RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272441
ทั้งหมด:13583737
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 248, 249, 250 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/12/2017 10:12 am    Post subject: Reply with quote

คสช.ปิดฉาก 3 มหากาพย์ “ทางคู่-ไฮสปีดจีน-เมล์ NGV” ฉลุย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 28 ธันวาคม 2560 - 10:00 น.

Click on the image for full size

“ถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่ที่รอมานาน “ประโยคสั้น ๆ ของเจ้ากระทรวงคมนาคม “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” พลันที่ผลักดันรถไฟทางคู่ระยะแรก 5 เส้นทาง ให้เซ็นสัญญาก่อสร้างได้แบบฉิวเฉียดก่อนสิ้นปี 2560

เซ็นรวดเดียวกว่า9 หมื่นล้าน

สำหรับรถไฟทางคู่มีการอนุมัติในภาพรวมทั้งประเทศเมื่อปี 2536 กว่า 2,700 กม. และได้รับการผลักดันกันมาอย่างยาวนาน โดยวันที่ 27 พ.ค. 2551 ครม.อนุมัติให้ “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย”

เริ่มสร้าง 5 เส้นทางเร่งด่วน 702 กม. มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ประกอบด้วย

1.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม. 2.หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 90 กม. 3.มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กม.

4.ลพบุรี-ปากนํ้าโพ 148 กม. และ 5.นครปฐม-หัวหิน 165 กม.มาถึงรัฐบาลทหาร มีการเปิดประมูลแต่ต้องล้มกระดานใหม่ หลังมีข้อร้องเรียนถึงความไม่โปร่งใส กีดกันรายย่อยปล่อยให้รายใหญ่ฮุบเค้ก


ทำให้ “ร.ฟ.ท.” ต้องกลับมาเขย่าสัญญาใหม่ซอยจากเดิม 5 สัญญา เป็น 13 สัญญา วงเงินรวม 98,984 ล้านบาท ลดจากเดิม 101,748 ล้านบาท ประมาณ 2,764 ล้านบาท ประกอบด้วย งานโยธา 9 สัญญา อุโมงค์ 1 สัญญา และงานระบบ 3 สัญญา เพื่อเปิดทางให้รับเหมาไทย-เทศเข้าร่วมประมูลได้มากขึ้น

ผลประมูล 10 สัญญา ได้แก่ สายนครปฐม-หัวหิน 2 สัญญา มีช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล “บจ. เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964)” ได้งาน 8,198 ล้านบาท และช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน “บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น” ชนะประมูล 7,520 ล้านบาท สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ “บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์” ชนะประมูล 5,807 ล้านบาท ส่วนสายลพบุรี-ปากน้ำโพ มี 2 สัญญา งานช่วงบ้านกลับ-โคกกระเทียม

“กิจการร่วมค้า UN-SH” ประกอบด้วย บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชัน และ บจ. ซิโนไฮโดรฯ ได้งาน10,050 ล้านบาท เช่นเดียวกับช่วงท่าแค-ปากน้ำโพ ที่ บมจ.ยูนิคฯได้งานไปครอง 8,649 ล้านบาท สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร งานช่วงประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย “กิจการร่วมค้าเคเอส-ซี” ประกอบด้วย บจ. เค.เอส.ร่วมค้า และไชน่า เรลเวย์ฯ ได้งาน 6,465 ล้านบาท ส่วนช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร กิจการร่วมค้าเอสทีทีพี (บมจ.ซิโน-ไทยฯ-บจ.ไทยพีค่อนและอุตสาหกรรม) ได้งาน 5,992 ล้านบาท

สำหรับสายมาบกะเบา-จิระ งานช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร วงเงิน 7,560 ล้านบาท บมจ.อิตาเลียนไทยฯคว้างานแพ็กคู่กับงานอุโมงค์ 8 กม. ที่ผนึกกับ”บจ.ไรท์ทันเน็ลลิ่ง” ด้วยวงเงิน 9,290 ล้านบาท ทั้ง 5 สายจะตอกเข็มต้นแรกภายในไตรมาสแรกของปี 2561

แม้ว่าจะเคลียร์ฉลุยบางส่วนแล้วเสร็จ แต่ยังมีงานที่ตกค้างอยู่ที่ “อาคม” ต้องประมูลให้จบปีหน้า เป็นงานช่วง “สีคิ้ว-จิระ” มีปรับแบบให้เป็นทางยกระดับ 7 กม. วงเงิน 10,466 ล้านบาท หลังคนโคราชไม่ต้องการให้สร้างผ่ากลางเมือง ทำให้ ร.ฟ.ท.ต้องรื้อแบบช่วงนี้ใหม่

นอกจากนี้ ยังมีงานระบบอาณัติสัญญาณ 3 สัญญาต้องเร่งเครื่องไม่แพ้กัน แยกเป็นสายเหนือ ลพบุรี-ปากน้ำโพ 145 กม. วงเงิน 2,988 ล้านบาท

สายใต้ตลอดเส้นทางจากนครปฐม-ชุมพร 421 กม. จำนวน 1 สัญญา วงเงิน 7,384 ล้านบาท และสายตะวันออกเฉียงเหนือช่วงมาบกะเบา-จิระ 128 กม. วงเงิน 2,549 ล้านบาท จะทยอยประกวดราคาต่อไป โดยจะทยอยเปิดบริการเป็นช่วง ๆ ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2563 จนครบในปี 2564

คิกออฟไฮสปีดเทรนสายแรก

“รถไฟความเร็วสูง” เป็นอีกโครงการที่ใช้เวลาผลักดันมานานและหลายรัฐบาล จนมาได้เริ่มต้นในรัฐบาลปัจจุบัน ในเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. เงินลงทุน 179,412 ล้านบาท เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและจีน ที่มีการเซ็นบันทึกความเข้าใจร่วมกันเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2557 ใช้เวลาร่วม 3 ปีในการเจรจา ออกแบบรายละเอียด จนมาสำเร็จวันที่ 21 ธ.ค. 2560 เริ่มต้นงานคันดิน 3.5 กม.

จากกลางดง-ปางอโศก วงเงิน 425 ล้านบาท เป็นจุดเริ่มต้นโครงการรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย

งานนี้ “ร.ฟ.ท.” จ้าง “กรมทางหลวง” เป็นผู้เนรมิตโครงการให้เสร็จ กลางปี 2561 จากนั้นจะทยอยสร้างส่วนที่เหลือ จะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี แต่ด้วยเป็นรถไฟระบบใหม่ที่ประเทศไทยยังไม่เคยมีมาก่อนจึงต้องใช้เวลาทดสอบระบบ คาดว่าจะเปิดบริการได้ปี 2566

พร้อมกับขยายเส้นทางให้ไปถึงหนองคาย เชื่อมกับรถไฟลาว-จีนที่เวียงจันทน์ หากสำเร็จได้ดังหวัง จะเป็นรถไฟเชื่อมความสัมพันธ์การค้า และท่องเที่ยว 3 ประเทศ “ไทย-ลาว-จีน”

ล้างอาถรรพ์รถเมล์ NGV

“รถเมล์ NGV” นับเป็นโครงการค้างฟ้าบนบ่าของคมนาคมที่ใช้เวลาผลักดันกันมาร่วม 11 ปี ตั้งแต่รัฐบาลไทยรักไทยไหลมาเพื่อไทย จนมาถึง “รัฐบาล คสช.” ที่ชำแหละโครงการจาก 3,183 คัน วงเงิน 13,216 ล้านบาท ประเดิมจัดซื้อ 489 คันแรกเป็นการนำร่อง ถึงจะล้มประมูลอยู่หลายครั้ง แต่ก็มาหยุดสุดท้ายที่ครั้งที่ 8 หลังกิจการร่วมค้า SCN-CHO ประกอบด้วย บมจ.สแกนอินเตอร์ และ บมจ.ช ทวี ชนะประมูลได้ด้วยวงเงิน 4,260 ล้านบาท สูงกว่าราคาอยู่ 5-6% จนเซ็นสัญญากันเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อ 27 ธ.ค. 2560

หากไม่มีคลื่นแทรกจนทำให้โปรเจ็กต์รวน จะส่งมอบรถ 100 คันแรกภายในเดือน มี.ค. 2561 ออกวิ่งบริการก่อนวันเปิดเทอม ส่วนที่เหลือจะทยอยตามมาจนครบทั้งหมด

หวังว่าจะไม่ซ้ำรอยโครงการติดตั้งระบบ e-Ticket พ่วงเครื่องเก็บค่าโดยสารหยอดเหรียญ (cash box) บนรถเมล์ 2,600 คัน ที่ ขสมก.ลงทุนไปจ้าง “ช ทวี” 1,665 ล้านบาท เมื่อถึงกำหนดของมาไม่ครบ แถมยังไม่พร้อมใช้งาน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/12/2017 8:33 am    Post subject: Reply with quote

ประชาพิจารณ์คลื่นรถไฟความเร็วสูง
ไทยรัฐออนไลน์ โดย หมัดเหล็ก 29 ธ.ค. 2560 05:12

เวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะประเด็นหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตใน การใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรศัพท์ความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ของ กสทช. ประเด็นหนึ่งที่พูดถึงกันมากที่สุดคือการจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับ รถไฟ เพื่อใช้สำหรับระบบอาณัติ สัญญาณควบคุมรถไฟความเร็วสูง

ในยุคไทยแลนด์ 4.0 การสื่อสารโทรคมนาคมถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการเชื่อมโยงระบบขนส่งกับนานาประเทศ หรือที่เรียกว่า โลจิสติกส์ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ กสทช. ได้กำหนดให้รถไฟความเร็วสูงที่ว่าใช้คลื่นความถี่ที่ติดกับคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ ที่เป็นของ กสทช.โทรคมนาคมในปัจจุบัน สิ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบคือการรบกวนโดยความถี่ของรถไฟถูกกวนจากคลื่น 850เมกะเฮิรตซ์อย่างรุนแรง และไม่ สามารถที่จะให้ความมั่นใจได้ว่าจะมีการป้องกันคลื่นรบกวนได้แค่ไหน

ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ความปลอดภัยของผู้โดยสารบนรถไฟความเร็วสูง จะมีความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นอย่างมาก ในทางเทคนิคไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่า การป้องกันการรบกวนของคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ต่อคลื่น 900เมกะเฮิรตซ์ที่จะใช้เป็นอาณัติสัญญาณที่เรียกว่า Signaling ของรถไฟ นึกถึงภาพความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่จะต้องมีการทบทวนความปลอดภัยในการใช้คลื่นความถี่ให้รอบคอบกว่านี้

มีประเด็นที่น่าสังเกตก็คือ ข้อเสนอของ กสทช. ตรงข้ามกับผลการศึกษาของ จุฬาฯ ที่เสนอให้รถไฟใช้คลื่นติดกับคลื่นของ AWN ที่ห่างจากคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ ถึง 6 เมกะเฮิรตซ์ แต่ที่ กสทช.กำหนดห่างจากคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ แค่ 1 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น

ผลกระทบจากการรบกวนของคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ของ CAT ไปที่ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ ทำให้การใช้โทรศัพท์ไม่สมบูรณ์ ติดบ้างไม่ติดบ้าง เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบุคคลไม่ใช่ระบบ แต่ถ้าคลื่นรบกวนดังกล่าวเกิดขึ้นกับระบบ จะเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง

ในมุมมองของ วิศวกรรม มีความเห็นว่ามีความเสี่ยง เพราะยังไม่มีประเทศไหนในโลกที่จะให้ระบบโทรคมนาคมกับระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟความเร็วสูงที่คลื่นห่างกันแค่ 1 เมกะเฮิรตซ์ โดยทางเทคนิค แม้จะติดตั้งอุปกรณ์กรองสัญญาณรบกวนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังอยู่บนความเสี่ยงอยู่ดี

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เทคโนโลยี GSM-R ที่ใช้สำหรับระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟความเร็วสูงทั่วโลก ใช้กันมาเกือบ 20 ปี มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยี LTE-R แทน และเทคโนโลยีที่ว่านี้ต้องการที่จะใช้คลื่นความถี่มากขึ้นจาก 5 เมกะเฮิรตซ์เป็น 7-10 เมกะเฮิรตซ์ เพราะฉะนั้นถ้ารถไฟจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่แบบใหม่ ก็จะทำให้เกิดปัญหาทันที

เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ กทช.จึงควรจะรอความชัดเจนของระบบอาณัติสัญญาณที่จะใช้เชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงในภูมิภาคนี้ด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดความสูญเสียและจะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง โดยไม่มีความจำเป็น โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงที่บ้านเราเพิ่งจะนำมาใช้งานเป็นครั้งแรก

จะเสี่ยงไม่ได้เด็ดขาด.
หมัดเหล็ก mudlek@thairath.co.th
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/12/2017 2:57 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่น จ่อเข้าครม.ต้นปี61
ฐานเศรษฐกิจ 29 ธ.ค. 60

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่อย่างเป็นทางการที่ จ.สุโขทัยว่า ที่ประชุมครม.รับทราบการรายงานภาพรวมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในภาคเหนือ โดยทางบกนั้นจะมีการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร คือ ทางหลวงหมายเลข 12 แม่สอด-มุกดาหาร การก่อสร้างแบ่งออกเป็น 4 ตอนดำเนินการแล้วเสร็จไป 3 ตอน ยังเหลือตอนสุดท้ายคือ ในส่วนของแม่สอด จ.ตาก ซึ่งมีความคืบหน้าไปประมาณ 5% ติดขัดจากการก่อสร้างถนนที่ต้องตัดผ่านต้นไม้ใหญ่ ได้มีการประสานงานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปแล้ว เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินต่อไปได้ นอกจากนี้จะมีการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองเชียงใหม่ สายสันป่าตอง-หางดง โดยคาดว่า จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2561

ส่วนทางรางได้มีข้อเสนอการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากนํ้าโพ คาดจะลงนามได้ใน 28 ธันวาคม 2560 และช่วงปากนํ้าโพ-เด่นชัย จะเสนอครม.พิจารณาช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 ส่วนการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ สายเด่นชัย- เชียงราย -เชียงของ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ภายในปี 2561 ขณะที่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่นนั้น กระทรวงคมนาคมรายงานว่าจะเริ่มดำเนินการระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทางประมาณ 380 กม.ให้ครม.พิจารณาอนุมัติโครงการได้ภายในต้นปี 2561 และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ประมาณปี 62 ทั้งนี้ นายกฯมอบหมายให้ไปพิจารณาการลงทุนว่า จะเป็นรัฐลงทุนหรือเอกชนร่วมลงทุน และให้ไปศึกษาว่า จะเป็นรถไฟความเร็วสูงหรือความเร็วปานกลาง เนื่องจากยังไม่มีทิศทางในการเชื่อมต่อไปที่อื่นชัดเจน

สำหรับทางอากาศนั้นจะมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานเชียงใหม่แห่งที่ 2 ซึ่งกำลังพิจารณาพื้นที่ว่าจะอยู่ใน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ หรือที่ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ขณะเดียวกันที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่จะมีการขยายอาคารรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันรองรับได้อยู่ 10 ล้านคน/ปี จะเพิ่มเป็น 20 ล้านคน/ปี และรองรับสายการบินเพิ่มขึ้นเป็น 34 เที่ยวบิน/สัปดาห์ จากปัจจุบันอยู่ที่ 24 เที่ยวบิน/สัปดาห์

นอกจากนี้ยังมีเรื่องการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ที่แม่สอด จ.ตาก ที่ จ.แพร่ และ จ.เพชรบูรณ์ ยังติดปัญหาว่า หัวและท้ายของรันเวย์ติดกับพื้นที่ชุมชนและอยู่ในเขตเมือง ซึ่งนายกฯได้ขอให้ภาคเอกชนช่วยทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ก่อนเริ่มก่อสร้าง ส่วนทางนํ้านั้นจะพัฒนาและปรับปรุงทางเดิน 98 ร่องนํ้าซึ่งเป็นเรื่องที่กรมเจ้าท่าจะรับไปดำเนินการ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,326 วันที่ 28 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2018 12:02 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่น จ่อเข้าครม.ต้นปี61
ฐานเศรษฐกิจ 29 ธ.ค. 60


Link อยู่นี่ครับ
http://www.thansettakij.com/content/245658
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/01/2018 4:31 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณมากครับ Very Happy

มหกรรมลงทุนแห่งปี 2561 ลุย 44 เมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 2 มกราคม 2561 - 11:26 น.

“รัฐบาลทหาร” ต้องแข่งกับเวลา กระทรวงคมนาคมต้องแข่งกับตัวเอง เพื่อผลักดันโครงการใหญ่ให้เป็นจริงแผนปฏิบัติเร่งด่วนปี 2559-2561 มี 51 โครงการ มูลค่า 2.39 ล้านล้านบาท ถ้าสำเร็จจีดีพีจะทะลุ 4%

“อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศว่า ปี 2561 จะเป็นปีที่แผนเร่งด่วนเปิดประมูลและขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเริ่มโครงการและส่งต่อให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการแผนลงทุนมีโครงการต่อเนื่องปี 2559-2560 จำนวน 43 โครงการ วงเงิน 2.29 ล้านล้านบาท โครงการใหม่ปี 2561 จำนวน 8 โครงการ วงเงิน 103,285 ล้านบาท รวม 51 โครงการ มูลค่าลงทุน 2.39 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นยุทธศาสตร์คมนาคมขนส่งปี 2558-2565 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

แม้ “คมนาคม” อยากเทกระจาดโครงการยักษ์ให้หมด แต่ด้วยข้อจำกัดและได้รับโจทย์จาก “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” มือเศรษฐกิจรัฐบาล คสช. ขอให้จัดลำดับโครงการก่อนหลัง โดยให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นลำดับแรก เพื่อเปิดประมูลให้จบในปี 2561

Click on the image for full size

ทำให้ “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ต้องรีวิวโครงการใหม่จาก 51 โครงการ เหลือ 44 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 1.9 ล้านล้านบาท เช่น ทางคู่สายใต้รวบจาก 3 โครงการ นครปฐม-หัวหิน, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร เป็นโครงการนครปฐม-ชุมพร 422 กม. ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-ดอนเมือง) และรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง รวบเป็นโครงการเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

และตัดบางโครงการออกจากบัญชี เช่น สายสีเขียวคูคต-ลำลูกกา และสมุทรปราการ-บางปู เนื่องจากเคลียร์หนี้ 6 หมื่นล้านบาทจากการโอนทรัพย์สินของสายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต ให้กับ “กรุงเทพมหานคร” ยังไม่ลงตัว

ส่วนรายละเอียด 44 โครงการ แยกเป็นกลุ่มโครงการคณะกรรมการ PPP เห็นชอบ หรือ ครม.อนุมัติได้ภายในปี 2561 จำนวน 21 โครงการ ได้แก่ ทางด่วนกะทู้-ป่าตอง ศูนย์ขนส่งชายแดนนครพนม ซื้อรถเมล์ไฟฟ้า 35 คัน มอเตอร์เวย์ 3 สาย มีนครปฐม-ชะอำ, หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ และกรุงเทพฯ-มหาชัย

ส่วนต่อขยายโทลล์เวย์ช่วงรังสิต-บางปะอิน รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และกรุงเทพฯ-หัวหิน สายสีแดง บางซื่อ-หัวหมากและบางซื่อ-หัวลำโพง สายสีม่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ โมโนเรล จ.ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และขอนแก่น พัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ท่าเรือบก จ.ขอนแก่น และศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน

อีก 23 โครงการเป็นกลุ่มโครงการประกวดราคาแล้วเสร็จ หรือเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561 ได้แก่ จุดจอดพักรถบรรทุก จ.บุรีรัมย์ และขอนแก่น ทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงเกษตร-นวมินทร์-วงแหวนตะวันออก

ทางคู่นครปฐม-ชุมพร, ลพบุรี-ปากน้ำโพ, มาบกะเบา-จิระ และทางคู่เฟส 2 มีปากน้ำโพ-เด่นชัย, จิระ-อุบลราชธานี, ขอนแก่น-หนองคาย, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา, เด่นชัย-เชียงใหม่ และทางคู่สายใหม่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และบ้านไผ่-นครพนม

รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สายสีแดงช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช สายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม โครงการก่อสร้างลานจอดและระบบไฟฟ้าสนามบินกระบี่ ขยายอาคารผู้โดยสารสนามบินขอนแก่นและพัฒนาระบบตั๋วร่วม

เรื่องคิวเปิดประมูล “อาคม” ย้ำว่า ต้นปี 2561 จะเปิดประมูลทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ สีแดง ศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา สีส้มศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปิดยื่นข้อเสนอ ก.พ. ประกาศผู้ได้รับคัดเลือกเดือน พ.ค. เซ็นสัญญาเดือน ส.ค. 2561

ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 จะเปิดประมูลกลางปี และเซ็นสัญญาสิ้นปี 2561 รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ผ่านการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว กำลังเสนอบอร์ด PPP สายกรุงเทพฯ-โคราช เริ่มสร้างแล้วที่สถานีกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. ที่เหลือจะประมูลให้เสร็จในปี 2561 ส่วนรถไฟทางคู่เฟส 2 และทางคู่ 9 เส้นทางสายใหม่ เสนอ ครม.ในเดือน ก.พ.-มี.ค.นี้

ส่วนโครงการที่ไม่อยู่ในแผนเร่งด่วน จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP fast track คือบำรุงรักษามอเตอร์เวย์ 30 ปี สายบางปะอิน-โคราช ระยะทาง 196 กม. แบ่งเป็นค่าก่อสร้างด่านและระบบ 15,611 ล้านบาท ค่าบำรุงรักษา 18,962 ล้านบาท และบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. ค่าก่อสร้าง 12,636 ล้านบาท และค่าบำรุงรักษา 19,558 ล้านบาท

ปี 2561 จึงต้องลุยกันต่อกับเมกะโปรเจ็กต์ที่ผลักดันกันมานานหลายยุคหลายรัฐบาล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2018 4:06 am    Post subject: Reply with quote

“ไฮสปีดไทย-จีน” รถไฟทางคู่-เมล์ NGV โปรเจกต์ท้ายปี 60 กู้หน้า “คมนาคม”
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 2 ม.ค. 2561 10:06:00
ปรับปรุง: 2 ม.ค. 2561 13:25:00

คมนาคมดัน 3 โครงการปิดดีล ตัดริบบิ้นส่งท้ายปลายปีไปได้แบบเฉียดฉิว แม้บางโครงการอาจจะยังเป็นที่คาใจว่าในที่สุดแล้วจะมีปัญหาฉีกสัญญาซ้ำรอยอีกหรือไม่ เรียกว่าได้เริ่มต้นแล้ว แต่จะจบแบบไหน เข้าเส้นชัยหรือไม่! ต้องดูกันไปยาวๆ ส่วนการปลดธงแดง ICAO แทบจะเป็นผลงานเดียวที่เป็นรูปธรรม

***สตาร์ทไฮสปีด “ไทย-จีน” ปี 61 เร่งประมูล 13 สัญญา มูลค่ากว่า 1.1 แสนล้าน

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปลุกปั้น ตั้งวงเจรจากับผู้แทนประเทศจีน ตั้งเป้าเริ่มต้นโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางรวม 252.3 กิโลเมตร วงเงิน 179,412.21 ล้านบาท ให้ได้ภายในปี2560 แม้จะเลื่อนกำหนดมาหลายรอบ จนการประชุมในครั้งที่ 22 ได้กำหนดวันที่ 21 ธันวาคม 2560 เป็นวันดีสำหรับเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าใหม่รถไฟไทย

หากย้อนกลับไป เมื่อ 21 ธ.ค. ปี 2441 คือวันที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรการก่อสร้างรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จึงเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ณ สถานที่อันเป็นมงคล ด้วยการเริ่มการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศอย่างเป็นทางการ

ตามข้อตกลง ฝ่ายไทยให้จีนออกแบบ ใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของจีน ซึ่งระยะแรก กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะทยอยส่งแบบครบภายในเดือน มิ.ย. 2561 งานก่อสร้าง ตอนที่ 1 ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ร.ฟ.ท.ให้กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการเพื่อความรวดเร็ว และเป็นช่วงสั้นๆ ส่วนตอนที่ 2 ปากช่อง-ขนานจิตร ระยะทาง 11 กม. ตอนที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. ตอนที่ 4 แก่งคอย-กรุงเทพฯ 119 กม.เตรียมประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างตั้งแต่ไตรมาส 2/61 มูลค่างานโยธารวมกันกว่า 1.1 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ จะมีการเจรจาในส่วนของตัวระบบรถ ซึ่งมีมูลค่าเกือบ 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งคงไม่จบง่ายๆ เพราะจีนเสนอดอกเบี้ยเงินกู้กว่า 2.5% ซึ่งสูงกว่าเทียบกับเงินกู้อื่นๆ รวมถึง การเดินหน้าออกแบบในระยะที่ 2 (โคราช-หนองคาย) ระยะทาง 394 กิโลเมตรอีกด้วย

โครงการระดับชาติ รถไฟความเร็วสูงสายแรกเริ่มแล้ว ตามแผนการก่อสร้างจะเสร็จ และเปิดให้บริการปี 2566...ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้นคงต้องขยับแผนกันอีกหลายรอบแน่นอน เอาเป็นว่าขอให้เปิดได้จริงๆ ก็พอ

*** ม.44 เด้งผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. ปลดล็อกรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง-ปี 61 อัดประมูลเฟส 2 อีกเกือบ 4 แสนล้าน

ขณะที่รถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง วงเงินจาก 1.01 แสนล้านบาท โครงการที่ถูกจับจ้องว่ามีการล็อกสเปก ผูกสัญญาให้ผู้รับเหมาประจำหน้าเดิมไว้แล้ว ส่วนรับเหมารายกลาง ขาจรหมดสิทธิ์เบียดเข้ามาแจม จนมีคำสั่ง ม.44 เด้งผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. “วุฒิชาติ กัลยาณมิตร” ตกเก้าอี้ไปตบยุงสำนักนายกฯ และแต่งตั้งซูเปอร์บอร์ดจัดซื้อฯ เข้ามา รถไฟล้มกระดาน เริ่มต้นกันใหม่ แบ่งซอยงาน ลดทอนมูลค่าลง-ปรับสเปกให้กว้าง ใช้เวลาเกือบทั้งปีกว่าจะลงนามสัญญากับผู้รับเหมาได้

แม้ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบรางอย่างยิ่ง แต่รถไฟเลยยังไม่พัฒนาไปไหนสักที วันนี้รถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วนเกิดแล้ว ปี 2561 จะดันเฟส 2 อีก 7 เส้นทาง และสายใหม่อีก 2 เส้นทาง วงเงินรวมเกือบ 4 แสนล้านบาท เปิดประมูลกันรัวๆ ทั้งปี อีกไม่เกิน 5 ปีรถไฟทางคู่ทั่วประเทศพลิกโฉมรถไฟครั้งใหญ่...ส่วนที่จะต้องแก้ปัญหาต่อไป คือ การจัดซื้อ/เช่าหัวรถจักร 100 คันอีกกว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งก็ต้องล้มเพราะเรื่องล็อกสเปกแบบเดิมๆ มาหลายรอบ ถึงคิวที่จะต้องสะสางกันซะที

***ขสมก.อุ้ม “ช ทวี” รวบรัดเซ็นซื้อรถเมล์ NGV โปรเจกต์เจ้าปัญหา

โครงการจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) พร้อมซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสาร จำนวน 489 คัน ราคากลาง 4,020 ล้านบาท ขสมก.เปิดประมูลมา 8 ครั้ง ครั้งที่บริษัท เบสท์รินฯ ชนะ ว่ากันว่าน่าจะจบ เพราะถึงขั้นเซ็นสัญญา นำรถเข้ามาจอดท่าเรือรอส่งมอบกันแล้ว แต่เจอกรมศุลกากรตรวจพบสำแดงภาษีเท็จ ด้าน ขสมก.ถอยดีกว่า ขอยกเลิกสัญญากันไป แต่รถ NGV เบสท์รินฯ กลายเป็นข้อพิพาทบานปลายไปถึง รฟม.ที่จู่ๆ ก็ต้องมาซวย! เพราะทั้ง ขสมก. และเบสท์รินฯ ต่างปฏิเสธที่จะมาย้ายรถ 83 คันออกจากเดปโป้ พระราม 9 รฟม.ต้องพึ่งศาลช่วยหาเจ้าของรถให้ที ...

ส่วน ขสมก.เปิดประมูลอีกครั้ง เบสท์รินฯ ถูกแบล็กลิสต์ไปแล้ว บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) หรือ CHO ไร้คู่แข่ง หนทางแสนสะดวก โดยจับมือพันธมิตรอย่างบริษัท สแกน อินเตอร์ จํากัด (มหาชน) หรือ SCN เป็นกลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO (Consortium SCN-CHO) ซิวสัญญารถเมล์ NGV จำนวน 489 คัน วงเงิน 4,260 ล้านบาทไปแบบสบายๆ ว่ากันว่าราคารถตกคันละเกือบ 4 ล้านบาท ส่วนราคากลางที่ 3.54 ล้านบาทแค่ตัวรถก็ได้กำไรแล้ว

แต่ทว่า สัญญารถเมล์ NGV แล้วคิดแค่จะซื้อรถมาขายต่อคงไม่ได้ เพราะยังมีรับประกันตัวรถอีก 5 ปี และรับซ่อมบำรุงอีก 10 ปี ถ้าตอนประมูลคือมหากาพย์ หลังจากได้สัญญาไปแล้วต้องเรียกว่าหนังชีวิต แต่จะรันทดแค่ไหน ต้องรอดู... สงสารก็แต่คนไทย ท่านผู้นำพยายามดิ้นรนหารถใหม่เอี่ยมมาให้นั่ง แต่อาจจะแค่ 1-2 ปี หลังจากนั้นจะเข้ารูปแบบเดิมๆ คือ วิ่งไป พังไป วิ่งไป ซ่อมไป ...ไทยแลนด์...

*** ปีที่รอคอย ... ICAO ปลดธงแดง บทเรียนสำคัญ...ธุรกิจการบินแบบไทยๆ กับมาตรฐานโลก

การบินของประเทศไทยอยู่ในสภาพถูกแช่แข็ง หลังองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) พบว่าประเทศไทยมีความบกพร่องเกี่ยวกับกระบวนการออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ โดยมีข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัยด้านการบินพลเรือน (SSC) จำนวน 33 ข้อ และต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2558 ได้ประกาศติดธงแดงประเทศไทยบนเว็บไซต์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าไทยยังไม่มีการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินพลเรือนอย่างเพียงพอภายใต้มาตรฐานของ ICAO

การทำธุรกิจของสายการบินสัญชาติไทยต้องสะดุด ถือว่าเสียโอกาสพอสมควรในยุคที่อุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเติบโตแต่พุ่งกระฉูดความตั้งใจและร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ใช้เวลา 2 ปีเศษแก้ปัญหาต่างๆ ตามข้อท้วงติงและคำแนะนำของ ICAO อย่างใกล้ชิด แล้วในวันที่ 6 ตุลาคม 2560 ICAO ได้ประกาศถอดประเทศไทยออกจากรายชื่อประเทศที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้านการบินพลเรือน (ปลดธงแดง)

“ก่อนหน้านั้น สายการบินที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการบินถึง 41 สายการบิน โดยเป็นสายการบินระหว่างประเทศ 28 สาย เพราะได้กันไม่ยาก ขอไม่นาน มาตรฐานการบิน ความปลอดภัยไม่สำคัญเท่ากับคนมีอำนาจในการอนุญาต .. คมนาคมต้องผ่าตัดใหญ่ หน่วยงานด้านการบินแยกส่วนด้านกำกับ ด้านปฏิบัติ วางระเบียบในการได้รับอนุญาตการบิน สุดท้ายเหลือ 21 สายการบินที่เป็นตัวจริง เข้ามาตรฐาน ICAO เดินหน้าทำธุรกิจต่อไปได้ ... ธงแดงหนนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตฯ การบินของไทยรักษามาตรฐานไว้นานๆ รอบหน้า ICAO ตรวจซ้ำ หวังว่าไทยจะผ่านฉลุย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2018 5:40 pm    Post subject: Reply with quote

กรมทางหลวงเข้าดำเนินการรื้อย้ายทางรถไฟเดิม-ถมคันดินสร้างรถไฟความเร็วสูง
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 3 มกราคม 2561 12:13:00

นายธานินท์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่าหลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ทำพิธีเริ่มการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา 253 กิโลเมตร ไปแล้วเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560 ซึ่งกรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างช่วงที่ 1 สถานีกลางดง - ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ขณะนี้กรมทางหลวงได้ดำเนินการรื้อย้ายแนวรางรถไฟเดิมประมาณ 700 เมตร เพื่อดำเนินการปูแผ่นรองพื้น ซึ่งหลังเทศกาลปีใหม่จะดำเนินการได้ทันที

ทั้งนี้ กรมทางหลวงมีความพร้อมทั้งเครื่องจักรและบุคคลากรในการดำเนินโครงการดังกล่าวตามที่ได้รับผิดชอบจากรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงได้จัดตั้งคณะทำงาน 5 ชุด เพื่อจัดตั้งเป็นคณะทำงานพิเศษเฉพาะกิจ โดยรวบรวมบุคลากร 100 คนมาก่อสร้าง โดยคณะทำงานแรกเป็นด้านตรวจสอบวัสดุงานทาง คณะทำงานที่ 2 บริหารก่อสร้างโครงการก่อสร้างพิเศษร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย คณะทำงานที่ 3 ดำเนินการด้านสำรวจและออกแบบ คณะทำงานที่ 4 จัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมทางหลวงกับการรถไฟแห่งประเทศไทย และคณะที่ 5 ทำงานด้านการก่อสร้าง

สำหรับรูปแบบการก่อสร้าง จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับงานก่อสร้างถนนที่กรมทางหลวงดำเนินการ โดยจะเป็นงานถมคันทางสูงประมาณ 4 เมตร กว้าง 12 เมตร หรือเท่ากับถนนขนาด 3 ช่องจราจร ตลอดระยะทาง 3.5 กิโลเมตร แบ่งเป็น 3 ช่วง ซึ่งกรมจะเร่งงานก่อสร้าง เพื่อให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หลังเริ่มดำเนินการก่อสร้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2018 2:11 pm    Post subject: Reply with quote

มีข่าวลือว่าจีนบีบบังคับให้ไทยใช้ปูนซีเมนต์จีนแดงที่คุณภาพด้อยกว่า ราคาก็แพงกว่า ในการสร้างทางรถไฟความไวสูงไปโคราช ทั้งๆที่มีปูนซีเมนต์ไทยที่แก่่งคอย ให้ใช้ในราคามิตรภาพกว่า คุณภาพก็ดีกว่ากันตั้งเยอะ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/01/2018 6:45 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์ประกอบพิธีเริ่มก่อสร้างรถไฟไทย - จีน (Chinese subtitle)
Daoreuk Studio Published on Jan 4, 2018

วีดิทัศน์พิธีเปิดโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร -หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร -นครราชสีมา)
วันที่ 21 ธันวาคม 2560


https://www.youtube.com/watch?v=J1oRUOb4JBI
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/01/2018 6:47 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์ประกอบพิธีเริ่มก่อสร้างรถไฟไทย - จีน (English subtitle)
Daoreuk Studio Published on Jan 4, 2018

วีดิทัศน์พิธีเปิดโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร -หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร -นครราชสีมา)
วันที่ 21 ธันวาคม 2560


https://www.youtube.com/watch?v=iYFdJ27BjzE

----

ผ่าแผนระบบรางปี’61 ‘ทางคู่-ไฮสปีด-รถไฟฟ้า’
มติชนออนไลน์ วันที่ 6 มกราคม 2561 - 17:58 น.

ที่มา หน้า 2 มติชนรายวัน
เผยแพร่ วันที่ 6 มกราคม 2561

หมายเหตุ – กระทรวงคมนาคมเดินหน้าโครงการระบบรางภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง พ.ศ.2559 หรือแอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 1 และแอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 2 ปี 2560 ได้สำเร็จจนสามารถลงนามในสัญญา และก่อสร้างหลายโครงการ ดังนั้นในปี 2561 จึงเป็นปีแห่งการสานต่อโครงการต่างๆ ให้เดินหน้าตามแอ๊กชั่นแพลนที่กำหนดไว้

โครงการระบบรางภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง แอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 1 และแอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 2 ปี 2560 ได้สำเร็จจนสามารถลงนามในสัญญาและก่อสร้างหลายโครงการไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 23 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 7.92 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 3.97% ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงินลงทุน 46,643 ล้านบาท และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงินลงทุน 45,797 ล้านบาท อยู่ระหว่างรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคเพื่อลงมือก่อสร้างแล้ว

นอกจากนี้ ยังมี รถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง 702 กม. รวม 9 สัญญา มูลค่า 69,531 ล้านบาท ก็สามารถลงนามในสัญญาได้เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา คือ 1.ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 136 กม. แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร วงเงิน 7,560 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ วงเงิน 9,290 ล้านบาท 2.ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 168 กม. แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 ช่วงประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย วงเงิน 6,465 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร วงเงิน 5,992 ล้านบาท 3.ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม. แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล วงเงิน 8,198 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน วงเงิน 7,520 ล้านบาท 4.ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม. แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกระเทียม วงเงิน 10,050 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ท่าแค-ปากน้ำโพ วงเงิน 8,649 ล้านบาท และ 5.ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. วงเงิน 5,807 ล้านบาท โดยทั้งหมดจะเริ่มก่อสร้างช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 เพื่อให้แล้วเสร็จตามแผนงานภายในปลายปี 2565

ขณะเดียวกันก็มี รถไฟไทย-จีน หรือ รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.3 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ที่ได้ลงมือก่อสร้างตอนที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ไป เมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา ส่วนที่เหลืออีก 3 ตอน คือ ตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กม. ตอนที่ 3 ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. และตอนที่ 4 ช่วงแก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 กม. ได้แบ่งประกวดราคาออกเป็น 13 สัญญา จะดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2561 เช่น ตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร์ จะเปิดประมูลได้ภายในไตรมาสที่ 1 เป็นต้น ตั้งเป้าหมายเปิดบริการปี 2564

ส่วนการดำเนินงานระยะที่ 2 จากนคราชสีมา-หนองคายจะดำเนินการต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ในปี 2561 โดยไทยจะเป็นผู้ดำเนินการเอง จะใช้ผลการศึกษาและแบบการก่อสร้างที่ รฟท.เป็นผู้ดำเนินการนำเสนอ ครม.อนุมัติ ซึ่งการก่อสร้างในระยะที่ 2 กระทรวงคมนาคมยืนยันว่าไม่มีอะไรยุ่งยากเหมือนระยะที่ 1 เนื่องจากสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ไม่มีภูเขา

สำหรับปี 2561 นี้ การก่อสร้างเมกะโปรเจ็กต์ทางรางที่ต้องเดินหน้าต่อยังมีอีกหลายโครงการเช่นเดียวกัน ทั้งที่อยู่ภายใต้แอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 1 และแอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 2 ที่จะต้องเดินหน้าต่อเนื่อง

เริ่มจากรถไฟทางคู่อีก 9 เส้นทาง วงเงินรวม 398,383.25 ล้านบาทของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คือ
1.ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 23,384.91 ล้านบาท
2.ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง 339 กม. วงเงิน 51,823.83 ล้านบาท
3.ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 7,941.80 ล้านบาท
4.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงิน 56,066.25 ล้านบาท
5.ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 217 กม. วงเงิน 59,924.24 ล้านบาท
6.ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. วงเงิน 76,978.82 ล้านบาท
7.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. วงเงิน 26,065.75 ล้านบาท
8.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม. วงเงิน 35,839.74 ล้านบาท และ
9.ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 60,351.91 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะทยอยนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้

โดยในบรรดารถไฟทางคู่ทั้งหมดนี้มี 2 เส้นทางที่เป็นรถไฟสายใหม่ คือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และช่วงบ้านไผ่-นครพนม ซึ่งช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ได้ศึกษามาตั้งแต่ปี 2503 จนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 57 ปีแล้วที่ประชาชนในพื้นที่รอคอยที่จะใช้บริการ ขณะที่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ก็เป็นเส้นทางสายใหม่เช่นเดียวกัน ได้ศึกษาตั้งแต่ปี 2537 ตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่พยายามผลักดันให้มีรถไฟทางคู่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ขนส่งสินค้า และพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่

ยังมี ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าอีกหลายเส้นทาง คือ สายสีม่วง (ด้านใต้) ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 101,112 ล้านบาท ซึ่งตามแผนงานจะได้ตัวผู้ชนะประมูลในเดือนกันยายน และเริ่มก่อสร้างปลายปี 2561 และ สายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางขุนนนท์ ระยะทาง 12.9 กม. วงเงิน 111,186 ล้านบาท

รถไฟชานเมืองอีก 2 เส้นทาง คือ สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) ระยะทาง 10 กม. วงเงิน 7,596 ล้านบาท สายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 20 กม. วงเงิน 19,042.13 ล้านบาท รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์ ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กม. วงเงิน 31,149.35 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 7 กม. เงินลงทุน 11,989 ล้านบาท ช่วงสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กม. เงินลงทุน 13,701 ล้านบาท และสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 17,262 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 248, 249, 250 ... 547, 548, 549  Next
Page 249 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©