Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311304
ทั่วไป:13278651
ทั้งหมด:13589955
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 277, 278, 279 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 25/07/2018 10:20 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ตั้ง7.2 พันล.ใช้คืน”เอกชน3 สนามบิน” ลงทุนโครงสร้างเผื่อสีแดงและไฮสปีดจีน-ญี่ปุ่น
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 20:02

รฟท.เคลียร์แบบก่อสร้าง แอร์พอร์ตลิงก์ ต่อขยายยันโอน”เอกชน3 สนามบิน”รับเหมางานโยธา คลองแห้งช่วงจิตรลดาร่วมกับสายสีแดง Missing Link และโครงสร้างร่วมช่วงบางซื่อ – ดอนเมืองกับไฮสปีดไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่น ตั้งวงเงินกว่า 7.2 พันล.ใช้คืนภายหลัง โยนคมนาคมชี้ขาดใช้ทางร่วมญี่ปุ่นหรือจีน ชี้เทคโนโลยีทำได้หมด

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.โดยบริษัทที่ปรึกษาได้ชี้แจงรายละเอียดในการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน”ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท เพิ่มเติม แก่เอกชนผู้ซื้อซอง31 ราย เกี่ยวกับ การก่อสร้าง แนวเส้นทาง การพัฒนาที่ดิน ซึ่งใน

การก่อสร้างงานโยธาจะมีส่วนที่ต้องใช้โครงสร้างร่วมกับโครงการอื่น ได้แก่ โครงการสายสีแดง Missing Link และรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ การแบ่งพื้นที่ใช้งานของสถานีกลางบางซื่อ. นำเสนอการดำเนินงาน สถานะผลประกอบการของ โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลงก์ การใช้พื้นที่มักกะสันและพื้นที่สถานีต่างๆ แผนพัฒนาพื้นที่มักกะสัน การส่งมอบพื้นที่

นอกจากนี้ยังมีการพาเอกชนที่ซื้อซองทั้ง31 ราย ลงพื้นที่ สถานีรถไฟฟ้ามักกะสันศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์. และแนวเส้นทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ในปัจจุบัน จากมักกะสัน-สุวรรณภูมิ อีกด้วย

สำหรับ การก่อสร้างงานโยธา รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง นั้น จะต้องก่อสร้างโครงสร้างเผื่อรถไฟสายสีแดง อ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง ซึ่งเป็นรูปแบบอุโมงค์คลองแห้ง บริเวณผ่านสถานีจิตรลดา ระยะทางประมาณ 3 กม. เพื่อลดการเปิดหน้าดินเพื่อก่อสร้างซ้ำซ้อนหลายครั้ง โดยจะเร่งประมูลMissing Linkในต้นปี2562

และอีกจุดคือช่วง บางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งรฟท.มีพื้นที่เขตทางจำกัด. สามารถวางรางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร ได้เพียง 2 คู่ เท่านั้น ขณะที่แนวเส้นทางดังกล่าวจะมีถึง 3 โครงการ คือ แอร์พอร์ตลิงก์ ,รถไฟความเร็วสูง ความร่วมมือไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่น โดยเฉพาะช่วงก่อนเข้าสถานีดอนเมือง เขตทางจะแคบลง จำเป็นต้องปรับโครงสร้างเพื่อวางทางวิ่งซ้อนกัน ดังนั้นหลักการ เมื่อรถไฟเชื่อม 3 สนามบินประมูลและเริ่มก่อสร้างก่อนจะต้องทำโครงสร้างร่วมนี้ และใช้คืนค่าก่อสร้างให้ผู้บริหารรถไฟ 3 สนามบินภายหลัง ทั้ง 2 จุด

โดยตามแผนงาน รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้ประเมินค่าก่อสร้างงานโยธาสำหรับโครงการสายสีแดง Missing Link เพื่อสร้างอุโมงค์ช่วงจิตรลดา และรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ (ไทย-ญี่ปุ่น) และสายตะวันออกเฉียงเหนือ (ไทย-จีน) ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง ไว้ที่ 7,210.67 ล้านบาท

“ตัวโครงสร้างร่วมหลักการคือ ใครมาก่อน สร้างก่อนใครมาทีหลังก็มาใช้คืนค่าก่อสร้างกัน ส่วน การใช้ทางร่วมกัน (Share Track) นั้น ที่ผ่านมาทางญี่ปุ่นระบุว่า รถไฟชินคันเซ็นจะไม่ใช้ทางร่วมกับระบบใด ซึ่งรฟท.ยืนยันเขตทางจำกัด มีความจำเป็นต้องใช้ทางร่วม และเสนอกระทรวงคมนาคมไปแล้ว ก็ต้องเจรจากัน ทางเทคนิคแก้ไขได้ ระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟความเร็วสูง สามารถติดอุปกรณ์เพิ่มได้ อยู่ที่เจ้าของเทคโนโลยี จะยินยอมหรือไม่ ซึ่งช่วงจากบางซื่อไปดอนเมืองระยะทาง10 กว่ากม. ไม่มีปัญหาด้านการลงทุนและ เป็นเขตในเมืองซึ่ง ใช้ความเร็วได้ประมาณ 160 กม./ ชม. เท่านั้น “

สำหรับการเวนคืนนั้น ได้งบประมาณรวมกว่า 3,500 ล้านบาท โดยจะการเวนคืนและจ่ายค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง ประมาณ 254 ครัวเรือนมีจุดที่เวนคืนบริเวณ ฉะเชิงเทรา จำนวน 550 ไร่ (เป็นเดปโป้ 380 ไร่ ขนานไปกับทางรถไฟเดิม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม) อีก100 ไร่เศษ จะใช้สำหรับก่อสร้างทางวิ่ง. และตัวสถานีอีกกว่า 70 ไร่ ใช้ค่าเวนคืนและรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างประมาณ 2,900 ล้านบาท นอกจากนี้ จะมีการเวนคืนที่บริเวณลาดกระบัง เป็นทางเข้าออก สถานีสุวรรณภูมิและสำหรับทางวิ่งและทางเข้าสถานีอู่ตะเภา อีกประมาณ 850 ไร่

นายวรวุฒิกล่าวถึงความคืบหน้ารถไฟควาเมร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ -พิษณุโลก-เชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือรถไฟไทย -ญี่ปุ่น ว่า เสนอผลการศึกษาไปกระทรวงคมนาคมแล้ว โดยอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่ง ผลการศึกษาพบ ว่ามีผลตอบแทนทางการเงินต่ำ เพราะปริมารผู้โดยสารน้อยประมาณ หมื่นคน/วัน ซึ่งโครงการจะอยู่ได้ ต้องมีผู้โดยสารถึง 3 หมื่นคน/วัน. ดังนั้นต้องหารายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ (TOD) ซึ่งรฟท.จำเป็นต้องเวนคืนที่ดินบริเวณพิษณุโลก เพื่อนำทำ TOD เพื่อเพิ่มผลตอบแทนโครงการ เป็นต้น ซึ่งเป็นรูปแบบที่จะช่วยให้เอกชนสามารถลงทุนได้

อย่างไรก็ตามรถไฟความเร็วสูง เป็นการลงทุนเพื่อซื้ออนาคต อาจจะมีความเสี่ยงบ้าง ซึ่งรัฐบาลมองว่าขณะนี้อัตราดอกเบี้ยต่ำ หากรอให้พร้อมแล้วค่อยลงทุน อาจจะไม่ทันเวลาและค่าก่อสร้าง ค่าที่ดินจะแพงกว่านี้อีก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 25/07/2018 11:52 am    Post subject: Reply with quote

เอกชนคึกชิงที่รถไฟ
วันที่ 25 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:08 น.
เอกชนรายใหญ่แห่จองที่ดินมักกะสัน รฟท.คาดมูลค่าที่ดินแนวรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินพุ่ง 5 หมื่นล้าน
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า โครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินอีอีซีนั้นจะมีพื้นที่ให้เอกชนพัฒนาเชิงพาณิชย์ทั้งหมด 175 ไร่ รวมมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท มีระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี

เอกชนกังขาลงทุนระบบราง รฟท.แจงยิบไฮสปีดเทรนเชื่อม3สนามบิน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 25 กรกฎาคม 2561 เวลา 08:17

รฟท.แจงข้อสงสัย 31 เอกชนชิงไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน เผยผู้ชนะประมูลต้องลงทุนสร้างรางช่วงสถานีกลาง-บางซื่อ–ดอนเมือง รองรับระบบรถไฟความเร็วสูงไทย–จีน และไทย–ญี่ปุ่น รวมทั้งสายอื่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย แล้วค่อยไปเอาค่าสร้างคืนภายหลังหากมาร่วมใช้ ฟากเอกชนยังห่วงโครงข่ายรางเชื่อมต่อระบบอื่น แถมโครงสร้างโครงการที่ยังไม่ชัดเจนทำให้ยังประเมินราคาประมูลไม่ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44710
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/07/2018 1:59 pm    Post subject: Reply with quote

คค.ทบทวนความคุ้มค่าโครงการรถไฟความเร็วสูง ก่อนชงแผนแม่บท ครม.
เผยแพร่: 24 ก.ค. 2561 19:39 โดย: MGR Online

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น เฟส 1 ช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก ระยะทางประมาณ 380 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 2.76 แสนล้านบาท ว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างทบทวนความเหมาะสมและความคุ้มค่าของแผนแม่บทโครงการฯ ที่ทางฝ่ายญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาและส่งมาให้แล้ว ก่อนที่จะนำเสนอแผนแม่บทให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป

สำหรับประเด็นหลักที่ต้องพิจารณาคือ เรื่องรายได้ของโครงการฯว่า จะเหมาะสมกับการลงทุนหรือไม่ หลังผลการศึกษาพบว่า ตัวเลขประมาณการผู้โดยสารเฉลี่ยจะอยู่ที่ราว 1 หมื่นคนต่อวัน ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าจุดคุ้มทุนของรถไฟไฮสปีดที่ควรจะเป็น คือต้องมีผู้โดยสาร 3 หมื่นคนต่อวัน และหากจะทำให้โครงการมีกำไรจากค่าโดยสารควรจะมีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มเป็น 4-5 หมื่นคนต่อวัน ทั้งนี้ ยังอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และการพัฒนาบริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร (TOD) ตามแนวเส้นทางรถไฟ เพื่อหารายได้เพิ่มเข้ามาพยุงโครงการให้คุ้มทุน

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นจะพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ จ.พิษณุโลก ให้เป็นศูนย์กลางเชิงพาณิชย์ของรถไฟไฮสปีดเส้นนี้ ส่วนแนวทางการลงทุนจะคล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีชมพู รัฐบาลอาจต้องเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายงานก่อสร้างโยธาแล้วให้เอกชนเข้ามาดูแลงานระบบและงานบริหาร เพื่อให้โครงการเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 25/07/2018 5:44 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คค.ทบทวนความคุ้มค่าโครงการรถไฟความเร็วสูง ก่อนชงแผนแม่บท ครม.
เผยแพร่: 24 ก.ค. 2561 19:39 โดย: MGR Online


หวั่นไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่นขาดทุน
อังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 19.00 น.

คมนาคมหวั่นโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ขาดทุน หลังผลศึกษาชี้ตัวเลขผู้โดยสารต่ำกว่าจุดคุ้มทุน พร้อมปักหมุดพิษณุโลกศูนย์กลางเชิงพาณิชย์

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น เฟส 1 ช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก ระยะทางประมาณ 380 ก.ม. วงเงินลงทุน 2.76 แสนล้านบาทว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างทบทวนความเหมาะสมและความคุ้มค่าของแผนแม่บทโครงการฯที่ทางฝ่ายญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาและส่งมาให้แล้ว ก่อนที่จะนำเสนอแผนแม่บทให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบต่อไป

สำหรับประเด็นหลักที่ต้องพิจารณาคือ เรื่องรายได้ของโครงการฯว่าจะเหมาะสมกับการลงทุนหรือไม่ หลังผลการศึกษาพบว่า ตัวเลขประมาณการผู้โดยสารเฉลี่ยจะอยู่ที่ราว 1 หมื่นคนต่อวัน ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าจุดคุ้มทุนของรถไฟไฮสปีดที่ควรจะเป็น คือต้องมีผู้โดยสาร 3 หมื่นคนต่อวัน และหากจะทำให้โครงการมีกำไรจากค่าโดยสารควรจะมีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มเป็น 4-5 หมื่นคนต่อวัน

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันยังอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และการพัฒนาบริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร (TOD) ตามแนวเส้นทางรถไฟ เพื่อหารายได้เพิ่มเข้ามาพยุงโครงการให้คุ้มทุน อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นจะพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ที่จ.พิษณุโลกให้เป็นศูนย์กลางเชิงพาณิชย์ของรถไฟไฮสปีดเส้นนี้ ส่วนแนวทางการลงทุนจะคล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีชมพู ทั้งนี้รัฐบาลอาจต้องเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายงานก่อสร้างโยธาแล้วให้เอกชนเข้ามาดูแลงานระบบและงานบริหาร เพื่อให้โครงการเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 25/07/2018 5:45 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ขนนักลงทุนลุยเส้นทางไฮสปีดอีอีซี
อังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 19.18 น.

รฟท.เร่งเวนคืน 254 ครัวเรือน สร้างรถไฟ3สนามบิน ปิดจ๊อบปี62 บังคับเอกชน ทุบโฮปเวลต้องสร้าง 2 สถานี จิตรลดา-ดอนเมือง รองรับรถไฟไทย-จีน-ญี่ปุ่น และส่วนต่อขยายสายสีแดง



เมื่อเวลา09.00น.วันที่24ก.ค.อาคารสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา วันที่2 เพื่อให้ข้อมูลโครงการ แนวเส้นทาง พื้นที่ พร้อมพาเอกชน ทั้ง 31 ราย ลงพื้นที่ศูนย์บำรุงคลองตันและสนามบินสุวรรณภูมิ

นายวรวุฒิ เปิดเผยว่า ในการชี้แจงภาพรวมการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา นั้น นักลงทุนส่วนใหญ่มีการสอบถามการก่อสร้าง เนื่องจากทางที่ปรึกษาได้มีการวางแผนรวบการก่อสร้าง 2 โครงการ 1.โครงการสายสีแดงอ่อน(Missing Link)ช่วงบางซื่อ-พญาไทและและสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง บริเวณสถานีจิตรลดาที่เป็นการก่อสร้างใต้ดิน(คลองแห้ง)ซึ่งมีแนวเส้นทางโครงการซ้อนทับกับรถไฟความเร็วสูง3สนามบิน เพื่อเลี่ยงการเปิดหน้าดินหลายครั้ง 2.สถานีดอนเมือง ของโครงการสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตที่เอกชนต้องรับผิดชอบในการก่อสร้างโครงสร้างรองรับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่น ในอนาคต ซึ่งเอกชนที่รับสัปทาน3สนามบินจะเป็นคนก่อสร้างแค่ตัวงานโยธา รื้อโครงการโฮปเวลทิ้ง ส่วนงานวางรางจะเป็นหน้าที่เอกชนที่จะรับสัปทานในอนาคต ส่วนค่าใช้จ่ายก่อสร้างต้องมาใช้คืนในภายหลัง ขณะที่เรื่องรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ของโครงการ อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมไปคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.)สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นปี62 พร้อมกับลงนามสัญญาโครงการ

นายวรวุฒิ เปิดเผยต่อว่า ส่วนพื้นที่ว่างให้เอกชนพัฒนาเชิงพาณิชย์ทั้งหมด 175 ไร่ วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี แบ่งเป็น 1.พื้นที่มักกะสัน 150 ไร่ มูลค่า 4 หมื่นล้านบาท 2.พื้นที่ศรีราชา 25 ไร่ มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท เริ่มจากพื้นที่มักกะสันจะสามารถส่งมอบได้เลยจำนวน 100 ไร่ ส่วนอีก 50 ไร่จะทยอยส่งมอบพื้นที่เพราะติดปัญหาพวงรางเข้าไปยังโรงซ่อมบำรุงมักกะสัน เบื้องต้นคาดว่าเอกชนสนใจลงทุนโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ เช่น ที่พักอาศัยและคอนโด เพราะคืนทุนได้ตามระยะเวลาสัมปทาน ขณะที่พื้นที่ศรีราชา 25 ไร่ นั้นอยู่ใจกลางเมืองแถบย่านทางรถไฟบริเวณโรงเรียนอัชสัมชัญศรีราชา เหมาะกับการพัฒนาเป็นย่านการค้าและแหล่งรวมธุรกิจของรถไฟฟ้าไฮสปีดอีอีซี สำหรับการเวนคืนพื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการนั้นจะใช้งบประมาณ 3.5 พันล้านบาทรวมพื้นที่ 850 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ในฉะเชิงเทราจำนวน 550 ไร่ และบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิรวมถึงสนามบินอู่ตะเภา อีกอย่างละนิดหน่อย คาดว่าจะมีประชาชนได้รับผลกระทบ 254 ครัวเรือนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ฉะเชิงเทรา อย่างไรก็ตามพื้นที่ขนาดใหญ่ 550 ไร่แบ่งเป็น พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง(Depot) จำนวน 380 ไร่ ทางวิ่ง 100 ไร่ และตัวสถานีอีก 70 ไร่ อย่างไรก็ตามขณะนี้อยู่ระหว่างการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืน(พรฎ.) น่าจะมีความชัดเจนเร็วๆนี้

นายวรวุฒิ กล่าวต่ออีกว่า ส่วนความคืบหน้าโครงรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ด้านการผลิตขบวนรถไฟนั้นโรงงานฮิตาชิก็ยืนยันว่าจะสามารถรับมอบรถในช่วงปลายปี 62 ส่วนการออกแบบขณะนี้ยังไม่ลงตัวในเรื่องการออกแบบแต่ทยอยอนุมัติเกือบหมดแล้วคาดว่าน่าจะเริ่มผลิตรถได้เร็วๆนี้ ส่วนความคืบหน้าส่วนต่อขยายสายสีแดงช่วงบางซื่อ-พญาไท (Missinglink) ก่อนหน้านี้ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติส่งกลับมายังฝ่ายก่อสร้างของการรถไฟฯ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งต้องมีการประเมินตัวเลขการก่อสร้างราว 4.4หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการทำรายงานเพื่อเตรียมเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป คาดว่าในช่วงต้นปีหน้าจะสามารถออกประกาศร่างเอกสารประกวดราคา(TOR)ได้ และจะมีการตั้งงบประมาณเผื่อใช้คืนโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44710
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/07/2018 3:07 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเทรน 3 สนามบินฉลุย เร่งเวนคืนเปิดเชื่อมสถานี
ฐานเศรษฐกิจ 27 July 2018

ร.ฟ.ท.ยันรถไฟเชื่อม3สนามบินฉลุย!!!เร่งเวนคืนและเปิดเชื่อมเข้าถึงสถานีอย่างสะดวก “สามารถ” ยันยังมีความเสี่ยงการลงทุนของเอกชน ด้านแอร์พอร์ตลิงค์นับถอยก่อนโยกไปบริหารรถไฟสายสีแดง เร่งเจรจาซีเมนต์ปรับโฉมตัวรถ 190 ล้าน ตั้งเป้าปิดยอดผู้โดยสาร 23 ล้านคนพ่วงรายได้ 740 ล้านบาทสิ้นปีนี้

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการกาารรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการประชุมชี้แจงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภาให้กับผู้ซื้อเอกสารประกวดราคาจำนวน 31 ราย ได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับการลงทุนและข้อมูลเกี่ยวกับโครงการพร้อมกับการนำลงพื้นที่ในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ว่ายังไม่มีคำถามที่สร้างความหนักใจและไม่สามารถตอบได้โดยได้เร่งแผนการเวนคืนและจัดเส้นทางเชื่อมโยงให้สามารถเข้าถึงแต่ละสถานีได้อย่างสะดวกรวดเร็วเพื่อเพิ่มปริมาณผู้โดยสารตามสถานีต่างๆ

ด้านนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่าโครงการนี้ยังเห็นว่ามีความสำคัญต่อประเทศไทย เพราะมีการพัฒนาพื้นที่ทางเศรษฐกิจในหลายจุด แต่ยังเห็นว่าท้ายที่สุดแล้วเอกชนทั้ง 31 รายจะยื่นซองกันจริงๆมีจำนวนไม่กี่ราย จึงยังมีความเสี่ยงเพราะที่ดินมักกะสันยังจะส่งมอบได้จริงในเบื้องต้นเพียง 100 ไร่ส่วนอีก 50 ไร่ ภายใน 5 ปี อีกทั้งผู้โดยสารที่คาดการณ์ว่าจะมีวันละ 4 หมื่นคนในปีแรกยังเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ หากจะอ้างอิงจากแอร์พอร์ตลิงค์ในปัจจุบันย่อมแตกต่างกันมาก

“คงต้องจับตากันในวันที่ยื่นซอง ส่วนการพัฒนาจุดอื่นเอกชนจะต้องไปซื้อที่ดินเพิ่มเติม เมืองใหม่ย่านอุตสาหกรรม ศูนย์ราชการ ฯลฯ จะเกิดขึ้นจริงและรวดเร็วหรือไม่ยังคงต้องติดตาม ซึ่งเอกชนในแต่ละพื้นที่ควรจะได้เข้ามาร่วมลงทุน แต่รัฐก็ได้เข้ามาดำเนินการอย่างถูกต้อง ไม่เสียเปรียบ แม้จะลงทุนก่อนวงเงิน 1 แสนบาท ซึ่งยังคงผ่อนชำระให้เอกชนระยะเวลา 10 ปี แต่เอกชนก็ยังต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับรัฐด้วยเช่นกัน ดังนั้นท้ายที่สุดแล้วจะสำเร็จหรือไม่ยังคงต้องติดตาม”

ด้านนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือแอร์พอร์ตลิงก์กล่าวว่าในช่วงครึ่งปีหลังนี้จะเน้นไปที่การยกระดับบริการของแอร์พอร์ตลิงค์เริ่มตั้งแต่โครงการ ปรับปรุงขบวนรถ (Overhual) จำนวน 9 ขบวน วงเงิน 262 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาความแออัดบนชานชาลานั้นปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว 7 ขบวน คาดว่าขบวนที่ 8 และ 9 จะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมและธันวาคมนี้ตามลำดับ

เช่นเดียวกับโครงการเปลี่ยนที่กั้นแบบราวสเตนเลสส์ คล้ายกับรถไฟชินคันเซนของประเทศญี่ปุ่น วงเงิน 25 ล้านบาทนั้นได้ตัวเอกชนคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ รวมถึงแผนเปลี่ยนโฉมใหม่ภายในขบวนรถไฟฟ้าด่วน (Express Line) 4 ขบวน ให้เป็นแบบธรรมดา (City Line) คาดว่าจะใช้งบประมาณราว 190 ล้านบาทขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับซีเมนส์ ส่งผลให้จะรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น 2 หมื่นคนเมื่อปรับโฉมและซ่อมบำรุงแล้วเสร็จทั้งหมด ถือว่าเพียงพอต่อการรองรับในช่วง 1-2 ปีนับจากนี้ จากปัจจุบันมีผู้โดยสารพีกสุด 8 หมื่นคนต่อวัน

“เป้าหมายผู้โดยสารตลอดทั้งปีคาดว่าจะมีจำนวน รวมทั้งสิ้น 23 ล้านคน เติบโตต่อเนื่อง 6% เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 22 ล้านคน ทำให้รายได้ตลอดทั้งปีจะอยู่ที่ 740 ล้านบาท สำหรับ 3 สถานีที่มีตัวเลขผู้โดยสารเติบโตสูงสุดนั้น ได้แก่ สถานีลาดกระบัง สถานีพญาไทและสถานีสุวรรณภูมิ โดยสถานีลาดกระบังมีผู้โดยสารเติบโตเร็วที่สุดเนื่องจากการขยายตัวของเมืองไปยังฝั่งตะวันออกและจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น”

|เชกชั่น : เศรษฐกิจมหภาค หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 12 ฉบับ 3386 ระหว่างวันที่ 26-28 ก.ค.2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44710
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/07/2018 7:56 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟเร็วสูงไทยญี่ปุ่นลูกผีลูกคน ต้องพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ด้วยถึงจะคุ้มค่าลงทุน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 30 ก.ค. 2561 05:15

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าของการพัฒนารถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ภายใต้กรอบความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นว่า จะมีการก่อสร้างในระยะ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 270,000 ล้านบาท ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างทบทวนความเหมาะสมและความคุ้มค่า สำหรับผลการศึกษาโครงการพบว่าปริมาณผู้โดยสารอาจมีเฉลี่ยเพียง 10,000-20,000 คนต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ยังไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากปริมาณที่เหมาะสมของโครงการไฮสปีดเทรนต้องมีผู้โดยสารเฉลี่ย 30,000 คนต่อวัน หรือหากจะสร้างกำไรได้ ควรมีผู้โดยสารสูงเฉลี่ย 40,000-50,000 คนต่อวัน "ตอนนี้ญี่ปุ่นได้ส่งผลการศึกษามาแล้ว และคมนาคมกำลังทบทวนการลงทุน เพราะประเด็นสำคัญอยู่ที่ความคุ้มค่า รายได้ที่จะได้รับ เนื่องจากปริมาณผู้โดยสารยังน้อย ดังนั้นความเป็นไปได้ที่จะทำให้โครงการนี้น่าลงทุน คือการดึงเอาพื้นที่เชิงพาณิชย์มาพัฒนาด้วย โดยอาจพัฒนาในลักษณะศูนย์กลางคมนาคม หรือ TOD เพื่อนำรายได้จากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์มาช่วยให้โครงการคุ้มทุน"

นายวรวุฒิยังกล่าวว่า พื้นที่ศักยภาพสูงที่จะนำมาพัฒนา TOD จากการประเมินจังหวัดพิษณุโลก มีความเหมาะสมในการพัฒนา เป็นอีกฮับของการเชื่อมต่อการเดินทาง ส่วนแนวทางการลงทุนอาจคล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพู โดยรัฐบาลเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายงานก่อสร้างโยธาแล้วให้เอกชนเข้ามาดูแลงานระบบและงานบริหาร หรือหากจะจัดตั้งเป็นบริษัทร่วม หรือ SPV รัฐต้องมอบสิทธิ์ให้ SPV สามารถเวนคืนที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ผลศึกษาโครงการไฮสปีดเทรนไทย-ญี่ปุ่นในเฟสแรกเสร็จแล้ว โดย สนข.ได้รวบรวมข้อมูลเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว เหลือเพียงนโยบายรัฐบาลที่จะเร่งผลักดันหรือไม่ ขณะที่ญี่ปุ่นยังไม่ยืนยันที่จะเข้ามาร่วมทุน ระบุเพียงขอเป็นส่วนช่วยจัดทำแผนพัฒนาเท่านั้น หากมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการได้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2018 11:07 am    Post subject: Reply with quote

ต่อไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินยาวถึงระยอง ร.ฟ.ท.เร่งศึกษาก่อนเจรจาลงทุนเพิ่ม
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 30 กรกฎาคม 2561 เวลา 11:03



ร.ฟ.ท.เตรียมจ้างที่ปรึกษาศึกษาออกแบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ต่อขยายจากอู่ตะเภา-ระยอง-ตราด โดยเร่งเฟสแรกถึงระยอง เพื่อเจรจากับผู้ได้งาน 3 สนามบินรับก่อสร้างต่อเนื่อง

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟม.เตรียมจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อให้ทำการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง เพื่อต่อขยายจากช่วงอู่ตะเภา-ระยอง-จันทบุรี และตราด โดยจะเร่งให้สรุปรายละเอียด การศึกษา และการออกแบบรายละเอียดในช่วงอู่ตะเภา-ระยองก่อน ทั้งนี้เพื่อนำไปเจรจากับเอกชนที่ชนะการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” เพื่อให้การดำเนินการมีความต่อเนื่องได้

ทั้งนี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก มีเส้นทางจากกรุงเทพฯ-ระยอง แต่เนื่องจากช่วงจากสนามบินอู่ตะเภา-ระยอง ซึ่งแนวเส้นทางจะผ่านช่วงนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดยังไม่ผ่านการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งอาจจะทำให้กระทบต่อการดำเนินโครงการในส่วนของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินล่าช้า จึงกำหนดจุดสิ้นสุดไว้ที่สนามบินอู่ตะเภาก่อน

นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ร.ฟ.ท.กล่าวว่า อยู่ระหว่างจัดทำทีโออาร์เพื่อคัดเลือกที่ปรึกษา การศึกษา ออกแบบรายละเอียดตามหลักจะใช้เวลาประมาณ 12 เดือน โดยจะเร่งรัดในช่วงอู่ตะเภา-ระยองก่อน เพื่อนำไปเจรจากับผู้บริหารรถไฟความเร็งสูงเชื่อม 3 สนามบินเพื่อให้ลงทุน แต่หากเอกชนไม่รับรัฐอาจต้องลงทุนส่วนนี้เอง และให้เอกชนเช่าใช้รางในการเดินรถไปถึงจังหวัดระยอง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเอกชนจะลงทุนส่วนนี้ต่อไปถึงระยองเพราะจะทำให้เป็นเส้นทางที่สมบูรณ์

รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วง กรุงเทพ-ระยอง ตามการศึกษาเดิม มี ระยะทาง 193.5กม. วงเงินลงทุนประมาณ 152,528 ล้านบาท โดยหลังจากปรับแผนโครงการเป็นรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ปรับการก่อสร้างเป็นช่วงกรุงเทพ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทางประมาณ 160 กม. โดยการศึกษาจะมีการปรับแนวเส้นทางใหม่ ในบางช่วง เพื่อเลี่ยงพื้นที่ในนิคมมาบตาพุดซึ่งเป็นเขตควบคุมสิ่งแวดล้อม ที่อาจจะมีปัญหาด้าน EIA
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44710
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/07/2018 11:25 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดกรุงเทพฯ-หัวหินส่อแท้ง แผนก่อสร้างไม่ชัดเจน/มอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจน์อืด
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อังคารที่ 31 กรกฎาคม 2561 00:00:04 น.

หัวลำโพง * รฟท.รับไฮสปีดกรุงเทพฯ-หัวหิน ยังไม่เปิดประมูล หลังคมนาคมตีกลับแผนลงทุน สั่งให้จัดทำรายละเอียดการก่อสร้างและความคุ้มค่าในการลงทุนใหม่ ด้านกรมทางหลวงเผยมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี อืดมากว่า 10 เดือน เหตุติดปมงบเวนคืนเพิ่มเติมกว่า 1.4 หมื่นล้านยังไม่ได้

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน วงเงิน 9.5 หมื่นล้านบาท ว่า ขณะนี้ผลศึกษายังอยู่ที่กระทรวงคมนาคมยังไม่สามารถเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดพีพีพี) เนื่องจากติดปัญหาหลายด้านที่ต้องเร่งจัดทำข้อมูลภาพรวมโครงการ และรวบรวมข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆ ดังนั้นจึงยังคงไม่มีความชัดเจนในเรื่องกรอบเวลาการเปิดประกวดราคา

แหล่งข่าวจาก รฟท.ระบุว่า กระทรวงคมนาคมได้ตีกลับแผนรถไฟความเร็วสูงเส้นทางดังกล่าว เพื่อให้ไปศึกษารายละเอียดการก่อสร้างและความคุ้มค่าในการลงทุนใหม่ ดังนั้น รฟท.ต้องดำเนินการร่างทีโออาร์เพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษารายใหม่เข้ามาทบทวนแผนศึกษา ซึ่ง รฟท.ได้มีการศึกษามานานแล้ว โดยเฉพาะเรื่องแนวเส้นทางที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลายจุด เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแนวเส้นทางช่วงเลี่ยงเมืองเพชรบุรี เพราะแนวเดิมผ่านเข้าตัวเมือง โดยเฉพาะบริเวณเขาวัง เป็นเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่น บาง ช่วงมีแนวหักศอก ยากต่อการ ออกแบบ เนื่องจากรถไฟมีความ เร็วถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แนวเส้นทางใหม่จะดำเนินการ ช่วงตำบลไร่ส้ม ข้ามถนนเพชร เกษมก่อนเข้าตัวเมืองเพชรบุรี ผ่านอำเภอบ้านลาด และไปข้ามถนนเพชรเกษมอีกจุดที่บริเวณตำบลเขาทโมน ไปยังสถานีหนองไม้ โดยมีลักษณะเป็นทางวิ่งยกระดับทั้งหมด

นอกจากนี้ ยังต้องไปหา แนวเส้นทางใหม่ที่ออกมาจาก สถานีกลางบางซื่ออีกด้วย เนื่อง จากแนวเส้นทางเดิมถูกบดบังด้วยทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันออก ตลอดจนแนวเส้นทางที่ต้องเปลี่ยนจุดทำทางยกระดับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย ทั้งหมดนี้คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาทบทวนแบบมากกว่า 6 เดือน ส่งผลให้โครงการดังกล่าวอาจไม่ทันรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งจะมีการเลือกตั้งช่วงต้นปี 2562 อีกทั้งเมื่อศึกษาทบทวนเสร็จแล้วยังต้องส่งเรื่องไปตามขั้นตอนอีกมาก ทั้งกระทรวงคมนาคม สคร. บอร์ดพีพีพี การแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 ไปจนถึงการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งต้องใช้เวลาดำเนินการค่อนข้างมาก

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ภาพรวมของการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบาง ใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. วงเงินประมาณ 6 หมื่นล้านบาท มีความล่าช้าในการดำเนินการประมาณ 9-10 เดือน จากปัญหาการเวนคืนที่ดิน เนื่อง จากต้องเพิ่มเติมงบอีก 14,217 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคม (สรค.) ตั้งเป้าจะเสนอไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ได้ภาย ในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อนำมาจ่ายค่าเวนคืนให้กับประชาชนภายใน ต.ค.2561 จากนั้นก็จะเร่งรัดใน ของเอกสารและการจ่ายค่าเวน คืนทั้งหมด.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2018 3:16 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดไทย-จีน-ญี่ปุ่นใช้รางร่วม รฟท.ชี้พื้นที่ทับซ้อนต้องแบ่งกันใช้

วันอังคาร ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน วงเงินลงทุนทั้งสิ้น 95,000 ล้านบาท ว่าขณะนี้ผลศึกษายังอยู่ที่กระทรวงคมนาคมยังไม่สามารถเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)และคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) เนื่องจากปัจจุบันติดปัญหาหลายด้านที่ต้องเร่งจัดทำข้อมูลภาพรวมโครงการ และต้องใช้ระยะเวลาเพื่อรวบรวมข้อมูลรวมถึงการเสนอตามขั้นตอนไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่ยังคงไม่มีความชัดเจนในเรื่องกรอบเวลาการเปิดประกวดราคา



ทั้งนี้ในส่วนของพื้นที่ทับซ้อนโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่นช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ตามแนวเส้นทางที่ออกจากสถานีกลางบางซื่อ-ภาชี ระยะทาง 20-30 กิโลเมตรนั้น เนื่องด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ก่อสร้างบริเวณถนนโลคัลโรดเรียบถนนวิภาวดีรังสิตจึงทำให้ก่อสร้างรางรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั้นสามารถก่อสร้างได้เพียงรางเดียว

ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องส่งหนังสือชี้แจงไปยังทางญี่ปุ่นและจีนเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องใช้รางร่วมระบบกันระหว่างเทคโนโลยีจีนและรถไฟชินคันเซ็น ซึ่งยังไม่เคยเกิดที่ไหนมาก่อนในโลก โดยก่อนหน้านี้ทางญี่ปุ่นได้ปฏิิเสธที่จะใช้รางร่วมกับทางจีนจึงเป็นปัญหาที่ทางรัฐบาลไทยมีตัวเลือกเพียงคำตอบเดียวเท่านั้นคือต้องวิ่งร่วมในรางเดียวกันระยะทางสั้นๆ ก่อนแยกรางกันไปตามแนวเส้นทางต่อไป

ด้านแหล่งข่าวจากทางการรถไฟฯ เปิดเผยว่าทางกระทรวงคมนาคมได้ตีกลับแผนรถไฟความเร็วสูงเส้นทางดังกล่าวเพื่อให้ไปศึกษารายละเอียดการก่อสร้างและความคุ้มค่าในการลงทุนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทางการรถไฟฯจะต้องดำเนินการร่างเอกสารและประกวดราคา (TOR) เพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษารายใหม่เข้ามาทบทวนแผนศึกษาที่ทางการรถไฟฯได้เคยทำการศึกษามานานแล้วโดยเฉพาะเรื่องแนวเส้นทางที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลายจุด ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาศึกษาทบทวนแบบมากกว่า 6 เดือน ส่งผลให้โครงการดังกล่าวอาจไม่ทันรัฐบาลชุดนี้ที่จะมีการเลือกตั้งช่วงต้นปี 2562 รวมถึงเมื่อศึกษาทบทวนเสร็จแล้วยังต้องส่งเรื่องไปอีกหลายขั้นตอนจึงต้องใช้เวลาดำเนินการค่อนข้างมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 277, 278, 279 ... 548, 549, 550  Next
Page 278 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©