RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311322
ทั่วไป:13284013
ทั้งหมด:13595335
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 218, 219, 220 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44778
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2017 8:26 pm    Post subject: Reply with quote

ก.สิ่งแวดล้อมไฟเขียวรถไฟความเร็งสูงกทม.-เชียงใหม่
โพสต์ทูเดย์ 06 กรกฎาคม 2560 เวลา 19:47 น.

ก.สิ่งแวดล้อมฯ ไฟเขียวอีไอเอรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 เตรียมเสนอครม.เพื่อประกอบการพิจารณาตามขั้นตอน

เมื่อวันที่ 6 ก.ค.60 นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพ-พิษณุโลก (ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพ-พิษณุโลก) ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อเสนอของคณะกรรมการชำนาญการ (คชก.) ในรายงานดังกล่าว พร้อมทั้งให้มีการตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามแผนที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งนำความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม เสนอต่อ ครม.เพื่อประกอบการพิจารณาตามมาตรา 47 ของ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพ-พิษณุโลก มีเส้นทางบางส่วนตัดผ่านเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจึงมอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการฯ ประสานกับที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดและสถานีวิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด กรมอุทยานฯ ตรวจสอบผลกระทบที่อาจมีต่อชนิดและความหลากหลายของสัตว์ป่าและแหล่งวางไข่ของนกในพื้นที่ทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งตรวจสอบระบบนิเวศทางน้ำ จำนวน 12 สถานี ปีละ 2 ครั้ง ตลอดระยะเวลาก่อสร้าง และทุก 6 เดือน ต่อเนื่องกันใน 3 ปีแรก จากนั้นตรวจสอบทุก 3 ปีในระยะดำเนินการ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2017 10:16 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ก.สิ่งแวดล้อมไฟเขียวรถไฟความเร็งสูงกทม.-เชียงใหม่
โพสต์ทูเดย์ 06 กรกฎาคม 2560 เวลา 19:47 น.



บอร์ดสิ่งแวดล้อมฯ ไฟเขียวอีไอเอรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ให้กรมอุทยานฯตรวจไข่นกทุก 1 เดือน
มติชน
วันที่ 6 กรกฎาคม 2560 - 18:13 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2017 10:42 am    Post subject: Reply with quote

เปิดผลการศึกษารถไฟไทย-จีน “เจ๊ง” ลูกเดียว!
โดย MGR Online

7 กรกฎาคม 2560 00:49 น.

ตะลึงผลการศึกษาโครงการรถไฟไทย-จีน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ชี้ชัด ๆ ทั้งโครงการใช้งบลงทุนอยู่ที่ 279,413 ล้านบาท มีผลตอบแทน หรือ IRR อยู่ที่ร้อยละ 2.56 ขณะที่ผลตอบแทนด้านการเงิน FIRR ระยะเวลา 35 ปี ไม่สามารถประเมินได้ แต่ที่น่าตกใจ NPV ติดลบ 220,197 ล้านบาท ด้านสภาพัฒน์ กำหนดหลักเกณฑ์โครงการที่จะอนุมัติให้ลงทุน IRR ต้องร้อยละ 12 แต่โครงการนี้ผ่านได้ แจงรถไฟสายนี้ผ่าน EIA ฉลุย และใช้บรรทุกผู้โดยสารเท่านั้น ส่วนจำนวนผู้โดยสารปี 2564 อยู่ที่ 5,310 เที่ยว-คน/วัน และในปี 2594 จะเพิ่มเป็น 26,830 ด้านนักลงทุนบอกถ้าเป็นธุรกิจเอกชนผลตอบแทนแบบนี้ต้องล้มเลิกโครงการไปแล้ว!

เปิดผลการศึกษารถไฟไทย-จีน “เจ๊ง” ลูกเดียว!
มาตรา 44 ส่งผลให้โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กิโลเมตรผ่านฉลุย ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าประเทศไทยอยู่ในฐานะเสียเปรียบประเทศจีน ที่สำคัญเส้นทางสายนี้รัฐบาลต้องแบกภาระการขาดทุนไปอีก 35 ปีก็ยังหาจุดคุ้มทุนไม่เจอ

แต่ในทางปฏิบัติโครงการรถไฟไทย-จีน ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือบอร์ด สศช.ไปแล้ว เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งตามระเบียบที่กำหนดไว้ว่าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ต้องเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ด สศช.ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

เปิดผลการศึกษารถไฟไทย-จีน “เจ๊ง” ลูกเดียว!
อย่างไรก็ดีผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการขนส่ง ระบุถึงเอกสารที่กระทรวงคมนาคมนำเสนอผลการศึกษาเส้นทางรถไฟสายนี้พบว่า EIRR ซึ่งหมายถึงผลตอบแทนในการลงทุนส่วนของรถไฟจะอยู่ที่ร้อยละ 0 ขณะที่ผลตอบแทนโครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีที่ระบุไว้ 6 สถานี ประกอบด้วย บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่องและนครราชสีมา ร้อยละ 8 รวมทั้ง 2 โครงการจะมีผลตอบแทนร้อยละ 2.56 ขณะที่ใช้งบในการลงทุนรวม 279,413 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการรถไฟ จำนวน 179,413 ล้านบาท ส่วนงบในการพัฒนารอบสถานีอยู่ที่ 100,000 ล้านบาท

อีกทั้งผลการศึกษามีการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารซึ่งจะมีการเปิดให้บริการในปี 2564 เป็นปีแรกอยู่ที่ 5,310 เที่ยว-คน/วัน ในปี 2574 จะเพิ่มเป็น 16,620 และในปี 2594 จะเพิ่มเป็น 26,830

เปิดผลการศึกษารถไฟไทย-จีน “เจ๊ง” ลูกเดียว!
“ตัวเลขที่มีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เราจะเห็นว่า EIRR รวมอยู่ที่ 2.56 ซึ่งเป็นตัวเลขที่เรียกว่าเจ๊งกับเจ๊ง ที่สำคัญรถไฟขบวนนี้ใช้บรรทุกผู้โดยสารเท่านั้น ไม่มีการบรรทุกสินค้า โอกาสจะสร้างรายได้เพิ่มจากการขนส่งสินค้าจึงไม่มี และตามเงื่อนไขที่สภาพัฒน์กำหนดไว้ EIRR ต้องมากกว่า 12% แต่ผลการศึกษาไทย-จีนได้แค่ 2.56 จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องแบกรับภาระไปตลอด”

ที่น่าสนใจที่สุดจากผลการศึกษาคือผลตอบแทนภายใต้ระยะเวลาการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ 35 ปี กลับพบว่าโครงการรถไฟไทย-จีนไม่มีผลตอบแทนด้านการเงิน หรือ FIRR เนื่องจากไม่สามารถประเมินได้ ขณะที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) (อัตราส่วนลดร้อยละ 2.53) ลบ 220,197 ล้านบาท

เปิดผลการศึกษารถไฟไทย-จีน “เจ๊ง” ลูกเดียว!
ดังนั้นเมื่อโครงการนี้ผ่านความเห็นชอบจากสภาพัฒน์มาแล้วและเตรียมจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม และนายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสภาพัฒน์ ก็ต้องมีเหตุผลที่ต้องอธิบายให้ได้ว่าทำไม? จึงเห็นชอบโครงการรถไฟไทย-จีน ทั้งที่ไม่เข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในด้านการลงทุน หรือจะมีเหตุผลทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้านสังคมหรือการเมืองระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องก็ต้องมีการชี้แจงให้ละเอียดเพื่อให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการนี้ต่อไป

“ประชาชนก็จะได้เข้าใจข้อเท็จจริงว่าเหตุใดรัฐบาลต้องลงทุนโครงการรถไฟไทย-จีนทั้งที่เหตุผลด้านการลงทุนด้านการเงิน ไม่มีความคุ้มค่าแต่ประการใด”

เปิดผลการศึกษารถไฟไทย-จีน “เจ๊ง” ลูกเดียว!
แหล่งข่าวอธิบายว่า ที่ผ่านมาการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นเพียงการเข้าไปปลดล็อกปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เป็นผลให้โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่ต้องหยุดชะงักไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้สามารถดำเนินการต่อไปได้

“พูดง่าย ๆ ม.44 นำไปใช้เพื่อให้งานเดินได้ ด้วยการยกเว้นระเบียบข้อกฎหมายต่าง ๆ ทั้งกฎหมายวิศวกร สถาปนิกห้ามคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ที่เรียกกันว่า กฎหมายฮั้วประมูล แปลว่า รถไฟไทย-จีนเกิดได้เพราะ ม.44 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษเข้ามาจัดการ”

แต่การนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีซึ่งคาดว่ากระทรวงคมนาคมจะนำเสนอในวันที่ 11 กรกฎาคม เพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณซึ่งตรงนี้จะทำให้เกิดความชัดเจนว่า งบประมาณในการจัดทำโครงการนี้จะมาจากที่ไหน จะเป็นงบประมาณแผ่นดิน หรือเงินกู้ในประเทศด้วยการออกพันธบัตร หรือเงินกู้จากประเทศจีนดอกเบี้ย 2%

. “ยังมีขั้นตอนการส่งให้อัยการสูงสุดตรวจพิจารณาร่างสัญญา เป็นเรื่องที่การรถไฟได้ดำเนินการประสานและพร้อมส่งร่างสัญญาเรียบร้อยแล้ว เมื่อ ครม.อนุมัติงบประมาณมาแล้ว ทุกอย่างก็เดินหน้าต่อไปได้”

เปิดผลการศึกษารถไฟไทย-จีน “เจ๊ง” ลูกเดียว!
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้ จะแบ่งเป็น 4 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 กลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนาดจิตร ระยะทาง 11 กม. ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. ช่วงที่ 4 แก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 กม. ซึ่งการดำเนินการก่อสร้าง 3.5 กม. จะเป็นโครงการนำร่องในช่วงแรก จาก 4 ช่วง และจะดำเนินการก่อสร้างต่อเนื่องไปจนครบ 4 ช่วง รวม 253 กม.

ในการก่อสร้าง 3.5 กม.ช่วงแรกจะเป็นโครงสร้างทางระดับดิน จะลงมือก่อสร้างในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนรถที่ใช้ในโครงการ คือ CRH Series ความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม ความจุ 600 ที่นั่ง/ขบวน อัตราค่าโดยสาร 80 บาท บวก 1.8 บาท/คน/กิโลเมตร หรือประมาณ 535 บาทจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 15 ทุก ๆ 5 ปี

ขณะเดียวกันมีกระแสความห่วงใยว่า โครงการดังกล่าวไม่น่าจะดำเนินการได้เนื่องจากทางผู้ออกแบบฝ่ายจีนยังไม่ได้เข้ามาศึกษาเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพราะบางช่วงมีการก่อสร้างเข้าไปในเขตป่าสมบูรณ์ นั้น ปรากฏว่าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมช่วงสถานีชุมทางบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชีแล้ว และกำลังส่งข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของเส้นทางที่เหลือถึงสถานีนครราชสีมา

เปิดผลการศึกษารถไฟไทย-จีน “เจ๊ง” ลูกเดียว!
ถึงวันนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จึงไม่น่าจะมีอุปสรรคใด ๆ เข้ามากระตุกให้โครงการนี้ต้องล่าช้าหรือล้มเลิกได้แล้ว เพราะมีการเสนอของบประมาณการลงทุนตามแผนงานดังนี้ ค่ารื้อย้ายและเวนคืน จะใช้งบประมาณ 13,069.60 ล้านบาท ในส่วนของสัญญา 1 งานโยธา 119,163.88 ล้านบาท

แต่ในสัญญาที่ 2 วงเงิน 43,748.69 ล้านบาท ประกอบด้วย สัญญา 2.1 สัญญาการสำรวจและออกแบบรายละเอียดงานโยธา 1,824.84 ล้านบาท ที่ดำเนินการโดยวิศวกรจากจีน สัญญา 2.2 สัญญาควบคุมการก่อสร้างงานโยธา 1,649.08 ล้านบาท เป็นการจ้างฝ่ายจีนควบคุมการก่อสร้างงานโยธา

ขณะที่สัญญา 2.3 งานวางรางงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 38,558.38 ล้านบาท รวมทั้งจัดหาขบวนรถและฝึกอบรมบุคลากรที่ฝ่ายจีนเป็นผู้ดำเนินการ และค่าบริหารจัดการการก่อสร้างของฝ่ายไทยวงเงิน 1,716.39 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด (Contingency) 3,430.04 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการลงทุน179,412.21 ล้านบาท

แหล่งข่าวด้านการลงทุนระบุว่า ถ้าผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนหากเป็นธุรกิจเอกชน ถือว่าโครงการนี้ล้มเหลวและต้องปฏิเสธการลงทุนทันที แต่ในส่วนของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะต้องมองเหตุผลในการลงทุนไม่ใช่กำไร ขาดทุนแค่ IRR หรือ NPV หรือ FIRR เพียงเท่านั้น แต่จะต้องมีเหตุผลในระดับประเทศจึงทำให้ตัดสินใจลงทุนโครงการนี้ และถ้ามีปัญหาโครงการขาดทุนก็เป็นเรื่องที่ประชาชนต้องพร้อมรับภาระการขาดทุนไปกับรัฐบาลเช่นกัน !
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2017 12:43 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมลงนามผลหารือประชุมกรรมการร่วมรถไฟไทย-จีนครั้งที่19
ฐานเศรษฐกิจ
8 กรกฎาคม 2560


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 19 และลงนามบันทึกผลการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน ทำหน้าที่ประธานร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 19 และลงนามบันทึกผลการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี นายพิริยะ เข็มพล เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง นายวีรพล ปานะบุตร อัยการอาวุโส นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน

การรถไฟแห่งประเทศไทย นางสาวอัญจนา วงศ์สว่าง ผู้อำนวยการสำนักบริหารการระดมทุนโครงการลงทุนภาครัฐ นางสาวลดา ภู่มาศ นักการทูตชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก 3 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม เพื่อหารือเกี่ยวกับรายละเอียดสัญญาการออกแบบรายละเอียดโครงการ และสัญญาที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง เพื่อให้สามารถลงนามสัญญาต่อไป และติดตามความก้าวหน้าของงานที่ฝ่ายไทยและฝ่ายจีนรับผิดชอบ ก่อนการเริ่มต้นก่อสร้างโครงการรถไฟระยะแรก (3.5 กิโลเมตร) เส้นทางกรุงเทพฯ - นครราชสีมา รวมถึงการวางแผนเพื่อเริ่มต้นโครงการรถไฟระยะต่อไป เส้นทางนครราชสีมา - หนองคาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2017 12:40 am    Post subject: Reply with quote

รัฐไฟเขียว เดินหน้า รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในราคา 500 บาท
Ref: Propertytoday
info: ddproperty
โดย Alex
8 กรกฎาคม 2560

รัฐเคาะค่าโดยสาร รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-โคราช 500 บาท พอรับได้ไหม?

หลังจากภาครัฐไฟเขียว ใช้ ม.44 เดินหน้าโครงการ รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กับทางจีน โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ทำสัญญาจ้างรัฐวิสาหกิจของจีนในงานออกแบบรายละเอียด งานที่ปรึกษาควบคุมก่อสร้าง และงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ให้ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปนิก

และให้ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการพัสดุ ซึ่งหลังเจรจากันมานานกว่า 18 ครั้ง หรือกว่า 2 ปี ถือเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้โครงการนี้เดินหน้าได้เร็วขึ้น โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างเฟสแรกได้ภายในเดือนกันยายนนี้ เมื่อสร้างแล้วเสร็จ ประชาชนสามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปถึงจังหวัดนครราชสีมาได้ในเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมงเศษ โดยเสียค่าโดยสารเพียง 500 บาทเท่านั้น

ทำความรู้จักรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา

โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 252.50 กิโลเมตร ระบบรางแบบ Standard Gauge กว้าง 1.435 เมตร ความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง มูลค่าโครงการ 179,412.21 ล้านบาท โดยรัฐบาลเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 100% แบ่งเป็น 75% ของงบลงทุน สำหรับงานโยธา และงานด้านแหล่งจ่ายไฟฟ้ากำลัง ใช้ผู้รับเหมาคนไทย และใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่ผลิตในไทยทั้งหมด ส่วนอีก 25% เป็นระบบราง อาณัติสัญญาณ และขบวนรถ ซึ่งใช้จากจีนทั้งหมด แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่

ช่วงที่ 1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร
ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กิโลเมตร
ช่วงที่ 3 แก่งคอย–นคราชสีมา ระยะทาง 119 กิโลเมตร
ช่วงที่ 4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กิโลเมตร

มีจำนวน 8 สถานี ได้แก่ 1.สถานีเชียงรากน้อย 2.สถานีชุมทางบ้านภาชี 3.สถานีสระบุรี 4.สถานีแก่งคอย 5.สถานีปางอโศก 6.สถานีปากช่อง 7.สถานีโคกสะอาด และ 8.สถานีโคราช

โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในเดือนกันยายน 2560 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี

เชื่อมต่อกรุงเทพฯ-โคราช รวดเร็ว ด้วยราคา 500 บาท

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.5 กิโลเมตร ค่าโดยสารจะจัดเก็บกิโลเมตรละไม่เกิน 2 บาท คิดเป็นค่าโดยสารต่อเที่ยวประมาณ 500 บาท/คน ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปถึง จ.นครราชสีมา ประมาณ 1 ชั่วโมง 17 นาที โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการ 23,000 คน/วัน เมื่อเทียบกับการเดินทางไปนครราชสีมา อย่างรถ VIP 32 ที่นั่ง ของทางนครชัย 21 ราคาอยู่ที่ 191 บาท/เที่ยว แม้จะแพงกว่า แต่ช่วยย่นระยะเวลาได้กว่า 3-4 เท่าตัว จากการเดินทางโดยรถทัวร์ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง ส่วนในช่วงเทศกาลอาจใช้เวลานานเกือบเท่าตัว

รถไฟความเร็วสูงกับความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

จากงบประมาณที่ต้องใช้เกือบ 2 แสนล้าน เมื่อเทียบกับค่าโดยสารเพียง 500 บาท/เที่ยวนั้น หากมองในแง่ของความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจอาจให้ความตอบแทนที่ไม่มากนัก และใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลกำไร แต่ทางภาครัฐพิจารณาไปถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่ 2 ข้างทางที่รถไฟความเร็วสูงพาดผ่านมากกว่า

ทั้งนี้ ประเทศที่สร้างผลกำไรจากรถไฟความเร็วสูงมากที่สุดในโลกคือประเทศจีน ในเส้นทางปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ ที่สร้างกำไรเมื่อปีที่แล้วไปได้ถึง 6,500 ล้านหยวน หรือประมาณ 32,500 ล้านบาท จากมูลค่าการก่อสร้างถึง 211,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 1,055,000 ล้านบาท) ระยะทาง 1,318 กม. ความเร็ว 250-400 กิโลเมตร/ชั่วโมง ค่าโดยสารประมาณ 553-1,748 หยวน หรือประมาณ 2,765-8,740 บาท แต่ก็ใช่ว่าทุกประเทศจะประสบความสำเร็จจากรถไฟความเร็วสูง ตัวอย่างหนึ่งที่โครงการรถไฟความเร็วสูงประสบภาวะขาดทุนมหาศาลคือ ประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ลงทุนโดยเอกชน 100% แห่งแรกของโลก เส้นทางหนานกัง-โซวหยิง ระยะทาง 345 กิโลเมตร ความเร็ว 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง ค่าโดยสาร 35-1,480 ดอลล่าร์ไต้หวัน หรือประมาณ 38.5-1,628 บาท สาเหตุมาจากจำนวนผู้ใช้บริการต่ำกว่าเป้าเป็นอย่างมาก

ถือเป็นอีกหนึ่งความชัดเจนในรัฐบาลชุดนี้ที่ต้องการเพิ่มทางเลือกการเดินทางให้กับประชาชน ซึ่งหลังจากสร้างเสร็จแล้วโครงการจะประสบความสำเร็จ หรือซ้ำรอยรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่แสนจะเงียบเหงาคงต้องไปรอลุ้นกันอีกที นอกจากโครงการนี้ยังมีโครงการรถไฟความเร็วสูงที่อยู่ระหว่างรอทำคลอดอีก 3 สาย ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ระยะทาง 672 กิโลเมตร กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กิโลเมตร กรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 193.5 กิโลเมตร หากก่อสร้างแล้วเสร็จแบบครบวงจร จะทำให้การเดินทางของประชาชนสะดวกสบายขึ้นอีกมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44778
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2017 1:52 pm    Post subject: Reply with quote

ลุยรถไฟเชื่อมสนามบินอีอีซี  
เดลินิวส์ อังคารที่ 11 กรกฎาคม 2560 เวลา 11.00 น.

รฟท.ลุยรถไฟเชื่อมสนามบินอีอีซี 2.15 แสนล้าน เร่งทีโออาร์ก.ย.นี้ ก่อนเปิดประมูลพีพีพี พ.ย.นี้ พร้อมเดินหน้าศึกษารถไฟเชื่อมท่าเรือ

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์  รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า  หลังจากคณะกรรมการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน  ได้อนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 215,100 ล้านบาทได้มอบหมาย รฟท.ศึกษาความเหมาะสมงโครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จเร็วๆนี้  โดยเตรียมร่างทีโออาร์ประกวดราคาปลายเดือนก.ย.นี้   คาดว่าจะเปิดประมูลเดือนพ.ย.-ธ.ค. 60 ตามแผนของบอร์ดอีอีซีที่กระบวนทั้งหมดต้องแล้วเสร็จในสิ้นปี  มีเอกชนสนใจหลายราย

เบื้องต้นจะเปิดให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐหรือ พีพีพี  แต่สัดส่วนการลงทุน และส่วนแบ่งรายได้ต้องรอผลการศึกษาก่อน  ส่วนการบริหารรถไฟเชื่อม3สนามบินนั้น คาดว่าจะออกมาในรูปแบบร่วมกันบริหารโดยแบ่งเป็นเอกชนผู้ให้บริการรถไฟฟ้าไฮสปีดกรุงเทพ-ระยอง บริหารงานร่วมกับบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิและพญาไท-ดอนเมือง เนื่องจากเป็นรางแบบเดียวกันขนาดราง 1.435 เมตร

นายอานนท์  กล่าวต่อว่า   สำหรับโครงการรถไฟเชื่อมต่อ 3 ท่าเรือคือแหลมฉบัง  มาบตาพุด และสัตหีบที่  นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายกระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการนั้น ขณะนี้บอร์ดอีอีซีอนุมัติเห็นชอบแล้ว มีกรอบวงเงินโครงการ 64,300 ล้านบาท  มอบให้รฟท.จ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาสมและแนวทางดำเนินโครงการใช้งบ100 ล้านบาท กรอบการศึกษา 9 -12เดือน  รวมทั้งให้จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)ควบคู่กันไป  

จะเน้นเป็นรถไฟทางคู่เพื่อการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร  เนื่องจากมีเส้นทางรถไฟเดิมอยู่แล้ว  เช่น เส้นทาง ศรีราชา-มาบตะพุดและศรีราชา-แหลมฉบัง เช่นเดียวกับท่าเรือจุกเสม็ดที่มีรางรถไฟวิ่งเชื่อมต่อกับจังหวัดอยู่แล้ว ดังนั้นการก่อสร้างจะเป็นเพียงเชื่อมต่อรางเดิมเข้าไปยังท่าเรือควบคู่ไปกับการก่อสร้างเส้นทางใหม่ให้เชื่อมต่อกันมีเป้าหมายเพิ่มการขนสินค้าทางรางมาที่ท่าเรือจาก 7% เป็น 30% และทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศลดลงจาก14% ของจีดีพี มาอยู่ที่  12%  หรือประหยัดลงได้ประมาณ 2.5 แสนล้านบาทต่อปี

รายงานข่าวแจ้งว่า   โครงการรถไฟเส้นทางอีอีซีเป็นหนึ่งในแพคเกจการร่วมลงทุนกับเอกชนหรืออีอีซีแทร็ก  ซึ่งบอร์ดอีอีซีได้อนุมัติแนวทางไปแล้ว และจะเข้าสู่กระบวนการเพื่อเปิดดำเนินการร่วมทุนในรูปแบบพีพีพีภายในกรอบเวลา 8-10 เดือน วงเงินรวม 691,471 ล้านบาท ได้แก่  1.โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (Aerotropolis) วงเงิน 310,383 ล้านบาท 2. โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 215,100 ล้านบาท 3.โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะ 3 วงเงิน 155,834 ล้านบาท และ 4. โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะ 3 วงเงิน 10,154 ล้านบาท โดยเฉพาะโครงการท่าเรือแหลมฉบังที่ภาครัฐหวังปั้นให้เป็นท่าเรือใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก พร้อมกับเพิ่มปริมาณรองรับสินค้าจากเดิมมากกว่าเท่าตัวไปเป็น 18 ล้านตู้ต่อปี จากเดิมอยู่ที่ 7 ล้านตู้ต่อปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44778
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2017 2:58 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ไฟเขียวโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช 1.79 แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 กรกฎาคม 2560 - 14:24 น.

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา มูลค่า 1.79 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายลงทุน 100% และจะเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อทราบต่อไป

----

ครม.เห็นชอบรถไฟความเร็วสูง ระยะแรกกรุงเทพ-โคราช
PPTV HD 15:33น. 11 ก.ค. 2560

ครม.ลุยพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา มูลค่า 1.79 แสนล้านบาท

วันนี้ (11 ก.ค.60) นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย โดยระยะที่ 1 จะเป็นการก่อสร้างจากกรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ 179,413 ล้านบาท โดยไทยจะทำสัญญากับจีนแบบรัฐต่อรัฐ และไทยลงทุนเองทั้งหมด 100% ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี และจะเสนอเข้าที่ประชุม สนช. เพื่อให้ความเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญ

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงมีความสำคัญต่อการปฏิรูปการรถไฟ และสำคัญต่อยุทธศาสตร์ เพราะหากไม่เดินหน้าโครงการนี้ จะทำให้ไทยเสียโอกาสครั้งสำคัญ ที่จะเข้าสู่โครงข่ายคมนาคมขนส่งในเส้นทางสายไหม เชื่อมต่อระหว่าง ไทย จีน ยุโรป และเอเชีย ส่วนการเวนคืนที่ดินจะอยู่ที่ 10-15 % หรือประมาณ 2,815 ไร่ ประกอบด้วย ช่วงบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา เพื่อให้สามารถเดินรถได้ความเร็วที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เบื้องต้นจะคิดค่าโดยสารจากกรุงเทพ-นครราชสีมา 535 บาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44778
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2017 5:04 pm    Post subject: Reply with quote

ประยุทธ์ เผยไฮสปีดโคราชเสร็จปี’64 ยันไทยไม่เสียเปรียบจีน วันหน้าได้ประโยชน์เต็มๆ
มติชนออนไลน์ วันที่ 11 กรกฎาคม 2560 - 16:41 น.

“ประยุทธ์” ยัน ไทยไม่เสียเปรียบ รถไฟไทย-จีน

วันนี้ (11 ก.ค.) เมื่อเวลา 13.40 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการอนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – หนองคาย ว่า เป็นโครงการที่รัฐบาลจำเป็นต้องทำในเรื่องความเชื่อมโยงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประเด็นคือเราจำเป็นต้องพัฒนา การขนส่งทางราง ซึ่งเดิมมีรถไฟธรรมดาอย่างเดียวเราต้องไปดูว่าจะเชื่อมโยงได้หรือไม่ เส้นทางไหนที่มีความจำเป็นจะต้องใช้รถไฟความเร็วสูง จากนั้นนำมาพิจารณาว่าเราจะต้องใช้วิธีไหน จะประมูลหรือว่าจะร่วมมือ มันก็ย้อนกลับไปที่รัฐบาลที่ผ่านมามีการลงนามความร่วมมือกันไว้

นายกฯ กล่าวว่า ถือว่าเป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทยกรุงเทพฯ – หนองคาย ซึ่งตกลงกันว่าเป็นความร่วมมือไทย-จีน เขามีความสามารถตรงนี้และเป็นข้อตกลงกันมานานแล้ว มันก็ต้องหาทางทำกันให้ได้ ซึ่งตนได้พูดคุยกับนายกฯจีน ซึ่งนายกฯ จีน ได้ขอให้มีบริษัทจากจีนมาบริหารในประเทศไทย ซึ่งเราระบุว่าขอทำเองดีกว่า เพราะกลัวการผูกขาด โดยเราเอาเทคโนโลยีของเขามาร่วมก่อสร้าง และใช้ส่วนประกอบของประเทศไทยให้มากที่สุด ส่งคนไทยไปเรียนรู้เทคนิคต่างๆจากจีน และให้เขามาสอน เพื่อจะควบคุมเองในอนาคต วันนี้เราไม่ได้ให้เขาสักอย่าง ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้ตกลงกันแล้ว ซึ่งเราจะได้ประโยชน์ในวันข้างหน้าอย่างเต็มที่

นายกฯ กล่าวว่า ทั้งนี้จะแบ่งการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่หนึ่งช่วงกรุงเทพฯ – โคราช ที่ต้องสร้างให้เสร็จในปี 2564 เพราะไม่มีปัญหาในการทำประชาวิจารณ์ เวนคืนที่ดิน เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่า ส่วนระยะที่สองช่วงโคราช – หนองคาย ที่จะต้องทำต่อไป ซึ่งรัฐบาลสร้างทั้งเส้น ไม่ได้แค่สั้น ๆ ใครที่ไปวิพากษ์วิจารณ์กรุณาไปคิดใหม่ ตนไม่เคยคิดสั้นแบบนั้น แต่มันต้องลงทุน ซึ่งต้องไปดูเรื่องงบประมาณ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44778
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2017 6:46 pm    Post subject: Reply with quote

ยันรถไฟไทย-จีน 1.7 แสนล้าน คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 11%
ฐานเศรษฐกิจ 11 July 2017

วันที่ 11-7-60- นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมครมมีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร มูลค่า 1.79 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายลงทุน 100% โดยจะเสนอสนช. เพื่อทราบต่อไป

"วันนี้ ครม.มีมติอนุมัติให้ รฟท.ดำเนินการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย ระยะที่ 1 (กรุงเทพ-นครราชสีมา) วงเงิน 179,413 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 4 ปี"นายกอบศักดิ์ กล่าว

นายกอบศักดิ์ กล่าวต้อไปว่า โครงการนี้ถือเป็นการปฏิรูประบบรถไฟครั้งสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ ภูมิเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหากไม่ดำเนินการโครงการนี้จะทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสสำคัญที่จะเชื่อมโยงเข้าสู่โครงข่ายการคมนาคมสายไหมของจีนที่เชื่อมโยงจากยุโรป-เอเชีย-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นทางรถไฟระยะทางรวม 53,700 กิโลเมตร โดยขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว 50%

"ถ้าเราไม่ก่อสร้างเส้นทางสายนี้ โอกาสที่ประเทศไทยจะเชื่อมโยงเข้ากับโครงข่ายดังกล่าวก็จะหายไป จะทำให้ประเทศไทยตกขบวนได้ ทำให้เราไม่ได้รับโอกาสทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม"นายกอบศักดิ์ กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่จะเชื่อมโยงพื้นที่พัฒนาทางเศรษฐกิจในประเทศ ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา และในอนาคตจะต่อไปถึงขอนแก่น หนองคาย และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะเปิดโอกาสทำการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวให้กับประชาชน และจะเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้

เส้นทางนี้จะเชื่อมต่อไปถึงจีนเป็นระยะทาง 1,800 กิโลเมตร โดยเป็นเส้นทางในประเทศไทย 647 กิโลเมตร เส้นทางใน สปป.ลาว 440 กิโลเมตร และเส้นทางในจีน 777 กิโลเมตร

โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ กรุงเทพ-นครราชสีมา, นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด โดยในการพัฒนาโครงการนี้จะเกาะไปตามเส้นทางรถไฟเดิมให้มากที่สุด หากจะมีการเวนคืนก็เพื่อให้การเดินรถตีโค้งได้ดี การขับเคลื่อนเป็นไปได้ ซึ่งจะทำให้มีการเวนคืนที่ดินประมาณ 2,815 ไร่ ประกอบด้วย 6 สถานี คือ บางซื่อ, ดอนเมือง, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, ปากช่อง และนครราชสีมา โดยจะมีศูนย์ควบคุมและศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ที่เชียงรากน้อย

การให้บริการครั้งแรกในปี 2564 จะมีรถ 6 ขบวน วิ่งให้บริการ 11 เที่ยว/วัน ทุก 90 นาที ด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง บรรจุผู้โดยสารได้ 600 คน/ขบวน ใช้เวลา 1.17 ชั่วโมง คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการราว 5,300 คน/วัน และในปี 2594 จะมีผู้โดยสารขั้นต่ำ 26,800 คน/วัน จะมีรถ 26 ขบวน วิ่งให้บริการทุก 35 นาที ค่าโดยสารเบื้องต้น 80+1.80 บาท/กิโลเมตร เช่น กรุงเทพ-สระบุรี จะคิด 278 บาท, กรุงเทพ-ปากช่อง 393 บาท, กรุงเทพ-นครราชสีมา 535 บาท

สำหรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (EIRR) ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการดังกล่าว 8.56% และหากคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยกว้าง ได้แก่ การพัฒนาเมืองบริเวณรอบสถานีจะทำให้ EIRR อยู่ที่ 11.68%

นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวนั้น สัญญาส่วนแรกที่เป็นการก่อสร้างและงานโยธาจะว่าจ้างผู้รับเหมาคนไทย และใช้วัสดุภายในประเทศ ซึ่งจะมีมูลค่างาน 75% ของโครงการ ส่วนสัญญาที่สองจะเป็นการวางระบบไฟฟ้า และอาณัติสัญญาณ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากร ซึ่งจะมีมูลค่างาน 25% ของโครงการที่จะว่าจ้างจีน ทั้งนี้ ครม.ได้กำชับในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับไทย

"กระทรวงคมนาคมตั้งใจว่าจะใช้สัญญาคุณธรรมเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการในโครงการนี้ " นายกอบศักดิ์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44778
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2017 7:39 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีน 1.79 แสนล้านฉลุย จ้างกรมทางหลวงตอกเข็ม 3.5 กม. เร่งเปิดบริการปลายปี 64
โดย MGR Online 11 กรกฎาคม 2560 18:55 น. (แก้ไขล่าสุด 11 กรกฎาคม 2560 19:28 น.)

ครม.เห็นชอบก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-โคราช วงเงิน 1.79 แสนล. ร.ฟ.ท.เตรียมจ้างตรงกรมทางหลวง ตอกเข็ม 3.5 กม.แรก ในต.ค.นี้เหตุประมูลจะล่าช้า ขณะที่ต่อรองค่าจ้างออกแบบจีน เหลือ 1,706 ล. “อาคม”เตรียมเจรจาร่วมครั้งที่ 10 ช่วง 15-17ส.ค. เซ็นสัญญาจ้างออกแบบ ตั้งเป้าเปิดแปลายปี 64 ค่าโดยสาร 535 บ. เป้าผู้โดยสารวันละ 5,310 คน ด้าน สศช.ให้ตั้ง กก.กลาง ดูแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีปั๊มรายได้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (11 ก.ค.) มีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย ตอนที่ 1 จากกรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. กรองวงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ในการดำเนินโครงการ และใช้งบประมาณในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเป็นไปตามมติครม.เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2558 ให้นำเสนอโครงการต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อทราบ ในการแก้ไขกฎหมาย การผูกพันงบประมาณและการก่อหนี้ ทั้งนี้ครม.ให้เพิ่มเติม เรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ คือตั้งแต่การออกแบบ การผลิตบุคลากรทางราง การก่อสร้าง และให้มีคณะกรรมการกลางในการบริหารโครงการ เนื่องจากจะมีทั้งการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (TOD) และการพัฒนาเมือง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคมร่วมกันพิจารณาแผนพัฒนาเมืองตลอดสองข้างทาง

โดยจากการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 5-7 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ตกลงค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบที่ 1,706 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่ากรอบที่กำหนดไว้ 1,824 ล้านบาท ประมาณ 118 ล้านบาท โดยจะเสนอร่างสัญญาการออกแบบ หรือสัญญา 2.1 ต่อครม. จากนั้นจะมีการลงนามว่าจ้างจีนในการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 15-17 ส.ค. ในขณะเดียวกันจะเร่งเจรจาในส่วนของสัญญาจ้างที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง หรือ สัญญา 2.2 ซึ่งคาดว่าจะลงนามได้ในต้นเดือนก.ย. เพื่อนำไปสู่การก่อสร้าง ตอนแรก ระยะทาง 3.5 กม.

ทั้งนี้ เพื่อความรวดเร็ว การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะเจ้าของโครงการจะว่าจ้าง กรมทางหลวง (ทล.) ในรูปแบบหน่วยงานรัฐต่อรัฐ เพื่อให้ก่อสร้างงานโยธา ตอนกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนต.ค.นี้ ส่วนตอนที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร 11 กม., ตอนที่ 3แก่งคอย-นครราชสีมา 119.5 กม.,ตอนที่ 4 แก่งคอย-บางซื่อ 119 กม. จะเปิดประมูลก่อสร้างตามปกติ โดยได้เร่งรัดให้จีนส่งแบบอย่างต่อเนื่องภายใน 4 เดือน

เส้นทางจากกรุงเทพ-นครราชสีมา จะมี 6 สถานี ได้แก่
บางซื่อ,ดอนเมือง,อยุธยา,สระบุรี,ปากช่อง,นครราชสีมา โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมที่ เชียงรากน้อย ขณะที่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ(EIRR) 8.56% โดยจะมีการพัฒนาพื้นที่สถานี 3 แห่ง ซึ่งเป็นที่ดินรถไฟ คือ สระบุรี 90 ไร่ ปากช่อง 541 ไร่ และนครราชสีมา 272 ไร่ ขณะที่ประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเชิงกว้างจากการพัฒนาธุรกิจโดยรอบ การเติบโตของเมือง ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจะเพิ่มเป็น 11.68% และหากต่อเส้นทางไปถึงหนองคาย EIRR จะอยู่ที่ 11.45%

สำหรับกรอบวงเงินลงทุนรวม 179,413.21 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 13,069.60 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 122,593.92 ล้านบาท ค่างานระบบไฟฟ้า (M&E) 34,078.38 ล้านบาท จัดหาตู้รถไฟ 4,480 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษา 5,190.31

โดยจะใช้รถไฟฟ้า 6 ขบวน ความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. ใช้เวลา 1.17 ชม. ความจุ 600 ที่นั่ง/ขบวน เปิดให้บริการปลายปี 2564 ออกทุกๆ 90 นาที /ขบวน คาดว่าจะมีผู้โดยสารในปีแรกที่เปิดให้บริการ 5,310 คน/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 26,830 คน ในปี 2594 โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารคิดจากอัตราเริ่มต้นที่ 80 บาทบวก กม.ต่อไป กม.ละ 1.83 ได้แก่กรุงเทพ- อยุธยา ค่าโดยสาร 195 บาท ,สระบุรี ค่าโดยสาร 278 บาท, ปากช่อง ค่าโดยสาร 393 บาทและ นครราชสีมา ค่าโดยสาร 535 บาท

สำหรับปริมาณผู้โดยสารประเมินจากปริมาณการเดินทางโดยรถ บขส.ปัจจุบันประมาณ 2 หมื่นคน/วัน ซึ่งเมื่อเปิดให้บริการจริง พฤติกรรมการเดินทางจะเปลี่ยนไปและคาดว่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาแผนการจัดระบบฟีดเดอร์เชื่อมต่อสถานีรถไฟไปยังเมืองนครราชสีมาและอำเภอต่างๆ เพื่อส่งผู้โดยสารเข้าระบบรถไฟความเร็วสูง

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินโครงการได้เสนอการลงทุนเข้าสู่แผนการบริหารหนี้สาธารณะแล้ว ในระยะ 5 ปี ได้แก่ปี 2560 ลงทุน 2,648 ล้านบาท ปี 2561 ลงทุน 43,097 ล้านบาท ปี 2562 ลงทุน 62,216 ล้านบาท ปี 2563 ลงทุน 59,702 ล้านบาท และปี 2564 ลงทุน 12,017 ล้านบาท

“โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟไทย-จีน โดยจะก่อสร้างช่วงแรก กรุงเทพ-นครราชสีมา 253 กม.ก่อน ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย 359 กม. ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมต่อเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนและจีนเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและท่องเที่ยวและไม่ทำให้ไทยเสียโอกาสในการสร้างการเจริญเติบโตในภูมิภาค แม้ผลตอบแทนทางการเงินจะต่ำ แต่มีผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวม จากการพัฒนาเมืองที่รถไฟวิ่งผ่านและการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (TOD)“นายอาคมกล่าว

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 218, 219, 220 ... 548, 549, 550  Next
Page 219 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©