Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311306
ทั่วไป:13279020
ทั้งหมด:13590326
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 281, 282, 283 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2018 11:18 am    Post subject: Reply with quote

เอกชนหวั่นรถไฟเชื่อม3สนามบินเวลาก่อสร้างน้อย
วันที่ 27 สิงหาคม 2561 เวลา 22:11 น.
เอกชนยอมรับรถไฟเชื่อม 3 สนามบินงานยาก เหตุมีเวลาก่อสร้างเพียง 5 ปี เผยอาจต้องเจรจาหาซับคอนแทรคช่วยดำเนินงาน

ซีพีจ่อทุ่มหลายแสนล้าน สร้างเมืองใหม่หมื่นไร่ที่แปดริ้ว รถไฟฟ้าเข้ากรุงใน20นาที
วันที่ 26 สิงหาคม 2561 - 23:03 น.


Last edited by Wisarut on 28/08/2018 2:35 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2018 11:25 am    Post subject: Reply with quote

อีก 5 ปีได้นั่งรถไฟความเร็วสูงไปโคราช
ประจำวันที่ 27 สิงหาคม 2561

วันนี้ (27 ส.ค. 61) ที่โรงแรมสีมาธานี อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้มีการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน งานปรับแบบรายละเอียดในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน (ช่วงสระบุรี-นครราชสีมา) โดยมีผู้แทนส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และประชาชนที่มีที่ทำกินและที่พักอาศัยในแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่าน ร่วมประชุมกว่า 500 คน โดยวันนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้นำรูปแบบสถานี และลักษณะเส้นทางรถไฟความเร็วสูงมาให้ประชาชน 4 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน และอำเภอเมืองนครราชสีมา ได้ชม และร่วมแสดงความคิดเห็น ในการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน งานปรับแบบรายละเอียดในโครงการก่อสร้างรถไฟ พร้อมวิศวกรโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย และผู้แทนจากประเทศจีน ร่วมให้ข้อมูล

นายบุญเหลือ เจริญวัฒน์ รองนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา เปิดเผยว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง มาลงที่ จ.นครราชสีมา ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดนครราชสีมา แต่ทางเทศบาลนครนครราชสีมา ก็ยังเป็นห่วงในจุดเชื่อมต่อการเดินทาง บริเวณสถานีรถไฟ จ.นครราชสีมา ที่จะรับประชาชนไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัด เนื่องจากจุดดังกล่าวเป็นชุมชนหนาแน่น มีโรงเรียนมารีย์วิทยา อยู่ด้านหน้า ประกอบกับรูปแบบของรถไฟฟ้ารางเบาที่ สนข.ออกแบบมา เป็นภาคพื้นดิน จึงอาจจะส่งผลกระทบต่อการจราจรภาคพื้นดินได้ ดังนั้นทางเทศบาลนครนครราชสีมา จึงอยากขอให้ทาง สนข.ทบทวนรูปแบบรถไฟฟ้าใหม่ ให้เป็นแบบทางยกระดับขึ้น ซึ่งจะต้องมีการพูดคุยกันอีกรอบ





ด้านนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มีนโยบายจะสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภูมิภาค หรือที่เรียกค้นหูกันว่ารถไฟไทย-จีน มาจากกรุงเทพมหานคร ถึง จ.นครราชสีมานั้น วันนี้เป็นการรับฟังข้อเสนอของบริษัทที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งมีการปรับแบบเพิ่มเติม เนื่องจากว่าก่อนหน้านี้ทาง จ.นครราชสีมา ได้เสนอขอปรับรูปแบบรถไฟทางคู่ให้ยกระดับ 2 จุด คือที่ อ.สีคิ้ว และ อ.เมืองนครราชสีมา จึงทำให้รถไฟความเร็วสูงต้องปรับแบบตามไปด้วย ซึ่งการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมภูมิภาคนั้น เป็นการสร้างความเจริญมาสู่พื้นที่ จ.นครราชสีมา และจังหวัดอื่นๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะสามารถย่นระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพมหานคร มา จ.นครราชสีมา จากเดิม 3-4 ชั่วโมง เหลือแค่ 1 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น ซึ่งจะทำให้มีประชาชนเดินทางมาในพื้นที่ จ.นครราชสีมา และจังหวัดอื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้สะดวก สบาย รวดเร็วมากยิ่งขึ้น



ส่วนแนวเส้นทางการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง จะไม่มีการเวนคืนที่ดิน เนื่องจากจะก่อสร้างในเขตรถไฟทั้งหมด โดยจะสร้างคู่ขนาดเส้นทางรถไฟทางคู่ ส่วนใหญ่เป็นทางยกระดับรถไฟ ส่วนระดับพื้นที่จะมีการกั้นรั้วเพื่อความปลอดภัย เนื่องจากต้องใช้ความเร็วสูง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งหลังจากรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเสร็จสิ้นในวันนี้แล้ว บริษัทที่ปรึกษาจะรวบรวมความเห็นไปยังทีมวิศวกรของประเทศจีน เพื่อปรับแบบให้เกิดความเหมาะสมหลังจากนั้น เนื่องจากโครงการนี้ได้ผ่านการศึกษา EIA เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อปี 2557 ต่อจากนี้แผนการก่อสร้างแบ่งทั้งหมด 14 สัญญา



ซึ่งสัญญาที่ 1 สถานีกลางดง-ปากอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และคาดว่า จะเริ่มสัญญาที่ 2 ภายในปลายปีนี้ จะมีการประกวดราคาเพื่อหาผู้รับเหมา เริ่มสร้างจากสถานีรถไฟสีคิ้ว - กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร ต่อไป ซึ่งรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ –นครราชสีมา ระยะ 1 มีระยะทางรวม 252.3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 30 นาที อัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 107 บาท สูงสุด 534 บาท หรือคิดอัตราค่าโดยสาร 80 บาท บวกเพิ่ม 1.80 บาทต่อกิโลเมตร เปิดให้บริการปี 2566 ซึ่งรถไฟที่จะใช้ในโครงการฯ เป็นรถไฟความเร็วสูงของจีนทั้งหมด.

//--------------------------

รถไฟความเร็วสูง กทม.-โคราช ใช้เวลาแค่ชม.ครึ่ง

27 สิงหาคม 2561 5
รัฐบาลสานฝันชาวโคราช รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา ใช้เวลาเดินทาง 1.30 ชั่วโมง ค่าโดยสารเริ่มต้น 107-534 บาท

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 27 สิงหาคม 2561 ที่โรงแรมสีมาธานี อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน งานปรับแบบรายละเอียดในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ช่วงสระบุรี-นครราชสีมา) โดยมีผู้แทนส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พระภิกษุและประชาชนที่มีที่ทำกินและที่พักอาศัยในแนวเส้นทางรถไฟผ่าน จำนวน 300 คน รับฟังการชี้แจงการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน ระหว่างประเทศไทยไปประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและทั่วโลก

ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนและเป็นการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) จากผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านล่ามชาวไทย โดยเผยแพร่ข้อมูลและการดำเนินงานที่ฝ่ายจีนออกแบบรายละเอียดและควบคุมการก่อสร้าง จึงอาจมีความจำเป็นต้องปรับปรุงจากรูปแบบเดิม เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆ นำไปพิจารณาประกอบการสำรวจออกแบบรายละเอียดรวมทั้งศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการและการจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขและบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ต้องรอบคอบรัดกุมและมีประสิทธิภาพรวมถึงการปรับรูปแบบการพัฒนาโครงการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น


นายทศวรรณ นิจพาณิชย์ ผู้จัดการโครงการ ฯ เปิดเผยความเป็นมาของการดำเนินโครงการว่า เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 57 รัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 -2569 เพื่อร่วมพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย และเส้นทางแก่งคอยท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางรวมประมาณ 867 กิโลเมตร โดยให้รัฐบาลจีนมีส่วนร่วมตั้งแต่การเตรียมโครงการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ และดำเนินการก่อสร้างงานโยธา เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายรถไฟสอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่ส่งเสริมการลงทุนที่มีความพร้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งและเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และในวันที่ 23 มีนาคม 59 พล.อ.ประยุทธ์ ฯ นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ที่เมืองไหหนาน ประเทศจีน มีข้อสรุปการลงทุนให้ฝ่ายไทยเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด โดยกำหนดนโยบายเริ่มต้นเส้นทาง กรุงเทพ-นครราชสีมาและส่วนต่อขยายเมื่อมีความพร้อม

ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 10 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้เริ่มต้นก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา เป็นลำดับแรก โดยฝ่ายจีนเป็นผู้ออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างและควบคุมการก่อสร้างและการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ครั้งที่ 11และครั้งที่ 12 มีมติร่วมกันแบ่งสัญญาโครงการออกเป็น 2 ส่วน คือ สัญญาที่ 1 การก่อสร้างงานวิศวกรรมโยธา ฝ่ายไทยเป็นผู้คัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้างงานวิศวกรรมโยธา,สัญญาที่ 2 งานวางระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกลและรถจักรล้อเลื่อน ฝ่ายจีนเป็นผู้คัดเลือกผู้รับจ้างวางระบบ ส่วนฝ่ายไทยเข้ามาสังเกตการณ์ทำงานของผู้รับจ้างจีน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับของฝ่ายไทย

ล่าสุดในการประชุมครั้งที่ 20/2559 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม59 มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการจ้างและสั่งจ้างบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดการออกแบบของฝ่ายจีนและออกแบบเพิ่มเติมในส่วนที่ฝ่ายจีนไม่ได้ดำเนินการสำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการเวนคืนและการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม ขณะนี้ได้ก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ช่วงสถานีรถไฟกลางดง-ปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

นายทศวรรณ ฯ ผจก.โครงการ ฯ กล่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ถือเป็นโครงการยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน ระหว่างประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอินโดจีน (กัมพูชา-สปป.ลาว-มาเลเซียและเวียดนาม) รวมทั้งประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐอินเดีย

ทั้งยังเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟลาว-จีน โดยยกระดับมาตรฐานรถไฟและส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง เป็นการลงทุน เพื่อวางรากฐานความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยในระยะยาวและสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค สร้างศักยภาพและโอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว สามารถกระจายความเจริญอย่างทั่วถึงและลดความเหลื่อมล้ำในภาพรวม โดยเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมของรัฐบาลจีนตามนโยบายด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกและผลต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สนับสนุนการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบเส้นทางรวมทั้งให้คนไทยได้รับความรู้ทางเทคโนโลยีระบบรางของจีนและได้ฝึกทักษะความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง

แนวเส้นทางโครงการ ฯ ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา มีสถานีรถไฟ 6 แห่ง ได้แก่ สถานีบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่องและสถานีนครราชสีมา โดยเป็นทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร เป็นทางยกระดับ 190 กิโลเมตร มีความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ 7-22 เมตร และทางระดับพื้น 54.5 กิโลเมตร อุโมงค์ยาว 7.8 กิโลเมตร จำนวน 2 แห่ง คือ บริเวณมวกเหล็ก จ.สระบุรี และบริเวณลำตะคอง จ.นครราชสีมา ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพถึงนครราชสีมา ประมาณ 1.30 ชั่วโมง ช่วงเวลาให้บริการ 06.00-22.00 น. ออกเดินทางทุก 90 นาที อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น107 บาท สูงสุด 534 บาท เฉลี่ยค่าโดยสาร 80 บาท บวก 1.8 บาทต่อกิโลเมตร เปิดให้บริการปี 2566 งบประมาณ 179,000 ล้านบาท

https://www.youtube.com/watch?v=AhZVKvnAl9g

หน้าตาสถานีนครรราขสีมาที่แสดงในงานที่สีมาธานีดูที่นี่ครับ
https://www.facebook.com/natakritnews/posts/1921743201197172?__tn__=C-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2018 11:28 am    Post subject: Reply with quote

ประชาพิจารณ์รถไฟความเร็วสูง กทม.-โคราช ระยะทาง250 กม. ยกรอยฟ้ากว่า 190 กม หวังลดปัญหาผลกระทบ ปชช.
หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา
วันที่ 27 สิงหาคม 2561

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561 เวลา 08.00 น. ณ ห้องประชุมอรพิน โรงแรมสีมาธานี จัดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน งานปรับแบบรายละเอียดในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ช่วงสระบุรี – นครราชสีมา) โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างรถไฟความเร็วสูงร่วมประชุมกว่า 300 คน
สืบเนื่องจากวันที่ 19 ธันวาคม 2557 ณ กรุงเทพมหานคร รัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ ระหว่างรัฐบาล ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่งของไทย พ.ศ.2558 – 2564 เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ขนาด มาตรฐาน เส้นทางกรุงเทพฯ - นครราชสีมา - หนองคาย และเส้นทางแก่งคอยท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางรวมประมาณ 867 กิโลเมตร ซึ่งฝ่ายรัฐบาลแห่ง ราชอาณาจักรไทยตกลงให้รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมโครงการ ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ และดําเนินการก่อสร้างงานโยธา
และวันที่ 23 มีนาคม 2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประเทศไทยได้หารือทวิภาคีกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ณ เมืองไหหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ประชุมสรุปการลงทุน โครงการ ฝ่ายไทยจะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด โดยกําหนดนโยบายเริ่มก่อสร้างเส้นทาง กรุงเทพฯ - นครราชสีมา และส่วนต่อขยายเมื่อมีความพร้อม
การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 10 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการเริ่มต้นก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา เป็นลําดับแรก โดยฝ่ายจีนจะเป็นผู้ออกแบบ รายละเอียดการก่อสร้างและควบคุมการก่อสร้าง และการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ครั้งที่ 11 และครั้งที่ 12 มีมติร่วมกันแบ่งสัญญาโครงการออกเป็น 2 ส่วน คือ
สัญญาที่ 1 สัญญาการก่อสร้างงานวิศวกรรมโยธา ฝ่ายไทยจะเป็นผู้คัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้างงานวิศวกรรมโยธาสําหรัสัญญา
สัญญาที่ 2 สัญญางานวางระบบ งานวางระบบราง งานระบบไฟฟ้า
และเครื่องกลและรถจักรล้อเลื่อน ฝ่ายจีนจะเป็นผู้คัดเลือกผู้รับจ้างวางระบบสําหรับสัญญาที่ 2 โดยฝ่าย ไทยจะเข้ามาสังเกตการณ์ทํางานของผู้รับจ้างจีน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับของ ฝ่ายไทย
ในการนี้คณะกรรมการรถไฟฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 20/2554 เมื่อ วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2559 มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดําเนินการ จ้างและสั่งจ้างบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จํากัด เป็นที่ปรึกษาเพื่อดําเนินการ ตรวจสอบรายละเอียดการออกแบบของฝ่ายจีน ออกแบบเพิ่มเติมในส่วนที่ฝ่ายจีน ไม่ได้ดําเนินการ สํารวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเวนคืน และการจัดทํา รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม โครงการความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างไทย-จีน ช่วงบ้านภาชี-แก่งคอย-นครราชสีมา
โดยนายทศวรรณ นิจพาณิชย์ ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า “วัตถุประสงค์การพัฒนาโครงข่ายรถไฟ สอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่ส่งเสริมการ ลงทุนในโครงการที่สําคัญของประเทศ ทั้งโครงการต่อเนื่องและโครงการใหม่ที่มี ความพร้อม การศึกษาโครงการระบบรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ช่วงบ้านภาชี-แก่งคอย-นครราชสีมา จึงเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง ทางรางที่กระทรวงคมนาคมให้ความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ด้านการขนส่งและเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศ”
รายละเอียดของโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะทางจากกรุงเทพ – นครราชสีมา รวมระยะทางทั้งสิ้น 252.3 กิโลเมตร โดยจะสร้างเป็นทางยกระดับรวมกว่า 190 กิโลเมตร และลอดอุโมงค์กว่า 7.8 กิโลเมตรมี 2 แห่ง บริเวณมวกเหล็ก และบริเวณลำตะคอง รูปแบบขบวนรถจะสามารถโดยสารได้ถึง 594 ที่นั่ง/ขบวน กำลังการขับเคลื่อนสูงสุด 5,200 กิโลวัตต์ ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ออกเดินทางทุก 90 นาที มีสถานีทั้งหมด 6 แห่งได้แก่ สถานีบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง สถานีนครราชสีมา อัตราค่าโดยสารจะเริ่มต้นที่ 107 บาท ถึง 534 บาท (อัตร่าโดยสาร 80 บาท บวก 1.8 บาท/กิโลเมตร)
ในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในครั้งนี้ ก็ถือว่าเป็นไปได้ด้วยดี เนื่องจากประชาชนรู้สึกไม่กังวลกับการสร้างรถไฟความเร็วสูงมากนะ เพราะการออกแบบส่วนใหญ่เป็นทางยกระดับในช่วงที่ผ่านเขตชุมชน จะลดปัญหาของพื้นที่ที่มีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างผู้คนสองฝั่งทางรถไฟได้ แต่สิ่งที่ยังกังวลกันอยู่ก็คือ การออกแบบให้เชื่อมโยงกับรถไฟทางคู่ และระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่ต่างๆ ที่มีสถานีรถไฟความเร็วสูง ว่าจะออกแบบอย่างไรให้การขนส่งสาธารณะมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในส่วนของการเวนคืนที่ดิน ยังไม่ชัดเจนมากนักเนื่องจาก ในแต่ละช่วงของการก่อสร้าง ใช้พื้นที่ต่างกัน ในช่วงที่กว้างที่สุดใช้พื้นที่ถึง 80 เมตร โดยแบ่งเป็นรถไฟทางคู่ 40 เมตร และรถไฟความเร็วสูง 40 เมตร ส่วนช่วงที่แคบที่สุดคือ ช่วงที่ผ่านเขตชุมชนและ เขตเมือง โดยจะออกแบบให้รถไฟความเร็วสูงคร่อมอยู่ด้านบนรถไฟรางคู่ เพื่อให้กระทบประชาชนในพื้นที่น้อยที่สุด ความสูงที่ประมานไว้คือ รถไฟรางคู่ สูง 16 เมตร และรถไฟความเร็วสูง สูง 21 เมตร
ทางด้าน นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้กล่าวว่า เมื่อโครงการดำเนินการเสร็จสิ้น จะทำให้จังหวัดนครราชสีมามีศักยภาพทางด้านการขนส่งที่มากขึ้น ลดระยะเวลาในการเดินทางข้ามภูมิภาคลง และสร้างความเจริญมาสู่จังหวัดนครราชสีมา


เปรียบเทียบแบบสถานีนครราชสีมา - แบบเก่าหรือแบบใหม่ ของใครดีกว่ากัน
https://www.facebook.com/KoratForumSkyscrapercity/posts/1877045655707398?__tn__=C-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2018 6:23 pm    Post subject: Reply with quote




ประชาพิจารณ์ รถไฟความไวสูงไทยจีน ประชาชนพอใจมากเพราะเป็นทางลอยฟ้าเสียเยอะ
https://www.youtube.com/watch?v=M0HC7lLVwf0
https://www.youtube.com/watch?v=pUxkOXGcGYU
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2018 12:21 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดทำเลเมืองใหม่ “แปดริ้ว” ซีพี”รู้แกวดึงทุนจีนดักหน้า
วันที่ 4 มีนาคม 2561 - 22:51 น.

เปิดโผ “สถานีฉะเชิงเทรา” แจ็กพอต 550 ไร่ 3 พันล้าน
วันที่ 4 สิงหาคม 2561 - 11:08 น
Click on the image for full size


เปิดที่ตั้งสถานีไฮสปีดแปดริ้ว

ในส่วนของ “สถานีฉะเชิงเทรา” ตามผลการศึกษาที่ตั้งสถานีจะสร้างบนพื้นที่ใหม่ ขนาด 84 ไร่ ในแนวเส้นทางไฮสปีดเทรนจะเบี่ยงแนวใหม่จากเส้นทางรถไฟเดิม เพื่อให้ได้รัศมีความโค้งที่สามารถทำความเร็วได้ 250 กม./ชม. โดยจะอยู่ห่างจากสถานีรถไฟเดิมไปทางด้านเหนือประมาณ 1.5 กม. ตั้งอยู่ใน ต.นาเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งจากการลงสำรวจพื้นที่พบว่าจุดดังกล่าวการคมนาคมสะดวก เนื่องจากอยู่ติดกับถนนสาย 304 อีกทั้งพื้นที่บริเวณโดยรอบเป็นพื้นที่โล่ง เหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นเมืองใหม่

“ฉะเชิงเทรา” พื้นที่เวนคืนใหญ่สุดของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ที่ “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” จะต้องเวนคืน 550 ไร่ ใช้เงินประมาณ 3,000 ล้านบาท เพื่อนำมาก่อสร้างทางวิ่ง 116 ไร่ ศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) 358 ไร่ และสถานีแห่งใหม่ 76 ไร่ โดยพื้นที่ถูกเวนคืนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แต่ก็มีการตั้งคำถามทำไมค่าเวนคืนถึงแพงละลิ่ว อีกทั้งยังเป็นที่จับตาที่ดินย่านดังกล่าว จะเป็นของชาวบ้านหรือนายทุนที่ไปกว้านซื้อดักรอล่วงหน้า

มาดูตำแหน่งแปลงที่ดินที่เป็นที่ตั้ง “สถานีฉะเชิงเทรา” ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราประมาณ 1.5 กม. การเข้าออกสถานีได้ทั้ง 4 ด้าน จากทางหลวงหมายเลข 304 มีถนนสายรองใช้เป็นทางเข้าสถานีขนาบสถานีอยู่ทั้งทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ ส่วนด้านตะวันออกและตะวันตก มีถนนสายย่อยเชื่อมต่อกับถนนสายรอง

รูปแบบเป็นสถานียกระดับสูง 2 ชั้น บริเวณโดยรอบสถานี ประกอบด้วย ลานจอดรถ จุดรับส่งและเชื่อมต่อกับขนส่งมวลชนในพื้นที่ บริเวณชั้นล่างจะเป็นทางเข้าออกอาคารและที่จำหน่ายบัตรโดยสาร บริเวณชั้น 2 เป็นชานชาลารถไฟความเร็วสูง ยาว 210 เมตร รองรับได้สูงสุด 8 คัน มี 4 ชานชาลา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44715
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/08/2018 6:50 am    Post subject: Reply with quote

สระบุรี-รฟท.เปิดเวทีชี้แจงการมีส่วนร่วมของประชาชนการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง
แว่น นิวส์ไทม์ Published on Aug 29, 2018

28 ส.ค. 2561


https://www.youtube.com/watch?v=ti2JflxIC5U

รฟท. เปิดเวทีชี้แจงจัดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนงานปรับแบบรายละเอียดในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา ช่วงสระบุรี-นครราชสีมา

ที่หอประชุมสวนริมเขา อำเภอเมือง จ.สระบุรี นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนงานปรับแบบรายละเอียดในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ช่วงสระบุรี-นครราชสีมา) โดยมีผู้แทนส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วน พระภิกษุและประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการก่อสร้างเส้นทาง เข้ารับฟังการชี้แจง

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 57 รัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 -2569 เพื่อร่วมพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย และเส้นทางแก่งคอยท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางรวมประมาณ 867 กิโลเมตร โดยให้รัฐบาลจีนมีส่วนร่วมตั้งแต่การเตรียมโครงการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ และดำเนินการก่อสร้างงานโยธา เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายรถไฟสอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่ส่งเสริมการลงทุนที่มีความพร้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งและเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว

และในวันที่ 23 มีนาคม 59 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ที่เมืองไหหนาน ประเทศจีน มีข้อสรุปการลงทุนให้ฝ่ายไทยเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด โดยกำหนดนโยบายเริ่มต้นเส้นทาง กรุงเทพ-นครราชสีมาและส่วนต่อขยายเมื่อมีความพร้อม ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 10 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้เริ่มต้นก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา เป็นลำดับแรก

และในการประชุมครั้งที่ 20/2559 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม59 มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการจ้างและสั่งจ้างบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดการออกแบบของฝ่ายจีนและออกแบบเพิ่มเติมในส่วนที่ฝ่ายจีนไม่ได้ดำเนินการสำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการเวนคืนและการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ช่วงบ้านภาชี-แก่งคอย สำหรับประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกิจกรรมที่สำคัญมีความมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและการดำเนินงาน ที่ฝ่ายจีนเป็นผู้ออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างและควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งอาจมีความจำเป็นต้องปรับปรุงจากรูปแบบเดิมจากที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งการจราจร(สนข)ได้ศึกษาและจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯเส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมาช่วงบ้านภาชี-นครราชสีมา และไดรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

และเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ในการนำไปออกแบบรายละเอียดประกอบการสสำรวจให้มีความถูกต้อง รัดกุม และมีประสิทธิภาพ รวมถึงการปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาโครงการให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ถือเป็นโครงการยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน ระหว่างประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอินโดจีน (กัมพูชา-สปป.ลาว-มาเลเซียและเวียดนาม) รวมทั้งประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐอินเดีย ทั้งยังเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟลาว-จีน โดยยกระดับมาตรฐานรถไฟและส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง เป็นการลงทุน เพื่อวางรากฐานความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยในระยะยาวและสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค สร้างศักยภาพและโอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว สามารถกระจายความเจริญอย่างทั่วถึงและลดความเหลื่อมล้ำในภาพรวม โดยเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมของรัฐบาลจีนตามนโยบายด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกและผลต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สนับสนุนการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบเส้นทางรวมทั้งให้คนไทยได้รับความรู้ทางเทคโนโลยีระบบรางของจีนและได้ฝึกทักษะความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง

แนวเส้นทางโครงการ ฯ ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา มีสถานีรถไฟ 6 แห่ง ได้แก่ สถานีบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่องและสถานีนครราชสีมา โดยเป็นทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร เป็นทางยกระดับ 190 กิโลเมตร มีความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ 7-22 เมตร และทางระดับพื้น 54.5 กิโลเมตร อุโมงค์ยาว 7.8 กิโลเมตร จำนวน 2 แห่ง คือ บริเวณมวกเหล็ก จ.สระบุรี และบริเวณลำตะคอง จ.นครราชสีมา ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพถึงนครราชสีมา ประมาณ 1.30 ชั่วโมง ช่วงเวลาให้บริการ 06.00-22.00 น. ออกเดินทางทุก 90 นาที อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น107 บาท สูงสุด 534 บาท เฉลี่ยค่าโดยสาร 80 บาท บวก 1.8 บาทต่อกิโลเมตร เปิดให้บริการปี 2566 งบประมาณ 179,000 ล้านบาท/ดำรงค์ชื่นจินดารายงาน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2018 10:50 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.มั่นใจต่างชาติยื่นซองเพียบ
30 สิงหาคม 2561 -

“อาคม” ยันญี่ปุ่นจับมือจีนบุกอีอีซี เปิดศึกไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับอธิบดีสำนักความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจ (METI) ญี่ปุ่นว่า ญี่ปุ่นได้แจ้งว่าขณะนี้ญี่ปุ่นได้มีความสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยภายหลังจากที่ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจของเอกชนระหว่างจีนและญี่ปุ่น ในประเทศที่ 3 ซึ่งเป้าหมายสำคัญ คือ ญี่ปุ่นและจีนต้องการเข้ามาลงทุนในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

“ญี่ปุ่นรายงานว่า ตอนนี้กำลังสนใจลงทุนในอีอีซี โดยกำลังหารือกับจีนเพื่อเข้ามาสนับสนุนในอีอีซี ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา รวมไปถึงท่าเรือแหลมฉบัง เพราะตอนนี้ญี่ปุ่นและจีนเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ซึ่งในส่วนของโครงการที่ทั้งสองฝ่ายสนใจในขณะนี้ แน่นอนว่ามีไฮสปีดเทรนที่กำลังจะประมูล ซึ่งตัวเขาเองก็ซื้อซอง และสนใจว่าจะไปจับกับจีนมาร่วมประมูล”

อย่างไรก็ดี การนำร่องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไทยด้วยโครงการไฮสปีดเทรน ถือเป็นโครงการที่ญี่ปุ่นและจีนมีความถนัดอยู่แล้ว โดยเบื้องต้นญี่ปุ่นรายงานความคืบหน้าว่าเอกชนของญี่ปุ่นเข้ามาซื้อซองเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ซึ่งมีความถนัดและประสบการณ์พัฒนาไฮสปีดเทรนในญี่ปุ่น ประกอบกับความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่จีนมีอยู่เช่นเดียวกัน ทำให้ทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมประมูลครั้งนี้ พร้อมกับหาพันธมิตรเป็นเอกชนไทยด้วย

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า จากการประเมินผลตอบรับของภาคเอกชนที่จะเข้าร่วมยื่นซองข้อเสนอ โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน

ขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณการรวมกลุ่มของภาคเอกชนเป็นกลุ่มทุนใหญ่มากขึ้น จึงคาดว่าในวันที่ 12 พ.ย.61 ซึ่งเป็นวันยื่นซองข้อเสนอประมูลโครงการจะมีเอกชนร่วมยื่นซอง 2-3 กลุ่ม ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะมีเข้ามา 3-4 กลุ่ม ส่วนกลุ่มทุนญี่ปุ่นที่จะร่วมกับจีนมาร่วมประมูลนั้น ส่วนตัวมองว่ามีความเป็นไปได้ แต่ต้องมีคนกลาง ซึ่งก็คือบริษัทเอกชนไทยเข้าร่วมด้วยเพื่อให้เป็นไปตามทีโออาร์.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2018 2:41 pm    Post subject: Reply with quote


สถานีรถไฟความไวสูงเชื่อมสนามบินมี ศักยภาพต่างๆกัน
https://www.youtube.com/watch?v=U_DgC_A0pxo
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2018 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

ปตท.ยังไม่ได้ผู้ร่วมทุน เจรจาBTSCแค่ทางเลือก
ออนไลน์เมื่อ 30 สิงหาคม 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 19
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,396 วันที่ 30 สิงหาคม - 1 กันยายน 2561




ปตท.เตรียมสรุปพันธมิตรรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยันบอร์ด ปตท.ยังไม่เลือก “บีทีเอสซ” ล่าสุดอยู่ระหว่างเจรจา 2-3 ราย มั่นใจชัดเจนภายในเดือนต.ค.นี้

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความคืบหน้าแผนลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3สนามบิน (กรุงเทพฯ-อู่ตะเภา) ว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด ปตท.) ครั้งล่าสุดยังไม่ตัดสินใจเลือกบริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC แต่อย่างใด

โดยขณะนี้ยังอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตร 2-3 ราย เป็นผู้ประกอบการในไทยเป็นหลัก หลังจากในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ปตท.เปิดหารือมากกว่า 10 ราย ซึ่งผู้ประกอบการต่างๆ ก็เห็นว่า ปตท.มีศักยภาพเรื่องของความสามารถวิศวกรรม การทำโครงการขนาดใหญ่ และอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งโครงการดังกล่าวยังเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ คาดว่าการเจรจากับพันธมิตรร่วมลงทุนโครงการดังกล่าว น่าจะมีความชัดเจนภายในเดือนตุลาคมหรือต้นพฤศจิกายนนี้




ทั้งนี้ การที่ ปตท. สนใจลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากเห็นความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี และยังเป็นฐานที่สำคัญของการลงทุนในกลุ่มปตท. มีการลงทุนธุรกิจอยู่ใน 5 บริษัท ได้แก่ ไทยออยล์ในพื้นที่ศรีราชา, จีซีในมาบตาพุด, ไออาร์พีซีที่เชิงเนิน จ.ระยอง และจีพีเอสซีที่ลงทุนในธุรกิจไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีบริษัทย่อยในเครือที่ร่วมลงทุนกับต่างชาติ นอกจากนี้บริษัทยังมีท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปยังลูกค้าใน 30 นิคมอุตสาหกรรม จึงเห็นความสำคัญของพื้นที่ รวมทั้งเป็นนโยบายรัฐที่สำคัญที่เปิดให้เอกชนลงทุนรูปแบบ PPP แต่ ปตท. ไม่มีความถนัดจึงต้องมีพันธมิตร ซึ่งผู้ประกอบการที่อยู่ในอาชีพนี้ อาทิ ร.ฟ.ท. บีทีเอส และต่างประเทศ ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42772
Location: NECTEC

PostPosted: 02/09/2018 10:36 pm    Post subject: Reply with quote

ประชาพิจารณ์รถไฟเร็วสูง ช่วงกทม.-อยุธยา ลุ้นเปิดบริการปี’66

วันเสาร์ ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561, 06.00 น.

ที่ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมอยุธยาแกรนด์ โฮเต็ล ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2561 ได้มีการประชาพิจารณ์ โครงการความร่วมมือ

ด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี (อยุธยา) โดยมี การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เป็นผู้ดำเนินโครงการ และอยู่ในโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2566

ทั้งนี้ นายสัมฤทธิ์ กองเงิน หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน (ประชาพิจารณ์) งานบริการที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดการออกแบบของฝ่ายจีน และการออกแบบเพิ่มเติมในส่วนที่ฝ่ายจีนไม่ดำเนินการ สำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเวนคืน จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม พร้อมรับฟังความคิดเห็น (ประชาพิจารณ์)ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน

มีรายงานแจ้งว่า ในการประชุมครั้งนี้ได้นำเสนอสาระสำคัญโครงการ ด้านวิศวกรรม รถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมามี 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง
สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา โดยทางโครงการดำเนินการออกแบบและก่อสร้างในโครงการจำนวน 4 สถานียกเว้นสถานีกลางบางซื่อและสถานีดอนเมือง ระยะทางรวม 252.3 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับ 190 กิโลเมตร ทางระดับพื้น 54.5 กิโลเมตร เป็นอุโมงค์ 7.8 กิโลเมตร มี 2 แห่ง บริเวณมวกเหล็ก และบริเวณลำตะคอง ส่วนรูปแบบรถไฟที่ใช้ในโครงการจะเลือกใช้รุ่น FUXINGHAOซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงรุ่นล่าสุดของจีน สามารถใช้ความเร็วสูงสุดในการเดินรถได้ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้ระยะเวลาในการเดินทาง 1.30 ชั่วโมง

ช่วงเวลาการใช้บริการ ระหว่างเวลา 06.00-22.00 น. ในปีแรกให้บริการเริ่มต้น 11 ขบวนต่อวัน ออกเดินทางทุก 90 นาที อัตราโดยสารเริ่มต้น 107-534 บาท ด้านการออกแบบ เน้นความสะดวกสบายในการใช้บริการของผู้โดยสารทุกคน (Universal Design)ทันสมัย และผสมผสานกับอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่น รวมทั้งเหมาะสมกับสภาพพื้นที่

สำหรับ การดำเนินโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน เป็นความร่วมมือพัฒนาโครงการ ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล โดย
ฝ่ายไทยรับภาระการลงทุนโครงการและดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ฝ่ายจีนออกแบบรายละเอียดงานโยธา ควบคุมการก่อสร้างงานโยธา ออกแบบและติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้า เครื่องกล ระบบควบคุมการเดินรถ และจัดหาขบวนรถไฟความเร็วสูง

โดยการร่วมมือครั้งนี้เป็นการลงทุนเพื่อวางรากฐานความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในระยะยาว สอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญของรัฐบาลตามร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) และการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 281, 282, 283 ... 548, 549, 550  Next
Page 282 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©