Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311323
ทั่วไป:13285246
ทั้งหมด:13596569
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 210, 211, 212 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44792
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/06/2017 4:33 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
จับตารมว.คมนาคมเยือนญี่ปุ่น จรดหมึกเดินหน้ารถไฟ “ชิงกันเซ็ง” ไปเชียงใหม่ (ชมคลิป)

โดย MGR Online
7 มิถุนายน 2560 08:17 น.



สื่อมวลชนญี่ปุ่นเปิดเผยรายละเอียดข้อตกลงความร่วมมือโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการลงนามในระหว่างการเยือนญี่ปุ่นของรมว.คมนาคมในสัปดาห์นี้
สำนักข่าว NHK เปิดเผยว่ารัฐบาลญี่ปุ่นและไทย เห็นพ้องเรื่องการใช้ชิงกันเซ็งในโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย ตามแผนสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางกว่า 700 กม.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของไทย มีกำหนดเดินทางเยือนญี่ปุ่นสัปดาห์นี้ และจะแลกเปลี่ยนบันทึกความร่วมมือเรื่องโครงการนี้กับนายเคอิชิ อิชิอิ รัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค คมนาคมและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น

รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการส่งออกเทคโนโลยีรถไฟชิงกันเซ็งอย่างมาก หลังจากต้องพ่ายแพ้ให้กับประเทศจีน ซึ่งทุ่มข้อเสนอพิเศษทางการเงินจนได้คว้าโครงการรถไฟของหลายชาติอาเซียน แต่สำหรับประเทศไทยได้จัดสรรโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟให้กับทั้งญี่ปุ่นและจีน แต่ก็มีประเด็นว่าจะเชื่อมต่อเทคโนโลยีที่แตกต่างกันของ 2 ประเทศนี้ได้อย่างไร? หรือจะเป็นเหมือนระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯที่สับสนอลหม่านทั้งระบบการเดินรถ และการใช้ตั๋วที่แยกจากกันในแต่ละเส้นทาง.

https://www.youtube.com/watch?v=groU6wISqMY
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44792
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/06/2017 4:34 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
จับตารมว.คมนาคมเยือนญี่ปุ่น จรดหมึกเดินหน้ารถไฟ “ชิงกันเซ็ง” ไปเชียงใหม่ (ชมคลิป)
โดย MGR Online 7 มิถุนายน 2560 08:17 น.

"สมคิด"เบียดเวียดนามถก"อาเบะ"จัดทัพธุรกิจยักษ์-SMEเยือนไทยลงพื้นที่EECร่วมลงขันรถไฟเชื่อมEEC-CLMV
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ updated: 07 มิ.ย. 2560 เวลา 15:48:12 น.

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังนำ 6 รัฐมนตรีเศรษฐกิจ เข้าพบหารือกับ นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ณ ทำเนียบรัฐบาล (Cabinet office) ในกรุงโตเกียว ว่า ฝ่ายไทยได้ขอบคุณที่ญี่ปุ่นส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของ รัชกาลที่ 9 และมีพระราชสาส์นแสดงความยินดีต่อการขึ้นทรงราชย์ของรัชกาลที่ 10 พร้อมหารือถึงเรื่องแผนแม่บทการพัฒนา CLMVT ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นให้ความสำคัญ โดยขอให้ญี่ปุ่นมีบทบาทในการสนับสนุน

นอกจากนี้ยังได้หารือในประเด็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ Hi Quality Infrastructure ซึ่งก่อหน้าที่นายสมคิด จะได้เข้าพบหารือกับนายชินโซ อาเบะ นั้น ฝ่ายนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้เจรจากับญี่ปุ่นเรื่องรถไฟสาย เวียดนาม-ลาว-ไทย-พม่า เชื่อมกับอินเดีย บังคลาเทศ นอกเหนือจากเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ญี่ปุ่นต้องการลงทุนอยู่แล้ว และต้องการให้พิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง

"นายกรัฐมนตรี อาเบะ รับฟังเรื่องนี้อย่างตั้งใจ" นายสมคิดกล่าว และว่า ไทยจะเป็นศูนย์กลางการพัฒนากลุ่ม CLMVT โดยภาคอีสาน จะกลายเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นให้การสนับสนุนอย่างดี

ในการนี้มีการกล่าวถึงการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงสายใหม่ ที่จะเป็นวาระสำคัญในการลงทุนของเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) คือเส้นทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเข้าไปในเขต EEC เพิ่มเติมจากเส้นทางเชียงใหม่-พิษณุโลก เมื่อถึงอยุธยาก็จะแยกเส้นทางฉีกไปทางภาคตะวันออก เพื่อเชื่อมเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม ในย่านนิคมอุตสาหกรรมอยุทยาและเขต EEC เข้าด้วยกัน

"รถไฟความเร็วสูงเส้นใหม่นี้ ราคาแพงก็ต้องทำเพราะมีประโยชน์มาก จะทำให้เกิดการพัฒนาเมือง และมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจกว้างขวาง จึงต้องพิจารณาว่าไทยมีงบประมาณเท่าไร จะใช้ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ ร่วมกับการลงทุนจากภาคเอกชน เพื่อบริหารงบประมาณให้ได้ วันจันทร์ที่จะถึงนี้ (12 มิย.) จะเดินทางไปกระทรวงคมนาคม เพื่อติดตามงานและฝากเรื่องนี้ให้นายอาคม รมว.นำไปพิจารณา" นายสมคิดกล่าว

นายสมคิด ได้กล่าวกับนายชินโช อาเบะ ด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ขอเชิญให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เดินทางไปเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ตามวันเวลาที่เหมาะสม ซึ่งในระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน นั้นกระทรวง METI ของญี่ปุ่นจะนำคณะนักลงทุนขนาดใหญ่และนักธุรกิจเอสเอ็มอี. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศญี่ปุ่น (JETRO) และสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) ไปจัดสัมมนาและลงพื้นที่ EEC ด้วย

ในช่วงเช้าวันที่ 7 มิถุนายน นายสมคิด ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในสัมมนา Thailand towards Asian Hub ซึ่งเจโทร JETRO จัดร่วมกับบีโอไอ. เพื่อโรดโชว์แผนการลงทุนในพื้นที่ EEC มีนักธุรกิจญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้าร่วมฟังกว่า 1,000 คน
นายสมคิดกล่าวตอนหนึ่งว่า "ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไทยได้เปลี่ยนวิกฤติการณ์ทางการเมืองให้เป็นโอกาสแห่งการปฏิรูปประเทศ ไม่ว่าจะในภาคเศรษฐกิจหรือในภาครัฐ ในภาคเศรษฐกิจ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่หยุดนิ่งมานานได้รับการผลักดันในแทบทุกด้าน ด้วยโครงการลงทุนกว่า 43 พันล้านเหรียญสหรัฐใน 5 ปีข้างหน้า ทั้งในด้านบริหารจัดการน้ำ ด้านพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคม และการสื่อสาร ไม่ว่าถนน รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ สนามบิน ท่าเรือ การพลังงาน การลงทุนด้านดิจิทัล"

นายสมคิดกล่าวด้วยว่า "เส้นทางรถไฟฟ้า 3 เส้นเริ่มต้นแล้วในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา และจะตามมาด้วยเส้นทางรถไฟรางคู่ 6 สาย ที่จะเกื้อกูลต่อระบบ logistic ของประเทศ ซึ่งจะประมูลประกวดราคาและจัดซื้อจัดจ้างใน 3 เดือนข้างหน้า"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44792
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/06/2017 4:59 am    Post subject: Reply with quote

สมคิดเสนอใช้มาตรา44 แก้ปมรถไฟไทย-จีน
โพสต์ทูเดย์ 07 มิถุนายน 2560 เวลา 12:36 น.

"สมคิด" จ่อชงบิ๊กตู่ใช้ ม.44 เคลียร์ปัญหารถไฟไทย-จีน เดินหน้าเร็ว เชื่อปีนี้จีดีพีสูงกว่า 3.5% ลุ้นส่งออก 8%

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จะเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อออกคำสั่งแก้ไขปัญหาให้โครงการรถไฟไทย-จีนเดินหน้าเร็วขึ้น และจะนำไปหารือกับจีนในการประชุมระดับผู้นำในกลุ่ม BRIC ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ที่ประเทศจีนในเดือน ก.ย.นี้

สำหรับการดูแลเศรษฐกิจนั้น เชื่อว่าปีนี้จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ไม่น้อยกว่า 3.5% หรือสูงกว่า โดยเฉพาะในส่วนของการส่งออกนั้น มั่นใจว่าขยับขึ้นได้ถึง 8% ส่วนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากที่กระทรวงการคลังกำลังดำเนินการเติมเงินให้ผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะผู้ปกครองและผู้ที่ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ได้เสนอให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดโครงการรถไฟไทย-จีน ว่าจะต้องใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 แก้ปัญหาด้านใดบ้าง ส่วนปัญหาเรื่องวิศวกรที่ต้องผ่านมาตรฐานของไทยนั้น ได้หารือร่วมกับสภาวิศวกรและสภาสถาปนิกไทยเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคกับโครงการแล้ว และกำลังจัดทำรายละเอียดทั้งหมดเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และลงนามในสัญญาที่ 1 เรื่องการออกแบบให้ได้ในเดือน ก.ค.นี้ ส่วนความคืบหน้าเรื่องรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ยังอยู่ระหว่างการศึกษา

นอกจากนี้ ระหว่างการเยือนญี่ปุ่นวันที่ 4-8 มิ.ย. นายสมคิดได้ชักชวนให้ฮิตาชิเข้ามาลงทุนผลิตตู้รถไฟในไทย โดยฮิตาชิมีสัญญาผลิตรถตู้ให้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง 130 ตู้ แต่หากจะลงทุนต้องมีกำลังการผลิตถึง 1,000 ตู้ อย่างไรก็ตาม ฮิตาชิจะส่งทีมเข้ามาสำรวจพื้นที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2017 1:37 pm    Post subject: Reply with quote

สร้างไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน
เดลินิวส์
ศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2560 เวลา 13.00 น.

"สมคิด"บุกคมนาคม 12 มิ.ย.นี้ สนข.รอเคลียร์ชัดแนวคิดเชื่อมรถไฟอีอีซีถึงอยุธยา
เผยผลศึกษาไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ-ระยองเสร็จแล้ว ขยายเพิ่มเส้นทางเชื่อม 3 สนามบิน
เดิมสิ้นสุดที่สถานีกลางบางซื่อ เป็นสถานีดอนเมือง

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)
เปิดเผยถึงกรณีที่ญี่ปุ่นเสนอผ่านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้ไทยขยายเส้นทางรถไฟจากระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ไปสิ้นสุดที่สถานีอยุธยา เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นว่า

ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนว่าแนวคิดดังกล่าวต้องการให้เชื่อมต่อรูปแบบใด
จะเป็นรถไฟธรรมดาเส้นเดิม เส้นใหม่ หรือรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง หากเป็นรถไฟความเร็วสูงเส้นกรุงเทพฯ-ระยอง ก็ต้องดูด้วยว่ากลุ่มลูกค้าจะเป็นกลุ่มใดและซ้อนทับกับรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ หรือกรุงเทพฯ-หนองคาย หรือไม่

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ผลการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงเส้น ทางกรุงเทพฯ-ระยอง ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ทาง รฟท. กำลังพิจารณารายละเอียด เตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการให้เอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี)

เนื่องจากนโยบายกำหนดให้รวมรถไฟความเร็วสูงเส้นทางดังกล่าวและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์ ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-ดอนเมืองเข้าสู่ขั้นตอนของพีพีพีไปพร้อมกัน สำหรับรูปแบบของรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยองนั้น ได้ขยายเส้นทางเพิ่มขึ้นจากเดิมสิ้นสุดที่สถานีกลางบางซื่อ
ให้ไปสิ้นสุดที่สถานีดอนเมือง เพื่อเชื่อม 3 สนามบินเข้าด้วยกัน คือ สนามบินอู่ตะเภา สุวรรณภูมิ และดอนเมือง

ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์จะเป็นการก่อสร้างส่วนต่อขยายจากพญาไท-ดอนเมือง
เพื่อให้ขบวนรถที่วิ่งให้บริการอยู่ในปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อจากสนามบินสุวรรณภูมิไปถึงดอนเมืองได้

นายชัยวัฒน์ กล่าวด้วยว่า แนวคิดที่ให้ขยายเส้นทางรถไฟอีอีซีไปถึงอยุธยา อาจเป็นไปได้ว่าต้องการอำนวยความสะดวกคนที่เดินทางไปเที่ยวภาคตะวันออกแล้วต้องการจะไปเที่ยวที่อยุธยา
แต่ก็ต้องแสดงว่านักท่องเที่ยวมากพอสมควรที่จะใช้รถไฟความเร็วสูงแบบไม่ขาดทุนด้วย

ขณะเดียวกันอาจต้องออกแบบการท่องเที่ยวของจังหวัดอยุธยาด้วยหรือไม่ เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีการเดินทางในระดับ 1 แสนคน และเมื่อไปถึงอยุธยาแล้วจะไปไหนต่อ ขณะเดียวกันอาจต้องการจะให้เชื่อมต่อกับนิคมอุตสาหกรรมที่อยุธยาด้วยหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องนำมาพิจารณา และหารือในรายละเอียดทั้งหมด

ด้านนายพิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดเรื่องดังกล่าว แต่เบื้องต้นทราบว่าเป็นแนวคิดของทางญี่ปุ่นที่เสนอให้ขยายรถไฟความเร็วสูง เส้นกรุงเทพฯ-ระยอง ไปถึงอยุธยา

ซึ่งเรื่องนี้คงต้องเป็นระดับผู้นำประเทศของทั้ง 2 ฝ่ายที่ต้องหารือกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อไป ทั้งนี้ในวันที่ 12 มิ.ย.นี้

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะมาเยี่ยมกระทรวงคมนาคมก็จะสอบถามเรื่องดังกล่าวกับนายสมคิดด้วย

//---------


ลุยรถไฟสายใหม่ญี่ปุ่นขอทำสาย'ดอนเมือง-อยุธยา'
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า --
เสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2560 00:00:14 น.

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐรมว.คมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา "โอกาสลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในเมกะโปรเจกท์ภาครัฐ" ในหัวข้อ "2560 โครงข่ายคมนาคมฟื้นตลาดอสังหาริมทรัพย์" ว่า โครงการที่เตรียมจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในช่วงครึ่งปีหลังได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-ตลิ่งชัน, โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ, โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อขยายช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4, โครงการรถไฟฟาสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงคูคต-ลำลูกกา และช่วงสมุทรปราการ-บางปู รวมถึงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์เชื่อมต่อท่าอากาศยานดอนเมือง



นอกจากนี้ด้านนักลงทุนต่างประเทศนั้น ทางญี่ปุ่นต้องการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงจากท่าอากาศยานบินดอนเมืองไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย ทางฝ่ายไทยก็พร้อมรับไว้พิจารณาแต่จะต้องรอผลการศึกษาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 ท่าอากาศยานหลักก่อน ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา ล่าสุดนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ต้องการให้ใช้มาตรา 44 โดยเฉพาะในขั้นตอนการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมกับวิศวกรจีนนั้น ขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคมได้หารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีแล้วในการเร่งรัดเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว และขอเวลาในการพิจารณาอีกระยะหนึ่ง

รมว.คมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) ครั้งที่ 2 จะมีการรายงานในประเด็น ดังกล่าว และสาเหตุที่ทางญี่ปุ่นเลือกให้ทำเส้นทาง เพิ่มเติมนั้นเนื่องจากบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) และจังหวัดนครราชสีมามีนักลงทุน ญี่ปุ่นจำนวนมาก

ที่โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ วันเดียวกัน นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้กล่าวเปิดการสัมมนา "การพัฒนาเมืองศูนย์การบิน โอกาสทางเศรษฐกิจและธุรกิจ"

นายคณิศ กล่าวว่า ภายในระยะเวลา 5 ปี คือปี 2565 รัฐบาลตั้งเป้าหมายพัฒนาสนามบิน อู่ตะเภา ให้เป็นเมืองแห่งการบิน และเป็น ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 3 ของประเทศ โดยมีเป้าหมายจะเพิ่มจำนวนผู้โดยสารเป็น 15 ล้านคน ในระยะ 5 ปี ซึ่งเฟสแรกจะพัฒนาเป็นแอร์พอร์ต ซิตี้ มีอาคารผู้โดยสาร ทางวิ่ง(รันเวย์) และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบิน เช่น อุตสาหกรรมการซ่อมอากาศยาน ซึ่งกำลังหารือร่วมกับ แอร์บัส และโบอิ้ง ให้เข้ามาร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมดังกล่าว และที่สำคัญจะต้องเกิดโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) เพื่อเข้ามาเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ และเพื่อเพิ่มศักยภาพให้สนามบินอู่ตะเภา เพื่อรับนโยบายการพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ส่วนเฟสที่สอง รัฐบาลมีเป้าหมายพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้ใหญ่ขึ้นเป็นมหานครการบินใน ปี 2570 หรือ 10 ปีข้างหน้า และจะเพิ่มจำนวนเป็น 30 ล้านคนในระยะเวลา 10 ปี และ 60 ล้านคนในระยะ เวลา 15 ปี หรือปี 2575 โดยจะยกระดับสนามบินอู่ตะเภาให้ใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางคมนาคมโลจิสติกส์ ผนวกเข้ากับการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลเชิญนายจอห์น ดี คาซาร์ดา (John D. kasarda) ผู้อำนวยการศูนย์ การศึกษาด้านการบินพาณิชย์แห่งมหาวิทยาลัย นอร์ท แคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นผู้นำในการพัฒนาแนวคิดเมืองการบิน มาร่วมพัฒนาสนามบิน อู่ตะเภาให้เป็นมหานครการบินด้วย


Last edited by Wisarut on 12/06/2017 2:48 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44792
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/06/2017 9:34 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมลุยไฮสปีดเทรน
เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2560 เวลา 20.00 น.

คมนาคมเผยรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยองคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเชื่อมต่ออีอีอีซี คาดญี่ปุ่นส่งรายงานผลการศึกษาเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่มิ.ย.นี้

นายพิชิต อัคราทิตย์   รมช.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีญี่ปุ่นเสนอให้ขยายรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จากเดิมจะสิ้นสุดที่ดอนเมือง เพื่อเชื่อมต่อ 3 สนามบิน คือ อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ และดอนเมือง เป็นการขยายต่อไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี) กับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า  เป็นข้อเสนอแนะของญี่ปุ่น ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินการตามที่ญี่ปุ่นเสนอหรือไม่ หรือหากดำเนินการจะดำเนินการในรูปแบบไหน เนื่องจากปัจจุบันมีรถไฟความเร็วสูงที่ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่แล้ว คือ รถไฟความเร็วสูงภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ และรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย

นอกจากนี้เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ไปถึงพระนครศรีอยุธยาจะทับซ้อนกับรถไฟไทย-ญี่ปุ่น และรถไฟไทย-จีน  แต่จะมีแนวทางดำเนินการอย่างไรคงต้องรอความชัดเจนจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจจะเป็นผู้พิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง 

 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ  รมว.คมนาคม กล่าวว่า  ญี่ปุ่นสนใจจะศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อเชื่อมต่อไปจนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเพราะเชื่อมต่อกับอีอีซี ส่วนรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น ระยะทาง 673  กม. วงเงินลงทุน 550,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดและโครงการขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงการ
 
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กล่าวว่า  ญี่ปุ่นได้ศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่แล้วพบว่า ไม่ความคุ้มค่าเท่าเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ถึงแม้จะลดระยะทางลงมาเหลือเพียงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก็ตาม ดังนั้นจึงเสนอให้ขยายเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองไปถึงพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีธุรกิจของญี่ปุ่นอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เชื่อมโยงกับพื้นที่อีอีซีที่มีโรงงานของญี่ปุ่นอยู่เป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ในเดือนมิ.ย.นี้ จะครบกำหนดญี่ปุ่นส่งรายงานผลการศึกษารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ที่สมบูรณ์ให้ไทย ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าจะเสนอผลการศึกษาเรื่องความไม่คุ้มค่าของเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และมีข้อเสนอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแสดงความสนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ญี่ปุ่นจะเสนอผลการศึกษาออกมาในรูปแบบใด ทางกระทรวงคมนาคมจะยังเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ตามแผนงานที่กำหนดต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 12/06/2017 12:44 am    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นเล็งเบนเข็มลงทุนไฮสปีดกทม.-ระยอง ต่อขยายอยุธยา หลังผลการศึกษาเส้นกทม.-เชียงใหม่ไม่คุ้ม
ข่าวสด
วันที่ 9 มิถุนายน 2560 - 19:42 น.

นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีญี่ปุ่นเสนอให้ไทยขยายรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จากเดิมจะสิ้นสุดที่ดอนเมือง เพื่อเชื่อมต่อ 3 สนามบินเข้าด้วยกัน คือ อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ และดอนเมือง โดยขอให้ขยายต่อไปถึงอยุธยา เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) กับอยุธยา ว่า เป็นข้อเสนอญี่ปุ่น ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินการตามข้อเสนอหรือไม่ หรือหากจะดำเนินการจะดำเนินการในรูปแบบไหน เนื่องจากปัจจุบันมีรถไฟความเร็วสูงที่ผ่านอยุธยาอยู่แล้ว คือ รถไฟความเร็วสูงภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ และรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากขยายรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ไปถึงอยุธยาจะทับซ้อนกับรถไฟไทย-ญี่ปุ่น และรถไฟไทย-จีน หรือไม่ นายพิชิตกล่าวว่าหากพิจารณาตามแนวเส้นทางก็คงทับซ้อนกัน แต่จะมีแนวทางดำเนินการอย่างไรคงต้องรอความชัดเจนจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจจะเป็นผู้พิจารณา

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นแนวคิดของทางญี่ปุ่นที่แสดงความสนใจจะศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อเชื่อมต่อไปจนถึงอยุธยา เนื่องจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่ารถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเพราะเชื่อมต่อกับอีอีซี ส่วนรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น ระยะทาง 673 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 5.5 แสนล้านบาท ทางญี่ปุ่นก็อยู่ระหว่างศึกษาและเดินหน้าต่อไป ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด


รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า สาเหตุที่ญี่ปุ่นเสนอให้ขยายรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ต่อไปถึงอยุธยา อาจจะเป็นไปได้ว่าทางญี่ปุ่นได้ศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่แล้วพบว่า ไม่ความคุ้มค่ากับการลงทุนเท่ากับเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ถึงแม้จะลดระยะทางลงมาเหลือเพียงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก็ตาม ดังนั้นจึงเสนอให้ขยายเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองไปถึงอยุธยา ซึ่งมีธุรกิจของญี่ปุ่นอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เชื่อมโยงกับพื้นที่อีอีซีที่มีโรงงานของญี่ปุ่นอยู่มากเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ ในเดือนมิ.ย. ญี่ปุ่นส่งรายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ฉบับสมบูรณ์ให้ไทยพิจารณา ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าจะเสนอผลการศึกษาเรื่องความไม่คุ้มค่าของเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และมีข้อเสนอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแสดงความสนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองเข้ามาด้วย

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ญี่ปุ่นจะเสนอผลการศึกษาออกมาในรูปแบบใด ทางกระทรวงคมนาคมจะยังเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ตามแผนงานที่กำหนดต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 12/06/2017 12:47 am    Post subject: Reply with quote

แจงปม "ไฮสปีดเทรน" อย่าเพิ่งด่วนสรุปรางทับซ้อน เหตุยังไม่มีผลการศึกษา
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
10 มิถุนายน 2560 เวลา 18:22:46 น.


จากกรณีที่รัฐบาลญี่ปุ่นเสนอให้ขยายรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จากเดิมจะสิ้นสุดที่ดอนเมือง เพื่อเชื่อมต่อ 3 สนามบินเข้าด้วยกัน คือ อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ และดอนเมือง โดยขอให้ขยายต่อไปถึงพระนครศรีอยุธยาเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) กับพระนครศรีอยุธยานั้น แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เรื่องดังกล่าวยังเป็นเพียงข้อเสนอแนะจากทางญี่ปุ่นเท่านั้น และกระทรวงก็ยังไม่เคยได้มีการศึกษาเรื่องนี้แต่อย่างไร คงต้องมีการหารือกับทางญี่ปุ่นอีกครั้งก่อนว่า มีแนวคิดอย่างไร จะดำเนินการเชื่อมต่อเส้นทางอย่างไร หลังจากนั้นจะมีการศึกษารวมกันอย่างไร เพื่อที่ได้ตกผลึกโครงการก่อสร้างและเดินรถในเส้นทางดังกล่าว ดังนั้นขณะนี้จึงยังไม่สามารถให้คำตอบได้ทั้งสิ้นว่า การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นในทิศทางใด จะทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ผ่านพระนครศรีอยุธยาอยู่แล้ว ทั้งรถไฟความเร็วสูงภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ และรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคายหรือไม่


"แนวคิดดังกล่าว ยังเป็นเพียงการพูดคุยเบื้องต้นระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่น กับรัฐบาลไทยเท่านั้น ยังไม่ได้มีการศึกษาเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด คงต้องมีการนัดหารือกันอีกระหว่างทางญี่ปุ่นกับฝ่ายไทยเพื่อที่จะลงรายละเอียด ดังนั้นขณะนี้ การจะทับซ้อนเส้นทางที่จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ อย่างเพิ่งรีบด่วนสรุป" แหล่งข่าวกล่าว

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวคงต้องรอการศึกษาที่ตกผลึกจากกระทรวงคมนาคมก่อน จึงจะสรุปได้ว่า โครงการจะดำเนินการอย่างไร และเส้นทางจะทับซ้อนหรือไม่ เพราะขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดเป็นเพียงแนวคิดเริ่มต้นของทางญี่ปุ่นเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากทางกระทรวงคมนาคม นโยบายเป็นไปในทิศทางใด รฟท.ก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 12/06/2017 2:03 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่”ลุย! ทุบเอง”รถไฟไทย-จีน”พูดจนหน้าแหก 3 ปี ไม่เกิดสักที ลั่นต้องเกิดปี60(คลิป)
มติชน
วันที่ 9 มิถุนายน 2560 - 12:26 น.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงสรุปการชี้แจงงบประมาณรายจ่ายปี 2561 ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ตอนหนึ่งถึงเรื่องการสร้างรถไฟฟ้าไทย-จีน เห็นว่ามีความสำคัญเพราะวันนี้จีนสร้างเชื่อมโยงกับหลายประเทศแล้ว ขณะที่สปป. ลาวก็สร้างแล้ว ตอนนี้ไทยช้ามา 3 ปี ติดขัดปัญหาหลายอย่าง “ผมพูดจนหน้าแหกไปหลายรอบแล้ว ทำไม่ได้สักที ผมจะทุบสักทีรถไฟไทยจีน ต้องทำให้เกิดภายในปีนี้ ถ้ารถไฟไม่เกิดคนทำก็ไม่ได้เกิด” ขอให้คำนึงว่า รถไฟมีทั้งขาไปและขากลับ ไม่ได้ขนของมาขายในประเทศอย่างเดียวแต่เราก็ได้ส่งออกด้วย จึงอยากขอสนช. มองเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ด้วย และสนับสนุนให้ช่วยผ่านกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ไม่เช่นนั้น ตนอาจต้องทำเรื่องนี้ให้สำเร็จลุล่วงเสียที


นายกรัฐมนตรี กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า หากตนยังอยู่ในตำแหน่ง ปีหน้าการจัดทำงบประมาณจะต้องเข้มข้นกว่านี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 12/06/2017 2:24 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สมคิดเสนอใช้มาตรา44 แก้ปมรถไฟไทย-จีน
โพสต์ทูเดย์ 07 มิถุนายน 2560 เวลา 12:36 น.


เตรียมเสนอใช้ ม.44 แก้รถไฟไทย-จีน
TNN News
12 มิถุนายน 2560 เวลา 13.55 น. 531
"สมคิด"เผยคมนาคมเตรียมเสนอใช้ ม.44 แก้รถไฟไทย-จีน พร้อมเร่งศึกษาเชื่อมต่อรถไฟกรุงเทพ-ระยองกับแอร์พอร์ตลิงค์

วันนี้ (12มิ.ย. 60) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังหารือกับนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมในการเดินทางมาตรวจเยี่ยมและติดตามความคืบหน้าโครงการสำคัญด้านต่าง ๆ ว่า จากการรับฟังความคืบหน้าโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) มีโครงการที่ถูดจัดวางให้ดำเนินการก่อน คือ โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-ระยอง เพื่อให้สามารถเปิดประมูลภายในปีนี้ให้ได้

นายสมคิด กล่าวว่า ประเทศไทยมี Ranking (อันดับความสามารถ)ที่ดีขึ้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่ามาจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานก็คือคมนาคม ถ้าภาพโครงสร้างพื้นฐานทำได้ตามแผนตามเป้าทุกอย่าง ปีหน้าจะดีขึ้นกว่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เริ่มมีการประมูลออกมากในปีนี้ทุกโครงการเป็นไปได้ด้วยดี

นายสมคิด กล่าวว่า ญี่ปุ่นให้ความสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-ระยอง และยังเสนอให้เชื่อมต่อไปถึง จ.พระนครศรีอยุธยา เพราะฐานการผลิตญี่ปุ่นอยุ่ในอยุธยาจำนวนมาก โดยทางญี่ปุ่นจะหารือกับกระทรวงคมนาคมเพื่อทำการศึกษาเส้นทางดังกล่าวเพิ่มเติม

ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ ขณะนี้คืบหน้าได้ดีมาก โดยทางการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้เริ่มงานประมุลโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางได้ครบภายในเดือน ก.ย. โดย 3 เส้นทางคือ ช่วงนครปฐม-หัวหิน, ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร จะสามารถดำเนินการประมูลในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. และอีก 2 เส้นทาง คือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางจิระ และ เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ ที่มีงานอุโมงค์ และ สะพานยกระดับและวางราง กำลังอยู่ระหว่างออกทีโออาร์ คาดว่าก.ย.น่าจะดำเนินการประมูลได้

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-เชียงใหม่ เป็นเส้นทางที่ทางญี่ปุ่นสนใจจะลงทุน ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น แต่ทางญี่ปุ่นต้องการความแน่นอน จึงยังอยู่ในขั้นตอนศึกษา ตามสไตล์ของญี่ปุ่นที่ต้องการ โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เส้นนี้วัดด้วยจำนวนผู้โดยสารอย่างเดียวไม่ได้ แต่ดูในภาพรวมเศรษฐกิจด้วย

ขณะที่ความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน (เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา) นั้น ทางกระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันพรุ่งนี้ เพื่อขอให้ใช้คำสั่งตามมาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้

ด้านนายอาคม กล่าวว่า ทางกระทรวงคมนาคมจะนำเสนอโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางใหม่ 9 เส้นทาง โดยในเดือน มิ.ย.นี้จะเสนอให้ ครม.พิจารณา 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และ ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ส่วนอีก 7 เส้นทาง จะนำเสนอภายใน ก.ค.นี้ ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วง กรุงเทพ-หัวหิน อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการ PPP ที่กลับมาให้ทำ Market Sounding จากนั้นเตรียมส่งต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และเมื่อพิจารณาเสร็จจะเสนอกลับมายังคณะกรรมการ PPP อีกครั้ง

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-ระยอง ได้ดำเนินการส่วนต่อขยายของเส้นทางนี้ คือ รถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่เชื่อมต่อ 3 สนามบิน คือ อู่ตะเภา-สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง ซึ่งแต่เดิมแยกออกจากโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-ระยอง โดยกระทรวงคมนาคมได้ให้ รฟท.ศึกษาส่วนต่อขยายดังกล่าว ภายใน 3 เดือน หรือเสนอมาภายใน ส.ค.นี้ เพื่อจะนำไปพิจารณารายละเอียด จึงจะออกร่างทีโออาร์ทั้งโครงการที่จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP ให้ได้ภายในปีนี้

เล็งชงใช้ม.44แก้ปัญหาไฮสปีดเทรน
ไทยโพสต์
12 มิถุนายน 2560 เวลา 2017 - 00:00

"อาคม" เล็งชงนายกใช้ ม.44 แก้ปัญหามาตรฐานวิศวกรโครงการรถไฟไทย-จีนที่ติดขัดกัน ยอมรับมีข้อติดขัดหลายด้าน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รวม.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าความร่วมมือไทย-จีน ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ว่าจะหารือรายละเอียดกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ถึงปัญหาเรื่องวิศวกรและสถาปนิกที่ต้องผ่านมาตรฐานของไทยร่วมถึงหารือกับสภาวิศวกรและสภาสถาปนิกไทยให้ดำเนินการเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้ใช้มาตรา 44 เร่งรัดการดำเนินการโครงการรถไฟไทย-จีน ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมได้ เสนอให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ตรวจสอบในรายละเอียดทั้งหมดของโครงการรถไฟไทย-จีน เพื่อดูว่าจะต้องใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 เพื่อแก้ไขปัญหาในด้านใดบ้าง

ส่วนปัญหาเรื่องวิศวกรที่ต้องผ่านมาตรฐานของไทยนั้น ขณะนี้ได้หารือร่วมกับสภาวิศวกรและสภาสถาปนิกไทย เพื่อที่จะดำเนินการเรื่องนี้ไม่ให้เป็นอุปสรรคกับโครงการ

"ยอมรับว่าตามกฎหมายแล้วโครงการรถไฟไทย-จีนมีข้อติดขัดในหลายด้าน จึงจำเป็นต้องขอให้นายกรับมนตรีใช้อำนาจพิเศษ ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น สำหรับความคืบหน้าปัจจุบันอยู่ระหว่างกำลังจัดทำในรายละเอียดทั้งหมดเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเพื่อให้ไทยสามารถลงนามในสัญญาที่ 1 ในเรื่องของการออกแบบให้ได้ภายในเดือน ก.ค.นี้.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 12/06/2017 5:44 pm    Post subject: Reply with quote

‘สมคิด’ยันไม่ล้มไฮสปีดกทม.-เชียงใหม่ สั่งอาคมถกญี่ปุ่นขยายเส้นกทม.-ระยองถึงอยุธยา
ข่าวสด
วันที่ 12 มิถุนายน 2560 - 16:44 น.



นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายที่กระทรวงคมนาคม ว่า ได้ขอบคุณกระทรวงคมนาคมผลักดันโครงการก่อสร้างด้านโครงสร้างพื้นฐานคืบหน้ามากเป็นไปตามแผนงานและยังเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมาย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ดัชนีความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในปีนี้ ปรับอันดับขึ้นจาก 28 เป็น 27 จากการจัดอันดับของ ไอเอ็มดี (International Institute for Management Development: IMD) เชื่อว่าภายในอีก 1 ปีข้างหน้าอันดับของไทยจะปรับดีขึ้นอีก

โดยปีนี้ต้องการให้เน้นโครงการก่อสร้างภายใต้โครงการอีอีซีให้เดินหน้าได้ปีนี้ โดยจะมีการเปิดประมูล รถไฟความเร็วสูง เส้นทางกทม.-ระยอง และ ไอซีดีลาดกระบัง ส่วน รถไฟทางคู่ 5 เส้นทางที่ชะลอก่อนหน้านี้จะเปิดประมูลได้ทั้งหมดเดือนก.ย.

ส่วนกรณีที่รัฐบาลญี่ปุ่นเสนอให้ไทย ขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กทม.-ระยอง ซึ่งเชื่อมต่อ 3 สนามบิน ให้ต่อไปจนถึงอยุธยา จากเดิมสิ้นสุด กทม .ว่า เพราะญี่ปุ่นมีโรงงานของผู้ประกอบการญี่ปุ่นอยู่เป็นจำนวนมากที่ภาคตะวันออกและอยุธยา จึงต้องการให้การเดินทางเชื่อมต่อกัน ซึ่งมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปหารือในรายละเอียดกับญี่ปุ่นต่อว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร

นายสมคิดกล่าวต่อว่า สำหรับรถไฟความเร็วสูงไทย-ญีปุ่น เส้นทางกทม.-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือของรัฐบาลไทยและญี่ปุ่นนั้น ยังเดินหน้าตามเดิม ไม้ได้ยกเลิก เป็นเส้นทางที่ดี เพราะหากไม่ดี ญี่ปุ่นคงจะไม่เสนอตัวเข้ามาทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการให้ไทย ส่วนประเด็นเรื่องความคุ้มค่านั้น ต้องการให้มองที่ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจภาพรวมมากกว่า ผลตอบแทนทางด้านการเงินเพียงอย่างเดียว เพราะเส้นทาวดังกล่าวจะเป็นการช่วยพัฒนาเมือง โดยรอบด้วย อย่ามองแค่จำนวนผู้โดยสารเท่านั้น

ส่วนบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ต้องการให้เร่งรัดการพัฒนาสนามบินโดยเร็ว และสำหรับโครงการทางถนน ได้ขอให้กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทซึ่งรับผิดชอบสร้างถนน พิจารณาเรื่องถนนที่จะรองรับไปยังแหล่งท่องเที่ยวด้วย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศด้วย รวมไปถึงให้มีการเร่งพัฒนาที่พักริมทางขนาดใหญ่เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวด้วย

นายอาคม กล่าวว่าถึงกรณีที่ประเทศญี่ปุ่นเสนอให้ขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 ท่าอากาศยาน คือท่าอากาศยานดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาไปจนถึง จ.อยุธยานั้น เบื้องต้นประเด็นนี้ยังเป็นเพียงข้อเสนอ โดยตอนนี้กระทรวงยังเดินหน้าด้วยแผนเดิม คือ ให้ญี่ปุ่นศึกษารถไฟความเร็ว ช่วงกทม.-พิษณุโลก-เชียงใหม่ และให้ รฟท. ศึกษารถไฟความเร็วสูงกทม.-พัทยา-ระยอง เชื่อม 3 ท่าอากาศยาน โดยจะเป็นแบบรัฐเอกชนร่วมลงทุน (PPP)


ด้านโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกทม.-หัวหิน ระยะทาง 211 กิโลเมตร วงเงิน 9.4 หมื่นล้านบาท จัดทำเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อประเมินความสนใจจากนักลงทุนใหม่ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เรียบร้อยแล้ว โดย รฟท. จะเสนอเรื่องกลับไปยัง สคร. และคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการพีพีพี) ตามลำดับ

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังเป้าหมายจะเสนอโครงการรถไฟทางคู่ในแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน (Action Plan) ปี 2560 (รถไฟทางคู่เฟส 2) ระยะทาง 2,217 กิโลเมตร มูลค่ารวม 3.9 แสนล้านบาทให้ ครม. เห็นชอบได้ครบทั้งหมดในเดือนมิ.ย.-ส.ค. นี้

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ตอนนี้กระทวงคมนาคมยังไม่ได้ปรับแผนโครงรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น และรถไฟความเร็วสูงกทม.-พัทยา-ระยอง เชื่อม 3 ท่าอากาศยาน

นอกจากนี้ คาดว่าจะมีการรวมโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เข้ารถไฟฟ้าความเร็วสูง กทม.-พัทยา-ระยอง เพื่อเปิดประมูลแบบ PPP พร้อมกัน ขณะเดียวกัน รฟท. ต้องหาข้อสรุปว่า จะดำเนินการอย่างไรกับบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บริษัทลูกของ รฟท. และผู้บริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ไปบริหารจัดการรถไฟฟ้าสายสีแดงแทน

ขณะเดียวกันยืนยันว่าจะไม่มีการยกเลิกโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง มักกะสัน-หัวหมาก ระยะทาง 10 กิโลเมตร ซึ่งวิ่งคู่ขนานกับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เนื่องจากเป้าหมายโครงการแตกต่างกัน


Last edited by Wisarut on 13/06/2017 11:08 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 210, 211, 212 ... 548, 549, 550  Next
Page 211 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©