะเหมาะสมที่สุด เพราะทำเลอยู่ชานเมือง เป็นพื้นที่โล่งการเข้าถึงสะดวกทั้งถนนสายหลักและสนามบิน เงินลงทุนกรณีเวนคืนที่ดิน 48,272 ล้านบาท จัดรูปที่ดิน 5,112 ล้านบาท

นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมมีแนวคิดจะพัฒนาเมืองใหม่ที่สถานีพิษณุโลกเป็นโครงการนำร่องสำหรับรถไฟความเร็วสูงสายเหนือเฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ปัจจุบันอยู่ระหว่างเลือกสถานีกับ สนข. ซึ่งกรมอยากจะได้สถานีที่มีพื้นที่ว่าง เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เมืองสองแควขานรับเมกะโปรเจ็กต์ราง-ถนน

บุญญธรรม เลิศสุขีเกษม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า พื้นฐานพิษณุโลกตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางหลายด้านในระดับประเทศ เป็นศูนย์กลางของเขตภาคเหนือตอนล่าง มีอินฟราสตรักเจอร์พร้อมพรั่ง ทั้งสนามบิน ถนนหลัก ถนนรอง วัดระยะทางห่างเชียงใหม่ 344 กม. เชียงราย 477 กม. เชียงทอง (หลวงพระบาง) 806 กม. เชียงรุ้ง (สิบสองปันนา) 936 กม.

ในระดับอินโดจีน เป็นชุมทางของเส้นทางโลจิสติกส์เหนือ-ใต้กับตะวันออก-ตะวันตกของอาเซียนอยู่แล้ว อาทิ ห่างย่างกุ้ง 454 กม. ดานัง 1,109 กม. นราธิวาส 1,496 กม. ห่างสิงคโปร์ 2,296 กม.

ในอนาคตเมื่อจะมี "ไฮสปีดเทรน" มาเติมเต็มให้กับพื้นที่ ยิ่งเพิ่มความคึกคักมากขึ้นไปอีก ประเมินจากภาวะราคาที่ดินขยับตัวไปรอล่วงหน้า 2-3 ปีมานี้

จุดที่คนพิษณุโลกแทงหวยว่าน่าจะเป็นที่ตั้งโครงการเมืองใหม่ไฮสปีดเทรน มี 3 จุด คือ กองบิน 46, บริเวณสถานีรถไฟเก่า และโซนบึงพระ ทางไป จ.สุโขทัย ถ้าหากเลือกโซนนี้มีทุนเมืองกรุง คือ "เซ็นทรัล" ไปลงทุนสร้างห้างบิ๊กไซซ์ปักธงรออยู่แล้ว แน่นอนว่าราคาที่ดินปั่นกันสนุกสนาน ขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า 2-3 เท่าตัว ประมาณว่าถ้าเคยมีราคาไร่ละ 1 ล้านบาท

วินาทีนี้ไปเดินถามซื้อ ราคาขายจะอยู่ที่ไร่ละ 4 ล้านบาท...ไม่มีต่ำกว่านี้แน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2013 12:06 pm    Post subject: Reply with quote

แม้ สนข. กะ กรมโยธาธิการ จะตกลงเรื่องสถานีได้หลายจุดแล้ว แต่บางจุดยังงัดข้อกันเพราะถือตำราคนละครู เช่นที่พิษณุโลกเป็นต้น เท่าที่นั่งรถผ่าน จากบึงพระไป ตัวเมืองพิษณุโลก พบว่า แม้แต่ ตรงฝั่งตรงข้ามกองบิน 46 ก็ยังมีบ้านคน แต่ มีต้นไม้ขึ้นจนเขียวเมื่อมองผ่านภาพถ่ายดาวเทียม

ตอนที่ หารถกลับไปที่สถานีพิษณุโลก จากวัดใหญ่ (พระพุทธชินราช) พบว่าหายากพอดู ต้องรอรถเมล์สีเทาอยู่นาน แม้จะราคาแค่ 13 บาทแต่มันพาวก ไปตามทางหลวง 12 ถึงแยกบิ๊กซีก่อน ผ่านไปทางวัดแคทอลิก ตรงแยกสนามบินก่อนวกตัดผ่านทางรถไฟเข้าเมืองแล้วไปจอดแถวหน้าตลาดใกล้ๆสถานีรถไฟ ถ้านั่งสามล้อถีบก็โดนฟันหัวแบะไป 100 บาท ถ้าเป็นรถไฟความไวสูงแถวกองบิน 46 ถึงตัวเมืองจะโดนขนาดไหนกันเชียว
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 30/09/2013 1:45 pm    Post subject: Reply with quote

พวกที่ไปเครื่องบินเจอมากกว่านี้ครับ

แต่แท็กซี่เมืองพิษณุโลกก็มีนะครับ ค่าโดยสารตามมิเตอร์ แถมด้วยค่าบริการเรียกไปยังจุดที่ลูกค้ารออีก 30 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2013 3:12 pm    Post subject: Reply with quote

แท็กซี่ที่วิ่งตามทางหลวง 12 แถววัดใหญ่มันไม่จอดเพราะมีผู้โดยสารทั้งนั้น รถตู้จากแม่สอดและ สุโขทัยก็เช่นกัน

//-----------------------------------------------------

สนข.ขวางผุดเมืองใหม่16สถานีไฮสปีด
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 -
คอลัมน์ : ข่าวหน้า1
ออนไลน์เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2013 เวลา 10:40 น.
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,883
วันที่ 29 กันยายน - 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สยบทุนการเมือง-นักเก็งกำไรปั่นที่ดิน สนข. หักกรมโยธาฯ ปัดสร้างเมืองใหม่ไฮสปีดเทรน 16 สถานี ฟันธงไม่ สมเหตุสมผล แจงมุ่งปริมาณขนส่งผู้โดยสารเป็นหลักไม่ใช่สร้างเมืองใหม่ทั้งหมด แฉพฤติกรรมคนไม่ชอบย้ายถิ่นรับได้แค่ 5 สถานี ปากช่อง-ลพบุรี-พิจิตร-ราชบุรี-เพชรบุรี ระบุที่ผ่านมานโยบายสร้างเมืองใหม่ของไทยทำที่ไหนล่มทุกแห่ง

จากกรณีการนำเสนอร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. . หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ร่างพ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลผ่านสภาผู้แทนราษฎร วาระ 2 และรอพิจารณาจากวุฒิสภา ขณะเดียวกันการเตรียมพร้อมของตัวที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง และการพัฒนาเมืองรองรับหากงบเงินกู้ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ต่อเรื่องนี้แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าสนข.ไม่เห็น ด้วยตามข้อเสนอของกรมโยธาธิการและผังเมืองที่ศึกษาที่ตั้งสถานีและเมืองใหม่เพื่อการพัฒนาเมือง กรณีการพัฒนาเมืองใหม่โดยรอบพื้นที่ทุกสถานีทั้ง 16 แห่ง

ทั้งนี้มองว่าการสร้างเมืองใหม่ทุกสถานีไม่สมเหตุสมผลเพราะรถไฟความเร็วสูงจะมุ่งเน้นการรับส่งคนจากเมืองหนึ่งไปยังเมืองหนึ่งให้ถึงจุดหมายปลายทางและมุ่งเน้นปริมาณผู้โดยสารเป็นหลักในแต่ละสถานี ไม่ใช่การสร้างรถไฟความเร็วสูงจะรองรับการพัฒนาเมืองทั้งหมด โดยเฉพาะการเลือกสถานี จะต้องคำนึงถึงความสะดวกของประชาชนและปริมาณที่ประชาชนมาใช้บริการเป็นหลักมากกว่าจะมาปักหลักอยู่ที่เมืองใหม่ ที่สำคัญ รถไฟความเร็วสูงแต่ละสถานี จะไม่มุ่งรับคนเฉพาะกลุ่มคนที่มาอยู่อาศัย ทำกิจกรรม ในเมืองใหม่รอบสถานีเท่านั้น แต่จะรับขนคนจากทุกสถานีที่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นตำแหน่งที่ตั้ง สถานีจึงสำคัญ หากขยับออกไปนอกเมืองมากที่ไม่ใช่ย่านชุมชน ก็จะทำให้ประชาชนเดินทางเพื่อเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงลำบาก และรัฐจะต้องลงทุน ถนน ทางเชื่อม ระบบฟีดเดอร์หรือระบบเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ด้านนอกไปยังตัวสถานีที่มีต้นทุนมากขึ้นโดยไม่จำเป็น

++รับได้5สถานีเมืองใหม่

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่าในมุมมองของสนข.หากจะมีเมืองใหม่ต้องอยู่บริเวณหัวสถานีและสถานีปลายทางก็น่าจะเพียงพอเพราะรถไฟความเร็วสูง จะรับขนส่งผู้โดยสารที่แวะพักเฉพาะสถานีหลักเท่านั้นแม้ว่าการพัฒนาเมืองใหม่ มองว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าเมื่อลงทุนไปแล้วจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ อย่างไรก็ดี สถานีใหม่ของรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่พัฒนาเมืองใหม่ที่ สนข.เห็นตรงกันกับกรมโยธาฯ ประกอบด้วย รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ

1. สถานีลพบุรี ทำเลบริเวณบ้านป่าหวาย โดยใช้ชื่อว่าสถานีเขตทางบ้านป่าหวาย จะเป็นสถานีขนาดเล็ก 30-50ไร่ สถานีใหม่ จะอยู่ห่างจากสถานีเดิม 5 กิโลเมตรลงมาทางด้านใต้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดินของเอกชนต้องมีการเวนคืน โดยบริเวณรอบสถานี กรมโยธาธิการฯ จะพัฒนารอบๆพื้นที่ด้วยวิธีการจัดรูปที่ดิน ทั้งนี้สถานีเดิมอยู่ในตัวเมืองเมืองลพบุรีที่แออัด

2. สถานีพิจิตร เป็นสถานีใหม่ ห่างจากสถานีเดิมขึ้นไปทางเหนือ 1 กิโลเมตร โดยสถานีใหม่จะขยับเข้ามาใกล้เมืองพิจิตรมากขึ้น ซึ่งจะตั้งชื่อสถานีคือ สถานีพิจิตรใหม่ และสถานีพิจิตรเก่า สถานีนี้จะเป็นสถานีขนาดเล็ก 30-50ไร่ ซึ่งจะต้องใช้วิธีเวนคืนที่ดินเนื่องจากเป็นที่ดินเอกชน และพื้นที่โดยรอบกรมโยธาธิการฯจะพัฒนาเมืองใหม่รูปแบบจัดรูปที่ดิน

3. รถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ คือสถานีปากช่อง บริเวณชุมชนท่ามะนาว ตำบลหนองสาหร่าย ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ปัจจุบันกองทัพบกใช้งานอยู่ สถานีนี้ กำหนดให้เป็นสถานีขนาดใหญ่ใช้พื้นที่ 549 ไร่ โดยห่างจากสถานีเดิม3 กิโลเมตร โดยใช้พื้นที่ 549 ไร่ พัฒนาสถานี ที่จอดรถสาธารณะ ที่จอดรถส่วนบุคคล ถนนเข้าออกและก่อสร้างถนนใหม่เพิ่มอีกเส้นเชื่อมถนนมิตรภาพระหว่างสายเก่าและสายใหม่จากที่ราชพัสดุทั้งหมด 2 หมื่นไร่ที่กรมธนารักษ์และกรมโยธาธิการฯจะพัฒนาเป็นเมืองใหม่

4. สถานีราชบุรีที่ตำบลคูบัว ห่างจากสถานีเดิมไปทางด้านใต้ของเมืองราชบุรี 3 กิโลเมตร โดยทำเลนี้ สนข.เห็นด้วยกับกรมโยธาฯ เสนอ โดยจะพัฒนาเป็นสถานีขนาดเล็ก 30-50 ไร่ ที่ต้องเวนคืนเพราะเป็นที่ดินเอกชน พื้นที่รอบสถานี กรมโยธาฯจะจัดรูปที่ดินพัฒนาเมืองใหม่ และ

5. สถานีเพชรบุรี ซึ่งพื้นที่ตั้งสถานีใหม่จะห่างจากสถานีเดิมไปทางทิศตะวันตกออกไปทางนอกเมือง ระยะทาง 2 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในพื้นที่คาบเกี่ยว ระหว่างตำบลธงชัย และบ้านกุ่ม เขตอำเภอเมือง โดยกำหนดให้เป็นสถานีขนาดกลาง 50-75 ไร่ ซึ่งจะต้องเวนคืนเนื่องจากเป็นที่ดินของเอกชนทั้งหมด ส่วนพื้นที่รอบสถานี กรมโยธาธิการฯจะพัฒนาเป็นเมืองใหม่ด้วยวิธีจัดรูปที่ดิน

"กรมโยธาฯเน้นจัดรูปที่ดินพัฒนาเมืองใหม่ทุกสถานีมองว่าไม่เมกเซนส์ ความเป็นจริงไม่สามารถเป็นได้ ทุกสถานีทั้ง 16 แห่ง แต่เขาจะทำเมืองใหม่ทั้งหมด กลับกันสนข.จะต้องพิจารณาหลายด้าน ที่สำคัญคือ ปริมาณผู้โดยสาร แต่ทำเมืองใหม่ได้แต่ต้องเป็นบางสถานีโดยเฉพาะสถานีปลายทางหรือต้นทางเมืองใหญ่เท่านั้น" แหล่งข่าวกล่าว

++เห็นต่างพิษณุโลก-หัวหิน

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า กรณีสถานีรถไฟความเร็วสูง สายเหนือระยะแรก ปลายทางจะอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งถือว่าเป็นสถานีใหญ่โดยสนข.ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกรมโยธาธิการฯที่จะใช้ที่ดินบริเวณตำบลบึงพระ ที่อยู่ด้านใต้ลงไปจากสถานีพิษณุโลกเดิม เนื้อที่ 100ไร่แต่มองว่า สถานีเดิมคือสถานีพิษณุโลกที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง มีความเหมาะสมมากที่สุดเนื่องจากพื้นที่โดยรอบมีที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศ(ร.ฟ.ท.) อยู่แล้ว 180ไร่ ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์รองรับบริการผู้โดยสารได้

ขณะเดียวกัน ทำเลดังกล่าวปัจจุบันเป็นพื้นที่ย่านการค้าอยู่แล้ว มีทั้งร้านขายทอง โรงแรม ฯลฯ สนข.มองว่าจะคงรูปแบบการค้าเดิมนี้ไว้ และเมื่อรถไฟความเร็วสูงเกิดขึ้นในอนาคต เมืองในย่านนี้ก็จะปรับเปลี่ยนรูปแบบไปโดยอัตโนมัติ เช่นจากอาคารพาณิชย์ก็จะกลายเป็นตึกสูงใหญ่ ศูนย์การค้าที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม โรงแรม ฯลฯ เหมือนกับรถไฟฟ้าบีทีเอสในเขตกรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้รถไฟความเร็วสูงสายใต้ ช่วงกรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์ สนข.ไม่เห็นด้วยกับกรมโยธาธิการฯ คือสถานีหัวหินที่กรมโยธาธิการฯเสนอที่ตั้งสถานีที่ตำบลบ่อฝ้ายให้เป็นที่ตั้งสถานีและพัฒนาเมืองใหม่ ส่วนใหญ่เป็นที่ดินเอกชนและมีความเจริญมาก แต่สนข.มองว่า ความเหมาะสมที่ตั้งสถานีน่าจะเป็นที่ตำบลเขาน้อย ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ 5 หมื่นไร่ ซึ่งห่างจากอำเภอหัวหินลงไปทางใต้ 20 กิโลเมตร ซึ่งจะสร้างเป็นสถานีเล็ก 30-50ไร่ อย่างไรก็ดีมองว่า หัวหิน มีความแออัดมาก จึงต้องหาพื้นที่ใหม่ที่กระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุด

ขณะที่รถไฟความเร็วสูงสายอีสาน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาคือ สถานีนครราชสีมา ซึ่งเป็นสถานีปลายทางของจังหวัดนครราชสีมา สนข. จะใช้สถานีเดิม เนื่องจากมีที่ดินที่ราชพัสดุแล้ว 300 ไร่ จึงไม่เห็นด้วยกับกรมโยธาธิการฯ ที่จะต้องหาพื้นที่ใหม่ ที่สำคัญมีคนเข้า-ออกพื้นที่สถานีจำนวนมาก และสามารถพัฒนาเมืองให้โตได้เหมือนพิษณุโลก

ทั้งยังไม่เห็นด้วยกับกรมโยธาธิการฯที่จะให้สถานีอยุธยา และนครสวรรค์ เป็นเมืองใหม่ โดยจะให้ใช้สถานีเดิม เนื่องจากใกล้กรุงเทพฯมาก หากทำเมืองใหม่เกรงว่าจะไม่คุ้มทุน ที่สำคัญ การเดินทางสะดวก สามารถนั่งรถตู้เดินทางจากกรุงเทพฯไปอยุธยาและนครสวรรค์ได้ แต่หากใช้รถไฟความเร็วสูงแวะพักและทำเป็นเมืองใหม่จะต้องหาพื้นที่ใหม่ และมีปัญหาต้องทำระบบเชื่อมต่อเข้าตัวสถานี ซึ่งมองว่าไม่เหมาะสม

++สายตะวันออก ขีดแนวใหม่

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกช่วงกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ได้มอบให้ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)ศึกษา แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับสถานี ทั้งนี้ เส้นทางรถไฟสายตะวันออก ส่วนใหญ่เดิมจะสร้างเพื่อการขนส่งสินค้า รองรับอีสเทิร์นซีบอร์ด โดยไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อรองรับผู้โดยสาร ที่พาดผ่านเข้ามาในเมือง เช่น อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี พัทยา ระยอง แต่ส่วนใหญ่แนวเส้นทางจะอยู่นอกเมือง ดังนั้นหากจะสร้างรถไฟความ เร็วสูงสายภาคตะวันออกจะต้องปรับแนวเส้นทางใหม่เกือบทั้งหมด โดยจะลากแนวและที่ตั้งสถานีเข้ามาอยู่ในเมือง เพราะอนาคตนับจากนี้รถไฟความเร็วสูงจะต้องเน้นขนคนมากกว่า การขนสินค้า ซึ่งต้องรอให้ร.ฟ.ท. สรุปรูปแบบออกมาก่อน ส่วนการที่กรมโยธาธิการฯจะเสนอให้พัฒนาเมืองใหม่ ที่ปลายทางสถานีที่จังหวัดระยอง แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับพื้นที่ที่สำคัญระยองส่วนใหญ่เป็นเมืองอุตสาหกรรม แต่จะทำได้หรือไม่จะต้องดูผลการศึกษาก่อน

++ถกอีกรอบความเห็นไม่ตรงกัน

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณากำหนดตำแหน่งและพัฒนาพื้นที่ในโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง ประกอบด้วยสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนสายใต้ยังไม่ได้พิจารณาเนื่องจากมีเวลาจำกัด เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา
"การประชุมครั้งนี้เป็นเพียงที่ปรึกษาพรีเซนต์ข้อมูลทั้งหมด ทั้งด้านการขนส่ง ข้อดีข้อเด่นของแต่ละพื้นที่ให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องรับทราบ โดยผู้แทนจากกรมโยธาธิการและผังเมืองเสนอให้มีการจัดรูปที่ดิน เพราะจะใช้งบประมาณน้อยกว่าการเวนคืน อีกทั้งเจ้าของที่ดินยังจะได้รับประโยชน์จากการจัดรูปที่ดินแปลงดังกล่าวด้วย จึงเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากกว่า พร้อมให้กลับไปเป็นการบ้านเพื่อให้นำกลับมาเข้าพิจารณาในที่ประชุมครั้งต่อไป แต่เบื้องต้นสามารถเคลียร์ปัญหาไปได้มากแล้ว เหลือเพียงไม่กี่สถานีที่คาดว่าในการประชุมครั้งต่อไปน่าจะสรุปได้ทั้งหมด 36 สถานีใน 3 สาย"

นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่าสำหรับสายตะวันออกเฉียงเหนือพื้นที่ปากช่องน่าจะไม่มีปัญหาแล้ว ส่วนสถานีสระบุรี และนครราชสีมายังต้องพิจารณาอีกครั้ง โดยเฉพาะข้อมูลการลงทุนว่าคุ้มค่าหรือไม่อย่างไร อีกทั้งเรื่องระยะเวลาในการพัฒนาพื้นที่ซึ่งจะเกี่ยวข้องทั้งสิ้น โดยสถานีสระบุรีมีให้เลือกทั้งสถานีเดิมและสถานที่ใหม่ สำหรับสายเหนือสถานีพิษณุโลกและอยุธยายังพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้ง

++บทเรียนเมืองใหม่ล่ม

แหล่งข่าวกล่าวว่า ที่ผ่านมาการสร้างเมืองใหม่ในไทยไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากค่านิยมคนไทยไม่ย้ายถิ่นฐาน ปรากฏว่าไม่มีเมืองไหนเกิดสักแห่ง ขณะเดียวกันหากจำกันได้ เมืองใหม่ที่จังหวัดนครนายก สุวรรณภูมิ ที่มีปัญหา คนซื้อเก็งกำไรเจ็บตัวกันเป็นแถว รวมทั้งเมืองใหม่ท่าตะเกียบที่ฉะเชิงเทรา ที่สำคัญที่ไม่ต้องการให้เกิดเมืองใหม่มาก เพราะเป็นการสกัดกั้นการเก็งกำไร เพราะปัจจุบัน รถไฟความเร็วสูงยังไม่เกิดแต่ราคาที่ดินขยับขึ้นไปสูงเกินจริง จากชาวบ้านและเอกชนทั่วไปที่อาจหลงผิดเพราะในที่สุดแล้วหากซื้อที่ดินมาในราคาแพง แต่กลับใช้ประโยชน์ไม่ได้เพราะสถานีและเมืองใหม่ไม่เกิด จะส่งผลกระทบตามมาได้รวมทั้ง สนข.ไม่ต้องการให้เกิดฟองสบู่อสังหาฯเนื่องจากปัจจุบันมีการเข้าไปซื้อที่ดินพัฒนาโครงการทั้งบ้านและคอนโดมิเนียมกันมาก เกรงว่าอนาคตหากสร้างกันมากเกินไปจะทำให้เกิดบ้านล้นความต้องการได้

///-------------------------------------

เอาอะไรนักหนา กะ กรมโยธาธิการที่ทำตัวเป็นเสนาหมากขี้กา หรือ ไม่ก็ลูกขุนพลอยพยัก เสียจนเสื่อมเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2013 4:30 pm    Post subject: Reply with quote

หน้าตาสถานีรถไฟความไวสูงทางสายใต้ แต่นครปฐม ยัน หัวหิน มีหน้าตาแบบนี้

http://thaihispeedtrain.com/huahin/file/doc105.pdf
http://thaihispeedtrain.com/huahin/news-3.php
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2013 6:46 pm    Post subject: Reply with quote

ปชช.ล้นหลามแห่ชมงานโรดโชว์ 2 ล้านล. สร้างอนาคตไทย 2020 ทดลองนั่งรถไฟเร็วสูงจำลอง
ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 04 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12:22 น.

เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 4 ต.ค. ที่หอประชุมประจักษ์ศิลปาคม ศาลากลางจังหวัดหนองคาย สถานที่จัดนิทรรศการสร้างอนาคตไทย 2020 ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 4-6 ต.ค.นี้ มีประชาชนชาวจังหวัดหนองคายและพื้นที่ใกล้เคียงจำนวนมาก ทยอยเดินทางมาชมนิทรรศการเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และขนส่งของประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จุดที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ กิจกรรมนั่งรถไฟความสูงจำลอง ซึ่งเปิดให้ชมรอบละ 30 คน ปรากฎว่ามีผู้สนใจเข้าคิวรอชมอย่างเนืองแน่น

ต่อมาเวลา 09.30 น. นายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมด้วยนายยุทธนา ศรีตะบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ได้เดินทางมาร่วมชมงานพร้อมทดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงจำลอง ขณะที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเดินทางมาเปิดงานในเวลา 14.00 น.

สำหรับการเดินทางมาร่วมงานครั้งนี้ นายชัชชาติได้เดินทางมาโดยขบวนรถไฟฟรี กรุงเทพฯ-หนองคาย ซึ่งจะถึงสถานีรถไฟหนองคาย เวลาประมาณ 12.00 น.เศษ โดยขณะนี้ที่สถานีรถไฟหนองคาย มีผู้อำนายการศูนย์การรถไฟภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายสถานีรถไฟหนองคาย และประชาชนชาวหนองคายจำนวนหนึ่งรอให้การต้อนรับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 07/10/2013 11:50 am    Post subject: Reply with quote



โฆษณาชวนเชื่อเรื่อง ทางรถไฟความไวสูงถึงหนองคาย

//--------------------------------

สว.ชี้รถไฟเร็วสูงไม่ลดเหลื่อมล้ำ
โพสต์ทูเดย์
7 ตุลาคม 2556 เวลา 14:06 น.

"รสนา"ย้ำรถไฟเร็วสูงไม่ลดเหลื่อมล้ำ เอื้อคนรายได้สูงเบียดงบสวัสดิการสังคม เชื่อจีดีพีไม่ขยับทำดอกเบี้ยเงินกู้พุ่ง จวกรัฐฉวยจังหวะอัดงบรางคู่พุ่งเท่าตัว

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่รัฐสภา การประชุมวุฒิสภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ในขั้นรับหลักการวาระที่ 1 ภายหลังสภาผู้เเทนราษฎรให้ความเห็นชอบ นางรสนา โตสิตระกูล สว.กทม. กล่าวว่า ไม่ขอรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะถึงแม้จะเห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างพื้นฐาน แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการกู้เงินนอกงบประมาณที่ตัดขาดการตรวจสอบจากรัฐสภา โดยเฉพาะ พ.ร.บ.กู้เงินฉบับนี้กินระยะเวลา 7 ปีข้ามช่วงเวลา 4 ปีที่เป็นระยะเวลาปกติของรัฐสภา อีกทั้งไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะลงทุนก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวทุกแห่ง และไทยเองยังประสบปัญหาการคอร์รัปชันและมีความเสี่ยงสูงด้านรายได้การส่งออก

นางรสนา กล่าวต่อว่า ทางรัฐบาลมั่นใจว่าสามารถเพิ่มจีดีพีได้ปีละ 5.5% แต่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 3 เท่านั้นและคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องเพราะปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้นหากรัฐมั่นใจว่าโครงการนี้จะทำให้จีดีพีสูงขึ้น เเต่เอาเข้าจริงไม่สามารถเพิ่มจีดีพีได้ตามที่ตั้งเป้าหมาย ประเทศอาจถูกลดความน่าเชื่อถือลง และทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นเป็นภาระรายจ่ายของประเทศ นอกจากนี้ยัีงมองว่ารูปแบบการกู้เงิน รัฐควรดึงเอกชนมาร่วมลงทุน เพราะจะช่วยลดภาระเสี่ยง ไม่อยากให้ซ้ำรอยกับโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ที่รัฐลงทุนเช่นเดียวกัน แต่กำลังประสบกับภาวะขาดทุนอยู่ในขณะนี้

อย่างไรก็ตามนางรสนา กล่าวย้ำว่า ไม่เชื่อว่าโครงการ 2 ล้านล้านจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพราะ 70% ของเงินกู้ใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงไม่จัดเป็นบริการสาธารณะ เพราะไม่ได้ตอบสนองต่อเป้าหมายของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย แต่กลับเอื้อประโยชน์ให้แก่คนที่มีรายได้สูงเท่านั้น มิหนำซ้ำงบส่วนนี้จะไปเบียดบังการจัดงบประมาณดูแลด้านสังคมและการจัดสวัสดิการของสังคม และไม่ลดความเหลื่อมล้ำภาคครัวเรือนที่ขณะนี้ตัวเลขห่างถึง 11-12 เท่าระหว่างคนที่มีรายได้ต่ำและสูงสุด

นางรสนา ยังกล่าวอีกว่า โครงการตามร่างพ.ร.บ.นี้หลายโครงการเดิมมีการวางไว้แล้วก่อนหน้านี้ แต่เมื่อถูกบรรจุรวมเป็นแพ็กเกจในโครงการ 2 ล้านล้าน ปรากฏว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เช่น โครงการรถไฟรางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพมีค่าใช้จ่ายเดิม 7,860 ล้านบาท แม้บรรจุในโครงการ 2 ล้านล้าน จะสร้างเส้นทางเพิ่มขึ้นจาก 118 เป็น 148 กม.แต่ค่าใช้จ่ายกลับเพิ่มขึ้นถึง 100% เป็น 16,215 ล้านบาท โครงการรางคู่สายมาบกระเบา จ.นครราชสีมา จาก 11,640 ล้าน เพิ่มเป็น 21,196 ล้านบาท รางคู่สาย จ.นครราชสีมา ขอนแก่นจาก 13,000 ล้าน เพิ่มเป็น 29,000 ล้านบาท จึงเชื่อว่าทำให้เกิดการทุจริตอย่างมหาศาล ซึ่งยังไม่นับรวมค่าที่ปรึกษาโครงการหลายหมื่นล้าน ที่สังคมตั้งคำถามเยอะ

//-------------
“ชัชชาติ”แจง 2 ลล.แค่กรอบวงเงิน 53 โครงการ
ข่าวการเมือง เดลินิวส์
วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2556 เวลา 17:48 น.

ส.ว.ร่วมถกเงินกู้ 2 ล้านล้าน ชี้รถไฟเร็วสูงไม่คุ้มทุน เหตุวงเงินสูงหวั่นทุจริต ด้าน “ชัชชาติ”ยันแค่วางกรอบวงเงิน 53 โครงการ ให้ ก.คลังดำเนินการใน 7 ปี ย้ำต้องผ่านหน่วยงานเกี่ยวข้องอนุมัติรายโครงการ

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ปรากฏว่า ส.ว.ได้สลับกันลุกขึ้นอภิปรายอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เวลาคนละ 15 นาที ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ แต่ได้ท้วงติงถึงวีธีการการจัดทำงบประมาณว่าควรจัดทำด้วยวีธีงบประมาณปกติประจำปี ทั้งนี้เป็นห่วงเรื่องการใช้งบประมาณที่สูงมาก เกรงว่าไม่คุ้มค่า และเปิดช่องให้มีการทุจริตโดยง่าย โดย นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ได้อภิปรายคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่า ไม่เชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงจะสร้างจุดคุ้มทุนได้ โดยสายกทม.-เชียงใหม่หากสร้างต้องใช้งบ 3.8 แสนล้านบาท ซึ่งสถาบันทีดีอาร์ไอระบุว่าต้องขนคนเฉลี่ย 9 ล้านคนต่อปีจึงจะคุ้มทุน แต่ขณะนี้มีจำนวนคนเดินทางไป กทม.-เชียงใหม่โดยรถยนต์ เครื่องบิน รถทัวร์เพียง 5 ล้านคนต่อปีเท่านั้น ดังนั้นเท่ากับแค่เริ่มต้นก็ขาดทุนแล้ว อีกทั้งรัฐต้องเติมงบประมาณอีก 2-3 หมื่นล้านบาทด้านค่าพนักงาน ค่าไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ยอดการขาดทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในต่างประเทศการดำเนินการเอกชนเป็นผู้รับสัมปทานและโอนกิจการและทรัพย์สินคืนแก่รัฐบาล เมื่อครบกำหนด หรือเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ต่างกับไทยที่รัฐกลับดำเนินการเอง สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่ารถไฟความเร็วสูงเกินความจำเป็นสำหรับประเทศไทยที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาและยากจน


จากนั้น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ได้ชี้แจง ว่า ร่างพ.ร.บ.นี้ มีทั้งหมด 53 โครงการ ซึ่งไม่ใช่การอนุมัติโครงการ แค่เป็นการเตรียมกรอบวงเงินของโครงการไว้ให้กระทรวงการคลัง ภายใน 7 ปี โดยแต่ละโครงการต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกอย่าง อาทิ อีไอเอ อีเอชไอเอ พร้อมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ และต้องผ่านให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเป็นรายโครงการ ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตุว่าบางโครงการยังศึกษาไม่แล้วเสร็จ ถือเป็นข้อเท็จจริง เพราะหัวใจของ พ.ร.บ.นี้ไม่ใช่ พ.ร.บ.ปีเดียว เป็นการวางแผนระยะยาว 7 ปี ให้เห็นว่าอนาคตประเทศไทยภายใน 7 ปี เป็นอย่างไร โดยโครงการที่มีความสำคัญมาก ก็พร้อมดำเนินการก่อน เช่น ปีหน้ารถไฟรางคู่ 5 เส้นทาง ถนน 4 เลนมอเตอร์เวย์ ก็ดำเนินการได้เลย และบางโครงการได้ระบุในเอกสารชัดเจนว่า ในปีที่ 2 จะศึกษาโครงการอะไรและเริ่มทำปีไหน ทั้งนี้ ยืนยันว่าทุกโครงการต้องมีการศึกษาตามขั้นตอน ไม่ได้ละเว้นการปฏิบัติ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2013 2:32 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สว.หวั่นหนี้เงินกู้บาน 6 ล้านล้าน
โพสต์ทูเดย์ 07 ตุลาคม 2556 เวลา 19:19 น.

สว.หวั่นหนี้เงินกู้บานพุ่ง 6 ล้านล. เชื่อรถไฟเร็วสูงไม่คุ้มทุน ฟันธงสาย กทม.-เชียงใหม่เจ๊ง หนุนรางคู่-ขนส่งทางน้ำจี้หั่นงบเหลือ 4 เเสนล้าน


"สว.สายลต."หนุน พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ด้าน40สว.ชี้ส่อขัดรธน.
เนชั่นทันข่าว
วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2556 เวลา 20:37 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่รัฐสภา การประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาร่างพิจารณาร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ (พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท) ภายหลังที่ประชุมสภาผู้เเทนราษฎรให้ความเห็นชอบ

โดยบรรยากาศในประชุมมีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง ซึ่งส.ว.เลือกตั้งส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการที่รัฐบาลจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมของประเทศ เพราะเห็นว่าได้ประโยชน์ ในด้านต่างๆ และไม่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมานาน เช่นการทำรถไฟทางคู่ หรือการทำมอเตอร์เวย์ แต่ก็ได้ตั้งสังเกตในการทำรถไฟฟ้าความเร็วสูง ว่ามีความจำเป็นหรือไม่ และจำนวนเงินสูงเกินไปหรือไม่ อีกทั้งรายละเอียดต่างๆของโครงการยังไม่มีความสมบูรณ์ จึงอยากให้การเพิ่มรายละเอียดต่างๆ ทั้งนี้ในส่วนของส.ว.สรรหา โดยเฉพาะกลุ่ม 40 ส.ว.อภิปรายไม่เห็นด้วยกับการกู้เงินครั้งนี้ ทั้งเรื่องความไม่คุ้มทุน ในเรื่องรถไฟฟ้าความเร็วสูง และรายละเอียดโครงการต่างๆ ไม่มี มีค่าที่ปรึกษาที่สูง การตรวจสอบการใช้เงินไม่ได้ และทำให้เสียวินัยการเงินการคลังของประเทศ และอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ชี้แจงว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายต่อต้านการคอร์รัปชั่นเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เปิดให้มีการทำประชาพิจารณ์การทำทีโออาร์ถึง 3 ครั้งแล้ว และมีความคืบหน้าและความร่วมมือต่างๆเป็นไปด้วยดี ส่วนรายละเอียดแต่ละโครงการซึ่งมีทั้งหมด 53 โครงการ ต้องเรียนว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ใช่เป็นการอนุมัติโครงการ แต่เป็นการเตรียมกรอบวงเงินไว้ให้กระทรวงการคลังภายใน 7 ปี ซึ่งในแต่ละโครงการต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ ไม่ว่าจะเป็น การทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งมีขั้นตอนระบุไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ที่ยังมีหลายโครงการยังศึกษาไม่แล้วเสร็จ ก็ต้องยอมรับว่าจริง เพราะนี่คือแผนระยะยาว

//--------------------------------------

“สมชาย” ซัดรัฐบาลดันกู้เงิน 2 ล้านล้านมีนัยซ่อนเร้น ชี้สร้างฝันหลอก ปชช.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 ตุลาคม 2556 15:47 น.

“ส.ว.สมชาย” ย้ำโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ไม่จำเป็นต้องกู้ 2 ล้านล้าน ใช้งบฯ ปกติได้ เชื่อมีนัยซ่อนเร้น ชี้รัฐบาลสร้างความฝันหลอกประชาชนให้เพ้อคิดว่าทางผ่านรถไฟความเร็วสูงจะเจริญ

นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา อภิปรายระหว่างการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ..... (พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท) ของวุฒิสภา วาระแรกว่า การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ในครั้งนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะพวกเราคงไม่ได้อยู่ใช้หนี้ แต่จะเป็นลูกหลานของเราที่ต้องรับผิดชอบกับภาระหนี้สิ้น ดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งรายละเอียดของโครงการจะต้องใช้เงินกว่า 4 ล้านล้านบาท แต่ 2 ล้านล้าน ในตอนนี้เป็นเพียงรายละเอียดเบื้องต้นเท่านั้น

นายสมชายกล่าวว่า การจัดสร้างทางรถไฟที่จะเกิดขึ้นถือว่าเป็นประโยชน์ต่อระบบขนส่ง แต่ในข้อเท็จจริงแล้วงบประมาณที่จะใช้นั้นสามารถระบุอยู่ในงบกลางได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่ลงไป พ.ร.บ.เงินกู้ฉบับนี้ นอกเหนือจากมีนัยยะบางอย่างซ่อนอยู่ โครงการที่เราจะทำนั้นขนาดยังไม่เริ่มโครงการก็น่าจะเจ๊ง และที่จะเป็นปัญหาใหญ่กว่านั้นคือ เมื่อเราเจ๊งแล้ว เราจะเอาเงินจากที่ไหนไปจ่ายเงินกู้เขา อีกทั้งทางรถไฟเฟส 2 คงเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้น เพราะเขาคงไม่ให้เรากู้เงินเพิ่มอีกแล้ว ในเมื่อเราไม่สามารถชะหนี้ให้เขาได้ภายใน 50 ปี

นายสมชายกล่าวต่อว่า เรากำลังสร้างความฝันให้ประชาชน แต่เราบอกความจริงไม่หมด จริงๆ แล้วรถไฟในประเทศเราใช้รางคู่ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้รถไฟความเร็วสูง เพราะฉะนั้น เงิน 2 ล้านล้านบาทจึงไม่จำเป็น และโครงการนี้จุดคุ้มทุนยังมองไม่เห็นด้วยซ้ำ รัฐบาลไปโกหกพี่น้องประชาชนว่า รถไฟความเร็วสูงไปถึงไหน ที่นั่นจะเจริญ ซึ่งความจริงแล้วเรารู้ว่ามันจะเจริญเฉพาะที่เท่านั้นที่จะมีกลุ่มนายทุนทั้งหลายไปกว้านซื้อที่ดิน

“รถไฟความเร็วสูงเกินความจำเป็นกับประเทศของเรามาก เพราะเราเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและยากจนมาก เราสามารถพัฒนาประเทศได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้ก้อนโต”

//---------------------------------------------------------------

ปชป.อัดโรดโชว์รัฐฯ ผลาญงบ โกหกรถไฟความเร็วสูงคนอีสาน ชี้ พท.ใบเสร็จโกงอื้อ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 ตุลาคม 2556 15:00 น.


“ชวนนท์” ซัดโรดโชว์รัฐฯ ที่หนองคาย โกหกคนอีสานอย่างโหดร้าย มีจำลองรถไฟฟ้าความเร็วสูง ทั้งที่ไปแค่โคราช ชี้ไม่มีวันได้นั่งของจริง ย้ำชาวอีสานเห็นการโกหก ด้าน “มัลลิกา” ตั้งชื่อโรดโชว์ “สร้างภาพเพื่อไทย 2020” โกหกซ้ำซาก นำเงินละลายเพื่อละครชวนเชื่อ เวนคืนที่ชาวบ้านเรียกร้องไม่ได้ แนะแจงงบฯปาหี่ งงจัดโชว์ตลก ดารา ประกวดต่างๆ เกี่ยวรถไฟความเร็วสูงตรงไหน ตอก “เด็จพี่” ใบเสร็จส่อโกง พท.มีเพียบ

วันนี้ (7 ต.ค.) นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีรัฐบาลจัดงานงานการโรดโชว์ “ทิศทางอนาคตไทย 2020” ที่ จ.หนองคาย ว่าถือเป็นการย้ำว่ารัฐบาลกำลังโกหกประชาชนชาวอีสาน โดยเฉพาะ จ.หนองคาย ที่มีการตั้งบูทที่ จ.หนองคาย จำลองห้องรถไฟความเร็วสูง และมีพริตตี้ใส่ชุดแอร์โฮสเตสยืนอธิบายว่ารถไฟความเร็วสูงจะวิ่งเร็ว และไปได้ไกลแค่ไหนนั้น ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลหลอกประชาชน และคน จ.หนองคาย จะมีแค่รถไฟฟ้าความเร็วสูงจำลองแบบนี้เท่านั้น เพราะข้อเท็จจริงหากรถไฟความเร็วสูงสร้างสำเร็จก็จะไปสิ้นสุดแค่ จ.นครราชสีมา ดังนั้น ชาว จ.หนองคายก็จะได้นั่งตู้รถไฟความเร็วสูงจำลองไปตลอดชีวิต ไม่มีวันได้นั่งของจริง เพราะรัฐบาลโกหกประชาชนอย่างเหี้ยมโหดและโหดร้ายที่สุด และโกหกประชาชนที่เลือกพรรคเพื่อไทยทั้งจังหวัด นี่คือความอำมหิตของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่หลอกประชาชนมา 1 ปี จนวันนี้ขายความเท็จต่อประชาชนชาวอีสานต่อเนื่อง ตนจึงต้องต้อกย้ำให้ชาวอีสานได้เห็น

ด้าน น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ตนขอตั้งฉายาโรดโชว์ของรัฐบาลเป็น “สร้างภาพเพื่อไทย 2020” เพราะรัฐบาลใช้วิธีตีปี๊บโกหกประชาชนซ้ำซากตามโรดโชว์พื้นที่ต่างๆ เป็นการแสดงละครจัดฉากและนำเงินไปละลายเพียงแค่ต้องการชวนเชื่อโดยที่ข้อเท็จจริงไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อความรู้และเข้าใจของประชาชน ที่สำคัญไม่มีการรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ สำหรับพื้นที่ที่จะต้องเวนคืนจนมีชาวบ้านออกมาร้องเรียนถึงผลกระทบต่อโครงการนี้ กรณีประชาชนที่ จ.หนองคาย พยายามเข้าร้องเรียนกับรัฐบาลแต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ และล่าสุดจะมีชาวโคราชไปร้องเรียนด้วย

นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลและเพื่อไทยแสดงความบริสุทธิ์ใจด้วยการชี้แจงงบประมาณโรดโชว์ ที่เครือหนังสือพิมพ์มติชน และบริษัทจัดอีเวนต์รับไปดำเนินการอย่างละเอียดว่าใช้ในโครงการตีปี๊บนี้เท่าไหร่ อย่างไร นอกจากนี้ รัฐบาลจัดให้มีการกิจกรรมไฮไลท์ของงานซึ่งควรจะเป็นส่วนที่ประชาชนจะให้ความสนใจมากที่สุด กลับจัดให้มีการโชว์ของเท่ง เถิดเทิง และคณะจัดกิจกรรมดาราเจ็ดสีสัญจร มีการจัดประกวดอาหาร รวมถึงมีการแสดงพื้นบ้านและจำหน่ายสินค้าโอทอป มินิคอนเสิร์ตจากศิลปะต่างๆ ขอถามว่าทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงอย่างไร และขอให้รัฐบาลหยุดโกหกซ้ำซากกับโครงการนี้ และนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยไม่ต้องออกมาเรียกหาใบเสร็จจากนายชวน หลีกภัย เพราะใบเสร็จการทุจริตของเครือนี้ชัดเจนอยู่แล้ว ทั้งกรณีการหลบหนีคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก หรือกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้การเท็จในคดีซุกหุ้น ซึ่งชัดเจนอยู่แล้ว และยังมีใบเสร็จที่ส่อว่ามีการทุจริตก็ค้างอยู่ในการพิจารณาของ ป.ป.ช.อีกจำนวนมาก ดังนั้น ไม่ว่าโครงการโรดโชว์หรือโครงการต่างๆ จะส่อทุจริตหรือไม่ รัฐบาลควรจะออกมาชี้แจงมากกว่าโต้คารมโดยไม่มีข้อเท็จจริง

//--------------------------

ผวจ.หนองคายเชื่อรถไฟความเร็วสูงช่วยกระตุ้น ศก.จังหวัดให้ดีขึ้น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 ตุลาคม 2556 11:12 น.


นายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย กล่าวถึงการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อมายังจังหวัดหนองคาย ว่า จะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่น่าอยู่อันดับ 7 ของโลก ซึ่งการเชื่อมโยงระหว่างประเทศไปยังจีนจะทำให้นักลงทุนเข้ามามากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ได้เตรียมพร้อมรับมือปัญหาด้านต่างๆ ที่จะตามมาเช่นกัน โดยวางมาตรการ 5 รัก ประกอบด้วย รักสะอาด รักษาสุขภาพ รักษาสิ่งแวดล้อม รักษาวินัย และรักความสามัคคี เพื่อรองรับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและด้านอื่นๆ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ส่วนแนวคิดเรื่องจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาตามกรอบ โดยจะเน้นไปที่อุตสาหกรรมสีเขียว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2013 10:22 am    Post subject: Reply with quote

กู้2ล้านล้านตัดอำนาจสำนักงบ เลี่ยงตรวจสอบ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 8 ตุลาคม 2556 08:26

อดีตข้าราชการกระทรวงการคลังผู้รักชาติ!ระบุพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ตัดอำนาจสำนักงบ เตือน "ไม่เป็นเงินแผ่นดิน" สตง.สอบไม่ได้



อดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงการคลัง ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในกรมสรรพสามิตและกรมบัญชีกลาง เขียนบทความเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท พ.ศ. .... หรือ "ร่าง พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านฯ" ตอนที่ 2 หลังจากเคยสร้างกระแสฮือฮาจากบทความชิ้นแรกมาแล้ว

บทความชิ้นที่ 2 นี้ใช้ชื่อว่า "ถ้าเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทไม่เป็นเงินแผ่นดิน" โดยใช้นามปากกาเดิม คือ "ต.ม.ธ.ก. 2905" มีเนื้อหาระบุว่า เชื่อว่าทุกคนอยากให้ประเทศไทยมีรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ มีรถไฟความเร็วสูง การคมนาคมสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัยด้วยกันทั้งนั้น และก็เชื่อมต่อไปด้วยว่าการที่จะบรรลุความอยากต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลและต้องใช้เวลาหลายปี ฉะนั้นปัญหาเรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องความอยาก แต่อยู่ที่วิธีการหาเงินมาใช้จ่าย ถ้าจะใช้จากเงินที่ทำมาหาได้ในปัจจุบันก็เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ หรือจะค่อยๆ เก็บออมจากรายได้ในปัจจุบันสะสมให้มากพอแล้วจึงดำเนินการ ก็ไม่รู้ว่าอีกกี่ปีกี่ชาติถึงจะบรรลุความอยาก

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องหนีไม่พ้นต้องใช้วิธีการนำเงินที่จะได้ในอนาคตมาใช้ก่อน ฉะนั้นการใช้วิธีกู้เงินจึงไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่เมื่อได้รับเงินกู้มาแล้วจะนำไปใช้จ่ายด้วยวิธีการอย่างไรในทางการคลังมากกว่า

รัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และให้นำเงินที่ได้รับจากการกู้เงินตามร่างกฎหมายดังกล่าวไปใช้นอกกฎหมายว่าด้วยงบประมาณ ในส่วนการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินนั้นไม่มีปัญหา เพราะกระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม อยู่แล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่วิธีการนำเงินที่ได้รับจากการกู้ไปใช้ เพราะบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 169 บัญญัติว่า

"การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง..."

จึงเกิดปัญหาว่า 1.เงินที่ได้รับจากกฎหมายดังกล่าวเป็น "เงินแผ่นดิน" หรือไม่ และ 2.ถ้าเป็นหรือไม่เป็นแล้วจะนำเงินนั้นไปใช้จ่ายนอกกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย ซึ่งได้แก่กฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี กฎหมายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และกฎหมายโอนเงินงบประมาณ รวมทั้งมีมติให้จ่ายเงินไปก่อนได้หรือไม่

อดีตข้าราชการระดับสูงกระทรวงการคลัง ระบุในบทความอีกว่า ประเด็นที่ว่าเงินกู้ที่ได้รับมาจากกฎหมายดังกล่าวเป็นเงินแผ่นดินหรือไม่ ในที่สุดต้องไปยุติที่ศาลรัฐธรรมนูญ โดยหากคำตอบเป็นที่ยุติว่าเป็นเงินแผ่นดิน ก็จะมีปัญหาให้ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า แล้วจะนำเงินนั้นไปใช้จ่ายนอกกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายได้หรือไม่ ซึ่งแม้ส่วนตัวจะตอบให้เป็นข้อยุติไม่ได้เช่นกัน แต่ก็พอจะมองเห็นว่าถ้าเงินที่ได้รับจากการกู้เงินตามกฎหมายดังกล่าว "ไม่เป็นเงินแผ่นดิน" แล้วจะมีผลทางกฎหมายตามมาอย่างไร และถ้าเป็นเงินแผ่นดินหรือไม่เป็นแล้วนำไปใช้นอกเหนือจากกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายแล้วจะมีผลทางกฎหมายตามมาอย่างไร

ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณนั้น ต้องให้สอดคล้องกับแผนการทำงานของหน่วยงาน ทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจัดลำดับก่อนหลังให้เหมาะสมสอดคล้องกับข้อจำกัดทางทรัพยากรในการทำงานประมาณแต่ละปี

ฉะนั้นในปี พ.ศ. 2502 จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงบประมาณขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรีภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี เพื่อรับโอนงานการจัดทำงบประมาณที่เคยเป็นหน่วยงานในกระทรวงการคลังภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไปอยู่ที่สำนักงบประมาณ แล้วให้สำนักงบประมาณมีภารกิจเกี่ยวกับการเสนอแนะ และให้ความเห็นแก่รัฐบาล ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐในด้านการงบประมาณ การจัดทำงบประมาณที่สนองต่อนโยบายและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล และการบริหารจัดการงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุภารกิจของรัฐเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมทั้งมีความคุ้มค่าสามารถตรวจและเปิดเผยต่อสาธารณะได้

ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันมีนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ และเลือกที่จะกู้เงินมาใช้จ่ายนอกงบประมาณ โดยให้ "สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ" ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินกู้ จึงมีผลเท่ากับกฎหมายกู้เงินตัดบทบาทหน้าที่ของ "สำนักงบประมาณ" ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งขณะนี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

นอกจากนั้น เมื่อดูบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวด 11 ส่วนที่ 1 องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ 4 "คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน" มาตรา 252 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การตรวจเงินแผ่นดินให้กระทำได้โดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง" ฉะนั้นถ้าเงินที่ได้รับจากกฎหมายกู้เงินฉบับดังกล่าว "ไม่เป็นเงินแผ่นดิน" ก็มีผลให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไม่มีอำนาจตรวจสอบตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

โดยสรุป 1.การไม่นำรายจ่ายในการดำเนินการตามกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านระบุไว้ในกฎหมายงบประมาณ และให้ "สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ" ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารและจัดการเงินกู้ จึงมีผลเท่ากับกฎหมายเงินกู้ฉบับนี้ได้ตัดบทบาทหน้าที่ของ "สำนักงบประมาณ" ในการจัดทำงบประมาณตลอดทั้งการบริหารและควบคุมตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินโดยตรง

2.ถ้าเงินที่ได้รับจากกฎหมายกู้เงินฉบับดังกล่าวได้ขอยุติว่า "ไม่เป็นเงินแผ่นดิน" ก็จะมีผลทำให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 252
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 167, 168, 169 ... 549, 550, 551  Next
Page 168 of 551

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©