RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13275530
ทั้งหมด:13586826
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 251, 252, 253 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2018 11:48 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมแจงข้อเท็จจริงสร้างรถไฟความเร็วสูงกทม.-เชียงใหม่
28 มกราคม พ.ศ. 2561

ตามที่ได้มีรายงานข่าวจากประเทศญี่ปุ่นระบุว่า รัฐบาลไทยต้องการประหยัดงบประมาณ จึงมีการปรับเปลี่ยนโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ระบบเดียวกับ ‘ชินคันเซ็น’ มาเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง จริงหรือไม่ เพราะสาเหตุใด และจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการอย่างไร นั้น

กระทรวงคมนาคม (คค.) ขอชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริง ดังนี้
1. คค. และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ได้ร่วมลงนาม ในบันทึกความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (MOC) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยได้เริ่มทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 แล้วเสร็จเดือน พฤศจิกายน 2560 ปัจจุบัน คค. อยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น เพื่อพิจารณาหารูปแบบการดำเนินโครงการที่มีความเหมาะสม และเกิดความคุ้มค่าสูงสุดในการลงทุน ทั้งนี้ การประชุมหารือดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561

2. ผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) มีรายละเอียดสรุป ดังนี้

2.1 รายละเอียดข้อมูลโครงการ :
(1) แนวเส้นทางจากสถานีบางซื่อ-พิษณุโลก ระยะทางรวม 380 กิโลเมตร
(2) เทคโนโลยี : ชินคันเซ็น ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขนาดราง 1.435 เมตร สถานี 7 สถานี ประกอบด้วย บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก เวลาในการเดินทางจากบางซื่อ-พิษณุโลก 1 ชั่วโมง 58 นาที

2.2 ผลการวิเคราะห์การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร :
(1) กรณีไม่มีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทาง ปี 2568 (ปีเปิดบริการ) มีปริมาณผู้โดยสารจำนวน 29,000 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2598
(2) กรณีมีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทาง ปี 2568 (ปีเปิดบริการ) มีปริมาณผู้โดยสารจำนวน 29,000 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 73,200 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2598

2.3 มูลค่าโครงการเบื้องต้น : ตามผลการศึกษาของฝ่ายญี่ปุ่น พบว่ามีมูลค่าการลงทุน ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 276,226 ล้านบาท
2.4 การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ :
(1) รวมผลประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางเท่ากับ 14.7%
(2) ไม่รวมผลประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางเท่ากับ 7.2%

ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ฝ่ายไทยต้องจัดทำแผนระดับชาติและแผนพัฒนาภูมิภาคตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เพื่อประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุน รวมทั้งจำเป็นต้องจัดทำแผนคมนาคมขนส่งที่ครอบคลุมเพื่อให้การเชื่อมต่อการเดินทาง มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ฝ่ายไทยไม่ควรพิจารณาเพียงการสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่ควรพิจารณาว่าจะใช้รถไฟความเร็วสูงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองในภูมิภาค ได้อย่างไร

3. ประเทศไทยกำลังเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เนื่องจากไม่ได้ลงทุนโครงการใหญ่ๆ สำคัญๆ มานานหลายปี ทำให้ไม่สามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในการแข่งขันได้ รัฐบาลนี้เห็นความสำคัญของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่ออนาคตประเทศไทยในระยะยาว จึงตัดสินใจลงทุนพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงหลายเส้นทาง รวมถึงสายเหนือระบบชินคันเซ็นด้วย

แต่โครงการรถไฟความเร็วสูงใช้เงินลงทุนสูง คค. จึงต้องพิจารณาการลงทุนรถไฟสายนี้ ว่าหากจะปรับระบบเป็นความเร็วปานกลางจะเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งยังอยู่ระหว่างการเปรียบเทียบ ขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจเปลี่ยนเป็นความเร็วปานกลางแต่อย่างใด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2018 12:00 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คมนาคมแจงข้อเท็จจริงสร้างรถไฟความเร็วสูงกทม.-เชียงใหม่
28 มกราคม พ.ศ. 2561


ยังไม่สรุปลดความเร็วไฮสปีด
อาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2561 เวลา 09.30 น.

กระทรวงคมนาคม ยังไม่สรุปปรับลดความเร็วโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่

กรณีที่มีรายงาน รายงานข่าวจากประเทศญี่ปุ่นระบุว่า รัฐบาลไทยต้องการประหยัดงบประมาณ จึงได้ปรับเปลี่ยนโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ระบบเดียวกับ ‘ชินคันเซ็น’ มาเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ขอชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริง ว่า กระทรวงคมนาคมและกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ได้ร่วมลงนาม ในบันทึกความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (MOC) เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 58 ณ กรุงโตเกียว เพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยได้ศึกษาความเหมาะสมของโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกตั้งแต่เดือน ธ.ค.58 แล้วเสร็จเดือน พ.ย.60

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น พื่อพิจารณาหารูปแบบการดำเนินโครงการที่มีความเหมาะสมและเกิดความคุ้มค่าสูงสุดในการลงทุน  ทั้งนี้ การประชุมหารือดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 6 ก.พ.61  อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟความเร็วสูงใช้เงินลงทุนสูง กระทรวงฯ จึงต้องพิจารณาการลงทุนรถไฟสายนี้ หากจะปรับระบบเป็นความเร็วปานกลางจะเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งยังอยู่ระหว่างการเปรียบเทียบ ขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจ


Last edited by Wisarut on 29/01/2018 2:02 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44661
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/01/2018 1:13 pm    Post subject: Reply with quote

ดันรถไฟ2.1แสนล. เข้า‘บอร์ดอีอีซี’รฟท.ลุ้นประมูลมิย.
แนวหน้า วันจันทร์ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.

Click on the image for full size

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่าทาง คณะกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟฯได้มีการพิจารณาการจัดทำข้อมูลของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินช่วงกรุงเทพฯ-ระยอง วงเงิน 2.15 แสนล้านบาทเพิ่มเติม ก่อนเสนอที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(บอร์ด EEC) ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ก่อนเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป โดยในส่วนของการจัดทำเอกสารจัดซื้อจัดจ้าง(TOR) ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อดำเนินการเปิดประมูลโครงการภายในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2561

นอกจากนี้ ยังได้มีการพิจารณาการขยายระยะเวลาก่อสร้างสัญญาที่ 2 ในโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ตามที่เอกชนได้เสนอมา เนื่องจากติดปัญหาเรื่องจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณจุดก่อสร้างสถานีดอนเมือง ซึ่งผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ยังไม่ย้ายออกจากพื้นที่ทำให้ผู้รับเหมาไม่สามารถเข้าพื้นที่เปิดหน้างานได้ จึงได้เสนอให้การรถไฟฯพิจารณาขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก 200 วัน

“ไม่ใช่ความผิดของผู้รับเหมาที่ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ โดยทาง คณะกรรมการการรถไฟฯได้พิจารณาแล้วเห็นว่าควรขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไป 150 วัน จึงได้เสนอให้ผู้เกี่ยวข้องไปพิจารณาว่า สามารถขยายเวลาตามที่บอร์ดเสนอได้หรือไม่”

นอกจากนี้รายงานความคืบหน้าของการจ่ายค่าชดเชยรถไฟสายสีแดงให้กับเอกชนภายหลังจากที่การรถไฟฯไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาได้ตามกรอบเวลาที่กำหนด ภายหลังจากที่ขยายระยะเวลางานบริการที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างงานโยธา (CSC) สัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 2 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยจะขยายระยะเวลาสัญญาออกไปอีก 800-1,000 วัน และขณะนี้อยู่ระหว่างการคิดค่าชดเชยตามความเสียหายจริงยังไม่สามารถสรุปได้

ส่วนลงทุนโครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ 3 วงเงิน 12,000 ล้านบาท นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)(ทอท.)ได้รายงานความคืบหน้าว่า งานก่อสร้างจะเริ่มในปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้แล้วเสร็จในปี 2568 โดยการลงทุนในเฟส 3 จะเพิ่มการรองรับผู้โดยสารของสนามบินเป็น 25 ล้านคน โดยในปี 2561 นี้จะเร่งย้ายบ้านพักพนักงานออกจากพื้นที่ให้แล้วเสร็จในปีนี้ พร้อมหาบริษัทออกแบบโครงการ โดยจะเน้นไปที่การพัฒนาพื้นที่ทางการบิน(Air Side) ทั้งการสร้างหลุมจอดอากาศยานเพิ่มขึ้น การก่อสร้างทางขับ(Taxi Way) ระบบสาธารณูปโภค

นอกจากนี้ มีแผนก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ อาคารจอดรถ 1,500 คัน และการก่อสร้างสะพานเชื่อมระยะทาง 150 เมตร เพื่อเชื่อมต่อผู้โดยสารไปยังสถานีรถไฟฟ้ารางเบาของ จ.ภูเก็ต อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2018 2:03 pm    Post subject: Reply with quote

//---------------------------

สามารถ วอน 'บิ๊กตู่' อย่าลดความเร็ว รถไฟความเร็วสูง กทม.-เชียงใหม่
โดย ไทยรัฐออนไลน์
29 มกราคม พ.ศ. 2561 10:26

“สามารถ” โพสต์ วอน “ท่านผู้นำ” อย่าลดความเร็ว “ชินคันเซ็น” รถไฟความเร็วสูงสาย กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จาก 300 กม./ ชม. เหลือ 180 กม./ชม. แถมต้นทุนถูกกว่า สาย จีนสร้าง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 11% ทั้งที่วิ่งเร็วกว่า

//----------------

ไม่เร็วสูงก็อย่าทำ!!"สามารถ"แนะคสช.ถ้าลดความเร็ว"ซินคันเซ็น กทม.-เชียงใหม่"ขอชะลอสร้างไปเลย โยกงบเร่งสร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศดีกว่า
Publish 29 มกราคม พ.ศ. 2561 09:25:27
29 ม.ค.61 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธาและจราจร โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กส่วนตัว " ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์" แสดงความเห็นกรณี การก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ จะมีการพิจารณาลดความเร็วของรถไฟ เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้าง โดยข้อความระบุว่า ...

ขอเถอะ! อย่าลด “ความเร็ว”
ชินคันเซ็น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาลดความเร็วรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จากความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง เหลือ 180-200 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้าง โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น โดยใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นที่รู้จักกันแพร่หลายในนามของ “ชินคันเซ็น” ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในโลกที่สร้างรถไฟความเร็วสูงขึ้นมา และเปิดให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2507 บนเส้นทางกรุงโตเกียว-โอซาก้า

โครงการนี้รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบเบื้องต้น พบว่าระยะทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ประมาณ 670 กิโลเมตร จะต้องใช้เงินลงทุนก่อสร้างประมาณ 420,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นค่าก่อสร้างต่อกิโลเมตรประมาณ 627 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งได้รับการช่วยเหลือทางเทคนิคจากรัฐบาลจีน พบว่าค่าก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ถูกกว่ากรุงเทพฯ-นครราชสีมา ประมาณ 11% (ทั้งๆ ที่ควรจะแพงกว่า เพราะวิ่งได้เร็วกว่า) กล่าวคือ รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ต้องใช้เงินก่อสร้างประมาณ 179,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นค่าก่อสร้างต่อกิโลเมตรประมาณ 708 ล้านบาท

ในเมื่อค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ถูกกว่ากรุงเทพฯ-นครราชสีมา อยู่แล้ว เหตุใดท่านนายกฯ ประยุทธ์ จึงต้องการลดความเร็วของเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพื่อทำให้ค่าก่อสร้างลดลงอีก ซึ่งจะทำให้รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กลายเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง ระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่จะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที เป็นประมาณ 5 ชั่วโมง 50 นาที เมื่อใช้เวลานานขึ้นก็จะเป็นการยากที่จะแข่งขันกับเครื่องบิน

หากยังจำกันได้ ในกรณีของรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เดิมรัฐบาลนี้ต้องการก่อสร้างเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ต่อมาในเดือนมีนาคม 2559 ท่านนายกฯ ประยุทธ์ ได้สั่งให้เปลี่ยนเป็นรถไฟความเร็วสูง วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ดังนั้น หากมีการลดความเร็วบนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จริง ประชาชนในจังหวัดภาคเหนืออาจจะน้อยใจ และกล่าวหาท่านนายกฯ ประยุทธ์ ว่ารักคนอีสานมากกว่าคนเหนือก็ได้ เนื่องจากเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ท่านนายกฯ ประยุทธ์ สั่งให้ยกระดับเป็นรถไฟความเร็วสูง ในขณะที่เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ท่านกลับสั่งให้ลดระดับเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง


ด้วยเหตุนี้ ผมจึงใคร่ขอเรียนเสนอท่านนายกฯ ประยุทธ์ ดังนี้

1. ก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นรถไฟความเร็วสูงหรือชินคันเซ็นเช่นเดิม โดยขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นร่วมลงทุนด้วย

2. ในกรณีที่ท่านนายกฯ ประยุทธ์ ต้องการให้ลดความเร็วลงมาเป็นรถไฟความเร็วปานกลางให้ได้ ผมขอเรียกร้องให้ท่านพิจารณาชะลอโครงการนี้ออกไปก่อน เมื่อเรามีความพร้อมก็สร้างเป็นรถไฟความเร็วสูงทีเดียวเลย อย่าสร้างครึ่งๆ กลางในเวลานี้เลย

3. หากมีการชะลอโครงการนี้ออกไปก่อน ขอให้นำเงินที่จะใช้ในการก่อสร้างโครงการนี้ไปเร่งก่อสร้างรถไฟทางคู่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดี และเข้าใจถึงเจตนารมณ์ที่ดี รวมถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ของท่านนายกฯ ประยุทธ์ ที่ต้องการยกระดับการขนส่งทางรางของไทยครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44661
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/01/2018 5:57 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ประกอบการแทรกวาระการประชุม
Daoreuk Studio Published on Jan 29, 2018
วีดิทัศน์ประกอบการแทรกวาระการประชุมเพิ่มเติม

โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน


https://www.youtube.com/watch?v=IBqVJoRb1lM
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44661
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/01/2018 6:39 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.รับทราบรายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
เผยแพร่: 30 ม.ค. 2561 17:47:00 โดย: MGR Online

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ครม.ว่า ที่ประชุม ครม.ได้รับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ด้วยการดำเนินการของกรมทางหลวงในการก่อสร้างตอนที่ 1 ช่วงสถานีกลางดง - ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ส่วนตอนที่ 2 ปากช่อง - ขนานจิตร ระยะทาง 11 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการตรวจสอบแบบ ตอนที่ 3 แก่งคอย - นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร ตอนที่ 4 แก่งคอย - กรุงเทพฯ 119 กิโลเมตร โดยคาดว่าทางจีนจะสามารถส่งแบบให้กับไทยได้ช่วงกลางปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44661
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/01/2018 10:50 am    Post subject: Reply with quote

ลุยรถไฟเร็วสูงสายโคราช จีนส่งแบบก่อสร้างเฟส2กลางปีนี้
แนวหน้า วันพุธ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมเปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561 กระทรวงคมนาคม ได้มีการรายงานความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน โดยการดำเนินการของ กรมทางหลวง (ทล.) ว่า ในการก่อสร้างตอนที่ 1 ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

ส่วนตอนที่ 2 ปากช่อง-ขนานจิตร ระยะทาง11 กม. อยู่ระหว่างการตรวจสอบแบบ และตอนที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. รวมถึงตอนที่ 4 แก่งคอย-กรุงเทพฯ 119 กม.นั้น คาดว่าจีนจะสามารถส่งแบบให้กับไทยได้ไม่เกินกลางปี 2561 นี้

ทั้งนี้ ครม.ยังได้อนุมัติเห็นชอบร่างปฏิญญาว่าด้วยการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการบินพลเรือนของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Declaration of Civil Aviation Ministers’ Conference) สำหรับร่างปฏิญญาดังกล่าวจะมุ่งเน้นการส่งเสริมศักยภาพการบินภายในภูมิภาคร่วมกันตามแนวทางขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)ซึ่งจะเน้นไปด้านยกระดับความปลอดภัยทางการบินและด้านการส่งเสริมบุคลากร และด้านอื่นๆ

ด้านนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคมกล่าวว่าในที่ประชุม ครม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ กระทรวงคมนาคมไปหารือร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย หาและกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาเมืองให้สอดรับกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม ที่ในอนาคตการก่อสร้างถนนนั้นจะต้องมีเส้นทางรถไฟรองรับด้วย ซึ่งจากแนวคิดของนายกฯดังกล่าว ก็ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดไปพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2018 5:16 pm    Post subject: Reply with quote

ตบเท้าชิงไฮสปีดเทรน ซีพี-บีทีเอส ร่วมประมูล-ก.พ.ออกTORกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา
ออนไลน์เมื่อ 10 มกราคม พ.ศ. 2561
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,330 วันที่ 11 - 13 มกราคม พ.ศ. 2561

Click on the image for full size
รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-อู่ตะเภาพร้อมออกทีโออาร์ ก.พ. นี้“อานนท์”เผยมีทั้ง จีน ญี่ปุ่น และไทย ให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลโครงการมูลค่า 2.26แสนล้านบาท ขณะที่ ค่ายซีพีและบีทีเอส โดดเข้าร่วมประมูลแน่


นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 ท่าอากาศยาน ซึ่งเป็น 1 ในโครงการเร่งด่วนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีว่า ขณะนี้ทางร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการจัดทำรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับโครงการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยจะเป็นรูปแบบการร่วมทุนกับภาคเอกชน(PPP typel Net Cost) ที่จะให้ภาคเอกชนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบไฟฟ้าเครื่องกลรถไฟ ขบวนรถไฟ ค่าจ้างที่ปรึกษา และการดำเนินงานเดินรถไฟและซ่อมบำรุง ตลอดระยะเวลาโครงการ และภาครัฐจะเป็นผู้ลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จากงบประมาณของภาครัฐ เพื่อให้เอกชนรับผลตอบแทนทางการเงินที่จูงใจต่อการลงทุน และจะเป็นผู้เก็บรายได้จากค่าโดยสารและเป็นผู้รับความเสี่ยงในเรื่องรายได้

โดยผลการศึกษานี้ จะนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในสัปดาห์นี้ เพื่อนำไปประมวลผล หรือพิจารณาในรายละเอียด และคาดว่าจะนำมาสรุปส่งให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(กรศ.) ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน ภายในเดือนมกราคมนี้ เพื่ออนุมัติเห็นชอบนำไปประกอบเงื่อนไขในทีโออาร์ ที่คาดว่าจะสามารถประกาศได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ เปิดให้บริการได้ในปี 2566

TP11-3330-1
ส่วนความสนใจของนักลงทุนที่จะเข้าร่วมประมูลนั้นขณะนี้มีทั้งนักลงทุนจากญี่ปุ่น จีน และบริษัทที่อยู่ในไทย ได้ให้ความสนใจกับโครงการดังกล่าว รวมถึงบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างต่างๆ ที่ได้มีการหารือกับกลุ่มทุนที่จะเข้าร่วมประมูลโครงการนี้ ซึ่งกรอบเงินลงทุนที่ประมาณการไว้จะอยู่ที่ประมาณ 2.26 แสนล้านบาทแบ่งเป็นส่วนของรถไฟความเร็วสูงประมาณ 1.76 แสนล้านบาท และส่วนการพัฒนาพื้นที่มักกะสันและการพัฒนาที่ดินรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงประมาณ 5 หมื่นล้านบาท โดยผลการศึกษาใหม่ได้ตัดจำนวนสถานีจอดที่ระยองออก สิ้นสุดแค่สนามบินอู่ตะเภา ทำให้เหลือเพียง 9 สถานี จาก 10 สถานี

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี กรุ๊ป) กล่าวว่า ทางกลุ่มซีพีจะเข้าไปลงทุน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่อีอีซีให้เกิดขึ้น เพราะมองว่าถ้าโครงการเกิดได้ จะช่วยให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้ค่อนข้างมากและอาจจะดันพีดีพีไปถึงระดับ 7-8% ไม่ตํ่าเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอยากให้รัฐบาลผลักดันการพัฒนาอีอีซีให้สำเร็จ ตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ถ้าเกิดได้ตามแผนจะทำให้ไทยมีเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่าสิงคโปร์

แหล่งข่าวจากซีพีกรุ๊ป กล่าวว่า ซีพีได้ติดตามโครงการนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาติดตามเรื่องนี้พร้อมกับศึกษาความเป็นไปได้ในหลายมิติทั้งรายละเอียดโครงการ การลงทุนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ การพัฒนาเมืองตามแนวเส้นทาง การเชื่อมโยงจากพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เห็นถึงความยั่งยืนหากซีพีจะเข้าไปลงทุนโครงการดังกล่าว
“โครงการนี้มีความเป็นไปได้ที่ซีพีจะลงทุนเอง และร่วมทุนกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งทั้งการก่อสร้าง การเดินรถ และบริหารโครงการ”

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ผู้ให้บริหารรถไฟฟ้าบีทีเอสในปัจจุบัน กล่าวว่า บีทีเอสสนใจลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูงทุกเส้นทาง แต่ขอดูรายละเอียดโครงการว่าจะมีเงื่อนไขเอื้อต่อการลงทุนอย่างไรบ้าง ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐบาลเร่งแสดงความชัดเจนด้านรายละเอียดโครงการเพื่อเอกชนจะได้เข้าไปศึกษาข้อมูล

“โครงการนี้ลงทุนสูงมากจึงต้องการให้ภาครัฐเปิดให้เอกชนได้ศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจแต่ยืนยันว่าบีทีเอสมีความพร้อม”


Last edited by Wisarut on 01/02/2018 12:36 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44661
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/01/2018 5:58 pm    Post subject: Reply with quote

โปร่งใส! การรถไฟฯเซ็นบันทึกข้อตกลงด้านคุณธรรมประมูลก่อสร้างไฮสปีดเทรนไทย-จีน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 31 มกราคม 2561 - 08:39 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงด้านคุณธรรม (Integrity Pact) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1) ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา

โดยนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นผู้แทนการรถไฟฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงด้านคุณธรรม ร่วมกับผู้สังเกตการณ์ จากคณะกรรมการคุณธรรม องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ประกอบด้วย

1. นายณรงค์ บุณยสงวน (หัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์)
2. นายธาดา เตียประเสริฐ
3. นายธานี พุฒิพันธุ์พฤทธิ์
4. นายอนุวัตร เชื้อพิบูลย์
5. นายพันเทพ สุภาไชยกิจ
6. ดร.ทวี ธนะเจริญกิจ
7. ดร.เยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว

โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย 2558-2565 โดยทำสัญญาจ้างรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นตัวแทนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีประสบการณ์ตรงด้านการพัฒนารถไฟความเร็วสูงที่ได้รับการรับรองคุณภาพและประสิทธิภาพจาก National Development and Reform Commission แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อดําเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา และดำเนินการภายใต้มาตรการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

โดยการรถไฟฯจะดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่าในการดำเนินกิจการและการใช้ทรัพยากรของรัฐ คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการ และนำหลักเกณฑ์ วิธีการ และนำระบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 มาใช้กับการดำเนินการด้วย

นอกจากนี้ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างในประเทศเพื่องานก่อสร้างในโครงการเดียวกัน การรถไฟฯ จะดำเนินการภายใต้กระบวนการที่กำหนดตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ตลอดจนความร่วมมือป้องกันและต่อต้านทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า และปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม

การรถไฟฯ จึงมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามความร่วมมือป้องกันและต่อต้านการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐประสบผลสำเร็จ โดยจะใช้หลักการทางคุณธรรมเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความร่วมมือและร่วมใจระหว่างทุกฝ่ายอันจะเกิดผลให้การดำเนินโครงการข้างต้นปลอดจากการทุจริต หรือการกระทำโดยมิชอบทั้งปวง เพื่อให้การใช้เงินงบประมาณและทรัพยกรการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2018 11:24 am    Post subject: Reply with quote

เคาะ PPP ไฮสปีดอีอีซี-เปิดทางเอกชนเลือกจุดที่ตั้งสถานี
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 08:26 น.


จับตา 1 ก.พ. “บิ๊กตู่” นั่งหัวโต๊ะบอร์ดอีอีซี เคาะรูปแบบ PPP ลงทุนไฮสปีดอีอีซี ดึงเอกชนลงทุนเฟสแรกเชื่อมดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 2.3 แสนล้านบาท รถไฟร่างทีโออาร์เปิดกว้างให้เอกชนปักหมุดตำแหน่งสถานีเอง รับสัมปทาน 50 ปี เก็บค่าโดยสาร พัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานี 9 แห่ง พ่วงที่ดินมักกะสัน 140 ไร่

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 1 ก.พ. 2561 นี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเสนอแผนการลงทุน PPP ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ในเฟสแรก ระยะทาง 220 กม. ต่อที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณา หลังจากคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกมีการพิจารณาในเบื้องต้นตามที่ ร.ฟ.ท.รายงานความก้าวหน้าไปแล้ว

หากได้รับอนุมัติจะออกประกาศร่างทีโออาร์ภายในเดือน ก.พ.นี้ และประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนในเดือน ก.ค. 2561 เซ็นสัญญาเดือน ส.ค. และเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 2566 คาดว่ามีผู้โดยสารอยู่ที่ 169,550 เที่ยวคนต่อวัน

“ร่างทีโออาร์ที่รถไฟดำเนินการ มีการปรับรายละเอียดให้เปิดกว้างและเป็นที่ดึงดูดความสนใจต่อนักลงทุนมากขึ้น โดยให้เอกชนที่สนใจลงทุนสามารถกำหนดตำแหน่งที่ตั้งสถานีเองได้ เพื่อเอกชนที่มีที่ดินอยู่ในมือสามารถนำที่ดินมาพัฒนาสร้างรายได้เลี้ยงโครงการได้ เนื่องจากโครงการใช้เงินลงทุนสูง แต่จะต้องรับผิดชอบการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอเพิ่มเติมเอง เหมือนส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีชมพูที่เอกชนผู้ลงทุนเสนอพัฒนาเพิ่มเติม”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ หากเอกชนเสนอปรับตำแหน่งสถานี มีแนวโน้มที่จะทำให้มูลค่าการลงทุนโครงการเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันใช้เงินลงทุน 236,700 ล้านบาท

สำหรับรูปแบบการลงทุนจะเป็น PPP net cost รัฐเป็นผู้เวนคืนที่ดิน จำนวน 3,600 ล้านบาท และให้เอกชนลงทุนงานก่อสร้าง งานระบบ ซ่อมบำรุงรักษาโครงการและรับสัมปทานเก็บค่าโดยสารและบริหารโครงการ 50 ปี โดยได้สิทธิ์พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี 9 แห่ง ได้แก่ ดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน สุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และอู่ตะเภา รวมถึง
ที่ดินมักกะสันอีก 140 ไร่ พร้อมจ่ายผลตอบแทนให้ ร.ฟ.ท.เป็นรายปีตลอดอายุสัญญา

ส่วนการลงทุนระยะที่ 2 จากอู่ตะเภา-ระยอง ระยะทาง 40 กม. จะต้องรอให้รายงานอีไอเอได้รับการอนุมัติก่อน เนื่องจากยังติดเรื่องแนวเส้นทางที่พาดผ่านพื้นที่นิคมมาบตาพุด แต่ที่สามารถเดินหน้าเฟสแรกก่อนนั้น เนื่องจากกระทรวงจะขอให้คณะกรรมการอีไอเอพิจารณาช่วงนี้ก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อให้โครงการเดินหน้าได้เร็ว หากต้องรอทั้งโครงการจะใช้ระยะเวลานาน ซึ่งคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) มีข้อท้วงติง อาจจะใช้เวลาพิจารณานาน อาจจะกระทบต่อแผนการพัฒนาโครงการได้

สำหรับเงินลงทุนรวมทั้งโครงการ 260 กม. อยู่ที่ 296,421 ล้านบาท แยกเป็น เงินลงทุนรถไฟความเร็วสูง 214,308 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าเวนคืนที่ดิน 4,992 ล้านบาท งานโยธา 148,842 ล้านบาท งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 32,577 ล้านบาท จัดหาขบวนรถ 22,032 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 5,866 ล้านบาทและเงินลงทุนการพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรม 82,113 ล้านบาท ได้แก่

การพัฒนาที่ดินที่สถานีมักกะสัน 140 ไร่ 56,685 ล้านบาท การพัฒนาที่ดินรอบ 4 สถานีฉะเชิงเทรา สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีระยอง 25,428 ล้านบาท โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อ 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ เป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร ส่วนต่อขยาย 2 ช่วง จากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา และจังหวัดระยอง พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯเป็นส่วนใหญ่ มีผู้เดินรถรายเดียวกัน

การเดินรถช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ วิ่งด้วยความเร็ว 160 กม./ชม. และช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. ค่าโดยสารจากสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินอู่ตะเภา และจากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังสนามบินอู่ตะเภา อยู่ที่ประมาณ 500 และ 300 บาทต่อเที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 251, 252, 253 ... 547, 548, 549  Next
Page 252 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©