RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311311
ทั่วไป:13280213
ทั้งหมด:13591524
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 178, 179, 180 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44739
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/01/2014 9:24 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง คุ้มค่าจริงหรือถ้าจะลงทุนตอนนี้
Arrow http://pantip.com/topic/31492370

คุณคิดว่ารถไฟรางคู่ เพียงพอต่อความต้องการของคนไทยหรือไม่?
Arrow http://pantip.com/topic/31515268
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2014 7:03 pm    Post subject: Reply with quote

ประเด็นเรื่องรถไฟความไวสูง

น้าไกด์ อุบล wrote:
งานเข้าแล้วครับ เมื่อถูกลูกถามว่า "ทำไมศาลถึงมีอำนาจสั่งห้ามสร้างรถไฟความเร็วสูงได้" ผมถามลูกว่าไปรู้มาจากไหน เค้าตอบว่า เห็นจากในเฟซบุ้คที่เค้าแชร์กัน

คำตอบข้างบนนี้ ทำให้ผมเข้าใจอะไรหลายๆ เรื่อง ผมไม่แปลกใจ เพราะผมก็เห็นทั้งข้อความและภาพนั้นเช่นกัน บางทีก็เห็นคนเล่าประสบการณ์การนั่งรถไฟความเร็วสูงมาแล้ว บ้างก็เลยเถิดขนาดทำภาพกราฟฟิคเส้นทางรถไฟความเร็วสูงวิ่งรอบประเทศไทย แต่ไม่ผ่านประเทศไทย บางคนก็ประชดขนาด ไม่มีรถไฟความเร็วสูง คนไทยก็ต้องนั่งเกวียนกันล่ะ

ผมไม่อยากให้ลูกเลือกข้าง อยากให้เค้าได้รับข้อมูลทั้งสองด้าน หรือหลายๆ ด้าน จึงเลี่ยงที่จะตอบว่า ศาลรัฐธรรมนูญสั่งห้ามสร้างรถไฟความเร็วสูงหรือไม่

แต่เลือกที่จะอธิบายหลักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และทำไมเรื่องรถไฟความเร็วสูงถึงต้องไปอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ยาวหน่อยนะครับ แต่มันจำเป็นที่จะต้องเข้าใจหลักการ แล้วถึงจะเข้าใจว่าปลายทางทำไมเป็นอย่างที่ลูกเห็น

ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีการถ่วงดุลอำนาจกัน 3 ฝ่ายคือ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ฝ่ายบริหารก็มีหน้าที่ปกครองประเทศตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ ฝ่ายนิติบัญญัติก็ทำหน้าที่พิจารณาโครงการต่างๆ ที่ฝ่ายบริหารเสนอ และคอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือฝ่ายบริหาร ส่วนตุลาการทำหน้าที่ตัดสินคดีความข้อพิพาทต่างๆ ซึ่งระยะหลังมีการตั้งศาลรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการแยกคดีทางการเมืองออกมาต่างหากจากคดีแพ่งคดีอาญาทั่วไป ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรอิสระ และสามารถพิจารณาคดีทางการเมืองที่มีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญได้รวดเร็ว

ทีนี้มาถึงเรื่องที่เราสงสัยกัน ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจอะไรไปห้ามสร้างรถไฟความเร็วสูง ตอบได้เลยว่า ไม่มีอำนาจครับ จะสร้างไม่สร้างเป็นเรื่องของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ

ตามหลักแล้ว ฝ่ายบริหารจะตั้งงบประมาณการบริหารประเทศ แล้วฝ่ายนิติบัญญัติก็จะตรวจสอบ พิจารณารายละเอียดของโครงการต่างๆ หากงบประมาณผ่านสภาฯ รัฐบาลก็ใช้เงินผ่านกระทรวงการคลัง บางโครงการต้องใช้เงินเยอะ งบประมาณใน 1 ปี อาจไม่เพียงพอ ก็อาจจะเขียนโครงการตั้งงบผูกพันโครงการไว้หลายปีจนแล้วเสร็จ

เรื่องรถไฟความเร็วสูง ถ้ารัฐบาลเขียนโครงการใส่ในงบประมาณ ก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไร ศาลรัฐธรรมนูญก็ไปยุ่งไม่ได้ แต่คราวนี้รัฐบาลตั้งเป็นโครงการพัฒนาระบบคมนาคมฯ (ประมาณนี้) ต้องใช้เงินทั้งโครงการ 2 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลใช้วิธีออก พ.ร.บ.เงินกู้สองล้านล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาก็มีรัฐบาลที่ออก พ.ร.บ.เงินกู้ อยู่และศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่เคยเข้าไปยุ่ง

"แล้วคราวนี้ ทำไมศาลรัฐธรรมนูญถึงสั่งห้ามสร้างรถไฟความเร็วสูง บอกให้ทำถนนลูกรังให้หมดประเทศซะก่อน" ลูกถามแย้งขึ้นมา อยากได้คำตอบแบบรวดรัด

ก็เพราะปกติเงินกู้ที่กู้มา ต้องเอาเข้าคลังแล้วรัฐบาลค่อยเบิกจ่ายตามระเบียบการคลังของประเทศยังไง แต่ใน พ.ร.บ.เงินกู้ฯ นี้ ระบุให้ไม่ต้องเอาเงินกู้นี้เข้าคลัง เพราะเกรงว่าระเบียบการเบิกจ่ายจะทำให้โครงการต่างๆ ล่าช้าออกไป ฝ่ายค้านก็เกรงว่า ถ้าเงินกู้นี้ไม่เข้าคลัง การตรวจสอบการใช้เงินก็เป็นไปได้ยาก แถมรายละเอียดโครงการก็ไม่ชัดเจน ซ้ำกว่านั้นผลวิจัยฯ ยังบอกว่า เงินที่กู้มาเราก็ต้องชดใช้พร้อมดอกเบี้ยซึ่งหากไม่อยากให้กระทบสถานะความมั่นคงทางการคลัง จะต้องใช้เวลาใช้หนี้ถึง 50 ปี

ประเด็นที่เข้าไปถึงศาลรัฐธรรมนูญคือ เงินกู้ที่กู้มา รัฐบาลจะไม่เอาเข้าคลัง ฝ่ายค้านเห็นว่าน่าจะขัดรัฐธรรมนูญ จึงส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
ทีนี้ศาลรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้น เป็นระบบไต่สวน (ที่เราเห็นในศาลอาญาและศาลแพ่ง เป็นระบบกล่าวหา ผู้ใดกล่าวหาผู้อื่นต้องหาหลักฐานและพยานมาพิสูจน์ต่อศาล) ซึ่งระบบไต่สวนนี้ ศาลมีอำนาจซักถาม เรียกพยานต่างๆ มาสอบถามได้ โดยมากศาลก็จะเรียกผู้ร้องและผู้ถูกร้องมาไต่สวน และเรียกผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ มาไต่สวนเพิ่มเติม

เรื่อง พรบ.เงินกู้สองล้านล้าน ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลยังไม่ได้ตัดสิน ยังมีการนัดผู้เชี่ยวชาญมาไต่สวนเพิ่มเติม และประโยคที่ศาลซักถามคุณชัชชาติ รมต.คมนาคม ก็ไม่ใช่คำตัดสิน

สรุป ศาลไม่ได้ใช้อำนาจเกินขอบเขตขนาดว่าจะไปห้ามสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่เพราะรัฐบาลไม่เอาโครงการเข้าในระบบงบปีประมาณปกติ แถมออก พรบ.เงินกู้สองล้านล้าน ก็จะไม่เอาเข้าคลัง ฝ่ายค้านเห็นว่าน่าจัขัดรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญจึงเข้ามาเกี่ยวด้วย

ถ้ารัฐบาลเอาโครงการรถไฟความเร็วสูงเข้าระบบปีงบประมาณปกติ ศาลไหนๆ ก็ยุ่งไม่ได้ หรือถ้า ออก พรบ.เงินกู้ โดยเอาเงินเข้าคลัง ศาลก็จะเข้าไปยุ่งไม่ได้

ที่สำคัญ พรบ.เงินเงินกู้ 3.5 แสนล้านแก้ปัญหาน้ำท่วม ศาลรัฐธรรมนูญก็ตีความว่า เป็นอำนาจของรัฐบาล และยกคำร้องของฝ่ายค้านไปแล้ว ทำไมไม่มีใครว่าศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง ปชป. ที่เป็นผู้ยื่นคำร้อง ก็เคารพในคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ

เหนื่อย.... กว่าจะอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า สังคมนี้มันโหดร้าย เลือกนำเสนอเฉพาะที่เข้าข้างตัวเอง ขนาดในเรื่องเดียวกัน ก็ยังคัดเฉพาะที่เป็นประโยชน์กับตัวเอง คนธรรมดาโพสไปเรื่อย แชร์ไปเรื่อยยังไม่เท่าไหร่ สื่อมวลชนที่มีข้อมูลรอบด้าน แต่เลือกที่นำเสนอนี่สิ น่ากลัว

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=606143229434383&set=a.391754167539958.83542.100001161339456&type=1
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44739
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/01/2014 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ประเมินลงทุนรถไฟความเร็วสูง ชง รบ.ใหม่เลือกแค่บางสายที่คุ้มค่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มกราคม 2557 19:37 น.

สนข.เตรียมข้อมูลผลศึกษารถไฟความเร็วสูง 3 สาย พร้อมเสนอรัฐบาลใหม่ตัดสินใจใน 2 แนวทาง คือ เลือกลงทุนตลอดเส้นทางเพียง 1 สาย หรือลงทุนเฟสแรกทั้งสาย กทม.-พิษณุโลก และ กทม.-โคราช ชี้เพื่อให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินกว่า 4 แสนล้าน ยันไทยต้องมีรถไฟความเร็วสูง ยิ่งช้า ยิ่งแพง

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนข.กำลังประเมินการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง วงเงินลงทุน 783,229 ล้านบาท เพื่อนำเสนอรัฐบาลชุดใหม่พิจารณา ประเด็นแรกคือจะเดินหน้าโครงการต่อหรือไม่ หากเห็นด้วย สนข.จะเสนอ 2 แนวทาง คือ 1. ลงทุนสายใดสายหนึ่งทั้งโครงการ โดยเลือกระหว่างสายเหนือ (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่) หรือสายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย) 2. ลงทุนเฉพาะเฟสแรกของทั้งสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการศีกษาผลตอบแทนการลงทุน (EIRR) ประโยชน์ที่จะเกิดแก่ประเทศในภาพรวมสูงสุด ประกอบการพิจารณา ยืนยันว่าประเทศไทยควรมีรถไฟความเร็วสูงและควรเริ่มต้นโครงการได้แล้ว หากยิ่งล่าช้าออกไปยิ่งทำให้มูลค่าการลงทุนจะเพิ่มขึ้นปีละไม่น้อยกว่า 10% จากค่าเวนคืน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงงาน ที่ปรับขึ้นทุกปี

ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า EIRR ของสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ดีที่สุดประมาณ 12.5% เหมาะต่อการลงทุน โดยค่าเฉลี่ย EIRR การลงทุนรถไฟความเร็วสูงไม่ควรต่ำกว่า 12% แต่ช่วงจากพิษณุโลก-เชียงใหม่ EIRR ลดลงเนื่องจากค่าลงทุนสูง เพราะแนวเส้นทางผ่านภูเขาต้องมีอุโมงค์ จึงจะลงทุนเป็นเฟส 2 ส่วนกรุงเทพฯ-นครราชสีมา EIRR เกือบ 12% หากลงทุนถึงหนองคาย EIRR จะเป็น 13% จึงเหมาะต่อการลงทุนทั้งสาย ส่วนสายใต้ เฟสแรกกรุงเทพฯ-หัวหิน EIRR 8.11% เท่านั้น หากต่อไปถึงสุราษฎร์ธานี EIRR จะเพิ่มเป็น 12.5% แต่ก็ต้องใช้เงินลงทุนอีกเท่าตัว ดังนั้น สายใต้ถ้าจะทำแค่หัวหินไม่ทำดีกว่าหรืออาจรอไปก่อน หรือหากจะทำก็ควรต่อให้ถึงสุราษฎร์ธานี

“ตอนนี้ สนข.จะสรุปผลศึกษาของรถไฟความเร็วสูงทั้ง 3 สายที่ดูแล รอเสนอรัฐบาลใหม่ ถ้าจะทำก็มีแนวทางแบบนี้ โดยยึดหลักการลงทุนที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์กับประเทศสูงสุดภายใต้วงเงินประมาณ 4-5 แสนล้านบาท ซึ่งที่น่าจะดีที่สุดคือ ลงทุนเฟสแรกของสายเหนือกับสายอีสาน เพราะจะเป็นการกระจายความเจริญและพัฒนาเมืองได้หลายจังหวัด เป็นการมองในมุมของการลงทุน ไม่เกี่ยวว่าจะมี พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาทหรือไม่ เพราะถึงมี พ.ร.บ. 2 ล้านล้านก็ต้องพิจาณาแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดเช่นกันประเทศไทยจำเป็นต้องมีรถไฟความเร็วสูง ยิ่งตัดสินใจลงทุนช้าจะยิ่งสูญเสียโอกาส และค่าลงทุนเพิ่ม” นายจุฬากล่าว

ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น จะเสนอให้รัฐรับภาระลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสัดส่วนประมาณ 70% โดยใช้เงินกู้รูปแบบเดียวกับเงินกู้ก่อสร้างรถไฟฟ้าที่กระทรวงการคลังจัดหาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยมีกรมทางหลวง หรือกรมการขนส่งทางรางรับผิดชอบงานก่อสร้าง ส่วนการใช้คืนเงินกู้ สามารตั้งเป็นงบประมาณประจำปีผ่านกรมทางหลวงได้ ส่วนระบบและการเดินรถอีก 30% นั้นจะเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาลงทุนและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเดินรถ ค่าซ่อมบำรุงไปด้วย โดยแยกจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้รัฐไม่ต้องอุดหนุนเพิ่มเติมอีก รัฐอาจใช้คืนค่าก่อสร้างใน 4-5 ปีขึ้นกับงบประมาณที่จัดสรรได้ จากเดิมที่ลงทุนหมดจะคืนทุนในปีที่ 22-23

สำหรับความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูง 3 สาย กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะยื่นผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในเดือนมกราคมนี้, สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะยื่นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ และสายกรุงเทพฯ-หัวหิน ศึกษาจบในเดือนมีนาคม ซึ่งจะนำเสนอเป็นภาพรวมผลการศึกษา และ EIA พร้อมกันทั้ง 3 สายเป็นภาพรวม เพราะจะทำให้มีข้อมูลสำหรับการพิจารณาดีกว่าการเสนอเป็นรายโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2014 9:45 pm    Post subject: Reply with quote

ประเด็นเรื่องรถไฟความเร็วสูงที่น่าฟัง


Theeraphong James Inthano wrote:
เห็นหลายคนโพสต์เรื่องรถไฟความเร็วสูง ในฐานะที่อาศัยอยู่ในประเทศที่รถไฟวิ่งได้เร็วที่สุดในโลกเลยคันปากอยากร่วมแจม

จริงๆแล้วไม่คิดว่าไทยไม่พร้อมที่จะมีรถไฟความเร็วสูงเหมือนอย่างในประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่นหรือเยอรมนี แต่ส่วนตัวคิดว่าการลงทุนสร้างรถไฟรางคู่ทั่วประเทศคุ้มกว่าและประหยัดกว่าด้วยและคนไทยทุกชนชั้นและฐานะก็มีสิทธิ์ใช้บริการกันถ้วนหน้า

เราต้องมองความเป็นจริงในปัจจุบัน ผมไม่ได้ดูถูกคนไทย ไม่ได้ดูถูกคนจนนะ (เพราะผมเองก็มาจากครอบครัวที่พ่อแม่เป็นเกษตรกร (แต่ไม่ได้เป็นรากหญ้า รากบัวนะ ขอย้ำ ผมเกิดในบ้านเช่าห้องแถว โตในต่างจังหวัดแต่ด้วยความขยันของพ่อแม่ เราจึงมีบ้านเป็นของตัวเอง) ปัจจุบันเรายังหวังนั่งรถไฟฟรีกันอยู่เลย ราคาค่าโดยสารรถขนผักความเร็วสูงที่เขาคิดกันคร่าวๆมันแพงยิ่งกว่าสายการบินราคาประหยัดเสียอีก ถามจริงๆ มีปัญญาจ่ายกันหรือ คุณจะให้รัฐลงทุนมากมายแล้วไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้เลยหรือ

ในฝรั่งเศสภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขนส่งสาธารณะจะต่ำมาก รัฐให้การอุดหนุนและช่วยเหลือองค์การรถไฟ ราคาตั๋วเลยไม่แพงเกินไป (รายได้หลักของการรถไฟฝรั่งเศสมาจากการขนสินค้าไม่ใช่ค่าโดยสาร ดังนั้นเพื่อประโยชน์ของคนไทยและประเทศชาติ รถไฟรางคู่ทั่วประเทศและเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด)

แล้วรัฐเอาเงินจากไหน รัฐก็เอาจากภาษีไงครับ ตั้งแต่ประธานธิบดีเป็นฝ่ายซ้าย (พรรคสังคมนิยม) รัฐก็ดำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการอย่างเอาจริงเอาจัง โดยอาศัยการขึ้นอัตราภาษีทุกประเภท ไม่เว้นแม้กระทั่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ทุกคนไม่ว่าจะรวยหรือจนก็โดนภาษีกันถ้วนหน้า ผมถามจริงๆแบบไม่โลกสวยและเพ้อฝันว่าคนไทยพร้อมที่จะเสียภาษีแบบนี้ไหม ที่นี่ผมลดหย่อนภาษีแทบจะไม่ได้เลย ไม่แต่งงาน ไม่มีลูกก็ลดอะไรไม่ได้ ไม่มีลดหย่อนสำหรับลูกกตัญญูหรือลูกทรพี ทำประกันชีวิตก็ไม่ลด ซื้อกองทุนก็ไม่ลด ผ่อนบ้านก็ไม่ช่วยอะไร พร้อมไหมที่จะเสียภาษีเต็มๆแบบนี้

ส่วนการกู้เงินมากๆเพื่อมาทำประชานิยม มันจะทำให้เราจะตกอยู่ในสภาพเดียวกับประเทศกรีซ ถังแตก ต้องขายสมบัติของชาติ ข้าราชการถูกลดเงินเดือน 30% บ้างก็ไม่ได้รับเงินเดือน 3-6 เดือนติดกันเพราะรัฐไม่มีเงิน มีการดึงเงินจากบัญชีของประชาชนไปใช้หนี้ กู้แล้วก็กู้อีก ประเทศในยุโรปก็ช่วยกันแบกจนหลังแอ่น อยากเห็นเมืองไทยเป็นแบบนี้ไหม

ถ้าเราปล่อยให้ชาติอื่นมาลงทุนสาธารณูปโภคให้ก็จะตกเป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจแบบลาว ลองไปดูซิว่ามีคนจีนอพยพเข้าตั้งรกรากในลาวเท่าไรแล้ว ลาวได้และเสียอะไรบ้าง

เราต้องหาข้อมูลให้กว้างและให้ลึกก่อนนะครับ การโพสต์ข้อความแบบลูกโซ่ตามเฟซบุ๊คมันอันตรายมากและไม่เป็นวิชาการเอาเลย ที่สำคัญที่สุด วันหนึ่งมันอาจกลับมาเป็นดาบสองคมทิ่มเราได้

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=586732721376431&set=a.382938561755849.75776.100001191247759&type=1
Back to top
View user's profile Send private message
srinopkun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2010
Posts: 2877
Location: นครปฐม

PostPosted: 24/01/2014 7:36 am    Post subject: Reply with quote

^
^
^
ใช่ครับ เราไม่เคยถามตัวเอง และบางคนก็ยิ่งร้ายไปกว่านั้นคือ "หลอกตัวเอง"

ว่า ... ทำแล้วคุ้มไหม, ทำแล้วใครจะโดยสาร

คิดแต่ว่าจะได้ค่าคอมมิสชั่นจากโครงการ, คิดแต่ว่าเงินที่ลงทุนมันเสกขึ้นมาได้ หรือมีกองอยู่ต่อหน้า

ทำอะไรคิดแต่จะได้ ๆ ๆ หน้ามืดตามัวกันไปหมด

"ทางคู่" ทั่วประเทศ ทำได้ ไม่ต้องกู้เงินมากมายมหาศาลขนาดเท่ารถไฟความเร็วสูง ไม่เห็นทำซักที

ทำซะให้ครบทั่วทุกสายทางและก็ทำทางที่วางแผนไว้เป็นสิบๆปีให้แล้วเสร็จก่อนเหอะ ค่อยมาว่ากันเรื่องรถไฟความเร็วสูง



เอะอะก็กู้ ๆ ๆ คนรุ่นหลังจะต้องตามใช้หนี้อีกกี่ชั่วอายุคน

emot153
Back to top
View user's profile Send private message
srinopkun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2010
Posts: 2877
Location: นครปฐม

PostPosted: 24/01/2014 7:45 am    Post subject: Reply with quote

แหม เขียนแล้ว "ของขึ้น"

ขอแถมอีกหน่อยเหอะ

ทำ "ทางคู่" แล้วติดตั้งระบบไฟฟ้า แล้วลองนำรถจักร/รถพ่วง ที่ใช้ระบบไฟฟ้ามาวิ่งดูก่อน ว่าไฟพอมั้ย ติดขัดมั้ย ใช้ควบคู่ไปกับรถแบบเดิมๆ (เครื่องยนต์ดีเซล)

พอมีประสบการณ์การใช้ไฟฟ้าในการเดินรถทั้งประเทศ ว่าหาแหล่งไฟฟ้าจากไหน ระบบเป็นไง แล้วค่อยพัฒนาต่อยอดไปเผื่ออนาคต--->รถไฟความเร็วสูง

เฮอะ ๆ ๆ ไฟฟ้า ยังต้องซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านเลยนะครับ

------------------------

อ้อ อีกอย่างคือ "บุคลากร" จะเอาจากไหน ที่สร้างกันอยู่นี่จากมหาวิทยาลัยแห่งสองแห่ง

พอเหรอ ????

ปีหนึ่ง ๆ ๆ ผลิตบุคลากรได้กี่ % ของความต้องการ ???

ไหนจะรถไฟฟ้าที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกตั้งหลายสายในปี สองปี สามปี ต่อๆไปนี้อีกล่ะ

-------------------


อู้ย เขียนแล้วคันมือ พูดแล้วคันปากครับ

Twisted Evil Twisted Evil Twisted Evil Twisted Evil Twisted Evil
Back to top
View user's profile Send private message
srinopkun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2010
Posts: 2877
Location: นครปฐม

PostPosted: 24/01/2014 7:52 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สนข.ประเมินลงทุนรถไฟความเร็วสูง ชง รบ.ใหม่เลือกแค่บางสายที่คุ้มค่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มกราคม 2557 19:37 น.

----------
----------

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนข.กำลังประเมินการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง วงเงินลงทุน 783,229 ล้านบาท เพื่อนำเสนอรัฐบาลชุดใหม่พิจารณา ประเด็นแรกคือจะเดินหน้าโครงการต่อหรือไม่ หากเห็นด้วย สนข.จะเสนอ 2 แนวทาง คือ 1. ลงทุนสายใดสายหนึ่งทั้งโครงการ โดยเลือกระหว่างสายเหนือ (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่) หรือสายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย) 2. ลงทุนเฉพาะเฟสแรกของทั้งสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการศีกษาผลตอบแทนการลงทุน (EIRR) ประโยชน์ที่จะเกิดแก่ประเทศในภาพรวมสูงสุด ประกอบการพิจารณา ยืนยันว่าประเทศไทยควรมีรถไฟความเร็วสูงและควรเริ่มต้นโครงการได้แล้ว หากยิ่งล่าช้าออกไปยิ่งทำให้มูลค่าการลงทุนจะเพิ่มขึ้นปีละไม่น้อยกว่า 10% จากค่าเวนคืน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงงาน ที่ปรับขึ้นทุกปี

-----------
-----------



ใครไปถามเรื่องรถไฟความเร็วสูงละ แกตอบคล่องแคล่วปรู๊ดปร๊าดเลยเชียว

emot123



ลองใครไปถามเรื่อง "ทางคู่" ทั่วประเทศสิ

emot131



ฮา ......

เดี๋ยวมีทีมไปตรวจสอบแน่ คุณพี่ ไม่ต้องห่วงครับ

อย่าเพิ่งลุกจากเก้าอี้ หนีไปไหนซะก่อนละ

emot115
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2014 11:13 am    Post subject: Reply with quote

"ลีลาจีน" ในโครงการรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลไทย
โดย : รศ.ดร.อักษรศรี (อติสุธาโภชน์) พานิชสาส์น
คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "มองจีนมองไทย"
การเมือง : ทัศนะวิจารณ์
วันที่ 30 มกราคม 2557 01:00

เมื่อเร็วๆ นี้ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีนแห่งวช. ดิฉันมีโอกาสพบปะพูดคุยกับท่านทูตพาณิชย์จีน (เกา เหวินควน)

ณ สถานทูตจีนในประเทศไทย และหนึ่งในคำถามที่จีนเป็นฝ่ายหยิบยกขึ้นมาหารือ ก็คือ อภิมหาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงบนแผ่นดินไทย

ก่อนอื่นขอเท้าความว่า เมืองไทยของเรามีการขนส่งระบบรางด้วยระยะทางมากถึง 4,363 กิโลเมตร แต่ส่วนใหญ่ค่อนข้างโบราณ มีประมาณร้อยละ 60 ถูกใช้มานานมากกว่า 30 ปี ล้าสมัยและเชื่องช้าวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ยเพียง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ล่าสุด รัฐบาลไทยจะทุ่มงบประมาณร่วม 2 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งระบบรถไฟ การขนส่งทางทะเล และทางอากาศ

ด้วยมูลค่ามหาศาลของโครงการนี้ ทำให้มีหลายประเทศ “จับจ้องตาเป็นมัน” โดยเฉพาะพญามังกรจีน บทความนี้ จะมาย้อนทบทวนดูว่า รัฐบาลไทยและจีนได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง ที่สำคัญ ฝ่ายจีนมีลีลาเช่นไรในการวิ่งเต้นและทำโรดโชว์ เพื่อไม่ให้พลาดอภิมหาโครงการนี้ในประเทศไทย

ด้วยเนื้อที่จำกัด ดิฉันจะไม่ขอแตะเรื่องงบ 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลไทยชุดนี้ แต่จะขอเน้นไล่เรียงรวบรวมท่าทีของฝ่ายจีนที่ได้ให้ความสนใจอภิมหาโครงการนี้อย่างชัดเจน รวมทั้งจีนมี “ลีลาใหม่” ในการผลักดันเรื่องนี้อย่างน่าสนใจค่ะ

หากจำกันได้ เมื่อเดือนตุลาคม 2013 ที่ผ่านมา องค์การรถไฟแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (รฟจ.) ได้เข้ามาจัดงาน "นิทรรศการรถไฟความเร็วสูงของจีน" ในประเทศไทย ถึงขนาดที่มีหนึ่งในผู้นำระดับสูงสุดของจีนอย่างท่านนายกรัฐมนตรี หลี่เค่อเฉียง บินมาเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการนี้ด้วยตัวเอง เพื่อทำโรดโชว์โครงการรถไฟความเร็วสูงของจีนในเมืองไทย

ฝ่ายจีนได้มีการจัดแสดงนิทรรศการฯ นี้ที่สถานีมักกะสันกรุงเทพฯ นานหนึ่งเดือน เพื่ออวดโชว์ว่า จีนมีเทคโนโลยีทันสมัยและมีโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงทั่วแผ่นดินจีน ทั้งหมดก็เพื่อจะอวดศักดาว่า “รถไฟความเร็วสูงของจีนพร้อมที่จะบุกตลาดไทยแลนด์แดนสยามแล้วนะ” และฝ่ายจีนพยายามเน้นจุดแข็ง เช่น จีนมีเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเองและมีต้นทุนต่ำ มีความทันสมัย พร้อมยกตัวอย่างว่า จีนมีประสบการณ์ในการสร้างและเดินรถไฟในเขตโซนร้อน เช่น รถไฟความเร็วสูงด้านตะวันออกของเกาะไห่หนาน (ไหหลำ) ซึ่งมีภูมิอากาศและลักษณะภูมิประเทศคล้ายคลึงกับจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยก็ได้เปิดแขนอ้ารับจีนในเรื่องนี้มาตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2012 โดยนายกรัฐมนตรีหญิงไทยคนแรกและสวยที่สุดในโลกได้บินไปใส่ชุดกี่เพ้าจีนในกลางกรุงปักกิ่ง เพื่อเป็นสักขีพยานการลงนามใน “บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านรถไฟ” หรือ MOU (Memorandum of Understanding Concerning Feasibility Study for Cooperation on railway Development Between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People’s Republic of China) ระหว่างสองประเทศ และได้จัดตั้ง “คณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรี” เพื่อเป็นกลไกในการประสานงานและขยายผลความร่วมมือด้านรถไฟ ไทย-จีน แถมยังได้ระบุเน้นรถไฟสายกรุงเทพ - เชียงใหม่ไว้ใน MOU นี้ด้วย !!!

ที่น่าฉงน คือ การระบุข้อความใน MOU เพื่อให้จีนเป็นฝ่าย (เดียว) ทำการศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย นอกจากนี้ ฝ่ายจีนยังได้รุกหนักในการจัดโครงการฝึกอบรมบุคลากรด้านรถไฟความเร็วสูงให้กับเจ้าหน้าที่ไทย เรียกว่า งานนี้ เสี่ย (จีน) สั่งลุยโดยยอมควักกระเป๋าจ่ายค่าเหนื่อย (แต่คาดว่าจะคุ้ม) ด้วยตัวเอง

ล่าสุด ทางสถานทูตจีนในไทยยังได้เป็นเจ้ามือในการเชิญคณะสื่อมวลชนไทยให้บินไปจีนเพื่อทดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงในจีน เพื่ออวดโชว์และพยายาม (อย่างหนัก) ในการตอกย้ำความมั่นใจศักยภาพของตนเอง ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการยื่นซองประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงในไทยต่อไป

น้องนักข่าวไทยที่ร่วมคณะไปดูงานครั้งนี้เล่าให้ฟังว่า “จีนมุ่งมั่นและย้ำตลอดเวลาว่า ฝ่ายจีนมีความโดดเด่นเรื่องต้นทุนต่ำแต่ประสิทธิภาพสูงไม่แพ้ชาติไหน แถมยังเป็นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

หลายครั้งที่ดิฉันได้ไปพูดคุยหารือกับจีน ก็จะได้ยินเรื่องเล่าเดียวกันว่า “มีเพียงรถไฟความเร็วสูงสายผู่ตง เซี่ยงไฮ้ เพียงสายเดียวที่จีนยอมจ่ายเงินเพื่อให้กลุ่มซิเมนต์ของเยอรมนีเข้ามาก่อสร้าง หลังจากนั้น ทีมงานของจีนก็ได้ปรับพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของตนเองและจดลิขสิทธิ์แล้ว” สำหรับรถไฟความเร็วสูงสายแรกของจีนที่สร้างเอง คือ สายปักกิ่ง-เทียนจิน เปิดใช้ตั้งแต่ปี 1998 จนถึงขณะนี้ จีนมีโครงข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่ให้บริการจริงได้มากกว่า 10,000 กิโลเมตร

น้องนักข่าวเล่าเพิ่มเติมว่า “จีนยังได้ส่งออกอุปกรณ์ชิ้นส่วนรถไฟ และออกไปก่อสร้างระบบรถไฟในหลายประเทศ เช่น ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย ส่วนที่อยู่ระหว่างเจรจา เช่น เอธิโอเปีย และโรมาเนีย”

ก่อนจบขอย้ำว่า ดิฉันไม่ได้ปฏิเสธการเข้ามาลงทุนของจีนในโครงการรถไฟความเร็วสูงในไทยนะคะ ที่จริงแล้ว ดิฉันสนับสนุนให้มีการ “ยกเครื่อง” ระบบรางของไทยขนานใหญ่ เพื่อความทันสมัย และเพื่อประหยัดพลังงานหันมาใช้การขนส่งระบบรางแทนการขนส่งทางถนนให้มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ด้วยมูลค่าโครงการที่สูงมหาศาลและจะเป็นภาระหนี้ก้อนโตให้กับคนรุ่นต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดสินใจในเรื่องนี้ด้วยความระมัดระวัง และจะต้องมีกลไกตรวจสอบป้องกันการคอร์รัปชันโกงกิน โดยเฉพาะการเข้ามารุม “ทำมาหารับประทาน” ของพวกนักการเมืองบางกลุ่มและพรรคพวกที่คอยวิ่งเต้นเพื่อเก็บกิน “เงินทอน” จากอภิมหาเมกะโปรเจคนี้ต่อไปค่ะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2014 6:02 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เชื่อ “ข้าวแลกรถไฟจีน” เกิดยาก รับรถไฟเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกสะดุด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กุมภาพันธ์ 2557 14:16 น.

พิษณุโลก - ผอ.สนข.ยันไม่เอาข้าวแลกรถไฟจีนแน่ บอกวันนี้ไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-พิษณุโลกสะดุด ต้องรอรัฐบาลใหม่ แต่ยังเดินหน้าเปิดประชาพิจารณ์รถไฟความเร็วสูงระยะ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่

วันนี้ (11 ก.พ.) นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นายวัฒนะ กันนะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ร่วมเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ที่โรงแรมท็อปแลนด์ จ.พิษณุโลก โดยมีประชาชนใน จ.พิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ เข้าร่วมประมาณ 200 คน

นายจุฬากล่าวว่า การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก น่าจะแล้วเสร็จในปลายเดือนมีนาคมนี้ ถ้าผ่านก็หางบประมาณก่อสร้างได้ต่อไป ซึ่งเดิมโครงการขนาดใหญ่ต้องใช้เงินกู้ตาม พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท แต่บังเอิญว่า พ.ร.บ.ผ่านสภาแล้ว แต่ยังไม่ผ่านการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ต้องรอ ถ้าไม่ผ่านอีกก็เป็นหน้าที่รัฐบาลจัดหาเงินกู้มาทำ โดยเลือกเป็นโครงการ อาจเลือกทำรถไฟความเร็วสูงเฉพาะกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน

กรณี พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทไม่ผ่านไม่ได้หมายความว่าจะไม่ทำรถไฟความเร็วสูง แต่จะต้องหาเงินก้อนใหม่โดยกระทรวงการคลัง เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่มี 54 โครงการ อาจเลือกดึงบางโครงการมาทำก่อน คิดว่ารถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งจะต้องพิจารณาอีกครั้งว่าใช้กู้เงินในประเทศหรือต่างประเทศ

ส่วนที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่ารัฐบาลไทยจะเอาข้าวแลกรถไฟความเร็วสูงของจีนนั้น คิดว่ายาก คงไม่จริงจัง เดิมรัฐบาลจีนนำเสนอเส้นทางภาคอีสานเพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟจากจีน-สปป.ลาว แต่คิดว่ารัฐบาลไทยน่าจะกู้เงินมาทำเองมากกว่า เพราะสามารถเลือกเทคโนโลยีรถไฟ สรุปว่าแนวทางแลกเปลี่ยนข้าวเพื่อทำรถไฟในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากมาก

นายจุฬากล่าวว่า การทำรถไฟความเร็วสูงดูเหมือนใช้งบประมาณสูง แต่เมื่อเทียบกับงบประมาณก่อสร้างถนนในประเทศจะพบว่าใช้เท่ากับทำถนน 4 ปีเท่านั้น ดังนั้นรัฐบาลควรเลือกรถไฟความเร็วสูง เพราะประเทศไทยไม่ได้พัฒนาระบบรางมานาน

ซึ่งอนาคต จ.พิษณุโลกจะเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูงขนาดใหญ่ ส่วนเส้นทางเชื่อมต่อจากพิษณุโลก-เชียงใหม่ วางไว้ 3 เส้นทาง คือ แนวรถไฟเดิมผ่านอุตรดิตถ์ แนวทางที่ 2 จากแนวเดิม ปรับทางเข้าใกล้ตัวเมืองแพร่ โดยแยกออกสถานีห้วยไร่เข้าแพร่ และวกกลับเข้าเส้นทางเดิมที่ ต.แม่ทะ จ.ลำปาง แนวที่ 3 เป็นเส้นทางใหม่ เข้าศรีสัชนาลัย ผ่าน จ.ลำปาง แต่แนวทางที่ 1 ใช้งบสูง เพราะมีภูเขาและเส้นทางคดเคี้ยวมาก ต้องเจาะอุโมงค์และสร้างสะพาน

ด้านนายวัฒนะ กันนะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวว่า สถานีรถไฟความเร็วสูงที่พิษณุโลกนั้นควรใช้สถานีเดิม จะช่วยแก้ปัญหาจราจรในเมืองพิษณุโลกอีกด้วย และเชื่อว่าภายในตัวเมืองจะมีความเจริญด้านอื่นตามมาอีก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2014 11:25 am    Post subject: Reply with quote

สนข.เข็นสุดลิ่มรถไฟความเร็วสูง 4 สาย จัดขบวนให้พร้อมรอชงรัฐบาลชุดใหม่
โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ
12 กุมภาพันธ์ 2557, 05:30 น.

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ทั้ง 4 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง จะยังเดินหน้าต่อไป ถึงแม้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะไม่สามารถดำเนินการต่อได้ โดยขณะนี้ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นไฮสปีดเทรน เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ในช่วงที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ หลังจากได้ข้อสรุปช่วงแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลกไปแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไออี) โดยช่วงที่ 2 คาดจะสรุปตามความเหมาะสมทางวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม และการลงทุนภายในสิ้นปี 57

“เส้นทางไหนสรุปและผ่านรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อน ก็จะนำเสนอ รมว.คมนาคม คนใหม่พิจารณา เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาเป็นอันดับแรก หากเห็นชอบก็ต้องหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาดำเนินโครงการ โดยเส้นทางแรกที่น่าทำได้ คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ส่วนกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยองนั้น หากเส้นทางไหนผ่านอีไอเอก่อนก็จะเสนอขออนุมัติดำเนินงานได้ทันที โดยกระทรวงการคลังจะต้องเป็นผู้หาแหล่งเงินกู้ให้ดำเนินการ”

สำหรับหลักเกณฑ์คัดเลือกแนวเส้นทาง จะพิจารณาจากความพร้อมด้านวิศวกรรม เช่น ระยะเวลาการเดินทาง ความสามารถการเข้าถึงระบบรถไฟความเร็วสูง ที่ควรจะมีโครงข่ายเชื่อมโยงกับถนนสายหลัก การสัญจรเข้าสู่สถานีได้สะดวก ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้าง และเวนคืน ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น คุณภาพอากาศ ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เป็นต้น.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 178, 179, 180 ... 548, 549, 550  Next
Page 179 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©