RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273520
ทั้งหมด:13584816
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 201, 202, 203 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2016 6:40 pm    Post subject: Reply with quote

รายงานพิเศษ บูมไฮสปีดเทรนกทม.-ระยอง-หัวหิน เอาจริงหรือขายฝัน?
ผู้เขียน โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
มติชน
วันที่: 5 กันยายน 2559 เวลา:- 13:33 น.


เกิดกระแสขึ้นมาอีกแล้ว สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เมื่อรัฐบาลได้หยิบยกเส้นทางสายตะวันออก กรุงเทพฯ-ระยอง และสายใต้ กรุงเทพฯ-หัวหิน ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการหยิบยกเรื่องดังกล่าวขึ้นมาในครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับประชาชนและคนในพื้นที่สองข้างทางรถไฟ เช่นเดียวกับประชาชนตามแนวไฮสปีดเทรนสายเหนือ และอีสาน เพราะหวังที่จะได้ใช้บริการขนส่งสาธารณะที่สะดวก รวดเร็ว และช่วยสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้คนในพื้นที่ด้วย

– ปรับสัมปทานไฮสปีดเทรนระยอง-หัวหิน

รายละเอียดผลการศึกษาสายกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 193.5 กิโลเมตร (กม.) จะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 1.52 แสนล้านบาท ส่วนกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. ใช้เงินลงทุนประมาณ 9.46 หมื่นล้านบาท กำหนดให้เป็นโครงการภายใต้ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 กำหนดระยะเวลาสัมปทานไว้ที่ 30 ปี แต่ล่าสุดอาจจะขยายเป็น 50 ปี เพื่อจูงใจนักลงทุน เพราะเป็นโครงการใหญ่ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก หากระยะเวลาสัมปทานไม่สอดคล้องกับการคืนทุนก็อาจไม่ได้รับความสนใจจากภาคเอกชน และได้ปรับรูปแบบการเปิดประกวดราคา โดยอาจจะให้ผู้เข้าร่วมประมูลที่เสนอให้รัฐใช้เงินลงทุนน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ และจะรวมสัญญางานโยธา งานระบบ และตัวรถ เข้ากับงานพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อจูงใจนักลงทุนด้วย เพราะหากมีรายได้จากค่าโดยสารเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอที่จะคืนทุนเพราะต้องใช้เม็ดเงินก่อสร้างหลักแสนล้านบาท

– รวม2สัญญาจูงใจเอกชน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ระบุว่า ในการประชุมโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ครั้งล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นชอบแล้ว

นายชัยวัฒน์ระบุว่า เดิมนั้นได้แยกออกเป็น 2 สัญญา คือ 1.งานโยธา และ 2.การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งอาจไม่จูงใจการลงทุน เพราะเป็นวงเงินที่สูง เอกชนได้สิทธิเพียงก่อสร้างงานระบบ และตัวรถ ขณะที่รัฐจะต้องเวนคืนที่ดิน จึงเกรงว่าอาจจะมีคำถามเกี่ยวกับการลงทุนของรัฐที่ใช้งบประมาณช่วยเหลือเอกชนที่สูงมากว่าเหมาะสมหรือไม่ จึงต้องรวม 2 สัญญาเป็นสัญญาเดียว เพื่อจูงใจเอกชนและลดงบประมาณของรัฐ ซึ่งภาคเอกชนอาจจะรวมกลุ่มกันมาตามสายงานที่ถนัดก็ได้ โดยทั้ง 2 เส้นทางกำลังเตรียมเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณา ก่อนเสนอให้คณะกรรมการพีพีพีเห็นชอบเพื่อเปิดประมูล

– ดันกทม.-ระยองหนุนระเบียงเศรษฐกิจ

นายชัยวัฒน์ระบุอีกว่า ไฮสปีดเทรน สายกรุงเทพฯ-ระยอง จะเชื่อมโยงกับโครงการอีอีซี ใน 3 จังหวัดคือ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา จึงต้องปรับปรุงรายละเอียดของโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการเอกชน เช่นการปรับเพิ่มระยะเวลาสัมปทานจาก 30 ปีเป็น 50 ปี เพื่อให้มีความคุ้มค่าและเหมาะสมตามที่เอกชนเสนอ

“ไฮสปีดเทรนสายนี้เป็นไฮไลต์สำคัญในการจูงนักลงทุนเข้าไปในอีอีซี เพราะมีการเชื่อมต่อกับสนามบินอู่ตะเภาด้วย หากโครงการแล้วเสร็จและพัฒนาพื้นที่ได้ตามแผน ก็จะช่วยสร้างรายได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ตลอดอายุสัมปทานได้กว่าแสนล้านบาท” นายชัยวัฒน์ระบุ

อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสังเกตว่าการหยิบไฮสปีดเทรนทั้ง 2 สายขึ้นมาในช่วงนี้ เพื่อสร้างกระแสไฮสปีดเทรนให้มีอยู่อย่างต่อเนื่องหรือไม่ หลังจากที่หลายคนเริ่มหมดหวังกับรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ภายใต้ความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ที่ประชุมกันถึง 13 ครั้งก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ แถมยังปรับลดระยะทางจากเดิมที่จะก่อสร้างถึงหนองคาย ให้ถึงแค่นครราชสีมา ขณะที่รถไฟไทย-ญี่ปุ่น สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ที่ปรับลดระยะทางลงเหลือเพียงช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังมองอนาคตไม่ออกว่าจะใช้เทคโนโลยีแบบไหน

– เลื่อนตอกเข็มรถไฟไทย-จีน

ข้อสังเกตดังกล่าวสอดคล้องกับที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับผลการประชุมรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 13 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ว่า ยังกำหนดกรอบวงเงินไว้คร่าวๆ ที่ 1.79 แสนล้านบาท ส่วนกำหนดการก่อสร้างที่เคยตั้งเป้าหมายไว้ในเดือนกันยายนนี้ จะก่อสร้างตอนแรก จากกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ได้ก่อน คงจะไม่ทันแน่นอน เพราะยังเหลือขั้นตอนการดำเนินงานอีกเยอะ จึงยังไม่รู้ว่าจะสร้างจริงเมื่อไหร่ ขณะที่โครงการก็ยังไม่เข้าคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. เพื่ออนุมัติแล้ว ยังมีขั้นตอนรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ขั้นตอนการประมูลงาน จึงต้องเลื่อนเวลาการก่อสร้างออกไปก่อน

ส่วนการกู้เงินก็ยังไม่ลงตัว แม้นายอาคมระบุว่าการก่อสร้างจะไม่กู้เงินจากจีน จะกู้เฉพาะในส่วนของระบบอาณัติสัญญาณ ราง และระบบตัวรถ เพราะต้องนำเข้าจากจีนอยู่แล้ว โดยจะกู้เป็นสกุลเงินดอลลาร์ประมาณ 10-15% จากวงเงินของโครงการ

– รถไฟไทย-ญี่ปุ่นมีแค่ผลการศึกษา

นายอาคมยังระบุว่า ส่วนรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 669 กม. วงเงินประมาณ 4.4 แสนล้านบาท คาดว่าญี่ปุ่นจะส่งผลการศึกษาขั้นสุดท้ายมาให้กระทรวงคมนาคมในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็น ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 382 กม. และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 287 กม.

ซึ่งการหารือร่วมกันครั้งล่าสุด ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก วงเงินค่าก่อสร้างที่ศึกษาไว้ประมาณ 121,014 ล้านบาท ทางคณะสำรวจและศึกษาของญี่ปุ่นได้ขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาเทคนิคงานก่อสร้างใน 3 สถานี คือ สถานีบางซื่อ สถานีดอนเมือง และสถานีพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นสถานีใหญ่ที่ต้องรองรับรถไฟจากทุกเส้นทาง ทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟระยะไกล รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ จึงต้องแบ่งรางให้เหมาะสม เพื่อให้สัมพันธ์กับความถี่ของการให้บริการรถไฟความเร็วสูงกับการใช้งานของราง

ส่วนการพัฒนาพื้นที่สองข้างทาง ได้ขอความช่วยเหลือจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ศึกษาพัฒนาพื้นที่ในสถานี รอบสถานี และพื้นที่เมือง ซึ่งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมาได้เสนอเรื่องนี้ต่อนายกรัฐมนตรีแล้ว

ดูแล้วอนาคตรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะรถไฟไทย-จีน เริ่มง่อนแง่นริบหรี่ เพราะยังไม่มีความแน่นอนว่าจะตอกเสาเข็มเมื่อไหร่ สุดท้ายจึงชูรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน ขึ้นเป็นพระเอกแทน!!

– เส้นทางระยะสั้นไม่คุ้ม

ถึงกระนั้นหลายคนก็ยังอดเป็นห่วงไม่ได้ว่ารถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน จะเดินหน้าได้จริงตามที่ประกาศไว้หรือไม่ เพราะจากผลการศึกษาของรัฐบาลชุดที่แล้วพบว่า ทั้ง 2 สายนี้ระยะทางสั้นเกินไป ถึงขนาดมีแผนจะยกเลิกเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง แล้วใช้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เชื่อมแทน เพราะหากเทียบระยะทางทั้งหมดกับสถานีที่ต้องแวะจอดแล้ว การใช้ความเร็วถึง 250-300 กม./ชม. คงเป็นไปได้ยาก เว้นแต่จะทำสถานีต้นทางที่กรุงเทพฯ และไปจอดที่สถานีปลายทางระยองทีเดียว ซึ่งก็คงจะมีผู้โดยสารไม่มากเพียงพอที่จะสร้างรายได้

– ซีพี-ไทยเบฟขอร่วมไฮสปีดเทรน

ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า มีหลายบริษัทให้ความสนใจที่จะลงทุน 2 โครงการนี้ คือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่ก่อนหน้านี้ได้นำบริษัท ซิทิก คอนสทรัคชั่น (CITIC CONSTRUCTION) จากฮ่องกง และบริษัท ไห่หนาน (HNA) จากประเทศจีน เข้าไปแสดงเจตนาที่จะขอเข้าร่วมในเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือไทยเบฟ ที่แสดงความสนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ก็มีคนตั้งข้อสังเกตว่า ทั้ง 2 บริษัทสนใจจริงหรือ เพราะมีข่าวลือหนาหูว่า ทั้ง 2 บริษัทถูกขอร้องให้เข้าไปแสดงความสนใจเท่านั้น ขณะที่บางคนลือหนักกว่าว่าถูกบีบคอให้เข้าไป เพราะจริงๆ แล้วทั้ง 2 บริษัทยังไม่ได้สนใจที่จะเข้าร่วมพัฒนาโครงการ แต่เป็นเพราะความเกรงใจที่ถูกรัฐบาลชักชวน

จะจริงเท็จประการใด อีกไม่นานคงชัด!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 07/09/2016 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

อาคมเข็นรถไฟไทย-จีนตอกเข็มปีนี้ ทุ่ม200ล.เกลี่ยดินกลางดง-ปางอโศก
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
07 กันยายน 2559 เวลา: 09:00:12 น.

ไทย-จีนเร่งไฮสปีด
โพสต์ทูเดย์
07 กันยายน 2559 เวลา 06:10 น. | เปิดอ่าน 5,015 | ความคิดเห็น 0
พล.อ.ประยุทธ์ หารือผู้นำจีน เห็นพ้องต้องสร้างไฮสปีดเทรนเส้นกรุงเทพฯ-โคราช ให้ได้ภายในปีนี้


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้รอให้จีนประเมินค่าก่อสร้างเฟสแรกรถไฟไทย-จีนจะเริ่มสร้างระยะทาง 3.5 กม. จากสถานีกลางดง-ปางอโศก ซึ่งต้องถอดรหัสวัสดุและราคาให้เป็นมาตรฐานของไทย เพราะจีนกำหนดตามมาตรฐานของจีน ส่วนเงินก่อสร้างทั้งโครงการจะให้ไม่เกินกรอบ 179,000 ล้านบาท และขอให้จีนลดค่าฝึกอบรมบุคลากร 920 ล้านบาท และค่าออกแบบรายละเอียด

"เร่งให้จีนถอดแบบเฟสแรกให้เสร็จ ก.ย. จากนั้นประมูลหาผู้รับเหมาจะใช้เวลา 2-3 เดือน การก่อสร้างจะพยายามให้อยู่ในปีนี้ ส่วนช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร 11 กม. เลื่อนส่งแบบรายละเอียด เป็น พ.ย.ติดปัญหาเรื่องดิน ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา 120 กม. กำหนดส่งแบบรายละเอียด ธ.ค.นี้ และช่วงที่ 4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย 119 กม. กำหนดส่งแบบรายละเอียด ก.พ.ปี′60"

สำหรับร่างสัญญาการลงนามการจ้างงานเป็นรูปแบบ EPC ประกอบด้วย งานโครงสร้างพื้นฐาน (EPC 1) และงานระบบและรถไฟฟ้าความเร็วสูง (EPC 2) แยกเป็น 3 ส่วน มีค่าที่ปรึกษาโครงการ ค่าจ้างผู้ควบคุมงานก่อสร้างและระบบรถ และงานระบบเหนือโครงสร้างพื้นฐาน จะเร่งให้เสร็จวันที่ 19-21 ก.ย.นี้ ซึ่งจีนเสนอให้ลงนามส่วนงานจ้างที่ปรึกษาก่อน จะต้องพิจารณาให้เป็นตามกฎหมายของไทย เพื่อไม่ให้เสียเปรียบ เช่น เงื่อนไขการผิดสัญญา เพราะตามกฎหมายจีนหากงานก่อสร้างล่าช้า จะต้องชดเชยเวลาและเงินให้จีน

ด้านขั้นตอนภายในของประเทศไทย โครงการจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จากนั้นจะเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือน ก.ย. และจะขอใช้มาตรา 44 คัดเลือกเอกชนระหว่างรอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งจะลงนามสัญญาได้ก็ต่อเมื่อ EIA ผ่านแล้ว

ส่วนแหล่งเงินลงทุนก่อสร้างเฟสแรก 3.5 กม. กระทรวงการคลังจะพิจารณาใช้เงินงบประมาณหรือเงินกู้ภายในประเทศ ส่วนการกู้เงินซื้อระบบอาณัติสัญญาณและรถไฟฟ้าจากจีน ฝ่ายไทยจะกู้ในสกุลเงินดอลลาร์แทนหยวนที่จีนเสนอมา โดยสัดส่วนการกู้เงินเพื่อซื้อระบบคิดเป็น 15-20% ของกรอบวงเงินโครงการ หรือประมาณ 26,850-35,800 ล้านบาท

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า เงินก่อสร้างเฟสแรก 3.5 กม. คาดว่าจะใช้เงินกว่า 200 ล้านบาท ไม่รวมค่างานระบบ เป็นงานก่อสร้างคันดินเพื่อเป็นการเริ่มต้นโครงการ

"บิ๊กตู่" ถก "สี จิ้นผิง" ลั่น เดินหน้ารถไฟไทย- จีน แม้ติดข้อกฏหมายบางประการ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
5 กันยายน 2559 เวลา: 10:42:41 น.


"บิ๊กตู่" ถก "สี จิ้นผิง" ดันความร่วมมือรอบด้าน ลั่นเดินหน้ารถไฟไทย-จีน แม้ติดข้อกฏหมายบางประการ

เมื่อวันที่ 4 กันยายน เวลา 20.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ นครหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พบหารือทวิภาคีกับนายสี จิ้นผิง (H.E. Mr.Xi Jinping) ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่ม 20 (G20) โดย พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประธานาธิบดีจีนกล่าวแสดงความยินดีที่ได้พบกับนายกรัฐมนตรีในการประชุมผู้นำกลุ่ม 20 ที่นครหางโจว พร้อมกล่าวว่า ไทยและจีนควรส่งเสริมการติดต่อประสานงานและแสวงหาความร่วมมือเพื่อที่จะหาทางรับมือกับการท้าทายอย่างเหมาะสม รวมถึงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาร่วมกันเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศและเอเชียโดยรวม ทั้งนี้ จีนให้ความสำคัญเป็นอย่างสูงต่อการพัฒนาความสัมพันธ์กับไทยในการผลักดันความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์รอบด้านระหว่างทั้งสองฝ่ายให้พัฒนาก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง

พล.ต.วีรชน กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวขอบคุณชาวจีนที่เดินทางไปท่องเที่ยวเมืองไทยเป็นจำนวนมาก พร้อมย้ำว่าได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ของไทยดูแลชาวจีนเป็นอย่างดี สำหรับความร่วมมือการขนส่งระบบรางไทย-จีน ประธานาธิบดีจีนพร้อมดำเนินความร่วมมือกับไทยต่อไป ขณะที่นายกฯกล่าวว่า ความร่วมมือการขนส่งระบบรางไทย-จีน จะต้องดำเนินต่อไป แต่ที่เกิดความล่าช้าเพราะติดขัดข้อกฎหมายบางประการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 08/09/2016 1:06 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟจีนกับญี่ปุ่นต่างกันอย่างไร มีแย็บใส่รัฐบาลด้วย
https://www.facebook.com/suwaphun/posts/1089119584503306
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2016 11:01 pm    Post subject: Reply with quote

ระหว่างการเจรจากันระหว่า บิ๊กตู่และ นายกรัฐมนตรีราซัก มีการเจรจาว่าน่าจะต่อขยายรถไฟความไวสูงเชื่อมกรงเทพกะ KL Sentral ด้วย
http://www.thestar.com.my/news/nation/2016/09/09/malaysia-thailand-agree-to-extend-high-speed-rail-link-from-kl-to-bangkok/


“อาคม” ยันทีโออาร์รถไฟทางคู่ต้องเปิดกว้าง จ่อยืดไฮสปีดกรุงเทพ-หัวหิน ถึงสุราษฎร์ธานี
โดย MGR Online
9 กันยายน 2559 18:53 น. (แก้ไขล่าสุด 9 กันยายน 2559 19:03 น.)

“อาคม” ยันทีโออาร์รถไฟทางคู่ต้องเปิดกว้าง จ่อยืดไฮสปีดกรุงเทพ-หัวหิน ถึงสุราษฎร์ธานี
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

“อาคม” เผยทีโออาร์ประมูลรถไฟทางคู่ ต้องเปิดกว้างเอื้อประโยชน์เฉพาะรายไม่ได้ ร.ฟ.ท.ต้องรอบคอบ พร้อมเปิดทางเอกชนยื่นข้อเสนอลงทุน ไฮสปีดกรุงเทพ-หัวหิน ขยายถึงสุราษฎร์ เพื่อความคุ้มค่า เตรียมชง กก.PPP พิจารณา ขณะที่ระดมสมองวาง 5 ยุทธศาสตร์ทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบคมนาคมระยะ 20 ปี

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประกวดราคาโครงการรถไฟทางคู่ ในแผนระยะเร่งด่วนปี 2559 ที่ยังล่าช้านั้นเนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) ซึ่งจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นตามขั้นตอนและปรับทีโออาร์ให้เป็นที่ยอมรับและเปิดกว้างเนื่องจากการประกวดราคาจะกำหนดเงื่อนไขที่เอื้อประโยชน์กับกลุ่มใด หรือรายใดรายหนึ่งไม่ได้ ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะต้องดูรายละเอียดให้รอบคอบ

จ่อขยายไฮสปีดกรุงเทพ-หัวหิน-สุราษฎร์ฯ ชง กก.PPP เปิดกว้างเอกชนยื่นข้อเสนอ

นอกจากนี้ รมว.คมนาคมยังกล่าวว่า ได้หารือกับรัฐมนตรีของมาเลเซียในความร่วมมือการพัฒนาระบบรางเชื่อมต่อระหว่าง2 ประเทศซึ่งได้ยืนยันแผนการพัฒนารถไฟทางคู่ของไทย เส้นทางจากกรุงเทพลงสู่ภาคใต้ ซึ่งแผนล่าสุดเส้นทางจะไปถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และในปี 60 จะต่อขยายเส้นทางไปจังหวัดชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่ และช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ซึ่งช่วงนี้จะเป็นระบบรถไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟมาเลเซียบนรางขนาด 1 เมตร โดยไทยจะพัฒนาสถานีปาดังเบซาร์ และมาเลเซียจะมีการขยายสถานีขนส่งสินค้าฝั่งมาเลเซีย

สำหรับในส่วนของรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน ตามแผนจะต่อขยายถึงภาคใต้เพื่อเชื่อมกับมาเลเซีย โดยจะมีการศึกษาเป็นระยะๆ ทั้งนี้ ในส่วนของการลงทุนเฟสแรกช่วงกรุงเทพ-หัวหินนั้นจะเสนอคณะกรรมการ PPP เพื่อเปิดกว้างสำหรับการต่อขยายจากหัวหิน-สุราษฎร์ธานีได้หากเอกชนมีข้อเสนอในการลงทุนเข้ามา เนื่องจากการประเมินพบว่าหากก่อสร้างถึงสุราษฎร์ธานีจะมีความคุ้มค่าการลงทุนและการเงินมากกว่าทำถึงหัวหิน โดยในระยะต่อไปจะสามารถพัฒนาขยายจากสุราษฎร์ฯ ไปถึงชายแดนไทย เพื่อเชื่อมต่อกับมาเลเซียได้ ขณะนี้ทางมาเลเซียมีความร่วมมือกับสิงคโปร์ในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเช่นกัน

วาง 5 ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาระบบคมนาคม ระยะ 20 ปี

ขณะที่เมื่อวันที่ 9 ก.ย. นายอาคมได้เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อระดมสมองและรับฟังความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูง และหัวหน้าหน่วยงานส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม ต่อ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี โดยระบุว่าแผนพัฒนาคมนาคมจะต้องสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579 ซึ่งมี ยุทธศาสตร์ 5 ข้อ 1. การบูรณาการโครงการคมนาคมขนส่ง ให้มีความเชื่อมโยงกัน เช่น โครงการท่าเรือจะต้องมองโครงข่ายถนนเพื่อเชื่อมเข้าสู่ท่าเรือด้วย หรือพัฒนาสนามบินต้องมีระบบขนส่งเชื่อมสนามบินด้วย เป็นต้น 2. การพัฒนาบริการขนส่งสาธารณะ เช่น เร่งรัดโครงข่ายรถไฟฟ้า และรถไฟ นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงบริการที่สร้างรายได้ให้กับภาครัฐ เช่น การบินไทย หรือท่าเรือ 3. ปฏิรูปองค์กร กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ เช่น การแยกบทบาทของหน่วยงานกำกับนโยบาย(Regulator) กับหน่วยงานปฏิบัติ (Operator) ออกจากกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ 4. การพัฒนาบุคลากรด้านคมนาคมซึ่งปัจจุบันระบบรางมีความขาดแคลน จึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเทคโนโลยี 5. พัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งจะมีการเปลี่ยนผ่านระบบคมนาคมขนส่งรูปแบบเดิม เช่น รถไฟดีเซล ยกระดับเป็นรถไฟใช้ไฟฟ้า รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมการก่อสร้างที่ทันสมัยและปลอดภัยต่างๆ การนำข้อมูลการเดินทางต่างๆ มาจัดระบบการจราจรที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

โดยจะดำเนินการภายใต้เป้าหมาย 3 ประการ คือ 1. ระบบคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ (Transport Efficiency) 2. การขนส่งที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Transport) มุ่งเน้นการลดใช้พลังงานฟอสซิล ปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานทางเลือก 3. การเข้าถึงระบบขนส่งอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม (Inclusive Transport) การยกระดับการขนส่งให้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้ทุกกลุ่ม

ทั้งนี้ ในการดำเนินงานจะแบ่งออกเป็นระยะๆ ละ 5 ปี (2560-2565)ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 8 ปี (2558-2565) ที่เน้นขับเคลื่อนโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่นรถไฟฟ้า 10 สาย ซึ่งจะทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2559 และเสร็จสมบูรณ์ครบในปี 2565 นอกจากนี้จะเร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 6 เส้นทาง ตามแผนปฏิบัติการ ปี 59 (Action Plan) และในอีก 5 ปีต่อไปจะมีรถไฟทางคู่อีก 6 เส้นทาง โดยจะบรรจุในแผนปฏิบัติการ ปี 60

“เป้าหมายและตัวชี้วัด เช่น การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต้องพัฒนาระบบขนส่งเพื่อลดการปล่อยพลังงานฟอสซิล ปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดหรือไฟฟ้าแทน ซึ่งปัจจุบันภาคการขนส่งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ 70 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป้าหมายคือต้องลดลงการปล่อยคาร์บอนฯภาคขนส่งลง 20% ทุกๆ ปี หรือลดการใช้พลังงานในภาคขนส่งลง ซึ่งปัจจุบันใช้ถึง 40% ของการใช้พลังงานทั้งหมด”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2016 4:21 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก เชื่อมโยงกรุงเทพฯสู่สี่แยกอินโดจีน
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 12 กันยายน พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,191 วันที่ 11 – 14 กันยายน พ.ศ. 2559

จัดเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่ฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่นตลอดจนอีกหลายคนคาดหวังว่าจะสามารถเร่งดำเนินการให้เกิดขึ้นโดยเร็ว ทั้งเพื่อการขนส่งสินค้าที่ไม่มีขนาดใหญ่มากเกินไปและการโดยสารจากกรุงเทพฯไปสิ้นสุดที่เชียงใหม่ โดยเฉพาะเส้นทางเพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวของไทยผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุโขไทย นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำปาง ไปสิ้นสุดที่เชียงใหม่

โดยรถไฟความเร็วสูงเส้นทางดังกล่าวนี้จัดอยู่ในเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ แต่จะก่อสร้างจากช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกในระยะแรกนี้ก่อน ระยะทางประมาณ 384 กิโลเมตร มีจำนวน 7 สถานี แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีบางซื่อ ไปสิ้นสุดที่สถานีพิษณุโลก มีสถานียกระดับ 6 แห่ง ได้แก่ สถานีบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก และสถานีระดับพื้นดิน 1 สถานี ได้แก่ สถานีลพบุรี

รูปแบบของแต่ละสถานีมี 2 รูปแบบคือ สถานีในเมืองและสถานีนอกเมือง โดยสถานีอยู่นอกเมือง คือสถานีลพบุรี ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร และสถานีพิจิตร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร นอกนั้นเป็นสถานีในเมืองซึ่งใช้พื้นที่สถานีรถไฟเดิม

ทางด้านงบประมาณค่าก่อสร้างนั้นเฉพาะในช่วงที่ 1 (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) ประมาณ 2.12 แสนล้านบาท จำแนกเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่างานโยธา ค่าก่อสร้างโรงซ่อมบำรุง(งานโยธา) ค่าก่อสร้างโรงซ่อมบำรุง(งานระบบ)ค่างานราง ค่างานระบบไฟฟ้ากำลัง ค่างานเครื่องกลและไฟฟ้า(ระบบเดินรถ) ค่าขบวนรถ(ระยะแรก 15 ขบวน) และค่าควบคุมงาน


โดยแนวเส้นทางมีทั้งระดับดิน ยกระดับและลอดอุโมงค์ ช่วงจากกรุงเทพฯ-อยุธยาจะเป็นทางยกระดับตลอดแนวประมาณ 67 กิโลเมตร ช่วงผ่านตัวเมืองจังหวัดลพบุรีจะเป็นแนวอุโมงค์ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร หลังจากนั้นจะเป็นแนวเส้นทางระดับดินและทางยกระดับตามความเหมาะสมในบางจุด คาดว่าจะใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 1.50 ชั่วโมง ค่าโดยสารระหว่าง 640-1,700 บาท ทั้งนี้ค่าโดยสารจะแตกต่างตามประเภทชั้นโดยสาร

สำหรับผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ(Net Present Value : NPV) 25,340 ล้านบาท มีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit/Cost Ratio :B/C Ratio) 1.15 มีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return :EIRR) 13.39% โดยโครงการดังกล่าวนี้เริ่มเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนมาตั้งแต่ปี 2555

ล่าสุดนั้นโครงการดังกล่าวจัดอยู่ในเส้นทางการพัฒนาระบบรางภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นกำลังศึกษาความเป็นไปได้และคาดว่าจะนำไปสู่การออกแบบรายละเอียดก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติให้ดำเนินการในปลายปีนี้ และนำไปสู่การก่อสร้างในปี 2560 ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2016 8:39 pm    Post subject: Reply with quote

จับตา! ประชุมรถไฟไทย-จีน คาดเส้นทางกทม.-โคราช เริ่มสร้างปีนี้
โดย จรัญญา
INN News
12 กันยายน พ.ศ. 2559

รองปลัดกระทรวงคมนาคม เผย ประชุม ‘รถไฟไทย-จีน’ ครั้งที่ 14 วันที่ 19-21 ก.ย.นี้ คาดเส้นทางกทม.-โคราช ช่วงแรกสร้างในปีนี้

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ในวันที่ 19-21 กันยายนนี้ จะมีการประชุมโครงการถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 14 ซึ่งสาระสำคัญจะอยู่ที่การหารือในแต่ละสัญญา ก่อนที่จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาและลงนาม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2016 11:08 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด ร.ฟ.ท.ไฟเขียวลงทุนรถไฟไทย-จีน 1.79 แสนล้าน ชง ครม.อนุมัติ เร่งตอกเข็ม 3.5 กม.
โดย MGR Online
14 กันยายน 2559 09:23 น. (แก้ไขล่าสุด 14 กันยายน 2559 09:59 น.)

บอร์ด ร.ฟ.ท.เห็นชอบกรอบวงเงินลงทุนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-โคราช ที่ 1.79 แสนล้าน พร้อมปรับรูปแบบสัญญา EPC2 แยกเป็น 3 สัญญาย่อยเพื่อเร่งงานก่อสร้างตอนแรก 3.5 กม. เร่งชงคมนาคมและ ครม.อนุมัติโครงการ เดินหน้าประมูลก่อสร้างปลายปี 59 “ประธานบอร์ด ร.ฟ.ท.” สั่งผู้ว่าฯ ประสานคลังกรณีชะลอแผนโอนที่ดินมักกะสันแลกหนี้ เชื่อเป็นเรื่องเทคนิค ไม่น่ามีปัญหา

นายพิชิต อัคราทิตย์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท.เมื่อวันที่ 13 ก.ย. ได้เห็นชอบการปรับกรอบวงเงินลงทุนและรายละเอียดบางรายการในโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (ไฮสปีดเทรน) ระยะทาง 252.5 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ตามที่มีการเจรจาของคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนล่าสุด ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)

พร้อมทั้งพิจารณากรณีการปรับรายละเอียดของ Engineering Procurement and Construction (EPC) ในส่วนของ EPC-2 โดยแยกออกเป็น 3 สัญญา คือ EPC-2.1 สัญญางานออกแบบ และ EPC-2.2 สัญญาควบคุมงาน โดยจะเร่งทำส่วนนี้ก่อนเพื่อให้สามารถเริ่มการก่อสร้างได้ และ EPC-2.3 สัญญาจัดหาระบบตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ ซ่อมบำรุง และฝึกอบรม เพื่อให้สอดคล้องกับการก่อสร้างด้วย

โดยหลังจากนี้ ร.ฟ.ท.จะเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเริ่มกระบวนการประกวดราคาเพื่อก่อสร้าง ตอนที่1 ระยะทาง 3.5 กม. (สถานีกลางดง-ปางอโศก) ตามเป้าหมายภายในปลายปี 2559

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาบอร์ด ร.ฟ.ท.ได้เห็นชอบกรอบวงเงินโครงการไปแล้ว แต่เนื่องจากการประชุมคณะกรรมการร่วมได้มีการปรับรายละเอียด รวมถึงแยกสัญญา EPC-2 ออกมาจึงต้องเสนอบอร์ด ร.ฟ.ท.พิจารณาใหม่ ซึ่งไม่มีปัญหาอะไร และหลังจากนี้จะเร่งส่งไปกระทรวงคมนาคม ซึ่งก่อนเข้า ครม.จะต้องมีขั้นตอนการสอบถามความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง ตามขั้นตอนก่อน

ทั้งนี้ คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนจะประชุมครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยในวันที่ 19-21 ก.ย.นี้ โดยจะสรุปราคาค่าก่อสร้าง ตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. หลังจากที่จีนส่งแบบรายละเอียดแล้ว และคณะทำงานไทย-จีนได้ร่วมหารือเพื่อปรับรหัสมาตรฐานวัสดุจากรหัสของจีนมาเป็นรหัสมาตรฐานของไทยเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้างในประเทศไทย

นายพิชิตกล่าวถึงกรณีที่กระทรวงการคลังชะลอแผนการนำที่ดินมักกะสันแลกหนี้กับกระทรวงการคลัง มูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากอยู่ระหว่างรอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความกฎหมายการเวนคืนที่ดินว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างว่า ทางผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.รายงานบอร์ดเบื้องต้นว่าข้อมูลยังไม่ชัดเจน โดยจะต้องตรวจเช็กกับทางกระทรวงการคลังเพิ่มเติม ทั้งนี้เห็นว่าน่าจะเป็นปัญหาทางเทคนิคที่ต้องมีขั้นตอนการแก้ไข
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2016 9:19 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเทรนพิษณุโลก-เชียงใหม่ โครงข่ายการเดินทางเชื่อมภาคเหนือ
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,193 วันที่ 18 – 21 กันยายน พ.ศ. 2559

ไฮสปีดเทรนพิษณุโลก-เชียงใหม่ โครงข่ายการเดินทางเชื่อมภาคเหนือ
การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงจะเป็นการสนับสนุนให้การพัฒนาพื้นที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศและแต่ละจังหวัดตามแนวเส้นทางที่รัฐบาลหวังที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน อำเภอ และจังหวัด โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและจังหวัดต่างๆในโซนพื้นที่ภาคเหนือ

โครงการดังกล่าวนี้จัดเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ต้องการให้เป็นโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินทางสำหรับประชาชนด้วยความเร็วราว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยรัฐบาลอยู่ระหว่างการร่วมมือกับญี่ปุ่นในการเร่งผลักดันเส้นทางรถไฟดังกล่าวนี้

สำหรับไฮสปีดเทรนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่มีระยะทางประมาณ 296 กิโลเมตร แนวเส้นทางต่อจากช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก จำนวน 5 สถานี คือ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และสถานีเชียงใหม่ รูปแบบโครงสร้างทางวิ่งมีหลายรูปแบบดังนี้คือ แนวเส้นทางระดับพื้นดิน(At Grade) 59 กิโลเมตร แนวยกระดับ(Viaduct) 110 กิโลเมตร รูปแบบทางลอดใต้สะพานรถไฟ(Short span Bridge) 102 กิโลเมตร และรูปแบบอุโมงค์ (Tunnel) 25 กิโลเมตร โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ มีหน่วยซ่อมบำรุง 3 แห่งที่อำเภอศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และที่อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ทั้งนี้ตามผลการศึกษาของสนข.พบว่ามีมูลค่าการลงทุนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ประมาณ 2.2 แสน ล้านบาท จำแนกออกเป็นค่าก่อสร้างประมาณ 2.14 แสนล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณ 6,500 ล้านบาท โครงการมีความคุ้มค่าช่วยพัฒนาเศรษฐกิจที่มีความเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV) 32,693 ล้านบาท มีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน(B/C Ratio) 1.21% มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ(EIRR) 13.82%

โดยช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก(เปิดปีแรก) จะมีผู้โดยสารใช้บริการรวมประมาณ 26,500 คน ประกอบด้วยสถานีบางซื่อ 9,700 คน ดอนเมือง 2,400 คน พระนครศรีอยุธยา 2,100 คน ลพบุรี 1,600 คน นครสวรรค์ 3,200 คน พิจิตร 2,000 คน พิษณุโลก 5,500 คน หากครบเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่แล้วสถานีบางซื่อ จำนวน 16,700 คน ดอนเมือง 4,200 คน พระนครศรีอยุธยา 3,400 คน ลพบุรี 1,800 คน นครสวรรค์ 3,800 คน พิจิตร 2,500 คน พิษณุโลก 4,400 คน สุโขทัย 2,100 คน ศรีสัชนาลัย 1,600 คน ลำปาง 2,800 คน ลำพูน 1,400 คน และเชียงใหม่ สำหรับในปีที่ 10 เพิ่มขึ้นเป็น 66,100 คน ปีที่ 20 เพิ่มเป็น 80,200 คน และปีที่ 30 เพิ่มเป็น 96,600 คน ทั้งนี้ได้คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารในเส้นทางช่วงกรุงเทพ-เชียงใหม่นี้ว่าผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้น 2.5% ต่อปี นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 3.4% ต่อปี

ส่วนผลประโยชน์ทางตรงนั้นจะช่วยประหยัดพลังงานในการเดินทาง ช่วยลดมลพิษ ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง ช่วยลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ผลประโยชน์ทางอ้อมจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ธุรกิจการค้า การลงทุน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การสร้างงานสร้างอาชีพ และยังช่วยชี้นำการพัฒนาเมืองและอสังหาริมทรัพย์

โดยที่ผ่านมาได้จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนครบถ้วนทั้งหมดแล้ว ขณะนี้เหลือเพียงความเห็นชอบผลการศึกษาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)เท่านั้นก็จะเร่งนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้ดำเนินโครงการต่อไปภายใต้ความร่วมมือพัฒนาโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่นนั่นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2016 11:34 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทยปู๊น ปู๊น..
ประชาชาติธุรกิจ

เคาะแล้วจ้า! ติดหล่มอยู่นาน โปรเจ็กต์รถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-โคราช จะใช้เงินก่อสร้างเท่าไหร่ ใครจะลงทุนและได้ประโยชน์บ้าง- ล่าสุดบอร์ดรถไฟชุดใหม่ ทุบโต๊ะกรอบวงเงินลงทุนสุดท้ายอยู่ที่ 179,392 ล้านบาท เตรียมส่งต่อให้ "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" สแกนก่อนเสนอ ครม.บิ๊กตู่อนุมัติเร็ว ๆ นี้ ถ้าช้ากว่านี้ มีหวังเป้าจะลงเข็มช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศกในปีนี้ คงเลื่อนยาวไปถึงปีหน้านู้น!
https://www.facebook.com/PrachachatOnline/posts/10154728702553814
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2016 5:11 pm    Post subject: Reply with quote

เคาะเปิดประมูลรถไฟไทย-จีนพ.ย.นี้ ค่าตอกเข็ม 3.5 กม. กว่า 200 ล.
โดย MGR Online
21 กันยายน 2559 15:11 น.


"อาคม"ถกรถไฟไทย-จีน กรุงเทพ-โคราช วงเงิน 1.794 แสนล. ชงครม. ในต.ค.อนุมัติโครงการ เคาะประมูล พ.ย. เดินหน้าตอกเข็ม ธ.ค.นำร่อง สั่งคณะทำงานเร่งถอดแบบจบใน 15 ต.ค.ประเมินวงเงินค่างานโยธา ปรับคันดิน 3.5 กม.แรก กว่า 200 ล.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 14 ที่กรุงเทพ ในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ช่วง กรุงเทพ-นครราชสีมา (ไฮสปีดเทรน) ระยะทาง 252.5 กม. วันที่ 21ก.ย. ว่า ที่ประชุมร่วมฯ ได้ตกลงเรื่องขั้นตอนการก่อสร้าง โดยคณะทำงานไทย-จีนจะหารือเพื่อปรับรหัสมาตรฐานวัสดุก่อสร้างของจีน มาเป็นรหัสมาตรฐานของไทยเพื่อถอดราคาค่าก่อสร้างให้เรียบร้อยภายในวันที่ 15 ต.ค. และมีการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคาตามกฎหมายไทยซึ่งมี 8 รายการ เพื่อเปิดประมูลก่อสร้าง ตอนที่1 ระยะทาง 3.5 กม. (สถานีกลางดง-ปางอโศก)ในเดือน พ.ย. และกำหนดเริ่มก่อสร้างในเดือนธ.ค.2559 ซึ่งเป็นไปตามที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้พูดคุยกับประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง ของจีน เมื่อครั้งได้เดินทางไปประชุม G20 ณ เมืองหางโจว ประเทศจีน

โดยการประชุมร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 14 ยังได้สรุปร่างสัญญา รายละเอียดของ Engineering Procurement and Construction (EPC) ในส่วนของ EPC-2 โดยแยกออกเป็น3 สัญญา คือ EPC-2.1 สัญญางานออกแบบ และ EPC-2.2 สัญญาควบคุมงานและ EPC-2.3 สัญญาจัดหาระบบตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ ซ่อมบำรุงและฝึกอบรม โดยคสดว่าจะลงนามในสัญญาได้ในเดือนต.ค.นี้ เช่นกัน

นายอาคมกล่าวว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ ต้องให้คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เห็นชอบโครงการ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ขออนุมัติ ภายในเดือนต.ค.ในขณะที่จะต้องลงนามในสัญญา EPC 1,2 เรื่องออกแบบและที่ปรึกษาควบคุมงานด้วย จึงจะเริ่มขั้นตอนประมูลในเดือนพ.ย. ซึ่งยืนยันว่าจะเปิดประมูลทั่วไป ไม่ใช้วิธีพิเศษ

สำหรับกรอบวงเงินโครงการสรุปร่วมกันที่วงเงิน 179,412.21 ล้านบาท โดย การก่อสร้างงานโยธาไทยลงทุน 100% ซึ่งช่วงแรก 3.5 กม.กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดหาแหล่งเงินให้ ไม่มีปัญหา ขณะที่สัญญาในส่วนของค่าออกแบบและค่าที่ปรึกษาควบคุมงานนั้นต้องเจรจาร่วมกันอีก เนื่องจากไทยต้องการใช้เงินบาท ส่วนจีนต้องการให้ใช้เงินหยวน แต่ไม่น่ามีปัญหาเช่นกัน รวมถึงงานระบบและอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าซึ่งอาจ จะเจรจาใช้แหล่งเงินกู้จีน หรือแหล่งอื่นขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม

รายงานข่าวแจ้งว่า จากการถอดแบบที่จีนดำเนินการออกแบบนั้น พบว่า ค่าก่อสร้างตอนแรก 3.5 กม. ในส่วนของงานโยธา ซึ่งจะเป็นการก่อสร้างคันดินฐานราก ไม่รวมส่วนเหนือดิน เช่นราง งานระบบ คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 200 ล้านบาทเศษ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 201, 202, 203 ... 547, 548, 549  Next
Page 202 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©