RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273157
ทั้งหมด:13584453
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 273, 274, 275 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2018 8:30 pm    Post subject: Reply with quote

ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ซื้อซองไฮสปีด 3 สนามบินเป็นรายที่ 13
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 27 มิถุนายน 2561 18:06
ปรับปรุง: 27 มิถุนายน 2561 18:09




รายงานข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า วันนี้ (27 มิ.ย.) วันที่ 7 ของการขายเอกสารการคัดเลือกเอกชน Request for Proposal (RFP) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงินกว่า 2 แสนล้านบาท โดยมีบริษัทมาซื้อซองเสนอราคาจำนวน 1 ราย คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ซึ่งเข้าซื้อเอกสารในช่วงเช้า ส่วนช่วงบ่ายไม่มีรายใดซื้อเพิ่ม

โดยบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ถือเป็นเอกชนรายที่ 13 ที่เข้าซื้อเอกสารประกวดราคารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดย ร.ฟ.ท.จะเปิดขายซองจนถึง วันที่ 9 ก.ค. 2561

สำหรับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ถือเป็นพันธมิตรของ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ในนามกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR Joint Venture ซึ่งได้ประกาศที่จะจับกลุ่มเดิมในการเข้าร่วมประกวดราคา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2018 10:26 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มตอกเข็มชมพู-เหลืองปลาย ก.ค.-BTS คุยพันธมิตรลงขันชิงรถไฟ 3 สนามบินจบ ส.ค.นี้
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 27 มิถุนายน 2561 - 06:46
ปรับปรุง: 27 มิถุนายน 2561 - 09:57


กลุ่ม BSR เตรียมเข้าพื้นที่ตอกเข็มรถไฟฟ้า “ชมพู-เหลือง” ปลาย ก.ค.นี้ ระบุหลัง รฟม.ส่งหนังสือให้เริ่มงานจะต้องส่งแบบและแผนจราจรให้อนุมัติก่อน คาดใช้เวลาอีก 1 เดือน ขณะที่บีทีเอสเผยเจรจาพันธมิตรไทย-เทศร่วมทุนชิงรถไฟเชื่อม 3 สนามบินกว่า 2 แสนล้านจบ ส.ค.นี้

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส แกนนำกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR Joint Venture (BTS) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ซึ่งเป็นผู้รับงานสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 53,519.50 ล้านบาท และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 51,931.15 ล้านบาท เปิดเผยว่า หลังจากที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ส่งหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ในวันที่ 29 มิ.ย. 2561 ซึ่งถือเป็นการนับเริ่มต้นสัญญาอย่างเป็นทางการแล้วนั้น

กลุ่ม BSR จะจัดส่งแบบก่อสร้างและแผนการจัดจราจรให้ รฟม.อนุมัติก่อนจึงจะเริ่มเข้าพื้นที่ลงมือก่อสร้างได้จริง โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนหลังจากวันที่ 29 มิ.ย. 2561 ในการพิจารณาอนุมัติแบบและแผนการจัดจราจร โดยจะเริ่มก่อสร้างได้จริงตั้งแต่ปลายเดือน ก.ค.-ต้นเดือน ส.ค. ซึ่งรูปแบบก่อสร้างออกแบบควบคู่การก่อสร้าง (Design & Build) มีเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน (39 เดือน)

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงินกว่า 2 แสนล้านบาท รูปแบบ PPP net cost 50 ปี ซึ่งบีทีเอสได้เข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชน Request for Proposal (RFP) แล้วนั้น จะร่วมกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง และบริษัท ซิโน-ไทย พันธมิตรเดิมแน่นอน ส่วนพันธมิตรรายที่ 4 หรือ 5 นั้นอยู่ในการเจรจายังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งมีทั้งนักลงทุน ผู้ประกอบการไทยและต่างชาติหลายรายให้ความสนใจในการร่วมลงทุน ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในเดือน ส.ค.นี้

ทั้งนี้ เงื่อนไขในการลงทุน จะต้องจ่ายค่าระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์กว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยต้องปรับปรุงระบบและซื้อขบวนรถเพิ่ม และรับโอนภายใน 2 ปี แม้จะยากแต่มั่นใจว่าทำได้เพราะเป็นงานที่บีทีเอสทำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าบีทีเอสต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในกลุ่มไม่ต่ำกว่า 25% และได้เตรียมพร้อมทางการเงินไว้สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินไว้แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/06/2018 9:29 am    Post subject: Reply with quote

เร่งรถไฟสายขอนแก่น-แหลมฉบัง เชื่อมระบบขนส่งสินค้าอีสาน-เวียดนาม
แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561, 06.00 น.

นายกุลิศ สมบัติศิริ ประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหินว่ากำลังเร่งดำเนินการให้เร็วโดยจะพยายามจัดทำร่างเอกสารประกวดราคาให้แล้วเสร็จ ส่วนจะขยายไปยังชุมพรได้หรือไม่นั้น ตามนโยบายทางการรถไฟฯจะพิจารณาที่ความคุ้มค่าจึงต้องรอดูผลการศึกษาก่อน

ส่วนโครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าเส้นทางขอนแก่น-แหลมฉบังที่เป็นโครงการนำร่องนั้น ขณะนี้โครงการเดินหน้าไปได้มากแล้วและจะจัดทำกรอบระยะเวลาการดำเนินการว่าจะเสนอแผนอย่างไรบ้างในแต่ละเดือน โดยคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) จะเป็นผู้กำกับการดำเนินการตามแผนอีกที ส่วนการออกแบบแล้วเสร็จและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการรถไฟฯ แล้ว โดยจะเน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลักที่จะขนส่งจากภาคอีสานเชื่อมต่อกับเวียดนาม กัมพูชา และลาว เป็นต้น ส่วนการลงทุนจะเป็นรูปแบบเอกชนร่วมลงทุน (PPP)

สำหรับการทบทวนโครงสร้างอัตรากำลังนั้นคณะกรรมการการรถไฟฯได้อนุมัติในหลักการจำนวน 19,241 อัตรา ซึ่งต้องพิจารณาอีกว่าสาขาไหนที่เหมาะสม ปัจจุบันหลักๆ จะมีด้านฝ่ายการเดินรถและฝ่ายซ่อมบำรุง ขณะที่ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ได้เร่งรัดในส่วนต่อขยายที่จะไปเชื่อมต่อระหว่างสถานีรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากเชื่อมต่อเข้าไปถึงจะได้ผู้โดยสารเพิ่มอีกมาก โดยจะเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) เพื่อพิจารณาอนุมัติ

ด้านความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่ย่านพหลโยธินจะนำพื้นที่โซน A มาดำเนินการพัฒนาเป็น SMART City ซึ่งเป็นการนำร่องพัฒนาโครงการร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงจะหารือร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ด้วย ส่วนการจัดตั้งบริษัทลูกบริหารทรัพย์สินขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดตั้งฯ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/06/2018 5:52 pm    Post subject: Reply with quote

มาแล้วรายที่ 14! ทีพีไอควักเงินล้านโผล่ซื้อซองประมูลไฮสปีด 3 สนามบิน 2.2 แสนล้าน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 16:02 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (29 มิ.ย.) เป็นวันที่ 10 ขายเอกสารประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุนกว่า 2.2 แสนล้านบาท



ปรากฎว่าในช่วงเช้ามีเอกชน 1 ราย สนใจมาซื้อซองเพิ่ม ได้แก่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เมื่อรวมตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย.-29 มิ.ย. รวมมีมาซื้อซองประมูลทั้งสิ้น 14 ราย ประกอบด้วย

1) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
2) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด
3) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
4) บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5) บริษัท เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ จำกัด
6) บริษัท อีโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด
7) Sinohydro Corporation Limited
8) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน)
9) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BEM
10) บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
11) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
12) China Railway Construction Corporation Limited
13) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
14) บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/06/2018 9:23 am    Post subject: Reply with quote

เร่งไฮสปีด6แสนล้าน คาดชงครม.ปี'61 ทั้งเส้นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หัวหิน
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 30 มิ.ย. 2561 เวลา 08:27 น.

คมนาคมขับเคลื่อนแผนแอ็กชั่นแพลนโครงสร้างพื้นฐานอีก 2 เส้นทาง จ่อปรับวงเงินลงทุนหลังงบเวนคืนพุ่ง

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า แผนขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทางกระทรวงคมนาคมตั้งเป้าหมายภายในปี 2561 จะเร่งผลักดันโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่เหลืออีก 2 สาย วงเงินลงทุน 5-6 แสนล้านบาท เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบก่อนเปิดประมูลโครงการต่อไป

ทั้งนี้ ประกอบไปด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 4-5 แสนล้านบาท และโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหินวงเงิน 9.5 หมื่นล้านบาท

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง เฟส 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 418 กม. วงเงินลงทุน 2.76 แสนล้านบาท ขณะนี้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้จัดทำแผนการออกแบบและรายละเอียดเสร็จและได้หารือร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เรียบร้อยแล้ว โดยส่งเรื่องมายังกระทรวงคมนาคมพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะสามารถเสนอ ครม.ได้ภายในไตรมาส 3 หรือเดือน ก.ย.นี้

ด้านความคืบหน้าของโครงการ รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน วงเงิน 9.5 หมื่นล้านบาทนั้น ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้เห็นชอบรายละเอียดโครงการแล้ว แต่ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้ส่งโครงการมาให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สรุปกรอบวงเงินลงทุนใหม่ หลังจากพบว่าจำเป็นต้องเพิ่มเงินลงทุนโครงการหลังจากปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางรถไฟ โดยเฉพาะค่าเวนคืนพื้นที่ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงตามแนวเส้นทางดังกล่าว รวมถึงวงเงินค่าก่อสร้างที่ต้องเพิ่มมากขึ้นจากการขยายแนวเส้นทาง ออกไป ดังนั้นคาดว่า รฟท.จะเสนอโครงการให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) รฟท.พิจารณาเห็นชอบภายในเดือน ก.ค.นี้

นายพีระพล กล่าวถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างถอดแบบราคากลาง สัญญาก่อสร้างตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-ขนานจิตร ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 5,000 ล้านบาท ควบคู่ไปกับการจัดทำร่างเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) คาดว่าจะเปิดประมูลโครงการได้ภายในเดือน ส.ค.นี้ ควบคู่ไปกับการเร่งสรุปรายละเอียดสัญญาที่ 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท คาดจะได้ข้อสรุปเดือน ส.ค.นี้เพื่อเสนอโครงการเข้า ครม.เดือน ก.ย.

อย่างไรก็ตาม โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งสรุปเรื่องการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งถูกสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสั่งให้ชะลอ พร้อมกลับไปศึกษาเพิ่มเติม เพื่อชี้แจงต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 2 ประเด็น 1.สาเหตุของการเพิ่มค่าเวนคืน 2.ความผิดพลาดในการคำนวณค่าเวนคืน เนื่องจากกรมทางหลวงจะเสนอขอเพิ่มวงเงินค่าเวนคืนที่ดินในโครงการดังกล่าว หลังจากดำเนินการประเมินราคาที่ดินใหม่ให้สอดคล้องกับปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2018 11:40 am    Post subject: Reply with quote

“ธนินท์” เล็งคว้าไฮสปีด EEC ช.การช่างซุ่มชิงมักกะสัน-ศรีราชา
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 - 11:20 น.

“ธนินท์ เจียรวนนท์” เปิดใจครั้งแรก ตั้งใจลงทุนโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ยืนยันจับมือ “จีน-ญี่ปุ่น-ยุโรป” ชิงประมูล ชี้ที่ดินเชิงพาณิชย์คือหัวใจ EEC มั่นใจ “ไฮสปีด” สายแรกของไทยแจ้งเกิดแน่ กลุ่ม BSR ยังปึ้ก “บีทีเอส-ซิโนไทย-โรงไฟฟ้าราชบุรี” รอเจรจาสัดส่วนหุ้น ส่วนขั้วที่ 3 ช.การช่างผนึกญี่ปุ่น เผยจีนกันเหนียวจับ 2 ขั้วตัวเต็ง

หลังเปิดซื้อซองประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาท เริ่มคึกคักและเห็นภาพชัดขึ้น โดยเฉพาะการจับขั้วชิงงานประมูลระดับชาติ เมื่อนักธุรกิจมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของประเทศไทย หรืออันดับที่ 95 ของโลก ออกมาเปิดใจครั้งแรก

เจ้าสัว ซี.พี.เปิดใจ

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (C.P.) ให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์ โกลเบิลไทม์ส สื่อภาษาอังกฤษของทางการจีน เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมาระบุว่า รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของประเทศไทย ถือเป็นหัวใจของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่ง ซี.พี.ต้องการจับมือนักลงทุนจีนและญี่ปุ่น ในการเข้าร่วมลงทุนโครงการนี้

“บริษัทจากจีนและญี่ปุ่นต่างต้องการร่วมเป็นพันธมิตรกับไทย เป้าหมายคือพื้นที่อีอีซี และรองรับตลาดเกิดใหม่ โดยจะพัฒนาและเปลี่ยนผ่านพื้นที่เขตเศรษฐกิจย่านดังกล่าวให้เป็นโครงการร่วมลงทุนจากหลายฝ่าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม” นายธนินท์กล่าวและว่า EEC เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญ ซึ่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการทั้งรถไฟความเร็วสูง ท่าเรือ และสนามบิน จึงต้องการดึงดูดให้ภาคเอกชนร่วมเป็นพันธมิตรในการลงทุน โดยใช้รูปแบบ PPP หรือ Public Private Partnership

ที่ดินคือหัวใจ

“โครงการรถไฟความเร็วสูง คือ หัวใจสำคัญของเขตเศรษฐกิจอีอีซี ที่จะเชื่อม 3 สนามบินเข้าด้วยกัน และมีอีกโครงการที่สำคัญ คือ การได้สิทธิพัฒนาที่ดินในเชิงพาณิชย์”

ซี.พี.จึงเป็นพันธมิตรกับนักลงทุนจีนเป็นอันดับต้น ๆ โดยร่วมกับ “อิโตชู” บริษัทเทรดดิ้งรายใหญ่ของญี่ปุ่น และเป็นผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่นกว่าหมื่นสาขา

“การลงทุนโครงการนี้ไม่ใช่มีเพียงบริษัทเอกชนไทย แต่เราต้องการให้มีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาร่วมด้วย อีอีซีจะเป็นโมเดลการพัฒนาร่วม ทั้งทุนท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติ จึงพยายามทำให้พื้นที่นี้ดึงดูดความสนใจจากต่างชาติทั่วโลกให้เข้ามาลงทุน” นายธนินท์กล่าวและว่า



“ผมต้องการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่ร่วมกับบริษัทจีนและญี่ปุ่น ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งจีนและญี่ปุ่นได้นำเสนอเทคโนโลยีด้านรางรถไฟไฮสปีดจากประเทศตัวเอง ทั้ง 2 ประเทศจึงแข่งขันกันหนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการลงทุนโครงการนี้ในอีอีซี การแข่งขันของประเทศทั้งสองก็จะลดลง และมีสปิริตในการร่วมมือกัน”

ผสานเทคโนโลยียุโรป

“รางรถไฟที่เชื่อม 3 สนามบินในทางเทคนิค ควรเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนด้วย และควรจะเชื่อมต่อไปยังรถไฟสายยุโรป เพื่อให้การเชื่อมโยงเป็นในระดับอินเตอร์คอนเน็กชั่น การใช้เทคโนโลยีไม่ควรเป็นเทคโนโลยีที่จำกัดแค่ระบบรางรถไฟไทย หนทางที่ดีที่สุดน่าจะใช้เทคโนโลยีจากยุโรปเข้ามาผสมผสาน สร้างความแข็งแกร่ง ดังนั้นประเทศจีนอาจต้องปรับเปลี่ยนโปรเจ็กต์เล็กน้อย” นายธนินท์กล่าวและชี้ว่า ความสำคัญของโครงการไฮสปีด ท้ายที่สุดต้องสามารถเชื่อมกับอินเดียและยุโรปได้ในอนาคต นั่นหมายถึงการเชื่อมโยงคนกว่า 3 พันล้านคนเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดมูลค่าทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

“ปัจจุบันไทยมีโครงการสร้างรถไฟฟ้าหลายโครงการ และผมเชื่อว่ารถไฟเชื่อม 3 สนามบิน น่าจะเป็นโปรเจ็กต์แรกของรถไฟความเร็วสูงที่จะเห็นเป็นรูปธรรม”

ซื้อซอง 14 ราย ทีพีไอโผล่

รายงานข่าวแจ้งว่า ผลการซื้อซองประมูลวันที่ 18-29 มิ.ย. 2561 สรุปมีผู้ซื้อ 14 ราย ได้แก่ 1.บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) 2.บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (ซี.พี.) 3.บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ 4.บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น 5.บจ.เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ (เครือ ปตท.) 6.บจ.อิโตชู คอร์ปอเรชั่น 7.บจ.ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น 8.บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น 9.บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) 10.บจ.ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น 11.บมจ.ช.การช่าง 12.บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น (รัฐวิสาหกิจจีน) 13.บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง และ14.บมจ.ทีพีไอ โพลีน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะปิดซื้อซอง 9 ก.ค. และเปิดยื่นซองประมูล 12 พ.ย.นี้

3 ขั้วชิงดำ

รายงานข่าวคาดว่า ทั้ง 14 รายจะเข้าร่วมประมูลทั้งหมด โดยรวมตัวเป็นกลุ่มกิจการร่วมค้าไม่เกิน 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม ซี.พี. ร่วมกับอิโตชู ดูเรื่องการพัฒนาที่ดินและรัฐวิสาหกิจจากจีน จะดูเรื่องเงินลงทุนและการผลิตรถ ส่วนระบบจะใช้ “อัลสตรอม” ประเทศฝรั่งเศส

กลุ่มที่ 2 บีทีเอส ยังคงร่วมกับซิโน-ไทย และราชบุรีโฮลดิ้ง ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะร่วมกับ ปตท. ยูนิคฯ และซิโนไฮโดรฯ

กลุ่มที่ 3 เดิมคาดว่าจะเป็น ปตท. หากตกลงสัดส่วนร่วมทุนกับบีทีเอสไม่ได้ คาดว่าจะเป็นกลุ่ม ช.การช่าง และ BEM ที่เจรจากับ ซี.พี.แล้วไม่ลงตัว ทำให้ ช.การช่าง อาจแยกประมูล ส่วนจะจับมือกับใครบ้างยังสรุปไม่ได้ชัด แต่คงไม่ร่วมกับบีทีเอสแน่นอน เพราะเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ ส่วนอิตาเลียนไทยฯกำลังเจรจาเข้าร่วมทั้งกลุ่ม ซี.พี. และบีทีเอส

ปิดดีล ซี.พี.ไม่ลงตัว

แหล่งข่าวจาก บมจ.ช.การช่าง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ก่อนหน้านี้ ซี.พี.เคยมาคุยกับ ช.การช่าง เพื่อให้เป็นพันธมิตร แต่ไม่เป็นที่ยุติ ดังนั้น ช.การช่าง และ BEM อาจยื่นประมูลเอง

“ที่น่าสนใจคือมีเรื่องพัฒนาที่ดินมักกะสันและศรีราชา ตอนนี้คุย ๆ กันอยู่ทั้งบริษัทไทยและต่างชาติ ส่วนโตคิวฯ พันธมิตรเดิม ยังไม่ได้คุยกัน”

ส่วนงานระบบมีผู้ผลิตจากยุโรป ญี่ปุ่น และจีน มาเจรจา เช่น อัลสตรอม จากฝรั่งเศส ไชน่าเรลเวย์จากจีน มิตซูบิชิ ฮิตาชิ และอิโตชูจากญี่ปุ่น

บีทีเอสขอถือหุ้นเกิน 25%

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) กล่าวว่า ขณะนี้การหาพันธมิตรรายอื่นที่จะมาร่วมกับกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ยังไม่ลงตัว โดยเฉพาะ

เรื่องสัดส่วนการลงทุน ในเดือน ส.ค.นี้คงมีข้อสรุป แต่บีทีเอสต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มากกว่า 25% แต่ไม่ถึง 75% เนื่องจากมีผู้ร่วมลงทุนหลายราย

ช.การช่าง คือ ขั้วที่ 3

แหล่งข่าวจากสำนักงานเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทั้ง 3 กลุ่มถือว่ามีศักยภาพและจุดแข็งที่ต่างกัน ช.การช่าง แน่นอนว่าจะมากับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM บริษัทในเครือ ถือเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์บริหารโครงการรถไฟฟ้า ทั้งเป็นโอเปอเรเตอร์บริหารการเดินรถ รับเหมาและก่อสร้าง ยกเว้นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

“มีกระแสว่าจะร่วมกับฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่นจากญี่ปุ่น ซึ่ง ช.การช่าง มีประสบการณ์ทำโปรเจ็กต์ระดับแสนล้านมาแล้วอย่างโครงการเขื่อนไซยะบุรี”

BTS+ปตท.+จีน

สำหรับกลุ่มบีทีเอสเห็นภาพชัดเจนในเรื่องพันธมิตร เป็นกลุ่มมีศักยภาพครบ ทั้งบริการเดินรถ รับเหมาก่อสร้าง และอาจมีพันธมิตรจีนเข้าร่วมด้วย

ล่าสุดบริษัท เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) ของกลุ่ม ปตท.อาจร่วมกับกลุ่มบีทีเอส แต่ต้องเจรจาต่อรองเรื่องสัดส่วนและรายละเอียดต่าง ๆ

แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มยักษ์ใหญ่ของจีนที่ซื้อเอกสารประกวดราคา 2 บริษัท คือ ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น และไชน่า เรลเวย์ คอนสตรักชั่น คอร์ปอเรชั่น ต่างมีประสบการณ์เดินรถไฟฟ้า และเป็นรัฐวิสาหกิจจีนทั้งคู่ ซึ่งจะแยกเป็นพันมิตรแต่ละกลุ่ม เพื่อให้มั่นใจว่าที่สุดแล้วไม่ว่าใครชนะประมูล จีนยังได้ร่วมในโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน แต่การมีขั้วที่ 3 เกิดขึ้น ไม่รู้ว่าจีนจะวางแผนอย่างไร

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. กล่าวว่า ปตท.สนใจโครงการประมูลนี้ล่าสุดให้บริษัทลูกซื้อซองเรียบร้อยแล้ว เพื่อศึกษารายละเอียด ส่วนจะตัดสินใจลงทุนหรือไม่ ต้องให้บริษัทลูกดูก่อน

RATCH ขอถือหุ้นเพิ่ม

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง หรือ RATCH กล่าวว่า กำลังศึกษาเชิงลึกถึงผลตอบแทนการลงทุน (IRR) เพราะโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างจากธุรกิจโรงไฟฟ้า โดยร่วมกับพันธมิตรเดิม คือ BTS และซิโน-ไทยฯ ขณะนี้กำลังเจรจาเรื่องสัดส่วนการลงทุน เพราะโครงการใหญ่ใช้เงินลงทุนสูง

“เรามีประสบการณ์รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองมาแล้ว เรื่องสัดส่วนถือหุ้นทุกรายอยากได้มากที่สุด”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2018 4:50 pm    Post subject: Reply with quote

รับเหมาจีนสู้ไม่ถอย! ไชน่าเรลเวย์กรุ๊ปตบเท้าเข้าซื้อซองประมูลไฮสปีด3สนามบิน 2.2 แสนล้าน
วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 - 13:48 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (2 ก.ค.) เป็นวันที่ 13 ขายเอกสารประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุนกว่า 2.2 แสนล้านบาท

ปรากฎว่าในช่วงเช้ามีเอกชน 1 ราย สนใจมาซื้อซองเพิ่ม ได้แก่ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ กรุ๊ป จำกัด เมื่อรวมตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย.-2 ก.ค.2561 รวมมีมาซื้อซองประมูลทั้งสิ้น 15 ราย ประกอบด้วย

1) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
2) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด
3) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
4) บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5) บริษัท เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ จำกัด
6) บริษัท อีโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด
7) Sinohydro Corporation Limited
8) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
9) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BEM
10) บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
11) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
12) China Railway Construction Corporation Limited
13) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
14) บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)
15) บริษัท ไชน่า เรลเวย์ กรุ๊ป จำกัด
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/07/2018 8:12 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนกระดืบ ‘กลางดง-ปางอโศก’ ล่าช้ากว่าแผน ๔๒%
http://www.koratdaily.com/blog.php?id=8114

ความคืบหน้าโครงการรถไฟระหว่างไทย-จีน ช่วงที่ ๑ กลางดง-ปางอโศก ระยะเวลาก่อสร้าง มีนาคม-สิงหาคม ๒๕๖๑ ก้าวหน้า ๙.๙% ตามแผน ๕๑.๙๒% ล่าช้า ๔๒.๐๒% อ้างฝนตกหนักต่อเนื่อง รมว.อาคมเผย ก.คมนาคมอยู่ระหว่างสรุปแนวทางจัดหาแหล่งเงินทุนที่ไทยจะลงทุนเอง ล่าสุดเจรจากับ China EXIM Bank ถึงตัวเลขเงินกู้และความเสี่ยง

ตามที่รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ ๒๓ ระหว่างวันที่ ๗-๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ณ นครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ มีการประชุมร่วมอย่างเป็นทางการระหว่าง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะ และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมคณะ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันเจรจากระทั่งบรรลุผลความคืบหน้าในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย และการเชื่อมโยงโครงข่ายการพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงไทย-สปป.ลาว และจีนตอนใต้

คืบหน้าระบบราง,ไฟฟ้า,เครื่องกล

ล่าสุดความคืบหน้าโครงการฯ โดยข้อมูลจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ระบุว่า ความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) การรถไฟฯ แจ้งเริ่มงานสัญญา ๒.๒ ที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ และกำลังควบคุมงานก่อสร้าง ช่วงกลางดง-ปางอโศก โดยกรมทางหลวงเบิกจ่ายค่าจ้างล่วงหน้า ๕๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งร่างสัญญา ๒.๓ งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล จัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร ซึ่งมีทั้งหมด ๕ กลุ่ม ได้แก่

๑.กลุ่มระบบราง คืบหน้าร้อยละ ๖๐ ๒.กลุ่มงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล คืบหน้าร้อยละ ๗๐ ๓.กลุ่มงานจัดหาขบวนรถไฟ คืบหน้าร้อยละ ๗๐ โดย ๓ กลุ่มงานดังกล่าว มีงานที่จะต้องหารือกับฝ่ายจีนต่อไป ได้แก่ งานด้านซ่อมบำรุง งานที่เชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ บัญชีแสดงปริมาณงาน และการจัดทำข้อเสนอทางเทคนิคและข้อเสนอทางการเงิน ๔.กลุ่มงานฝึกอบรมบุคลากร คืบหน้าร้อยละ ๔๐ โดยการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ครั้งที่ ๒๓ ฝ่ายจีนได้ส่งหลักสูตรการฝึกอบรมวิศวกรไทยด้านเทคโนโลยีและหลักสูตรการฝึกอบรมด้านการเดินรถและซ่อมบำรุงให้กับฝ่ายไทยแล้ว ซึ่งคณะทำงานฝ่ายไทยได้ให้ความเห็นและปรับหลักสูตรใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของไทยและจะหารือร่วมกับฝ่ายจีนต่อไป ๕.กลุ่มงานร่างสัญญา คืบหน้าร้อยละ ๓๐ โดยมีการเจรจาเนื้อหาเงื่อนไขสัญญา ครั้งที่ ๑ แล้ว ซึ่งเนื้อหาของเงื่อนไขสัญญาส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับงานด้านเทคนิคของ ๔ กลุ่มข้างต้น เช่นขอบเขตงาน ระยะเวลาการส่งมอบ การฝึกอบรม การรับประกันคุณภาพ เป็นต้น จึงจะต้องรอให้งานด้านเทคนิคได้ข้อสรุปก่อนจึงจะร่างสัญญาต่อไปได้

จากการประเมินสถานการณ์และความคืบหน้าในการดำเนินงานสัญญา ๒.๓ การรถไฟฯ จึงมีหนังสือด่วนที่สุดที่ รฟ๑/๕๙๗/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑ เรื่อง ขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำร่างสัญญาจ้าง และเงื่อนไขอื่นในการทำสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากรฯ ถึงกระทรวงคมนาคม เพื่อขอขยายระยะเวลาการจัดทำร่างสัญญา ๒.๓ เป็นครั้งที่ ๒ โดยขอขยายระยะเวลาออกไปอีก ๑๘๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๑ ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงคมนาคม

นครราชสีมา-หนองคาย เสนองบ ๑๐ ล้าน

สำหรับการดำเนินงานโครงการระยะที่ ๒ ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ฝ่ายจีนได้จัดส่งรายงานผลการศึกษาความเหมาะสม ฉบับเดือนมกราคม ๒๕๖๑ หลังจากการรถไฟฯ ได้ตรวจสอบรายงานการทบทวนการศึกษาความเหมาะสมดังกล่าวแล้ว พบว่ารายงานของฝ่ายจีนมีเนื้อหาไม่ครบถ้วน ไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติดำเนินโครงการได้ การรถไฟฯ จึงมีหนังสือที่ รฟ๑/ ๓๓๘/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ รายงานหัวหน้าสำนักงานบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน เพื่อเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติให้การรถไฟฯ ดำเนินการทบทวนรายงานการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ ๒ ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ในงบประมาณ ๑๐ ล้านบาท

นอกจากนี้การรถไฟฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อทบทวนรายงานการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ ระยะที่ ๒ ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย รวมทั้งฝ่ายจีนได้นำส่งรายงานด้านเทคนิคและการออกแบบเบื้องต้น ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ฉบับเดือนเมษายน ๒๐๑๘ ถึงกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๑ และได้มีการหารือสามฝ่ายระหว่างไทย-ลาว-จีน เมื่อวันที่ ๗-๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ โดยฝ่ายจีนได้นำเสนอแนวทางต่างๆ ด้านเทคนิคสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟขนาดทางมาตรฐาน (๑.๔๓๕ เมตร) ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ เช่น การประมาณการผู้โดยสารและสินค้า ตำแหน่งที่ตั้งจุดตรวจสินค้าผ่านแดนและด่านตรวจคนเข้าเมือง ตำแหน่งสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ เป็นต้น ซึ่งฝ่ายไทยและลาวจะต้องหารือร่วมกันในขั้นนโยบายก่อนหารือร่วมกับฝ่ายจีนต่อไป

ทั้งนี้ ช่วงที่ ๑ กลางดง-ปางอโศก มีระยะดำเนินการก่อสร้าง เดือนมีนาคม-สิงหาคม ๒๕๖๑ ช่วงที่ ๒ สีคิ้ว-กุดจิก เริ่มก่อสร้างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๑ ช่วงที่ ๓ มวกเหล็ก-ลำตะคอง เริ่มก่อสร้างเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๒, แก่งคอย-กุดจิก, บันไดม้า-โคกกรวด, ลำตะคอง-โคกกรวด, โคกกรวด-นครราชสีมา เริ่มก่อสร้างเดือนมีนาคม ๒๕๖๒ และช่วงที่ ๔ บางซื่อ-ดอนเมือง, ดอนเมือง-นวนคร, นวนคร-บางโพธิ์, เชียงรากน้อย, บ้านโพธิ์-พระแก้ว, พระแก้ว-สระบุรี, สระบุรี -แก่งคอย เริ่มก่อสร้างเดือนเมษายน ๒๕๖๒

โดยบริษัทร่วมค้า CRIC และ CRDC ได้ส่งมอบแบบรายละเอียดช่วงที่ ๒ แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างที่ปรึกษา Design Checker ตรวจสอบแบบและให้ฝ่ายจีนแก้ไข และส่งแบบรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑ จากนั้นการรถไฟฯ จะจัดทำราคากลางและร่างขอบเขตงาน (TOR) ในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ และคาดว่าจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาได้ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๑ และคาดว่าจะเริ่มสร้างทางรถไฟช่วงที่ ๒ ได้ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๑ ต่อไป



ช่วงที่ ๑ กลางดง-ปางอโศก

ล่าช้า ๔๒.๐๒%

ปัจจุบันอยู่ในระยะดำเนินการก่อสร้างช่วงที่ ๑ กลางดง-ปางอโศก ระยะทาง ๓.๕ กม. โดยเป็นการก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดินโดยกรมทางหลวง มอบพื้นที่เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๑ กรมทางหลวงได้รับเงินงวดที่ ๑ จำนวน ๑๑๘,๖๘๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมีความก้าวหน้า ๙.๙% ตามแผน ๕๑.๙๒% ล่าช้า ๔๒.๐๒%

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ว่า “ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างสรุปแนวทางด้านการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินโครงการตามเป้าหมายที่รัฐบาลไทยจะเป็นผู้ลงทุนโครงการเองทั้งหมดล่าสุดได้เจรจากับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน (China EXIM Bank) เพื่อสอบถามถึงตัวเลขเงินกู้ และการรับความเสี่ยงที่เหมาะสม แต่ทั้งนี้กระทรวงการคลังจะพิจารณาแหล่งเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมที่สุด

“สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างเฟส ๑ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมานั้น ขณะนี้ตอนที่ ๑ สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง ๓.๕ กม. เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้วมีความก้าวหน้าร้อยละ ๑๑ ล่าช้ากว่าแผนงานเล็กน้อย เนื่องจากฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ส่วนตอนที่ ๒ ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง ๑๑ กม. คาดว่าจะประกวดราคาภายในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนอีก ๑๒ สัญญา จะทยอยประกวดราคาภายในปี ๒๕๖๑ ขณะที่เฟส ๒ ช่วงนครราชสีมาหนองคาย ทั้งสองฝ่ายตกลงว่าไทยจะเป็นผู้ศึกษาและออกแบบรายละเอียด โดยมีจีนเป็นที่ปรึกษา ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษา คาดว่าจะประกวดราคาต้นปี ๒๕๖๒ และก่อสร้างแล้วเสร็จในปี ๒๕๖๕ ขณะที่เฟส ๓ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์นั้น จีนจะเป็นเจ้าภาพในการศึกษาและออกแบบรายละเอียด โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในหลักการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ เพื่อเป็นสะพานสำหรับรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่”

นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๒๕๑๒ วันอาทิตย์ที่ ๑ - วันพฤหัสบดีที่ ๕ เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/07/2018 11:25 am    Post subject: Reply with quote

"อีอีซี" ปักหมุดไฮสปีดเทรน-รถไฟทางคู่ วางโลจิสติกส์ขนส่งคน–สินค้า กระตุ้นศก.ไทยบูม
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 05 ก.ค. 2561 เวลา 10:03 น.

การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่ประกอบด้วยพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำหนดขึ้นในการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม "อีอีซี" จึงเป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ในการต่อยอดจากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก(อีสเทิร์นซีบอร์ด)เดิมเพื่อการรองรับกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีระดับสูงที่จะเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตต่อไปได้ท่ามกลางกระแสการค้าและการลงทุนของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายประกอบด้วย การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม ได้แก่ 1.ยานยนต์สมัยใหม่ 2.อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3.การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4.การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 5.การแปรรูปอาหาร และเพิ่มเติมอีก 5 อุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 2.การบินและโลจิสติกส์ 3. เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 4.ดิจิทัล 5.การแพทย์และสุขภาพครบวงจร

อย่างไรก็ดี การพัฒนาอีอีซีจะมีศักยภาพได้จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยที่ไม่เพียงรองรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายที่กำหนดไว้ หากแต่ต้องมองไปยังการท่องเที่ยวและบริการ รวมไปถึงการพัฒนาเมืองใหม่ที่รัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อสอดรับกับวิถีชีวิตแบบใหม่ในสังคมยุคดิจิทัล “เมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ จึงเป็นแผนที่รัฐบาลได้มองการพัฒนาไว้อย่างเป็นระบบ และรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ดังนั้นระบบขนส่งหรือโลจิสติกส์ (Logistics) ที่เป็นต้นทุนสำคัญของผู้ประกอบการในทุกภาคส่วนจึงนับเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักที่จะต้องเกิดขึ้นในอีอีซีเพื่อตอบโจทย์การขนทั้งคนและขนสินค้าควบคู่กันไป

โครงการรถไฟความเร็วสูง (High Speed Train) หรือ ไฮสปีดเทรน ที่เชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักสำคัญโครงการหนึ่งในอีอีซีที่มีเป้าหมายจะยกระดับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสันให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับอีอีซี (EEC Gateway) และยังเป็นระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ลดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมและลดอุบัติเหตุบนถนน เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีระบบควบคุมที่มีความปลอดภัยสูง โดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 220,000 ล้านบาท

ดังนั้น แนวเส้นทางโครงการจึงกำหนดผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยจะใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ความเร็วสูงสุดของไฮสปีดเทรนนั้นอยู่ที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (สำหรับช่วงการเดินทางระหว่างเมืองคือ สถานีสุวรรณภูมิ - สถานีอู่ตะเภา)

ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (สำหรับช่วงการเดินทางในเมือง คือ สถานีดอนเมือง ถึง สถานีสุวรรณภูมิ) ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา โครงสร้างทางวิ่งของโครงการ ประกอบไปด้วย ทางวิ่งโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ปัจจุบัน ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร และทางวิ่งที่ต้องก่อสร้างใหม่ประมาณ 191 กิโลเมตร เป็นต้น

ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้เปิดทำการขายเอกสารขอบเขตการประมูล (TOR) รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินระหว่างวันที่ 18 มิ.ย.-9 ก.ค. 2561 โดยเบื้องต้น ณ วันที่ 29 มิ.ย.2561 มีผู้มาซื้อซองเอกสาร (RFP) รวมแล้ว 14 บริษัทซึ่งคาดว่าจะยังคงมีมาต่อเนื่อง โดยจะเปิดให้มีการรับซองข้อเสนอวันจันทร์ที่ 12 พ.ย.2561 และเปิดซองผู้ยื่นข้อเสนอวันที่ 13 พ.ย.2561 ได้ชื่อผู้ชนะและเซ็นสัญญาเดือนธ.ค. 2561 กำหนดเปิดบริการในปี 2566 ซึ่งการลงทุนจะเป็นรุปแบบรัฐร่วมเอกชนหรือ PPP Net Cross ระยะเวลา 50 ปี

ไฮสปีดเทรนดังกล่าวจึงนับเป็นการเอื้อให้การเดินทางระหว่างกรุงเทพฯและอีอีซีมีความสะดวกรวดเร็ว ทันสมัย และยังตอบสนองต่อการท่องเที่ยวและการบริการของไทยให้มีการเติบโตอย่างมีศักยภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดี การขนส่งสินค้า ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะต้องตอบสนองการลงทุนที่จะเกิดขึ้นซึ่งการขนส่งสินค้าระบบราง หรือ รถไฟ ก็ถือเป็นการขนส่งสินค้าที่มีศักยภาพในปัจจุบันเพราะขนได้ในปริมาณที่มากและไม่มีอุปสรรคจากเรื่องของดินฟ้าอากาศทำให้ลดต้นทุนได้ค่อนข้างมาก

ดังนั้นโครงการรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด จึงเป็นโครงการหนึ่งที่เกิดขึ้นเพื่อให้มีระบบบริการการขนส่งสินค้าแบบไร้รอยต่อที่จะเชื่อมโยงทั้งภาคอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกดังกล่าว โดยคาดว่าโครงการนี้จะเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางมาถึงทางเรือจากเดิม 7% เป็น 30% ลดระยะเวลาจากเดิม 24 ชั่วโมงเหลือไม่เกิน 8 ชั่วโมงทำให้ประหยัดเงินจากค่าขนส่งให้กับประเทศชาติได้ประมาณ 250,000 ล้านบาทต่อปี

โครงการรถไฟทางคู่ฯ ดังกล่าวได้มีการลงทุนปรับปรุงและสร้างทางคู่ รวมถึงจัดตั้งศูนย์กระจายและรวบรวมสินค้า ใช้เงินรวมทั้งระบบประมาณ 68,000 ล้านบาทที่จะทยอยเปิดบริการแบบสมบูรณ์ให้สอดรับกับการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ที่คาดว่าจะเสร็จปี 2568 ซึ่งจะทำให้ไทยก้าวสู่ท่าเรือใหญ่ติด 1 ใน 10 ของโลก และท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ที่จะแล้วเสร็จปี 2567 เพื่อรองรับการนำเข้าวัตถุดิบปิโตรเคมีขั้นสูงและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจชีวภาพ(Bio Economy)

การพัฒนาระบบขนส่งเพื่อสร้างศักยภาพในพื้นที่อีอีซีทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่ตอบโจทย์การขนคนเพื่อให้การเดินทางเกิดความรวดเร็ว ทันสมัย ขณะที่รถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ(แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด) ที่มุ่งเน้นการบริการขนส่งสินค้าให้เชื่อมโยงกันแบบไร้รอยต่อ เพื่อสร้างศักยภาพการส่งออกของสินค้าไทยนั้นนับเป็นอีกโครงการหนึ่งที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนให้"อีอีซี"เป็นสถานีที่จะนำพาให้เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งแล้วยังจะเชื่อมโยงไทยไปสู่ภูมิภาคอาเซียน กลุ่มประเทศ CLMV และเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 หรือ One Belt One Road ของจีนอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2018 2:05 pm    Post subject: Reply with quote

5 7 61 ห้องข่าวกรุงเทพธุรกิจ วางยุทธศาสตร์ 5 ปี ดัน ร.ฟ.ท. 'ฮับ'โลจิสติกส์
ห้องข่าวกรุงเทพธุรกิจ Published on Jul 5, 2018

หนึ่งในโครงการสำคัญของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. คือโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งจะปิดขายเอกสารประกวดราคาวันที่ 9 กรกฎาคมนี้ ทิศทางการพัฒนาจะเป็นอย่างไร ติดตามจากบทสัมภาษณ์ประธานกรรมการ ร.ฟ.ท.คนใหม่ คุณกุลิศ สมบัติศิริ


https://www.youtube.com/watch?v=aTOMIjvR7Y4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 273, 274, 275 ... 547, 548, 549  Next
Page 274 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©