RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273111
ทั้งหมด:13584407
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 234, 235, 236 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2017 11:12 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ขอแจงข้อสงสัยให้ไทยอบรมวิศวกรจีนสร้างรถไฟ
บ้านเมือง วันศุกร์ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560, 13.54 น.


ก.คมนาคม ชี้แจงข้อวิจารณ์การสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง
by กองบรรณาธิการ ข่าวเศรษฐกิจ
29 กันยายน 2560 เวลา 12:26 น.

กระทรวงคมนาคม ชี้แจงข้อวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง ในความไม่เหมาะสมเรื่องประสบการณ์ของวิศวกรไทย และการขนส่งที่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความจำเป็น[url][/url]
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/10/2017 6:55 am    Post subject: Reply with quote

2 ปี “ไทย-ญี่ปุ่น” ลุยระบบราง ซื้อโบกี้รถไฟฟ้า 46 ขบวน-ตั้งไข่ไฮสปีดเทรน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 4 ตุลาคม 2560 - 07:00 น.

ความสัมพันธ์ระหว่าง “ไทย-ญี่ปุ่น” มีต่อกันมายาวนานครบ 130 ปี เมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ในนี้มีการพัฒนาระบบรางที่ทั้ง 2 ประเทศกำลังร่วมกันเร่งผลักดันตามที่ได้เซ็นบันทึกความร่วมมือ (MOC) เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2558 ภายใต้การขับเคลื่อนของรัฐบาล คสช.

ถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 2 ปี แผนงานโครงการมีความก้าวหน้าตามลำดับ เริ่มจาก “รถไฟความเร็วสูง” เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งไทย-ญี่ปุ่นร่วมมือกันพัฒนาโครงการ โดยใช้เทคโนโลยีซินคันเซ็นของญี่ปุ่น มี “ไจก้า-องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น” ศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ช่วยหาแหล่งเงินลงทุนและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร

ความคืบหน้าแบ่งสร้าง 2 เฟส ในเดือน พ.ย.นี้ไจก้าจะศึกษาเฟสแรก “กรุงเทพฯ-พิษณุโลก” ระยะทาง 380 กม.แล้วเสร็จ จากนั้น “คมนาคม” จะเสนอโครงการให้ “ครม.-คณะรัฐมนตรี” อนุมัติภายในปี 2560 เริ่มออกแบบรายละเอียดปี 2561 จะใช้เวลา 1 ปี เริ่มสร้างปี 2562 แล้วเสร็จปี 2565

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว รอไจก้าออกแบบรายละเอียด เบื้องต้นจะใช้เงินลงทุน 276,225 ล้านบาท สูงกว่าที่ไทยศึกษาไว้ 233,771 ล้านบาท ประมาณ 42,454 ล้านบาท ส่วนช่วงที่ 2 จาก “พิษณุโลก-เชียงใหม่” ไจก้าศึกษาใช้เงินลงทุน 269,338 ล้านบาท มากกว่าไทยศึกษาอยู่ที่ 216,656 ล้านบาท ประมาณ 52,682 ล้านบาท

มาดูความคืบหน้า “การพัฒนาเส้นทางรถไฟตามแนวเศรษฐกิจด้านใต้จากกาญจนบุรี-แหลมฉบัง-อรัญประเทศ รวม 574 กม. ฝ่ายไทยขอให้ญี่ปุ่นเร่งศึกษาแผนการพัฒนาเส้นทาง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ รวมถึงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เบื้องต้นเป็นรถไฟขนาด 1 เมตร โดยปรับปรุงเส้นทางเดิม อนาคตจะก่อสร้างเป็นทางคู่เชื่อมต่อไปยังเขตเศรษฐกิจทวาย ประเทศเมียนมากับท่าเรือแหลมฉบัง

ขณะที่การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ไทยขอให้ญี่ปุ่นศึกษาเส้นทาง “แม่สอด-มุกดาหาร” จะเริ่มสำรวจเส้นทางร่วมกันเมื่อทั้งสองฝ่ายมีความพร้อม

ที่เริ่มมีเค้าโครงให้เห็น “การขนส่งสินค้าทางรถไฟ” ทั้งสองฝ่ายจะเร่งรัดสำรวจรายละเอียดการดำเนินการให้บริการขนส่งสินค้ารูปแบบใหม่ เพื่อให้ได้ข้อสรุปสำหรับการให้บริการขนส่งสินค้า

“ทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ” รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า หลังทดลองเดินรถตู้ขนส่งสินค้าขนาด 12 ฟุต พบว่าไม่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการไทย ตกลงจะใช้ขนาด 20 ฟุต กับ 40 ฟุต พร้อมกับจัดตั้งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทย-ญี่ปุ่นรูปแบบ SPV เพื่อพัฒนาเดินรถขนส่งสินค้าทั่วประเทศ อยู่ระหว่างจัดตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่ศึกษาความเป็นไปได้ภายใต้ข้อตกลงที่ร่วมกัน คาดว่าในปี 2561 จะเป็นรูปธรรมมากขึ้น

สุดท้าย “โครงการรถไฟฟ้าในเขตเมือง” ที่ผ่านมาไทยสั่งซื้อขบวนรถไฟฟ้าจากซัพพลายเออร์ญี่ปุ่น มีสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) 21 ขบวน หรือ 63 ตู้ วงเงินกว่า 4,000 ล้านบาท ผ่านกลุ่มกิจการร่วมค้ามารุเบนิ-โตชิบา มี “J-TREC” หรือ บจ.เจแปน ทรานสปอร์ตเอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้ผลิตขบวนรถไฟฟ้า และมี “JR-East” หรือ บจ.อีสต์เจแปน เรลเวย์ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น รับผิดชอบบำรุงรักษา 10 ปี

และสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 32,399 ล้านบาท จากกลุ่ม MHSC (มิตซูบิชิ-ฮิตาชิ-ซูมิโตโม) มีทั้งหมด 25 ขบวน ขบวนละ 4-6 ตู้

เป็นออร์เดอร์ลอตใหญ่ในรอบกว่า 30 ปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2017 1:49 am    Post subject: Reply with quote

เลื่อนตอกเข็มไฮสปีดเทรน สผ.สั่งทำอีไอเอเพิ่มเติม/ชี้ทางคู่5เส้นเริ่มเดินเครื่องธ.ค.นี้
6 ตุลาคม 2560 - 00:08

รถไฟไทย-จีนเลื่อนตอกเสาเข็มอย่างไม่มีกำหนด หลังอีไอเอไม่ผ่านเกณฑ์ ด้าน รฟท.เร่งเดินหน้ารถไฟทางคู่ 5 เส้น มั่นใจภายในเดือน ธ.ค.60 ได้ก่อสร้างแน่

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 252.5 กม. มูลค่า 179,412.21 ล้านบาทว่า การก่อสร้างช่วงแรกกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 3.5 กม. ต้องเลื่อนการก่อสร้างที่เดิมกำหนดไว้ภายในเดือน พ.ย.ออกไปอย่างไม่มีกำหนด หลังจากที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. ยังไม่ผ่านการพิจารณา ผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เนื่องจากยังมีบางพื้นที่ ที่จะต้องมีการทำรายละเอียดเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ คณะทำงานของโครงการฯ จะเร่งจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม และส่งเรื่องมาให้ สนข. พิจารณาอีกครั้ง และยังไม่มีกรอบระยะเวลากำหนด จากนั้นจะส่งต่อไปที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการ สผ.พิจารณา ซึ่งจะใช้เวลา 15 วันในการพิจารณา ทั้งนี้ จุดที่มีปัญหาเรื่อง EIA คือบริเวณเหมืองแร่ และโรงปูน ที่จังหวัดสระบุรี จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามกรอบเวลาเดิมที่กรมทางหลวง หรือ ทล. อาจจะทำให้การเริ่มก่อสร้างล่าช้าออกไป ส่วนจะมีการนำเอา ม.44 มาใช้หรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยถึงเรื่องนี้

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. กล่าวว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะเสนอเรื่องการมอบหมายให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงแรก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาท ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนส่งต่อไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

สำหรับการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เมื่อวันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมาได้รับทราบถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรไฟทางคู่ทั้ง 5 เส้นทาง 9 สัญญา ได้แก่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์, ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร, ลพบุรี-ปากน้ำโพ, มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ รวมถึงการปรับเพิ่มวงเงินการปรับแบบการก่อสร้างช่วง กะเบา-ถนนจิระ สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ เพิ่มอีก 3,000 ล้านบาท ไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว คาดภายใน พ.ย.-ธ.ค.นี้ จะเริ่มก่อสร้างได้

"หลังจากนี้จะเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) และซูเปอร์บอร์ด ให้อนุมัติตัวผู้รับจ้างเพื่อความรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะสามารถคาดลงนามสัญญา ได้ ภายในต้นเดือน พ.ย.จากเดิมที่กำหนดไว้ในเดือน ต.ค. และเริ่มก่อสร้างได้ภายใน พ.ย.-ธ.ค.นี้" นายอานนท์กล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/10/2017 10:46 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เลื่อนตอกเข็มไฮสปีดเทรน สผ.สั่งทำอีไอเอเพิ่มเติม/ชี้ทางคู่5เส้นเริ่มเดินเครื่องธ.ค.นี้
6 ตุลาคม 2560 - 00:08

รถไฟไทยจีนเลื่อนก่อสร้างติดปมอีไอเอ
โพสต์ทูเดย์ 06 ตุลาคม 2560 เวลา 09:09 น.

รถไฟไทย-จีนส่อเลื่อนยาว คาดตอกเสาเข็มได้ปี 2561 หลังติดปัญหาอีไอเอ เริ่มก่อสร้างไม่ทันตามแผน พ.ย.นี้

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 252.5 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 179,412 ล้านบาทนั้น ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกิจการ (บอร์ด) ได้มีมติเห็นชอบให้กรมทางหลวง เข้าดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงแรกระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาท โดยหลังจากนี้จะส่งต่อให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนส่งต่อไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้มีมติเห็นชอบต่อไป ส่วนด้านการตอกเสาเข็มเพื่อเริ่มก่อสร้างนั้นจะยังไม่สามารถทำได้ หากรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ยังไม่ผ่านความเห็นชอบ

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ระบุว่า ความคืบหน้าโครงการในระยะแรก 3.5 กม. ช่วงกลางดง-ปางอโศก เบื้องต้นได้รับรายงานว่าการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. ยังไม่ผ่านการพิจารณา เนื่องจากในบางพื้นที่จะต้องมีการทำรายละเอียดเพิ่มเติม โดยหลังจากนี้คณะทำงานโครงการจะเร่งจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม และส่งเรื่องมาให้ สนข.พิจารณาอีกครั้ง คาดว่าต้องใช้เวลานานกว่าสองเดือนเพื่อพิจารณาเห็นชอบ

"จุดที่มีปัญหาเรื่องอีไอเอ คือ บริเวณเหมืองแร่และโรงปูน ที่ จ.สระบุรี ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามกรอบเวลาเดิมที่กรมทางหลวง จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือน พ.ย.นี้ อาจทำให้การก่อสร้างล่าช้าออกไป ส่วนจะนำมาตรา 44 มาใช้หรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยถึงเรื่องนี้" แหล่งข่าวเปิดเผย

สำหรับการออกแบบส่วนที่เหลืออีก 3 ตอน ได้เร่งจีนส่งแบบเร็วขึ้นจากกรอบเดิมภายใน 8 เดือนก่อนลงนามในสัญญา เผื่อเวลาให้เปิดประมูลในตอนที่ 2, 3 และ 4 ได้ต่อเนื่อง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/10/2017 10:51 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.แจง สผ.เรียกเอกสารสิ่งแวดล้อมเพิ่มไม่ทำรถไฟไทย-จีนล้ม
สำนักข่าวไทย เศรษฐกิจ 5 ต.ค. 2017 16:39:44

กรุงเทพฯ 5 ต.ค. - รฟท.ชี้แจงกรณี สผ.เรียกเอกสารเพิ่มการจัดทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ยอมรับอาจล่าช้าบ้าง แต่ไม่เกิน 1 เดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากมีกระแสข่าวระบุว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย—จีน มีปัญหาสะดุด เนื่องจากการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยสำนักงานสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ยังไม่อนุมัติผลการศึกษาผลกระทบ อาจทำให้โครงการเกิดความช้า นั้น

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ประเด็นว่าโครงการรถไฟไทย-จีนไม่ผ่าน EIA แต่ สผ.มีการเรียกเอกสารเพิ่มจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายงาน โดยการเรียกเอกสารเพิ่มนั้น ถือเป็นเรื่องปกติเกิดขึ้นได้กับทุกโครงการ

อย่างไรก็ตาม การขอเอกสารเพิ่มดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบกับตารางเวลาก่อสร้างโครงการรถไฟไทย-จีนบ้างเล็กน้อยประมาณไม่เกิน 1 เดือน โดยเฉพาะการก่อสร้างช่วง 3.5 กิโลเมตร สถานีปางอโศก-สถานีกลางดง ซึ่งช่วงดังกล่าวก็เป็นช่วงที่เป็นสัญลักษณ์เริ่มต้นโครงการเท่านั้น แต่จะไม่ส่งผลต่อภาพรวมตารางเวลาหลักการก่อสร้างโครงการเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาทั้งเส้นทาง ส่วนประเด็นรายละเอียดว่า สผ.ขอเอกสารเรื่องใดบ้างนั้น ต้องรอ สนข.เป็นผู้ชี้แจงอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการศึกษาผลกระทบ EIA ที่ สผ.ขอเรียกเอกสารเพิ่มมีประเด็นเนื่องจากเส้นทางการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงแรกกรุงเทพฯ-นครราชสีมาในแนวเส้นทางมีการผ่านพื้นที่สัมปทานเหมืองปูนของผู้ประกอบการรวม 3 ราย ซึ่ง สผ.ต้องการให้ประสานงานให้เจ้าของสัมปทานทั้ง 3 ราย เซ็นรับทราบการก่อสร้างแนวเส้นทางด้วย ซึ่ง สนข.กำลังเร่งดำเนินการขั้นตอนดังกล่าวให้เสร็จ โดยเชื่อว่าหากไม่มีสิ่งใดติดขัดก็จะสามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นเดือนตุลาคมนี้. - สำนักข่าวไทย

-----

เตรียม MOU กดปุ่มถมดินรถไฟไทย-จีน 3.5 กม. กรมทางหลวงระดมเครื่องจักรลุยเสร็จใน6ด.
MGR Online เผยแพร่: 6 ต.ค. 2560 08:23:00

บอร์ด รฟท.เคาะจ้าง กรมทางหลวง สร้าง รถไฟไทย-จีน 3.5 กม. ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก พร้อมประสานจีนส่งเครื่องมือช่วยตวจสอบมาตรฐานวัสดุ เร่งชงครม.เป้าเริ่มถมดินได้ พ.ย. เสร็จใน6 เดือน ขณะที่เบรคยาวซื้อรถแอร์พอร์ตลิงก์ 7 ขบวน หวั่นกระทบการลงทุน3 สนามบิน สั่งหาทางเพิ่มความจุรถ9 ขบวนเดิมทุกรปแบบแก้ปัญาแออัด

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่ผ่านมา ได้พิจารณาโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ- นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงิน 179,412.21 ล้านบาท โดยมีมติอนุมัติให้ กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการก่อสร้าง โครงการตอนที่ 1 ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. โดยจะเร่งนำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)อนุมัติ เพื่อลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับกรมทางหลวงต่อไป สำหรับกรอบวงเงินค่าดำเนินการช่วงแรก ประมาณ 425 ล้านบาท จะใช้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดหาให้ โดยกรมทางหลวงจะเป็นผู้เบิกจ่ายแทน

ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างตอนแรก 3.5กม.ได้ประมาณ เดือนพ.ย.นี้หรืออย่างช้าในเดือนธ.ค. 60 โดยที่ผ่านมา รฟท.และกรมทางหลวงได้หารือรายละเอียดของแบบ ระยะทาง 3.5 กม.มาอย่างใกล้ชิด ขณะที่ ได้ประสานกับจีนให้เข้ามาช่วยด้านเทคนิคในเรื่องเครื่องมือทดสอบมาตรฐานวัสดุต่างๆ ในส่วนที่เป็นมาตรฐานที่ยังมีการใช้ในไทยไม่แพร่หลาย

ด้านนายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ทล.ได้เตรียมความพร้อมด้านเครื่องมือ เครื่องจักร กำลังคน ไว้แล้วรอเพียงรฟท.เสนอครม.เพื่อรับทราบกรณีเป็นงานเร่งด่วนและให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้าง โดยจะใช้เวลาในการก่อสร้างระยะทาง 3.5 กม. ภายใน 6 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2017 1:35 pm    Post subject: Reply with quote

ขนาด รถไฟความไวสูงจาก สถานีกลางบางซื่อไปหัวหินที่บ่อฝ้ายยังใช้เวลา 3 ปีกว่าจะเคลียร์ EIA ให้ผ่านจนได้หนะครับ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2016342798379775&set=a.213819491965457.68088.100000122231436&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/10/2017 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง - 5 เหลี่ยมเศรษฐกิจภาคตะวันออก
เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม 2560 เวลา 04.00 น.

"ผมพูดเรื่องรถไฟความเร็วสูงมาอย่างน้อย 3-4 ปีแล้ว ก่อนที่จะมีรถไฟความเร็วสูงในไทย แต่ไม่มีใครเชื่อ ทุกคนมองเป็นเรื่องฝันเฟื่อง เป็นไปไม่ได้!!”

ดร.รัฐวิทย์ ตั้งเกียรติพชร นายกสมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย กัมพูชา จ.จันทบุรี ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงประเทศ คนสร้างตลาดการค้าชายแดน จ.จันทบุรี จากมูลค่าการค้าไม่กี่แสนบาทต่อปีในยุคเริ่มต้น กระทั่งเติบโตกว่า 30,000 ล้านบาทในปัจจุบัน และยังคงมีมูลค่าสูงต่อไปไม่หยุด เริ่มประโยคเรื่องรถไฟความเร็วสูง ในวันที่ความชัดเจนเรื่องนี้เป็นจริงตามที่เคยพูด เมื่อรัฐบาลกำลังทำเรื่อง 5 เหลี่ยมเศรษฐกิจภาคตะวันออก เชื่อมโยงการค้าภาคตะวันออกไปภูมิภาคอาเซียน ด้วยรถไฟความเร็วสูง ไล่เรียงจากฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, สระแก้ว และตราด จากเวียงจันทน์ สปป.ลาว เข้าสู่ไทย ผ่าน จ.สระบุรี, กรุงเทพฯ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรีและ จ.ระยอง ในที่สุด

“ผมมีเหตุผลที่จะต้องพูดเรื่องนี้” ดร.รัฐวิทย์ ขยายความ “ผมพูดเพราะมองยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านมานาน วันนี้ประเทศเราได้เปรียบประเทศอื่น 2 เรื่อง

1. เรื่องภูมิศาสตร์ เราเป็นประเทศศูนย์กลางล้อมรอบด้วยประเทศเพื่อนบ้าน การเดินทางระหว่างประเทศเพื่อนบ้านต้องผ่านไทย ถึงจะเร็วที่สุด ตรงที่สุด เรียกว่าเป็นระเบียงเศรษฐกิจจากตะวันออกสู่ตะวันตก

2. เราเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ หรือระบบการขนส่ง สามารถเชื่อมโยงการขนส่งจากมาเลเซียขึ้นไปจีน จากตะวันออกคือเมียนมามาเวียดนาม จากลาวไปจีนและไปได้ทุกที่

ทั้งหมดนี้ถ้าประเทศเพื่อนบ้านกับเราทำรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงกัน การพัฒนาระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในทุก ๆ ด้านจะเติบโตเร็วมาก นี่เป็นเหตุผลที่ผมพยายามชี้ให้เห็นข้อดีของเรื่องนี้ เพราะประเทศเราจะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการมีรถไฟความเร็วสูง” ดร.รัฐวิทย์อธิบายเหตุผล

ผ่านไป 3-4 ปีตั้งแต่ ดร.รัฐวิทย์พูดเรื่องรถไฟความเร็วสูงจนกระทั่งวันนี้ รัฐบาลเห็นความสำคัญเรื่องซึ่งเขาเคยพูด ทำเรื่องรถไฟความเร็วสูงในพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งภาคตะวันออกและเห็นด้านดีสิ่งที่จะเกิดขึ้นทันที โดยชี้ให้เห็นว่า ภาคตะวันออกจะได้รับประโยชน์อะไรในเรื่องนี้??

“รถไฟความเร็วสูงจะทำให้ได้ไทยพัฒนา เพราะ 1.เป็นตัวเพิ่มศักยภาพนโยบายรัฐบาลเรื่องไทยแลนด์ 4.0 2. เพิ่มศักยภาพเรื่องระเบียงเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว” ดร.รัฐวิทย์บอกข้อดี พร้อม ๆ กับพูดเรื่องสำคัญสุด เรื่องการเชื่อมโยงการค้าภาคตะวันออกไปภูมิภาคอาเซียนแต่กลับขาด จ.จันทบุรี ไปอย่างน่าฉงน!!

“รถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงการค้า 5 หัวเมืองใหญ่ภาคตะวันออกมีถึง 5 เมือง คือฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, ตราด และสระแก้ว น่าแปลกใจ!! ทำไมไม่มีจังหวัดจันทบุรีด้วย ทั้ง ๆ ที่เมืองจันท์ คือจังหวัดที่มีศักยภาพมาก เป็นเมืองที่เป็นเสมือนปอด หรือธรรมชาติของภาคตะวันออก มีทั้งสถานที่ท่องเที่ยว ภูเขา ทะเล น้ำตก ป่าไม้ มีผลไม้คุณภาพมากเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน มีกระทั่งชายแดนที่ส่งสินค้าไปขายได้ปีละนับหมื่นล้านและมีมูลค่าสูงขึ้นไม่หยุด แต่กลับไม่ประกาศให้เป็นเมืองเศรษฐกิจพิเศษ นี่เป็นช่องโหว่ หรือจุดบอดของเมืองเศรษฐกิจพิเศษของภาคตะวันออก”

“ไม่จำเป็นต้องให้จันทบุรีเป็นเมืองเศรษฐกิจพิเศษด้านอุตสาหกรรม แต่ให้เป็นเมืองเศรษฐกิจพิเศษเรื่องท่องเที่ยวที่เชื่อมต่อกับระยอง ชลบุรี กับการแปรรูปผลไม้โดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สิ่งนี้จะสอดคล้องกับรถไฟความเร็วสูงที่เกี่ยวกับการขนส่งและการท่องเที่ยว”

“ทำไมสภาพัฒน์ฯ ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล ไม่ให้จันทบุรี เป็นเมืองเศรษฐกิจพิเศษ หรืออาจเป็นเพราะยังไม่ได้มีการศึกษาศักยภาพจังหวัดจันทบุรีอย่างแท้จริง หรืออาจมองเพียงเส้นทางยุทธศาสตร์การค้า การลงทุนหรือการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับกัมพูชา หรือเป็นไปได้มองแค่ตัวเลขมูลค่าการค้าเป็นหลัก ถ้ามองเรื่องนี้ ต้องมีข้อมูลด้วยว่า สระแก้วกับตราด มูลค่าการค้าเริ่มนิ่ง ขณะที่จันทบุรีตัวเลขการค้ายังสูงต่อไป ดูได้จากการนำเข้า ส่งออกผ่านชายแดนจันทบุรีปีนี้เกือบ 30,000 ล้านบาทแล้วจากเพียงกว่า 10,000 ล้านในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขณะที่สระแก้ว เริ่มนิ่งอยู่ที่ 50,000 ล้านต่อปี ส่วนตราดก็ด้วย นิ่งอยู่ที่ 30,000 ล้านบาท” ดร.รัฐวิทย์ตั้งข้อสงสัย พร้อมแนะวิธีเชื่อมโยงจันทบุรีเข้าไปสู่การค้า การขนส่งจากภาคตะวันออกไปประเทศเพื่อนบ้าน  ในวันที่รถไฟความเร็วสูงไม่ได้มาจันทบุรี เพื่อให้ประเทศได้ประโยชน์จากเรื่องนี้

“ถ้าเป็นไปได้ควรทำรถไฟความเร็วสูงจากระยองมาจันทบุรีเพื่อเชื่อมต่อกับกรุงพนมเปญ กัมพูชา เพราะจันทบุรีคือศูนย์กลาง ตั้งอยู่ระหว่างสระแก้วกับตราด จะทำให้การค้า การท่องเที่ยว การขนส่ง ในภาคตะวันออกเติบโตมากไปกว่าที่เป็นอยู่อย่างเร็วมาก”

“เปรียบเทียบง่าย ๆ เมืองเศรษฐกิจพิเศษ 5 เมือง คือฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, สระแก้ว และตราด เป็นเหมือนแหวนที่มีจันทบุรีเป็นหัวแหวน แต่เวลานี้ยังขาดหัวแหวน เพราะคิดกันไม่ถึงว่าจันทบุรีมีศักยภาพมากกว่าที่รู้ อย่างน้อยสุด เพื่อให้แหวนสมบูรณ์ในช่วงเวลาที่รถไฟความเร็วสูงยังมาไม่ถึงจันทบุรี จำเป็นมากต้องขยายถนนจากตัวเมืองจันทบุรีเชื่อมต่อไปอำเภอแกลง ระยอง จาก 4 เลนเป็น 8 เลน เพราะทุกวันนี้การขนส่ง การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างจันทบุรีและระยองแออัดมาก”

“ถ้าทำได้ตามนี้ เราจะได้เห็นการพัฒนาภาคตะวันออกเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างเหลือเชื่อ!!”  ดร.รัฐวิทย์สรุป.

--------------------

พิทักษ์ สัตยะสัจจา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2017 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

วิศวะจีนสอบผ่านฉลุย พร้อมลุยสร้างไฮสปีดเทรน
วันจันทร์ ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560, 14.43 น.
รถไฟไทยจีน ไฮสปีดเทรน ไฮสปีดเทรนไทย-จีน รถไฟความเร็วสูง

สภาวิศวกรไทยการันตีวิศวะจีนสอบผ่านฉลุย พร้อมสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราช

9 ต.ค.60 สภาวิศวกรร่วมกับสภาสถาปนิก แถลงผลการดำเนินงานทดสอบวิศวกรและสถาปนิกจีน รุ่นที่ 1 โครงการรถไฟความเร็วสูงที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ถ.รัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพฯ

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ 30/2560 ระบุให้กระทรวงคมนาคมประสานกับสภาวิศวกรและสภาสถาปนิกของไทย เพื่อจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้กับวิศวกรและสถาปนิกจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่จะเข้ามาก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ทางสภาวิศวกรได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับวิศวกรจีนรวม 400 คน แบ่งเป็น 4 รุ่น รุ่นละประมาณ 100 คน โดยรุ่นแรกฝึกอบรมไปแล้ว 77 คน เมื่อวันที่ 22-24 ก.ย.2560 และมีการทดสอบในวันที่ 25 ก.ย.2560 ที่เมืองเทียนจิน ประเทศจีน

สำหรับสาระสำคัญของการฝึกอบรม ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ 1.กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างในประเทศไทย เช่น พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 , พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ.2542 เป็นต้น และ 2.สภาพทางภูมิศาสตร์ของไทย ซึ่งมีความแตกต่างจากประเทศจีน จึงเป็นสิ่งที่วิศวกรจีนต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนเริ่มโครงการจริง

“การทำรถไฟจากกรุงเทพฯไปโคราช ต้องผ่าน 3 ลุ่มน้ำ ลักษณะการเอียงตัวของพื้นที่จากกรุงเทพฯไปยังโคราช มีลักษณะเป็นที่ลาดชันขึ้นไป เขาต้องเข้าใจในส่วนนี้ รวมถึงชั้นดินที่แปรผันจากชั้นดินอ่อนในกรุงเทพฯ ไปถึงชั้นดินที่เป็นภูเขาในเขตนครราชสีมา ถ้าจีนไม่เข้าใจ การออกแบบรถไฟฟ้าก็จะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงกลายเป็นหลักสูตรในการที่เราจะไปฝึกอบรมและทดสอบแก่วิศวกรจีน” ศ.ดร.อมร กล่าว

เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวต่อว่า หลักสูตรนี้วิศวกรจีนทุกคนที่จะมาทำโครงการรถไฟความเร็วสูงต้องผ่านการอบรมและการทดสอบ แม้จะเป็นวิศวกรระดับอาวุโสและวิศวกรผู้เป็นหัวหน้าโครงการก็ตาม หลักสูตรครอบคลุมทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง อาทิ โยธา เครื่องกล ไฟฟ้า เมื่ออบรมแล้วจะมีการสอบข้อเขียน 150 ข้อ แบ่งเป็นวิชากฎหมายที่เกี่ยวข้อง 50 ข้อ เกณฑ์ผ่านขั้นต่ำ 30 ข้อ กับวิชาความรู้ด้านภูมิศาสตร์ของพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้าง 100 ข้อ เกณฑ์ผ่านขั้นต่ำ 60 ข้อ ซึ่งผลการทดสอบออกมาเป็นที่น่าพอใจ

“วิศวกรจีนให้ความสนใจ กระตือรือร้น ตรงเวลา มีการถามคำถามโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายของไทย เช่น การติดตั้งแผงกันเสียง หรือการกำหนดระยะการสั่นสะเทือน เขามีความอยากรู้ แสดงว่าการอบรมครั้งนี้มีความจำเป็น วิศวกรจีนจะได้มีความเข้าอกเข้าใจประเทศไทยมากขึ้น” เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าว

เลขาธิการสภาวิศวกร ระบุว่า ผลสอบชุดที่ 1 เรื่องกฎหมายและจรรยาบรรณ 50 คะแนน เกณฑ์ผ่าน 30 คะแนน ต่ำสุดที่เขาทำได้คือ 39 คะแนน สูงสุด 48 คะแนน ค่าเฉลี่ยที่ 44 คะแนน ส่วนข้อสอบเรื่องเทคนิคและสภาพท้องที่ ข้อสอบ 100 คะแนน เกณฑ์ผ่าน 60 คะแนน คะแนนต่ำสุดที่วิศวกรจีนทำได้คือ 76 คะแนน สูงสุด 89 คะแนน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 82.4 คะแนน

สำหรับอีก 3 รุ่นที่เหลือ จะทำการอบรมและทดสอบในวันที่ 12 - 15 ต.ค. 2560 , 27 - 30 ต.ค. 2560 และ 10 - 13 พ.ย. 2560 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผู้ผ่านการอบรมและทดสอบจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการโครงการในระยะแรก คือเส้นทางกรุงเทพฯ - นครราชสีมา เท่านั้น ไม่รวมการก่อสร้างระยะที่ 2 เส้นทางนครราชสีมา - หนองคาย ที่จะมีขึ้นต่อไปในอนาคต

ขณะที่ นายประภากร วทานยกุล เลขาธิการสภาสถาปนิก กล่าวว่า ในส่วนของสภาสถาปนิก ขณะนี้ยังไม่มีการฝึกอบรมและทดสอบให้กับสถาปนิกจีน โดยจะอบรมรุ่นแรกจำนวน 7 คน ระหว่างวันที่ 17-18 ต.ค.2560 ที่ที่ทำการสภาสถาปนิกของประเทศไทย เบื้องต้นมีสถาปนิกจีนเข้าร่วมจำนวน 17 คน ซึ่งจะใช้สถาปนิกที่มีประสบการณ์ทำงานในจีนมาเป็นล่ามแปล เพื่อให้อธิบายศัพท์เทคนิคต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเข้าใจตรงกันระหว่างสถาปนิกทั้ง 2 ชาติ นอกจากนี้ยังมีการพาไปดูตัวอย่างสถานที่ที่จะก่อสร้างจริง ณ จ.พระนครศรีอยุธยา ด้วย

ส่วนข้อสอบจะมี 100 ข้อ แบ่งเป็น 5 วิชา วิชาละ 20 ข้อ ประกอบด้วย 1.จรรยาบรรณสถาปนิกในประเทศไทย 2.กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่มีทั้งกฎหมายส่วนกลางและข้อบัญญัติของท้องถิ่น 3.ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย เพราะเป็นโครงการก่อสร้างในไทย ย่อมต้องสะท้อนภาพสถาปัตยกรรมแบบไทย 4.สภาพแวดล้อม ซึ่งแต่ละจังหวัดที่เส้นทางรถไฟผ่านจะมีสภาพภูมิศาสตร์ต่างกัน และ 5.วัสดุก่อสร้าง โดยจะเน้นให้ใช้วัสดุที่ผลิตในไทยเป็นหลัก จึงต้องรู้ขีดความสามารถในการผลิตวัสดุก่อสร้างของไทยด้วย

“เราได้รับความร่วมมือจากบริษัทห้างร้านที่เป็นผู้จัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง นำมาจัดแสดงให้ดู นั่นหมายความว่าอบรม สอบ ดูนิทรรศการ อยู่ในสถานที่เดียวกัน แล้วก็ไปดูสถานที่จริงที่อยุธยา ซึ่งจะเป็นการออกนอกสถานที่ ส่วนรุ่นที่ 2 ก็ใช้กำหนดการเดียวกัน คือ 7 - 8 พ.ย. 2560 อบรม วันที่ 9 พ.ย. ทดสอบ วันที่ 10 พ.ย. พาไปดูงานนอกสถานที่ ซึ่งชุดที่ 2 จะมี 10 ท่าน เมื่อเสร็จแล้วเกณฑ์การสอบก็เช่นเดียวกัน ออกเป็นใบรับรอง” เลขาธิการสภาสถาปนิก กล่าว

//-------------------------
ผลทดสอบวิศวกรจีนรุ่นแรกสร้างรถไฟความเร็วสูงผ่านเกณฑ์กม.ไทยฉลุย

9 ตุลาคม 2560 เวลา 09:48 น.

ผลทดสอบวิศวกรจีนรุ่นแรกสร้างรถไฟความเร็วสูงผ่านเกณฑ์กฏหมายไทยฉลุย เดินหน้าเสริมความรู้สภาพพื้นที่ภูมิประเทศของไทยต่อครบ4รุ่น

ศ.ดร. อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร แถลงผลการดำเนินงานอบรมและทดสอบวิศวกรจีนที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ว่า การอบรมและทดสอบวิศวกรจีนในโครงการดังกล่าวเป็นไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 30/2560 โดยมีวิศวกรจีนที่จะเข้ารับการอบรมและทดสอบโดยสภาวิศวกรไทย จำนวน 400 คนโดยประมาณ ประกอบด้วยวิศวกรระดับ Professor professional, Senior professional และระดับ Professional ครอบคลุมสาขาวิศวกรรมโยธา ไฟฟ้า เครื่องกล และ อื่นๆ

ศ. ดร. อมร กล่าวต่อว่าการจัดอบรมและทดสอบวิศวกรจีนแบ่งออกเป็น 4 รุ่นดังนี้ รุ่นที่ 1 วันที่ 22-25 กันยายน 2560 รุ่นที่ 2 วันที่ 12-15 ตุลาคม รุ่นที่ 3 วันที่ 27-30 ตุลาคม และรุ่นที่ 4 วันที่ 10-13พฤศจิกายน โดยทั้ง 4 รุ่นจัดที่นครเทียนจิน ประเทศจีน

สำหรับหลักสูตรฝึกอบรมและทดสอบวิศวกรจีน นั้น ศ.ดร. อมร กล่าวว่า มิได้เป็นการอบรมเรื่องรถไฟความเร็วสูงแต่เป็นการอบรมความรู้ในเรื่องที่วิศวกรจีนจำเป็นต้องรู้ก่อนเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทย ทั้งในเรื่องข้อกฎหมาย และ สภาพท้องที่ (local conditions) ของประเทศไทย เช่น สภาพทางธรณีวิทยา ชั้นดิน ลุ่มน้ำและน้ำท่วม ตลอดจนภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว และ ลมพายุ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการออกแบบและก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง

ส่วนการอบรมและทดสอบวิศวกรจีนรุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 22-25 กันยายน ที่ผ่านมานั้น มีวิศวกรจีนเข้ารับการอบรมและทดสอบจำนวน 77 คน ในส่วนของการทดสอบนั้นประกอบด้วยข้อสอบ 2 ชุด โดยชุดที่ 1 เกี่ยวข้องกับกฎหมายและจรรยาบรรณ มี 50 ข้อ เกณฑ์ผ่านพิจารณาที่ 60% หรือ 30 ข้อ ส่วนข้อสอบชุดที่ 2 เกี่ยวข้องกับด้านเทคนิคและสภาพท้องที่ของประเทศไทย มี 100 ข้อเกณฑ์ผ่าน 60% หรือ 60 ข้อ

สำหรับผลการทดสอบวิศวกรจีน 77 คนในรุ่นที่ 1 นั้น ศ.ดร.อมร พิมานมาศเปิดเผยว่า วิศวกรจีนทั้ง 77 คนผ่านการทดสอบข้อสอบชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 ทั้ง 77 คน โดยข้อสอบชุดที่ 1 คะแนนต่ำสุด 39 คะแนนสูงสุด 48 และคะแนนเฉลี่ย 44 คะแนนซึ่งผ่านเกณฑ์ 30 คะแนนทุกคน และสำหรับข้อสอบชุดที่ 2 คะแนนต่ำสุด 76 คะแนนสูงสุด 89 และคะแนนเฉลี่ย 82 คะแนน ซึ่งผ่านเกณฑ์ 60 คะแนนทุกคน จากนี้ไป สภาวิศวกรจะออกใบรับรองผ่านการอบรมและทดสอบความรู้ให้แก่วิศวกรจีนในรุ่นที่ 1 นี้ เพื่อให้สามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป


Last edited by Wisarut on 10/10/2017 10:33 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/10/2017 8:35 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
วิศวะจีนสอบผ่านฉลุย พร้อมลุยสร้างไฮสปีดเทรน
วันจันทร์ ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560, 14.43 น.

วิศวกรจีนร่วมสร้างรถไฟความเร็วสูงรุ่นแรกผ่านการทดสอบกฏหมายอาคาร - เที่ยงทันข่าว
PPTV HD 36 Published on Oct 8, 2017
วิศวกรจีนร่วมสร้างรถไฟความเร็วสูงรุ่นแรกผ่านการทดสอบกฏหมายอาคาร


https://www.youtube.com/watch?v=MlynZdRDZds
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/10/2017 9:16 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งเคลียร์ EIA เจรจาเหมืองหินปูน เปิดทางตอกเข็มรถไฟไทย-จีนพ.ย. นี้
MGR Online เผยแพร่: 9 ต.ค. 2560 18:16:00

“อาคม”ยันไม่เลื่อนตอกเข็มรถไฟไทย-จีน ช่วงแรก 3.5 กม. ดีเดย์ พ.ย.นี้ เร่งสนข.ประสาน สผ. ลงพื้นที่เคลียร์เจ้าของสัมปทานเหมืองหินปูน เจรจาค่าชดเชย ขณะที่ สภาวิศวกร เผย อบรมวิศวกรจีน ชุดแรก 77 คน คะแนนผ่านเกณฑ์ เตรียมออกออกใบรับรอง เริ่มทำงาน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ยืนยันว่าการก่อสร้างโครงการ รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ- นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงิน 179,412.21 ล้านบาท จะไม่ล่าช้า โดยช่วงที่ 1 จากสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.จะเริ่มต้นก่อสร้างในเดือนพ.ย.นี้ ส่วนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ยังไม่ได้รับอนุมัตินั้น ขณะนี้เหลือเพียงประเด็นเดียว ช่วงที่ผ่านเหมืองหินปูน ซึ่งทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ได้เร่งดำเนินการให้เรียบร้อยภายในเดือนต.ค.นี้ และเสนอคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณาครั้งที่ 7 จากนั้นจะเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.)พิจารณาต่อไป

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า EIA ช่วงบางซื่อ-บ้านภาชี ได้รับอนุมัติแล้ว เหลือเพียงช่วง บ้านภาชี-นครราชสีมา ซึ่งมีประเด็นสุดท้ายช่วงผ่านเหมืองหินปูน ซึ่งมีสัมปทาน 3 ราย ซึ่ง ทางสผ.ต้องการความชัดเจนและหลักฐานการยินยอมของเอกชนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งที่ปรึกษาของสนข.ได้ลงพื้นที่และเจรจาได้ข้อยุติกับ 2 รายแล้วเหลืออีก 1 รายซึ่งคาดว่าจะเรียบร้อยในเดือนต.ค.นี้ โดยยังคงเป้าหมายตอกเข็ม ระยะทาง 3.5 กม.ยังคงเป็นเดือนพ.ย.นี้

“เรื่องEIA กับรถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องใหม่ ที่ไม่เคยพิจารณามาก่อน ที่ผ่านมา จึงพิจารณาอย่างละเอียด มีการประชุมคชก.ถึง 6 ครั้งแล้ว ถอดทีละประเด็น คชก.ต้องการหลักฐานยืนยันว่าเจ้าของพื้นที่ยอมให้ผ่านและมีการพิจารณาเรื่องชดเชยที่ยอมรับ ซึ่งจึดผ่านเหมืองหินปูนนี้จบ เท่ากับ EIA จะผ่านครบทั้งเส้นทางถึงโคราช”

***สภาวิศวกร เตรียมออกใบรับรองวิศวกรจีนชุดแรก 77 คน

นายอมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวว่า การอบรมและทดสอบวิศวกรจีนจำนวน 400 คน ประกอบด้วยวิศวกรระดับ Professor professional, Senior professional และระดับ Professional ครอบคลุมสาขาวิศวกรรมโยธา ไฟฟ้า เครื่องกล แบ่งออกเป็น 4 รุ่น ประกอบด้วยรุ่นที่ 1 วันที่ 22-25 กันยายน 2560 รุ่นที่ 2 วันที่ 12-15 ตุลาคม รุ่นที่ 3 วันที่ 27-30 ตุลาคม และรุ่นที่ 4 วันที่10-13พฤศจิกายน โดยทั้ง 4 รุ่นจัดที่นครเทียนจิน ประเทศจีน

ซึ่งการอบรมและทดสอบ รุ่นที่ 1 จำนวน 77 คน ผ่านการทดสอบข้อสอบชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 ทั้งหมดโดยข้อสอบชุดที่ 1 คะแนนเฉลี่ย 44 คะแนน โดยคะแนนต่ำสุด 39 คะแนนสูงสุด 48 และ ข้อสอบชุดที่ 2 คะแนนเฉลี่ย 82 คะแนน จากนี้ไป สภาวิศวกรจะออกใบรับรองผ่านการอบรมและทดสอบความรู้ให้แก่วิศวกรจีนในรุ่นที่ 1 นี้ เพื่อให้สามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 234, 235, 236 ... 547, 548, 549  Next
Page 235 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©