Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311328
ทั่วไป:13290193
ทั้งหมด:13601521
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 260, 261, 262 ... 549, 550, 551  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2018 12:08 pm    Post subject: Reply with quote

แจกสัมปทาน 50 ปี ไฮสปีดหัวหิน รัฐจ่ายเวนคืน 900 ไร่-เอกชนลงทุน 9.5 หมื่นล.
วันที่ 8 มีนาคม 2561 - 09:35 น.

เร่งเครื่องไฮสปีด “กทม.-หัวหิน” ระยะทาง 211 กม. รถไฟใช้โมเดลเดียวกับไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ดึงเอกชนลงทุนกว่า 9.5 หมื่นล้าน ก่อสร้าง ติดตั้งระบบ แลกสัมปทานเดินรถ พัฒนาพื้นที่สถานี 50 ปี รัฐจ่ายค่าเวนคืน 900 ไร่ กว่า 4.8 พันล้าน ปักหมุด 4 สถานี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรีและหัวหิน รอบอร์ด PPP ไฟเขียว คาดคิกออฟประมูลภายในปีนี้ ลุ้นเจ้าสัวเจริญทุ่มลงทุน สนข.ศึกษาต่อขยายถึงปาดังเบซาร์

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. ทาง ร.ฟ.ท. ได้นำเสนอโครงการให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณาเพื่อเสนอคณะกรรมการ PPP อนุมัติแล้ว โดยดำเนินการคู่ขนานไปกับการขออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ PPP จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติโครงการและเปิดประมูลต่อไป ตั้งเป้าจะให้เริ่มต้นภายในปีนี้

PPP Net Cost 50 ปี

“รถไฟความเร็วสูงสายนี้รัฐก็เร่งรัดเช่นเดียวกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แต่ไม่บรรจุอยู่ใน PPP fast track ที่ผ่านมามีกลุ่มไทยเบพฯให้ความสนใจจะลงทุนโครงการ หากบอร์ด PPP อนุมัติจะเริ่มดำเนินการได้”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า โครงการนี้จะเป็นการลงทุนรูปแบบ PPP net cost (สัมปทาน) เป็นโมเดลเดียวกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยรัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนเอกชนลงทุนงานโยธาและงานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถ พร้อมได้สิทธิเดินรถและพัฒนาพื้นที่ภายในสถานีและโดยรอบ เป็นระยะเวลา 50 ปี


เอกชนลงทุน 9.5 หมื่นล้าน

“ทั้งโครงการใช้เงินลงทุน 100,125 ล้านบาท โดยรัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 4,848 ล้านบาท ส่วนเอกชนลงทุน 95,276 ล้านบาท มีค่างานโยธา ราง โครงสร้างพื้นฐาน 69,571 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 14,254 ล้านบาท และค่างานขบวนรถ 11,450 ล้านบาท โดยรัฐสนับสนุนเงินลงทุนไม่เกินวงเงินงานโยธา 80,283 ล้านบาท”

แหล่งข่าวกล่าวว่า จากผลการศึกษาเสนอรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP net cost โดยเอกชนลงทุนทั้งงานโยธาและงานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถ เนื่องจากระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง เป็นระบบรถไฟฟ้าที่ยังไม่เคยพัฒนาในประเทศไทย ควรเลือกดำเนินงานโครงการในรูปแบบที่มีความเสี่ยงต่อภาครัฐต่ำที่สุด ทั้งในช่วงระหว่างการก่อสร้างและช่วงการให้บริการ

ลดความเสี่ยงงบประมาณ

อีกทั้งแนวทาง PPP net cost จะเป็นรูปแบบการลงทุนที่ลดภาระทางการเงินและลดความเสี่ยงของภาครัฐในการลงทุนโครงการ เนื่องจากเอกชนเป็นผู้ลงทุนค่างานโยธา ค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ แม้ว่าผลการวิเคราะห์ทางการเงินจะแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลอาจต้องสนับสนุนทางการเงิน (subsidy) ให้เอกชนผู้รับสัมปทานมากกว่าทางเลือกอื่น ๆ แต่ก็เป็นการทยอยชำระค่าสนับสนุนด้านการเงินในภายหลัง

“เอกชนรายไหนเสนอส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐมากที่สุดหรือขอรับการสนับสนุนจากรัฐน้อยที่สุด รวมทั้งข้อเสนอที่ใช้ระยะเวลาก่อสร้างโครงการสั้นที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล”

เปิดแนวเส้นทางที่ตั้ง 4 สถานี

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นโครงการจากสถานีกลางบางซื่อไปตามแนวเส้นทางรถไฟสายใต้ รูปแบบโครงสร้างเป็นทางยกระดับสลับกับโครงสร้างระดับพื้นดิน ผ่าน จ.นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ในช่วงอำเภอเมืองเพชรบุรี แนวเส้นทางจะเบี่ยงออกจากแนวเส้นทางรถไฟในปัจจุบันไปใช้พื้นที่เกาะกลางที่อยู่ระหว่างทางหลักและทางขนานของถนนเพชรเกษมแล้วเข้าสู่แนวเส้นทางรถไฟอีกครั้งบริเวณสถานีเขาทะโมนแล้วมุ่งลงใต้ผ่าน อ.ชะอำ สิ้นสุดที่สถานีหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

แนวเส้นทางที่จะก่อสร้างโครงสร้างต้องผ่านเขตทางต่าง ๆ ประกอบด้วย เขตทางรถไฟ 171.4 กม. เขตทางหลวง 4.4 กม.เขตกรมชลประทาน 2.6 กม. และเขตเวนคืนที่ดิน 32.6 กม. มี 4 สถานี ได้แก่ สถานีนครปฐม จะก่อสร้างบริเวณสถานีรถไฟเดิม อีก 3 สถานีจะสร้างบนพื้นที่ใหม่ ประกอบด้วย สถานีราชบุรี ตั้งอยู่ ต.คูบัว ห่างจากสถานีรถไฟเดิม 3 กม., สถานีเพชรบุรีตั้งอยู่ใกล้เขาหลวง ต.ธงชัย ห่างจากสถานีเดิม 2 กม.และสถานีหัวหินตั้งอยู่ ต.บ่อฝ้าย (หัวหินซอย 2) ห่างสถานีหัวหิน 7 กม. และชะอำ 17 กม. มีที่ดินจะต้องเวนคืน 897 แปลง คิดเป็นเนื้อที่ 900 ไร่และอาคารสิ่งปลูกสร้างจำนวน 272 หลัง

ทั้งนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ปรับแนวใหม่ช่วงเลี่ยงเมืองเพชรบุรี เพื่อลดปัญหาการใช้เขตทางหลวง และเกิดผลกระทบต่อระดับการให้บริการของโครงข่ายถนนเพชรเกษม ช่วงเขาวังถึงห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี เพชรบุรี ระยะทาง 4.5 กม.

แนวเส้นทางใหม่จะใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิมเป็นหลัก ยกเว้นบางช่วงจำเป็นต้องมีการปรับแนว เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วได้ อย่างปลอดภัย โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการจากสถานีกลางบางซื่อ ใช้แนวเส้นทางของรถไฟสายใต้ผ่านสถานีนครปฐม สถานีราชบุรี

เมื่อเข้าสู่ อ.เมือง จ.เพชรบุรีแล้ว แนวจะเบี่ยงออกจากแนวรถไฟสายใต้ บริเวณ ต.บางจาก เข้าสู่สถานีเพชรบุรี ที่ ต.ธงชัย จากนั้นได้ปรับแนวในช่วง ต.ธงชัย ใช้แนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม ไปใช้พื้นที่ว่างด้านฝั่งตะวันตกของถนนเพชรเกษมแทน แล้วเข้าสู่แนวรถไฟสายใต้อีกครั้ง บริเวณสถานีหนองไม้เหลือง เป็นระยะทางที่ปรับแนวเส้นทางประมาณ 18 กม. จากนั้นมุ่งลงใต้สู่ อ.ชะอำ และ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ผู้โดยสาร 1 หมื่นเที่ยวคน / วัน

ตามแผนจะเปิดบริการในปี 2566 คาดว่าจะปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ 10,094 เที่ยวคนต่อวัน ปี 2576 อยู่ที่ 28,984 เที่ยวคนต่อวัน ปี 2586 อยู่ที่ 49,634 เที่ยวคนต่อวัน และปี 2596 อยู่ที่ 57,603 เที่ยวคนต่อวัน

ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – หัวหิน ในอนาคตจะมีการพัฒนาขยายแนวเส้นทางไปยังปาดังเบซาร์ หากโครงการพัฒนาแล้วเสร็จ ในปี 2572 คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ – หัวหิน – ปาดังเบซาร์ ถึง 15.19 ล้านคนต่อปี ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถถึง 18,223.11 ล้านบาทต่อปี
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44873
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/03/2018 6:47 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง อีอีซี มาทีหลังแต่เร็วกว่า
เผยแพร่: 9 มี.ค. 2561 17:58: โดย: MGR Online

"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

Click on the image for full size

ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบาย การพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันอก หรือ บอร์ดอีอีซี ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบในหลักการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน คือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา มูลค่าการลงทุน ประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยจะเปิดประมูลให้เอกชนเป็นผู้ลงทมุนหลักร่วมกับรัฐ หรือพีพีพี

หลังจากนี้แล้ว ก็จะต้อง เสนอให้คณะรัฐมนตรี เห็นชอบ ก่อนจะเปิดประมูล โดยตั้งใจจะเร่งรัดดำเนินการให้เร็วที่สุด ตั้งเป้าไว้ว่า จะเซ็นสัญญากับเอกชนผู้ชนะการประมูลให้ได้ ภายในปีนี้ หรือ ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง

แม้จะมาทีหลัง รถไฟความเร็วสูงไทย จีน และรถไฟความเร็วสูงไทยญี่ปุ่น แต่รถไฟความเร็วสุงเชื่อมสนามบิน หรือรถไฟความเร็วสูงอีอีซี ทำท่าว่าจะมาแรง แซงหน้าถึงสถานีปลายทาง ก่อนรถไฟไทยจีน และรถไฟไทยญี่ปุ่นเสียแล้ว

รถไฟความเร็งสูงไทยจีน เดิมเป็นถไฟความเร็วปานกลาง จากหนองคายถึงกรุงเทพ และจากแก่งคอยแยกไปมาบตาพุด เป็นโครงการร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน เซ็นเอ็มโอยูไปเมื่อปลายปี 2557 แต่เวลาผ่านไป 2 -3ปี ก็ไม่มีความคืบห้นาแต่อยางใด เพราะตกลงกันไม่ได้เรื้องรูปแบบการร่วมทุน

สุดท้าย พลเอกประยุทธ์ ทุบโต๊ะ เอามาทำเอง แต่ด้วยข้อผูกพันตามเอ็มโอยู ข้อตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ ว่า จะพัฒนาร่วมกัน จึงต้องใช้เทคโนโลยี่รถไฟความเร็วสูงของจีน ให้จีนออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และซื้อรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ จากจีน โดยเปลี่ยนรูปแบบจากรถไฟความเร็วปานกลาง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นรถไฟความเร็วสูง 250 กิดลเมตรต่อชั่วโมง และลดระยะทางจากกรุงเทพ - หนองคาย เหลือเพียง กรุงเทพ - นครราชสีมา

การก่อสร้างรถไฟความเร็วสุง กรุงเทพ -นครราชสีมา ได้เริ่มขึ้นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคมปีที่แล้ว แต่ยังเป็นแค่การถมพื้นที่ ระยะทางเพียง 3.5 กิโลเมตร จากสถานีกลางดง ถึงปางอโศกเท่านั้น โดยการถไฟแห่งประเทศไทย ว่าจ้างกรมทาวงหลวงเป็นผู้ถมที่ เพราะการออกแบบอื่นๆยังไม่เสร็จ และเมื่อจีนออกแบบเสร็จก็ต้องให้ฝ่ายไทยเห็นชอบ หลังจากนั้น จึงจะเปิดประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้าง

โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ นครราชสีมา จึงเป็นเพียงการเริ่มต้นในเชิงสัญยลักษณ์เท่านั้น ยังไม่มีการลงมือก่อสร้างจริงๆ ซึ่งยังไม่รู้ว่า จะเริ่มได้เมือ่ไร และจะมีข้อขัดแย้งระหว่างไทยกับจีนเหมือนในช่วง สามปีที่ผ่านมาอีกหรือไม่

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ เชียงใหม่ หรือ รถไฟญี่ปุ่ เพราะญี่ปุ่นเป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้ ก็เพิ่งจะศึกษาความเป็นไปได้ของเส้นทางจากกรุงเทพ - พืษณุโลก เท่านั้น ยังไม่มีข้อยุติว่า ใครจะเป็นผู้ลงทุน ไทยต้องการให้ญึ่ปุ่นร่วมทุนด้วย เพราะต้องใช้เงินลงทุนสุง แต่ญี่ปุ่นไม่ต้องการลงทุนด้วย ขอให้เงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำเท่านั้น

โครงการรถไฟความเร็วสูงอีอีซีมาทีหลัง หลังจากที่รัฐบาลตดผลึกความคิดว่า จะต้องพัฒนาเระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยให้พ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง โดยรถไฟความเร็วสูง อีอีซี เป็นหนึ่งใน 5 โครงการ โครงสร้างพื้นฐาน เร่งด่วน ที่จะต้องเกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อรองรับ และเป็นแม่เหล๋กดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเจข้ามายังพื้นที่อีอีซี

รถไฟความเร็วสูงอีอีซี มีระยะทาง 220 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพ ถึง อู่ตะเภา เพียง 45 นาที ประกอบด้วย 5 สถานีคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และสนามบินอู่ตะเภา ใช้แนวเส้นทางรถฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ในปัจจุบัน จากพญาไท ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ โดยขยายเส้นทางจากพญาไท ไปถึงสนามบินดอนเมือง และ จากสนามบินสุวรรณภูมิไปถึงสนามบินอู่ตะเภา

โครงการนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญมาก เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะมีผลต่อการดึงดูดการลงทุนในอีอีซี จึงกำหนดเงื่อนไขที่เป็นแรงจูใจให้เอกชนเข้ามาลงทุน คือ ให้สิทธิพัฒนาพื้นที่รอบๆสถานีมักกะสัน 150 ไร่ และสถานีศรีราชา 100 ไร่ เพื่อให้ผุ้ลงทุนมีราไยด้จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วย เพราะการลงทุนก่อสร้างรถไฟ ต้องใช้ระยะเวลาคืนทุนนานมาก และยังให้ผุ้ลงมุนเลือกทำเลที่ตั้งของสถานีได้ด้วย

ด้วยแรงผลักดันอย่างจริงจังจากรัฐบาล และเงื่อนไขจูงใจ สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร ที่ให้กับผู้ลงทุนในอีอีซี สิทธิในการพัฒนาที่ดินมักกะสัน และศรีราชา ทำให้โครงการรถไฟความเร็วสูงอีอีซี แม้จะมาทีหลัง รถไฟความเร็วสูงไทยจีน และรถไฟความเร็วสูงไทยญี่ปุ่น เป็นโครงการที่มีคามชัดเจน และออกตัว เดินหน้าไปถึงสถานปลายทางได้รวดเร็วกว่า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44873
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/03/2018 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอสผนึกพันธมิตรชิงไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน รับ EEC
TNN 24 Published on Mar 9, 2018

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มาแรง ล่าสุด บีทีเอสประกาศให้ความสนใจร่วมลงทุน โดยดึงพันธมิตร "กลุ่ม ซิโน-ไทย และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง" เข้าร่วมทำการศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุน รวมถึงโครงการระบบรางเบาใน "สมาร์ท พาร์ค"


https://www.youtube.com/watch?v=RPWSOK8EcRs

----

คค.เตรียมชง 'รถไฟไฮสปีด' เข้า ครม.
TNN 24 Published on Mar 9, 2018

รมว.คค. เผยเตรียมชง "รถไฟไฮสปีด" เข้า ครม.ปลายเดือน มี.ค. คาดจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ประมาณกลางปีนี้

TNN24 ออกอากาศทางทีวีช่อง 16


https://www.youtube.com/watch?v=h0PAmyhrveQ

----

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อำนวยความสะดวกการเดินทาง วันที่ 9 มีนาคม 2561 ข่าวค่ำ #NBT2HD
NewsNBT THAILAND
Published on Mar 9, 2018

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมการเดินทางระหว่าง 3 สนามบิน นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางเพื่อดึงดูดการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC แล้ว รูปแบบของการเชื่อมต่อยังจะช่วยลดความคับคั่งของผู้โดยสารของสนามบินหลักทั้ง 2 แห่งด้วย แบบเดียวกับการเดินทางจากสนามบินนาริตะ เข้ากรุงโตเกียวของญี่ปุ่น ติดตามจากรายงานของคุณจินตนา ทิพยรัตน์กุล


https://www.youtube.com/watch?v=6SaX0aNAGpY
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44873
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/03/2018 7:04 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน จุดพลุขุมทอง 4 สถานี
ฐานเศรษฐกิจ 10 March 2018

รถไฟความเร็วสูงโครงการนี้อยู่ระหว่างการเร่งผลักดันจากการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) สัญจรที่จังหวัดเพชรบุรีให้เป็นอีกหนึ่งโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางและการท่องเที่ยวจากกรุงเทพมหานครเชื่อมไปสู่พื้นที่ภาคใต้

รถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กิโลเมตร กรอบวงเงินลงทุนโครงการ แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 4,848 ล้านบาท ค่างานโยธา 69,571 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 14,254 ล้านบาท และค่าขบวนรถ 11,450 ล้านบาท รวมเป็นงบทั้งสิ้นกว่า 1 แสนล้านบาท

โดยรถไฟฟ้าเส้นทางนี้จัดเป็นการดำเนินงานระยะที่ 1 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายใต้ (กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์) เริ่มต้นโครงการจากสถานีบางซื่อไปตามแนวเส้นทางรถไฟสายใต้ มีทั้งเส้นทางยกระดับและระดับดิน ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และไปสิ้นสุดที่สถานีหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี 4 สถานี คือสถานีนครปฐม สถานีราชบุรี สถานีเพชรบุรี และสถานีหัวหิน

ในส่วนการใช้พื้นที่ตามแนวเขตทางนั้นได้กำหนดว่าจะมีสถานีศูนย์ซ่อมบำรุง อาคารจอดแล้วจร และจะมีการเวนคืนจำนวน 897 แปลง คิดเป็นเนื้อที่สำหรับการเวนคืนประมาณ 900 ไร่ และมีอาคารสิ่งปลูกสร้างจำนวน 272 หลัง คาดว่าเมื่อเปิดให้บริการตามผลการศึกษาในปี 2566 จะมีปริมาณผู้โดยสารประมาณ 1 หมื่นคนต่อวัน

Click on the image for full size

ทั้งนี้รถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ตามผลการศึกษาได้มีการวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนโครงการตามประกาศของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการพีพีพี) ที่ปรึกษาได้ดำเนินการเลือกการร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP กับเอกชนใน 3 ทางเลือกนำเสนอรัฐบาล ได้แก่ รูปแบบที่ 1 Net Cost คือ รัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 4,848 ล้านบาท ส่วนเอกชนลงทุนงานโยธา และงานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถ โดยมีเงินสนับสนุนภาครัฐ (Subsidy) 80,283 ล้านบาท รูปแบบที่ 2 Net Cost รัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 4,848 ล้านบาท และงานโยธา 69,571 ล้านบาท ส่วนเอกชนลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถ โดยมีเงินสนับสนุนภาครัฐ 19,579 ล้านบาท และรูปแบบที่ 3 Gross Cost คือ รัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและงานโยธา ส่วนเอกชนลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถ โดยรัฐเป็นผู้จัดเก็บรายได้และจ่ายเงินให้เอกชนในรูปแบบที่ตกลงกันไว้


ทางด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ(EIRR) กรณีวิเคราะห์เฉพาะผลประโยชน์ทางตรงพบว่ามีผลตอบแทนระยะ 30 ปี 8.38% ส่วนกรณีวิเคราะห์รวมผลประโยชน์ทางอ้อม พบว่าระยะ 30 ปีมีจำนวนเท่ากับ 11.34% เช่นเดียวกับผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FIRR) กรณีการรถไฟแห่งประเทศไทยลงทุนเองทั้งหมด ระยะเวลาดำเนินการ 30 ปีเท่ากับ 1.76% ส่วนหากรัฐสนับสนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะให้ผลตอบแทนเท่ากับ 10.64%

ดังนั้นคงต้องลุ้นกันว่าท้ายที่สุดแล้วรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ในคราวประชุมครม.สัญจรวันที่ 6 มีนาคม 2561 นี้จะชี้ชัดในประเด็นใดบ้าง และสามารถหาผู้เป็นเจ้าภาพขับเคลื่อนโครงการได้หรือไม่อย่างไร ป่านนี้คงได้รับคำตอบกันชัดเจนแล้ว ส่วนเอกชนรายใดจะได้โครงการนี้ไปดำเนินการนั้นคงต้องมีลุ้นกันต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,346 วันที่ 8 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44873
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/03/2018 5:27 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเข็น 6 โครงการเร่งเคลียร์ สผ.อนุมัติม่วงใต้-ด่วนพระราม 3-3 สนามบินยังติด EIA
เผยแพร่: 14 มี.ค. 2561 16:39: ปรับปรุง: 14 มี.ค. 2561 17:10: โดย: MGR Online

“คมนาคม” เร่งเคลียร์ EIA ผลักดัน 6 โครงการเมกะโปรเจกต์เดินหน้าประมูลและก่อสร้างตามแผน เผยรถไฟฟ้าสีม่วงใต้, ด่วนพระราม3, ทางเชื่อมโทลล์เวย์กับศรีรัชเข้าคิวรออนุมัติ ส่วนรันเวย์ที่ 3 สุวรรณภูมิ ทอท.เร่งปรับปรุงรายงานเพิ่มเติม ขณะที่รถไฟเชื่อม 3 สนามบินติดเหตุลดเนื้องานไฮสปีด กทม.-ระยอง เหลือแค่สนามบินอู่ตะเภา

รายงานข่าวแจ้งว่า นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมเพื่อติดตามโครงการสำคัญของกระทรวงคมนาคมที่อยู่ในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อเร่งผลักดันการดำเนินโครงการเร่งด่วนให้เดินหน้าต่อไป โดยพบว่ามีหลายโครงการที่ยังอยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติ EIA เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร วงเงิน 101,112 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมการประกวดราคา งานส่วนของ EIA นั้นคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ประชุมเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2560 มีมติให้ปรับปรุงรายงาน EIA ซึ่ง รฟม. อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค. 2561

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ขณะนี้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) อยู่ระหว่างการพิจารณารายงาน EIA ให้ ซึ่ง กทท.ได้จัดส่งไปเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2560

โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตกระยะทาง 18.7 กม. มูลค่าลงทุนรวม 31,244 ล้านบาท ทาง คชก.ได้ประชุมเพื่อพิจารณารายงาน EIA เมื่อ 23 ก.พ. 2561 จากที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้จัดส่งรายงานชี้แจงเพิ่มเติมไป ซึ่ง กทพ.มีแผนเริ่มโครงการฯ ในเดือน ก.ค. 2561

โครงการโครงข่ายทางเชื่อมระหว่างทางยกระดับอุตราภิมุขกับทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ระยะทาง 2.6 กม. มูลค่าโครงการ 6,219 ล้านบาท สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ส่งรายงานการชี้แจง EIA เพิ่มเติมต่อ สผ.แล้วเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2561 เพื่อพิจารณาต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างทางวิ่งที่ 3 และ 4 ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งที่ประชุม คชก.ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2561 มีมติให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ปรับปรุงและเพิ่มเติมรายละเอียดข้อมูลในรายงาน EIA ซึ่ง ทอท.อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม คาดว่าจะสามารถส่งให้ คชก.พิจารณาได้ภายในเดือน มี.ค. 2561

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 ท่าอากาศยาน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)นั้น เนื่องจากโครงการมีความเกี่ยวข้องกับรายงาน EIA ที่เคยจัดทำมาแล้วหลายโครงการ รวมทั้งมีการปรับลดเนื้องานจากช่วงกรุงเทพฯ-ระยอง เป็นกรุงเทพฯ-ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ซึ่งอยู่ระหว่างรอสรุปหารือร่วมกับ สผ.เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44873
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/03/2018 6:38 pm    Post subject: Reply with quote

รื้อ 'ผังเมือง' เอื้อ 'อีอีซี'!! ชง ครม. 20 มี.ค. เคาะประมูล 'ไฮสปีด' สัญญาเดียว
ฐานเศรษฐกิจ 14 March 2018

โยธาฯ รื้อ ‘ผังเมือง’ เอื้อลงทุนหนุน ‘อีอีซี’ เปิดพื้นที่พัฒนาเมืองใหม่รอบ ‘สถานีไฮสปีดเทรน’ ด้าน ร.ฟ.ท. เปิด 2 พื้นที่ ‘มักกะสัน-ศรีราชา’ ให้เอกชนประมูลระยะยาว 50 ปี ด้าน คมนาคมชง ครม. 20 มี.ค. ลุยประกวดราคาด่วน กนศ. เผย กรอบทีโออาร์รวบ 4 ส่วนหลัก เป็นสัญญาเดียว

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา ถือเป็น 1 โครงการ เร่งด่วน การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) และเชื่อมต่อพื้นที่ใกล้เคียงควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ และการพัฒนาเมืองใหม่ โดยล่าสุด ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองอยู่ระหว่างการจัดทำ ‘ผังเมืองอีอีซี’ ให้เกิดการเชื่อมต่อและเอื้อต่อการพัฒนาพื้นที่ ที่คาดว่า จะได้ข้อสรุปในเดือน ส.ค. นี้

Click on the image for full size

ชง ครม. ประมูล ‘ไฮสปีด’
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในวันที่ 14 มี.ค. 2561 นี้ กนศ. จะประชุมร่วมกับ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อสรุปรายละเอียดการประมูลโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะนำเสนอรายละเอียดโครงการทั้งหมดต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอ ครม. อนุมัติโครงการในวันที่ 20 มี.ค. 2561 นี้ โดยหลังจาก ครม. เห็นชอบแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการตั้งคณะกรรมการร่างเอกสารประกวดราคาโครงการดังกล่าว เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการประกาศขายเอกสารประกวดราคาอย่างเป็นทางการต่อไป

เบื้องต้น กนศ. ได้ตั้งคณะกรรมการร่างเอกสารประกวดราคาแล้ว โดยมี นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นประธานคณะกรรมการ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมคณะกรรมการ อาทิ บริษัทที่ปรึกษาโครงการ (บริษัท เอเชียน เอ็นจิเนียริ่ง คอลซัลแตนท์ จำกัด), ผู้แทนสำนักงบประมาณ, ผู้แทนกระทรวงคมนาคม (นายชยธัม พรมศร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)) และผู้แทนด้านกฎหมาย กระทรวงคมนาคม, ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด, ผู้แทนสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โดยมี นายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เป็นเลขานุการคณะกรรมการร่างทีโออาร์ในครั้งนี้

รวมสัญญาเดียว
กรอบของร่างทีโออาร์ครั้งนี้ มีการระบุเรื่องความเร็วที่จะนำมาใช้ในโครงการนี้ ขอบเขตเอกชนจะสามารถเข้าร่วมทุนในจุดใดบ้าง ทั้งงานโยธา งานเดินรถ งานบริหารจัดการโครงการ โดยกรอบร่างสำคัญ ๆ จะเกี่ยวกับ 4 ส่วนหลัก ดังนี้คือ 1.งานโยธา 2.งานระบบไฟฟ้า-เครื่องกล 3.งานจัดหาขบวนรถ เดินรถ และงานซ่อมบำรุง และ 4.งานจัดประโยชน์ที่ดิน ซึ่งการเปิดประมูลจะรวมเป็นสัญญาเดียวกันทั้งหมด เอกชนสามารถยื่นข้อเสนอตามขอบเขตที่ระบุเอาไว้ ส่วนการจะเสนอราคาต่ำสุดหรือมีข้อเสนอที่ดีที่สุดหรือไม่นั้น ขณะนี้ ยังไม่ได้มีการประกาศชัดเจนเอาไว้แต่อย่างใด


“มีการตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนงานจัดประโยชน์ที่ดินไม่ได้เอามารวมไว้ในการเสนอเงื่อนไขในครั้งนี้ แยกออกไปชัดเจน อย่างไรก็ตาม จะสามารถประกาศประกวดราคาได้ในเดือน เม.ย. นี้หรือไม่ ก็คงต้องลุ้นกันต่อไป”

รื้อผังรับ ‘ไฮสปีด-อีอีซี’
นายอนวัช สุวรรณเดช รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า รัฐบาลและสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มอบกรมเร่งจัดทำผังเมือง 3 จังหวัดอีอีซี เร่งด่วนก่อน ให้สอดรับในเขตส่งเสริมการอุตสาหกรรมใหม่ ขณะเดียวกัน รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง หากอยู่ในเขตเมืองก็ทำอะไรไม่ได้มาก แต่หากสถานีไหนยังไม่มีพื้นที่ว่างและมีศักยภาพ ก็สามารถกำหนดการใช้ประโยชน์รองรับ อาทิ เชิงพาณิชย์ เพื่อให้สอดรับกัน

Click on the image for full size

แหล่งข่าวจากสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม. ได้ปรับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 4 รองรับรถไฟความเร็วสูง เชื่อมโยงอีอีซี โดยเฉพาะที่ดินมักกะสัน ปัจจุบันกำหนดให้เป็นศูนย์พาณิชยกรรมรอง หรือ พ.4 รองจากซีบีดีหลัก อาทิ สุขุมวิท สีลม สาทร หรือ พ.5 ไว้ก่อนหน้านี้

ล่าสุด อาจพิจารณาปรับสัดส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดิน หรือ เอฟเออาร์ เพิ่มจากปัจจุบัน เอฟเออาร์ 8 ต่อ 1 หรือ 8 เท่าของแปลงที่ดิน ขณะเดียวกัน ยังนำมาตรการแพลนยูนิตดีเวลอปเมนต์ (พียูดี) มาใช้กับพื้นที่มักกะสัน เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น พัฒนาได้หลากหลาย ด้านหน้าเป็นตึกสูงมากขึ้น อาทิ โรงแรม ด้านหลังเป็นแนวราบ หากจัดทำสาธารณูปโภค-บริการสาธารณะเพียงพอ โดยไม่จำเป็นต้องทำตึกสูงเพียงอย่างเดียวหรือแนวราบเพียงอย่างเดียว ส่วนสนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากติดกฎหมายควบคุมความสูงเครื่องบินของการบินพลเรือน จึงไม่สามารถกำหนดให้สร้างอาคารสูงได้ แต่ปรับบางโซน เช่น ปากทางเข้าสนามบินอาจปรับศูนย์ชุมชนชานเมืองลาดกระบังให้พัฒนาเชิงพาณิชย์และอาคารสูงได้ หรือพื้นที่สีแดงและสีส้ม รวมทั้งปรับพื้นที่เขียวลายให้แคบลง

2 สถานี ลุยเชิงพาณิชย์
นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ร.ฟ.ท. เปิดพัฒนาเชิงพาณิชย์ 2 สถานี คือ ที่มักกะสัน ซึ่งเป็นที่ดินด้านข้างสถานีแอร์พอร์ตลิงค์ เนื้อที่ 150 ไร่ พัฒนาเป็นโรงแรมศูนย์ประชุม ศูนย์การค้า จากทั้งหมดเกือบ 500 ไร่ เช่าระยะยาว 50 ปี ผลตอบแทน 5-6 หมื่นล้านบาท ที่ผู้รับสัมปทานต้องให้กับ ร.ฟ.ท. ในรูปแบบทยอยจ่ายส่วนการสร้างผลกำไรบนที่ดิน ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของเอกชนเอง ส่วนที่ดิน ร.ฟ.ท. อีกแปลง บริเวณศรีราชา จ.ชลบุรี เนื้อที่ 25 ไร่ ผลตอบแทน 600-700 ล้านบาท พัฒนาเป็นศูนย์การค้า อาคารพาณิชย์ ฯลฯ ซึ่งผังเมืองได้เปิดให้พัฒนาเต็มศักยภาพตามที่ศึกษาไว้ ส่วนสถานีอื่นปล่อยเป็นพื้นที่โล่ง แต่หากเอกชนเห็นว่า อนาคตจะมีความเจริญ ก็จะสามารถพัฒนาบนที่ดินตนเองรองรับได้

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา-ระยอง เชื่อม 3 สนามบิน 95% ใช้เส้นทางเดิม แต่ปรับแนวบริเวณฉะเชิงเทรา ขยับหลบเขตเมืองขึ้นไปบริเวณเหนือสถานีเดิม เพื่อทำโรงซ่อมบำรุง โดยเวนคืนที่นาชาวบ้านจำนวน 300-400 ไร่ ล่าสุด ได้ทำความเข้าใจกับชาวบ้านเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำเลนี้ไม่น่าสนใจลงทุน เพราะเป็นเพียงโรงซ่อมบำรุงของรถไฟความเร็วสูง ไม่ใช่สถานี และเชื่อว่าผังเมืองไม่เอื้อต่อ

Click on the image for full size

ผังเมืองเข้ม สวนทาง ‘อีอีซี’
ด้าน นายมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ จ.ชลบุรี สะท้อนว่า ขณะนี้พื้นที่ ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา กำลังได้รับผลกระทบ ผังเมืองใหม่ที่กำลังจะประกาศใช้ ได้จำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่สามารถพัฒนาบ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ โรงงาน เช่นเดิมได้ ทั้งที่เป็นแหล่งรวมของโรงงานและที่อยู่อาศัย

นอกจากนี้ ยังมีบางแสนที่ได้รับผลกระทบ สวนทางที่ดินแพง และหลายบริษัทซื้อที่ดินรอพัฒนาต่อเนื่อง แต่กลับทำอะไรไม่ได้ ฉะเชิงเทราและระยองเช่นเดียวกัน ผังเมืองใหม่ออกมาถูกจำกัดการพัฒนา เช่น ฉะเชิงเทรา ไม่สามารถขยายการสร้างโรงงานต่อได้ แต่หากอยู่ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมจะได้รับสิทธิประโยชน์ และมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ส่วนอุตสาหกรรมเก่าไม่สามารถลงทุนได้ สวนทางที่รัฐกำหนดให้เป็นเมืองอีอีซี ขณะเดียวกัน หากรอผังอีอีซีที่จะช่วยคลี่คลาย มองว่า จะใช้เวลานานไม่ต่ำกว่า 1-2 ปีข้างหน้า และไม่เชื่อว่าจะเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน ตราบใดที่ยังให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นคนจัดทำ

……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,348 วันที่ 15-17 มี.ค. 2561 หน้า 02
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44873
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/03/2018 9:20 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้านแสดงจุดยืนต้องการรถไฟความเร็วสูงจอด "ชุมทางบัวใหญ่"
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV
14 มีนาคม 2561 20:31

Click on the image for full size

นครราชสีมา - ชาวบัวใหญ่ต่างพร้อมใจกันติดป้ายผ้าแสดงจุดยืน ต้องการรถไฟความเร็วสูงมีจุดจอดที่สถานีชุมทางบัวใหญ่ตามแผนเดิมที่เคยวางไว้

วันนี้ (14 มีนาคม 2561) เวลา 14.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ตามบ้านเรือนของประชาชนและบริษัทห้างร้านต่างๆ พร้อมใจกันติดป้ายผ้า เพื่อเรียกร้องให้การรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาให้รถไฟความเร็วสูงมีจุดจอดที่สถานีชุมทางบัวใหญ่ ตามแผนเดิมที่เริ่มโครงการ อีกทั้งได้กำลังรวบรวมรายชื่อประชาชนในพื้นที่เขตอำเภอบัวใหญ่ ไปยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลพิจารณาตามข้อเรียกร้องต่อไป

Click on the image for full size

สืบเนื่องจากตามแผนเดิมรถไฟความเร็วสูงเฟสที่ 2 นครราชสีมาปลายทางหนองคาย ได้กำหนดจุดจอดที่สถานีชุมทางบัวใหญ่ เป็นจุดจอดที่ 2 ระหว่างสถานีนครราชสีมาและสถานีขอนแก่น และเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2561 นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวในการเปิดงานประเพณีบัวไหมบัวใหญ่ ความตอนหนึ่งกล่าวถึงสิ่งสำคัญเร่งด่วนที่ต้องทำ คือการเรียกร้องให้คงจุดจอดรถไฟความเร็วสูงตามแผนเดิมที่สถานีชุมทางบัวใหญ่ ชาวบ้านจึงทำการรวบรวมรายชื่อแสดงข้อเรียกร้องเพื่อนำส่งมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาต่อไป โดยประชาชนในพื้นที่ต่างลงความเห็นแล้วว่า การคงจุดจอดรถไฟความเร็วสูงตามแผนเดิมที่สถานีชุมทางบัวใหญ่ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาของอำเภอบัวใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงในการคมนาคม การขนส่งสินค้า และการเดินทางติดต่อระหว่างจังหวัดอีกด้วย

Click on the image for full size

จากการสอบถามนายระพีพงษ์ เข็มแสง อายุ 35 ปี พ่อค้าขายแตงโมบริเวณริมทางรถไฟ เปิดเผยว่า ตนเห็นด้วยกับการแสดงจุดยืนของประชาชนในพื้นที่อำเภอบัวใหญ่เรื่องรถไฟความเร็วสูงที่อยากให้มีจุดจอดที่สถานีชุมทางบัวใหญ่ในครั้งนี้ เพราะจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงที่ต้องการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงก็จะมารวมกันอยู่ที่จุดนี้ ซึ่งจะทำให้การค้าขายดีขึ้น อีกทั้งปัจจุบันประชาชนในพื้นที่บางส่วนต้องเดินทางไปทำธุระที่กรุงเทพฯเป็นประจำ ก็จะทำให้เดินทางสะดวกขึ้น รวมไปถึงประชาชนที่ต้องการการขนส่งสินค้าทางรถไฟความเร็วสูงไปยังจังหวัดชัยภูมิ ก็ทำให้ประหยัดเวลาในการขนส่งได้ดีอีกด้วย เนื่องจากอำเภอบัวใหญ่มีระยะทางห่างจากจังหวัดชัยภูมิเพียงประมาณ 50 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44873
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/03/2018 8:20 am    Post subject: Reply with quote

‘ปตท.’ปักหมุดอีอีซี 7 หมื่นล้าน
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 15 มี.ค. 61 เมกะโปรเจ็กต์

Click on the image for full size

อุตตม ย้ำ อีอีซี เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศ มั่นใจปีนี้ลงทุนอีอีซีสูงกว่า 3 แสนล้านบาท พีทีทีจีซีทุ่ม 7 หมื่นล้านนำร่องลงทุน พร้อมจับมือพันธมิตรต่างชาติร่วมลงทุนแสนล้าน

ด้าน คณิศ เผย เล็งออกแพ็กเกจหนุนลงทุนพัฒนาเมืองใหม่ การบินไทย มั่นใจ ศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา 5 ปี แล้วเสร็จ ศักยภาพอันดับ 1 ของโลก

การลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น โดยภาครัฐและภาคเอกชนได้มาอธิบายความคืบหน้าการลงทุนและแสดงความเห็นต่อการพัฒนาอีอีซีในงานสัมมนาหัวข้อ GO Thailand : ลงทุนเพื่ออนาคต จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษ ว่า ขณะนี้เป็นโอกาสของไทยในการผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตก้าวกระโดด เพราะเป็นช่วงที่มีความพร้อมทุกด้านที่จะปฏิรูปประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ตามแผนปฏิบัติการ 20ปี (2560-2579) มีอีอีซีเป็นกลไกสำคัญต่อการขับเคลื่อน

ทั้งนี้ การเปลี่ยนประเทศต้องมองระยะยาว และโอกาสนี้เหมาะสมที่สุดที่เราจะปรับเปลี่ยนประเทศเพราะภายนอกเอเชียกำลังถูกจับตามองจากทั่วโลกที่จะเป็นศูนย์กลางการเติบโตเศรษฐกิจแห่งใหม่ ส่วนปัจจัยภายในของไทยมีตัวเลขทางเศรษฐกิจดีขึ้น เช่น จีดีพี การส่งออก อันดับการลงทุน ทำให้ช่วงนี้เหมาะที่เอกชนจะปรับตัวไปพร้อมกับการเปลี่ยนประเทศ

สำหรับ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อยู่ขั้นตอนรอประกาศบังคับใช้จะมีส่วนสำคัญที่จะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน โดยปี 2560 มีการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในอีอีซี 3 แสนล้านบาท และปีนี้จะสูงกว่าแน่นอน

พีทีทีจีซี ประกาศลงทุนอีอีซี7หมื่นล้าน

สำหรับการเสวนาหัวข้อ เมืองใหม่ อุตสาหกรรมใหม่ ประชาชนได้อะไร มีผู้แทนภาครัฐและเอกชนร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับการลงทุนในพื้นที่อีอีซี

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีจีซี กล่าวว่า บริษัทในเครือ ปตท.รวมถึงพีทีทีจีซี มั่นใจว่าอีอีซีจะสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศระยะยาวเหมือนอีสเทินร์ซีบอร์ดที่เกิดขึ้นมากกว่า 20 ปี และเบื้องต้นพีทีทีจีซีเตรียมลงทุนในอีอีซี 7 หมื่นล้านบาท ระยะแรกลงทุน 3 โครงการ และวันที่ 23 มี.ค.นี้จะมีพิธีวางศิลาฤกษ์หลังจากเตรียมการมาระยะหนึ่ง

ส่วนความร่วมมือกับบริษัทต่างชาติที่จะลงนามความร่วมมือ (MOU) คาดว่าลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท เป็นการลงทุนต่อเนื่อง และจากการหารือกับพันธมิตรต่างประเทศเห็นโอกาสการลงทุนในอีอีซี เพราะไทยมีวัตถุดิบและมีตลาดที่เติบโต ขณะเดียวกันในอีอีซียังมีสถาบันการศึกษาชั้นนำ มีพื้นที่รองรับการวิจัยและพัฒนาทำให้ดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุนได้มากขึ้น

นอกจากนี้ บริษัทฯ มีแผนลงทุนเพิ่มในอุตสาหกรรมไบโอเคมิคอล 2 – 3 หมื่นล้านบาท เพื่อนำวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น ปาล์ม อ้อย มาสร้างมูลค่าเพิ่ม จะลงทุนในอีอีซีและที่ จ.นครสวรรค์ และโครงการในอีอีซีถือเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ครั้งที่ 2 ของกลุ่ม ปตท. ซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้นเหมือนอีสเทิร์นซีบอร์ด

ยืนยันรถไฟเร็วสูง-ทางคู่เสร็จใน 5 ปี

นอกจากนี้ มีการเสวนาหัวข้อ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานพลิกประเทศ โดยนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า อีอีซีทำในสิ่งที่อีสเทิร์นซีบอร์ดทำไม่ได้ คือ รถไฟไปเชื่อมแหล่งผลิต และการนำสนามบินอู่ตะเภามาใช้ ซึ่งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและรถไฟรางคู่จะเสร็จใน 5 ปี พร้อมกับสนามบินอู่ตะเภา โดยโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นการลงทุนโดยเอกชน 80% และรัฐบาล 20%


ทั้งนี้ อีอีซีจะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นอีกปีละ 2% ส่วนขั้นต่อไปจะเร่งเดินหน้าแผนการสร้างเมืองใหม่ และการท่องเที่ยวใน อีอีซี ซึ่งจะต้องมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ตามมาอีกมาก โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะมาตรการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเมือง และอสังหาริมทรัพย์ ส่วนการลงทุนในอีอีซีปีนี้ จะได้รับความสนใจเมือประกาซใช้ พ.ร.บ.อีอีซี โดยเฉพาะนักลงทุนจีน

การบินไทยลงทุน 10 ปี 2 หมื่นล้าน

นางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ศูนย์ซ่อมอากาศยานการบินไทยที่ร่วมลงทุนกับแอร์บัส ที่สนามบินอู่ตะเภา ภายใต้ อีอีซี จะเป็นแหล่งซ่อมบำรุงอากาศยานด้านต่างๆ ได้แก่ 1.การซ่อมบำรุงใหญ่ ซ่อมชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และการดัดแปลงอากาศยาน 2. ซ่อมบำรุงระดับลานจอด 3. พ่นสีอากาศยานและประดับตกแต่ง และ4. ศูนย์ฝึกอบรมบุคลาการช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน ซึ่งจะร่วมดำเนินงานกับการบินไทย แอร์บัส และสถาบันการบินพลเรือน โดยศูนย์ซ่อมบำรุงแห่งนี้จะแล้วเสร็จภายใน 5 ปี ซึ่งจะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอันดับ 1 ของโลก โดยวัดจากความพอใจของลูกค้าและการส่งมอกที่ตรงเวลานัดหมาย และมีความปลอดภัยสูง ซึ่งในปีแรกที่เปิดดำเนินการจะมีรายได้ไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท และภายใน 10 ปี จะเพิ่มเป็น 2.2 หมื่นล้านบาท

10รายสนลงทุนแหลมฉบัง

ร.ต.ต.มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง กล่าวว่า ในปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังรองรับสินค้าได้ 7.6 ล้าน ที.อี.ยู. ต่อปี อัตราการเติบโต 8% ต่อปี คาดว่าปีนี้จะทะลุ 8 ล้าน ที.อี.ยู. คาดว่าในอีก 4-5 ปี ก็จะเต็มศักยภาพการรองรับ 10.8 ล้าน ที.อี.ยู. ต่อปี ดังนั้นจึงต้องเร่งก่อสร้างในเฟส 3 ซึ่งจะขยายศักยภาพรองรับได้เพิ่มขึ้นอีก 7 ล้าน ที.อี.ยู. ทำให้มีกำลังรองรับรวมทั้งสิ้น 18 ล้าน ที.อี.ยู. โดยความคืบหน้าการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 อยู่ระหว่างการจำทำรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) คาดว่าภายในเดือนพ.ค. จะได้รับการอนุมัติ จากนั้นจะศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและจัดหาเงินลงทุน จากนั้นจะประมูลภายใต้โครงการการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) ซึ่งขณะนี้มีผู้สนใจกว่า 10 ราย โดยในจำนวนนี้ให้ความสนใจจะลงทุนมากประมาร 5-6 ราย

นายจเร รุ่งฐานีย์ รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กลุ่มบริหารรถไฟฟ้า กล่าวว่า รฟท. ได้สนับสนุนระบบรายเสริมเศรษฐกิจใน อีอีซี ทั้งรถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่ โดยรถไฟความเร็วสูงจะมี 9 สถานีระยะทาง 220 กม. ใช้ความเร็วในเมืองระหว่างดอนเมือง-สุวรรณภูมิ 160 กม.ต่อชม. และวิ่งนอกเมืองใช้ความเร็วสูงสุด 150 กม.ต่อชม. ซึ่งนอกจากจะเชื่อมโยง 3 สนามบิน ยังเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างเมืองภายใน อีอีซี ด้วย และยังมีโครงการเชื่อมต่อกับรถไฟขนส่งมวลชนสายสีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว และสีเขียวอ่อน เพื่อให้ผู้โดยสานเชี่อมต่อ 3 สนามบิน และภาคตะวันออกได้ง่ายขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44873
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/03/2018 5:55 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.มั่นใจ TOR โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเสร็จตามเป้า-ลั่นไม่มีล็อกสเปก
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2561 16:58:21 น.

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เป็นประธานประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงภายใต้ความร่วมมือไทย-จีน, ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นและรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยง 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เพื่อเร่งรัดการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงาน

โดยในส่วนของรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยง 3 สนามบินนั้น ตามแผนจะสรุปร่างทีโออาร์ ให้เสร็จภายในเดือน มี.ค.หรืออย่างช้าต้นเดือน เม.ย.โดยขณะนี้มีความก้าวหน้า 70-80% แล้ว คาดว่าจะประกาศร่างทีโออาร์ได้ตามเป้าหมาย เพราะเหลือประเด็นอีกไม่มากที่คณะกรรมการร่างทีโออาร์ฯ จะต้องสรุป เช่น สัดส่วนของต่างชาติที่จะเข้ามาร่วมลงทุน และเงื่อนไขที่จะไม่ทำให้เกิดการล็อกเสปกหรือเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนกัน

อย่างไรก็ตาม การเขียนทีโออาร์จะต้องมีรายละเอียดและมีความชัดเจน ไม่เกิดการตีความ เปิดกว้างให้เกิดการแข่งขัน

ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ในความร่วมมือไทย-จีนนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการระยะแรก เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทางทั้งหมด 252 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 1.79 แสนล้าน โดยช่วงสถานี กลางดง - ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร กรมทางหลวง(ทล.)อยู่ระหว่างทำงานก่อสร้าง ส่วนตอนที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร 11.5 กม. ทางจีนได้ส่งแบบมาแล้ว อยู่ระหว่างการปรับแก้ และจะทยอยส่งแบบตอนที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา 119.5 กม. และตอนที่ 4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย 119.5 กม.เพื่อก่อสร้างตามแผน

ทั้งนี้ รมว.คมนาคมได้ให้นโยบายเร่งดำเนินการในรถไฟความเร็วสูง ในความร่วมมือไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 394 กิโลเมตร ซึ่งไทยจะดำเนินการออกแบบรายละเอียดเอง โดยเตรียมของบประมาณเพื่อดำเนินการออกแบบแล้ว อยู่ระหว่างประเมินวงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการราว 1 พันล้านบาทเศษ ใช้เวลาออกแบบ 2 ปี โดยจะของบกลางปี 2561 เพื่อเริ่มต้นและงบประมาณผูกพันปี 2562 ด้วย

"ขณะนี้ในระยะแรก อยู่ในการตรวจสอบแบบตอนที่ 2 มีการปรับแก้อยู่ คาดว่าจะสรุปเร็วๆนี้จะเปิดประมูลหาผู้รับจ้างก่อสร้าง ซึ่งตอนที่ 2 จะก่อสร้างเป็น 1 สัญญา พร้อมกันนี้จะเร่งสรุปรายละเอียดในระยะที่ 2 เพื่อเร่งว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบต่อไป ขณะที่การประชุมคณะทำงานร่วมรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 24 นั้นจะเป็นระหว่างวันที่ 18-20 เม.ย.นี้ที่พัทยา"นายอานนท์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44873
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/03/2018 11:04 pm    Post subject: Reply with quote

คนบัวใหญ่ เฮ! มาแน่รถไฟความเร็วสูง จอดถัดจากสถานีโคราช
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 15 มี.ค. 2561 20:38

คนบัวใหญ่ได้เฮ ข่าวล่าสุดจากคมนาคม รถไฟความเร็วสูงได้จอดที่สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ ตามแผนผังโครงการดั้งเดิม ชี้มีความเหมาะสมทุกอย่าง

จากกรณีที่ชาวบัวใหญ่ได้ร่วมกันติดแผ่นป้ายตามร้านค้าในตลาดบัวใหญ่ เพื่อเรียกร้องให้มีรถไฟความเร็วสูงที่กำลังจะสร้างขึ้น ขอให้หยุดจอดสถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่เหมือนเดิม ตามโครงการแบบแผนที่เคยกำหนดไว้ ซึ่งมีความพร้อมทุกด้านตาม ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ดินมีมากที่สุดในภาคอีสาน ระยะห่างจากสถานีรถไฟจาก จ.นครราชสีมา ถึง 100 กม.

ล่าสุดวันที่ 15 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากแหล่งข่าวในกระทรวงคมนาคม ทราบว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.กระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ตามที่ชาวบัวใหญ่ได้ติดป้ายเรียกร้องให้รถไฟความเร็วสูงคงจอดที่สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่เหมือนเดิม เนื่องจากมีความเหมาะสมด้วยประการต่างๆ ครบถ้วน รวมทั้งก่อนหน้านี้ นายวิเชียร จันทรโณทัย  ผวจ.นครราชสีมา ได้มีการประชุม กรอ.จ.นครราชสีมา เกี่ยวกับการให้รถไฟความเร็วสูงคงจอดที่สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ ผลการประชุมกรอ.จ.นครราชสีมา มีมติให้รถไฟความเร็วสูงจอดที่สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ และทาง นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผวจ.ชัยภูมิ ก็ได้เรียกประชุม กรอ.จ.ชัยภูมิ ด้วยเช่นกัน จากการประชุมจะเป็นผลดีต่อชาวจังหวัดชัยภูมิ จะได้มีโอกาสมาใช้บริการรถไฟความเร็วสูงที่สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ ซึ่งมีระยะทางชัยภูมิห่างจาก อ.บัวใหญ่ เพียง 52 กม.เท่านั้น

ทั้งนี้ ผลการประชุม กรอ.ของ จ.ชัยภูมิ มีมติให้รถไฟความเร็วสูงควรจอดที่สถานีรถฟชุมทางบัวใหญ่เช่นกัน และสถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ ห่างจากสถานีรถไฟขอนแก่น 120 กม.
 ดังนั้นมติ กรอ.ของจ.นครราชสีมา กับ จ.ชัยภูมิ จึงได้ไปถึง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.กระทรวงคมนาคม เพื่อให้รถไฟความเร็วสูงจอดที่สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ ตามแบบโครงการที่เคยกำหนดไว้ว่ารถไฟความเร็วสูง ออกจาก จ.นครราชสีมา แล้วจอดสถานีต่อไปคือสถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่

ขณะที่ นายประพัทธพงศ์ พราหมณี นายอำเภอบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เผยว่า เป็นที่ยินดีที่รถไฟความเร็วสูงจะได้จอดที่บัวใหญ่ การเรียกร้องของประชาชนชาวบัวใหญ่ ที่ร่วมเซ็นชื่อเพื่อยื่นต่อรัฐบาลนั้น ตนจะรวบรวมรายชื่อจำนวน 1 หมื่นชื่อส่งไปยัง นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา เพื่อส่งไปยังรัฐบาล และรายชื่อที่เหลือจะได้ทยอยส่งไปในเร็ววัน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของประชาชนชาวบัวใหญ่ ที่ต้องการให้บัวใหญ่มีรถไฟความเร็วสูงจอด เพราะมีความเหมาะสมทุกด้าน และการรถไฟได้ออกแบบไว้เรียบร้อย

ด้านนายบุญธง ปะโปตินัง นายสถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ กล่าวว่า การมีสถานีรถไฟความเร็วสูง มีความเหมาะสมทุกด้าน ไม่ว่าสถานที่ ระยะทางห่างสถานีต่อสถานีเป็นไปตามหลักการ ที่สำคัญชุมทางรถไฟบัวใหญ่ มีพื้นที่มากที่สุดในการที่จะใช้ทำประโยชน์ต่างๆ ของการรถไฟได้อย่างครบถ้วน ประกอบกับประชาชนในพื้นที่รอบข้างก็จะได้สะดวกในการที่จะมาใช้รถไฟความเร็วสูงได้อีกหลายอำเภอที่ติดกับอำเภอบัวใหญ่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 260, 261, 262 ... 549, 550, 551  Next
Page 261 of 551

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©