RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311329
ทั่วไป:13290972
ทั้งหมด:13602301
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 194, 195, 196 ... 549, 550, 551  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2016 12:14 pm    Post subject: Reply with quote

จี้เร่งรถไฟความเร็วสูงเส้่นทางสำคัญ
พิกัดข่าวเที่ยง
Now TV26
วันที่ 02 พฤษภาคม 2559
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เข้าเยี่ยมคารวะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เพื่อติดตามงาน ขณะนายสมคิด ขอให้ญี่ปุ่นเร่งดำเนินการ เนื่องจากเป็นเส้นทางสำคัญ
รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ให้สัมภาษณ์หลังนายฟุมิโอะ คิชิดะ (MR. Fumio Kishida) รัฐมนตรีว่า การกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เข้าเยี่ยมคารวะ ว่า ทางญี่ปุ่น ได้มาหารือถึงความร่วมมือและติดตามงาน ซึ่งทราบว่าผลการศึกษาความเป็นไปได้ของรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่และเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจทางตอนใต้ (Southern Economic Corridor) ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งทางตนได้ขอให้ทางญี่ปุ่นเร่งดำเนินการ เนื่องจากเส้นทางนี้มีความสำคัญในการสร้างความเชื่อมโยงในอาเซียน
และยังได้แนะนำ อีสเทิร์น ซีบอร์ดให้กับทางญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นแหล่งขนส่งที่สำคัญที่จะขนส่งผลผลิตทั้งหมดออกไปสู่โลก ซึ่งขณะนี้ กำลังจะดำเนินการพัฒนาแหลมฉบัง เฟลต3 ท่าเรือน้ำลึกอู่ตะเภา และสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งหากมีการดำเนินการไปพร้อมๆกันจะทำให้เป็นแหล่งการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สำคัญ และในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นซุปเบอร์คัดเตอร์
ทั้งนี้ นายสมคิด ได้บอกกับญี่ปุ่นว่า ทางประเทศไทยไม่ใช่มีเพียงเรื่องของรถไฟ แต่ตอนนี้ไทยกำลังเริ่มเข้าสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม จึงบอกว่า ทางญี่ปุ่นควรจะต้องเข้าร่วม ส่วนสิ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นอยากร่วมมือกับไทย คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งทางญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการ และวิศกรรม จึงจะให้ได้มีการร่วมมือกันกับกระทรวงศึกษาธิการ

ไทยเร่ง"ญี่ปุ่น"เคาะรถไฟ2เส้น
โพสต์ทูเดย์
03 พฤษภาคม 2559 เวลา 07:45 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/05/2016 9:19 am    Post subject: Reply with quote

คาดเสนอรถไฟความเร็วสูงเข้าบอร์ด PPP มิ.ย.นี้
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 03 พฤษภาคม 2559, 20:15

"อาคม" เผย คมนาคมเตรียมเสนอรถไฟความเร็วสูง กทม.-ระยอง และ กทม.-หัวหิน เข้าบอร์ด PPP ช่วงเดือน มิ.ย.59

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน และ กรุงเทพ-ระยองว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สรุปผลการศึกษาเบื้องต้นแล้วและเตรียมเสนอคณะกรรมการ รฟท.ก่อนจะนำส่งให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาตามขั้นตอน คาดว่าจะนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ได้ในเดือน มิ.ย.นี้

ส่วนความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นนั้น ทางญี่ปุ่นจะเสนอผลการศึกษาขั้นกลางมาให้กระทรวงคมนาคมดูว่าโครงการคุ้มค่าหรือไม่ และจะส่งผลการศึกษาสุดท้ายในปลายปีนี้ เบื้องต้นเห็นว่ามูลค่าโครงการสูงก็อาจจะปรับทยอยลงทุนเป็นช่วง เช่นกรุงเทพ-นครสวรรค์ หรือ กรุงเทพ-พิษณุโลก ก่อน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 04/05/2016 3:40 pm    Post subject: Reply with quote

“อาคม” เตรียมนำทีมบินลัดฟ้าถกหาข้อสรุปรถไฟไทย-จีน
โดย alice -
Khorat Start up
3 พฤษภาคม 2559


รมว.คมนาคมนำทีมประชุมนัดอุ่นเครื่อง ก่อนบินลัดฟ้าถกหาข้อสรุปรถไฟไทย-จีน ณ ประเทศจีน โดยมี “นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ” เป็นผู้นำทีม ระหว่างวันที่ 11-13 พ.ค หลังนายกฯทั้ง 2 ประเทศ มีข้อตกลงร่วมกันที่เกาะไหหลำ ประเทศจีน โดยมีไทยเดินหน้าลงทุนเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมาเองทั้งหมด รวมระยะทาง 250 กม. คาดลงทุนแยก 2 ส่วน แบ่งเป็นการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเป็นแบบนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) โดย รฟท. ถือหุ้นใหญ่หรือทั้งหมด อีกส่วนตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้ ยันไม่มีปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุน ชี้จีนร่วมเดินรถได้หากสนใจ



นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมเตรียมการฝ่ายไทยสำหรับการประชุมร่วมรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรนไทย-จีน ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 11-13 พ.ค. ว่า การเดินทางไปครั้งนี้ก็เพื่อสรุปตัวเลขด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะตัวเลขการลงทุนที่ยังต่างกัน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถดำเนินโครงการได้ ซึ่งประเด็นที่ต้องทำให้ชัดเจนตรงกันคือ ค่าเวนคืนที่ดิน, การก่อสร้าง และการวางระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณการเดินรถ และบำรุงรักษา หลังจากนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ประเทศมีข้อตกลงร่วมกันที่เกาะไหหลำ ประเทศจีน โดยไทยจะลงทุนเองทั้งหมดสำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/05/2016 5:34 pm    Post subject: Reply with quote

ดันรถไฟเร็วสูง กทม.-ระยอง,หัวหิน เข้าฟาสแทร็ค
เดลินิวส์ วันพฤหัสที่ 5 พฤษภาคม 2559 เวลา 15:31 น.

“สมคิด” จี้สคร.เร่งชงโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง และหัวหิน กว่า 2.4 แสนล้านบาท. เข้าพีพีพี ฟาสแทร็ค

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เร่งรัดการจัดทำโครงการโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ –ระยองและกรุงเทพฯ – หัวหิน เพื่อนำเข้ามาบรรจุเป็นโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) แบบฟาสแทร็ค ก่อนเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการพีพีพี พิจารณาโดยเร็ว ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าว ถือเป็นการเร่งโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ หลังจากที่ผ่านมาได้มีการบรรจุโครงการลงทุนแบบฟาสแทร็คไปแล้ว 5 โครงการนำร่อง ทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์

สำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าว เมื่อช่วงเดือนม.ค.59 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรากรระยะเร่งด่วนและการลงทุนของประเทศ ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ต้องการให้โครงการดังกล่าว เข้ามาอยู่ในโครงการพีพีพีฟาสแทร็ค โดยกระทรวงคมนาคม ยอมรับว่า โครงการนี้ได้ทำการศึกษามามากพอสมควรแล้ว เหลือเพียงแค่พิจารราทางเลือกให้เอกชนเข้ามาร่วมว่าจะเข้ามาในรูปแบบใด ทั้ง การให้เอกชนรับผิดชอบโครงการทั้งหมด หรือเอกชนรับผิดชอบระบบเดินรถ และรัฐลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ หรือรัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และระบบการเดินรถ และจ้างให้เอกชนมาเดินรถอย่างเดียว ซึ่งทุกกรณีกระทรวงคมนาคมจะไปหาข้อสรุปและเสนอให้ที่ประชุมพีพีพีรับทราบต่อไป [url][/url]
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 06/05/2016 11:35 pm    Post subject: Reply with quote

เดินหน้าลุยรถไฟความเร็วสูง
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
6 พฤษภาคม 2559 เวลา 07:45


“สมคิด” เร่ง สคร.บรรจุเข้า “พีพีพี ฟาสต์แทร็ค”


ตีปี๊บโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน มูลค่า 2.4 แสนล้านบาท ให้เข้าสู่ระบบพีพีพี ฟาสต์แทร็ค ขณะที่ รฟท.เตรียมชงบอร์ดไฟเขียว 10 พ.ค.นี้ คาดเสนอบอร์ดพีพีพีได้ภายในเดือน มิ.ย.2559 ด้านคณะกรรมการมาตรา 35 เล็งสรุปแนวทางการลงทุนจ้างเอกชนสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลสีชมพู-สีเหลือง สิ้นเดือนพ.ค.นี้

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เร่งรัดการจัดทำโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน เพื่อนำเข้ามาบรรจุเป็นโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) แบบฟาสต์แทร็ค ก่อนเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการพีพีพี พิจารณาโดยเร็ว ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าว ถือเป็นการเร่งโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ หลังจากที่ผ่านมาได้มีการบรรจุโครงการลงทุนแบบฟาสต์แทร็คไปแล้ว 5 โครงการนำร่อง ทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์

สำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าว เมื่อช่วงเดือน ม.ค.2559 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการระยะเร่งด่วนและการลงทุนของประเทศ ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ต้องการให้โครงการดังกล่าว เข้ามาอยู่ในโครงการพีพีพี ฟาสต์แทร็ค โดยกระทรวงคมนาคม ยอมรับว่า โครงการนี้ได้ทำการศึกษามามากพอสมควรแล้ว เหลือเพียงแค่พิจารณาทางเลือกให้เอกชนเข้ามาร่วมว่าจะเข้ามาในรูปแบบใด ทั้งการให้เอกชนรับผิดชอบโครงการทั้งหมด หรือเอกชนรับผิดชอบระบบเดินรถ และรัฐลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ หรือรัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และระบบการเดินรถ และจ้างให้เอกชนมาเดินรถอย่างเดียว ซึ่งทุกกรณีกระทรวงคมนาคมจะไปหาข้อสรุปและเสนอให้ที่ประชุมพีพีพีรับทราบต่อไป

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ล่าสุดบริษัทที่ปรึกษาโครงการได้สรุปรายละเอียดผลการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และ กรุงเทพฯ-ระยอง มาให้ รฟท.แล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้ รฟท.จะเสนอผลศึกษาให้ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟท. พิจารณาเห็นชอบในวันที่ 10 พ.ค.นี้ จากนั้นจึงเสนอให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เห็นชอบตามขั้นตอน แล้วจึงเสนอไปยังคณะกรรมการพีพีพี พิจารณาได้ภายเดือน มิ.ย.2559 นี้ โดยจะบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในโครงการของพีพีพี ฟาสต์แทร็ค เพื่อให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ตามนโยบายของรัฐบาล

“ตอนนี้ผลการศึกษาได้เสร็จสิ้นและเสนอมาให้ รฟท.แล้ว ซึ่งในรายละเอียดได้สรุปแนวทางการดำเนินโครงการในลักษณะต่างๆ ทั้งการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบใดจะมีความเหมาะสมมากที่สุด รวมไปถึงขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะกรรมการพีพีพี ว่าจะมีความเห็นอย่างไร”

ทั้งนี้ในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง มีวงเงินรวมถึง 247,200 ล้านบาทแบ่งเป็นสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง มีระยะทาง 194 กิโลเมตร วงเงิน 152,528 ล้านบาท ส่วนกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กิโลเมตร วงเงิน 94,673.16 ล้านบาท

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ ม.35 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ปี 2556 เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการได้ประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง เป็นการกำหนดกรอบหลักๆ ของการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง โดยเบื้องต้นได้มีการกำหนดกรอบโดยคำนึงถึงเรื่องแนวทางการจ้างเอกชนที่จะมาลงทุน ในประเด็นสำคัญที่เน้นย้ำคือเรื่องเงินลงทุนและเทคโนโลยี คาดภายในสิ้นเดือน พ.ค.นี้จะสรุปรายละเอียดเสนอกระทรวงคมนาคมให้พิจารณาก่อนสรุปร่างทีโออาร์ประกาศเปิดประกวดราคาภายในปีนี้

“ที่ประชุมยังถกเถียงกันในการกำหนดกรอบหลักๆที่จะต้องกำหนดให้ผู้ที่ต้องการลงทุนเข้ามาลงทุนเป็นไปตามเกณฑ์ร่วมทุนที่คณะกรรมการ มาตรา 35 ปี 2556 กำหนด ซึ่งยังมีบางประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุป และยังเปิดเผยไม่ได้ โดยหลักที่กำหนดคือ คุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอในการลงทุน เงื่อนไขในการลงทุน ฯลฯ ในประเด็นดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับร่างทีโออาร์ที่เปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลด้วย”

นายธีรพันธ์กล่าวว่า ในส่วนของเทคโนโลยีการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล มีทั้งเทคโนโลยีของญี่ปุ่น จีน แคนาดา เป็นต้น และในการคัดเลือกเอกชนผู้เข้ามาดำเนินการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าทั้งสองสายดังกล่าว ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องเป็นเทคโนโลยีเดียวกัน จะเป็นเส้นทางละเทคโนโลยีก็ได้ เพราะในการดำเนินการแยกจากกันอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นระบบฟีดเดอร์ที่ขนคนมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นๆที่มี

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 3 เส้นทาง คือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค คืบหน้าประมาณ 74% คาดเปิดให้บริการเดือน พ.ค. 2563, สีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ คืบหน้าประมาณ 82% คาดเปิดให้บริการเดือน ธ.ค.2561 และสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต คืบหน้าประมาณ 5% คาดเปิดให้บริการเดือน ธ.ค.2563.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 09/05/2016 9:36 pm    Post subject: Reply with quote

หวั่นไฮสปีดเทรนไทย-ญี่ปุ่นซ้ำรอยจีน ส่อติดขัดวิ่งไม่ฉิว ลุ้นผลศึกษามิถุนายนนี้
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ที่มา : นสพ.มติชน
09 พ.ค. 2559 เวลา 13:35:52 น.

งวดเข้ามาทุกทีกับกำหนดเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน ระยะทาง 22 กิโลเมตร (กม.) หลังตั้งตาคอยกันมานานหลายปี โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีกำหนดเปิดให้กรรมาธิการคมนาคม ผู้บริหารของหน่วยงานต่างๆ รวมถึงผู้ที่สนใจเข้าร่วมการทดสอบระบบครั้งแรกในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ จากนั้นจะเปิดทดสอบระบบเป็นการทั่วไปในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ก่อนที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 สิงหาคมนี้

- ความร่วมมือระบบรางไทย-ญี่ปุ่น

เห็นรถไฟฟ้าสายสีม่วงกำลังจะวิ่งฉิวแล้ว หลายคนจึงอดเป็นห่วงโครงการความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่นไม่ได้ เพราะตั้งแต่ลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนง (เอ็มโอไอ) ว่าด้วยความร่วมมือระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) และระบบรางในเขตเมือง เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2555 การลงนามเอ็มโอไอว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่นอีกครั้ง วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 และลงนามบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอซี) ด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ก็ยังไม่มีความคืบหน้าที่เห็นผลเป็นรูปธรรมมากนัก นอกจากการจัดงานเชิงสัญลักษณ์ด้วยการปล่อยขบวนรถสินค้า ทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก (ขนาด 12 ฟุต) ซึ่งนำเข้าจากญี่ปุ่น ที่สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุกไปยังสถานีบางซื่อ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา



สำหรับรายละเอียดความร่วมมือระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ได้กำหนดให้ทั้งสองฝ่ายศึกษาความเป็นไปได้ถึงความร่วมมือในอนาคตเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรางในประเทศไทย รวมถึงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และเส้นทางแม่สอด-มุกดาหาร ทั้งที่เป็นการปรับปรุงเส้นทางเดิมที่มีอยู่ (ขนาดกว้าง 1 เมตร) หรือการพัฒนาเส้นทางใหม่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร และการร่วมมือกันในการวิจัยและศึกษาการพัฒนารถไฟ เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง (เชื่อมต่อไปยังมาบตาพุด)

ขณะเดียวกันยังกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันพัฒนาไฮสปีดเทรน เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ การพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้ (กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ) รวมทั้งจะหารือร่วมกันเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบเส้นทางแม่สอด-มุกดาหาร ตามแนวเศรษฐกิจด้านตะวันออก-ตะวันตก ตลอดจนศึกษาการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าทางรางของไทย และศึกษาความเหมาะสมเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง

- ห่วงไฮสปีดเทรนญี่ปุ่นซ้ำรอยจีน

ทั้งนี้ ในความร่วมมือดังกล่าว กำหนดให้เส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. เป็นขนาด 1.435 เมตร (สแตนดาร์ด เกจ) ความเร็วมากกว่า 200 กม./ชั่วโมง (ชม.) ใช้เทคโนโลยีชินคันเซ็นของญี่ปุ่น เพื่อให้บริการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า ส่วนเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ- และกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ระยะทาง 574 กม. เป็นขนาด 1.435 เมตร หรือขนาด 1 เมตรก็ได้ กำหนดความเร็วไว้ 100-120 กม./ชม.

ทว่าจากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ยังไม่เห็นมีอะไรออกมาเป็นรูปเป็นร่าง หนำซ้ำดูเหมือนว่าจะเกิดปัญหาซ้ำรอยโครงการรถไฟไทย-จีน ในเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 873 กม. วงเงินประมาณ 5 แสนล้านบาท ที่แรกเริ่มเดิมทีกำหนดจะดำเนินการพร้อมกันทั้งหมด ด้วยความเร็ว 180 กม./ชม. ต่อมาก็ปรับลดลงเหลือเฉพาะช่วงหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-กรุงเทพฯ กระทั่งล่าสุดเปลี่ยนเป็นไฮสปีดเทรน ที่สามารถวิ่งได้ถึง 250 กม./ชม. แต่ปรับลดเส้นทางลงเหลือกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 250 กม. วงเงินประมาณ 1.7 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันยังตั้งเป้าหมายจะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้

ท้ายที่สุดแล้วก็ยังไม่มั่นใจว่าจะเดินหน้าโครงการได้ตามแผนงานที่กำหนดหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันตัวเลขวงเงินลงทุนรวมที่ชัดเจนก็ยังไม่สามารถสรุปได้ เพราะทางจีนได้เสนอผลการศึกษาไว้ที่ 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งต่างจากไทยอยู่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ยังจะต้องถามยืนยันจากจีนอีกครั้งว่ายังอยู่ที่ 2% หรือไม่ ซึ่งเรื่องทั้งหมดกระทรวงคมนาคมจะนำไปหารือกับจีนในการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 11-13 พฤษภาคมนี้ ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

- "อาคม"ยืนยันแบ่งทำแค่สั้นๆ

ในเรื่องนี้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยอมรับว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีต้นทุนสูง ผลตอบแทนจะเกิดขึ้นระยะยาว ดังนั้น จะพัฒนาทีละจุด ทีละขั้น และจะขยายเชื่อมต่อออกไป ซึ่งญี่ปุ่นจะศึกษาดูว่าทำระยะแรกจะต้องทำไปถึงจุดใดจึงจะมีความเหมาะสม ขณะนี้ยังไม่สามารถแบ่งระยะที่จะก่อสร้างได้ชัดเจน ต้องรอผลการศึกษาของทางญี่ปุ่นก่อน แต่เท่าที่หารือร่วมกันก็อาจจะแบ่งเป็นกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ แต่ผลการศึกษาเบื้องต้นอาจจะกำหนดไว้ไม่ถึงพิษณุโลก คือ อาจจะกำหนดไปถึงช่วงระยะทางที่พอดีไม่ไกล หรือใกล้เกินไปก็ได้ โดยในเดือนมิถุนายนนี้ทางญี่ปุ่นจะส่งรายงานผลการศึกษาขั้นกลางมาให้ทราบ โดยจะเป็นการพิจารณาโครงการว่าคุ้มค่าหรือไม่ อย่างไร มีการประมาณราคาขั้นต้นเท่าไหร่ วิธีการอย่างไร คาดว่าภายในปลายปีนี้จะสรุปรายงานเป็นครั้งสุดท้ายให้ทราบได้ ดังนั้น ในช่วงนี้จึงยังไม่ถึงขั้นการลงทุนแน่นอน แต่เป็นเรื่องของการศึกษาเท่านั้น

"แนวเส้นทางก่อสร้างระยะแรกอาจจะอยู่ระหว่างกรุงเทพฯ และพิษณุโลก หากดูแล้วเห็นว่าโครงการเกิดประโยชน์จึงจะค่อยต่อออกไปเรื่อยๆ ซึ่งหากทำไปถึงอยุธยาก็ประมาณ 100 กิโลเมตร (กม.) ก็อาจจะสั้นเกินไป ถ้าไปถึงลพบุรีหรือนครสวรรค์ก็เป็นไปได้ แต่ต้องดูผลการศึกษาก่อน" นายอาคมระบุมาแบบนี้ จึงทำให้ความหวังของคนที่ตั้งหน้าตั้งตารอใช้รถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้เริ่มหวั่นวิตกขึ้นมาทันที โดยเฉพาะธุรกิจที่เตรียมลงทุนไว้รอรับไฮสปีดเทรนเส้นนี้ไปแล้ว

- ผลศึกษาไฮสปีดเทรนเชียงใหม่

เมื่อกลับไปดูข้อมูลเดิมของโครงการดังกล่าวที่รัฐบาลชุดที่แล้วได้ทำการศึกษาไว้พบว่าข้อมูลมีความละเอียดพอสมควร โดยกำหนดแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 386 กม. โดยจะใช้เขตทางรถไฟเดิมเป็นหลัก ช่วงกรุงเทพฯ-อยุธยา จะเป็นโครงสร้างทางยกระดับรวมประมาณ 61 กม. มีอุโมงค์ 1 จุด ผ่านตัวเมืองลพบุรี นอกนั้นเป็นระดับพื้น วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 300 กม./ชม. มีความเร็วเฉลี่ยประมาณ 210 กม./ชม. ผ่าน 8 จังหวัด มี 7 สถานี คือ สถานีบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก มีการออกแบบอาคารสถานีให้สวยงาม ทันสมัย ด้วยสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ท้องถิ่น พร้อมมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วนตามมาตรฐานสากล ที่ตั้งสถานีสามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งที่หลากหลายเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการเดินทาง

ผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจพบว่ามีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (อีไออาร์อาร์) ร้อยละ 13.2 ของมูลค่าการลงทุน 212,893.31 ล้านบาท กำหนดค่าโดยสารเฉลี่ย 2 บาท/กม. ทำให้การเดินทางจากกรุงเทพฯ-อยุธยา มีค่าโดยสาร 163 บาทต่อเที่ยว ใช้เวลา 18 นาที จากกรุงเทพฯ-ลพบุรี ค่าโดยสาร 256 บาทต่อเที่ยว ใช้เวลา 38 นาที จากกรุงเทพฯ-นครสวรรค์ ค่าโดยสาร 424 บาทต่อเที่ยว ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 8 นาที จากกรุงเทพฯ-พิจิตร ค่าโดยสาร 576 บาทต่อเที่ยว ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 33 นาที และจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ค่าโดยสาร 639 บาทต่อเที่ยว ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 45 นาที

ส่วนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 299 กม. ใช้ระยะเวลาการเดินทาง (พิษณุโลก-เชียงใหม่) ประมาณ 1.30 ชม. กำหนดให้มี 8 ตู้ต่อขบวน ความยาวประมาณ 200 เมตร แบ่งบริการออกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นวีไอพี ค่าแรกเข้า 200 บาท และคิดตามระยะทาง 4 บาท/กม. ชั้นธุรกิจ ค่าแรกเข้า 100 บาท และคิดตามระยะทาง 2.50 บาท/กม. ชั้นมาตรฐาน ค่าแรกเข้า 70 บาท และคิดตามระยะทาง 1.50 บาท/กม. หรือหากใช้บริการจากสถานีกลางบางซื่อ-พิษณุโลก จะต้องจ่ายค่าโดยสาร 639 บาท และหากนั่งไปถึงเชียงใหม่ จะต้องจ่าย 1,074 บาท มูลค่าการลงทุน 214,005.25 ล้านบาท มีอีไออาร์อาร์ ร้อยละ 12.56 เมื่อรวมทั้ง 2 ช่วงดังกล่าวมูลค่าลงทุนอยู่ที่ 426,898.56 ล้านบาท

แต่นี่ก็เป็นเพียงของเดิมที่เคยศึกษาไว้เท่านั้น ผลศึกษาใหม่จะแตกต่างมากน้อยขนาดไหนยังต้องรอลุ้นต่อไป ที่แน่ๆ อย่าคาดหวังจะได้ใช้บริการในอนาคตอันใกล้มากนัก

- ลุ้นหัวหิน-ระยองเดินหน้าตามเป้า

เมื่อพิจารณาไฮสปีดเทรนทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าวแล้ว หลายคนก็คงจะอดนึกถึงไฮสปีดเทรนอีก 2 เส้นทาง ที่รัฐบาลประกาศเดินหน้าให้ได้ภายในปีนี้ไม่ได้ นั่นก็คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. วงเงิน 9.46 หมื่นล้านบาท และเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 193.5 กม. วงเงิน 1.52 แสนล้านบาท โดยตั้งเป้าหมายไว้แล้วว่าจะต้องเปิดประกวดราคาให้ได้ภายในปี 2559 นี้

...สุดท้าย จะซ้ำรอยไทย-ญี่ปุ่น-จีน หรือเดินหน้าได้จริง ไม่เป็นแค่โครงการขายฝันให้ประชาชนตั้งตารอ ยังต้องจับตาอย่างใกล้ชิด!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 12/05/2016 1:12 pm    Post subject: Reply with quote

Hua Hin, Rayong to get high-speed trains
11 May 2016 at 20:41
WRITER: AMORNRAT MAHITTHIROOK[/QUOTE]

บอร์ด ร.ฟ.ท.อนุมัติไฮสปีดเทรน หัวหิน-ระยอง วงเงิน 2.4 แสนล้าน เริ่มก่อสร้างปี 60
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
12 พฤษภาคม 2559 เวลา 11:35:05 น.

บอร์ด ร.ฟ.ท.อนุมัติไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง วงเงินรวม 2.466 แสนล้านบาท พร้อมเสนอกระทรวงคมนาคมก่อนเข้าขั้นตอนพีพีพี ตั้งเป้าหมายประกวดราคาปีนี้ เริ่มก่อสร้างปี 60

นายสราวุธ เบญจกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมบอร์ดมีมติอนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) กรุงเทพฯ-หัวหิน วงเงินประมาณ 9.46 หมื่นล้านบาท และกรุงเทพฯ-ระยอง วงเงินประมาณ 1.52 แสนล้านบาท โดยหลังจากนี้จะต้องนำเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อนส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อตั้งคณะกรรมการพีพีพีขึ้นมาดำเนินงานตามขั้นตอนก่อนนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาเพื่อหาเอกชนเข้ามาร่วมดำเนินโครงการได้ในปีนี้ จากนั้นจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2560

นายสราวุธกล่าวว่า สำหรับแผนการพัฒนาพื้นที่ของ ร.ฟ.ท.นั้น ทางบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้เสนอแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (สมาร์ทซิตี้) เพื่อเพิ่มทางเลือกการพัฒนาระบบรางและเมืองให้เติบโตอย่างสอดคล้องกัน โดยพบว่าแผนพัฒนาที่ ปตท.เสนอมานั้น มีแนวทางพัฒนาทิศทางเดียวกับแผนที่ ร.ฟ.ท.และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาอยู่ในส่วนของพื้นที่ย่านพหลโยธิน มีแนวคิดการพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางการเดินทางในรูปแบบแกรนด์สเตชั่นของประเทศ พร้อมทั้งมีอาคารสำนักงานเชื่อมต่อกัน และจะทำการเปิดให้เอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์

“แผนที่ ปตท.ศึกษามา คือ การวางแนวทางพัฒนาพื้นที่เมือง และริมทางรถไฟให้เกิดขึ้นเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์เปิดให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม เพราะต้องการรองรับการคมนาคมที่สะดวกสบายของรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูงที่ ร.ฟ.ท.กำลังพัฒนา แต่ในตัวแผนไม่ได้มีเพียงแนวคิดพัฒนาย่านพหลโยธินเท่านั้น เพราะยังครอบคลุมไปยังหัวเมืองต่างๆ อีกประมาณ 10 เมือง เช่น ขอนแก่น หนองคาย เชียงใหม่ ภูเก็ต แหลมฉบัง และเชียงรากน้อย เป็นต้น โดยหลังจากนี้ ร.ฟ.ท.ก็จะรายงานแผนดังกล่าวให้กระทรวงคมนาคมทราบ หากเห็นชอบก็จะส่งให้ สนข.เป็นผู้จัดทำต่อไป” นายสราวุธกล่าว

ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดพีพีพี) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า ที่ประชุมอนุมัติโครงการร่วมลงทุนตามมาตรการพีพีพี ฟาสท์ แทรก รถไฟฟ้าสายสีน้ำ ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ สัญญาเดินรถมูลค่า 8.4 หมื่นล้านบาท ตามข้อเสนอของการไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งรวมเอาช่วงเตาปูน-บางซื่อ จำนวน 1 สถานีมาไว้ด้วย

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาส ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวว่า หลังจากนี้จะตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมดำเนินการในกิจการของรัฐ ตามมาตรา 35 ซึ่งจะใช้วิธีการเจรจากับรายเดิมหรือเจรจารายใหม่ก็อยู่ที่คณะกรรมการชุดนี้ คาดว่าจะเปิดเดินรถได้ในปี 2563 ส่วน 1 สถานีนั้นจะดำเนินการก่อนให้เสร็จก่อน


Last edited by Wisarut on 14/05/2016 7:14 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2016 7:11 am    Post subject: Reply with quote


การลงนามบันทึกผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 10 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ลงนามบันทึกผลการการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 10 โดยมีนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายเชิดเกียรติ
อัตถากร รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมเป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559 ณ โรงแรม The Presidential Beijing กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=_jBIphbQo34
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/1336445623036972


//----------------
คมนาคมเร่งเปิดประมูลรถไฟไทย-จีนสิ้นปีนี้
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2559 19:12 น.

กระทรวงคมนาคม เดินหน้าโครงการรถไฟไทย-จีน หลังบินถกคณะทำงาน 2 ฝ่าย เร่งเปิดประมูลภายในสิ้นปีนี้
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงผลสรุปการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 11 - 12 พฤษภาคม ที่ผ่านมาว่า จากการหารือ ได้ข้อสรุปเป็นที่น่าพอใจ และตรงกับหลักการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยในส่วนของวงเงินลงทุนโครงการ ฝ่ายไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนโครงการทั้งหมด ตามที่ผู้นำทั้ง 2 ประเทศ เห็นชอบร่วมกัน และคณะทำงานทั้งสองฝ่ายจะต้องหารือร่วมกันเกี่ยวกับประมาณการมูลค่าการลงทุน คาดว่าจะดำเนินการได้ข้อยุติภายใน 1 สัปดาห์ ส่วนรูปแบบความร่วมมือจะทำการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ หรือ EPC จะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วนได้คือ

งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและส่วนงานระบบรางและรถไฟความเร็วสูง

ขณะที่ การให้บริการเดินรถไฟความเร็วสูง ฝ่ายไทยจะเป็นผู้ดำเนินการด้วยการจัดตั้งบริษัทเดินรถ และฝ่ายจีนจะให้ความช่วยเหลือฝ่ายไทย ในด้านการบริหารจัดการเดินรถ และการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรของไทยให้สามารถเดินรถไฟได้ ด้านเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ฝ่ายไทยจะเป็นผู้จัดหา โดยให้ทางกระทรวงการคลัง เป็นผู้พิจารณาอีกครั้ง เบื้องต้นทางฝ่ายจีน ได้เสนออัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ทั้งนี้ทั้ง 2 ฝ่าย ได้เห็นชอบให้เริ่มต้นก่อสร้างงานโยธาในส่วนแรก ภายในเดือนสิงหาคม - กันยายน ปีนี้ ในส่วนของการศึกษาออกแบบรายละเอียด คาดว่าออกแบบแล้วเสร็จภายใน 60 วัน หรือประมาณเดือนกรกฎาคม นี้ เพื่อเร่งดำเนินการเปิดประมูลภายในปีนี้

//--------------


จีนยังไม่ลดค่าก่อสร้างรถไฟ-ไทยลุยเองแบ่ง5ตอน ส.ค.เริ่มลงเข็ม"ปากช่อง-โคราช"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
13 พฤษภาคม 2559 เวลา 22:14:23 น.


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมรถไฟไทย-จีน ครั้งที่10 ที่ประเทศจีน ได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมระหว่างวันที่ 11 – 13 พฤษภาคม 2559 ซึ่งการประชุมประสบความสำเร็จด้วยดี และเป็นไปตามที่ผู้นำทั้งสองประเทศได้เห็นชอบร่วมกัน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 ที่เมืองไห่หนาน

โดยยึดหลักการของความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล (G – G) ฝ่ายไทยเป็นผู้ลงทุนและเริ่มการก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ทั้งนี้ ให้ฝ่ายจีนปรับลดต้นทุนการก่อสร้างและปรับกรอบเวลาดำเนินโครงการให้เหมาะสมเป็นไปได้

โดยผลการประชุมสรุป ประกอบด้วย

1. วงเงินลงทุนโครงการ ฝ่ายไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนโครงการทั้งหมดตามที่ผู้นำทั้ง 2 ประเทศ ได้เห็นชอบร่วมกันแล้ว คณะทำงานทั้งสองฝ่ายจะหารือร่วมกันเกี่ยวกับประมาณการมูลค่าการลงทุนของโครงการ

ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายจีนพิจารณาปรับตัวเลขต้นทุนการก่อสร้างและระบบรถไฟให้ลดลงโดยยังคงหลักการด้านมาตรฐานความปลอดภัย และความเหมาะสม ซึ่งทางฝ่ายจีนจะดำเนินการให้ได้ข้อยุติภายใน 1 สัปดาห์

2. รูปแบบการก่อสร้างโครงการ ที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันให้ดำเนินการในรูปแบบ Engineering Procurement and Construction (EPC) โดยแยกการดำเนินการออกเป็น 2 ส่วน

คืองานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (EPC – 1) ฝ่ายไทยจะเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างของไทยเข้าร่วมก่อสร้างโครงการ และเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เร็วที่สุดทั้งสองฝ่ายจะหารือเพื่อแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 – 5 ตอน จะเริ่มช่วงปากช่อง-โคราชก่อน ภายในเดือน ส.ค.-ก.ย. และงานระบบรางและรถไฟความเร็วสูง (EPC – 2) ฝ่ายจีนจะคัดเลือกรัฐวิสาหกิจของจีนที่มีผลงานด้านรถไฟความเร็วสูงที่มีคุณภาพ โดยได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายไทยเป็นผู้ดำเนินการรวมทั้งงานออกแบบรายละเอียด (Construction Drawing) ของงานโครงสร้างพื้นฐานใน EPC – 1 ฝ่ายไทยจะใช้แบบรายละเอียดดังกล่าวในการคัดเลือกบริษัทก่อสร้างของไทยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง

ส่วนการให้บริการการเดินรถไทยจะเป็นผู้ดำเนินการ โดยจัดตั้งบริษัทเดินรถและจีนจะให้ความช่วยเหลือเรื่องการบริหารจัดการ และพัฒนาบุคลากรไทยให้สามารถเดินรถได้ตั้งแต่วันแรกที่มีการเปิดใช้งาน ขณะที่เงินลงทุนของโครงการ ไทยจะเป็นจัดหาเงินลงทุนเองในงานโยธา ส่วนงานระบบไทยยินดีจะใช้แหล่งเงินกู้ของจีน หากจีนเสนอเงื่อนไขการเงินที่ดีที่สุดให้ ทั้งนี้ไทยและจีนจะต้องแก้ไขการลงนามสัญญากรอบความร่วมมือ หรือ FOC(Framework of Cooperation) เพราะมีเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ

ขณะที่การประชุมครั้งที่11จะจัดขึ้นในเดือนมิ.ย.นี้จะมีข้อสรุปค่าก่อสร้างโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2016 10:06 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีด กทม.-โคราช ซอยก่อสร้าง 4-5 สัญญา เร่งตอกเข็มใน ก.ย. 59 ส่อคัดรับเหมาวิธีพิเศษ
โดย MGR Online
16 พฤษภาคม 2559 05:32 น. (แก้ไขล่าสุด 16 พฤษภาคม 2559 08:23 น.)

ไฮสปีด กทม.-โคราช ซอยก่อสร้าง 4-5 สัญญา เร่งตอกเข็มใน ก.ย. 59 ส่อคัดรับเหมาวิธีพิเศษ

ไทยเจรจาจีนเร่งสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราช ซอยสัญญาสร้าง 4-5 ตอน เร่งตอกเข็ม ส.ค.-ก.ย.นี้ “อาคม” เผยสัปดาห์นี้รู้ตัวเลขต้นทุน หลังจีนยอมลดโดยตัดงานที่ยังไม่จำเป็นในช่วงแรกออก ไม่ยืนยันใช้วิธีพิเศษเลือกรับเหมา ลั่นไทยตั้งบริษัทเดินรถลงทุนสร้างเอง 100% เล็งหารายได้พาณิชย์เสริม เตรียมชง ครม.เห็นชอบรายละเอียดกรอบความร่วมมือ FOC เพื่อลงนามใหม่

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 11-12 พ.ค. 2559 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นการเจรจามีผลสำเร็จด้วยดีตามหลักการที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายหลี่ เค่อ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีนได้เห็นชอบร่วมกันในการหารือที่เมืองไห่หนาน เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2559 โดยยึดหลักการเรื่องความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) ไทยลงทุนเอง 100% และให้จีนพิจารณาเพื่อปรับลดวงเงินลงทุนลง พร้อมทั้งปรับกรอบเวลาการดำเนินงานโครงการให้เหมาะสมและเป็นไปได้ โดยเริ่มการก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 252.35 กม.ก่อน

ซึ่งจะแบ่งสัญญาก่อสร้างออกเป็น 4-5 ตอนเพื่อความรวดเร็วในการก่อสร้าง โดยเลือกช่วงที่ใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเป็นหลักมีการเวนคืนน้อยก่อสร้างก่อน เช่น โคราช-ปากช่อง หรือช่วงบ้านภาชี และกำหนดที่จะเริ่มการก่อสร้างงานโยธาส่วนแรกให้ได้ภายในเดือน ส.ค.-ก.ย. 2559 และทยอยเริ่มก่อสร้างในตอนที่เหลือให้หมดภายในปี 2559

ทั้งนี้จะต้องอยู่ที่การหารือกับจีนด้วย โดยคาดว่าจะใช้เวลาออกแบบรายละเอียดเสร็จใน 60 วัน ส่วนการเปิดเดินรถจะทยอยเปิดเป็นช่วงๆ ที่เสร็จก่อนหรือไม่จะต้องหารือกับฝ่ายจีนเช่นกัน เนื่องจากจะต้องดูเทคโนโลยีของรถไฟความเร็วสูงด้วยว่าทำได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม จะมีการประชุมร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 11 ในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อสรุปรายละเอียดของกรอบความร่วมมือในการดำเนินการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ (Framework of Cooperation : FOC) ใหม่ เนื่องจากหลักการตามข้อตกลงเดิมมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การตั้งบริษัทร่วมทุน (SPV) ตั้งแต่เริ่มโครงการจะไม่มีแล้ว รวมถึงการใช้เงินกู้ในประเทศเป็นหลักจากเดิมที่จะกู้เงินจีน

โดยในสัปดาห์นี้จีนจะส่งผู้เชี่ยวชาญมาหารือกับคณะทำงานฝ่ายไทยเพื่อสรุปตัวเลขต้นทุนโครงการในสัปดาห์นี้ โดยจีนระบุว่าอาจจะมีการปรับลดบางรายการที่ยังไม่มีความจำเป็นในช่วงเริ่มต้นเพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างและระบบรถไฟให้ลดลง โดยยังคงหลักการด้านมาตรฐานและความปลอดภัย พร้อมกันนี้จะรายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และขอความเห็นชอบในรายละเอียดข้อตกลงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงใน FOC ก่อนลงนามร่วมกันต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า เรื่องการเดินรถไฟความเร็วสูงนั้นไทยจะจัดตั้งบริษัทขึ้นมา ซึ่งยังไม่ได้สรุปว่าจะให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา หรือจัดตั้งเป็นบริษัทร่วมทุน (PPP) ซึ่งจะมีเรื่องการพัฒนาพื้นที่ดินเชิงพาณิชย์ด้วย ขณะที่ก่อนหน้านี้ สนข.ได้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

โดยการศึกษาเบื้องต้นคาดว่าจะมีผู้โดยสารต่อวัน 23,000 คน ค่าโดยสารแบ่งเป็นค่าแรกเข้า 80 บาท และคิดตามระยะทางกิโลเมตรละ 1.8 บาท คาดว่าค่าโดยสารจากกรุงเทพฯ-โคราช อยู่ที่ 530 บาท

สำหรับผลการประชุมร่วมครั้งที่ 10 ได้เห็นชอบร่วมกันใน 5 ประเด็น คือ 1. ปรับลดวงเงินลงทุนลงจาก 1.9 แสนล้านบาท โดยไทยลงทุน 100% โดยยังคงหลักการด้านมาตรฐานและความปลอดภัย และความเหมาะสม ซึ่งทางฝ่ายจีนจะดำเนินการให้ได้ข้อยุติภายใน 1 สัปดาห์ โดยจีนระบุว่าอาจจะมีการปรับลดบางรายการที่ยังไม่มีความจำเป็นในช่วงเริ่มต้นเพื่อลดต้นทุน

2. ก่อสร้างในรูปแบบ Engineering Procurement and Construction (EPC) โดยแยกเป็น EPC-1 หรืองานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Civil Work) ซึ่งเป็นงานใต้รางลงไป ไทยจะเป็นผู้ดำเนินการเองโดยคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างของไทยดำเนินงาน โดยจะเร่งออกแบบรายละเอียด (Detail & Design) เพื่อกำหนด TOR ประมูลก่อสร้างเร็วที่สุด ส่วนการคัดเลือกผู้รับเหมายังระบุไม่ได้ว่าจะต้องใช้วิธีพิเศษหรือไม่ EPC-2 หรืองานระบบรางและรถไฟความเร็วสูง (ระบบอาณัติสัญญาณ ตัวรถไฟ) จีนจะคัดเลือกรัฐวิสาหกิจของจีนที่มีผลงานด้านรถไฟความเร็วสูงที่มีคุณภาพ

3. ไทยจะตั้งบริษัทเดินรถลงทุน 100% โดยจีนให้ความช่วยเหลือด้านบริหารจัดการ ฝึกอบรม พัฒนาบุคลากรตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งจะเปลี่ยนจากข้อตกลงเดิมที่การเดินรถจะเป็นการร่วมทุนไทย-จีน ทั้งนี้ หากจีนสนใจที่จะร่วมในส่วนของการเดินรถสามารถยื่นข้อเสนอเข้ามาได้

4. ไทยยินดีใช้แหล่งเงินกู้จากจีนหากได้รับเงื่อนไขทางการเงินที่เหมาะสมและถูกที่สุด ซึ่งทางรองนายกฯ จีนได้รับปากอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2% ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะพิจารณาเลือกแหล่งเงินที่เหมาะสมและถูกที่สุดต่อไป และ 5. แผนการดำเนินงานของโครงการ ที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันในการกำหนดแผนการดำเนินงานและกำหนดการเริ่มต้นก่อสร้างงานโยธาส่วนแรกให้ได้ภายในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2559
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/05/2016 9:28 pm    Post subject: Reply with quote

ไทย-จีน สรุปมูลค่า โครงการรถไฟความเร็วสูงสัปดาห์นี้


https://www.youtube.com/watch?v=FWrUwikJHKU
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 194, 195, 196 ... 549, 550, 551  Next
Page 195 of 551

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©